ฉบับที่ 158 ผักจากทะเลของโต๊ะโตะจัง

สาหร่ายทะเลแห้ง เป็นสินค้าผักชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากคนไทย(ยกเว้นผู้เขียนซึ่งไม่ใคร่ชอบกลิ่นทะเล แม้จะชอบอ่านหนังสือเรื่อง โต๊ะโตะจัง ก็ตาม) เพราะเป็นอาหารที่มีไอโอดีนและธาตุอาหารอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณสูง ที่นิยมกันสุดๆ คือ ปรุงเป็นแกงจืดสำหรับผู้ที่ชอบผักมีกลิ่นคาวและได้ผงชูรสธรรมชาติ หรือเป็นขนมกินเล่นแต่ได้ประโยชน์ สาหร่ายทะเลนั้นเป็นพืชขึ้นตามชายฝั่งทะเลที่มีแสงแดดส่องถึง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามเม็ดสีภายในเซลล์ คือ สาหร่ายสีแดง สาหร่ายสีน้ำตาล และสาหร่ายสีเขียว คนส่วนใหญ่คุ้นกับสาหร่ายที่ฝรั่งเรียกว่า เคลป์ (kelp) ซึ่งเป็นสาหร่ายสีน้ำตาลที่มีขนาดใหญ่และสูงมาก คนเอเชียที่อยู่ริมทะเลนั้นเก็บสาหร่ายกินกันเหมือนคนอยู่ชายขอบป่าเก็บผักหวานป่ากิน ชาวตะวันตกในอเมริกาและยุโรปเป็นกลุ่มคนท้ายๆ ที่เพิ่งตาสว่างเห็นว่าสาหร่ายทะเลมีประโยชน์ สาหร่ายเป็นแหล่งของโปรตีนคล้ายเนื้อสัตว์ (แต่คุณค่าด้อยกว่า) ชาวญี่ปุ่นและชาวจีนเป็นชาติแรกๆ ที่เห็นคุณค่าของสาหร่าย อาหารญี่ปุ่นและจีนมีเมนูอาหารที่ใช้สาหร่ายเป็นส่วนผสมมาก คนจีนเรียกสาหร่ายทะเลว่า “จีฉ่าย” นิยมปรุงเป็นแกงจืดใส่เต้าหู้หมูสับ มีสาหร่ายทะเลอีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกตัดเป็นแผ่นบางรูปสี่เหลี่ยม บรรจุซองพลาสติก ซองละ 4-5 แผ่น เด็กๆ ชอบซื้อกินอาจด้วยชอบรสชาติที่ปรุงแต่งด้วยเครื่องปรุงรสต่างๆ   สำหรับคุณค่าสารอาหารของสาหร่ายทะเลนั้นเคยมีผู้ศึกษาพบว่า ทั้งชนิดแผ่นกลมไม่ปรุงรส (จีฉ่าย) และชนิดปรุงรสบรรจุซองมี โปรตีนระหว่าง 10-40 กรัมต่อ 100 กรัม ใยอาหารตั้งแต่ 27-41 กรัมต่อ 100 กรัม (www.healthtodaythailand.net) มีไขมันและแป้งต่ำจึงให้พลังงานราว 366-382 กิโลแคลอรีต่อ 100 กรัม ข้อมูลทางวิชาการที่พอเชื่อถือได้ (แต่ก็ต้องฟังหูไว้หูอย่าเชื่อจนงมงาย) กล่าวถึงประโยชน์ของสาหร่ายทะเลว่า การเติมสาหร่ายทะเลเข้าไปในอาหารสามารถชะลอหรือแก้ไขโรคที่เกิดจากความเสื่อมต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้การบริโภคสาหร่ายทะเลนั้นยังมีประโยชน์ในด้าน ขับโลหะหนักและสารรังสี (โดยอาศัยใยอาหารเป็นตัวขัดขวางการดูดซึม แต่ต้องไม่กินสาหร่ายทะเลจากจังหวัดฟูกูชิมะของญี่ปุ่น ซึ่งมีอุบัติเหตุโรงไฟฟ้าปรมาณูรั่วไหล) ขับสารพิษเช่น ไดออกซินและพีซีบีออกจากร่างกาย (เข้าใจว่าเพราะสาหร่ายทะเลคงดูดซึมสารพิษเหล่านี้ไว้ในปริมาณน้อยจึงกระตุ้นระบบทำลายสารพิษของผู้กินเข้าไปให้ตื่นตัว ดังนั้นข้อมูลว่าช่วยขับสารพิษจึงไม่น่าแปลกใจ และมีนักวิจัยญี่ปุ่นตีพิมพ์ใน Journal of Agriculture and Food Chemistry ชุดที่ 50 หน้าที่ 910-917 ในปี 2002 ว่า ใยอาหารในสาหร่ายทะเลช่วยจับสารพิษในทางเดินอาหารไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบโลหิตได้) ส่งเสริมระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง (เพราะสาหร่ายทะเลมักมีโปรตีน เบต้าแคโรทีน และสังกะสีซึ่งเป็นสามเสาหลักของระบบภูมิต้านทาน) ป้องกันคอหอยพอก (เพราะสาหร่ายทะเลเป็นแหล่งสะสมไอโอดีนซึ่งจำเป็นต่อการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน) ลดน้ำหนัก (เนื่องจากใยอาหารในมื้ออาหารลดปริมาณอาหารที่ให้พลังงานสูงจึงลดการสร้างไขมันในร่างกาย) จึงพบว่าคนเอเชียมักมีรูปร่างบางกว่าคนตะวันตก   ชาวตะวันตกนั้นมักกังวลกับความสะอาดของสาหร่ายทะเล อาจเนื่องจากเคยได้กลิ่นเหม็นเขียวออกเค็มที่หลอนหลังได้พบสาหร่ายเน่าทับซ้อนกันตามชายทะเลในฤดูร้อนช่วงน้ำลงตามชายหาด และมีข้อมูลการวิเคราะห์ปริมาณสารหนูในสาหร่ายทะเลสีน้ำตาลซึ่งตีพิมพ์ใน Environmental Health Perspective ฉบับที่ 4 ของชุดที่ 115 หน้า 606-608 ในปี 2007 ที่สรุปว่าการกินสาหร่ายทะเลนั้นน่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ เกือบสิบปี (2548) มาแล้วเคยมีผู้ให้ข้อมูลว่า หน่วยงานราชการแห่งหนึ่งได้ตรวจสอบสาหร่ายทะเลแห้งที่มีการปรุงแต่งรสและกลิ่นให้ถูกปากคนไทยมีสารแคดเมียมปนเปื้อนเกิน 2 มก./กก. ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานที่หลายประเทศกำหนดไว้ ดังที่กล่าวแล้วว่า สาหร่ายทะเลสามารถดูดซับสารเคมีที่อยู่ในทะเลได้ หากขึ้นในบริเวณมีขยะปนเปื้อน ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งโรงงานตามริมทะเลที่มีนิสัยมักง่ายทิ้งลงทะเล สาหร่ายก็ดูดซับสารเหล่านั้นเข้ามาไว้ในเซลล์ ทั่วไปแล้วสาหร่ายทะเลแห้งมีสารหนูประมาณ 30 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งกล่าวได้ยากว่าอันตรายหรือปลอดภัย ในเภสัชตำหรับของยุโรป (Europian Pharmacopia) ยอมให้สาหร่ายเคลป์ที่ใช้ทำยาแผนโบราณมีสารหนูปนเปื้อนได้ถึง 90 ส่วนในล้านส่วน เพราะสารหนูในสาหร่ายทะเลนั้นอยู่ในรูปสารหนูอินทรีย์ซึ่งพิษค่อนข้างต่ำ แม้คนไทยไม่ได้บริโภคสาหร่ายทะเลเป็นอาหารหลักเหมือนกับคน เกาหลี ญี่ปุ่น หรือ จีน แต่เพื่อความปลอดภัยจึงมีผู้แนะนำในเน็ทว่า ให้กินสาหร่ายแห้งในปริมาณที่ไม่มากเกินปกติ ซึ่งกรณีสาหร่ายแห้งปรุงรสน่าจะไม่เกิน 1- 2 ซองต่อวัน และอย่ารับประทานติดต่อกันหลายวันนัก เพื่อลดโอกาสการสะสมของสารพิษที่อาจมี สำหรับผู้เขียนซึ่งเป็นแฟนพันธุทาง(คือดูบ้างไม่ดูบ้าง) ของเว็บพันทิปดอทคอมได้พบกระทู้ใน ห้องที่เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ถามว่า “คือช่วงนี้ติดสาหร่ายทอดมากๆ ที่กินบ่อยมากๆ คือ ยี่ห้อXXXX  ค่ะ วันนึงประมาณ 3-4 ถุงใหญ่ค่ะ (ถุงนึงประมาณ 20 แผ่นมั้ง) ทำแบบนี้มาประมาณเดือนนึงละ จะมีอันตรายอะไรไหมคะ กลัวเรื่องเกลือเหมือนกันว่าจะมีโซเดียมเยอะ แต่ก็อร่อย แฮะๆ” มีผู้เข้ามาให้คำตอบประมาณว่า “พฤติกรรมดังกล่าวทำให้ไขมันเยอะ อ้วน ผงชูรสเยอะมาก เกลือโซเดียมก็เยอะมาก ควรทำตามคำแนะนำข้างซอง บริโภคแต่น้อย ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ” ที่น่าสนใจคือมีสาวหนึ่งกล่าวว่า “สาหร่ายปรุงรสพวกนี้มีโลหะหนักปนเปื้อนค่ะ พวกสารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ขึ้นอยู่กับแหล่งเพาะเลี้ยง ถ้าใกล้แหล่งอุตสาหกรรม สาหร่ายก็จะดูดซับโลหะหนักเข้าไปมาก แต่จากการสุ่มตรวจพบในปริมาณไม่เยอะค่ะ เพราะส่วนใหญ่จะล้างก่อนเข้ากระบวนการ แต่ก็ไม่ควรทานเยอะ โลหะหนักพวกนี้มันสะสมในร่างกาย นานๆ เข้าก็เป็นอันตราย ยิ่งเด็กเล็กจะมีผลต่อพัฒนาการและสุขภาพค่ะ” (สาวท่านนี้คงเข้าใจผิดว่า สารพิษที่อยู่ในอาหารทะเลนั้นเหมือนธุลีดินที่ติดเสื้อผ้า) ที่น่ากังวลใจคือ มีข้อมูลกล่าวว่า “ระวังจะเจอสาหร่ายปลอมด้วยนะคะ เคยเห็นในกระทู้ไหนจำไม่ได้แล้ว พี่จีนเอาถุงก๊อบแก๊บมาตี ๆ ปั่น ๆ แล้วอัดมาเป็นสาหร่ายก๊อปเกรด A” ดังนั้นการบริโภคสาหร่ายทะเลย่อมเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่ดีนั้นจะกลายเป็นสิ่งที่เลวได้ถ้ามันมากเกินไปและบ่อยเกินไป เพราะพาราเซลซัสบิดาแห่งวิชาพิษวิทยาได้กล่าวว่า อะไร ๆ ก็ตามในโลกนี้มีทั้งข้อดีและข้อเลว ขึ้นกับปริมาณและความถี่ที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นการเดินสายกลางในด้านการกินจึงเป็นข้อปฏิบัติที่ดีสำหับผู้บริโภค //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 111 ผลทดสอบ เห็ดหอม เห็ดหูหนูขาวและสาหร่ายทะเล

ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอรายงานผลการทดสอบของแห้งสำหรับปรุงอาหารยอดนิยม 3 ชนิดคือ เห็ดหอมแห้ง เห็ดหูหนูขาว และสาหร่ายทะเลแห้ง ครับผลการทดสอบที่จะนำเสนอคราวนี้มาจากการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกเดือนกันยายน และครั้งที่สอง เดือนพฤศจิกายน 2552 โดยเก็บตัวอย่างจากทั้งในห้างสรรพสินค้าและในตลาดสด ของพื้นที่ดำเนินงานโครงการฯ 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สตูล และสงขลา เห็ดหอมแห้ง จำนวนรวมของตัวอย่างที่ทดสอบ คือ 17 ตัวอย่าง แบ่งเป็น ครั้งที่ 1 จำนวน 9 ตัวอย่าง และ ครั้งที่ 2 จำนวน 8 ตัวอย่าง 1. การทดสอบสารตกค้างทางการเกษตรประเภทยากันรา พบยากันรา (คาร์เบนดาซิม: Carbendazim) 12 จาก 17 ตัวอย่าง จากการทดสอบครั้งที่ 1 จำนวน 5 ตัวอย่าง + ทดสอบครั้งที่ 2 จำนวน 7 ตัวอย่าง คิดเป็น 2 ใน 3 ของตัวอย่างทั้งหมด ค่าเฉลี่ยของสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.33 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีปริมาณที่พบสูงสุด 3 อันดับแรก ดังนี้ (1) 1.71 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่มียี่ห้อและไม่ระบุผู้ผลิต เก็บตัวอย่างจากตลาดสดเทศบาล 2 จังหวัดขอนแก่น (2) 0.67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่มียี่ห้อ และไม่ทราบผู้ผลิต เก็บตัวอย่างจากตลาดสดเมืองสตูล (3) 0.54 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตราตะวัน บ. ตะวันพืชผล จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ เก็บตัวอย่างจากบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม 2. การทดสอบสารเคมีตกค้างทางการเกษตรกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) พบตัวอย่างที่ปนเปื้อนสารตกค้างทางการเกษตรกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต 9 จาก 17 ตัวอย่าง จากการทดสอบครั้งที่ 1 จำนวน 5 ตัวอย่าง และ จากการทดสอบครั้งที่ 2 จำนวน 4 ตัวอย่าง ค่าเฉลี่ยของสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.016 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีปริมาณสารเคมีที่พบซึ่งมีค่าสูงกว่า 0.02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 2 ตัวอย่าง คือ (1) ยี่ห้อเทสโก้ โลตัส ปริมาณที่พบ 0.04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาจังหวัดสมุทรสงคราม และ (2) ยี่ห้อ บิ๊กซี ปริมาณที่พบ น้อยกว่า 0.035 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สาขาพระราม 2 กรุงเทพฯ 3. การทดสอบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) พบตัวอย่างที่มีการปนเปื้อนอะฟลาทอกซิน จำนวน 5 จาก 17 ตัวอย่าง จากการทดสอบครั้งที่ 1 จำนวน 3 ตัวอย่าง และ จากการทดสอบครั้งที่ 2 จำนวน 2 ตัวอย่าง หรือประมาณ 1 ใน 4 ของตัวอย่างทั้งหมด มีปริมาณเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 5.42 ไมโครกรัม/กิโลกรัม (เทียบเท่ากับ 1 ใน 4 ของปริมาณสูงสุดที่กำหนดให้มีได้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ซึ่งระบุไว้ว่าไม่เกิน 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม) โดยมีปริมาณอะฟลาทอกซินทั้งหมดที่พบสูง 3 อันดับดังนี้ (1) ตราคุ้มค่า ของ บ. ตะวันพืชผล จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ ปริมาณที่พบ 11.0 ไมโครกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจาก ห้างเทสโก้ โลตัส สาขาบางประกอก กรุงเทพฯ (2) ยี่ห้อ บิ๊กซี ของ บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์มาร์เก็ต ปริมาณที่พบ 8.1 ไมโครกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สาขาพระราม 2 กรุงเทพฯ (3) ยี่ห้อ เทสโก้ โลตัส ของบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด กรุงเทพฯ ปริมาณที่พบ 5.0 ไมโครกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ข้อสังเกต1. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 7 ตัวอย่าง จาก 17 ตัวอย่าง ที่ไม่ผ่านเกณฑ์เชื้อรา (Mold) ซึ่งแสดงถึงความไม่สะอาดในกระบวนการผลิต และมีอัตราเฉลี่ยของปริมาณที่พบเท่ากับ 1,764.3 โคโลนี/กรัม (เกณฑ์มาตรฐานกรมวิทย์ฯ เท่ากับ 500 โคโลนี/กรัม)2. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ตัวอย่างจาก 2 ตัวอย่าง (อีก 15 ตัวอย่าง ไม่ได้วิเคราะห์) ที่ตรวจพบการปนเปื้อนของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เกินมาตรฐาน โดยทั้งสองตัวอย่างเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา ปริมาณที่พบ 2,379.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และผลิตภัณฑ์ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่พบเท่ากับ 2,065.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม3. ผลิตภัณฑ์กว่า 3 ใน 4 ของที่เก็บตัวอย่างไม่สามารถระบุวันผลิตและวันหมดอายุได้ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มีอายุแค่ไหน เหมาะสมแก่การบริโภคหรือไม่4. ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เก็บตัวอย่างจากห้างค้าส่งหรือค้าปลีกขนาดใหญ่หรือผลิตภัณฑ์ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดสด ล้วนมีความเสี่ยงจากสารเคมีตกค้างทางการเกษตร อะฟลาทอกซิน หรือแม้กระทั่งซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไม่แตกต่างกัน ** อย่างไรก็ตามปริมาณการปนเปื้อนในเห็ดหอมแห้งที่พบโดยภาพรวมยังถือว่ามีปริมาณไม่มากนัก และไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายฉับพลันจากการบริโภค ยกเว้น แต่ในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ อาจจะพบอาการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจจากการบริโภคเห็ดหอมแห้งที่มีการปนเปื้อนของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณสูงได้   เห็ดหูหนูขาว เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 16 ตัวอย่าง (ครั้งที่ 1 เดือนกันยายน และครั้งที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2552 ครั้งละ 8 ตัวอย่าง) 1.พบการปนเปื้อนของยากันรา – คาร์เบนดาซิม 2 จาก 16 ตัวอย่างที่ทดสอบ ทั้งหมดพบในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เดือนกันยายน 2552 คิดเป็นร้อยละ 12.5 โดยตัวอย่างที่พบ ได้แก่ ยี่ห้อปลาทอง ของ บ. เฮอริเทจ สแน็ค แอนด์ฟู้ด จำกัด เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาสตูล ปริมาณที่พบ 0.282 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และผลิตภัณฑ์จากประเทศจีน ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดสดพะเยา ปริมาณที่พบ น้อยกว่า 0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 2.พบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตร กลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต 6 จาก 16 ตัวอย่าง โดยทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เก็บจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 เดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 37.5 ค่าเฉลี่ยของสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.073 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สารเคมีที่พบ มี 2 ชนิดคือ Methamidophos (จำนวน 2 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบ 0.28 และ 0.15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยเป็นตัวอย่างที่เก็บจาก จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล ตามลำดับ) และ Chlorpyrifos (จำนวน 4 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 0.0037 – 0.0027 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยเป็นตัวอย่างที่เก็บจาก ห้างเทสโก้ โลตัส สมุทรสงคราม, ตลาดเก่าเยาวราช กรุงเทพฯ, ห้างแมคโคร เชียงใหม่, และตลาดเมืองพะเยา 3.พบการปนเปื้อนของสารฟอกขาว-ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในตัวอย่างทั้งสิ้น 12 จาก 16 ตัวอย่างที่ทดสอบ ปริมาณเฉลี่ยที่พบ 1,638.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มี 8 ตัวอย่างที่พบมีการปนเปื้อนเกินมาตรฐานวัตถุเจือปนอาหาร (1,500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ดังนี้ (1) ตัวอย่างนำเข้าจากประเทศจีนไม่ทราบยี่ห้อ ที่เก็บจากตลาดนิวกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เดือน กันยายน 52 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 3,588 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (2) ยี่ห้อ Tai Liang Yao เก็บตัวอย่างจากตลาดเก่าเยาวราช กรุงเทพ ฯ ในการเก็บตัวอย่างครั้งทื่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2552 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2,978.7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(3) ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดเทศบาล 3 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เดือน กันยายน 52 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2,585 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(4) ผลิตภัณฑ์ของ บ. ทริปเปิ้ลทู มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เก็บตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ สาขารังสิต ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เดือน กันยายน 52 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2,226.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(5) ผลิตภัณฑ์จากประเทศจีน ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดสดละงู จังหวัดสตูล ในการเก็บตัวอย่างครั้งทื่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2552 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2,250.49 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (6) ผลิตภัณฑ์จากประเทศจีน ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดเมืองพะเยา ในการเก็บตัวอย่างครั้งทื่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2552 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2,183.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(7) ผลิตภัณฑ์จากประเทศจีน ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดพลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในการเก็บตัวอย่างครั้งทื่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2552 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2,038.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(8) ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดเทศบาล 2 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 เดือน พฤศจิกายน 52 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 1526.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 4.พบสารพิษจากเชื้อรา อะฟลาท็อกซิน 1 จาก 16 ตัวอย่างที่ทดสอบ โดยเป็นตัวอย่างที่เก็บจากการเก็บต้วอย่างครั้งที่ 2 เดือน พฤศจิกายน 52 ยี่ห้อตะวัน ของ บริษัท บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สมุทรสงคราม สารพิษที่พบ คือ อะฟลาทอกซิน ชนิด B1 ปริมาณที่พบ 0.3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ข้อสังเกต1. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 1 ตัวอย่างจากทั้งหมด 16 ตัวอย่างที่พบค่าเชื้อรา (Mold) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสะอาดจากการผลิตเกินมาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ไม่เกิน 500 โคโลนี/ต่อกรัม) ที่จำนวน 5,800 โคโลนี/กรัม โดยเป็นตัวอย่าง ยี่ห้อตะวัน ของ บริษัท บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สมุทรสงคราม2. ผลิตภัณฑ์ที่เก็บส่วนใหญ่ ( 14 จาก 16 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 87.5) ไม่มีการระบุวันผลิตและวันหมดอายุ สาหร่ายทะเลแห้ง เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 22 ตัวอย่าง (ครั้งที่ 1 เดือนกันยายน 52 จำนวน 7 ตัวอย่าง และ ครั้งที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 52 จำนวน 15 ตัวอย่าง) ผลทดสอบ1.ไม่พบการปนเปื้อนของสารกันรา – คาร์เบนดาซิม ในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ2.พบการปนเปื้อนของสารตกค้างทางการเกษตรกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต 10 จาก 22 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างที่เก็บเมื่อเดือนกันยายน 52 จำนวน 2 ตัวอย่างและตัวอย่างที่เก็บเมื่อเดือนพฤศจิกายน 52 จำนวน 8 ตัวอย่าง ปริมาณเฉลี่ยของสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.005 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณบริโภคปกติจึงไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย3.ไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาท็อกซิน ในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ 4.พบการปนเปื้อนของโลหะหนัก ตะกั่ว (Lead) ทุกตัวอย่าง โดยมีปริมาณเฉลี่ยของตะกั่วที่พบเท่ากับ 0.57 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของ ค่ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) กำหนด (ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) เมื่อนำมาตรฐานมาเทียบพบว่ามีผลิตภัณฑ์จำนวน 3 ตัวอย่างมีค่าตะกั่วสูงเกินกว่ามาตรฐาน (ร้อยละ 13.6) โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่เก็บเมื่อเดือนกันยายน 2552 จำนวน 1 ตัวอย่าง ได้แก่ยี่ห้อ เขียวธรรมชาติ เก็บตัวอย่างจาก เทสโก้ โลตัส สมุทรสงคราม ปริมาณที่พบ 1.31 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และเป็นผลิตภัณฑ์ที่เก็บเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 จำนวน 2 ตัวอย่าง ได้แก่ ยี่ห้อ Seaweed ผลิตโดย Poo tradind and export ,Pinang , Malaysia เก็บตัวอย่างจากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปริมาณตะกั่วที่พบเท่ากับ 1.88 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และยี่ห้อ ใบเขียว ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ปริมาณที่พบเท่ากับ 1.06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 5.พบการปนเปื้อนของโลหะหนัก แคดเมียม (Cadmium) ทุกตัวอย่าง โดยมีปริมาณเฉลี่ยของแคดเมียมที่พบเท่ากับ 1.86 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือ เกือบสิบเท่าของมาตรฐานอาหารสากลกำหนด (CODEX ใบผัก – 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณแคดเมียมสูงกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีทั้งสิ้น 9 ตัวอย่าง ได้แก่ (1) ผลิตภัณฑ์ที่เก็บจากตลาดสดมหาสารคาม ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 52 ปริมาณที่พบเท่ากับ 5.06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (2) สาหร่ายทะเลแห้งยี่ห้อปลาทองของ บ.เฮอริเทจ สแน็ค แอนด์ฟู้ด เก็บตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ปริมาณแคดเมียมที่พบ เท่ากับ 4.66 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (3) ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Donghu seaweed เก็บตัวอย่างจากตลาดสดเมืองสตูลเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ปริมาณที่แคดเมียมที่พบ เท่ากับ 3.93 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(4) ผลิตภัณฑ์ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดสดเมืองพะเยาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ปริมาณแคดเมียมที่พบเท่ากับ 3.26 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(5) ผลิตภัณฑ์ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดเทศบาล 2 จังหวัดขอนแก่น เดือนกันยายน 2552 ปริมาณแคดเมียมที่พบเท่ากับ 2.34 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(6) สาหร่ายทะเลแห้งยี่ห้อปลาทองของ บ.เฮอริเทจ สแน็ค แอนด์ฟู้ด เก็บตัวอย่างจากเทสโก้ โลตัส สาขาสมุทรสงคราม เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ปริมาณแคดเมียมที่พบเท่ากับ 2.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(7) ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเป็นภาษาจีน เก็บตัวอย่างจากตลาดสดเทศบาล 3 จังหวัดขอนแก่น เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ปริมาณแคดเมียมที่พบเท่ากับ 2.11 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(8) ผลิตภัณฑ์นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย เก็บตัวอย่างจากตลาดสดละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เมื่อเดือนกันยายน 2552 ปริมาณแคดเมียมที่พบเท่ากับ 2.09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(9) สาหร่ายทะเลแห้งตราแมกซ์ นำเข้าโดย บจก.แมกซ์เมริตี้ เก็บตัวอย่างจากห้างสยามพารากอน กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกันยายน 2552 ปริมาณแคดเมียมที่พบ เท่ากับ 2.04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ข้อมูลที่ต้องลงกำกับไปพร้อมกับตาราง • ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้นโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดลภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่นคณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่ -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ฉลาดซื้อ “ของแห้ง”1. ทั้ง เห็ดหอมแห้ง เห็ดหูหนูขาวและสาหร่ายแห้ง ส่วนมากเป็นอาหารที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ จึงยากที่เราจะทราบเรื่องวันเดือนปีที่ผลิต ดังนั้นวิธีการง่ายๆ ที่เราพอจะทำได้ในการสังเกตคุณภาพของอาหารแห้งเหล่านี้ก็คือ ดูที่บรรจุภัณฑ์ว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ ไม่มีร่องรอยฉีกขาด หรือดูไม่สะอาดจนน่าสงสัย2. ขึ้นชื่อว่าอาหารแห้ง ตัวผลิตภัณฑ์ก็ต้องอยู่ในสภาพที่แห้งจริงๆ ไม่มีความชื้น เพราะถ้าหากมีความชื้นปนเปื้อนมาในอาหารแห้งที่เราซื้อ ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าสินค้าตัวนั้นไม่มีคุณภาพ3. เห็ดหอมแห้ง เห็ดหูหนูขาว และสาหร่ายแห้ง ที่ซื้อมาควรล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย แช่น้ำให้นานๆ ก่อนนำไปปรุงอาหาร ช่วยกำจัดได้ทั้งฝุ่นและแมลงตัวเล็กๆ ที่มักปนเปื้อนมากับอาหารแห้ง รวมทั้งยังช่วยชะล้างสารเคมีบางชนิดได้ด้วย 4. ไม่เลือกผลิตภัณฑ์ที่ดูขาวจนผิดธรรมชาติ เพราะมีการปนเปื้อนของซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือสารฟอกขาวแน่ๆ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 108 สาหร่ายทะเลอบกรอบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านนิตยสารฉลาดซื้อทุกท่าน พบกันอีกครั้งกับหนังชีวิตเรื่องยาวของการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารโดยผู้บริโภค ฉบับก่อนผมนำเสนอข้อมูลผลการทดสอบนมโรงเรียนไป ก็ปรากฎว่ายังมีปัญหาอยู่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะนมโรงเรียนประเภทพาสเจอร์ไรส์ และจนถึงขณะนี้เราได้เก็บตัวอย่างเพิ่มอีกสองครั้งแล้ว ไว้คอยติดตามผลกันนะครับ ส่วนในฉบับนี้ผมขอนำเสนอทุกท่านด้วยเรื่อง สาหร่ายอบกรอบ ของกินเล่นอาหารว่างเทรนด์ใหม่มาแรง สาหร่ายทะเลอบกรอบ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา ด้วยว่ามีคุณสมบัติและคุณประโยชน์ที่มากมาย จัดเป็นแหล่งอาหารที่มีไอโอดีนและแร่ธาตุอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่สูง แต่ว่าไม่มีอะไรดีไปทั้งหมด สาหร่ายทะเลพบแร่ธาตุอาหารที่ดีมากก็จริง แต่ก็พบสารเคมีที่อันตรายต่อสุขภาพด้วยครับ จากการเฝ้าระวังเรื่องการปนเปื้อนของสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในสาหร่ายทะเลในอดีตพบว่า ปัญหาสำคัญที่พบในสาหร่ายทะเลกินเล่นก็คือ การปนเปื้อนของสารแคดเมียม ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายในปริมาณที่น่ากังวลครับ ดังนั้นการเก็บตัวอย่างสาหร่ายทะเลอบกรอบครั้งนี้ จึงเน้นที่การปนเปื้อนของสารแคดเมียม ตะกั่ว อะฟลาท็อกซินและปริมาณของโซเดียมครับ การเก็บตัวอย่าง เราสุ่มเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 21 ตัวอย่าง 18 ยี่ห้อ จากพื้นที่ 8 จังหวัดดำเนินงาน โดยมีรายชื่อยี่ห้อสินค้าดังนี้ ซาลิมิ รสเข้มข้น (2 ตัวอย่าง), ซีเฟรนด์, แมกซ์, เทสโก้, ซันวา, ชนิชา, คุณฟิล์ม (2 ตัวอย่าง คือรสดั้งเดิมและรสต้มยำ), ตะวันแดง, โชกุเนะ (รสต้มยำ), ซีลีโกะ (รสต้นตำรับ), แม่โจ้, เถ้าแก่น้อย ( 2 ตัวอย่าง, Japanese panda, ชุมชนวัดแจ้ง, คาบูกิ, BI-NO ZAMBAI, A.JINTSUKE NORI, และ ยังบัน   ผลการทดสอบ1. พบเชื้อ อะฟลาท็อกซินเล็กน้อย ในผลิตภัณฑ์ที่เก็บจากจังหวัดสงขลา 2 ยี่ห้อ คือ ยี่ห้อ A.JINTSUKE NORI ที่ปริมาณ 0.08 ไมโครกรัม/กิโลกรัม และยี่ห้อ ยังบัน ที่ปริมาณ 0.11 ไมโครกรัม/กิโลกรัม แต่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ที่ 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529) 2. สาหร่ายเกือบทุกตัวอย่างที่ตรวจหาสารตะกั่ว (19 ตัวอย่าง) พบว่ามีตะกั่วสะสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.162 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อย่างไรก็ตามไม่มีสาหร่ายยี่ห้อใดมีค่าเฉลี่ยสูงเกินค่าตะกั่วสูงสุดที่รับได้ตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุไว้ (1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม :ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529) 3. พบแคดเมียมปนเปื้อนในทุกตัวอย่างที่ตรวจ (19 ตัวอย่าง) และทุกตัวอย่างมีค่าแคดเมียมสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานสากล (CODEX) 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีค่าเฉลี่ยของแคดเมียมที่พบอยู่ที่ 2.323 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และมีตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 8 ตัวอย่าง (7 ยี่ห้อ) มีค่าแคดเมียมสูงกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ ซีลีโกะ (ต้นตำรับ) 6.91 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, เถ้าแก่น้อย 5.368 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, A.JINTSUKE NORI 4.551 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, เทสโก้ 3.99 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, แมกซ์ 3.04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ซันวา 2.95 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, และ ซาลิมิรสเข้มข้น จำนวน 2 ตัวอย่าง พบค่าแคดเมียมที่ 2.91 และ 2.399 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ ข้อสังเกตจากการทดสอบเราได้ตรวจพบสารเคมีการเกษตรตกค้างในผลิตภัณฑ์สาหร่ายที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และ จังหวัดเชียงใหม่ โดยพบสารเคมีกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต ชนิด Ethion ในผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเถ้าแก่น้อยที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และผลิตภัณฑ์สาหร่ายทอดแม่โจ้ ที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังพบสารเคมีและกลุ่ม Organophosphorus ชนิด Triazophos กับ Triphenyl phosphate ในผลิตภัณฑ์สาหร่ายทอดแม่โจ้ที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณสารเคมีที่พบในตัวอย่างทั้งสองที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงใหม่ นั้นถือว่าอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก คือไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม กินแต่น้อย อร่อยพอดีๆ สาหร่ายทะเลอบกรอบ อย่างไรก็ยังจัดว่าเป็นของกินเล่นที่ดี เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ให้ระวังอย่ารับประทานมากเกินไป กินแต่น้อย อร่อยพอดีๆ นะครับ เพราะหนึ่ง รสชาติเค็ม จะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมสูง สองจากการทดสอบจะเห็นว่า มีการปนเปื้อนของแคดเมียมในปริมาณค่อนข้างสูง แม้เมื่อเทียบในปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอาจจะถือว่าเล็กน้อย แต่เราก็ไม่ควรสะสมสารโลหะหนักในร่างกายให้มากไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพในภายหลังครับ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------เรื่องน่ารู้เกี่ยวแคดเมียมแคดเมียม คือโลหะที่เป็นเงาวับใช้ทำสิ่งของต่างๆ เช่น เส้นลวด กันชนรถยนต์ และกิจการอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มีประมาณร้อยละ 50 ใช้ในการเคลือบเงาด้วยไฟฟ้าที่เรียกว่า Electroplated coating จะได้ผิวโลหะที่เคลือบด้วยแคดเมียมเป็นเงางามและทนต่อการกัดกร่อนไม่เป็นสนิม โลหะที่เคลือบด้วยแคดเมียมจะใช้ในอุปกรณ์รถยนต์ต่างๆ ทั้งที่เป็นส่วนของเครื่องยนต์และส่วนประกอบอื่นๆ รวมไปถึงน๊อตและสกรูด้วย นอกจากนั้นโลหะเคลือบแคดเมียมยังใช้เป็นชิ้นส่วนของเครื่องบิน วิทยุ โทรทัศน์ ตู้เย็น และอื่นๆ อีกมากมาย จากการใช้อย่างกว้างขวางทำให้พบโลหะแคดเมียมปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม บรรยากาศ และในอาหารที่คนเรากินโดยทั่วไป ดังนั้นมนุษย์เราจึงได้รับแคดเมียมเข้าไปในร่างกายได้หลายทางโดยไม่รู้ตัว เช่น คนงานที่ทำงานใช้โลหะแคดเมียมจะได้รับทางการหายใจเป็นส่วนใหญ่ คนทั่วๆ ไปจะได้รับจากอาหารที่กินเข้าไปเป็นหลัก และได้รับจากอากาศเล็กน้อย ขึ้นกับความสะอาดของอากาศ แต่คนที่สูบบุหรี่จะได้รับโลหะแคดเมียมจากบุหรี่มากพอสมควร แคดเมียมในอาหาร จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งผลิตอาหารและการปนเปื้อนของแคดเมียมในสิ่งแวดล้อมซึ่งเข้าไปปนอยู่ในน้ำและในดิน บริเวณใดที่มีโลหะแคดเมียมในดินสูงและมีการปลูกพืชบริเวณนั้น จะมีปริมาณแคดเมียมในพืชนั้นสูงตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีของบางเมืองในประเทศญี่ปุ่นที่อยู่บริเวณตอนใต้ของการทำเหมืองแร่ จะมีโลหะแคดเมียมถูกชะลงมาตามน้ำและสะสมในดิน เมื่อปลูกข้าวในบริเวณนั้นจะพบว่ามีปริมาณของแคดเมียมในข้าวสูงมาก จนทำให้คนญี่ปุ่นที่รับประทานข้าวจากบริเวณนั้นป่วยเป็นโรคพิษจากแคดเมียม กันมากมาย เพราะฉะนั้นน้ำจึงเป็นตัวพาแคดเมียมไปสะสมในที่ต่างๆ ถ้ายิ่งน้ำฝนที่เป็นกรดด้วยก็จะเพิ่มปริมาณการสะสมแคดเมียมในดิน พืชจึงดูดไปสะสมได้มากขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานปลอดภัยในการได้รับแคดเมียมไว้ว่า คนปกติไม่ควรได้รับแคดเมียมเกิน สัปดาห์ละ 0.40 - 0.50 มิลลิกรัม ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   พิษของ แคดเมียมและโรคที่เกิดขึ้นการได้รับแคดเมียมจำนวนมากอาจทำให้ เกิดพิษเฉียบพลันได้ แต่ส่วนใหญ่โรคที่เกิดจากแคดเมียมมักเป็นชนิดเรื้อรัง โดยการได้รับแคดเมียมติดต่อกันเป็นเวลานาน โรคที่เกิดอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้ 1. โรคปอดเรื้อรัง การได้รับแคดเมียมนานๆ และในปริมาณมากโดยเฉพาะจากการหายใจ จะทำให้เกิดการอุดตันภายในปอด ผู้ที่มีความเสี่ยงมากคือคนทำงานกับผงแคดเมียมโดยตรง เช่น โรงงานแบตเตอรี่ขนาดเล็ก 2. โรคไตอักเสบ จะแสดงออกโดยมีการอักเสบของไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ท่อในไตซึ่งจะพบแคดเมียมในปัสสาวะสูง มีโปรตีน กลูโคสสูงในปัสสาวะ การทำงานทางท่อในไตเสียการทำงาน พบว่ามีการสะสมของแคดเมียมที่หมวกไตก่อให้เกิดการอักเสบและเป็นอันตรายต่อไป และอาจเป็นไตวายได้ในที่สุดการเกิดโรคไตอักเสบนี้จะเป็นแบบถาวร แม้ว่าจะไม่ได้รับแคดเมียมต่อไปแล้ว แต่ไตก็ยังไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาดังเดิมได้ 3. โรคกระดูก แคดเมียมทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมออกมาในปัสสาวะสูง และอาจมีแคดเมียมเข้าไปสะสมในกระดูกทำให้กระดูกพรุน และมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการปวดกระดูกสะโพก เช่นที่เกิดกับชาวญี่ปุ่นที่เมืองฟูซู ในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเรียกโรคนี้ว่า อิไตอิไต (itai itai) หรือ เอาซ์ เอาซ์ (ouch ouch) 4. โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ พบว่าแคดเมียมทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นมากและมีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงขึ้นด้วย ซึ่งอาจจะเป็นการร่วมกันกับโรคไตดังที่กล่าวมาแล้ว 5. โรคมะเร็ง มีข้อมูลการศึกษาติดตามคนงานที่ทำงานสัมผัสกับแคดเมียม เช่น โรงงานทำแบตเตอรี่แห้งขนาดเล็ก พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด สูงกว่าคนทั่วไปและอาจมีผลต่อการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งของต่อมลูกหมากด้วย   ตารางผลทดสอบสาหร่ายอบกรอบกินเล่น   มาตรฐาน Aflatoxin  (µg/kg) < 20 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) Lead (mg/kg) < 1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) Cadmium (mg/kg) ประเทศไทยยังไม่กำหนด ส่วนมาตรฐานของโคเด็กซ์ กำหนดไว้ ไม่เกิน 0.2 mg/kg     สาหร่ายอบกรอบปรุงรส     วันผลิต/ วันหมดอายุ % Salt Aflatoxin Lead Cadmium Yeast Mold     (µg/kg) (mg/kg) (mg/kg) (cfu/g) (cfu/g)   ซาลิมิ รสเข้มข้น 03-08-2009/03-08-2010 5.27 Not detected 0.363 2.91 < 10 3 X 10 กรุงเทพ ซีเฟรนด์ 25-03-2010 2.88 Not detected 0.074 0.342 < 10 < 10   แมกซ์ 30-09-2010 4.35 Not detected 0.245 3.04 < 10 < 10   เทสโก้ 09-09-09/09-10-10 4.74 Not detected 0.287 3.99 < 10 < 10   ซันวา ไม่ทราบ 5.28 Not detected 0.221 2.95 < 10 < 10 สมุทร ชนิชา ไม่ทราบ 1.51 Not detected 0.097 1.26 < 10 < 10 สงคราม คุณฟิลม์ ไม่ทราบ 1.01 Not detected 0.032 1.32 < 10 < 10   ตะวันแดง ไม่ทราบ 4.72 Not detected 0.078 1.17 < 10 < 10   คุณฟิล์ม (รสต้มยำ) 16/07/09 16/01/10 1.41 Not detected 0.2 0.65 < 10 13 ขอนแก่น โชกุเนะ (รสต้มยำ) 8/5/2009 08/03/10 1.46 Not detected 0.07 0.54 13 10   ซีลีโกะ (ต้นตำรับ) 11/4/2009 11/04/10 2.94 Not detected 0.16 6.91 < 10 10 เชียงใหม่ แม้โจ้ ไม่แสดงวันหมดอายุ ไม่ได้วิเคราะห์ Not detected ไม่ได้วิเคราะห์ ไม่ได้วิเคราะห์ < 10 15 พะเยา เถ้าแก่น้อย ไม่ทราบ ไม่ได้วิเคราะห์ Not detected ไม่ได้วิเคราะห์ ไม่ได้วิเคราะห์ < 10 < 10   Japanese panda ไม่ทราบ 0.7 Not detected Not detected 1.33 < 10 สตูล เถ้าแก่น้อย ไม่ทราบ 3.34 Not detected 0.297 5.368 < 10   ชุมชนวัดแจ้ง ไม่ทราบ 2.32 Not detected 0.053 1.238 < 10   คาบูกิ ไม่ทราบ 2.85 Not detected 0.2 1.872 < 10   BI-NO  ZAMBAI ไม่ทราบ 3.01 Not detected 0.113 1.565 < 10   A.JINTSUKE NORI ไม่ทราบ 2.74 0.08 0.203 4.551 < 10 สงขลา ยังบัน

อ่านเพิ่มเติม >