ฉบับที่ 269 มัน..ไซยาไนด์

        สารประกอบไซยาไนด์เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีอนุมูลไซยาไนด์เป็นองค์ประกอบ บางชนิดออกฤทธิ์ทำอันตรายผู้เคราะห์ร้ายได้รวดเร็วเช่น ชนิดที่ถูกนำมาใช้ในการก่อคดีฆาตกรรมนั้นเป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่อนุมูลไซยาไนด์รวมตัวกับโลหะอัลคาไลน์ (เช่น โซเดียมหรือโปแตสเซียม) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งสีขาว นอกจากนั้นพบได้เป็นสารประกอบที่รวมตัวกับโลหะอื่นอีกหลายชนิด ประเด็นที่น่าสนใจคือ สารประกอบไซยาไนด์หลายชนิดถูกพบในรูปของไซยาโนเจนิกกลัยโคไซด์ (cyanogenic glycoside) ในพืชหลายชนิด เช่น มันสำปะหลัง ซึ่งสารประกอบนี้ถูกเปลี่ยนเป็นกรดไฮโดรไซยานิคในบริบทที่เหมาะสม           มันสำปะหลัง เป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมแป้งและเม็ดสาคู เป็นที่รู้กันดีในทางวิชาการว่า โอกาสที่มันสำปะหลังจะปล่อยก๊าซไซยาไนด์ออกมาระหว่างการเก็บและผลิตเป็นแป้งนั้นเกิดขึ้นได้เสมอ ประเด็นคือ เรื่องราวเหล่านี้มีการให้ความรู้แก่ประชาชนมากพอหรือยัง อีกทั้งการเลี่ยงจะไม่กินอาหารที่มีสารประกอบไซยาไนด์ตามธรรมชาตินั้นอาจเป็นไปได้ยากในบางกลุ่มชนในบางภูมิภาคของโลก         บทความเรื่อง High cassava production and low dietary cyanide exposure in mid-west Nigeria ในวารสาร Public Health Nutrition ของปี 2000 ให้ข้อมูลว่า หัวและใบมันสำปะหลังดิบนั้นบริโภคไม่ได้ เนื่องจากมีสารไซยาโนเจนิกกลัยโคไซด์หลัก 2 ชนิด คือ ลินามาริน (linamarin) และโลทอสตราลิน (lotaustralin) แต่สารพิษเหล่านี้ยังไม่ออกฤทธิ์จนกว่าถูกย่อยสลายโดยเอ็นซัมลินามาเรส (linamarase ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติในเซลล์ของมันสำปะหลังแต่แยกกันออกจากไซยาโนเจนิกกลัยโคไซด์โดย โดยอยู่ในส่วนเฉพาะเหมือนถุงหุ้มภายในเซลล์ของมันสำปะหลัง) ก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ระเหยสู่อากาศรอบบริเวณสถานที่เก็บหัวมันหรือผลิตแป้งมัน ในกรณีที่ก๊าซระเหยหายไปหมดย่อมทำให้ได้แป้งที่ได้มีความปลอดภัยต่อการบริโภค         นอกจากนี้บทความเรื่อง Occupational exposure to hydrogen cyanide during large-scale cassava processing, in Alagoas State, Brazil ในวารสาร Cadernos de Saúde Pública (คาแดร์โนส เด เซาเด ปุบลิกา หรือ สมุดบันทึกสาธารณสุข) ของปี 2017 ให้ข้อมูลว่า การแปรรูปมันสำปะหลังที่มีสารประกอบไซยาโนเจนิกกลัยโคไซด์ในระดับอุตสาหกรรมใหญ่จนถึงอุตสาหกรรมพื้นบ้านของบราซิลนำไปสู่การปล่อยไฮโดรเจนไซยาไนด์สู่อากาศ ซึ่งพนักงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องรับไฮโดรเจนไซยาไนด์อย่างต่อเนื่องผ่านการหายใจ การสัมผัสทางผิวหนัง และอาจได้รับทางปากด้วยในบางกรณี         โดยหลักการทางพิษวิทยาแล้วเมื่อใดที่สารประกอบไซยาไนด์เข้าสู่ร่างกายในระดับที่ไม่ก่อพิษเฉียบพลัน สารประกอบไซยาไนด์ส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนโดยกระบวนการที่ใช้เอ็นซัมโรดาเนส (ซึ่งพบในไมโตคอนเดรียของเซลล์) ได้เป็นสารประกอบไธโอไซยาเนต (thiocyanate) ซึ่งมีอันตรายน้อยกว่าและถูกขับทิ้งออกจากร่างกายทางปัสสาวะ และไซยาไนด์จำนวนเล็กน้อยที่เหลือในร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งออกจากร่างกายผ่านทางลมหายใจ โดยรวมแล้วสารประกอบไซยาไนด์ปริมาณต่ำและผลิตภัณฑ์จากไซยาไนด์ที่เกิดจากการกำจัดพิษส่วนใหญ่ถูกขับออกจากร่างกายภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการสัมผัส         สำหรับในประเด็นที่ว่าการกินอาหารที่มีสารประกอบไซยาไนด์ธรรมชาติมีส่วนในการก่อให้เกิดลูกวิรูปต่อเด็กในท้องผู้บริโภคสตรีหรือไม่นั้น เรื่องนี้สำคัญมากต่อการพัฒนาประชากรโลกซึ่งผู้เขียนพบว่า มีเอกสารเรื่อง Cyanogenic glycosides (WHO Food Additives Series 30) ในเว็บของ www.inchem.org มีข้อมูลในหัวข้อ Special studies on embryotoxicity and teratogenicity ซึ่งอ้างบทความเรื่อง Congenital malformations induced by infusion of sodium cyanide in the Golden hamster ในวารสาร Toxicology and Applied Pharmacology ของปี 1982 ซึ่งเป็นการศึกษาในหนูแฮมสเตอร์สีทองที่ตั้งท้องแล้วได้รับเกลือโซเดียมไซยาไนด์ในวันที่ 6-9 ของการตั้งท้อง สารพิษนั้นถูกให้แก่แม่หนูผ่านเครื่องปั๊มออสโมติกขนาดเล็กที่ฝังใต้ผิวหนังด้วยอัตรา 0.126-0.1295 มิลลิโมล/กิโลกรัม/ชั่วโมง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า มีการชักนำให้เกิดการหายไปของตัวอ่อน (resorptions) ในมดลูกของแม่หนู และพบว่าลูกหนูที่คลอดออกมามีรูปร่างผิดปกติ (malformations) ซึ่งความผิดปกติที่พบมากสุดคือ ความบกพร่องของท่อประสาท (neural tube defects) นอกจากนี้ยังมีข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจในบทความนี้กล่าวว่า การเกิดคอพอกในพลเมืองของสาธารณรัฐซาอีร์ (Zaire) ซึ่งประชาชนกินอาหารทำจากมันสำปะหลังที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ดีพอนั้นได้รับผลกระทบจากสารประกอบไธโอไซยาเนต (ซึ่งเกิดในร่างกายหลังจากการพยายามกำจัดไซยาไนด์ทิ้ง) ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น         มีสมมุติฐานหนึ่งที่น่าสนใจกล่าวว่า สารประกอบไธโอไซยาเนตนั้นมีขนาดโมเลกุลใกล้เคียงกับโมเลกุลของไอโอดีน ดังนั้นสารประกอบไธโอไซยาเนตจึงอาจขัดขวางการดูดซึมไอโอดีนไปใช้ในการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ อย่างไรก็ดีระดับไทโอไซยาเนตที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับสารประกอบไซยาไนด์จะส่งผลต่อต่อมไทรอยด์เฉพาะเมื่อผู้บริโภคได้รับไอโอดีนต่ำกว่า 100 ไมโครกรัม/วัน ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณไอโอดีนน้อยที่สุดที่ร่างกายต้องได้รับ งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ประชากรที่ได้รับสารไซยาไนด์จากมันสำปะหลัง (ที่แปรรูปไม่ดีพอ) จะไม่เป็นโรคคอพอกตราบเท่าที่ได้รับไอโอดีนในปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย นี่แสดงว่าประเทศไทยมาได้ถูกทางแล้วที่กำหนดให้เกลือบริโภคต้องมีการเติมไอโอดีน          สำหรับเด็กในท้องแม่ที่พัฒนาอวัยวะครบถ้วนหรือคลอดออกมาแล้วถ้าได้รับสารประกอบไซยาไนด์และ/หรือไธโอซัลเฟตในขนาดต่ำนั้นจะเป็นอย่างไรนั้น มีบทความเรื่อง Public Health Statement for Cyanide จากหน่วยงาน ATSDR (Agency for Toxic Substances and Disease Registry) ของสหรัฐอเมริกาซึ่งปรากฏในเว็บของ US.CDC (www.cdc.gov) ให้ข้อมูลว่า ตลอดระยะเวลาที่แม่ตั้งครรภ์และได้รับก๊าซไซยาไนด์ เช่น จากควันบุหรี่หรือจากการกินอาหารที่มีสารประกอบไซยาไนด์ ทารกในครรภ์จะได้รับไซยาไนด์และไทโอไซยาเนตผ่านรก นอกจากนี้การศึกษาในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่า ไซยาไนด์และไทโอไซยาเนตสามารถขับออกมาในน้ำนมไปยังลูก         ในกรณีที่แม่กินอาหารที่มีแป้งมันสำปะหลังเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตแล้วตั้งท้อง โอกาสที่จะเกิดปัญหากับลูกที่เกิดมาย่อมเป็นไปได้แม้ว่ายังไม่มีรายงานว่า สารประกอบไซยาไนด์ทำให้เกิดความพิการในคนโดยตรงแต่สามารถพบได้ว่า ผู้คนในเขตร้อนบางประเทศที่กินมันสำปะหลังเป็นแหล่งของอาหารแป้งนั้น เด็กบางส่วนเกิดมาพร้อมด้วยปัญหาของไทรอยด์ ซึ่งอาจเกี่ยวกับการได้รับไซยาไนด์และไทโอไซยาเนตจากแม่ในระหว่างตั้งท้องในลักษณะเดียวกับที่พบความผิดปรกติแต่กำเนิดในหนูทดลองที่แม่หนูถูกเลี้ยงด้วยอาหารมีแป้งมันสำปะหลัง ดังแสดงในบทความเรื่อง Effect of Cyanogenic Glycosides and Protein Content in Cassava Diets on Hamster Prenatal Development ในวารสาร Fundamental and Applied Toxicology ของปี 1986 ซึ่งรายงานผลการศึกษาที่ให้หนูแฮมสเตอร์ในช่วงวันที่ 3-14 ของการตั้งท้องได้รับอาหารทดลองซึ่งประกอบด้วยมันสำปะหลังป่น (ชนิด sweet cassava ซึ่งมีสารประกอบไซยาไนด์ต่ำหรือ bitter cassava ซึ่งมีสารประกอบไซยาไนด์สูง) 80 ส่วนและอาหารหนูปรกติ 20 ส่วน พร้อมมีกลุ่มควบคุมได้รับอาหารปรกติซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการเท่ากับอาหารทดลองแล้วผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของไทโอไซยาเนตเพิ่มขึ้นสูงในปัสสาวะ เลือด และในเนื้อเยื่อทั้งตัวของลูกหนูที่แม่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารมีแป้งมันสำปะหลัง นอกจากนี้ลูกหนูที่เกิดจากแม่ที่กินอาหารทดลองมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าลูกหนูที่เกิดจากแม่ที่กินอาหารควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับหลักฐานของความเป็นพิษที่เกิดต่อลูกในท้องนั้นพบว่า การสร้างกระดูกหลายส่วนในลูกหนูลดลง อีกทั้งอาหารมันสำปะหลังที่มีสารประกอบไซยาไนด์สูงยังสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของจำนวนลูกสัตว์แคระแกรนเมื่อเปรียบเทียบกับลูกของแม่หนูที่กินอาหารปรกติ         ประเด็นว่าโดยทั่วไปผู้บริโภคควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากไซยาไนด์ที่ได้รับจากอาหารที่กินในชีวิตประจำวันนั้น มีหลายการศึกษาพบว่า ผลกระทบของสารประกอบไซยาไนด์ระดับต่ำมักส่งผลร้ายต่อมนุษย์และสัตว์เฉพาะเมื่อมีภาวะโภชนาการไม่ดี ทั้งนี้เพราะอาหารที่มีโปรตีนสมบูรณ์ (ซึ่งมีกรดอะมิโนจำเป็นครบ) ในปริมาณที่เพียงพอมักช่วยแก้ปัญหาจากการที่ผู้บริโภคได้รับสารประกอบไซยาไนด์จากอาหาร         มีรายงานถึงประเด็นด้านสุขภาพอื่นๆ อีกที่คาดว่าเป็นผลกระทบทางอ้อมเกี่ยวกับการกินอาหารที่มีสารประกอบไซยาโนเจนิกกลัยโคไซด์ซึ่งส่งผลต่อระดับฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ต่ำคือ บทความเรื่อง Association between maternal hypothyroidism and autism spectrum disorders in children ในวารสาร Pediatric RESEARCH ของปี 2018 ได้รายงานผลการศึกษาแบบ retrospective cohort study โดยใช้การจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเด็กอเมริกัน 397,201 คน ที่คลอดตั้งแต่ปี 1991 ถึงปี 2011 และยังคงเป็นสมาชิกแผนสุขภาพตั้งแต่ปี 1993 ถึงปี 2014 ซึ่งพบว่า บุตรของสตรีที่มีภาวะไทรอยด์ต่ำมีอัตราความผิดปกติในลักษณะของออทิสติกสูงเป็น 1.31 เท่าของบุตรของสตรีปรกติ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นทั้งในผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยการมีไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะการมีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำของแม่นั้นมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของออทิสติกทั้งเด็กชายและเด็กหญิงอย่างชัดเจน

อ่านเพิ่มเติม >

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ สำรวจพบส้มไทยมีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง

        สภาองค์กรของผู้บริโภค ไทยแพน ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ สำรวจพบส้มไทยมีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง ตอกย้ำปัญหาส้มพิษยังไม่ถูกแก้ไข เสนออาจต้องปรับเปลี่ยนระบบการผลิตใหม่        สภาองค์กรของผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไทยแพน) เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสารเคมีเกษตรตกค้างในส้มและน้ำส้มในภาชนะบรรจุปิดสนิท แบ่งเป็นส้มจำนวน 60 ตัวอย่างและน้ำส้ม 10 ตัวอย่าง พบว่า ส้มที่มาจากการปลูกในประเทศจำนวน 41 ตัวอย่าง มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ทุกตัวอย่าง (100%) ส่วนส้มที่มาจากการนำเข้า 19 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 16 ตัวอย่าง (84.21%) มีเพียง 3 ตัวอย่างที่มีปริมาณสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับน้ำส้มในภาชนะบรรจุปิดสนิท พบ 50% ของกลุ่มตัวอย่างมีการตกค้างของสารพิษ         วันนี้ (10 มีนาคม 2565) ในงานแถลงข่าวผลการตรวจสารเคมีเกษตรตกค้างในส้มและน้ำส้ม นางสาวทัศนีย์ แน่นอุดร รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ส้มเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในการบริโภค แต่ส้มก็เป็นผลไม้ที่มีโรคและศัตรูพืชมาก ทำให้การเพาะปลูกต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชมากชนิดตามไปด้วย ปัญหาที่ตามมาคือ ทุกครั้งที่มีการสำรวจการตกค้างของสารพิษในส้มในหลายปีที่ผ่านมา จะพบการตกค้างของสารพิษเกินค่ามาตรฐานมาโดยตลอด ทั้งจากการติดตามเฝ้าระวังของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไทยแพน หรือจากผลการทดสอบของศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเอง และทุกครั้งที่มีการสะท้อนสถานการณ์ปัญหาก็จะมีการเคลื่อนไหวหลายอย่างทั้งจากหน่วยงานราชการ เกษตรกร ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อจะติดตามว่า ส้มไทยปลอดภัยต่อการบริโภคมากน้อยแค่ไหน มพบ.และไทยแพน  จึงได้รับการสนับสนุนจากสภาองค์กรของผู้บริโภค ให้ทำการสำรวจสารพิษตกค้างในส้มและน้ำส้มที่จำหน่ายในประเทศไทยอีกครั้ง           การสุ่มเก็บตัวอย่างส้ม คณะทำงานเลือกช่วงเวลาระหว่างวันที่ 3-10 มกราคม 2565 จากแหล่งผลิตทั้งในและต่างประเทศ โดยครอบคลุมช่องทางจำหน่ายในปัจจุบัน ได้แก่ ตลาดค้าส่ง ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และช่องทางออนไลน์  เป็นตัวอย่างส้ม 60 ตัวอย่าง และน้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง รวมเป็น 70 ตัวอย่าง   สำหรับส้ม เน้นเก็บตัวอย่างส้มให้ครอบคลุมสายพันธุ์ส้มที่จำหน่ายในช่วงเวลา ซึ่งจำแนกเป็นสายพันธุ์ทางการค้าได้ทั้งสิ้น 13 สายพันธุ์ ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง 18 ตัวอย่าง ส้มเขียวหวาน 12 ตัวอย่าง ส้มโชกุน 9 ตัวอย่าง ส้มแมนดาริน 8 ตัวอย่าง ส้มสีทอง 3 ตัวอย่าง ส้มนาเวล 2 ตัวอย่าง ส้มเมอร์คอท 2 ตัวอย่าง ส้มซาถัง 2 ตัวอย่าง ส้มกัมควอท 1 ตัวอย่าง ส้มซันคิสท์ 1 ตัวอย่าง ส้มเอินชู 1 ตัวอย่าง และส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง และหากจำแนกตามแหล่งผลิตจะเป็นส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง ส้มที่ปลูกในประเทศไทย 41 ตัวอย่าง ทั้งนี้ 12 ตัวอย่างใน 41 ตัวอย่างที่ปลูกในประเทศ เป็นตัวอย่างที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) 11 ตัวอย่าง และ ThaiGAP 1 ตัวอย่าง และตัวอย่างน้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง ได้แก่ Aro, Tipco, Chabaa, UFC, Malee, DoiKham, Sunfresh, Harvey Fresh, Green Garden และ Smile         ทั้ง 70 ตัวอย่าง ส่งวิเคราะห์สารพิษตกค้างแบบ multi-residue analysis ครอบคลุมสารพิษตกค้างจำนวน 567 รายการ ที่ห้องปฏิบัติการ TÜV SÜD ITALY ประเทศอิตาลี ซึ่งได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025จากรายงานผลการวิเคราะห์ พบว่า รายการวิเคราะห์ ชนิดและปริมาณค่าสารพิษตกค้าง สามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ https://thaipan.org/action/2519  และสามารถดาวน์โหลด ผลทดสอบส้ม        1.    ส้มทั้ง 60 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างในทุกตัวอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดกำหนดไว้ใน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ. 2560 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 419) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติ อาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 3) พบว่า มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 57 ตัวอย่าง หรือ คิดเป็น 95% ของกลุ่มตัวอย่าง  และพบว่า 5% หรือ 3 ตัวอย่าง มีสารพิษตกค้างแต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ ส้มเขียวหวาน จากบิ๊กซี บางใหญ่ , Holy Fresh ส้มพันธุ์ เมอร์คอท จากกูเมต์มาร์เก็ต และ เป็นส้มเช้ง ร้านเจ๊อ้อย 201 ผลไม้ ตลาดไท ซึ่งทั้งสามตัวอย่างเป็นส้มนำเข้าจากต่างประเทศ        2.    จากตัวอย่างน้ำส้มในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง มี 5 ตัวอย่างที่ไม่พบสารพิษตกค้าง ได้แก่  น้ำส้มโชกุน ตรา Tipco, น้ำส้ม 100% ตรา UFC,  น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรามาลี (ส้มจากแม่สิน) และน้ำส้มนำเข้า ตรา Sunfresh และ Harvey Fresh อีก 5 ตัวอย่างที่พบสารพิษตกค้าง ได้แก่ น้ำส้มเขียวหวานพร้อมเกล็ดส้ม 100% ตราARO , น้ำส้มสายน้ำผึ้ง 100% ตรา CHABAA, น้ำส้ม 98% ตราดอยคำ, น้ำส้มพร้อมเนื้อส้ม 100% ตรากรีนการ์เด้น และ น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรา SMILE ทั้งนี้จากการตรวจสอบประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 356 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท  พบว่าไม่มีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับสารพิษตกค้างไว้ จึงไม่มีค่ามาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบกับปริมาณสารพิษตกค้างที่พบ         ด้านนางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไทยแพน ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมจากรายงานผลการวิเคราะห์ว่า หากจำแนกตามแหล่งผลิต จะพบว่า ตัวอย่างส้มที่มาจากการปลูกในประเทศ 41 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง หรือคิดเป็น 100% ในขณะที่ส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 16 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 84.21% อีก 3 ตัวอย่างมีปริมาณสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน         สำหรับกลุ่มตัวอย่างส้มที่ปลูกในประเทศ 41 ตัวอย่าง สามารถจำแนกตามชื่อเรียกสายพันธุ์ทางการค้าได้ ดังนี้ สายน้ำผึ้ง 18 ตัวอย่าง เขียวหวาน 9 ตัวอย่าง โชกุน 9 ตัวอย่าง ส้มสีทอง 3 ตัวอย่าง ส้มน้ำตาล 1 ตัวอย่าง และส้มเขียวหวาน 1 ตัวอย่าง ซึ่งทุกตัวอย่างพบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน  โดยในจำนวนนี้เป็นผลผลิตที่มาจากแปลง GAP (Good Agriculture Practices) ที่ได้รับรองโดยกระทรวงเกษตรฯ 11 ตัวอย่าง เป็นผลผลิตที่มีมาจากแปลงที่มีการรับรอง ThaiGAP โดยสถาบันส่งเสริมคุณภาพเกษตรไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 1 ตัวอย่าง และไม่ระบุการรับรองมาตรฐานใดๆ 29 ตัวอย่าง ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง สามารถจำแนกตามชื่อเรียกสายพันธุ์ทางการค้าได้ ดังนี้ แมนดาริน 5 ตัวอย่าง ส้มไต้หวัน 3 ตัวอย่าง เมอร์คอท 2 ตัวอย่าง นาเวล 2 ตัวอย่าง ส้มซาถัง 2 ตัวอย่าง เอินชู 1 ตัวอย่าง กัมควอท/กิมจ๊อ 1 ตัวอย่าง ซันคิสต์ 1 ตัวอย่าง ส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง สายน้ำผึ้ง 1 ตัวอย่าง มีเพียงส้มสายน้ำผึ้ง 1 ตัวอย่าง ส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง และส้มเมอร์คอท 1 ตัวอย่าง ที่พบสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อีก 16 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน         สำหรับชนิดสารพิษตกค้างที่พบจากตัวอย่างส้มทั้งหมดรวม 48 ชนิด เป็นสารกำจัดแมลง 31 ชนิด สารกำจัดโรคพืช 13 ชนิด และสารกำจัดไร 4 ชนิด มีรายละเอียดดังนี้        1. สารกำจัดแมลงที่พบตกค้างมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ Imidacloprid, Ethion และ Profenofos โดยพบในส้ม 56, 52 และ 49 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 93.33%, 86.67% และ 81.67% ตามลำดับ        2. ในขณะที่สามอันดับแรกของสารป้องกันและกำจัดโรคพืชคือ Benomyl/Carbendazim, Hexaconazole และ Prochloraz โดยพบใน 48, 42 และ 31 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 80.0%, 70.0% และ 51.67% ตามลำดับ        3. สารกำจัดไรที่พบตกค้างมากที่สุด คือ Propargite พบใน 31 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 51.67%         4. พบการตกค้างของ Chlorpyrifos-ethyl ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ยกเลิกการใช้แล้ว) 50% ของกลุ่มตัวอย่าง โดยตกค้างในส้มที่ผลิตในประเทศ 22 ตัวอย่าง และส้มนำเข้า 8 ตัวอย่าง         “กรณีที่พบการตกค้างของสารคลอร์ไพริฟอสที่แบนแล้วในตัวอย่างส้มที่ปลูกในประเทศ อาจเป็นไปได้ที่จะมีสารที่ค้างอยู่เป็นสต็อกของเกษตรกรหลังจากมีการแบนอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่เกิดขึ้นจากการลักลอบนำเข้า ซึ่งเรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการ” นางสาวปรกชลกล่าว         นางสาวทัศนีย์ กล่าวเสริมว่า หากดูจากรายงานผลการวิเคราะห์ในครั้งนี้ มันยังคงสะท้อนสถานการณ์ปัญหาการตกค้างของสารพิษในส้มว่าไม่ได้ดีขึ้น ส้มเกือบทุกตัวอย่างที่สุ่มมามีการตกค้างของสารพิษเกินค่ามาตรฐาน ดังนั้นคงจะต้องขอให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้มีส่วนในห่วงโซ่ของการผลิตส้ม ได้โปรดช่วยกันหาทางเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน หรืออาจจะต้องถึงขั้นเปลี่ยนระบบการผลิตครั้งใหญ่หรือไม่         นายโสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่าการเฝ้าระวัง ทดสอบสินค้าและบริการเป็นอำนาจหนึ่งของสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งกำหนดให้สภาฯ มีฐานะเป็นผู้แทนผู้บริโภค และมีอำนาจดำเนินการเพื่อการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค  การสนับสนุนการทดสอบเรื่องส้มในครั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้ผู้บริโภคได้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจบริโภคสินค้าหรือบริการ และหลีกเลี่ยงสินค้าหรือบริการที่ไม่ปลอดภัยหรืออาจกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค ทั้งนี้ ตนเองมองว่า กระทรวงสาธารณสุขควรดำเนินการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในน้ำส้มและผลิตภัณฑ์น้ำผักผลไม้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะจนมั่นใจว่าไม่มีการตรวจพบสารตกค้าง และประกาศให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลทุกครั้ง อีกทั้งต้องการเสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควบคุมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการผลิตพืชอาหารอย่างเข้มงวดเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตั้งแต่ต้นทางของการผลิตอาหาร         สรุปข้อเสนอจากรายงานการสำรวจสารพิษตกค้างในส้มและน้ำส้มที่จำหน่ายในประเทศไทยข้อเสนอต่อภาครัฐ        1.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์             • ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ลักลอบนำเข้า ครอบครอง หรือมีไว้จำหน่ายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะสารเคมีที่ประเทศไทยยกเลิกการใช้หรือไม่อนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนแล้ว             • ปฏิรูประบบการรับรอง GAP  เพื่อให้มั่นใจว่าผลผลิตหรือสินค้าที่ได้รับการรับรองจะไม่ตรวจพบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐาน             • ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรมอินทรีย์เพื่อให้เป็นทางเลือกในการผลิตของเกษตรกรและผู้บริโภค         2.กระทรวงสาธารณสุข             • เพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักผลไม้ที่ด่านนำเข้า            • พัฒนากลไกเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในระดับพื้นที่และประเทศ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน             • ควรยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีน้ำส้มหรือน้ำผลไม้ในภาชนะบรรจุปิดสนิท รวมถึงประเมินความเสี่ยงจากการบริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้ป่วยข้อเสนอต่อภาคเอกชน ผู้จัดจำหน่าย        1. ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก ตลอดจนร้านสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นแหล่งจัดจำหน่ายส้มขนาดใหญ่ควรสนับสนุนข้อมูลเรื่องที่มาของส้ม ที่นำมาจำหน่ายอย่างโปร่งใส  (Traceability) เพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบแหล่งผลิต สารเคมีที่ใช้ การเก็บเกี่ยว การบรรจุ ฯลฯ ได้อย่างสะดวกด้วยเทคโนโลยีเช่นการสแกนคิวอาร์โค้ด             2. ผู้ผลิตที่นำส้มมาแปรรูป ควรคำนึงถึงแหล่งที่มาตลอดจนการคัดเลือกวัตถุดิบอย่างเป็นระบบเพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนสารพิษตกค้างในผลิตภัณฑ์         ทางเลือกและการแก้ปัญหาของผู้บริโภค             • เลือกการสนับสนุนส้มที่ผลิตโดยวิธีการที่ไม่ใช้สารเคมี หรือผลผลิตที่ทราบที่มาและเชื่อถือได้ว่ามาจากระบวนการผลิตที่ปลอดภัย             • ล้างส้มทุกครั้งที่บริโภค แม้ไม่สามารถลดปริมาณของสารเคมีที่ตกค้างได้ทั้งหมด เพราะมีสารเคมีประมาณครึ่งหนึ่งที่ดูดซึมไปสู่เนื้อส้มได้ แต่ก็เป็นการลดปริมาณของสารเคมีได้ระดับหนึ่ง            • ร่วมกันเรียกร้องให้ผู้บริหารกระทรวงเกษตร หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน ดำเนินการให้มีการปฏิรูปการผลิต การจัดจำหน่าย และกลไกการกำกับดูแลสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภคมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 251 ส้มอมพิษ

        แคมเปญ "ส้มอมพิษ" หรือ Orange Spike เป็นกิจกรรมจากความร่วมมือกันของภาคีภาคประชาสังคม ได้แก่ เครือข่ายกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอ็อกแฟมประเทศไทย (Oxfam)  ภายใต้แคมเปญ ‘ผู้บริโภคที่รัก’ (Dear Consumers) ที่เริ่มต้นตั้งแต่ต้นปี 2654 ที่ผ่านมา โดยกิจกรรมหลักคือ การเชิญชวนให้ผู้บริโภคตระหนักถึงเรื่อง “การใช้สารพิษในส้ม” และ “เรียกร้องให้ซูเปอร์มาร์เก็ตติดคิวอาร์โค้ด” เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งที่มาและกระบวนการผลิตส้มได้         “คนไทยมีโอกาสที่จะเกิดโรคร้ายได้จากการบริโภคผักและผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างเป็นระยะเวลานาน เพราะเกิดการสะสมของสารพิษในร่างกายมากเกินไปจนเจ็บป่วย จากสถิติพบว่าคนไทยส่วนใหญ่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสูงเป็นอันดับ 1 ต่อเนื่องถึง 85,000 รายต่อปี และผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรคมะเร็งเฉลี่ยจะเกิดขึ้นถึง 122,757 คนต่อปี… สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสารพิษตกค้างจากการบริโภคเป็นภัยเงียบที่พร้อมจะคุกคามผู้บริโภคตลอดเวลา การเสนอให้ซูเปอร์มาร์เก็ตมีการติดคิวอาร์โค้ดแสดงแหล่งที่มาและกระบวนการผลิต นอกจากเป็นการยืนยันความปลอดภัยแล้ว ยังช่วยแจกแจงถึงอันตรายของสารเคมีที่เกษตรกรใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจ สามารถหลีกเลี่ยง และรักษาสุขภาพไว้ได้” ‘ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น’ กล่าวถึงอันตรายของสารพิษตกค้างที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายไว้เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นงานเปิดตัวแคมเปญ         การรู้ถึงแหล่งที่มาของอาหาร เป็นวิธีการหนึ่งที่ผู้บริโภคสามารถนำมาใช้พิจารณาในการซื้อสินค้าเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการบริโภค แคมเปญนี้จึงเรียกร้องต่อซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ ขอให้ดำเนินการติดคิวอาร์โค้ดกำกับสำหรับการสแกนตรวจสอบที่มาของส้มที่วางจำหน่ายอย่างโปร่งใส  (Traceability)  ซึ่งจากภาพรวมที่ปรากฎในช่วงเวลาของการเริ่มต้นแคมเปญ พบว่า การสแกนคิวอาร์โค้ดของซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งโดยรวมยังให้ข้อมูลไม่มากพอ         ดังนั้นเพื่อติดตามสถานการณ์ในรอบหนึ่งปีหลังการเรียกร้องของภาคประชาสังคมต่อความรับผิดชอบของซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ บิ๊กซี โลตัส ท็อปส์ และแม็คโคร ในเรื่องการให้ข้อมูลย้อนกลับสินค้าในห่วงโซ่อุปทาน “ส้ม” ทางคณะทำงาน แคมเปญ "ส้มอมพิษ" จึงทำสำรวจ ในระหว่างวันที่ 11 – 30 พ.ย. 2564 พบว่า แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ดำเนินการสำรวจทั้ง 4 แห่ง ยังไม่มีความคืบหน้าหรือการปรับปรุงข้อมูลใน QR Code ได้ตรงตามข้อเรียกร้องของแคมเปญกรอบในการเรียกร้องให้นำเสนอเพื่อการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับสินค้าในห่วงโซ่อุปทานส้ม    ชื่อสินค้า    รูปสินค้า        1. หมวดที่มาของส้ม ได้แก่ ชื่อสวน จังหวัดที่ตั้งของสวน ข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูก        2. หมวดกระบวนการปลูกส้ม ได้แก่ กระบวนการเพาะปลูก ระยะเวลาการเพาะปลูก รายการสารเคมีที่ใช้ ข้อมูลการเก็บเกี่ยว วันที่ เก็บเกี่ยว ข้อมูลการเว้นระยะในการเพาะปลูก การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผล        3. หมวดกระบวนการคัดเลือกส้มของซูเปอร์มาร์เก็ต ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงการตรวจสอบย้อนกลับ การบันทึกข้อมูล ข้อมูลการปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว ข้อมูลการเก็บรักษา ข้อมูลการขนย้ายผลิตผล มาตรฐานที่ใช้คัดเลือก วิธีการคัดแยก โรงคัดแยก วันที่ในการจัดจำหน่าย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 246 “มือแชร์ข่าวปลอมเลยพวกนี้ ต้องเอากลับมาแชร์ข่าวดีแทน”

        นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับนี้พาไปพบคนทำงานคุ้มครองผู้บริโภคอีกท่าน ภญ.ชโลม เกตุจินดา หลังจากเรียนจบสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ก็มุ่งมั่นมาทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพราะสนใจเรื่องอาหารสุขภาพ อาหารปลอดสารพิษ การดูแลสุขภาพ โดยเน้นเรื่องวัฒนธรรมชุมชน เธอบอกเราว่า “เราอยากจะเห็นสินค้าที่มันอยู่ในชุมชนได้รับการสนับสนุนและมีมาตรฐาน” ประสบการณ์และเรื่องเล่ามากมาย แต่ครั้งนี้จะเน้นถึงงานเรื่อง ข่าวปลอม ข่าวลวง ข่าวดี ว่ามีผลต่อผู้บริโภคอย่างไร และการทำงานด้วยพลังของอาสาสมัครนั้นสำคัญอย่างไร งานที่อาจารย์ให้ความสำคัญมากคือการเฝ้าระวังสินค้าออนไลน์         คืองานเฝ้าระวังออนไลน์ของเราตอนนี้ เราจะมุ่งไปที่การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครคนทำงาน ซึ่งสินค้าออนไลน์ส่วนหนึ่งนี่มันก็จะมีการแชร์ โพสต์ขาย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสถานการณ์โควิดค่อนข้างเยอะ    ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยารักษาหรือว่าชุดผลิตภัณฑ์ต่างๆ การตรวจพวกนี้หรือว่าสมุนไพร ซึ่งพอมีคนโพสต์แนะนำหรือให้ข่าวว่าสมุนไพรตัวนี้ใช้ดี สักพักเดี๋ยวก็จะมี “ตัวผลิตภัณฑ์” เกี่ยวกับสมุนไพรนั้นโผล่ขึ้นมาในกลุ่มไลน์ ซึ่งเป็นกลุ่มเฉพาะความที่เป็นกลุ่มเฉพาะมันก็จะทำให้การตรวจสอบจากข้างนอกมันเข้าไปไม่ถึง การที่เรามีอาสาสมัครที่เป็นกลไกอยู่ในกลุ่มไลน์ต่างๆ กลุ่มชุมชน กลุ่มวิสาหกิจ กลุ่ม อพม.อะไรอย่างนี้ พอเจอประเด็นอะไรเขาก็สามารถแคปหน้าจอกลับมาให้เราตรวจดูได้ อาจจะมีการแชร์เรื่องสมุนไพรที่โฆษณาเกินจริง มีการแชร์กันเกิดขึ้นอย่างนี้นะคะ เราจะมุ่งไปที่การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครในพื้นที่ ในการที่จะใช้สื่อออนไลน์แบบมีประสิทธิภาพ คนอายุเยอะส่วนใหญ่จะเป็นอาสาสมัครของเรา อายุประมาณ 50-60 หรือ 40 แถวๆ นี้         แต่ก็ยากตั้งแต่แคปหน้าจอเลย พอเราบอกว่าปัญหาของคนกลุ่มนี้คือ เชื่อง่าย แชร์ง่ายด้วย แชร์เร็ว แต่ว่าหาหลักฐานหาข้อมูลไม่ได้ เราก็จะให้เขาช่วยแคปข้อมูลกลับมาแล้วเราก็ตรวจสอบ หลักจากนั้นก็ทำกระบวนการให้เขาสามารถเชคเกอร์ (Checker) หรือตรวจข้อมูลจาก Application ของ อย. หรือ FDA ได้ อย่างน้อยๆ ตรวจเลข อย.เป็น ว่าอันนี้คือตัวผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือว่าเป็นยาสามัญประจำบ้าน หรือว่าเป็นยาสมุนไพร เขาก็จะตรวจสอบผ่าน Application เป็นนะคะ อย่างนี้นะคะ ก็ค่อนข้างยากเพราะว่าแคปหน้าจอหลายยี่ห้อนะโทรศัพท์ มือถือหลายยี่ห้อมันก็จะแคปหน้าจอลำบาก พอแคปมาตัวหนังสือเขาก็จะเป็นฟอนต์ประมาณ 30 ตัวอักษรใหญ่ๆ ยาวๆ เต็มจอ มันก็จะมองไม่เห็นไม่ครบหน้าจอ ก็แคปได้ทีละจออะไรอย่างนี้ เราจะสอนให้เขาแคปแล้วก็แคปรูปแบบยาวๆ ให้มีข้อมูลครบ ก็จะเป็นเรื่องเทคนิค เพราะฉะนั้นอันนี้มันก็จะกลายเป็นเหมือนเราฝึกทักษะทางดิจิตอลให้กับอาสาสมัครผู้บริโภคในการเฝ้าระวังด้วย ตอนนี้มีอาสาสมัครกี่คนที่กระจายตามกลุ่มไลน์ต่างๆ         เราทำอบรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 ตอนนี้ก็จะมีของสงขลา ประมาณ 100 คน แล้วเราก็ขยายเฉพาะโครงการนี้เป็นการเฝ้าระวังสื่อออนไลน์ คือรวมถึงเรื่องการเคลียร์เรื่องข้อมูลเท็จ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพด้วย แล้วก็จะมีประปรายไปว่าเอาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มันมีปัญหานะคะ ก็มีเริ่มไปอีก 5 จังหวัด แต่ก็ไม่ค่อยต่อเนื่องเพราะว่าสถานการณ์โควิด การฝึกอบรมที่จะต้องจับมือทำงาน  เลยจับไม่ได้เพราะว่าต้องใกล้ชิด โทรศัพท์เขาบางทีก็จะเป็นโทรศัพท์ที่มีปัญหาว่าข้อมูลเต็มเล่นอะไรไม่ได้แล้ว โทรศัพท์ลูกให้ ข้อมูลเต็มไปหมดแล้วก็ดี ไปกดรับอะไรก็ไม่รู้เป็นข้อความ SMS ยืมเงินอีก ก็เจอนะ ก็ต้องมานั่งช่วยเคลียร์ให้ เคลียร์แคช (Cache) เคลียร์อะไรให้ อันนี้ก็จะเป็นประเด็นหนึ่งเรื่องศักยภาพในเรื่องของการใช้พวกมือถือในการสื่อสาร         แต่ในช่วงโควิดนี้ อสม.ส่วนหนึ่งเขาก็จะได้รับหน้าที่ในเรื่องของการสำรวจข้อมูล ทำ Google from มันก็เลยทำให้งานแบบนี้มันได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะฉะนั้นทุกคนก็จะรู้สึกว่ามันช่วยการทำงานของเขา อาสาสมัครเราส่วนหนึ่งส่วนมากก็จะเป็นแกนนำเป็น อสม.อยู่ในชุมชนที่ต้องใช้เรื่องพวกนี้ ขณะเดียวกันก็จะมีงานอีกชุดหนึ่งร่วมกับ กพย.กับทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในเรื่องของการเฝ้าระวังยาชายแดน แล้วก็คิดงานในลักษณะเป็นยุทธศาสตร์เพื่อทำงานเสริมศักยภาพเครือข่ายการทำงานร่วมกัน         เครือข่ายภาคีทำงานร่วมกันก็จะมีตั้งแต่ สาธารณสุขจังหวัด หน่วยบริการที่มีเภสัชฯ อยู่ในโรงพยาบาลระดับชุมชน เพราะว่างานเรื่องการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมส่วนหนึ่ง ก็จะมีกลุ่มเภสัชฯ ในโรงพยาบาลชุมชนที่เขาต้องลงไปดูเรื่องยาชุด ยาที่มีปัญหาสารสเตียรอยด์เกิดขึ้นในพื้นที่ หรือตัวอื่นๆ อย่างเช่น อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ที่มันขายอยู่ตามตลาดนัด  ซึ่งตัวผลิตภัณฑ์นี้จะไม่มีฉลากภาษาไทย รวมถึงยาบางตัวที่อยู่ตามเขตชายแดนก็จะเป็นภาษามลายู ภาษารูมี ที่เป็นภาษาของทางมาเลเชียเขียนแบบภาษาอังกฤษแต่อ่านคำเป็นภาษามาเลเชีย ก็จะสอดคล้องกับในพื้นที่เองเขาก็มีกระบวนการทำงานของอีกด้านหนึ่ง ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ไปเชื่อมกันที่เรียกว่า Border Health ที่เรียกว่าคณะกรรมการชายแดนเรื่องสุขภาพ ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกัน คณะเภสัชฯ ซึ่งรับหน้าที่เป็นกลไกวิชาการประสานประชาคม ซึ่งพวกเราเองคือเครือข่ายผู้บริโภคในพื้นที่ ก็จะมีประเด็นทำงานร่วมกันมีการเฝ้าระวังผลิภัณฑ์ชายแดน ทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน เพราะว่าปัญหาอยู่ในส่วนของชุมชน             “คือส่วนหนึ่งคนไม่ค่อยไปแจ้ง อย.หรือแจ้ง สสจ.แต่พอเราไป Survey สำรวจ มีกระบวนการเฝ้าระวัง เราก็จะไปถึงต้นตอปัญหาก็คือการใช้ยาในครัวเรือน” ครัวเรือนนี้ได้ยามาจากไหน ได้ยาจากคนที่เพิ่งไปกลับมาจากอินโดฯ กลับจากมาเลย์ แล้วก็มีการส่งต่อ รวบรวมมาแล้วก็ส่งให้ศูนย์วิทย์ฯ ก็เลยกลายเป็นการร่วมมือของภาคี ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เอง คณะเภสัชฯ ก็จะไปทำกระบวนการที่เรียกว่า ฝึกให้เราเป็นนักวิจัยร่วม คือเก็บข้อมูล แล้วก็ออกแบบสอบถามให้มันสามารถมาประมวลผลวิเคราะห์ได้ ฉะนั้นก่อนที่จะไปเก็บข้อมูลก็ต้องมานั่งออกแบบสอบถาม แบบ Survey ก่อนว่าเราต้องการข้อมูลแบบไหน มันก็จะทำให้เห็นทิศทางการจัดการปัญหา         เช่น ถ้าเกิดเจอแบบนี้แสดงว่าสเตียรอยด์ที่เราเจอ คือมันค่อนข้างที่จะชัดเจนแล้ว ทางศูนย์วิทย์ฯ ก็จะส่งไปตรวจสอบ แล้วก็หลังจากนี้เราก็จะดูว่าถ้าเกิดตัวนี้มีปัญหาเราก็จะพูดคุยผ่านใครล่ะ ก็ต้องส่งไปที่ Border Health ส่วนหนึ่งก็จะมีทางสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสนะคะ ที่ทำงานกับตรงนี้แล้วก็กับด่านสินค้า ด่านตรวจสินค้าก็จะมีด่านศูนย์วิทย์ฯ ของสงขลาด้วยส่วนหนึ่งนะคะ หลังจากนี้เราก็จะเอาข้อมูลพวกนี้มานั่งคุยกันว่าจะมีข้อเสนอต่อไปอย่างไรเพื่อจัดการตัวผลิตภัณฑ์นี้ อันนี้ก็จะเป็นกระบวนการทำงานและอาสาสมัครเองส่วนหนึ่งก็จะตรวจง่ายๆ เป็นสเตียรอยด์จะเป็นในกลุ่มที่เขาถ้าพัฒนาอีกนิดหนึ่งเขาก็จะเป็นอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญที่เขาเรียกว่า อาสาสมัครนักวิทย์ อสม.เขาจะมีกลุ่มนี้ก็จะตรวจสเตียรอยด์กันเป็นเบื้องต้นก่อน ศักยภาพของกลุ่มอาสาสมัครที่น่าสนใจ         คือกลุ่มไลน์พวกนี้ที่เขาเป็นสมาชิกกันเขาก็จะเกรงใจกันส่วนหนึ่ง แต่ว่าเขาก็จะมีศักยภาพคืออย่างน้อยๆ ตอนนี้เขาเริ่มพิมพ์เป็น คือกดพิมพ์ไม่ใช่กดแชร์อย่างเดียว พอเริ่มกดพิมพ์ได้เขาก็จะเริ่มถามว่าถ้าพูดไปอย่างนี้ดีไหม อย่างคนที่ส่งข้อมูลมามีวุฒิการศึกษานะเป็นอาจารย์โรงเรียนด้วย แต่อาจารย์คนนี้ส่งข้อมูลที่มันไม่น่าเชื่อถือ น่าสงสัย เรา (อาสาสมัคร) จะตอบกลับไปอย่างไร ก็จะมีกลุ่มไลน์เพื่อปรึกษาหารือกันเป็นกลุ่มไลน์เพื่อส่งข้อมูล คือแชร์หน้าจอมาแล้วเหล่าอาสาสมัครเขาก็จะถามว่าอันนี้จะตอบไปอย่างไรดี ให้ไม่หักหน้ากันมากนัก ปัจจุบันก็ยังมีข้อความที่แชร์เรื่องผิดๆ อยู่มาก มีวิธีจัดการอย่างไร         ใช่ค่ะ ถูก เพราะฉะนั้นตอนนี้ศักยภาพของอาสาสมัครเราที่เห็นได้ชัดเจนคือ ข่าวปลอมๆ พวกนี้ที่ได้รับมาบางส่วนมันเริ่มเป็นข่าววนซ้ำ เขา (อาสาสมัคร) จะจำได้ เช่น ข่าววนซ้ำว่าแชร์เรื่องคลิปที่อาจารย์มหิดลเขาทำวิจัยเรื่องกระชาย อาสาสมัครของเราก็สามารถบอกกันต่อได้ว่า “เออวิจัยนั้นเขาก็จะยังไม่เป็นยานะ เป็นแค่การทดลองในเซลล์ที่อยู่ข้างนอกที่เป็นในหลอดทดลองยังไม่ได้ใช้ในคน” เขาก็จะพิมพ์พวกนี้ได้เรียกว่ามีชุดข้อมูลที่ถูกต้อง  คือมีชุดคำที่พร้อมจะไปอธิบายว่า เห้ย ยังไม่ได้เป็นยาอันนี้อันนั้น หรือว่าอันนี้น้ำกระชายจริงๆ ยังไม่ควรกินแบบคั้นสด เพราะมันกินแล้วมันจะระคายเคืองปาก ปากคุณจะเป็นตุ่มนะและก็ไม่ได้รักษามีแค่เสริมภูมิ ก็จะชุดคำที่เขาเอาไปพูดได้แต่มันจะเริ่มวนซ้ำแล้ว เดี๋ยวสักพักจะมีคนในกลุ่มเขาก็จะแชร์เนื่องจากความยากในการเข้าถึงยาตอนนี้นะคะ          แต่ตอนนี้ก็อาจจะมีอีกประเด็นหนึ่งซึ่งยังเป็นความคลุมเครือยังไม่ลงตัวกันของข้อมูล เช่น ATK Antigen Test Kit ตอนนี้มันคืออะไรแน่มันต้องผ่าน WHO ก่อน หรือมันผ่าน อย.ก่อน ก็เป็นเรื่องประเด็นถกเถียงกัน ซึ่งการสื่อสารของ อย.ก็ไม่ชัด สื่อสารของหน่วยที่จัดซื้อก็ไม่ชัด อันนี้ก็จะลำบากนิดหนึ่ง จากประสบการณ์ของอาจารย์เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ         คือเราเองความไว้เนื้อเชื่อใจเรื่องมาตรฐานหรือเรื่อง อย.เราก็คิดว่าเป็นเกณฑ์แรก แต่ในขณะที่ความเปลี่ยนแปลงเรื่องเทคโนโลยีโดยเฉพาะในเรื่องของไลฟ์สไตล์ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพการบำรุงสุขภาพเป็นพวก Function Drink  อะไรพวกนี้ไปไกลมากกว่าการที่จะมารับรองมาตรฐาน  แล้วคนก็สนใจในเรื่องภูมิคุ้มกันเรื่องการสร้างความแข็งแรงมากกว่าการรักษา เพราะฉะนั้นตัวผลิตภัณฑ์พวกนี้มันค่อนข้างจะคลุมตลาดได้กว้างมากขึ้นนะคะ แล้วก็การให้ใบอนุญาตอะไรพวกนี้มันก็ง่ายขึ้นแต่ไม่มีใครยืนยันความชัดเจน คือมันขายเหมือนอาหารนั่นแหละแต่มันโฆษณามากเกินกว่าอาหาร อันนี้ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เห็น         เรื่องพฤติกรรมของผู้บริโภค ปัจจุบันคนก็ชอบทางลัดคือกินอะไรง่ายๆ กินนิดเดียวก็ได้ผัก 2 กิโลกรัม อะไรอย่างนี้ก็จะยิ่งสอดรับกับวิถีแบบนี้ ซึ่งเราก็คงไปบอกเขาห้ามกินไม่ได้ แต่เราก็จะต้องทำเรื่องกำกับคุณภาพกับหน่วยงาน หน่วยงานรัฐให้เขาทำเรื่อง Post Marketing ให้เยอะขึ้น เพราะเขาอนุญาตไปแล้วแต่เขาไม่ได้มาตามดูคุณภาพหลังจากที่มีใบอนุญาตออกมาแล้ว ก็มีการขายในท้องตลาดแล้ว มันควรจะมีหน่วยงานต่างหากที่มาทำเรื่องนี้ ทำวิจัยที่เรียกว่า Out of Pocket ด้วย ก็คือเราจะสุขภาพเกินไปไหม คือบางคนพร้อมจะจ่ายนะ แต่การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มันเป็นการตลาดเหมือน Functional Drink ที่เราเห็นบางโครงการมันจะเปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อยๆ และหน่วยงานก็ไม่ได้กำกับดูแล กลายเป็นเราต้องไปซื้อหาเพื่อดูแลสุขภาพมากเกินจำเป็น แต่ก็ยังเจ็บป่วยอยู่เหมือนเดิม อันนี้ก็เห็นอยู่ในประเด็นเรื่องสุขภาพ         สำหรับประเด็นเรื่องอื่นของผู้บริโภค เนื่องจากผู้บริโภคไม่มีแหล่งข้อมูลรีวิวสินค้าที่เป็นกลางมาก อันนี้ก็จะเห็นพัฒนาการว่าเรายังไม่มีหน่วยงานที่จะมาดูแลสินค้าที่น่าเชื่อถือ ก็คาดหวังว่าหน่วยงานรัฐเองจะสนับสนุนเรื่องเกณฑ์สินค้าที่เป็นมาตรฐานจริงๆ แล้วก็สินค้าบางตัวที่มันทำให้เสื่อมเร็ว ซึ่งมันไม่สอดคล้องกับวิถีที่เราจะต้องดูแลสิ่งแวดล้อม มันก็ควรจะมีข้อบ่งใช้ให้พวกบริษัท ร้านค้า ผู้ประกอบธุรกิจร่วมรับผิดชอบด้วยเกี่ยวกับขยะต่างๆ ที่มันจะเกิดขึ้น อันนี้ในแง่มุมผู้บริโภค ซึ่งอันนี้น่าจะเป็นประเด็นเรื่องผู้บริโภคยั่งยืนด้วยคะ ก้าวต่อไปที่คิด         ก็คิดว่าส่วนหนึ่งคือ เราต้องไปทำระบบที่มันเป็นระบบข้อมูลที่คนเข้าถึงได้ง่าย คือตอนนี้ Application มันเยอะ สแกน QR Code ก็ง่ายแต่มันไม่มีเครื่องมือสำหรับผู้บริโภคที่เราจะเข้าถึงได้ง่ายอย่างนี้นะ ก็คิดว่ามันควรจะมีใครมาทำเรื่องพวกนี้ เปรียบเทียบราคาสินค้าต่างๆ เปรียบเทียบคุณภาพจากการสแกน QR Code คือผู้บริโภคจะต้องทำได้ง่ายขึ้น ก็คงจะต้องไปพัฒนาเขาเรียกว่า Smart People ให้เท่าทันกับสถานการณ์ว่าเรารีวิวสินค้าไม่ได้ แต่เราควรจะต้องมีเครื่องมืออะไรที่เรารู้ว่าอันนี้มันมีคะแนนให้จากคนทั่วไป ชุมชนอื่นหรือ อสม. หรือเครือข่ายผู้บริโภคอื่นๆ ที่สนใจ มีคำแนะนำอย่างไร         คือเริ่มต้นจริงๆ อสม.ทำได้นะคะ มันมีกองทุนสุขภาพท้องถิ่นรวมตัวกันแล้วก็เขียนโครงการเป็นเรื่องพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคได้เลยในเรื่องของสุขภาพในเรื่องของการตรวจสอบความเท่าทันข้อมูลสุขภาพที่เรียกว่า Health literacy อาจจะต้องให้ทางเจ้าหน้าที่ช่วยหน่อยเป็นเรื่องความฉลาดทางสุขภาพนะคะ Health literacy ซึ่งมันต้องใช้พวกเครื่องไม้เครื่องมือนี้นะคะ ไปเขียนโครงการพัฒนาศักยภาพและก็ขณะเดียวกันก็อาจจะต้องหาคนมาช่วยเรื่องพวกนี้ แต่ว่าติดต่อมาทางเราได้ ยินดีเลย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 รู้เท่าทันแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษ

โลกโซเชียลกำลังโฆษณาขายแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษกันอย่างครึกโครม ทั้งในอาลีบาบา อเมซอน และอื่นๆ โดยอ้างว่าสามารถดูดสารพิษออกจากร่างกายเมื่อใช้แผ่นแปะเท้าเวลานอน แผ่นแปะเท้าสามารถขจัดสารพิษออกจากร่างกายได้จริงหรือไม่ เรามารู้เท่าทันกันเถอะ แผ่นแปะเท้าดูดสารพิษคืออะไร“เมื่อติดแผ่นแปะเท้า........ที่ฝ่าเท้าเวลานอน จะช่วยขับโลหะหนัก สารพิษ พยาธิ สารเคมี และเซลลูไลต์ออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยรักษา อาการซึมเศร้า อ่อนล้า เบาหวาน ข้ออักเสบ ความดันเลือดสูง และระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ”นี่เป็นตัวอย่างโฆษณาขายผลิตภัณฑ์แผ่นแปะเท้าดูดสารพิษยี่ห้อที่ดังที่สุดยี่ห้อหนึ่งแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษนั้นถูกโฆษณาขายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อสุขภาพและขับสารพิษออกจากร่างกาย  ใช้แปะที่ฝ่าเท้าเวลานอน เมื่อตื่นนอนจะเห็นสีดำๆ คล้ำๆ ที่แผ่นแปะเท้า ซึ่งเป็นสารพิษที่ถูกขับออกมาจากร่างกาย แผ่นแปะเท้าดูดสารพิษ มีส่วนผสมสารประกอบต่างๆ ตั้งแต่ น้ำส้มควันไม้จากไม้ไผ่ หินแร่ ยูคาลิปตัส ไคโตซาน (เกล็ดปลา เปลือกกุ้ง) นอกจากนี้ยังมี สมุนไพร วิตามิน แร่ธาตุ เกลือทะเล วิตามินซี ไอออนลบ เส้นใยจากผัก เป็นต้นแผ่นแปะเท้าดูดพิษออกจากร่างกายได้อย่างไรแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษเป็นความเชื่อแบบการแพทย์ตะวันออก มีการผลิตแผ่นแปะเท้าหลากหลายชนิดตามความเชื่อ ส่วนผสม และวัสดุต่างๆ  แผ่นแปะเท้าจึงมีคุณสมบัติและผลข้างเคียงแตกต่างกันไป เช่น การนวดกดจุดสะท้อน (reflexology) แผ่นแปะเท้าซึ่งไปกดจุดที่ฝ่าเท้า  อิออนลบซึ่งไปเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่เท้า แผ่นแปะเท้าจากถ่าน แผ่นแปะเท้าจากน้ำส้มควันไม้จากไม้ไผ่ และแผ่นแปะเท้าจากสมุนไพรต่างๆส่วนผสมต่างๆ ในแผ่นแปะเท้าจะดูดและจับกับสารพิษในร่างกาย ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดมาที่เท้า สารพิษจะถูกเลือดพามาที่เท้า และถูกดูดซึมไปที่แผ่นแปะเท้าแผ่นแปะเท้าดูดพิษได้จริงหรือเรื่องนี้ได้รับการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในหลายๆ ประเทศ ด้วยความไม่เชื่อว่า แผ่นแปะเท้าจะดูดสารพิษได้จริง ความจริงแผ่นแปะเท้ามีหลักการเดียวกับการขับสารพิษด้วยการแช่เท้าในน้ำที่มีแร่ธาตุ และปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ลงไปในน้ำ น้ำที่มีไอออนลบจะดึงสารพิษในร่างกายและขับออกมาทางเท้า ทำให้น้ำที่แช่เท้าเปลี่ยนเป็นสี มีงานวิจัยที่พยายามไขข้อข้องใจเรื่องนี้มากพอควร มีงานวิจัยหนึ่ง พบว่า แร่ธาตุในน้ำ รวมทั้งวัสดุที่เป็นโลหะของเครื่องแช่เท้า เมื่อมีปฏิกิริยาทางเคมีและฟิสิกส์ จะทำให้น้ำเปลี่ยนสี ไม่ว่าจะแช่เท้าหรือไม่ก็ตาม  เมื่อตรวจปัสสาวะเพื่อดูการขับสารพิษต่างๆ ทางไต และการตรวจสารพิษที่สะสมในเส้นผม ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง การวิจัยครั้งนี้ ยืนยันว่า การขับสารพิษในร่างกายด้วยเท้านั้น ไม่เป็นเรื่องจริง ทำไมแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษจึงเปลี่ยนเป็นสีดำแผ่นแปะเท้าที่เปลี่ยนเป็นสีดำเกิดจากสารพิษที่ดูดออกมาจริงหรือเพียงแค่เอาน้ำดื่มที่สะอาดเทลงที่แผ่นแปะเท้า ก็จะเปลี่ยนสีได้เช่นเดียวกัน นักวิจัยเอาแผ่นแปะเท้าที่เปลี่ยนสีไปหาสารพิษ สารหนูและโลหะหนักในห้องปฏิบัติการ ก็ไม่พบอะไร  เมื่อตรวจแผ่นแปะก่อนและหลังการใช้ ก็ไม่พบความแตกต่าง   สรุป  แผ่นแปะเท้าดูดสารพิษนั้น ไม่สามารถขับสารพิษในร่างกายได้จริงตามโฆษณา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 120 องุ่นกับแตงโม เขาว่าสารเคมีเยอะจริงหรือ

ฉลาดซื้อพาแวะซื้อผลไม้อีกที คราวนี้ว่าด้วยองุ่นกับแตงโม ผลไม้ที่ใครต่อใครต่างก็ว่า มีสารเคมีการเกษตรตกค้างเยอะ ให้ระวังเวลากิน ก็เลยต้องพาไปพิสูจน์ครับ  องุ่นนั้น มีวิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 และเกลือแร่อย่างเหล็ก แคลเซียม มาก และเพราะน้ำตาลในองุ่นเป็นน้ำตาลกลูโคส ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เลย กินองุ่นจึงทำให้รู้สึกสดชื่น อีกทั้งช่วยเร่งการเผาผลาญในร่างกาย ช่วยล้างและสร้างเม็ดเลือดกระตุ้นตับให้ทำหน้าที่ฟอกเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นยาระบายอ่อนๆ  แต่จากการทดสอบหาปริมาณสารเคมีตกค้างในทุกหน่วยงาน องุ่นจัดว่าเป็นผลไม้ที่ติดอันดับท็อปห้าตลอดเรื่องมีการตกค้างของสารเคมีสูง ถึงขนาดมีคนบอกว่า ถ้ารักกันจริงต้องปอกเปลือกองุ่นให้กิน  ส่วนแตงโม จำไม่ได้แล้วว่าเป็นข้อมูลปีไหน แต่ว่ากันว่า แตงโม จะมีสารเคมีตกค้างอยู่มากถึง 11 ชนิด อันนี้ก็เป็นที่ล้อกันเล่นๆ ว่า ถ้าแตงโมไม่หวาน ก็ถือว่าดี เพราะลดสารเคมีลงไปได้ 1 ชนิด(ฮา)  ที่จริงแตงโมเป็นผลไม้ที่เหมาะกับเมืองร้อนเป็นที่สุด เพราะมีน้ำมาก กินแล้วช่วยให้เย็นและสดชื่นในขณะอากาศร้อนจัด แตงโมมีไลโคปีนและเบต้าแคโรทีนมาก ไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้ผักผลไม้มีสีแดง คาดว่าช่วยป้องกันโรคหัวใจและมะเร็งได้บางชนิด ส่วนเบต้าแคโรทีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ   ฉลาดซื้อทดสอบ องุ่น (ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ) เก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง รวม 16 ตัวอย่าง (ครั้งละ 8 ตัวอย่าง) ในเดือนพฤศจิกายน 2552 และเดือนมีนาคม 2553 จากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และตลาดสดในพื้นที่ดำเนินงานโครงการฯ 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล เพื่อทดสอบหาสารเคมีตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือ ยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)   ข้อสังเกต1. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 12.5) ที่พบการตกค้างของสารเคมีทั้ง 3 กลุ่มได้แก่ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยาจากการเก็บสินค้าทดสอบในเดือนพฤศจิกายน 2552 และตัวอย่างจากตลาดสด อำเภอเมือง จังหวัดสตูลจากการเก็บสินค้าทดสอบในเดือนมีนาคม 2553  2. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ตัวอย่าง ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีใด ๆ เลยจากการเก็บสินค้าทดสอบทั้ง 2 ครั้งในเดือนพฤศจิกายน2552 และเดือนมีนาคม 2553 ได้แก่ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส และจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม และตัวอย่างจากตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสังขลา   สรุปความเสี่ยงขององุ่น มีความเสี่ยงระดับปานกลาง (50 – 50) ที่จะพบผลิตภัณฑ์ที่มีการตกค้างของยาฆ่าแมลงอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่สำคัญว่าจะซื้อจากแหล่งจำหน่ายใดทั้งห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ และตลาดสด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในระดับพื้นที่ พื้นที่ภาคเหนือจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารเคมีตกค้างมากกว่าหนึ่งชนิดในแต่ละกลุ่มมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ  ขณะที่ภาคอื่น ๆ มีความเสี่ยงเท่าๆ กันในระดับปานกลาง ที่จะพบผลิตภัณฑ์ที่สารพิษตกค้าง ยกเว้นจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมือง) และ จังหวังสงขลา (อำเภอหาดใหญ่) ที่มีความเสี่ยงต่ำถึงต่ำมาก ส่วนความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลงอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากปริมาณสารเคมีที่พบส่วนใหญ่ไม่สูงมากนัก (ไม่เกิน 1 มก./กก.   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 Carbendazim Organophosphate group Pyrethiod group   (พฤศจิกายน 2552)   (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)   องุ่น (1)   ไม่ระบุ Profenofos 0.05  Triazophos 0.02 ไม่ระบุ         สารพิษตกค้าง 288         3 Chlorpyrifos 0.5 Deltamethrin 0.2 Fenpropathrin 5 Permethrin 2   จังหวัด สถานที่เก็บ ผู้ผลิต MRL CODEX   กรุงเทพ เดอะมอลล์งามวงศ์วาน บ.เดอะมอลล์กรุ๊ป ไม่พบ ไม่พบ Fenpropathrin 0.05*   สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ Fenpropathrin 0.08*   ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 นำเข้าจากจีน 0.02* ไม่พบ ไม่พบ   มหาสารคาม บิ๊กซี นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สตูล เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน < 0.005* ไม่พบ ไม่พบ   สงขลา ตลาดกิมหยง องุ่นอเมริกา ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   เชียงใหม่ เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน ไม่พบ Chlorpyrifos 0.0061* Cyhalothrin 0.045**  Cyfluthrin 0.028** Cypermethrin 0.205** Fenvalerate 0.293**   พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ < LOD (0.025)* Chlorpyrifos 0.0107* Cyhalothrin 0.127** Cypermethrin 0.032** Fenvalerate 0.121** Deltamethrin 0.037*         MRL มกอช.     3 มก./กก.       *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       LOD = ปริมาณต่ำสุดเท่าที่เครื่องทดสอบปริมาณตกค้างของสารเคมีสามารถตรวจวัดได้         ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่าง Carbendazim Organophosphate Pyrethiod     ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553 (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)         ไม่ระบุ Profenofos 0.05  Triazophos 0.02 ไม่ระบุ     องุ่น (2)   สารพิษตกค้าง 288       3 Chlorpyrifos 0.5 Deltamethrin 0.2 Fenpropathrin 5 Permethrin 2     จังหวัด สถานที่เก็บ ผู้ผลิต MRL CODEX     กรุงเทพ บิ๊กซี สะพานควาย บมจ. บิ๊กซี ไม่พบ Chlopyrifos  0.04* ไม่พบ     สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ Chlopyrifos  0.91*** ไม่พบ     ขอนแก่น ตลาดรถไฟ ไม่ระบุ ไม่พบ Prothiophos 1.01** ไม่พบ     มหาสารคาม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ     สงขลา ตลาดกิมหยง ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ     สตูล ตลาดสด อ.เมือง ไม่ระบุ 4.047*** Prothiophos 0.17** Cypermethrin 0.05**     เชียงใหม่ บิ๊กซี สาขาหางดง ห้างบิ๊กซี (สาขาหางดง) ไม่พบ ไม่พบ Cyhalothrin 0.017** Permethrin 0.028*  Cyfluthrin 0.038** Cypermethrin 0.026** Deltamethrin 0.007*     พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ ไม่พบ Chlopyrifos  0.0211* Prothiofos 0.3086** Profenophos < LOD* Cyhalothrin 0.021** Cyfluthrin 0.012** Cypermethrin 0.006**           MRL มกอช. 3 มก./กก.         *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       ***ปริมาณที่พบสูงเกินกว่ามาตรฐานกำหนด         LOD = ปริมาณต่ำสุดเท่าที่เครื่องทดสอบปริมาณตกค้างของสารเคมีสามารถตรวจวัดได้       คำแนะนำในการบริโภคองุ่น – ควรล้างทำความสะอาดให้ดีก่อนการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลง และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเป็นเครื่องดื่มทั้งแบบคั้นสดและแบบปั่นหากไม่ได้ทำกินเอง เนื่องจากอาจได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลงตกค้างหากไม่มีการล้างทำความสะอาดที่ดีพอได้   แตงโม เก็บตัวอย่างทดสอบทั้งสิ้น 1 ครั้ง เป็นจำนวน 8 ตัวอย่างเมื่อเดือนมีนาคม 2553 เพื่อทดสอบหาการตกค้างของยาฆ่าแมลง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มไพรีทอยด์ และกลุ่มคาร์บาเมต โดยเก็บตัวอย่างจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่จำนวน 5 แห่ง และจากตลาดสด จำนวน 3 แห่ง ในพื้นที่ดำเนินงาน 8 จังหวัดเช่นเดียวกันกับองุ่น ผลการทดสอบปรากฏว่า   สรุปความเสี่ยงของแตงโมและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงต่อการพบยาฆ่าแมลงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากกว่าครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทั้งหมดไม่พบการปนเปื้อนเลย ยกเว้นพื้นที่เขตภาคเหนือคือเชียงใหม่ และพะเยาที่มีโอกาสได้รับผลิตภัณฑ์ที่มียาฆ่าแมลงตกค้างสูงโดยเฉพาะสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์ที่พบมากกว่า 4 ชนิดในหนึ่งผลิตภัณฑ์   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 4 Organophosphate Pyrethiod Carbamate   มีนาคม 2553 (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)   แตงโม ไม่ระบุ ไม่ระบุ Methomyl 0.2   สารพิษตกค้าง ฉบับที่ 288   AZINPHOS-METHYL 0.2 Fenvalerate 0.5 Methomyl 0.2   จังหวัด สถานที่เก็บ บริษัทผู้ผลิต/จำหน่าย MRL CODEX   กรุงเทพ คาร์ฟูร์ บางบอน บ. เซ็นคาร์ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   ขอนแก่น ตลาดรถไฟ ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   มหาสารคาม บิ๊กซี บมจ.บิ๊กซี ซูปเปอร์เซ็นเตอร์ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สงขลา ตลาดหาดใหญ่ ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ Methomyl 0.12*   สตูล ตลาดสด อ.เมือง ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   เชียงใหม่ บิ๊กซี สาขาหางดง ไม่ระบุ ไม่พบ Cyhalothrin 0.039** Cypermethrin 0.159** Fenvalerate 1.705*** Deltamethrin 0.241** ไม่พบ   พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ ไม่พบ Cyhalothrin 0.077** Permethrin 0.062**  Cyfluthrin 0.14** Cypermethrin 0.15** Fenvalerate 1.68*** Deltamethrin 0.214** ไม่พบ   *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       ***ปริมาณที่พบสูงเกินกว่ามาตรฐานกำหนด           ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้น โดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่   คำแนะนำต่อการบริโภคกรุงเทพมหานครได้แถลงข่าวเมื่อเดือนตุลาคม 2553 ระบุไว้ว่ากว่าหนึ่งในสามของผลไม้รถเข็นไม่ผ่านมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ก่อโรค ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการซื้อแตงโมจากร้านผลไม้รถเข็นที่ดูไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ไม่มีฝาครอบปิดมิดชิด หรือมีแต่ไม่ครอบปิด หรือไม่มีน้ำแข็งรักษาความเย็นของอาหาร (ชะลอการเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค) แนะนำให้ซื้อเป็นลูกใหญ่มาผ่ากินเองดีกว่า

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 119 ลูกพลับกับสาลี่ ของดีจากเมืองจีน?

  ฉลาดซื้อพาแวะซื้อผลไม้อีกครั้ง คราวนี้เป็นสาลี่กับลูกพลับ ผลไม้นำเข้าจากเมืองจีน(ส่วนใหญ่) ว่ากันว่าเป็นของที่ดีต่อสุขภาพ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด ต้องปอกเปลือกก่อนกินนะครับ  ลูกพลับนั้น มีสรรพคุณเป็นยาได้แก่ ลดอาการปวดท้องที่เกิดจากความเย็น เช่น ปวดประจำเดือน หรือปวดโรคบิด แก้ไอหรือเจ็บคอ และทีเด็ดของลูกพลับนั้นก็คือ ช่วยลดความดัน ส่วนสาลี่ก็เช่นกัน ว่ากันว่า ช่วยบำรุงร่างกายและอวัยวะภายใน ช่วยย่อยอาหาร ลดความร้อนในร่างกาย แก้ไอ ละลายเสมหะ (ข้อมูลจาก www.thaigoodview.com)   แต่ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นของดีต่อสุขภาพ หากแต่กระบวนการผลิตปัจจุบันอาจมีการแอบแฝงเข้ามาของสารเคมีกลุ่มยาฆ่าแมลงที่เหลือตกค้างอยู่ ดังนั้นก่อนรับประทานก็ต้องเลือกให้ดี และล้างให้สะอาดนะครับถ้ายังไงลองนำข้อมูลที่นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ทำสำรวจไว้เป็นแนวทางในการพิจารณาครับ   ฉลาดซื้อทดสอบ ทั้งลูกพลับและสาลี่ เก็บตัวอย่างภายใต้โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังฯ  ในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล   ลูกพลับ เก็บตัวอย่าง 1 ครั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 เป็นจำนวน 6 ตัวอย่าง จากตลาดสดหรือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในพื้นที่   6 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม สงขลา และสตูล เพื่อส่งทดสอบหาการตกค้างของ   ยากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และกลุ่มไพรีทอยด์ ผลการทดสอบพบว่า   1. มีการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 83 โดยมีปริมาณสารเคมีที่พบอยู่ระหว่าง 0.02 – 0.54 มก./กก. แต่ไม่สามารถระบุถึงอันตรายได้ว่าปริมาณสารเคมีที่พบอันตรายเพียงใดเนื่องจากทั้งมาตรฐานภายในประเทศและมาตรฐานสากลไม่ได้ระบุปริมาณสารเคมีตกค้างสูงสุดที่ให้ใช้ได้ (Maximum Residue Limits: MRL) ไว้ในผลไม้ชนิดนี้  2. ไม่พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในทุกตัวอย่าง  3. พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 โดยพบสารเคมีจำนวน 2 ชนิดคือ แอล-ไซฮาโลทริน ที่ปริมาณต่ำกว่า 0.01 ถึง 0.01 มก./กก. และไซเปอร์เมทริน ที่ปริมาณ 0.01 – 0.05 มก./กก. แต่ไม่สามารถระบุถึงความอันตรายของสารเคมีที่พบได้เนื่องจากไม่มีมาตรฐานใดระบุค่า MRL ไว้ให้อ้างอิง   ข้อสังเกตมีเพียงตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงครามที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีใด ๆ ที่ทำการทดสอบเลย   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 (พ.ย. 52)         Carbendazim Organophosphate Pyrethiod พลับ   (mg/kg) (mg/kg) (mg/kg)     ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ จังหวัด สถานที่เก็บ ผู้ผลิต สารพิษตกค้าง 288 กรุงเทพ แผงลอยใกล้รถไฟฟ้าซอยอารีย์ ไม่ปรากฎ < 0.1** ไม่พบ Cypermethrin 0.04** สมุทรสงคราม Tesco Lotus บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 นำเข้าจากจีน 0.02** ไม่พบ Cyhalothrin  < 0.01**  Cypermethrin < 0.01** มหาสารคาม ตลาดสดอ.บรบือ นำเข้าจากจีน 0.08** ไม่พบ Cyhalothrin 0.01** Cypermethrin 0.05** สตูล Tesco Lotus นำเข้าจากจีน 0.545** ไม่พบ ไม่พบ สงขลา ตลาดกิมหยง นำเข้าจากเกาหลี 0.0272** ไม่พบ ไม่พบ   **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX     สรุปความเสี่ยงของลูกพลับและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงสูงต่อการพบยากันรา-คาร์เบนดาซิม และมีความเสี่ยงปานกลางต่อการพบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ตกค้าง สำหรับความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารเคมีเมื่อบริโภคอยู่ในระดับต่ำถึงค่อนข้างต่ำ คำแนะนำในการบริโภค ควรปอกเปลือกและล้างทำความสะอาดก่อนการบริโภค --------------------------------------------------------------------------------------------------------  สาลี่ เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 2 ตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ตัวอย่าง ในเดือนพฤศจิกายน 2552 และเดือนมกราคม 2553 จากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยาเพื่อทดสอบหายากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และกลุ่มไพรีทอยด์ ผลการทดสอบปรากฏว่า  1. ไม่พบการตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างทั้ง 2 ตัวอย่าง  2. พบการตกค้างของสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตชนิดคลอร์ไพริฟอสในตัวอย่างทั้ง 2 ตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างทั้งสองครั้งที่ปริมาณ 0.02 และ 0.008 มก./กก. ตามลำดับ แต่ไม่สามารถระบุระดับความอันตรายได้ว่ามากน้อยเพียงใดเนื่องจากไม่ได้ระบุไว้ในทั้งมาตรฐานของประเทศไทยและในมาตรฐานอาหารสากล  3. พบการตกค้างของสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างทั้ง 2 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 3 ชนิด โดยมีรายการสารเคมีที่พบคือ แอล-ไซฮาโลทริน ไซเปอร์เมทริน เฟนวาเลอเรท ไซฟลูทริน และเดลทาเมทริน และมีปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง ปริมาณขั้นต่ำสุดที่เครื่องตรวจวัดจะวัดได้ – 0.6 มก./กก.   เมื่อนำมาตรฐานมาประกอบการพิจารณาจะพบว่า 3 ชนิด ของสารเคมีในกลุ่มนี้ที่ตรวจพบจากการเก็บตัวอย่างทั้ง 2 ครั้ง ไม่ถูกระบุไว้ในค่า MRL ของ CODEX จึงไม่สามารถระบุความเสี่ยงจากการได้รับสารเคมีสู่ร่างกายได้ และมีเพียง 2 ชนิดที่ระบุได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยเนื่องจากปริมาณที่ตรวจพบอยู่ในปริมาณที่น้อยมากจนแทบจะตรวจวัดไม่ได้ ได้แก่ ไซฟลูทริน และเดลทาเมทริน   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 (พฤศจิกายน 2552)       Carbendazim Organophosphate Pyrethiod สาลี่   (mg/kg) (mg/kg) (mg/kg)   ไม่กำหนด ไม่กำหนด ไม่กำหนด จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า สารพิษตกค้าง 288 พะเยา Tesco Lotus นำเข้าจากจีน ไม่พบ Chlorpyrifos 0.022** Cyhalothrin 0.069**   Cypermethrin 0.07** Fenvalerate 0.585**   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 3 (มกราคม 2553)       Carbendazim Organophosphate Pyrethiod       (mg/kg) (mg/kg) (mg/kg)       ไม่กำหนด ไม่กำหนด NA จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า สารพิษตกค้าง ฉบับที่ 288 พะเยา Tesco Lotus นำเข้าจากจีน ไม่พบ Chlopyriphos 0.0084** Fenvalerate 0.08** Cyfluthrin < LOQ* Deltamethrin < LOQ* *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX**ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้น โดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่ ความเสี่ยงต่อสารพิษตกค้างในสาลี่  มีความเสี่ยงต่อการพบสารพิษตกค้างสูง และมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารพิษตกค้างอยู่ในระดับเดียวกับส้ม โดยเฉพาะในกลุ่มไพรีทอยด์ คำแนะนำในการบริโภคให้ปอกเปลือกและล้างทำความสะอาดทุกครั้งก่อนการบริโภคและหลีกเลี่ยงการบริโภคติดต่อกันเป็นประจำในปริมาณมาก

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 112-113 ปลาหมึกแห้ง ของดีแต่มีเสี่ยง

ปลาหมึกแห้ง จัดเป็นอาหารแปรรูปที่ขายดีอันดับหนึ่ง หาซื้อไม่ยากจะเอามาทำอะไรกินก็ง่ายจะทอดหรือย่างก็อร่อย ปลาหมึกที่นำมาทำปลาหมึกแห้งมีหลายชนิด แต่ที่นิยมกันมากๆ ก็คือ  ปลาหมึกกล้วย และปลาหมึกสาย ผลการทดสอบที่นำเสนอนี้เป็นผลจากการทดสอบตัวอย่างอาหารจำนวน 8 ตัวอย่างจาก 8 จังหวัด ซึ่งดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังฯ โดยเก็บตัวอย่างในเดือนมกราคม 2553 ครับ   ปลาหมึกแห้งที่เก็บตัวอย่างนี้เรานำมาทดสอบหาสิ่งปนเปื้อนในอาหาร 3 กลุ่ม คือ สารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาท็อกซิน ซึ่งอาจจะมาจากการเก็บรักษาที่ไม่สะอาด โลหะหนักในอาหาร ซึ่งมักปนเปื้อนในอาหารทะเลและสารปรุงแต่งรส สีผสมอาหาร และสารเคมีทางการเกษตรที่พ่อค้า-แม่ค้าบางรายมักฉีดพ้นเพื่อป้องกันแมลงมาตอมปลาหมึกแห้งในร้านครับ   ผลการทดสอบ - ข่าวดี ไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาท็อกซินในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ (8 ตัวอย่าง) - ข่าวร้าย พบการปนเปื้อนของโลหะหนักประเภทแคดเมียมในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีค่าเฉลี่ยของแคดเมียมที่พบอยู่ที่ 3.43 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ค่ามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ-CODEX อยู่ที่ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และหากนำค่ามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศมาเป็นตัวชี้วัดจะพบว่ามีตัวอย่างที่พบค่าแคดเมียมเกินกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่ (1) ตัวอย่างจากร้านเจ๊ต้อย ซึ่งเก็บจากตลาดสดมหาสารคาม พบแคดเมียมที่ปริมาณ 13 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (2) ตัวอย่างจากร้านเจ๊ดม ซึ่งเก็บตัวอย่างจากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม พบแคดเมียมที่ปริมาณ 4.77 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (3) ตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พบแคดเมียมที่ปริมาณ 3.36 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (4) ตัวอย่างจากตลาดสดเทศบาล 3 จังหวัดขอนแก่น พบแคดเมียมที่ปริมาณ 2.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม -พบการปนเปื้อนของโลหะหนักประเภทตะกั่วในทุกตัวอย่าง (8 ตัวอย่าง) คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณตะกั่วที่พบเท่ากับ 0.137 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อย่างไรก็ตามไม่มีตัวอย่างใดที่มีการปนเปื้อนสูงเกินกว่ามาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) กำหนดที่ 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีปริมาณตะกั่วสูงสุดที่พบในตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดตำบลจำปาหวาย จังหวัดพะเยาที่ปริมาณ 0.46 มิลลิกรัม/กิโลกรัม - พบการปนเปื้อนของโลหะหนักประเภทปรอทในทุกตัวอย่าง (8 ตัวอย่าง) คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณที่พบเท่ากับ 0.03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อย่างไรก็ตามไม่มีตัวอย่างใดที่มีการปนเปื้อนสูงเกินกว่ามาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) กำหนดที่ 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับอาหารทะเล โดยมีปริมาณปรอทที่พบสูงสุดในตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดเทศบาล 3 จังหวัดขอนแก่นที่ปริมาณ 0.06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม - พบการปนเปื้อนของสารตกค้างทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ (ยาฆ่าแมลง) จำนวน 5 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 62 โดยพบสารตกค้างชนิดเพอร์เมทริน (Permethrin) ในตัวอย่างจากตลาดสดตำบลจำปาหวาย จังหวัดพะเยา และ ตัวอย่างจากผู้ผลิต บมจ.สยามแมคโคร กรุงเทพฯ โดยมีปริมาณที่พบเท่ากับ 0.18 และ 0.15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบสารตกค้างชนิดไซไฟทริน (Cyflythrin) ในตัวอย่างจากร้านเจ๊ดม จังหวัดสมุทรสงครามและตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ที่ปริมาณ 0.12 และ 0.10 มิลลิกรัม/กิโลกรัมตามลำดับ ท้ายที่สุด พบสารพิษตกค้างชนิดไบเฟนทริน (Bifenthrin) ในตัวอย่างเก็บจากร้านป้าอร ตลาดสดละงู จังหวัดสตูล ที่ปริมาณ 0.03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม - พบการปนเปื้อนของสารตกค้างทางการเกษตรประเภทคาเบนดาร์ซิม (ยากันรา) ในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 37.5 โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณที่พบเท่ากับ 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ปริมาณสูงสุดของสารเคมีที่พบคือ 0.44 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จากตัวอย่างที่เก็บในตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่   ข้อสังเกต- ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และตัวอย่างที่เก็บจากห้างแมคโคร กรุงเทพฯ พบการปนเปื้อนทั้งแคดเมียม สารตกค้างทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ และยากันรา-คาร์เบนดาซิมในปริมาณที่ค่อนข้างสูงและอาจก่อให้เกิดอันตรายหากมีการบริโภคติดต่อกันเป็นระยะเวลานานได้ - ตัวอย่างที่เก็บจากร้านเจ๊ดม จังหวัดสมุทรสงคราม พบการปนเปื้อนของแคดเมียมในปริมาณที่สูงเกินกว่าที่มาตรฐานอาหารสากล (CODEX) กำหนด (2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) โดยพบในปริมาณที่สูงถึง 4.77 มิลลิกรัม/กิโลกรัม นอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนของตะกั่วและปรอทในระดับพอสมควร อีกทั้งยังพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างอีกด้วย - ตัวอย่างกว่าร้อยละ 90 ที่ทำการทดสอบไม่ระบุยี่ห้อ ไม่ทราบผู้ผลิต และไม่ทราบวันผลิตและวันหมดอายุ ----------------------------------------------------------------------------------------------------- อันตรายของโลหะหนักที่ปนเปื้อนในปลาหมึกแห้งอันตรายจากแคดเมียม – ทำให้เกิดความเจ็บปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างมาก ทำให้กระดูกและไตพิการ อันตรายจากตะกั่ว – จะทำให้เบื่ออาหาร ปวดท้อง มือเท้าอ่อนแรง เลือกจาง ถ้าเป็นเด็กจะทำให้สมองพิการได้ การเรียนรู้ด้อยลงอันตรายจากปรอท – เกิดอาการชาตามปลายมือปลายเท้า รวมไปถึงแขน ขา ริมฝีปากและเป็นอัมพาตในที่สุด ---------------------------------------------------------------------------------------------------- *จากผลทดสอบจะเห็นว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในปลาหมึกแห้งก็คือ การปนเปื้อนของแคดเมียม และสารเคมีในกลุ่มไพรีทอยด์ ซึ่งเป็นสารเคมีในกลุ่มยากำจัดศัตรูพืช การปนเปื้อนของแคดเมียมส่วนหนึ่งก็มาจากเหตุผลเรื่องธรรมชาติความสะอาดในท้องทะเล เพราะมนุษย์เรานี่แหละที่ทำร้ายธรรมชาติชอบทิ้งสารเคมีลงในทะเล ถ้าอยากกินอาหารทะเลดีๆ ที่ปลอดภัยก็ต้องช่วยกันดูแลรักษาท้องทะเล ส่วนเรื่องสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ก็ต้องฝากวอนไปถึงพ่อค้า-แม่ค้าอย่าได้ใส่อะไรไม่พึ่งประสงค์ลงไปเลย ผู้บริโภคเราอยากรับประทานของสะอาดและมาจากธรรมชาติจริงๆ ครับ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- -ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนข้อ 4 (2) ระบุการปนเปื้อนของ อฟลาทอกซิน ได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัมข้อ 4 (1) (ง) ระบุการปนเปื้อน ตะกั่ว ได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เว้นแต่อาหารที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนตามธรรมชาติในปริมาณสูง ให้มีได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาข้อ 4 (1) (ฉ) ระบุการปนเปื้อน ปรอท   ได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับอาหารทะเล และไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับอาหารอื่น -ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่288  (พ.ศ. 2548) เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ไม่ระบุว่าอนุญาติให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในอาหารทะเลแห้ง ดังนั้นจึงไม่ควรมีปนเปื้อนมาในอาหาร -ค่ามาตรฐานอาหารสากล (CODEX)กำหนดค่าการปนเปื้อนของ แคดเมียม ในอาหารประเภทปลาหมึก อยู่ที่ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้นโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่) วิธีการทำปลาหมึกแห้ง ไม่ยากแต่อาจจะมีหลายขั้นตอนอยู่สักหน่อย เอาปลาหมึกไปตากแดดแล้วก็คอยพลิกกลับตัวปลาหมึกเพื่อให้ปลาหมึกแห้งทั่วกัน ถ้าแดดดีๆ 20 -30 ชั่วโมงก็ถือว่าใช้ได้ แต่ยังกินไม่ได้นะ ต้องนำปลาหมึกที่ตากแล้วนำมาวางซ้อนทับกันแล้วใช้ผ้าใบหรือพลาสติกคลุมไว้แล้วหาอะไรหนักๆ ทับไว้ ทิ้งไว้ 2 – 3 วัน ปลาหมึกจะยืดหยุ่นมากขึ้นเพราะความชื้นเกิดขึ้นในเนื้อปลาหมึก หลังจากนั้นก็นำมาตากแดดให้แห้งอีกครั้งประมาณอีก 2-3 วัน ที่นี้ก็นำมาทำอาหารรับประทานได้แล้ว

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 103 ขาว ใช่ว่าจะดีเสมอไป

เรื่องทดสอบ 3 คงไม่มีใครที่อยากเสี่ยงกับการปนเปื้อนของสารพิษในอาหาร โดยเฉพาะกรณีจงใจใส่ลงไปทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นอันตรายกับผู้บริโภค แต่ผู้ค้าหลายรายก็ยังคง เล่นไม่ซื่อ กับลูกค้าตาดำๆ ดังนั้นจึงต้องมีการเฝ้าระวังอันตรายจากการปนเปื้อนของสารพิษในอาหารอยู่เสมอ ฉลาดซื้อฉบับนี้ ไปเดินสำรวจตลาดแล้วแวะซื้อถั่วงอกกับขิงซอย มาตรวจหาสารฟอกขาว หรือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยสุ่มตัวอย่างจากตลาดสด 4 แห่ง และซูเปอร์มาร์เก็ต 3 แห่ง ได้แก่ ตลาดบางแค ตลาดคลองเตย ตลาดยิ่งเจริญและตลาดเทวราช ส่วนซูเปอร์มาร์เก็ต 3 แห่ง คือ คาร์ฟู บางแค โลตัส อ่อนนุช และเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ถั่วงอกสด คนนิยมบริโภคกันมาก เพราะเป็นผักที่นิยมกินกันดิบๆ โดยจะกินเป็นเครื่องเคียงของอาหารคาวชนิดต่างๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ขนมจีนน้ำพริก-น้ำยา ผัดไท ก๋วยเตี๋ยวหลอด หรือนิยมนำมาผัดกับเต้าหู้ ที่เป็นเมนูโปรดของหลายคน ส่วนขิงซอย แม้จะบริโภคในปริมาณไม่มากเท่าถั่วงอกเพราะมีรสเผ็ดร้อน แต่ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เดิมอาจไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเราซื้อกันเป็นแง่งมาปอกเปลือกและหั่นฝอยเอง แต่เดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่แม่ค้าที่ต้องใช้ขิงซอยประกอบอาหาร สามารถซื้อแบบซอยสำเร็จรูปแล้ว มาปรุงอาหารได้เลย แน่นอนว่า ขิงนั้นปล่อยไว้สักระยะก็จะมีสีคล้ำดำ จนไม่น่ารับประทาน จึงนิยมนำสารฟอกขาวมาผสมเพื่อให้ขาวเรียกความสนใจได้นานๆ ผลทดสอบจากการทดสอบ สินค้าที่เป็นแบรนด์ของห้าง ไม่พบการปนเปื้อนของสารฟอกขาว ทั้งในถั่วงอกและขิงซอย แต่แบรนด์ที่ไม่ใช่ของห้างแต่นำมาวางขายในห้าง คือ ถั่วงอกยี่ห้อ วีพีเอฟ ซึ่งเก็บจากเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน พบการปนเปื้อนของสารฟอกขาวหรือ ซัลเฟอร์ไฮดรอกไซด์ 11.47 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในขณะที่ยี่ห้อ วีพีเอฟที่เก็บตัวอย่างจาก คาร์ฟู บางแค ไม่พบการปนเปื้อน ในส่วนของขิงซอย ที่พบมากน่าเป็นห่วงคือ ขิงซอยจากตลาดยิ่งเจริญ พบสารฟอกขาว 204.58 มิลลิกรัม/กิโลกรัม รองลงมาได้แก่ ขิงจากตลาดเทวราช พบ 48.45 มิลลิกรัม/กิโลกรัม กินถั่วงอก ขิงหั่นฝอยให้หายห่วง 1.ซื้อถั่วงอก ขิงซอย ที่ไม่ดูขาวจนเกินไป ผิดธรรมชาติ โดยเฉพาะขิงซอย เมื่อไม่มีเปลือกมันจะมีสีคล้ำตามธรรมชาติเนื่องจากการสัมผัสกับอากาศ ถ้าขาวก็ถือว่าผิดปกติ ส่วนถั่วงอก ตามธรรมชาติ เมื่อเด็ดหางออกบริเวณที่มีรอยฉีกขาดจะมีสีคล้ำขึ้น 2.ถั่วงอก ถ้าให้ล้างพิษจากสารฟอกขาวได้เด็ดขาด ต้องลวกในน้ำเดือด เพื่อที่จะทำลายสารตกค้าง 3.หาโอกาสเพิ่มทางเลือก ด้วยการปลูกหรือเพาะถั่วงอกเอง เพื่อรับประทานภายในครัวเรือน ผลทดสอบ ถั่วงอก สถานที่เก็บตัวอย่าง สารฟอกขาว (ซัลเฟอร์ไดออกไซด์)มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตลาดบางแค ไม่พบ ตลาดคลองเตย ไม่พบ โฮม เฟรช มาร์ท (เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน) ไม่พบ ถั่วงอก วีพีเอฟ (ห้างคาร์ฟู บางแค) ไม่พบ ตลาดเทวราช 3.79 ตลาดยิ่งเจริญ 5.79 ถั่วงอก วีพีเอฟ (จากเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน) 11.47 ผลทดสอบ ขิงหั่นฝอย สถานที่เก็บตัวอย่าง สารฟอกขาว (ซัลเฟอร์ไดออกไซด์) มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตลาดบางแค ไม่พบ ตลาดคลองเตย ไม่พบ ซีโอเอฟ (เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน) ไม่พบ ซีโอเอฟ (คาร์ฟู บางแค) ไม่พบ เทสโก ไฮจีนิก (โลตัส อ่อนนุช) ไม่พบ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ไม่พบ ตลาดเทวราช 48.45 ตลาดยิ่งเจริญ 204.58 สารฟอกขาว เป็นสารเคมีที่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตอาหารหลายประเภท ทั้งในอาหารที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใส่สารฟอกขาว โดยพบการตกค้างในปริมาณสูงในอาหารหลายชนิด จึงถูกจัดเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ต้องมีการเฝ้าระวังในการใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารอย่างใกล้ชิด สารฟอกขาวที่นิยมใช้ในอาหารบ้านเราส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของสารประกอบซัลไฟต์ ซึ่งเป็นชื่อรวมของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และเกลืออนินทรีย์ของกรดซัลฟูรัสซึ่งแตกตัวให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าความปลอดภัยต่อการบริโภคในชีวิตประจำวันของสารกลุ่มนี้ไม่ควรบริโภคเกิน 0.7 มิลลิกรัมซัลเฟอรไดออกไซด์ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน และประเทศไทยได้อนุญาตให้สารซัลไฟต์เป็นสารฟอกขาวใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท เช่น การผลิตน้ำตาล วุ้นเส้น เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยว ลูกเกด และอาหารทะเลเยือกแข็ง เป็นต้น

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 94 อะฟลาท็อกซิน สารพิษที่อันตรายที่สุดในโลก

อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) เป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา และเป็นสารพิษที่พบปนเปื้อนในอาหารมากที่สุดชนิดหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า อาหารอะไรก็ตามที่เกิดเชื้อราได้ ย่อมมีโอกาสปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินได้ แต่ส่วนใหญ่อาหารที่มักพบอะฟลาท็อกซิน ได้แก่ อาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วลิสง เช่น ถั่วลิสงดิบ ถั่วลิสงคั่วที่ใช้ปรุงอาหาร หรือถั่วลิสงเคลือบ ทั้งยังพบในถั่วชนิดอื่นๆ รวมถึงข้าวและข้าวโพดได้อีกด้วย  นอกจากนี้ยังพบในแป้งต่างๆ อย่างแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งท้าวสาลี แป้งมันสำปะหลัง  และบรรดาอาหารอบแห้งทั้งหลาย ได้แก่ พริกแห้ง พริกป่น พริกไทย งา ปลาแห้ง กุ้งแห้ง กระเทียม หัวหอม ผัก ผลไม้อบแห้ง  เครื่องเทศต่างๆ หรือแม้แต่สมุนไพร ชา ชาสมุนไพร และกาแฟคั่วบด อะฟลาท็อกซิน ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากวิธีการปรุงอาหารด้วยความร้อนแบบธรรมดาๆ เช่น การทอด หุง นึ่ง ต้ม ไม่สามารถทำลายพิษอะฟลาท็อกซินให้หมดไปได้ เพราะอะฟลาท็อกซินทนความร้อนได้สูงถึง 260 องศาเซลเซียส ระดับความเป็นพิษของอะฟลาท็อกซิน องค์การอนามัยโลกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่ง ปริมาณของอะฟลาท็อกซินเพียง 1 ไมโครกรัม สามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในแบคทีเรีย และทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้เมื่อได้รับสารนี้อย่างต่อเนื่อง อย่างที่กล่าวไปข้างต้น อะฟลาท็อกซินใกล้ชิดกับมนุษย์มากเพราะมีอยู่ในอาหารที่เราบริโภคประจำวัน แม้จะไม่ค่อยพบการเกิดพิษอย่างเฉียบพลัน เพราะปริมาณที่บริโภคเข้าไปในแต่ละครั้งมีไม่มาก แต่ก็นับว่ามีความเสี่ยงของการเกิดพิษสะสม ซึ่งหากร่างกายได้รับสารพิษนี้เป็นประจำ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งที่ทุกวันนี้ติดอันดับคร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดโรคหนึ่ง (ปัจจุบันคนไทยทุกๆ 100,000 คน จะเสียชีวิตเพราะมะเร็งในตับ 51.7 คน) ดังนั้นผู้บริโภคควรให้ความสนใจและตระหนักถึงพิษภัยของอะฟลาท็อกซิน เพื่อจะได้หาทางป้องกันและหลีกเลี่ยง มิให้เกิดเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพ ชนิดของอะฟลาท็อกซินอะฟลาท็อกซิน เป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อราในกลุ่ม แอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัส (Aspergillus flavus) และ แอสเปอร์จิลลัส พาราซิติกัส (Aspergillus parasiticus) ซึ่งเป็นเชื้อราที่พบได้ในอาหาร ทั้งที่ยังไม่ผ่านการแปรรูปและที่แปรรูปแล้ว ตามธรรมชาติ อะฟลาท็อกซินจะมีอยู่ทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ อะฟลาท็อกซินชนิด B1  B2 G1 และ G2  โดยอะฟลาท็อกซิน B1 เป็นชนิดที่ร้ายแรงที่สุด (อะฟลาท็อกซิน B1 เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในตับสัตว์ทดลองหลายชนิดอย่างชัดเจนจึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ได้เช่นกัน)ฉลาดซื้อแนะวิธีเลี่ยงพิษอะฟลาท็อกซิน1.อะฟลาท็อกซินเกิดจากเชื้อราในกลุ่ม แอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัส (Aspergillus flavus) และ แอสเปอร์จิลลัส พาราซิติกัส (Aspergillus parasiticus) ซึ่งเชื้อราเหล่านี้จะเจริญได้ดีในอาหารที่มีความชื้นมากๆ ผู้บริโภคสามารถสังเกตเห็นเชื้อรานี้ได้ด้วยตาเปล่า เพราะจะมีสีเขียวอมเหลืองหรือสีเขียวเข้ม ดังนั้นเมื่อพบว่าถั่วหรืออาหารที่มีราสีเขียวอมเหลือง ก็ให้ทิ้งไปทั้งหมดอย่านำมาปรุงอาหารเด็ดขาด กรณีที่พบว่าเป็นปัญหาอย่างหนึ่งคือ ผู้บริโภคมักคิดว่า การปาดเอาส่วนที่เป็นเชื้อราออกไปจากอาหาร จะสามารถบริโภคส่วนที่ดูด้วยตาเปล่าว่ายังมีสภาพดีอยู่ได้ นั่นเป็นความคิดที่ผิด เพราะสารพิษที่เชื้อราได้สร้างขึ้นได้กระจายไปในส่วนอื่นของอาหารแล้ว การนำมาบริโภคจึงเป็นการนำสารพิษเข้าสู่ร่างกายโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์โดยแท้2. อาหารที่มีแนวโน้มเกิดเชื้อราได้ อย่าง พริกแห้ง กระเทียม เครื่องเทศต่างๆ ไม่ควรซื้อมาเก็บไว้ในปริมาณมาก ควรซื้อเท่าที่จำเป็นต้องใช้ และการเก็บรักษาต้องเก็บในที่แห้งสนิทไม่เกิดความชื้นจนทำให้เชื้อรามีโอกาสเจริญเติบโต จนก่อสารพิษที่จะมาทำร้ายสุขภาพ  ไม่เพียงแต่อาหารแห้ง แม้แต่ผักหรือผลไม้ ก็เช่นกัน ควรซื้อในปริมาณน้อย เลือกให้มีความสุกดิบคละกัน เพื่อจะได้รับประทานผลไม้ที่สดทุกวัน หากเลือกซื้อที่สุกทั้งหมด อาจรับประทานไม่ทัน ผลไม้ที่เหลือจะขึ้นราได้ 3.หลีกเลี่ยงถั่วลิสงคั่วที่ดูเก่าหรือมีความชื้นหรือมีกลิ่นหืน เพราะมีโอกาสที่จะพบการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินได้สูงมาก เป็นไปได้ก็ไม่ควรรับประทานให้บ่อยหรือรับประทานในปริมาณมาก 4.อาหารที่เกิดเชื้อราได้ง่าย ควรเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่ไว้ใจได้ หีบห่อมิดชิด และควรสดใหม่ ไม่เป็นสินค้าที่เก็บค้างไว้นานหลายเดือน อย่าซื้ออาหารที่มีกลิ่นอับหรือกลิ่นหืน ซึ่งแสดงถึงความเก่าเก็บหรือการเก็บรักษาที่ไม่ดี 5. หากสงสัยว่าอาหารจะมีราขึ้น ให้ทิ้งอาหารนั้นเสียทั้งหมด อย่าทิ้งเฉพาะส่วน นอกจากนี้กระดาษหรือกล่องที่สัมผัสกับอาหารที่ขึ้นราให้ทิ้งไปด้วย เพื่อป้องกันการนำเชื้อราไปปนเปื้อนอาหารอื่น 6. อุปกรณ์เครื่องครัว รวมทั้งเขียงที่ใช้ควรล้างให้สะอาด ในระหว่างเตรียมอาหารควรซับให้แห้งอยู่เสมอ อย่าให้มีราขึ้นพึงระลึกไว้เสมอว่าสภาพแวดล้อมในบ้านเรา เป็นแบบร้อนชื้นที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และเชื้อรา จึงต้องใส่ใจและระวังเรื่องการเก็บรักษาอาหาร ตลอดจนเครื่องครัวต่างๆ ให้พ้นจากความชื้นเพื่อป้องกันสารพิษที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเข้ามาปนเปื้อนในอาหารที่เรารับประทาน ส่วนอาหารที่ขายตามตลาดทั่วไป ก็หมั่นตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อนซื้อ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขไทยกำหนดไว้ว่า ต้องมีอะฟลาท็อกซินอยู่ในอาหารไม่เกิน 20 พีพีบี (20 ไมโครกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม) -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- •    อะฟลาท็อกซิน (aflatoxin) เป็นสารพิษอันเกิดจากเชื้อรา (mycotoxins) คำว่า aflatoxin มาจากคำ 3 คำรวมกัน โดยมาจากชื่อของเชื้อราตัวที่สร้างสารพิษคือ แอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัส (Aspergillus flavus) และ คำว่า toxin ที่แปลว่าสารพิษหรือเป็นพิษ•    สารพิษอะฟลาท็อกซินค้นพบเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.2503 โดยได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้นกับไก่งวงในประเทศอังกฤษ ทำให้ไก่งวงที่เลี้ยงไว้จำนวนประมาณ 100,000 ตัว ล้มตาย ไปภายในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ ภายหลังจากการศึกษาสาเหตุโดย สถาบันผลิตผลเมืองร้อน (Tropical Products Institute) ของประเทศอังกฤษ (ปัจจุบันคือ Tropical Development and Research Institute) พบว่าสาเหตุการล้มตายของไก่งวงเป็นจำนวนมากนั้นเกิดจากความเป็นพิษของอาหารผสมที่มีถั่วลิสงปน เมื่อได้ตรวจพบแน่ชัดแล้วว่าถั่วลิสงเป็นที่อาศัยของเชื้อราที่ทำให้เกิดพิษนี้ขึ้น จึงได้ทำการตรวจสอบตัวอย่างถั่วลิสงจากประเทศต่างๆ ที่ส่งไปจำหน่ายยังประเทศอังกฤษ ผลปรากฏว่า พบสารพิษนี้จำนวนหนึ่งจากแหล่งใหญ่ๆ ทุกแห่งที่ปลูกถั่วลิสง  --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 108 มาเป็นแม่บ้านไร้สารกันเถอะค่ะ

“ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้นำเรื่องดีๆ มาฝากคุณผู้อ่านอีกแล้วค่ะ แต่ครั้งนี้เราขอเอาใจคุณแม่บ้านเป็นพิเศษ โดยเฉพาะบรรดาคุณแม่บ้านที่รักการทำความสะอาดบ้าน (และที่ทำเพราะหน้าที่) “ฉลาดซื้อ” อยากชวนคุณแม่บ้านทุกท่านมาลองคิดใหม่ทำใหม่ ด้วยการทำให้บ้านอันแสนอบอุ่นของทุกคนเป็นบ้านปลอดสาร(พิษ) สะอาดอย่างปลอดภัย แถมยังห่วงใยโลก สมกับเป็นแม่บ้านยุคใหม่หัวใจสีเขียว ด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านไร้สารพิษ สารเคมีใกล้ตัวไม่กลัวไม่ได้นะแค่พูดถึง “สารเคมี” ทุกคนก็คงรู้สึกไม่ดีกันแล้วใช่ไหมคะ คุณแม่บ้านหลายคนอาจจะคิดว่าสารเคมีแม้จะเป็นอะไรที่ดูน่ากลัวแต่ก็เป็นเรื่องไกลตัวคงไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ซึ่งถือเป็นความคิดที่ผิดค่ะ เพราะอันตรายจากสารเคมีอยู่ใกล้ตัวเรามากๆ มากขนาดที่เราทุกคนใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับสารเคมีในบ้านของเราเองตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงเวลาเข้านอน ซึ่งสารเคมีที่เราต้องสัมผัสพบเจอในชีวิตประจำวันของเราก็ไม่ได้มาจากที่ไหนไกลมาจากข้าวของเครื่องใช้หลายๆ อย่างรอบตัวเรา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เราใช้ภายในบ้านนี่แหละ ทั้งผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ และอีกหลากหลายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านที่วางขายทั่วไปอยู่ในท้องตลาด ล้วนแล้วแต่มีสารเคมีเป็นส่วนผสมหลักทั้งนั้น สำรวจบ้านหาจุดเสี่ยงสารเคมี!!!ตอนนี้คุณแม่บ้านลองเดินสำรวจในบ้านของตัวเองดูนะคะ ลองดูซิว่าข้าวของเครื่องใช้ที่เราซื้อเข้าบ้านมีอะไรที่เป็นตัวนำสารเคมีเข้ามาบ้าง เริ่มจากบริเวณรอบๆ บ้านของคุณแม่บ้านก่อนเลยค่ะ หลายๆ บ้านคงจะใช้บริเวณด้านนอกของบ้านเป็นโซนซักล้าง ซึ่งที่นี่เราจะได้พบสารเคมีจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เราซื้อมาจากร้านค้า ทั้งผงซักฟอก น้ำยาซักผ้าขาว น้ำยาซักแห้ง น้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือถ้าคุณแม่บ้านมีรถ ก็จะเจอสารเคมีได้อีกในน้ำยาทำความสะอาดรถยนต์ น้ำยาขัดเงา น้ำมันเครื่อง เข้ามาในบ้าน ที่ห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่น ในนี้จะมีสารเคมีที่เราคิดไม่ถึงซ่อนอยู่เยอะเลย ทั้งในพรมสังเคราะห์ ที่มักผลิตมาจากโพลียูริเทนโฟมซึ่งมีสารบางตัวที่อาจถูกปล่อยออกมาก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบหายใจ นอกจากนี้อาจมีสารเคมีตกค้างจากน้ำยาทำความสะอาดพรมด้วย วอลเปเปอร์ ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ที่ทำจากพลาสติกก็อาจปนเปื้อนอยู่ด้วยเหมือนกันค่ะ นี่ยังไม่พูดถึงบรรดาน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ รวมทั้งแร่ใยหินจากกระเบื้องที่อยู่เหนือศีรษะเรา มาต่อกันที่ห้องครัว ที่ที่เราใช้ปรุงอาหารรับประทาน ถ้ามีสารเคมีอยู่ด้วยแบบนี้น่ากลัวนะคะ แต่ว่ายังไงก็หนีไม่พ้นค่ะ เพราะในห้องนี้เราอาจเจอสารเคมีได้ทั้งใน เตาอบไมโครเวฟ เครื่องครัวเคลือบเทฟลอน รวมถึงในน้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดคราบสกปรก น้ำยาขจัดสิ่งอุดตันในท่อ และยาฆ่าหนูและแมลงต่างๆ ปิดท้ายที่ห้องน้ำ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าทั้ง สบู่ ยาสีฟัน แชมพู ครีมนวด โฟมล้างหน้า ล้วนแล้วมีส่วนผสมของสารเคมีทั้งนั้น แม้จะไม่อันตรายมาก แต่อาจมีบ้างบางคนที่แพ้ผลิตภัณฑ์บางตัวบางยี่ห้อ สารเคมีที่ต้องใช้อย่างระมัดระวังในห้องน้ำน่าจะเป็น น้ำยาขัดพื้นห้องน้ำ น้ำยาทำความสะอาดโถส้วม และน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เพราะพวกนี้มักมีสารที่เป็นกรดซึ่งมีฤทธิ์รุนแรง คุณแม่บ้านที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้คงเคยสังเกตว่าเวลาหยดผลิตภัณฑ์พวกนี้ลงพื้นก็จะเกิดฟองขึ้นทันที ซึ่งเป็นฤทธิ์ของการกัดกร่อนของสารเคมี ขนาดพื้นปูนพื้นกระเบื้องยังขนาดนี้ ถ้าโดนตรงๆ กับผิวหนังของเราก็คงดูไม่จืดแน่ๆ นอกจากนี้ยังมีข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ ภายในบ้านที่อาจเสี่ยงสารเคมี ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้พลาสติก ตู้ไม้อัด ยาทาเล็บและน้ำยาล้างเล็บ สเปรย์ใส่ผม ยาย้อมผม สีทาบ้าน ยาฉีดยุง ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพีวีซี อย่าง ท่อน้ำ กระเบื้องยางปูพื้น ของเล่นเด็ก ฯลฯ แม้จะดูเยอะจนน่าตกใจ แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงและลดการใช้สารเคมีในบ้านของเราได้ค่ะ อะไรที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ก็อย่าซื้อหาเข้ามาเก็บไว้ในบ้าน คือใช้เท่าที่จำเป็น ใช้แต่พอดี อันไหนที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ และรู้สึกว่าอาจต้องเสี่ยงกับสารเคมีก็ต้องศึกษาข้อมูลวิธีการใช้ คำแนะนำ คำเตือนต่างๆ ให้ดี หรืออะไรที่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติทดแทนได้ อย่างน้ำยาทำความสะอาดบ้านต่างๆ ก็หามาใช้หรือถ้าทำใช้ได้เองก็ยิ่งดีค่ะ ซึ่งนอกจากจะดีกับสุขภาพของคุณแม่บ้านและคนในครอบครัว ยังดีต่อโลกของเราด้วยเพราะไม่มีสารเคมีตกค้างไปทำร้ายสิ่งแวดล้อม แถมยังถูกกว่าประหยัดกว่า และการลองทำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติด้วยตัวเอง อาจช่วยให้การทำความสะอาดบ้านเป็นงานที่สนุกมากขึ้นก็ได้ค่ะ คำแนะนำเพื่อทำให้บ้านปลอดสารพิษจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด1.ควรเก็บผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนผสมของสารเคมีให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นระบบ คือให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นชนิดเดียวกันหรือทำหน้าที่เหมือนกันเก็บไว้ด้วย เช่นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดเสื้อผ้าก็ไว้รวมกัน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำก็แยกกลุ่มออกมาให้ชัดเจน 2.ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดนอกเหนือจากหน้าที่ของมัน คือไม่เอาผงซักฟอกไปล้างจาน หรือเอาน้ำยาขัดพื้นห้องน้ำมาขัดพื้นห้องรับแขกหรือห้องครัว 3.ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่จะซื้อเข้ามาในบ้าน ต้องเลือกที่มีฉลากแสดงข้อมูลต่างๆ ชัดเจน วิธีการใช้ คำเตือนของอันตรายที่อาจจะได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และวิธีการรักษาอาการแพ้เบื้องต้นเมื่อได้รับสารพิษ 4.เมื่อคุณแม่บ้านอ่านข้อความวิธีการใช้และคำเตือนต่างๆ บนฉลากข้างผลิตภัณฑ์แล้ว ก็ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดด้วยเช่นกัน ทั้งสวมเสื้อผ้ามิดชิด ไม่สัมผัสโดยตรง หรือใช้ผลิตภัณฑ์ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก 5.ควรเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดให้ห่างจากมือเด็กมากที่สุด 6.ซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแค่เท่าที่จำเป็นต้องใช้ ไม่ควรซื้อมาเก็บตุนไว้มากๆ เพราะแบบนั้นก็เท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงสารเคมีให้กับตัวเอง 7.ลองหาผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เป็นธรรมชาติหรือมีอันตรายน้อยกว่ามาทดแทน อย่างเช่น ผงฟู หรือน้ำส้มสายชู ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดคราบสกปรกต่างๆ ได้ไม่แพ้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่วางขายอยู่ตามร้านค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ต-------------------------------------------------- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดใกล้ตัว ใช้แล้วไม่ต้องกลัวสารพิษ ผงฟู : ผู้พิชิตผงฟู หรือที่บางคนเรียก เบคกิ้งโซดา หรือในชื่ออย่างเป็นทางการว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต นอกจากจะใช้ทำให้ขนมฟูดูน่ากินแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ความสะอาดบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่างหาก เพราะความที่มีอนุภาคเล็กและมีรูปทรงผลึกอ่อนนุ่ม จึงดีต่อการใช้ขัดถูทำความสะอาด มีสรรพคุณปรับค่าความเป็นกรดด่างและฆ่าเชื้อโรค แถมยังช่วยดูดซับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย เรียกว่าเราสามารถนำผงฟูไปเป็นสูตรทำความสะอาดได้ตั้งแต่ เสื้อผ้า จานชาม พื้นบ้าน อุปกรณ์เครื่องครัว ขจัดกลิ่นตู้เสื้อผ้า รองเท้า ไปจนถึงใช้แทนยาสีฟันก็ยังได้ น้ำส้มสายชู : คุณค่าคู่ครัวไม่เพียงแค่ใช้ปรุงอาหารเท่านั้น แต่น้ำส้มสายชูยังเป็นผู้ช่วยชั้นดีในการทำความสะอาดคราบต่างๆ ได้ด้วย น้ำส้มสายชูมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งช่วยกัดกร่อนคราบหินปูนที่เกาะอยู่ตามพื้นห้องน้ำ พื้นกระเบื้อง หรือคราบสนิทอยู่เกาะอยู่ตามก๊อกน้ำ ฝักบัว หรือเครื่องครัวต่างๆ ทั้งแบบที่ทำจากอลูมิเนียม อย่าง กาต้มน้ำ ที่เมื่อใช้ไปนานๆ มักเกิดคราบจากตะกอน คราบเขม่า และเครื่องครัวที่เป็นแก้วหรือคริสตัล น้ำส้มสายชูก็สามารถทำความสะอาดให้กับมาใสปิ๊งเหมือนใหม่ได้ด้วย น้ำมะนาว : เราทำได้นอกจากจะเพิ่มความเปรี้ยวให้กับชีวิตแล้ว น้ำมะนาวยังเป็นน้ำยาขัดขาวสูตรธรรมชาติปลอดภัยไร้สารอีกต่างหาก น้ำมะนาวใช้ขัดทำความสะอาดได้ทั้งข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นทองเหลืองและทองแดง ช่วยขจัดคราบสนิมและคราบสกปรกจากอาหารที่ติดอยู่บนเสื้อผ้า และยังช่วยขจัดคราบกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่ติดอยู่ตามอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวอย่าง เขียงและมีด สบู่ : สู้ความสกปรกสบู่ที่เราใช้อาบน้ำมักจะเหลือค้างเป็นก้อนเล็กๆ เพราะมันเล็กจนจับไม่ถนัดมือเราจึงไม่ได้ใช้มันต่อ และเหมือนจะหมดประโยชน์ไปโดยปริยาย แต่สบู่ก้อนเล็กๆ เหล่านี้จะมีกลับมามีประโยชน์อีกครั้ง โดยการเก็บรวบรวมนำมาผสมกับน้ำร้อนใช้เป็นน้ำยาล้างจานได้ เพราะสบู่มีคุณสมบัติของสารลดแรงตึงผิวเหมือนกัน แต่มีความเข้มข้นน้อยกว่า ปลอดภัยกับผิวเรามากกว่า น้ำ : ทำได้หมดวัตถุดิบพื้นฐานสุดๆ ที่เราใช้ทำความสะอาดทุกๆ อย่าง ทั้ง ซักผ้า ล้างจาน ถูบ้าน ทำความสะอาดนู้นนี้ เราใช้น้ำช่วยในการชำระล้างคราบสกปรกต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าประสิทธิภาพของน้ำเปล่าๆ อาจไม่เข้มข้นพอที่จะขจัดคราบสกปรกบางอย่างชนิดที่เกาะติดแน่นมากๆ แต่บางครั้งแค่น้ำเปล่าธรรมดาบวกกับการออกแรงขัดถูนิดน้อย คราบสกปรกที่เราหวั่นใจก็อาจหลุดออกได้ง่ายๆ แบบที่เราอาจคาดไม่ถึง สูตรน้ำยาทำความสะอาดบ้านไร้สารพิษน้ำยาล้างห้องน้ำแม่บ้านหลายคนทราบดีอยู่แล้วว่า น้ำยาล้างห้องน้ำมีฤทธิ์รุนแรง ถึงขนาดกัดกร่อนคราบสกปรกต่างๆ ได้ง่ายๆ แบบที่ไม่ต้องเปลืองแรงขัด นั้นก็เพราะในน้ำยาล้างห้องน้ำมีส่วนผสมของกรดหลายชนิด ที่นิยมมากที่สุดก็คือ กรดเกลือ (hydrochloric acid) ซึ่งขนาดคราบสกปรกบนพื้นปูนหรือพื้นกระเบื้องยังขจัดออกได้ แล้วถ้าโดนเข้ากับผิวหนังของเราก็ไม่ต้องเดาว่าผลลัพธ์จะเป็นยังไง ถ้าโดนผิวหนัง เข้าตา หรือหายใจสูดเอากลิ่นของมันเข้าไป ก็อาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ถ้ากลัวไม่ปลอดภัยลองใช้สูตรนี้ -ใช้แอมโมเนียและน้ำส้มสายชูอย่างละครึ่งถ้วย ผสมกับผงฟู ¼ ถ้วย นำไปเทลงบนพื้นแล้วใช้แปรงขัดคราบสกปรกที่ติดอยู่ ใช้เป็นน้ำยาทำความสะอาดพื้นกระเบื้อง -ใช้น้ำส้มสายชูเทลงในโถส้วม ทิ้งไว้สักครู่แล้วใช้แปรงขัด ใช้ขจัดคราบสกปรกที่ติดอยู่ได้ -ใช้น้ำยาฟอกขาวกับน้ำมะนาว ¼ ถ้วย ผสมกับน้ำเปล่า 3 ถ้วย ใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค สำหรับขัดตามอ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ ฝักบัว ผงซักฟอกไขข้อข้องใจสำหรับแม่บ้านที่ซักผ้าด้วยมือ ผงซักฟอกเป็นสารเคมีพวกกรดด่าง สารละลายอินทรีย์ และอาจมีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายสิ่งสกปรก เมื่อผิวหนังเราสัมผัสสารเหล่านี้เป็นเวลานานอาจเกิดผลเสียขึ้นได้ ทั้งผิวหนังขาดความชุ่มชื้น เกิดการอักเสบ ระคายเคือง ผิวแห้งและแตก อีกเรื่องที่อยากฝากเตือนคุณแม่บ้านคือ ไม่ควรนำผงซักฟอกไปล้างทำความสะอาดอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นล้างจานชาม หรือล้างมือ เพราะถ้ามีสารตกค้างเข้าสู่ร่างกาย อาจเกิดอาการท้องเสีย อาเจียน หรือถึงขั้นช็อคเลยก็ได้ ถ้ากลัวไม่ปลอดภัยลองใช้สูตรนี้-นำผงสบู่ที่ได้จากการสบู่ก้อนบริสุทธิ์ไม่มีส่วนผสมของสีและกลิ่นมาขูดให้เป็นผงประมาณ 1 ถ้วย ผสมกับน้ำ 3 ถ้วยที่ใส่หม้อตั้งไฟปานกลาง ใส่บอแรกซ์ 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้เย็น เป็นสบู่เหลวซักผ้า -นำผงสบู่ผสมน้ำร้อนอย่างละ 2 ถ้วย ทำให้ผงสบู่ละลายแล้วเติมแอลกอฮอล์ 1 ถ้วย น้ำมันยูคาลิปตัส 2 ช้อนโต๊ะ ใช้เป็นหัวเชื้อน้ำยาปรับผ้านุ่ม เวลาใช้ให้ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มนี้ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร เมื่อปรับผ้านุ่มแล้วให้ซักด้วยน้ำอุ่นอีกหนึ่งครั้ง -ผงฟูช่วยทำให้ผ้านุ่มและขจัดกลิ่นเหม็นติดเสื้อผ้าได้ โดยการเทผงฟูประมาณ ½ ถ้วยลงในน้ำสุดท้ายของการซักผ้าน้ำยาล้างจานส่วนผสมหลักๆ ของน้ำยาล้างจานคือ สารสังเคราะห์ในกลุ่มสารลดแรงตึงผิว (surfactant) รวมทั้งยังผสมสารที่เป็นกรดซึ่งมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนเพื่อทำหน้าที่กำจัดคราบไขมันและสิ่งสกปรก นอกจากนี้ยังมีการผสมสารต่างๆ อีกหลายชนิด สารที่ให้กลิ่นหอม สารฟอกสี ซึ่งสารสังเคราะห์เหล่านี้ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ถ้ากลัวไม่ปลอดภัยลองใช้สูตรนี้-ใช้ผงสบู่ 1 ถ้วย ผสมน้ำตั้งไฟจนเดือดคนจนละลาย ผสมน้ำส้มสายชู 1 ถ้วย ใช้เป็นน้ำยาล้างจาน -น้ำส้มสายชูและน้ำมะนาว ใช้เช็ดถูทำความสะอาดคราบบนภาชนะต่างๆ เช่น หม้อ กาต้มน้ำ และใช้ขัดคราบและกลิ่นบนเครื่องครัวที่ทำจากไม้ อย่าง เขียง ได้ด้วย น้ำยาเช็ดกระจกส่วนใหญ่จะผสมสารที่ชื่อว่า ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (isopropyl alcohol) ซึ่งเป็นของเหลวใส ไม่มีสี แต่ไวไฟ และมีกลิ่นฉุนมาก มีคุณสมบัติในการทำความสะอาด ซึ่งถ้าจะใช้ฆ่าเชื้อต้องใช้ที่ความเข้มข้นสูงถึง 60 – 70% หากเราหายใจเอาเจ้าสารนี้เขาไปในปริมาณมากๆ จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองคอและจมูก เป็นอันตรายกับระบบทางเดินหายใจ ปวดหัว วิงเวียน อาจถึงขั้นหมดสติ ถ้ากลัวไม่ปลอดภัยลองใช้สูตรนี้-ใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำในปริมาณเท่ากัน ชุบด้วยผ้านุ่มใช้เช็ดทำความสะอาดกระจก แต่หากใช้น้ำส้มสายชูเช็ดกระจกแล้วเกิดคราบ ให้ใช้แอลกฮอล์เช็ดที่กระจกก่อน -ใช้ผ้าเปียกถูกับสบู่ก้อน เช็ดบนกระจก ล้างออกแล้วเช็ดด้วยผ้าแห้ง ช่วยทำให้กระจกที่เป็นฝ้ามัวกลับมาใสเหมือนใหม่น้ำยาขัดเงาเฟอร์นิเจอร์ทำมาจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม แว็กซ์ และน้ำมัน ไม่ควรสูดดม สัมผัส หรือนำเข้าสู่ร่างกาย หากได้รับสารดังกล่าวเข้า อาจมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ แนะนำว่าเวลาใช้น้ำยาขัดเงาเฟอร์นิเจอร์ควรทำในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ถ้ากลัวไม่ปลอดภัยลองใช้สูตรนี้-ใช้น้ำมันพืช 1 ถ้วย ผสมกับน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชู 1 ถ้วย ใช้ผ้าชุบเช็ดทำความสะอาด ซึ่งสูตรนี้ช่วยลบรอยขีดข่วนได้ด้วย -ใช้น้ำมันทานตะวัน ½ ถ้วย ผสมกับสบู่เหลวและน้ำอย่างละ ¼ ถ้วย ใช้เช็ดทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ไม้ -น้ำ 1 ถ้วย สบู่เหลว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำส้มสายชู ½ ถ้วย ผสมเข้าด้วยกัน ใช้เช็ดทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์หนัง -น้ำมันจมูกข้าวสาลี ½ ถ้วย ผสมกับน้ำมันละหุ่ง ¼ ถ้วย ใช้เป็นสูตรผสมสำหรับเคลือบเงาเฟอร์นิเจอร์หนัง น้ำยาทำความสะอาดพรมส่วนประกอบของน้ำยาทำความสะอาดพรมคือ น้ำยาซักแห้ง และ แนพทาลีน (Naphthalene) ซึ่งเป็นสารเคมีที่อยู่ในลูกเหม็น อันตรายคงสารนี้ก็คือ เมื่อสูดดมเข้าไปมากๆ จะทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร นานเข้าก็จะไปทำร้ายปอด รวมทั้งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งด้วย ถ้ากลัวไม่ปลอดภัยลองใช้สูตรนี้-ใช้ผงฟูหรือเกลือป่น โรยทิ้งไว้บนพรม 1 – 2 ชั่วโมง แล้วดูดฝุ่นออก ช่วยในการดับกลิ่น - บริเวณที่เปื้อนคราบสกปรกให้ใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำสบู่หยดลงไป แล้วเช็ดเบาๆ ด้วยแปรงขนอ่อน เสร็จแล้วซับด้วยผ้าให้แห้ง ผลิตภัณฑ์กำจัดสิ่งอุดตันสารเคมีที่อยู่ในผลิตภัณฑ์กำจัดสิ่งอุดตันส่วนใหญ่คือ โซดาไฟ ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง ถ้าถูกผิวหนังอาจเกิดการระคายเคือง เป็นแผลไหม้ ถ้าเข้าตาอาจรุนแรงถึงขั้นตาบอด ถ้าเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดมเข้าไปอาจทำให้ระบบทางเดินหายใจเสียหาย ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปจะทำให้ ปาก คอ และช่องท้องเกิดแผลอย่างรุนแรง ถ้ากลัวไม่ปลอดภัยลองใช้สูตรนี้-ใช้ผงฟู 3 ช้อนโต๊ะ น้ำส้มสายชู ½ ถ้วยผสมในน้ำร้อนแล้วเทลงไปในท่อ ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วเทน้ำตาม ช่วยทำให้ท่อระบายได้เร็วขึ้นและลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ -ถ้าท่อระบายน้ำตันให้ใส่เกลือลงในท่อ ½ ถ้วย แล้วเทน้ำเดือดตามลงไป ที่มา : บทความเรื่อง “แม่บ้านไร้สารพิษ”. คมสัน หุตะแพทย์, วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 1/2552 “กรีนคอนซูเมอร์”. กรรณิกา พรมเสาร์. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค “10 วิธีทำความสะอาดด้วยวิธีธรรมชาติ” มูลนิธิสุขภาพไทย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point