ฉบับที่ 162 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนสิงหาคม 2557 คนไทยติดมือถือ โฮเทลส์ ดอทคอม เผยคนไทยติดมือถืออันดับ 1 จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวจาก 28 ประเทศ ที่พกมือถือตลอดเวลาแม้แต่ไปพักร้อน โดยคนไทย โดย 6 ใน 10 ใช้เวลาไปกับการเช็กอีเมล์บนมือถือ และ 100% ใช้เพื่อเชื่อมต่อกับโลกโซเชียล         คลีนฟู้ด กู้ดเทสต์ ไม่ผ่านมาตรฐาน กรมอนามัย เผยร้านค้าที่เคยผ่านมาตรฐานโครงการคลีนฟู้ด กู้ดเทสต์ พลัส ล่าสุดไม่ผ่านเกณฑ์ถึงร้อยละ 27 เล็งยกระดับมาตรฐานร้านจำหน่ายอาหาร มอบป้าย Clean Food Good Taste Plus ให้ร้านอาหารไทยปลอดภัย สุขภาพดี ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 7 ข้อ สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค เกณฑ์มาตรฐานร้านอาหาร Clean Food Good Taste Plus มีดังนี้ 1. ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย 2. มีช้อนกลางสำหรับผู้บริโภค 3. มีอ่างล้างมือสำหรับผู้บริโภค 4.ส้วมในร้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS (Healthy Accessibility Safety) และมีส้วมสำหรับผู้พิการ ที่รถเข็นสามารถเข้าถึงได้ 5. ผักสดปลอดสารพิษฆ่าแมลง 6. ผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมและมีบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร และ 7. ใช้ถุงมือสัมผัสอาหาร   ยอดโรงเรียนกวดวิชาพุ่ง สะท้อนระบบการศึกษาที่มีต้นทุนสูง รายงานจากกระทรวงศึกษาธิการ พบผู้ประกอบการธุรกิจกวดวิชาโรงเรียนกวดวิชาและติวเตอร์อิสระรายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีเฉพาะปี 2555 ประเทศไทยมีโรงเรียนกวดวิชา 2,005 แห่ง อยู่ในกรุงเทพฯ 460 แห่ง และภูมิภาค 1,545 แห่ง มีนักเรียนเรียนกวดวิชา 453,881 คน หรือ12% ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาทั้งหมด โดยมูลค่าการตลาดของธุรกิจกวดวิชา ปี 2556 ประมาณ 7,160 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2555 ที่มีมูลค่า 7,000 ล้านบาท และคาดว่าปี 2558 จะเติบโตไปสู่ 8,189 ล้านบาท เพิ่ม 5.4% ซึ่งการเติบโตนี้มีปัจจัยหนุนมาจากการเพิ่มราคาค่าเรียน และจำนวนนักเรียนที่เรียนกวดวิชาเพิ่มขึ้น นักเรียนส่วนใหญ่ต่างต้องการผลการเรียนที่ดีขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ส่งผลให้ต้นทุนการศึกษาสูง ผู้ปกครองเดือดร้อน นักเรียนเองก็แบกรับความทุกข์จากการเรียนทั้งในและนอกเวลา นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า “หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขอให้ ศธ.ลดเวลาเรียนลงจึงได้มอบหมายให้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ไปวิเคราะห์แล้วและคาดว่าการปรับลดเวลาเรียนคงไม่ได้ปรับใหญ่เพราะชั่วโมงเรียนไปสัมพันธ์กับหน่วยกิตการเรียนการสอน ดังนั้นเบื้องต้นอาจปรับลดชั่วโมงเรียนในบางวิชาลง เช่น วิชาสังคมศึกษาที่มีการเรียนเรื่องประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองให้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบของกิจกรรมแทน เป็นต้น     พบผู้ประกันตนเมินสิทธิฉุกเฉิน เหตุกลัว รพ.เก็บเงิน นพ.ถาวร สกุลพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะที่ปรึกษาโครงการวิจัยเรื่อง "การบริหารจัดระบบบริการทางการแพทย์กรณีฉุกเฉินตามนโยบายบริหารจัดการร่วม สามกองทุน" ระบุ นโยบายการรักษาดังกล่าวมีการให้บริการที่รวดเร็ว รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน รวมทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนไม่มีการปฏิเสธการรักษาคนไข้ตามมาตรฐานสากล ทำให้ผู้ประกันตนเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้น แต่ปัญหาที่พบคือ ผู้ประกันตนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าจะใช้สิทธิได้ที่ใด และยังกังวลว่าโรงพยาบาลเอกชนจะไม่รับรักษา เนื่องจากเรื่องของค่ารักษาพยาบาล ซึ่งยังไม่มีการกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนว่า ให้โรงพยาบาลที่ให้การรักษาเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานใด ทำให้เกิดความสับสนในการจัดการค่าใช้จ่าย แม้โรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือไม่เก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วย โดยไปเบิกจากกองทุนประกันสังคมผ่านหน่วยงานกลางของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ (สปสช.) และมีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งยังคงเรียกเก็บเงินค่ารักษาจากคนไข้ บางรายต้องกู้เงินมาจ่ายค่ารักษาจนเป็นหนี้สิน เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขกฎหมายนโยบายการรักษาเจ็บป่วยฉุกเฉิน เพื่อกำหนดการจัดการค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลให้ชัดเจน โดยห้ามโรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่ให้การรักษาเรียกเก็บเงินจากคนไข้โดยเด็ดขาด "ส่วนการจ่ายค่ารักษาให้แก่โรงพยาบาลเอกชนนั้น ควรใช้อัตราเดียวกับที่กรมบัญชีกลางจ่ายให้แก่โรงเรียนแพทย์ และจ่ายเพิ่มเติมในส่วนของค่าตอบแทนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ โดยอัตราที่จ่ายนั้นพิจารณาตามความเหมาะสม ส่วน สปส.ควรจัดให้มีสายด่วนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน แยกจากสายด่วนปกติและจัดให้พยาบาลซึ่งมีความรู้ด้านโรคต่างๆ มาเป็น Call Center" นพ.ถาวรกล่าว   คนพิการทวงคืนพื้นที่ ที่จอดรถห้างชื่อดัง ต้นเดือนที่ผ่านมามีการแชร์คลิปหนึ่งที่สร้างความฮือฮามากเรื่อง การทวงสิทธิที่จอดรถคนพิการในห้างดัง ในคลิปเป็นภาพชายหนุ่มพิการนั่งรถวีลแชร์ไปทวงถามพื้นที่จอดรถสำหรับคนพิการ ซึ่งกลายเป็นที่จอดรถพิเศษของลูกค้าวีไอพีของห้างไป ทั้งที่มีการระบุสัญลักษณ์คนพิการอย่างชัดเจน ชายหนุ่มพิการอธิบายว่า ลานจอดรถชั้นนี้ยังมีช่องจอดรถว่างอยู่พอสมควร แต่ทุกครั้งที่มาห้างแห่งนี้ พื้นที่จอดรถของคนพิการ มักมีรถเก๋งคันหรูจอดเต็มอยู่เสมอ ขณะที่ในคลิปวิดีโอยังเผยให้เห็นเจ้าหน้าที่หญิงคนหนึ่ง ซึ่งประจำลานจอดรถได้เข้ามาชี้แจง พร้อมกับอธิบายและขอโทษเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ชายหนุ่มพิการก็ระบุว่าไม่ได้กล่าวโทษใดๆ เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้น หากไม่ได้รับคำสั่งคงไม่เปิดให้รถเก๋งคันหรูเหล่านี้มาจอดในพื้นที่สำหรับคนพิการ พร้อมกับกล่าวว่าเจ้าของรถเหล่านี้ไม่มีจิตสำนึกและถ่ายภาพป้ายทะเบียนรถเอาไว้เป็นหลักฐาน หลังจากแชร์กันสนั่นและวิจารณ์กันไปจนทั่วโลกโซเชียล ท้ายที่สุด ห้างดังก็ต้องออกมาขอโทษและรับปากจะไม่ละเมิดสิทธิผู้พิการอีก     สารพิษตกค้างเพียบในผัก ผลไม้ แม้มีตรา Q การันตี ไทยแพน(เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลการสุ่มเก็บตัวอย่างผัก-ผลไม้ เพื่อหาสารเคมีตกค้างปี 2557 พบ ผัก-ผลไม้ที่ได้รับตรารับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร มีสารตกค้างสูงถึงร้อยละ 87.5 ซึ่งมากกว่าผัก-ผลไม้ ที่วางขายในตลาดทั่วไป นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยสุ่มเก็บตัวอย่างผัก-ผลไม้ จาก 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น และยโสธร รวม 118 ตัวอย่าง พบว่าผักผลไม้เกือบครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 46.6 ของตัวอย่างที่สุ่มตรวจ มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่เกินมาตรฐาน MRL หรือปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่กำหนดไว้ใน มกอช. ด้านนางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานจากไทยแพน ระบุ หากจำแนกตามประเภทแหล่งจำหน่าย พบว่า ผักผลไม้ที่พบการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุด คือผักผลไม้ที่ได้ตรารับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หรือ ตรารับรองมาตรฐาน "Q" พบการตกค้างมากถึงร้อยละ 87.5 และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน MRL มากถึงร้อยละ 62.5 รองลงมาคือผักผลไม้ที่จำหน่ายในห้างค้าปลีก ส่วนแหล่งที่พบผักผลไม้เกินมาตรฐาน MRL น้อยที่สุดกลับเป็นตลาดทั่วไป โดยผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างมากที่สุด ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง รองลงมาคือ ฝรั่ง ส่วนที่พบสารตกค้างน้อยสุดคือ แตงโม ข้อสังเกตจากการทดสอบ พบว่า สารเคมีที่ตกค้างในผักผลไม้ทุกชนิด คือ คลอร์ไพริฟอสและไซเปอร์เมทริน รวมทั้งสารคาร์เบนดาซิม ที่พบตกค้างในส้ม แอปเปิ้ลและสตรอว์เบอร์รี่ นั้นสูงกว่าค่า MRL หลายเท่าตัว เพราะคาร์เบนดาซิม เป็นสารดูดซึมการตกค้างจะเข้าไปในเนื้อผลไม้และไม่สามารถกำจัดได้ด้วยการล้างน้ำ องค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายเตือนภัยจึงมีข้อเสนอดังนี้  1.ให้ มกอช. ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ ปฏิรูปการออกเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หรือ Q ให้เป็นที่พึ่งของผู้บริโภคได้จริง 2.ให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายเร่งจัดการปัญหาเรื่องการควบคุมการนำเข้าและจำหน่ายสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มที่มีอันตรายร้ายแรง และดูดซึมอย่างเข้มงวด โดยเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ  และ 3.เร่งสร้างระบบเตือนภัยความปลอดภัยด้านอาหาร(Rapid Alert System for Food) ภายในปี 2558

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 141 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2555 ระวัง! “ทิ้นท์” ไม่ได้มาตรฐานทำปากพัง คงไม่ใช่เรื่องผิดถ้าสาวๆ จะรักสวยรักงาม เพราะใครๆ ก็อยากดูดี แต่เวลาจะแต่งหน้าทำผมทั้งทีเครื่องสำอางที่จะใช้ก็ต้องใส่ใจเลือกให้ดี เพราะถ้าใช้ของไม่ดีไม่มีคุณภาพไม่ผ่านมาตรฐาน ผลลัพธ์ไม่ใช่แค่แต่งออกมาแล้วไม่สวย แต่อาจต้องเจ็บป่วยด้วยโรคที่แถมมากับเครื่องสำอาง อย่างล่าสุดคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาเตือนถึงอันตรายของ “ทิ้นท์” เครื่องสำอางที่มีลักษณะเป็นเจลน้ำสีแดง ที่ใช้สำหรับทาบริเวณริมฝีปากเพื่อให้ริมฝีปากมีสีแดงอมชมพู ดูน่ารักสวยงาม ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มสาวๆ วัยรุ่น โดยส่วนใหญ่จะหาซื้อกันตามร้านค้าแผงลอยตามตลาดนัดทั่วไป ทาง อย. จึงเป็นห่วงผลิตภัณฑ์ที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไปนั้น อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน สีที่ใช้ในทิ้นท์อาจเป็นสีที่ห้ามใช้หรือมีส่วนผสมของสารอันตราย เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะหนัก หากสารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจมีผลทำให้รู้สึกระคายเคืองอย่างรุนแรง อาการคลื่นไส้อาเจียน ตาพร่ามัว หรือถ้าใครที่แพ้อย่างรุนแรงอาจมีอาการปวดแสบปวดร้อนที่ริมฝีปาก เกิดอาการคัน บวม แดง ผิวหนังลอกเป็นขุย   อย. จึงฝากเตือนสาวๆ ที่อยากใช้ทิ้นท์ช่วยเพิ่มสีสันให้ริมฝีปาก ต้องไม่ลืมอ่านฉลากบนผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจ ซึ่งเครื่องสำอางที่ได้รับมาตรฐานจะต้องแสดง ชื่อเครื่องสำอาง ชนิดของเครื่องสำอาง ชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง วิธีใช้เครื่องสำอาง ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ปริมาณสุทธิ วัน เดือน ปี ที่ผลิตและหมดอายุ ในกรณีที่เครื่องสำอางมีอายุการใช้น้อยกว่า 30 เดือน คำเตือน และที่สำคัญต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้งบนฉลากหรือกล่องผลิตภัณฑ์ -------------------------------------------------------------   เมื่อ “สารส้ม” ปนเปื้อนอลูมิเนียม “สารส้ม” ถือเป็นของคู่บ้านคนไทยเรามาอย่างยาวนาน หลายๆ ครอบครัวใช้สารส้มแกว่งในน้ำกินน้ำใช้เพื่อให้ตกตะกอน โดยเฉพาะในพื้นที่กันดารห่างไกลซึ่งระบบน้ำประปาน้ำสะอาดยังเข้าไม่ถึง แต่สารส้มแม้จะมีคุณประโยชน์ช่วยทำให้น้ำใสน่ากินน่าใช้แต่ก็ต้องรู้จักใช้อย่างพอดี เพราะล่าสุดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีการสุ่มตรวจสารส้มพบว่ามีการปนเปื้อนของอะลูมิเนียมเกินกว่าที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท กำหนดให้มีอะลูมิเนียมได้ไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อน้ำบริโภค 1 ลิตร แต่จากการที่กลุ่มงานพิษวิทยา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 พิษณุโลก ได้เฝ้าระวังอะลูมิเนียมในน้ำบริโภคหลังจากเกิดอุทกภัยในเขตจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอบางระกำ และอำเภอเมือง พบการปนเปื้อนของอะลูมิเนียมเข้มข้นถึง 0.06 – 0.42 มิลลิกรัมต่อลิตรถึง 7 ตัวอย่าง ซึ่งสาเหตุสำคัญของการปนเปื้อนอาจมาจากการเติมสารส้ม เพื่อทำให้น้ำใสแต่มิได้มีการควบคุมปริมาณให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย อะลูมิเนียมที่เข้าสู่ร่างกายบางส่วนจะถูกดูดซึมแพร่กระจายผ่านทางระบบเลือดไปยังปอด ตับ กระดูก และสมอง และถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะผ่านไต ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับการทำงานของไต และหากบริโภคน้ำที่มีปริมาณอะลูมิเนียมสูงเป็นเวลานานจะส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งขณะนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งศึกษาถึงปริมาณและวิธีการใช้สารส้มที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ -------------------------------------------------   “ปลาดุกย่าง” แชมป์ของย่างเสี่ยงมะเร็ง ใครที่ชอบทานอาหารปิ้งย่างฟังทางนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รายงานผลการสุ่มสำรวจการปนเปื้อนของสารเคมีในอาหารปิ้งย่าง โดยสารที่ตรวจวิเคราะห์เป็นกลุ่มสารก่อมะเร็ง เช่น สารเบนโซเอไพรีน เป็นสารประกอบในกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรเมติก ไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีที่มีมากกว่า 100 ชนิด ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์หรือการสลายทางเคมีของสารอินทรีย์โดยความร้อน แต่เป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษเฉียบพลันต่ำ แม้จะมีการทดลองพบว่าสารนี้มีผลก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่พบข้อมูลที่เพียงพอว่าจะทำให้ก่อมะเร็งในคน สำหรับตัวอย่างอาหารที่นำมาวิเคราะห์ได้แก่ ไก่ย่าง ปลาดุกย่าง และหมูปิ้ง โดยเก็บตัวอย่างจากตลาดสดใน กทม.42 แห่ง รวม 101 ตัวอย่าง ซึ่งพบการปนเปื้อนมากที่สุดในตัวอย่างปลาดุกย่าง เฉลี่ยพบการปนเปื้อนอยู่ที่ 0.5-3.2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม จากทั้งหมด 36 ตัวอย่าง รองลงมาคือ หมูปิ้ง 30 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อน 0.3-1.3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ตามด้วยไก่ย่าง 35 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนอยู่ที่ 0.5-0.7 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งปริมาณสารที่พบยังถือว่ามีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่ประกาศในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ที่กำหนดไว้ 5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม แต่เพื่อความปลอดภัยในการทานอาหารปิ้งย่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฝากถึงผู้จำหน่ายอาหารปิ้งย่างไม่ควรใช้ไฟแรงและใช้เวลาในการปิ้งย่างนานเกินไป ควรตัดแต่งอาหารส่วนที่ไหม้เกรียมออก ส่วนผู้บริโภคก่อนรับประทานควรตัดส่วนที่ไหม้เกรียมออกไป หลีกเลี่ยงส่วนไหม้เกรียมมากๆ เพราะสัมผัสไฟโดยตรง เช่น หนังหรือชิ้นส่วนติดมัน ----------------------------------------------------- คุมเข้มโรงเรียนกวดวิชา ในยุคที่โรงเรียนกวดวิชาถูกประเมินค่าความสำคัญไม่ต่างจากการเรียนในโรงเรียนปกติทั่วไป ทำให้เราได้เห็นโรงเรียนกวดวิชาผุดขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด ซึ่งทำให้มีโรงเรียนกวดวิชาจำนวนมากที่ไม่ได้มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ และหลายแห่งใช้การโฆษณาเกินจริงเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงต้องออกมาทำหน้าที่ปกป้องผู้บริโภค เร่งจัดระเบียบโรงเรียนกวดวิชา จากการตรวจสอบของทาง สคบ. พบว่าปัจจุบันมีสถาบันกวดวิชาเปิดสอนทั่วประเทศมากกว่า 10,000 แห่ง ซึ่งผู้บริโภคจำนวนมากมักตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงเรียนกวดวิชาจากชื่อเสียงและคำโฆษณา โดยไม่ได้มีการตรวจสอบข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญ สคบ. จึงฝากแนะนำนักเรียนและผู้ปกครองที่กำลังมองหาโรงเรียนกวดวิชาต้องไม่ลืมตรวจสอบข้อมูลสำคัญต่อไปนี้ 1.ต้องมีการขออนุญาตจากกระทรวงศึกษา 2.ต้องจัดห้องเรียนให้ครบกับหลักสูตรและรายวิชาตามที่ขออนุญาต 3.สถานที่ต้องไม่แออัด มีความกว้างขวางเพียงพอกับจำนวนนักเรียน คือประมาณ 1.50 เมตร ต่อนักเรียน 1 คน 4.ต้องมีสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย มีการดูแลรักษาความปลอดภัยที่ดี ไม่ต้องอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่อาจเกิดอันตรายใดๆ กับกิจกรรมต่างๆ โรงเรียน 5.ห้ามให้สถานที่ตั้งโรงเรียนเอกชนสามัญศึกษาเป็นสถานที่เปิดสอนกวดวิชา 6.ต้องจัดให้มีสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนและบริการอื่นๆ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกำหนด และ 7.ผู้สอนต้องมีคุณสมบัติตามที่กระทรวงศึกษากำหนด ใครที่ได้รับความเสียหายจากการใช้บริการโรงเรียนกวดวิชาหรือพบเห็นโรงเรียนกวดวิชาที่มีการใช้คำโฆษณาอวดอ้างเกินจริง สามารถแจ้งข้อมูลไปได้ที่สายด่วน สคบ. 1166 --------------------------------------------------------------------------------------------   “กะปิ” มีสีมีเสี่ยง “กะปิ” ถือเป็นส่วนประกอบที่ทำให้อาหารไทยหลากหลายเมนูมีรสชาติอร่อยถูกปากถูกใจ แต่จากนี้ไปต้องระวังให้ดี เพราะกะปิธรรมดาๆ ก็อาจไม่ปลอดภัยกับสุขภาพของเรา เมื่อศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 จ.ตรัง ได้นำเสนอผลการสุ่มตรวจตัวอย่างกะปิจากจังหวัดกระบี่ ตรัง ระนอง รวม 88 ตัวอย่าง พบว่ามีการใส่สีลงไปในกะปิถึง 52 ตัวอย่าง ซึ่งในจำนวนนี้เป็นสีที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหารถึง 49 ตัวอย่าง โดยพบสีที่เป็นอันตรายอย่าง สีโรดามีน บี ที่หากสะสมในร่างกาย อาจทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง หน้าบวม อาเจียน และอาจส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการชา อ่อนแรงคล้ายเป็นอัมพาต ตับ ไต และระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังมีการตรวจในเรื่องของคุณภาพด้านจุลินทรีย์ ซึ่งไม่พบการปนเปื้อนเชื้อสเตปโตคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) แต่พบการปนเปื้อนเชื้อคลอสทริเดียม เพอร์ฟิงเจน (Clostridium perfringens) ร้อยละ 3.48 แต่อยู่ในระดับปลอดภัย เพราะฉะนั้นเวลาที่จะไปเลือกซื้อกะปิครั้งต่อไป อย่าลืมเลือกกะปิที่สีสันไม่ฉูดฉาด จะได้ปลอดภัยจากสารเคมี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 88 โรงเรียนกวดวิชา

กลับมาอีกครั้งกับผลสำรวจของฉลาดซื้อร่วมกับเครือข่ายที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดต่างๆ (ลำปาง เพชร์บูรณ์ ลพบุรี สระบุรี กาญจณบุรี ตราด สมุทรสงคราม สตูล ยะลา มหาสารคาม และอำนาจเจริญ) คราวนี้เราเลิกไปป้วนเปี้ยนแถวโรงเรียน แต่ไปสอบถามจากผู้ปกครอง จำนวน 498 คน ในฐานะที่เป็นแหล่งทุนสำหรับการเรียนพิเศษของเด็กๆ ทั้งในช่วงเปิดและปิดเทอม กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ปกครอง อายุระหว่าง 41-50 ปี และร้อยละ 60 เป็นผู้หญิงร้อยละ 32 จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ร้อยละ 26 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ตามด้วยอีกร้อยละ 24 ที่มีการศึกษาระดับมัธยม ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 28) รับราชการ ตามด้วย ร้อยละ 24 ที่ทำธุรกิจส่วนตัว รายได้ของครอบครัวของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 35) อยู่ที่ 10,000 ถึง 15,000 บาท อีกร้อยละ 26 มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท อีกร้อยละ 28 มีรายได้มากกว่า 20,000 บาทลูกหลานของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 43) กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 64 ของนักเรียน เลือกเรียนสายวิทย์ เกือบร้อยละ 40 มีเกรดเฉลี่ยระหว่าง 2.5 ถึง 3 อีกร้อยละ 32 มีเกรดเฉลี่ยระหว่าง 3 ถึง 3.5 จากกลุ่มตัวอย่างที่เครือข่ายของเราไปสัมภาษณ์ พบว่ามีถึงร้อยละ 34 ที่เรียนกวดวิชาและในกลุ่มนี้  มีถึงร้อยละ 79 ที่ใช้บริการโรงเรียนกวดวิชา ที่เหลือเรียนตัวต่อตัวกับครูสอนพิเศษ จำนวนวิชาที่เรียนต่อเทอมหนึ่งวิชา 40.5สองวิชา 36.1สามวิชา 19มากกว่าสามวิชา 4.4วิชาที่เด็กๆนิยมเรียนเรียงตามลำดับความนิยมในกรณีที่เรียนเพียงหนึ่งวิชานั้น วิชาที่เด็กๆ เลือกเรียนคือ คณิตศาสตร์ (ร้อยละ 62.6) รองลงมาได้แก่ อังกฤษ (ร้อยละ 38) ฟิสิกส์ (ร้อยละ 28) และเคมี (26)  ว่าแต่ทำไมเด็กกลุ่มนี้ถึงต้องเรียนกวดวิชา สิ่งที่ผู้ปกครองกลุ่มนี้เห็นว่าเป็นเหตุผลหลักที่เด็กๆไปเรียนพิเศษ คือ เรียนเพื่อต้องการทำคะแนนให้ดีขึ้น (ร้อยละ 77.5) รองลงมาได้แก่เพื่อการเตรียมตัวเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย (ร้อยละ 49.2) ตามด้วยการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ (ร้อยละ 45.2) มี ร้อยละ 26.3 ที่ให้เหตุผลว่าลูกหลานไปเรียนพิเศษ เพราะเรียนตามเพื่อนในห้องไม่ทัน (ร้อยละ 26.3) มีเพียงร้อยละ 8.6 เท่านั้นที่ตอบว่าเด็กไปเรียนเพราะต้องการมีกิจกรรมนอกบ้าน และไปสังสรรค์กับเพื่อนหลังเรียน เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกโรงเรียน / ผู้สอนพิเศษให้กับบุตรหลาน คุณวุฒิของผู้สอน                 64.6ชื่อเสียงของผู้สอน            41.5เลือกตามคำแนะนำจากผู้ปกครองอื่นๆ     30.5แผ่นพับ/โฆษณา                14.8มาดูเรื่องเงินกันบ้างค่าใช้จ่ายในการเรียนพิเศษ โดยประมาณส่วนใหญ่ (ร้อยละ 31.2) มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 1,000 – 2,000 บาท ต่อภาคเรียน แต่ที่น่าสนใจคือมีอีกร้อยละ 25 ที่เสียค่าใช้จ่ายเทอมละมากกว่า 4,000 บาท กลุ่มที่ใช้จ่ายเรื่องเรียนพิเศษเทอมละ 2,001 – 3,000 บาท และ 3,001 – 4,000 บาท มีประมาณร้อยละ 18 และมีไม่ถึงร้อยละ 8 ที่จ่ายน้อยกว่า 1,000 บาท    ในกลุ่มที่เรียนเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้น มีมากกว่าร้อยละ 30 ที่ใช้จ่ายมากกว่า 4,000 บาทค่าใช้จ่ายในเดินทางค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเรียนพิเศษแต่ละครั้งของเด็กส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 50 ถึง 100 บาท หนึ่งในสี่ใช้น้อยกว่า 50 บาท และมีถึงร้อยละ 16 ที่มีค่าเดินทางมากกว่า 200 บาทบทสรุปความคุ้มค่าของการลงทุนหนึ่งในสี่ของผู้ปกครองเหล่านี้เชื่อว่าบุตรของตนมีผลการเรียนดีอยู่แล้วก่อนเรียนพิเศษ     ประมาณร้อยละ57 เชื่อว่าบุตรมีผลการเรียนดีขึ้นหลังเรียนพิเศษ แลประมาณร้อยละ 42 ใส่ใจการเรียนมากขึ้นหลังจากไปเรียนพิเศษแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมีอยู่บ้าง (ร้อยละ 9) ที่ตอบว่าไม่มีความแตกต่างของผลการเรียนก่อนและหลังการเรียนพิเศษแล้วที่ไม่เรียนเพราะอะไรสาเหตุหลักคือเรื่องของความไม่พร้อมทางการเงิน (ร้อยละ 23.3) มีประมาณร้อยละ 20 ที่เห็นว่าบุตรหลานของตนเองมีผลการเรียนที่ดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีการกวดวิชาก็ได้ ร้อยละ 10 เห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะต้องเรียน และที่ไม่เห็นด้วยกับการเรียนกวดวิชาจริงๆ มีเพียงร้อยละ 3     เท่านั้น ______________________________________________________

อ่านเพิ่มเติม >