ฉบับที่ 255 วัคซีน mRNA ทำให้ DNA กลายพันธุ์...จริงหรือ

        ในช่วงที่วัคซีนต้านโควิด-19 แบบ mRNA ใกล้ผ่านการอนุมัติให้ใช้แบบฉุกเฉินในสหรัฐอเมริกานั้น นักวิทยาศาสตร์หลายคนตั้งประเด็นเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีนประเภทนี้ เนื่องจากเป็นวัคซีนแบบใหม่ซึ่งแม้ดูทันสมัยแต่กระบวนการในการกระตุ้นระบบภูมิต้านทานนั้นดูลัดขั้นตอน ต่างไปจากวัคซีนแบบเดิม (แบบเชื้อตาย) อย่างไรก็ดีบริษัทผู้ผลิตได้พยายามให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชนว่า วัคซีนนี้ปลอดภัย ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ในวันที่ 17 ธันวาคม 2020 www.chop.edu มีบทความเรื่อง News & Views: 3 Questions You Will Get About the New mRNA Vaccines ซึ่งตอนหนึ่งของบทความมีหัวข้อที่น่าสนใจคือ วัคซีน mRNA สามารถเปลี่ยนแปลง DNA ของผู้ถูกฉีดหรือไม่? ซึ่งคำตอบสั้นๆ สำหรับคำถามนี้คือ "ไม่" แต่คำตอบนี้ดูไม่น่าพอใจนัก จึงมีคำอธิบายเพิ่มว่า วัคซีน mRNA ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง DNA ของบุคคลได้ด้วยเหตุผลสามประการคือ         1.) ปรกติ mRNA ทำงานในไซโตพลาสซึมของเซลล์ ในขณะที่ DNA ได้รับการปกป้องในนิวเคลียสของเซลล์ ซึ่ง mRNA ไม่สามารถกลับเข้าสู่นิวเคลียสได้ ดังนั้นกรดนิวคลีอิกทั้งสองจึงไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกันในเซลล์         2.) mRNA ไม่ใช่ DNA ดังนั้น ถ้า DNA ของบุคคลจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ mRNA จะต้องเป็นแม่แบบในการสร้าง DNA ใหม่โดยใช้เอ็นไซม์ reverse transcriptase ซึ่งเซลล์ของคนปรกติ (มียีนสร้างแต่) ไม่มีการทำงานของเอนไซม์นี้ (ยกเว้นเมื่อจำเป็น) และมีเพียงไวรัสบางชนิดเท่านั้นที่มี ซึ่ง Coronaviruses ไม่ใช่หนึ่งในนั้น อีกทั้ง mRNA ของวัคซีนเมื่อเข้าเซลล์แล้วจะอยู่แค่นอกนิวเคลียสคือ ในไซโตพลาสซึมเพื่อถอดรหัสเป็นหนามโปรตีนของ SARS-CoV-2 เท่านั้น อย่างไรก็ดีมีข้อยกเว้นหนึ่งเกี่ยวกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีเอ็นซัม reverse transcriptase จึงอาจทำให้สงสัยได้ว่า mRNA ของวัคซีนอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน DNA ของผู้ป่วยเหล่านี้ได้ แต่ก็มีคำอธิบายว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะไวรัสเอชไอวีนั้นมีการเพิ่มจำนวนในเม็ดเลือดขาว T-cell ชนิด CD4 ซึ่งไม่ใช่เซลล์ที่ mRNA จากวัคซีนแสดงผลในการสร้างหนามโปรตีน         3.) เป็นที่เข้าใจกันว่า mRNA นั้นโดยทั่วไปไม่เสถียรนัก ค่าครึ่งชีวิตในเซลล์มนุษย์อยู่ในช่วงเวลานับเป็นชั่วโมง ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วเมื่อเซลล์ใช้ mRNA ในการผลิตโปรตีนที่ต้องการพอแล้ว mRNA นั้นจะถูกทำลาย สำหรับ mRNA ในวัคซีนนั้นแม้ได้รับการเพิ่มศักยภาพให้อยู่ในเซลล์ได้นานพอที่จะทำให้มีการกระตุ้นภูมิต้านทานสำเร็จก็ตาม แต่ก็ไม่ควรอยู่นานกว่า 10-14 วัน         ในประเทศไทยประเด็น mRNA อาจไปรบกวนวุ่นวายกับ DNA ในนิวเคลียสได้หรือไม่นั้น ได้มีการปฏิเสธกันอย่างแข็งขัน ผู้เขียนขอยกตัวอย่างแค่บางเว็บที่แสดงแนวความเชื่อในประเด็นนี้คือ ในวันที่ 7 ธันวาคม 2563 www.bbc.com/thai ได้มีบทความเรื่อง หักล้างข่าวลือเกี่ยวกับวัคซีนโควิดทั้งการฝังไมโครชิปและ “เปลี่ยนดีเอ็นเอ” ในคน โดยมีตอนหนึ่งระบุว่า ... วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะไม่เปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอของมนุษย์  จากนั้นวันที่ 15 มิถุนายน 2564 www.bbc.com/thai มีอีกบทความเรื่อง โควิด-19: เอ็มอาร์เอ็นเอ กับข่าวลือวัคซีนก่อสารพิษ-เปลี่ยนพันธุกรรมมนุษย์ เชื่อถือได้หรือ ซึ่งตอนหนึ่งกล่าวว่า ....ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของสหรัฐฯ หรือซีดีซี (CDC) บอกไว้ชัดเจนว่า เอ็มอาร์เอ็นเอในวัคซีนจะไม่ทำให้เราเป็นมนุษย์กลายพันธุ์แบบในภาพยนตร์แต่อย่างใด และในวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 เว็บ https://pharmacy.mahidol มีบทความเรื่อง mRNA COVID-19 vaccine ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในมนุษย์ได้หรือไม่? ตอนหนึ่งของบทความกล่าวว่า ... กลไกการออกฤทธิ์ของวัคซีนชนิดนี้ไม่มีการรบกวนการทำงานของนิวเคลียสซึ่งบรรจุดีเอ็นเอ (DNA) ที่เป็นสารพันธุกรรมหลักของมนุษย์ไว้ภายใน อย่างไรก็ตาม วัคซีนชนิดนี้ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ของการพัฒนาวัคซีน จึงยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียงในระยะยาวจริงหรือที่ว่า mRNA ที่ถูกจำลองจาก DNA นั้นไม่ย้อนกลับเข้าไปหา DNA ในนิวเคลียสของเซลล์         ประเด็นนี้ผู้ที่ศึกษาด้านชีวเคมีและ/หรืออณูชีววิทยามักมั่นใจตอบว่า คงไม่เกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วมีบทความเรื่อง Mechanism of mRNA transport in the nucleus ปรากฏในวารสาร PNAS (Proceedings of the National Academy of Sciences) ของปี 2005 ได้ให้ข้อมูลว่า mRNA ที่อยู่ในไซโตพลาสซึมมักจับตัวกับโปรตีน (ซึ่งมีความสำคัญต่อการแปลรหัสเพื่อสร้างโปรตีน) ได้เป็นสารประกอบเชิงซ้อนเรียกว่า mRNA–โปรตีน (mRNP) ณ.บริเวณของการถอดรหัส (คือ ไมโครโซมในไซโตพลาสซึม) ซึ่งนำไปสู่ความพยายามพิสูจน์ว่า มีโอกาสที่สารประกอบเชิงซ้อนดังกล่าวผ่านช่องของส่วนที่เป็นผนังเข้าสู่นิวเคลียสนั้นหรือไม่ ในการศึกษานี้นักวิจัยใช้โมเลกุลของสารโอลิโกนิวคลีโอไทด์ที่ถูกสังเคราะห์ (พร้อมความสามารถในการเรืองแสงได้) ขึ้นมาให้สามารถเข้าจับตัวกับโมเลกุล mRNA ที่สนใจ เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของสารประกอบเชิงซ้อน mRNA–โปรตีนในเซลล์ซึ่งมีสมมุติฐานว่า มีการเคลื่อนที่แบบ Brownian diffusion (แรงที่เกิดจากการกระแทกกันเองอย่างอิสระของโมเลกุลต่างๆ ในของเหลวของไซโตพลาสซึม) จนสารประกอบผ่านช่องของผนังนิวเคลียสได้และมีโอกาสเข้าใกล้และหยุดที่ส่วนของโครมาตินของนิวเคลียสซึ่งหมายถึง DNA ของเซลล์ ในบทความนี้ได้แสดงภาพการเรืองแสงของสารประกอบที่เกิดจากโอลิโกนิวคลีโอไทด์จับตัวกับ mRNA-โปรตีน ภายในนิวเคลียสของเซลล์         ดังนั้นเมื่อ mRNA มีโอกาสเข้าสู่นิวเคลียสได้ โอกาสที่ mRNA ของวัคซีนจะเข้าไปวุ่นวายกับ DNA ของผู้รับการฉีดวัคซีนจึงอาจเกิดได้ ประเด็นนี้ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ที่มีอยู่เดิมว่า โดยทั่วไปแล้ว RNA ไม่สามารถเข้าแทรกตัวเข้าไปในสายหนึ่งของ DNA ซึ่งมีสองสายได้ เนื่องจากเบสที่เป็นองค์ประกอบของ RNA หนึ่งในสี่คือ uridine นั้นไม่สามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนจับตัวกับเบส adenine ได้อย่างเสถียรเหมือนเบส thymine ของ DNA ยกเว้นว่ามีการจำลอง complimentary DNA ขึ้นมาจาก mRNA ก่อนโดยอาศัยเอ็นซัม reverse transcriptase โอกาสการเข้าแทรกสาย DNA ที่สร้างขึ้นใหม่เข้าสู่สาย DNA ในนิวเคลียสจึงจะเกิดขึ้นได้และก็ปรากฏว่า ในฐานข้อมูลงานวิจัยของ Pubmed (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov) นั้นได้มีนักวิทยาศาสตร์ตีพิมพ์ผลงานวิจัยอย่างน้อย 2 เรื่องของการศึกษาในหลอดทดลอง (ที่กำหนดสภาวะการทดลองแบบเฉพาะเจาะจง) ที่แสดงแนวทางของความเป็นไปได้ที่ mRNA น่าจะเข้าไปรบกวนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ DNA         ในปี 2021 มีบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ซึ่งเป็นผลการทดลองร่วมกันของนักวิทยาศาสตร์จากหลายหน่วยงานในรัฐ Massachusetts เรื่อง Reverse-transcribed SARS-CoV-2 RNA can integrate into the genome of cultured human cells and can be expressed in patient-derived tissues โดยเป็นการศึกษาที่ใช้เซลล์ HEK293T (เป็น cell line ที่ได้จากเซลล์ไตของตัวอ่อนมนุษย์จากการแท้ง เซลล์นี้ได้รับความนิยมใช้ศึกษาการแสดงออกต่างๆ ของยีนมนุษย์) ที่มีการเพิ่ม Plasmids ซึ่งมีการแสดงออกของยีน LINE1 (long interspersed nuclear elements-1) จนส่งผลให้เซลล์ HEK293T สร้างเอ็นซัม reverse transcriptase ได้ จากนั้นจึงผสมไวรัส SARS-CoV-2 เข้ากับเซลล์ซึ่งได้ผลการทดลองว่า มีการเพิ่มความยาวของ DNA ของในเซลล์ HEK293T และส่วนที่ยาวเพิ่มนั้นมีความสอดคล้องว่าเป็น complementary DNA ที่ถูกจำลองมาจาก mRNA ของ SARS-CoV-2         ต่อมาในปี 2022 ได้มีบทความของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Lund University ใน Sweden ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Current Issues In Molecular Biology เรื่อง Intracellular Reverse Transcription of Pfizer BioNTech COVID-19 mRNA Vaccine BNT162b2 In Vitro in Human Liver Cell Line ซึ่งทำการศึกษาโดยเติมวัคซีน mRNA ลงในจานเลี้ยงเซลล์มะเร็งชนิด Huh7 cells (เซลล์มะเร็งตับจากชายชาวญี่ปุ่นอายุ 57 ปี ซึ่งถูกนำมาทำเป็น cell line เมื่อปี 1982) แล้วพบว่า เซลล์นี้มีการแสดงออกของยีน long interspersed nuclear element-1 เพิ่มขึ้น (LINE1 เป็นยีนที่มีใน DNA ของมนุษย์ แต่ถูกปิดไว้เสมอถ้าเป็นเซลล์ปรกติ แต่ในเซลล์มะเร็งเช่น Huh7 นั้นยีนนี้ได้เปิดขึ้นและผลิตเอ็นซัม reverse transcriptase ซึ่งเป็นเอ็นซัมที่สามารถจำลอง DNA จาก RNA ได้) จากนั้นเมื่อทำการวิเคราะห์ด้วย PCR (Polymerase chain reaction) บน DNA ของเซลล์ Huh7 ที่สัมผัสกับวัคซีน mRNA แล้วพบว่า ได้มีการขยายลำดับ DNA ออกไปซึ่งส่วนที่ขยายนี้มีความสอดคล้องเหมือนจำลองมาจาก mRNA ของวัคซีน BNT162b2 ซึ่งบ่งชี้ว่า มีการเพิ่มความยาวของ DNA ในนิวเคลียสของเซลล์มะเร็งตับชนิด Huh7 ได้         ข้อสังเกตจากงานวิจัยทั้งสองเรื่องคือ เซลล์ที่จะมีการเพิ่มขนาดของ DNA ในนิวเคลียสได้และสามารถตรวจดูพบว่าส่วนที่เพิ่มมีความเกี่ยวพันกับ mRNA ในวัคซีน หรือมาจาก mRNA ที่เชื้อ SARS-CoV-2 สร้างขึ้นนั้นต้องมีการแสดงออกของยีน LINE1 เพื่อให้มีการสร้างเอ็นซัม reverse transcriptase ซึ่งถ้าเอ็นซัมนี้ปรากฏในเซลล์มนุษย์เมื่อใดก็หมายความว่า เซลล์นั้นน่าจะเป็นเซลล์มะเร็ง และการเพิ่มส่วนของ DNA ซึ่งอาจถือว่าเป็นการกลายพันธุ์ของเซลล์นั้น ยังไม่รู้ว่าเป็นผลดีหรือผลเสียต่อเซลล์ ดังนั้นจึงอาจอนุมานได้ว่า โอกาสที่ความยาว DNA ในเซลล์ของผู้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 แบบ mRNA จะยาวเพิ่มนั้นคงเป็นไปได้ยากถ้าเซลล์นั้นไม่ได้เป็นเซลล์มะเร็ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 250 โควิดก็ยังไม่หมด และข้อมูลมั่วๆ ก็ยังมา (2)

        ยืนตากแดดก็ฆ่าเชื้อโควิด 19         จากกรณีที่โลกออนไลน์มีการแชร์ข้อมูล โดยแนะนำให้ประชาชนออกมาตากแดดตอนเช้า เพื่อให้แดดฆ่าเชื้อโควิด 19  เพราะเชื้อโควิด 19 ชอบความเย็นมากกว่าความร้อน ดังนั้นเมื่อเจอความร้อนจากแสงแดดเชื้อโควิด 19 จะตาย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่าข้อมูลนี้เป็นเท็จ การยืนตากแดดไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้จริง         ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดความเสี่ยงในการเป็นโควิด19         มีการแชร์ข้อมูลเชิญชวนให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยอ้างว่าฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดความเสี่ยงในการเป็นโควิด-19 แม้ในแง่วิชาการ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ในประเด็นที่อ้างว่า ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดความเสี่ยงในการเป็นโควิด 19 ได้นั้น ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่าไม่เป็นความจริง วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้เฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่เท่านั้น ไม่สามารถป้องกันโควิด 19 ได้ แต่อาจจะเกี่ยวข้องกันบ้างในแง่ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะลดความรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจจะพบการติดเชื้อร่วมกับโควิด 19         เราจะรับมือกับกับข้อมูลเท็จในยุคที่ผู้บริโภคกำลังสำลักข้อมูลอย่างไรดี?        ในโลกปัจจุบันที่ผู้คนสามารถสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลมั่วๆ เหล่านี้ยังคงถาโถมมาเรื่อยๆ และมันก็จะวนเวียนอยู่ในอินเทอร์เน็ตแบบไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อเวลาผ่านไปมันก็จะหมุนเวียนกลับมาอีกเป็นระยะๆ ผู้บริโภคอย่างเราจึงต้องตั้งสติให้ดี         1. ตรวจสอบต้นตอที่มาของข่าว         เมื่อได้รับข้อมูล อย่าเพิ่งรีบเชื่อ และต้องไม่รีบส่งต่อหรือแชร์ข้อมูล เพราะการส่งต่อข้อมูลที่เป็นเท็จจะเป็นการทำร้ายคนอื่นโดยไม่รู้ตัว ผู้บริโภคควรตรวจสอบรายละเอียดในข้อมูลก่อนว่ามีการระบุต้นตอแหล่งที่มาชัดเจนหรือไม่ ถ้าไม่มีแหล่งที่มาอย่างชัดเจนก็ไม่ควรแชร์  แต่ส่วนใหญ่ข้อมูลมั่วๆ เหล่านี้มักจะมีการอ้างอิงแหล่งที่มาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ดังนั้นเราก็ไม่ควรรีบเชื่อ เพราะอาจเป็นการอุปโลกน์แหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อหลอกเรา         2. ลองค้นข้อมูลด้วยตัวเองดูก่อน         เนื่องจากข้อมูลที่แชร์ๆ ต่อๆ กันมา บางทีก็เป็นข้อมูลเก่าที่เคยแชร์มาหลอกชาวบ้านเมื่อหลายปีมาแล้ว ผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน ควรจะลองเข้าไปค้นหาข้อมูลดูด้วย เช่น อาจค้นจาก google ดูก็ได้ บางทีเราจะพบว่าข้อมูลนี้เป็นเท็จ และในอดีตก็มีหน่วยงานต่างๆ ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว         3. สอบถามผู้รู้ เช่น คน หน่วยงาน         หากไม่มั่นใจในข้อมูล ผู้บริโภคสามารถติดต่อสอบถามยังหน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ช่วยหาข้อเท็จจริงมาบอกเราได้ ทั้งนี้ควรเลือกหน่วยงานที่เรามั่นใจและน่าเชื่อถือในแง่วิชาการด้วย                 4. จัดการต้นตอข่าวลือให้อยู่หมัด         หากข่าวลือดังกล่าวนำไปสู่การโฆษณาหรือขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ควรแจ้งเบาะแสให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 249 แม่อุ๊ยป่วยหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ขอเยียวยาค่ารักษา

        ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้ข้อมูลว่าหากใครฉีดวัคซีนโควิด-19 ยี่ห้อที่รัฐบาลจัดสรรให้แล้วเกิดอาการแพ้และอาการไม่พึงประสงค์ ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นเสียชีวิต ในทุกกรณีที่สงสัยว่าได้รับผลกระทบจากวัคซีนนี้ ให้ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นไปก่อนได้ แต่อาจไม่ได้รับการเยียวยาทุกกรณี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมติของคณะอนุกรรมการฯ ที่จะพิจารณาโดยใช้ความเชี่ยวชาญของแพทย์ ดูจากประวัติ จากข้อมูลต่างๆ ประกอบกันด้วย         แม่อุ๊ยวันดี อยู่ที่ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เป็นหนึ่งในผู้ที่มีอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนเข็มแรกที่โรงพยาบาลฮอดไปได้ประมาณ 2 สัปดาห์ วันนั้นแม่อุ๊ยเริ่มรู้สึกเวียนหัว ร้อนตามตัว พอลุกมาเข้าห้องน้ำตอน 3 ทุ่ม ก็เป็นลมล้มหมดสติไป หลานจึงพาไปโรงพยาบาลฮอด แต่อาการแม่อุ๊ยไม่ดีขึ้นจึงถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลมหาราชทันที และนอนรักษาตัวอยู่ 2 คืน คุณหมอวินิจฉัยว่าแม่อุ๊ยวันดีเป็นเส้นเลือดตีบที่หัวใจ ต้องเจาะที่ต้นคอและต้นขา และกินยาต่อเนื่อง จากนั้นก็ถูกส่งตัวมานอนรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลจอมทองอีกคืนหนึ่งจึงกลับบ้านได้ โดยหมอนัดมาตรวจอาการอีกทุกๆ 2 อาทิตย์ เป็นเวลา 1 ปี           ทุกวันนี้แม่อุ๊ยวันดีได้เงินเบี้ยผู้สูงอายุ 700 บาทและหลานให้อีก 500 บาทเท่านั้น อาการเจ็บป่วยทำให้แม่อุ๊ยได้รับความเดือดร้อนมาก เพราะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดีอย่างเมื่อก่อน และยังต้องเสียค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องด้วย  จึงได้ให้หลานร้องเรียนมายัง เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ ว่า ตนเองจะเรียกร้องค่าเยียวยาจากไหนได้บ้างไหม เพื่อมาจ่ายค่ารักษาอาการป่วยต่อเนื่องนี้ แนวทางการแก้ไขปัญหา         เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ แนะนำให้ ครอบครัวแม่อุ๊ยวันดีเตรียมข้อมูลสำหรับยื่นขอรับเงินช่วยเหลือจากการได้รับผลกระทบหลังฉีดวัคซีนแล้ว โดยทำตามขั้นตอนที่ สปสช.ประกาศไว้ในเอกสารวิธียื่นคำร้องขอรับ “เงินช่วยเหลือเบื้องต้น” ที่ต้องยื่นภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย         ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง คือ ผู้เสียหายหรือทายาท ถ้าไม่มีทายาท ผู้อุปการะหรือผู้ดูแลใกล้ชิดกันมาต่อเนื่องพอสมควร หรือหน่วยบริการที่ให้บริการ สามารถยื่นคำร้องแทนได้ โดยต้องเตรียมเอกสารประกอบ ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน  ความเห็นจากแพทย์ที่รักษาและการหยุดพักงาน  บันทึกเหตุการณ์ก่อนและหลังฉีดจนมีอาการข้างเคียง หรือสำเนาใบมรณบัตร(กรณีที่เสียชีวิต) ไปยื่นได้ที่โรงพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ (13 เขต ทั่วประเทศ)         หลังจากยื่นคำร้องแล้ว หากคณะอนุกรรมการฯ ภายใต้ สปสช. พิจารณาลงมติว่าเห็นชอบที่จะจ่ายเงินช่วยเหลือให้ ทางสปสช.จะโอนเงินเข้าบัญชีภายใน 5 วัน หลังจากมีมติ โดยอัตราการจ่ายช่วยเหลือเบื้องต้น คือ เสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 400,000 บาท เสียอวัยวะ/พิการ ไม่เกิน 240,000 บาท บาดเจ็บ/บาดเจ็บต่อเนื่อง ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้หากไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 248 ทฤษฎีสมคบคิด โควิด-19 มาจากไหน

        ช่วงเวลาที่คนอเมริกันกำลังติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมากในปี 2020 นั้น อดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เริ่มเผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิดว่า โควิด-19 หลุดรอดออกมาจากห้องแล็บในหวู่ฮั่น ส่งผลให้ WHO ต้องส่งทีมงานไปพิสูจน์เรื่องนี้ที่ประเทศจีน แต่สุดท้ายก็ยังไม่สามารถสร้างความกระจ่างในเรื่องนี้ได้ อย่างไรก็ตามมีรายงานข่าวแบบไม่เป็นทางการในขณะนั้นว่า นักวิจัยหลายคนของสถาบันไวรัสวิทยาที่หวู่ฮั่นของจีนล้มป่วยจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในเดือนพฤศจิกายน 2019 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่นานก่อนที่ทางการจีนยืนยันการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่รายแรกในเมืองหวู่ฮั่น         กลางเดือนกันยายน 2020 มีข่าวหนึ่งซึ่งแพร่หลายแทบทุกสื่อคือ Yan Li-Meng ออกเสียงแบบจีนว่า เหยียน ลี่-ม่อง ซึ่งเป็นแพทย์ (MD.) และนักจักษุวิทยา (Ph.D.) ชาวฮ่องกงซึ่งลี้ภัยออกจากฮ่องกงไปสหรัฐอเมริกาได้ให้สัมภาษณ์แก่สถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์นิวส์ว่า รัฐบาลจีนรู้เรื่องเกี่ยว covid-19 ตั้งแต่ก่อนมีการระบาด แต่ปกปิดเอาไว้จนเกิดการระบาดไปทั้งโลก นอกจากนี้เธอยังกล่าวหาหัวหน้าของเธอซึ่งเป็นที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกว่า ไม่นำพากับคำเตือนที่เธอบอกให้ระวังเชื้อไวรัสตัวใหม่เกี่ยวกับการติดต่อจากคนสู่คนได้ โดยหัวหน้าของเธออ้างว่า รัฐบาลจีนไม่อนุญาตให้เผยแพร่ข้อมูล ซึ่งทำให้แพทย์ตามโรงพยาบาลไม่กล้าให้ข้อมูลอะไรเกี่ยวกับคนไข้ที่มีอาการโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันอย่างรุนแรง ส่งผลให้เธอต้องหนีออกไปสหรัฐอเมริกาเพื่อเปิดเผยให้คนทั้งโลกได้รู้ อย่างไรก็ดีข่าวดังกล่าวได้ถูกด้อยค่าลงโดยนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากหลายประเทศ เนื่องจากหลักฐานที่ เหยียน ลี่-ม่อง อ้างถึงนั้นเป็นบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารซึ่งเป็นประเภท preprint ที่ต้องการความรวดเร็วในการเผยแพร่ข้อมูล จึงไม่มีการตรวจทานความถูกต้อง (no peer review)         ครั้นถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2021 เว็บไซต์สำนักงานข่าว Global Times ของจีนได้มีบทความเรื่อง Conspiracy theory or reasonable skepticism? Why we should demand an investigation into US labs for origins of COVID-19 (ประมาณว่า...ทฤษฎีสมคบคิดหรือความสงสัยที่สมเหตุสมผล? ทำไมเราจึงควรเรียกร้องให้มีการสอบสวนห้องทดลองของสหรัฐฯ เพื่อหาที่มาของ COVID-19) ซึ่งกล่าวว่า ชาวจีนกว่า 25 ล้านคนได้ลงนามเพื่ออุทธรณ์ให้มีการสอบสวนห้องปฏิบัติการทางชีววิทยาใน Fort Detrick สังกัดกองทัพบกในสหรัฐอเมริกาในลักษณะเดียวกับที่ WHO ทำกับสถาบันไวรัสวิทยาหวู่ฮั่นของจีน         ในบทความของ Global Times นั้นนักข่าวได้ชี้ถึงเบาะแสและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเอกสารทางวิชาการและรายงานสาธารณะส่วนหนึ่งจากสื่ออเมริกัน ก่อให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการใน Fort Detrick ซึ่งโยงไปถึงความเกี่ยวข้องกับ ดร. ราล์ฟ แบริค (Ralph Baric) ศาสตราจารย์ในภาควิชาระบาดวิทยาและศาสตราจารย์ในภาควิชาจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยาที่ University of North Carolina at Chapel Hill ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการปรับแต่งไวรัสให้เปลี่ยนแปลงได้ตามต้องการด้วยเทคนิคการตัดแต่งพันธุกรรม         ในบทความวิจัยเรื่อง Reverse genetics with a full-length infectious cDNA of severe acute respiratory syndrome coronavirus (ประมาณว่า...การย้อนกลับของระบบพันธุกรรมทำให้ได้ cDNA ที่ก่อการติดเชื้อได้ของไวรัสโคโรนาซึ่งก่อโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันอย่างร้ายแรง) ในวารสาร PNAS หรือ Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America ของปี 2003 โดยคำว่า cDNA ย่อนั้นมาจาก complementary DNA ซึ่งเป็น DNA สายเดี่ยวที่สร้างจาก RNA template โดยอาศัยเอ็นซัม reverse transcriptase ช่วยเร่งปฏิกิริยา งานวิจัยนี้ได้แสดงศักยภาพของเทคนิคที่คิดค้นชื่อ reverse genetics system จนสามารถสังเคราะห์ cDNA แบบเต็มความยาวจากหน่วยพันธุกรรมคือ RNA ของ SARS-CoV สายพันธุ์ Urbani จากเทคนิคดังกล่าวทำให้ทีมวิจัยสามารถสังเคราะห์ไวรัสโคโรนาในกลุ่ม SARS ที่มีการกลายพันธุ์ตามตำแหน่งที่ต้องการขึ้นมาได้ และสุดท้ายผู้เกี่ยวข้องในการทำวิจัยได้ยื่นขอสิทธิบัตรสิ่งที่ค้นพบสำเร็จในปี 2007 (patent code US7279327B2)         นิตยสาร MIT Technology Review ฉบับวันที่ 29 มิถุนายน 2021 มีบทความเรื่อง Inside the risky bat-virus engineering that links America to Wuhan (ประมาณว่า...ความเสี่ยงที่เชื่อมโยงให้อเมริกาเกี่ยวข้องกับหวูฮั่นนั้นเกิดเนื่องจากไวรัสในค้างคาวที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรม) ได้กล่าวว่า หลังตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับวิธีสำคัญในการสังเคราะห์ไวรัสได้ในปี 2007 แล้ว ดร.แบริค ได้เริ่มสะสมตัวอย่างไวรัสโคโรนาจากทั่วโลกโดยหวังสร้างไวรัสโคโรนาที่เป็นต้นแบบที่นำไปสู่การพัฒนายาและวัคซีนที่ต่อต้านไวรัสโคโรนาทั้งหลายที่ออกฤทธิ์คล้ายเชื้อไวรัสก่อโรค SARS (ในปี 2013)         เว็บ www.justia.com ให้ข้อมูลว่า (ณ เดือนสิงหาคม 2021 ) ดร.แบริค นั้นถือสิทธิบัตร 13 เรื่องที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับไวรัสที่เป็นอันตราย 3 ชนิด โดยสิทธิบัตรต่างๆ นั้นน่าจะนำไปสู่การสร้างวัคซีนต่อต้านและวิธีการวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับไวรัสเช่น สิทธิบัตรเกี่ยวกับ Dengue virus ซึ่งก่อให้เกิดไข้เลือดออก สิทธิบัตรเกี่ยวกับ Zika virus ซึ่งก่อโรคที่มีอาการคล้ายไข้เลือดออกแต่อันตรายน้อยกว่า ยกเว้นในหญิงมีครรภ์ที่ติดเชื้อนี้จะคลอดลูกออกมามีสมองเล็กกว่าปรกติ และสิทธิบัตรการสร้างหนามโปรตีนของไวรัสโคโรนา         ในช่วงปลายปี 2019 มีข่าวซึ่งเป็นที่สนใจไปทั่วโลกว่า ทีมของนักวิทยาศาสตร์จีนนำโดย ดร.ฉี เจิ้งลี่ (Dr. Shi Zhengli) ซึ่งเป็นนักไวรัสวิทยาและรองผู้อำนวยการสถาบันไวรัสวิทยาที่หวู่ฮั่น ในมณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีน ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการถอดรหัสพันธุกรรมของ coronavirus ในค้างคาวถ้ำ (Chinese horseshoe bat) ที่จับได้ในมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนและพบว่า เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่         มีคลิปวิดีโอใน YouTube เรื่อง Wuhan Lab Scientist Warns Coronavirus Is Just The Tip Of An Iceberg ซึ่งมีใจความสำคัญในการกล่าวเตือนต่อสาธารณะว่า การพบไวรัสโคโรนาชนิดใหม่นี้จำเป็นต้องมีการศึกษาให้ดีเพราะจะต้องหาหนทางป้องกันหากเกิดการระบาดครั้งใหญ่ นอกจากนี้ในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ CGTN นั้น ดร.ฉี กล่าวว่า ตัวอย่างไวรัสที่ศึกษานั้นได้รับในวันที่ 30 ธันวาคม 2019 จากนั้นจึงทำการถอดรหัสพันธุกรรมและตั้งชื่อชั่วคราวว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (novel coronavirus) พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลไปยัง WHO ในวันที่ 12 มกราคม 2020 ซึ่งต่อมาในต้นเดือนกุมภาพันธ์จึงเริ่มพบว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้มีความเชื่อมโยงกับอาการปอดบวมอย่างหนักของคนไข้ของโรงพยาบาลที่หวู่ฮั่น         กลับไปที่นิตยสาร MIT Technology Review ฉบับวันที่ 29 มิถุนายน 2021 ซึ่งให้ข้อมูลย้อนหลังถึงการเกี่ยวข้องของ ดร. แบริค ที่นำมาสู่ความน่าสงสัยเกี่ยวกับต้นตอของ SARS-CoV-2 โดยกล่าวว่า ดร.แบริค เคยติดต่อกับ ดร.ฉี เพื่อขอตัวอย่างข้อมูลพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาที่ถูกสะสมในห้องปฏิบัติการของสถาบันฯ เพื่อนำไปใช้ในการวิจัยและทดลองสร้างไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ภายในห้องปฏิบัติการที่อาจแพร่เชื้อสู่มนุษย์ได้ และสุดท้ายได้มีการตีพิมพ์ข้อมูลความสำเร็จโดยมี ดร.แบริคและ ดร.ฉี เป็นผู้ร่วมวิจัย บทความนั้นชื่อ A SARS-like cluster of circulating bat coronaviruses shows potential for human emergence (ประมาณว่า...ไวรัสโคโรนาที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค SARS ในค้างคาวได้แสดงศักยภาพในการก่อโรคในมนุษย์) ในวารสาร Nature Medicine ของปี 2015           บทความใน Nature Medicine ดังกล่าวเป็นการร่วมงานของทีมนักวิจัยจาก University of North Carolina at Chapel Hill และหน่วยงานสำคัญอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงห้องปฏิบัติการของ US.FDA ตลอดถึงนักวิจัยจาก Wuhan Institute of Virology, Chinese Academy of Sciences ซึ่งเมื่อพิจารณาจากการค้นพบและการตีพิมพ์ผลงานแบบเปิดเผยนั้น อาจสื่อได้ถึงความบริสุทธิ์ใจในการเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับโอกาสของเชื้อไวรัสโคโรนาที่อาจกลายพันธุ์แล้วระบาดในมนุษย์ โดยทีมนักวิจัยได้อธิบายถึงการดัดแปลงรหัสพันธุกรรมของ RNA ส่วนที่สร้างหนามโปรตีนของไวรัส SARS-CoV (ชนิดที่ก่อการติดเชื้อทางเดินหายใจในหนูเม้าส์) ไปเป็นรหัสทางพันธุกรรมที่สร้างหนามโปรตีนของไวรัสสายพันธุ์ SHC014 (ซึ่ง ดร.ฉี ส่งให้ ดร.แบริค) ส่งผลให้ได้ไวรัสสังเคราะห์ชนิดใหม่ (synthetic virus) ซึ่งมีศักยภาพในการก่อการติดเชื้อในคนได้ เพราะไวรัสใหม่มีหนามโปรตีนที่สวมเข้าพอดีกับตัวรับ ACE2 ของเซลล์ซึ่งแยกจากทางเดินหายใจของมนุษย์แล้วเลี้ยงในห้องทดลอง สิ่งที่น่ากังวลประการหนึ่งจากบทความนี้คือ ได้มีการประเมินวิธีการบำบัดการติดเชื้อไวรัสใหม่ด้วยระบบภูมิคุ้มกันชนิดโดยโมโนโคลนัลแอนติบอดีและแนวทางการใช้วัคซีนตลอดจนถึงการใช้ยาที่มีอยู่ในขณะนั้นต่อการต้านเชื้อใหม่แล้ว พบว่าแนวทางที่มีอยู่ขณะนั้นมีประสิทธิภาพต่ำจนถึงล้มเหลวในการจัดการและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่ถูกสังเคราะห์ให้มีโปรตีนหนามแบบใหม่         งานวิจัยที่กล่าวถึงในวารสาร Nature Medicine ของปี 2015 นั้น ได้รับการสนับสนุนเงินทุนวิจัยจากหลายแหล่งคือ National Institute of Allergy & Infectious Disease (ซึ่งมี ดร. Anthony S. Fauci เป็นผู้อำนวยการ และมีห้องปฏิบัติการด้านโรคติดเชื้อร้ายแรงในค่ายทหารบก Fort Detrick), National Institute of Aging of the US National Institutes of Health, National Natural Science Foundation of China และ EcoHealth Alliance ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน (ที่ได้เงินสนับสนุนจากหน่วยงานที่มีภารกิจในการป้องกันประเทศของสหรัฐฯ) โดยมีบทบาทในการปกป้องผู้คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมจากโรคติดต่ออุบัติใหม่          ดังนั้นโดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่า สองประเทศยักษ์ใหญ่ที่มีเทคโนโลยีด้านชีวภาพสูงนั้นได้มีความร่วมมือในการทำวิจัยเพื่อให้ได้ความรู้เกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์ที่ถูกทำนายว่า น่าจะก่อหายนะแก่มนุษย์ ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 แล้วถึง 4 ปี ผู้เขียนคาดเอาเองว่า อีกไม่นานอาจมีภาพยนตร์ที่สร้างตามพล็อตเรื่องของทฤษฎีสมคบคิดนี้ในแนวทางเดียวกับภาพยนต์เรื่อง Contagion ซึ่งฉายในปี 2011 และมีชื่อไทยว่า สัมผัสล้างโลก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 247 กระแสต่างแดน

ต้องมีสักวัน        ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไป สหภาพยุโรปจะถือเอาวันที่ 23 กันยายนเป็น “วันออกานิก” เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ รวมถึงให้ความสำคัญกับเกษตรกรที่เลือกแนวทางนี้         รัฐสภายุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป และคณะกรรมาธิการยุโรป เลือกวันดังกล่าวซึ่งเป็นวันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน (วันอิควิน็อกซ์ฤดูใบไม้ร่วงหรือวันศารทวิษุวัต) เพื่อสื่อถึง “สมดุล” ระหว่างการทำเกษตรและการรักษาสิ่งแวดล้อม          โปรเจคฟาร์มทูฟอร์ก (Farm2Fork) ของสหภาพยุโรป ตั้งเป้าว่าภายในปี 2030 ร้อยละ 25 ของพื้นที่เกษตรในกลุ่มประเทศสมาชิกจะทำการเกษตรแบบออกานิก         ปัจจุบันออสเตรียล้ำหน้าไปแล้ว ด้วยพื้นที่เกษตรออกานิกร้อยละ 26 ส่วนที่ใกล้เป้าหมายได้แก่ สวีเดนและเอสโตเนีย (ร้อยละ 20) ตามด้วยอิตาลี ลัตเวีย และสาธารณรัฐเชค (ร้อยละ 15)         ในขณะที่ประเทศอื่นๆ อย่าง บัลกาเรีย โรมาเนีย โปแลนด์ มอลต้า เนเธอร์แลนด์ และไอร์แลนด์ ยังต้องเร่งมืออีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอร์แลนด์ที่มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพียงร้อยละ 2  เมื่อวัคซีนมา ฉันจะไป         ปีที่แล้วร้อยละ 90 ของบริษัทประกันในอเมริกา ยกเว้นการร่วมจ่ายสำหรับผู้เอาประกันที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากป่วยด้วยโรคโควิด-19         ถือเป็นการลดภาระให้กับผู้บริโภคที่อาจต้องจ่ายเองถึง 1,300 เหรียญ (ประมาณ 44,000 บาท) หากอาการไม่รุนแรง หรืออาจมากถึง 50,000 เหรียญ (ประมาณ 1.7 ล้านเหรียญ) กรณีที่ป่วยหนักจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน         แต่หลังจากสิ้นเดือนตุลาคมปีนี้ บริษัทเหล่านี้จะกลับมาใช้นโยบายร่วมจ่ายเหมือนเดิม เนื่องจากอเมริกามีการจัดฉีดวัคซีนให้ประชากรอย่างทั่วถึง ทำให้ทุกคนมีโอกาสที่จะป้องกันตัวเองจากการป่วยหนัก         เรื่องนี้อาจเป็นสิ่งจูงใจให้คนที่ยังลังเล “ไม่อยากเสี่ยง” หรือไม่ต้องการรับวัคซีนโควิด-19 ยอมไปรับวัคซีนกันมากขึ้น เพื่อป้องกันการป่วยหนักหากได้รับเชื้อ รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายสูงลิ่วที่ตามมาด้วย ไม่มีสิทธิเก็บ         ลูกหนี้เงินกู้ซื้อบ้านและสินเชื่อส่วนบุคคลจำนวน 150,000 คนในนิวซีแลนด์รวมตัวกันยื่นฟ้องคดีแบบกลุ่ม ขอให้ธนาคาร ASB และ ANZ คืนค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยที่เรียกเก็บไป         ตามกฎหมายนิวซีแลนด์ ธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมได้ หากไม่ได้ชี้แจงข้อตกลงและเงื่อนไขให้ผู้บริโภคทราบ         ก่อนหน้านี้ทั้งสองธนาคารได้ทำข้อตกลงยอมรับผิดกับคณะกรรมการการค้า ในข้อหาไม่ให้ข้อมูลกับผู้บริโภค โดย ANZ ตกลงจ่ายค่าปรับ 35 ล้านเหรียญ (ประมาณ 847 ล้านบาท) สำหรับความผิดระหว่าง 30 พฤษภาคม 2015 ถึง 25 พฤษภาคม  2016 ในขณะที่ ASB ตกลงจ่าย 8.1 ล้านเหรียญ (ประมาณ 189 ล้านบาท) สำหรับความผิดระหว่าง 6 มิถุนายน 2015 ถึง 18 มิถุนายน 2019         อย่างไรก็ตาม ทนายความที่ทำคดีนี้กล่าวว่าผู้บริโภคยังมีสิทธิตามกฎหมายสัญญาเงินกู้และสินเชื่อผู้บริโภค ที่จะเรียกร้องขอเงินที่ธนาคารเก็บเป็นค่าธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยในช่วงดังกล่าว รวมมูลค่ากว่า 100 ล้านเหรียญคืนด้วย  นิสัยใหม่         ข้อมูลการใช้เงินของผู้คนในเมืองซิดนีย์และเมลเบิร์นของออสเตรเลีย ระบุว่าสิ่งที่คนเหล่านี้ “เปย์” หนักขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในช่วงล็อกดาวน์ปีนี้คือการพนันออนไลน์         การตรวจสอบข้อมูลการโอนเงินรายสัปดาห์โดยบริษัท Accenture และ illion  พบว่าปีนี้การเล่นพนันออนไลน์เพิ่มขึ้นจากระดับปกติร้อยละ 329 มากกว่าปีที่แล้วที่ร้อยละ 215 ทั้งนี้เพราะการพนันยุคนี้กลายเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้มือ รวมกับการที่ผู้คนอยู่บ้านนานจนเบื่อ แถมยังมีเงินเหลือใช้เพราะไม่ได้ไปเที่ยว         อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวมองว่าการใช้จ่ายดังกล่าวยังอยู่ในระดับของความบันเทิงที่หาได้ง่ายในช่วงล็อกดาวน์ แต่จะถึงขั้นเสพติดจนน่าวิตกหรือไม่ ต้องติดตามกันต่อไป          การสั่งอาหารผ่านบริการเดลิเวรี่ปีนี้เพิ่มขึ้นจากปกติถึงร้อยละ 203 เช่นกัน (จากสถิติร้อยละ 132 ในช่วงล็อกดาวน์ปีที่แล้ว) สินค้าอีกสองประเภทที่ผู้คนสองเมืองนี้นิยมซื้อมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญคืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง      สะอาดพอไหม        ในวิดีโอแนะนำ “ปารีสโอลิมปิก 2024” ฝรั่งเศสได้เปิดเผยต่อชาวโลกว่าจะจัดแข่งขันไตรกรีฑาในส่วนของการว่ายน้ำ ในแม่น้ำแซนบริเวณใต้สะพานเจน่า (Pont d’ lena) โดยมีฉากหลังเป็นหอไอเฟิล ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า แม่น้ำแซนสะอาดพอที่จะลงว่ายได้แล้วหรือ         ประชากรกว่าร้อยละ 30 ของประเทศตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้แม่น้ำแซน ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลัก 4 สายของฝรั่งเศส จึงเป็นความท้าทายของทุกรัฐบาลที่จะทำให้แม่น้ำนี้ใสสะอาดปราศจากมลพิษ         ปริมาณแบคทีเรียในแม่น้ำอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ไม่เป็นปัญหา ที่ต้องแก้ไขคือการปนเปื้อนของสารเคมีการเกษตร โดยเฉพาะไนเตรต ขณะเดียวกันยังมีเศษพลาสติกปะปนโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณปากแม่น้ำ เนื่องจาก 2 ใน 5 ของโรงงานผลิตพลาสติกรายใหญ่ของประเทศตั้งอยู่บนแม่น้ำสายนี้         แต่อาเธอร์ เจอร์เมน (ลูกชายของแอนน์ ฮิลกาโก นายกเทศมนตรีเมืองปารีส) ที่ลงว่ายในแม่น้ำแซนเป็นระยะทางรวม 800 เมตร โดยใช้เวลารวม 50 วัน พร้อมอุปกรณ์ทดสอบคุณภาพน้ำแบบเรียลไทม์ บอกว่าตัวเขาไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ไม่เป็นสิวและไม่ปวดท้อง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 246 รู้เท่าทันการฉีดวัคซีนโควิด-19 สลับชนิด

        ขณะนี้นโยบายการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของประเทศไทยให้ใช้การฉีดวัคซีนสลับชนิด โดยเข็มที่ 1 เป็นวัคซีนซิโนแวค เข็มที่ 2 เป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หรือ อาจเป็นวัคซีนทางเลือก เช่น ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา ทำให้ประชาชนจำนวนมากกังวลว่า การฉีดวัคซีนสลับชนิดจะเกิดประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะมีหมอบางคนออกมาคัดค้านการฉีดวัคซีนสลับชนิดดังกล่าว เรามารู้เท่าทันกันเถอะ ประเทศทางยุโรปเริ่มใช้มาตรการฉีดวัคซีนสลับชนิด         ในขณะนี้ ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนไปกว่า 1.2 พันล้านโดสแล้ว และเริ่มมีบางประเทศแนะนำให้มีการฉีดวัคซีนสลับชนิด โดยเข็มแรกเป็นวัคซีนชนิดหนึ่ง และเข็มที่ 2 เป็นวัคซีนอีกชนิดหนึ่ง         มาตรการดังกล่าวเริ่มจากประเทศฝรั่งเศสและเยอรมัน ที่ผู้รับวัคซีนเข็มแรกเป็นแอสตร้าเซนเนก้าแล้วมีอาการของลิ่มเลือดอุดตัน จึงให้ฉีดวัคซีนเข็มสองเป็นวัคซีนอีกชนิดเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของวัคซีน พบว่า การฉีดวัคซีนสลับชนิดทำให้มีภูมิต้านทานเชื้อโควิด-19 เหมือนหรือสูงกว่าการฉีดวัคซีนชนิดเดียว และทำให้การกระจายการฉีดวัคซีนสามารถทำได้ง่ายและมากขึ้น การฉีดวัคซีนสลับชนิดไม่ใช่เรื่องใหม่ มีประโยชน์         การใช้วัคซีนสลับชนิดเริ่มมีมาตั้งแต่ทศวรรษในปีค.ศ. 1990-1999 โดยใช้ในนักวิจัยเรื่องเอชไอวี         นอกจากนี้ การใช้วัคซีนสลับชนิดยังช่วยหลีกเลี่ยงภูมิต้านทานที่มีต่อวัคซีน ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง และยังทำให้ภูมิต้านทานเชื้อโรคหรือโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นและอยู่ได้นานขึ้น         อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนสลับชนิดนั้นต้องมีการประเมิน เพราะในขณะนี้ ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สลับชนิดมากเพียงพอ และต้องประเมินผลด้านความปลอดภัยในการใช้ โดยเฉพาะการใช้วัคซีน mRNA (ของไฟเซอร์และโมเดอร์นา) สลับกับวัคซีนที่ใช้อดีโนไวรัส (ของแอสตร้าเซนเนก้า) ซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อน         การฉีดวัคซีนแบบสลับชนิด อาจช่วยในการต่อสู้กับการกลายพันธุ์ของไวรัส เพราะทำให้เกิดภูมิต้านทานกว้างขึ้น ซึ่งช่วยในการป้องกันไวรัสที่กลายพันธุ์ได้ดีขึ้น ประสิทธิผลของการฉีดวัคซีนสลับชนิด         มีการศึกษาเบื้องต้นในหลายประเทศ เช่น ในสเปน ศึกษาในอาสาสมัคร 600 คน  ในสหราชอาณาจักร ศึกษาในอาสาสมัคร 830 คน พบว่า มีภูมิต้านทานสูงกว่าการรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเพียงอย่างเดียว แต่เนื่องจากเป็นการศึกษาในจำนวนอาสาสมัครที่น้อย และระยะเวลาสั้น จึงต้องติดตามผลต่อไป องค์การอนามัยโลกแนะนำให้หน่วยงานด้านสุขภาพเป็นผู้พิจารณา         องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ไม่ควรให้แต่ละคนเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเลือกฉีดวัคซีนแบบสลับชนิดหรือไม่ด้วยตนเอง แต่ขอให้หน่วยงานด้านสุขภาพของแต่ละประเทศเป็นผู้พิจารณาและกำหนดแนวทางบนพื้นฐานข้อมูลที่มีอยู่ ขณะนี้ ยังต้องรอข้อมูลการประเมินผลการฉีดวัคซีนแบบสลับชนิด การศึกษาภูมิต้านทาน และความปลอดภัย         สำหรับประเทศไทย การฉีดวัคซีนสลับชนิดไม่ใช่เกิดจากวัคซีนที่ฉีดไม่มีคุณภาพ จึงต้องเปลี่ยนวัคซีน แต่เพราะมีการศึกษาว่า การฉีดวัคซีนสลับชนิดจะมีประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้นจาการฉีดวัคซีนชนิดเดียว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 246 หลอก หลอก หลอก

        ในขณะที่สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ยังไม่ลดลง สถานการณ์การหลอกหากินของกลุ่มมิจฉาชีพ บนความหวาดกลัวจะติดเชื้อของประชาชนก็ไม่ลดลงเช่นกัน มีอะไรๆ มาพวกนี้ก็ช่างหาเรื่องมาหลอกได้ทุกเรื่อง         หลอกขายสมุนไพรต้านโควิด         มีข้อมูลของแพทย์ออกมาเตือนภัยผ่านทางโซเชียล ซึ่งข้อมูลที่อ่านพบปรากฎว่าคล้ายกับข้อมูลที่น้องๆ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่มาเล่าให้ฟัง คือ ในโลกออนไลน์มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์บรรจุในแคปซูล โดยอ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรต้านโควิด นำมาจากคลินิก ไหนๆ ก็โฆษณาแล้วจะไม่ขายก็ดูกระไรอยู่ หลังจากปลุกอารมณ์และความหวังของผู้คนที่กำลังหวาดระแวงว่าตนเองจะติดเชื้อโควิดหรือไม่ ก็ขายมันซะเลย ทำให้ผู้ที่กังวลว่าจะป่วยหรือผู้ป่วยโควิดบางรายหลงเชื่อ ยอมเสียเงินสั่งซื้อมากิน กินไปแล้วอาการไม่ดีขึ้น บางรายอาการกลับแย่ลง ตรวจพบว่ามีภาวะผิดปกติ บางรายพบว่าเซลล์เม็ดเลือดลดลงด้วย         หลอกขายประกันโควิด         ไม่ได้มีแต่หลอกขายผลิตภัณฑ์ มีข้อมูลจากน้องในชุมชนทางอีสานเล่าให้ฟังว่า ในขณะที่หลายคนกำลังลังเลว่าจะฉีดวัคซีนหรือไม่ฉีดดี จะไม่ฉีดก็กลัวคิดเชื้อ แต่ถ้าฉีด ก็กลัวจะเกิดการแพ้จนอันตราย ในที่สุดก็มีแก๊งหัวใส อาศัยจังหวะนี้ตระเวณไปหลอกขายประกันเกี่ยวกับโควิด ทั้งประกันการติดเชื้อโควิด และประกันการแพ้วัคซีน โดยเลือกเหยื่อที่ไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับการประกัน สุดท้ายเมื่อเหยื่อหลงเชื่อจ่ายเงินไปแล้ว ก็หายหน้าไปเลย ไม่ได้กรมธรรม์อะไรกลับมา         หลอกขายวัคซีนทางเลือก         ที่จังหวัดอุดรธานี พบเหตุการณ์มีผู้ตระเวณหลอกขายวัคซีนซิโนฟาร์ม ในราคาเข็มละ1,800 บาท โดยอ้างว่าเหลือจากที่ฉีดให้บุคลากรของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีผู้หลงเชื่อรวม 20 คน ตกลงจ่ายเงินยอมซื้อ โดยผู้ที่หลอกขายอ้างว่า เมื่อจ่ายเงินแล้ว จะให้ไปฉีดได้ที่จุดบริการฉีดของโรงพยาบาล มีการระบุเวลานัดหมายให้เรียบร้อย นอกจากนี้ กลุ่มมิจฉาชีพยังพยายามสร้างความน่าเชื่อถือ โดยสร้างกลุ่มไลน์ โดยมีบุคคลที่อ้างว่าเป็นแพทย์เป็นผู้ดูแลกลุ่ม คอยให้ข้อมูลต่างๆ อยู่ตลอด จนเมื่อถึงวันฉีดวัคซีน ผู้ที่จ่ายเงินไปแล้วเดินทางไปฉีดวัคซีนที่จุดบริการของโรงพยาบาล ปรากฎว่าไม่มีรายชื่อของตนแต่อย่างใด เมื่อไปตรวจสอบที่โรงพยาบาลก็พบว่า แพทย์ที่มีการอ้างชื่อและคอยให้ข้อมูลในกลุ่มไลน์ ก็ไม่ใช่แพทย์ด้วย         เอ๊ะ เอ๊ะ เอ๊ะ ทุกครั้งจะได้ไม่ถูกหลอก         เนื่องจากการจัดการปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกหน่วยงานประเทศต้องมาร่วมกันดูแล ดังนั้นสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีการกำหนดขั้นตอนต่างๆ อย่างละเอียด มีการตรวจสอบ เพื่อไม่ให้มีใครมาหลอกลวงจนเกิดอันตรายได้ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็ต้องมาขออนุญาตและพิสูจน์กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาว่าปลอดภัยไม่มีอันตราย การขายประกันก็มีหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้ดูแลอยู่ ส่วนการบริการฉีดวัคซีน ก็มีระบบและรายละเอียดทุกขั้นตอน โดยมีหน่วยงานสาธารณสุขในแต่ละจังหวัดดูแล ดังนั้นหากใครมาแนะนำหรือชักชวนอะไรเกี่ยวกับโควิด ให้เราเสียเงินเสียทอง อย่าเพิ่งรีบเชื่อนะครับ ให้ เอ๊ะๆๆ ไปหลายๆ ครั้ง ถ้าไม่แน่ใจก็ไปสอบถามที่หน่วยงานสาธารณสุขใกล้ตัวได้เลย เอ๊ะ เอ๊ะ เอ๊ะ จะได้ไม่ถูก หลอก หลอก หลอก นะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 245 รู้เท่าทันผลไม่พึงประสงค์ของวัคซีนโควิด-19

        เดือนมิถุนายน เป็นช่วงการเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 กันอย่างเร่งด่วน เพื่อที่จะสร้างภูมิคุ้มกันในหมู่ประชาชนไทยให้มากที่สุด มีข่าวต่างๆ มากมายว่า วัคซีนที่ไทยใช้นั้นไม่ดี ไม่ปลอดภัยเท่ากับของอเมริกา และมีผู้เสียชีวิตหลังการฉีดวัคซีนในประเทศไทยจำนวนมาก ทำให้คนไทยกลัวการฉีดวัคซีน อยากได้วัคซีนที่ปลอดภัยกว่านี้ มารู้เท่าทันผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนแต่ละชนิดกันเถอะ รายงานอาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีนโควิดในสหรัฐอเมริกา        ในอเมริกาจะมีระบบรายงานอาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีนโควิด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยทุกๆ วันศุกร์ จะรายงานต่อสาธารณชนเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ของวัคซีนทุกชนิด         ข้อมูลระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2563 – 28 พฤษภาคม 2564 มีการรายงานว่า         อาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีนโควิดมีจำนวนทั้งหมด 294,801 ราย จากการฉีดวัคซีนทั้งหมด 292.1 ล้านโดส คิดเป็นร้อยละ 0.1         ในจำนวนนี้ เป็นวัคซีนโมเดอร์นา 123 ล้านโดส เป็นวัคซีนไฟเซอร์ 158 ล้านโดส และวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 11 ล้านโดส         มีอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง 25,359 ราย มีผู้เสียชีวิตหลังการฉีดวัคซีน 5,165 ราย         โดยร้อยละ 24 เสียชีวิตหลังการฉีดภายใน 48 ชั่วโมง ร้อยละ 38 เสียชีวิตหลังการฉีดภายใน 24 ชั่วโมง ที่เกิดในผู้ที่ได้รับวัคซีนและป่วยภายใน 48 ชั่วโมง         ร้อยละ 52 ที่เสียชีวิตเป็นผู้หญิง ร้อยละ 45 เป็นผู้ชาย ที่เหลือไม่ได้ระบุเพศ         อายุเฉลี่ยที่เสียชีวิตคือ 74.4 ปี         ร้อยละ 17 ที่เสียชีวิต เกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ         หญิงที่ตั้งครรภ์ 1,831 ราย เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ในจำนวนนี้ มี 596 รายที่แท้งหรือคลอดก่อนกำหนด         เกิดอาการอัมพาตของใบหน้า (Bell’s Palsy) 2,876 ราย เป็นวัคซีนไฟเซอร์ ร้อยละ 41 วัคซีนโมเดอร์นา ร้อยละ 41 และวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ร้อยละ 9         มีรายงานการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน 5,159 รายงาน  จากวัคซีนไฟเซอร์ 2,213 รายงาน จากวัคซีนโมเดอร์นา 1,617 รายงาน และจากวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 1,289 รายงาน         มีรายงานการเกิดการอาการแพ้รุนแรง 83,684 รายงาน จากวัคซีนไฟเซอร์ ร้อยละ 40 จากวัคซีนโมเดอร์นา ร้อยละ 51 และจากวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ร้อยละ 9     รายงานอาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีนโควิดในไทย         เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วประเทศ สะสม 7,003,783 โดส แล้ว ฉีดเข็มแรก 5,114,755 ราย เข็มสอง 1,889,028 ราย         พบอาการไม่พึงประสงค์ ทั้งวัคซีนซิโนแวค และแอสตร้าเซเนก้า         มีผู้เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน 68 ราย โดยจำนวน 13 ราย ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าไม่เกี่ยวกับวัคซีน อีก 55 รายรอการพิจารณา         เป็นการฉีดวัคซิโนแวค 3,214,385 โดส มีอาการไม่พึงประสงค์ 993 ราย (เฉพาะที่ต้องนอนโรงพยาบาล) คิดเป็น 20 ราย ต่อ 1 แสนโดส  พบมากที่สุดคือ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อาเจียน ผื่น         เป็นวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 1,943,693 โดส พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รับรักษา 472 ราย คิดเป็น 24 ราย ต่อ 1 แสนโดส พบมากคือ อาการไข้ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ถ่ายเหลว         สรุป  วัคซีนที่เชื่อว่าดีที่สุดนั้น มีอาการไม่พึงประสงค์เช่นเดียวกัน และอาจมีมากกว่าวัคซีนที่ฉีดในไทยอย่างเห็นได้ชัด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 244 จัดซื้อวัคซีนและบำนาญประชาชน

        ปัญหาผู้บริโภคในรอบเดือนที่ผ่านมาคงหนีไม่พ้นเรื่องถูกเทจากการฉีดวัคซีน จากเดิมที่ไม่สนใจที่จะฉีดวัคซีนในช่วงแรก เนื่องจากความกลัว ความกังวลเรื่องการแพ้วัคซีน อันตรายจากการฉีดวัคซีนที่ถูกข่าวกรอกหูทุกวันหรือการสื่อสารของประชาชนกันเองที่มีเรื่องนี้จำนวนมากมาย         แต่เมื่อรัฐบาลมีความพยายามที่จะให้ประชาชนขึ้นทะเบียนเพื่อฉีดวัคซีน ก็ต้องถือว่าประสบความสำเร็จในการรณรงค์ โดยสามารถสื่อสารให้เกิดความเข้าใจและยึดหลักว่าถ้าฉีดวัคซีนแล้ว อย่างน้อยถึงแม้จะติดเชื้อได้แต่ความรุนแรงลดลง เสียชีวิตน้อยลง มีโอกาสหาย ทำให้คนหลังไหลไปลงทะเบียนกับหมอพร้อมที่ไม่พร้อมจำนวนมากนับตั้งแต่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่ปัญหาตามมามากมาย ถูกเทกันในแต่ละวันหลายกลุ่ม ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้จริง และสิ่งที่เห็นความไม่เป็นธรรมในการกระจายวัคซีน หรือไม่เป็นไปตามนโยบายหรือเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนดไว้ให้ประชาชนในการฉีดวัคซีน        ที่สำคัญทุกคนไม่สามารถที่จะรู้ข้อเท็จจริงได้ว่าวัคซีนที่รัฐบาลไปทำสัญญาจัดซื้อมีจำนวนเท่าใด มียี่ห้อไหนทำสัญญาแล้วบ้าง กลับเห็นว่ามีวัคซีนบางยี่ห้อที่ราคาแพงแต่ก็ได้รับการสั่งจองจำนวนมาก ทำให้เกิดคำถามมากมาย ทำไมถึงไม่เห็นการบริหารจัดการวัคซีนที่หลากหลายและมีคุณสมบัติในการป้องกันการติดเชื้อได้มากกว่า ข้อเสนอที่สำคัญในเรื่องวัคซีนก็คงไม่พ้นว่าจะทำอย่างไรให้การบริหารจัดการวัคซีนเป็นไปด้วยความโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วมหรือใช้หน่วยงานที่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการวัคซีน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมมือกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จะทำให้ประชาชนสบายใจขึ้นว่าการจัดซื้อมีส่วนร่วมจากประชาชนมีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลตรงไปตรงมา แถมประชาชนมีส่วนร่วมก็จะช่วยตอบคำถามแทนรัฐบาลได้         ทางออกของรัฐบาลในการการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวเฉพาะแห่งที่ควบคุมทางกายภาพได้ ภูเก็ต ย่อมถูกตั้งคำถามจากพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ทั่วประเทศ เช่น ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ตะวันออก ตะวันตหก อยากเห็นทางเลือกของรัฐบาลดำเนินการเรื่องนี้ที่มากกว่าการเปิดเรื่องการท่องเที่ยว เช่น ทางเลือกในการจัดการทำให้เกิดโครงสร้างความมั่นคงทางสังคมที่ถาวร แทนการสนับสนุนการจ่ายเงินช่วยประชาชนแบบระยะสั้น โดยการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปแบบถาวร ให้ได้รับเงินอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 3,000 บาท ยกเว้นคนที่มีสวัสดิการข้าราชการ ปัจจุบันพ่อแม่เหล่านี้อาจจะมีลูกอีกจำนวนไม่น้อยที่รายได้ลดลง ตกงาน การได้รับเงินก้อนนี้จะสามารถทำให้เกิดความมั่นคงในครอบครัวได้ เพราะเมื่อพ่อแม่มีรายได้ ทำให้เกิดการใช้จ่ายงบประมาณในระดับท้องถิ่นในทุกพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งนอกเหนือจากการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการรับนักท่องเที่ยวเพราะถึงแม้เราจะรับนักท่องเที่ยวก็ยังไม่มีหลักประกันว่านักท่องเที่ยวจะเข้ามาในประเทศไทยท่ามกลางการระบาดที่ยังมีความรุนแรงอยู่ในปัจจุบัน หากรัฐบาลใช้ทางเลือกนี้ก็น่าจะทำให้อย่างน้อยหลายครอบครัวน่าจะมีความเดือดร้อนน้อยลง หากรัฐบาลจะมีมาตรการให้กักตัวหรือเคลื่อนย้ายน้อยลงก็จะมีความเป็นไปได้เพื่อที่จะทำให้ลดการติดเชื้อ โควิด-19 ไปในท้ายที่สุด พร้อมกับการเร่งระดมฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดน่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับรัฐบาลในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 243 ปัญหาขาดแคลนถุงพลาสติกทำให้การผลิตวัคซีนของโลกชะงัก

        การขาดแคลนถุงพลาสติกเฉพาะทางซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในกระบวนการผลิตวัคซีนกลายเป็นปัญหาคอขวดที่ไปชะงักการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้เพียงพอใช้ทั่วโลก เมื่อมองย้อนกลับไปปลายปี 2019 โลกก็เริ่มที่จะประสบปัญหาการขาดแคลนฟิล์มพลาสติกที่ใช้ทำถุงพลาสติกเฉพาะทางเหล่านี้ก่อนที่โควิด-19 จะเริ่มระบาดอยู่แล้ว และเมื่อโควิด-19 ระบาดหนักในช่วงต้นปี 2020 ที่ผ่านมา  วัสดุสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19  เช่น ขวดแก้ว พลาสติก จุกปิดขวดและสารเคมีประเภทต่างๆ ก็เริ่มที่จะขาดตลาด ซึ่งทำให้เป็นจุดเริ่มในการเกิดปัญหาการขาดแคลนครั้งใหญ่ทั่วโลกครั้งนี้         กระบวนการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19  เช่น BioNTech / Pfizer, Moderna และ Novavax  ต่างต้องใช้ถุงพลาสติกเฉพาะทางในกระบวนการผลิตกันทั้งนั้น โดยจะใช้ถุงพลาสติกเฉพาะทางเหล่านี้ในการเป็นท่อที่ถูกฆ่าเชื้อเพื่อทำการประกอบส่วนผสมของสารเคมีในวัคซีนขึ้น  ผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ รวมไปถึง  CSL หรือบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพท้องถิ่นในออสเตรเลียที่กำลังเร่งผลิตวัคซีนอ็อกซ์ฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า (Oxford-Astrazeneca) จำนวน 50 ล้านโดสให้ทันต่อความต้องการของประชากรในประเทศก็ถูกชะงักลงเนื่องจากขาดวัสดุอุปกรณ์เฉพาะทางที่สำคัญในกระบวนการผลิต  เนื่องด้วยวัสดุเหล่านี้ต้องได้รับการผลิตด้วยมาตรฐานการฆ่าเชื้อที่สูงมาก จึงทำให้มีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่สามารถผลิตมันได้          ตัวอย่างเช่นในยุโรป ดร.เจอร์เกน ลินเนอร์ หัวหน้าสมาคมผู้ผลิตส่วนผสมทางเภสัชกรรมแห่งออสเตรเลียกล่าวว่า  “เท่าที่ฉันทราบ ในยุโรปมีผู้ผลิตขวดแก้วแค่สามที่”  มากไปกว่านั้นวัสดุหลายประเภทต้องใช้ระยะเวลาในการผลิตเนื่องด้วยความซับซ้อนในกระบวนการผลิตของมัน  จึงทำให้บริษัทในหลายแห่งไม่สามารถผลิตมันออกมาได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ ได้ อีกทั้งตัววัคซีนเองก็จำเป็นต้องใช้สารเคมีหลายร้อยชนิดในการผลิต เช่น กระบวนการผลิตวัคซีน Pfizer ที่ต้องใช้ส่วนผสมในการผลิตมากกว่า 280 ชนิด  จึงทำให้ไม่แปลกที่ทั่วโลกจะเกิดอุปทานที่มากขึ้นกับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตวัคซีน         ดังนั้นจาก “ความต้องการที่ไม่เคยมีมาก่อน” นี้เองที่ทำให้บริษัทที่สามารถผลิตวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตวัคซีนต่างก็ตื่นตัวและพยายามอย่างเต็มที่ในการขยายความสามารถในการผลิตของตนให้มีได้ในปริมาณที่มากที่สุด  เพื่อให้ทันต่อปริมาณอุปทานที่ล้นหลามจากทั่วโลก โดยกระบวนการผลิตนั้นจะยังคงต้องรักษาระดับมาตรฐานคุณภาพเอาไว้ให้ได้อีกด้วย  ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่สำคัญเหล่านี้สามารถเห็นได้ในหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่กระบวนการผลิตวัคซีนถูกชะลอให้ช้าลง ดังจะเห็นได้จาก สถาบันเซรั่มรายใหญ่ของอินเดียได้ออกมากล่าวว่า ปัญหาการขาดแคลนถุงพลาสติกทำให้พวกเขาผลิตวัคซีน Novavax  อย่างยากลำบาก ซึ่งทำให้ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาทางบริษัทได้ออกมาเตือนถึงข้อจำกัดในการผลิตวัคซีนเนื่องจากกำลังประสบปัญหาการสรรหาวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิต ทำให้เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาอินเดียทำลายสถิติโลกของผู้ติดเชื้อโควิด-19         วัตถุดิบที่ใช้เพื่อผลิตวัคซีนส่วนใหญ่มาจาก 13 ประเทศ นำโดยสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อังกฤษ อาร์เจนตินา รัสเซีย บราซิล ออสเตรเลีย แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งได้รวมตัวกันก่อตั้ง “วัคซีนคลับ” ตามที่ธนาคารโลกได้ขนานนามไว้ขึ้น  โดยเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตวัคซีนป้องกันโควิดรวมไปถึงตัวผลิตภัณฑ์วัคซีน “นั่นทำให้พวกเขาได้เปรียบกว่าประเทศอื่นๆ เป็นสองเท่า”  ศ.ไซมอน อีเว็ตต์ ผู้เขียนรายงานกล่าวถึงความได้เปรียบของประเทศสมาชิกใน “วัคซีนคลับ”   จากความได้เปรียบนี้เองที่ทำให้การกระทำของประเทศที่ร่ำรวยบางประเทศส่งผลให้ส่วนที่เหลือของโลกมีความเสี่ยง เพราะประเทศที่เหลือนอกจากประเทศสมาชิกเข้าถึงสิทธิ์ในการฉีดวัคซีนได้ยากเนื่องจากต้องจ่ายเงินเพื่อนำเข้าวัคซีนมาใช้ เช่นประเทศที่ยังไม่พัฒนาหรือประเทศที่มีรายได้ต่ำ           ขณะที่จีน อินเดียและสหภาพยุโรปพยายามจัดหาวัตถุดิบและผลิตวัคซีนให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศตนเองและประเทศเพื่อนบ้าน สหรัฐอเมริกาเลือกที่จะปฏิเสธการส่งออกวัคซีนไปยังส่วนที่เหลือของโลกถึงแม้ว่าวัคซีนหลายล้านโดสในประเทศตัวเองจะไม่ได้ถูกใช้ก็ตาม เนื่องด้วยสาเหตุจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตวัคซีนและจำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังคงเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องหยุดการส่งออกวัคซีนเพื่อเก็บไว้ให้ประชากรในประเทศของตนเองใช้  อย่างไรก็ตามเมื่อยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียใต้หรืออินเดียต้องต่อสู้กับยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในทุกวัน  บวกกับแรงกดดันจากนานาชาติที่เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาแบ่งปันส่วนหนึ่งของวัคซีนในประเทศเพื่อช่วยเหลือประเทศอื่นๆ ที่กำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างหนัก โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติในสหรัฐอเมริกาจึงได้ออกมากล่าวให้การสนับสนุนสถานการณ์โควิด-19 ในอินเดีย โดยจะจัดหาวัตถุดิบเพื่อผลิตวัคซีน ตลอดจนหนทางการรักษาและอุปกรณ์ป้องกันโรคที่สำคัญกับอินเดียโดยทันที นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังมีแผนส่งออกวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) กว่า 60 ล้านโดสไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ทั่วทุกประเทศรวมไปถึงประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง นอกจากนี้ ประเทศตะวันตกหลายประเทศ นำโดย อังกฤษ ฝรั่งเศส แคนาดาและเยอรมนีได้ให้คำมั่นว่าจะให้ความช่วยเหลือสถานการณ์วิกฤตของโควิด-19 ในอินเดียที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างเต็มที่         ถึงแม้ว่าการร่วมมือกันของหลายประเทศมหาอำนาจที่ตั้งใจจะพัฒนาและผลิตจำนวนวัคซีนให้เพียงพอเพื่อที่จะจัดจำหน่ายให้บริการทั่วถึงทั้งโลกจะเกินกว่าหนึ่งพันล้านโดสแล้วก็ตาม  ตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้น และปริมาณอุปทานในการผลิตวัคซีนก็ยังคงมีอยู่  จากการคาดเดาปริมาณที่ทั่วโลกต้องการผลิตวัคซีนภายในปีหน้าพบว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่าแรงกดดันในการจัดหาวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตวัคซีนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง Reference Aime Williams and Kiran Stacey, (2021, May 1).Is there a ban on Covid vaccine exports in the US?.https://www.ft.com/content/82fa8fb4-a867-4005-b6c2-a79969139119Belinda Smith, (2021, February 12).Inside CSL, where Australia's Oxford-AstraZeneca vaccines are being made.https://www.abc.net.au/news/science/2021-02-12/covid-19-vaccine-oxford-astrazeneca-adenovirus-csl-manufacturing/13140104 Liam Mannix, (2021, May 7).Why a worldwide shortage of plastic bags is choking vaccine production.https://www.smh.com.au/national/why-a-worldwide-shortage-of-plastic-bags-is-choking-vaccine-production-20210506-p57phk.html Hannah Kuchler and Joe Miller, (2021, February 17).Shortage of giant plastic bags threatens global vaccines rollout.https://www.ft.com/content/b2f4f9cf-af80-428f-a198-2698ceb4c701

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 243 วัคซีนสู้ covid-19 มาแล้ว…ดีใจไหม

        www.bbc.com เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2021 มีข่าวเรื่อง วัคซีนโควิด-19 ล็อตแรกถึงไทยแล้ว แต่ผลสำรวจพบบุคลากรทางแพทย์ฯ แค่ 55% พร้อมฉีด โดยมีเนื้อข่าวว่า “วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทซิโนแวคไบโอเทคและบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า เดินทางมาถึงประเทศไทยวันนี้ (24 ก.พ.) แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยังต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของวัคซีน หลังจากหน่วยงานวิจัยของ สธ. สำรวจพบว่าบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเพียง 55% ยินดีรับวัคซีนโควิด-19” และ “…บุคลากรทางการแพทย์ฯ เพศหญิงและผู้ที่มีอายุน้อย หรืออาชีพพยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์และแพทย์ เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มไม่รับวัคซีนโควิด-19 หรือยังไม่แน่ใจในสัดส่วนสูงที่สุด”         ประเด็นที่น่าสนใจในข้อความข้างต้นนั้นคือ ทำไมคนระดับปฏิบัติการในกระทรวงนี้ ซึ่งส่วนใหญ่มีพื้นฐานการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพเป็นหลัก นั้นยังขอพึ่งหลักการใช้หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ และการจัดระยะห่างระหว่างบุคคลเป็นแนวทางชีวิตในการป้องกัน covid-19 ก่อน มิใยว่าผู้บริหารจะออกมาพรรณนาถึงหลักการว่า ความเสี่ยงที่อาจจะมีเนื่องจากการฉีดวัคซีนนั้นต่ำมาก ว่ากันว่าเป็นเพียง หนึ่งในล้าน ในขณะที่ความเสี่ยงต่อการตายเนื่องจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งก่อโรค covid-19 นั้นคือ หนึ่งในร้อย ซึ่งเทียบกันไม่ได้เลย         เพื่อยืนยันว่า เราจะเสี่ยงไปด้วยกัน คนที่อยู่ในแถวหน้าของประเทศต่างก็แสดงความหาญกล้าอันเป็นที่ยกย่องไม่รู้วายในการรับการฉีดวัคซีนจนครบ 2 เข็ม อย่างหน้าชื่นตาบานและก็ไม่เห็นเป็นอะไร อยู่รอดปลอดภัยดี ยกเว้นส่วนน้อยที่ติดเชื้อบ้างเพราะทำงานในหน้าที่หนักไปหน่อยทั้งกลางวันและกลางคืน         ประเด็นเรื่องผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนต่างๆ นั้นเป็นเรื่องธรรมดา เพราะกระบวนการฉีดวัคซีนเป็นการไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานมากขึ้นกว่าระดับที่เป็นปรกติ เพื่อส่งผลให้ในเลือดของผู้ถูกฉีดวัคซีนมีแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อเกิดขึ้น (แต่ก็มีข่าวลือบ้างเหมือนกันว่า บางคนฉีดครบ 2 เข็มแล้วความเข้มข้นของแอนติบอดีนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง...ซึ่งก็ต้องรอหาเหตุผลก่อนว่าทำไม ทั้งนี้ท่านผู้อ่านต้องอย่าลืมว่า การใช้วัคซีนในลักษณะที่อนุญาตแบบฉุกเฉินนี้ น่าจะถูกเรียกว่า เป็นการประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนในระยะที่ 3/2 อยู่) นอกจากนี้เม็ดเลือดขาวกลุ่ม T-cells เช่น  T-killer cells นั้นควรจะต้องเพิ่มด้วย แต่ ณ วันที่เขียนบทความนี้ยังไม่เห็นมีใครนำข้อมูลส่วนนี้ออกมาเผยแพร่ว่า วัคซีนที่ฉีดกันทั่วโลกไปแล้วนั้นได้กระตุ้นการเพิ่มปริมาณของ T-cells ดีแค่ไหน...เสมือนทำเป็นลืม         ประเด็นที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักคิดไม่ถึงคือ ร่างกายต้องมีการลงทุน (และยอมรับความเสี่ยง) บางประการเพื่อให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งแสดงออกด้วยอาการที่เรียกว่า ผลข้างเคียง เช่น แขนปวดระบมบริเวณถูกเข็มปักเข้ากล้ามเนื้อแขน (ลึกราว 1 นิ้ว) ส่วนใหญ่ของผู้ถูกฉีดวัคซีนมักมีอาการตัวร้อนระหว่างการเพิ่มภูมิคุ้มกันซึ่งแตกต่างกันไปในหลายระดับ (ตั้งแต่ตัวอุ่นไปถึงร้อนเป็นไข้) จนบางคนที่ไม่ปวดแขนและตัวไม่ร้อนหลังการฉีดวัคซีนชักสงสัยว่าการฉีดวัคซีนไม่ได้ผล (ความจริงกรณีนี้เมื่อรอครบ 14 วัน หลังฉีดครบ 2 เข็มแล้วผู้บริโภคน่าจะยอมเสียเงินทำการตรวจดูการเพิ่มขึ้นของแอนติบอดีด้วย quick test....แต่ก็ไม่เห็นข่าวว่ามีคนทำ เพราะเหล่าหมอทั้งหลายบอกผ่านทางโทรทัศน์ว่าไม่จำเป็น) และบางคนที่เป็นส่วนน้อยมาก อาจมีอาการแพ้ในลักษณะที่เรียกว่า anaphylaxis ระหว่างรอดูอาการ 30 นาทีหลังการฉีดวัคซีน ซึ่งถ้าอยู่ใกล้มือหมอและมียาเฉพาะอาการนี้ (ปรกติเป็น Epinephrine) โอกาสตายนั้นควรจะน้อยมาก ยกเว้นว่าอาการแพ้เกิดขึ้นเมื่อกลับถึงบ้านแล้วหลายชั่วโมง         อย่างไรก็ดีในภาพรวมจากทั่วโลกแล้ว มีการออกมายืนยันกันอย่างเต็มที่ว่า การฉีดวัคซีนป้องกัน covid-19 นั้นเป็นเรื่องควรกระทำ (ซึ่งผู้เขียนก็ wholeheartedly agree แปลว่า เห็นด้วยสุดหัวใจเลย) โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัวแบบที่เรียกว่า degenerative diseases ซึ่งเกิดจากความเสื่อมของร่างกายนั้นถูกจัดให้มีลำดับความสำคัญสูงในการถูกฉีด แต่มันก็มีกรณีปัญหาผลข้างเคียงการฉีดวัคซีนที่ออกมาก่อกวนการทำงานของผู้บริหารด้านสาธารณสุขของประเทศบ้างเล็กน้อย ซึ่งกรณีที่ดูจะกระเทือนซางมากหน่อย คือ การปรากฏเป็นหัวข้อข่าวออนไลน์ ดังเช่นใน www.prachachat.net เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 มีบทความชื่อ  แพทย์แจง 6 ราย อาการคล้ายอัมพฤกษ์หลังฉีดวัคซีนซิโนแวค เป็นแค่ชั่วคราว ซึ่งสาระของข่าวกล่าวว่า “แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เผยผลสอบสวนอาการไม่พึงประสงค์บุคลากรสาธารณสุข 6 รายที่ระยอง หลังฉีดวัคซีนซิโนแวคมีอาการคล้ายหลอดเลือดสมองอักเสบชั่วคราว คาดเกี่ยวข้องกับวัคซีนจริง แต่ตรวจไม่พบความผิดปกติของสมองผู้ป่วย รวมถึงวัคซีนล็อตนี้ต้องศึกษาเพิ่ม ย้ำประชาชนไม่ควรตื่นตระหนก ลงความเห็นสามารถใช้วัคซีนล็อตนี้ได้ต่อ เชื่อมีประโยชน์มากกว่าอาการข้างเคียง”         สิ่งที่น่ากังวลใจคือ ข่าวเกี่ยวกับอาการข้างเคียงในผู้เป็น เบาหวาน หนึ่งรายที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วเวลาผ่านไปชั่วข้ามคืนก็เสียชีวิต ซึ่งต้องใช้คำว่า มรณภาพ เพราะผู้เคราะห์ร้ายนั้นเป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนา ปรากฏว่าข่าวนี้กลับเงียบหายไป ทำให้ผู้เขียนค่อนข้างสงสัยว่า มีอะไรที่น่าจะเป็นสาเหตุการตายได้บ้าง ผู้เขียนจึงลองทำการสืบค้นข้อมูลดู         ต้นเรื่องการมรณภาพของสงฆ์รูปนี้อยู่ในเว็บข่าวทั่วไป เช่น ในเว็บของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เมื่อ 2 เมษายน 2564 มีหัวข้อข่าว “ผู้ช่วยเจ้าอาวาส มรณภาพ หลังฉีดวัคซีน แน่นิ่งในกุฏิ” รายงานข่าวกล่าวว่า “พระรูปดังกล่าว (อายุ 70 ปี) ได้รับวัคซีนตั้งแต่เวลา 10.00 น. วันที่ 31 มีนาคม และได้สังเกตอาการจนครบ 30 นาที ตามหลักเกณฑ์ จากนั้นได้รับการถวายภัตตาหารเพล อาการปกติทุกอย่าง ได้สอบถามลูกศิษย์วัดทราบว่า พระครูสิริปัญญาเมธี อาพาธทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมัน ช่วงเย็นสังเกตว่าท่านมีอาการเพลียขอตัวไปจำวัด ช่วงเช้าท่านไม่ลงมาฉันภัตตาหารเช้า เมื่อไปดูที่กุฏิพบว่ามรณภาพ”         เว็บไซต์ของประชาชาติธุรกิจออนไลน์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 ให้ข้อมูลต่อมาว่า โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งเป็นผู้ชันสูตรศพมีผลไม่เป็นทางการออกมาว่า ไม่พบการอุดตันของลิ่มเลือดทั้งที่สมอง หัวใจ หรืออวัยวะอื่น ๆ แต่พบอาการเส้นเลือดหัวใจตีบ ดังนั้นจากผลในเบื้องต้นทำให้ทราบว่า วัคซีนที่พระสงฆ์ท่านได้รับไม่ได้ส่งผลต่อการมรณภาพแต่อย่างใด (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่นำข้อมูลมาแถลงข่าวนั้นกล่าวแบบมั่นใจสุด ๆ)         www.bbc.com เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2021 มีข่าวเรื่อง วัคซีนโควิด-19: เกิดผลข้างเคียงอะไรบ้างกับคนไทย หลังฉีดวัคซีนของซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งตอนหนึ่งของข่าวรายงานกล่าวประมาณว่า “ตามการเปิดเผยของผู้บริหารของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ไทยมีผู้ได้รับวัคซีนโควิดสะสมตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึง 8 มีนาคม 2564 รวม 29,900 ราย ในจำนวนนี้มีรายงานผ่านระบบไลน์ "หมอพร้อม" ว่ามีอาการข้างเคียงชนิดไม่รุนแรง จำนวน 2,380 ราย คิดเป็น 7.96% ของผู้รับวัคซีนทั้งหมด โดยอาการข้างเคียงจากการฉีดที่เกิดขึ้นได้ปกติคือ อาเจียน ปวดเมื่อยเนื้อตัว อักเสบบริเวณที่ฉีด เป็นไข้ ปวดศีรษะ มีผื่นขึ้น”         ตำราภูมิคุ้มกันวิทยาบางเล่มให้ข้อมูลในทำนองว่า อาการข้างเคียงหลังได้รับการฉีดวัคซีนดังกล่าวแล้วนั้นดูเป็นตัวบ่งชี้ว่า ร่างกายตอบสนองการฉีดวัคซีนได้ดีและกำลังมีการสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น แต่ต้องระวังว่า วัคซีนไม่ควรทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านที่รุนแรงเกินจนเป็นอันตรายต่อผู้รับวัคซีนที่อ่อนแออย่างกลุ่มคนชราได้         มูลนิธิ The diaTribe Foundation (https://diatribe.org ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนที่ป่วยเป็นเบาหวานหรือกำลังจะเป็น) มีบทความเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2021 เรื่อง What You Should Know About COVID-19 Vaccines and Diabetes ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีคนเป็นเบาหวานทั้งโลก 463 ล้านคน (สำหรับประเทศไทยนั้นในงานแถลงข่าววันเบาหวานโลก 2562 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2562 นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยและประธานคณะกรรมการเครือข่ายคนไทยไร้พุงกล่าวว่า ปัจจุบันประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานถึง 4.8 ล้านคน และมักเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่ออายุเพิ่มขึ้น)         The diaTribe Foundation ให้ข้อมูลว่า วัคซีนต่างๆ อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจนคุมไม่ได้ถ้าไม่ระวังให้ดี ดังนั้นจึงควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างรอบคอบเป็นเวลา 48 ชั่วโมงหลังจากที่คุณได้รับการฉีดวัคซีนใดๆ ก็ตาม และดื่มน้ำให้เพียงพอ         บทความเรื่อง Acute Hyperglycemia After Influenza Vaccination in a Patient With Type 2 Diabetes ในวารสาร Pharmacy and Therapeutics ของปี 2017 นั้น มีเนื้อความเพื่อแจ้งเตือนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (แต่ไม่ได้เขียนไว้ที่ฉลากวัคซีน) แก่ผู้ทำการฉีดวัคซีนว่า ในการฉีดวัคซีนต่างๆ แก่ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบเฉียบพลัน เพราะตั้งแต่ปี 1991 ถึง 2017 มีรายงานภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบเฉียบพลันถึง 946 ครั้ง หลังการฉีดวัคซีนต่างๆ โดยที่ 361 ครั้งเป็นรายงานภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่         ได้มีการให้สมมติฐานถึงกลไกที่ส่งผลให้ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังการฉีดวัคซีนคือ ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายนั้นถือว่าเป็น “ความเครียด (stress)” ในระดับหนึ่ง ความเครียดทางร่างกายไม่ว่าจะมาจากการผ่าตัด การติดเชื้อ การบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยเฉียบพลัน มีโอกาสเพิ่มระดับฮอร์โมนได้แก่ อะดรีนาลีนและคอร์ติซอล เพื่อตอบสนองต่อความเครียดซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นโดยอาการแล้วไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็วเหมือนคนปรกติ จึงถือว่าเป็นภาวะอันตราย ดังนั้นความเครียดในร่างกายที่ดูไม่รุนแรงแต่ส่งผลสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในคนเป็นเบาหวานจึงเป็นเรื่องน่าสนใจ โปรดอย่าได้มองข้ามเลย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 239 Covid-19 หนักหรือเบาเพราะอะไร

        ระหว่างที่ประชากรโลกตั้งตารอวัคซีนต่อสู้เชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งก่อโรค Covid-19 นั้น มีข่าวงานวิจัยที่น่าสนใจเรื่อง Preexisting and de novo humoral immunity to SARS-CoV-2 in humans ในวารสาร Science ของปี 2020 ซึ่งอาจจะให้แนวทางในการอธิบายว่า ทำไมคนที่ได้รับเชื้อ SARS-CoV-2 นั้นจึงมีอาการต่างกัน หรืออาจไม่มีอาการเสียด้วยซ้ำ         บทความดังกล่าวระบุว่า ประชากรของโลกบางคนมีแอนติบอดี (antibody) ที่สามารถจัดการกับไวรัส SARS-CoV-2 ได้ ทั้งที่คนๆ นั้นไม่เคยป่วยเพราะรับเชื้อดังกล่าวมาก่อน ข้อมูลนี้ได้จากการดูผลวิเคราะห์เลือดที่ได้รับบริจาคก่อนการระบาดของ Covid-19 โดยนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่สถาบัน Francis Crick Institute ในกรุงลอนดอนซึ่งได้ร่วมกับเพื่อนๆ จาก University College London ของสหราชอาณาจักรทำการศึกษานี้         จริงแล้วนักวิจัยกลุ่มดังกล่าวตั้งวัตถุประสงค์ของงานเพื่อพัฒนาวิธีการตรวจวัดหาแอนติบอดีในเลือดของผู้ป่วยที่ฟื้นจากอาการป่วยหลังติดเชื้อ SARS-CoV-2 ให้ไวขึ้นกว่าวิธีเดิม เพื่อติดตามว่าผู้ป่วยเหล่านี้มีแอนติบอดีอยู่ในร่างกายได้นานเพียงใดหลังจากหายดีแล้ว ในการศึกษานั้นจำต้องมีการตรวจสอบปริมาณแอนติบอดีจากน้ำเลือดของคนที่ไม่ได้สัมผัสเชื้อมาก่อนเลย (ซึ่งตัวอย่างนั้นต้องเก็บก่อนมีการระบาดของ Covid-19) เพื่อใช้เป็นกลุ่มควบคุมผลลบที่เรียกว่า negative control แต่ปรากฏว่าน้ำเลือดบางตัวอย่างจากกลุ่มควบคุมดังกล่าวถูกตรวจพบว่า มีระดับแอนติบอดีที่ต่อต้าน SARS-CoV-2 ในขนาดที่น่าสนใจต่างจากคนปรกติทั่วไป        นักวิจัยกลุ่มนี้ได้ตั้งสมมุติฐานถึงการสัมผัสโคโรนาไวรัสอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดอาการหวัดธรรมดา (common cold ซึ่งเป็นอาการที่เกิดได้จากไวรัสต่างสกุลกันกว่า 200 สายพันธุ์ ไวรัสเหล่านี้ก่ออาการอักเสบของทางเดินหายใจตอนบนในลักษณะเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันที่ได้ผลดี) ว่าเป็นตัวกระตุ้นให้ประชากรบางคนมีแอนติบอดีต่อโคโรนาไวรัสที่ก่ออาการหวัดธรรมดา โดยที่แอนติบอดีที่เกิดนั้นไม่ได้มีความจำเพาะต่อไวรัสก่อโรคแบบสัมบูรณ์ (absolute) กล่าวคือ สามารถทำปฏิกิริยากับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์อื่นซึ่งรวมถึง SARS-CoV-2 ที่ก่อโรค Covid-19 ด้วย ปรากฏกรณ์นี้เรียกว่า immune cross-reactivity ซึ่งเป็นลักษณะการต้านเชื้อข้ามสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาในไวรัสหลายกลุ่มโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ นั้นต่างก็มีตุ่มโปรตีน (spike protein) บนผิวหน้าของตัวไวรัสซึ่งอาจมีสัณฐานของตุ่มโปรตีนดูคล้ายกันในภาพรวมจนทำให้แอนติบอดีเหมาเอาว่าเป็นไวรัสเดียวกัน ในบทความเรื่อง Common Human Coronaviruses ซึ่งเผยแพร่โดย US.CDC (Center of Disease Control and Prevention) นั้นได้กล่าวว่า โคโรนาไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการหวัดธรรมดาประจำปีของอเมริกานั้นมี 4 สายพันธุ์คือ HCoV-NL63, HCoV-229E, HCoV-OC43 และ HCoV-HKU1 ซึ่งมีความแตกต่างกันไม่มากนัก         จริงแล้วไวรัสที่ก่ออาการหวัดธรรมดานั้นมีการหมุนเวียนเข้ามาก่อปัญหาสุขภาพของประชากรโลกเป็นระยะๆ มีบทความหนึ่งที่น่าสนใจชื่อ Seasonal coronavirus protective immunity is short-lasting ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Medicine ของปี 2020 ซึ่งในความเป็นจริงเป็นงานที่ทำการศึกษาต่อเนื่องมานาน 22 ปี ในอาสาสมัคร 513 คน ที่มีอายุระหว่าง 27-40 ปี ของโครงการ The Amsterdam Cohort Studies on HIV infection and AIDS ซึ่งพบว่า น้ำเลือดของอาสาสมัครมีระดับแอนติบอดีหลายชนิด (ซึ่งรวมถึงแอนติบอดีต่อโคโรนาไวรัสที่ก่ออาการหวัดธรรมดา) ตกค้างอยู่ในระยะยาวซึ่งอาจนานถึง 12 เดือน ดังนั้นโอกาสที่อาสาสมัครจะมีอาการเป็นหวัดซ้ำอีกครั้งจึงอาจเป็นอีก 3 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง ถึงอีก 12 เดือนบ้าง ผู้เขียนบทความได้อ้างถึงสมมุติฐานที่ว่า แอนติบอดีที่ร่างกายสร้างสู้เชื้อโคโรนาไวรัสนั้นมักมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อได้หลายสายพันธุ์ในสกุลเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า immune cross-reactivity ซึ่งเป็นการสนับสนุนบทความในวารสาร Science ที่กล่าวถึงข้างต้นในประเด็นที่ว่า ระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นด้วยโคโรนาไวรัสสายพันธุ์หนึ่งอาจไปป้องกันโคโรนาไวรัสอีกสายพันธุ์หนึ่งได้นอกจากนี้ยังมีข้อมูลในบทความเรื่อง Antibodies fight off the new coronavirus, but what do T cells do? ในเว็บ www.medicalnewstoday.com ซึ่งกล่าวถึงการที่เซลล์ภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อป้องกันไวรัส SARS-CoV-2 และระบุว่าเม็ดเลือดขาวชนิด T-cells ดูมีบทบาทมากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคิดไว้ในระยะแรกของการระบาดของโรค โดยเม็ดเลือดขาวกลุ่ม T-cells นั้นได้ถูกกล่าวถึงว่ามีส่วนร่วมในการกระตุ้นการเกิดแอนติบอดีต้าน Covid-19         T-cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวกลุ่มหนึ่งซึ่งไขกระดูกสร้างขึ้นในรูปแบบของเซลล์ต้นกำเนิด(stem cells) แล้วจึงมีการเคลื่อนย้ายบางส่วนไปยังต่อมไธมัส (Thymus gland) เพื่อพัฒนาเป็น T-cells ที่ทำงานหลายประเภท โดยที่สำคัญในกรณีนี้คือ Helper T-cells ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีหลักฐานว่าเกี่ยวข้องกับการต่อสู้กับ SARS-CoV-2 ดร. John Yewdell หัวหน้าแผนกชีววิทยาของเซลล์ที่ห้องปฏิบัติการโรคไวรัสที่สถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (NIAID) ของสหรัฐอเมริกาได้ให้ภาพรวมของ T cells ในบริบทของ Covid-19 ว่าควรมุ่งถึง CD4 helper T-cell ซึ่งมีโปรตีนที่เรียกว่า cluster of differentiation 4 (CD4) ติดบนผิวเซลล์         โปรตีน CD4 นี้ทำหน้าที่ช่วยสำรวจหาเชื้อโรคในร่างกายของเราเพื่อส่งสัญญานให้ระบบภูมิคุ้มกันขั้นต้นจัดการย่อยไวรัสให้เป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ในลักษณะโพลีเป็บไตด์ (ซึ่งเป็นสายกรดอะมิโนที่ต่อกันซึ่งสั้นเกินกว่าที่จะเรียกเป็นโปรตีนแต่ยังมีความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดแอนติบอดีซึ่งเรียกว่า antigenicity) แล้วถูกจับได้ด้วยโมเลกุลที่เรียกว่า Major Histocompatibility Complex (MHC) Class II ซึ่งเป็นโปรตีนที่สามารถกระตุ้นให้ CD4 helper T-cells เริ่มบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้ B-cells ที่ถูกเปลี่ยนเป็น plasma cells ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดีที่เฉพาะเจาะจงในการจับตัวกับตุ่มโปรตีนที่อยู่บนผิวของไวรัส เพื่อเริ่มกระบวนการทำลายไวรัสซึ่งมีหลายขั้นตอน         สำหรับ  B-cell นั้นเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวอีกชนิดที่ถูกพัฒนามาจากเซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูกแล้วถูกเคลื่อนย้ายไปยังส่วนของต่อมน้ำเหลืองที่ยังระบุชัดเจนไม่ได้ชัดว่าอยู่ตรงไหน (แต่ถูกค้นพบครั้งแรกที่ไขกระดูกบริเวณก้นกบของไก่ซึ่งเรียกว่า Bursa of Fabricius จึงเป็นที่มาของอักษรย่อ B) ซึ่งในการตอบสนองต่อปฏิสัมพันธ์กับ helper T-cell ชนิด CD4 นั้น B-cells จะถูกเปลี่ยนให้เป็นเซลล์ 2 ชนิดคือ เซลล์ที่ทำงานได้จริงในการสร้างแอนติบอดีซึ่งเรียกว่า plasma cells และ memory B-cells ซึ่งชนิดหลังนี้สามารถดำรงอยู่นานระยะหนึ่งเพื่อพัฒนากลับเป็น plasma cells ในการต่อสู้เมื่อมีการติดเชื้อซ้ำ (ซึ่งในกรณีของ T-cells ที่ถูกกระตุ้นแล้วนั้นก็มี memory T-cells เช่นกัน)         ปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ถูกไวรัสรุกรานคือ ขณะที่เซลล์ถูกบังคับให้สร้างโปรตีนและองค์ประกอบอื่นๆ ที่ไวรัสต้องการนั้นจะมีการสร้างเปปไทด์บางชนิดขึ้นแล้วถูกส่งออกไปติดที่ผิวเซลล์ ซึ่งถูกรุกรานในลักษณะเดียวกับ Major Histocompatibility Complex เดิมของเซลล์ เป็นลักษณะสำคัญที่ทำให้เป็นการบอกให้ระบบภูมิคุ้มกันรู้ว่า เซลล์นั้นกลายเป็นเซลล์ที่ติดเชื้อ ปรากฏการณ์นี่เป็นการส่งสัญญาณให้ CD8 T-cells (หรือ killer T-cell) สามารถค้นหาและทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อได้         จากข้อมูลที่เล่าให้ฟังนี้ท่านผู้อ่านอาจพอเห็นแนวทางรางๆ ของคำอธิบายเกี่ยวกับการตอบสนองในคนที่ติดเชื้อ Covid-19 ที่แสดงออกต่างกันไม่ว่ากรณีไม่แสดงอาการเลย แสดงอาการช้านานเกิน 14 วัน เป็นไข้แค่ไม่กี่วันกินยาเองก็หายนั้นเกิดเนื่องจากสาเหตุใด สำหรับแนวทางที่ชัดเจนนั้นอาจต้องรอให้มีการใช้วัคซีนที่ได้ผลแล้วในระดับหนึ่งในอนาคต

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 233 ถอดบทเรียนการรักษาโควิด-19 ในไทย

        นับตั้งแต่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เมื่อปลายปี 2019 ลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากข้อมูลของกรมควบคุมโรค รายงานพบผู้ติดเชื้อแล้วใน 211 ประเทศ โดยยอดป่วยสะสมอยู่ที่ 6,031,023 ราย เสียชีวิต 366,812 ราย (ข้อมูลเมื่อวันที่ 30 พ.ค.2563) แต่ก็ยังไม่มีที่ว่าการระบาดจะยุติในเร็ววัน นักวิชาการทางการแพทย์คาดการณ์ว่าทั่วโลกยังต้องเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ไปจนกว่าจะมีวัคซีนป้องกันโรค         ขณะนี้มีนักวิจัยในหลายประเทศกำลังเร่งมือพัฒนาทั้งวัคซีนป้องกันโรคและยารักษาออกมาใช้ หลายประเทศมีความคืบหน้าไปมาก แต่ก็ยังไม่มียาจำเพาะต่อการรักษาโควิด-19 โดยตรง ตอนนี้การรักษาโควิดจึงเป็นเรื่องของการศึกษาและปรับใช้สูตรยาสำหรับการรักษาโรคอื่นๆ มาใช้ในการรักษาโรคโควิด-19         สำหรับประเทศไทย (สัมภาษณ์เมื่อเดือน พฤษภาคม 2563) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้สรุปแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยว่า ที่ผ่านมามีรายงานข่าวเป็นระยะว่าประเทศต่างๆ มีการใช้ยาบางประเภทแล้วได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง ซึ่งประเทศไทย โดยกรมการแพทย์ร่วมกับเครือข่ายโดยเฉพาะโรงเรียนแพทย์ อยู่ระหว่างการสรุปผลการรักษา ซึ่งจะมีการวิเคราะห์ ถอดบทเรียน และปรับแนวทางคำแนะนำที่เป็นมาตรฐานสำหรับประเทศไทยเป็นระยะ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณากันอีกครั้ง โดยจะบวกกับข้อมูลในต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้         อย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้ ถ้าดูจากข้อมูลส่วนใหญ่ที่มาจากการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จำนวนหนึ่ง เบื้องต้นเฉพาะข้อมูลที่มีการสรุปตรงกันคือการรักษาจะไม่ใช่การใช้ยาตัวเดียว แต่ต้องเป็นสูตรผสมหรือยาสูตรคอคเทล ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าสูตรคอคเทลจะต้องเป็น สูตร 1. ยาต้านเอชไอวี 2 ตัวคือ “โลพินาเวียร์ (lopinavir)” กับ “ริโทนาเวียร์ (ritronavir)  บวกกับยาตัวที่ 3 คือยาต้านไวรัส “ฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir)” หรือสูตร 2.ยาต้านเอชไอวี 2 ตัวคือ “โลพินาเวียร์” กับ “ริโทนาเวียร์ บวกกับยาตัวที่ 3 คือยาต้านไวรัส “โอเซลทรามิเวียร์ (Oseltamivir)”        หากจำได้จะมีเคสผู้ป่วยชาวจีนที่เข้ารับการรักษาที่รพ.ราชวิถี ซึ่งเคยมีคนบอกว่าใช้ยานี้แล้วไม่ได้ผล แต่ปรากฏว่าถ้าให้ยาต้านไวรัสเอชไอวี 2 ตัว บวกกับยาฟาวิพิราเวียร์ หรือบวกกับยาโอเซลทรามิเวียร์ ตัวใดตัวหนึ่งได้ผล ทำให้ผู้ป่วยนอนรพ.สั้นลง เฉลี่ยผู้ป่วยจะนอนรพ.ประมาณ 8-9 วัน ถ้าเทียบกับการให้ยาต้านเอชไอวี บวกกับยา “คลอโรควินฟอสเฟต (chloroquine phosphate)  หรือ ยารักษาโรคมาลาเรีย ไฮดร็อกซี่คลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ผู้ป่วยจะนอนรพ.เฉลี่ย 13 วัน ซึ่งขณะนี้มีรายงานว่าองค์การอนามัยโลกได้ให้ยกเลิกการใช้ไปแล้ว        อย่างไรก็ตาม การให้ยาคอกเทลสูตรยาต้านไวรัสเอชวี 2 ตัวบวกตัวที่ 3 เป็นโอเซลทรามิเวียร์ นั้นได้ให้เฉพาะผู้ป่วยชาวจีนที่รพ.ราชวิถีเท่านั้น ยังไม่ได้เป็นมาตรฐาน ตอนนี้จึงมีเพียงสูตรที่ให้ยาฟาวิพิราเวียร์เป็นตัวที่ 3 เท่านั้น ที่ผ่านมาเราจะให้ฟาวิพิราเวียร์เฉพาะในผู้ป่วยอาการหนัก แต่ก็มีการปรับมาเป็นการให้ในผู้ป่วยที่เริ่มมีภาวะปอดอักเสบทุกราย และกำลังพิจารณาอยู่ว่าจำเป็นต้องให้ในผู้ป่วยโควิดที่เริ่มมีอาการเลยหรือไม่          นพ.สมศักดิ์ บอกด้วยว่าที่ผ่านมามีการใช้ยาอีกหลายตัว เช่น อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะช่วยอะไร ส่วน ยาต้าน “ไซโตไคน์ สตอร์ม (cytokine storm)” ก็ยังมีการใช้เพียงบางรายเท่านั้น อีกวิธีหนึ่งคือการใช้พลาสมาของผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว แต่เพิ่งมาเริ่มเก็บพลาสมาในระยะหลังที่ผู้ป่วยโควิด-19 ในไทยน้อยลงแล้ว ทำให้มีการนำไปใช้จริงในผู้ป่วยไม่กี่รายเท่านั้น จึงยังบอกอะไรไม่ได้         อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าร่วมกับองค์การอนามัยโลกในโครงการทดลอง โซลิดาริที ไทรอัล (Solidarity Trial) ร่วมกับอีกประมาณ 30 ประเทศ ในการทดลองยาแต่ละสูตร ประมาณ 4-5 สูตร อาทิ  ยาเรมเดซิเวียร์" (Remdesivir) ซึ่งได้มีการทดลองใช้ในประเทศอื่นบ้าง หรือยาไซโตไคน์สตอม หน่วยงานหลักๆ ที่เข้าร่วมน่าจะมีทั้งโรงเรียนแพทย์ รพ.ราชวิถี รพ.ทรวงอก และน่าจะมีรพ.บำราศนราดูรด้วย อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ป่วยและต้องอยู่ที่ความสมัครใจของผู้ป่วยด้วย         อีกด้านหนึ่ง คือสถาบันบำราศนราดูร ซึ่งเป็น รพ.เฉพาะทางด้านโรคติดเชื้อฯ ที่รับส่งต่อผู้ป่วยโควิดอาการหนักจากทุกจังหวัด โดย นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ รองผอ.สถาบันบำราศราดูร ฝ่ายควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้ถอดบทเรียนการรักษาผู้ป่วยโควิด -19 ก่อนการระบาดระลอกแรกจะคลี่คลายว่า ที่สถาบันมีผู้ป่วยทุกประเภทกว่า 200 ราย อายุต่ำสุดคือทารกวัย 47 วัน และสูงสุดอายุ 83 ปี ช่วงอายุที่พบมากสุดคือ 21-30 ปี เป็นชาย 60% หญิง 40% ในจำนวนนี้เป็นคนไทย 90% อีก 10% เป็นชาวต่างชาติ มากที่สุดคือชาวจีนประมาณ 8% อีก 2% คือชาติอื่นๆ โดยเฉลี่ยผู้ป่วยนอนรพ. 2 สัปดาห์         สำหรับกลุ่มอาการของโรคมี 4 ลักษณะตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก คือ         อาการน้อยสุดหรือไข้หวัดพบ 60% รองลงมาคือปอดอักเสบเล็กน้อย 21%  ปอดอักเสบรุนแรง 13% และปอดอักเสบและระบบหายใจล้มเหลว ADRS 6%         เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขผู้ป่วยหนักทั่วประเทศไทยและทั่วโลก จะอยู่ที่ 3% แต่สถาบันบำราศฯ รับส่งต่อผู้ป่วยมาจากรพ.ทั่วประเทศจึงทำให้มีจำนวนผู้ป่วยหนักสูงถึง 6% หรือคิดเป็น 2 เท่าของค่าเฉลี่ยผู้ป่วยหนักทั่วโลก         ทั้งนี้ถ้าผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง เมื่อเข้ารับการรักษาจากบวกจะกลายเป็นลบใช้เวลาเฉลี่ย10 วัน ส่วนกลุ่มอื่นๆ ประมาณ 12 วัน ดังนั้นเฉลี่ย 10-12 วัน สำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้ออกซิเจนช่วยหายใจมีอยู่ 10% โดยบางคนต้องให้ออกซิเจนความเร็วสูง และบางส่วนต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเพราะหายใจเองไม่ได้          ส่วนยารักษานั้น ไม่จำเป็นว่าทุกคนต้องได้รับยาเหมือนกัน คนที่มีแค่อาการไข้หวัดก็ไม่จำเป็นต้องได้รับยา แค่สังเกตอาการก็เพียงพอ โดยกลุ่มนี้คิดเป็น 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด         เนื่องจากสถาบันบำราศฯ เป็นสถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยรายแรกๆ ของประเทศ ในขณะที่ข้อมูลการรักษามีน้อยมาก แนวทางการรักษาก็ยังไม่มี จึงต้องมีการศึกษางานวิจัยของต่างประเทศและ ใช้ความรู้ที่มีอยู่ทบทวนและประชุมทีมแพทย์ สร้างสูตรยาให้กับผู้ป่วย โดยมี 3 กลุ่ม คือ 1. ยาต้านไวรัสเอชไอวี 2. ยารักษาโรคมาลาเรีย ข้ออักเสบรูมาตอยด์ และ 3. ยาต้านไวรัส ฟาวิพิราเวียร์          ต่อมาหลังจากที่เริ่มมีผู้ป่วยหนักเมื่อเดือน ก.พ. ก็ประสานนำเข้า “ยาเรมดิสซีเวีย” ชนิดฉีดตัวแรกเข้ามาใช้กับผู้ป่วยวิกฤตที่ไม่สามารถรับยาด้วยการกินได้         ที่สำคัญยังได้สร้างกรอบการรักษาใหม่ๆ ให้กับประเทศไทย เช่น นำยาลดการอักเสบกลุ่มที่ลดสารเคมี “ไซโตไคม์” ในร่างกาย ซึ่งเกิดในผู้ป่วยวิกฤต ระบบการหายใจล้มเหลว รวมถึงความพยายามในการนำพลาสมาของผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วมารักษาผู้ป่วยใหม่ การใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (Extracorporeal membrane oxygenation : ECMO) ทำให้ภาพรวมการรักษาหายสูง อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1.8 % ในขณะที่ภาพรวมของโลกอยู่ที่ 7%         มาต่อที่ความพยายามในการพัฒนายาและวัคซีนของไทย จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าในส่วนของการพัฒนาวัคซีนมีหลายหน่วยงานที่เริ่มเดินหน้า และที่มีความคืบหน้าไปมากคือการวิจัยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย “ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม” ผอ.พัฒนาวัคซีนโควิด-19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า จุฬาฯ ได้เลือกเทคโนโลยี mRNA ที่ใช้เอสโปรตีน (s protein) ทั้งตัว จากการทดลองในหนูพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ผลดี และเริ่มฉีดให้กับสัตว์ใหญ่ไปแล้วเมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจะรอประมาณ 4-6 สัปดาห์ถึงจะเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันโควิด-19 อีกครั้ง          หากได้ผลดีก็จะเริ่มทดลองในมนุษย์ โดยแบ่งออกเป็น 3 เฟส         เฟสแรกเป็นกลุ่มอาสาสมัครที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฯ ต่ำ ประมาณ 100 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 10-15 คน โดยให้วัคซีนในโดสที่แตกต่างกัน แบ่งเป็นขนาดสูง กลาง ต่ำ         เฟสที่ 2 เป็นกลุ่มอาสาสมัครที่มีทั้งความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนา 2019 สูง และต่ำ ประมาณ 500 กว่าคน         และเฟสที่ 3 ใช้อาสาสมัครที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง และบางส่วนต้องใช้อาสาสมัครที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการติดเชื้อด้วย โดยใช้อาสาสมัครประมาณหลักพันคน          อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้ได้ประสานโรงงานผลิตวัคซีน mRNA 2 แห่ง คือ บริษัทไบโอเนท สหรัฐอเมริกา และไบโอเนทเยอรมัน เพื่อผลิตวัคซีนจำนวน 10,000 โดส สำหรับใช้ในการทดลองในกลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้ต่อไป  หากได้ผลดีจริงคาดว่าจะสามารถทดลองในคนได้ราวเดือนพฤศจิกายน 2563 และถ้าได้ผลดีตามแผนที่วางไว้ประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนได้เองราวปลายปี 2564           ขณะที่ นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผอ.องค์การเภสัชกรรม ได้เปิดเผยถึงความร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อการวิจัยพัฒนาวัคซีนต้นแบบ โดยให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ต้นแบบ 2 ชนิด คือชนิดวัคซีนอนุภาคเหมือนไวรัส (Virus-like particle) โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และชนิดวัคซีนโปรตีนซับยูนิต (Subunit vaccine) โดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งวัคซีนทั้ง 2 ชนิดใช้เทคโนโลยีการใช้เซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งหากวัคซีนต้นแบบสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ อภ.จะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาเพื่อพัฒนาต่อในการขยายขนาดการผลิตเป็นวัคซีนตามมาตรฐาน GMP สำหรับใช้ในการทดสอบทางคลินิกต่อไป         นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เพื่อวิจัยพัฒนาวัคซีนชนิดเชื้อตายจากการตัดต่อยีนของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ SARS-CoV2 เข้าไปในยีนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Inactivated influenza virus-based COVID-19 vaccine) เพื่อเป็นเชื้อไวรัสตั้งต้น หากสำเร็จจะนำเชื้อไวรัสตั้งต้นนี้ผลิตเป็นวัคซีนโดยใช้เทคโนโลยีการใช้ไข่ไก่ฟักของอภ. ที่ใช้ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่อยู่เดิม เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาทางคลินิกต่อไป โดยคาดว่าจะทราบผลเบื้องต้นของการวิจัยพัฒนาวัคซีนทั้ง 3 ชนิดในปลายปี 2563          ส่วนเรื่องการสำรองยาไว้รักษาโรคนั้น “ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฏกกุล” ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม ระบุว่าได้สำรองยาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคโควิด-19 รวม 7 รายการ  คือ        1.ยาคลอโรควิน        2.ยาต้านไวรัสเอชไอวีสูตรผสมโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์        3.ยาต้านไวรัสเอชไอวีดารุนาเวียร์        4.ยาต้านไวรัสเอชไอวีริโทนาเวียร์        5.ยาอะซิโทรมัยซิน          6.ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน และ        7. ยาฟาร์วิพิราเวียร์         ภญ.นันทกาญจน์ บอกอีกว่ายังอยู่ระหว่างการศึกษาพัฒนายาฟาร์วิพิราเวียร์ โดยนำเข้าวัตถุดิบมาพัฒนาเป็นยาเม็ดผลิตขึ้นเอง คาดว่าจะผลิตกึ่งอุตสาหกรรมได้ในต้นปี 2564 ก่อนศึกษาการคงตัวและการละลายของยาเปรียบเทียบกับยาต้นแบบ นำไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมประสิทธิผลด้านชีวสมมูลต่อในกลุ่มอาสาสมัคร และคาดว่าปลายปี 2564 น่าจะพร้อมยื่นขอขึ้นทะเบียนยา และผลิตได้ต้นปี 2565             สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 นั้น ขณะนี้มีหลายประเทศพัฒนา ทั้งจีน ยุโรป อเมริกา ส่วนไทยเองมีหลายหน่วยงานที่อยู่ระหว่างการพัฒนา อาทิ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ทางสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ยังเตรียมความพร้อมและเตรียมเข้ามาประเมินความพร้อมของหน่วยงานต่างๆ ว่ามีความสามารถในการผลิตวัคซีนหรือไม่ อย่างไร โดยการผลิตอาจจะเป็นการซื้อวัตถุดิบมาแบ่งบรรจุ หรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศผู้พัฒนาก็ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 232 การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ป้องกัน COVID-19 ได้จริงหรือไม่

        มีการถามและแชร์กันว่า การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะช่วยป้องกัน COVID-19 ได้ รวมทั้งผู้ที่เคยฉีดวัคซีน BCG (วัคซีนป้องกันวัณโรค) ก็จะเป็นโควิด-19 น้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยรับการฉีด จริงหรือไม่ เรามารู้เท่าทันกันเถอะ โควิด-19 เหมือนและต่างกับไข้หวัดใหญ่อย่างไร        อย่างแรก ทั้งโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ก่อโรคทางเดินหายใจเหมือนกัน มีอาการตั้งแต่ ไม่มีอาการอะไรเลย อาการเล็กน้อย จนกระทั่งรุนแรงและเสียชีวิต อย่างที่สอง ไวรัสทั้งสองชนิดติดต่อทางการสัมผัส ละอองของเหลวจากการไอ จาม         ไข้หวัดใหญ่จะมีระยะฟักตัวของเชื้อและเกิดอาการสั้นกว่าโควิด-19 (ระยะติดเชื้อและเกิดอาการของไข้หวัดใหญ่ ประมาณ 3 วัน ในขณะที่โควิด-19 ประมาณ 5-6 วัน) ซึ่งหมายความว่า ไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่า          นอกจากนี้ โควิด-19 มีอัตราการตายร้อยละ 1-5 ซึ่งมากกว่าไข้หวัดใหญ่ที่อัตราการตายน้อยกว่าร้อยละ 0.5 แต่ในช่วงฤดูหนาว ไข้หวัดใหญ่สามารถติดเชื้อในประชากรได้เป็นจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของประชากร วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่        องค์การอนามัยโลกยืนยันว่า วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ เนื่องจากเป็นไวรัสที่กลายพันธุ์ จึงต้องมีวัคซีนเฉพาะ         แต่ถึงแม้ว่า วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะไม่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ แต่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อ ลดการตายและการอยู่ในโรงพยาบาลจากไข้หวัดใหญ่ หญิงตั้งครรภ์ เด็ก ผู้สูงอายุ มีโรคเรื้อรัง บุคลากรทางการแพทย์ การลดผู้ป่วยลงทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีเวลาเหลือพอในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 วัคซีนบีซีจีลดการติดเชื้อโควิด-19 ได้จริงหรือไม่        องค์การอนามัยโลกยืนยันว่า ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าวัคซีนบีซีจีป้องกันผู้คนจากการติดเชื้อโควิด-19โดยเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2563 องค์การอนามัยโลกได้ทบทวนฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สำคัญๆ และงานวิจัยทางคลินิก ที่นักวิจัยอ้างว่า ในประเทศที่มีการให้วัคซีนบีซีจีในเด็กแรกเกิด จะพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ต่ำกว่าประเทศที่ไม่ได้ให้วัคซีนบีซีจี ซึ่งพบว่า มีปัจจัยรบกวนที่มีอคติ ทำให้ผลการวิจัยไม่น่าเชื่อถือ การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำ ช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่         ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า การล้างจมูกเป็นประจำด้วยน้ำเกลือจะสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ แต่มีหลักฐานบ้างว่า การล้างจมูกดังกล่าวสามารถช่วยให้ผู้ที่เป็นไข้หวัดธรรมดาฟื้นตัวเร็วขึ้น แต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ การกินกระเทียมช่วยป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่        แม้ว่ากระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์และมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานว่า การกินกระเทียมจะช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้         สรุป  วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และบีซีจี ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ แต่การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแน่นอน ป้องกันไม่ให้เราป่วยจากไข้หวัดใหญ่ และลดภาระงานของแพทย์ พยาบาล ในการดูแลผู้ป่วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 232 แนวใหม่ของวัคซีน: กรณี Covid-19

        สิ่งที่บุคคลากรด้านการแพทย์ต้องการไว้ในมือเพื่อต่อสู้กับ Covid-19 คือ ยาบำบัดเชื้อและวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ในกรณีของยาบำบัดเชื้อนั้นปัจจุบันยังไม่มียาที่ชะงัดจริงๆ ชนิดชุดเดียวจบ แต่ก็มียาที่สามารถนำมาใช้โดยเทียบเคียงในการแก้ปัญหาที่เกิดจากไวรัสอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาที่ไปยับยั้งการเพิ่มปริมาณกรดนิวคลิอิกที่เป็นหน่วยพันธุกรรมของไวรัส เพื่อขัดขวางการเพิ่มปริมาณของไวรัสแล้วทำให้การติดเชื้อจบลง ส่วนวัคซีนนั้นมักเกี่ยวกับการลดการระบาดของเชื้อสู่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อหรือเพิ่งเริ่มติดเชื้อ เพราะวัคซีนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาจัดการกับไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย ในฉลาดซื้อฉบับนี้ผู้เขียนขอนำเรื่องของวัคซีนที่กำลังถูกพัฒนาในแนวใหม่  ซึ่งดูว่าน่าจะดีกว่าวัคซีนในลักษณะเดิมๆ ในบางมิติ         วัคซีนนั้นโดยทั่วไปแล้วเป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ถูกทำให้ตายหรืออ่อนฤทธิ์ลง บ้างก็ใช้เพียงบางส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ (เช่นผนังเซลล์) หรืออยู่ในลักษณะของท็อกซอยด์ (toxoid คือสารพิษจากจุลินทรีย์ที่ถูกทำให้หมดฤทธิ์) เป็นต้น คุณสมบัติของวัคซีนที่สำคัญคือ เป็นโปรตีนที่มีศักยภาพเป็น แอนติเจน (antigen) ซึ่งเมื่อถูกฉีดเข้าสู่ร่างกายคนหรือสัตว์แล้วจะชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งที่เป็นเม็ดเลือดขาว (white blood cells) ที่จัดการกับจุลินทรีย์โดยตรงและเม็ดเลือดขาวที่สร้างโปรตีนที่เรียกว่า แอนติบอดี (antibody) ที่สามารถจับตัวกับบางส่วนของจุลินทรีย์แล้วส่งผลให้เกิดกระบวนการทำลายจุลินทรีย์นั้น ๆ นอกจากนี้หน้าที่ที่สำคัญของวัคซีนอีกประการคือ การกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ชนิด memory cell ที่สามารถจำจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกัน โดยเซลล์ลักษณะนี้มักอยู่ได้นานในระบบเลือดเพื่อเตรียมพร้อมในการต่อสู้กับจุลินทรีย์ที่อาจเข้าสู่ร่างกาย แต่นานเพียงใดนั้นมีหลายปัจจัยเป็นตัวกำหนด         ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นมักมีความจำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ แต่ก็มีบ้างเช่นกันที่ภูมิคุ้มกันนั้นสามารถป้องกันสิ่งแปลกปลอมอื่น เช่น เชื้อโรคที่มีความคล้ายกับเชื้อที่เป็นเป้าของวัคซีนที่เข้าสู่หรือเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นในร่างกายเช่น เซลล์มะเร็ง ในลักษณะดังกล่าวนี้วัคซีนทำหน้าที่กระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิดที่ทำหน้าที่เก็บกวาดทุกอย่างที่เป็นสิ่งแปลกปลอมที่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ ตัวอย่างที่มีการพูดถึงในประเด็นนี้คือ วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG ซึ่งเด็กในชาติกำลังพัฒนาได้รับเพื่อป้องกันวัณโรคทุกคน) ได้ถูกกล่าวถึงว่า วัคซีนนี้มีส่วนทำให้ประเทศยากจนติด covid-19 น้อยและไม่รุนแรงเท่าคนในประเทศพัฒนาแล้ว         การผลิตวัคซีนเพื่อต่อต้านการติดเชื้อ covid-19 นั้น มีบริษัทยาและมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกหลายแห่งได้แข่งกันทำ เพราะผู้ที่ทำได้สำเร็จก่อนย่อมได้ชื่อว่า ช่วยให้ประชากรโลกรอดตายได้เร็วขึ้นพร้อมทั้งรายได้มหาศาลที่ตามมา ข้อมูล ณ วันที่ 8 เมษายน 2563 กล่าวว่า มีวัคซีนราว 78 ชนิดที่อยู่ในขั้นตอนการศึกษา ซึ่งอย่างน้อย 5 ชนิดเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการทดลองในคน โดยวัคซีนที่อาศัยเทคนิคการใช้หน่วยพันธุกรรมหรือกรดนิวคลิอิกของไวรัสเป็นแนวทางในการผลิตนั้นดูน่าสนใจที่สุด         ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตกล่าวว่า บริษัทหนึ่งชื่อ Novavax ได้ใช้วิธีการทางด้าน genetic recombination โดยเริ่มจากการหาตำแหน่งของหน่วยพันธุกรรมของไวรัสที่เป็นตัวสร้าง ตุ่มโปรตีน (spike protein) บนผิวของไวรัสซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า นอกจากมีบทบาทในการเข้าสู่เซลล์ของร่างกายแล้วยังน่าจะมีบทบาทในการกระตุ้นภูมิต้านทานของผู้ที่ติดเชื้อไวรัส ชิ้นส่วนพันธุกรรมดังกล่าวนั้นได้ถูกสร้างในรูป DNA (deoxyribonucleic acid) plasmid แล้วนำใส่เข้าไปในเซลล์ของแบคทีเรียหรือยีสต์ที่เหมาะสมเพื่อช่วยในการผลิตโปรตีนที่เป็นตุ่มบนผิวของไวรัสออกมาในปริมาณมาก เพื่อนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิต้านในผู้ที่ยังไม่ป่วย         ในลักษณะที่คล้ายกันคือ การใช้หน่วยพันธุกรรมชนิด RNA (ribonucleic acid) เป็นแนวทางในการผลิตวัคซีนและได้รับอนุญาตให้เริ่มมีการทดสอบในคนเป็นทีมแรกแล้วคือ วัคซีนของบริษัท Moderna ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทที่เคยพยายามผลิตวัคซีนเกี่ยวกับโรค severe acute respiratory syndrome (SARS) และ Middle East respiratory syndrome (MERS) มาแล้ว        ในเว็บของ Moderna กล่าวว่านักวิจัยของบริษัทร่วมกับสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติ (The National Institute of Allergy and Infectious Diseases หรือ NIAID) ได้ทำการศึกษาจนรู้ลำดับของกรดอะมิโนที่ประกอบขึ้นเป็นตุ่มโปรตีนบนผิวไวรัส จากนั้นได้ใช้ความรู้พื้นฐานทางชีวเคมีประเมินว่า รหัสพันธุกรรมที่ควรปรากฏอยู่บน RNA (หรือถ้าจะพูดให้ชัดคือ mRNA) นั้นควรมีการเรียงตัวเช่นไร แล้วจึงทำการสังเคราะห์สาย mRNA ที่ต้องการขึ้นมาในห้องปฏิบัติการ ซึ่งคงต้องเติมยีนกระตุ้นการทำงาน (promoter gene) ของ mRNA (ในลักษณะเดียวกันกับการใช้ CaMV P-35S ช่วยในการผลิตสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือ GMO) ที่สามารถบังคับให้เกิดการถอดระหัสของ mRNA หลังจากเข้าสู่เซลล์ของร่างกายเพื่อให้ได้โปรตีนที่มีเอกลักษณ์ตรงกับตุ่มโปรตีนบนผิวไวรัส โดยที่ mRNA นี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของวัคซีน จึงเรียกกันว่า mRNA vaccine ซึ่งมีระหัสว่า mRNA-1273 (ในความเป็นจริงมีบริษัทอื่น เช่น CureVac ในเมืองบอสตันที่อ้างว่ากำลังผลิต mRNA vaccine เช่นกัน เพียงแต่ไม่ได้ให้รายละเอียดดังเช่นที่ Moderna ให้ไว้ในเว็บของบริษัท) โดยข้อดีของ mRNA วัคซีนคือ ตัว mRNA จะถูกทำลายทิ้งในที่สุดหลังจากปิดงานในลักษณะเดียวกับที่เกิดต่อ mRNA ของคน (และสัตว์) ทั่วไป         ในการทดสอบประสิทธิผลของวัคซีนนั้น NIAID เป็นผู้รับผิดชอบในการอนุญาตให้ Moderna ได้สิทธิข้ามขั้นตอนเพื่อเริ่มทำการทดลองวัคซีนในคนได้อย่างเร่งด่วน เพื่อดูว่าวัคซีนก่อปัญหาสุขภาพแก่อาสาสมัครและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสหรือไม่ วัคซีนของ Moderna ได้เริ่มทดสอบแล้วที่สถาบันวิจัยด้านสาธารณสุุข Kaiser Permanente Washington ในนครซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน เมื่อวันจันทร์ 16 มีนาคม 2020 โดยอาจมีวัคซีนของบริษัทอื่นดำเนินการตามในไม่ช้า         การทดลองวัคซีน mRNA-1273 ขั้นตอนที่ 1 นั้นนำทีมโดยแพทย์หญิงลิซา แจ็คสัน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างผู้ชายและผู้หญิง (ที่ไม่ตั้งครรภ์) อายุระหว่าง 18-55 ปี จำนวน 45 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับวัคซีนในปริมาณที่แตกต่างกัน คือ 25, 100 หรือ 250 ไมโครกรัม สองเข็มในระยะเวลาห่างกัน 28 วัน จากนั้นจึงดูผลด้านความปลอดภัยและการตอบสนองต่อวัคซีน (การสร้างภูมิคุ้มกัน) นาน 1 ปี ผู้ที่สนใจในรายละเอียดของปฏิบัติการนี้สามารถอ่านดูได้ที่ https://www.niaid.nih.gov/news-events/nih-clinical-trial-investigational-vaccine-covid-19-begins         มีข้อมูลว่าสำนักข่าว CNN ได้สัมภาษณ์อาสาสมัครทั้งชายและหญิงที่เข้าร่วมการทดลองครั้งนี้พบว่า อาสาสมัครต่างสบายใจที่ทราบว่าในวัคซีนนั้นไม่ได้มีเชื้อไวรัสจริง แต่มีเพียงสิ่งที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสิ่งนั้นจะมีส่วนในการสร้างโปรตีนที่เหมือนกับโปรตีนซึ่งอยู่บนผิวของไวรัสออกมา เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำลายโปรตีนนั้น ซึ่งจะส่งผลให้ไวรัสที่มีอยู่ในร่างกายถูกทำลายในที่สุด         ตามหลักการทั่วไปแล้วก่อนมีการทดลองยาหรือวัคซีนในคนนั้น จำต้องเริ่มต้นทดสอบในสัตว์ทดลองก่อน เพื่อดูขนาดที่เหมาะสมของยาหรือวัคซีนพร้อมดูความเสี่ยงในการก่ออันตรายต่อสิ่งมีชีวิต รวมถึงการตรวจวัดด้านเภสัชจลศาสตร์เพื่อดูว่า การดูดซึม การกระจายตัว และการขับออกจากร่างกายเป็นอย่างไรในสัตว์ทดลอง จากนั้นจึงเริ่มทดสอบในคนซึ่งขั้นตอนแรกมักใช้อาสาสมัครที่มีสุขภาพดีราว 20-80 คน เพื่อทดสอบความปลอดภัยและตรวจสอบผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น จากนั้นจึงเข้าขั้นตอนที่สองซึ่งใช้อาสาสมัคร 30-300 คน ซึ่งบางครั้งอาจใช้อาสาสมัครที่อยู่ในส่วนของโลกที่ได้รับผลกระทบจากโรคนั้นเลยเพื่อวัดประสิทธิภาพของวัคซีนในสภาวะจริงไปด้วย จากนั้นในขั้นตอนที่สามซึ่งเป็นการทำเหมือนขั้นตอนที่สองแต่ใช้อาสาสมัครประมาณ 1000-3000 คน เมื่อการทดสอบสำเร็จสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะเป็นผู้ประเมินผลว่าวัคซีนนั้นได้ผลหรือไม่ นอกจากนี้อาจมีขั้นตอนที่สี่ซึ่งไม่บังคับแต่เป็นการทำหลังวัคซีนออกสู่ตลาดแล้วโดยเป็นการเก็บข้อมูงในกลุ่มคนเฉพาะเช่น คนท้อง เด็ก ผู้สูงวัย ฯ เพื่อให้ได้ข้อมูลทางเทคนิคที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค เช่น ผลข้างเคียงในคนบางกลุ่ม อายุของยาหรือวัคซีนหลังการผลิต เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 229 โควิด 19 โรคอุบัติใหม่

        การระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งต่อมาองค์การอนามัยโลกกำหนดชื่อไวรัสว่า SARS CoV-2 และชื่อโรคว่าโควิด 19 (CoVID -19) นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญยิ่งแห่งยุคสมัย การระบาดของเชื้อไวรัสที่มีแหล่งกำเนิดจากค้างคาวนี้มีจุดกำเนิดมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ตั้งแต่ธันวาคม ค.ศ. 2019  จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งได้แพร่ระบาดใหญ่ไปแล้วเกือบทั่วโลกอย่างรวดเร็ว   รวมแล้วไม่น้อยกว่า   189 ประเทศ แม้ประเทศจีนซึ่งเป็นจุดเริ่มของการระบาด จะสามารถควบคุมโรคได้แล้ว ทว่าการระบาดในประเทศอื่นๆ หลายประเทศกลับมีความรุนแรงมากขึ้น มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 330,000 คน เสียชีวิต มากกว่า 14,000 คน  ทั้งนี้เพราะไวรัสมีความสามารถในการแพร่เชื้อ มีความทนทานสภาวะแวดล้อมเมื่ออยู่นอกเซลล์ ทั้งในอากาศ และบนพิ้นผิววัตถุต่างๆ   นับว่า โควิด 19 ได้สร้างส่งผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติอย่างกว้างขวาง ทั้งด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และสังคม  จนเป็นที่หวาดวิตกว่า กว่าจะค้นพบยาและวัคซีนป้องกันและรักษาโรคได้อาจมีความสูญเสียอย่างมาก         การจะรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสชนิดใหม่นี้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากหน่วยงานของรัฐจะต้องมีมาตรการที่เหมาะสม ทันสถานการณ์ และปฎิบัติอย่างจริงจังรอบด้านแล้ว ประชาชนจะต้องมีความรู้ที่ถูกต้อง และให้ร่วมมือปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันตนเอง ครอบครัว และสังคมส่วนรวมด้วยอย่างรับผิดชอบ จึงจะสามารถคลี่คลายสถานการณ์โรคระบาดใหญ่ครั้งนี้ได้โดยมีความสูญเสียไม่มากนัก  แต่เป็นที่น่าสลดใจว่า ความสูญเสียบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนจำนวนมาก ได้เกิดขึ้นในหลายประเทศ ที่จัดว่ามีระบบสาธารณสุขที่ดี มีเทคโนโลยีทันสมัยแล้ว          สำหรับประเทศไทย ระยะแรกสามารถชะลอการแพร่กระจายของไวรัสได้ดี จำนวนผู้ติดเชื้อเพียงหลักสิบคน และผู้เสียชีวิต 1 คน มีจำนวนคงที่เป็นเวลามากกว่า 2 เดือน แต่จากการอนุญาตให้มีกิจกรรมมวยที่มีผู้ร่วมงานนับหมื่นคน ประกอบกับการแพร่เชื้อจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพียงรายเดียว  เป็นจุดตั้งต้นของการแพร่เชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหลายร้อยคนอย่างรวดเร็ว จนทำให้ต้องมีมาตรการปิดสถานบันเทิง ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน มหาวิทยาลัย ตามมา  ไวรัส คืออะไร         ไวรัสเป็นสิ่งไม่มีชีวิตขนาดเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น  แต่ไวรัสไม่จัดเป็นเซลล์เพราะขาดองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการ เช่น ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นต้น  ไวรัสจึงมีสถานะเป็นเพียงอนุภาคขนาดเล็กมาก เล็กกว่าแบคทีเรียหลายเท่า มีขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 20-300 นาโนเมตรขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัส         การที่ไวรัสเป็นเพียงอนุภาคเล็กๆ จึงไม่สามารถอยู่เป็นอิสระได้  จะต้องอาศัยอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอย่างจำเพาะเท่านั้น เช่น ไวรัสพืชต้องอาศัยในเซลล์พืช ไวรัสสัตว์ต้องอาศัยอยู่ในเซลล์สัตว์ ไม่สามารถเพิ่มจำนวนประชากรได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยกลไกต่างๆ ของเซลล์เจ้าบ้านที่ไวรัสไปอาศัยอยู่เป็นกลไกสำคัญ ทั้งนี้เพราะไวรัส มีองค์ประกอบเพียงสารพันธุกรรมชนิดดีเอ็นเอ หรืออาร์เอ็นเอ  อาจถูกห่อหุ้ม ด้วยโปรตีนหน่วยย่อยที่รวมกันอยู่เป็นแคพซิด (capsid) นอกจากนี้ไวรัสบางชนิดอาจมีเยื่อหุ้มบางๆ ซึ่งเป็นสารพวกไลโปโปรตีนหรือไกลโคโปรตีน ที่ไวรัสได้จากเซลล์เจ้าบ้านที่ไวรัสไปอาศัย ห่อหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่งเท่านั้น         สำหรับ SARS CoV- 2 จัดอยู่ในกลุ่มโคโรนาไวรัส เป็นสมาชิกในกลุ่มเดียวกับไวรัสก่อโรคระบบทางเดินหายใจที่เคยระบาดใหญ่มาก่อน คือ ซาร์ส ( SARS) และเมอร์ส ( MERS) ซึ่งเชื้อล้วนมีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว แล้วแพร่ผ่านสัตว์ตัวกลางมาสู่คน เช่นเดียวกัน โดยทั่วไป ไวรัสแต่ละชนิดต้องอาศัยเซลล์เจ้าบ้านที่จำเพาะเจาะจงดังกล่าวแล้ว ดังนั้นตามปกติไวรัสไม่มีการก่อโรคในสัตว์ข้ามชนิดกัน  แต่อาจมีกรณีพิเศษเกิดการปรับตัวกลายพันธุ์ ทำให้มีการติดเชื้อข้ามกลุ่มจากสัตว์มาสู่คนได้ ตัวอย่าง เช่น ไข้หวัดนก เอชไอวี และซาร์ เมอร์ เป็นต้น         โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือ  SARS CoV- 2 ที่ทำให้เกิดโรคโควิด- 19  มีขนาดเพียงประมาณ 0.125 ไมครอนหรือ 125 นาโนเมตร  มีสารพันธุกรรม เป็น  อาร์เอ็นเอสายบวก ซึ่งจะสามารถแปลรหัสสร้างกรดอะมิโนและโปรตีนได้โดยตรง ทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ปัจจุบัน(เท่าที่มีข้อมูล) พบว่าไวรัสเกิดการกลายพันธุ์เป็น 2 สายพันธุ์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการก่อโรคแตกต่างกัน ให้ชื่อว่า ชนิดเอส ( Serine) และชนิดแอล ( Leucine) ตามชนิดของกรดอะมิโนที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากการกลายพันธุ์ของจีโนม แนวโน้มสถานการณ์         องค์การอนามัยโลก ยกระดับการระบาดของโควิด 19 ให้เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก   นักระบาดวิทยาประเมินสถานการณ์ว่า  ไวรัสคงแพร่ระบาดอีกไม่น้อยกว่า 1 ปี จนทำให้มีคนติดเชื้อจำนวนมาก แล้วมีภูมิคุ้มกันกลุ่มเกิดขึ้น ทำให้คนมีภูมิต้านทาน  ดังนั้นไวรัสจะถูกยับยั้งได้ หรือถ้าสามารถค้นพบวัคซีนได้รวดเร็ว ก็จะช่วยลดระยะเวลาการระบาดให้สั้นลงได้         ในเมื่อมีแนวโน้มว่า ประชาชนคงต้องอยู่เผชิญกับโรคโควิด 19 กันอีกเป็นเวลานานพอสมควร ประชาชนจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในประเด็นที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง             -          ความทนทานของไวรัส มีรายงานการทดลองล่าสุดว่า ไวรัส SARS CoV- 2 มีความทนทานสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างอิสระในอากาศได้ 2 -8 ชั่วโมง และอยู่บนพื้นผิววัสดุชนิดพลาสติก เหล็ก ทองแดง กระดาษได้นานประมาณ 9 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และความชื้น ดังนั้น ทำให้ไวรัสสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ             -          ระยะเวลาฟักตัว ประมาณ 2- 14 วัน พบในบางราย มีระยะฟักตัวนาน  21 วัน และ 28 วัน ซึ่งคงเนื่องมาจาก ปริมาณเชื้อเริ่มต้นที่ผู้ป่วยได้รับว่ามีมากน้อยเพียงใด และเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางไหน             -          ความสามารถในการแพร่เชื้อ จากการประมวลผล การแพร่ระบาดในประเทศจีน พบว่า ผู้ติดเชื้อที่ยังไม่มีอาการใดๆ คือยังอยู่ในระยะฟักตัว สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้แล้วในอัตรา RO  1.6 ทุกๆ 5.4 วัน ซึ่งเป็นความสามารถแพร่เชื้อได้ดี             -          การก่อโรคของไวรัสโควิด 19  แม้ว่าไวรัสจะมีระยะฟักตัวหลายวัน แต่ค้นพบว่า ไวรัสเข้าสู่เซลล์เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอนุภาคของไวรัสจะจับกับตำแหน่งตัวรับจำเพาะที่อยู่บนเซลล์เจ้าบ้านเช่น เซลล์ปอดได้อย่างดี แล้วเข้าไปชักนำให้เซลล์เจ้าบ้านมาสร้างสารพันธุกรรม และโปรตีนของไวรัสแทน ในปริมาณมาก จนได้ส่วนประกอบต่างๆ ของไวรัสจำนวนมาก เพื่อประกอบเป็นอานุภาคของไวรัสใหม่ๆ แล้วไวรัสจะออกจากเซลล์เดิมโดยนำเอาส่วนเยื่อหุ้มเซลล์ไปด้วย  ทำให้เซลล์เจ้าบ้านถูกทำลาย  ไวรัสก็จะไปเข้าสู่เซลล์ข้างเคียง แล้วทำลายเซลล์ต่อไปทำนองเดียวกัน  หากไม่สามารถยับยั้งกระบวนการนี้ อวัยวะเป้าหมายจะถูกทำลายมากขึ้นเรื่อยๆ             -          การติดเชื้อซ้ำ มีข้อสงสัยในประเด็นนี้ เพราะมีรายงานข่าวจากประเทศจีนว่า มีคนไข้บางราย ที่รักษาหาย ตรวจไม่พบกรดนิวคลิอิกของไวรัสแล้ว แต่หลังจากนั้นก็กลับมาป่วยใหม่ จึงมีข้อสงสัยและความเป็นไปได้ว่า                 o   คนไข้ติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์จากเชื้อเดิม หรือ                o   คนไข้ยังคงมีเชื้ออยู่ในร่างกาย แต่ตรวจไม่เจอ และไม่มีอาการป่วยแล้วระยะหนึ่ง จากนั้นไวรัสเพิ่มจำนวนมากขึ้นใหม่ วัคซีน เมื่อไหร่จะได้ใช้         จากเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้สามารถทราบสารพันธุกรรม องค์ประกอบของโปรตีน ลักษณะสามมิติ ตลอดจนวงจรชีวิต ของไวรัส SARS CoV- 2  อย่างรวดเร็ว การออกแบบพัฒนาวัคซีนจึงเป็นไปอย่างรวดเร็วมากเช่นกัน  โดยอาจมุ่งออกแบบวัคซีนเพื่อยับยั้งระยะการเข้าเซลล์ การสร้างโปรตีน หรือ การสังเคราะห์กรดนิวคลิอิก  เป็นต้น  ปัจจุบัน อย่างน้อย 3 ประเทศ คือ จีน สหรัฐอเมริกา และอิสราเอล  ประกาศว่าได้พัฒนาวัคซีนถึงขั้นทดลองในสัตว์ และคนได้แล้ว โดยจำแนกเป็นวัคซีน 3 ชนิด คือ วัคซีนเชื้อตาย  วัคซีนเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนกำลังลงโดยเทคนิคพันธุวิศวกรรม  และแมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ วัคซีน (mRNA vaccine)  แต่การใช้วัคซีนใดๆ จำเป็นต้อง ทำการทดสอบหลายขั้นตอน ทั้งประสิทธิภาพ และความปลอดภัย คาดว่าคงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี จึงจะสามารถประเมินผลได้ หากได้ผลดีจึงจะทำการผลิตในระดับอุตสาหกรรมต่อไป หากไม่ได้ผล ก็ต้องเริ่มต้นคัดเลือกโมเลกุลเพื่อพัฒนาเป็นวัคซีนใหม่ จึงต้องใช้เวลาเช่นกัน  ดังนั้นการจะรีบนำวัคซีนที่พัฒนาได้มาใช้ในคน โดยลัดขั้นตอนพิสูจน์ความปลอดภัย อาจทำให้เกิดผลเสียกับคนไข้ได้        สำหรับประเทศไทย มีการแถลงข่าว ลงนามความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย และภาคเอกชน เพื่อการพัฒนาวัตซีนโควิด 19 เช่นกัน จึงจะต้องติดตามความคืบหน้าต่อไป         ดังนั้น ในระยะนี้ ประเทศต่างๆ จึงได้พยายามทดสอบหายาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อ SARS CoV- 2 ต่อไป ที่ผ่านมา ได้มีการนำยาต้านไวรัสชนิดอื่นที่มีอยู่แล้ว เช่น ซาร์ส เอชไอวี หรือ ยาต้านมาลาเรีย มาทดลองใช้รักษาผู้ป่วยร่วมกับการรักษาตามอาการ แต่ปรากฏว่า ผลที่ได้ยังไม่ชัดเจน ยังต้องทำการทดลองต่อไป การกลายพันธุ์         โคโรนาไวรัส เป็นอาร์เอนเอไวรัสสายเดี่ยวดังได้กล่าวมาแล้ว ไวรัสจึงมีความสามารถกลายพันธุ์แบบ ไม่เจาะจง (random mutation) ได้มาก ในระหว่างการเพิ่มสารพันธุกรรมของไวรัสในเซลล์เจ้าบ้าน  แต่ส่วนใหญ่การกลายพันธุ์จะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของไวรัส เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอเพียงหนึ่งตำแหน่ง หรือไม่กี่ตำแหน่ง  และตำแหน่งที่กลายพันธุ์อาจไม่ส่งผลให้ชนิดของกรดอะมิโนเปลี่ยนแปลงก็ได้  ดังนั้นการกลายพันธุ์ที่ส่งผลให้คุณสมบัติไวรัสเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ต้องใช้เวลา และการปัจจัยที่เหมาะสม         การกลายพันธุ์อาจทำให้เชื้อก่อโรครุนแรงขี้น หรืออ่อนกำลังลงก็ได้ หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติในการก่อโรคก็ได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลง  จึงไม่ควรวิตกกังวลประเด็นนี้มากนัก เพราะถ้าไวรัสทำลายแหล่งอาศัยอย่างรุนแรง จนเสียชีวิตจำนวนมาก ไวรัสก็อาจมีแหล่งอาศัยน้อยลงด้วย   ตัวอย่าง ไวรัสเอชไอวีที่ก่อโรคเอดส์ แม้เชื้อจะกลายพันธุ์มากมายในคนไข้แต่ไม่ได้ก่อโรครุนแรงเพิ่มขึ้น  ทั้งๆ ที่ปัจจุบันเรายังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ใช้ คนไข้ที่กินยาต้านไวรัสก็สามารถมีชีวิตยืนยาวได้  ประชาชนจะรับมืออย่างไร            การแพร่ระบาดทั่วโลกของโควิด 19 ครั้งนี้เป็นบทเรียนครั้งสำคัญของมวลมนุษยชาติ ว่าพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมเพียงจุดเดียว สามารถนำเชื้อไวรัสในค้างคาวที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาก่อโรคในคน แล้วแพร่ระบาดไปตามเส้นทางการคมนาคมที่สะดวกสบายในปัจจุบัน จนมีคนติดเชื้อทั่วทุกทวีปภายในเวลาไม่เกิน 3 เดือน  ทั้งๆ ที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ได้มีมาตรการรับมืออย่างเต็มที่ภายใต้บริบทและทรัพยากรของประเทศเหล่านั้น แต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดได้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตของประชาชนอย่างกว้างขวาง          ในกรณีของประเทศไทย   ณ ปัจจุบัน การระบาดดำเนินมาถึงจุดสำคัญมากว่า จะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยลงได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จำนวนคนป่วย คนเสียชีวิต จะเพิ่มขึ้นเป็นหลักพันในเวลาอันใกล้นี้  ซึ่งการจะควบคุมสถานการณ์ให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนอย่างมาก          ประชาชนทั่วไปควรตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามคำแนะนำ อย่างเคร่งครัด และมีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้อย่างจริงจังเพื่อให้สามารถป้องกันตนเองและครอบครัวอย่างเหมาะสม เพราะว่าไวรัสนี้ จะแพร่กระจายติดต่อได้ง่าย ผู้ติดเชื้อไวรัสมีระยะเวลาในการฟักตัวนานประมาณ 2-14 วันเป็นส่วนใหญ่ หรือบางรายอาจถึง 27 วัน  ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่เข้าสู่ร่างกายครั้งแรกว่ามี มากน้อยเพียงใด  ไวรัสแพร่ออกจากร่างกายคนพร้อมสารคัดหลั่งต่างๆ โดยการ ไอ จาม  ของผู้ที่มีอาการแล้ว ในกรณีนี้ เราจะระมัดระวังได้ง่ายกว่าพวกที่ยังไม่มีอาการ        พึงตระหนักว่า ไวรัสแพร่จากร่างกายคนไม่มีอาการ หรืออยู่ในระยะฟักตัวได้  โดยที่ในระยะนี้ ไวรัสอาจอยู่บริเวณเยื่อเมือกบริเวณจมูก ปาก แล้วผู้ป่วยอาจสัมผัสร่างกายบริเวณนั้นๆ แล้วไปสัมผัสสิ่งของ วัตถุต่างๆ ซึ่งเราป้องกันการรับเชื้อได้โดยการล้างมือบ่อยๆ หลังจากไปสัมผัสสิ่งต่างๆ รอบตัว ไวรัสแพร่เชื้อจากคนสู่คน ดังนั้น การอยู่ในสถานที่ที่มีคนแออัด พลุกพล่าน ย่อมมีโอกาสรับเชื้อได้ง่าย จึงต้องหลีกเลี่ยงไม่ไปอยู่ในสถานที่เช่นนั้น   หากไม่ระมัดระวังอาจจะรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางจมูก ปาก ตา ผู้ป่วยส่วนใหญ่ 80 % อาการไม่รุนแรง  บางคนหายเองโดยภูมิต้านทานของตนเอง หรือเพียงแต่รักษาตามอาการ         ไวรัสก่อโรครุนแรง หากมีการติดเชื้อในปอด โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งตามรายงานปัจจุบันอยู่ที่ 4.23 % ผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อที่ปอด เมื่อหายแล้วพบว่ามียังรอยโรคที่ปอด ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมได้ ทำให้ปอดทำงานไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม ไวรัสมีผลต่อระบบประสาทของการรับรสชาติในผู้ป่วยบางราย         ดังนั้นแม้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง แต่เป็นผู้แพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นๆ ได้ดี ผู้ป่วยที่หายจากโรคแล้วอาจมีปัญหาสุขภาพบางประการตามมา  การป้องกันการติดเชื้อไวรัสนี้เป็นมาตรการที่ดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 202 การฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม ทำให้ลูกของเราเป็นออทิสติกจริงหรือ

ในต่างประเทศ มีการต่อต้านการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม และวัคซีนอื่นๆ ในเด็ก โดยเฉพาะในสายการแพทย์ทางเลือก เพราะเชื่อว่า จำนวนเด็กออทิสติกที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดจากการฉีดวัคซีนดังกล่าว เนื่องจากในวัคซีนนั้นมีสารปรอท(thimerosal) ซึ่งเป็นตัวการที่ไปทำลายเซลล์สมอง จริงหรือไม่ เรามารู้เท่าทันกันเถอะทำไมต้องใส่สารปรอทในวัคซีน มีการใช้สารปรอทในวัคซีนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1930 เพื่อช่วยรักษาความคงทนของวัคซีน  สารปรอทอาจทำให้ผิวหนังบริเวณที่ฉีดวัคซีนเกิดอาการแพ้ เป็นผื่นแดงและบวมเล็กน้อย  แม้จะไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า สารปรอทในวัคซีนก่อให้เกิดอันตราย แต่ในปี ค.ศ. 1999 หน่วยงานด้านการแพทย์แห่งชาติของอเมริกา สถาบันด้านเด็ก และโรงงานการผลิตวัคซีน ก็เห็นพ้องกันที่จะลดหรือไม่ใช้เพื่อความปลอดภัย สารปรอทนั้นพบได้ในธรรมชาติ ในดิน อากาศ และน้ำ สารปรอทที่มนุษย์สัมผัสเป็นประจำ ได้แก่ ปรอทเมทิล กับปรอทเอทิล  ปรอทเมทิลนั้นพบได้ในปลาบางชนิด ถ้าร่างกายกินปลาที่มีปรอท ร่างกายจะสะสมปรอทในปริมาณสูง จนเป็นพิษต่อร่างกาย ส่วนปรอทเอทิลนั้น ถูกขับออกจากร่างกายได้ง่าย จึงไม่ค่อยก่ออันตรายให้มนุษย์ สารปรอทในวัคซีนนั้นช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และเชื้อราในวัคซีน  เมื่อสารปรอทเข้าสู่ร่างกาย จะถูกเปลี่ยนเป็นปรอทเอทิลและขับออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว จึงไม่มีการสะสมจนมีระดับสูงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับวัคซีนกับการเกิดออทิสซึมในเด็ก จากความกังวลเรื่องสารปรอทในวัคซีนและจำนวนเด็กออทิสติกที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีงานวิจัยและการทบทวนงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องนี้  เราอาจสรุปงานวิจัยและการทบทวนได้ ดังนี้1. ในวารสาร “วัคซีน” ฉบับ 32 วันที่ 17 มิ.ย. 2014 น. 3263-3629 ได้ตีพิมพ์รายงานการทบทวนเอกสารงานวิจัยใน MEDLINE, PubMed, EMBASE, Google Scholar จนถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 2014  ได้ทำวิเคราะห์อภิมาณ การศึกษาแบบเหตุไปหาผล (Cohort study) 5 รายงาน ครอบคลุมเด็กจำนวน 1,256,407 ราย และการศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุม 5 รายงาน  สรุปผลได้ว่า การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หัด หัดเยอรมัน คางทูมนั้น ไม่มีผลต่อการเกิดออทิสซึมในเด็ก  รวมทั้งสารปรอทและวัคซีนไม่สัมพันธ์กับการเกิดออทิสซึมและอาการที่เกี่ยวพันกับออทิสซึม2. การทบทวนเอกสารจำนวน 139 รายงานของนักวิจัย ห้องสมุดคอเครน เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม ในเด็ก พบว่า วัคซีนช่วยป้องกันเด็กจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน พบการเกิดเลือดออกใต้ผิวหนัง อาการของหัด หัดเยอรมัน คางทูมน้อยมาก  ไม่พบหลักฐานว่าวัคซีนมีส่วนทำให้เกิดออทิสซึม3. วารสาร “Pedriatics” ฉบับเดือนกันยายน ค.ศ. 2004  พบว่า ไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างวัคซีนที่มีสารปรอท (thimerosal) กับการเกิดออทิสซึม4. ยังมีรายงานการวิจัยอีกมากที่สรุปยืนยันว่า วัคซีนดังกล่าวไม่มีผลต่อการเกิดออทิสซึมสรุป คุณพ่อคุณแม่คงสบายใจได้แล้วว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม ให้กับลูกหลานนั้น ไม่ทำให้เกิดออทิสซึมอย่างแน่นอน  เด็กออทิสติกที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นเพราะสาเหตุอื่น 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะทำให้เป็นโรคความจำเสื่อมจริงหรือ

หลายคนไม่กล้าฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เพราะกลัวว่าจะเกิดโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ เนื่องจากมีเว็บไซต์ของการแพทย์ทางเลือกหลายเว็บไซต์จากต่างประเทศกล่าวถึงผลข้างเคียงที่เกิดจากการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทำให้ผู้สูงอายุซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นไข้หวัดใหญ่ยอมเป็นไข้หวัดใหญ่ดีกว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่คืออะไรวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดปีละครั้ง และต้องฉีดทุกปี วัคซีนนี้ป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่กระทบต่อทางเดินหายใจส่วนบนเป็นหลัก ซึ่งมีอาการไข้ ไอ บวม และอาจเกิดอาการปอดอักเสบหรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า ปอดบวม  ทุกปีวัคซีนนี้ต้องคัดเชื้อที่คิดว่าจะเกิดการระบาดในปีนั้น และสามารถป้องกันเชื้อไข้หวัดได้ประมาณร้อยละ 70 เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีมากกว่า 200 สายพันธุ์วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ก่อให้เกิดอัลไซเมอร์จริงหรือ สมาคมอัลไซเมอร์แห่งอเมริกา แถลงว่า ความเข้าใจเรื่องวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่(หรือสารเคมีในวัคซีน) ก่อความเสี่ยงในการเกิดอัลไซเมอร์นั้น เป็นความหลงเชื่อที่ผิด และไม่เป็นความจริง เหตุที่เชื่อนั้นเพราะ วัคซีนจะมีสารปรอทซึ่งเป็นสารกันเสื่อมของวัคซีนบางชนิด(วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นการฉีดแค่ครั้งเดียว จึงไม่ต้องใช้สารนี้)  หน่วยงานควบคุมและป้องกันโรค ได้ทำการวิจัยและพบว่า ปริมาณของปรอทนั้นมีปริมาณน้อย และไม่มีอันตรายมากไปกว่าการบวมและแดงเล็กน้อยเมื่อฉีดวัคซีนงานวิจัยกลับบอกผลตรงกันข้ามจากการทบทวนงานวิจัยในหลายๆ ที่ พบว่า งานวิจัยในวารสาร Canadian Medical Journal ปีค.ศ. 2001 มีการวิจัยในประชากร 4, ราย  392 รายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัลไซเมอร์ มีความเสี่ยงลดลงสำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เช่นเดียวกับผู้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก หรือโปลิโอ  งานวิจัยนี้ไม่ได้บ่งชี้ว่า วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไม่ได้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอัลไซเมอร์ หรือผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนมีแนวโน้มการเกิดอัลไซเมอร์มากกว่ารายงานอีกเรื่องในวารสาร JAMA ค.ศ. 2004 พบว่า การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปีสำหรับผู้สูงอายุ สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงในการตายจากสาเหตุต่างๆ ทุกประเภท  ซึ่งในวารสาร Pubmed ได้นำบทคัดย่อไปเผยแพร่ในวารสารงานวิจัยอีกชิ้นที่น่าสนใจคือ การศึกษาล่าสุดในไต้หวัน ปีค.ศ. 2016 เป็นการศึกษาในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง จำนวน 11,943 ราย ในจำนวนนี้ มีผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ร้อยละ 48 และที่เหลืออีก 6,192 ราย ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่  พบว่า ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มีการลดลงของการเกิดโรคความจำเสื่อมโดยสรุป ความเชื่อเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะทำให้เกิดโรคความจำเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ นั้น ไม่พบหลักฐานทางวิชาการที่สนับสนุนความเชื่อดังกล่าว  ในทางตรงข้าม กลับพบว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่กลับมีความเสี่ยงและการเกิดโรคความจำเสื่อมและอัลไซเมอร์ลดลง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 190 ค้นหาคำตอบ ‘วัคซีน HVP’ ปลอดภัยหรือไม่? คุ้มค่าหรือไม่?

ร้อยละ 12 ของผู้หญิงทั่วโลกเป็นมะเร็งปากมดลูก 470,000 ราย คือ ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ที่เกิดขึ้นในแต่ละปี 233,000 ราย คือ ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ และร้อยละ 83 ของผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาในประเทศไทย ความรุนแรงของสถานการณ์มะเร็งปากมดลูกไม่ได้น้อยหน้าระดับโลก มันเป็นโรคภัยที่พบในผู้หญิงไทยบ่อยเป็นอันดับ 2 แต่คร่าชีวิตหญิงไทยสูงเป็นอันดับ 1 ในปี 2551 พบว่าอัตราการเป็นมะเร็งปากมดลูกของผู้หญิงไทยเท่ากับ 16.7 ต่อประชากร 100,000 คน เท่ากับว่าแต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่ 6,000 ราย และเสียชีวิตกว่า 2,000 รายต่อปี คุณค่าชีวิตที่สูญเสียประเมินค่าไม่ได้ ขณะที่มูลค่าของราคาที่ต้องจ่ายไปกับโรคนี้ก็มหาศาล ปัจจุบันก็ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผล ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ถ้าโรคอยู่ในระยะลุกลามแปลว่าอะไร? แปลว่าถ้าตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า ผู้หญิงไทยมีความรู้และยินยอมสละเวลาไปตรวจกันมากแค่ไหนด้วยตัวเลขที่น่าพรั่นพรึง หน่วยงานด้านสาธารณสุขของไทยจึงมองหาหนทางลดความสูญเสียจากมะเร็งปากมดลูก วัคซีน HPV เป็นหนึ่งในคำตอบที่ถูกหยิบขึ้นมาใช้พฤษภาคม 2559 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ภายใต้คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่กำหนดชนิดวัคซีนและตารางการให้วัคซีนที่เหมาะสมสำหรับประชากรไทย มีมติเห็นชอบแนะนำให้นำวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกมาใช้ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยเร็ว เนื่องจากเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง และเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2559 คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ก็มีมติเห็นชอบและให้บรรจุวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยถือเป็นวัคซีนตัวที่ 11 ในรอบ 17 ปีแต่ก่อนหน้านั้น กรุงเทพมหานครได้ริเริ่มโครงการให้บริการวัคซีนป้องกันเอชพีวีในโรงเรียนสังกัด กทม. ไปก่อนแล้วตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 โดยมีเด็กนักเรียนหญิงระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ในสังกัดกรุงเทพมหานครได้รับวัคซีน HPV ร้อยละ 98 สำหรับปีการศึกษา 2559 กรุงเทพฯ ได้ดำเนินโครงการไปเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559 มีนักเรียนหญิงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในสังกัดที่ได้รับบริการวัคซีนจำนวน 16,468 คนการใช้วัคซีน HVP ติดตามมาด้วยคำถามเรื่องความปลอดภัย จากกระแสข่าวการฟ้องร้องในประเทศญี่ปุ่น เพราะพบว่าเด็กที่ได้รับวัคซีนเกิดอาการอัมพาตอ่อนแรงและชัก กับอีกด้าน คือ ความคุ้มค่าของวัคซีนว่าราคาที่งบประมาณรัฐต้องจ่ายไปคุ้มกับสิ่งที่ได้คืนมาหรือไม่‘ฉลาดซื้อ’ ฉบับนี้จะไปค้นหาคำตอบสำหรับ 2 คำถามนี้องค์การอนามัยโลกรับรองวัคซีน HPV ปลอดภัยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ถูกใช้เป็นกรณีตัวอย่างประเด็นผลกระทบจากวัคซีน HPV เพราะมันถูกรัฐบาลประกาศให้ถูกรวมอยู่ในโปรแกรมฉีดวัคซีนพื้นฐานเพียง 3 เดือนเท่านั้น คือ เมษายน-มิถุนายน 2556 จากนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นก็เพิกถอนคำแนะนำ เนื่องจากมีรายงานและการร้องเรียนว่า มีผู้ได้รับผลกระทบหลังฉีดวัคซีนเข้าไป และช่วงกลางปีที่ผ่านมาผู้หญิงชาวญี่ปุ่น 64 คน ยื่นฟ้องรัฐบาลและผู้ผลิตวัคซีน HPV หลังได้รับผลข้างเคียงเป็นเงินคนละ 15 ล้านเยน และค่าเสียหายจะเพิ่มขึ้นอีกตามอาการข้างเคียงที่อาจปรากฏในภายหลังนี่เองที่ทำให้ภาคประชาสังคมและเอ็นจีโอไทยเฝ้าดูด้วยความวิตก นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพหรือไฮแทป (Health Intervention and Technology Assessment Program: HITAP) และอีกสถานะหนึ่ง คือ กรรมการด้านวิจัยและพัฒนาวัคซีนขององค์การอนามัยโลก ในฐานะนักพัฒนานโยบายและนักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ให้ข้อมูลกับเราว่า“ณ ข้อมูลปัจจุบันที่เป็นหลักฐานที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อถือ พบว่า ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าวัคซีนไม่มีความปลอดภัย”ทวนอีกรอบ ‘ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าวัคซีน HPV ไม่มีความปลอดภัย’ เราสอบถามกลับด้วยคำถามลักษณะเดียวกันว่า แล้วมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันได้หรือไม่ว่า ‘ปลอดภัย’ นพ.ยศ ตอบว่า“โดยหลักการยาหรือวัคซีนทุกตัวจะให้บอกว่าปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นไปไม่ได้ แน่นอน ทุกคนยอมรับว่าวัคซีนตัวนี้เมื่อฉีดไปแล้วมีอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่รุนแรงเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย แต่ถึงกับบอกว่าไม่ปลอดภัยและไม่ควรใช้ มันยังสรุปแบบนั้นไม่ได้ เพราะอาการไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่ที่เจอคือหน้ามืด เป็นลม วิงเวียน และพบเจอทั่วโลก และอาจมีอาการเจ็บปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งก็เป็นอาการทั่วไปของวัคซีน“แต่วัคซีนตัวนี้ยังไม่เจอผลข้างเคียงรุนแรง ถ้าจะสื่อสารกับประชาชนก็ต้องบอกว่า ณ ปัจจุบันนี้ 10 กว่าปีผ่านมาที่วัคซีนยังอยู่ในท้องตลาด ในทางวิทยาศาสตร์เรายังไม่สามารถสรุปได้ว่าวัคซีนไม่ปลอดภัย ถึงแม้ว่าจะเจอผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก”สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น นพ.ยศ อธิบายว่า ต้องเข้าใจก่อนว่าญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมความเชื่อในการต่อต้านวัคซีนที่ฝังอยู่ในสังคมญี่ปุ่นมาค่อนข้างนานแล้ว คนญี่ปุ่นจึงมักมีความรู้สึกกับวัคซีนในแง่ลบ เคยมีปัญหาวัคซีนหลายตัวในญี่ปุ่นที่คนขาดความเชื่อถือ เมื่อเกิดเรื่องกับวัคซันตัวใหม่อย่าง HPV ทำให้กระแสจุดติดได้ง่าย เพราะมีกลุ่มเอ็นจีโอและภาคประชาสังคมกลุ่มหนึ่งเฉพาะที่คอยต่อต้านวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนตัวไหนกลุ่มนี้ก็จะระแวงไว้ก่อน และทำให้การฟ้องร้องกรณีผลกระทบจากวัคซีนในญี่ปุ่นทำได้ง่าย เนื่องจากมีกลุ่มและระบบสนับสนุนจำนวนมาก“ที่ผมได้อ่านจากเอกสารวิชาการที่ตีพิมพ์ มีการสอบสวนโดยการไปดูเวชระเบียนของคนญี่ปุ่นที่มีปัญหาข้างเคียง ก็เจอว่ายังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นผลจากวัคซีน”นอกจากนี้ นพ.ยศ ยังได้ระบุว่า ปัจจุบันนี้ จุดยืนขององค์การอนามัยโลกถือว่าวัคซีนตัวนี้มีความปลอดภัยอย่างไรก็ตาม การที่จะรู้ว่ายาหรือวัคซีนตัวหนึ่งมีผลกระทบรุนแรงหรือไม่ ต้องอาศัยเวลายี่สิบถึงสามสี่ปีเป็นเครื่องพิสูจน์ นพ.ยศ แนะนำว่า หากประเทศไทยจะนำวัคซีน HPV มาใช้ ในแง่ความปลอดภัยไม่มีอะไรต้องวิตกกังวล แต่ก็ไม่ควรฝากชีวิตประชาชนไทยกับข้อมูลของต่างประเทศ รัฐบาลจึงควรสร้างระบบติดตามความปลอดภัยและประสิทธิผลของวัคซีนเชิงรุกที่เป็นข้อมูลของคนไทยวัคซีน HPV คุ้มค่า แต่ไม่คุ้มทุนเรื่องความปลอดภัยดูเหมือนจะเคลียร์แล้ว(ในระดับหนึ่ง) ส่วนคุ้มค่าหรือไม่ ต้องค้นหาคำตอบกันต่อโดยปกติแล้ว การจะบอกว่าการใช้เงินกับสิ่งใด คุ้มค่าหรือไม่ต้องมีสิ่งเปรียบเทียบ อดีตที่ผ่านมามีการศึกษาความคุ้มค่าของวัคซีน HPV อยู่หลายครั้ง ซึ่งบางครั้งก็เป็นการศึกษาโดยบริษัทยา เปรียบเทียบระหว่างฉีดกับไม่ฉีดวัคซีนและไม่ทำอะไรใดๆ ทั้งสิ้น ก็แน่นอนว่าด้วยลักษณะการเปรียบเทียบเช่นนี้ การฉีดวัคซีน HPV ย่อมคุ้มค่ากว่าแต่ของไฮแทป ศึกษาโดยเปรียบเทียบกับการตรวจคัดกรองเพื่อป้องกัน 3 วิธีที่เป็นที่นิยมและยอมรับในปัจจุบัน คือหนึ่ง-การทำ Pap Smear ซึ่งเป็นวิธีที่แพร่หลายในไทย โดยทำการตรวจภายในและป้ายเซลล์จากมดลูกป้ายสไลด์และส่งตรวจ วิธีนี้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว สอง-Wisual Inspection with Acetic acid หรือ VIA เป็นการใช้น้ำส้มสายชูป้ายปากมดลูกเพื่อดูว่ามีจุดสีขาวปรากฏขึ้นมาหรือไม่ ถ้ามี ก็ใช้ความเย็นจี้ทำลายเซลล์ที่เริ่มผิดปกติตั้งแต่เริ่มต้น และสุดท้าย-เป็นวิธีการตรวจที่เรียกว่า HPV DNA Test คือการนำเซลล์ปากมดลูกไปตรวจอย่างละเอียดในระดับพันธุกรรม ซึ่ง นพ.ยศ กล่าวว่า ทั้ง 3 วิธีนี้คุ้มทุนมากกว่าการฉีดวัคซีน แต่วัคซีนมีความคุ้มค่ากว่า สรุปคือวัคซีน HPV คุ้มค่า แต่ไม่คุ้มทุนอ่านถึงตรงนี้ คงเริ่มสับสนชีวิต นพ.ยศ อธิบายว่า “คุ้มค่าแปลว่า คุณยอมจ่ายของแพงกว่าเพื่อให้ได้ประโยชน์มากกว่า วัคซีน HPV มีประโยชน์มากกว่าการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกชนิด แต่แพงกว่า คำถามคือเมื่อมันดีกว่า แพงกว่า แล้วเมื่อไหร่จะคุ้ม ประเทศไทยได้ทำการศึกษาจนได้เกณฑ์ว่า ยาและวัคซีนจะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อใช้เงินไม่เกิน 160,000 บาทต่อ 1 ปีสุขภาวะ เพราะใช้เงินจำนวนนี้จะทำให้คนไทยอายุยืนยาวขึ้นอย่างสมบูรณ์ 1 ปีถือว่าคุ้ม เช่น ออกยาใหม่ อยากรู้ว่ายาใหม่คุ้มหรือไม่ ก็นำมาเทียบกับยาเดิม ถ้ายาใหม่ทำให้อายุคนไข้ยืนขึ้น 1 ปีและเป็น 1 ปีที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง เช่น เป็นโรคมะเร็ง คุณภาพชีวิตไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ สมมติว่าแค่ 50 เปอร์เซ็นต์ของคนทั่วไป อายุยืนขึ้น 1 ปีเท่ากับ 0.5 ปีสุขภาวะ ถ้าอายุยืนขึ้นแบบนี้ 2 ปีจึงจะเท่ากับ 1 ปีสุขภาวะ ถ้าใช้เงินไม่เกิน 160,000 บาททำให้อายุยืนขึ้น 2 ปีแบบที่มีคุณภาพชีวิตแค่ 50 เปอร์เซ็นต์ ก็เท่ากับคุ้มค่าในประเทศไทย ข้อมูลนี้มีประโยชน์ใช้เปรียบเทียบยากับทุกตัวได้ถ้าเทียบวัคซีนตัวนี้เทียบว่าแพงกว่าและดีกว่า อยู่ภายใต้ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะหรือไม่ ใช่ คือคุ้มค่าแล้ว แต่ไม่คุ้มทุนเป็นอย่างไร เนื่องจากวัคซีนอ้างว่าเมื่อฉีดวันนี้สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกในอนาคต แปลว่าในอนาคตเราต้องประหยัดเงินได้จากการรักษาโรคมะเร็ง แสดงว่าเรานำเงินที่ต้องจ่ายในอนาคตเพื่อรักษาโรคมะเร็งมาซื้อวัคซีนวันนี้ โดยที่เราไม่ต้องลงทุนเพิ่มขึ้น อย่างนี้ถือว่าคุ้มทุน แต่ ณ ราคาวันนี้ที่บริษัทเสนอให้ยังถือว่าไม่คุ้มทุน”ราคาวัคซีนที่บริษัทยาเสนอให้กับรัฐบาลตอนนี้คือ 375 บาทต่อเข็ม โดยจะต้องฉีด 3 เข็ม ซึ่งยังเป็นราคาที่ไม่คุ้มทุน แต่ราคาที่คุ้มทุนคือ 300 บาท เรื่องเกิดขึ้นขณะที่ทั้งฝ่ายเราและบริษัทยากำลังต่อรองราคากันอยู่นั้น รองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งกลับพูดในที่สาธารณะว่า ประเทศไทยต้องใช้วัคซีน HPV แน่นอน และนั่นทำให้การต่อรองราคาจบลงด้วยราคา 375 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ไม่คุ้มทุน“อาจจะเกิดการสับสนเวลาที่แพทย์หรือบริษัทยาบอกว่า โรคมะเร็งรักษาทีเป็นแสน แล้วทำไมการฉีดยาเข็มละ 375 บาทจึงไม่คุ้มทุน คำตอบคือสมมติว่าคนไทยทั้งประเทศป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ย 12 คนต่อ 100,000 คน ฉีดวัคซีนไปแสนคน เท่ากับคุณป้องกันไม่ให้ป่วยแค่ 12 คนเท่านั้น เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะเป็นมะเร็ง เราทำวิจัยและทั่วโลกก็ยืนยันเหมือนกัน ถ้าเราฉีดให้ทุกคน แล้วนำเวลาของอายุที่ยืนยาวขึ้นของคนไทยโดยเฉลี่ยหลังได้รับการฉีดวัคซีน อายุจะยืนยาวขึ้นเฉลี่ยแค่ 5-7 วันเท่านั้น ที่น้อยเพราะบางคนไม่ได้อายุยืนยาวขึ้น เนื่องจากไม่ว่าจะฉีดหรือไม่ฉีดทั้งชีวิตเขาก็ไม่ได้เป็นมะเร็งปากมดลูกอยู่แล้ว”เราแลกเปลี่ยนถกเถียงกับ นพ.ยศ ว่า แต่ถ้านับค่าเสียเวลา ค่าเสียโอกาส ค่าเดินทาง ที่ผู้หญิงจะต้องเดินทางไปตรวจคัดกรองด้วย 3 วิธีข้างต้นทุกๆ 5 ปี การฉีดวัคซีน HPV ก็ยังไม่ถือว่าคุ้มค่าและคุ้มทุนกว่าอย่างนั้นหรือ?“การฉีดสะดวกกว่า ไม่ต้องเสียเวลา เสียโอกาส แต่ผมอธิบายแบบนี้ สิ่งที่เรากลัวกันอยู่คือวัคซีนป้องกันได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น ทั่วโลกจึงแนะนำว่าเมื่อฉีดวัคซีนแล้วก็ต้องทำ 3 วิธีนี้เหมือนเดิมมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งชนิดที่ค่อยๆ เป็น ใช้เวลาประมาณ 10 ปีในการลุกลามจนกระทั่งรักษาไม่ได้ ดังนั้น จึงมีการแนะนำให้ตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 5 ปี ถ้าผู้หญิงไทยทุกคนทำ วัคซีนไม่จำเป็น แถมการตรวจยังดีกว่าด้วย เพราะป้องกันร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ประเด็นคือทุกวันนี้ผู้หญิงไทยไปตรวจกัน 60-70 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น พอเอาวัคซีนมาฉีดก็ป้องกันได้เหมือนเดิมคือ 60-70 เปอร์เซ็นต์ เพราะวัคซีนไม่ได้ป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นคุณจะปล่อยคนอีก 30 เปอร์เซ็นต์ให้เป็นมะเร็งโดยที่ไม่รักษา”คำอธิบายของ นพ.ยศ น่าจะทำให้เข้าใจได้แล้วว่า วัคซีน HPV คุ้มค่าแต่ไม่คุ้มทุนอย่างไร.........ปัจจุบัน วัคซีน HPV เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่าจะได้รับการบรรจุเข้าไปอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์หรือไม่ทิ้งท้ายตรงนี้ว่า ตอนวัคซีน HPV เข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ต้นทุนเพียงเข็มละ 90 บาทเท่านั้น แต่ราคาที่ขายคือ 5,000 บาทต่อเข็ม“เราต่อ 300 ยังไม่อยากลดราคา เพราะกลัวเสียราคา” นพ.ยศ กล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 132 วัคซีนสมอง เข็มพิเศษ : อัพเดตเรื่องรังนก

  ช่วงปีใหม่ 2555 นี้ ผู้เขียนมีความสุข สนุก กับการจัดการบ้านที่ถูกน้องน้ำจัดการชั้นล่างเสียกระจุยตามความกรุณาของรัฐบาลที่ให้หยุดวันที่ 3 มกราคม เพิ่ม ผู้เขียนจึงจัดหนักในการซ่อมแซมบ้านจนเมื่อยล้า แบบว่าเกิดมาไม่เคยเป็นเช่นนี้ นับว่าเป็นความกรุณาอย่างสูงของฟ้าดินทีเดียว เมื่อเซ็งต่อการจัดการบ้าน ผู้เขียนจึงเข้าเน็ตเพื่อหาความรู้ ความบันเทิงตามภาษาคนกรุง ซึ่งไม่รู้จะไปไหนดี ก็พบบทความหนึ่งซึ่งเอาขึ้นเน็ตในเว็บนานาสาระที่น่าจะฮิตที่สุดของไทย ผู้เขียนมักเข้าเว็บนี้เพื่อไปอ่านหนังสือพิมพ์ บทความนี้น่าสนใจเพราะเป็นเรื่องอาหารการกินที่ไม่จำเป็นต่อชีวิต แต่อาจมีผลทางจิตใจของสาวกมืออาชีพ บอกกันตรงๆ ไม่อ้อมค้อมคือ เรื่องของรังนก ซึ่งเป็นประเด็นว่า ถ้าผู้บริโภคได้รับข้อมูลแล้วต้องมีหูที่หนัก(โดยไม่ต้องห้อยห่วงเหล็ก) อย่าหูเบาเด็ดขาด เพราะมันเป็นเรื่องของการโฆษณานั่นเอง ผู้เขียนนั้นโดยส่วนตัวไม่เคยพิศวาสการกินรังนก เพราะไม่ชอบลักษณะสัมผัส ที่สำคัญคือ เมื่อนึกว่ามันคือ น้ำลายนกที่ถ่มออกมาสร้างรังแล้ว น้ำลายตัวเองถ่มออกมายังกลืนกลับไม่ได้ (ต่างกับคนบางคนที่เวลาหาเสียงเวลาได้รับเลือกแล้วพูดอีกอย่าง ซึ่งเรียกว่าเป็นการกลืนน้ำลายตัวเอง) ดังนั้นพอเป็นน้ำลายนกก็เลยขอผ่าน และพยายามไม่สนใจกับข่าวคราวที่มีการโฆษณาสินค้านี้ แบบว่าต่างคนต่างอยู่ดีกว่า ใครชอบจะกินก็ไม่ว่ากระไร แต่พอเห็นบทความดังกล่าวก็อดตื่นเต้นไม่ได้ เพราะดูเป็นความรู้ใหม่ที่ไม่เคยพบ ผู้เขียนขอสำเนาเพียงบางส่วนมาให้ดูแล้วจะแสดงข้อมูลว่า เป็นบทความที่ดูจะไม่ตรงไปตรงมาเมื่อไปค้นข้อมูลที่พบได้ในเน็ต เว็บโปรดของผู้เขียนลงข่าวว่า   หลายคนคงสงสัย อะไรคือฟังก์ชันนัลฟู้ดและเกี่ยวอะไรกับรังนก วันนี้เรามาไขความกระจ่างกันว่าฟังก์ชันนัลฟู้ดคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร ทำไมต้องทานรังนก ฟังก์ชันนัลฟู้ด คืออาหารที่มีสารอาหารคุณค่าเต็มเปี่ยม มีประโยชน์ต่อสุขภาพนอกเหนือไปจากคุณค่าทางอาหารหลักที่เราได้รับเป็นประจำทุกวัน .......ทำให้เรา ได้รับคุณค่าจากสารอาหารเพิ่มมากขึ้น พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ อาหารเสริมชั้นดีนี่เอง และรังนกคือฟังก์ชันนัลฟู้ดอีกหนึ่งทางเลือกค่ะ มีการโต้เถียงกันในวงกว้างว่ารังนกไม่มีสารอาหาร ราคาแพง แล้วทำไมเราถึงยังต้องทานและเลือกเป็นของขวัญของฝากให้กับคนที่คุณรัก คำตอบสั้นๆ ง่ายๆ และจำได้จนขึ้นใจก็คือ รังนกน่ะมีสรรพคุณทางยาค่ะ แพทย์จีนแผนโบราณใช้รังนกเป็นอาหารในการฟื้นฟู........ เราไม่ได้พูดหรือกล่าวอ้างขึ้นมาลอยๆ นะคะว่ารังนกเป็นฟังก์ชันนัลฟู้ดที่ดี แต่ที่พูดมาทั้งหมดน่ะ เพราะเรามีหลักฐานมาแบ่งปันกันให้ทราบแน่นอน งานวิจัยของดร. Kong และคณะในปี 1987 ระบุว่ารังนกประกอบด้วยสาร EGF (Epidermal Growth Factor) ซึ่งเป็นสารที่มีองค์ประกอบคล้ายเซลล์มนุษย์ ช่วยในการซ่อมแซมผิว ผลัดเซลล์ผิวและช่วยเรื่องความยืดหยุ่นของผิว พออ่านมาถึงตอนนี้ ความรู้อะไรเยอะแยะไปหมด น่าเบื่อจัง เอาเป็นว่ารู้กันพอหอมปากหอมคอก็พอค่ะโธ่! ที่แท้ เคล็ดลับความงามและอายุยืนของชาวจีนก็มีที่มาจากรังนกนี่เอง แบบนี้ต้องหามาลองกันซักหน่อยแล้ว   สิ่งที่ผู้เขียนสนใจก็คือ การอ้างอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งถ้าจริง ข้อมูลการเรียนการสอนด้านอาหารและโภชนาการ อาจต้องเปลี่ยนไปในเรื่องเกี่ยวกับรังนก แต่ผลปรากฏว่า ข้อมูลนั้นอ้างแบบเอาสีข้างเข้าถู ประการแรก ข้อความว่า “สาร EGF (Epidermal Growth Factor) ซึ่งเป็นสารที่มีองค์ประกอบคล้ายเซลล์มนุษย์.....” นั้นดูไม่ค่อยถูกต้อง เมื่อดูข้อมูลจาก wikipedia หรือเอกสารอื่น ๆ จะพบว่า EGF นั้นเป็นชีวโมเลกุลประเภทนำข่าวไปกระตุ้นให้เซลล์ที่มันเข้าไปติดต่อเตรียมแบ่งตัว ไม่ใช่องค์ประกอบของเซลล์ทั่วไป สาร EGF นี้ควบคุมที่จะให้เซลล์แบ่งตัวและพัฒนาเซลล์ให้ทำงาน ปรกติเซลล์ในร่างกายคนที่โตเต็มที่แล้วนั้นเลิกแบ่ง แต่มีการพัฒนาให้เป็นเซลล์ที่ทำงานตามข้อกำหนดของแต่ละอวัยวะที่มันอยู่ จะเห็นว่า เซลล์ตับ เซลล์ปอด เซลล์หัวแม่มือ ฯลฯ นั้นเมื่อนำมาส่องดูผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นมีลักษณะสัณฐานที่ต่างกัน ทั้งที่เมื่อมีการแบ่งเซลล์ใหม่ ๆ มีความเหมือนกัน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า เซลล์มีการ Differentiation กล่าวคือ พอแบ่งตัวเสร็จเหมือนคนจบการศึกษารับปริญญาแล้ว ต้องพัฒนาตนเอง มีการแต่งตัวแต่งหน้าเพื่อทำงานเสียที และแต่ละเซลล์ที่อยู่คนละสำนักงาน(อวัยวะ) ก็แต่งตัวต่างกัน เซลล์ที่ทำงานแล้วนั้น โดยปรกติแล้ว EGF ไม่ควรกระตุ้นให้แบ่งใหม่เพราะถ้าแบ่งเกินจำเป็นและไม่แต่งหน้าแต่งตัวแล้ว เซลล์นั้นจะถูกสันนิษฐานว่า เกิดอาการผิดปรกติซึ่งอาจร้ายแรงถึงการเป็นมะเร็ง ดังนั้น EGF นั้นจึงไม่ใช่สารที่มีแต่ประโยชน์เท่านั้น อาจส่งผลก่อปัญหาได้ถ้าเซลล์ที่มีหน้าที่ปล่อยสารนี้ออกมา ไม่ถูกกาลเทศะ Wikipedia บอกว่า Epidermal growth factor can be found in human platelets, macrophages, urine, saliva, milk, and plasma. ดังนั้นคนเขียนบทความดังกล่าวจึงสรุปเลยว่า น้ำลายนก ซึ่งกลายเป็นรังนกนั้นก็ควรมีสารนี้ด้วย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อาจมีหรือไม่ก็ได้ และถ้ามีอาจมีความสามารถในการกระตุ้นเซลล์มนุษย์ได้หรือไม่ได้ก็ยังไม่รู้ได้ เนื่องจากยังไม่มีการพิสูจน์เรื่องนี้ทางวิทยาศาสตร์ ส่วนที่บทความดังกล่าวได้อ้างงานวิจัยของ Dr. Kong นั้น เป็นการอ้างถากๆ ทั้งนี้เพราะเรื่องนี้ผู้เขียนได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเว็บ www.hkfsta.com.hk/articles/special/article7.htm ซึ่งเมื่อเข้าไปก็พบว่า มีบทความชื่อ Review of Scientific Research on Edible Bird's Nest เขียนโดย Shun Wan CHAN แห่งภาควิชา Applied Biology and Chemical Technology ของมหาวิทยาลัย Hong Kong Polytechnic University ว่า The first scientific evidence was given by Ng et al. (1986) in Hong Kong. Edible bird's nest aqueous extract was found to potentiate mitogenic response of human peripheral blood monocytes to stimulation with proliferative agents, Concanavalin A and Phytohemagglutinin A. It suggested that edible bird's nest might possess immunoenhancing effect by aiding cell division of immune cells. One year later, other scientific evidence was published by Kong et al. They demonstrated an epidermal growth factor (EGF)-like activity in aqueous extract of edible bird's nest that stimulated the DNA synthesis in 3T3 fibroblast in a dose dependent manner in vitro. ข้อมูลนี้สำคัญเพราะนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ Dr. Ng และคณะนั้นได้ทำการศึกษาและตีพิมพ์ผลงานวิจัยว่า สารสกัดด้วยน้ำจากรังนกนั้นสามารถเสริมการทำงานของสารที่กระตุ้นการแบ่งเซลล์คือ Concanavalin A และ Phytohemagglutinin A (ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดออกมาได้จากถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฯ ที่เราบริโภคกัน สมัยที่ผู้เขียนทำวิจัยเพื่อเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกก็เคยใช้สารนี้ในการกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของเซลล์เม็ดเลือดขาวหนูทดลอง) บทความดังกล่าวไม่ได้บอกว่า สารสกัดด้วยน้ำจากรังนกกระตุ้นการแบ่งเซลล์เอง แต่บอกว่าเป็นการช่วยเซลล์ที่ถูกกระตุ้นแล้วให้แบ่งเร็วขึ้นมากกว่า ประการหนึ่ง อีกประการที่สำคัญคือ Dr Kong ซึ่งปรากฏในบทความของ Dr. Ng และคณะนั้นได้ถูกเขียนว่าเป็นผู้รายงานผลวิจัย (ในวารสารที่ผู้เขียนเชื่อถือ) ว่า สารสกัดด้วยน้ำจากรังนกมีฤทธิ์ที่เรียกว่า epidermal growth factor (EGF)-like activity ซึ่งคำว่า like activity นั้นแปลแบบเข้าใจง่ายๆ ว่า มีฤทธิ์คล้าย ซึ่งไม่ได้ระบุว่ามี เพราะอาจจะยังไม่มีการแยกสารนี้ออกมา (เหมือนกับเรื่องของซุปสกัดจากเนื้อสัตว์ที่บอกไม่ได้ว่า ผลที่ทำให้คนฉลาดขึ้นเกิดจากสารที่มีตัวตนหรือไม่) สรุปแล้วถ้าอ้างตามบทความที่ผู้เขียนค้นพบ ยังไม่มีใครออกมายืนยันว่า รังนก มีสาร EGF แต่อาจมีศักยภาพคล้ายการทำงานของสาร EGF ที่สำคัญเซลล์ที่ Dr. Kong ใช้ในการศึกษานั้นเป็นเซลล์ Fibroblast ที่ได้จากตัวอ่อนของหนูในท้องแม่ (ดูข้อมูลได้จาก Wikipedia) ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีความไวต่อการกระตุ้นให้แบ่งเนื่องจากเนื้อเยื่อตัวอ่อนที่อยู่ในท้องแม่นั้นโดยธรรมชาติต้องแบ่งอย่างรวดเร็วก่อนออกจากท้องแม่ ต่างจากเซลล์มนุษย์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาแล้ว ซึ่งมักมีความด้านต่อการกระตุ้นให้ทำอะไร ดังนั้นถ้า Dr. Kong คิดทำการศึกษาต่อ ก็คงต้องแนะนำให้ใช้เซลล์จากผิวแก้มของสาวๆ ที่กร้านแดดกร้านลมสักหน่อย จึงอาจจะนำผลมาเกี่ยวข้องกับรังนกได้ มีอีกประเด็นที่น่าสนใจคือ มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มของ Dr. Herbst และ Langer ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง Epidermal growth factor receptors as a target for cancer treatment: The emerging role of IMC-C225 in the treatment of lung and head and neck cancer ในวารสาร Seminar in Oncology ชุดที่ 29 หน้า 27 เมื่อปี 2002 เป็นเชิงห่วงว่า อะไรก็ตามที่มี epidermal growth factor (EGF)-like activity นั้นอาจจะกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งที่อาจมีอยู่ในตัวผู้บริโภคแล้วเพิ่มปริมาณได้เร็วขึ้นกว่าเดิม (ทั้งนี้เพราะเซลล์มะเร็งนั้นเป็นเซลล์ที่พร้อมต่อการแบ่งตัวแบบไม่หยุดอยู่แล้ว) อย่างไรก็ดี Dr. Shun Wan CHAN แห่งมหาวิทยาลัย Hong Kong Polytechnic University ผู้เขียนบทความเรื่องรังนกนี้ ได้กล่าวว่าข้อมูลของ Dr. Herbst และ Langer ยังไม่ได้มีการยืนยันว่าน่าจะเป็นไปได้ เพราะเขาและคณะได้ทดลองศึกษาสารสกัดด้วยน้ำจากรังนกกับเซลล์มะเร็งที่มีอยู่คือ เซลล์มะเร็งเต้านม MCF-7 (ATCC HTB-22) และเซลล์มะเร็งตับHepG2 (ATCC HB-8065) ก็ไม่ได้พบว่าสารสกัดดังกล่าวกระตุ้นให้มีการแบ่งตัวเร็วไปจากที่เป็นอยู่ตามลักษณะของเซลล์มะเร็งดังกล่าว ข้อสรุปในประเด็นสุดท้ายนี้เพื่อให้สมกับปี พ.ศ. 2555 ก็คือ ในการใช้สารสกัดด้วยน้ำจากรังนกกับเซลล์มะเร็งซึ่งไวต่อการกระตุ้นให้แบ่งโดยธรรมชาติแล้วก็ยังไม่ได้ผล แล้วเซลล์ใบหน้าด้านๆ ที่ตากแดดตากลมมาอย่างน้อยเป็นสิบปีจะได้ผลอะไร คิดดูเองเถิดครับพี่น้อง ทุกท่านก็มีสมองที่มีน้ำหนักใกล้ๆ กันอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าท่านจะใช้หรือไม่ใช้เท่านั้นในกรณีที่ได้รับข้อมูลการโฆษณาอาหารประเภทนี้  

อ่านเพิ่มเติม >