ฉบับที่ 207 รู้เท่าทันยาลดไขมัน

มีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ยาลดไขมันโดยเฉพาะกลุ่มยาสแตตินว่า จะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงจากยา ซึ่งมีอันตรายกว่าไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับ สมองเสื่อม มะเร็ง เป็นต้น  ความวิตกกังวลเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ เป็นมากแค่ใด เรามารู้เท่าทันกันเถอะยาลดไขมันคืออะไรยาลดไขมันที่รู้จักกันในชื่อ สแตติน (statins) นั้นคือ Hydroxymethyl glutaryl coenzyme A reductase (HMG-CoA) inhibitors เป็นกลุ่มยาลดไขมันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกมานานกว่า 20 ปี ในท้องตลาดมียาสแตติน 6 ชนิดได้แก่ pitavastatin, atorvastatin, rosuvastatin, pravastatin, simvastatin และ fluvastatin  ยา pitavastatin เป็นยาที่นิยมใช้ในผู้ป่วยเอเชีย  มีหลักฐานชัดเจนว่า การรักษาด้วยยาสแตตินมีผลในการลดการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีหลักฐานชัดเจนว่า การรักษาด้วยยาสแตตินมีผลในการลดการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยจากโรคหัวใจและหลอดเลือดยาสแตตินจะยับยั้ง HMG-CoA ซึ่งไปลดการสร้างโคเลสเตอรอลในร่างกาย ยาสแตตินจะช่วยในการลดระดับของไขมัน LDL-C (low density lipoprotein cholesterol) ในเลือด ร้อยละ 20-50 และลดไตรกลีเซอไรด์ ร้อยละ 10-20  และช่วยเพิ่ม HDL-C (high density lipoprotein cholesterol) ร้อยละ 5-10 ผู้อ่านคงทราบกันดีว่า ไขมัน LDL และ ไตรกลีเซอไรด์นั้นเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและหัวใจ ส่วนไขมัน  HDL นั้นเป็นไขมันที่ดี ช่วยป้องกันหรือยับยั้งไม่ให้ไขมันที่ไม่ดีนั้นเกิดผลเสียต่อร่างกายข้อดีของการใช้ยาสแตตินมีหลักฐานบ่งชี้ว่า การรักษาด้วยยาสแตตินนั้นมีผลดีต่อหัวใจและหลอดเลือด ในบทความทบทวนของคอเครน ฉบับเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 จากการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม 18 การทดลอง จากผู้เข้าร่วมการวิจัย 56,934 ราย พบว่า การรักษาด้วยสแตตินลดการตายลงจากทุกสาเหตุ ลดอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ทำให้เสียชีวิตและไม่เสียชีวิต และลดอุบัติการของโรคหลอดเลือดในสมองที่ทำให้เสียชีวิตและไม่เสียชีวิตนอกจากนี้ The Cholesterol Treatment Trialists’ (CTT) Collaboration in 2010 ได้ทำการวิเคราะห์อภิมาณ (meta-analysis) การทดลอง 26 รายงาน มีผู้เข้าร่วมการวิจัยกว่า 170,000 ราย ระยะเวลาการศึกษาเฉลี่ยเกือบ 5 ปี ก็พบว่า มีการลดลงโดยรวมของการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุร้อยละ 10 ต่อการลดลงของ LDL-C ทุก 1.0 mmol/L รวมทั้งการลดลงของอาการผิดปกติของหลอดเลือดสำคัญอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่ หัวใจขาดเลือด และหลอดเลือดในสมองตีบ  ด้วยหลักฐานดังกล่าว ทำให้สมาคมหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา และสมาคมหัวใจวิทยาแห่งสหภาพยุโรปได้กำหนดให้การรักษาด้วยสแตตินเป็นแนวทางมาตรฐานในการรักษาผลข้างเคียงของยาลดไขมันยาลดไขมันมีผลข้างเคียงต่อกล้ามเนื้อ อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นอาการที่พบมากที่สุด ประมาณร้อยละ 9.4 ของผู้ใช้ยา ยาลดไขมันอาจทำให้เอนไซม์ของตับสูงขึ้น ร้อยละ 1-3 ของผู้ป่วย แต่จะพบในช่วงสามเดือนแรกเท่านั้น และไม่มีผลต่อการทำงานของตับในระยะยาวยาลดไขมันอาจมีผลต่อการเป็นเบาหวาน ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณของยาที่ใช้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานจะได้รับประโยชน์จากยาสแตตินในการป้องกันความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือดยาลดไขมันไม่มีผลในการทำให้เกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น และไม่ทำให้เกิดอาการสมองเสื่อมในการใช้ระยะยาว แต่กลับพบว่าช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นอัลไซเมอร์โดยสรุป ยาลดไขมันมีประโยชน์ ป้องกันการเสียชีวิตและเจ็บป่วยจากโรคหัวใจและหลอดเลือด อาจมีผลข้างเคียงบ้าง แต่โทษที่ไม่สามารถลดไขมันในเลือดได้นั้นจะเป็นอันตรายมากกว่าผลข้างเคียงจากยา  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 103 โอม… เพี้ยง! ไขมันจงลด

เรื่องเล่าเฝ้าระวังภก.ภาณุโชติ ทองยัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม “อัลดุลลา....มาแหล่ว....หายมั๊ย...หาย...ลดมั๊ย...ลด” ยาสมุนไพร เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุนิยมใช้กันมาก ยาสมุนไพรหากจะผลิต แปรรูปเป็นยาแผนโบราณ ก็ต้องนำมาขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อที่ทางกระทรวงสาธารณสุขจะได้ช่วยตรวจสอบว่ามันเป็นยาที่ทีความเป็นไปได้ในแง่ผลการรักษา โดยจะเปรียบเทียบอ้างอิงกับตำรับยาแผนโบราณเพื่อจะพิสูจน์ว่ามันไม่มีอันตรายต่อผู้ป่วย แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผลการรักษาของยาแผนโบราณมันจะค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้ผลปรู๊ดปร๊าดรวดเร็วแบบยาแผนปัจจุบันนะครับ วันหนึ่งมีผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 40 ปี มาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ด้วยอาการที่ผิดปกติที่คาดว่าน่าจะเกิดจากการใช้ยา เภสัชกรสาวสวยผู้รับเรื่อง จึงได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจึงทราบว่า ผู้ป่วยรายนี้ได้รับประทานยา “สมุนไพรอโรคยาศาลาอิสระธรรม” ตามสรรพคุณที่ว่า “ขยายหลอดเลือด ลดไขมันในเลือด” พร้อมทั้งเล่าว่าได้ยานี้มาจาก อโรคยาศาลาอิสระธรรม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยจะรับประทานครั้งละ 3 เม็ด วันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น หลังจากการกินมาประมาณ 2 เดือนก็พบอาการผิดปกติเภสัชกรสาวสวย (เธอฝากมาย้ำว่าให้ระบุด้วย) จึงได้ส่งยาไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม ผลการตรวจปรากฏว่า พบ “ยาลดไขมัน Simvastatin” ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบัน ผสมอยู่ในยาชนิดนี้ ไม่รู้ว่าตอนนั้นเธอจะร้อง กรี๊ดดดดดด หรือไม่ รู้แต่ว่าเธอแจ้นมาแจ้งเรื่องยัง เภสัชกร ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงครามทันที เจ้ายาลดไขมัน Simvastatin นี้ บางครั้งอาจจะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงต่างๆ เช่น อาการปวดเกร็งท้อง ท้องเสียหรือท้องผูก คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย ปวดแสบกระเพาะ ปวดศีรษะ มองภาพไม่ชัด เวียนศีรษะ ผื่น คัน นอกจากนี้ยังมีคำเตือนสำหรับผู้ใช้อีก คือ “ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์หรือสงสัยว่าอาจจะมีการตั้งครรภ์ รวมทั้งในระยะให้นมบุตรด้วย และควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากเป็นโรคตับ โรคไต ติดเชื้ออย่างรุนแรง ความดันโลหิตต่ำ ควรบอกแพทย์หรือเภสัชกรว่าขณะนี้ได้รับยาอะไรอยู่บ้าง โดยเฉพาะยา ซัยโคลสปอริน อิริโธรมัยซิน เจ็มไฟโปรซิล ไนอะซิน และยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วอร์ฟาริน ฯลฯ (เพราะมันส่งผลต่อกัน) และถ้าหากต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือทำฟันให้บอกแพทย์หรือทันตแพทย์ด้วยว่าขณะนี้ได้รับยา Simvastatin นี้อยู่ เนื่องจากยานี้จะไปส่งผลต่อยาอื่นและมีผลต่อร่างกาย และถ้ามีอาการปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อแข็งกดเจ็บ ตะคริวหรืออ่อนเพลีย โดยมีไข้หรือไม่มีไข้ให้รีบพบแพทย์ทันที” แค่เห็นคำเตือนต่างๆ ก็ย่อมจะทราบได้ว่าเจ้ายาลดไขมันที่มันไปปรากฏแบบไม่ได้รับเชิญในยาสมุนไพรนั้น มันมีอันตรายอย่างไร ขณะนี้ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ได้แจ้งเรื่องไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ให้ไปตรวจสอบอย่างเร่งด่วน ที่เล่านี้ก็อยากให้เป็นอุทธาหรณ์ว่า สมัยนี้หากจะเลือกยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณมารับประทาน อย่าไว้ใจง่ายๆ ต้องท่องให้ขึ้นใจว่า “ต้องมีทะเบียนยา” เสมอ และหากเจอผลการรักษาที่รวดเร็วปรู๊ดปร๊าด ให้พึงสังหรณ์ใจไว้ก่อนว่าอาจจะมีแขกที่กฎหมายไม่ได้เชิญมาปนอยู่ด้วยก็ได้ ให้รีบแจ้งกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค อย.หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อติดตามตรวจสอบโดยด่วน โอม เพี้ยง!

อ่านเพิ่มเติม >