ฉบับที่ 166 กระแสต่างแดน

เมาได้... แต่จ่ายด้วยทุกปีในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่เมืองออลีนส์ ประเทศฝรั่งเศส จะมีคนถูกตำรวจจับ 250 ถึง 300 คนเพราะเมาแล้วสร้างความไม่สงบหรือสร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพื่อจับตาดูพฤติกรรมของพวกที่เมาข้ามปี เทศบาลเขาต้องจ้างตำรวจพร้อมรถลาดตระเวนเพิ่มเป็นพิเศษ ปัญหาคือ ใครควรเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว รวมถึงค่าจ้างหน่วยกู้ภัย หรือรถพยาบาลด้วยคิดสะระตะแล้ว เทศบาลเมืองนี้จึงออกประกาศให้นักดื่มได้ทราบโดยทั่วกันว่า พวกเขาอาจโดนเรียกเก็บค่าปรับ 120 ยูโร(เกือบ 5,000 บาท) ถ้าถูกพบเห็นว่าออกมาเดินเปะปะตามถนนค่าปรับนี้รวมเฉพาะค่ารถพยาบาลและรถตำรวจ ถ้าต้องเรียกหมอมาดูอาการด้วย เขาก็จะคิดเพิ่มเป็น 150 ยูโร (ประมาณ 6,000 บาท) แต่ไม่ใช่แค่เสียค่าปรับแล้วจบนะ บางรายยังได้แถมโทษจำคุกอีกสาธารณสุขของฝรั่งเศสยอมรับว่าปัจจุบันเยาวชนหันมาเป็นนักดื่มมากขึ้น และไม่ใช่ดื่มแบบค่อยเป็นค่อยไป พวกนี้รีบดื่มรีบเมาตามกระแสยอดฮิตจากเกมออนไลน์ เน็คนอมิเนชั่น (Neknomination)ร่างกฎหมายใหม่จึงเสนอให้ผู้ที่ชักชวนบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะให้ดื่มแอลกอฮอล์ มีโทษจำคุก 1 ปี และโทษ 15,000 ยูโร(ประมาณ 609,000 บาท)  เขียวได้อีก การมีโรงผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ในยุโรปนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ที่กรุงเวียนนานี่เขาล้ำไปอีกขั้นด้วยการยกระดับตัวเองขึ้นเป็นแหล่งอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตหายาก เช่น ตั๊กแตน จิ้งหรีด หอยทาก จิ้งเหลน แมงมุม แมงเม่า แมลงเต่าทอง (ยุโรปเขาหายากจริงนะ)นอกจากจะผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อรองรับบ้าน 400 หลังคาเรือนแล้ว พื้นที่ประมาณ 2 สนามฟุตบอลของโซล่าฟาร์มแห่งนี้ยังเป็นที่อยู่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่ใกล้สูญพันธุ์อีกด้วยการทำให้ฟาร์มนี้น่าอยู่ก็ไม่มีอะไรมาก เพราะร่มเงาและช่องว่างระหว่างแผงมีเหลือเฟือ ที่ต้องเพิ่มคือเทคนิคการตัดหญ้าแบบไม่ธรรมดาที่คงความน่าอยู่สำหรับสัตว์หรือแมลงเล็กๆ เหล่านั้นเวียนนามุ่งมั่นจะเป็นมหานครสีเขียว ซีอีโอของโซล่าฟาร์มแห่งนี้บอกว่า 5 ปีจากนี้ไป บริษัทจะลงทุนเพิ่มอีก 800 ล้านยูโร (ประมาณ 32,600 ล้านบาท) และเกินครึ่งของเงินดังกล่าวจะใช้เพื่อการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน สมาคมสิ่งแวดล้อมออสเตรียกล่าวว่า ร้อยละ 55 ของพื้นที่หลังคาในเวียนนาสามารถรองรับการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้ ชาวเวียนนาสามารถซื้อแผงโซล่าเซลล์จากบริษัทได้คนละ 10 แผง ในราคาแผงละ 950 ยูโร (ประมาณ 40,000 บาท) จากนั้นให้บริษัทเช่าแผงดังกล่าวในราคา 29.45 ยูโร (1,200 บาท) ต่อแผงต่อปี เป็นเวลาอย่างต่ำ 5 ปี และเมื่อครบ 25 ปี บริษัทจะซื้อแผงคืนทั้งหมด ถอนทุนลดโลกร้อน โครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกแอบบ็อต พอยนท์ ในรัฐควีนส์แลนด์ เพื่อรองรับการขนส่งถ่านหิน เป็นที่ถกเถียงกันมากเพราะมันอาจเป็นผลเสียต่อแนวปะการัง “เกรท แบเรีย รีฟ” ที่คนทั้งโลกรู้จัก เนื่องจากเป็นโครงการ “ร้อน” บรรดาธนาคารข้ามชาติ (เช่น ซิตี้กรุ๊ป เจพีมอร์แกนเชส ดอยท์ชแบงค์ โกลด์แมนแซคส์ และเอชเอสบีซี) ต่างก็พากันถอนตัวจากการให้กู้ แต่ธนาคารสัญชาติออสเตรเลีย 4 แห่ง ได้แก่ เนชั่นแนลออสเตรเลีย คอมมอนเวลท์ เอเอ็นเซด และเวสแพค กลับตัดสินใจปล่อยกู้ให้กับโครงการนี้ รวมๆ แล้ว ธนาคารเหล่านี้ให้เงินกู้กับธุรกิจพลังงานฟอสซิลไปกว่า 19,000 ล้านเหรียญออสเตรเลีย (ไม่ต่ำกว่า 500,000 ล้านบาท) แล้ว ลูกค้าที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายการลงทุนของธนาคารจึงพากันไปปิดบัญชี แล้วย้ายไปอยู่กับธนาคารที่มีพฤติกรรมการให้กู้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า ถึงวันนี้มีคนมาปิดบัญชีไปแล้วเป็นมูลค่า 450 ล้านเหรียญ (12,000 ล้านบาท) นักวิเคราะห์บอกว่า คนกลุ่มนี้น่าจะคิดถูกแล้ว เพราะแม้ว่าออสเตรเลียจะเป็นผู้ส่งออกถ่านหินรายใหญ่อันดับสองของโลกและกำลังเปิดเหมืองเพิ่มอีก 120 แห่ง แต่ทั้งราคาถ่านหินกำลังและความต้องการใช้ถ่านหินกลับน้อยลง จีนซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียก็มีแผนจะปิดโรงงานถลุงเหล็กเพื่อลดมลภาวะในประเทศ ภาคการเงินการธนาคารเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจขนาด 15,000 ล้านเหรียญ (405,000 ล้านบาท) ของออสเตรเลีย และยักษ์ใหญ่ทั้งสี่ก็อยู่ในกลุ่มธนาคารที่ทำกำไรได้มากที่สุดในโลก เพราะสามารถดึงดูดลูกค้าได้มากจากผลตอบแทนที่สูง เงินอย่างเดียวไม่พอ เวเนซูเอล่ามีรายได้จากการขายน้ำมันถึง 114,000 ล้านเหรียญ (3,700,000 ล้านบาท) ต่อปี แต่ประชากรในประเทศกลับขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค สถานการณ์นี้รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนรัฐบาลต้องจำกัดการซื้อเหมือนที่คิวบาและเกาหลีเหนือ ก่อนเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต ลูกค้าจะต้องถูกสแกนนิ้วมือ (บางร้านใช้บัตรประจำตัวประชาชน) เพราะรัฐต้องการควบคุมไม่ให้เกิดการซื้อเกินหนึ่งรอบต่อวัน ใครต้องการซื้อผ้าอ้อมสำเร็จรูปก็ต้องนำสูติบัตรของลูกมาแสดงด้วย หรือสินค้าที่มีค่าดั่งทอง อย่างนมผง รัฐก็กำหนดให้ซื้อได้สัปดาห์ละ 1 กิโลกรัมเท่านั้น รัฐบาลบอกว่ามาตรการสแกนนิ้วมือนี้ออกมาเพื่อดัดหลังพวกที่ซื้อสินค้าควบคุมราคาเหล่านี้แล้วนำข้ามชายแดนไปขายทำกำไรที่ประเทศโคลัมเบีย ประธานาธิบดีของเขาให้ข้อมูลว่าร้อยละ 40 ของสินค้าจากเวเนซูเอลาไปปรากฏตัวอยู่ในตลาดโคลัมเบีย (... แต่นักเศรษฐศาสตร์บอกว่าร้อยละ 10 นะ) เรื่องของเรื่อง เวเนซูเอลาประกาศให้สินค้าจำเป็นหลายชนิดเป็นสินค้าควบคุมราคา เช่น นม น้ำมัน ข้าว เนื้อไก่ กาแฟ ยาสีฟัน และผงซักฟอก แต่ปัจจุบันร้านค้าต่างๆ กลับมีของเหล่านี้เพียงร้อยละ 30 ของสต็อคปกติเท่านั้น และด้วยเหตุผลเดียวกัน รัฐบาลอนุญาตให้เติมน้ำมันได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยควบคุมผ่านบาร์โค้ดที่กระจกหน้ารถ เพราะกลัวน้ำมันจะไหลไปที่โคลัมเบียหมด น้ำมันที่เวเนซูเอล่าราคาไม่ถึง 1 เซนต์ต่อแกลลอน แต่ถ้าในโคลัมเบียที่ชายแดนติดกันนั้น น้ำมันราคาเกือบ 4.5 เหรียญต่อแกลลอน) ยังไม่หมดนะ รัฐบาลเขาควบคุมการ “ใช้” น้ำด้วยการหยุดปล่อยน้ำสัปดาห์ละ 108 ชั่วโมงด้วย ทั้งนี้ชาวบ้านบอกว่า การควบคุมพวกนี้ไม่เห็นจะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนได้ตรงไหน จริงๆ แล้วควรยกเครื่องเศรษฐกิจทั้งประเทศต่างหาก ลดเปลือก ปีหนึ่งๆ สินค้าต่างๆ ถูกบรรจุอยู่ในหีบห่อซึ่งมีน้ำหนักรวมกันกว่า 207 ล้านตัน และถ้ายังไม่มีความพยายามใดๆ เพิ่มเติม บวกกับกำลังซื้อของคนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและพฤติกรรมใช้ของอย่างไม่ค่อยคุ้มค่าของผู้บริโภค การใช้บรรจุภัณฑ์จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 47 เมื่อถึงปี 2025 ตัวเลขนั้นอาจคิดตามยาก เอาเป็นว่า 1 ใน 3 ของขยะในเมืองหลวงก็คือบรรจุภัณฑ์นั่นเอง บรรดาบริษัทผู้ผลิตก็กำลังหาทางลดเจ้าหีบห่อพวกนี้ด้วยการออกแบบให้ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น เพราะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ด้วยการจัดซื้อวัตถุดิบน้อยลงและเสียค่าขนส่งน้อยลง เช่น ซิสโก้สามารถลดบรรจุภัณฑ์ลงได้ 855,000 กิโลกรัม เดลล์ก็หันมาใช้ฟางและวัสดุที่ทำจากเห็ดเป็นตัวกันกระแทกในกล่องชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ แม้แต่ยูนิลิเวอร์ก็ให้คำมั่นว่าจะลดบรรจุภัณฑ์ลงให้ได้ 1 ใน 3 ภายในปี 2020 หรือแม้แต่ขวดแก้วบรรจุเครื่องดื่มก็กำลังจะเปลี่ยนโฉมไป เราจะได้เห็นขวดรูปร่างผอมสูงกันมากขึ้น เพราะมันใช้วัตถุดิบในการผลิตน้อยกว่าขวดเตี้ยสั้น แถมมีน้ำหนักเบากว่าด้วย การออกแบบบรรจุภัณฑ์ในอนาคตจะเน้นการมีมากกว่าหนึ่ง “ชีวิต” เพื่อส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่ แต่เป้าหมายสูงสุดคือการไม่ต้องผลิตมันออกมาแต่แรกนั่นเอง เพราะมันดีกว่าการตามไปเก็บตอนหลังเห็นๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 109 กระแสต่างแดน

คุณค่าที่ไม่คู่ควร องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ลุกขึ้นมาประกาศสงครามกับผู้ผลิตที่ติดฉลาก อวดอ้างสรรพคุณที่ไม่เป็นจริงบนผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจากมีให้เห็นกันแพร่หลายจนเกินทน ถึงวันนี้มีผู้ประกอบการที่ได้รับจดหมายเตือนไปแล้ว 17 บริษัท หนึ่งในนั้นคือเนสท์เล่ที่เรารู้จักกันดี ข่าวบอกว่าข้อความบนฉลากของน้ำผลไม้ยี่ห้อจูซี่ จูซ ของเนสท์เล่นั้น ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเครื่อง ดื่มดังกล่าวทำมาจากผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่ความจริงแล้วเป็นการนำเอาน้ำผลไม้หลายชนิดมารวมกัน แล้วแต่งกลิ่น นอกจากนี้บริษัทยังถูกตักเตือนเรื่องอาหารเสริมสำหรับเด็กยี่ห้อเกอเบอร์ ด้วยเหตุที่ข้อมูล โภชนาการที่แจ้งบนฉลากนั้นยังไม่ได้รับการรับรองสำหรับเด็กอายุ 2 ปี อีกหนึ่งบริษัทที่ถูกอย. สหรัฐฯ จับจ้องอยู่ได้แก่ผู้ผลิตเครื่องดื่มน้ำทับทิมยี่ห้อ POM ที่ให้ข้อมูลกับผู้บริโภคบนเว็บไซต์ของตนเอง (โดยแจ้งเว็บไซต์ไว้ที่ฉลาก) ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถป้องกันหรือรักษาอาการเครียด เบาหวาน หรือมะเร็งได้ แม้จดหมายเหล่านี้จะเป็นเพียงการขอความร่วมมือจากบริษัท แต่อย่างน้อยๆ ก็เป็นการส่งสารไป ยังผู้บริโภคว่าอย่าเชื่อในสิ่งที่เห็นเสมอไป และถ้าอะไรมันดูเหมือนจะดีเกินจริง ก็คงเป็นเพราะมันไม่จริงนั้นแล ... -------------------------------------------------------------------------------------------------------------- คุมน้ำหนักด้วยอาหารฟาสต์ฟู้ด ?นาทีนี้อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ในโลกของธุรกิจ แม้แต่ผู้ให้บริการโปรแกรมลดน้ำหนัก Weight Watchers ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกก็ยังจับมือกับร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดแมคโดนัลด์ ต่อไปนี้ แมคนักเก็ต เบอร์เกอร์ปลา และแร็พไก่ ที่ขายในร้านแมคโดนัลด์สาขาในนิวซีแลนด์ จะมีโลโก้ของ Weight Watchers อยู่ด้วย เพื่อเป็นการรับรองว่าคนที่กำลังควบคุมน้ำหนักนั้น สามารถกินได้ ไม่ต้องกังวลWeight Watchers ชื่อที่ได้รับการเชื่อถือมานานด้วยระบบ การให้แต้มกับอาหารแต่ละประเภท โดยคิดจากปริมาณแคลอรี่ และไขมันอิ่มตัว ถ้าต้องการจะลดน้ำหนักด้วยโปรแกรมนี้เรา จะต้องควบคุมปริมาณอาหารให้อยู่ที่วันละ 18 – 40 แต้ม โดย แต่ละคนก็จะมีแต้มที่ต่างกันไปตามแต่น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ เพศ และกิจกรรมในแต่ละวัน งานนี้ Weight Watchers ถึงขั้นออกมารับรองว่าอาหารชุดของแมคที่เสิร์ฟพร้อมสลัดและน้ำ/น้ำอัดลม แบบไร้น้ำตาล จะมีค่าเท่ากับ 6.5 แต้ม บริษัทอ้างว่าอยากจะส่งสารไปยังคนที่ควบคุม น้ำหนักว่าพวกเขายังมีความสุขกับชีวิตได้แม้จะอยู่ในช่วงลดน้ำหนัก (ว่าแต่ความสุขนี่มันหาได้จากอาหาร ฟาสต์ฟู้ดอย่างเดียวรึ)มองในทางกลับกัน มันจะทำให้ผู้คนหันมาบริโภคอาหารประเภทนี้กันด้วยความเข้าใจว่ามันดีต่อสุขภาพ และยังไม่นับว่าเมื่อเข้าไปในร้านแล้วลูกค้าก็อาจจะสั่งโดนัทหรือมิลค์เชคเพิ่มจากอาหารสามประเภทที่ว่า นั้นด้วย หลายฝ่ายมองว่ามันคือแผนเพิ่มยอดขายด้วยการดึงลูกค้ากลุ่มที่ควบคุมน้ำหนักตัวให้เข้าร้าน จะมีหรือไม่มีโลโก้ ไก่ชุบแป้งทอดก็ยังเป็นไก่ชุบแป้งทอดอยู่นั่นเอง ----------------------------------------------------------------------------------------------------------ห่อให้ด้วย ช่วยลดโลกร้อน เพิ่งรู้ว่าคนญี่ปุ่นเขาไม่นิยมเก็บอาหารที่ทานไม่หมดในร้านติดตัวกลับบ้านไปด้วย การสำรวจเมื่อสองปีก่อนพบว่ามีคนญี่ปุ่นพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่เข้าใจแนวคิดเรื่องการนำอาหารเหลือกลับบ้าน ดังนั้นเขาถึงมีการก่อตั้งองค์กรขึ้นมารณรงค์เปลี่ยนทัศนคติคนให้ช่วยกันลดขยะจากอาหารเหลือตามร้าน ปีนี้องค์กร DoggyBag Committee ได้ทำการสำรวจอีกครั้งและพบว่าร้อยละ 90 ของผู้ตอบเห็นด้วย กับการนำอาหารที่กินเหลือกลับบ้าน (องค์กรนี้บอกว่าความจริงแล้วเมื่อ 20 -30 ปีก่อนคนญี่ปุ่น ก็นิยมเก็บอาหารที่เหลือจากงานเลี้ยงกลับบ้านกันเป็นปกติ) เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วก็เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของภัตตาคารบุฟเฟ่ต์ในญี่ปุ่นที่มีบริการห่อกลับบ้านให้กับลูกค้า ร้านที่เป็นผู้บุกเบิกได้แก่ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ 3 แห่งของโรงแรมในเครือโคคุไซ แต่เขาก็มีการจำกัดปริมาณในการห่อกลับบ้านและต้องตรวจสอบก่อนว่าอาหารที่จะให้ลูกค้านำกลับนั้นจะยังอยู่ได้อีกหลายชั่วโมง นอกจากนี้ยังกำชับให้กินให้หมดภายในวันเดียวด้วย ขณะนี้ร้านเล็กๆ เริ่มให้ความร่วมมือกับการบรรจุถุง/กล่องกลับบ้านให้ลูกค้า แต่ร้านใหญ่ๆ บอกว่ายังไม่อยากทำเรื่องนี้เต็มตัวจนกว่าจะแน่ใจว่าสังคมญี่ปุ่นให้การยอมรับเรื่องนี้อย่างจริงจัง กระทรวงเกษตรของญี่ปุ่นบอกว่า ในปี พ.ศ. 2550 มีขยะจากอุตสาหกรรมอาหารถึง 11 ล้านตันต่อปี นับเป็นสถิติที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศที่พัฒนาแล้ว และการจัดการกับขยะเศษอาหารในญี่ปุ่น นั้นมีค่าใช้จ่ายประมาณ 36 บาทต่อ 1 กิโลกรัม --------------------------------------------------------------------------------------------------------------ขวดเก่าไปบอลโลกกำลังรออยู่ว่าฟุตบอลโลกที่อัฟริกาใต้ปีนี้จะมีมุขอะไรออกมารณรงค์เพื่อการลดโลกร้อนกันบ้าง ข่าวแรกออกมาแล้วว่าบรรดานักเตะจาก 9 ทีมดังที่มีไนกี้เป็นสปอนเซอร์หลักจะสวมเสื้อที่ทำจากใยโพลีเอสเตอร์ที่ผ่านการรีไซเคิลมาจากขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว ขวดพวกนี้จะเดินทางมาจากญี่ปุ่นและไต้หวัน เพื่อเข้าแถวรับการตัด หลอม แล้วปั่นเป็นเส้นใย ซึ่งสามารถนำไปทอเป็นผืนผ้าและเย็บเป็นตัวเสื้อ เขาบอกว่าเสื้อหนึ่งตัวจะใช้ขวดประมาณ 8 ขวด บริษัทบอกว่า “เสื้อขวด” นั้นจะมีราคาเท่ากับเสื้อปกติ แม้ว่าวัสดุรีไซเคิลนั้นจะมีราคาแพงกว่า ผ้าธรรมดาอยู่บ้างแต่ก็สามารถชดเชยด้วยการประหยัดงบในส่วนอื่นๆ เพราะจะว่าไปแล้วการ ผลิตเสื้อแบบนี้สามารถลดการใช้พลังงานในการผลิตได้ถึงร้อยละ 30 เลยทีเดียว การตัดสินใจผลิตเสื้อรุ่นดังกล่าวออกมาช่วยทำให้ขวดพลาสติก จำนวน 13 ล้านขวด ได้อวตารมาเป็นเสื้อ 1.5 ล้านตัว แทนจะกลาย เป็นวัสดุถมดิน------------------------------------------------------------------------------------------------------------------มาสอนก็มีเสี่ยงนับถึงวันนี้มีครูชาวอังกฤษเสียชีวิตไปแล้ว 178 คน จากอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับแร่ใยหิน (แอสเบสทอส) และนั่นคือสาเหตุที่หน่วยงานท้องถิ่น 34 หน่วยงานกำลังถูกสอบสวนอยู่ในขณะนี้ การสุ่มสำรวจโรงเรียน 16 โรงโดยสมาคมให้คำปรึกษาและฝึกอบรมเกี่ยวกับแร่ใยหินพบว่า ไม่มีโรงเรียนไหนเลยที่มีระบบป้องกันอันตรายจากแร่ใยหินซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิด โรคมะเร็งที่เยื่อหุ้มปอด ข่าวดังกล่าวทำให้สมาคมครูในอังกฤษออกมาเรียกร้องให้มีการตั้งองค์กรอิสระขึ้นมากำกับ ดูและและให้คำแนะนำในเรื่องแร่ใยหินและการกำจัดหรือจัดการมันในเขตโรงเรียน รัฐมนตรีที่ดูแลเรื่องนี้ประกาศว่ารัฐบาลจะจัดทำคู่มือเรื่องการจัดการแร่ใยหิน เพื่อแจกให้กับบรรดาครูใหญ่ ผู้ว่าการรัฐ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานท้องถิ่นได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เนื่องจากประมาณร้อยละ 75 ของโรงเรียนในอังกฤษนั้นมีการใช้แร่ใยหินในวัสดุก่อสร้าง เบื้องต้นผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้กำจัดวัสดุอาคารที่ชำรุดเสียหายที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินออกไปก่อน ส่วนวัสดุที่ยังไม่เสียหายนั้นให้ปล่อยไว้อย่างนั้นโดยเพิ่มการจัดการที่ดีแทน โชคดีที่อังกฤษเขามีกฎหมายเรื่องนี้เข้มพอสมควร จึงทำให้เรื่องนี้ได้รับการจัดการอย่างรวดเร็ว ส่วนประเทศไทย ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราซึ่งมีการใช้วัสดุก่อสร้างที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบกันอย่างแพร่หลายเช่นกัน จะหันมาให้ความสนใจกับการจัดการแร่ใยหินอย่างเป็นรูปธรรมเหมือนเขาบ้าง --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- สายการบินสปิริตสูงออสเตรเลียก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่เกิดกรณีร้องเรียนจำนวนมากจากผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ รัฐบาลจึงออกกฎให้สายการบินเหล่านี้เสนอสิ่งที่เรียกว่า “ข้อตกลงกับผู้โดยสาร” เพื่อเป็นการรับประกัน ว่าผู้โดยสารจะได้รับบริการที่ดีขึ้น สายการบินเจ็ทสตาร์รีบลงมือทำเรื่องนี้ก่อนใคร หลังจากเสียคะแนนไปเยอะเมื่อปลายเดือนมกราคม ที่ผ่านมาเมื่อเครื่องบินที่จะต้องพาผู้โดยสารจากเกาะภูเก็ตกลับไปออสเตรเลีย เกิดเหตุขัดข้อง ทางเทคนิค ทำให้ผู้โดยสารจำนวน 290 คนต้องติดค้างอยู่ที่ภูเก็ตถึง 2 คืน แต่บริษัทก็รีบกู้ชื่อกลับมาด้วยการให้การชดเชยและปลอบใจผู้โดยสารแบบที่สายการบินอื่นๆ ต้องอึ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเจ็ทสตาร์บอกว่างานนี้ใช้เงินไปประมาณ 1 ล้านเหรียญออสเตรเลีย (เกือบๆ 30 ล้านบาท) สำหรับการส่งเครื่องบินเปล่ามารับผู้โดยสาร และจ่ายเงินคืนเต็มจำนวน ให้กับผู้โดยสารทุกคน เฉลี่ยคนละ 1,000 เหรียญ (ประมาณ 29,500 บาท) เงินชดเชยอีกคนละ 600 เหรียญ (ประมาณ 17,600 บาท) และค่าที่พัก 2 คืนในโรงแรมที่ภูเก็ตด้วย สายการบินอื่นจะไม่อึ้งได้อย่างไร เพราะที่ผ่านมาอย่างเก่งสายการบินก็ยอมคืนเงินให้ บางส่วนหรือไม่ก็แจกเวาเชอร์มูลค่า 50 เหรียญ (ประมาณ 1,500 บาท) ให้ผู้โดยสารเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >