ฉบับที่ 215 ทีวีดิจิทัลกับสิ่งแอบแฝง

“สารสกัดตัวนี้นำเข้าจากต่างประเทศ จะช่วยให้ผิวหน้าของคุณกระจ่างใส ชุ่มชื่น”“กลัวไหมว่าแต่งหน้าแล้วหน้าเทา พี่ใช้ครีมตัวนี้แล้วไม่มีปัญหาเลย “ถ้าไม่ดีจริง ไม่กล้าบอกต่อหรอก”“มั่นใจได้เพราะเขามี อย.”เรามักจะพบประโยคเหล่านี้อยู่เนืองๆ ผ่านทางรายการโทรทัศน์สักช่อง บางครั้งอาจถึงขนาดที่ว่าเปิดไปกี่ช่องๆ ก็เจอคนดังกำลังบรรยายสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ที่ถืออยู่ในมือ พร้อมกับสาธิตการใช้งาน ก่อนจะทิ้งท้ายด้วยโปรโมชั่นเขย่าใจ ลดแลกแจกแถมขนานใหญ่ จนผู้บริโภคอย่างเราๆ อยากจะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาโทรสั่งซื้อทันทีทันใดแต่เดี๋ยวก่อน! คุณรู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ควรจะรู้สึกเคยชิน หากแต่ต้องสะกิดตัวเองแรงๆ แล้วเตือนสติว่า เรากำลังเสพ ‘โฆษณาแฝง’ โดยไม่ได้ตั้งใจหลายคนอาจจะสงสัยว่าเสพไปแล้วเป็นอะไร มีผลเสียอย่างไร ก็คงต้องเท้าความเสียก่อนว่า ในยุคปัจจุบันผู้คนมักจะเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางของสื่อใหม่ (new media) มากขึ้น เนื่องด้วยคุณลักษณะสำคัญต่างๆ ที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนยุคใหม่ เช่น เนื้อหาสั้น กระชับ เข้าใจง่าย เข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ฯลฯ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อเก่า (old media) หลายๆ ประเภทยังคงได้รับการใช้งานจากกลุ่มคนจำนวนมาก โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ที่มีการพัฒนาจากระบบอะนาล็อกสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งมีความโดดเด่นในแง่คุณภาพของการรับชมที่ดีขึ้น มีการประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ทำให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่มีโอกาสเข้ามาผลิตเนื้อหาและสร้างความหลากหลายในวงการสื่อ ขณะที่ผู้ชมเองก็มีทางเลือกในการรับชมโทรทัศน์ที่เพิ่มขึ้นทว่าเมื่อการแข่งขันระหว่างช่องโทรทัศน์ไต่ระดับขึ้นเรื่อยๆ กอปรกับการเติบโตของสื่อใหม่ที่เข้ามาช่วงชิงความสนใจของผู้รับสาร ทำให้โฆษณา (advertising) ซึ่งเป็นรายได้หลักของธุรกิจโทรทัศน์เกิดการเลื่อนไหลไปยังพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น ผู้ประกอบการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลหรือ ‘ทีวีดิจิทัล’ จึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจตนเอง กลยุทธ์หนึ่งที่ถูกนำมาใช้อย่างมากคือ ‘โฆษณาแฝง’ ซึ่งเป็นการโฆษณาสินค้าและบริการที่สอดแทรกไปกับเนื้อหาอย่างแยบยล จนผู้บริโภคไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เหมือนกับโฆษณาทั่วไป ทำให้สินค้าและบริการนั้นๆ มีโอกาสซึมลึกเข้าไปในใจของผู้บริโภคโดยไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพที่มักจะพบได้บ่อยๆ เช่น อาหารเสริม ยาบำรุงร่างกาย เครื่องสำอาง เป็นต้น สิ่งที่น่ากังวลคือสื่อโทรทัศน์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่และครอบคลุมทั่วประเทศ ผู้บริโภคจึงมีลักษณะทางประชากรศาสตร์หลากหลาย ทั้งในด้านเพศ อายุ อาชีพ การศึกษา และด้านอื่นๆ ซึ่งส่งผลต่อวิจารณญาณและความรู้เท่าทันสื่อที่ไม่เท่ากัน อันนำไปสู่ทัศนคติและพฤติกรรมการตอบสนองต่อโฆษณาแฝงที่แตกต่างกัน เช่น โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมความงามยี่ห้อหนึ่งอาจไม่มีผลต่อผู้สูงวัย แต่กลับกระตุ้นความต้องการซื้อในกลุ่มวัยรุ่นได้อย่างมาก จนนำไปสู่ค่านิยมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่แพร่หลายนอกจากนี้ การที่ผู้บริโภคคาดหวังว่าจะได้รับสาระหรือความบันเทิงจากรายการโทรทัศน์อย่างเต็มที่ แต่กลับถูกยัดเยียดโฆษณาที่ไม่พึงประสงค์เข้ามาด้วย เนื่องจากผลประโยชน์เชิงธุรกิจของผู้ประกอบการโทรทัศน์และเจ้าของสินค้าและบริการ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเป็นการเอาตัวรอดจากวิกฤติการณ์ขององค์กรสื่อโดยละเลยต่อความต้องการและสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคหรือไม่ ทว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงการตั้งคำถามไปยังจริยธรรมของผู้ประกอบการ เจ้าของสินค้าและบริการ หรือนักการตลาดเพียงเท่านั้น หากแต่ยังรวมไปถึงการขาดความรู้เท่าทันสื่อของผู้บริโภค และประสิทธิภาพในการคัดกรองโฆษณาแฝงของหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแล ซึ่งยังไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยในระดับที่ผู้บริโภคจะสามารถฝากความเชื่อมั่นไว้ได้จากปัญหาที่เกิดขึ้นนำไปสู่งานศึกษาเรื่อง “รูปแบบของโฆษณาแฝงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพในรายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล” ซึ่งมุ่งที่จะค้นหาคำตอบว่าทีวีดิจิทัลยุคปัจจุบันมีการใช้โฆษณาแฝงในลักษณะใดบ้าง โดยใช้การสำรวจทีวีดิจิทัล 2 ประเภท ได้แก่ บริการสาธารณะ และบริการทางธุรกิจ รวมทั้งเลือกรูปแบบรายการโทรทัศน์ที่หลากหลาย ประกอบด้วย รายการที่นำเสนอข้อเท็จจริง (non-fiction) เช่น ข่าว สาระความรู้, รายการที่นำเสนอเรื่องแต่ง (Fiction) เช่น ละคร ซิทคอม ซีรีส์ และรายการให้ความบันเทิงเบาสมอง (Light Entertainment) เช่น ทอล์กโชว์ เกมโชว์ ซึ่งออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2561 โดยเลือกพิจารณาเฉพาะอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยตรงข้อค้นพบในการศึกษาครั้งนี้อาจจำแนกออกเป็น 2 ประเด็น ดังนี้1. ประเภทของผลิตภัณฑ์สุขภาพ  ผลิตภัณฑ์สุขภาพ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต มีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อสุขภาพอนามัยหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ตลอดจนมีความเกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งในงานศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปรากฏในรูปของโฆษณาแฝง ได้แก่              •      อาหาร เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนม น้ำดื่ม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร              •      ยา เช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร              •      เครื่องสำอาง เช่น ครีมบำรุงผิว เซรั่มบำรุงเส้นผม         2. รูปแบบของโฆษณาแฝงจากการศึกษาสามารถจำแนกข้อมูลโฆษณาแฝงตามแนวทางของ ธาม เชื้อสถาปนศิริ (2552) ที่อธิบายว่าโฆษณาแฝงมีทั้งหมด 5 รูปแบบได้ดังนี้            •      แฝงสปอตสั้นหรือวีทีอาร์ (VTR) ก่อนเข้ารายการแต่ละช่วงจะมีโลโก้สินค้าและเสียงบรรยายว่า “สนับสนุนรายการโดย...” พร้อมกับบรรยายสรรพคุณสินค้าพ่วงเข้ามาด้วย เช่น “ดื่มง่าย ละลายน้ำดี ไม่มีกลิ่นคาว ราคาพิเศษสุดๆ โทรสั่งเลย...”    •      แฝงภาพกราฟิก โดยมีโลโก้สินค้าปรากฏที่ฉากหลัง หรือมีภาพสินค้า ตราสินค้า และสโลแกนปรากฏที่มุมจอเป็นระยะ รวมทั้งมีกรอบสินค้าที่บริเวณขอบจอ (window logo)   •      แฝงวัตถุ พบค่อนข้างมาก เช่น วางสินค้าไว้ที่โต๊ะ พิธีกรพูดถึงสินค้าและมีการแพนกล้องไปที่สินค้า วางสินค้าเป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก มีป้ายสินค้าหรือภาพสินค้าเป็นฉากหลัง   •      แฝงบุคคล พิธีกรใส่ผ้ากันเปื้อนที่มีตราสินค้า หรือตัวละครหยิบจับสินค้าขึ้นมาใช้งาน พร้อมกับพูดชื่อยี่ห้ออย่างชัดเจน    •      แฝงเนื้อหา พบได้มากที่สุด โดยส่วนใหญ่มักจะออกแบบเนื้อหาโฆษณาแฝงให้สอดคล้องกับเนื้อหารายการ หากเป็นรายการทอล์กโชว์จะมีการสัมภาษณ์แขกรับเชิญเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว ผลงาน แล้วนำไปสู่เรื่องของความงามหรือความสำเร็จซึ่งมีความเชื่อมโยงกับสินค้า พร้อมสาธิตการใช้งาน เช่น ทาครีม รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตลอดจนมอบสินค้าให้แก่พิธีกรหรือผู้ร่วมรายการ หรือรายการสุขภาพก็มีการแนะนำสินค้าที่มีสรรพคุณในการดูแลสุขภาพ ตลอดจนการออกแบบให้ผู้ดำเนินรายการหรือตัวละครต้องใช้สินค้านั้นๆ เช่น ใช้ในการประกอบอาหาร หรือประกอบอาชีพ ขณะเดียวกันก็พบว่ามีการสอดแทรกโฆษณาแฝงที่โจ่งแจ้งและไม่เชื่อมโยงกับเนื้อหาเช่นกัน โดยผู้ประกาศข่าวพูดโฆษณาสินค้าและโปรโมชั่นในช่วงหนึ่งของรายการ โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับข่าวที่นำเสนอแม้แต่น้อยนอกจากนี้ ยังพบรูปแบบของการทำโฆษณาแฝงที่น่าสนใจอีกลักษณะหนึ่ง นั่นคือ การผลิต ‘รายการแนะนำสินค้าโดยเฉพาะ’ ขึ้นมา โดยออกแบบให้มีลักษณะคล้ายรายการสุขภาพเป็นหลัก บางส่วนเป็นรายการวาไรตี้ และบางส่วนออกแบบให้คล้ายรายการเล่าข่าว ลักษณะการนำเสนอจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ เสนอเนื้อหาที่สอดคล้องกับรายการแล้วจึงเชื่อมโยงไปสู่สินค้า เช่น รายการสุขภาพก็จะให้ความรู้เรื่องสุขภาพ หรือรายการข่าวนำเสนอข่าวเกี่ยวกับปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ แล้วชี้นำว่าสินค้าสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยมีการสัมภาษณ์ผู้ใช้สินค้าจริงและอ้างอิงข้อมูลทางการแพทย์หรืองานวิจัยเพื่อเสริมความน่าเชื่อถือของสินค้า ในส่วนของรายการวาไรตี้มีการจัดวางสินค้าเป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก และนำสินค้ามาเป็นโจทย์ให้ผู้เข้าแข่งขันทายราคา   จุดประสงค์สำคัญของรายการประเภทนี้ คือ แนะนำสรรพคุณสินค้าและโปรโมชั่น พร้อมกับเชิญชวนให้เกิดการซื้อ แม้ว่าหน้าตาของรายการประเภทจะละม้ายคล้ายคลึงกับการแฝงเนื้อหาโดยทั่วไป ทว่าจุดต่างที่สังเกตได้ชัดเจนคือ            3. ความสัมพันธ์ของประเภทรายการและโฆษณาแฝง    การศึกษาในครั้งนี้ยังพบความสอดคล้องระหว่าง ‘ประเภทของรายการโทรทัศน์’ กับโฆษณาแฝงที่นำเสนอ โดยประเภทของรายการโทรทัศน์มักจะมีผลต่อการออกแบบโฆษณาแฝง ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหาหรือด้านรูปแบบของโฆษณาแฝง ดังรายละเอียดต่อไปนี้              3.1 รายการที่นำเสนอข้อเท็จจริง (non-fiction)                 มักจะนำเสนอเนื้อหาในเชิงข้อมูลหรือสาระความรู้แล้วค่อยๆ สอดแทรกโฆษณาแฝงเข้าไป พิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการสื่อสารด้วยถ้อยคำที่ค่อนข้างเป็นทางการ น่าเชื่อถือ มีการอ้างข้อมูลประกอบ                1) รายการข่าว/เล่าข่าว                    รูปแบบของโฆษณาแฝง ได้แก่ แฝงภาพกราฟิก (ตราสินค้าปรากฏที่ฉากหลัง, มีโลโก้สินค้าปรากฏในจอด้านหน้าโต๊ะผู้ประกาศข่าว) แฝงวัตถุ (วางสินค้าไว้ที่โต๊ะ, พิธีกรพูดถึงสินค้าและมีการแพนกล้องไปที่สินค้า) และแฝงเนื้อหา (สัมภาษณ์แขกรับเชิญเกี่ยวกับปัญหาความงาม แล้วโยงไปสู่สินค้า)                2) รายการสุขภาพ                    รูปแบบของโฆษณาแฝง ได้แก่ แฝงเนื้อหา (พิธีกรนำเสนอเรื่องสุขภาพ แล้วแนะนำสินค้าที่มีสรรพคุณในการดูแลสุขภาพ)           3.2 รายการที่นำเสนอเรื่องแต่ง (Fiction)                 มักจะสอดแทรกโฆษณาแฝงเข้ากับเรื่องราวหรือตัวละคร เช่น แฝงกับสถานที่ หรือตัวละครมีความจำเป็นต้องใช้สินค้านั้นๆ                1) ซิทคอม                    รูปแบบของโฆษณาแฝง ได้แก่ แฝงวัตถุ (วางสินค้าเป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก, มีป้ายสินค้าเป็นฉากหลัง) และแฝงเนื้อหา (ตัวละครมีอาชีพที่ต้องใช้สินค้านั้นๆ)                2) ละคร/ซีรีส์                    รูปแบบของโฆษณาแฝง ได้แก่ แฝงภาพกราฟิก (โลโก้สินค้าปรากฏที่มุมจอ) และแฝงเนื้อหา (ตัวละครหยิบสินค้าขึ้นมาใช้ มีการพูดถึงตราสินค้าโดยตรงหรือกล้องแพนไปที่สินค้านั้น)           3.3 รายการให้ความบันเทิงเบาสมอง (Light Entertainment)                 พบว่าโฆษณาแฝงมีความกลมกลืนกับเนื้อหาของรายการ เช่น รายการทอล์กโชว์ที่สัมภาษณ์นักแสดงหญิงก็มักจะแฝงสินค้าด้านความสวยความงาม หรือรายการทำอาหารก็มีโฆษณาแฝงเกี่ยวกับอาหาร                1) รายการทอล์กโชว์                     รูปแบบของโฆษณาแฝง ได้แก่ แฝงสปอตสั้น (ก่อนเข้ารายการมีโลโก้และเสียงบรรยายผู้สนับสนุนรายการ) แฝงภาพกราฟิก (โลโก้สินค้าปรากฏที่มุมจอเป็นระยะ) แฝงวัตถุ (มีสินค้าวางบนโต๊ะและมีภาพสินค้าที่ฉากหลัง) และแฝงเนื้อหา (สัมภาษณ์แขกรับเชิญเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว ผลงาน แล้วโยงไปสู่สินค้าในตอนท้าย)                2) รายการเกมโชว์/แข่งขัน                     รูปแบบของโฆษณาแฝง ได้แก่ แฝงสปอตสั้น (แนะนำผู้สนับสนุนรายการ) และแฝงวัตถุ (มีป้ายโลโก้สินค้าตรงที่นั่งของผู้แข่งขัน)                3) รายการอาหาร                    รูปแบบของโฆษณาแฝง ได้แก่ แฝงภาพกราฟิก (โลโก้สินค้าปรากฏที่มุมจอ) แฝงวัตถุ (วางสินค้าไว้ในฉาก) แฝงบุคคล (พิธีกรใส่ผ้ากันเปื้อนที่มีตราสินค้า) และแฝงเนื้อหา (แจกสินค้าให้แขกรับเชิญ หรือร่วมสนุกตอบคำถามชิงรางวัลจากสินค้ายี่ห้อนั้นๆ)                4) รายการแนะนำอาชีพ                     รูปแบบของโฆษณาแฝง ได้แก่ แฝงเนื้อหา (สัมภาษณ์แขกรับเชิญที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ แล้วเชื่อมโยงไปถึงสินค้า)                5) รายการประเภทอื่นๆ เช่น วาไรตี้ ท่องเที่ยว                     รูปแบบของโฆษณาแฝง ได้แก่ แฝงภาพกราฟิก (มีภาพสินค้า ตราสินค้า และสโลแกนปรากฏที่มุมจอ) และแฝงเนื้อหา (พาชมบ้านแขกรับเชิญแล้วพบสินค้าวางอยู่ แขกรับเชิญก็บรรยายสรรพคุณสินค้า พร้อมกับชี้ชวนให้ซื้อ)          3.4 รายการแนะนำสินค้าโดยเฉพาะ                มักจะสอดแทรกโฆษณาแฝงที่เข้ากับรูปแบบรายการ เช่น รายการเชิงสุขภาพก็นำเสนอสินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพ มีการอ้างอิงข้อมูลจากผู้ใช้สินค้าจริงและข้อมูลทางการแพทย์หรืองานวิจัย รายการวาไรตี้มีการแบ่งเนื้อหาเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกมีลักษณะเป็นซิทคอมก็ใช้รูปแบบแบบแฝงวัตถุ (จัดวางสินค้าเป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก) ช่วงต่อมาจะเป็นการแข่งขันโดยนำสินค้ามาเป็นโจทย์ให้ผู้แข่งขันทายราคา เป็นต้น                จากข้อมูลที่กล่าวมาจะเห็นว่าโฆษณาแฝงในรูปแบบดั้งเดิมก็ยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ล้มหายไปจากหน้าจอโทรทัศน์ และในขณะเดียวกันก็ยังมีโฆษณาแฝงรูปแบบใหม่เพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งสามารถตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมได้ใน 2 ประเด็น ดังนี้                 1. รายการ ‘ยั่งยืน’ กับ ‘ไม่ยั่งยืน’                      เราสามารถแบ่งลักษณะของรายการโทรทัศน์ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ รายการ ‘ยั่งยืน’ หมายถึง รายการที่ออกอากาศมานาน/มีระยะเวลาในการออกอากาศ 1 ชั่วโมงขึ้นไป/อยู่ในช่วงเวลาไพร์มไทม์ (prime time)/กำหนดวันและเวลาออกอากาศที่แน่นอน/เป็นรายการที่มีจำนวนผู้ชมมากหรือเป็นที่รู้จักในวงกว้าง กล่าวได้ว่า เป็นรายการที่มีแนวโน้มจะคงอยู่ในระยะยาว เช่น รายการทูเดย์โชว์ (3 HD), คุยโขมงบ่ายสามโมง (MCOT HD), ซีรีส์เป็นต่อ 2018 (ONE 31)                     รายการ ‘ไม่ยั่งยืน’ หมายถึง รายการที่เพิ่งผลิตและออกอากาศในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา/มีระยะเวลาในการออกอากาศ 10-30 นาที (บางรายการอาจถึง 1 ชั่วโมง)/วันและเวลาออกอากาศไม่แน่นอน กล่าวได้ว่า เป็นรายการที่มีแนวโน้มจะคงอยู่เพียงชั่วคราวหรือในระยะสั้นๆ เช่น รายการใส่ใจไกลโรค (ช่อง 8), รายการพลังชีวิต (NOW 26)                     แม้ว่ารายการทั้งสองรูปแบบจะมีความแตกต่างกันในด้านคุณลักษณะ แต่กลับพบว่ามีการนำเสนอโฆษณาแฝงด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งในอดีตนั้นรายการยั่งยืนจะไม่นำเสนอโฆษณาแฝงอย่างหนักหน่วงเหมือนเช่นปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นวิกฤตการณ์ขององค์กรสื่อ ตลอดจนความย่ำแย่ทางเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้ผลิตรายการและสถานีโทรทัศน์แทบทุกช่องต้องหาทางเอาตัวรอดจากสภาวะดังกล่าว เราจึงพบโฆษณาแฝงกระจายตัวไปตามรายการต่างๆ อย่างครอบคลุมไม่ว่าช่องเล็กหรือใหญ่ก็ตาม                  2. แฝงแบบ ‘เนียน’ กับ ‘ไม่เนียน’                      อาจกล่าวได้ว่า รูปแบบของโฆษณาแฝงมีทั้งแนบเนียนและไม่แนบเนียน ซึ่งอธิบายได้ดังนี้                      แนบเนียน หมายถึง นำเสนอเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับรายการ แล้วจึงนำไปสู่การเสนอขายผลิตภัณฑ์  เช่น รายการทอล์กโชว์มีการสัมภาษณ์นักแสดงเกี่ยวกับการดูแลตนเอง แล้วจึงโยงเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ หรือรายการด้านสุขภาพนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บและการดูแลสุขภาพ แล้วจึงแนะนำผลิตภัณฑ์ ซึ่งลักษณะการดำเนินรายการจะค่อนข้างราบลื่น (smooth) มีลำดับขั้นตอนในการนำพาไปสู่เป้าหมาย (ผลิตภัณฑ์สุขภาพ) มีจุดเชื่อมโยงที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกคล้อยตามได้                      ไม่แนบเนียน หมายถึง เสนอขายผลิตภัณฑ์อย่างโจ่งแจ้ง โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระในรายการ เช่น รายการข่าว ผู้ประกาศข่าวอธิบายสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง พร้อมชี้ชวนช่องทางการสั่งซื้อให้แก่ผู้ชม โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับข่าวที่นำเสนอแม้แต่น้อย ลักษณะเช่นนี้อาจทำให้ผู้ชมเกิดความตะขิดตะขวงใจ เนื่องจากเนื้อหาที่ไม่ปะติดปะต่อกัน                       ข้อแตกต่างดังกล่าวนอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงระดับความสร้างสรรค์ของผู้ผลิตในการจัดวางโฆษณาแฝงลงในรายการของตนเองแล้ว ยังสามารถตั้งข้อสังเกตต่อไปได้อีกว่า การนำเสนอแบบแนบเนียนนั้นค่อนข้างน่าเป็นห่วงกว่า เพราะผู้ชมเสพเข้าไปโดยไม่รู้ตัว ทำให้คล้อยตามไปกับสารที่ได้รับอย่างง่ายดาย ในขณะที่การนำเสนอแบบไม่แนบเนียนมักจะทำให้ผู้ชมรู้ตัวและรู้ทันเสียก่อน จนนำไปสู่การระแวดระวังได้ แต่ก็ไม่แน่เสมอไปหากมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ดำเนินรายการ ความถี่ในการรับชม เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ชมได้ทั้งสิ้น                        แต่ไม่ว่าโฆษณาแฝงเหล่านี้จะถูกนำเสนอหรือรังสรรค์ออกมาในแบบใดก็ตามต่างก็สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของวงการทีวีดิจิทัลได้เป็นอย่างดี ในยุคสมัยที่ผู้บริโภคอย่างเราๆ คาดหวังเนื้อหาน้ำดีมีคุณภาพ ผู้ประกอบการเองก็ต้องขวนขวายหาทางอยู่รอดเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคที่ต้องตระหนักถึงสิทธิที่พึงมี เสพสื่ออย่างระแวดระวัง และรู้จักตรวจสอบสิ่งที่เสพอยู่เสมอ เมื่อผู้บริโภคมีความกระตือรือร้น (active consumers) ก็ย่อมส่งผลไปยังผู้ประกอบการที่ต้องปรับตัวให้ตอบสนองต่อความรู้เท่าทันและพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนได้ในอนาคต  แหล่งข้อมูล:ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2552). รู้เท่าทันโฆษณาแฝง. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ทครีเอชั่น.ปวรรศ จันทร์เพ็ญ. (2560). กลยุทธ์ใหม่กับโฆษณาแฝงในปัจจุบัน. นิเทศสยามปริทัศน์, 12(13).พชร แกล้วกล้า และคณะ. (2559). จับตายโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี. 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 “เคเบิลทีวีแบบบอกรับสมาชิก” เจ้าไหนน่าสนใจกว่ากัน

เมื่อช่องรายการที่สามารถรับชมได้ฟรีทั้ง 36 ช่องใหม่ที่ดูได้จากกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลและอีกกว่า 100 ช่องดูฟรีจากกล่องรับสัญญาณจานดาวเทียมทั้งแบบ จานดำหรือจานตะแกรง (ระบบ C Brand) และแบบ จานทึบ (KU Brand) ยังไม่โดนใจคนชอบดูทีวี “ช่องรายการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก” หรือเคเบิลทีวีจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับคนที่อยากชมรายการทีวีที่แตกต่างออกไป ด้วยคุณภาพของรายการที่ดีกว่ารายการจากช่องฟรีทีวี รายการส่วนใหญ่เป็นรายการยอดนิยมจากต่างประเทศ รวมทั้งมีการแข่งขันกีฬาดังระดับโลกที่ถ่ายทอดให้ชมแบบสดๆ อย่าง ฟุตบอล หรือ เทนนิส ที่เดี๋ยวนี้ถูกเคเบิลทีวีซื้อลิขสิทธิ์ไปหมดแล้ว เพียงแต่มีเงื่อนไขสำคัญว่าต้องพร้อมที่จะจ่ายค่าบริการเพื่อสิทธิ์ในการรับชม“จุดเด่น” และ “จุดด้อย” ของช่องรายการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกจุดเด่น1.ช่องรายการส่วนใหญ่เป็นช่องรายการยอดนิยมจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ พวกรายการกีฬา ภาพยนตร์ ซีรีส์ สารคดี ซึ่งหลายรายการออกอากาศใกล้เคียงหรือพร้อมกันกับที่ต่างประเทศ โดยเฉพาะการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาจากต่างประเทศ เช่น ฟุตบอล เทนนิส กอล์ฟ ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งที่สุดที่หลายๆ คนยกให้เป็นเหตุผลแรกในการเลือกติดตั้งกล่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบบอกรับสมาชิก 2.ช่องรายการจากต่างประเทศส่วนใหญ่ออกอากาศด้วยระบบความคมชัดสูง หรือระบบ HD (High-Definition) 3.ช่องรายการจากต่างประเทศส่วนใหญ่มีระบบเสียงภาษาอังกฤษและมีคำบรรยายไทยประกอบ บางช่องรายการก็เป็นระบบ 2 ภาษา 4.มีโฆษณาน้อยกว่าช่องฟรีทีวี ช่องรายการทีวีดาวเทียมแบบบอกรับสมาชิกจะมีโฆษณาคั่นรายการน้อยกว่าช่องรายการฟรีทีวีตามที่ พรบ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดไว้ว่า ทีวีดาวเทียมแบบบอกรับสมาชิกสามารถมีโฆษณาได้ไม่เกินชั่วโมงละ 6 นาที หรือรวมเฉลี่ยตลอดทั้งวันไม่เกินชั่วโมงละ 5 นาที แต่หากเป็นช่องฟรีทีวีสามารถมีโฆษณาได้ชั่วโมงละไม่เกิน 12 นาทีครึ่ง หรือรวมตลอดทั้งวันแล้วเฉลี่ยไม่เกินชั่วโมงละ 10 นาที 5.ปัจจุบันนี้ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีแบบบอกรับสมาชิกหลายเจ้า เช่น GMMZ, PSI+CTH ใช้วิธีการขายแพ็คเก็จชมช่องรายการแบบเติมเงิน คือผู้ชมสามารถเลือกช่วงเวลาที่อยากซื้อแพ็คเก็จได้ ซึ่งแพ็คเก็จส่วนใหญ่จะรับชมได้อย่างน้อย 30 วันต่อการซื้อแพ็คเก็จ 1 ครั้ง เมื่อครบกำหนดเราจะเลือกซื้อแพ็คเก็จต่อหรือไม่ซื้อเติมก็ได้ หรือจะเลือกเปลี่ยนเป็นแพ็คเก็จอื่นก็ได้เช่นกัน จุดด้อย 1.ช่องรายการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยตั้งแต่ 300 – 2,000 กว่าบาทต่อเดือน 2.มีสัญญาผูกมัด บางเจ้าผู้ให้บริการอย่าง ทรู วิชั่น มีเงื่อนไขในการรับชมว่าแม้จะฟรีค่าอุปกรณ์และค่าติดตั้ง แต่ยังมีค่ารักษาอุปกรณ์ 1,000 – 2,000 บาท รวมทั้งต้องอยู่ในสัญญาตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น 6 เดือน หรือ 12 เดือน หากผู้ใช้ขอยกเลิกบริการก่อนครบสัญญา จะถูกคิดค่าอุปกรณ์ แต่การกำหนดข้อสัญญาในลักษณะนี้ ขัดกับประกาศของ กสทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก พ.ศ. 2556 ที่ระบุไว้ว่า กรณีที่ผู้ให้บริการได้มีการมอบอุปกรณ์หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับชมช่องรายการทีวีดาวเทียมแบบบอกรับสมาชิกให้แก่ผู้ใช้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นประโยชน์ในการรับชมของสมาชิก ผู้ให้บริการจะนำการให้อุปกรณ์ดังกล่าวมาเป็นเงื่อนไขในการเรียกเก็บเป็นค่าปรับหรือค่าเสียหายกับผู้ใช้บริการในกรณีที่ผู้ใช้บริการขอยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดไม่ได้ ยกเว้นกรณีเกิดความเสียหายจากตัวผู้ใช้งานเองรู้ก่อนสมัครเป็นสมาชิกเคเบิลทีวี1.ผู้ให้บริการต้องแจ้งรายละเอียดเงื่อนไขการบริการที่ชัดเจน ครบถ้วน อัตราค่าบริการทั้งหมด ระยะเวลาในการรับชม ช่องรายการที่จะได้รับชม รายละเอียดรายการ อุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นต่อการรับชม ข้อจำกัดต่อการให้บริการ เช่น ขอบเขตพื้นที่ในการให้บริการ ระยะเวลาในการให้บริการ และเงื่อนไขในการปฏิเสธการให้บริการและการขอยกเลิกการเป็นสมาชิก 2.หากมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการให้บริการที่ผิดไปจากสัญญาณที่ได้ทำไว้กับสมาชิก ผู้ให้บริการต้องมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรกับสมาชิกไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนทำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหากการเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลให้สิทธิในการรับชมของสมาชิกลดน้อยลงกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ ผู้ให้บริการจะต้องมีการชดเชย ด้วยการลดหรือยกเว้นค่าบริการให้กับผู้ใช้บริการ 3.หากเกิดเหตุขัดข้องจนผู้ใช้บริการไม่สามารถรับชมช่องรายการทีวีดาวเทียมแบบบอกรับสมาชิกได้ตามปกติ ผู้ให้บริการต้องดำเนินการแก้ไขโดยเร็วที่สุด และต้องมีการชดเชยเยียวยาให้กับผู้ใช้บริการตามความเหมาะสม 4.การจัดเก็บค่าบริการ ผู้ให้บริการต้องจัดส่งใบแจ้งรายการให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 50 วันก่อนวันครบกำหนดชำระ โดยใบแจ้งรายการดังกล่าวจะต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราค่าบริการ ค่าเครื่องอุปกรณ์หรือสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องในการใช้บริการ และการคํานวณค่าบริการที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใจถึงที่มาของค่าใช้จ่ายที่ปรากฏอยู่ในใบแจ้งรายการนั้นได้ พร้อมทั้งกําหนดวิธีการในการรับชําระเงินให้ชัดเจน 5.ห้ามผู้ให้บริการเรียกเก็บค่าบริการอื่นนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในสัญญา 6.เมื่อผู้ใช้บริการได้ชําระค่าบริการแล้ว ผู้ให้บริการต้องออกหลักฐานการชำระเงินให้กับผู้ใช้บริการ 7.ผู้ใช้บริการมีสิทธิเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้ด้วยการบอกกล่าวเป็นหนังสือให้แก่ผู้ให้บริการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการจะต้องชำระค่าบริการจนถึงวันที่การยกเลิกสัญญามีผลบังคับ 8.ในกรณีที่มีเหตุดังต่อไปนี้ ผู้ใช้บริการอาจใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ทันที8.1 ผู้ใช้บริการไม่สามารถรับบริการจากผู้ให้บริการได้ด้วยเหตุที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและอยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ใช้บริการ8.2 ผู้ให้บริการได้ละเมิดข้อตกลงอันเป็นสาระสำคัญของสัญญา8.3 ผู้ให้บริการตกเป็นบุคคลล้มละลาย8.4 ผู้ให้บริการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาหรือเงื่อนไขในการให้บริการ เป็นผลทำให้สิทธิประโยชน์ของผู้ใช้บริการลดน้อยลงกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา (ที่มา : ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก พ.ศ. 2556)   ตารางเปรียบเทียบราคาแพ็คเก็จต่างๆ ของเคเบิลทีวีแบบบอกรับสมาชิก               *จำนวนช่องรายการที่แจ้งไม่รวมช่องรายการจากกล่องดิจิตอลทีวีและช่องรับชมฟรีจากกล่องดาวเทียม**สำรวจล่าสุดเดือนตุลาคม 2558ทรู วิชั่นมีจุดเด่นคือมีช่องรายการให้รับชมมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกแพ็คเก็จและทุกผู้ให้บริการ รวมทั้งมีรายการความคมชัดสูง หรือ HD ให้ชมมากที่สุด ช่องรายการเด่นๆ ส่วนใหญ่เป็นพวกรายการบันเทิงลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ เช่น HBO, Discovery Channel, History Channel และช่องการแข่งขันกีฬาต่างประเทศ เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล อเมริกันฟุตบอล กอล์ฟ ฯลฯ และช่องถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลลีกในประเทศไทย ซึ่งทรู วิชั่นได้ลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอด รวมทั้งยังมีช่องรายการที่ทรูผลิตเอง เน้นรายบันเทิงและละคร แต่จุดด้อยของทรู วิชั่น ก็คือการต้องสมัครสมาชิกทำสัญญาและจ่ายค่าบริการต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน นอกจากนี้ค่าสมาชิกที่ต้องจ่ายต่อเดือนถือว่าค่อนข้างสูงหากต้องการดูแพ็คเก็จที่ดีที่สุดจีเอ็มเอ็มแซดจีเอ็มเอ็มแซด เน้นช่องรายการภาพยนตร์และบันเทิงจากต่างประเทศ และมีช่องถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลต่างประเทศซึ่งถือเป็นจุดขายหลัก เพราะมีช่องถ่ายทอดสดฟุตบอลเมื่อรวมกับช่องลิขสิทธิ์ของ ซีทีเอช ที่ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกจากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นที่นิยมของคนไทย รวมๆ แล้วมีช่องที่ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลต่างประเทศเกือบ 10 ช่อง จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ จีเอ็มเอ็มแซด ก็คือสามารถเลือกซื้อแพ็คเก็จได้อิสระ มีระยะเวลาขั้นต่ำสุดที่ 30 วัน ไม่มีสัญญาผูกมัด อยากดูเมื่อไหร่ก็ซื้อ แต่ต้องมีกล่องของจีเอ็มเอ็มแซดเป็นอุปกรณ์รองรับในการรับชมพีเอสไอ+ซีทีเอชแพ็คเก็จช่องรายการเหมือนกันกับของ จีเอ็มเอ็มแซด ทั้งหมด จุดเด่นของช่องรายการก็คือการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลต่างประเทศเหมือนกัน สามารถเลือกซื้อแพ็คเก็จได้อิสระไม่ผูกมัดสัญญาเหมือนกัน แต่มีตัวเลือกเรื่องราคามากกว่า ราคาแพ็คเก็จเริ่มต้นถูกกว่าของ จีเอ็มเอ็มแซด เจ้าอื่นๆ อาร์เอส ซันบ็อกซ์ก่อนหน้านี้กล่องอาร์เอส ซันบ็อกซ์ ถือว่าได้รับความนิยมไม่น้อยในช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 เพราะเป็นกล่องที่ได้ลิขสิทธิ์การถ่ายทอด แต่สุดท้ายก็ถูกท้วงติงจาก กสทช. ว่าต้องนำการแข่งขันฟุตบอลโลกออกฉายทางช่องฟรีทีวีด้วย พอจบการแข่งขันฟุตบอลโลกและหมดสิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลต่างประเทศ ทำให้กล่องอาร์เอส ซันบ็อกซ์ก็ไม่มีจุดขายอะไรดึงดูดคนดูทีวีอีกเลย ปัจจุบันนอกจากช่องรายการดิจิตอลทีวีและช่องดูฟรีจากจานดาวเทียม ก็มีช่องที่ทางอาร์เอส ซันบ็อกซ์ผลิตเองอีก 3-4 ช่อง แต่กล่องอาร์เอส ซันบ็อกซ์ก็สามารถรับชมแพ็คเก็จพรีเมียร์ลีก พลัส SD ของ ซีทีเอช โดยซื้อได้ในราคา 599 บาทต่อเดือนไอพีเอ็มมีแพ็คเก็จที่ขายกล่องรับสัญญาณพร้อมแพ็คเก็จในการรับชมช่องรายการที่ทางกล่องเป็นผู้ผลิตเอง และช่องฟรีทีวีอื่นๆ จากจานดาวเทียม มีทั้งช่องความคมชัดปกติและช่องความคมชัดสูง จุดเด่นของช่องรายการ ไอพีเอ็ม คือมีช่องรายการท้องถิ่นมีการถ่ายทอดกีฬาและงานประเพณีท้องถิ่นในประเทศ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 98 โฆษณาในรายการเด็ก เยอะไปไหม???

เรื่องทดสอบ 3 กองบรรณาธิการ พ่อแม่หลายคนคงไม่ปฏิเสธว่า ทุกวันนี้ทีวีได้กลายมาเป็นเสมือนเพื่อนที่แสนดีของลูกๆ ของเรา เด็กๆ หลายคนใช้เวลาอยู่หน้าจอทีวีมากกว่าอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งช่วงเวลาที่เด็กดูทีวีส่วนใหญ่คือช่วงเวลาหลังเลิกเรียน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 โมงเย็น จนถึง 2 ทุ่ม ของวันจันทร์ – วันศุกร์ และเกือบตลอดทั้งวัน ในวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เนื่องจากเป็นวันหยุด โดยรายการที่เด็กๆ ชอบดูมากที่สุดหนีไม่พ้น การ์ตูน รองลงมาคือ เกมส์โชว์ ซึ่งทุกรายการจะมีผลิตภัณฑ์ขนมและอาหารสำหรับเด็กเป็นผู้สนับสนุน ดังนั้นเด็กจึงได้เห็นขนมยี่ห้อต่างๆ ตลอดการชมรายการโปรด ซึ่งมาทั้งในรูปแบบโฆษณาขั้นเวลาระหว่างรายการและโฆษณาแฝง หลายคนอาจยังไม่รู้ถึงกลไกในการดำเนินธุรกิจทีวี สาเหตุที่เราได้ดูทีวีฟรีในช่องฟรีทีวีอย่าง 3 5 7 9 เป็นเพราะมีคนจ่ายเงินค่าเวลาให้กับเรา ซึ่งก็คือบรรดาเจ้าของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ลงเงินไปกับค่าโฆษณาที่ออกอากาศสลับกับรายการต่างๆ ตลอดทั้งวัน ซึ่งแน่นอนว่าในรายการทีวีสำหรับเด็กก็ไม่มีข้อยกเว้น บรรดาสินค้าพวกขนมนมเนยทั้งหลายต่างก็รู้ว่าผู้ชมรุ่นเยาว์กำลังนั่งชมรายการโปรดของพวกเขา และนั่นก็คือช่วงเวลานาทีทองที่เหล่าสินค้าเอาใจคุณหนูๆ ทั้งขนมขบเคี้ยว หมากฝรั่ง ลูกอม นมผง นมกล่อง อาหารเช้า น้ำผลไม้ น้ำอัดลม และอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่าง จะสร้างภาพจำและนำเสนอสินค้าให้เป็นที่ต้องตาต้องใจของคุณหนูๆ ที่นั่งดูตาใสใส่ใจกับจอทีวี ซึ่งพร้อมที่จะซึมซับทุกอย่าง แน่นอนว่าเมื่อเขาลงทุนไปกับค่าโฆษณาสิ่งที่เขาหวังได้คืนกลับมาก็คือยอดขายของสินค้าและผลิตภัณฑ์ ซึ่งกลุ่มลูกค้ารุ่นเยาว์เหล่านี้ยังคงมีความสามารถในการตัดสินใจแยกแยะในระดับต่ำตามอายุและวุฒิภาวะ จึงไม่น่าแปลกใจที่สินค้าจำพวกขนมขบเคี้ยว ลูกกวาดสีสันสดใส หรือแม้กระทั้งฟาสต์ฟู้ดทั้งหลาย เจาะจงเลือกใช้กลุ่มลูกค้าที่เป็นเยาวชน โฆษณาอาหารในรายการทีวี ทำเด็กวันนี้เป็นผู้ป่วยในวันหน้าผลเสียจริงๆ ไม่ได้เกิดจากการที่เด็กๆ นั่งชมโฆษณา แต่เกิดจากการที่เด็กๆ เลือกรับประทานอาหารจากการที่เขาได้เห็นจากในโฆษณา ซึ่งโฆษณาส่วนใหญ่มักทำออกมาในภาพลักษณ์ที่เหนือความเป็นจริง ทั้งเรื่องความรสชาติ รูปร่างลักษณะ หรือแม้แต่คุณค่าทางอาหาร โฆษณาอาหารหรือขนมสำหรับเด็กหลายตัวตั้งใจใช้สีสันที่ดูสดใสสะดุดตาเกินกว่าความเป็นจริง เช่น บรรดาลูกอม ลูกกวาด เยลลี่ และขนมขบเคี้ยว ซึ่งสีสันเหล่านี้ไปกระตุ้นเร้าให้เด็กๆ เกิดความสนใจ และอยากลิ้มลองหาซื้อมารับประทาน ขณะที่ผลิตภัณฑ์จำพวก นม อาหาร เช้า รวมทั้งซุปไก่สกัด ที่ขายภาพลักษณ์ของอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ก็สร้างภาพที่สื่อออกมาเกินจริง ด้วยการให้เด็กๆ หรือตัวละครในภาพยนตร์โฆษณามีความสามารถ เก่ง และฉลาดขึ้นได้อย่างรวดเร็วเพียงแค่ได้ทานผลิตภัณฑ์นั้นๆ ส่วนโฆษณาของร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดก็มักใช้ของเล่นมาเป็นจุดขายหลัก ขายพร้อมคู่ไปกับชุดอาหาร ซึ่งของเล่นที่นำมาใช้ล่อใจเด็กๆ ก็มาจากการ์ตูนหรือภาพยนตร์ที่เด็กๆ รู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งตัวอย่างกลยุทธ์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ดูแล้วไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะหลอกล่อให้เด็กเกิดความสนใจในตัวโฆษณา ต่อด้วยการรู้จักและจดจำตัวสินค้า ซึ่งสุดท้ายก็จะส่งผลร้ายไปยังพฤติกรรมการบริโภคของเด็กๆ ขนมกับผลเสียต่อสุขภาพเด็กผลวิจัยหลายๆ ตัวชี้ให้เห็นว่า เด็กไทยมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนสูงขึ้น ขณะที่การเจริญเติบโตทางร่างกายค่อนข้างต่ำ ซึ่งมาจากการที่เด็กมีพฤติกรรมการรับประทานขนมขบเคี้ยวและน้ำอัดลม ซึ่งเป็นอาหารที่ไม่มีความจำเป็นต่อร่างกายมากเกินความพอดี ผลสืบเนื่องมาจากการรับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้องจากการโฆษณา อีกทั้งการที่ผู้ปกครองหลายๆ คนเองก็เชื่อตามคำบอกกล่าวในโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีประโยชน์ต่อร่างกายของบุตรหลาน อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์จำพวกอาหารเช้าซีเรียล ซึ่งในหลายยี่ห้อมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง นอกจากนี้ในการตรวจสอบดูปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ที่ให้ไว้ในฉลากข้อมูลโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์ของแต่ละผลิตภัณฑ์พบว่า มีขนมหลายยี่ห้อที่มี่ส่วนผสมของ น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม สูงเกินกว่าเกณฑ์ที่หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านมาตรฐานอาหารของประเทศอังกฤษ (UK Food Standards Agency) กำหนดไว้ เมื่อเด็กมีภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสมจากการรับประทานขนมที่มี น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม มากเกินความพอดี จนทำให้เด็กมีภาวะการณ์เจริญเติบโตบกพร่องเกิดเป็นโรคอ้วนแล้ว ผลเสียของสุขภาพที่จะตามมาเมื่อเด็กโตขึ้นคือโรคภัยไข้เจ็บมากมายหลากหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นความดัน เบาหวาน โรคหัวใจ โรคกระดูกเสื่อม โรคระบบทางเดินหัวใจ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ เช่น เด็กบางคนติดที่จะรับประทานขนมจนไม่ทานข้าว ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้กลายเป็นเด็กผอม สุขภาพไม่แข็งแรง เด็กบางคนมีนิสัยก้าวร้าวเมื่อไม่ได้ทานขนม ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องของโภชนาการที่ดีย่อมมีผลต่อการพัฒนาของไอคิวและอีคิว ***การแถมของเล่นไปพร้อมกับอาหารชุดสำหรับเด็กเคยทำอันตรายให้กับเด็กๆ มาแล้ว เมื่อปี 2001 มีรายงานว่าเด็กชาวอเมริกาและแคนาดาจำนวนหนึ่ง ได้กลืนชิ้นส่วนของเล่นที่หักแล้วไปติดอยู่ในลำคอ ซึ่งของเล่นที่ว่าคือ แมคโดนัลด์ แฮปปี้มีลล์ ชุด "สกูตเตอร์บั๊ก" *** เมื่อปี 2007 รัฐบาลได้เสนอข้อบังคับใช้ในการควบคุมโฆษณาที่ออกฉายในรายการทีวีสำหรับเด็กอายุระหว่าง 3 – 12 ปี รวมทั้งรายการทีวีอื่นๆ ที่มีกลุ่มผู้ชมส่วนใหญ่เป็นเยาวชน- สถานีโทรทัศน์สามารถโฆษณาในรายการสำหรับเด็กได้ไม่ 12 นาทีต่อรายการความยาว 1 ชั่วโมง โดยต้องเป็นโฆษณาที่ส่งเสริมสุภาพและพฤติกรรมการกินที่ดีสำหรับเด็ก- สินค้าชนิดเดียวกันสามารถโฆษณาซ้ำได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อรายการความยาว 1 ชั่วโมง และไม่ซ้ำกันเกิน 2 ครั้งในระยะเวลา 30 นาที- ห้ามโฆษณาในลักษณะส่งเสริมการขายทุกรูปแบบ ทั้งการเล่นเกมชิงรางวัล แถม แจกของขวัญ ของเล่น- ห้ามนำเสนอเนื้อหาหรือข้อมูลที่ดูเกินจริง ทั้งเรื่องภาพและเสียง ไม่เชิญชวนให้เด็กอยากซื้อหรืออยากรับประทานจนเกินขอบเขต ไม่แสดงคุณประโยชน์ ความเร็ว ขนาด สี ที่สร้างความเย้ายวนใจจนเกิดความเข้าใจผิด- ต้องมีคำเตือนที่ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาปรากฏหน้าจอขณะโฆษณา โดยกำหนดขนาดตัวอักษรไว้ที่ 1 ใน 25 ส่วนของภาพ และแช่ภาพคำเตือนไว้ 3 – 5 วินาที- ห้ามใช้ตัวการ์ตูน บุคคล ตัวละครที่เด็กรู้จักหรือปรากฏในรายการสำหรับเด็กเพื่อการขายหรือแนะนำสินค้า โฆษณา…จะเยอะไปไหนตารางแสดงผล 20 อันดับภาพยนตร์โฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารนี้ เป็นภาพยนตร์โฆษณาที่ออกอากาศทางโทรทัศน์มากที่สุดในช่วงเวลารายการสำหรับเด็ก (สำรวจในช่วงวันพุธที่ 25 – วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 17.00 น. – 19.00 น. และวันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2552 เวลา 08.00 น. – 12.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, 7 และ 9) โดยตลอดช่วงเวลาที่มีการสำรวจมีจำนวนภาพยนตร์โฆษณาออกอากาศทั้งหมด 1,242 เรื่อง เป็นภาพยนตร์โฆษณาที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารจำนวน 408 เรื่อง หรือ 32.85% เป็นยี่ห้อของผลิตภัณฑ์อาหารจำนวน 123 ยี่ห้อ ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีภาพยนตร์โฆษณาออกอากาสมากที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขบเคี้ยว มันฝรั่งทอด ข้าวกรอบ ข้าวโพดกรอบ 16.4% รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์จำพวก ลูกอม หมากฝรั่ง เยลลี่ 15.2% อันดับสามคือ ผลิตภัณฑ์นม 9.3% ตามมาด้วยร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด 9% และเครื่องดื่ม น้ำอัดลม ชา น้ำผลไม้ 7.8% โดยผลิตภัณฑ์ที่มีความถี่ในการออกอากาศมากที่สุดคือ โอวัลติน ที่อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์นม ซึ่งยังมีผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ติดอยู่ใน 20 อันดับอีกถึง 6 ยี่ห้อ คือ แลคตาซอย,ไวตามิลด์, เอส 26 โปรเกรสโกลด์, เอนฟาโกรว เอ+, โฟร์โสท์ และดีน่า ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้มักนำเสนอการโฆษณาที่บอกเล่าเรื่องของสุขภาพ เช่น ดื่มแล้วแข็งแรง สามารถทำสิ่งที่ดูเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ หรือทานแล้วอิ่มเหมือนรับประทานข้าว ขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนความถี่ในการออกอากาศมากเป็นอันดับสองคือ แบรนด์ ซึ่งข้อมูลที่นำเสนอในโฆษณาใกล้เคียงกับกลุ่มผลิตภัณฑ์นม คือขายเรื่องสุขภาพ เสริมเรื่องความเก่งและฉลาด โดยใช้กลวิธีให้บุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซนเตอร์นำเสนอขายสินค้า ขณะที่อันดับ 3 คือโฆษณาร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่าง แมคโดนัลด์ ซึ่งมักเป็นการโฆษณาอาหารชุดแฮปปี้มีลล์ที่ใช้ของเล่นมาเป็นของแถมจูงใจ ชื่อผลิตภัณฑ์ ความถี่ของการโฆษณา น้ำหนักสุทธิ ปริมาณน้ำตาล ปริมาณน้ำตาลต่อ 100 กรัม ปริมาณไขมัน ปริมาณไขมันต่อ 100 กรัม ปริมาณโซเดียม ปริมาณโซเดียมต่อ 100 กรัม 1.โอวัลติน 20 180 มิลลิลิตร 14 กรัม 7.7 2 กรัม 1.1 140 มิลลิกรัม 0.07 2.แบรนด์ 16 42 มิลลิลิตร ไม่มีข้อมูล 3.แมคโดนัลด์* 13 171 กรัม 8 กรัม 4.6 28 กรัม 16.37 730 มิลลิกรัม 0.42 4.ทิวลี่ เมจิก ทวิน 12 15 กรัม 3 กรัม 20 3 กรัม 20 55 มิลลิกรัม 0.36 5.แลคตาซอย 10 300 มิลลิลิตร 28 กรัม 9.3 11 กรัม 3.6 160 มิลลิกรัม 0.05 6.ไวตามิลค์ 10 250 มิลลิลิตร 23 กรัม 9.2 8 กรัม 3.2 45 มิลลิกรัม 0.018 7.เนสท์เล่ โกโก้ครั้นช์ 9 25 กรัม 9 กรัม 36 1 กรัม 4 50 มิลลิกรัม 0.2 8.เอส 26 โปรเกรส โกลด์ 8 200 มิลลิลิตร 15 กรัม 7.5 7 กรัม 3.5 95 มิลลิกรัม 0.047 9.เดอะ พิซซ่า คัมปานี 7               10.โค้ก 6 325 มิลลิลิตร 31 กรัม 9.5 0 0 20 มิลลิกรัม 0.006 11.นมพร้อมดื่ม เอนฟาโกรว เอ+ 6 180 มิลลิลิตร 8 กรัม 4.4 6 กรัม 3.3 70 มิลลิกรัม 0.03 12.โฟร์โมสท์ 6 225 มิลลิลิตร 9 กรัม 3.9 3 กรัม 1.3 120 มิลลิกรัม 0.05 13.เคลลอกซ์ คอร์นฟรอสตี้ 6 30 กรัม 9 กรัม 30 0 0 170 มิลลิกรัม 0.56 14. เพียงริคุ ? 6 350 มิลลิลิตร น้ำตาลทราย6.80% + กลูโคสไซรัป 4.00% 10.8 0 0 0 0 15.พิซซ่า ฮัท** 5 118 กรัม 3 กรัม 0.71 13 กรัม 11 630 มิลลิกรัม 0.53 16.ปาร์ตี้ 5 40 กรัม 12 กรัม

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 156 เข้าสู่ยุคดิจิตัล: ทางเลือกของผู้บริโภคในการรับชมรายการทีวี บทเรียนจากเยอรมนี

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการขณะที่คนไทยต่างกำลังตั้งหน้าตั้งตารอชมทีวีดิจิตัล ที่จัดการประมูลสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างดีนั้น  ทางเยอรมนีได้ก้าวเข้าสู่ยุค ทีวีดิจิตัล ในระบบ DVB-T (Digital Video Broadcasting- Terrestrial) ซึ่งรับส่งสัญญาณบนภาคพื้นดินเป็นเวลากว่า 10 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเฉพาะในเขตที่เป็นชุมชนมีผู้อาศัยอย่างแน่นหนา เช่นเมืองมิวนิค มีจำนวนผู้ที่รับสัญญาณผ่านระบบนี้น้อยลง จนส่งผลให้สถานี RTL (Royal Television Luxemburg) ได้ใช้อ้างเพื่อที่จะระงับการส่งสัญญาณผ่านภาคพื้นดิน ซึ่งทำให้กลุ่มทุนสื่อของ ProsiebenSat 1 ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ภาคเอกชน เข้าใช้ช่องสถานีที่ว่างลง โดยได้เล็งเห็นว่าในอนาคต การรับส่งสัญญาณผ่านภาคพื้นดินนั้นจะกลับมาได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เมื่อสถานีโทรทัศน์สามารถส่งสัญญาณในระบบความคมชัดสูง (HD-TV) แต่อย่างไรก็ตามคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินที่นับวันจะมีการใช้งานลดลง เป็นสิ่งที่ นักลงทุนคาดหวังและต้องการที่จะเข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่ม เมื่อเทคโนโลยี LTE (Long Term Evolution) หรือ  4 G ในสมาร์ตโฟนมีประสิทธิภาพเต็มรูปแบบ ก็จะเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่สามารถรับชมรายการต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา   สิ่งที่ผู้บริโภคในอนาคตจะต้องพิจารณาก็คือ ช่องทางใดที่ผู้บริโภคจะเลือกรับชมรายการโทรทัศน์ ไม่ว่าจะเป็น ผ่านดาวเทียม ผ่านทีวีเคเบิล หรือผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทีวีดาวเทียม ข้อดีของทีวีดาวเทียมคือ มีช่องรายการมากมาย และสามารถรับสัญญาณได้โดยไม่ต้องเป็นสมาชิกหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียม (ฟรีทีวี) ยกเว้นช่องสถานีที่มีการส่งสัญญาณแบบความคมชัดสูง(HD) ที่มีการใส่รหัสการส่งสัญญาณที่เป็น เพย์ทีวี ที่ต้องสมัครเป็นสมาชิก จ่ายเป็นรายเดือน หรือ จ่ายตามรายการที่สนใจ (Pay per view) และข้อดีของทีวีดาวเทียมคือ จานดาวเทียมมีระบบที่รองรับการส่งสัญญาณทั้งแบบความคมชัดสูง (HD-TV) และแบบความคมชัดธรรมดา (SD Standard Definition-TV) อยู่แล้วก็จะทำให้ต้นทุนในการติดตั้งการรับสัญญาณนั้นราคาไม่แพงเหมือนการรับสัญญาณผ่านระบบอื่นๆ ข้อเสียของทีวีดาวเทียมคือ การติดตั้งจานดาวเทียม เพราะในเยอรมนีมีกฎระเบียบที่เข้มงวดในเรื่องของการติดตั้งจานดาวเทียมนอกอาคาร เพราะจะเป็นการรบกวนทางทัศนียภาพ ซึ่งปัญหานี้ก็สามารถแก้ไขได้โดยการรวมกลุ่มติดตั้งจานดาวเทียมของผู้อยู่อาศัยในอาคาร เพื่อจะลดจำนวนจานดวเทียมในการติดตั้ง   เคเบิลทีวี มีจำนวนช่องรายการน้อยกว่าทีวีดาวเทียม แต่ช่องรายการที่มีความคมชัดสูงก็สามารถส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิลได้เช่นกัน เช่นเดียวกับการรับชมรายการช่องสาธารณะ ก็สามารถรับชมผ่านทางเคเบิลทีวี (และทีวีดาวเทียม ได้ทุกช่อง การรับชมผ่านเคเบิลทีวี ก็ต้องสมัครเป็นสมาชิกและจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นรายเดือน และเนื่องจากทางผู้ประกอบการเคเบิลทีวีต้องหารายได้จากค่าโฆษณา ส่งผลให้การบันทึกรายการทีวีเคเบิลค่อนข้างยุ่งยาก คือการบันทึกรายการทีวีก็จะติดโฆษณารวมไว้ด้วย   อินเตอร์เน็ตทีวี (IPTV) ในเยอรมนีมีผู้ชมผ่านช่องทางนี้ 2-3 ล้านครัวเรือนที่รับชมรายการโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ตของบริษัท ด้อยทช์เทเลคอม (Entertain) และบริษัทโวดาโฟน (Vodafone TV) เมื่อเปรียบเทียบกับการรับชมผ่านเคเบิลทีวีนั้น การรับชมผ่านอินเตอร์เน็ตทีวีจะมีช่องรายการมากกว่าและการบันทึกสัญญาณนั้นสามารถทำได้สะดวกกว่า โดยสามารถบันทึกรายการเพื่อมารับชมภายหลังผ่าน ฮาร์ดดิสก์ ที่ติดมาพร้อมกับกล่องรับสัญญาณ ข้อเสียของอินเตอร์เน็ตทีวีคือ เรื่องราคา เพราะเป็นการเลือกชมรายการทีวีผ่านอินเตอร์เน็ตจะมีราคาสูงที่สุด และความเร็วของอินเตอร์เนตต้องสูง ทำให้ราคาในการเลือกรับชมทีวีผ่านช่องทางนี้สูงตามไปด้วย ซึ่งในทางเทคนิค ต้องเป็นเทคโนโลยีแบบ Broadband Internet จึงจะเหมาะสมกับการเลือกรับชมผ่านอินเตอร์เน็ต ที่มา http://www.test.de/DVB-T-Antennenempfang-RTL-steigt-aus-4585522-0/   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point