ฉบับที่ 274 สิริลภัส กองตระการ: จากวันที่หัวใจแบกรับความเจ็บปวดไม่ไหวสู่การเป็นเสียงเพื่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

        โรคซึมเศร้าเป็นเรื่องส่วนบุคคลจริงหรือ? มันเป็นความอ่อนแอก็แพ้ไปของคนคนหนึ่งเท่านั้นหรือไม่? คนที่ฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้าเป็นคนคิดสั้นหรือ? ฯลฯ ในสังคมไทยมีคำถามมากมายที่ผลักไสโรคซึมเศร้าให้เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ไม่เข้มแข็ง เปราะบาง เป็น loser เป็นคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ ยังมีตราประทับอีกอย่างชิ้นที่สังคมและคนที่ไม่เข้าใจพร้อมจะแปะให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า         ถ้าเป็นอย่างที่กล่าวมาข้างต้น เหตุใดจึงยังมีมหาเศรษฐี ดารา นักร้องที่ประสบความสำเร็จฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้า สิ่งนี้อาจบอกเป็นนัยๆ ว่าโรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคของคนขี้แพ้หรืออ่อนแอ แต่มีปัจจัยที่ซับซ้อนกว่านั้นมาก         “คนไม่ป่วยไม่รู้ มันเป็นทั้งความรู้สึกที่ทั้งอัดอั้นทั้งเจ็บปวด” เป็นคำพูดของ สิริลภัส กองตระการ ส.ส.พรรคก้าวไกล กรรมมาธิการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร กล่าว         เธอคือผู้ที่ลุกขึ้นอภิปรายงบประมาณประจำปี 2567 ด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าว่าจำนวนเงินไม่สอดคล้องกับขนาดของปัญหาที่ดำรงอยู่ เนื่องจากงบประมาณส่วนนี้มุ่งให้ความสำคัญกับผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติด แต่ให้ความสำคัญกับผู้ป่วยจิตเวชอื่นๆ น้อยเกินไป สิริลภัสอภิปรายในสภาว่า ผู้ป่วยสุขภาพจิตที่เกิดจากสารเสพติดมีจำนวน 2 แสนกว่าคน ขณะที่ผู้ป่วยทางสุขภาพจิตอื่นๆ มีจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน แตกต่างกันถึง 5 เท่า โดยในส่วนผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ปีล่าสุดมีมากถึง 360,000 คน         อีกทั้งงบประมาณปี 2567 ของกรมสุขภาพจิตได้รับก็เป็นเพียงร้อยละ 1.8 ของงบกระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด ทั้งที่กรมสุขภาพจิตของบประมาณไป 4,300 ล้านบาท แต่ได้รับจัดสรรงบมาเพียง 2,999 ล้านบาท เรียกว่าโดนตัดไปมากกว่าร้อยละ 69.4         ทำไมสิริลภัสผู้เคยครองตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 2 มิสทีนไทยแลนด์ ประจำปี 2546 ผ่านเข้ารอบ 12 คนสุดท้ายบนเวทีการประกวดมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2552 และนักแสดง ก่อนจะผันตัวสู่สนามการเมืองจึงใส่ใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ         นั่นก็เพราะเธอเคยผ่านประสบการณ์การเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่พยายามฆ่าตัวตาย โรคที่คนไม่เป็น (อาจ) ไม่มีวันเข้าใจความเจ็บปวดของโรคนี้         “หมิวยังจำวันที่ทำร้ายตัวเอง วันที่พยายามจะจบชีวิตตัวเองได้เป็นอย่างดี เพราะเราไม่อยากเจ็บที่ใจอีกแล้ว เจ็บที่ใจไม่ไหวแล้ว หมิวขอไปโฟกัสความเจ็บตรงอื่นบ้างได้มั้ย เราแบกรับความรู้สึกอารมณ์ที่บีบอัดในใจเราไม่ไหวอีกแล้ว เราพยายามตะเกียกตะกายเอาชีวิตรอดจากความรู้สึกที่ดําดิ่งแล้ว เหมือนคนที่กําลังจมน้ำแล้วมีหินถ่วงตลอดเวลา แต่ ณ วันนั้นเรารู้สึกว่าเราแบบตะเกียกตะกายยังไงเราก็ขึ้นมาหายใจไม่ได้สักทีก็เลยอยากปล่อยทุกอย่างไปเลย” ในวันที่หม่นมืด         สิริลภัสได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้าจากกรรมพันธุ์ที่ถูกส่งต่อมาจากมารดา ในที่สุดเธอก็ต้องเผชิญกับมันด้วยตัวเองจริงๆ เธอเข้ารับการรักษามาเกือบ 10 ปีแล้ว นับจากวันที่เริ่มมีอาการนอนไม่หลับ ใจหวิว เครียดจนทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หลังจากทานยาและรับการบำบัดผ่านไประยะหนึ่งอาการก็ดีขึ้นเธอจึงหยุดยาเอง ซึ่งนี่เป็นข้อห้ามที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่รู้หรือรู้แต่ก็เลือกที่จะหยุด มันทำให้อาการของเธอเหวี่ยงไหวกลับมาหนักหน่วงกว่าเดิม         “ภายในระยะเวลาประมาณหนึ่งปีก็ทําให้อาการแย่ลงกว่าเดิม แล้วก็ไปเจอกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เข้ามาณตอนนั้น เลยทําให้อาการกลับมาค่อนข้างแย่ลงกว่าเดิมในช่วงประมาณสามถึงสี่ปีที่แล้ว ช่วงนั้นเป็นช่วงที่หนักมาก ไปหาหมอบ่อยมาก ค่าใช้จ่ายสูง”        เธอจึงหาคลินิกเอกชนที่คิดค่าบริการถูกลงเพื่อลดภาระส่วนนี้ ทานยาต่อเนื่อง รับการบำบัด สร้างแรงจูงใจโดยการหาเป้าหมายให้ชีวิต อาการของเธอจึงดีขึ้นถึงปัจจุบัน         “แต่ก็ยังต้องทานยาเพื่อที่จะเมนเทนตัวเองไปเรื่อยๆ แล้วก็พูดคุยกับจิตแพทย์เพื่อให้คอยประเมินเพราะบางทีเรามาทํางานการเมืองด้วยนิสัยเราเป็นคนชอบกดดันตัวเองว่าอยากให้ประสิทธิภาพของงานออกมาดี เราอยากแก้ปัญหานี้ให้ได้ มันก็จะมีความใจร้ายกับตัวเองอยู่บ้าง คุณหมอก็ให้ยามาเพื่อช่วยลดความเครียด คลายวิตกกังวล ซึ่งตอนนี้หมิวรู้สึกว่ามันค่อนข้างคงที่แล้ว ส่วน pain point ที่เราเจอน่าจะเป็นเรื่องค่ารักษานี่แหละเพราะว่าครั้งหนึ่งก็เกือบหลักหมื่น ต่ำสุดก็เป็นหลักหลายพัน” สวัสดิการสุขภาพเชื่องช้าและไม่ครอบคลุม         ‘ฉลาดซื้อ’ ถามว่าทำไมเธอจึงไม่ใช่สิทธิสวัสดิการสุขภาพที่มีอยู่ คำตอบที่ได้คงเหมือนกับผู้ป่วยคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคใดนั่นคือต้องใช้ระยะเวลารอนานกว่าจะได้พบแพทย์เฉพาะทาง เธอยกตัวอย่างแม่ของเธอที่ใช้สิทธิข้าราชการในโรงพยาบาลรัฐ เมื่อพบจิตแพทย์ครั้งหนึ่งแล้ว นัดครั้งต่อไปคืออีก 6 เดือนข้างหน้า แต่ยาที่ได้รับมีผลข้างเคียงค่อนข้างมากจนต้องเลือกว่าจะหยุดยาหรือจะทานต่อไปอีก 6 เดือนเพื่อพบจิตแพทย์         จากประสบการณ์ข้างต้นเธอจึงเลือกใช้บริการคลินิกเอกชนที่ไม่ต้องรอนานและได้พบแพทย์เพื่อติดตามอาการทุกอาทิตย์ เพราะด้วยอาชีพนักแสดงสภาวะจิตใจย่อมส่งผลต่อการทำงาน เธอจึงไม่สามารถรอและอยู่กับยาที่ส่งผลข้างเคียงได้ ซึ่งต้องแลกด้วยค่ารักษาพยาบาลที่สูงกว่าเพื่อแลกกับประสิทธิภาพในการรักษา         แน่นอนว่าสำหรับคนที่ไม่มีกำลังพอก็ต้องเลือกรับการรักษาตามสิทธิที่ตนมี แต่สิทธิประโยชน์ที่ได้ก็ยังไม่ครอบคลุม สิริลภัสยกตัวอย่างสิทธิประกันสังคมว่า บางครั้งการรักษาที่มีประสิทธิภาพผู้ป่วยจะต้องพบจิตแพทย์และนักจิตวิทยาควบคู่กัน แต่สิทธิที่มีนั้นครอบคลุมเฉพาะการพบจิตแพทย์เท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสม         “หมิวอภิปรายให้เห็นตัวเลขไปแล้วว่าจํานวนผู้ป่วยจิตเวชที่เกิดขึ้นจากยาเสพติดกับจํานวนผู้ป่วยจิตเวชอื่นๆ มันต่างกันยังไง พอไปดูในงบโครงการต่างๆ ก็เป็นโครงการบําบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยที่เกี่ยวกับยาเสพติดโครงการป้องกันไม่ให้เยาวชนเค้าถึงยาเสพติด คือโครงการต่างๆ เน้นหนักไปที่ผู้ป่วยจิตเวชที่เกิดจากยาเสพติด แต่ผู้ป่วยจิตเวชอื่นๆ ก็เป็นปัญหาเหมือนกัน อย่างที่ได้อภิปรายไว้ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงหลายหลายครั้งสาเหตุเกิดจากผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยคนนั้นขาดยา มีอาการหลอนแล้วก็ออกมาก่อความรุนแรง” โรคซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคล         นอกจากนี้ ตัวเลขอัตราการฆ่าตัวตายสําเร็จก็สูงขึ้นทุกปี กลุ่มสํารวจที่พยายามฆ่าตัวตายจำนวนมากเป็นวัยรุ่นต่อด้วยคนวัยทํางาน         “กลุ่มคนเหล่านี้กําลังจะเป็นบุคลากรที่ทํางานจ่ายภาษีให้กับรัฐเพื่อนำเงินมาพัฒนาประเทศต่อไป เราเห็นรัฐบาลชุดนี้ส่งเสริมเรื่องการมีบุตรเพื่อเติบโตมาเป็นบุคลากรทางสังคม ทํางาน เสียภาษี ในขณะที่มีผู้สูงวัยเยอะขึ้น แต่ปัจจุบันคุณไม่ได้มองปัญหาว่าเรามีบุคลากรที่เป็นวัยรุ่น วัยทํางาน ที่กําลังเสียภาษีให้คุณอยู่ แต่กลุ่มคนเหล่าส่วนหนึ่งที่ป่วย มีปัญหาสุขภาพจิต และจํานวนหนึ่งมีความพยายามฆ่าตัวตาย”         สิริลภัสเสริมว่าในการสำรวจกลุ่มวัยรุ่นใช้เกณฑ์อายุที่ 15 ปี แต่ปัจจุบันเด็กอายุตั้งแต่ 14 ลงไปที่ต้องพบกับการกลั่นแกล้งรังแก ความรุนแรงในครอบครัว ความกดดันและความคาดหวังจากครอบครัว และสังคมรอบข้างที่ทุกคนต่างพยายามนำเสนอชีวิตด้านดี ด้านที่ประสบความสำเร็จของตนผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ ก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันลงบนบ่าของวัยรุ่นกลุ่มนี้โดยที่พวกเขาอาจไม่รู้ว่าเบื้องหลังภาพชีวิตกินหรูอยู่ดี 1 ภาพอาจไม่ได้สวยหรูดังที่เห็น         แต่ภาพที่เสพมันได้หล่อหลอมให้พวกเขาต้องพยายามผลักดันตัวเองให้เป็นเช่นภาพที่เห็น อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น ตั้งเป้าหมายไว้สูง ตามค่านิยมต่างๆ ในสังคม กลุ่มวัยรุ่นที่อายุต่ำกว่า 15 ลงไปจึงอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าที่ตกสำรวจ หมายความว่าตัวเลขผู้ป่วยซึมเศร้าอาจมีมากกว่าที่ปรากฏในผลสำรวจ         “ส่วนวัยทํางานก็เช่นเดียวกัน ตื่นเช้ามาฝ่ารถติดไปทํางาน ทํางานเสร็จหมดวันต้องฝ่ารถติดกลับบ้าน แล้วก็วนลูปเป็นซอมบี้ในทุนนิยม แล้วบางคนต้องส่งเงินกลับไปเลี้ยงดูคุณพ่อคุณแม่ที่บ้าน อย่างหมิวมีครอบครัว เราต้องดูแลครอบครัวเราด้วย ดูแลพ่อแม่ด้วย นี่คือภาวะแซนด์วิช ทุกอย่างมันกดทับเราไว้หมดเลย สุดท้ายแล้วบางคนหมดแรงจูงใจในการใช้ชีวิต ไม่มีเวลาแม้กระทั่งนั่งนิ่งๆ แล้วหายใจกับตัวเองดูว่าวันนี้ฉันทําอะไรบ้าง ฉันเหนื่อยกับอะไร เพราะแค่ต้องฝ่าฟันรถติดกลับบ้านก็หมดพลังแล้ว”         เมื่ออยู่ในภาวะเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล และหมดไฟเป็นเวลานาน คนกลุ่มนี้ก็เสี่ยงต่อการเป็นผู้ป่วยจิตเวช แต่ถ้ารับการดูแล ป้องกัน และรักษาแต่เนิ่นๆ หรือมีความรู้สามารถดูแลตัวเองได้ก่อนย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ปัญหาคือขณะนี้ระบบสาธารณสุขมีบุคลากรด่านหน้าไม่เพียงพอที่จะสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ ด่านหน้ายังอ่อนแอ         แม้ทางภาครัฐจะพยายามพัฒนาและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เข้าใจและเข้าถึงการใช้บริการแอปพลิเคชั่นอย่างหมอพร้อม มีแบบประเมินสุขภาพจิตด้วยตนเอง แต่จากประสบการณ์ของสิริลภัสพบว่าระบบไม่เป็นมิตรต่อการใช้งาน        “ขอโทษนะคะหมิวพยายามเข้าแอปหมอพร้อมแล้วนะ ต้องลงลงทะเบียน ใส่รหัสเลขประจําตัวประชาชน หมิวไม่รู้ว่าของคนอื่นเป็นยังไงนะ แต่จะต้องลงทะเบียนว่าแบบเกิดปีที่เท่าไหร่ต้องไปไล่ปีเอาเอง บางทีก็รู้สึกว่ามันตอบโจทย์หรือเปล่า มันออกแบบมาได้โอเคแล้วหรือยัง แต่เขาบอกว่ามีแบบประเมินในหมอพร้อมก็ถือเป็นเรื่องดี”นะคะอะย้อนกลับมาตรงบุคลากรสายด่วนสุขภาพจิต”         ส่วนสายด่วนสุขภาพจิต สิริลภัสเล่าว่าเคยให้ทีมงานที่ทําข้อมูลทดลองโทร กว่าจะมีคนรับสายต้องรอนานถึง 30นาที เธอบอกว่าคนกําลังจะตัดสินใจฆ่าตัวตายแล้ว แค่นาทีเดียวเขาอาจจะไม่รอแล้ว อีกทั้งค่าตอบแทนของบุคลากรสายด่วนสุขภาพจิตก็ได้รับเพียง 50 บาทต่อครั้งและเงื่อนไขว่าจะจ่ายเฉพาะรายที่สามารถพิสูจน์ตัวตนได้ หมายความว่าผู้ที่โทรเข้าไปต้องบอกชื่อนามสกุล หมายเลขบัตรประจําตัวประชาชนถ้าผู้ใช้บริการเพียงแค่ต้องการปรึกษา ไม่สะดวกแจ้งข้อมูล แสดงว่าบุคลากรด่านหน้าจะไม่ได้รับค่าตอบแทนใช่หรือไม่         ยังไม่พูดถึงประเด็นคุณภาพในการให้บริการ เพราะถ้าผู้ให้บริการให้คําปรึกษาแบบลวกๆ จะเกิดอะไรขึ้น จากการตรวจสอบเสียงสะท้อนการใช้บริการสายด่วนสุขภาพจิตพบปัญหาว่า หนึ่ง-รอนาน สอง-โทรไปแล้วรู้สึกดิ่งกว่าเดิมหรือได้รับการให้คําปรึกษาที่ไม่ได้ทําให้ดีขึ้น เธอจึงเสนอให้ต้องพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากรด่านหน้าและเพิ่มตอบแทนเพื่อสร้างแรงจูงใจ เพิ่มบุคลากร         “และมันไม่ควรจบแค่นี้ ควรจะมีเซสชั่นอื่นๆ ที่ทําให้คนที่รู้สึกว่าชั้นอยากจะได้รับการรักษาหรือได้รับการบําบัด มีทางเลือกให้เขาเข้าถึงด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ยังมีน้อยมาก ทีนี้พอผ่านบุคลากรด่านหน้าไปแล้วถ้าจะต้องส่งถึงจิตแพทย์จริงๆ ก็พบอีกว่าจิตแพทย์ในประเทศไทยก็มีน้อยมากและกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพ”         ตัดมาที่ภาพในต่างจังหวัด กรณีต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์ซึ่งอาจอยู่ไกลจากบ้านมาก ทำให้มีต้นทุนด้านค่าเดินทางสูงเพราะระบบขนส่งสาธารณะในต่างจังหวัดไม่ครอบคลุม         “เสียค่าเดินทางไม่พอยังเสียเวลาอีก กว่าจะหาหมอได้แต่ละครั้งคือรอคิวนานมาก ย้อนกลับไปที่ประเด็นแรกเลยว่าถ้ายามีเอฟเฟคก็ต้องเหมือนรีเซ็ตระบบการรักษาตัวเองใหม่ ซึ่งทําให้การเข้าถึงบริการการรักษาปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนมีน้อยและจํากัดมาก ทําให้จํานวนตัวเลขผู้ป่วยที่มีอยู่เพิ่มมากขึ้น เพราะเราต้องมองว่าผู้ป่วยหนึ่งคนกว่าที่เขาจะเข้ารับการบําบัดรักษาฟื้นฟูมันไม่สามารถประเมิน เพราะมันคือเรื่องความรู้สึก มันต้องประเมินร่วมกันระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่จะต้องทํางานควบคู่กันไป ซึ่งต้องใช้เวลา”         ทันทีที่ผู้ป่วยหลุดออกจากระบบเท่ากับว่าอัตราการป่วยยังคงอยู่หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดฟื้นฟูจนสามารถใช้ชีวิตปกติได้ก็ใช่ว่าจะไม่กลับมาป่วยอีก เพราะหากเจอเหตุการณ์ที่กระตุ้น (trigger) อารมณ์ความรู้สึกก็สามารถป่วยซ้ำได้ สิริลภัสจึงเห็นว่าถ้าสามารถเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์หรือบุคลากรด่านหน้าได้มากก็จะช่วยป้องกันไม่ให้จํานวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นและเพิ่มจำนวนผู้ที่กลับมาใช้ชีวิตปกติได้มากขึ้น โดยต้องคำนึงถึงว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเองก็มีความหลากหลายทั้งด้านเพศ อายุ สถานภาพ ชาติพันธุ์ การศึกษา การมีบุคลากรที่เพียงพอจึงเป็นแนวทางแรกที่จะโอบรับความหลากหลายได้         สิริลภัสได้รับข้อมูลล่าสุดจากรองอธิบดีกรมสุขภาพจิตว่าจะมีทุนเพื่อผลิตจิตแพทย์เพิ่มขึ้นเป็น 50-70 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนจิตแพทย์เป็น 1.8 คนต่อประชากรแสนคนจากเดิมที่อยู่ประมาณ 1.2 ต่อประชากรแสนคน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขข้างต้นก็ยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ควรจะเป็น ยังไม่นับว่าต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานกว่าจะผลิตจิตแพทย์ได้ 1 คน         นอกจากปัญหาการผลิตบุคลากรสาธารณสุขแล้ว ปัจจุบันยังมีนักบำบัดที่สามารถดูแลสุขภาพจิตให้แก่ผู้มาใช้บริการได้ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการมอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้แก่คนกลุ่มนี้ทำให้ไม่สามารถตั้งสถานประกอบวิชาชีพเองได้ ทั้งที่นักบำบัดเหล่านี้ถือเป็นด่านหน้าอีกด่านหนึ่งที่ช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิต         ถึงกระนั้น การบำบัดหลากหลายรูปแบบที่มีอยู่ตอนนี้ก็มีราคาค่อนข้างสูง สิริลภัสคิดว่าถ้าสามารถนำการบำบัดต่างๆ เข้าสู่ระบบสวัสดิการสุขภาพได้ย่อมดีที่สุดสําหรับผู้ป่วย เธอยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่าการที่ค่าบริการการบำบัดยังสูงอยู่เพราะผู้ให้บริการยังมีน้อย ขณะที่ผู้ต้องการใช้บริการมีมาก ราคาจึงเป็นไปตามกลไกตลาด         “หมิวเชื่อว่าราคาจะถูกลงกว่านี้ได้ถ้ามีมากขึ้น การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะทําให้ซัพพลายเพิ่มมากขึ้น คือตอนนี้เรามีนักบําบัด แต่เขาต้องไปแปะตัวเองอยู่กับคลินิกหรือสถานที่ใดสักที่หนึ่งเพราะเขาไม่สามารถเปิดสถานที่บําบัดของตนได้ พอเป็นแบบนี้มันก็จะนําไปสู่การเกิดลัทธิต่างๆ เพราะเมื่อเข้าเซสชั่นบำบัดไปขุดเจอปมในใจเข้า ผู้ใช้บริการก็รู้สึกว่าคนนี้นี่แหละที่นําแสงสว่างมาให้ แล้วก็กลายเป็นลัทธิบูชาตัวบุคคลไปเลย” ความหวัง         สิริลภัสแสดงความเห็นอีกว่าต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรับฟังเสียงจากประชาชน เพื่อตอบสนองให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริง เช่น ควรเพิ่มยาที่มีประสิทธิภาพและมีอาการข้างเคียงน้อยกว่าเข้าไปในบัญชียาหลักแห่งชาติซึ่งจะช่วยลดภาระค่ายาของผู้ป่วย         จากทั้งหมดนี้จึงกล่าวได้ว่าระบบสวัสดิการสุขภาพที่มีอยู่เวลานี้ไม่เพียงพอในการรับมือปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนที่กำลังเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงต้องผลักดันทั้งเชิงนโยบายของภาครัฐและการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สังคมในวงกว้าง         “เราอยากเห็นการจัดสรรงบที่ตรงจุด ตอนนี้เราควรให้ความสําคัญกับการทํายังไงก็ได้ให้ประชาชนที่เป็นแล้วเข้าถึงการรักษาได้มากที่สุด ไม่เพิ่มจํานวนผู้ป่วย และลดจํานวนผู้ป่วยที่มีอยู่เดิม”         โรคซึมเศร้าไม่ใช่ปัญหาเชิงปัจเจกเพียงลำพัง หากมีปัจจัยแวดล้อมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ระบบบริการสาธารณสุข หรือแม้กระทั่งระบบขนส่งสาธารณะ การจะจัดการปัญหาทั้งระบบพร้อมๆ กันย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย         สิ่งที่เราต้องการมากๆ เวลานี้อาจจะเป็น ‘ความหวัง’ เพราะหัวใจมนุษย์แตกสลายเองไม่ได้หากไม่ถูกทุบทำลายจากภายนอก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 271 โรคซึมเศร้าไม่ใช่ปัญหาส่วนตัว: ผู้ป่วยก็ซึม ระบบรักษาพยาบาลยิ่งน่าเศร้า

        ความเหล่านี้ เขียนโดยผู้ป่วยซึมเศร้าเรื้อรังและประสบการณ์ของเพื่อนอีกคนที่มานั่งสนทนากลุ่มท่ามกลางความหมองเศร้ามากมายจากแง่มุมแตกต่างกัน ทว่า “ยอดภูเขาน้ำแข็ง” ที่ประสบร่วมกันคือ “ทุกข์จาก ความพยายามในการหายป่วย”พูดให้ง่าย พวกเราเวียนว่ายทุกข์ระทมในระบบสุขภาพที่มีอยู่มานานแล้วแต่เราหาทางออกจากการรักษาโรคซึมเศร้าไม่เจอ        สมมติว่าผู้เขียนชื่อ ฐ. อดีตนักข่าว บรรณาธิการ นักวิจัยที่เคยไปทำงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มากกว่า 18 ปี ส่วนอีก 9 คนนั้น เป็นนักข่าวอิสระหนึ่งคน นักเขียนฟรีแลนซ์หนึ่งคน มีนักแปลที่ผันตัวจากพนักงานธนาคารแห่งหนึ่ง นักกฎหมายสิทธิมนุษยที่ทำงานช่วยเหลือผู้คนให้กับมูลนิธิแห่งหนึ่ง ผู้บริหารองค์กรระหว่างประเทศกำลังสองจิตสองใจว่าควรออกจากงานดีหรือไม่ อดีตเอ็นจีโอด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ที่เป็นอดีตเพราะเขายอมรับว่าพ่ายแพ้ต่อความเจ็บป่วยจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงเหมือนที่ผ่านมา นักศึกษาปริญญาเอกที่ยังหาทางออกให้ตัวเองไม่ได้ นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่เพิ่งออกจากรั้วมหาวิทยาลัย 2 คน อายุเฉลี่ยทั้ง 10 คน อยู่ระหว่าง 20 ปีต้นๆ ถึง 50 ปี หากพวกเราไม่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า มีโอกาสได้ทำงานที่ดีกว่านี้อย่างมีความสุข รับประกันได้เลยว่า กลุ่มพวกเราคือวัยแรงงานที่สำคัญในการขับเคลื่อนสังคม สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจระดับประเทศ และเป็นหัวหน้าครอบครัวที่่มีคุณภาพมากกว่านี้แน่นอน         ปัญหาร่วมในการดำเนินชีวิตและภาระทางจิตใจ แม้บางคนไม่พูดออกมาชัดถ้อยชัดคำนักก็ตาม สิ่งที่แน่นอยู่ในอกเป็นก้อนความทุกข์เศร้าขนาดใหญ่กว่าหัวใจ คือการตระหนักดีว่าพวกเรา (เคย) มีศักยภาพแค่ไหน และในกลุ่มพวกเราไม่มีใครสักคนอยากเป็นภาระแก่ใครในครอบครัว ไม่อยากเป็นภาระแก่เพื่อนร่วมงาน รวมทั้งไม่อยากเป็นภาระกับระบบสุขภาพใด ๆ ด้วยเช่นกัน  ก้อนที่กดทับหัวอกเรานี้, ทำให้พวกเราเจียมตัว ไม่มีปากเสียงเรียกร้องค่าแรงที่เป็นธรรม เป็นชายขอบของภาคแรงงาน ต้องเค้น ขูดรีด และกดดันตัวเองมากขึ้นเพื่อให้ตลาดแรงงานยอมรับข้อจำกัดนี้ จึงจำนน รับงานชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาทำเพื่อให้เกิดรายได้พอประทังชีวิต พอจ่ายค่ายาโดยไม่รบกวนคนรอบข้างมากเกินไป วันดีคืนร้ายก็มีข่าวเฟคนิวส์บอกว่า นายจ้างสามารถบอกเลิกจ้างผู้ป่วยซึมเศร้าได้ยิ่งทำให้พวกเราตื่นตระหนกเงียบ ๆ อยู่ในมุมมืด “อย่าตัดฟางเส้นสุดท้ายของเราทิ้งเลย” เสียงวิงวอนก้องกังวานในใจ                วัฎจักรของผู้ป่วยซึมเศร้า          การสนทนากลุ่มของพวกเรามีข้อค้นพบที่น่าสนใจหลายประการ รวบรัดประเด็นสำคัญก่อน เช่น พบว่า ในวัฎจักรของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีคนอยู่อย่างน้อย 3 กลุ่มหลัก คือ         (1) คนที่ไม่รู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจนอาการปรากฏแล้วและไม่มีโอกาสเข้ารับการรักษาพยาบาล         (2) คนที่รู้ตัวว่าป่วยแต่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาล และ (3) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ระหว่างการรักษาและทุกข์อยู่กับระบบสุขภาพอย่างเดียวดาย         พวกเราทั้ง 10 คนอยู่ในกลุ่ม 3 นี้ทั้งหมด บางคนยกธงยอมแพ้กับระบบสวัสดิการที่ตัวเองมี ยอมจำนนเสียเงินจำนวนมากรักษากับโรงพยาบาลเอกชนเพื่อย่นย่อระยะเวลาในการรอพบแพทย์ ลดขั้นตอนการรักษาเพื่อบรรเทาทุกข์ทางใจ (หรือซ้ำเติมทุกข์ที่มีอยู่ขึ้นอยู่กับสุขภาพของกระเป๋าเงินช่วงนั้น)         ประสบการณ์ร่วมของพวกเรายืนยันหนักแน่นว่า “ปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่ความทุกข์ระดับบุคคล” หรือเรื่องของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แม้เบ้าหน้าเรากำลังหัวเราะ เพื่อไม่ให้คนรอบข้างรู้สึกเป็นห่วงสุขภาพ แต่ในใจระหว่างฟังบทสนทนาของเพื่อนๆ หัวใจบีบเค้นเต้นรัววูบวิบวับ ต้องหายใจลึกๆ ไม่ใช่แค่จากจมูกลากลมหายใจไปถึงปอด แต่ฉันลากลมหายใจผ่านทวารจรดถึงปลายเท้าวนเช่นนี้หลายรอบมาก ใช่, โรคซึมเศร้าสามารถรักษาหายได้ แต่ไม่เคยมีใครบอกเราเลยว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังทางจิตใจ เพื่อนนักเขียนที่นั่งในวงคุยเธอเป็นโรคนี้มาแล้วกว่า 20 ปี และต้องกินยาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน ถ้าวันไหนขาดยาต้านเศร้าวันนั้นชีวิตประจำวันถึงกับปั่นป่วนทีเดียว และทั้ง 10 คน ป่วยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ปี ส่วนฉันป่วยมาแล้ว 8 ปี ทั้งไม่มีใครเตือนอย่างหนักแน่นว่า โรคซึมเศร้าหายแล้วก็สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก หรืออย่าหยุดยาเองโดยแพทย์ไม่วางแผนถอนยาให้ เพราะถ้าโรคกลับมาใหม่มันจะร้ายกาจกว่าเดิม ซึ่งเป็นทางหนึ่งให้เกิดวงจรโรคเรื้อรังทางจิตใจตามมา         เอาเข้าจริง คนที่เข้าสู่วงการโรคซึมเศร้าไม่เห็นมีใครหลุดออกไปง่ายๆ เลย ฉันจินตนาการไม่ออกว่าการเป็นโรคเรื้อรังทางจิตใจระยะยาว ปลายทางมันจะเพิ่มการบั่นทอนการอยากมีชีวิตอยู่ต่อมากขนาดไหน และเริ่มไม่แน่ใจแล้วว่าจะหายจากโรคนี้ก่อนหรือหลังที่ฉันจะจากโลกนี้กันแน่         ความทุกข์ทับซ้อนเมื่อเข้าสู่ระบบสุขภาพ         ระหว่างนั่งคุยกัน มีเสียงหัวเราะที่ฉันไม่เข้าใจความหมายนั้น เช่น ทุกคนมีประสบการณ์ร่วมยามเจ็บป่วยด้วยโรคทางกายอื่นๆ ต้องเข้าโรงพยาบาล และพยาบาลด่านซักประวัติมักถามว่า มีโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังไหม? พอพวกเราบอกว่า “เป็นโรคซึมเศร้า” หรือบอกว่า “เป็นซึมเศร้าและวิตกกังวลร่วมด้วย” พยาบาลจะเงยหน้ามองแต่ไม่ระบุในใบคัดกรอง แต่ถ้าบอกว่าเป็น “โรคความดันสูง” หรือ “เบาหวาน” พยาบาลถึงจะจดบันทึกไว้ เอาเข้าจริง ฉันเคยมีความคิดอยาก “กวน” พยาบาลคัดกรองเหมือนกันว่า โรคซึมเศร้าไม่ถือเป็นโรคเรื้อรังทางการแพทย์หรือ? หรือเพราะกระแสรณรงค์ “สุขภาพดี เริ่มต้นที่ลดหวาน มัน เค็ม” อันเป็นบ่อเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) จึงไม่นับโรคทางจิตเวชเป็นโรคเรื้อรังเข้าไปด้วยหรือสุดโต่งที่จะคิดได้คือ การรักษาโรคนั้น แยกขาดระหว่างโรคทางกายและใจ โดยไม่คิดว่ามันสัมพันธ์กัน         แง่นี้, สถานะและความหมายของ “โรคเรื้อรัง” ระหว่างโรคทางกายกับโรคทางจิตใจก็ไม่เท่ากันแล้ว ซึ่งบางครั้งคันปากแต่การไปทะเลาะกับพยาบาลก็ไม่ใช่เรื่องถูกที่ ถูกคน และถูกกาลเทศะ แต่ก็ยังติดใจประเด็นนี้อยู่มาก “ถ้ากระทรวงสาธารณสุขเห็นความสำคัญหรือกำหนดเป็นวาระว่า ‘โรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังทางจิตใจ’ การทุ่มเททรัพยากร สวัสดิการ และการจัดการเชิงระบบจะดีขึ้นกว่านี้ไหม?”         ชวนคิดต่อเนื่องไปอีก เมื่อโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก ทุกครั้งที่รัฐ โดยเฉพาะศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต หรือผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข พูดถึง “ตัวเลข” จำนวนผู้ป่วยเชิงปริมาณ เช่น เมื่อต้นปี 2566 ระบุว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน ส่งผลให้คนไทยกว่า 70 % เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการชัดเจนในช่วงอายุ 25 ปี จากนั้น อาจเกิดเป็นโรคเรื้อรังทางจิตใจในระยะยาวได้ ทั้งมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายสูงกว่าคนทั่วไป 20 เท่าตัว    [1]  น่าสนใจว่า “ตัวเลข” ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเชิงปริมาณสะสมดังกล่าว มีวิธีวิทยาในการนับและคำนวณอย่างไร เมื่อ ‘มี’ ผู้ป่วยที่หายแล้วและกลับมาเป็นใหม่เพิ่มเข้ามาทุกปี         “ฐานข้อมูลโรคซึมเศร้าไทย” เป็นมรดกของนวัตกรรมเมื่อ 13 ปีก่อนจาก “โครงการทศวรรษการป้องกันและแก้ปัญหาโรคซึมเศร้า” ระยะ 10 ปี (ตั้งแต่ปี 2553 - 2563) นับเป็นความก้าวหน้าสอดคล้องกับกระแสสากล กรมสุขภาพจิตมีวิสัยทัศน์ว่า ภายในปี 2563 โรคซึมเศร้าจะไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ โดยมี “อัตราการเข้าถึงบริการ” เป็นตัวชี้วัด อันเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญให้เกิด “ระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า” ขึ้นมา รวมทั้งมีการคิดค้นทางวิชาการจนได้แบบคัดกรองสำหรับกลุ่มเสี่ยง แบบคัดกรองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า รวมทั้งแบบประเมินการฆ่าตัวตาย เพื่อใช้ส่งเสริมสุขภาพจิต และเป็นแนวทางในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ที่ยังใช้จริงจังต่อเนื่อง เป็นรูปธรรมจนถึงปัจจุบัน         อย่างน้อยช่วงเวลาของการรณรงค์นานนับกว่า 10 ปีภายใต้โครงการดังกล่าว สังคมเริ่มรู้จักและตระหนักถึงโรคนี้มากขึ้น เดิมผู้ป่วยซึมเศร้า 100 คนเข้าถึงบริการการรักษาเพียงแค่ 3 คน  ณ ปี 2566 ศูนย์โรคซึมเศร้าไทย ระบุว่า ระบบการดูแลสุขภาพสามารถทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ 100 คนเข้าถึงบริการการรักษาเพิ่มเป็น 28 คน ซึ่งพวกเราทั้ง 10 คนก็คือผู้ป่วยซึมเศร้าที่ยังมีลมหายใจอยู่อย่างโดดเดี่ยวในสัดส่วน 28% ที่ไม่ร่วงหล่นจากระบบสุขภาพก็จริง แต่มีแนวโน้มเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและเสี่ยงฆ่าตัวตายสำเร็จด้วย!         แม้จะผ่านมามากกว่าสิบปีจนถึงทุกวันนี้,  “อัตราการเข้าถึงบริการ” ยังเป็นตัวชี้วัดหลักของกรมสุขภาพจิต ทั้งในแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (2566 - 2570) แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561 - 2580) ที่อยู่ภายใต้ร่มแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ที่วางโครงสร้างของแผนต่าง ๆ สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564) มากกว่านั้น มีข้อสังเกตว่าการเขียนทุกแผนและยุทธศาสตร์ต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข มักเขียน “ตัวชี้วัด” การเฝ้าระวังโรคและส่งเสริมสุขภาพเรียงตามลำดับโครงสร้างอายุประชากร จึงเห็นการวางน้ำหนักเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าไว้ที่กลุ่มผู้สูงอายุเป็นหลัก แทบไม่เอ่ยถึงในกลุ่มเด็ก เยาวชน และวัยแรงงงานเท่าใดนัก         ขณะที่ปัจจุบัน รัฐบาลที่ผ่านมาได้ดำเนินแผนราชการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 - 2570) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นมา ด้วยงื่อนไขสำคัญคือ การฟื้นฟูสังคม การเมือง และเศรษฐกิจหลังเผชิญหน้ากับวิกฤติสถานการณ์โควิด 19 ระบาดที่เป็นปัจจัยหนึ่งให้ผู้คนเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวชเพิ่มมากขึ้น อัตราการฆ่าตัวตายก็สูงเพิ่มมากขึ้นตามปัจจัยใหม่ๆ ทางสังคม  “โรคซึมเศร้า” ก็ยังถูกระบุให้เฝ้าระวังในกลุ่มผู้สูงอายุเช่นเดิม บนฐานคิดว่าสังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ ยิ่งทำให้แผนและยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่ถูกเขียนก่อนหน้าไม่ได้สมสมัยเพียงพอเพื่อร่วมรับมือกับสถานการณ์วิกฤติซ้อนวิกฤติที่กำลังดำเนินอยู่  ดังนั้น ถ้ายังให้ความสำคัญเพียงแค่ “ตัวชี้วัด” ยิ่งทำให้ “ระบบดูแลเฝ้าระวัง การบริการ และรักษาโรคซึมเศร้า” ถูกตั้งคำถามในมิติต่างๆ มากยิ่งขึ้น                    กรมสุขภาพจิตอาจมีบทบาทสำคัญในแง่การร่างแผนและยุทธศาสตร์เพื่อกำหนดวาระทิศทางของประเทศ  ทว่าจำเลยที่ถูกตั้งคำถามด้านการบริการผู้ป่วยมากที่สุดกลับตกอยู่กับหน่วยบริการสุขภาพและเหนือกว่านั้นคือ สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ในฐานะผู้กำหนดสิทธิประโยชน์การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการรักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิในสวัสดิการและผู้ประกันตน         แม้โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคใหม่ แต่น่าสังเกตว่า สิทธิประโยชน์ในกองทุนสวัสดิการสุขภาพต่างๆ เกี่ยวกับโรคทางจิตเวชยังตามหลังโรคทางกายอยู่มาก เช่น การเพิ่มจำนวนยาจิตเวชในบัญชียาหลักแห่งชาติให้เพียงพอกับพัฒนาการของโรคและปริมาณของจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นมาก (ซึ่งปลายปี 2565 กรมสุขภาพจิต ในฐานะที่ดูแลโรงพยาบาลและสถาบันเฉพาะทางจิตเวชทั่วประเทศได้เสนอรายชื่อยาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า 4 ตัวเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ ขณะนี้เรื่องยังติดอยู่ที่อนุกรรมพิจารณาบัญชียาหลักแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หมายความว่ายังไม่มีความคืบหน้าเรื่องนี้[2]) รวมทั้งการอำนวยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงการบำบัดด้านจิตเวชมากขึ้น ไม่ใช่เน้นการรักษาโดยรับยาจากแพทย์เป็นทางเลือกเดียว ส่วนเหตุผลจิตแพทย์และนักบำบัดจิตขาดแคลนขอให้ทดเงื่อนไขนี้ไว้ก่อน มิฉะนั้น การอภิปรายเชิงระบบจะจบแบบ ‘ลงร่อง’ ด้วยเหตุนี้เสมอ และกวาดประเด็นอื่น ๆ ไว้ใต้พรม         แง่นี้ การรับมือกับ “โรคซึมเศร้า” จึงไม่ใช่แค่ภาระของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น แต่กองทุนสุขภาพต่างๆ ยังต้องเข้ามาทำหน้าที่ช่วยเป็นโครงข่ายนิรภัย (Safety Net) เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้น และไม่มีผู้ป่วยร่วงหล่น หรือหลุดออกไปจากการรักษาพยาบาลภายใต้ระบบสวัสดิการสุขภาพต่าง ๆ ที่ประเทศไทย มีอยู่ เหมือนกรณีตัวอย่าง เช่น         “เดย์” เป็นผู้ป่วยที่มาก่อนกาล ก่อนจะมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก่อนกรมสุขภาพจิตจะเริ่มทศวรรษโรคซึมเศร้าฯ ก่อนการจัดตั้ง “ระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า” เธอเป็นนักข่าวองค์กรหนึ่งที่ป่วยด้วยโรคนี้มากกว่า 20 ปี วิชาชีพที่ทำงานแข่งกับเวลาและปัญหาสังคมสร้างความกดดัน ความเครียดเรื้อรัง จนร้องไห้ออกมาแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ จึงตัดสินใจไปพบจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา การได้ระบายออกมาทำให้รู้ว่าตัวเองป่วยมากขนาดไหน แต่การจะไปรักษากับโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม พบว่าไม่มีแพทย์เฉพาะทาง โรงพยาบาลศรีธัญญาแนะนำว่า ถ้าพอมีกำลังทรัพย์ให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลวิภาวดี ซึ่งหมอที่นี่ช่วยได้มาก  ดังนั้นปัญหาแรกที่พบ คือ ระบบสวัสดิการไม่ตอบโจทย์ในการรักษาโรคทางจิตเวช เมื่อรักษากับโรงพยาบาลเอกชน ปัญหาใหม่ก็ตามมาอีก คือค่ายาแพง ค่ารักษาพยาบาลต่อเดือนสำหรับเมื่อ 20 ปีก่อน เฉลี่ยเดือนละ 5,000 กว่าบาท นับว่ามากทีเดียวเมื่อเทียบกับรายได้ เธอกินยาต้านเศร้าที่ผลิตในประเทศมาครบทุกตัว และน่าจะเป็นผู้ป่วยกลุ่มแรกๆ ที่ได้รับยาต่างประเทศ นอกบัญชียาหลักแห่งชาติ  ในที่สุดหมอแนะนำให้เธอซื้อยาตรงกับดีลเลอร์ยาเลยเพื่อลดค่าใช้จ่าย         แม้ค่ารักษาจะแพง แต่เธอไม่กล้าเปลี่ยนหมอ หรือเปลี่ยนโรงพยาบาล ด้วยกลัวการเริ่มต้นรักษาใหม่ นี่่ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาตามมา เมื่ออาการเริ่มดีขึ้น เธอเชื่อว่าตัวเองหายแล้ว จึงหยุดยาเอง ก็กลายเป็นว่าเธอไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิมแม้งานง่าย ๆ จึงเข้ารับการรักษาใหม่อีกครั้งและการรักษาก็ยากขึ้นเพราะการกินยาไม่ต่อเนื่อง ต่อมา เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจระดับประเทศทำให้เธอเป็นนักข่าวกลุ่มแรกที่ตกงาน ต้องผันตัวเองเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ ความรู้สึกยิ่งดิ่งลง การขาดรายได้ทำให้เธอรับการรักษาไม่ต่อเนื่อง รวมทั้งไม่มียาเพียงพอในการใช้ต่อเนื่อง ด้วยยาที่กินอยู่ไม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ทำให้การรักษาโรคของเธอซับซ้อนมากขึ้น เกิดภาวะวิตกกังวล นอนไม่หลับเรื้อรัง มีปัญหาด้านความทรงจำ การควบคุมอารมณ์ ฯลฯ         ทุกวันนี้ เธอยังรักษากับโรงพยาบาลวิภาวดีโดยจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง แต่การรักษาไม่ต่อเนื่อง การได้รับยาไม่ต่อเนื่อง รวมทั้งไม่มีคำแนะนำให้รักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การบำบัดทางจิตและอารมณ์ควบคู่ เป็นปัจจัยที่ทำให้ “เดย์” กลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรังทางจิตใจที่มีอยู่จริง และจิตใจก็พึ่งพิงไว้กับยา สิ่งที่เธอคาดหวังนั้น เรียบง่าย “น่าจะมีสักวันที่ชีวิตไม่ต้องกินยา เป็นคน ‘ปกติ’ แบบคนอื่นบ้าง”              “นิล” นักกิจกรรมทางสังคมที่เพิ่งพ้นจากรั้วมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า เขาเริ่มไม่เข้าใจภาวะที่ตัวเองผิดปกติ งานบางอย่างไม่สามารถทำให้เสร็จได้ ไม่สามารถสื่อสารกับครอบครัวได้ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม จนกระทั่งมีโอกาสเข้ารับคำปรึกษากับศูนย์สุขภาพจิตของมหาวิทยาลัย นักจิตบำบัดประเมินว่าเขาจำเป็นต้องพบจิตแพทย์ ช่วงแรกเขายังไม่อยากไปหาหมอ ไม่อยากกินยา รู้สึกการได้คุยกับนักจิตบำบัดตอบโจทย์อยู่แล้ว จนกระทั่งเรียนจบ ออกมาทำงานได้ระยะหนึ่งความกดดันต่าง ๆ และการเปลี่ยนสถานะทางสังคม โรคพัฒนาตัวอย่างเงียบๆ อาการดิ่งมาแบบไม่รู้ตัว จนในที่สุดต้องตัดสินใจรักษากับจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และทุกวันนี้ก็ยังต้อง กินยาอยู่         “ผมอยากให้มีกลไกที่จะช่วยให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตรู้ตัวได้เร็วขึ้น เพื่อรู้วิธีรับมือและจัดการตัวเอง รวมทั้งเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง” นิล เอ่ยข้อเสนอจากประสบการณ์ตรงของตัวเอง         ความน่าสนใจกรณีของ “นิล” คือ กว่าเขาจะเข้าใจตัวเองว่ามีภาวะวิตกกังวลและเป็นโรคซึมเศร้าต้องใช้เวลานานมาก จากชั้นมัธยมจนกระทั่งเข้ามหาวิทยาลัย “นิล” อาจเป็นภาพตัวแทนของเด็กจำนวนหนึ่งที่ซ่อนเร้นตัวเองอยู่ในมุมมืด ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลด้วยวัย รวมทั้ง พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2562) ไม่ได้ให้สิทธิในการตัดสินใจแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จำเป็นต้องมีผู้ปกครองตัดสินใจแทน อาจกล่าวได้ว่า การค้นหาผู้ป่วยจิตเวชที่มีอายุน้อยเพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องไม่ง่าย การรายงาน “ตัวเลข” ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงต่ำกว่าความเป็นจริงเมื่อเทียบกับกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุ ยิ่งชวนให้เราตั้งคำถามกับ “จำนวนนับ” ของฐานข้อมูลโรคซึมเศร้าไทยที่เริ่มเก็บข้อมูลประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปมากขึ้น          ในวัยเดียวกัน “ต้น” นักกิจกรรมสังคมรุ่นใหม่ ได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวทางการเมือง เจ็บปวดร้าวรานเมื่อเห็นผู้คนและเพื่อนๆ ถูกคุกคามจากการใช้สิทธิทางการเมือง รู้สึกเครียด และถูกกดดันจากสถานการณ์รอบตัว เริ่มเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นแห่งแรก แม้ต้องจ่ายเงินเองทั้งหมด นานวันเข้ารับมือกับค่าใช้จ่ายไม่ไหว จึงตัดสินใจกลับไปใช้สิทธิรักษาพยาบาล 30 บาทที่ภูมิลำเนา โรงพยาบาลในจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม้จะช่วยลดค่ารักษาพยาบาลไปได้ แต่ค่าใช้จ่ายการเดินทางกลายเป็นภาระไม่แพ้ค่ายาเพิ่มขึ้นแทน เขาไปกลับกรุงเทพฯ - ต่างจังหวัดอยู่หลายครั้ง จนยอมแพ้ ทั้งการรอคิวนานและรู้สึกว่าจิตแพทย์ไม่ได้รับฟังเพียงพอ รู้สึกถูกหมอตัดสินตัวเขาเหตุจากความคิดเห็นต่างทางการเมือง จนเริ่มคิดฆ่าตัวตาย แต่แฟนเข้ามาพบเสียก่อน จึงพากลับมารักษาตัวใหม่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีอีกหน ชีวิต “ต้น” หักเหอีกครั้ง เมื่อเกิดวิกฤตโควิด 19 ระบาด เมืองปิด เขาตกงาน ไม่มีเงินค่ารักษาหรือเพื่อประทังชีวิตเพียงพอ จนต้องหยุดยาเอง เกือบสองปีผ่านไป จนกระทั่งได้งานใหม่จึงกลับมาเริ่มต้นรักษาอีกครั้งที่โรงพยาบาลราชวิถี         สิ่งที่รู้สึกท้อแท้มากกว่าค่ารักษาพยาบาล คือการต้องเริ่มต้นเล่าเรื่องที่เขาเผชิญใหม่ทุกครั้งที่เจอกับหมอคนใหม่ ในความเห็นของ “ต้น” จิตแพทย์มีน้อยอยู่แล้ว บางคนมีทัศนคติกับผู้ป่วยแย่ หลังจากดิ้นรนรักษาโรคซึมเศร้าอยู่หลายแห่ง การรับยาจากแพทย์ไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้น กลับทรมานและรู้สึกคุณค่าของตัวเองตกต่ำลงเรื่อยๆ ทุกครั้งที่กินยา จึงอยากให้มีนักจิตบำบัดเพิ่มขึ้น จิตแพทย์เพิ่มขึ้น ไม่อยากรักษาไกลจากที่พักอาศัย อยากให้แพทย์ทำใบส่งต่อเพื่อให้เขาอยู่ในระบบสวัสดิการ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปกลับทำใบส่งตัวระหว่างกรุงเทพฯ - ต่างจังหวัดทุก 3 เดือน หรือทุกครั้งที่ต้องพบแพทย์  ดังนั้น เพื่อลดขั้นตอนการส่งตัวอันยุ่งยาก วันนี้เขายอมรับภาระในการรักษาเองทั้งหมด          บนบ่าของวัยแรงงานมีเรื่องต้องแบกหามมากมาย ช่วงเรียนปริญญาตรี “คิม” ทั้งเรียนหนักและต้องดูแลพ่อที่ไตวาย ความเครียดสะสมนี้เพื่อนแม่จึงพาไปรักษากับจิตแพทย์และหมอสั่งยาให้ระยะหนึ่ง จน    ฤกระทั่งพ่อเสียชีวิต เธอรู้สึกว่าความกดดันลดลง อาการดีขึ้นจึงหยุดยาเอง จนกระทั่งเธอไปเรียนต่อปริญญาโทต่างประเทศตามลำพัง พบว่า ทำวิทยานิพนธ์ไม่ได้ นำเสนอผลงานไม่ได้ โชคดีว่าที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศมีศูนย์ให้คำปรึกษาสุขภาพจิตซึ่งดีมาก แต่ “คิม” ไม่อยากกินยาอีกแล้ว จึงพยายามขวนขวายหาชุมชนที่พูดคุยเรื่องการรักษาโรคซึมเศร้าในชุมชนออนไลน์ เพื่อดูแลตัวเอง และประคองตัวเองจนกระทั่งเรียนจบ กลับประเทศไทย ได้ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ ปัจจุบัน “คิม” เป็นผู้บริหารองค์กรระหว่างประเทศในฐานะตัวแทนประเทศไทยระดับภูมิภาคเอเชีย         ช่วงระยะเวลากว่า 10 ปี นับตั้งแต่พ่อเสียชีวิต การเรียนต่อต่างประเทศ การเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งทางการเมืองของไทย ซึ่งเธอเป็นข้อต่อที่มีบทบาทสำคัญ หัวใจอันอ่อนล้าไม่ได้หยุดพักเลย เมื่อแม่ของ “คิม” เริ่มมีภาวะสมอง เสื่อมจากเนื้องอกในสมอง หลังผ่าตัด พฤติกรรมแม่เปลี่ยนไปจนแทบควบคุมตัวเองไม่ได้ ยิ่งทำให้เธอเครียดมาก จากการควบบทบาททางสังคมอันหนักอึ้งและบทบาท “ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง” (care giver) แม้จะจ้างผู้ช่วยมาประจำที่บ้านอีกคน เธอรู้ตัวดีว่าอาการโรคซึมเศร้าที่หายไปนานกลับมาเยือนอีกครั้ง แม้มีสิทธิตามหลักประกันบัตรทอง แต่ระบบไม่ได้ยืดหยุ่นให้เธอเข้าถึงได้นัก เมื่อเข้าใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ก็พบว่าการบริการไม่ได้ดีนักอย่างที่คาดหวัง จึงพยายามหาทางเลือกอื่นเป็นที่พึ่ง พบว่า สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตอบโจทย์กับชีวิตอันยุ่งเหยิง ช่วยรับฟังปัญหาได้ดี แต่ข้อจำกัดของระบบฮอตไลน์ทำหน้าที่รับฟังแบบตั้งรับ ไม่มีระบบติดตามคนไข้ หรือตามอาการของผู้ป่วยที่โทรมาใช้บริการ รวมทั้งการประเมินอาการช่วยส่งต่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงระบบบริการสุขภาพจนสำเร็จ         “เราไม่สามารถเป็นผู้ป่วยอีกคนในบ้าน เพราะเรายังต้องดูแลแม่ที่ป่วย ช่วงนี้ไม่อยากทำงานบริหาร อยากเปลี่ยนทำงานที่เบาลง แต่ยังเป็นงานที่เรายังภูมิใจได้ เปลี่ยนสภาพแวดล้อม มีเงินสักก้อนไว้ดูแลแม่ที่สมองเสื่อม หากวันหนึ่งเราเป็นอะไรไป น้องจะได้ดูแลแม่ต่อได้” คิมบอกถึงความคาดหวัง          วันนี้ “นรินทร์” นักศึกษาปริญญาเอก มาหาฉันที่บ้าน เพื่อแบ่งยาไปกิน ยา Venlafaxine หนึ่งในสี่ชนิดของยาต้านเศร้าที่กรมสุขภาพจิตพยายามผลักดันเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ “นรินทร์” ใช้สิทธิประกันสังคมรักษากับโรงพยาบาลเอกชนชื่อดังแห่งหนึ่ง แต่การพบแพทย์ครั้งล่าสุด โรงพยาบาลออก “ใบค้างยา” และ “ใบสั่งยา” ให้ เพราะตัวยาที่เขาจำเป็นต้องใช้นั้น ขาดตลาดและหมดสต๊อกของโรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถไปซื้อยาข้างนอกได้ และหากยา กลับเข้ามาในระบบอีกครั้ง (ซึ่งระบุระยะเวลาแน่นอนไม่ได้) จะโทรศัพท์เรียกให้มารับยาค้างจ่าย ฐ. กินยาตัวเดียวกับเขาและมียาตัวนี้เก็บสะสมไว้มาก จึงแบ่งยาให้ “นรินทร์” ไปกินก่อน นี่คือ สถานการณ์เดียวกับ “เดย์” ที่เคยเจอเมื่อหลายสิบปีก่อน และฉันก็เคยมีประสบการณ์เดียวกัน เมื่อมีเงินจึงซื้อยาจำเป็นเก็บไว้         มุมของวิชาชีพแพทย์ เภสัชกร        แง่นี้ การรับมือกับ “โรคซึมเศร้า” จึงไม่ใช่แค่ภาระของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น แต่กองทุนสุขภาพต่างๆ ยังต้องเข้ามาทำหน้าที่ช่วยเป็นโครงข่ายนิรภัย (Safety Net) เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้น และไม่มีผู้ป่วยร่วงหล่น หรือหลุดออกไปจากการรักษาพยาบาลภายใต้ระบบสวัสดิการสุขภาพต่าง ๆ ที่ประเทศไทย มีอยู่ เหมือนกรณีตัวอย่าง เช่น         “เดย์” เป็นผู้ป่วยที่มาก่อนกาล ก่อนจะมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก่อนกรมสุขภาพจิตจะเริ่มทศวรรษโรคซึมเศร้าฯ ก่อนการจัดตั้ง “ระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า” เธอเป็นนักข่าวองค์กรหนึ่งที่ป่วยด้วยโรคนี้มากกว่า 20 ปี วิชาชีพที่ทำงานแข่งกับเวลาและปัญหาสังคมสร้างความกดดัน ความเครียดเรื้อรัง จนร้องไห้ออกมาแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ จึงตัดสินใจไปพบจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา การได้ระบายออกมาทำให้รู้ว่าตัวเองป่วยมากขนาดไหน แต่การจะไปรักษากับโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม พบว่าไม่มีแพทย์เฉพาะทาง โรงพยาบาลศรีธัญญาแนะนำว่า ถ้าพอมีกำลังทรัพย์ให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลวิภาวดี ซึ่งหมอที่นี่ช่วยได้มาก  ดังนั้นปัญหาแรกที่พบ คือ ระบบสวัสดิการไม่ตอบโจทย์ในการรักษาโรคทางจิตเวช เมื่อรักษากับโรงพยาบาลเอกชน ปัญหาใหม่ก็ตามมาอีก คือค่ายาแพง ค่ารักษาพยาบาลต่อเดือนสำหรับเมื่อ 20 ปีก่อน เฉลี่ยเดือนละ 5,000 กว่าบาท นับว่ามากทีเดียวเมื่อเทียบกับรายได้ เธอกินยาต้านเศร้าที่ผลิตในประเทศมาครบทุกตัว และน่าจะเป็นผู้ป่วยกลุ่มแรกๆ ที่ได้รับยาต่างประเทศ นอกบัญชียาหลักแห่งชาติ  ในที่สุดหมอแนะนำให้เธอซื้อยาตรงกับดีลเลอร์ยาเลยเพื่อลดค่าใช้จ่าย         แม้ค่ารักษาจะแพง แต่เธอไม่กล้าเปลี่ยนหมอ หรือเปลี่ยนโรงพยาบาล ด้วยกลัวการเริ่มต้นรักษาใหม่ นี่่ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาตามมา เมื่ออาการเริ่มดีขึ้น เธอเชื่อว่าตัวเองหายแล้ว จึงหยุดยาเอง ก็กลายเป็นว่าเธอไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิมแม้งานง่าย ๆ จึงเข้ารับการรักษาใหม่อีกครั้งและการรักษาก็ยากขึ้นเพราะการกินยาไม่ต่อเนื่อง ต่อมา เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจระดับประเทศทำให้เธอเป็นนักข่าวกลุ่มแรกที่ตกงาน ต้องผันตัวเองเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ ความรู้สึกยิ่งดิ่งลง การขาดรายได้ทำให้เธอรับการรักษาไม่ต่อเนื่อง รวมทั้งไม่มียาเพียงพอในการใช้ต่อเนื่อง ด้วยยาที่กินอยู่ไม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ทำให้การรักษาโรคของเธอซับซ้อนมากขึ้น เกิดภาวะวิตกกังวล นอนไม่หลับเรื้อรัง มีปัญหาด้านความทรงจำ การควบคุมอารมณ์ ฯลฯ         ทุกวันนี้ เธอยังรักษากับโรงพยาบาลวิภาวดีโดยจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง แต่การรักษาไม่ต่อเนื่อง การได้รับยาไม่ต่อเนื่อง รวมทั้งไม่มีคำแนะนำให้รักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การบำบัดทางจิตและอารมณ์ควบคู่ เป็นปัจจัยที่ทำให้ “เดย์” กลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรังทางจิตใจที่มีอยู่จริง และจิตใจก็พึ่งพิงไว้กับยา สิ่งที่เธอคาดหวังนั้น เรียบง่าย “น่าจะมีสักวันที่ชีวิตไม่ต้องกินยา เป็นคน ‘ปกติ’ แบบคนอื่นบ้าง”              “นิล” นักกิจกรรมทางสังคมที่เพิ่งพ้นจากรั้วมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า เขาเริ่มไม่เข้าใจภาวะที่ตัวเองผิดปกติ งานบางอย่างไม่สามารถทำให้เสร็จได้ ไม่สามารถสื่อสารกับครอบครัวได้ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม จนกระทั่งมีโอกาสเข้ารับคำปรึกษากับศูนย์สุขภาพจิตของมหาวิทยาลัย นักจิตบำบัดประเมินว่าเขาจำเป็นต้องพบจิตแพทย์ ช่วงแรกเขายังไม่อยากไปหาหมอ ไม่อยากกินยา รู้สึกการได้คุยกับนักจิตบำบัดตอบโจทย์อยู่แล้ว จนกระทั่งเรียนจบ ออกมาทำงานได้ระยะหนึ่งความกดดันต่าง ๆ และการเปลี่ยนสถานะทางสังคม โรคพัฒนาตัวอย่างเงียบๆ อาการดิ่งมาแบบไม่รู้ตัว จนในที่สุดต้องตัดสินใจรักษากับจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และทุกวันนี้ก็ยังต้อง กินยาอยู่         “ผมอยากให้มีกลไกที่จะช่วยให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตรู้ตัวได้เร็วขึ้น เพื่อรู้วิธีรับมือและจัดการตัวเอง รวมทั้งเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง” นิล เอ่ยข้อเสนอจากประสบการณ์ตรงของตัวเอง         ความน่าสนใจกรณีของ “นิล” คือ กว่าเขาจะเข้าใจตัวเองว่ามีภาวะวิตกกังวลและเป็นโรคซึมเศร้าต้องใช้เวลานานมาก จากชั้นมัธยมจนกระทั่งเข้ามหาวิทยาลัย “นิล” อาจเป็นภาพตัวแทนของเด็กจำนวนหนึ่งที่ซ่อนเร้นตัวเองอยู่ในมุมมืด ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลด้วยวัย รวมทั้ง พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2562) ไม่ได้ให้สิทธิในการตัดสินใจแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จำเป็นต้องมีผู้ปกครองตัดสินใจแทน อาจกล่าวได้ว่า การค้นหาผู้ป่วยจิตเวชที่มีอายุน้อยเพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องไม่ง่าย การรายงาน “ตัวเลข” ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงต่ำกว่าความเป็นจริงเมื่อเทียบกับกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุ ยิ่งชวนให้เราตั้งคำถามกับ “จำนวนนับ” ของฐานข้อมูลโรคซึมเศร้าไทยที่เริ่มเก็บข้อมูลประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปมากขึ้น          ในวัยเดียวกัน “ต้น” นักกิจกรรมสังคมรุ่นใหม่ ได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวทางการเมือง เจ็บปวดร้าวรานเมื่อเห็นผู้คนและเพื่อนๆ ถูกคุกคามจากการใช้สิทธิทางการเมือง รู้สึกเครียด และถูกกดดันจากสถานการณ์รอบตัว เริ่มเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นแห่งแรก แม้ต้องจ่ายเงินเองทั้งหมด นานวันเข้ารับมือกับค่าใช้จ่ายไม่ไหว จึงตัดสินใจกลับไปใช้สิทธิรักษาพยาบาล 30 บาทที่ภูมิลำเนา โรงพยาบาลในจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม้จะช่วยลดค่ารักษาพยาบาลไปได้ แต่ค่าใช้จ่ายการเดินทางกลายเป็นภาระไม่แพ้ค่ายาเพิ่มขึ้นแทน เขาไปกลับกรุงเทพฯ - ต่างจังหวัดอยู่หลายครั้ง จนยอมแพ้ ทั้งการรอคิวนานและรู้สึกว่าจิตแพทย์ไม่ได้รับฟังเพียงพอ รู้สึกถูกหมอตัดสินตัวเขาเหตุจากความคิดเห็นต่างทางการเมือง จนเริ่มคิดฆ่าตัวตาย แต่แฟนเข้ามาพบเสียก่อน จึงพากลับมารักษาตัวใหม่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีอีกหน ชีวิต “ต้น” หักเหอีกครั้ง เมื่อเกิดวิกฤตโควิด 19 ระบาด เมืองปิด เขาตกงาน ไม่มีเงินค่ารักษาหรือเพื่อประทังชีวิตเพียงพอ จนต้องหยุดยาเอง เกือบสองปีผ่านไป จนกระทั่งได้งานใหม่จึงกลับมาเริ่มต้นรักษาอีกครั้งที่โรงพยาบาลราชวิถี         สิ่งที่รู้สึกท้อแท้มากกว่าค่ารักษาพยาบาล คือการต้องเริ่มต้นเล่าเรื่องที่เขาเผชิญใหม่ทุกครั้งที่เจอกับหมอคนใหม่ ในความเห็นของ “ต้น” จิตแพทย์มีน้อยอยู่แล้ว บางคนมีทัศนคติกับผู้ป่วยแย่ หลังจากดิ้นรนรักษาโรคซึมเศร้าอยู่หลายแห่ง การรับยาจากแพทย์ไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้น กลับทรมานและรู้สึกคุณค่าของตัวเองตกต่ำลงเรื่อยๆ ทุกครั้งที่กินยา จึงอยากให้มีนักจิตบำบัดเพิ่มขึ้น จิตแพทย์เพิ่มขึ้น ไม่อยากรักษาไกลจากที่พักอาศัย อยากให้แพทย์ทำใบส่งต่อเพื่อให้เขาอยู่ในระบบสวัสดิการ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปกลับทำใบส่งตัวระหว่างกรุงเทพฯ - ต่างจังหวัดทุก 3 เดือน หรือทุกครั้งที่ต้องพบแพทย์  ดังนั้น เพื่อลดขั้นตอนการส่งตัวอันยุ่งยาก วันนี้เขายอมรับภาระในการรักษาเองทั้งหมด          บนบ่าของวัยแรงงานมีเรื่องต้องแบกหามมากมาย ช่วงเรียนปริญญาตรี “คิม” ทั้งเรียนหนักและต้องดูแลพ่อที่ไตวาย ความเครียดสะสมนี้เพื่อนแม่จึงพาไปรักษากับจิตแพทย์และหมอสั่งยาให้ระยะหนึ่ง จน    ฤกระทั่งพ่อเสียชีวิต เธอรู้สึกว่าความกดดันลดลง อาการดีขึ้นจึงหยุดยาเอง จนกระทั่งเธอไปเรียนต่อปริญญาโทต่างประเทศตามลำพัง พบว่า ทำวิทยานิพนธ์ไม่ได้ นำเสนอผลงานไม่ได้ โชคดีว่าที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศมีศูนย์ให้คำปรึกษาสุขภาพจิตซึ่งดีมาก แต่ “คิม” ไม่อยากกินยาอีกแล้ว จึงพยายามขวนขวายหาชุมชนที่พูดคุยเรื่องการรักษาโรคซึมเศร้าในชุมชนออนไลน์ เพื่อดูแลตัวเอง และประคองตัวเองจนกระทั่งเรียนจบ กลับประเทศไทย ได้ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ ปัจจุบัน “คิม” เป็นผู้บริหารองค์กรระหว่างประเทศในฐานะตัวแทนประเทศไทยระดับภูมิภาคเอเชีย         ช่วงระยะเวลากว่า 10 ปี นับตั้งแต่พ่อเสียชีวิต การเรียนต่อต่างประเทศ การเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งทางการเมืองของไทย ซึ่งเธอเป็นข้อต่อที่มีบทบาทสำคัญ หัวใจอันอ่อนล้าไม่ได้หยุดพักเลย เมื่อแม่ของ “คิม” เริ่มมีภาวะสมอง เสื่อมจากเนื้องอกในสมอง หลังผ่าตัด พฤติกรรมแม่เปลี่ยนไปจนแทบควบคุมตัวเองไม่ได้ ยิ่งทำให้เธอเครียดมาก จากการควบบทบาททางสังคมอันหนักอึ้งและบทบาท “ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง” (care giver) แม้จะจ้างผู้ช่วยมาประจำที่บ้านอีกคน เธอรู้ตัวดีว่าอาการโรคซึมเศร้าที่หายไปนานกลับมาเยือนอีกครั้ง แม้มีสิทธิตามหลักประกันบัตรทอง แต่ระบบไม่ได้ยืดหยุ่นให้เธอเข้าถึงได้นัก เมื่อเข้าใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ก็พบว่าการบริการไม่ได้ดีนักอย่างที่คาดหวัง จึงพยายามหาทางเลือกอื่นเป็นที่พึ่ง พบว่า สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตอบโจทย์กับชีวิตอันยุ่งเหยิง ช่วยรับฟังปัญหาได้ดี แต่ข้อจำกัดของระบบฮอตไลน์ทำหน้าที่รับฟังแบบตั้งรับ ไม่มีระบบติดตามคนไข้ หรือตามอาการของผู้ป่วยที่โทรมาใช้บริการ รวมทั้งการประเมินอาการช่วยส่งต่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงระบบบริการสุขภาพจนสำเร็จ         “เราไม่สามารถเป็นผู้ป่วยอีกคนในบ้าน เพราะเรายังต้องดูแลแม่ที่ป่วย ช่วงนี้ไม่อยากทำงานบริหาร อยากเปลี่ยนทำงานที่เบาลง แต่ยังเป็นงานที่เรายังภูมิใจได้ เปลี่ยนสภาพแวดล้อม มีเงินสักก้อนไว้ดูแลแม่ที่สมองเสื่อม หากวันหนึ่งเราเป็นอะไรไป น้องจะได้ดูแลแม่ต่อได้” คิมบอกถึงความคาดหวัง          วันนี้ “นรินทร์” นักศึกษาปริญญาเอก มาหาฉันที่บ้าน เพื่อแบ่งยาไปกิน ยา Venlafaxine หนึ่งในสี่ชนิดของยาต้านเศร้าที่กรมสุขภาพจิตพยายามผลักดันเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ “นรินทร์” ใช้สิทธิประกันสังคมรักษากับโรงพยาบาลเอกชนชื่อดังแห่งหนึ่ง แต่การพบแพทย์ครั้งล่าสุด โรงพยาบาลออก “ใบค้างยา” และ “ใบสั่งยา” ให้ เพราะตัวยาที่เขาจำเป็นต้องใช้นั้น ขาดตลาดและหมดสต๊อกของโรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถไปซื้อยาข้างนอกได้ และหากยา กลับเข้ามาในระบบอีกครั้ง (ซึ่งระบุระยะเวลาแน่นอนไม่ได้) จะโทรศัพท์เรียกให้มารับยาค้างจ่าย ฐ. กินยาตัวเดียวกับเขาและมียาตัวนี้เก็บสะสมไว้มาก จึงแบ่งยาให้ “นรินทร์” ไปกินก่อน นี่คือ สถานการณ์เดียวกับ “เดย์” ที่เคยเจอเมื่อหลายสิบปีก่อน และฉันก็เคยมีประสบการณ์เดียวกัน เมื่อมีเงินจึงซื้อยาจำเป็นเก็บไว้         มุมของวิชาชีพแพทย์ เภสัชกร        นพ.พนม เกตุมาน ที่ปรึกษาภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า จะมีผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชีกลุ่มนี้ราว 20% ขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 70-80% ยังตอบสนองต่อยาในบัญชียาหลักได้ดี แต่ก็เริ่มไม่แน่ใจว่า ผู้ป่วย 80% ที่ตอบสนองต่อยาในบัญชียาหลักฯ จะรักษาได้หายขาดหรือไม่ หรือหากมีผลข้างเคียงก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยตัดสินใจหยุดการรักษากลางคันได้[3]         ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า ยาออริจินอลจากต่างประเทศ แม้จะขึ้นทะเบียนกับ อย.แล้ว แต่ยังอยู่นอกบัญชียาหลักฯ มักจะมีราคาแพง ยิ่งจำนวนผู้ป่วยไม่แน่นอน เป็นยารักษาโรคเฉพาะทาง หรือยังอยู่ในวงจำกัด โรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนมักไม่สั่งยาสต็อกไว้ในโรงพยาบาลมากนัก เพราะเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่สูงของโรงพยาบาล ผู้นำเข้ายาเองก็ไม่กล้านำเข้ามากนัก ดังนั้น ปัญหาการขาดยาเหล่านี้ในตลาด หรือโรงพยาบาลเป็นครั้งคราวจึงเกิดขึ้นเสมอ โดยเฉพาะยารักษาโรคมะเร็ง ยาด้านจิตเวช ในวงการยาเรียกว่า “ขาดคราว”         “ส่วนการพิจารณาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาตินั้น ทางวิชาการก็ต้องรอบคอบ ว่าเป็นยารักษาโรคเฉพาะทางจำเป็นสำหรับผู้ป่วยจริง ๆ โดยยาที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองได้แล้ว หรือเป็นยาถูกทำให้จำเป็นจากการโปรโมทของบริษัทยา เมื่อเป็นการเสนอโดยกรมสุขภาพจิต หรือสมาคมจิตเวชแห่งประเทศไทย ก็น่าจะมีเหตุผลทางวิชาการรองรับที่น่าเชื่อถือ คงอีกไม่นานน่าจะมีคำตอบ"         เรื่องของ ฐ.         ฐ. เป็นคนกรุงเทพฯ แต่ทำงานในพื้นที่ความขัดแย้งเรื้อรังชายแดนใต้นานกว่าสิบปี การทำงานกับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความรุนแรง เพื่อนร่วมงานและคนรอบข้างทยอยเสียชีวิต หรือได้รับผลกระทบจากคดีความมั่นคง กลายเป็นผู้ได้รับผลกระทบมือสองเสียเอง อาการป่วยคืบคลานกัดกินใจไม่รู้ตัว จนกระทั่งชีวิตประจำวันเสีย งานประจำที่เคยทำได้ก็ทำไม่ได้ โลกค่อย ๆ พังทลายลงสู่ความดำมืด นอนไม่หลับ และตื่นตระหนก ผวากลางดึก น้ำหนักลดลงเห็นได้ชัด แต่ไม่รู้ตัว นอนติดเตียง จนเพื่อนรอบข้างผิดสังเกตนำส่งรักษาฉุกเฉินที่โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราช การุณย์เพื่อลดเวลาในการคอยแพทย์         ช่วงแรกของการรักษาเพื่อดึง ฐ กลับมาสู่ภาวะที่พอจะช่วยเหลือตัวเองและใช้ชีวิตประจำวันได้ จิตแพทย์นัดบ่อยและปรับยาทั้งชนิดและขนาดอยู่หลายขนาน นานหลายเดือน เพราะร่างกายไม่ตอบสนองทั้งอาหารและยา ผลข้างเคียงจากยาก็เยอะ ทั้งต้องกินยาต้านเศร้าควบคู่กับยานอนหลับ หรือยากล่อมประสาทให้นอนหลับสนิทได้บ้าง คนในวงการซึมเศร้าพึงรู้ข้อควรระวังประการหนึ่งว่า ยาต้านเศร้านั้นก็มีผลข้างเคียงนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะคิดฆ่าตัวตาย เช่น ฐ. กินยากล่อมประสาทคู่กับยาต้านเศร้า ครั้งหนึ่งระหว่างข้ามถนน ก็เห็นถนนกลายเป็นทะเล แหย่เท้าลุยลงไป จนกระทั่งได้ยินเสียงแตรมอเตอร์ไซต์และเสียงก่นด่าของคนขับลั่น จึงได้สติ จากนั้นก็กลายเป็นคนวิตกกังวล (แพนิค) ไม่กล้าออกจากบ้านอยู่พักใหญ่         ถ้าเรื่องยาต้านเศร้า ฐ ทดสอบมาแล้วเกือบทุกตัวในบัญชียาหลักฯ บอกได้ว่าตัวไหนกินแล้วมีผลข้างเคียงอย่างไร จนข้ามมากินยานอกบัญชีฯ ทำให้ค่ารักษาบานไปเดือนเกือบ 5,000 บาท จนเงินเก็บหมด หมอก็ใจดีเขียนใบสั่งยาให้ออกไปซื้อนอกโรงพยาบาลได้ หลังจากอาการเริ่มดีขึ้น สามารถกลับไปทำงานที่ปัตตานีอีกครั้ง ยาที่ ฐ กินนั้นไม่สามารถซื้อหาในจังหวัดชายแดนใต้ได้เลย ไม่ว่าจะขอซื้อจากร้านยาที่เป็นดีลเลอร์ระดับภาค ขอซื้อยาจากโรงพยาบาลรัฐและคลีนิคเอกชนก็ตาม จนต้องรบกวนเครือข่ายเพื่อน ฐ ให้รับใบสั่งยาและซื้อยาจากกรุงเทพฯ ส่งไปรษณีย์มาให้ที่ปัตตานี ถึงจุดหนึ่ง ฐ รับภาระค่ารักษาไม่ไหวจึงปรึกษาจิตแพทย์ใจดีอยากย้ายไปใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ โดยเสียดายว่าได้จิตแพทย์ที่เข้ากับตัวเราแล้ว กลับต้องไปเริ่มรักษาใหม่         ข้อน่าสังเกต หาก ฐ คือ ผู้ป่วยที่เป็น “ยอดภูเขาน้ำแข็ง” ในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงยืดเยื้อจังหวัดชายแดนใต้นานนับ 20 ปี คาดการณ์ว่าต้องมีคนได้รับผลกระทบทางจิตใจจำนวนมาก ผู้ป่วยโรคจิตเวชในพื้นที่นี้ไม่น่าจะน้อย โดยรู้กันดีว่าชายแดนใต้เป็นพื้นที่ขาดแคลนแพทย์เฉพาะทางทุกประเภท การขาดแคลนยารักษาโรคซึมเศร้าในหน่วยบริการอาจเป็นตัวแปรหนึ่งที่สะท้อนถึงปัญหาการเยียวยาด้านจิตใจผู้คนที่ได้รับกระทบจากเหตุความรุนแรง และคุณภาพชีวิตของผู้คนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการจิตเวชหรือไม่ ถ้าจะคิดต่อเรื่องนี้ก็มีคำถามให้ถามกันมากทีเดียว         ในส่วนของ ฐ. การต่อคิวนัดจิตแพทย์ตามสิทธิบัตรทองผ่านศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิของกรุงเทพมหานครเพื่อส่งต่อรักษากับโรงพยาบาลวชิรพยาบาลนั้น ใช้เวลาเกือบ 6 เดือน และทุกครั้งต้องไปเอา “ใบส่งต่อ” จากศูนย์ฯ ก่อน การเสียเวลาหนึ่งวัน ออกจากบ้านแต่เช้าไปเอาใบส่งต่อที่ศูนย์บริการสาธารณสุขและรีบมาพบแพทย์ให้ทันภายในเที่ยง ทุก 2 เดือน ความเร่งรีบเช่นนี้มันหายใจไม่ทั่วท้อง ระยะหลังต่อรองให้ศูนย์บริการสาธารณสุขออกใบส่งตัวให้เป็นหนึ่งปีเลย ทั้งยังต้องเป็นการวางแผนชีวิตการขึ้นลงกรุงเทพฯ - ปัตตานีให้สอดคล้องกับวันนัดของแพทย์ ที่น่าสนใจ แม้จะย้ายมาใช้สิทธิบัตรทอง ฉันยังต้องจ่ายค่ายาต้านเศร้านอกบัญชียาหลักฯ เองอยู่ดี แต่ราคาลดเหลือครั้งละ 1,500 - 2,200 บาท ด้วยความเหนื่อยล้าจากประการทั้งปวง ฐ. จึงหยุดยาเอง อาการก็ทรุดลง แต่ก็ถือว่าไม่แย่นัก แค่ชีวิตมันชืดชาเหลือเกิน         ชีวิตผกผันหัวใจอ่อนล้ามาก ช่วงวิกฤติโควิด 19 ระบาด ฐ. ถูกเรียกตัวจากปัตตานีให้เข้ามาทำงานประจำในองค์กรข่าวระดับประเทศ ด้วยเหตุผลความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านก็จริง แต่เหตุผลหลักที่กลับมาทำงานประจำอีกครั้งคือค่าตอบแทนจำนวนไม่น้อยที่สามารถจุนเจือครอบครัว ที่ถูกปิดกิจการจากการปิดเมืองเพื่อควบคุมโรค การแบกงาน แบกความเจ็บป่วยของตัวเอง และครอบครัวไม่ให้ล้มละลายในยามวิกฤติ ช่วงระยะเวลา 3 ปีกว่าที่ขาดการรักษาและขาดยา ความกดดันนานานัปการทำให้โรคซึมเศร้ากลับมาอย่างเงียบๆ จน ฐ.ยอมกลับไปเริ่มต้นรักษาใหม่อีกครั้งที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล แต่อาการก็หนักแล้ว ไม่สามารถทำงานอย่างมืออาชีพได้อีกจึงตัดสินใจลาออกจากงานกลางปี 2565         บทเรียนจากการทำงานภาคใต้ เรื่องสิทธิเป็นเรื่องต้องต่อสู้ถึงจะได้มา         ฐ. รู้ภายหลังว่า การใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ ผู้ใช้สิทธิไม่ต้องจ่ายส่วนต่างค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งยานอก บัญชียาหลักแห่งชาติด้วย หากยาดังกล่าวแพทย์วินิยฉัยว่าจำเป็นต่อการรักษาก็สามารถเบิกได้ อ้าว... แล้วที่ผ่านมาคืออะไร? การคุยเรื่องสิทธิกับแพทย์ที่รักษาโดยไม่ให้เสียความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อค่อย ๆ นึกหาสถานการณ์คิดถึงบรรยากาศในการพูดคุยและเริ่มคุยกับหมอ ก็พบว่า ไม่ใช่หมอทุกคนจะรู้เรื่องสิทธิการรักษาพยาบาล หมอยกโทรศัพท์เช็คกับภาควิชา ห้องยา และโทรคุยกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ จนทั้งระบบของโรงพยาบาลเข้าใจเรื่องตรงกัน เดือนสิงหาคม 2566 จึงเป็นครั้งแรก ที่ได้ใบอนุมัติเบิกค่ายานอกบัญชียาหลักฯ จากแพทย์ไปยื่นให้ห้องยา ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี และในรอบ 4 ปีที่รักษาโรคซึมเศร้าด้วยสิทธิบัตรทองโดยไม่ต้องเสียเงินสักบาท แต่ไม่รู้ว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคนอื่นได้อนิสงค์นี้ด้วยหรือไม่          สถานการณ์เหล่านี้เป็นบางตัวอย่างยืนยันว่าโรคซึมเศร้าไม่ใช้ปัญหาส่วนตัว บางคนหาทางออกได้ แต่บางคนไม่สามารถต่อรองกับระบบได้ และบางคนก็ยอมแพ้ ...ช่วยพวกเราด้วย เรากำลังต่อสู้กับโรคซึมเศร้าอย่างเงียบ อยากหายป่วย ไม่อยากเป็นภาระใคร.  [1] “‘โรคซึมเศร้า’ ไทยน่าเป็นห่วง กว่า 70% เสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร”, เว็บไซต์คมชัดลึก, วันที่ 1 มีนาคม 2566. [2] “ป่วยซึมเศร้า รอหมอนาน กินยาแล้วแต่ไม่หายขาด?”, www.theactive.net., วันที่ 14 พฤศจิายน 2565. [3] อ้างแล้ว.

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 270 โทรศัพท์ที่บ้าน...เงียบเกินไปไหม!!!???

        โทรศัพท์บ้าน หรือที่เรียกเป็นทางการว่า “โทรศัพท์ประจำที่” หรือ “โทรศัพท์พื้นฐาน” ทุกวันนี้มีการใช้บริการลดน้อยลงเรื่อยๆ สวนทางกับการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ         สำหรับคนที่ยังเปิดใช้บริการโทรศัพท์บ้าน การใช้ก็น้อยลงเรื่อยๆ เช่นกัน โดยเฉพาะการโทรออก บางคนแทบไม่เคยใช้โทรศัพท์บ้านเพื่อการโทรไปหาผู้อื่นเลย ใช้ก็เพียงการรับสายที่โทรเข้ามาเท่านั้น ซึ่งนับวันเสียงเรียกเข้าก็น้อยลงและห่างหายไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน         ด้วยสภาพดังกล่าวที่เป็นแนวโน้มปกตินี้เอง ถึงแม้โทรศัพท์บ้านจะยังคงตั้งอยู่ตรงที่เดิมของมัน และทุกเดือนๆ ผู้ใช้บริการก็จ่ายสิ่งที่เรียกว่า “ค่ารักษาเลขหมาย” จำนวน 100 บาท รวม vat เป็น 107 บาท แต่ผู้ใช้จำนวนมากอาจแทบไม่เคยยกหูโทรศัพท์ขึ้นมาเป็นเดือนๆ หรือหลายๆ เดือน และอาจไม่ทันเอะใจกับความเงียบอันเป็นปกติของ “โทรศัพท์บ้าน” ของตนเอง โดยคิดไปว่าคงเพราะไม่มีใครติดต่อมาทางช่องทางดังกล่าวนั่นเอง         อย่างไรก็ตาม จากเรื่องร้องเรียนต่อไปนี้ อาจทำให้คนที่ยังมีโทรศัพท์บ้านอยู่ จำเป็นต้องคิดใหม่และทำใหม่         เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้โทรศัพท์บ้านคนหนึ่งได้ร้องเรียนเข้ามาที่สำนักงาน กสทช. ระบุปัญหาว่า โทรศัพท์บ้านที่บ้านแม่ของเธอใช้ไม่ได้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ซึ่งในครั้งนั้นเคยแจ้งเหตุไปยังบริษัททีโอทีบริษัทตรวจสอบแล้วแจ้งว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากสายภายในบ้าน จากนั้นทั้งสองฝ่ายต่างก็เงียบหายกันไป         ผู้ร้องเรียนบอกเล่าว่า จนกระทั่งกลางปี 2565 แม่ของผู้ร้องเรียนได้บ่นว่าเมื่อไรจะจัดการเรื่องโทรศัพท์บ้าน มีปัญหาผ่านมานานหลายปีแล้ว เธอจึงทดสอบดูด้วยการโทรเข้าเบอร์บ้านแม่ ผลพบว่าสองครั้งแรกมีเสียงอัตโนมัติตอบกลับว่า เลขหมายนี้ยังไม่เปิดใช้บริการ แต่ครั้งหลังพบว่ามีเสียงสัญญาณเรียกดังในหูผู้โทร แต่ไม่ดังที่เครื่องโทรศัพท์แต่อย่างใด         นั่นทำให้เธอร้องเรียนไปยังบริษัทผู้ให้บริการอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ผู้ให้บริการเปลี่ยนเป็นบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือเอ็นที (NT) แล้ว จากการควบรวมกิจการกันระหว่างบริษัททีโอที กับบริษัท กสท โทรคมนาคม หรือแคท (CAT) คราวนี้ได้รับการชี้แจงจากช่างของบริษัทฯ ว่า เนื่องจากมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า จึงทำให้สายโทรศัพท์ภายนอกชำรุดเสียหาย         ต่อมาผู้ร้องเรียนตัดสินใจพาแม่ไปดำเนินการขอยกเลิกการใช้บริการโทรศัพท์บ้านไปเลย พร้อมกับเรียกร้องขอเงินที่จ่ายไปเดือนละ 107 บาทคืนด้วย โดยระบุว่าขอคืนย้อนหลังไปจนถึงปี 2561 ที่เคยมีการร้องเรียนปัญหาครั้งแรก แต่บริษัทฯ ไม่ได้แก้ไขปัญหาให้         หลังจากนั้น ทางบริษัทฯ ได้ติดต่อกลับหาผู้ร้องเรียน แจ้งว่าได้พบสาเหตุของปัญหาคือ เคเบิลปลายทางขาดจากการถูกลักลอบตัดสายตั้งแต่ช่วงต้นปี 2565!!!         กลายเป็นว่า จากเรื่องที่เริ่มด้วยการแจ้งเหตุเสียของผู้บริโภค บทลงเอยกลายเป็นเรื่องบริษัทฯ ถูกลักทรัพย์                 อย่างไรก็ตาม ปัญหาการลักลอบตัดสายเคเบิลโทรศัพท์เพื่อนำทองแดงไปขาย หรือแม้แต่สายเคเบิลอื่นๆ เช่นสายไฟฟ้า สายรถไฟฟ้า เป็นปัญหาจริงที่เกิดขึ้นและทำให้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างต้องปวดหัวและสูญเสียงบประมาณจำนวนมหาศาล         ยกตัวอย่าง บริษัททีโอทีเคยให้ข่าวว่า ผลจากการขโมยตัดสายเคเบิลในปี 2557 เพียงปีเดียว สร้างความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท โดยประมาณร้อยละ 20 นั้นเป็นความเสียหายที่เกิดในเขตกรุงเทพมหานคร อีกทั้งปัญหาดังกล่าวยังกระทบผู้ใช้บริการจำนวนมากและกระทบการสื่อสารในวงกว้าง โดยเฉพาะถ้าสายที่ถูกขโมยเป็นสายเคเบิลขนาดใหญ่         แม้แต่ในปี 2566 นี้ ข่าวอาชญากรรมเกี่ยวกับการจับกุมผู้ลักลอบตัดสายเคเบิลชนิดต่างๆ ก็ยังมีให้เห็นเป็นระยะ         แน่นอนว่า ปัญหาดังกล่าวนี้ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายกับบริษัทฯ เป็นหลัก ส่วนผู้บริโภค แม้ว่าโดยทั่วไปอาจถือว่าไม่เดือดร้อน เนื่องจากดังที่กล่าวไปตอนต้นว่า ในระยะหลังโทรศัพท์บ้านก็ดูจะอยู่อย่างเงียบๆ มาจนเป็นปกติไปแล้ว แต่ผู้บริโภคก็มีความเสียหายจากการต้องจ่ายเงินให้แก่สิ่งที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้...อย่างไม่รู้ตัว         ทั้งนี้ สำหรับกรณีของผู้ร้องเรียน ในที่สุดบริษัทได้เสนอ “ปรับลดค่าบำรุงรักษาคู่สายโทรศัพท์” ของรอบปี 2565 ให้ ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ร้องเรียนมิได้พึงพอใจต่อข้อเสนอดังกล่าว และตั้งประเด็นที่น่ารับฟังไว้ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า เหตุใดบริษัทจึงไม่แจ้งผู้ใช้บริการ แต่กลับ “ตีเนียน” เก็บค่าบริการเรื่อยมาเดือนแล้วเดือนเล่า         เนื่องจากสถานการณ์จริงเป็นเช่นนั้นแล ผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคจึงต้องช่วยเหลือตัวเอง ถ้าโทรศัพท์บ้านของใครไม่ส่งเสียงบ้างเลย ก็อาจต้องลองยกหูขึ้นฟังว่ายังมีสัญญาณอยู่หรือไม่ เพราะโทรศัพท์บ้านของท่านอาจกลายเป็น “บริการไร้สาย” ไปเสียแล้ว โดยไร้สายมาตั้งแต่ต้นทาง...จากนอกบ้าน...นั่นทีเดียว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 269 ความเคลื่อนไหวเดือนกรกฎาคม 2566

ย้ายสิทธิบัตรทอง! โดยไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้านได้แล้ว        ตามที่ประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทองจำนวนมากที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกทม. เพื่อทำงาน-เรียนหนังสือ และไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านมาด้วย เดิมนั้นต้องกลับไปรักษายังจังหวัดที่มีทะเบียนบ้าน ดังนั้นเพื่อที่จะทำให้ผู้มีสิทธิบัตรทองเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้นก็คือ การย้ายสิทธิรักษาเข้ามาอยู่ในกทม. โดยทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้ชวนผู้ที่อาศัยในกทม. แต่สิทธิบัตรทองอยู่ที่ต่างจังหวัด ทำการย้ายสิทธิเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ โดยให้ลงทะเบียนกับหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการประจำ ใกล้ที่พักอาศัย โดยไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้านมาซึ่งสำหรับการย้ายสิทธิสามารถทำได้ผ่านช่องทาง ดังนี้        1. แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกเมนูเปลี่ยนหน่วยบริการ        2. Line OA สปสช. (ID@nhso) เลือกเมนูเปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตนเอง        3. ติดต่อด้วยตนเอง ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ชั้น 2 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ (อาคารบี) ถนนแจ้งวัฒนะ ในวันเวลาราชการ        4. สายด่วน 1330  ตรวจยึดไส้กรอกแดงสุดฮิตจากจีน        วันที่ 20 ก.ค. 2566 ตำรวจสอบสวนกลาง ร่วมกับกรมปศุสัตว์(กปศ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ขยายผลตรวจสอบแหล่งขายผลิตภัณฑ์อาหารที่นำเข้าจากประเทศจีน โดยได้เข้าตรวจค้นที่อาคารแห่งหนึ่ง ย่านประชาชื่น กรุงเทพฯ พบผลิตภัณฑ์ไส้กรอก ยี่ห้อ “Shuanghui” จำนวน 1,440 แท่ง และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ที่ผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 รวมกว่า 20 รายการ และทั้งหมดคือ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากประเทศจีนทั้งหมด ทางเจ้าหน้าที่จึงได้มีการยึดสินค้าทั้งหมดส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. เพื่อดำเนินคดี นอกจากนี้ ของกลางที่ตรวจยึดได้มีการส่งตรวจวิเคราะห์ หาจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกันเสีย และสี ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถ้าพบสารปนเปื้อนที่ทำให้เกิดโรคเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จะถือว่าเป็น “อาหารไม่บริสุทธิ์” โดยผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับห้ามซื้อสมุนไพร ที่ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย.         จากกรณีที่ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยี่ห้อผู้เฒ่าวิ่งปู๊ดแคปซูล ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาขายทางแพลตฟอร์มออนไลน์ ทางอย. จึงได้ตรวจสอบว่ามีการจำหน่ายในพื้นที่ จ.พิษณุโลก  และได้ประสาน สสจ.พิษณุโลก ตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว ซึ่งก็พบผลิตภัณฑ์สมุนไพรผู้เฒ่าวิ่งปู๊ดแคปซูล สูตรกระจายเส้น เอ็นยึด ดังกล่าวจริง เป็นจำนวน 26 ซอง พร้อมกับยาผงจินดามณี จำนวน 55 ซอง และสมุนไพรไทยมีรูปรากไม้ จำนวน 39 ซอง นอกจากนี้ ทางอย.ได้มีการตรวจสอบเพิ่มเติม โดยทั้ง 3 รายการ ไม่พบข้อมูลอนุญาตจาก อย. และฉลากผลิตภัณฑ์ไม่มีการแสดงทะเบียน พร้อมกับยังพบสารสเตียรอยด์ปนเปื้อนในยาผงจินดามณี อีกด้วย ทางอย.จึงได้เตือนผู้บริโภคอย่าซื้อสมุนไพรทั้ง 3 รายการ มาใช้ เพราะอาจเกิดผลเสียต่อร่างกาย อันตรายต่อสุขภาพ บางกอกแอร์เวย์ส เตือน! ระวังมิจฉาชีพแอบอ้างชวนลงทุน         30 ก.ค. 2566 ทางสายการบางกอกแอร์เวย์ส ได้โพสต์ข้อความเตือนภัยหน้าเพจเฟซบุ๊ก Bangkok Airways โดยระบุข้อความว่า "แจ้งเตือนกรณีมีการแอบอ้างลงโฆษณาในช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยใช้ชื่อ นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ภาพเครื่องบิน และโลโก้ของสายการบินฯ ในการเชิญชวนและเปิดโอกาสให้ลงทุนหุ้นกับสายการบินฯ"  ซึ่งทางสายการบิน ได้แจ้งว่า ทางสายการบินไม่มีส่วนรู้เห็นหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง และบุคคลที่แอบอ้างดังกล่าวไม่ใช่สายการบิน อย่างไรก็ตาม ทางสายการบิน แนะนำว่าอย่าหลงเชื่อและระวังกลอุบายจากมิจฉาชีพที่หลอกล่อให้เผยแพร่ข้อมูลส่วนส่วนตัวและเอกสารสำคัญอีกด้วย  มพบ. พาผู้เสียหาย “ออลล์ อินสไปร์ คอนโดสร้างไม่เสร็จ” ยื่นฟ้องศาล         20 ก.ค. 2566 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) นำโดยนายธนัช ธรรมิสกุล หัวหน้าฝ่ายพิทักษ์สิทธิบริโภคและนางสาวณัฐวดี เต็งพานิชกุล นักกฎหมาย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมตัวแทนผู้เสียหายที่ซื้อคอนโดมิเนียมจากโครงการ ออลล์ อินสไปร์ เดินทางไปยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งและศาลแขวงพระนครเหนือ เพื่อเรียกเงินคืนตามสัญญาจะซื้อจะขาย เนื่องจากผิดสัญญาก่อสร้างไม่เสร็จตามกำหนด         โดยนางสาวณัฐวดี กล่าวว่า การยื่นฟ้องครั้งนี้ ได้ดำเนินการในนามของผู้เสียหายแต่ละราย มีจำเลย คือ บริษัท ออลล์ อินสไปร์ฯ ที่เป็นคู่สัญญา ซึ่งการยื่นฟ้องแยกตามศาลเนื่องจากเป็นไปตามทุนทรัพย์ของผู้เสียหาย โดยยื่นฟ้องที่ศาลแพ่ง จำนวน 22 คดี  ยื่นฟ้องศาลแขวงพระนครเหนือ จำนวน 10 คดี ซึ่งการที่ผู้เสียหายตัดสินใจยื่นฟ้อง บริษัท ออลล์ อินสไปร์ เนื่องจากผู้บริหารเข้าข่ายเจตนาฉ้อโกงเจ้าหนี้ เห็นได้ชัดเจนจากที่มูลนิธิฯ ได้ทำหนังสือไปถึงประธานกรรมการ เมื่อ 7 ก.ค. 2565 ขอเชิญประชุมเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แต่กับพบว่ามีแต่ความเพิกเฉย ไม่มาพบกับผู้เสียหาย เมื่อไปพบถึงสำนักงานใหญ่ พบแค่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการและเสนอแผนชดเชยค่าเสียหายผ่อนชำระเป็นรายงวด เมื่อมีบางคนยอมทำตามข้อเสนอของบริษัท แต่ปรากฏว่าบริษัทก็ยังเบี้ยวหนี้ เพราะจ่ายแค่ 1 งวด แล้วหายไปเลย ไร้ช่องทางการติดต่อ         ดังนั้นผู้เสียหายที่จ่ายเงินจอง เงินดาวน์  เงินทำสัญญา เงินผ่อนแต่ละงวดไปแล้ว ต้องการเรียกเงินคืนทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ย ทั้งนี้ ทางมูลนิธิฯ อาจยื่นฟ้องคดีอาญาอีกด้วย เพื่อให้เกิดการลงโทษผู้ประกอบการเนื่องจาก บริษัทฯ มีเจตนาไม่ชำระหนี้คืนให้ผู้เสียหาย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 269 หมอหลวง : กว่าจะเป็นนักรบเสื้อกาวน์

        วิชาแพทยศาสตร์ของไทย แต่เดิมพัฒนาองค์ความรู้มาจากการใช้ยาสมุนไพรและตำรับยาตำราหลวง หรือที่รู้จักกันว่าเป็น “แพทย์แผนไทย” จนเมื่อราวร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ที่ระบบสาธารณสุขและความรู้แพทย์แผนใหม่ได้ลงรากปักฐานในสยามประเทศ และกลายมาเป็นชุดวิทยาการการแพทย์แผนหลักจวบจนปัจจุบัน         ที่สำคัญ ทุกวันนี้ไม่เพียงบุคลากรทางการแพทย์แผนใหม่จะมีบทบาทดูแลรักษาสุขภาพคนไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนานเท่านั้น หากแต่ยังมีบทบาทเป็นชนชั้นนำหรือ “คีย์แมน” ที่แทรกซึมเข้าไปในอีกหลากหลายแวดวงทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นแวดวงการศึกษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และอีกมากมาย         เพราะแพทย์แผนใหม่ได้สถาปนาอำนาจและบทบาทนำในสังคมไทยมาเกินกว่าศตวรรษเช่นนี้เอง จึงไม่แปลกที่ละครโทรทัศน์จะหยิบเรื่องราวมาผูกเป็นเรื่องเล่าในความบันเทิงแบบมวลชน และล่าสุดก็ผูกโยงเป็นละครแนวพีเรียดที่ย้อนยุคไปในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อคณะมิชชันนารีได้เข้ามาเผยแผ่คริสตศาสนาและวิทยาการการแพทย์แบบตะวันตก พร้อมๆ กับการริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนแพทย์แผนไทย เป็นฉากหลังของเรื่องราว ดังที่เราได้มองผ่านละครเรื่อง “หมอหลวง”         ละครกึ่งดรามากึ่งคอมเมดี้เรื่อง “หมอหลวง” เริ่มต้นด้วยภาพกาลสมัยปัจจุบันของ “อัคริมา” หรือ “บัว” นางเอกสาวนักศึกษาแพทย์ ที่เหมือนจะไร้ญาติขาดพี่น้อง และแม้มุ่งมั่นว่าสักวันหนึ่งจะได้สวมเสื้อกาวน์เป็นหมอที่ดีในอนาคต แต่ในชั้นเรียนเธอกลับถูกตีตราจากอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นว่า เป็นนักศึกษาแพทย์ที่เรียนรั้งท้าย ไม่มีสติ ไม่มีวิจารณญาณที่จะเป็นหมอรักษาโรคได้ดี         กับชีวิตที่ดูแปลกแยกและไร้แรงเกาะเกี่ยวเช่นนี้ ปาฏิหาริย์ก็บังเกิดขึ้นเมื่อเกิดลมพายุใหญ่พัดหอบบัวออกจากห้องพักอันคับแคบ ทะลุมิติข้ามภพข้ามกาลเวลาประหนึ่งเมตาเวิร์ส มาโผล่ในจุลศักราช 1202 สมัยรัชกาลที่ 3 กันโน่นเลย         ปกติแล้วในความเป็นเรื่องละครแนวเดินทางข้ามเวลา หรือที่รู้จักกันว่า “time travel stories” นั้น ในฟากหนึ่งก็สะท้อนความรู้สึกโหยหาอดีตที่แสนหวานแต่ห่างหายไปแล้วจากสำนึกคนรุ่นปัจจุบัน แต่ในอีกฟากหนึ่ง ก็เป็นช่วงจังหวะที่เปิดโอกาสให้ปัจเจกบุคคลร่วมสมัยได้ทบทวนหวนคิดถึงตนเองในทุกวันนี้ โดยใช้ฉากทัศน์ของกาลอดีตมาเป็นภาพที่วางเปรียบเทียบเคียง         ด้วยเหตุดังนั้น หลังจากที่บัวได้หลุดมิติมาสู่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นางเอกสาวนักศึกษาแพทย์ก็ได้พบกับ “ทองอ้น” พระเอกหนุ่ม ลูกชายผู้ไม่เอาถ่านของตระกูลหมอหลวงสาย “หลวงชำนาญเวช” หรือที่ผู้คนเรียกขานว่า “หมอทองคำ” ผู้สืบทอดความรู้แพทย์แผนโบราณมาตั้งแต่สมัยกรุงเก่า         แม้ทองอ้นจะเป็นคนเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบดี แต่ด้วยเหตุผลที่เขาไม่ต้องการเด่นเกิน “ทองแท้” พี่ชายต่างมารดา จึงแกล้งทำตัวไม่เป็นโล้เป็นพาย เพื่อปิดบังความรู้ความสามารถที่แท้จริงของตน         แต่แล้วชีวิตทองอ้นก็ต้องมีอันพลิกผัน เมื่อมีพระราชโองการจัดตั้งโรงเรียนหมอหลวงขึ้นมา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดรับสมัครนักเรียนหมอหลวงในกรุงสยาม และเปิดโอกาสให้ลูกหลานชาวบ้านทั่วไปได้เข้ามาร่ำเรียนเพื่อเป็นหมอ ซึ่งอดีตเคยเป็นวิชาความรู้ที่ผูกขาดอยู่เฉพาะในสายตระกูลหมอหลวง และก็แน่นอนที่พระเอกหนุ่มทองอ้นก็คือหนึ่งในผู้สมัครเป็นนักเรียนหมอหลวงรุ่นแรกนั้นด้วย         จากนั้น ผู้ชมก็ได้เห็นภาพกระบวนการกลายมาเป็นหมอหลวงในยุคเก่าก่อน ผ่านสายตาและการรับรู้ของบัวหญิงสาวผู้ข้ามภพกาลเวลามาจากปัจจุบัน โดยผูกเล่าผ่านโครงเรื่องความขัดแย้งย่อยๆ ตั้งแต่ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวของหมอทองคำ ความวุ่นวายของชีวิตนักเรียนในโรงเรียนหมอหลวง ชีวิตหมอหลวงที่ต้องผูกพันกับทั้งราชสำนักและผู้ไข้ที่ขัดสน หรือแม้แต่เกี่ยวพันเข้าไปในสงครามสู้รบจริงๆ จากกลุ่มจีนอั้งยี่ และสงครามโรคภัยจากการระบาดของไข้ทรพิษ         และเพื่อให้ดูสมจริงในสายตาของผู้ชม ละครจึงตัดภาพสลับไปมา โดยให้ผู้หญิงร่วมสมัยอย่างบัวได้เรียนรู้วิทยาการสมุนไพรและแพทย์แผนโบราณ ไปจนถึงได้เห็นฉากการผ่าตัดครั้งแรกในสยามประเทศเมื่อร้อยกว่าปีก่อน แต่ในเวลาเดียวกัน ก็เปิดโอกาสให้ตัวละครในอดีตอย่างทองอ้นและสหายได้ใช้จินตนาการหลุดมาสัมผัสเหตุการณ์จริงของระบบการจัดการสุขภาพผู้คนในศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่ให้พวกเขาได้เข้าไปเยี่ยมเยือนในห้องยิมออกกำลังกาย ไปจนถึงห้องผ่าตัดของศัลยแพทย์ในโรงพยาบาล         การสลับเรื่องราวไปมาของตัวละครสองห้วงเวลาที่หลุดเข้าสู่โลกเสมือนแบบนี้ ด้านหนึ่งก็เชิญชวนให้ผู้ชมได้ลุ้นกับฉากสรุปตอนท้ายว่า บัวจะตัดสินใจเลือกครองคู่อยู่กับทองอ้นในกาลอดีต หรือจะเลือกกลับมาใช้ชีวิตที่เหลือแบบแปลกแยกโดดเดี่ยวกันอีกครั้ง หากแต่พร้อมๆ กันนั้น ละครข้ามเวลาเรื่องนี้ก็ชี้ชวนให้เราทบทวนถึงคุณค่าของวิชาชีพแพทย์ ผู้มีบทบาทในการกำหนดความเป็นความตายของชีวิตมนุษย์ปัจจุบัน         แม้หมอเองก็คือปุถุชนธรรมดาคนหนึ่ง แบบที่นักเรียนหมอหลวงก็มีการแข่งขันกันเพื่อชิงความเป็นหนึ่ง มีความอิจฉาริษยา มีเรื่องพรรคพวกเส้นสาย หรือแม้แต่ออกอาการงกวิชาความรู้ แต่ในขณะเดียวกัน ภายใต้ความเป็นปุถุชนที่มีกิเลสรักโลภโกรธหลงนี้ แวดวงวิชาชีพหมอในอดีตก็มีการติดตั้งรหัสจริยธรรมที่กำกับควบคุมด้านมืดทั้งหลายมิให้ครอบงำกัดกร่อนจิตใจของบรรดาหมอหลวงเหล่านั้นไปได้โดยง่าย         คุณค่าหลักของหมอในอุดมคติที่ปรากฏในละคร มีตั้งแต่การต้องเคารพครู ช่างสังเกต ตั้งข้อสงสัย ไม่ย่อท้อที่จะค้นหาวิธีรักษาโรคให้เจอ รู้จักขวนขวายความรู้จากทั้งตำราดั้งเดิมและความรู้ใหม่ๆ ที่เก็บเกี่ยวได้รอบตัว ตลอดจนคุณธรรมอีกหลากหลายที่คนเป็นหมอพึงมี         แต่ที่ละครดูจะตอกย้ำซ้ำทวนเอาไว้ก็คือ หมอที่ดีพึงยึดเอาประโยชน์ของ “ผู้ไข้” เป็นหลัก แบบที่ครูหมอรุ่นก่อนได้สอนอนุชนนักเรียนหมอหลวงว่า “จรรยาข้อแรกของหมอคือ ต้องมีเมตตาต่อผู้ไข้ไม่แยกชนชั้นวรรณะ” หรือ “ความรู้ด้านการแพทย์ไม่ได้มีไว้แข่งขันเพื่อเอาชนะกัน” หรือแม้แต่วิธีคิดต่อยาสมุนไพรหายากในโรงหมอหลวงที่ว่า “ยาหาใหม่ได้ แต่ชีวิตคนหาใหม่ไม่ได้”         เพราะฉะนั้น ฉากที่หมอทองคำลดตนก้มกราบคารวะ “หมอทัด” คู่ปรับในวิชาชีพแพทย์ที่ใช้ความรู้ช่วยเหลือผู้ไข้ให้ผ่านพ้นการระบาดของโรคฝีดาษได้ ก็อรรถาธิบายอยู่ในตัวว่า หากหมอหัดลดหรือวางอัตตาและทิฐิลงเสียบ้าง และพร้อมจะยอมรับความรู้ความสามารถคนอื่นเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ไข้ ก็เป็นรหัสจรรยาบรรณที่คนโบราณวางไว้ให้กับบรรดาหมอหลวงได้ยึดถือปฏิบัติ         กว่าศตวรรษได้ผ่านพ้นไป กับสังคมไทยที่มีแพทย์ชนชั้นนำเป็นกลจักรขับเคลื่อนอยู่นี้นั้น สถาบันการแพทย์ที่มีบทบาทและตัวตนอยู่ในสปอตไลต์ก็คงหนีไม่พ้นที่จะถูกตั้งคำถามไปถึงจรรยาบรรณใต้เสื้อกาวน์อยู่เป็นเนืองๆ หากเราลองผาดตาเล็งเห็นคุณค่าที่ทองอ้นกับการก่อตัวของสถาบันหมอหลวงมาแต่อดีต ก็อาจจะเห็นหลักจริยธรรมที่นำมาตอบโจทย์ของแพทย์ที่มีต่อผู้ไข้และสังคมไทยอยู่ในนั้นได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 266 ผู้ใช้สิทธิ์บัตรทองไม่ต้องจ่ายเพิ่ม หากจำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชีฯ ตามหมอสั่ง

        จากข้อมูลของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้เปิดเผยว่าในปี 2565 มีการร้องเรียนจากผู้ใช้สิทธิบัตรทอง กรณีถูกเรียกเก็บค่ายานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ จำนวน 32 เรื่อง เป็นจำนวนเงิน 1,724,703 บาท         คุณบัวก็เป็นคนหนึ่งที่ต้องจ่ายค่ายานอกบัญชีฯ เองมากว่า 10 ปีแล้ว แต่เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ เธอได้ส่งข้อความมาในไลน์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอคำปรึกษาว่า เมื่อเธอใช้สิทธิบัตรทองไปรับยารักษาโรค Anxiety Disorder ที่โรงพยาบาลรัฐชื่อดังแห่งหนึ่ง จำนวน 2 รายการ ยาที่เบิกได้ คือ SENOLAX TABLET 7.5 MG แต่ยา OLAPIN TABLET 5 MG ซึ่งหมอบอกว่าเป็นยาที่ไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีฯ เธอจึงต้องจ่ายค่ายาเองในจำนวนเงินหลายพันบาท โดยแต่ละครั้งที่ทำการรักษาก็มีการขอใบส่งตัวจากต้นสังกัดทุกครั้ง ซึ่งคุณบัวจำเป็นต้องได้กินยาตัวนี้เพื่อรักษาอาการอย่างต่อเนื่อง เธอเริ่มกังวลว่าอาจจะแบกรับค่าใช้จ่ายตรงนี้ต่อไปไม่ไหว เธอจึงขอให้ทางมูลนิธิฯ ช่วยสอบถามไปยังสปสช.ว่า ถ้าหากการรักษายังคงมีต่อเนื่องในระยะยาว จะของดเว้นการชำระค่ายาตัวนี้ได้หรือไม่ แนวทางการแก้ไขปัญหา         ขอย้ำว่าแม้จะเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ แต่ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าให้ใช้ยานี้ ผู้ประกันตนในหลักประกันสุขภาพ(บัตรทอง) ไม่ต้องจ่ายเพิ่มแต่อย่างใด         ในการณีนี้ ทางมูลนิธิฯ โทร.ไปยัง 1330 และได้ความว่า คุณบัวไม่ต้องชำระเงินค่ายา เพราะมีความจำเป็นต้องรับการรักษาด้วยยาชนิดนี้ และแจ้งว่าถ้าคุณบัวมีนัดครั้งต่อไป ถ้าทางโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินค่ายาให้โทร.มาแจ้งที่ 1330 ทางสปสช.จะประสานกับทางโรงพยาบาลให้งดเว้นการจ่ายเงิน         ทางมูลนิธิฯ ยังส่งหนังสือไปยังโรงพยาบาลแห่งนี้และได้รับคำชี้งแจงในกรณีนี้กลับมาว่า         "เบื้องต้นทางโรงพยาบาลขอชี้แจงเกี่ยวกับระเบียบการเบิกจ่ายยาของผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) โดยสิทธิประโยชน์จะครอบคลุมการจ่ายยาตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ ไม่คุ้มครองการจ่ายยานอกบัญชี ยกเว้นหากแพทย์มีข้อบ่งชี้ที่จำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชี โดยพิจารณาแล้วว่าไม่มียาในบัญชียาหลักแห่งชาติทดแทนได้ จึงจะสามารถใช้สิทธิเบิกได้  ซึ่งในกรณีของผู้ร้องนั้น ทางแพทย์ผู้รักษาได้ชี้แจงว่าสามารถปรับเปลี่ยนชนิดยาเป็น  Antipsychotic drug ตัวอื่นตามบัญชียาหลักแห่งชาติได้ เพื่อที่จะได้ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย อนึ่งที่ผ่านมาผู้ป่วยไม่เคยแจ้งแพทย์ผู้รักษาเกี่ยวกับปัญหาค่าใช้จ่าย แพทย์จึงไม่ได้ปรับเปลี่ยนยาให้ซึ่งหลังจากนี้หากปรับเปลี่ยนยาแล้ว แพทย์จะมีการติดตามอาการและผลการรักษาอย่างใกล้ชิดเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย "

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 251 การดูแลผมแห้งเสียให้มีสุขภาพดี

        สุขภาพ “เส้นผม” ที่ดี เป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญ การมีผมสะอาด แข็งแรง สวยงามช่วยเสริมบุคลิกให้ดูดีขึ้นได้  หลายคนพยายามค้นหาวิธีการพิเศษหรือคิดสรรหาวิธีเสริมสวยต่างๆ เช่น การย้อมผม กัดสีผมหรือยืดผม มาช่วยเสริมความมั่นใจให้กับตัวเอง แต่รู้หรือไม่พฤติกรรมทั้งหมดนี้อาจให้ผลตรงกันข้ามกับที่คิดและอาจเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนทำลายเส้นผมของเรา         โดยปกติผมแห้งเสียนั้นเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ทั้งพฤติกรรมการดูแลเส้นผม สภาพแวดล้อม และกรรมพันธุ์พื้นฐานตั้งแต่เกิด แต่พฤติกรรมที่เสี่ยงทำให้เกิดผมเสียหลักๆ คือ        1.การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรุนแรงกับเส้นผม เช่น การยืดผม ย้อมสีผม ดัดผม ทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีขั้นตอนในการทำที่ต้องใช้สารเคมีชนิดเข้มข้น ซึ่งสารเคมีพวกนี้จะเข้าไปทำลายโปรตีนในเส้นผมทำให้เวลาลูบผมจะรู้สึกสากๆ หยาบกระด้าง        2.การใช้แชมพู ครีมนวดผมหรือทรีตเม้นต์ต่างๆ ที่ไม่เข้ากับธรรมชาติของเส้นผม ตลอดจนพฤติกรรมการสระผม ยิ่งสระผมบ่อยผมยิ่งแห้ง หรือการสระผมด้วยน้ำอุ่นยิ่งเสริมให้ผมแห้งหยาบมากขึ้น        3.พฤติกรรมการใช้ความร้อนกับเส้นผม เช่น การใช้ไดร์เป่าผมด้วยลมร้อนขั้นสุด หรือการใช้เครื่องหนีบผม ที่มีความร้อนสูง       ดูอย่างไรว่า “เส้นผม” เริ่มเสียจนเข้าขั้นวิกฤต         ลักษณะของเส้นผมที่เริ่มเข้าสู่วิกฤตและอาจจะสายเกินแก้หากปล่อยไว้ มีรูปแบบดังนี้ ผมแห้งและรู้สึกไม่มีน้ำหนัก เบา ชี้ฟู เปราะบางขาดง่ายและสุดท้ายเริ่มแตกปลายมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งสัมผัสเมื่อลูบผม คือรู้สึกหยาบกระด้างไม่นุ่มสลวย ทั้งนี้เมื่อลองเอาช่อผมมาผูกเป็นปมเล็กๆ แล้ว ถ้าหากผมไม่คลายออกแต่ยังคงเป็นปมแน่นอยู่ เสมือนผูกเชือกแล้วยังคงอยู่ยังไง ก็ยังคงอยู่อย่างนั้น แสดงว่า “เส้นผมเสียจนเข้าขั้นวิกฤต” แล้วแน่นอน ควรจะหาวิธีบำรุงและดูทันที ดูแลเส้นผมให้มีสุขภาพที่ดีได้อย่างไร        -      ควรเลือกผลิตภัณฑ์แชมพูสระผมให้มีค่า ph อยู่ที่ 5.5 หลีกเลี่ยงแชมพูที่มีส่วนผสมของ แอมโมเนียม ลอริล ซัลเฟต สารกันเสีย และซิลิโคน          -      ใช้ครีมนวดผมเป็นประจำ และหมักผมอย่างน้อย 2-3 นาที ควรเลือกครีมนวดให้เหมาะกับตัวเอง หากรู้สึกว่าใช้แล้วเส้นผมไม่ดีขึ้นให้เปลี่ยน นอกจากนี้แม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ครีมนวดผมที่ไม่ถูกกับเส้นผมจะก่อให้เกิดผมเสียได้ “แต่ยังไงการใช้ครีมนวดผมก็ยังคงเป็นวิธีการดูแลหลักที่สำคัญ”  ซึ่งหากใช้ให้ถูกกับตัวเองก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดี        -      ไม่สระผมด้วยน้ำอุ่นจัด และเป่าผมด้วยไอลมระดับพอดีไม่ร้อนจนเกินไป ควรที่จะสระผมด้วยอุณหภูมิปกติ และสระเพียงแค่ 2 วันต่อครั้ง ยกเว้นผู้ที่มีลักษณะผมมันมากอาจสระได้วันละครั้ง        -      ใส่ทรีตเม้นต์บำรุงผม โดยใช้แบบธรรมชาติเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว โดยสามารถมาสก์ทิ้งไว้ก่อนสระผม และควรเล็มปลายผมที่แตกปลายออกอย่างน้อยทุกๆ 2-3 เดือน          ทั้งนี้สามารถใช้ตัวช่วยในการดูแลสุขภาพเส้นผมเป็นการรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมได้ อาจจะเป็นอาหารเสริมหรือวิตามินจำพวกโปรตีน สังกะสี ธาตุเหล็ก เป็นต้น แต่ก็ต้องตรวจสอบให้ดี อ่านวิธีใช้และผลข้างเคียงก่อนบริโภค  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 249 ติดโควิด ชีวิตเปลี่ยน บทเรียนการเยียวยาจิตใจหลังติดโควิด-19

        เกือบ 2 ปีแล้วที่คนทั่วโลกต้องผวากับโรคโควิด-19 ล่าสุดองค์การอนามัยโลกประกาศยืนยันว่าพบเชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ตั้งชื่อว่า โอไมครอน ซึ่งระบาดเร็วและรุนแรงกว่าที่ผ่านมา แสดงว่าเชื้อโควิดคงจะอยู่กับพวกเราไปอีกนานและทุกคนมีสิทธิ์ที่จะติดได้         เช่นเดียวกับคุณเกวรินทร์ ศิลาพัฒน์ นักวิชาการด้านการพัฒนาระบบสื่อ และรองผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ แม้เธอจะคลุกคลีกับข้อมูลด้านสุขภาพ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 เคร่งครัด รวมทั้งทำอาหารกินเอง เน้นสั่งซื้อของทางออนไลน์ แต่สุดท้ายก็ติดโควิด-19 จากคนใกล้ชิด ประสบการณ์ที่เธอนำมาบอกเล่านี้จึงคล้ายกระจกสะท้อนให้ทุกคนเตรียมรับมือไว้ให้พร้อมเสมอ      เตรียมพร้อมรับมือโควิด-19 ไว้ก่อนที่จะติดแล้ว         ตั้งแต่โควิด-19 ระบาด เนกับแฟนก็ระวังตัวตลอด เนเป็นโรคหอบกับภูมิแพ้ แฟนมีความดันและโรคอ้วน แล้วเรายังต้องเดินทางไปทำงานเราก็กลัว เนตรวจ ATK ทุกๆ 7 วันอยู่แล้ว ก่อนจะระบาดหนักๆ เนซื้ออุปกรณ์และยาที่ต้องใช้เก็บไว้อย่างละ 2 ชุด ทั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความดัน ฟ้าทะลาย ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ แผ่นเจลลดไข้ พร้อมใช้ยามฉุกเฉินทันที         พอวันที่ 8 สิงหาคม แฟนตรวจที่บริษัทแล้วพบว่าติด ยังไม่มีอาการอะไร เนแจ้งกับทางคอนโด และขอเช่าห้องเปล่าให้แฟนนอนแยกต่างหาก เขาปวดหัวมากและเริ่มมีไข้วันที่ 9 ช่วงกลางคืน ก็ให้กินยา ตอนนั้นคิดว่าทำอย่างไรให้เข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็วที่สุด ก็ไปลงทะเบียนในไลน์ของ สปสช. ไว้ พอเขาแจ้งว่าจะมีโรงพยาบาลติดต่อกลับมาวันที่ 10 ซึ่งเราฟังมาจากหมอว่าอาการคนไข้จะหนักขึ้นในวันที่ 3 นับจากเริ่มมีอาการ พอถึงตอนนั้นเขาอาจจะไม่ไหวแล้ว เนจึงให้แม่ประสานกับโรงพยาบาลที่สุราษฎร์ธานี ฉุกละหุกมาก แต่โชคดีได้ติดรถมูลนิธิกุศลศรัทธาของจังหวัดสุราษฎร์ธานีกลับไปด้วยกัน         แฟนได้ไปรักษาที่โรงพยาบาล เนถูกแยกไปอยู่ LQ ตอนนั้นผลตรวจยังเป็นลบ แต่พอวันที่ 11 ปวดหัวมาก กินยาก็ไม่หาย พอกลางคืนข้ามจะวันที่ 14 สรุปผลตรวจออกมาเป็นบวก จึงต้องเข้าโรงพยาบาล หมอให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เนไอจนอ้วก ปวดหัวมาก และท้องร่วงหนักจนหมอต้องให้น้ำเกลือกับออกซิเจน หลังจากรักษาอยู่ 2-3 สัปดาห์ เราทั้งคู่ก็ค่อยๆ อาการดีขึ้น แต่ต้องอยู่กักตัวต่อ 7 วัน ต้องทำหนังสือขอจังหวัดเพื่อจะกลับกรุงเทพฯ แล้วเราก็ตัดสินใจนั่งรถไฟกลับมาวันที่ 31 สิงหาคมรักษาโรคโควิด-19 หาย แต่กลายเป็นโรคแพนิก         ตอนที่อยู่โรงพยาบาล เนอยู่คนเดียวในห้องเปล่าๆ ไม่เจอโลกข้างนอกเลยตลอด 15 วัน เครียด จิตตก พอออกมากลายเป็นกลัวคนไปเลย แม้แต่ตอนนั่งรถไฟกลับมา เนก็กลัว ไม่กล้ากินข้าว ไม่กล้าไปห้องน้ำ ไม่กล้านั่งเก้าอี้ เพราะไม่รู้ว่าคนในรถไฟติดหรือเปล่า ต้องเอาแอลกอฮอล์ฉีด เอาผ้าเช็ดทุกอย่าง รู้สึกว่าให้มันปลอดภัย จนพอกลับมาบ้านอาการนี้ก็ยังเป็นอยู่         ตั้งแต่กลับมาบ้าน เนนอนข้างนอกที่โซฟาคนเดียวเพราะกลัวว่าจะติดซ้ำ แล้วก็ยังไปเข้มงวดกับแฟนด้วยว่าอย่าทำแบบนั้นอย่าทำแบบนี้เดี๋ยวติดอีกหรอก ตอนนั้นหนึ่งคือเราฟังเยอะไปว่าถ้าติดซ้ำจะหนักกว่าเดิม สองคือกังวลว่าเขากลับไปทำงานแล้วจะไปเอาเชื้อมาติดเราอีก พอเนพูดทุกวันๆ เป็นอาทิตย์สองอาทิตย์ไม่หยุด เขาเริ่มรำคาญว่าทำไมต้องพูดย้ำนักหนา แล้วเราก็ทะเลาะกัน ทั้งๆ ที่ก็รู้ว่าเขาติดมาจากที่ทำงาน ไม่มีใครอยากติดหรอก เขาเองก็เซฟตัวเองสุดๆ แล้ว แต่เหมือนเรากลัว หวาดระแวงไปหมด         จริงๆ เนเริ่มมีปัญหาสุขภาพจิตตั้งแต่ตอนอยู่ที่โรงพยาบาลแล้ว พยาบาลเห็นเนเริ่มเงียบๆ แปลกๆ ก็เลยให้ทำแบบประเมิน แล้วเหมือนเราเข้าข่ายต้องปรึกษาหมอ หลังจากที่กลับมาแล้วหมอก็ถามว่าได้คุยกับแฟนหรือยัง ก็บอกว่ายัง คือกลัวติด กลัวไม่หาย โน่น นี่ นั่น หมอบอกว่านี่คืออาการ Panic เป็นผลจากภาวะ Long COVID คือภาวะที่เป็นการกระทบทางจิตใจจากการติดโควิดจากคนรอบข้าง แม้ไม่ได้เกิดการสูญเสีย แต่ทำให้เป็นปัญหาครอบครัวระยะยาว คือถ้าไม่รักษา หรือคิดว่าเดี๋ยวก็หาย บอกเลยว่าไม่หาย แล้วยิ่งจะสะกิดความรู้สึกไปเรื่อยๆ อย่างพอใครเริ่มไอก็กลายเป็นหวาดระแวงกันเอง หมอแนะนำว่าควรปรึกษานักจิตวิทยา ขอคำปรึกษาเยียวยาจิตใจเพื่อคนในครอบครัว         เนไปเจอแอปพลิเคชั่นที่ให้ปรึกษาด้านจิตวิทยาของสมาคมนักจิตวิทยาแห่งหนึ่ง จองคิวปรึกษาไว้สัปดาห์ละครั้ง ใช้วิดีโอคอลคุยกัน ครั้งแรกเขาก็ถามว่าเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร เนก็เล่าไป หมอบอกว่านั่นคือรีเฟล็ก ที่เราแสดงออกมาว่าเราไม่เข้าใกล้เขา คือนั่งก็นั่งห่างกัน ไม่จับ ไม่แตะ ไม่ต้อง แล้วก็จะฉีดแอลกอฮอล์ทุกอย่างในบ้าน วันแรกหมอแนะให้ลองจับมือกัน สวมแมสก์แล้วเข้าไปกอดกันสักครั้ง เนลองทำแล้ว แต่ก็ไม่หาย มันกลัว พอครั้งที่สองหมอก็แนะนำว่าลองกลับไปนั่งคุยกันดีๆ หาวิธีการว่ทำอย่างไรก็ได้ต้องมาจูนกันใหม่ ซึ่งพอเราคุยกันไปสักพัก สมองเนจะคิดเชิงตำหนิว่าเขาทำแบบนี้ๆ อีกแล้ว         ครั้งที่สาม หมอก็ประเมินว่าน่าจะมีอะไรแปลกๆ อยู่สักอย่างหนึ่งที่ตัวเนไม่ใช่ตัวแฟน หมอก็มีให้เลือกสองทาง หนึ่งคือแยกกันอยู่จนกว่าจะดีขึ้นและคิดถึงกัน สองคือเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมทั้งหมดในบ้าน เพราะถ้ายังอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิมๆ เราจะคิดแต่เรื่องเดิมๆ เนเลยว่าจะลองจัดบ้านใหม่ หมอบอกว่าให้ชวนแฟนมาช่วยเราเลือกด้วยว่าอยากจะเปลี่ยนตรงไหนยังไง         พอเข้าสู่กระบวนการนี้ กลายเป็นเราได้อยู่ใกล้กันมากขึ้น ได้คิดด้วยกันว่าเราเปลี่ยนมุมห้องแบบนี้ดีไหม ทำให้ลืมเรื่องโควิดไปเลย เราช่วยกันจัดของ ช่วยกันประกอบเฟอร์นิเจอร์ที่สั่งมาใหม่ ทำให้เริ่มไม่มีระยะห่าง แต่เนจะติดอยู่อย่างเดียวคือทุกครั้งที่เขาไปทำงาน สมองจะเริ่มคิดอีกแล้วว่าเขาต้องไปเจอคนเยอะ แล้วเขาต้องติดกลับมาแน่เลย         อันนี้คุณหมอบอกให้ปล่อยวาง โดยก่อนหน้านั้นเนไม่ได้เข้าไปนอนในห้อง จนจัดห้องใหม่เสร็จ หมอก็บอกลองเข้าไปนอนในห้องสิ แล้วก็ทำกิจวัตรเหมือนที่เราเคยทำคือตรวจ ATK ดูอาการ สังเกตอาการ แล้วแนะนำว่าเวลานอนให้เอามือสัมผัสให้เรารู้สึกว่าเรามั่นใจในตัวเขา จะช่วยลดความหวาดระแวงนี้ได้พอสัปดาห์ที่ห้ามาประเมินก็ดีขึ้น แต่ยังรู้สึกติดอยู่นิดๆ ก็คิดว่ายังโชคดีที่เราไม่ถึงขั้นสูญเสีย กระบวนการเหล่านี้ช่วยรักษาความสัมพันธ์ในชีวิตคู่ให้เรา แล้วยังกลับไปชาร์จความรู้สึกให้พ่อกับแม่ของเนด้วย         เนรู้สึกผิดที่เห็นพ่อแม่ต้องลำบากและร้องไห้เพราะเป็นห่วงเรา จึงพยายามเอาวิธีการที่หมอแนะนำนี้ไปใช้ปลอบประโลมพ่อกับแม่ด้วย หมอบอกให้โทรไลน์ โทรคุยวิดีโอคอลกับพ่อแม่ให้เห็นหน้ากันทุกวันว่าเราปกติสมบูรณ์ดีและจิตใจเขาจะดีขึ้น วิธีการคือให้เราบอกเขาก่อนเลยว่าวันนี้เรารู้สึกดีอย่างไร คือต้องบอกเขาก่อนที่เขาจะถาม เพราะถ้าเขาถามแปลว่านั่นคือเขากังวล พอเราบอกเขาก่อนเขาก็รู้สึกคลายกังวล และให้ชวนคุยเรื่องอื่นๆ ที่สบายใจ ซึ่งพอทำตามวิธีนี้แล้วแม่กับพ่อก็ค่อยๆ ดีขึ้น เมื่อกลับมาทำงานก็ต้องปรับตัวต่อสังคม         หลังจากกลับมากรุงเทพฯ เนกลับมาทำงานในสัปดาห์ที่สอง ประเด็นก็คือเราทำงานสายสุขภาพด้วยเราคิดเยอะ เราก็เลยนอยด์ กลัว ไม่ใช่คิดว่าเขากลัวเรา แต่เรากลัวเขา แล้วก็เพิ่งกล้านั่งรถไฟฟ้าได้ไม่นานนี้เอง        ข่าวก็มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมาก ในด้านลบทำให้เราหวาดระแวงว่าคนโน้นติดคนนี้ติด ไปตรงนั้นติดตรงนี้ติด เราก็เลยไม่มั่นใจว่าถ้ากลับไปใช้ชีวิตปกติ เราจะติดอีกไหม พอมีคนพูดว่าภายในหนึ่งเดือนติดซ้ำได้นะ ติดซ้ำแล้วอาการหนักขึ้น เราก็ยิ่งกลัว ส่วนในด้านบวกก็ทำให้เรามีข้อมูลข่าวสารว่าถ้าเราติดแล้วจะไปอยู่ที่ไหน ทำอย่างไร จะเข้ากระบวนการอย่างไร อันนี้จะช่วยได้เยอะ อยากให้แนะนำว่าถ้าติดโควิด-19 แล้วควรทำยังไง        ให้คุณทำใจไว้ได้เลยว่าโควิดไม่ได้หายไป แต่จะเป็นเมื่อไหร่ไม่รู้ เราต้องพร้อมเสมอ หนึ่งคือต้องมียาเอาไว้จะปลอดภัยสุด เพราะถ้าเริ่มมีอาการคุณกินก่อนได้เลย สองคือถ้าคุณมีอาการไข้ มีปรอท มีเครื่องวัดออกซิเจน คุณจะรู้ตัวเองว่าอาการหนักหรือไม่หนัก ฉะนั้นอุปกรณ์พวกนี้ควรมีติดบ้าน สามคือถ้าติดแล้วต้องมีสติให้มากๆ เพราะว่าบางคนพอติดแล้วแพนิกเตลิดไปเลย เนบอกเลยว่าตัวเองก็ตกใจมาก แต่ก็ดึงสติไว้ได้ ไม่ต้องหาสาเหตุว่าทำไมถึงติด ติดที่ไหนไม่ต้องหา ให้คิดไปข้างหน้าว่าติดแล้วเราจะไปที่ไหน         ถ้าเริ่มมีอาการไม่ดี ตรวจเลยอย่ารอ ควรจะมีชุดตรวจแบบ ATK ติดบ้านไว้ ถ้าติด ให้รีบเตรียมตัวเองเพื่อไปเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด เพราะนั่นเท่ากับว่าคุณจะไม่มีเชื้อลงปอด คุณรอดตาย แต่ถ้าคุณมีเชื้อลงปอดเมื่อไหร่คุณนับระยะเวลาไปได้เลย 1 ปี กว่าคุณจะหาย อีกอย่างที่สำคัญคือหมอบอกว่าเนฟื้นตัวเร็วคือหนึ่งเนได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สองคือเนได้รับวัคซีนแอสตร้าซิเนก้ามาแล้วเข็มหนึ่ง เท่ากับว่าเรามีภูมิอยู่แล้วในระดับหนึ่งที่จะต่อต้านการลงปอดและต่อต้านอาการหนักได้         ช่วงมีอาการวันที่ 1 ถึงวันที่ 5 มันยากมากที่จะประคองตัวเอง แต่ขอให้ต่อสู้กับตัวเองให้ได้ คือโควิคมันมีไทม์ไลน์ จะหนักแค่ช่วงมีอาการวันที่ 3 ถึงวันที่ 5 แล้ววันที่ 6,7 จะดีขึ้น ถ้าคุณพ้นจากวันที่ 7 ไปได้ คุณคือคนใหม่ที่แข็งแรงขึ้นทั้งใจทั้งกาย อยากบอกคนที่เป็นโควิดว่าต้องมีสุขภาพใจที่แข็งแรง อย่าคิดว่าจะตนเป็นที่รังเกียจ ถ้าเป็นโควิดแล้วอยู่คนเดียว ไม่บอกใคร จะยิ่งแย่ถ้าใจเราอ่อนแอ เราต้องมีจิตใจเข้มแข็งมากๆ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการป่วยโควิดครั้งนี้         หลังจากวันที่ 7 จะเป็นช่วงฟื้นตัว ทำให้เนมีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น ได้ทบทวนตัวเอง ได้อ่านหนังสือเยอะมาก แล้วก็เรียนวาดรูปออนไลน์จบไปคอร์สหนึ่งด้วย แต่บางทีก็เหงา ดีที่เพื่อนๆ โทรมาชวนคุยบ่อยๆ ตอนนี้เราก็ใช้วิธีนี้กับน้องๆ เพื่อนๆ ที่ติดโควิดอยู่นราธิวาส ยะลา คือโทร.ถามทุกวันว่าเป็นอย่างไรบ้าง โอเคไหม เพราะเรารู้ว่าการต้องอยู่คนเดียวแบบนั้นมันทรมาน         โควิดมีทั้งโทษและประโยชน์ ถ้าบางคนใจสู้ ก็ไหว แต่ถ้าบางคนไม่สู้ ก็คือยอมแพ้ไปเลย แล้วบางคนก็คิดว่าคือไม่ไหวแล้วไม่มีทางรักษาแล้ว อันนั้นเป็นเพราะว่าคุณกลัว ยังมีทางออกอื่นอีกเยอะมาก ถ้าเราเตรียมตัวดีเราจะรับมือกับมันได้ ตอนนั้นก็พยายามจะโพสต์เล่าว่าตัวเองเป็นอย่างไร เพราะคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่น ถ้าเขามีอาการแบบนี้เขาต้องสังเกตอาการอย่างไร         อยากจะฝากบอกทุกคนว่าอย่ารังเกียจคนเป็นโควิด คนเป็นโควิดคือคนที่ต้องการกำลังใจมากที่สุด เพราะเขาต้องต่อสู้ด้วยตัวเองอย่างโดดเดี่ยว          โควิดไม่ได้เป็นแค่โรค แต่เป็นเหมือนแผลเป็นที่ทิ้งร่องรอยไว้ ให้เรายังรู้สึกติดอยู่ในใจตลอด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 247 มหกรรมยารักษาโควิด?

        ท่ามกลางสงครามการระบาดของโควิด 19 ที่คงจะยืดเยื้อไปอีกระยะหนึ่ง มหกรรมยารักษาโควิดก็กระหน่ำสะพัดกระจายไปทั่วในสังคม จนหลายฝ่ายต้องออกมาช่วยกันเตือนและขอความร่วมมืออย่าแชร์ข้อมูลดังกล่าว เตรียมตุนยาฟาวิพิราเวียร์ไว้กินป้องกันตัว?        ด้วยเหตุที่ประชาชนได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยายาฟาวิพิราเวียร์รักษาโควิด 19 มาบ้าง ทำให้มีผู้ไม่หวังดีฉวยโอกาสนี้ หลอกขายยาให้แก่ประชาชนตามอินเทอร์เน็ต โดยอ้างว่าเพื่อนำมาใช้ในการป้องกันการติดเชื้อโควิด และเป็นยาดีที่ลักลอบนำเข้ามาจากประเทศจีน         อันที่จริงแล้วการกินยาฟาวิพิราเวียร์ล่วงหน้าไม่เกิดประโยชน์ เพราะไม่สามารถป้องกันโรคได้ ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาควบคุมพิเศษ ที่แพทย์ต้องพิจารณาจ่ายตามอาการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโควิด 19 แต่ละราย และต้องสั่งจ่ายภายใต้การดูแลของแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข เพราะมีความจำเป็นที่จะต้องติดตามอาการข้างเคียง และผลการรักษาระหว่างการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง  และต้องคำนึงถึงความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยาฟาวิพิราเวียร์ ยังจำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำ การนำยาไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ง่าย จนอาจเป็นเหตุให้ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด           การลักลอบนำยาของผู้ป่วยมาขาย หรือเจตนานำยาอื่นมาปลอม เพื่อให้เชื่อว่าเป็นยาฟาวิพิราเวียร์และหลอกขายตามอินเทอร์เน็ต ยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากประชาชนสงสัยว่ายาฟาวิพิราเวียร์ที่ได้รับเป็นยาปลอม สามารถสอบถามและแจ้งเบาะแสที่สายด่วน 1556 อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th ยา 6 ชนิด ที่ต้องเตรียมไว้ใช้รักษาโควิด-19 ด้วยตนเองที่บ้าน?         มีการส่งต่อข่าวเรื่อง ยา 6 ชนิด ที่ต้องเตรียมไว้ใช้รักษาโควิด-19 ด้วยตนเองที่บ้าน คือ ยาพาราเซตามอล แอมบรอกซอล เดกซ์โทรเมทอร์แฟน คลอเฟนิรามีน วิตามินซี และฟ้าทะลายโจร  ซึ่งต่อมาทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ร่วมกับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และชี้แจงว่าข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเท็จ  ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ home isolation (การแยกกักตัวที่บ้าน)  จะต้องได้รับการประเมินอาการรายบุคคล และได้รับการอนุญาตจากแพทย์เสียก่อน หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับยาที่เหมาะสมตามความจำเป็นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อใช้ในระหว่างกักตัวที่บ้าน  การนำยามาเตรียมไว้รับประทานเองโดยไม่ตรงตามอาการ อาจทำให้เกิดอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของยา จนส่งผลเสียต่อผู้ป่วยเองได้ยาชุดรักษาโควิด?         นอกจากนี้ยังมีการหลอกขายชุดยาต้านโควิด โดยมีการแอบขายผ่านทางอินเทอร์เน็ตในราคาชุดละประมาณ 4,000 บาท เมื่อเหยื่อหลงเชื่อสั่งซื้อและโอนเงินไปปรากฎว่าได้รับวิตามินซี และยารักษาเริมมาแทน เสียทั้งเงินและอาจเสียสุขภาพด้วยในสถานการณ์นี้ สิ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยโควิด 19 ได้รับความปลอดภัย ไม่มีความทุกข์จากผลิตภัณฑ์ที่ และไม่ถูกหลอกลวงซ้ำเติมจนเสียเงินเสียทอง ขอให้ผู้ป่วยหรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูงกับผู้ป่วย ติดต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ อสม หรือกำนันผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ เข้าสู่ระบบในการรักษาพยาบาลอย่างเร็วที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 244 อย่างนี้ก็ได้เหรอ เมื่อต้องเจอโควิด (1)

        การระบาดของโควิด 19 ในระลอกล่าสุด ทำให้เกิดความตระหนกตกใจ และเกิดความตื่นตัวของผู้คนในการแสวงหาสิ่งต่างๆ มาป้องกันตัวหรือต่อสู้กับเจ้าเชื้อโควิด 19 กันจ้าละหวั่น นักวิชาการและนักวิชาเกิน เช่น ผู้ผลิต ผู้ขาย หลายท่านก็ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชน ยิ่งให้ข้อมูลบางทีชาวบ้านก็ยิ่งสับสนเพราะมันดูน่าเชื่อถือไปหมด สุดท้ายพอตัวเองคิดว่าน่าจะเป็นไปได้ก็อ่อนระทวยเสียเงินไปหามากินมาใช้ไปตามๆ กัน         ผมพยายามรวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้มานำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านได้ฉุกคิดและตัดสินใจได้ว่าอะไรควรใช้ อะไรไม่ควรใช้ อะไรน่าเสี่ยง อะไรไม่ควรเสี่ยง สรุปพอหอมปากหอมคอในช่วงนี้ดังนี้ 1. ห้ามเด็ดขาด เพราะได้ไม่คุ้มเสีย1.1 ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของโพวิโดน ไอโอดีน กลั้วคอ เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงสู่ปอด         สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า ข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นเท็จ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึง คือ โพวิโดนไอไอดีนชนิดกลั้วคอ มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค จุลินทรีย์หรือแบคทีเรีย ลดอักเสบบริเวณช่องปากและลำคอ แผลในปาก และระงับกลิ่นปากเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสจากลำคอลงสู่ปอดได้         นอกจากนี้ การที่มีผู้แนะนำให้ใช้น้ำมะนาวมากลั้วคอแทน ก็ไม่สามารถได้ผลเช่นเดียวกัน 1.2 ห้ามตุนยา Hydroxychloroquine เพื่อใช้รักษาโควิด-19         ตามที่มีการแชร์ข้อความว่า "ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ใช้ยา Hydroxychloroquine รักษาหายทุกราย ให้หาซื้อยามาไว้ที่บ้าน" ทางกรมการแพทย์ได้ชี้แจงว่า มีข้อมูลบิดเบือน เนื่องจากปัจจุบันยา Hydroxychloroquine ถูกแนะนำให้ใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการ ตามแนวทางการรักษาที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุขจริง แต่ไม่ได้มีประสิทธิภาพสูงขนาดรักษาได้หายทุกรายตามที่กล่าวอ้าง และในแนวทางการรักษาล่าสุด มีการแนะนำให้ใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น ไม่ใช้เป็นยาเดี่ยวในการรักษา นอกจากนี้การใช้ยาไม่ถูกวิธีทำให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยจากผลข้างเคียงของยาได้ เช่น จอประสาทตาเสื่อมและมีโอกาสทำให้เกิดการดื้อยาของเชื้อมาลาเรียในประเทศไทยมากขึ้น 1.3 ตระเวณหา ยาฟาวิพิราเวียร์ หรือยาต้านไวรัสอื่นๆ เพื่อมากักตุนใช้เองที่บ้าน         จากการที่ “ยาฟาวิพิราเวียร์” ถูกนำมาใช้ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนบางคนถึงกับพยายามตระเวณไปตามร้านยาเพื่อเสาะหายานี้ หรือหายาต้านไวรัสอื่นๆ มากักตุนไว้กับตัวเองเพื่อใช้รับประทานป้องกันการติดโควิด         ขอย้ำเตือนว่า ยาต้านไว้รัสเหล่านี้จะต้องใช้ภายใต้การวินิจฉัยของแพทย์และใช้เมื่อจำเป็น การนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง นอกจากจะเกิดผลเสียต่อร่างกายตนเองแล้ว ยังจะยิ่งทำให้เกิดการดื้อยาจนส่งผลเสียต่อระดับประเทศได้ 1.4 กล้วยดิบบดแห้ง กัญชา กัญชง กินรักษาโควิด 19         ยังไม่มีงานวิจัยใดๆ ที่สรุปได้ชัดเจนว่า กล้วยดิบบดแห้ง กัญชา กัญชง สามารถป้องกันหรือฆ่าเชื้อโควิด19 ได้ การหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากินจึงไม่เกิดประโยชน์ หนำซ้ำจะเกิดผลเสียตามมาอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 244 รู้เท่าทันน้ำกระชายขาวป้องกันและรักษาโควิด-19

        ช่วงนี้คงไม่มีอะไรร้อนแรงเท่าน้ำกระชายขาวเพื่อการป้องกันและรักษาโควิด-19 มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยของมหิดลว่า กระชาย (ขาว) สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ จึงมีการเชียร์ให้กินกระชายและดื่มน้ำกระชายเพื่อป้องกันและรักษาโควิด-19 อย่างอย่างครึกโครมไม่แพ้ฟ้าทะลายโจร เรามารู้เท่าทันกันเถอะ กระชายขาวคืออะไร        กระชายขาวที่เรียกกันนี้ ก็คือกระชายหรือกระชายเหลือง กระชายเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยรู้จักดี และนำมาปรุงเป็นอาหาร เป็นส่วนผสมสำคัญในแกงป่าเพราะมีคุณสมบัติในการช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี หรือใช้เป็นผักจิ้มได้โดยตรง         กระชาย มีสรรพคุณทางยามากมายจนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น "โสมไทย" เนื่องจากกระชายกับโสมมีสรรพคุณในการบำรุงกำลังและเสริมสมรรถภาพทางเพศ ทั้งกระชายและโสมต่างสะสมอาหารที่ใช้เป็นยาอยู่ใต้ดิน และสามารถเรืองแสงในที่มืดได้เหมือนกันด้วย และเนื่องจากโสมมีรูปร่างคล้ายกับคน จึงเรียกโสมว่า "โสมคน" และเรียกกระชายว่า "นมกระชาย" เนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกับนมผู้หญิง   งานวิจัยที่ยืนยันสรรพคุณในการป้องกันโควิด-19         มีการตีพิมพ์งานวิจัยในวารสาร PubMed [1]     ว่า มีการศึกษาสมุนไพรไทย 122 ผลิตภัณฑ์ พบว่า สารสกัดกระชายและสารประกอบเคมีจากพืช panduratin A มีฤทธิ์ยับยั้ง SARS-CoV-2 การรักษาการติดเชื้อ  SARS-CoV-2  ด้วยสารสกัด  B. rotunda และ panduratin A ยับยั้งการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี         โครงการวิจัยต้านเชื้อไวรัสโคโรนาจากสมุนไพรไทย เป็นความร่วมมือระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือ TCELS ขณะนี้งานวิจัยกระชายขาวอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัยในคน การพัฒนาสารสกัดกระชายขาวเพื่อใช้เป็นยาสำหรับโรค COVID-19 จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี กระชายในท้องตลาดราคาสูงขึ้นมาก         จากการค้นพบสรรพคุณของกระชายดังกล่าว ทำให้ราคาหัวกระชายขาวเพิ่มสูงขึ้น จากปกติราคากิโลกรัมละ 30 บาท ราคาพุ่งขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 80 – 100 บาททีเดียว และบางตลาดถึงกับไม่พอขายเลย น้ำกระชายสามารถป้องกันและรักษาโควิด-19 ได้จริงหรือไม่        เป็นความชาญฉลาดของพ่อค้าแม่ขาย เพื่อให้สะดวกสำหรับผู้บริโภค ก็มีการนำกระชายมาทำเป็นน้ำกระชายดื่ม และใช้ความเชื่อเดิมว่า สารสกัดกระชายสามารถรักษาโควิด-19 ได้ การดื่มน้ำกระชายก็น่าจะมีผลในการรักษาและป้องกันโควิด-19 ได้เช่นเดียวกัน         น้ำกระชาย กระชายสามารถยับยั้ง รักษาโควิด-19 ในคนได้หรือไม่นั้น งานวิจัยยังไปไม่ถึงระดับนั้น อยู่ระหว่างการวิจัยในคนอยู่         เมื่อรักษาโควิด-19 ในหลอดทดลองได้ ก็น่าจะรักษาในคนได้เหมือนกัน         ไม่เป็นอย่างนั้น เพราะกระบวนการที่คนกินยาหรือสมุนไพรเข้าไป จะต้องผ่านการย่อยและดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด และค่อยไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย การย่อยและดูดซึมอาจทำให้ยาหรือสมุนไพรเปลี่ยนสภาพ และมีสรรพคุณเปลี่ยนไปจนไม่สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 เหมือนในหลอดทดลองก็ได้         สรุป  การกินกระชาย น้ำกระชาย อาจไม่สามารถยับยั้ง รักษา โควิด-19 ได้เหมือนในหลอดทดลอง แต่ก็ไม่มีอันตรายเพราะคนไทยกินกระชายเป็นอาหารตามปกติอยู่แล้ว และยังช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้[1] Sci Rep. 2020 Nov 17;10(1):19963. doi: 10.1038/s41598-020-77003-3

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 233 พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ขาดต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองจริงหรือ

        คนไทยนิยมใช้รถจักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์เป็นจำนวนมาก และสถิติอุบัติเหตุอันดับหนึ่งของไทยก็มาจากอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 บังคับให้รถจักรยานยนต์ทุกคันต้องทำพ.ร.บ. เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ         พี่ชายของคุณวิเชียร เกิดอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์เสียหลักล้ม ตัวพี่ชายกระแทกแท่งแบริเออร์อย่างแรง อาการหนัก กู้ภัยมาช่วยและดำเนินการส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษา โรงพยาบาลแรกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลประจำจังหวัดเพื่อทำการรักษา แพทย์ผู้ทำการรักษาตรวจพบว่า อวัยวะภายในเสียหายอย่างมาก ตับแตก ต้องทำการผ่าตัด และทางโรงพยาบาลบอกเขาว่าต้องออกค่ารักษาเอง เป็นค่าผ่าตัด 30,000 บาท เพราะพ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ขาด (หมดอายุ) เขางงว่าในเมื่อพี่ชายของเขามีสิทธิประกันสังคมทำไมใช้สิทธิประกันสังคมรักษาไม่ได้ และสงสัยว่าโรงพยาบาลสามารถเรียกค่ารักษา 30,000 บาท โดยอ้างว่า พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ขาด ได้หรือ จึงปรึกษามายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางการแก้ไขปัญหา         รถมอเตอร์ไซค์ทุกคันต้องทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เป็นผู้รับทำประกัน กรณีมอเตอร์ไซค์เกิดอุบัติเหตุล้มเอง เป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บ ถ้ามอเตอร์ไซค์คันที่เกิดเหตุมีประกันภาคบังคับไว้ หรือที่เรียกกันติดปากว่า พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ อย่างถูกต้องตามกฎหมายและยังไม่หมดอายุ ผู้ประสบเหตุจะได้รับความคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น เช่น ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ เบิกได้สูงสุดไม่เกินคนละ 30,000 บาท ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ เบิกได้คนละไม่เกิน 35,000 บาท         แต่กรณีของผู้ร้องเสียหลักล้มเอง เป็นอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี และพ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ขาด ผู้ร้องจึงต้องออกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น 30,000 บาทเอง หรือผู้ร้องสามารถเบิกจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ แต่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจะเรียกเงินตามจำนวนที่จ่ายไปคืนจากเจ้าของรถ (เพราะขาดการต่ออายุ พ.ร.บ.) รวมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ของค่าเสียหายที่เกิดแก่ผู้ประสบภัย         ส่วนเรื่องการใช้สิทธิประกันสังคม เนื่องจากอุบัติเหตุทางมอเตอร์ไซค์ มีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายเฉพาะ จึงต้องใช้สิทธิในส่วนนี้ก่อน ถ้าการรักษาพยาบาลเกินวงเงิน 30,000 บาทแล้ว ส่วนที่เกินมาจึงจะสามารถใช้สิทธิประกันสังคมหรือสิทธิบัตรทองได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 230 มอเตอร์ไซค์ขาดต่อ พ.ร.บ. เกิดอุบัติเหตุยังได้สิทธิรักษาหรือไม่

        บ่ายวันหนึ่งคุณพิพัฒน์ออกไปซื้อของที่ตลาดนัดแห่งหนึ่งแถวละแวกบ้าน หลังอาบน้ำแต่งตัวเสร็จเรียบร้อย ก็เดินมาหยิบกุญแจรถมอเตอร์ไซค์ที่วางไว้บนโต๊ะทำงาน แต่ปรากฏว่า กุญแจรถที่เคยวางอยู่บนโต๊ะหายไป คุณพิพัฒน์จึงคิดว่าลูกสาวคงยืมรถมอเตอร์ไซค์ไปหาเพื่อน จึงหยิบกุญแจรถมอเตอร์ไซค์อีกคัน ซึ่งเป็นรถพ่วงข้างของตนเองที่เอาไว้ใช้งานขนของแต่รถคันนี้เป็นคันที่ยังไม่ได้ต่ออายุตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535         เมื่อทำธุระในตลาดเสร็จเรียบร้อย คุณพิพัฒน์ขับขี่รถกลับบ้านอย่างช้าๆ เพราะเป็นรถพ่วงข้าง ซึ่งไม่ค่อยได้นำออกมาใช้งานนัก เมื่อขับขี่มาจนถึงบริเวณด้านหน้าปากซอยขณะที่กำลังจะเลี้ยวเข้าบ้านนั้น คุณพิพัฒน์ได้กะจังหวะการเลี้ยวผิด ทำให้รถพุ่งไปชนกับรั้วบ้านจนได้รับบาดเจ็บแขนหัก ต่อมาเพื่อนบ้านที่เห็นเหตุการณ์ได้นำตัวคุณพิพัฒน์ส่งโรงพยาบาลเอกชนใกล้บ้าน หลังเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารสิทธิแล้วได้แจ้งว่า คุณพิพัฒน์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเองทั้งหมด เพราะว่ารถพ่วงข้างที่คุณพิพัฒน์ขับขี่แล้วเกิดอุบัติเหตุนั้นเป็นรถที่ไม่ได้ต่อ พ.ร.บ.         ในกรณีแบบนี้ คุณพิพัฒน์จะสามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลกับหน่วยงานใดได้บ้าง และเบิกจ่ายได้แค่ไหน แนวทางแก้ไขปัญหา        ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หรือที่เราเรียกกันว่า “ประกันภัยภาคบังคับ” หรือ “ พ.ร.บ.รถ”  กฎหมายบังคับให้รถทุกคัน ทุกประเภท ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำไว้ เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ ซึ่งตัวบุคคลที่ว่านั้นหมายถึง ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก ในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และอนามัย โดยจะได้รับเป็นเงินค่าชดเชยความเสียหายเบื้องต้นและค่าสินไหมทดแทน        จากข้อเท็จจริงกรณีนี้พบว่า คุณพิพัฒน์ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ด้วยความประมาทล้มเองไม่มีคู่กรณี และรถมอเตอร์ไซค์ไม่ได้จัดทำ พ.ร.บ. จึงไม่ได้รับความคุ้มครองใดตามสิทธิใน พ.ร.บ. นี้ แต่จะเข้าในสิทธิประกันสุขภาพที่สังกัด เช่น พ.ร.บ.ประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง หรือสิทธิประกันสังคม หรือสิทธิข้าราชการ ซึ่งกรณีอุบัติเหตุหากร้ายแรงอยู่ในเกณฑ์อันตรายถึงแก่ชีวิตจะเข้าข่ายกรณีฉุกเฉิน เมื่อ รพ.เอกชนได้ดูแลเบื้องต้นจนอาการปลอดภัยแล้ว จะต้องเข้ารักษาต่อที่ รพ.ตามที่มีสิทธิอยู่ต่อไป โดยไม่ต้องจ่ายค่ารักษา แต่กรณีอาการไม่ถึงแก่ชีวิตหากเข้ารักษาตัวใน รพ.เอกชน ก็ต้องสำรองเงินตนเองจ่ายไปก่อน        แต่ถ้ารถมอเตอร์ไซค์คุณพิพัฒน์จัดทำ พ.ร.บ. ไว้ คุณพิพัฒน์จะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ในส่วนค่าเสียหายเบื้องต้น คือ ค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 30,000 บาท และเงินชดเชย 35,000 ต่อคน กรณีเสียชีวิต        ดังนั้นการต่ออายุ พ.ร.บ. หรือ ประกันภัยภาคบังคับ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของรถทุกคน เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ต้องป้องกันไว้ก่อนเป็นดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 230 สภาองค์กรผู้บริโภคเกิดช้า ผู้บริโภคมีแต่เสียประโยชน์ (1)

        นับแต่ประเทศไทยมีกฎหมายชื่อว่า “พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ.2562” ซึ่งได้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กรกฏาคม 2562 บรรดาองค์กรผู้บริโภคมีความตื่นตัวไปใช้สิทธิจดแจ้งสถานะองค์กรผู้บริโภคตามกฎหมาย เพื่อให้ได้ 150 องค์กรมารวมตัวกันเริ่มจัดตั้งเป็น “สภาองค์กรผู้บริโภค” เป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ  มีฐานะเป็น “ตัวแทนผู้บริโภคระดับประเทศ” คอยเป็นปากเป็นเสียง เรียกร้องสิทธิต่างๆ ให้กับผู้บริโภคเรา เช่นเดียวกับที่ภาคธุรกิจที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยคอยรักษาประโยชน์ให้ภาคธุรกิจ           ตอนนี้ผ่านมากว่า 8 เดือนแล้ว  “สภาองค์กรผู้บริโภค”ก็ยังไม่ได้เกิดขึ้น แต่ปัญหาผู้บริโภคยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ยิ่งในช่วงเวลานื้ที่มีไวรัสโควิด 19 กำลังระบาดในประเทศไทย ผู้บริโภคต้องเผชิญปัญหามากมาย ทั้งหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือที่ขายเกินราคา ไม่มีคุณภาพสินค้าขาดตลาด  ถ้ามี"สภาองค์กรผู้บริโภค" ตอนนี้เราจะมีตัวแทน เป็นปากเป็นเสียงแทนเรา ในการตรวจสอบและเสนอแนะกับหน่วยงานรัฐ ให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับผู้บริโภคเกี่ยวกับเรื่องหน้ากากอนามัย โต้แย้งข้อมูลปลอมที่อ้างว่าหน้ากากมีเพียงพอ รวมถึงแจ้งเตือนภัยผู้บริโภค เปิดเผยชื่อสินค้า ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจที่จำหน่ายหน้ากากปลอม ไม่มีคุณภาพมาตรฐานเอาเปรียบผู้บริโภค พร้อมรายงานไปยังหน่วยงานรัฐให้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย         หรือ “ปัญหาของสายการบิน” ที่พบว่าในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินที่ผู้บริโภคกำลังเผชิญกับปัญหาโรคระบาดจากเชื้อไวรัสโควิด 19 สายการบินต่างๆ มีการประกาศระงับการบริการ และแจ้งข้อเสนอให้ผู้บริโภคเลือกระหว่างการเลื่อนวันเดินทาง หรือเก็บเครดิตวงเงินไว้เพื่อใช้ในภายหลัง ซึ่งมีกำหนดเวลา 365 วัน โดยไม่มีทางเลือกให้ผู้บริโภคสามารถขอเงินคืนได้ หรือปัญหาสำหรับผู้ที่เลือกรับตามเงื่อนไขของสายการบิน แต่การติดต่อก็มีความยุ่งยาก เพราะไม่มีการใช้พนักงานมาประสานด้วยตนเอง กลับให้ผู้บริโภคติดต่อผ่านระบบ AI ที่เพียงการตอบคำถามตามที่ตั้งค่าไว้ ไม่สามารถให้คำอธิบาย หรือแก้ไขปัญหาแก่ผู้บริโภคได้อย่างเป็นรูปธรรม  สิ่งที่ผู้บริโภคต้องเผชิญคือ ถูกบังคับให้รับสิทธิตามที่บริษัทเสนอไว้ โดยไม่มีอำนาจต่อรอง บางคนติดต่อทำเรื่องขอเงินคืน แต่ก็ไม่ได้รับการดูแล และเงื่อนไขการกำหนดวงเงินเครดิตที่ไม่เป็นธรรมของสายการบินที่ให้เราต้องรีบใช้เงินตัวเองภายใน 365 วัน เรื่องต่างๆ เหล่านี้จะยังคงเกิดขึ้นต่อไป และเกิดซ้ำไปซ้ำมา เพราะเราไม่มี “ตัวแทน”มาคอยช่วยต่อรองแทนให้ ดังนั้น หากมี "สภาองค์กรผู้บริโภค" ก็จะเป็นตัวแทนของผู้บริโภค รวบรวมข้อมูลผู้เสียหาย รวมกลุ่มผู้บริโภคเจรจาต่อรองกับสายการบินต่างๆ เพื่อให้คืนเงินแก่ผู้บริโภคเต็มจำนวน รวมถึงตรวจสอบการกระทำของสายการบินต่างๆ ที่ออกเงื่อนไขที่ไม่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคให้หน่วยงานรัฐดำเนินการแก้ไข หรือออกกติการมากำกับให้เกิดแนวทางหรือมาตรการทางกฎหมายที่ป้องกันไม่ให้เกิดการเอาเปรียบ และคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค รวมทั้งสภาองค์กรผู้บริโภค ยังมีทีมนักกฎหมาย ทั้งทนายความและนักวิชาการเพื่อเข้าช่วยเหลือเจรจาต่อรอง รวมถึงฟ้องคดีเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิแทนผู้บริโภคได้ด้วย        ประเด็นคุ้มครองผู้บริโภคยังเชื่อมโยงถึงเรื่อง “การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม” ด้วย โดยเกี่ยวข้องกับการบริโภคที่ยั่งยืน เช่น การที่บริษัท ร้านค้าต่างๆ เลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากโฟม หรือพลาสติก ผู้บริโภคส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนที่สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นรับส่งอาหารทางออนไลน์ มักไม่ทราบข้อมูลของภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ร้านค้าใช้  ส่วนผู้ประกอบธุรกิจรับส่งอาหาร หรือฟู้ดเดลิเวอรี่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของผู้บริโภค มีการไปเก็บค่าส่วนแบ่งจากร้านค้าเพิ่มขึ้น จนทำให้ร้านค้าต้องเพิ่มราคาอาหาร กระทบต่อผู้บริโภคโดยตรง หรือหากร้านใดมีการคิดค่าบริการขนส่งสินค้า การเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่แตกต่างกัน ผู้บริโภคก็ไม่สามารถทราบข้อมูลได้ทั้งหมด จึงต้องมี “ตัวแทนผู้บริโภค” ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลจำเป็นที่ผู้บริโภคควรรู้ในการเลือกใช้บริการรับส่งอาหาร เพื่อใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเลือกใช้ผู้ให้บริการที่เกิดประโยชน์กับผู้บริโภคสูงสุด มีข้อมูลเปรียบเทียบราคาค่าส่งของแต่ละราย รวมถึงช่วยตรวจสอบราคาอาหาร ค่าบริการเพื่อไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากการคิดราคาค่าบริการที่ไม่เป็นธรรม            นอกจากนี้ “ตัวแทนผู้บริโภค” ยังช่วยทำหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาภาพรวมที่เกิดขึ้น และมีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีกฎหมาย หรือมาตรการดูแลผู้บริโภค อย่างเช่น กรณีของการจัดการปัญหาค่าบริการของธุรกิจรับส่งอาหารในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินของโรคระบาดโควิด 19  สภาองค์กรผู้บริโภคที่เป็นตัวแทนของผู้บริโภคสามารถเสนอแนะไปยังหน่วยงานรัฐ ให้ลดค่าจัดส่งอาหารแก่ผู้บริโภค โดยลดค่าส่วนแบ่งร้านค้า เนื่องจากช่วงเวลานี้ ผู้บริโภคประสบปัญหาค่าใช้จ่าย มีรายได้ลดลงจากสถานการณ์ปัญหาโรคระบาด จึงควรมีมาตรการช่วยเหลือผู้บริโภค อีกทั้งผู้ประกอบธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ มีรายได้มากขึ้นจากการที่ผู้บริโภคใช้บริการรับส่งอาหารมากขึ้น เนื่องจากไม่สามารถซื้อจากหน้าร้าน หรือกักตัวอยู่ในบริเวณที่พักตนเองเพื่อป้องกันโรค ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบาย “หยุดเชื้อเพื่อชาติ” ควรลดราคาค่าจัดส่งแก่ผู้บริโภค โดยอย่างน้อยราคาต้องไม่เกินกว่าราคาอาหารหน้าร้าน พร้อมทั้งส่งเสริมค่าตอบแทนที่เป็นธรรมทั้งร้านค้าและผู้ส่ง  รวมถึงเสนอต่อผู้ประกอบธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ ควรมีนโยบายรักษาความปลอดภัยสุขอนามัยของผู้บริโภค และการบริโภคที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมให้ร้านค้างดใช้ภาชนะโฟมใส่อาหารร้อน หลีกเลี่ยงการใช้บรรจุภัณฑ์โฟม เพื่อลดขยะโลก โดยทำระบบแอปพลิเคชั่นสั่งอาหารให้มีเมนูเพื่อให้ผู้บริโภคเลือกร้านค้าที่ใช้ภาชนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือมีระบบเลือกรับภาชนะที่ไม่ใช้โฟม เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในการมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการ รวมถึงมีนโยบายควบคุมพนักงานส่งอาหารเลี่ยงการรับและทอนเงินสดในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ผู้ให้บริการควรมีช่องทางการโอนเงินที่ง่ายและสะดวกสำหรับผู้รับบริการ หรือกรณีจ่ายเงินสด พนักงานต้องสวมถุงมือป้องกัน เป็นต้น        ทุกท่านจะเห็นได้ว่า การมีสภาองค์กรผู้บริโภคนั้น สำคัญต่อผู้บริโภคมากขนาดไหน เพราะเกี่ยวข้องในเกือบจะทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน และสำคัญยิ่งที่วาระวิกฤต ไม่เพียงเท่านั้นอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญของ สภาองคืกรผู้บริโภค คือ การสร้างและพัฒนาองค์กรที่ทำงานจริงจังในการพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคให้เข้มแข็ง ซึ่งจะขอกล่าวถึงในฉบับถัดไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 228 ค่ารักษาพยาบาล รพ.เอกชนติดใจก็เคลียร์กันได้

        เมื่อทางราชการได้กำหนดแนวทางในการกำกับดูแลเรื่องราคาค่ารักษาพยาบาลของ รพ.เอกชนขึ้นแล้ว ผู้บริโภคก็ควรได้ใช้สิทธิของตนเพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น เรามาดูกรณีศึกษาจากผู้บริโภคคุณภาพท่านหนึ่งกัน         คุณพยุง อายุเข้าวัยกลางคนแล้ว วันหนึ่งมีอาการตาพร่ามัวและเคลื่อนไหวร่างกายไม่ถนัด จึงคิดว่าน่าจะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการว่ามีอะไรผิดปกติไหม คุณพยุงเรียกแท็กซี่ไปโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งคิดว่าน่าจะมีมาตรฐานและเครื่องมือที่พร้อมกว่าโรงพยาบาลซึ่งอยู่ใกล้บ้าน เมื่อถึง รพ.คุณพยุงได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ห้องฉุกเฉิน ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นว่าอาจเป็นอาการของเส้นเลือดสมองตีบ จึงให้ผู้ร้องทำ MRI* ซึ่งผลเป็นไปตามที่แพทย์ผู้รักษาคาด แพทย์จึงขอให้คุณพยุงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล(แอดมิท) ทันที          คุณพยุงนั้นยังลังเลที่จะเข้าแอดมิทเลย เพราะห่วงว่าคุณแม่ซึ่งอยู่บ้านลำพังจะลำบาก จึงผัดว่าจะเข้ามาแอดมิทในตอนกลางคืน และจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปเป็นเงิน 18,195 บาท        เมื่อจัดการธุระทางบ้านเรียบร้อยคุณพยุงจึงให้น้องชายมาส่งที่ รพ.เพื่อเข้ารับการรักษาในคืนนั้น แพทย์ทำการตรวจรักษาด้วยการเจาะเลือดเพื่อหาค่าโคเรสเตอรอลและให้นอนพัก ซึ่งขณะพักมีการให้น้ำเกลือ 1 ขวด ก่อนนอนแพทย์ให้คุณพยุงรับประทานยาละลายลิ่มเลือด ยาแก้ปวดและยาลดไขมัน วันรุ่งขึ้น ตอนเช้าเมื่อแพทย์ดูอาการแล้วได้สั่งเพิ่มการทำ MRA (การตรวจหลอดเลือดสมองด้วยเครื่อง MRI เราเรียกว่า MRA Brain หรือ Magnetic Resonance Angiography) อย่างไรก็ตามขั้นตอนนี้ต้องรอเครื่องว่าง ซึ่งคุณพยุงต้องรอถึง 3 ทุ่ม และนอนอีกหนึ่งคืน         วันต่อมาคุณพยุงไม่อยากนอน รพ.อีก แต่ตื่นเช้ามาอาการไม่ค่อยดีไม่สามารถขยับมือเพื่อเซ็นชื่อได้ถนัด จึงบอกแพทย์ว่าจะขอดูอาการตัวเองก่อนว่าจะกลับบ้านหรือไม่ ต่อมาตอนบ่ายอาการดีขึ้นจึงตัดสินใจกลับบ้าน ขณะที่กำลังจัดการเรื่องค่ารักษาพยาบาล คุณพยุงถูกเรียกเก็บค่ารักษาที่ 20,000 บาทกว่า คุณพยุงพิจารณาว่า บางรายการแพงเกินไป เช่น ค่าน้ำเกลือและค่าวัสดุอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ จึงจ่ายเงินเพียง 14,661 บาท โดยเว้นรายการที่ไม่ชัดเจนไว้ก่อน และจะมาขอคำชี้แจงในภายหลังว่าราคาที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไร จึงจะจ่ายส่วนดังกล่าวให้กับโรงพยาบาล        “ดิฉันจ่ายในสิ่งที่เห็นว่า รพ.เรียกเก็บอย่างเหมาะสมเท่านั้น เช่น ค่าห้อง อันนี้ดิฉันตัดสินใจนอนเอง ส่วนน้ำเกลือเปล่าๆ จำนวน 2 ขวด คิดขวดละ 990 บาทเห็นว่าแพงเกินไป”            คุณพยุงเล่าให้ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค และขอแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้หนี้ที่คุณพยุงค้างไว้คือ เงินจำนวน 6,028 บาท แนวทางแก้ไขปัญหา         ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ได้ขอให้คุณพยุงส่งเอกสารประเภทใบเสร็จและรายการค่าวัสดุอุปกรณ์ที่มีเพื่อจะได้ส่งเรื่องให้กับทางกรมการค้าภายใน อย่างไรก็ตามคุณพยุงได้ติดต่อมาในภายหลังว่า ได้เจรจากับทาง รพ.แล้ว และทาง รพ.ได้ลดราคาในส่วนที่ค้างอยู่ ลงมาเหลือ 3,000 บาท ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าเหมาะสมจึงจ่ายหนี้ส่วนดังกล่าวและยินดียุติเรื่อง         สำหรับผู้บริโภคที่เกิดข้อสงสัยในส่วนของค่ารักษาของ รพ.เอกชน ท่านสามารถแจ้งรายละเอียดและร้องเรียนไปที่ กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์                 *MRI (Magnetic Resonance Imaging) คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง ของส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง และคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ (Radio Frequency) ด้วยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพ ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถให้รายละเอียดและความคมชัดเสมือนการตัดร่างกายออกเป็นแผ่นๆ ทำให้แพทย์สามารถมองจุดที่ผิดปกติในร่างกายคนเราได้อย่างละเอียด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 อาสาสมัคร มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย

“พ.ศ.2509 ท่านธรรมาจารย์ เจิ้งเหยียน อาศัยจิตวิญญาณ “ยับยั้งชั่งใจ อุตสาหะ มัธยัสถ์ ฟันฝ่าอุปสรรค” จนสามารถก่อตั้งมูลนิธิฉือจี้ขึ้น ณ เมือง    ฮวาเหลียน ไต้หวัน ในยุคแรกลูกศิษย์ซึ่งเป็นภิกษุณี 6 รูป ต่างช่วยกันเย็บรองเท้าเด็กเพิ่มวันละหนึ่งคู่ และแม่บ้าน 30 คน ต่างช่วยกันออมเงินลงในกระบอกไม้ไผ่ ออมบุญวันละ 50 สตางค์ เพื่อดำเนินงานการกุศลของฉือจี้ ปัจจุบันมูลนิธิฉือจี้มีสำนักงานและจุดติดต่อรวมทั้งสิ้น 56 ประเทศ โดยให้การช่วยเหลือผู้คนทั่วโลกไปแล้ว 92 ประเทศ” ที่ประเทศไทย สุชน แซ่เฮง อาสาสมัคร มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย ได้เล่าให้เราฟังว่า จุดเริ่มต้นการเป็นอาสาสมัคร         สมัยเรียน ผมเรียนหลักคิดของท่านขงจื้อ อันนี้หมายถึงที่ไต้หวันนะ   ชอบมากสังคมแบบนั้น ตอนหลังผมมาพบว่ามันมีหลายส่วนคล้ายๆ กับสังคมไทยในอดีต มีหลายส่วนคล้าย แต่เหมือนว่ามันไกลจากตัวเรา ในสมัยท่านขงจื้อ 2,600 ปีก่อน หรืออย่างสมัยพุทธกาลก็เหมือนกัน เหมือนเป็นอุดมการณ์อย่างหนึ่งที่ไกลมาก แล้วเราจะเดินไปถึงได้อย่างไรกับอุดมการณ์และสังคมแบบนั้น พอผมมามีเพื่อนเป็นชาวคริสต์ เขาเรียกผมไปพบที่มูลนิธิฉือจี้ประเทศไทยซึ่งที่ตั้งเดิมที่อยู่รัชดาซอย 3 ผมก็ไป         “เขาบอกว่ามูลนิธินี้เปิดใหม่ เป็นมูลนิธิที่ดีควรเข้าร่วม ตอนนั้นจะไม่มีหนังสือไทยเลย โปสเตอร์ต่างๆ ก็เป็นภาษาจีนหมด ผมไปยืนอ่าน แล้วก็ดูภาพ และก็อ่านข้อความข้างใน แค่ตรงนั้นเอง  ผมบอกว่าอันนี้น่าสนใจมาก” มันมาเชื่อมต่อกับตอนที่เราเป็นหนุ่มๆ ที่บอกว่ามันทำให้สังคมนี้เกิดได้ ตอนนั้นผมก็ไม่รู้ว่าอะไรคือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พอเขาเอามาแปลเป็นเรื่องการกุศล การรักษาพยาบาล การศึกษาและวัฒนธรรม ผมเห็นการกุศลอย่างเดียวเท่านั้น การทำของฉือจี้ก็จะทำให้สังคมของท่านขงจื้อเกิดได้ระดับหนึ่งแล้ว เฉพาะแค่หนึ่งภารกิจ แล้วภารกิจต่อๆ ไปมันเป็นภารกิจที่ผมเห็น แก้ปัญหาสังคมไทย แค่ดูกับอ่านอันนี้มันไม่พอ         หลังจากนั้นก็มีการลงมือปฏิบัติ สัมผัสคนไทย การสัมผัสเป็นการพิสูจน์อย่างหนึ่งว่า ใช่หรือไม่คนไทยในอดีตเป็นแบบนั้น ถึงแม้ว่าตอนนี้มันไม่ค่อยเหมือน แต่ว่ายังมีหลงเหลืออยู่หรือเปล่า ใกล้ยี่สิบปีแล้ว ไปหลายๆ จังหวัดและไปอยู่ตามบ้านนอกเลยยิ่งมั่นใจเลยว่าใช่ สังคมของคนไทยในอดีตคล้ายมาก การทำงานจิตจอาสาแบ่งเวลาอย่างไร สิ่งที่ทำให้เรื่องนี้ยั่งยืน         ตรงนี้สำคัญที่สุดเลย ที่ศาสนาพุทธพูดถึงคือ ทางสายกลาง อย่าเกินและอย่าขาดเกินไป คนเราไม่ว่าคุณจะยุ่งขนาดไหนคุณจะมีเวลากับสิ่งนั้นๆ ถ้าคุณคิดว่าสิ่งนั้นมีคุณค่า อันนี้สำคัญมาก แต่ถ้าบอกว่าไม่มีเวลาแปลว่าสิ่งนั้นไม่ได้อยู่ในหัวใจเรา    อันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิด เป็นเรื่องปกติ หมายถึงอย่างนี้ ฉะนั้นผมก็เห็นหลายๆ ท่าน ชาวฉือจี้ปัจจุบันยุ่งมากแต่เขาก็เจียดเวลามาช่วย เฉพาะคนไทยหลังๆ นี่ เป็นแพทย์ พยาบาล ใครจะมีเวลายุ่งมากกว่าแพทย์ พยาบาล เหนื่อยก็เหนื่อยงานก็หนักเวลาส่วนตัวก็น้อย แต่เวลาที่เหลืออยู่เทให้ฉือจี้หมด เขาเห็นคุณค่าถ้าไม่เห็นคุณค่าเขาก็จะมองว่าแค่เป็นมูลนิธิฉือจ         อันที่หนึ่งคำว่ามูลนิธิเราถูกตีกรอบแล้ว เหมือนอย่างที่เรา  คุ้นชินกัน อันที่สองพอเป็นชื่อมูลนิธิฉือจี้ คนเราถูกบ่มเพาะมาแล้วในเรื่องความแตกต่าง การแยกแยะให้เป็นสองส่วน โดยเฉพาะพวกเก่งวิทยาศาสตร์มันจะต้องมีสองอย่างมาชนกัน พอมองฉือจี้ว่าเป็นมูลนิธิถึงเวลาเอาข้าวสารเอาเงินมาให้อะไรต่างๆ  ก็มองเป็นแบบนี้ไป มันก็ถูกนิดหน่อยถูกส่วนหนึ่ง แต่เขาไม่รู้ว่าเป็นมูลนิธิองค์กรศาสนาพุทธ พอเป็นศาสนาพุทธก็จะเป็นเรื่องของหลักธรรม พอเป็นเรื่องหลักธรรม อิสลาม ศริสต์  ก็เข้ามาได้ คำว่าหลักธรรมเป็นของทุกศาสนา ขงจื้อไม่ใช่ศาสนา เพราะปัญญาของศาสดาเหล่านี้ ขออนุญาตใช้คำว่าศาสดา ท่านขงจื้อท่านก็ไม่ได้บอกว่าท่านเป็นศาสดา แต่ท่านเป็นครูท่านมีปัญญาสูงแบบนี้ เวลาพูดออกมาหลักธรรมใกล้เคียงกันมาก เช่น เราพูดเรื่องความจริง ความดี ความงาม อะไรคือความจริง ความจริงคือสิ่งที่ไม่ตาย คนไทยบอก อะไรคือสิ่งที่ไม่ตาย หมายถึงว่าเอาไปไว้ที่ไหนก็ได้ เวลาจะผ่านไปนานขนาดไหนมันจะมีคุณค่าของมัน อันนี้เป็นนามธรรมมากๆ อย่างทองคำแท่งหนึ่งตู้เย็น กับโอ่งน้ำหนึ่งโอ่ง ให้เลือกๆ อะไรตอนนี้ในใจเลือกอะไร เลือกทองโดยไม่ต้องคิดเลย เพราะเราคิดว่าทองมีค่า ถ้าเปลี่ยนสถานที่ให้ไปอยู่ที่ทะเลทรายกำลังหลงทาง เราก็อยากได้น้ำมากกว่า แสดงว่าทองก็ไม่จริง พอเปลี่ยนสถานที่มันก็ไม่จริง         เราบอกความจริง ความดี ความงาม แล้วอะไรคือความจริง ในทางหลักธรรมทางสายกลาง ท่านขงจื้อก็พูด พระพุทธองค์ก็พูด พระพุทธองค์พูดเอาเรื่องพิณมาเปรียบเทียบ ถ้าสายหย่อนมันไม่เป็นเพลง ถ้าตึงเกินมันจะขาด มันต้องพอดี  มันถึงจะเป็นเพลง ชาวจีนเขาจะบอกว่า ชาหนึ่งถ้วยมันจะกลมกล่อมน้ำต้องพอดี  ชาต้องพอดี ความร้อนต้องพอดี ระยะแช่ต้องพอดี นี่คือทางสายกลาง ถ้าขาดไปมัน  ก็จืด ถ้านานไปมันก็ขม นี่คือความจริง หลักธรรมอันที่สองคือความดี ความดีเยอะเลย พูดจาเพราะก็ความดี ช่วยเหลือคนก็ความดี แล้วอะไรดีเลิศประเสริฐที่สุด ดีที่สุด ท่านขงจื้อบอกว่าสิ่งที่ดีเลิศประเสริฐที่สุดก็คือความกตัญญู ส่วนพระพุทธองค์บอกว่าความกตัญญูเป็นบ่อเกิดแห่งความดีทั้งหลาย อะไรคือความงาม เรื่องความงามท่านขงจื้อบอกว่ามนุษย์เราเกิดมาบนโลกใบนี้เป็นพี่เป็นน้องกัน ทัดเทียมกันทุกชีวิต แต่พระพุทธองค์ไม่ได้พูดเรื่องมนุษย์อย่างเดียว พูดเรื่องสัตว์ตัวเล็กตัวน้อย ตัวที่มองไม่เห็นเขาก็มีค่าเหมือนกับมนุษย์ เขาเรียกว่าหลักธรรม ท่านขงจื้อกับพระพุทธองค์อยู่ในยุคเดียวกันต่างกันแค่ 5 ขวบ ท่านหนึ่งอยู่ที่อินเดียท่านหนึ่งอยู่ที่จีน ท่านคิดตรงกัน เขาเรียกว่าหลักธรรม ถ้าสามอย่างนี้เรายอมรับว่าใช่ สามอย่างนี้ในบ้านเมืองเรามีไหม ยังมีอยู่          ถ้าเรายอมรับ พระพุทธเจ้าและท่านขงจื้อก็เสริมหนุนบอกว่าคำสอนตรงนี้ใช่ แล้วเราทำไมปล่อยปละละเลยโดยเฉพาะเรื่องความกตัญญู มันเกี่ยวกับเรื่องชีวิตเลย คนที่ไม่กตัญญูเขาเรียกว่าคนที่ไม่รู้บุญคุณคน ลองคิดดูคนที่ไม่รู้บุญคุณคนอันตรายนะ ถ้าเราไปมอบชีวิตให้กับเขาหรือเราไปอยู่กับเขาเหมือนอยู่ใกล้เสือ มันจะกัดเมื่อไหร่ก็ได้ ความกตัญญูมันไปหลายเรื่อง มันก็ไปเรื่องความซื่อสัตย์ด้วย คนที่ไม่กตัญญูต่อพ่อแม่    คุณเชื่อไหมว่าเขาจะซื่อสัตย์ ถ้าเขาไม่ซื่อสัตย์เขาก็ไม่ซื่อสัตย์ต่องานที่ทำ ไม่ซื่อสัตย์ต่อตัวเขาเอง ไม่ซื่อสัตย์ต่อคนอื่น ถ้าเขาสูงขึ้นๆ เป็นผู้ปกครองแผ่นดินเขาก็ไม่ซื่อสัตย์ต่อประชาชน ฉะนั้นความกตัญญูเป็นบ่อเกิดแห่งความดีทั้งหลายที่พุทธองค์ปรารภเอาไว้ เราขยายความเอาไว้ พอเราขยายความมันใช่ มันเป็นเรื่องสัจธรรมที่แท้จริง ต้องแก้ตรงนี้ ไม่แก้ตรงนี้แล้วจะไปแก้ตรงไหน แล้วบ้านเมืองเราจะสงบ เมื่อมาเป็นจิตอาสา ฉือจี้ให้อะไรบ้าง         ฉือจี้ทำให้ผมเห็น ผมเห็นเฉพาะเรื่องการกุศลที่เขาไปช่วยเหลือคน ตอนนี้เราต้องยอมรับว่าความกตัญญูเราหายไปเยอะแล้ว เราต้องเรียกกลับมา เอามาท่องเป็นบทความนี่ไม่กลับมานะ เพราะไม่ได้สัมผัสไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็นพ่อแม่ตัวเองกตัญญูกับปู่ย่าตายาย เขาก็ไม่รู้ว่าหน้าตาความกตัญญูมันเป็นอย่างไร ภาพนั้นเป็นภาพกตัญญูหรือเปล่า มองภาพไม่ออก อันที่สองคือตัวเองไม่ได้ไปสัมผัส พอไม่ได้สัมผัสมันเข้าไม่ถึงใจ พอเข้าไม่ถึงใจในที่สุดพอรุ่นลูกร่นหลานของคนไทยก็หายหมดแล้ว ความกตัญญูหายไปหมด มันเกิดอย่างนี้คือด่าคนเขาไปทั่ว ไม่รู้ว่าคนนั้นมีบุญคุณกับเราขนาดไหน ยังไม่รู้เลยก็ด่าไปแล้วคุณไปด่าเขาได้อย่างไร ถ้าไม่มีคนนี้คุณไม่ได้อยู่บนแผ่นดินนี้แล้ว บรรพบุรุษคุณก็ไม่ได้มาที่นี่ ดีไม่ดีไปตกทะเลตายไปแล้ว อะไรอย่างนี้ไม่รู้แต่ด่าไปแล้ว เหตุผลที่ด่าไปแล้ว เพราะตัวเองไม่มีความกตัญญู ไม่ได้ไปโทษว่าเขาเลวร้ายนะ แต่เพราะเขาไม่เห็นว่ามันเป็นอย่างไรนึกภาพไม่ออก    พ่อแม่เขาไม่ได้ทำให้เห็น         การกุศลมันฟื้นฟูความกตัญญูได้อย่างไร เราก็พาลูกๆ หลานๆ ขึ้นเครื่องไปดูแลพ่ออุ้ยแม่อุ้ยที่ตกยาก ฉือจี้จะไปทำให้เห็น ไปเช็ดตัว ช่วยอะไรได้ก็จะช่วย คนนี้เดิมทีเขาอาจจะไม่สนใจเอามือล้วงกระเป๋า แต่พอนานๆ ไปเขาก็ทำเพราะเห็นว่าคนอื่นเขาทำงานแล้วเรามายืนดูเขาเฉยๆ เขาก็อาจจะเอาไม้กวาดมากวาด หรือมาช่วยตัดเล็บก็ได้ เอาผ้ามาเช็ดตัว ไปหลายๆ ครั้งก็ทำได้มากขึ้น วันหนึ่งได้คิดว่าคนที่บ้านปู่ย่าตายาย พ่อแม่ คนนี้เป็นคนอื่นเราทำได้ แล้วคนที่บ้านเราล่ะ  ก็กลับไปทำ นี่คือพฤติกรรมของความกตัญญู กตัญญูแปลว่ารู้คุณคน พอรู้คุณคน  คุณจะลงมือทำ ไม่ใช่รู้คุณอย่างเดียว พอรู้คุณคนก็ต้องตอบแทนบุญคุณ อันนี้เป็นพฤติกรรมตอบแทนบุญคุณ การเช็ดตัว การตัดเล็บ การอุ้มไปอาบน้ำอะไรต่างๆ   พอเป็นอย่างนี้ความกตัญญูฟื้นแล้ว ลองคิดดูว่าถ้าไม่ใช้วิธีนี้แล้วเราจะเอาวิธีไหนมาสอนได้ หนังสือศีลธรรมก็ไม่มีแล้ว เอาหนังสือศีลธรรมมาท่องก็ทำไม่ได้ เพราะว่าภาพนั้นมันไม่ปรากฏ มันไม่เหมือนสมัยพ่ออุ้ยแม่อุ้ยจะมีภาพเหล่านี้อยู่ ลูกหลานเราไม่ต้องสอนเขาเห็น รู้ว่าต้องไปวัด ต้องรู้ไม่ต้องสอน รู้ว่าเห็นพระต้องไหว้ เพราะว่าภาพเหล่านี้มันสอนเรา คือรุ่นบรรพบุรุษเขาสอนด้วยภาพทำให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี         ตอนนี้บ้านเมืองเราเจริญรุ่งเรืองต่างๆ เต็มไปหมด แต่เรื่องจิตใจตกต่ำถอยหลังจะเป็นคนป่าคนดงแล้วก็ว่าได้ เราจะเอาอย่างไรดี เป็นคนป่าคนดงก็ดีขับเครื่องบิน คนป่าคนดงขับรถยนต์ก็ไม่ว่าอะไร ก็แล้วแต่ แต่ถ้าเราคิดว่าคนไทยน่าจะเป็นชนเผ่าที่ดีงามที่สุดในโลก ถ้าเราตีความแบบนี้ ผมคิดว่ามันน่าทุ่มมาก ทำให้ฟื้นขึ้นมา แล้วบ้านเมืองเราจะไม่ต้องไปกังวลเรื่องกินเรื่องอยู่เลย มันสมบูรณ์มาก ทำไมเราต้องไปแข่งกับคนอื่นเขา แข่งอะไร ของเรามีน้ำที่ดี มีดินที่สมบูรณ์ มีอากาศที่ดีๆ อย่างเราว่าหนาวลองไปอีกที่ๆ หิมะตกทั้งเดือน เลยประเทศเกาหลีไปก็ไม่น่าอยู่แล้ว ประเทศไทยดีที่สุดแล้วผมเชื่อว่าเป็นตำแหน่งที่พอดี ทางสายกลางดีมากๆ ในทุกๆ เรื่องแม้กระทั่งตัวคนไทยเอง ประเทศไม่ใหญ่ประชากรก็ไม่มาก ทุกอย่างมันพอดีหมดเลย วัด โบสถ์ มัสยิด สวยงามไปหมด พอภาพเป็นอย่างนี้ ถามว่าเกิดมาเป็นคนไทยทำไม ทำไมต้องอยู่ในผืนแผ่นดินไทย ต้องคิดแล้วนะครับ บางทีเราก็คิดว่าเราเป็นคนไทยทำไม ก็ไม่รู้ ก็เกิดมาเป็นคนไทยก็เป็นคนไทย แล้วเกิดมาเป็นคนไทยแล้วต้องทำอะไรเพื่อบำเพ็ญตน  ถ้าคนไทยทุกคนค่านิยมเกี่ยวกับเรื่องชีวิต การบำเพ็ญตนมาที่หนึ่งจะทำอะไรก็มีความสุข จะอยู่ที่ไหนก็มีความสุขได้ ยกตัวอย่างเช่น ใครบอกว่าอยากเกิดมาเพื่อเป็นหมอ ใครอยากเกิดมาเพื่อเป็นนายก ไม่มีนะ แต่ถ้าหากว่าไม่รู้จักหลักธรรม แล้วเป็นหมอนี่มันมีความสุขจริงไหม เป็นนายกแล้วมีความสุขจริงไหม แต่เราก็รู้ว่าเป็นยามนี่ทุกข์แน่ แต่ถ้าคนไทยที่บอกว่าเกิดมาเพื่อบำเพ็ญตนไม่ว่าจะเป็นยามเป็นหมอเป็นนายก คุณจะมีความสุขเหมือนๆ กัน เพราะว่าคุณค่าของคุณไม่ได้วัดว่าที่แบงค์ คุณมีจำนวนเงินเท่าไหร่ มันวัดอยู่ที่หัวใจของคุณว่ามีความปีติขนาดไหน ถ้าเราทำแล้วใจเรามีความสุขนั่นคือมีความสุขแล้ว ถ้าคนไทยเราเกิดมาเพื่อบำเพ็ญตน พอรู้ตรงนี้แล้วเอาอะไรมาบำเพ็ญ เอางานที่ทำมาขัดเกลาจิตใจตนเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ  ตรงนี้ของผมมาได้ที่ฉือจี้ ถ้าทุกคนมีค่านิยมแบบนี้ ค่านิยมทางตะวันตกที่บ้าบอคอแตกทำอะไรเราไม่ได้ แต่เราไม่ได้ปฏิเสธความเจริญรุ่งเรือง ไม่ได้ปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เรายอมรับที่สุดคือเรื่องจิตใจ พัฒนาจิตใจท่ามกลางความเป็นอยู่ที่พัฒนาต่อไป มีอะไรมาทำๆ เอาสิ่งนั้นมาขัดเกลาจิตใจตนไม่ใช่ไปเป็นทาสมัน เอามาเป็นเครื่องมือเรา  มาทำให้ใจเราสะอาดขึ้น ดีขึ้น งานของฉือจี้มีอะไรบ้าง         ภารกิจด้านต่างๆ มันขัดเกลาจิตใจเรา เรามีทั้งหมด 4 ภารกิจ อาจารย์เรา ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียนต้องการขัดเกลาจิตใจมนุษย์ด้วยศาสตร์ เพราะเป็นเป้าหมายเดียวและเป็นเป้าหมายสุดท้าย แล้วเอาอะไรมาขัดเกลา มันต้องมีวิธีการ ก็ใช้หลักพรหมวิหารสี่ อันนี้พุทธใช่ไหม พรหมวิหารสี่คืออะไร เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้วหน้าตามันเป็นอย่างไร คนไทยผมคิดว่าส่วนมากไม่รู้นะ หรือว่าให้อธิบายก็อธิบายได้ แต่ไม่รู้ว่าทำอย่างไร อย่างผมนี่ลูกศิษย์ขงจื้อ หลายๆ คนไม่มีศาสนา อาจารย์ท่านบอกทำ 4 อย่างนี้ การกุศล การรักษาพยาบาล การศึกษา และก็วัฒนธรรมที่ดีงาม อันนี้ก็คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะฉะนั้นถ้ามันเป็นอย่างนี้ อิสลามมาอยู่ด้วย  ได้ไหม อยู่ได้ ศาสนาคริสต์ก็มาอยู่ด้วยได้ การกุศล การรักษาพยาบาล การศึกษา วัฒนธรรมที่ดีงาม         การกุศลก็คือการบำบัดทุกข์การบำรุงสุข คนเขาทุกข์มาก เราก็ไปบำรุงสุขให้เขา ขาดเงินเอาเงินให้ ขาดของเอาของให้ ขาดอะไรให้อะไรเพื่อให้เขาสุขขึ้นมา บำรุงสุข นี่ใช่การกุศลไหม ใช่การกุศล เมตตา กรุณา บำบัดทุกข์เป็นอย่างไร เจ็บป่วยทำอย่างไรให้เขาทุกข์น้อยลงก็คือการรักษาพยาบาล ต่อมาก็คือมุทิตา มุทิตาตรงนี้ก็คือทำอย่างไรให้เกิดความปีติยินดีอยู่เรื่อยๆ ผมยังไม่อยากจะใช้คำว่าตลอดเวลาเพราะเรายังเป็นปุถุชนคนธรรมดา ไม่ว่าเราจะเป็นยาม หรือคนขายผักที่หน้าตลาดหรืออะไรก็ช่าง แต่ถ้าเรามีความยินดีอยู่ตลอด คืออยู่บ่อยๆ เกิดความสุขไหม แน่นอนอยู่ดีๆ จะมีความสุขไม่ได้หรอก มันต้องเกิดจากการขัดเกลาจากการบำเพ็ญ เขามาผิดกับเรา เราให้อภัยเขา ยกตัวอย่างเช่น เขาทำผิดเราทำถูก เราอภัย หรือว่าเราทำผิดเราไปขอโทษ อะไรต่างๆ เหล่านี้ พออย่างนี้ พอปมต่างๆ มันไม่มีในหัวใจ มันมีความยินดี คนเราถ้าไม่มีปมหัวใจมันมีความยินดีไหม คือไม่ไปโกรธไปเคืองใครมันก็ตลอดเวลา มันไม่ทุกข์ อันนี้คือการศึกษา อันที่สี่วัฒนธรรมที่ดีงามอันนี้หัวใจเลย วัฒนธรรมที่ดีงาม เรื่องการแยกขยะ เป็นส่วนหนึ่งในภารกิจด้วยไหม         เราบอกมีสี่ภารกิจใช่ไหม มันมีลำดับของมันนะครับ เมื่อกี้บอกการกุศล การรักษาพยาบาล การศึกษา วัฒนธรรม หนึ่งภารกิจท่านธรรมาจารย์ผู้ก่อตั้งใช้เวลา 10 ปี หนึ่งภารกิจสิบปี สิบปีที่สอง การรักษาพยาบาล สิบปีที่สามการศึกษา 10 ปี ที่สี่วัฒนธรรมที่ดีงาม พอเวลาผ่านไปคนเยอะขึ้น อาสาสมัครเยอะขึ้น ผ่านไปเกือบสี่สิบปีแล้ว อาสาสมัครมีทั่วแล้ว อาจารย์ก็บอกว่าอาจารย์ไปสะดุดตาเดินผ่านตลาดมีแต่ขยะ เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อนโน้น พอไปเที่ยวเก็บ  ก็บอก คนจีนพอพระเทศน์ดีเขาปรบมือนะเขาไม่พนมมือสาธุนะ อาจารย์บอกว่าอย่าปรบมือนะเอาสองมือนี้ไปแยกขยะ ได้ครับๆ เป็นลูกศิษย์อาจารย์ เป็นอาสาสมัครทำไมไม่ได้เพราะศรัทธา ท่านมีวิสัยทัศน์แต่ตอนนั้นไม่ได้บอกว่าทำไม         แต่ด้วยความศรัทธาเรารู้ว่าเป็นพระที่มีวิสัยทัศน์และมีปัญญามาก ก็ไปแยกที่ไหนแยกที่บ้าน ทำที่บ้านก่อนเสร็จแล้วบ้านผมอยู่ในหมู่บ้านมันมีที่ว่าง ว่างอยู่ที่หนึ่งก็ทำก่อนแล้วบังเอิญคุณก็เป็นเพื่อนผมแล้วรู้จักกันแล้วเป็นชาวฉือจี้ด้วยกัน บอกว่าให้ใช้บ้านผมแล้วกันเอามากองๆ รวมกันแล้วมาแยก เริ่มจากตรงนี้ แล้วค่อยๆ ไปบอกชาวบ้าน มีไหมหนังสือพิมพ์เก่าๆ มีไหมขวดพลาสติก มีไหม พอนานๆ เข้ามันโต ชุมชนนี้ก็มานัดกันบอกว่าทุกวันพุธ  มันจะมีโรงแยกขยะใหญ่จะมารับจุดย่อย ตรงนี้สำคัญ เริ่มต้นที่ไหนก่อนเริ่มที่บ้านที่ครอบครัว บทนำจาก บทความ “รู้จักมูลนิธิฉือจี้” https://www.tzuchithailand.org/th

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 222 รับมือกับแผลน้ำร้อนลวก

        โอกาสโดนน้ำร้อนลวกหรือน้ำมันร้อนกระเด็นใส่นั้น ทุกคนมีความเสี่ยงพบเจอได้ ยิ่งเป็นคนที่ชอบทำอาหารโดนกันประจำ การจะดูแลปฐมพยาบาลแผลน้ำร้อนลวกนั้น ต้องประเมินจากขนาดของแผลและบริเวณที่สัมผัสความร้อน เพื่อที่จะประเมินได้ว่า ต้องจัดการอย่างไร ที่แน่ๆ พอโดนลวกแล้วปวดแสบปวดร้อนจนสุดทน จนบางคนต้องหาของที่เอ่ยอ้างต่อๆ กันมากันว่าบรรเทาได้ อย่างยาสีฟัน น้ำปลา น้ำแข็ง มาทา ประคบ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผสมความเข้าใจผิด และอาจทำให้แผลยิ่งอักเสบจนกลายเป็นแผลติดเชื้อได้ คราวนี้จึงจะนำวิธีการรับมือแบบถูกต้องมาฝากกัน ประเมินบาดแผลและการรักษา         1. แผลระดับแรก เป็นแผลกินบริเวณไม่กว้าง ความร้อนทำลายแค่ผิวหนังกำพร้าชั้นนอกเท่านั้น โดยแผลนั้นจะไม่มีตุ่มพองใส แต่จะแค่ผิวหนังบริเวณนั้นมีสีแดงกว่าปกติ มีความรู้สึกว่าปวดแสบและร้อนแบบพอทนได้ ซึ่งจะไม่ทิ้งรอยแผลเป็นไว้เมื่อหายปวด โดยทั่วไปแผลระดับแรกนี้จะหายไปในระยะเวลา 7 วัน วิธีการรักษา แค่ใช้น้ำอุณหภูมิปกติไหลผ่านแผล แล้วจึงใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบไว้สักครู่หนึ่ง อาการปวดก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ หรือถ้าใครมีคูลฟีเวอร์ ( แปะหน้าผากลดไข้เด็ก ) ก็สามารถนำมาแปะที่แผลไว้ นอกจากนี้การใช้สมุนไพรบางตัว อย่าง ว่านหางจระเข้ ใบบัวบก หรือบัวหิมะ พอกทาที่แผล ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนได้ดี พออาการปวดดีขึ้นก็ให้ทายารักษาอาการ ยาทานั้นมีขายทั่วไปตามร้านขายยา สอบถามได้จากเภสัชกรในร้าน         2. แผลระดับสอง คือแผลที่โดนลึกขึ้น และกินบริเวณกว้างกว่าแผลในระดับแรก เข้าไปถึงชั้นหนังกำพร้า แล้วลึกลงไปถึงชั้นหนังแท้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังหลงเหลือเซลล์ที่สามารถเจริญเติบโตมาทดแทนชั้นหนังที่ตายแล้วได้อยู่ แผลนั้นจะมี 2 แบบ คือทั้งแบบเป็นตุ่มพองมีน้ำใสๆ ข้างใน พอแกะน้ำออกมาผิวบริเวณนั้นจะมีสีชมพู และมีน้ำเหลืองไหลออกมาเล็กน้อย แผลระดับนี้จะเริ่มมีอาการปวดแสบมากขึ้น เพราะเส้นประสาทถูกทำลายไปด้วย แต่ไม่เยอะมากนักและแผลจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ และจะไม่เกิดแผลเป็น ส่วนอีกแบบนึงจะเป็นแผลที่ไม่มีตุ่มพองแผลจะแห้ง มีสีเหลืองขาวและไม่ค่อยปวด แต่จะทำให้เกิดแผลเป็นได้วิธีการรักษา ใช้วิธีการเดียวกับแผลระดับแรก เพียงแต่อาการแสบร้อนอาจมีมากกว่ากินระยะเวลาการรักษานานกว่า หากมีอาการตุ่มพองน้ำใส อย่าแกะหรือสะกิดให้น้ำออก น้ำด้านในจะค่อยๆ แห้งลงเอง แต่ถ้าแผลเปิดออก ต้องทายาเพื่อรักษาและป้องกันการติดเชื้อ และบางครั้งอาจต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดการติดเชื้อ            3. แผลระดับสาม แผลลึก รุนแรงกินลึกลงไปถึง หนังแท้ รูขุมขน ต่อมเหงื่อ และเซลล์ประสาทจนหมด ซึ่งแผลระดับนี้ถือว่ารุนแรงมาก เพราะอาจกินลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก แต่จะไม่มีอาการปวดจากแผล เพราะเซลล์ประสาทโดนทำลายไปทั้งหมด ทำให้ไม่รับรู้ถึงอาการปวด ระดับนี้รักษาเองไม่ได้ต้องไปโรงพยาบาลเท่านั้น สมุนไพร ที่ช่วยในการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก บรรเทาอาการแสบร้อน        1. ว่านหางจระเข้ วุ้นของว่านหางจระเข้นั้นมีสาร ไกลโคโปรตีน มีสรรพคุณในการลดการอักเสบของผิวหนัง ฆ่าเชื้อในแผลและห้ามเลือด เหมาะกับการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้เป็นอย่างดี วิธีการใช้ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้ ทั้งแบบครีมและเจลเพื่อให้ใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น หรือถ้าไม่อยากซื้อใช้ ก็แค่เพียงนำว่านหางจระเข้สดๆ ล้างน้ำเอายางออกปอกเปลือกให้หมด แล้วจึงขูดเอาเนื้อวุ้นมาปิดที่บริเวณแผล ระยะแรกอาจต้องเปลี่ยนบ่อยเพื่อบรรเทาอาการแสบร้อนจนอาการดีขึ้น จากนั้นพอกทาวันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น จนกว่าแผลจะหาย         2. ใบบัวบก มีสรรพคุณในรักษาแผลอักเสบ และสมานแผลทำให้แผลหายเร็ว ลดอาการปวดแสบร้อนได้ดีเช่นกัน วิธีการใช้ ให้นำใบบัวบกสดล้างให้สะอาด แล้วนำไปตำจนละเอียด กรองเอาน้ำแต่ติดกากใบมาด้วยเล็กน้อย แล้วเอามาชโลมที่แผลเรื่อยๆ จนกว่าอาการปวดจะดีขึ้น หรือใช้ครีมบัวบกซึ่งพัฒนาเป็นยาเพื่อใช้บรรเทาอาการแสบร้อนและสมานแผลน้ำร้อนลวก         3. นมสด หรือโยเกิร์ตแช่เย็น ทั้ง 2 อย่างนี้ มีปริมาณไขมันและโปรตีน ที่ช่วยในการสมานแผล และลดอาการปวดแสบร้อนได้ดี วิธีการใช้ แช่แผลลงในนมสดหรือโยเกิร์ต ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก วิธีนี้นอกจากจะลดอาการปวดได้แล้ว ยังทำให้ไม่เป็นแผลเป็นอีกด้วย         4. เกลือ มีสรรพคุณในการสมานแผล และลดอาการปวดแสบปวดร้อนได้ดี อย่างไม่น่าเชื่อ วิธีการใช้ เมื่อเกิดแผลให้รีบนำเกลือป่นมาพอกไว้ที่บริเวณแผล  แล้วหยดน้ำลงไปเล็กน้อย จะทำให้แผลที่ปวดแสบปวดร้อนดีขึ้น        5. บัวหิมะ สมุนไพรจากจีนที่ค่อนข้างหาซื้อยาก แต่มีสรรพคุณแก้พิษจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ลดอาการอักเสบปวดแสบร้อนอย่างรุนแรงได้ดี เพราะเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น แล้วยังทำให้ผิวบริเวณที่โดนลวกหรือไหม้นั้นไม่เป็นแผลเป็นอีกด้วย วิธีการใช้ ปัจจุบันมีการนำมาทำในรูปแบบของ ผลิตภัณฑ์ที่หาซื้อใช้ได้ง่ายขึ้น แต่อาจมีราคาที่ค่อนข้างสูง บรรเทาอาการและช่วยสมานแผล 1. น้ำส้มสายชู ด้วยกรดอะซีตริกที่อยู่ในน้ำส้ม ช่วยบรรเทาอาการ อักเสบ ปวด และการคันจากการโดนของร้อน และการเผาไหม้ นอกจากนี้ยังช่วยฆ่าเชื้อและป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้ออีกด้วย วิธีการใช้ ล้างแผลให้สะอาด แล้วใช้สำลีจุ่มลงไปในน้ำส้มสายชู บีบน้ำออกเล็กน้อยแล้วนำมาวางโปะไว้บนแผลสักครู่ รอจนแผลหายปวดแล้วจึงเอาออก สามารถทำได้ทุกวันจนกว่าแผลจะหาย2. น้ำมันมะพร้าว สามารถป้องกันแผลจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ที่มาของการอักเสบ และเกิดรอยแผลเป็นได้ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินอีและกรดไขมัน เหมาะสำหรับแผลที่หายแล้ว วิธีการใช้ นำน้ำมันมะพร้าวมาชโลม แล้วนวดตรงบริเวณที่เป็นแผลเป็น จนผิวและแผลบริเวณนนั้นนุ่มและอ่อนลง สามารถทาได้ทุกวัน 3. น้ำผึ้งจากธรรมชาติ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคและลดอาการเจ็บปวดของแผลได้เป็นอย่างดี วิธีการใช้ ล้างแผลให้สะอาดแล้วนำน้ำผึ้งมาหยด จากนั้นนวดตรงบริเวณแผล สามารถทำได้เรื่อยๆ จนกว่าแผลจะหายปวด ข้อมูลจาก  https://www.honestdocs.co/burn-wound-treatment

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 220 สิวเสี้ยนกับการดูแลรักษา

            สิวเสี้ยนที่เรารู้จัก คือจุดดำๆ เล็กๆ บนใบหน้า พบมากตามจมูก ข้างแก้ม หน้าผาก และปลายคาง จริงๆ สิวเสี้ยนมีสองลักษณะ คือ        1.สิวเสี้ยนแบบไขมันอุดตัน เนื่องจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังผลิตไขมันมากเกินไป (ไขมันนี้มีเพื่อช่วยให้ผิวไม่แห้งกร้าน) จนอุดตันบริเวณรูขุมขนเกิดเป็นเม็ดสิวฝังอยู่ในผิวหนัง บางครั้งก็กลายเป็นสิวอักเสบเนื่องจากเชื้อโรคบริเวณผิวหนังใช้ไขมันเป็นอาหารและปล่อยกรดที่มีฤทธิ์ระคายเคืองออกมา         2.สิวเสี้ยนแบบที่เป็นกระจุกของเส้นขนเล็กๆ หลายสิบเส้นอุดตันในรูขุมขน คือแทนที่รูขุมขนหนึ่งจะมีเส้นขนหนึ่งเส้น แต่กลับมีเส้นขนรวมเป็นกระจุกเดียว สิวเสี้ยนลักษณะนี้มักพบตามปลายจมูก ข้างแก้ม        สิวเสี้ยนนั้นโดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องรักษาเพราะไม่ก่อให้เกิดปัญหาอะไร แต่สำหรับคนที่รักสวยรักงามอยากมีใบหน้าเกลี้ยงเกลาอาจรำคาญตา ที่มีจุดดำๆ อยู่บนใบหน้า จึงพยายามสรรหาวิธีรักษาหรือกำจัดสิวเสี้ยน ซึ่งการกำจัดแบบถาวรนั้นยังไม่มี แต่สามารถทำให้น้อยลงหรือดีขึ้นได้วิธีลดสิวเสี้ยน        1.จัดการหรือลดปัญหาไขมันที่ผลิตออกมามากเกินไป            ·  ใช้ยากลุ่มที่สลายก้อนไขมันอุดตัน(comedone) เช่น เบนซอยล์ เพอร์ออกไซด์(benzoyl peroxide) กรดอะเซเลอิก(azelaic acid) กรดซาลิไซลิก(salicylic acid) หรือ กรดผลไม้ ที่รู้จักกันทั่วไปคือ กรดไกลคอลิก(glycolic acid) ทาบริเวณใบหน้า ซึ่งควรใช้อย่างระมัดระวัง                 ·  การใช้ยา เบนซอยล์ เพอร์ออกไซด์ ควรเริ่มต้นด้วยความเข้มข้นต่ำๆ ที่ 2.5% ก่อน ทาให้ทั่วใบหน้าประมาณ 5 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ช่วยลดปริมาณไขมันที่ผิวหนังและละลายสิ่งสกปรกที่อุดตันในรูขุมขนออกมา ใช้วันละสองครั้ง เช้า เย็น            ·   กรดซาลิไซลิก หรือ(ยาละลายสิวเสี้ยน) กรดจะช่วยทำให้ไขมันอ่อนตัวลง ทำให้สามารถเอาสิวเสี้ยนออกมาได้โดยง่าย เมื่อเรานำเอาสิวเสี้ยนออกจากรูขุมขนของเราได้แล้ว ควรกระชับรูขุมขนด้วยโทนเนอร์ทันที        2.การลอกสิวเสี้ยน มีหลายวิธีส่วนใหญ่ราคาไม่แพงและวิธีทำง่าย แต่มักกำจัดได้ไม่หมด และไม่สามารถกำจัดสิวเสี้ยนได้ทุกที่            ·  การใช้ไข่ขาว วิธีนี้รู้จักกันมานาน คือทาใบหน้าหรือบริเวณที่ต้องการลอกสิวเสี้ยนใช้ทิชชู่ซับแล้วทาไข่ขาวซ้ำ ทิ้งไว้ให้แห้งจะรู้สึกตึงๆ ผิว จากนั้นลอกแผ่นทิชชู่ออก สิวเสี้ยนบางส่วนจะหลุดออกมา            · แผ่นลอกสิวเสี้ยน ครีมลอกสิวเสี้ยนหรือมาร์คลอกสิวเสี้ยน ที่มีจำหน่ายทั่วไป ควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากและไม่ควรทำเกินสัปดาห์ละครั้ง        3.การใช้เครื่องมือกดสิว เป็นการดึงสิวเสี้ยนดำๆ ออกจากผิว วิธีนี้ต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะหากทำไม่ดี กดไม่ถูกวิธี อาจยิ่งทำให้กลายเป็นสิวอักเสบได้ กรณีสิวเสี้ยนที่เป็นแบบเส้นขนอุดตันเป็นกระจุกนั้น การใช้เลเซอร์ขจัดขนสามารถช่วยได้        อย่างที่ได้กล่าวไป สิวเสี้ยนไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรกับมันก็ได้ เว้นแต่จะรำคาญใจ แต่เราสามารถทำให้มันน้อยลงได้ ด้วยการดูแลความสะอาดผิวหน้า ไม่ปล่อยให้หน้ามันเกินไป และไม่ล้างหน้าบ่อยเกินไปเพราะจะไปสร้างความระคายเคืองให้ผิว ส่วนคนที่ชอบกดหรือบีบสิวเสี้ยนเอง ต้องบอกว่าเลิกทำดีกว่าเพราะจะยิ่งทำให้เกิดสิวอักเสบไม่สวยงามยิ่งไปกว่าเดิม   

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 220 ค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ยิ่งแพง ยิ่งเหลื่อมล้ำ

                ว่ากันตามหลักการ คนไทยทุกคนมีสิทธิเข้าถึงการรักษาพยาบาลตามแต่ว่าตนสังกัดสิทธิไหน และเป็นที่รู้กันว่าการไปใช้สิทธิของตน โดยเฉพาะสิทธิประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าค่อนข้างใช้เวลานานในการรอคอย มันอาจหมายถึงการสิ้นเปลืองเวลาทั้งวันเพื่อพบแพทย์ไม่เกิน 10 นาที คนไข้จำนวนหนึ่งจึงเลือกใช้เงินซื้อเวลาและความสะดวกสบายด้วยการไปโรงพยาบาลเอกชนแทน เพราะเชื่อว่ามีเงินเพียงพอที่จะรับมือกับค่ารักษาพยาบาล         แต่บ่อยครั้งก็คาดการณ์ผิด ที่ว่าเอาอยู่ กลับเอาไม่อยู่ โรงพยาบาลเอกชนบวกกำไรค่ายา 16,000 เปอร์เซ็นต์         งานวิจัยเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน ของ ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล จากศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่า ในการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต โรงพยาบาลเอกชนจำนวนไม่น้อยเรียกเก็บค่าบริการแพงเกินจริง เมื่อเปรียบเทียบรายการยากับโรงพยาบาลศูนย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ความแพงดังกล่าวมีช่วงห่างตั้งแต่ 60-400 เท่า เช่น วิตามินบีคอมเพล็กฉีดหลอดละ 1.50 บาท เพิ่มเป็น 600 บาท ยาฉีดแก้ปวดขนาด 50 มิลลิกรัม ราคา 6.50 บาท เพิ่มเป็น 450 บาท         ขณะที่รายการเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยามีราคาต่างกันตั้งแต่ 16-44 เท่า เช่น ท่อดูดเสมหะชิ้นละ 10 บาท กลายเป็น 440 บาท ไหมเย็บแผลสีดำ ชุดละ 28.5 บาท เพิ่มเป็น 460 บาท         นอกจากนี้ ยังพบว่าโรงพยาบาลเอกชนมีการตรวจวินิจฉัยเกินความจำเป็น เช่น การให้เลือดในคนไข้ที่ไม่จำเป็นต้องได้รับเลือด คนไข้เป็นปอดบวมจำเป็นต้องได้รับการรักษาด่วน แต่กลับส่งตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น         ผลการตรวจสอบเบื้องต้นของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งมีส่วนต่างระหว่างราคาซื้อกับราคาขายตั้งแต่ร้อยละ 29.33 ถึงร้อยละ 8,766.79 หรือตั้งแต่ 10.83 บาทถึง 28,862 บาท คิดเป็นอัตรากำไรตั้งแต่ร้อยละ 47.73 ถึงร้อยละ 16,566.67 เช่น ยา S-DOPROCT ราคายาอยู่ที่ 17 บาท แต่โรงพยาบาลเอกชนขายเฉลี่ยที่ 148 บาท ราคาขายสูงสุดอยู่ที่ 303 บาท หรือยา AMPHOTERICIN-B ราคายาคือ 452 บาท ขายเฉลี่ยที่ 937 บาท ราคาที่ขายสูงสุดอยู่ที่ 2,200 บาท เป็นต้น         สอบถามไปยัง ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาว่ามีเหตุผลที่ฟังขึ้นหรือไม่ว่าเหตุใดราคายาของโรงพยาบาลเอกชนจึงแพงขนาดนี้             “ถ้ามองในภาพรวมก็ไม่น่าจะมีความต่างอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ราคายาอาจต้องบวกต้นทุนการเก็บรักษา การดูแลคงคลัง ค่าบุคลากรที่ดูแลยา อันนี้คือตัวเม็ดยา ซึ่งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขภายใต้ พ.ร.บ.สถานพยาบาล มีประกาศแนบท้ายออกมาฉบับหนึ่งว่า ถ้าโรงพยาบาลจะคิดค่ายาให้บวกค่าอะไรได้บ้าง ตรงนี้จะเป็นเหตุให้ราคาต่างจากร้านขายยามากหรือไม่ ก็น่าจะไม่มาก เพียงแต่ว่าเวลาเขาบวกเข้าไป มันรวมค่าบริการด้วยหรือเปล่า ไม่รู้ ที่ทำให้เขาเพิ่มราคายาขึ้นมา เพราะถ้าเภสัชกรให้บริการ เวลาจะจ่ายตัวเม็ดยาที่บวกต้นทุนไปแล้ว กับค่า Professional Fee หรือค่าวิชาชีพของเภสัชกร ในร้านยาที่มีเภสัชกรก็ต้องให้บริการเหมือนกัน ก็ยังหาเหตุผลอธิบายไม่ได้ว่าทำไมมันจึงต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือถ้าต่างกัน 50 เปอร์เซ็นต์ยังพอเข้าใจ แต่ถ้าต่างกันไปถึงหลักร้อย หลักพัน หรือหลักหมื่นเปอร์เซ็นต์ อันนี้ก็คงรับไม่ได้         ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนเคยพูดว่า บางบริการเขาไม่สามารถเรียกเก็บได้จากผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าคืออะไร เขาจึงมาบวกที่ค่ายา ต่อไปก็คุยกันว่าบริการต่างๆ ต้องเอามาตีแผ่ว่าคือค่าอะไร แล้วก็คิดกันตรงไปตรงมา ไม่บวกพ่วงไปกับค่ายา อนาคตต้องทำให้ราคามันโปร่งใสขึ้น อย่างที่กระทรวงพาณิชย์ให้มาบางตัวสูงถึง 15,000-16,000 เปอร์เซ็นต์ ก็ต้องกลับมาดูว่าเป็นค่าอะไรบ้าง และทำให้เห็นว่าแต่ละบรรทัดเป็นค่ายาจริงหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ก็ต้องไปตั้งหมวดใหม่” การรักษาพยาบาลเกินความจำเป็น         นอกจากค่ายาที่แพงเกินเหตุแล้ว อีกวิธีการหนึ่งที่โรงพยาบาลเอกชนมักนำมาใช้กับผู้ป่วยคือการรักษาพยาบาลเกินความจำเป็นหรือ Over Treatment เช่น กรณีถูกมีดบาดมือ 1 เซนติเมตร แต่ถูกนำตัวเข้าห้องผ่าตัดหมดเงินไป 6 หมื่นกว่าบาท         เฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เล่าว่า เคยมีคนไข้รายหนึ่งมีอาการท้องเสียและเห็นว่าตนทำประกันสุขภาพไว้จึงไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าทางโรงพยาบาลนำคนไข้รายนี้ตรวจสารพัดตรวจ ทั้งที่คนไข้บอกว่าเพิ่งตรวจร่างกายมา ซึ่งการตรวจบางรายการก็ไม่เกี่ยวกับอาการท้องเสีย ซ้ำยังให้คนไข้รายนี้นอนห้องไอซียูอีกหลายวัน สุดท้ายประกันสุขภาพที่ทำไว้ไม่พอจ่าย ค่ารักษาพยาบาลเกินไปอีก 3 แสน         “ผ่านไปเกือบ 2 ปี เพราะอายุความค่าจ้างทำของมัน 2 ปี ทางโรงพยาบาลก็ฟ้องที่ศาลจังหวัดมีนบุรีเรียกค่ารักษาพยาบาล ทางมูลนิธิก็ให้ผมหาทนายต่อสู้คดี เอาบิลต่างๆ ให้ผู้รู้เช็คว่าทำอะไรไปบ้าง ก็พบว่าไม่เกี่ยวกับอาการท้องเสีย เป็นการตรวจซ้ำซ้อน มีค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าห้องพักในไอซียูที่ไม่จำเป็นหลายรายการ เราเขียนคำให้การต่อสู้คดีว่าไม่มีความจำเป็น แต่ไปตรวจเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับท้องเสีย แล้วอาการก็ไม่ถึงกับต้องอยู่ไอซียู ศาลก็ไกล่เกลี่ย ในที่สุดทางโรงพยาบาลก็ลดราคาลงมา ฝ่ายจำเลยก็ยอมจ่ายให้จบไป” เครือข่ายผู้บริโภคผลักดันคุมโรงพยาบาลเอกชน         เครือข่ายผู้บริโภคพยายามผลักดันให้มีการควบคุมราคาค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนมานาน อย่างน้อยในรอบนี้ก็มีมาตั้งแต่ 2561 จนกระทั่ง 22 มกราคม 2562 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นให้มีการประกาศค่ายา เวชภัณฑ์ ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นสินค้าที่ต้องมีการควบคุม ทว่า         “ประกาศนั้นก็ไม่มีผลอะไร เพราะยังไม่มีการประกาศมาตรการว่าจะควบคุมกำกับยังไง กกร. ก็เลยตั้งอนุกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง คณะอนุกรรมการกำหนดมาตรการยา เวชภัณฑ์ ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ซึ่งอนุฯ นี้คุยกันครั้งแรกบอกว่าจะเริ่มต้นที่ยาและเวชภัณฑ์ก่อน ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ให้เวลา 60 วันในการศึกษา พบว่ามีการทำรายการยาและเวชภัณฑ์ของ UCEP กรณีฉุกเฉิน ซึ่งราคากลางนี้มาจากการพูดคุยกันระหว่าง 3 กองทุน ปรากฏว่ามีราคากลางของยาอยู่ประมาณ 3 หมื่นกว่ารายการ แล้วก็มีรายการเวชภัณฑ์ 5 พันกว่ารายการ ซึ่งน่าจะถือได้ว่าเป็นราคากลางที่ผ่านการตกลงของทั้ง 3 กองทุนเวลาไปตามจ่ายให้กับการเจ็บป่วยฉุกเฉินให้กับหน่วยบริการ” สุภัทรา นาคะผิว กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้เชี่ยวชาญด้านบริการสุขภาพ กล่าว         นอกจากนี้ กรมการค้าภายในยังได้ขอความร่วมมือไปยังโรงพยาบาลเอกชน 353 แห่ง ให้ส่งราคายาที่ซื้อและขายเพื่อเอามาเปรียบเทียบว่ามีการคิดกำไรกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตอนแรกไม่ได้รับความร่วมมือ จึงต้องออกเป็นหนังสือโดยใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ทางโรงพยาบาลเอกชนจึงส่งข้อมูลให้ ทำให้เห็นว่ามีการบวกกำไรเข้าไปสูงมากดังที่ปรากฏข้างต้น กกร. เดินหน้ามาตรการ         ล่าสุด ทางคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้ออกประกาศฉบับที่ 52 พ.ศ.2562 เรื่องการแจ้งราคา การกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายยารักษาโรค เวชภัณฑ์ ค่าบริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นๆ ของสถานพยาบาล ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้ราคาและใช้ประกอบการตัดสินใจ         ประกาศดังกล่าวยังกำหนดให้โรงพยาบาลเอกชนต้องประเมินค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ และค่าบริการทางการแพทย์ให้ผู้ป่วยทราบเมื่อผู้ป่วยร้องขอ และในกรณีจำหน่ายยาสำหรับผู้ป่วยนอก ทางโรงพยาบาลต้องออกใบสั่งยามาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมและใบแจ้งราคายาให้ผู้ป่วยทราบล่วงหน้า โดยต้องประกอบด้วยชื่อสามัญทางยา ชื่อทางการค้า รูปแบบยา ขนาดหรือปริมาณ จำนวน วิธีใช้ ระยะเวลาในการใช้ และใบแจ้งราคายาต้องประกอบด้วยชื่อยาตามใบสั่งยาและราคาต่อหน่วย             อีกทั้งยังมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในส่วนกลางและส่วนจังหวัดเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกรณีร้องเรียนเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเกินความจำเป็น สมาคมโรงพยาบาลเอกชนฟ้องศาลปกครอง         คงพอคาดการณ์ได้ว่าทางฟากโรงพยาบาลเอกชนย่อมไม่พอใจประกาศค่ายา เวชภัณฑ์ ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นสินค้าที่ต้องมีการควบคุม สิ่งที่ตามมาคือสมาคมโรงพยาบาลเอกชนกับโรงพยาบาลเอกชนอีก 41 แห่งร่วมกันฟ้องศาลปกครองสูงสุดให้ยกเลิกประกาศ กกร. ฉบับนี้ ไม่ให้มีการกำกับค่ารักษาพยาบาล ด้วยข้ออ้างว่าการออกประกาศนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายทางโรงพยาบาลเอกชนไม่มีส่วนร่วม ประการต่อมาอ้างว่าการออกประกาศบังคับเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนเป็นการเลือกปฏิบัติ ไม่เป็นธรรม เพราะไม่บังคับโรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย เช่น โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ที่เก็บค่ารักษาพยาบาลสูงเช่นกัน โดยผู้ถูกฟ้องที่ 1 คือ กกร. ตามมาด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะประธาน กกร. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และอธิบดีกรมการค้าภายใน         “ชัดเจนว่าในฐานะองค์กรผู้บริโภคมีส่วนได้เสียในเรื่องนี้ แล้วเราก็ผลักดันเรื่องนี้มาตลอด ถ้าศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่ง กกร. ฉบับนี้ ผู้บริโภคย่อมได้รับผลกระทบ เราจึงตัดสินใจร้องสอดเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคดี คือเราไม่ได้เป็นคู่ความตั้งแต่ต้น แต่เรามีสิทธิที่จะร้องสอดด้วยความสมัครใจและอยู่ฝ่ายเดียวกับผู้ถูกฟ้องทั้งหมด เพื่อจะได้ช่วยกันต่อสู้คดี ยืนยันถึงความจำเป็น และการออกประกาศนี้ชอบแล้ว” สุภัทรา กล่าว         ประเด็นนี้มีองค์กรเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศสนใจเข้ามาร้องสอดร่วมกันจำนวนมาก และได้ไปยื่นร้องสอดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา การปล่อยเสรียิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ         อย่างไรก็ตาม หากมองอีกด้านหนึ่ง การที่ประชาชนเลือกไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน นอกจากความจำเป็นเฉพาะหน้า เช่นการเจ็บป่วยฉุกเฉินแล้ว ต้องยอมรับว่าการบริการของโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลที่ตนมีสิทธิประกันสังคมต้องใช้เวลารอคิวนาน ตรงนี้อาจถือเป็นอีกหนึ่งจุดอ่อนของระบบ สุภัทรากล่าวว่า                “เราปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ เช่น ความเพียงพอของบุคลากร เครื่องมือที่เพียบพร้อม มันยังมีความไม่เพียงพออยู่ เราจึงเปิดโอกาสให้มีโรงพยาบาลเอกชนเกิดขึ้น แต่ในบางประเทศที่ทำระบบประกันสุขภาพ เขาจะจำกัดการเติบโตของโรงพยาบาลเอกชนมากๆ เช่น ไต้หวัน สวีเดน จะให้มีโรงพยาบาลเอกชนไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ หรือค่าตอบแทนของแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนต้องไม่มากกว่ารัฐเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ การมีอยู่ของโรงพยาบาลเอกชนก็เป็นส่วนหนึ่งของการตอบปัญหาเชิงระบบที่ยังไม่ดีนัก         แต่ขณะเดียวกันธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมันต่างจากธุรกิจอื่น แล้วโรงพยาบาลเอกชนเองก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย เพราะความเจ็บป่วย การบริการสาธารณสุข เป็นงานบริการเชิงคุณธรรมที่ไม่ใช่จะเอากำไรเท่าไหร่ก็ได้ เพราะในสถานการณ์ปัจจุบันถ้ามันแพงไปเรื่อยๆ ไม่มีการจำกัดควบคุม มันยิ่งจะสร้างความเหลื่อมล้ำให้เกิดขึ้น คนที่มีเงินก็มีโอกาสรอด คนไม่มีเงินก็ตายก่อน จึงจำเป็นต้องทำให้โรงพยาบาลเอกชนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการสุขภาพและต้องมีการกำกับควบคุมดูแล เราคงต้องดูว่าจะกำกับควบคุมอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยเสรีแบบนี้ เพราะจะทำให้ราคาต่างๆ ในระบบสุขภาพสูงขึ้นได้ ขณะเดียวกัน การดึงแพทย์ พยาบาล ก็อาจมีผลต่อการคิดค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นจากที่เคยเป็นอยู่” มาตรการต่อไป         มาตรการต่างๆ ของ กกร. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป ภญ.ยุพดี ให้ข้อมูลว่าขั้นต่อไปต้องมาดูราคาที่เหมาะสมของยาแต่ละกลุ่ม แต่ละตัว ต้องมีวิธีการในการบอกว่าราคาที่เหมาะสมอยู่ตรงไหน ซึ่งกำลังให้ทางคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ข้อมูลอยู่         “วันนี้ประเทศไทยมีรหัสยาซึ่งบอกถึงลักษณะของยา ขนาดกี่มิลลิกรัม ของแบรนด์ไหน ซึ่งเป็นจุดแข็งของเราที่ทำให้สามารถเทียบราคายาได้รหัสต่อรหัส แต่อันอื่นๆ ยังไม่มีรหัสเลย เช่น วัสดุการแพทย์ บริการการแพทย์ นี่คือสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์กับกระทรวงสาธารณสุขและหลายองค์กรกำลังให้ สวรส. (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข) ทำรหัสวัสดุการแพทย์ และในอนาคตอาจต้องทำรหัสบริการการแพทย์อีก”         ทั้งหมดนี้คือความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อกรณีค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนที่บวกกำไรเพิ่มสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น         ในฐานะผู้บริโภคสิ่งที่ต้องทำคือการยืนยันสิทธิของตนเมื่อต้องเผชิญการเอาเปรียบ เพราะการร้องเรียน 1 ครั้งย่อมดีกว่าการบ่น 1000 ครั้ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 219 วิ่งวุ่นจากเหตุใช้สิทธิป่วยฉุกเฉินวิกฤติรักษาฟรี

        น่าจะเป็นที่รับรู้โดยทั่วกันว่า หากประชาชนประสบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถใช้สิทธิ UCEP หรือสิทธิการรักษาเพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ซึ่งสามารถรักษาได้ฟรีทุกโรงพยาบาล ภายใน 72 ชั่วโมงแรก ก่อนจะส่งผู้ป่วยเข้าระบบตามสิทธิรักษาพยาบาลของผู้ป่วยนั้น อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติอาจมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดภาระเรื่องค่าใช้จ่ายหรือไม่ฟรีจริงแก่ผู้ป่วยและญาติที่ใช้สิทธิดังกล่าว ซึ่งทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะปลดเปลื้องภาระได้ ดังกรณีที่มีผู้ร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ        คุณประสานร้องเรียนว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ปีที่แล้ว เวลาประมาณ 16.30 น. คุณประสงค์ซึ่งเป็นน้องชายประสบอุบัติเหตุขณะขับขี่รถจักรยานยนต์แล้วมีรถบรรทุกเลี้ยวตัดหน้า คุณประสงค์ถูกนำส่งโรงพยาบาลใกล้ที่เกิดเหตุโดยรถกู้ภัยอาสาในภาวะหายใจเองไม่ได้และไม่รู้สึกตัว คุณประสานไปโรงพยาบาลและเฝ้าผู้ป่วยอยู่จนถึงเวลา 22.30 น. จึงได้กลับบ้าน แต่ประมาณ 23.00 น. ทางโรงพยาบาลได้โทรศัพท์แจ้งว่า ให้มาเซ็นเอกสาร 2 ฉบับเพื่อให้ผู้ป่วยรับการผ่าตัดด่วน ซึ่งตนเองก็รีบไปเซ็นเอกสารดังกล่าว         วันรุ่งขึ้นโรงพยาบาลแจ้งว่าอาการของผู้เสียหายหนักเกินกว่าที่ทาง รพ.จะรักษาได้ ต้องส่งไป รพ.ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพของผู้ป่วย แต่เมื่อติดต่อไปและแจ้งอาการ โรงพยาบาลตามสิทธิหลักประกันก็ไม่สามารถรักษาได้ น้องชายต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใหญ่หรือโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์เท่านั้น ทางโรงพยาบาลได้ติดต่อไปตามโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์หลายแห่งพบว่า เตียง ICU เต็ม ผู้ร้องจึงดิ้นรนติดต่อหาโรงพยาบาลที่มีศักยภาพพอที่จะรักษาน้องชายได้ จนได้ทราบว่าน้องชายสามารถใช้สิทธิ UCEP หรือฟรี 72 ชั่วโมงแรก เมื่อแจ้งเรื่องต่อโรงพยาบาลกลับได้ข้อมูลที่ต่างออกไป โดยโรงพยาบาลแจ้งว่า คุณประสงค์ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.รถ ไปแล้ว ไม่สามารถใช้สิทธิ UCEP ได้         วันที่ 6 มีนาคม ประมาณ 14.00 น. ทางโรงพยาบาลแจ้งคุณประสานว่า โรงพยาบาลศิริราชรับรักษาคุณประสงค์ ซึ่งทาง รพ.จะย้ายผู้ป่วยไปที่ศิริราช แต่คุณประสานต้องชำระค่ารักษาจำนวน 120,000 บาท คุณประสานจึงรีบไปหาหยิบยืมเงินมาจ่ายให้ทาง รพ. ซึ่งเวลาประมาณ 20.00 น.จึงพอที่จะรวบรวมเงินได้และนำมาจ่ายให้ รพ. น้องชายจึงได้ถูกส่งตัวไปรักษาต่อที่ รพ.ศิริราช คุณประสานพยายามขอข้อมูลจากทางศิริราชว่าผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิ UCEP ได้หรือไม่ ทางศิริราชให้ข้อมูลว่าการตัดสินใจว่าใช้ได้หรือไม่ได้ ต้องส่งข้อมูลเข้าไปที่ระบบซึ่งดูแลโดย สปสช. คุณประสานจึงขอให้ทาง รพ.ที่รักษาผู้ป่วยในครั้งแรกส่งข้อมูลไปยังระบบของ UCEP แต่ รพ.ปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่า “อาการของผู้ป่วยพ้นขีดอันตรายแล้ว”         คุณประสานจึงแจ้งเรื่องร้องเรียนไปที่ สปสช. ต่อมาได้รับแจ้งว่า ทาง รพ.ได้ส่งข้อมูลผู้ป่วยเข้าระบบแล้ว และกำลังเข้าสู่การพิจารณาว่าเป็นกรณีฉุกเฉินวิกฤตหรือไม่ ส่วนอาการของผู้ป่วยหลังจากรับการผ่าตัดแล้ว ได้ย้ายเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตามสิทธิหลักประกัน ซึ่งผู้ป่วยยังอยู่ในอาการไม่รู้สึกตัว ส่วนเรื่องของการร้องเรียนนั้น ผ่านไปประมาณ 7 เดือนยังไม่คืบหน้า ทำให้คุณประสานมีภาระเรื่องการผ่อนชำระหนี้สินที่กู้ยืมมาเพื่อรักษาน้องชาย จึงขอความช่วยเหลือกับศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคเพื่อให้ช่วยติดตามเรื่องให้ด้วย แนวทางการแก้ไขปัญหา        เบื้องต้นได้แนะนำให้คุณประสานดำเนินการเรื่องคดีความกับทางผู้ขับขี่รถบรรทุกเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม สำหรับการติดตามกรณีใช้สิทธิ UCEP ได้รับแจ้งจากทาง สปสช. ว่า แม้ รพ.ที่รักษาผู้ป่วยในครั้งแรกนั้นจะส่งข้อมูลเข้าระบบแล้ว แต่ไม่ได้ดำเนินการเรื่องเบิกเงินกับ UCEP  เรื่องจึงยังไม่คืบหน้า ซึ่งกรณีนี้ทาง สปสช.ได้พิจารณาแล้วว่าเข้ากรณีเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตั้งแต่ที่คุณประสานร้องเรียนไว้ รอเพียงให้ทาง รพ.เบิกเงิน ซึ่งจะทำให้ทราบว่ายอดเงินเป็นจำนวนเท่าใดเพื่อการพิจารณาจ่ายเงินให้ รพ. และ รพ. จะได้คืนเงินให้กับผู้ร้องต่อไป            กรณีของคุณประสานนี้ ความล่าช้าเกิดจาก รพ.อาจยังไม่เข้าใจการส่งเรื่องเข้าระบบ เพราะเมื่อติดต่อไปที่ รพ. ได้รับคำยืนยันว่า ได้ส่งข้อมูลเข้าระบบไปแล้วตั้งแต่มีนาคม แต่ รพ.ไม่ทราบว่าต้องส่งข้อมูลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วย เพราะ สปสช. ต้องใช้ในการพิจารณาว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาทั้งหมดนั้น สปสช. สามารถจ่ายได้เต็มจำนวนหรือไม่         ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ได้ช่วยประสานงานทวงถามให้กับผู้ร้องเรียนเป็นระยะ พบว่า ทาง รพ.อ้างว่ามีภาระงานมาก จึงทำให้การทำเรื่องเบิกจ่ายล่าช้า ดังนั้นกว่าจะทำเรื่องเบิกจ่าย ก็ต้องรอจนถึงเดือนธันวาคม 2561 ต่อมาในเดือนมกราคม 2562 เรื่องจึงได้ผ่านการพิจาณาของ สปสช. และมีหนังสือแจ้งการจ่ายเงินให้ รพ. ซึ่ง รพ. ก็ติดต่อให้คุณประสานเข้าไปรับเงินคืน  ------------นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” หรือ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ 1 เมษายน 2560 โดย สปสช.เป็นหน่วยงานกลางในการประสานกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ ทั้งหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และอื่นๆ เพื่อจ่ายเงินชดเชยให้รพ.เอกชนตามนโยบายนี้ว่า คนไทยทุกคนหากเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล (รพ.) ที่ใกล้ที่สุดได้ทั้ง รพ.รัฐและรพ.เอกชนไม่จำเป็นต้องเป็นรพ.ตามสิทธิ โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใน 72 ชั่วโมงแรก ผู้ป่วยไม่ต้องจ่าย แต่ละกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐที่ผู้ป่วยมีสิทธิจะดำเนินการจ่ายให้รพ.ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนด6 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ที่สามารถใช้สิทธิ UCEP รักษาพยาบาลฟรี 72 ชั่วโมงแรก1.หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ2.หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง3.ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น4.เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง5.แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่อง6.อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิตที่มา สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

อ่านเพิ่มเติม >