ฉบับที่ 210 เข่ากระแทกเบาะเจ็บหนักเหตุรถเมล์เบรกกะทันหันทำอย่างไรดี

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ แม้อยู่บนรถโดยสารประจำทางในเมืองหลวงอันศิวิไลซ์แห่งนี้ คุณจุ๊บแจงประสบอุบัติเหตุขณะนั่งรถเมล์สาย 60 จากเหตุที่รถเบรกกะทันหัน ทำให้เข่าด้านขวาของเธอกระแทกเข้าไปที่เบาะพิงด้านหน้าอย่างรุนแรง มีผลให้เส้นเอ็นฉีกขาดบางส่วน ตามความเห็นของแพทย์ ชีวิตช่วงนั้นของเธอค่อนข้างลำบากมาก เดินเหินไม่สะดวก ทำให้ต้องขาดงานไประยะหนึ่งเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บถึงสองสัปดาห์ พออาการเริ่มดีขึ้น คุณจุ๊บแจงได้รับคำแนะนำจากเพื่อนว่า ไม่ควรปล่อยให้รถเมล์ลอยนวล ควรเรียกร้องสิทธิจากบริษัท ขสมก. เพราะรถโดยสารสาธารณะนั้นจะมีการทำประกันภัยไว้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการรักษาควรได้รับการดูแลทั้งหมดจากประกันภัย และควรได้รับค่าชดเชยที่ต้องขาดงานด้วย คุณจุ๊บแจงจึงร้องเรียนมาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางแก้ไขปัญหา            การใช้สิทธิให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เอกสารหลักฐานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ศูนย์พิทักษ์สิทธิจึงแนะนำผู้ร้องเบื้องต้นดังนี้             1.แจ้งเหตุต่อผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย กรณีนี้ ได้แก่ ขสมก.(สายด่วน 1348) เขตการเดินรถสาย 60(สวนสยาม) และหน่วยงานรัฐคือ กรมการขนส่งทางบก(สายด่วน 1584) เพื่อขอให้สิทธิ            2.รวบรวมเอกสาร             2.1 เอกสารทางการแพทย์ ได้แก่ ใบรับแพทย์ ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล เวชระเบียน            2.2 เอกสารเกี่ยวกับการใช้บริการรถเมล์ เช่น ตั๋วโดยสาร ภาพถ่ายทะเบียนรถ(ถ้าทำได้) เพื่อจะได้ยืนยันเลขรถโดยสาร            2.3 ภาพถ่ายบาดแผลหรืออาการบาดเจ็บ            2.4 ใบบันทึกแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ที่เกิดเหตุ3. ประเมินค่าชดเชยที่ต้องการเรียกร้องเพิ่มเติมจากค่ารักษาพยาบาล เช่น ขาดงานไปกี่วัน ทำให้ขาดรายได้จำนวนเท่าไร เป็นต้นกรณีด้านบนสามารถนำไปปรับใช้ได้ สำหรับกรณีของคุณจุ๊บแจง เนื่องจากไม่ทราบขั้นตอนการปฏิบัติ ทำให้เอกสารบางส่วนสูญหายไป  และเกิดความไม่สะดวกในการใช้สิทธิ เช่น การไปแจ้งความผู้ร้องไม่สามารถให้รายละเอียดเรื่อง เลขทะเบียนรถหรือเลขข้างรถได้ จึงต้องเสียเวลาไปมากขึ้นอย่างไรก็ตามทางศูนย์พิทักษ์สิทธิได้ช่วยประสานงานกับทาง ขสมก. จนทนายความตัวแทนของ ขสมก.ได้เข้ามาไกล่เกลี่ยกับผู้ร้องและสามารถยุติเรื่องได้ โดยผู้ร้องได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจำนวนหนึ่ง เพราะผู้ร้องทำเอกสารใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลหายไปทำให้ไม่ทราบยอดที่แท้จริง แต่ผู้ร้องไม่อยากเป็นคดีความอีกจึงขอยุติเรื่อง  ขั้นตอนการใช้สิทธิสำหรับกรณีนี้ค่อนข้างใช้เวลานานพอสมควร เพราะทั้งผู้ร้องเองมีข้อจำกัดหลายอย่างจึงไม่สะดวกในการรวบรวมเอกสาร ขณะที่ทางผู้ก่อความเสียหายก็ใช้เวลาในการดำเนินการนานเนื่องจากมีระเบียบปฏิบัติมากมาย รวมระยะเวลาที่สามารถยุติเรื่องได้ราว 10 เดือน 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 178 คนไทยยังต้องเสี่ยงภัยกับการโดยสารรถประจำทาง 2

โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัย พยายามทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิความปลอดภัยในการโดยสารรถสาธารณะ ได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการรถทัวร์โดยสารสาธารณะ ซึ่งเก็บตัวอย่างจากผู้บริโภคทั่วประเทศ จำนวน 1,784 ตัวอย่าง (ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง เดือนกลางเดือนสิงหาคม-กันยายน 2558 ) เพื่อสะท้อนสถานการณ์จริงที่ผู้บริโภคต้องเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน ------------------------------------------------------------------------------------------------ในแต่ละปีจะมีอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท เฉลี่ย 2,000 ครั้งต่อปี ซึ่งจากสถิติเฉลี่ยแล้ว พบว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับรถโดยสารสาธารณะ 1 ครั้งจะมีผู้เสียชีวิต 0.42 รายหรือครึ่งคน บาดเจ็บสาหัส 4 คน และบาดเจ็บเล็กน้อย 2.69 ราย มูลค่าความเสียหายมหาศาล รวมถึงปีละ 8,000 – 9,000 พันล้านบาทต่อปี   ข้อมูลเฉพาะจำนวนตัวอย่างแบบสำรวจ 4 ภูมิภาคภาคเหนือ 609 ภาคใต้ 432 ภาคตะวันออก 263 ภาคอีสาน 480 อาชีพนักเรียน 23.9% รับจ้าง 16.6% พนักงานบริษัทเอกชน 13.9% ธุรกิจส่วนตัว 13.7% ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 10.3%เกษตรกร 8.5% แม่บ้านพ่อบ้าน 5.8% ว่างงาน 4.5%   ผลสำรวจโดยสรุป 1.ประชาชนยังนิยมใช้รถทัวร์โดยสารสาธารณะ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การเดินทางทั้งไปทำธุระ กลับบ้านและไปเรียนหนังสือ โดยรถ ป.2 ชั้นเดียวได้รับความนิยมที่สุด และบริษัทรถร่วม บขส. ได้รับความนิยมพอๆ กับ บริษัท ขนส่ง จำกัด2. เหตุผลที่ใช้รถทัวร์โดยสารสาธารณะ คือ ความสะดวก ปลอดภัยและราคาถูก เรียงตามลำดับ มากไปน้อย 3.ความพึงพอใจทั้งเรื่องพนักงานขับรถ พนักงานประจำรถ และความสะดวก ความสะอาดของสถานีรถ อยู่ในค่าเฉลี่ยปานกลาง แต่ยังพบปัญหาการบรรทุกผู้โดยสารเกินประมาณ 9.4%4.ภายในรถโดยสารส่วนใหญ่มีเข็มขัดนิรภัย(80% ตอบว่ามี) และประมาณ 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ทางรถโดยสารได้แจ้งข้อมูลให้กับผู้โดยสารทราบผ่านโทรทัศน์บนรถ แต่มีถึง 45 % ที่ไม่คาดเข็มขัดในขณะโดยสาร ด้วยเหตุผลว่า อึดอัดเป็นอันดับหนึ่ง ไม่มีเข็มขัดหรือเข็มขัดไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน คิดว่าเดินทางแค่ระยะสั้นๆ รวมทั้งอายจึงไม่กล้าคาดเข็มขัด5.มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 23% ที่ทราบว่าถ้าไม่คาดเข็มขัดจะถูกปรับ 5000 บาท6.เกี่ยวกับอุปกรณ์ความปลอดภัยในรถ ทั้งค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง ส่วนใหญ่จะระบุว่ามี (68.6% ,71.6%) เรื่องประตูฉุกเฉิน 82.2 % สังเกตว่ามี ส่วนที่น่าสนใจคือ การแจ้งเรื่องการใช้อุปกรณ์มีครึ่งหนึ่ง คือ 53.4% ไม่พบว่ามีการให้คำแนะนำแก่ผู้โดยสาร ไม่ว่าจะเป็นโดยพนักงานขับรถ พนักงานประจำรถ หรือ วิดีโอ 7.ความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยในการโดยสาร อยู่ที่ระดับปานกลาง คือ 46.7%   รายละเอียดการสำรวจ         เลือกรถโดยสาร อย่างไรให้ปลอดภัย 1. เลือกรถโดยสารสาธารณะที่ถูกกฎหมาย เช่น ถ้าเป็นรถตู้โดยสารสาธารณะต้องเป็นรถร่วมบริการที่ได้รับอนุญาต (มีตราหรือสัญลักษณ์ของ บ.ข.ส. หรือ ขสมก. ติดข้างรถ) หรือ รถโดยสารป้ายทะเบียนสีเหลืองที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น 2. อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจ ‘รถเสริม’ ไม่ควรใช้บริการ รถทัวร์ผี รถตู้เถื่อน ที่มาวิ่งเสริมรับคนในช่วงเทศกาลต่างๆ โดยเด็ดขาด ซึ่งรถดังกล่าวอาจไม่ได้รับการตรวจสภาพมาก่อน และหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับรถผีรถเถื่อนแล้ว ผู้โดยสารจะไม่มีหลักประกันใดมารับรองความปลอดภัย อาจจะเจ็บตัวฟรีได้ 3. ผู้โดยสารควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ใช้บริการ เพื่อลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหากเกิดอุบัติเหตุ4. เมื่อต้องเดินทางเกิน 300 กม. ไม่ควรเลือกเดินทางโดยรถตู้โดยสาร เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกอนุญาตให้รถตู้โดยสารให้บริการได้ในระยะทางไม่เกิน 300 กม. เท่านั้น เพราะหากไกลกว่านั้นอาจจะทำให้พนักงานขับรถอ่อนเพลียจนเกิดอุบัติเหตุและยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทำผิดกฎหมายด้วย 5. ถ้ามีผู้โดยสารอื่นขึ้นเต็มรถอยู่ก่อนแล้ว ไม่ควรฝืนขึ้นไปยืนหรือนั่งเบาะเสริม เพียงเพราะต้องการอยากให้ไปถึงที่ด้วยความรวดเร็วอย่างเดียว เพราะการบรรทุกผู้โดยสารเกินของรถโดยสารอาจจะเพิ่มโอกาสเกิดอุบัติเหตุ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ 6. ไม่ทนนั่งรถโดยสารอันตราย ผู้โดยสารควรสังเกตพฤติกรรมและอากัปกริยาของพนักงานขับรถ เช่น มีอาการง่วงซึม หรือมึนเมาจากสุรา สารเสพติดหรือไม่ หรือขับรถเร็วผิดปกติ ส่ายไปส่ายมา แซงซ้ายปาดขวา ไม่เคารพกฎจราจร หากพบเห็น ต้องไม่อายที่จะแจ้งเตือนพนักงานขับรถทันที หรือรีบแจ้งสายด่วน 1584 หรือ 191 หรือกองบังคับการตำรวจทางหลวง 1193 เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคน เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารกับตัวเอง ต้องทำยังไง1. ผู้โดยสารต้องตั้งสติให้ได้ก่อน2. เมื่อมีสติแล้ว ให้สำรวจดูสภาพร่างกายของตนเองว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ และทรัพย์สินเครื่องใช้ที่ติดตัวมายังอยู่ครบหรือเปล่า 3. ถ้ามีสติ รู้สึกตัวดี และสำรวจสภาพร่างกายตนเองเรียบร้อยแล้ว ให้หยิบสิ่งของที่จำเป็น เช่น กระเป๋าสตางค์ , โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ แล้วพาร่างกายออกจากตัวรถโดยทันที 4. เมื่อออกมาพ้นตัวรถแล้ว ให้รีบโทรศัพท์ (ถ้ามี) แจ้ง 191 หรือ 1584 หรือ 1193 5. เมื่อดำเนินการตามข้อ 1 – 4 เรียบร้อยแล้ว หากท่านยังพอมีแรงอยู่ ให้ท่านเข้าช่วยเหลือผู้โดยสารคนอื่นที่บาดเจ็บเท่าที่พอจะช่วยได้ หากไม่สามารถทำได้ ให้บุคคลอื่นมาช่วยเหลือ 6. (ถ้ามีสติและทำได้) ควรถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุและบริเวณโดยรอบ ถ่ายภาพตอนบาดเจ็บของตนเองและคนอื่นที่บาดเจ็บ ไว้เป็นหลักฐานด้วยโทรศัพท์มือถือ เพื่อเป็นข้อมูลและพยานหลักฐานสำหรับการเรียกร้องค่าเสียหาย 7. เมื่อผู้โดยสารที่บาดเจ็บถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล หากบาดเจ็บไม่มากและรู้สึกตัวดี ผู้บาดเจ็บต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หรือพนักงานสอบสวนที่มาขอข้อมูลของผู้บาดเจ็บเพื่อเป็นหลักฐาน8. ผู้โดยสารที่บาดเจ็บสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลเบื้องต้น ได้ตามสิทธิ พ.ร.บ. รถ ของรถโดยสารคันที่โดยสารมา (ผู้โดยสารไม่ต้องสำรองจ่าย โรงพยาบาลที่รับการรักษาเป็นผู้เบิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จากบริษัทประกันภัยเอง)9. ผู้โดยสารที่บาดเจ็บต้องตรวจสอบข้อมูลการทำประกันภัยของรถโดยสารคันเกิดเหตุกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หรือพนักงานสอบสวน หรือตัวแทนของคู่กรณี (เจ้าของรถ หรือบริษัทประกันภัย) ว่ารถโดยสารคันเกิดเหตุทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้หรือไม่ ถ้าทำ ทำไว้กับบริษัทใด เพราะหากรถโดยสารทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้ ผู้โดยสารจะมีสิทธิได้รับความคุ้มครองความเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัย ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลและเยียวยาความเสียหายเพิ่มเติมได้    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 177 คนไทยยังต้องเสี่ยงภัยกับการโดยสารรถประจำทาง

ทุกวันนี้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า รถตู้โดยสาร ได้กลายมาเป็น รถโดยสารประจำทางในเกือบจะทุกเส้นทางรอบปริมณฑลกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงไปแล้ว ซึ่งไม่ใช่ว่ารถตู้นั้นเป็นทางเลือกยอดนิยม แต่ดูเหมือนไม่มีทางเลือกมากกว่า และแม้ว่าโดยสภาพของรถตู้เองที่ไม่เหมาะกับการเป็นรถขนส่งสาธารณะ แต่เมื่อเติบโตกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ หลายฝ่ายจึงพยายามหามาตรการต่างๆ ออกมาบังคับเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในการโดยสาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การจำกัดความเร็วในการขับ การกำหนดปริมาณคนนั่ง ฯลฯ แต่เมื่อมองจากสถิติจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว ดูเหมือนมาตรการต่างๆ นั้น ไม่ได้ช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับผู้โดยสารสักเท่าไรนัก โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัย   ซึ่งพยายามทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิความปลอดภัยในการโดยสารรถสาธารณะ  ได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ ซึ่งเก็บตัวอย่างจากผู้บริโภคทั่วประเทศ จำนวน 3,885 ตัวอย่าง (ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง เดือนกลางเดือนสิงหาคม-กันยายน 2558   ) เพื่อสะท้อนสถานการณ์จริงที่ผู้บริโภคต้องเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน  ข้อมูลเฉพาะจำนวนตัวอย่างแบบสำรวจ  6 ภูมิภาคภาคเหนือ 177 ภาคใต้ 399 ภาคตะวันออก 479 ภาคตะวันตก 1867 ภาคกลาง 783 ภาคอีสาน 180 เพศชาย 57% หญิง 43%อาชีพนักเรียน     25.4%  รับจ้าง 17% พนักงานบริษัทเอกชน 15.7% ธุรกิจส่วนตัว 15.2% ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 10%เกษตรกร    6%  แม่บ้านพ่อบ้าน 5.1% ว่างงาน 3% อื่นๆ 1.2% ไม่ตอบ 1.4% ผลสำรวจโดยสรุป1.รถตู้โดยสารสามารถตอบสนองการเดินทางของผู้บริโภค ทั้งในเรื่อง การทำธุระส่วนตัว การเดินทางกลับบ้าน การทำงานและการเรียน โดยมีเหตุผลเรื่อง ความสะดวก รวดเร็ว เป็นอันดับหนึ่งและสองตามลำดับ ส่วนเรื่องความปลอดภัยจัดอยู่ในลำดับท้ายสุด2. ความพึงพอใจต่อพนักงานขับรถอยู่ในระดับปานกลาง และ 66.5% ของผู้ตอบแบบสำรวจไม่รู้สึกว่าพนักงานขับรถ ขับรถเร็วหรือหวาดเสียว 3. มีผู้บริโภคเพียง 9.6% ที่พบปัญหาการบรรทุกผู้โดยสารเกิน  4. ผู้บริโภคยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการคาดเข็มขัดนิรภัยโดย 57% ตอบว่าไม่คาดเข็มขัด จากสาเหตุ อึดอัด(21%) รู้สึกว่าระยะเดินทางเป็นช่วงสั้นๆ /ไม่มีเข็มขัดนิรภัย/เข็มขัดไม่พร้อมใช้งาน(8.6/8.4/8.3 %) และมีประมาณ  4% ที่ระบุว่า น่าอาย(หากต้องคาดเข็มขัดขณะที่คนอื่นไม่คาด)   5.มีผู้บริโภคถึง 31.4% ที่ไม่ทราบว่า ถ้าไม่คาดเข็มขัดจะมีโทษปรับสูงถึง 5000 บาท มีเพียง 23.9% ที่ทราบ  ทั้งนี้มีผู้ไม่ตอบแบบสำรวจถึง 44.7% ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจไม่แน่ใจในข้อบังคับกฎหมายเกี่ยวกับโทษปรับดังกล่าว           สถิติอุบัติเหตุรถตู้โดยสาร มกราคม – กันยายน 2558จำนวน 85 ครั้งบาดเจ็บ 675 รายเสียชีวิต 75 ราย ที่มา โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 170 ผลสำรวจความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ และความปลอดภัยรถโดยสารประจำทางใน กทม.

แม้ว่าปัจจุบันจะมีรถโดยสารสาธารณะเป็นตัวเลือกให้ใช้บริการหลากหลายประเภท ทั้ง รถเมล์ รถตู้ รถแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ เรือด่วน แต่ปริมาณกลับไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ เพราะเมื่อเรามองดูสภาพการจราจรบนท้องถนน โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ทั้งความแออัด ความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย มลภาวะเป็นพิษ ปัญหาเหล่านี้ล้วนยังอยู่คู่ถนนเมืองไทย เป็นปัญหาใหญ่ที่มองยังไงก็ยังไม่เห็นทางออก ระบบขนส่งมวลชนหลักในกรุงเทพฯ คงต้องยกให้กับ รถเมล์ เพราะไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา แม่ค้า หรือว่าพนักงานบริษัท ต่างก็เป็นลูกค้าของ ขสมก. ทั้งสิ้น แน่นอนว่าปัญหาจากบริการรถโดยสารสาธารณะส่วนหนึ่งย่อมมาจากรถเมล์ แต่ปัญหาเหล่านั้นมีอะไรบ้าง การสอบถามจากปากคนที่ใช้บริการรถเมล์เป็นประจำน่าจะช่วยให้เราได้รู้ถึงสิ่งที่ยังเป็นปัญหาและสิ่งที่ผู้บริโภคที่ใช้บริการต้องการให้เกิดการปรับปรุง สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ทำการสำรวจ “พฤติกรรมการใช้ ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ และความปลอดภัยในการใช้รถโดยสารประจำทาง” โดยประเด็นที่ทำการสำรวจมีอย่างเช่น พฤติกรรมก่อนและหลังใช้บริการ, ทัศนคติต่อความปลอดภัยของจุดจอดรับ-ส่ง, เหตุผลในการเลือกใช้บริการ, ระยะเวลาในการรอรถโดยสาร, สภาพรถภายในและภายนอก ฯลฯ โดยการสำรวจความคิดเห็นได้แบ่งประเภทการสำรวจรถโดยสารเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ รถโดยสารประจำทางในกทม.และปริมณฑล กับรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด ซึ่งฉลาดซื้อขอเลือกนำเสนอในประเด็นรถโดยสารประจำทางใน กทม.และปริมณฑลก่อน เพื่อประกอบกับบทความเรื่องเด่นซึ่งเกี่ยวกับรถโดยสารประจำทางพอดี ข้อมูลเฉพาะของการสำรวจ *ปริมาณตัวอย่างในการเก็บข้อมูล 307 ตัวอย่าง *สถานที่ในการสำรวจ : บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บริเวณสวนจตุจักรและเซ็นทรัลลาดพร้าว บริเวณเดอะมอลล์งามวงศ์วานและพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน บริเวณเซ็นทรัลบางนาและสี่แยกบางนา บริเวณเซ็นทรัลปิ่นเกล้าและเมเจอร์ปิ่นเกล้า   ข้อสรุปจากผลสำรวจ -รถเมล์หรือรถโดยสารประจำทาง ยังคงเป็นตัวเลือกแรกในการเดินทางของคนกทม.และปริมณฑล ด้วยเหตุผลของราคาที่ถูกกว่าวิธีการเดินทางประเภทอื่นๆ มากถึง 59% โดยมีผู้ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยเพียงแค่ 3% เท่านั้น -ในการเดินทางโดยรถประจำทางในกทม. ผู้ใช้ยังต้องต่อรถโดยสารมากกว่า 1 ต่อเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางถึง 31% -ระยะเวลาในการรอรถ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คือ 41% บอกว่าต้องใช้เวลารอ 16-30 นาที ขณะที่มี 3% ที่ต้องรอรถนานมากกว่า 1 ชั่วโมง -เรื่องความถี่ของการมาของรถโดยสารประจำทางในกทม. พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามคือ 56% รู้สึกพอใจในระดับปานกลาง -สภาพรถทั้งภายนอกและภายใน ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งหนึ่งรู้สึกพอใจในระดับปานกลาง คือ 52% สำหรับสภาพรถภายนอก และ 57% สำหรับสภาพรถภายใน -มารยาทการให้บริการของพนักงานขับรถ ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งหนึ่งรู้สึกพอใจปานกลาง คือ 57% -การรับส่งผู้โดยสารนอกป้าย แม้ว่า 55% ของผู้ตอบแบบสอบถามจะบอกว่าไม่เคยพบปัญหาดังกล่าว แต่อีก 45% ที่เหลือเคยเจอปัญหารถโดยสารประจำทางการรับส่งผู้โดยสารนอกป้าย ซึ่งต้องถือว่าเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูง -ความรู้สึกปลอดภัยโดยรวม 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกพอใจมาก ส่วนอีก 37% รู้สึกพอใจปานกลาง ขณะที่มี 6% รู้สึกไม่พอใจมากที่สุด                  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 107 กระแสต่างแดน

เราไม่เอารถประจำทาง เราที่ว่านี้ไม่ใช่ใคร เป็นผู้ประกอบการรถตู้โดยสารไม่ประจำทางแบบดั้งเดิมของเมืองโจฮันเนสเบิร์กที่ออกมาชุมนุมต่อต้านการเปิดให้บริการรถโดยสารประจำทางที่รัฐบาลจะจัดให้มีขึ้นก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกในเดือนมิถุนายนปีนี้คนกลุ่มนี้บอกว่าถ้ามีรถประจำทางขึ้นมาเมื่อไร พวกเขาก็มีแต่เจ๊ง แต่ผู้บริโภคนั้นแสนจะยินดีที่จะได้นั่งรถประจำทางที่เชื่อถือได้ ตรงเวลาและปลอดภัย เพราะทนไม่ไหวแล้วกับบริการรถตู้ที่พวกเขาต้องเสี่ยงกับคนขับที่อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ขับรถก็หวาดเสียวแถมยังหยาบคายอีกต่างหากเพื่อเป็นการรองรับบรรดาแฟนๆ ที่จะมาเชียร์ทีมของตัวเองในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 19 ที่สาธารณรัฐอัฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ รัฐบาลจึงจัดระบบการขนส่งใหม่ที่จะให้บรรดารถตู้และรถบัสที่ต่างคนต่างวิ่งกันอยู่ในขณะนี้มารวมตัวกันตั้งบริษัท โดยเจ้าของรถแต่ละคนก็จะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทด้วย ค่าตอบแทนก็จะขึ้นอยู่กับระยะทางสะสมที่ทำได้ (ไม่ใช่จำนวนผู้โดยสาร) และชั่วโมงทำงานจะลดลงจากวันละ 12 – 16 ชั่วโมงเหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมงเท่านั้นแม้บริการที่เคยทำมาจะไม่เป็นที่ประทับใจเห็นๆ แต่ธุรกิจรถตู้โดยสารไม่ประจำทางนี้เป็นหนึ่งในไม่กี่ธุรกิจที่อนุญาตให้คนผิวสีสามารถทำได้ ดังนั้นคนเหล่านี้จึงอ่อนไหวกับเรื่องนี้มากและมองว่ารัฐบาลกำลังแย่งสิ่งที่เป็นของพวกเขาไป แม้รัฐบาลจะประกาศยกเลิกนโยบายแบ่งแยกสีผิวไปได้ 15 ปีแล้ว แต่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มรถตู้โดยสารนั้นยังไม่ดีขึ้นเลย  ปัจจุบันร้อยละ 40 ของรถรับจ้างที่วิ่งอยู่ในเมืองโจฮันเนสเบิร์กนั้นเป็นรถเถื่อนด้วย ------------------------------------------------------------------------------------ ผู้ดีซื้อเพลงแพงคนอังกฤษที่ซื้อเพลงผ่านร้านเพลงออนไลน์นั้น อาจพลาดโอกาสในการประหยัดเงินไปถึงปีละ 1,200 ปอนด์ (ประมาณ 64,000 บาท) เลยทีเดียว ไม่ใช่เพราะเพลงออนไลน์ขายแพงกว่าเพลงในแผ่นซีดีตามร้าน แต่เพราะตลาดเพลงออนไลน์ซึ่งมีมูลค่าถึง 120 ล้านปอนด์นั้น ไม่มีการควบคุมราคาที่ชัดเจน จึงทำให้แต่ละร้าน (ซึ่งในที่นี้ก็คือเว็บไซต์) ตั้งราคาขายแตกต่างกันไปเว็บไซต์ www.tunechecker.com ซึ่งเป็นเว็บที่รวมร้านขายเพลงออนไลน์ และเป็นเว็บที่ทำการสำรวจดังกล่าว ยกตัวอย่างกรณีอัลบั้มของไมเคิล บลูเบล ซึ่งขายในราคา 8 ปอนด์ (ประมาณ 425 บาท) ที่เว็บ iTunes แต่สามารถซื้อได้ในราคา 5 ปอนด์ (ประมาณ 265 บาท) ในเว็บอเมซอน อีกตัวอย่างคือถ้าซื้ออัลบัมเพลงฮิต 40 อัลบั้มต่อปี จากร้าน Play เพียงร้านเดียว ผู้ซื้อจะต้องใช้เงินทั้งหมด 3,235 ปอนด์ (170,000 บาท) แต่ถ้าลองใช้เวลาค้นหาราคาที่ถูกที่สุดของแต่ละอัลบั้มนั้น จะใช้เงินเพียงแค่ 1,980 ปอนด์ (105,600 บาท) นอกจากนี้ยังพบว่ามีคนอังกฤษจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่าต้องซื้อเพลงจากเว็บใดเว็บหนึ่งเท่านั้นจึงจะสามารถนำมาเล่นกับอุปกรณ์เครื่องเสียงของที่ตนมีได้  ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วพวกเขาสามารถซื้อเพลงจากร้านออนไลน์ร้านใดก็ได้ผลสำรวจย้ำว่าเพลงยิ่งดังก็ยิ่งมีร้านเสนอขายในราคาที่แตกต่างกันหลายระดับ ถ้าผู้บริโภครักอยู่ร้านเดียวไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ก็ยิ่งมีโอกาสเสียเงินโดยไม่จำเป็นมากขึ้น ------------------------------------------------------------------------------------- สูตรใครก็ได้ แต่ต้องไม่อ้วน ข่าวเรื่องบริษัทยักษ์ใหญ่จากอเมริกาผู้ผลิตขนมหวานรสช็อคโกแลตจะเข้าครอบครองกิจการของบริษัทประเภทเดียวกันที่อังกฤษ ทำให้มีคนออกมาแสดงความวิตกว่ารสชาติแบบดั้งเดิมของช็อคโกแลตอังกฤษนั้นอาจจะต้องจบสิ้นลงเขาว่ากันว่าคนสองประเทศนี้กินช็อคโกแลตกันคนละรส สูตรของทางเมืองผู้ดีนั้นเขากำหนดให้มีปริมาณโกโก้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 และใช้เมล็ดโกโก้จากฝั่งตะวันตกของอัฟริกา ส่วนในอเมริกานั้นแม้จะมีส่วนผสมของโกโก้เพียงร้อยละ 10 ก็สามารถเรียกว่าช็อคโกแลตได้แล้ว และวัตถุดิบที่ใช้คือเมล็กโกโก้จากอเมริกาใต้ (แต่คนในภาคพื้นยุโรปฟังแล้วคงเชิดใส่ เพราะเขาชอบช็อคโกแลตเข้มๆ จึงต้องมีโกโก้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 40 ของส่วนผสม)แต่ไม่ว่าจะผลิตจากสูตรไหน เจ้าช็อคโกแลตเหล่านี้หรือเรียกให้ถูกว่าขนมหวานรสช็อคโกแลต ถูกจับตามานานแล้วว่าเป็นตัวการหนึ่งทำให้เด็กและผู้ใหญ่ยุคนี้มีน้ำหนักเกินสำนักงานมาตรฐานอาหารของอเมริกาจึงกำหนดให้ภายในปีค.ศ. 2012 ขนมที่มีช็อคโกแลตเป็นส่วนประกอบจะต้องลดขนาดลงมาให้เหลือเพียงชิ้นละไม่เกิน 50 กรัม ถ้าเป็นช็อคโกแลตแท่งก็ต้องมีขนาดไม่เกิน 40 กรัมด้วย โลกจะแตกในปี 2012 อย่างในหนังเขาว่าหรือไม่เรายังไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ เราจะได้เห็นขนมหวานที่ขนาดเล็กลงแน่นอน -----------------------------------------------------------------   จากเครดิต สู้เดบิตปัจจุบันคนอเมริกันเป็นหนี้บัตรเครดิตไม่ต่ำกว่า เก้าแสนเจ็ดหมื่นล้านเหรียญ (จากตัวเลขเมื่อปลายปี พ.ศ. 2551) และแต่ละครัวเรือนที่มีบัตรเครดิตประมาณ 10,679 เหรียญ (ประมาณ 350,000 บาท)ร้อยละ 78 ของครัวเรือนอเมริกัน หรือประมาณ 91 ล้านครัวเรือน มีบัตรเครดิตมากกว่าหนึ่งใบ โจราธาน เลวาฟ อาจารย์ด้านการตลาดแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย บอกว่าประเทศอเมริกานั้นเป็นสังคมที่เน้นการบริโภคอย่างยิ่ง เรียกว่าเป็นบริโภคนิยมที่ฉีดสเตียรอยด์เข้าไปด้วยเลยทีเดียว แต่ขณะนี้คนอเมริกันหันมาใช้บัตรเดบิตกันมากขึ้น ปี 2007 มีคนใช้บัตรเดบิตประมาณร้อยละ 65 อีกหนึ่งปีถัดมาสถิติการใช้เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 72 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำทำให้คนต้องการออมมากขึ้น และบัตรเดบิตก็ดูเหมือนจะเป็นการจัดการงบประมาณของตนเองได้ดีกว่า และไม่เป็นการนำเอาเงินในอนาคตมาใช้พูดถึงเรื่องบัตรเครดิตก็ต้องยกตัวอย่างพฤติกรรมของบริษัทบัตรเครดิตที่ไม่น่ารัก ที่สหภาพผู้บริโภคหรือ Consumers Union ของอเมริกา เขาประณามไว้เสียหน่อย ขณะนี้บริษัทบัตรเครดิตทั้งหลายกำลังรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยกันยกใหญ่ พูดง่ายๆ คือรีบเก็บซะก่อนที่กฎหมายว่าด้วยบัตรเครดิตของอเมริกาจะมีผลบังคับใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า บางบริษัทก็ใช้วิธีหลอกล่อให้ลูกค้าต้องยอมรับอัตราดอกเบี้ยใหม่ไปโดยไม่รู้ตัว และหลายบริษัทเพิ่มอัตราขั้นต่ำในการชำระหนี้ขึ้นกว่าร้อยละ 250 นอกจากนี้ยังมีการใช้มุข “คืนดอกเบี้ย” เช่นบางแห่งคิดดอกเบี้ยถึงร้อยละ 29.9 แต่อ้างว่าจะลดดอกเบี้ยให้ร้อยละ 10 ถ้าลูกค้าจ่ายตรงเวลา ซึ่งความจริงนี่ก็คือการแอบขึ้นดอกเบี้ยนั่นเอง หลายๆ แห่งที่อ้างว่าใช้อัตราดอกเบี้ยแบบผันแปร ก็ไม่ได้ใช้ในแบบที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคแต่อย่างใด เพราะพวกเล่นกำหนดอัตราขั้นต่ำเอาไว้ด้วย คือสูงเท่าไรก็จะขอเก็บเท่านั้นแต่ถ้าต่ำมากเกินไปกลับไม่ยินยอม (แล้วนี่มันเป็นอัตราผันแปรตรงไหนเนี่ย) น่าจะบอกกันตรงๆ ว่าผันแปรแต่ขาขึ้นเท่านั้นก็หมดเรื่อง --------------------------------------------------------------------------------- อเมริกันชนยังต้องใช้ยาแพงต่อไปอเมริกากำลังจะออก พรบ. ปฏิรูประบบสุขภาพ ฉบับใหม่เร็วๆ นี้ ซึ่งต้องใช้งบประมาณกว่า 800,000 ล้านเหรียญ(26 ล้านล้านบาท) มาดูกันให้ชัดๆ ว่าอเมริกา “เปลี่ยน” ไปอย่างที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ลั่นวาจาไว้หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ คนอเมริกันจะยังคงใช้ยาแพงเหมือนเดิม เพราะวุฒิสภาไม่รับข้อเสนอเรื่องการนำเข้ายาราคาถูกจากเพื่อนบ้านอย่างแคนาดา ยิ่งไปกว่านั้นอเมริกันชนยังต้องรอถึง 12 ปี กว่าจะซื้อยาสามัญประเภทชีววัตถุ (เช่น ยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง) ในราคาที่ถูกลงได้ เพราะร่างพรบ.ฉบับนี้ให้สิทธิกับบริษัทผู้ผลิตยาชื่อการค้าประเภทชีววัตถุ ผูกขาดการขายยาดังกล่าวได้ถึง 12 ปี แถมต่อไปนี้ อย.ของสหรัฐจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจรับรองยาประเภทชีววัตถุจากผู้ผลิตยาชื่อสามัญอีกด้วย แต่เชื่อหรือไม่ว่าร่างฉบับนี้ยกเลิกภาษีร้อยละ 5 ที่เคยเก็บจากบริการเสริมความงามอย่างการฉีดโบท็อกซ์ลบริ้วรอย ผ่าตัดเสริมหน้าอก หรือลดไขมันหน้าท้อง ข่าวบอกว่าผู้ผลิตโบท็อกซ์รายใหญ่อย่าง Allergen Inc และแพทย์ศัลยกรรมได้ร่วมกันล็อบบี้ไม่ให้มีการเก็บภาษีจากบริการดังกล่าวโดยอ้างว่าจะมีผลกระทบต่อผู้หญิงวัยทำงานจำนวนมาก ข่าวบอกว่าเหตุที่รัฐบาลนี้ดูจะเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจยาและสุขภาพเป็นพิเศษนั้น น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่นายโอบามาเคยรับเงินบริจาคถึง 20 ล้านเหรียญจากบริษัทเหล่านี้ ในการรณรงค์หาเสียงในเมื่อสองปีก่อน “เปลี่ยน” ที่ว่านี่สงสัยจะหมายถึงโอกาสเข้าถึงยารักษาโรคที่น้อยลง ในขณะที่โอกาสในการเข้าถึงบริการศัลยกรรมความงามเปลี่ยนโฉมเพิ่มขึ้นนี่เอง  

อ่านเพิ่มเติม >