ฉบับที่ 189 อนุสรณ์ พุ่มพวง ผู้ประสบภัยจาก “ประกันภัย”

“ผมอายุ 64 ปี เรียนจบด้านวิศวกรรมเคยทำงานเป็นวิศวกรอยู่บริษัทแห่งหนึ่ง แต่ตอนนี้เป็นเจ้าของโรงงานเซรามิคเล็กๆ อยู่ที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร คุณอนุสรณ์ พุ่มพวง เริ่มเล่าเรื่องราวของตัวเองให้เราฟังด้วยความมุ่งมั่น ต่อไปนี้คือการต่อสู้ของผู้บริโภคเล็กๆ ที่ฉลาดซื้ออยากให้ทุกคนเป็นกำลังใจให้อยากให้เล่าถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นผมมีลูกชายคนเดียว พอผมเริ่มอายุมากแล้วจึงทำประกันชีวิตกับ บ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต ประเภทบำนาญพิเศษเพื่อหวังเงินขวัญวันเกิด(เงินปันผลประจำปี) ที่จะเป็นทุนการศึกษาให้แก่ลูกต่อไปในภายหน้า โดยคาดไม่ถึงว่า บ.ประกันชีวิตของธนาคารฯ จะขาดวินัยทางการบัญชี ความซื่อสัตย์ และขาดจรรยาบรรณในวิชาชีพถึงเพียงนี้ นับว่าเป็นการตัดสินใจในทางที่ผิดเก็บเงินฝากธนาคารออมสินทุกเดือนจะดีกว่า ข้อพิพาทกับ บ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิตของผม หลักๆ คือผมถูกแปลงกรมธรรม์ โดยอ้างว่าผมจ่ายเบี้ยเกินระยะเวลาแต่ทางบริษัทฯ ไม่เคยมีการแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานะกรมธรรม์ของผม ผมขอแยกเป็นหัวข้อดังนี้ข้อที่ 1 การชำระเบี้ยประกันโดยตัดบัญชีเงินฝากธนาคาร โอนเงินผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทประกันควรจะต้องยึดถือว่าวันเวลานั้นๆ คือเวลาที่แท้จริงของการชำระเงิน ใบเสร็จรับเงินต้องระบุให้ถูกต้องตามความเป็นจริง แต่ของผมไม่ตรงไปตรงมา ซึ่งองค์กรที่ขาดวินัยปัญหาก็จะตามมาทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทำเงินหายหรืออะไรก็ตาม ฉะนั้นผู้บริโภคไม่ว่าจะชำระค่าอะไรที่ธนาคารจะต้องเก็บใบเสร็จรับเงิน (ใบโอนเงินที่ธนาคารออกให้) ทุกครั้งเพราะเราไม่รู้ว่าธนาคารแต่ละแห่งมีวินัยและจรรยาบรรณในวิชาชีพเพียงใด เพราะคุณค่าขององค์กรไม่ได้ขึ้นอยู่กับสำนักงานใหญ่โตสูง 10-20 ชั้นข้อที่ 2 การจ่ายเงินขวัญวันเกิด(เงินปันผล) บริษัทฯ ก็ไม่ยอมจ่ายแต่อ้างว่าจะนำไปหักเงินกู้อัตโนมัติที่ค้างอยู่ (หักหรือเปล่าก็ไม่รู้เพราะบริษัทให้ข้อมูลไม่เคยตรงกันเลย) อธิบายได้ว่าตามข้อกำหนดของกรมธรรม์(ทุกๆ กรมธรรม์) ระบุว่าเมื่อชำระเบี้ยประกันมาจนถึงสิ้นปีกรมธรรม์ที่ 2 (มีมูลค่าเวนคืนเกิดขึ้นแล้ว) เมื่อถึงกำหนดชำระเบี้ยประกันและเลยระยะเวลาผ่อนผัน 31 วันไปแล้วยังไม่ชำระเบี้ยประกันก็จะเป็นการใช้มูลค่าเวนคืนมาชำระเบี้ยประกันโดยอัตโนมัติ พูดง่ายๆ ว่ากู้เงินเขามาชำระเบี้ยประกันโดยมีมูลค่าของกรมธรรม์ค้ำประกัน เพื่อให้สิทธิที่พึงมีพึงได้ยังคงอยู่ทุกอย่างทุกประการ ฉะนั้นถึงเวลาจ่ายก็ต้องจ่ายตามเงื่อนไขกรมธรรม์จะอ้างว่านำไปหักเงินกู้อัตโนมัติไม่ได้ สมมติว่าผู้บริโภคทำประกันสุขภาพไว้กับบริษัทประกันเมื่อมีมูลค่าเวนคืนเกิดขึ้นแล้วแต่มีเงินกู้อัตโนมัติค้างอยู่ถึงเวลาเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาลขึ้นมา บ.ประกันจะอ้างได้ไหมว่าฉันจะจ่ายให้แต่ต้องนำมาหักเงินกู้อัตโนมัติก่อน สรุปคือคุณต้องนอนห้องอนาถาไม่ใช่ห้องพิเศษวันละ 3,000 ตามที่ทำประกันไว้ เรื่องนี้ใครรู้ช่วยคิดหน่อยข้อที่ 3 การปฏิเสธไม่ยอมรับเบี้ยประกัน เวลากรมธรรม์มีมูลค่าเวนคืนเกิดขึ้นแล้ว เวลาขาดส่งเบี้ยประกันก็จะเป็นการกู้อัตโนมัติ เวลาจะชำระเงินกู้อัตโนมัติคืนเป็นงวดๆ พร้อมดอกเบี้ยก็ย่อมทำได้แต่ บ.ไทยพาณิชย์ประกันภัยไม่ยอมจะเอาคืนทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยหรือผู้เอาประกันจะใช้สิทธิชำระในงวดปัจจุบัน บริษัทฯ ก็ไม่ยอมเช่นกัน ในเมื่อเขาไม่ยอมเขาจึงปล่อยให้เป็นเงินกู้อัตโนมัติไปเรื่อยๆ จนกรมธรรม์แปรสภาพไปโดยปริยายในข้อ 3 นี้ขอนำเสนอเป็นแผนภูมิประกอบคำอธิบาย A B C D Eมูลค่าเวนคืนที่จุด A มีมากๆจุด B เป็นเงินกู้อัตโนมัติจุด C เป็นเงินกู้อัตโนมัติจุด D คืองวดชำระเบี้ยประกันถามว่าก่อนถึงจุด D (คือจุด X) ผู้เอาประกันค้างชำระอยู่ 2 งวดขอชำระ 1 งวด (ชำระ B) พร้อมดอกเบี้ย เขาไม่ยอมรับจะเอาที่ค้างชำระหนี้ทั้งหมด ถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่ข้อที่ 4 การแปลงกรมธรรม์เป็นการขยายเวลาโดยมูลค่าเวนคืนยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ การชำระเบี้ยเป็นประเภทราย 4 เดือนคือ 1 รอบปีกรมธรรม์ชำระ 4 ครั้ง บ.ไทยพาณิชย์ฯ ตีความข้อกำหนดของกรมธรรม์ว่าเงินกู้อัตโนมัติกู้ได้ไม่เกินสิ้นปีกรมธรรม์เท่านั้น นั่นคืองวดปีกรมธรรม์ที่ 3 และงวดที่ 4 กู้อัตโนมัติไปแล้ว ต่อไปงวดปีที่ 4 งวดที่ 1 จะกู้ไม่ได้อีก จึงแปลงกรมธรรม์เป็นการขยายเวลาถ้าการตีความดังกล่าวชอบด้วยข้อกำหนดของกรมธรรม์ก็เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และการแปลงกรมธรรม์เป็นการขยายเวลาไปแล้ว สิทธิและผลประโยชน์ต่างๆ จะหมดไปจะเหลือประการเดียวถ้าตายลงภายในระยะเวลาที่กำหนด บ.ประกันจะจ่ายให้เพียง 1 เท่าของทุนประกันเท่านั้นในระบอบทุนนิยมที่นายทุน เป็นผู้กำหนดบทบาทของรัฐบาลมาเป็นเวลาช้านานทำให้ผู้บริโภคโดนเอารัดเอาเปรียบ ฉ้อฉลเป็นอย่างมาก ประกอบกับกลไกคุ้มครองผู้บริโภคภาครัฐล้มเหลว สิ่งที่จะเป็นดุลอำนาจในการต่อรองคือภาคประชาชน มีคำพูดของท่านปลัดอำเภอกระทุ่มแบน(ศูนย์ดำรงธรรม) ว่า “ลุงไปร้องทุกข์มาครบถ้วนตั้งแต่เทศบาล คปภ.จังหวัด คปภ.กรุงเทพฯ ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไม คปภ. เป็นหน่วยงานของรัฐแก้ปัญหาให้ประชาชนไม่ได้ ให้ลุงไปที่ศาลเถอะเขาจะช่วยลุงเอง”ช่วงของการเตรียมเอกสารก่อนขึ้นศาล ต้องเตรียมอย่างไรบ้างคะก็ต้องมานั่งรวบรวมเอกสารเป็นหมวดเป็นหมู่ ตอนแรกเราเก็บใบเสร็จรับเงินไว้แบบไม่เรียบร้อย คือที่บ้านมีกล่องอยู่กล่องนึงเราเอาเอกสารใส่ไว้ในนั้น เราต้องรวบรวมมา แล้วไปขอความรู้ที่เนติบัณฑิตสภา ที่โน้นที่นี่ภายในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งพอไปจริงๆ เขาก็ไม่รู้อะไรเท่าไร ไม่รู้ข้อกำหนดของกรมธรรม์เลย ไปๆ มาๆ เลยไปได้อาจารย์คนหนึ่งที่ห้องคุ้มครองผู้บริโภค ที่เป็นคนร่างสำนวนฟ้องให้นั่นแหล่ะ คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ เป็นเหมือนอาจารย์คอยให้ความรู้ทางกฎหมาย ผมจึงไปฟ้องศาลเขียนคำฟ้องโดยไม่มีทนาย(คดีผู้บริโภค) มีนิติกรที่ศาลคอยช่วย ใช้เวลาเขียนคำฟ้องอยู่ 6 เดือน จนศาลรับฟ้องแล้วอยู่ในขั้นเจรจาไกล่เกลี่ย แต่ผลปรากฏว่าการเจรจาไกล่เกลี่ยนั้นตกลงกันไม่ได้ เพราะผมขอเงินคืนทั้งหมดไม่ทำประกันแล้วเพราะเขาเป็นฝ่ายผิดสัญญา ถึงเวลาจ่ายเงินปันผลเขาต้องจ่ายจะบ่ายเบี่ยงไม่ได้ ครั้งแรกเขาให้การกับ คปภ. สมุทรสาครว่า เงินปันผลจะนำไปหักกับเงินกู้อัตโนมัติ ต่อมาที่ คปภ. กรุงเทพฯ เขาบอกว่าต้องจ่ายเงินให้ครบก่อน ถึงจะมีสิทธิได้เงินปันผล คำพูด 2 ครั้งของเขาขัดแย้งกัน ในขั้นตอนการไกล่เกลี่ยทางบริษัทฯ เขาพูดกับผมว่ายังไงๆ เขาสู้ถึงอุทธรณ์ ฎีกาอยู่แล้ว ผมเห็นว่าคงสู้ไม่ไหวจึงมีความคิดว่าเราต้องใช้ธรรมะปราบอธรรมแล้วบังเอิญได้ดูข่าวของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจากไทยรัฐก็เลยรู้จักมูลนิธิฯ จึงมาขอความช่วยเหลือ ทางมูลนิธิฯ ก็ให้ความช่วยเหลือจัดหาทนายลงไปช่วย ซึ่งศาลสมุทรสาครจะมีคำตัดสินในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 นี้อยากฝากถึงผู้อ่านที่ได้อ่านเรื่องนี้เกี่ยวกับการทำประกันอย่างไรบ้างเพื่อจะได้รู้เท่าทันการแปลงกรมธรรม์เป็นการขยายเวลาก็ดีหรือการแปลงกรมธรรม์แบบใช้เงินสำเร็จก็ดีจะทำให้สิทธิการได้รับผลประโยชน์ในผู้ประกันตนสูญหายไป เพราะฉะนั้นการแปลงกรมธรรม์ตัวนี้ในมุมของกฎหมายก็คือยุติสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของนิติกรรมต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าให้รับรู้ ในกรณีของผมนี้เขาต้องบอกให้รับรู้ว่าสถานะกรมธรรม์ของผมเป็นอย่างไร แต่เขาไม่ได้ทำ ดังนั้นหากใครทำประกันอยู่ จึงต้องหมั่นตรวจตราในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเจอปัญหาคล้ายๆ ผมหรือยังไม่เจอปัญหาก็ตาม การทำประกันหรือทำธุรกรรมต่างๆ ต้องเก็บเอกสารการโอนเงินให้ดี ใบเสร็จรับเงินที่เขาให้มาต้องเก็บไว้ทุกครั้งเพราะวันดีคืนดีเขาบอกมาว่าไม่ได้รับเงิน ถ้าไม่ได้เก็บใบเสร็จไว้ถ้าแล้วตายขึ้นมาลูกหลานไม่รู้เรื่องอะไรเลยก็อาจจะโดนเขาหลอกจนลูกหลานเราไม่ได้อะไรเลย แล้วมันเป็นไปได้ยากที่คนเรา ยิ่งหาเช้ากินค่ำด้วยแล้ว จะมาเก็บเอกสารพวกนี้แยกเป็นหมวดหมู่ทุกครั้ง แล้วยิ่งมาเจอบริษัทประกันที่ไม่มีวินัยทางการเงินแบบนี้ ทาง คปภ. ต้องมีมาตรการในจัดการ ต้องมีอำนาจควบคุมดูแลจะมาบอกว่าไม่รู้ๆ ไม่ได้สิ่งที่พวกเราผู้บริโภคจะช่วยกันสร้างดุลอำนาจต่อรองคือ1. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคต้องเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง อุปมาเหมือนกับมูลนิธิคือปืนแต่ลูกกระสุนไม่ค่อยมี เพราะไม่มีเงินซื้อลูกปืนขอให้ผู้มีจิตสาธารณะรักความยุติธรรมช่วยกันเสริมสร้างในมูลนิธิฯ เข้มแข็งขึ้น2. ขอให้องค์กรส่วนจังหวัด เทศบาล อำเภอ อบต. จัดสัมมนาให้ความรู้ถึงสิทธิของผู้บริโภคในเรื่องต่างๆ ทุกๆ ปี3. ให้รัฐบาลออกกฎหมายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนและจัดสรรงบประมาณให้องค์กรนั้นๆ ทุกๆ ปี นี่คือความจำเป็นโดยรีบด่วนที่ต้องทำให้สำเร็จในรัฐบาลชุดนี้ หากระบบทุนนิยมกำหนดรัฐบาลได้จะกระทำได้ยาก4. ขอให้มีการออกข้อกำหนดเรื่องการอุทธรณ์และฎีกาว่าคดีผู้บริโภคจะต้องมีคำพิพากษาโดยเร็ว เพื่อให้ทันในการเยียวยาความเสียหาย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 97 เขยิ้บ...เขยิ้บ...เขยิบ...เขยิบ...เข้ามาจิบ

มีอะไรใน โคด-สะ-นาสมสุข หินวิมาน “เขยิ้บ...เขยิ้บ...เขยิบ...เขยิบ เข้ามาสิ กระแซะ...กระแซะ...กระแซะ...กระแซะ เข้ามาสิ”แม้ว่านักร้องสาวราชินีลูกทุ่งอย่าง พุ่มพวง ดวงจันทร์ จะชีวิตล่วงลับไปแล้วเกินกว่าทศวรรษ แต่บทเพลงที่เธอเคยขับร้องขับขานเอาไว้ ก็ยังคงเป็น “ดวงจันทร์ในดวงใจ” ของคนไทยหลายๆ คน และมีเสน่ห์ชวนฟังจวบจนถึงปัจจุบัน ในทัศนะของผมแล้ว ความคลาสสิกของพุ่มพวง ดวงจันทร์ ไม่ใช่แค่ความสามารถทางน้ำเสียง ลีลา และอารมณ์ของราชินีเพลงเท่านั้นที่สามารถสะกดวิญญาณผู้ฟังได้ หากแต่ความงดงามของท่วงทำนองและเนื้อร้องของเพลงจำนวนมาก ที่ผู้ประพันธ์สามารถบรรจงเรียงร้อยถ้อยคำ ก็ยังสื่อถึงอารมณ์ความเป็นลูกทุ่งชนบทได้อย่างลึกซึ้งและมีความหมายยิ่งนัก ก็อย่างในเพลง “กระแซะเข้ามาสิ” ที่ผมยกมาให้ดูข้างต้น ผมจำได้ว่าในยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง เพลงนี้ถือว่าดังมากๆ เพราะไม่เพียงแต่ลีลาของคุณพุ่มพวงเท่านั้นที่ทั้งร้องเต้นเล่นแสดงได้อย่างสุดยอด แต่ตัวเนื้อเพลงที่พูดถึงจริตแบบหญิงชนบทที่กล้าผูกสัมพันธ์กับชายหนุ่มผ่านเสียงเพลง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นหญิงที่กล้าเชิญชวนให้ผู้ชายที่เขยิบและกระแซะเข้ามาแนบชิด แม้จริตจกร้านแบบนี้ อาจจะดูไม่เหมาะไม่ต้องสำหรับบรรดาคนชั้นกลางที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ แต่สำหรับคนชนบทแล้ว เหตุการณ์แบบนี้ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะว่าแก่นแท้ของเพลงก็คือการผูกข้อต่อสัมพันธ์ระหว่างผู้คน ที่ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย คนวัยไหน สูงต่ำดำขาวอย่างไร หากแต่ถ้าเป็นคนในสังคมเกษตรกรรมแล้ว “สายสัมพันธ์” ระหว่างกันและกัน ถือเป็นกลไกที่หล่อเลี้ยงและหล่อหลอมคุณค่าของสังคมชนบทเอาไว้นั่นเอง แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว แม้แต่ในสังคมเมืองอันทันสมัยเองก็เถอะ ใช่ว่าการพยายามต่อสายใยความสัมพันธ์ก็มิได้จางหายไปเสียเลย ผมเองกำลังสงสัยว่า การผูกสายสัมพันธ์ทำนองนี้ก็ยังมีอยู่ในสังคม เพียงแต่ว่าอาจไม่ได้แนบแน่นหรือกระแซะกันจนเข้ามาชิดกันขนาดนั้น หรืออีกนัยหนึ่ง ก็อาจเป็นเพียงสายสัมพันธ์แบบที่มีจริตบางชนิดบางอย่าง อันแตกต่างไปจากที่สัมผัสได้จากผู้คนในวิถีเกษตรดั้งเดิม ผมเห็นงานโฆษณาโทรทัศน์ชิ้นหนึ่งที่พยายามบอกคนดูเหมือนกันว่า แม้แต่ในเมืองอุตสาหกรรมสมัยใหม่ สายสัมพันธ์ทางสังคมอาจมีความเปราะบางลงไปบ้าง แต่มนุษย์เราก็ยังดิ้นรนที่จะสานสายใยบางๆ บางอย่างเข้าหากันเอาไว้ โฆษณาผลิตภัณฑ์กาแฟชิ้นนี้ เปิดฉากมาด้วยภาพของชายหนุ่มเสื้อลายหน้าตาฝรั่ง เดินก้าวเข้ามาสู่ลิฟต์ที่มีหญิงสาวเสื้อแดงยืนอยู่ท่ามกลางกลุ่มคนในลิฟต์ และเมื่อเขาเริ่มโปรยยิ้มให้เธอ เพลงจิงเกิ้ลโฆษณาก็เริ่มต้นขึ้นว่า “นิดหนึ่ง เพียงแค่เรากระเถิบมานิดหนึ่ง หอมและมีโอกาสที่เธอกับฉันได้ลองเข้ามาชิดกัน อยู่ใกล้กัน นิดหนึ่ง เพียงแค่เธอขยับมานิดหนึ่ง หอมฉันหอมกลิ่นความรัก...รักจากเธอ.....” จากนั้น หญิงชายคู่นี้ต่างก็เดินเข้ามาในออฟฟิศ นั่งที่โต๊ะทำงาน และสัมผัสกับแป้นคอมพิวเตอร์ เริ่มเข้าสู่วังวนแห่งโลกการทำงานแบบโต๊ะใครโต๊ะมัน หญิงสาวทำงานไปได้สักพักก็เริ่มหาวง่วงนอน ฝ่ายชายหนุ่มก็แสร้งสัพยอกหยอกเอิน แกล้งหาวขึ้นบ้าง โดยมีเครื่องบินที่บินอยู่บนฟ้าเป็นแบ็คกราวนด์อยู่นอกหน้าต่าง แถมทำมือล้อเลียนท่ายกหูโทรศัพท์มาคุยกัน และต่อด้วยการชูนิ้วมือเป็นสัญลักษณ์ไอเลิฟยูสื่อถึงเจ้าหล่อน แต่จะหยอกล้ออย่างไร หญิงสาวก็ดูจะยังไม่ยอมกระเถิบหรือขยับเข้ามาหาเลยสักกระผีกหนึ่ง ท้ายสุดชายหนุ่มก็เลยใช้ยุทธศาสตร์ชงกาแฟผงโชยกลิ่นยั่วยวนมาแต่ไกล ด้านหนึ่งก็คงเป็นเพราะว่ากาแฟเองก็มีสารคาเฟอีนที่เชื่อกันว่าน่าจะคลายง่วงให้ผู้ดื่มได้ แต่อีกด้านหนึ่ง หนุ่มหน้าใสก็คงต้องการใช้กลิ่นกาแฟเพื่อโชยอุ่นไอรัก และพัดพามาถึงสาวเจ้าที่กำลังหาวง่วงอยู่ในช่วงเวลางาน แล้วก็ได้ผล เมื่อสาวหน้ามนก็กลายเป็นปลาที่ต้องเหยื่อติดเบ็ด ตามลมดมกลิ่นกาแฟ กระแซะเขยิบเข้ามาประชิดตัวชายหนุ่ม และมิเพียงเท่านั้น กลิ่นกาแฟก็ยังซัดพาเอาคนอื่นๆ ที่อยู่ในออฟฟิศนั้น ต่างพากันกระเถิบเข้ามากินลมชมชื่นจิบรสกาแฟคนละถ้วยสองถ้วย และปิดท้ายด้วยเสียงเพลงที่จบลงด้วยวลีที่ว่า “...แค่นี้ดหนึ่ง” จะว่าไปแล้ว บทเพลง “นิดหนึ่ง...” ที่อยู่ในโฆษณาชิ้นนี้ ก็ฟังดูคล้ายๆ กับเนื้อหาเพลง “กระแซะเข้ามาสิ” แบบที่คุณพุ่มพวงเธอเคยขับร้องเอาไว้ เพียงแต่ภาพที่โฆษณาสร้างมากำกับเนื้อหาเอาไว้ อาจจะมีความหมายบางอย่างที่ดูแตกต่างออกไป ตามหลักทฤษฎีทางสังคมวิทยา จะมีความคิดความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์อยู่ประการหนึ่งว่า คนเรามีความปรารถนาไม่มากก็น้อยที่จะผูกสายสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยกันทั้งสิ้น นักทฤษฎีสังคมวิทยาเกือบจะทุกสำนักมักให้ข้อสรุปร่วมกันว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” คำอธิบายแบบนี้มีนัยยะที่สำคัญว่า มนุษย์เราไม่มีใครที่เกิดจากกระบอกไม้ไผ่ แต่ก่อรูปอยู่ในสถาบันที่เล็กที่สุด ตั้งแต่สถาบันครอบครัวไปจนถึงสถาบันสังคมอื่นๆ ที่ใหญ่กว่านั้น หรือมนุษย์เราเป็นสัตว์โลกที่ล้วนต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน เราจึงต้องอยู่กันเป็นแบบ “สัตว์สังคม” ด้วยเหตุฉะนี้ ทั้งในเนื้อเพลง “กระแซะเข้ามาสิ” และในจิงเกิ้ลของโฆษณา จึงมีจุดร่วมกันที่พูดถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เป็น “สัตว์สังคม” ที่ต้องการผูกสายสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันและกันนั่นเอง ไม่ว่าจะผ่านมาในรูปของการ “กระแซะเข้ามาสิ” แบบคนลูกทุ่งชนบท หรือการ “กระเถิบเข้ามานิดหนึ่ง” แบบพนักงานออฟฟิศในสังคมเมือง แต่อย่างไรก็ดี ในอีกทางหนึ่ง หากเราอ่านระหว่างบรรทัดของภาพสายสัมพันธ์แบบชนบทกับเมืองแล้ว มีข้อเท็จจริงบางอย่างที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน กล่าวคือ หากเป็นคนในสังคมชนบทนั้น สายสัมพันธ์ที่หญิงหนึ่งชายหนึ่งจะกระแซะเข้ามาหากัน มักต้องเกิดเนื่องมาแต่ความสัมพันธ์ที่รู้จักมักจี่กันมาก่อนหน้านั้นแล้ว สังคมชนบทที่ก่อรูปมาจากชุมชนหมู่บ้าน เป็นชุมชนที่อยู่กันเป็นคุ้ง เป็นบาง เป็นหมู่ หรือเป็นสายเครือญาติพี่น้อง สังคมแบบนี้ ผู้คนในคุ้งในบางในหมู่บ้าน ก็อาจถือได้ว่ามีสายสัมพันธ์บางเส้นที่ถูกสร้างขึ้นไว้ก่อน เพราะฉะนั้น การจะกระแซะเข้ามาแนบชิดกันนั้น จึงมีเป้าหมายเพื่อกระชับให้เส้นความสัมพันธ์ดั้งเดิมนั้นเข้มแข็งแนบแน่นขึ้นเป็นหลัก ผิดแผกไปจากสังคมเมืองสมัยใหม่ ผู้คนทำงานในออฟฟิศที่แม้จะทันสมัย แต่ทว่าคนเหล่านั้น ต่างก็มีที่มาที่ไประหว่างกัน หรือถ้าพูดง่ายๆ ก็คือ ขาด “ราก” ที่ร่วมกันระหว่างคนกับคน ก็เหมือนกับในโฆษณานั่นแหละครับ กับวิถีชีวิตในออฟฟิศ ผู้คนที่ขึ้นลงลิฟต์ตัวเดียวกัน ก็อาจจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ห้องทำงานก็เป็นแบบโต๊ะใครโต๊ะมัน หรืออุปกรณ์แบบคอมพิวเตอร์ก็ตัดคนให้มีความสัมพันธ์กับหน้าจอและแป้นพิมพ์ข้างหน้าตนเท่านั้น เทคโนโลยีเหล่านี้จึงไม่ต่างอะไรไปจากสัญลักษณ์อันแสดงความเป็นปัจเจกบุคคลตัวใครตัวมันแทบทั้งสิ้น แต่ด้วยเหตุที่มนุษย์เราต่างต้องอยู่กันเป็น “สัตว์สังคม” ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่หนุ่มหน้าหวานจะทั้งส่งสายตาเอย ทำท่ายั่วยิ้มหยอกเอินเอย หรือทำทุกวิถีทางที่จะส่งสัญญาณไปยังสาวหน้ามนว่า ถึงห้องทำงานและอาคารตึกจะดูทันสมัย แต่ก็ร้างเลือนความรู้สึกอบอุ่นดีๆ ให้แก่กัน ถ้าเช่นนั้น ก็มาผูกสานสัมพันธ์ระหว่างกันและกันสัก “นิดหนึ่ง” เถอะ สำหรับคนในสังคมที่ “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” แล้ว แนวโน้มความสัมพันธ์ของคนทำงาน มักจะแปลกแยกและถูกตัดขาดความสัมพันธ์ระหว่างกัน คนทำงานในตึกอาคารเดียวกัน บางครั้งก็แทบจะไม่รู้จักกันเลย หรือแม้แต่นั่งโต๊ะทำงานติดกัน แต่ชีวิตกลับผูกพันกับหน้าจอคอมพิวเตอร์มากกว่าจะผูกพันกับ “เพื่อน” ที่อยู่ข้าง ๆ เพราะเพื่อนเหล่านั้นก็มีสถานะเป็นแค่เพียงเพื่อนที่ “ร่วมงาน” เท่านั้น เพราะฉะนั้น บทสรุปลงท้ายของโฆษณาชิ้นนี้จึงไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด เพราะหากมนุษย์เราไม่เคยมีสายสัมพันธ์กันมาก่อน จะให้คนทำงานมามัวแต่สัพยอกหยอกล้อเพื่อสร้างสายใยระหว่างกันก็คงเป็นไปได้ยาก โฆษณาจึงให้คำตอบว่า ความพยายามของคนยุคนี้ที่จะสลัดหลุดพ้นไปจากความแปลกแยก ก็ต้องอาศัยอาศัย “วัตถุ” บางอย่าง เช่น กาแฟชงกับกลิ่นโชยมา เพื่อกลายมาเป็นข้อต่อข้อใหม่ที่ผูกโยงคนกับคนขึ้นมา วันนี้ ถ้าคุณชงกาแฟจิบดื่มสักแก้ว ก็อย่าลืมถามหาสายสัมพันธ์ที่ขาดหาย กับสายใยเส้นใหม่ที่คุณกำลังสานสร้างกับเพื่อนรอบตัวขึ้นมาด้วยนะครับ...

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point