ฉบับที่ 97 ข้าวพันธุ์พื้นบ้าน สมบูรณ์ด้วยสารอาหารป้องกันโรค

ทดสอบมูลนิธิชีววิถี มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกและโครงการข้าวปลาอาหารอีสานมั่นยืน ถ้าเห็นคนเฒ่าคนแก่อายุแปดสิบ เก้าสิบที่ยังแข็งแรงมากๆ ไปถามดูเถอะว่ากินอะไรถึงแข็งแรงอายุยืน รายไหนๆ ก็ตอบว่ากินข้าวทั้งนั้น ไม่ได้กินอะไรวิเศษ วิโส อย่างที่มีคนนำมาอวดอ้างขายของกันให้เกร่ออย่างในเวลานี้ ข้าว อาหารหลักของไทยนี่แหละ สุดยอดอาหารที่อุดมด้วยโภชนาการล้นเหลือ โดยเฉพาะ ข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่ถูกลืมเลือนกันไปช่วงเวลาหนึ่ง แต่ตอนนี้ก็มีคนดีที่พยายามอนุรักษ์ไว้ และยังหาทางให้เกิดความยั่งยืนด้วยการแนะนำของดีให้แก่ผู้คนที่เห็นคุณค่าด้วย วิธีหนึ่งที่จะทำให้คนเห็นคุณค่าของข้าวพันธุ์พื้นบ้านก็คือ เปิดเผยข้อมูลสำคัญในเรื่องสรรพคุณที่สุดแสนจะวิเศษของข้าวพันธุ์พื้นบ้านให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะ โดยแผนงานฐานทรัพยากรอาหาร สสส.ร่วมกับ มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกและโครงการข้าวปลาอาหารอีสานมั่นยืน ได้รวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่ชาวบ้านเชื่อกันว่า สามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคได้ ไปวิเคราะห์หาคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล สารอาหารชนิดต่างๆ ที่พบในข้าวพันธุ์พื้นบ้านเบต้าแคโรทีน : ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันมะเร็งบางชนิด เบต้าแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ โดยจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอเมื่อดูดซึมเข้าร่างกาย แล้ว ปกติคนไทยที่เป็นผู้ใหญ่ต้องวิตามินเอประมาณวันละ 800 ไมโครกรัม ข้าวที่มีเบต้าแคโรทีนมาก ได้แก่ข้าวเหนียวก่ำเปลือกดำ ใน 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีน 11.75 ไมโครกรัม รองลงมาได้แก่ ข้าวหน่วยเขือ และ ข้าวเล้าแตก 5.17 ไมโครกรัม และ 4.93 ตามลำดับ ส่วนข้าวเจ้ากล้องทั่วไป ไม่มีเบต้าแคโรทีนจ้ะ แหล่งอาหารที่จะพบเบต้าแคโรทีนมากๆ อีก ได้แก่ พืชผักที่มีสีเขียวเข้ม สีเหลืองหรือสีส้ม เช่น ใบตำลึง แครอท ฟักทอง ผักบุ้ง ยอดแค ส่วนผลไม้มีมากในแตงโมจินตหรา มะละกอ มะม่วงน้ำดอกไม้ วิตามินอี : เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวสำคัญ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดหัวใจวาย ช่วยขยายหลอดเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ผิวพรรณสดใสและช่วยสมานผิวที่เป็นแผลให้หายเร็วขึ้น ปกติคนไทยที่เป็นผู้ใหญ่ต้องวิตามินอีวันละ 10 มิลลิกรัม>ข้าวที่มีวิตามินอีมาก ได้แก่ข้าวหน่วยเขือ 787.31 ไมโครกรัม/ 100 กรัม รองลงมาคือ ข้าวมะลิดั้งเดิม 376.58ไมโครกรัม/100กรัม ข้าวโสมาลี382.60ไมโครกรัม/100กรัม ข้าวหอมมะลิแดง336.62ไมโครกรัม/100กรัม และข้าวเล้าแตก 309.10ไมโครกรัม/ 100กรัม ส่วนข้าวทั่วไปที่ขัดขาว วิตามินอี แทบไม่มีเหลืออีกแล้ว แหล่งอาหารที่จะพบวิตามินอีมากๆ อีก ได้แก่ น้ำมันพืชชนิดต่างๆ ธัญพืชที่ไม่ขัดสีและผักใบเขียว สำหรับผลไม้ที่มีวิตามินอีสูงๆ ได้แก่ ทุเรียน มะม่วงเขียวเสวยและมะม่วงน้ำดอกไม้ลูทีน : ช่วยป้องกันโรคต้อกระจกที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุข้าวที่มีลูทีนมาก ได้แก่ข้าวก่ำเปลือกดำข้าวหน่วยเขือ 14.37ไมโครกรัม/100 กรัม ข้าวช่อขิง10.29 ไมโครกรัม/100 กรัม ข้าวมะลิดั้งเดิม 9.48 ไมโครกรัม/100 กรัม และข้าวเล้าแตก 8.51 ไมโครกรัม/100 กรัม 240.09 ไมโครกรัม/100 กรัม รองลงมาได้แก่ แหล่งอาหารที่จะพบลูทีนได้อีก จริงๆ ลูทีนมีมากในนมแม่ เด็กที่ดื่มนมแม่จะมีสุขภาพตาที่ดีมาก นมผงไม่มีเลยต้องพยายามหามาใส่ลงไปทดแทน สำหรับผู้ใหญ่นอกจากข้าวพื้นบ้าน ลูทีนยังพบในผักใบเขียวอย่างผักคะน้า ผลไม้ที่มีสีส้ม สีเหลือง ใช่แล้ว...ลูทีนเขาก็อยู่ในผัก ผลไม้กลุ่มเดียวกับเบต้าแคโรทีนนั่นเอง เหล็ก: มีบทบาทสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจาง เสริมระบบภูมิคุ้มกัน และยังมีผลต่อระดับสติปัญญาด้วย ร่างกายต้องการธาตุเหล็กไม่มาก วันหนึ่งประมาณ 15 มิลลิกรัม แต่ก็สำคัญขาดไม่ได้ ข้าวที่พบว่ามีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ข้าวหน่วยเขือ1.22 มิลลิกรัม/100 กรัม ข้าวมะลิแดง 1.2 มิลลิกรัม/100 กรัม ข้าวเหนียวก่ำเปลือกดำ 0.95 มิลลิกรัม/100 กรัม และข้าวเล้าแตก 0.91 มิลลิกรัม/100 กรัม ส่วนข้าวเจ้ากล้องทั่วไปมีธาตุเหล็ก 0.42 มิลลิกรัม/100 กรัม แหล่งอาหารที่พบ ก่อนอื่นทำความเข้าใจก่อน เหล็กในอาหารมีสองรูปแบบ คือ ฮีมกับไม่ใช่ฮีมความสำคัญคือ เหล็กในรูปฮีม ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่า เหล็กในรูปฮีมมีอยู่ในเลือด ตับและเนื้อสัตว์ต่างๆ อาหารทะเล ส่วนเหล็กในพืชจะอยู่ในรูปที่ไม่ใช่ฮีม ร่างกายดูดซึมได้น้อยทองแดง : เป็นส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์จำนวนมากในร่างกาย ทำงานคู่กับเหล็กในการสร้างเม็ดเลือดแดง สร้างเนื้อเยื่อระบบประสาท สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระด้วยปกติคนเราต้องการทองแดงไม่มาก แค่วันละ 2 มิลลิกรัมเท่านั้นข้าวที่พบทองแดงมาก ได้แก่ ข้าวหน่วยเขือ มีทองแดง 0.5 มิลลิกรัม/100 กรัม หอมมะลิแดง 0.43 มิลลิกรัม/100 กรัม และข้าวเหนียวหอมทุ่ง (ขัดขาว) 0.38 มิลลิกรัม/100 กรัม ส่วนข้าวเจ้ากล้องทั่วไปมีอยู่ 0.1 มิลลิกรัม/100 กรัมเท่านั้นผลไม้ที่มีทองแดงมาก ได้แก่ องุ่นเขียว ทุเรียน ขนุน ลิ้นจี่ ศักยภาพในการป้องกันและรักษาโรคข้าวหอมมะลิแดงเหมาะสุดกับคนเป็นเบาหวานจากการทดสอบพบว่า ข้าวหอมมะลิแดงที่หุงสุกแล้ว มีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลกลูโคสในช่วงเวลา 20 นาทีแรกค่อนข้างช้า คือ 10.60 กรัมต่อ 100 กรัม และเมื่อย่อยแล้วผ่านไป 120 นาที ก็มีค่าของน้ำตาลกลูโคสเพียง 8.59 กรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งอัตรานี้เหมาะสมสำหรับคนที่มีภาวะเบาหวาน ชนิดที่ 2 (เบาหวานที่หาสาเหตุไม่ได้แน่ชัด) เพราะข้าวหอมมะลิแดงไม่ได้ทำให้น้ำตาลขึ้นพรวดพราดเหมือนข้าวเจ้าทั่วไป ข้าวพื้นบ้านมีแอนติออกซิแดนซ์ มากกว่าข้าวทั่วไปคำว่า แอนติออกซิแดนซ์ ก็เรียกแบบไทยๆ ว่า สารต้านอนุมูลอิสระ นั่นเอง อนุมูลอิสระว่ากันว่าอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง เป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวไม่ผ่องใส แก่ไว แผลหายช้า หลอดเลือดและระบบหัวใจทำงานไม่ดี เพราะอนุมูลอิสระเป็นผู้ร้าย ก็เลยมีคนผลิตพวกสารต้านอนุมูลอิสระออกมาขาย ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินอี ทองแดง สังกะสี เบต้าแคโรทีน เพื่อกำจัดอนุมูลอิสระออกไป แต่จริงๆ นั้น หากรับประทานข้าวพื้นบ้านร่วมกับอาหารธรรมชาติอื่นๆ ตามที่ได้แนะนำไป ก็แทบไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อพวกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทนี้มารับประทานเลย เปลืองโดยใช่เหตุ กินข้าว ปลา อาหารธรรมชาติดีกว่าเยอะ และยังส่งเสริมเกษตรกรดีๆ ที่พยายามอนุรักษ์พันธุ์ข้าวอันแสนวิเศษที่ปู่ย่าตาทวดของเราได้สั่งสมประสบการณ์ คัดเลือกและปรับปรุงสายพันธุ์กันมานับร้อยๆ ปี ซื้อได้ที่ไหนบ้างล่ะ อุตส่าห์พามาแนะนำตัวกันขนาดนี้ ถ้าไม่บอกว่ามีขายที่ไหน เห็นจะอึดอัดใจตายกันแน่ๆ ติดต่อได้ตามนี้เลยนะคะ ใกล้ที่ไหนใช้บริการที่นั่น เพื่อลดการสูญเสียจากค่าการขนส่งค่ะ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.ยโสธร - 081-470-0864 เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.สุรินทร์ - คุณนก โทร. 081-718-4220 เครือข่ายเกษตรทางเลือกพัทลุง - คุณสวาท 084-748-9204 ประพัฒน์ จันทร์อักษร 074-615-314 กลุ่มหวันอ้อมข้าว - คุณโต 089-657-0718 คุณสาว 084-583-6127 เครือข่ายเกษตรทางเลือก จ.ฉะเชิงเทรา - คุณพลูเพชร 081-431- 6690 มูลนิธิข้าวขวัญ จ.สุพรรณบุรี - คุณอณัญญา 084-646-5908 มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) นนทบุรี ติดต่อ - คุณนวล 02-591-1195 ถึง 6 คุณค่าทางโภชนาการของข้าวกล้องพื้นบ้านเปรียบเทียบกับข้าวกล้องทั่วไป   พันธุ์ข้าว   คุณค่าทางโภชนาการ (หน่วย มิลลิกรัม/100 กรัม)   เหล็ก   ทองแดง   เบต้าแคโรทีน   ลูทีน   วิตามินอี   ข้าวทั่วไป (คำนวณโดยเฉลี่ย)   0.42   0.1   ไม่พบ   ไม่พบ   0.03   ข้าวหน่วยเขือ (นครศรีธรรมราช)   1.22   0.5   0.0052   0.0144   0.7873   ข้าวก่ำเปลือกดำ (ยโสธร)   0.95   0.08   0.0118   0.2401   0.1946   หอมมะลิแดง (ยโสธร)   1.2   0.43   0.0033   0.0091   0.3366   หอมมะลิ (ทุ่งกุลาร้องไห้)   1.02   ไม่พบ   0.0031   0.0095   0.3766   เล้าแตก (กาฬสินธุ์)   0.91   0.06   0.0049   0.0085   0.3092   หอมทุ่ง*(กาฬสินธุ์)   0.26   0.38   ไม่พบ   ไม่พบ   0.0118   ป้องแอ๊ว* (มหาสารคาม)   0.24   ไม่พบ   ไม่พบ   ไม่พบ   0.0089   ช่อขิง (สงขลา)   0.8   ไม่พบ   0.0041   0.0103   0.1788   มันเป็ด *(อุบลราชธานี)   0.2   ไม่พบ   ไม่พบ   0.0045   0.026   ปกาอำปีล*   0.46   ไม่พบ   ไม่พบ   0.0036   0.0226   สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล *ข้าวขัดขาว   รู้ไหมว่า การผลิตข้าว 1 กิโลกรัม ด้วยวิธีการทันสมัย ใช้พลังงานมากกว่าวิธีดั้งเดิมถึง 8 เท่า การผลิตข้าวแบบดั้งเดิม แค่อาศัยแรงงานสัตว์ ปุ๋ยจากธรรมชาติและปัจจัยจากธรรมชาติ ใช้พลังงาน เพียง 1,465.3 กิโลแคลอรี่/ผลผลิตข้าว 1 กิโลกรัม ขณะที่การผลิตแบบใหม่ต้องใช้พลังงานมากถึง 11,715.2 กิโลแคลอรี่/ผลผลิตข้าว 1 กิโลกรัม ข้อมูล : พลัง+งาน ปฏิบัติการพลังงานเพื่อชุมชน ฉบับที่ 1หน้า 26

อ่านเพิ่มเติม >