ฉบับที่ 104 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนกันยายน 255213 กันยายน 2552ระวังหมอฟันเถื่อนเกลื่อนเมือง!กรณีที่มีหญิงสาวคนหนึ่งออกมาร้องเรียนกับสื่อมวลชนว่าถูกหมอฟันในคลินิกแห่งหนึ่งย่านรามคำแหงทำอนาจาร พร้อมทั้งตั้งข้อสงสัยว่าภรรยาของหมอฟัน ที่แต่งชุดและทำงานคล้ายกับทันตแพทย์นั้น จริงๆ แล้วอาจไม่ได้เป็นทันตแพทย์จริง ศาสตราจารย์พิเศษ พลโท พิศาล เทพสิทธา นายกทันตแพทยสภา กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบสำหรับกรณีทันตแพทย์ชายลวนลามคนไข้ ส่วนเรื่องภรรยาของทันตแพทย์ซึ่งตรวจสอบแล้วว่าไม่มีใบประกอบวิชาชีพ หากพบว่ามีการรักษาคนไข้จริง ทันตแพทย์ที่อนุญาตถือว่ามีความผิด ซึ่งกรณีนี้ทันตแพทยสภาสามารถเข้าไปดำเนินการเอาผิดได้ แต่ในกรณีของตัวภรรยานั้น ทันตแพทยสภาไม่สามารถเอาผิดได้ต้องเป็นหน้าที่ของตำรวจและกองการประกอบโรคศิลปะ แต่ต้องมีคนออกมาร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหน้าที่จึงจะเข้าไปจัดการได้ “ปัจจุบันมีทันตแพทย์เถื่อนเป็นจำนวนมาก แต่ทางทันตแพทยสภาจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน เพราะเมื่อทราบเบาะแสและร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเข้าจับกุม คนกลุ่มนี้จะรู้ตัวและหลบหนีไปทันที ที่ผ่านมาพบบ่อยบริเวณท่าพระจันทร์ล่าสุดกระจายไปทั่วแล้ว” แนะนำหากจำเป็นต้องพบทันตแพทย์ควรเลือกสถานพยาบาลที่เปิดประจำ มีใบอนุญาตให้เปิดบริการและมีใบประกอบวิชาชีพ 19 กันยายน 2552อย.ลงดาบสื่อ! โฆษณายา-อาหารสุขภาพเกินจริงทีวี เคเบิ้ลทีวี วิทยุ หรือแม้แต่นิตยสารต้องระวัง หากเผยแพร่โฆษณาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ อาหารเสริมที่มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ไม่ว่าจะจงใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีสิทธิถูกลงโทษตามกฎหมายทั้งจำทั้งปรับ อย. เปิดเผยว่า ด้วยมีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งที่คิดเอาเปรียบผู้บริโภค อาศัยกระแสการใส่ใจเรื่องสุขภาพของผู้คนมาเป็นช่องทางในการทำธุรกิจ โดยนำผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ทั้ง อาหาร ยา และเครื่องมือแพทย์ ไปโฆษณาตามสื่อต่างๆ ซึ่งถ้าหากมีการตรวจสอบพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้ผ่านการตรวจสอบและได้รับใบอนุญาตจาก อย. นอกจากผู้ผลิตจะมีความผิดแล้ว สื่อที่ทำการเผยแพร่โฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็มีความผิดด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ อย. ได้ดำเนินคดีกับบรรณาธิการนิตยสาร Gossip Star, นิตยสารทีวีพูล และ นิตยสาร OHO ซึ่งเผยแพร่โฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. โดยเป็นโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงของบริษัท ธัญญาพรสมุนไพร จำกัด และ บริษัท ไบโอพลัส จีเอ็มพี จำกัด ซึ่ง อย. ได้สั่งปรับเงินทั้งบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์และนิตยสารทั้ง 3 ฉบับแล้ว 21 กันยายน 2552ผู้บริโภคอีสานพบเสาโทรศัพท์ใกล้ชุมชนมากไป หวั่นผลกระทบในงานเวทีสภาผู้บริโภคภาคอีสาน ประจำปี 2552 มีการนำเสนอผลการสำรวจ “ข้อมูลพื้นที่ใกล้เคียงเสาส่งสัญญาณโทรคมนาคมที่อาจเกี่ยวข้องกับผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” โดยได้สำรวจเสาส่งสัญญาณโทรคมนาคม จาก 5 จังหวัด คือ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ดและสกลนคร พบว่าเสาสัญญาณส่วนใหญ่ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งชุมชนไม่ถึง 20 เมตร ซึ่งเสาเจ้าปัญหา 3 อันดับแรก คือ เอไอเอส ทรูมูฟ และดีแทค ตามลำดับ โดย ร้อยละ 48.1 ของเสาสัญญาณที่สำรวจนั้นพบว่า ตั้งอยู่ห่างจากโรงเรียนน้อยกว่า 200 เมตร ร้อยละ 15.2 พบว่า เสาสัญญาณอยู่ใกล้โรงพยาบาลมากไป และร้อยละ 18.4 อยู่ใกล้สถานีอนามัยมาก นายปฏิบัติ เฉลิมชาติ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้ยื่นข้อเสนอต่อ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้มีการบังคับใช้ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเสาส่งสัญญาณโทรคมนาคมอย่างเข้มงวดและจริงจัง กทช.ต้องมีหน่วยติดตามตรวจสอบความเข้มของสนามแม่เหล็กในบริเวณที่มีการตั้งเสาสัญญาณโทรคมนาคม พร้อมทั้งคอยสนับสนุนสถาบันการศึกษา นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาค้นคว้าทำการวิจัยอย่างจริงจัง เกี่ยวกับผลกระทบและอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 22 กันยายน 2552“พริกน้ำปลา” ภัยร้ายใกล้ตัวนางอรพินท์ บรรจง จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจจากการทำโครงการพัฒนาตำรับอาหารท้องถิ่นสำหรับผู้สูงอายุ พบว่าถ้วยพริกน้ำปลาซึ่งไม่ได้จัดเป็นเมนูอาหาร แต่มักจะถูกไว้อยู่บนโต๊ะที่เรารับประทานอาหารเสมอนั้น อาจทำให้ร่างกายของเราได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินความจำเป็น การเติมพริกน้ำปลาเพิ่มลงในอาหารจัดเป็นพฤติกรรมปกติของสังคมไทย แต่การรับประทานอาหารรสเค็มมากๆ และบ่อยๆ ทำให้เกิดมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองแตก โรคหัวใจและไตวาย รวมทั้งโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น และผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้จะต้องระมัดระวังอาหารที่มีโซเดียมสูงเป็นพิเศษ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในโรคที่เป็นอยู่ ค่าปกติในการรับประทานทานอาหารที่มีโซเดียม แนะนำว่าบริโภคได้ไม่เกินวัน 2,400 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบได้กับน้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะหรือเกลือประมาณครึ่งช้อนชา ดังนั้นเลี่ยงพฤติกรรมการเติมพริกน้ำปลาตามความเคยชิน ควรชิมก่อนเพื่อตัดสินใจว่าจะปรุงเพิ่มดีหรือไม่ ---------------------------------------------------------------------------------------------- ครบรอบ 1 ปี พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้จัดสัมมนา “1 ปี พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค” เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ย้อนมองถึงการทำงานของกฎหมายนี้ตลอดระยะเวลา 1 ปีตั้งแต่ที่เริ่มประกาศใช้ โดยได้นักวิชาการ นักกฎหมาย และผู้ที่เคยใช้กฎหมายมาร่วมพูดคุยและแสดงความคิดเห็น ศ.จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกล่าวว่า “การมี พ.ร. บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคออกมานั้นถือเป็นเรื่องดี แม้ว่าจะสร้างภาระให้กับผู้ประกอบการมากขึ้นกว่าเดิมแต่ก็ถือว่าน้อยมากถ้าเทียบกับความปลอดภัยที่ผู้บริโภคพึงได้รับ อย่างไรก็ตามเนื่องจากกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคยังเป็นการนำปัญหาไปวางไว้ที่ศาล ซึ่งอยู่ตอนปลายของกระบวนการยุติธรรม ถึงแม้จะมีการตัดสิน แต่ก็ไม่ได้มีผลในเรื่องการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นได้ ปัจจุบันกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเน้นอยู่ 3 ด้านหลัก คือ โฆษณา ฉลากและสัญญา ซึ่งถ้าสามารถควบคุมใน 3 ส่วนนี้ให้ถูกต้องได้ เชื่อว่าปัญหาการฟ้องร้องระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการก็จะลดลงไปได้ไม่น้อย” ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกวุฒิสภาผู้ที่เคยใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ฟ้องร้องชนะคดีเรียกร้องค่าชดใช้เป็น "รายแรก" ของเมืองไทย หลังกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อ 23 ส.ค.2551 ในกรณีร้องสิทธิผู้บริโภคกับ "นกแอร์" บกพร่องในหน้าที่การให้บริการโดย "ไม่ใช้" เครื่องตรวจสแกนระเบิดวัตถุโลหะแก่ผู้โดยสาร กล่าวว่า "กฎหมายนี้ถือว่าเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคอย่างมาก ซึ่งช่วยลดขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินคดีให้สั้นลง แต่อย่างไรก็ดีกฎหมายนี้ต้องมีการพัฒนาต่อไปทั้งทางด้านการเผยแพร่ข้อมูล ให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงกฎหมาย และทางศาลเองก็ต้องมีเจ้าพนักงานที่ให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างแท้จริง เพราะถึงแม้ว่าการฟ้องคดีนั้นไม่ต้องใช้ทนาย แต่เมื่อต้องขึ้นศาลจริงๆ ตัวผู้บริโภคเองก็ต้องมีข้อมูลและต้องมีความรู้เพื่อไปต่อสู้ในชั้นศาล” นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมถึงบทเรียนการใช้กฎหมายว่า “ปัญหาจากการฟ้องโดยใช้กฎหมายดังกล่าวตามหลักการนั้นมีประโยชน์ แต่เมื่อมาใช้จริงกลับมีความยุ่งยากและล่าช้าทั้งในการฟ้องร้อง การนัดสืบคำร้อง ศาลไม่มีทนายที่มีความรู้ในการอ่านเวชระเบียน และเมื่อมีการสืบพยาน กรณีคดีผู้เสียหายทางการแพทย์ การหาพยานที่อยู่ฝั่งผู้เสียหายทำได้ยากมาก ในขณะที่อีกฝ่ายมีพยานเยอะ รวมถึงเมื่อต้องอยู่ในศาล ฝ่ายจำเลยมีทนาย มีอำนาจ มีทุกอย่าง ขณะที่โจทก์ไม่มีอะไรเลย และการนัดไกล่เกลี่ยของตัวแทนแต่ละฝั่งทำงานไม่สมดุลกัน” นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่า “กฎหมายนี้มีประโยชน์ช่วยให้ผู้บริโภคฟ้องร้องดำเนินคดีได้จริง ตอนนี้มีมากกว่า 150 คดีที่อยู่ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและที่ได้ยื่นฟ้องไปแล้วกว่า 100 คดี ซึ่งทำให้เห็นว่าผู้บริโภคเข้าถึงกฎหมายได้มากขึ้น แม้จะยังมีอุปสรรคหลายประการ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือเจ้าพนักงานคดียังขาดความเข้าใจต่อกฎหมาย และอยากจะให้ศาลมีกลไกในการรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้กฎหมายฉบับนี้และต้องทำให้ผู้บริโภคเข้าใจมากยิ่งขึ้นเช่นกัน ด้าน นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ กล่าวว่า “กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคถือว่าเป็นกฎหมายที่พัฒนาการมาก แต่ก็ยังต้องมีการพัฒนาต่อไป คดีผู้บริโภคมี 2 ด้าน คือด้านที่ผู้ประกอบการฟ้องกับด้านที่ผู้บริโภคฟ้อง ซึ่งก่อนหน้านี้จะเป็นคดีที่ผู้ประกอบการฟ้องผู้บริโภคซะเป็นส่วนใหญ่ แต่เชื่อว่าในอนาคตข้างหน้าผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้สินค้าและบริการต่างๆ จะได้รับประโยชน์จากกฎหมายนี้เพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องอาศัยความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งจาก สคบ. หรือองค์กร มูลนิธิที่คอยดูแลในเรื่องนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ในศาลที่ต้องช่วยเหลือผู้บริโภคในการเขียนคำฟ้อง และตัวผู้บริโภคเองก็ต้องเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วนและมากที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดี --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- รุมค้าน อย. ปล่อยบริษัทยาต่างชาติขายยาโดยไม่ต้องตรวจคุณภาพในไทยกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมออกประกาศเรื่อง การขึ้นทะเบียนยาสามัญ การศึกษาชีวสมมูลของยาสามัญ พ.ศ. ... ตามข้อตกลงของกลุ่มประเทศอาเซียนว่า ด้วยการจัดระเบียบการขึ้นทะเบียนตำรับยา โดยบริษัทยาสามารถใช้รายงานผลการศึกษาชีวสมมูลของยาสามัญที่ดำเนินการศึกษาในต่างประเทศตามหลักเกณฑ์และคุณภาพมาตรฐานที่ อย.กำหนดเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ต้องนำมาศึกษาชีวสมมูลในประเทศไทยอีก รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่า “ประกาศนี้เอื้อต่อบริษัทยาสามัญของต่างชาติที่ต้องการนำเข้ายา ซึ่งขณะนี้รอคิวขึ้นทะเบียนยาอยู่เป็นจำนวนมาก หากใช้รายงานศึกษาชีวสมมูลที่บริษัทแม่ในต่างประเทศศึกษามาใช้ขึ้นทะเบียนได้ทันทีก็ทำให้บริษัทเหล่านี้ได้ประโยชน์ แม้ว่าการไม่ต้องศึกษาชีวสมมูลใหม่จะช่วยลดทอนขั้นตอนระยะเวลาการขึ้นทะเบียนยาสามัญ ทำให้ขึ้นทะเบียนยาได้รวดเร็วขึ้นแต่บริษัทยาไทยจำเป็นต้องมีการศึกษาชีวสมมูลอยู่ดี เท่ากับเป็นกลยุทธ์ในการตัดกำลังศักยภาพการผลิตยาของไทย “การออกประกาศดังกล่าวไม่ผ่านความเห็นจากคณะกรรมการยา โดย อย.เห็นว่าเป็นเรื่องการปฏิบัติงานภายในของอย.จึงไม่จำเป็นต้องผ่านคณะกรรมการยาทั้งที่เรื่องดังกล่าวนี้ จริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องเชิงปฏิบัติการแต่เป็นเรื่องเชิงนโยบายที่เป็นทิศทางของยาสามัญในประเทศไทยในอนาคต ซึ่งต้องเข้าสู่วาระการประชุมของคณะกรรมการยาด้วยเช่นกัน” ด้าน ภญ.ศศิธร กิตติวรวิทย์กุล ผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมไทยอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนปัจจุบัน กล่าวว่า “ในร่างประกาศฯ ระบุว่า บริษัทยาสามัญข้ามชาติสามารถใช้รายงานการศึกษาชีวสมมูลจากประเทศต้นทางได้โดยไม่ต้องมาศึกษาชีวสมมูลในไทยอีก แต่ศูนย์ที่ศึกษาในต่างประเทศจะต้องมีมาตรฐาน ซึ่งอย.สามารถขอไปตรวจสอบได้หากมีข้อสงสัยแต่ไม่ใช่ทุกกรณี การให้บริษัทยาสามัญข้ามชาติที่จะนำยาสามัญเข้าประเทศจะต้องศึกษาชีวสมมูลในประเทศอีกครั้งถือว่าเป็นการตรวจสอบที่ทุกประเทศในโลกนี้ทำกัน เพื่อป้องกันไม่ให้อุตสาหกรรมยาในประเทศตาย แต่การออกประกาศฉบับนี้ของ อย.นอกจากจะเอื้อต่อบริษัทยาข้ามชาติแล้วยังเป็นการลดทอนศักยภาพอุตสาหกรรมยาและศูนย์ศึกษาชีวสมมูลในประเทศไทยอีกด้วย”

อ่านเพิ่มเติม >