ฉบับที่ 234 สมรรถภาพและความพร้อมของพนักงานขับรถโดยสาร

        เวลาประมาณ 4 นาฬิกา ของวันที่ 6 มกราคม 2562 เกิดอุบัติเหตุรถโดยสารสองชั้น สายกรุงเทพฯ-พนมไพร เสียหลักพลิกคว่ำลงร่องกลางถนน บริเวณ (ขาเข้า) ตรงข้ามร้านไทวัสดุ ถนนพหลโยธิน คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี  หลังรับผู้โดยสารมาจากจังหวัดร้อยเอ็ดมีผู้บาดเจ็บจำนวนมากและเสียชีวิตถึง 6  ราย        จากเหตุการณ์นั้นนอกจากความสูญเสียจากอุบัติเหตุแล้ว ยังมีข้อเท็จจริงที่น่าตกใจจากการสืบสวนสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และเป็นข้อมูลสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุครั้งนั้น คือ สมรรถภาพและความพร้อมของพนักงานขับรถโดยสาร ซึ่งปกติหากเราต้องการความปลอดภัยจากการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ องค์ประกอบสำคัญของความปลอดภัยจะประกอบด้วย คน รถ ถนน และสิ่งแวดล้อม และโดยเฉพาะ “คน” สามารถแยกออกได้เป็น พนักงานขับรถโดยสาร พนักงานผู้ช่วยคนขับ และ ผู้โดยสาร        ในกรณีพนักงานขับรถโดยสาร หากเจาะจงเรื่องสมรรถนะและความพร้อมในการขับรถ ย่อมรวมถึงการพักผ่อนอย่างเพียงพอ การกินอยู่ตามอัตภาพปกติที่คนทั่วไปพึงกระทำ และรายได้ที่เหมาะสมเพียงพอดูแลตนเองและครอบครัวได้ ซึ่งในกรณีนี้พบว่าพนักงานขับรถโดยสารคันเกิดเหตุนอกจากจะต้องขับรถมือเดียวจากต้นทางอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ดมากรุงเทพมหานครที่มีระยะเวลาขับรถต่อเนื่องมากกว่า 10 ชั่วโมงแล้ว ยังได้รับค่าตอบแทนจากการขับรถโดยสารเพียงเที่ยวละ 500 บาท เท่ากับสามารถวิ่งได้เพียง 1 เที่ยวต่อวัน และหากขับรถทุกวันๆละ 1 เที่ยวในหนึ่งเดือนจะได้ค่าตอบแทนเพียง 15,000 บาท เท่านั้น        ค่าตอบแทนจำนวนดังกล่าวสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของพนักงานขับรถโดยสารที่ย่ำแย่ เพราะหากพนักงานขับรถโดยสารมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี มีปัญหารุมเร้ม พักผ่อนไม่เพียงพอ ย่อมส่งผลถึงสมรรถนะและความพร้อมในการบริการขับรถโดยสาร ที่ต้องแบกรับภาระความรับผิดชอบในชีวิตทรัพย์สินของผู้โดยสารจำนวนมาก        จากข้อเท็จจริงดังกล่าวมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงได้ร่วมกับสำนักงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม (RDI) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการศึกษา “ความพึงพอใจของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางที่มีต่อค่าตอบแทนทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน” เพื่อสร้างเป็นโมเดลต้นแบบการกำหนดค่าตอบแทนที่เป็นธรรมให้กับพนักงานขับรถโดยสารในประเภทต่าง ๆ เพื่อเป้าหมายในการช่วยบรรเทาผลกระทบและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของพนักงานขับรถได้ โดยอาศัยหลักปฏิบัติ 4 ข้อที่ผู้ประกอบการขนส่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ดังนี้        1) ปัจจัยหลัก เป็นปัจจัยทั่วไปของพนักงานขับรถและปัจจัยองค์กร เช่น ประสบการณ์ ขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ประสิทธิภาพการขับขี่ที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อผู้โดยสาร ความเชี่ยวชาญเส้นทาง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดรายได้ของพนักงาน ผนวกกับปัจจัยองค์กรที่จะต้องกำหนดให้สอดคล้องกัน เช่น การกำหนดรายได้ขั้นต่ำที่เพียงพอและเป็นธรรม การให้ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงินหรือสวัสดิการต่าง ๆ เช่น ค่าชดเชยวันหยุด ค่ารักษาพยาบาล ค่าเทอมบุตร เป็นต้น         2) ปัจจัยร่วม เป็นปัจจัยส่งเสริมอื่น ๆ เช่น เงินรางวัลเมื่อพนักงานขับรถได้ตามเป้าหมาย ค่าตอบแทนเหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมาย การได้รับการยกย่อง ชื่นชมจากผู้โดยสาร จำนวนวันหยุดที่เพียงพอ และเงินรางวัลและสวัสดิการเพียงพอครอบคุมถึงครอบครัว เป็นต้น         3) การสร้างแรงจูงใจ เป็นอีกปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พนักงานขับรถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานจะมีวิธีการดังนี้คือ 1) มีความพยายามในการพัฒนาวิธีการทำงานของตนเอง 2) เป็นโอกาสในการพัฒนาความรู้ความสามารถ 3) ได้รับความไว้วางใจจากองค์กร และ 4) ได้รับการยอมรับจากผู้โดยสาร         4) การเพิ่มทักษะและประสิทธิภาพการทำงาน การเปิดโอกาสให้พนักงานพัฒนาทักษะในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญและทำให้พนักงานขับรถมีความพึงพอใจและภาคภูมิใจในอาชีพของตนเอง อีกทั้งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณาสร้างโครงสร้างรายได้ของผู้ขับรถโดยสาร        ทั้งนี้เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับความมั่นคงทางอาชีพให้กับพนักงานขับรถโดยสาร ซึ่งจากการสอบถามพนักงานขับรถและผู้ประกอบการทั่วไปพบว่า เห็นด้วยกับการกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนที่เป็นธรรมให้กับพนักงานขับรถโดยสารและสมควรที่จะเร่งดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะหากพนักงานขับรถโดยสารมีรายได้ที่เพียงพอดูแลครอบครัว พักผ่อนเพียงพอไม่ต้องทนเหนื่อยง่วงขับรถทำรอบ เพียงเพื่อหวังรายได้ให้มากขึ้น ก็จะลดโอกาสความเหนื่อยล้าและความเสี่ยงที่นำไปสู่การหลับใน อันเป็นสาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถโดยสารสาธารณะได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 คลินิกเสริมสวยเปิดใหม่เซลล์ขายแหลกแต่ทำไม่ได้จริง

        ได้ชื่อว่าเซลล์ตำแหน่งนี้วัดกันที่การขาย ใครหาลูกค้าได้มากรายได้ก็มากตามขึ้นไป ผู้บริโภคหลายคนจึงถูกเซลล์ปั่นจนหวั่นไหว เสียเงินไปแบบคิดไม่ทันจนเจ็บใจมาก็เยอะ ครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่มีเรื่องมาเล่าให้ฟัง         คุณพบรัก เผอิญไปพบเจอเซลล์หรือพนักงานขายของคลินิกเสริมความงามแห่งใหม่เข้าอย่างจังในระหว่างเดินเที่ยวในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง พนักงานหญิงสองคนประกบหน้าหลัง ชักชวนให้ตรวจหน้าแบบฟรีๆ เพื่อดูสภาพผิวว่าเป็นอย่างไรบ้าง คุณพบรักไม่ทันคิดอะไรนัก คิดว่าฟรีก็ดีเหมือนกันไม่ได้ตรวจสภาพผิวหน้าตัวเองนานแล้ว ลองดูสักหน่อยไม่เสียหาย         โอ้ สุขภาพผิวคุณดีจังเลย ไม่ใช่คำตอบที่คุณพบรักได้รับแต่เป็นผลตรงกันข้าม พนักงานแจ้งว่า สุขภาพผิวหน้าแย่มากๆ ทางคลินิกของเราขอรับอาสามาเป็นผู้ดูแลปัญหานี้ให้ พอถามไปว่าต้องทำอย่างไร พนักงานก็ขอบัตรเครดิตพร้อมแนะนำคอร์สหนึ่งให้ในราคา 7,000 บาท จากนั้นก็รูดบัตรเสร็จสิ้นกระบวนการ คุณพบรักได้สลิปบัตรมาพร้อมใบเสร็จชั่วคราวอย่างงงๆ พร้อมคำสัญญาของพนักงานว่า ระหว่างนี้คลินิกยังไม่พร้อมให้บริการ คุณพบรักต้องรอ 3 เดือนจึงจะไปใช้บริการได้         ผ่านมาเกือบสามเดือนพนักงานที่ขายคอร์สให้ได้โทรมานัดให้ไปที่คลินิกเพื่อตรวจสภาพผิวอีกครั้ง แต่พอใกล้วันจริง “นางบอกว่า อย่าเพิ่งมาดีกว่าเพราะกลิ่นสียังไม่ทันจาง และทางหน่วยงานรัฐยังเข้ามาตรวจสอบไม่เสร็จ ไว้เป็นสัปดาห์หน้านะคะ” คุณพบรักจึงได้แต่รอต่อไป         ในวันนัดจริงเมื่อคุณพบรักมาถึงคลินิกก็พบเรื่องน่ารำคาญใจหลายเรื่อง ตั้งแต่มีการนัดคนมาใช้บริการในวันดังกล่าวจำนวนมาก คุณพบรักต้องรอถึง 1 ชั่วโมงกว่าจะถึงคิวของตัวเอง พอกำลังจะเริ่มรับบริการ ก็ยังต้องรอเครื่องมือจากห้องอื่น แม้จะเห็นว่ามันไม่ค่อยถูกต้องเพราะเครื่องมืออาจติดเชื้ออะไรก็ได้จากคนที่ใช้บริการก่อนหน้าตนเอง แต่นอนบนเตียงไปแล้วจะร้องเรียนอะไรก็ทำไม่ได้ จึงต้องปล่อยเลยตามเลย แถมระหว่างนวดหน้าอยู่ เซลล์ยังโทรเข้ามาขอโทษที่ให้ลูกค้ารอนาน “มันใช่เวลาไหม” คุณพบรักหงุดหงิดอยู่ในใจ        เมื่อใช้บริการนวดหน้าเสร็จ พนักงานแจ้งให้ไปรออีกห้องหนึ่งก่อน เมื่อมาที่ห้องนี้ก็กลายเป็นห้องสำหรับการขายโปรโมชั่น(อีกแล้ว) คุณพบรักมีความขยาดอยู่จึงไม่สนใจโปรที่พนักงานเสนอ จนพนักงานงัดทีเด็ดบอกว่า โปรนี้พิเศษมากๆ ลูกค้าจ่ายเพียง 23,000 บาท รวมกับของเดิม 7,000 บาท เท่ากับ 30,000 บาท แต่จะได้รับบริการในระดับเดียวกับการจ่ายคอร์ส 90,000 บาท และจะมอบบริการพิเศษให้คุณพบรักสามารถผ่อนบัตรเครดิต 0% ได้อีกด้วย โอ้ คุ้มมากคุณพบรักคิดจึงตอบตกลงไป พร้อมรูดเงินไป 13,000 บาท เนื่องจากวงเงินวันนั้นไม่พอ จึงค้างไว้ก่อน 10,000 บาท         อย่างไรก็ตาม การผ่อนชำระ 0% นั้น พนักงานแจ้งภายหลังว่า ไม่สามารถทำได้ ขั้นต่ำคือคุณพบรักต้องผ่อนกับบัตรเครดิตที่ดอกเบี้ย 0.89%         คุณพบรักตอนนี้เริ่มพบว่า ไม่ไหวจะเคลียร์แล้ว พนักงานขายทำไม่ได้จริงสักอย่างที่สัญญาไว้ จึงทำหนังสือขอยกเลิกสัญญาไปที่คลินิกและทำหนังสือปฏิเสธการจ่ายเงินกับธนาคารเจ้าของบัตร ทางธนาคารแจ้งว่าอย่างไรก็ตามจะต้องให้ทางคลินิกยกเลิกสัญญาก่อนจึงจะปิดหนี้บัตรเครดิตให้ คุณพบรักจึงไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ และดำเนินการติดต่อกับคลินิกเพื่อขอยกเลิกสัญญาพร้อมขอเงินคืน แนวทางแก้ไขปัญหา         คุณพบรักดำเนินการแจ้งร้องเรียนไปที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพร้อมๆ กัน ต่อมา ทางคุณพบรักแจ้งกับทางศูนย์พิทักษ์สิทธิว่า  ได้ไปเจรจากับทางคลินิกที่ สคบ.แล้ว บริษัทฯ จะคืนเงินให้ 70% ในส่วนของ 13,000 บาท คือ 9,100 บาท ส่วนที่เหลือ คือ 7,000 บาทแรกนั้น เนื่องจากมีการรับบริการไปแล้ว 1 ครั้ง จึงขอให้คุณพบรักไปใช้บริการต่อในส่วนนั้น บริษัทฯ อ้างว่า ส่วนที่หัก 30% คือค่าดำเนินการที่จะขยายคอร์สจาก 30,000 เป็น 90,000 บาท ส่วน 7,000 ก่อนหน้าตามเงื่อนไขของบริษัทฯ หากมีการใช้บริการไปแล้วจะไม่คืนเงินส่วนที่เหลือต้องใช้บริการไปจนจบคอร์สนั้นๆ         คุณพบรักไม่อยากยุ่งยากจึงรับข้อเสนอดังกล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 199 เหตุเกิดจากพนักงานขาย

แม้พนักงานขายจะถือเป็นตัวแทนของบริษัท ที่คอยช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า โดยทำหน้าที่แนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ แต่หลายครั้งที่มีปัญหาเกิดขึ้น บริษัทบางแห่งกลับปฏิเสธการรับผิดชอบผลเสียหายอันเนื่องจากพนักงานขายของตนเอง ซึ่งผู้บริโภคอย่างเราจะแก้ไขเหตุการณ์ได้อย่างไร ลองไปดูกันมาเริ่มกันที่กรณีแรกกับคุณสุชัย เขาตกลงสั่งจองรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้ากับพนักงานขายรถคนหนึ่ง โดยแสดงความต้องการว่า จะซื้อรุ่นที่ผลิตในปี 2016 เท่านั้น ซึ่งพนักงานคนดังกล่าวก็รับทราบและสั่งจองรถยนต์รถยนต์รุ่นดังกล่าวให้ อย่างไรก็ตามพนักงานและสุชัยไม่ได้ตกลงทำสัญญาการจองรถภายในศูนย์บริการ และไม่มีเอกสารการจองรถที่มาจากบริษัท รวมทั้งเงินค่ามัดจำการจองรถพนักงานก็ได้แจ้งให้คุณสุชัยโอนเข้าบัญชีส่วนตัว ซึ่งคุณสุชัยก็ทำตามที่พนักงานระบุและนัดรับรถในอีก 2 เดือนข้างหน้า โดยคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นอย่างนั้น เพราะผ่านไปไม่กี่อาทิตย์พนักงานขายคนดังกล่าวได้เสียชีวิตลง ทำให้คุณสุชัยต้องดำเนินการติดต่อเรื่องใหม่ทั้งหมดกับบริษัท ซึ่งได้อำนวยความสะดวกให้เขาด้วยการส่งรถให้ตามกำหนดเดิม ทำให้คุณสุชัยได้รับรถไปใช้งานอย่างที่ตั้งใจไว้ เมื่อคุณสุชัยได้ใช้งานรถไป 5 เดือนและต้องไปรับป้ายทะเบียนรถ เขากลับพบความจริงว่า ในสำเนาทะเบียนรถระบุว่ารถคันดังกล่าวเป็นรุ่นที่ผลิตในปี 2015 ซึ่งหลังสอบถามไปยังบริษัทก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นรุ่นที่ผลิตในปีดังกล่าวจริง ทำให้คุณสุชัยจึงแจ้งกลับไปว่า ก่อนหน้าทำสัญญาจองรถ เขาต้องการซื้อรถที่ผลิตในปี 2016 ซึ่งพนักงานขายที่ได้เสียชีวิตไปแล้วเป็นผู้จองให้ แต่ทางบริษัทได้ตอบกลับว่าไม่ทราบรายละเอียดที่คุณสุชัยได้แจ้งความจำนงไว้กับพนักงานคนดังกล่าว แต่จะรับผิดชอบด้วยการให้เช็คระยะ คุณสุชัยได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว และขอให้บริษัทเปลี่ยนรถให้ใหม่ โดยให้เป็นรุ่นที่ตกลงกันไว้แต่แรก แต่บริษัทกลับตอบกลับว่าไม่สามารถเปลี่ยนให้ได้  เขาจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำว่าเขามีสิทธิที่จะขอเงินคืนได้หรือไม่ ส่วนกรณีที่สอง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณปราณี เธอตกลงใช้บริการรับส่งน้ำดื่มตามบ้าน ซึ่งก่อนใช้บริการพนักงานแจ้งว่าต้องเสียค่ามัดจำถังจำนวน 700 บาท และจะคืนให้เมื่อเลิกใช้บริการ เมื่อใช้บริการดังกล่าวไปได้สักระยะ คุณปราณีต้องการหยุดใช้บริการ โดยเข้าใจว่าต้องได้เงินมัดจำที่เคยเสียไปคืนด้วย แต่เมื่อติดต่อไปยังบริษัทกลับได้รับคำตอบว่า ไม่สามารถคืนเงินให้ได้ เพราะพนักงานที่คุณปรานีเคยติดต่อซื้อขายนั้น ไม่ได้นำเงินดังกล่าวส่งบริษัท ทำให้เธอส่งเรื่องมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพราะเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับทั้งสองกรณีที่เกิดขึ้นล้วนมาสาเหตุจากการพูดคุยติดต่อกับพนักงานขาย ซึ่งเป็นตัวแทนในการซื้อขายระหว่างบริษัทกับผู้ร้อง และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเพราะตัวแทนขายดังกล่าว ผู้บริโภคก็ถูกปฏิเสธความรับผิดชอบจากบริษัท ทั้งนี้สำหรับกรณีแรกการซื้อรถยนต์แล้วไม่ได้รถอย่างที่คุยกันไว้ ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่า รายละเอียดต้องเป็นไปตามสัญญาที่ผู้ร้องทำไว้ แม้พนักงานคนที่ได้ทำสัญญาไว้จะเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งหากไม่ได้รถตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา สามารถบอกเลิกสัญญาและขอเงินคืนได้ เพราะตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยสัญญา ให้ธุรกิจขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา 2551 โดยกำหนดไว้ว่า ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้ประกอบธุรกิจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ปรับเปลี่ยนราคารถยนต์สูงขึ้น (2) ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่กำหนด (3) ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มียี่ห้อ รุ่น ปีที่ผลิต สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์ตรงตามที่กำหนดในสัญญา (4) ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มีรายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถม หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดในสัญญา อย่างไรก็ตามรูปแบบของสัญญาก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากไม่ได้ทำตามที่กฎหมายกำหนดก็อาจถูกฉ้อโกงได้ ซึ่งหากใครกำลังจะตกลงจองรถ ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่าสัญญาที่ทำกับตัวแทนมีลักษณะตรงตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ โดยตามประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ว่า สัญญาจองรถยนต์ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ดังนี้ (2) ยี่ห้อ รุ่น ปีที่ผลิต สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์ (3) รายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถมหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ (ถ้ามี) (4) จำนวนเงิน หรือสิ่งที่รับไว้เป็นมัดจำ (ถ้ามี) (5) ราคา (6) กำหนดเวลาที่คาดว่าจะส่งมอบรถยนต์ส่วนกรณีที่สองผู้ร้องถูกปฏิเสธการคืนเงินมัดจำ ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่า บริษัทไม่สามารถอ้างว่าพนักงานไม่นำส่งได้ เนื่องจากการที่พนักงานไม่ส่งเงินค่ามัดจำให้บริษัท ถือเป็นเรื่องการบริหารงานภายในของบริษัท ซึ่งต้องไปติดตามเอาผิดกับพนักงานคนดังกล่าวเอง แต่ในส่วนที่ผู้ร้องได้จ่ายเงินไปและทำตามสัญญา รวมถึงมีใบเสร็จยืนยันการชำระเงิน บริษัทจำเป็นต้องทำตามสัญญาและคืนเงินค่ามัดจำดังกล่าวให้ผู้ร้อง ซึ่งหากไม่ดำเนินการภายในกำหนด จะถือว่าเป็นการฉ้อโกงผู้บริโภค โดยผู้ร้องสามารถดำเนินการแจ้งความเอาผิดกับบริษัทได้ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 197 เหตุเกิดจากพนักงานขาย

แม้พนักงานขายจะถือเป็นตัวแทนของบริษัท ที่คอยช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า โดยทำหน้าที่แนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ แต่หลายครั้งที่มีปัญหาเกิดขึ้น บริษัทบางแห่งกลับปฏิเสธการรับผิดชอบจากพนักงานขายของตนเอง ซึ่งผู้บริโภคอย่างเราจะแก้ไขเหตุการณ์ได้อย่างไร ลองไปดูกันมาเริ่มกันที่กรณีแรกกับคุณสุชัย เขาตกลงสั่งจองรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้ากับพนักงานขายรถคนหนึ่ง โดยแสดงความต้องการว่าจะซื้อรุ่นที่ผลิตในปี 2016 เท่านั้น ซึ่งพนักงานคนดังกล่าวก็รับทราบและสั่งจองรถยนต์รถยนต์รุ่นดังกล่าวให้คุณสุชัย อย่างไรก็ตามพนักงานและสุชัยไม่ได้ตกลงทำสัญญาการจองรถภายในศูนย์บริการ และไม่มีเอกสารการจองรถที่มาจากบริษัท รวมทั้งเงินค่ามัดจำการจองรถพนักงานก็ได้แจ้งให้คุณสุชัยโอนเข้าบัญชีส่วนตัว ซึ่งคุณสุชัยก็ทำตามที่พนักงานระบุและนัดรับรถในอีก 2 เดือนข้างหน้า โดยคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นอย่างนั้น เพราะผ่านไปไม่กี่อาทิตย์พนักงานขายคนดังกล่าวได้เสียชีวิตลง ทำให้คุณสุชัยต้องดำเนินการติดต่อเรื่องใหม่ทั้งหมดกับบริษัท ซึ่งได้อำนวยความสะดวกให้เขาด้วยการส่งรถให้ตามกำหนดเดิม ทำให้คุณสุชัยได้รับรถไปใช้งานอย่างที่ตั้งใจไว้ เมื่อคุณสุชัยได้ใช้งานรถไปถึง 5 เดือนและต้องไปรับป้ายทะเบียนรถ เขากลับพบความจริงว่า ในสำเนาทะเบียนรถระบุว่ารถคันดังกล่าวเป็นรุ่นที่ผลิตในปี 2015 ซึ่งหลังสอบถามไปยังบริษัทก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นรุ่นที่ผลิตในปีดังกล่าวจริง ทำให้คุณสุชัยจึงแจ้งกลับไปว่า ก่อนหน้าทำสัญญาจองรถ เขาต้องการซื้อรถที่ผลิตในปี 2016 ซึ่งพนักงานขายที่ได้เสียชีวิตไปแล้วเป็นผู้จองให้ แต่ทางบริษัทได้ตอบกลับว่าไม่ทราบรายละเอียดที่คุณสุชัยได้แจ้งความจำนงไว้กับพนักงานคนดังกล่าว แต่จะรับผิดชอบด้วยการให้เช็คระยะฟรี 10,000 – 20,000 กิโลเมตรอย่างไรก็ตามคุณสุชัยได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว และขอให้บริษัทเปลี่ยนรถให้ใหม่ โดยให้เป็นรุ่นที่ตกลงกันไว้แต่แรก แต่บริษัทกลับตอบกลับว่าไม่สามารถเปลี่ยนให้ได้  เขาจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำว่าเขามีสิทธิที่จะขอเงินคืนได้หรือไม่ ส่วนกรณีที่สอง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณปราณี เธอตกลงใช้บริการรับส่งน้ำดื่มตามบ้าน ซึ่งก่อนใช้บริการพนักงานแจ้งว่าต้องเสียค่ามัดจำถังจำนวน 700 บาท และจะคืนให้เมื่อเลิกใช้บริการ เมื่อใช้บริการดังกล่าวไปได้สักระยะ คุณปราณีต้องการหยุดใช้บริการ โดยเข้าใจว่าต้องได้เงินมัดจำที่เคยเสียไปคืนด้วย แต่เมื่อติดต่อไปยังบริษัทกลับได้รับคำตอบว่า ไม่สามารถคืนเงินให้ได้ เพราะพนักงานที่คุณปรานีเคยติดต่อซื้อขายนั้น ไม่ได้นำเงินดังกล่าวส่งบริษัท ทำให้เธอส่งเรื่องมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพราะเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับทั้งสองกรณีที่เกิดขึ้นล้วนมาสาเหตุจากการพูดคุยติดต่อกับพนักงานขาย ซึ่งเป็นตัวแทนในการซื้อขายระหว่างบริษัทกับผู้ร้อง และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเพราะตัวแทนขายดังกล่าว ผู้บริโภคก็ถูกปฏิเสธความรับผิดชอบจากบริษัท ทั้งนี้สำหรับกรณีแรกการซื้อรถยนต์แล้วไม่ได้รถอย่างที่คุยกันไว้ ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่า รายละเอียดต้องเป็นไปตามสัญญาที่ผู้ร้องทำไว้ แม้พนักงานคนที่ได้ทำสัญญาไว้จะเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งหากไม่ได้รถตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา สามารถบอกเลิกสัญญาและขอเงินคืนได้ เพราะตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยสัญญา ให้ธุรกิจขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา 2551 โดยกำหนดไว้ว่า ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้ประกอบธุรกิจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ปรับเปลี่ยนราคารถยนต์สูงขึ้น (2) ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่กำหนด (3) ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มียี่ห้อ รุ่น ปีที่ผลิต สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์ตรงตามที่กำหนดในสัญญา (4) ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มีรายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถม หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดในสัญญา อย่างไรก็ตามรูปแบบของสัญญาก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากไม่ได้ทำตามที่กฎหมายกำหนดก็อาจถูกฉ้อโกงได้ ซึ่งหากใครกำลังจะตกลงจองรถ ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่าสัญญาที่ทำกับตัวแทนมีลักษณะตรงตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ โดยตามประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ว่า สัญญาจองรถยนต์ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ดังนี้ (2) ยี่ห้อ รุ่น ปีที่ผลิต สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์ (3) รายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถมหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ (ถ้ามี) (4) จำนวนเงิน หรือสิ่งที่รับไว้เป็นมัดจำ (ถ้ามี) (5) ราคา (6) กำหนดเวลาที่คาดว่าจะส่งมอบรถยนต์ส่วนกรณีที่สองผู้ร้องถูกปฏิเสธการคืนเงินมัดจำ ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่า บริษัทไม่สามารถอ้างว่าพนักงานไม่นำส่งได้ เนื่องจากการที่พนักงานไม่ส่งเงินค่ามัดจำให้บริษัท ถือเป็นเรื่องการบริหารงานภายในของบริษัท ซึ่งต้องไปติดตามเอาผิดกับพนักงานคนดังกล่าวเอง แต่ในส่วนที่ผู้ร้องได้จ่ายเงินไปและทำตามสัญญา รวมถึงมีใบเสร็จยืนยันการชำระเงิน บริษัทจำเป็นต้องทำตามสัญญาและคืนเงินค่ามัดจำดังกล่าวให้ผู้ร้อง ซึ่งหากไม่ดำเนินการภายในกำหนด จะถือว่าเป็นการฉ้อโกงผู้บริโภค โดยผู้ร้องสามารถดำเนินการแจ้งความเอาผิดกับบริษัทได้ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 63 เปลี่ยนหรือคืนสินค้า ทำได้จริงแค่ไหน

คุณเคยนำสินค้าที่ซื้อมาจากห้างสรรพสินค้าไปคืนกับพนักงานขายไหมคะ คำตอบแรกที่คุณคิดว่าจะได้ยินคุณคิดว่าคืออะไร....คืนได้หรือไม่ได้เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาบรรดาห้างสรรพสินค้าและดิสเคาน์สโตร์ รวมถึงคอนวีเนียนสโตร์หรือร้านสะดวกซื้อ ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือกำหนดมาตรฐานการรับประกันคุณภาพสินค้าและบริการร่วมกับกรมการค้าภายใน เพื่อเป็นการยืนยันว่า สินค้าที่มีการจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าได้มาตรฐานและรับประกันคุณภาพของสินค้า ซึ่งรายละเอียดการรับประกันสินค้าของแต่ละห้างเป็นอย่างไร เชิญตรวจสอบกันได้ในบทความนี้เลยนะคะไม่พอใจสินค้า เรายินดีคืนเงิน ??นักช้อปโดยทั่วไปมักเข้าใจว่าการเปลี่ยนหรือคืนสินค้านั้นจะทำได้เฉพาะกับสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง หรือผลิตมาไม่ได้มาตรฐานเท่านั้น แต่ความจริงแล้วการเปลี่ยนหรือคืนสินค้านั้นทำได้แม้กระทั่งสินค้านั้นไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด เพียงแค่คุณไม่ชอบใจมันเอาดื้อ ๆ คุณก็สามารถเปลี่ยนหรือเอาเงินคืนได้ ในห้างสรรพสินค้าบางแห่งคุณอาจจะเคยเห็นป้ายแบบนี้บ้างนะคะ“ไม่พอใจสินค้า เรายินดีคืนเงิน” ซึ่งหมายความว่า สำหรับสินค้าที่คุณจ่ายเงินซื้อนำกลับไปถึงบ้านแล้ว แม้ว่าตัวสินค้ามันจะไม่มีความผิดอะไร ไม่มีความเสียหายชำรุดบกพร่อง เพียงแต่แค่คุณเกิดความรู้สึกไม่พอใจสีสันหรือรูปทรงของสินค้า (แม้ว่าตอนที่อยู่ในห้างคุณจะรู้สึกพอใจเอามาก ๆ ก็ตาม) คุณมีสิทธิ์ขอคืนสินค้าเปลี่ยนเป็นเงินคืนได้ แล้วคุณเคยลองพิสูจน์ข้อความเช่นว่านั้นหรือไม่ว่าทำได้จริงหรือเปล่าฉลาดซื้อได้ทดลองส่งอาสาสมัครไปซื้อสินค้าราคาปกติตามร้านค้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของห้างสรรพสินค้าและดิสเคาน์โตร์ทั้งหมด 7 แห่ง เป็นห้างสรรพสินค้า 4 แห่ง คือ 1. ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว  2. ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็งสาขาธนบุรี และห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขารัชดาภิเษก และเป็นดิสเคาน์สโตร์ 3 แห่ง คือ 1.คาร์ฟูร์ สาขาบางปะกอก 2. บิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ และ เทสโก โลตัส สาขางามวงศ์วาน โดยมีเงื่อนไขให้กับอาสาสมัครว่าให้ซื้อสินค้าที่ขายในราคาปกติ ขายโดยร้านหรือบูธที่เป็นส่วนของห้างสรรพสินค้า (ไม่ใช่ร้านที่เข้ามาเช่าพื้นที่) และเมื่อซื้อสินค้ามาแล้ว 1-2 วันให้นำสินค้าไปคืน โดยขอคืนเงินที่จ่ายไปทั้งหมดไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนสินค้าแทน โดยมีข้ออ้างว่าไม่พอใจสินค้าด้วยสาเหตุที่ไม่ใช่ความชำรุดบกพร่องของตัวสินค้า เช่น ไม่ชอบสีสันหรือรูปทรงที่เลือกไป เป็นต้นผลการสำรวจมาตรการการรับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าเพื่อ ความพอใจของลูกค้าผลที่ได้คือ ดิสเคาน์สโตร์ทั้ง 3 แห่ง ยอมคืนเงินให้กับลูกค้า โดย คาร์ฟูร์และบิ๊กซีขอจดชื่อที่อยู่ของลูกค้าไว้ ในขณะที่เทสโก โลตัส ยอมคืนเงินให้โดยไม่มีการจดข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าแต่อย่างใดสำหรับกลุ่มห้างสรรพสินค้าพบว่า•    ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง เมื่ออาสาสมัครขอคืนสินค้ากับพนักงานขาย ๆ ไม่ยอมให้คืนสินค้าแต่เสนอให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าอื่นเปลี่ยนแทน แต่เมื่อลูกค้ายังยืนยันต้องการคืนสินค้าเหมือนเดิม พนักงานขายก็ยังไม่ยอมคืนให้ ท้ายที่สุดอาสาสมัครได้ไปติดต่อที่จุดบริการลูกค้าของห้างสรรพสินค้าจึงได้รับเงินคืน•    ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เมื่ออาสาสมัครขอคืนสินค้า พนักงานขายเสนอให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าอื่นเปลี่ยนแทนแต่เมื่อลูกค้ายืนยันขอคืนเงินเหมือนเดิม พนักงานขายบอกให้ไปติดต่อที่แคชเชียร์ของแผนกสินค้านั้น ซึ่งทางแคชเชียร์แจ้งว่าไม่สามารถคืนเป็นเงินได้ (ทั้ง ๆ ที่มีป้ายเขียนไว้ว่า รับประกันความพอใจ เปลี่ยนคืนสินค้าสำเร็จได้ภายใน 5-10 นาที แสดงไว้อย่างชัดเจนที่เคาน์เตอร์แคชเชียร์)และได้ออกเป็นใบคูปองใช้แลกซื้อสินค้าในห้างแทน มีอายุ 30 วันจนท้ายที่สุดฉลาดซื้อต้องโทรไปแจ้งว่าเรากำลังทดสอบมาตรการการรับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าของห้างกับผู้บริหารระดับสูงทางห้างจึงคืนเงินให้พร้อมกับคำขออภัยและแจ้งว่าจะมีมาตรการลงโทษกับการประพฤติตัวที่ไม่เหมาะสมของพนักงานแคชเชียร์และพนักงานขาย•    ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ เมื่ออาสาสมัครขอคืนสินค้า พนักงานขายเสนอให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าอื่นเปลี่ยนแทนแต่เมื่อลูกค้ายืนยันขอคืนเงินเหมือนเดิม พนักงานขายและแคชเชียร์ปฏิเสธ ซึ่งทางแคชเชียร์แจ้งว่าไม่สามารถคืนเป็นเงินได้และได้ออกเป็นใบคูปองใช้แลกซื้อสินค้าในห้างแทน แต่มีระยะเวลาเพียง 1 วันเท่านั้น จนท้ายที่สุดฉลาดซื้อต้องโทรไปแจ้งว่าห้างกำลังถูกทดสอบมาตรการการรับเปลี่ยนหรือคืนสินค้ากับผู้บริหารระดับสูง ทางห้างจึงคืนเงินให้พร้อมกับคำขออภัยและแจ้งว่าจะมีมาตรการลงโทษกับการประพฤติตัวที่ไม่เหมาะสมของพนักงานขาย•    ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เมื่ออาสาสมัครขอคืนสินค้า พนักงานขายเสนอให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าอื่นเปลี่ยนแทนแต่เมื่อลูกค้ายืนยันขอคืนเงินเหมือนเดิม พนักงานขายบอกให้ไปติดต่อที่แคชเชียร์ของแผนกสินค้านั้น ซึ่งทางแคชเชียร์แจ้งว่าไม่สามารถให้คืนเป็นเงินได้ จนท้ายที่สุดฉลาดซื้อต้องโทรไปแจ้งว่าเรากำลังทดสอบมาตรการการรับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าของห้างกับผู้บริหารระดับสูง ทางห้างจึงคืนเงินให้พร้อมกับคำขออภัยและแจ้งว่าจะมีมาตรการลงโทษกับการประพฤติตัวที่ไม่เหมาะสมของพนักงานขาย และแจ้งว่าหากลูกค้าต้องการเปลี่ยนหรือคืนสินค้าให้ไปติดต่อที่จุดบริการลูกค้า(ซึ่งอยู่ที่ชั้นสอง คนละชั้นกับจุดที่มีปัญหา) จะดีที่สุดจะเห็นได้ว่า แม้จะมีข้อตกลงดังกล่าว (ซึ่งตามจริงหลาย ๆ ห้างก็มีข้อตกลงการเปลี่ยนหรือคืนสินค้า มาก่อนหน้านี้ตั้งนานแล้ว) แต่ในทางปฏิบัติคุณอาจพบปัญหาได้โดยเฉพาะกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าที่สนใจเปอร์เซ็นต์ยอดขายมากกว่าหัวใจในการบริการลูกค้าไม่สนใจที่จะคืนเงินให้กับลูกค้าทั้ง ๆ ที่ลูกค้าได้แสดงเจตน์จำนงค์อย่างชัดเจนแล้ว ซึ่งหากผู้บริหารของกลุ่มห้างสรรพสินค้าไม่มีการปรับตัว เช่น ไม่มีการเข้มงวดกวดขันอบรมพนักงานขายที่ดีพอ หรือไม่มีจุดบริการลูกค้าที่เห็นเด่นชัดทุกชั้น ทุกแผนก ก็อาจกลายเป็นจุดอ่อนของห้างสรรพสินค้าที่ทำให้ลูกค้าเข็ดขยาดจนต้องหันไปใช้บริการกับกลุ่มดิสเคาน์โตร์ใหญ่ ๆ ได้ง่าย สำหรับผู้บริโภคที่มีปัญหาในการขอเปลี่ยน หรือขอคืนสินค้าให้ติดต่อกับฝ่ายประชาสัมพันธ์หรือผู้บริหารระดับสูงของห้างทันทีกรณีสินค้าชำรุดบกพร่องเปลี่ยนหรือคืนได้เพียงแค่วันที่ห้างกำหนดจริงหรือ?ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องนั้นมีอยู่ม.473 ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                       (1)    ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่องหรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน(2)    ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยไม่อิดเอื้อน(3)    ถ้าทรัพย์นั้นได้ขายทอดตลาดม. 474 ในข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับคืนสินค้าหรือเปลี่ยนสินค้าใหม่ ของห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ นั้น ในทางกฎหมาย มีลักษณะเป็นคำมั่น ซึ่งหากทางห้างไม่ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้กับผู้บริโภค จะมีผลเป็นการผิดสัญญา อย่างไรก็ตาม หากสินค้าชำรุดบกพร่อง ทางห้างจะต้องรับผิดชอบทุกกรณีตามกฎหมาย (มีอายุความ 1 ปี)โดยไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขการรับคืนสินค้าซึ่งห้างเป็นผู้กำหนดขึ้น ส่วนจะรับผิดชอบในลักษณะใดนั้น ก็ต้องพิจารณาตามความบกพร่องที่เกิดขึ้น เช่น การคืนเงิน การเปลี่ยนสินค้า เป็นต้น หลักเกณฑ์และเงื่อนไข การรับคืนสินค้าหรือเปลี่ยนสินค้าใหม่ข้อมูลจากกรมการค้าภายในกลุ่มห้างสรรพสินค้าบริษัท ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเงื่อนไข สินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เปลี่ยนหรือคืนได้ ยกเว้นสินค้า เครื่องประดับ เครื่องสำอาง หนังสือ ไส้ปากกาผ้าและสินค้าลดราคาไม่รับคืน เฉพาะสินค้าชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นในเปลี่ยนหรือคืนได้ ภายในวันที่ซื้อสินค้าและสินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์เท่านั้น กำหนดระยะเวลา ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ซื้อเอกสาร/หลักฐาน ใบกำกับภาษีแบบย่อ หรือใบกำกับภาษีเต็มรูปบรัษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เงื่อนไข รับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าภายใต้เงื่อนไข สินค้าต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ยกเว้นสินค้าลดราคาพิเศษกำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วัน นับแต่วันซื้อสินค้าเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับบริษัท ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง จำกัดเงื่อนไข เกี่ยวกับคุณภาพสินค้า สามารถเปลี่ยนหรือคืนสินค้าได้ สินค้าต้องยังคงสภาพพร้อมขาย มิได้ผ่านการใช้งานยกเว้นกรณีมีปัญหาด้านคุณภาพหลังใช้งาน สุรา และสินค้าตัดแบ่งจำหน่ายรับเปลี่ยนหรือคืนกำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ซื้อเอกสาร/หลักฐาน ใบกำกับสินค้า และสินค้าที่มีใบรับประกันคุณภาพ บริษัทฯ จะเป็นผู้สานผลประโยชน์ให้ลูกค้าบริษัท บางลำพู (ประชาราษฎร์อาเขต) จำกัดเงื่อนไข สินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ สามารถเปลี่ยนหรือคืนได้ ยกเว้น ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นในกำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ซื้อเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน หรือป้ายแสดงราคาของบริษัทฯบริษัท ห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า เงื่อนไข ลูกค้าไม่พอใจในคุณภาพของสินค้าสามารถเปลี่ยนหรือคืนได้ โดยสินค้านั้นต้องอยู่ในสภาพพร้อมจำหน่ายกำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วันเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน และสินค้า มีป้ายราคาของบรัทฯบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด(มหาชน)เงื่อนไข สินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ สามารถเปลี่ยนหรือคืนได้ ยกเว้นสินค้าประเภท ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน เครื่องประดับเครื่องสำอาง ชุดราตรี ผ้า หนังสือ ไส้ปากกา และสินค้าลดราคา ไม่รับเปลี่ยนหรือคืนกำหนดระยะเวลา ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ซื้อเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงินบริษัท อิมพีเรียล พลาซ่า จำกัดเงื่อนไข สินค้าไม่ได้คุณภาพ ยินดีรับคืนเงินหรือมอบสินค้าใหม่ให้ฟรี และสินค้าต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์กำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วันเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงินกลุ่มดิสเคาน์สโตร์บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด  (คาร์ฟูร์)เงื่อนไข สินค้าไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานสามารถคืนได้ทุกประเภท ยกเว้น เสื้อผ้าที่มีการแก้ไขรูปทรง ชุดชั้นในเทปเพลง ซีดี หนังสือ ถ่าน-แบตเตอรี่ทุกประเภท หลอดไฟ และสินค้า ลดราคาล้างสต๊อกกำหนดระยะเวลา ภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ซื้อสินค้า ภายในวันเดียวกันสำหรับสินค้าที่เป็นอาหารสดเอกสาร/หลักฐาน สินค้าในสภาพสมบูรณ์ พร้อมใบเสร็จรับเงินตัวจริงบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)เงื่อนไข สินค้าชำรุดหรือผิดพลาดจากการผลิตหรือซื้อสินค้าผิดหรือไม่พอใจในสินค้า สามารถเปลี่ยนหรือคืนได้ยกเว้น ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน สินค้าลดราคา เทป ซีดี วีดีโอกำหนดระยะเวลา ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ซื้อสินค้ายกเว้นเครื่องใช้ไฟฟ้าคืนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ซื้อ อาหารสดและเบเกอรี่คืนก่อนวันหมดอายุเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน สำหรับสินค้าทั่วไป และใบเสร็จรับเงินและใบรับประกันสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)เงื่อนไข รับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าที่ไม่สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ต้องมีอุปกรณ์และส่วนประกอบต่าง ๆครบถ้วนสมบูรณ์ และสินค้าต้องอยู่ในสภาพเดิม ยกเว้นสินค้าที่ชำรุดเสียหาย หากการใช้งานไม่ถูกต้องตามวิธีหรือคำแนะนำกำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ซื้อสินค้า ยกเว้นอาหารสดรับคืนภายใน 7 วันที่ซื้อเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน และสินค้าต้องอยู่ในสภาพเดิมบริษัท เอก ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (เทสโก โลตัส)เงื่อนไข รับคืนสินค้าทั่วไป ภายใน 30 วันรับคืนสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายใน 7 วันรับคืนสินค้าอาหารสด ภายในวันเดียวกันเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงินหรือไม่ได้นำใบเสร็จมาก็คืนได้สินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์บรัษัท เซ็นทรัลฟู้ดรีเทล จำกัด (ท๊อป)เงื่อนไข สินค้าไม่ได้คุณภาพ ความสด หรือมาตรฐานสามารถรับเงินคืนที่สาขาใดก็ได้กำหนดระยะเวลา    ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ซื้อเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน และสินค้าอุปโภคบริโภค (อาหารสดไม่ต้องนำสินค้ามาแสดง)บริษัท ฟู้ดแลนด์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัดเงื่อนไข สินค้าคุณภาพไม่ดีหรือซื้อผิด สามารถเปลี่ยนสินค้าได้โดยติดต่อผู้จัดการสาขากำหนดระยะเวลา -เอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงินบริษัท เพาเวอร์บาย จำกัดเงื่อนไข รับเปลี่ยนหรือคืนสินค้า ยกเว้น กล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ โทรศัพท์มือถือ สินค้าตัวโชว์สินค้าลดล้างสต๊อก และทีวีจอใหญ่กว่า 30 นิ้ว และไม่รับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าใช้แล้วหรือแกะกล่องแล้ว ตู้เย็น เทป ซีดี  วีดีโอ คอมพิวเตอร์ ฟิล์ม ถ่านไฟฉาย ถ่านชาร์จเครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น ไมโครเวฟ เครื่องครัวเล็ก ผ้าหมึก และอุปกรณ์ทำความสะอาดกำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วัน นับแต่วันซื้อสินค้าเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน พร้อมกล่องบรรจุ ใบรับประกัน คู่มือ และอุปกรณ์ต่อพ่วงของสินค้ากลุ่มร้านสะดวกซื้อบริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด   (จิฟฟี่)เงื่อนไข สินค้าหมดอายุ ไม่ได้มาตรฐาน เสีย บกพร่อง สามารถเปลี่ยนสินค้าหรือรับเงินคืนได้กำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วันเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน และสินค้า (ยกเว้นสินค้าอายุสั้น และหมดอายุก่อนไม่ต้องนำสินค้ามาแสดง)บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)เงื่อนไข สินค้าเสียก่อนวันหมดอายุ สามารถเปลี่ยนสินค้าได้กำหนดระยะเวลา    -เอกสารหลักฐาน -บริษัท บางจาก กรีนเนท จำกัดเงื่อนไข สินค้าเสื่อมคุณภาพทุกกรณี สามารถเปลี่ยนได้กำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วันเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน และสินค้ามาแสดงบริษัท สยามแฟมิลี่สมาร์ท จำกัดเงื่อนไข สินค้าเสียก่อนวันหมดอายุ สามารถเปลี่ยนสินค้าได้กำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วันเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน และสินค้ามาแสดงบริษัท อาร์ บี เซอร์วิส จำกัดเงื่อนไข สินค้าหมดอายุ หรือความผิดพลาดของบริษัทยินดีให้เปลี่ยนหรือคืนสินค้าได้กำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ซื้อสินค้าเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานที่พิสูจน์ได้ร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัดเงื่อนไข สินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย ยินดีรับคืนหรือเปลี่ยนได้กำหนดระยะเวลา -เอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงินหมายเหตุ : หากมีข้อสงสัยในรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข โปรดติดต่อสอบถามไปยัง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ท่านใช้บริการสิทธิในการเปลี่ยนหรือคืนสินค้าของคนอังกฤษในประเทศอังกฤษเรื่องการจับจ่ายซื้อสินค้ามีประเด็นกฎหมายที่

อ่านเพิ่มเติม >