ฉบับที่ 251 การดูแลผมแห้งเสียให้มีสุขภาพดี

        สุขภาพ “เส้นผม” ที่ดี เป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญ การมีผมสะอาด แข็งแรง สวยงามช่วยเสริมบุคลิกให้ดูดีขึ้นได้  หลายคนพยายามค้นหาวิธีการพิเศษหรือคิดสรรหาวิธีเสริมสวยต่างๆ เช่น การย้อมผม กัดสีผมหรือยืดผม มาช่วยเสริมความมั่นใจให้กับตัวเอง แต่รู้หรือไม่พฤติกรรมทั้งหมดนี้อาจให้ผลตรงกันข้ามกับที่คิดและอาจเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนทำลายเส้นผมของเรา         โดยปกติผมแห้งเสียนั้นเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ทั้งพฤติกรรมการดูแลเส้นผม สภาพแวดล้อม และกรรมพันธุ์พื้นฐานตั้งแต่เกิด แต่พฤติกรรมที่เสี่ยงทำให้เกิดผมเสียหลักๆ คือ        1.การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรุนแรงกับเส้นผม เช่น การยืดผม ย้อมสีผม ดัดผม ทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีขั้นตอนในการทำที่ต้องใช้สารเคมีชนิดเข้มข้น ซึ่งสารเคมีพวกนี้จะเข้าไปทำลายโปรตีนในเส้นผมทำให้เวลาลูบผมจะรู้สึกสากๆ หยาบกระด้าง        2.การใช้แชมพู ครีมนวดผมหรือทรีตเม้นต์ต่างๆ ที่ไม่เข้ากับธรรมชาติของเส้นผม ตลอดจนพฤติกรรมการสระผม ยิ่งสระผมบ่อยผมยิ่งแห้ง หรือการสระผมด้วยน้ำอุ่นยิ่งเสริมให้ผมแห้งหยาบมากขึ้น        3.พฤติกรรมการใช้ความร้อนกับเส้นผม เช่น การใช้ไดร์เป่าผมด้วยลมร้อนขั้นสุด หรือการใช้เครื่องหนีบผม ที่มีความร้อนสูง       ดูอย่างไรว่า “เส้นผม” เริ่มเสียจนเข้าขั้นวิกฤต         ลักษณะของเส้นผมที่เริ่มเข้าสู่วิกฤตและอาจจะสายเกินแก้หากปล่อยไว้ มีรูปแบบดังนี้ ผมแห้งและรู้สึกไม่มีน้ำหนัก เบา ชี้ฟู เปราะบางขาดง่ายและสุดท้ายเริ่มแตกปลายมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งสัมผัสเมื่อลูบผม คือรู้สึกหยาบกระด้างไม่นุ่มสลวย ทั้งนี้เมื่อลองเอาช่อผมมาผูกเป็นปมเล็กๆ แล้ว ถ้าหากผมไม่คลายออกแต่ยังคงเป็นปมแน่นอยู่ เสมือนผูกเชือกแล้วยังคงอยู่ยังไง ก็ยังคงอยู่อย่างนั้น แสดงว่า “เส้นผมเสียจนเข้าขั้นวิกฤต” แล้วแน่นอน ควรจะหาวิธีบำรุงและดูทันที ดูแลเส้นผมให้มีสุขภาพที่ดีได้อย่างไร        -      ควรเลือกผลิตภัณฑ์แชมพูสระผมให้มีค่า ph อยู่ที่ 5.5 หลีกเลี่ยงแชมพูที่มีส่วนผสมของ แอมโมเนียม ลอริล ซัลเฟต สารกันเสีย และซิลิโคน          -      ใช้ครีมนวดผมเป็นประจำ และหมักผมอย่างน้อย 2-3 นาที ควรเลือกครีมนวดให้เหมาะกับตัวเอง หากรู้สึกว่าใช้แล้วเส้นผมไม่ดีขึ้นให้เปลี่ยน นอกจากนี้แม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ครีมนวดผมที่ไม่ถูกกับเส้นผมจะก่อให้เกิดผมเสียได้ “แต่ยังไงการใช้ครีมนวดผมก็ยังคงเป็นวิธีการดูแลหลักที่สำคัญ”  ซึ่งหากใช้ให้ถูกกับตัวเองก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดี        -      ไม่สระผมด้วยน้ำอุ่นจัด และเป่าผมด้วยไอลมระดับพอดีไม่ร้อนจนเกินไป ควรที่จะสระผมด้วยอุณหภูมิปกติ และสระเพียงแค่ 2 วันต่อครั้ง ยกเว้นผู้ที่มีลักษณะผมมันมากอาจสระได้วันละครั้ง        -      ใส่ทรีตเม้นต์บำรุงผม โดยใช้แบบธรรมชาติเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว โดยสามารถมาสก์ทิ้งไว้ก่อนสระผม และควรเล็มปลายผมที่แตกปลายออกอย่างน้อยทุกๆ 2-3 เดือน          ทั้งนี้สามารถใช้ตัวช่วยในการดูแลสุขภาพเส้นผมเป็นการรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมได้ อาจจะเป็นอาหารเสริมหรือวิตามินจำพวกโปรตีน สังกะสี ธาตุเหล็ก เป็นต้น แต่ก็ต้องตรวจสอบให้ดี อ่านวิธีใช้และผลข้างเคียงก่อนบริโภค  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 แชมพู “กู้” ผมเสีย

           ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอเอาใจผู้ที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์เพื่อกอบกู้สภาพเส้นผม เรามีผลการทดสอบแชมพูสำหรับผมเสีย ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research and Testing) ได้ทำการทดสอบไว้ แต่เนื่องจากเนื้อที่มีจำกัด เราจึงขอนำเสนอเพียง 26 ผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในบ้านเราทั้งในห้างและร้านค้าออนไลน์ในภาพรวม แชมพูทั้งหมดได้คะแนนการชำระความสกปรกออกจากเส้นผมในระดับห้าดาว แต่คะแนนด้านอื่นๆ ยังแตกต่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและฉลากที่อวดอ้างว่าสามารถ “ซ่อมแซม” ผมเสียได้ อยากรู้ว่าผลิตภัณฑ์ไหนน่าซื้อหามาใช้ที่สุด เชิญติดตามรายละเอียดได้ในหน้าถัดไป---   คะแนนเต็ม 100 ในการทดสอบ แบ่งสัดส่วนออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้40 คะแนน       ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ทดลองสระผมให้อาสาสมัคร แล้วตอบคำถามเกี่ยวกับสภาพผมทั้งขณะแห้งและเปียก รวมถึงปริมาณฟองด้วย            30 คะแนน      ความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้ ความรู้สึกสะอาด อาการระคายเคือง และปริมาณฟอง10 คะแนน      การสระผงสีออกจากเส้นผมในห้องปฏิบัติการ เพื่อวัดความสะอาด10 คะแนน      ส่วนประกอบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม           10 คะแนน       ฉลากที่ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์สามารถ “ซ่อมแซม” ผมเสีย---             · การทดสอบครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยตัวอย่างละประมาณ 105,000 บาท          มีอาสาสมัครร่วมทดสอบทั้งหมด 375 คน เป็นหญิง/ชาย อายุระหว่าง 18 – 75 ปี ที่มีผมยาวตั้งแต่ 10 เซ็นติเมตรขึ้นไป สภาพผมเสียปานกลางถึงเสียมาก อาสาสมัครเหล่านี้มีกลุ่มที่ผมเส้นเล็กและเส้นใหญ่           และผมตรงถึงผมหยิกปานกลาง          อาสาสมัครหนึ่งคนจะใช้เพียงสองผลิตภัณฑ์เท่านั้น    

อ่านเพิ่มเติม >