ฉบับที่ 271 โรคซึมเศร้าไม่ใช่ปัญหาส่วนตัว: ผู้ป่วยก็ซึม ระบบรักษาพยาบาลยิ่งน่าเศร้า

        ความเหล่านี้ เขียนโดยผู้ป่วยซึมเศร้าเรื้อรังและประสบการณ์ของเพื่อนอีกคนที่มานั่งสนทนากลุ่มท่ามกลางความหมองเศร้ามากมายจากแง่มุมแตกต่างกัน ทว่า “ยอดภูเขาน้ำแข็ง” ที่ประสบร่วมกันคือ “ทุกข์จาก ความพยายามในการหายป่วย”พูดให้ง่าย พวกเราเวียนว่ายทุกข์ระทมในระบบสุขภาพที่มีอยู่มานานแล้วแต่เราหาทางออกจากการรักษาโรคซึมเศร้าไม่เจอ        สมมติว่าผู้เขียนชื่อ ฐ. อดีตนักข่าว บรรณาธิการ นักวิจัยที่เคยไปทำงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มากกว่า 18 ปี ส่วนอีก 9 คนนั้น เป็นนักข่าวอิสระหนึ่งคน นักเขียนฟรีแลนซ์หนึ่งคน มีนักแปลที่ผันตัวจากพนักงานธนาคารแห่งหนึ่ง นักกฎหมายสิทธิมนุษยที่ทำงานช่วยเหลือผู้คนให้กับมูลนิธิแห่งหนึ่ง ผู้บริหารองค์กรระหว่างประเทศกำลังสองจิตสองใจว่าควรออกจากงานดีหรือไม่ อดีตเอ็นจีโอด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ที่เป็นอดีตเพราะเขายอมรับว่าพ่ายแพ้ต่อความเจ็บป่วยจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงเหมือนที่ผ่านมา นักศึกษาปริญญาเอกที่ยังหาทางออกให้ตัวเองไม่ได้ นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่เพิ่งออกจากรั้วมหาวิทยาลัย 2 คน อายุเฉลี่ยทั้ง 10 คน อยู่ระหว่าง 20 ปีต้นๆ ถึง 50 ปี หากพวกเราไม่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า มีโอกาสได้ทำงานที่ดีกว่านี้อย่างมีความสุข รับประกันได้เลยว่า กลุ่มพวกเราคือวัยแรงงานที่สำคัญในการขับเคลื่อนสังคม สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจระดับประเทศ และเป็นหัวหน้าครอบครัวที่่มีคุณภาพมากกว่านี้แน่นอน         ปัญหาร่วมในการดำเนินชีวิตและภาระทางจิตใจ แม้บางคนไม่พูดออกมาชัดถ้อยชัดคำนักก็ตาม สิ่งที่แน่นอยู่ในอกเป็นก้อนความทุกข์เศร้าขนาดใหญ่กว่าหัวใจ คือการตระหนักดีว่าพวกเรา (เคย) มีศักยภาพแค่ไหน และในกลุ่มพวกเราไม่มีใครสักคนอยากเป็นภาระแก่ใครในครอบครัว ไม่อยากเป็นภาระแก่เพื่อนร่วมงาน รวมทั้งไม่อยากเป็นภาระกับระบบสุขภาพใด ๆ ด้วยเช่นกัน  ก้อนที่กดทับหัวอกเรานี้, ทำให้พวกเราเจียมตัว ไม่มีปากเสียงเรียกร้องค่าแรงที่เป็นธรรม เป็นชายขอบของภาคแรงงาน ต้องเค้น ขูดรีด และกดดันตัวเองมากขึ้นเพื่อให้ตลาดแรงงานยอมรับข้อจำกัดนี้ จึงจำนน รับงานชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาทำเพื่อให้เกิดรายได้พอประทังชีวิต พอจ่ายค่ายาโดยไม่รบกวนคนรอบข้างมากเกินไป วันดีคืนร้ายก็มีข่าวเฟคนิวส์บอกว่า นายจ้างสามารถบอกเลิกจ้างผู้ป่วยซึมเศร้าได้ยิ่งทำให้พวกเราตื่นตระหนกเงียบ ๆ อยู่ในมุมมืด “อย่าตัดฟางเส้นสุดท้ายของเราทิ้งเลย” เสียงวิงวอนก้องกังวานในใจ                วัฎจักรของผู้ป่วยซึมเศร้า          การสนทนากลุ่มของพวกเรามีข้อค้นพบที่น่าสนใจหลายประการ รวบรัดประเด็นสำคัญก่อน เช่น พบว่า ในวัฎจักรของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีคนอยู่อย่างน้อย 3 กลุ่มหลัก คือ         (1) คนที่ไม่รู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจนอาการปรากฏแล้วและไม่มีโอกาสเข้ารับการรักษาพยาบาล         (2) คนที่รู้ตัวว่าป่วยแต่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาล และ (3) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ระหว่างการรักษาและทุกข์อยู่กับระบบสุขภาพอย่างเดียวดาย         พวกเราทั้ง 10 คนอยู่ในกลุ่ม 3 นี้ทั้งหมด บางคนยกธงยอมแพ้กับระบบสวัสดิการที่ตัวเองมี ยอมจำนนเสียเงินจำนวนมากรักษากับโรงพยาบาลเอกชนเพื่อย่นย่อระยะเวลาในการรอพบแพทย์ ลดขั้นตอนการรักษาเพื่อบรรเทาทุกข์ทางใจ (หรือซ้ำเติมทุกข์ที่มีอยู่ขึ้นอยู่กับสุขภาพของกระเป๋าเงินช่วงนั้น)         ประสบการณ์ร่วมของพวกเรายืนยันหนักแน่นว่า “ปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่ความทุกข์ระดับบุคคล” หรือเรื่องของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แม้เบ้าหน้าเรากำลังหัวเราะ เพื่อไม่ให้คนรอบข้างรู้สึกเป็นห่วงสุขภาพ แต่ในใจระหว่างฟังบทสนทนาของเพื่อนๆ หัวใจบีบเค้นเต้นรัววูบวิบวับ ต้องหายใจลึกๆ ไม่ใช่แค่จากจมูกลากลมหายใจไปถึงปอด แต่ฉันลากลมหายใจผ่านทวารจรดถึงปลายเท้าวนเช่นนี้หลายรอบมาก ใช่, โรคซึมเศร้าสามารถรักษาหายได้ แต่ไม่เคยมีใครบอกเราเลยว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังทางจิตใจ เพื่อนนักเขียนที่นั่งในวงคุยเธอเป็นโรคนี้มาแล้วกว่า 20 ปี และต้องกินยาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน ถ้าวันไหนขาดยาต้านเศร้าวันนั้นชีวิตประจำวันถึงกับปั่นป่วนทีเดียว และทั้ง 10 คน ป่วยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ปี ส่วนฉันป่วยมาแล้ว 8 ปี ทั้งไม่มีใครเตือนอย่างหนักแน่นว่า โรคซึมเศร้าหายแล้วก็สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก หรืออย่าหยุดยาเองโดยแพทย์ไม่วางแผนถอนยาให้ เพราะถ้าโรคกลับมาใหม่มันจะร้ายกาจกว่าเดิม ซึ่งเป็นทางหนึ่งให้เกิดวงจรโรคเรื้อรังทางจิตใจตามมา         เอาเข้าจริง คนที่เข้าสู่วงการโรคซึมเศร้าไม่เห็นมีใครหลุดออกไปง่ายๆ เลย ฉันจินตนาการไม่ออกว่าการเป็นโรคเรื้อรังทางจิตใจระยะยาว ปลายทางมันจะเพิ่มการบั่นทอนการอยากมีชีวิตอยู่ต่อมากขนาดไหน และเริ่มไม่แน่ใจแล้วว่าจะหายจากโรคนี้ก่อนหรือหลังที่ฉันจะจากโลกนี้กันแน่         ความทุกข์ทับซ้อนเมื่อเข้าสู่ระบบสุขภาพ         ระหว่างนั่งคุยกัน มีเสียงหัวเราะที่ฉันไม่เข้าใจความหมายนั้น เช่น ทุกคนมีประสบการณ์ร่วมยามเจ็บป่วยด้วยโรคทางกายอื่นๆ ต้องเข้าโรงพยาบาล และพยาบาลด่านซักประวัติมักถามว่า มีโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังไหม? พอพวกเราบอกว่า “เป็นโรคซึมเศร้า” หรือบอกว่า “เป็นซึมเศร้าและวิตกกังวลร่วมด้วย” พยาบาลจะเงยหน้ามองแต่ไม่ระบุในใบคัดกรอง แต่ถ้าบอกว่าเป็น “โรคความดันสูง” หรือ “เบาหวาน” พยาบาลถึงจะจดบันทึกไว้ เอาเข้าจริง ฉันเคยมีความคิดอยาก “กวน” พยาบาลคัดกรองเหมือนกันว่า โรคซึมเศร้าไม่ถือเป็นโรคเรื้อรังทางการแพทย์หรือ? หรือเพราะกระแสรณรงค์ “สุขภาพดี เริ่มต้นที่ลดหวาน มัน เค็ม” อันเป็นบ่อเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) จึงไม่นับโรคทางจิตเวชเป็นโรคเรื้อรังเข้าไปด้วยหรือสุดโต่งที่จะคิดได้คือ การรักษาโรคนั้น แยกขาดระหว่างโรคทางกายและใจ โดยไม่คิดว่ามันสัมพันธ์กัน         แง่นี้, สถานะและความหมายของ “โรคเรื้อรัง” ระหว่างโรคทางกายกับโรคทางจิตใจก็ไม่เท่ากันแล้ว ซึ่งบางครั้งคันปากแต่การไปทะเลาะกับพยาบาลก็ไม่ใช่เรื่องถูกที่ ถูกคน และถูกกาลเทศะ แต่ก็ยังติดใจประเด็นนี้อยู่มาก “ถ้ากระทรวงสาธารณสุขเห็นความสำคัญหรือกำหนดเป็นวาระว่า ‘โรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังทางจิตใจ’ การทุ่มเททรัพยากร สวัสดิการ และการจัดการเชิงระบบจะดีขึ้นกว่านี้ไหม?”         ชวนคิดต่อเนื่องไปอีก เมื่อโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก ทุกครั้งที่รัฐ โดยเฉพาะศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต หรือผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข พูดถึง “ตัวเลข” จำนวนผู้ป่วยเชิงปริมาณ เช่น เมื่อต้นปี 2566 ระบุว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน ส่งผลให้คนไทยกว่า 70 % เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการชัดเจนในช่วงอายุ 25 ปี จากนั้น อาจเกิดเป็นโรคเรื้อรังทางจิตใจในระยะยาวได้ ทั้งมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายสูงกว่าคนทั่วไป 20 เท่าตัว    [1]  น่าสนใจว่า “ตัวเลข” ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเชิงปริมาณสะสมดังกล่าว มีวิธีวิทยาในการนับและคำนวณอย่างไร เมื่อ ‘มี’ ผู้ป่วยที่หายแล้วและกลับมาเป็นใหม่เพิ่มเข้ามาทุกปี         “ฐานข้อมูลโรคซึมเศร้าไทย” เป็นมรดกของนวัตกรรมเมื่อ 13 ปีก่อนจาก “โครงการทศวรรษการป้องกันและแก้ปัญหาโรคซึมเศร้า” ระยะ 10 ปี (ตั้งแต่ปี 2553 - 2563) นับเป็นความก้าวหน้าสอดคล้องกับกระแสสากล กรมสุขภาพจิตมีวิสัยทัศน์ว่า ภายในปี 2563 โรคซึมเศร้าจะไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ โดยมี “อัตราการเข้าถึงบริการ” เป็นตัวชี้วัด อันเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญให้เกิด “ระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า” ขึ้นมา รวมทั้งมีการคิดค้นทางวิชาการจนได้แบบคัดกรองสำหรับกลุ่มเสี่ยง แบบคัดกรองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า รวมทั้งแบบประเมินการฆ่าตัวตาย เพื่อใช้ส่งเสริมสุขภาพจิต และเป็นแนวทางในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ที่ยังใช้จริงจังต่อเนื่อง เป็นรูปธรรมจนถึงปัจจุบัน         อย่างน้อยช่วงเวลาของการรณรงค์นานนับกว่า 10 ปีภายใต้โครงการดังกล่าว สังคมเริ่มรู้จักและตระหนักถึงโรคนี้มากขึ้น เดิมผู้ป่วยซึมเศร้า 100 คนเข้าถึงบริการการรักษาเพียงแค่ 3 คน  ณ ปี 2566 ศูนย์โรคซึมเศร้าไทย ระบุว่า ระบบการดูแลสุขภาพสามารถทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ 100 คนเข้าถึงบริการการรักษาเพิ่มเป็น 28 คน ซึ่งพวกเราทั้ง 10 คนก็คือผู้ป่วยซึมเศร้าที่ยังมีลมหายใจอยู่อย่างโดดเดี่ยวในสัดส่วน 28% ที่ไม่ร่วงหล่นจากระบบสุขภาพก็จริง แต่มีแนวโน้มเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและเสี่ยงฆ่าตัวตายสำเร็จด้วย!         แม้จะผ่านมามากกว่าสิบปีจนถึงทุกวันนี้,  “อัตราการเข้าถึงบริการ” ยังเป็นตัวชี้วัดหลักของกรมสุขภาพจิต ทั้งในแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (2566 - 2570) แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561 - 2580) ที่อยู่ภายใต้ร่มแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ที่วางโครงสร้างของแผนต่าง ๆ สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564) มากกว่านั้น มีข้อสังเกตว่าการเขียนทุกแผนและยุทธศาสตร์ต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข มักเขียน “ตัวชี้วัด” การเฝ้าระวังโรคและส่งเสริมสุขภาพเรียงตามลำดับโครงสร้างอายุประชากร จึงเห็นการวางน้ำหนักเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าไว้ที่กลุ่มผู้สูงอายุเป็นหลัก แทบไม่เอ่ยถึงในกลุ่มเด็ก เยาวชน และวัยแรงงงานเท่าใดนัก         ขณะที่ปัจจุบัน รัฐบาลที่ผ่านมาได้ดำเนินแผนราชการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 - 2570) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นมา ด้วยงื่อนไขสำคัญคือ การฟื้นฟูสังคม การเมือง และเศรษฐกิจหลังเผชิญหน้ากับวิกฤติสถานการณ์โควิด 19 ระบาดที่เป็นปัจจัยหนึ่งให้ผู้คนเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวชเพิ่มมากขึ้น อัตราการฆ่าตัวตายก็สูงเพิ่มมากขึ้นตามปัจจัยใหม่ๆ ทางสังคม  “โรคซึมเศร้า” ก็ยังถูกระบุให้เฝ้าระวังในกลุ่มผู้สูงอายุเช่นเดิม บนฐานคิดว่าสังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ ยิ่งทำให้แผนและยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่ถูกเขียนก่อนหน้าไม่ได้สมสมัยเพียงพอเพื่อร่วมรับมือกับสถานการณ์วิกฤติซ้อนวิกฤติที่กำลังดำเนินอยู่  ดังนั้น ถ้ายังให้ความสำคัญเพียงแค่ “ตัวชี้วัด” ยิ่งทำให้ “ระบบดูแลเฝ้าระวัง การบริการ และรักษาโรคซึมเศร้า” ถูกตั้งคำถามในมิติต่างๆ มากยิ่งขึ้น                    กรมสุขภาพจิตอาจมีบทบาทสำคัญในแง่การร่างแผนและยุทธศาสตร์เพื่อกำหนดวาระทิศทางของประเทศ  ทว่าจำเลยที่ถูกตั้งคำถามด้านการบริการผู้ป่วยมากที่สุดกลับตกอยู่กับหน่วยบริการสุขภาพและเหนือกว่านั้นคือ สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ในฐานะผู้กำหนดสิทธิประโยชน์การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการรักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิในสวัสดิการและผู้ประกันตน         แม้โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคใหม่ แต่น่าสังเกตว่า สิทธิประโยชน์ในกองทุนสวัสดิการสุขภาพต่างๆ เกี่ยวกับโรคทางจิตเวชยังตามหลังโรคทางกายอยู่มาก เช่น การเพิ่มจำนวนยาจิตเวชในบัญชียาหลักแห่งชาติให้เพียงพอกับพัฒนาการของโรคและปริมาณของจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นมาก (ซึ่งปลายปี 2565 กรมสุขภาพจิต ในฐานะที่ดูแลโรงพยาบาลและสถาบันเฉพาะทางจิตเวชทั่วประเทศได้เสนอรายชื่อยาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า 4 ตัวเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ ขณะนี้เรื่องยังติดอยู่ที่อนุกรรมพิจารณาบัญชียาหลักแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หมายความว่ายังไม่มีความคืบหน้าเรื่องนี้[2]) รวมทั้งการอำนวยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงการบำบัดด้านจิตเวชมากขึ้น ไม่ใช่เน้นการรักษาโดยรับยาจากแพทย์เป็นทางเลือกเดียว ส่วนเหตุผลจิตแพทย์และนักบำบัดจิตขาดแคลนขอให้ทดเงื่อนไขนี้ไว้ก่อน มิฉะนั้น การอภิปรายเชิงระบบจะจบแบบ ‘ลงร่อง’ ด้วยเหตุนี้เสมอ และกวาดประเด็นอื่น ๆ ไว้ใต้พรม         แง่นี้ การรับมือกับ “โรคซึมเศร้า” จึงไม่ใช่แค่ภาระของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น แต่กองทุนสุขภาพต่างๆ ยังต้องเข้ามาทำหน้าที่ช่วยเป็นโครงข่ายนิรภัย (Safety Net) เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้น และไม่มีผู้ป่วยร่วงหล่น หรือหลุดออกไปจากการรักษาพยาบาลภายใต้ระบบสวัสดิการสุขภาพต่าง ๆ ที่ประเทศไทย มีอยู่ เหมือนกรณีตัวอย่าง เช่น         “เดย์” เป็นผู้ป่วยที่มาก่อนกาล ก่อนจะมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก่อนกรมสุขภาพจิตจะเริ่มทศวรรษโรคซึมเศร้าฯ ก่อนการจัดตั้ง “ระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า” เธอเป็นนักข่าวองค์กรหนึ่งที่ป่วยด้วยโรคนี้มากกว่า 20 ปี วิชาชีพที่ทำงานแข่งกับเวลาและปัญหาสังคมสร้างความกดดัน ความเครียดเรื้อรัง จนร้องไห้ออกมาแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ จึงตัดสินใจไปพบจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา การได้ระบายออกมาทำให้รู้ว่าตัวเองป่วยมากขนาดไหน แต่การจะไปรักษากับโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม พบว่าไม่มีแพทย์เฉพาะทาง โรงพยาบาลศรีธัญญาแนะนำว่า ถ้าพอมีกำลังทรัพย์ให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลวิภาวดี ซึ่งหมอที่นี่ช่วยได้มาก  ดังนั้นปัญหาแรกที่พบ คือ ระบบสวัสดิการไม่ตอบโจทย์ในการรักษาโรคทางจิตเวช เมื่อรักษากับโรงพยาบาลเอกชน ปัญหาใหม่ก็ตามมาอีก คือค่ายาแพง ค่ารักษาพยาบาลต่อเดือนสำหรับเมื่อ 20 ปีก่อน เฉลี่ยเดือนละ 5,000 กว่าบาท นับว่ามากทีเดียวเมื่อเทียบกับรายได้ เธอกินยาต้านเศร้าที่ผลิตในประเทศมาครบทุกตัว และน่าจะเป็นผู้ป่วยกลุ่มแรกๆ ที่ได้รับยาต่างประเทศ นอกบัญชียาหลักแห่งชาติ  ในที่สุดหมอแนะนำให้เธอซื้อยาตรงกับดีลเลอร์ยาเลยเพื่อลดค่าใช้จ่าย         แม้ค่ารักษาจะแพง แต่เธอไม่กล้าเปลี่ยนหมอ หรือเปลี่ยนโรงพยาบาล ด้วยกลัวการเริ่มต้นรักษาใหม่ นี่่ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาตามมา เมื่ออาการเริ่มดีขึ้น เธอเชื่อว่าตัวเองหายแล้ว จึงหยุดยาเอง ก็กลายเป็นว่าเธอไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิมแม้งานง่าย ๆ จึงเข้ารับการรักษาใหม่อีกครั้งและการรักษาก็ยากขึ้นเพราะการกินยาไม่ต่อเนื่อง ต่อมา เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจระดับประเทศทำให้เธอเป็นนักข่าวกลุ่มแรกที่ตกงาน ต้องผันตัวเองเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ ความรู้สึกยิ่งดิ่งลง การขาดรายได้ทำให้เธอรับการรักษาไม่ต่อเนื่อง รวมทั้งไม่มียาเพียงพอในการใช้ต่อเนื่อง ด้วยยาที่กินอยู่ไม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ทำให้การรักษาโรคของเธอซับซ้อนมากขึ้น เกิดภาวะวิตกกังวล นอนไม่หลับเรื้อรัง มีปัญหาด้านความทรงจำ การควบคุมอารมณ์ ฯลฯ         ทุกวันนี้ เธอยังรักษากับโรงพยาบาลวิภาวดีโดยจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง แต่การรักษาไม่ต่อเนื่อง การได้รับยาไม่ต่อเนื่อง รวมทั้งไม่มีคำแนะนำให้รักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การบำบัดทางจิตและอารมณ์ควบคู่ เป็นปัจจัยที่ทำให้ “เดย์” กลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรังทางจิตใจที่มีอยู่จริง และจิตใจก็พึ่งพิงไว้กับยา สิ่งที่เธอคาดหวังนั้น เรียบง่าย “น่าจะมีสักวันที่ชีวิตไม่ต้องกินยา เป็นคน ‘ปกติ’ แบบคนอื่นบ้าง”              “นิล” นักกิจกรรมทางสังคมที่เพิ่งพ้นจากรั้วมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า เขาเริ่มไม่เข้าใจภาวะที่ตัวเองผิดปกติ งานบางอย่างไม่สามารถทำให้เสร็จได้ ไม่สามารถสื่อสารกับครอบครัวได้ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม จนกระทั่งมีโอกาสเข้ารับคำปรึกษากับศูนย์สุขภาพจิตของมหาวิทยาลัย นักจิตบำบัดประเมินว่าเขาจำเป็นต้องพบจิตแพทย์ ช่วงแรกเขายังไม่อยากไปหาหมอ ไม่อยากกินยา รู้สึกการได้คุยกับนักจิตบำบัดตอบโจทย์อยู่แล้ว จนกระทั่งเรียนจบ ออกมาทำงานได้ระยะหนึ่งความกดดันต่าง ๆ และการเปลี่ยนสถานะทางสังคม โรคพัฒนาตัวอย่างเงียบๆ อาการดิ่งมาแบบไม่รู้ตัว จนในที่สุดต้องตัดสินใจรักษากับจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และทุกวันนี้ก็ยังต้อง กินยาอยู่         “ผมอยากให้มีกลไกที่จะช่วยให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตรู้ตัวได้เร็วขึ้น เพื่อรู้วิธีรับมือและจัดการตัวเอง รวมทั้งเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง” นิล เอ่ยข้อเสนอจากประสบการณ์ตรงของตัวเอง         ความน่าสนใจกรณีของ “นิล” คือ กว่าเขาจะเข้าใจตัวเองว่ามีภาวะวิตกกังวลและเป็นโรคซึมเศร้าต้องใช้เวลานานมาก จากชั้นมัธยมจนกระทั่งเข้ามหาวิทยาลัย “นิล” อาจเป็นภาพตัวแทนของเด็กจำนวนหนึ่งที่ซ่อนเร้นตัวเองอยู่ในมุมมืด ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลด้วยวัย รวมทั้ง พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2562) ไม่ได้ให้สิทธิในการตัดสินใจแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จำเป็นต้องมีผู้ปกครองตัดสินใจแทน อาจกล่าวได้ว่า การค้นหาผู้ป่วยจิตเวชที่มีอายุน้อยเพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องไม่ง่าย การรายงาน “ตัวเลข” ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงต่ำกว่าความเป็นจริงเมื่อเทียบกับกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุ ยิ่งชวนให้เราตั้งคำถามกับ “จำนวนนับ” ของฐานข้อมูลโรคซึมเศร้าไทยที่เริ่มเก็บข้อมูลประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปมากขึ้น          ในวัยเดียวกัน “ต้น” นักกิจกรรมสังคมรุ่นใหม่ ได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวทางการเมือง เจ็บปวดร้าวรานเมื่อเห็นผู้คนและเพื่อนๆ ถูกคุกคามจากการใช้สิทธิทางการเมือง รู้สึกเครียด และถูกกดดันจากสถานการณ์รอบตัว เริ่มเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นแห่งแรก แม้ต้องจ่ายเงินเองทั้งหมด นานวันเข้ารับมือกับค่าใช้จ่ายไม่ไหว จึงตัดสินใจกลับไปใช้สิทธิรักษาพยาบาล 30 บาทที่ภูมิลำเนา โรงพยาบาลในจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม้จะช่วยลดค่ารักษาพยาบาลไปได้ แต่ค่าใช้จ่ายการเดินทางกลายเป็นภาระไม่แพ้ค่ายาเพิ่มขึ้นแทน เขาไปกลับกรุงเทพฯ - ต่างจังหวัดอยู่หลายครั้ง จนยอมแพ้ ทั้งการรอคิวนานและรู้สึกว่าจิตแพทย์ไม่ได้รับฟังเพียงพอ รู้สึกถูกหมอตัดสินตัวเขาเหตุจากความคิดเห็นต่างทางการเมือง จนเริ่มคิดฆ่าตัวตาย แต่แฟนเข้ามาพบเสียก่อน จึงพากลับมารักษาตัวใหม่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีอีกหน ชีวิต “ต้น” หักเหอีกครั้ง เมื่อเกิดวิกฤตโควิด 19 ระบาด เมืองปิด เขาตกงาน ไม่มีเงินค่ารักษาหรือเพื่อประทังชีวิตเพียงพอ จนต้องหยุดยาเอง เกือบสองปีผ่านไป จนกระทั่งได้งานใหม่จึงกลับมาเริ่มต้นรักษาอีกครั้งที่โรงพยาบาลราชวิถี         สิ่งที่รู้สึกท้อแท้มากกว่าค่ารักษาพยาบาล คือการต้องเริ่มต้นเล่าเรื่องที่เขาเผชิญใหม่ทุกครั้งที่เจอกับหมอคนใหม่ ในความเห็นของ “ต้น” จิตแพทย์มีน้อยอยู่แล้ว บางคนมีทัศนคติกับผู้ป่วยแย่ หลังจากดิ้นรนรักษาโรคซึมเศร้าอยู่หลายแห่ง การรับยาจากแพทย์ไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้น กลับทรมานและรู้สึกคุณค่าของตัวเองตกต่ำลงเรื่อยๆ ทุกครั้งที่กินยา จึงอยากให้มีนักจิตบำบัดเพิ่มขึ้น จิตแพทย์เพิ่มขึ้น ไม่อยากรักษาไกลจากที่พักอาศัย อยากให้แพทย์ทำใบส่งต่อเพื่อให้เขาอยู่ในระบบสวัสดิการ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปกลับทำใบส่งตัวระหว่างกรุงเทพฯ - ต่างจังหวัดทุก 3 เดือน หรือทุกครั้งที่ต้องพบแพทย์  ดังนั้น เพื่อลดขั้นตอนการส่งตัวอันยุ่งยาก วันนี้เขายอมรับภาระในการรักษาเองทั้งหมด          บนบ่าของวัยแรงงานมีเรื่องต้องแบกหามมากมาย ช่วงเรียนปริญญาตรี “คิม” ทั้งเรียนหนักและต้องดูแลพ่อที่ไตวาย ความเครียดสะสมนี้เพื่อนแม่จึงพาไปรักษากับจิตแพทย์และหมอสั่งยาให้ระยะหนึ่ง จน    ฤกระทั่งพ่อเสียชีวิต เธอรู้สึกว่าความกดดันลดลง อาการดีขึ้นจึงหยุดยาเอง จนกระทั่งเธอไปเรียนต่อปริญญาโทต่างประเทศตามลำพัง พบว่า ทำวิทยานิพนธ์ไม่ได้ นำเสนอผลงานไม่ได้ โชคดีว่าที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศมีศูนย์ให้คำปรึกษาสุขภาพจิตซึ่งดีมาก แต่ “คิม” ไม่อยากกินยาอีกแล้ว จึงพยายามขวนขวายหาชุมชนที่พูดคุยเรื่องการรักษาโรคซึมเศร้าในชุมชนออนไลน์ เพื่อดูแลตัวเอง และประคองตัวเองจนกระทั่งเรียนจบ กลับประเทศไทย ได้ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ ปัจจุบัน “คิม” เป็นผู้บริหารองค์กรระหว่างประเทศในฐานะตัวแทนประเทศไทยระดับภูมิภาคเอเชีย         ช่วงระยะเวลากว่า 10 ปี นับตั้งแต่พ่อเสียชีวิต การเรียนต่อต่างประเทศ การเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งทางการเมืองของไทย ซึ่งเธอเป็นข้อต่อที่มีบทบาทสำคัญ หัวใจอันอ่อนล้าไม่ได้หยุดพักเลย เมื่อแม่ของ “คิม” เริ่มมีภาวะสมอง เสื่อมจากเนื้องอกในสมอง หลังผ่าตัด พฤติกรรมแม่เปลี่ยนไปจนแทบควบคุมตัวเองไม่ได้ ยิ่งทำให้เธอเครียดมาก จากการควบบทบาททางสังคมอันหนักอึ้งและบทบาท “ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง” (care giver) แม้จะจ้างผู้ช่วยมาประจำที่บ้านอีกคน เธอรู้ตัวดีว่าอาการโรคซึมเศร้าที่หายไปนานกลับมาเยือนอีกครั้ง แม้มีสิทธิตามหลักประกันบัตรทอง แต่ระบบไม่ได้ยืดหยุ่นให้เธอเข้าถึงได้นัก เมื่อเข้าใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ก็พบว่าการบริการไม่ได้ดีนักอย่างที่คาดหวัง จึงพยายามหาทางเลือกอื่นเป็นที่พึ่ง พบว่า สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตอบโจทย์กับชีวิตอันยุ่งเหยิง ช่วยรับฟังปัญหาได้ดี แต่ข้อจำกัดของระบบฮอตไลน์ทำหน้าที่รับฟังแบบตั้งรับ ไม่มีระบบติดตามคนไข้ หรือตามอาการของผู้ป่วยที่โทรมาใช้บริการ รวมทั้งการประเมินอาการช่วยส่งต่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงระบบบริการสุขภาพจนสำเร็จ         “เราไม่สามารถเป็นผู้ป่วยอีกคนในบ้าน เพราะเรายังต้องดูแลแม่ที่ป่วย ช่วงนี้ไม่อยากทำงานบริหาร อยากเปลี่ยนทำงานที่เบาลง แต่ยังเป็นงานที่เรายังภูมิใจได้ เปลี่ยนสภาพแวดล้อม มีเงินสักก้อนไว้ดูแลแม่ที่สมองเสื่อม หากวันหนึ่งเราเป็นอะไรไป น้องจะได้ดูแลแม่ต่อได้” คิมบอกถึงความคาดหวัง          วันนี้ “นรินทร์” นักศึกษาปริญญาเอก มาหาฉันที่บ้าน เพื่อแบ่งยาไปกิน ยา Venlafaxine หนึ่งในสี่ชนิดของยาต้านเศร้าที่กรมสุขภาพจิตพยายามผลักดันเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ “นรินทร์” ใช้สิทธิประกันสังคมรักษากับโรงพยาบาลเอกชนชื่อดังแห่งหนึ่ง แต่การพบแพทย์ครั้งล่าสุด โรงพยาบาลออก “ใบค้างยา” และ “ใบสั่งยา” ให้ เพราะตัวยาที่เขาจำเป็นต้องใช้นั้น ขาดตลาดและหมดสต๊อกของโรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถไปซื้อยาข้างนอกได้ และหากยา กลับเข้ามาในระบบอีกครั้ง (ซึ่งระบุระยะเวลาแน่นอนไม่ได้) จะโทรศัพท์เรียกให้มารับยาค้างจ่าย ฐ. กินยาตัวเดียวกับเขาและมียาตัวนี้เก็บสะสมไว้มาก จึงแบ่งยาให้ “นรินทร์” ไปกินก่อน นี่คือ สถานการณ์เดียวกับ “เดย์” ที่เคยเจอเมื่อหลายสิบปีก่อน และฉันก็เคยมีประสบการณ์เดียวกัน เมื่อมีเงินจึงซื้อยาจำเป็นเก็บไว้         มุมของวิชาชีพแพทย์ เภสัชกร        แง่นี้ การรับมือกับ “โรคซึมเศร้า” จึงไม่ใช่แค่ภาระของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น แต่กองทุนสุขภาพต่างๆ ยังต้องเข้ามาทำหน้าที่ช่วยเป็นโครงข่ายนิรภัย (Safety Net) เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้น และไม่มีผู้ป่วยร่วงหล่น หรือหลุดออกไปจากการรักษาพยาบาลภายใต้ระบบสวัสดิการสุขภาพต่าง ๆ ที่ประเทศไทย มีอยู่ เหมือนกรณีตัวอย่าง เช่น         “เดย์” เป็นผู้ป่วยที่มาก่อนกาล ก่อนจะมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก่อนกรมสุขภาพจิตจะเริ่มทศวรรษโรคซึมเศร้าฯ ก่อนการจัดตั้ง “ระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า” เธอเป็นนักข่าวองค์กรหนึ่งที่ป่วยด้วยโรคนี้มากกว่า 20 ปี วิชาชีพที่ทำงานแข่งกับเวลาและปัญหาสังคมสร้างความกดดัน ความเครียดเรื้อรัง จนร้องไห้ออกมาแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ จึงตัดสินใจไปพบจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา การได้ระบายออกมาทำให้รู้ว่าตัวเองป่วยมากขนาดไหน แต่การจะไปรักษากับโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม พบว่าไม่มีแพทย์เฉพาะทาง โรงพยาบาลศรีธัญญาแนะนำว่า ถ้าพอมีกำลังทรัพย์ให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลวิภาวดี ซึ่งหมอที่นี่ช่วยได้มาก  ดังนั้นปัญหาแรกที่พบ คือ ระบบสวัสดิการไม่ตอบโจทย์ในการรักษาโรคทางจิตเวช เมื่อรักษากับโรงพยาบาลเอกชน ปัญหาใหม่ก็ตามมาอีก คือค่ายาแพง ค่ารักษาพยาบาลต่อเดือนสำหรับเมื่อ 20 ปีก่อน เฉลี่ยเดือนละ 5,000 กว่าบาท นับว่ามากทีเดียวเมื่อเทียบกับรายได้ เธอกินยาต้านเศร้าที่ผลิตในประเทศมาครบทุกตัว และน่าจะเป็นผู้ป่วยกลุ่มแรกๆ ที่ได้รับยาต่างประเทศ นอกบัญชียาหลักแห่งชาติ  ในที่สุดหมอแนะนำให้เธอซื้อยาตรงกับดีลเลอร์ยาเลยเพื่อลดค่าใช้จ่าย         แม้ค่ารักษาจะแพง แต่เธอไม่กล้าเปลี่ยนหมอ หรือเปลี่ยนโรงพยาบาล ด้วยกลัวการเริ่มต้นรักษาใหม่ นี่่ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาตามมา เมื่ออาการเริ่มดีขึ้น เธอเชื่อว่าตัวเองหายแล้ว จึงหยุดยาเอง ก็กลายเป็นว่าเธอไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิมแม้งานง่าย ๆ จึงเข้ารับการรักษาใหม่อีกครั้งและการรักษาก็ยากขึ้นเพราะการกินยาไม่ต่อเนื่อง ต่อมา เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจระดับประเทศทำให้เธอเป็นนักข่าวกลุ่มแรกที่ตกงาน ต้องผันตัวเองเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ ความรู้สึกยิ่งดิ่งลง การขาดรายได้ทำให้เธอรับการรักษาไม่ต่อเนื่อง รวมทั้งไม่มียาเพียงพอในการใช้ต่อเนื่อง ด้วยยาที่กินอยู่ไม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ทำให้การรักษาโรคของเธอซับซ้อนมากขึ้น เกิดภาวะวิตกกังวล นอนไม่หลับเรื้อรัง มีปัญหาด้านความทรงจำ การควบคุมอารมณ์ ฯลฯ         ทุกวันนี้ เธอยังรักษากับโรงพยาบาลวิภาวดีโดยจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง แต่การรักษาไม่ต่อเนื่อง การได้รับยาไม่ต่อเนื่อง รวมทั้งไม่มีคำแนะนำให้รักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การบำบัดทางจิตและอารมณ์ควบคู่ เป็นปัจจัยที่ทำให้ “เดย์” กลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรังทางจิตใจที่มีอยู่จริง และจิตใจก็พึ่งพิงไว้กับยา สิ่งที่เธอคาดหวังนั้น เรียบง่าย “น่าจะมีสักวันที่ชีวิตไม่ต้องกินยา เป็นคน ‘ปกติ’ แบบคนอื่นบ้าง”              “นิล” นักกิจกรรมทางสังคมที่เพิ่งพ้นจากรั้วมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า เขาเริ่มไม่เข้าใจภาวะที่ตัวเองผิดปกติ งานบางอย่างไม่สามารถทำให้เสร็จได้ ไม่สามารถสื่อสารกับครอบครัวได้ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม จนกระทั่งมีโอกาสเข้ารับคำปรึกษากับศูนย์สุขภาพจิตของมหาวิทยาลัย นักจิตบำบัดประเมินว่าเขาจำเป็นต้องพบจิตแพทย์ ช่วงแรกเขายังไม่อยากไปหาหมอ ไม่อยากกินยา รู้สึกการได้คุยกับนักจิตบำบัดตอบโจทย์อยู่แล้ว จนกระทั่งเรียนจบ ออกมาทำงานได้ระยะหนึ่งความกดดันต่าง ๆ และการเปลี่ยนสถานะทางสังคม โรคพัฒนาตัวอย่างเงียบๆ อาการดิ่งมาแบบไม่รู้ตัว จนในที่สุดต้องตัดสินใจรักษากับจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และทุกวันนี้ก็ยังต้อง กินยาอยู่         “ผมอยากให้มีกลไกที่จะช่วยให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตรู้ตัวได้เร็วขึ้น เพื่อรู้วิธีรับมือและจัดการตัวเอง รวมทั้งเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง” นิล เอ่ยข้อเสนอจากประสบการณ์ตรงของตัวเอง         ความน่าสนใจกรณีของ “นิล” คือ กว่าเขาจะเข้าใจตัวเองว่ามีภาวะวิตกกังวลและเป็นโรคซึมเศร้าต้องใช้เวลานานมาก จากชั้นมัธยมจนกระทั่งเข้ามหาวิทยาลัย “นิล” อาจเป็นภาพตัวแทนของเด็กจำนวนหนึ่งที่ซ่อนเร้นตัวเองอยู่ในมุมมืด ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลด้วยวัย รวมทั้ง พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2562) ไม่ได้ให้สิทธิในการตัดสินใจแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จำเป็นต้องมีผู้ปกครองตัดสินใจแทน อาจกล่าวได้ว่า การค้นหาผู้ป่วยจิตเวชที่มีอายุน้อยเพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องไม่ง่าย การรายงาน “ตัวเลข” ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงต่ำกว่าความเป็นจริงเมื่อเทียบกับกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุ ยิ่งชวนให้เราตั้งคำถามกับ “จำนวนนับ” ของฐานข้อมูลโรคซึมเศร้าไทยที่เริ่มเก็บข้อมูลประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปมากขึ้น          ในวัยเดียวกัน “ต้น” นักกิจกรรมสังคมรุ่นใหม่ ได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวทางการเมือง เจ็บปวดร้าวรานเมื่อเห็นผู้คนและเพื่อนๆ ถูกคุกคามจากการใช้สิทธิทางการเมือง รู้สึกเครียด และถูกกดดันจากสถานการณ์รอบตัว เริ่มเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นแห่งแรก แม้ต้องจ่ายเงินเองทั้งหมด นานวันเข้ารับมือกับค่าใช้จ่ายไม่ไหว จึงตัดสินใจกลับไปใช้สิทธิรักษาพยาบาล 30 บาทที่ภูมิลำเนา โรงพยาบาลในจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม้จะช่วยลดค่ารักษาพยาบาลไปได้ แต่ค่าใช้จ่ายการเดินทางกลายเป็นภาระไม่แพ้ค่ายาเพิ่มขึ้นแทน เขาไปกลับกรุงเทพฯ - ต่างจังหวัดอยู่หลายครั้ง จนยอมแพ้ ทั้งการรอคิวนานและรู้สึกว่าจิตแพทย์ไม่ได้รับฟังเพียงพอ รู้สึกถูกหมอตัดสินตัวเขาเหตุจากความคิดเห็นต่างทางการเมือง จนเริ่มคิดฆ่าตัวตาย แต่แฟนเข้ามาพบเสียก่อน จึงพากลับมารักษาตัวใหม่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีอีกหน ชีวิต “ต้น” หักเหอีกครั้ง เมื่อเกิดวิกฤตโควิด 19 ระบาด เมืองปิด เขาตกงาน ไม่มีเงินค่ารักษาหรือเพื่อประทังชีวิตเพียงพอ จนต้องหยุดยาเอง เกือบสองปีผ่านไป จนกระทั่งได้งานใหม่จึงกลับมาเริ่มต้นรักษาอีกครั้งที่โรงพยาบาลราชวิถี         สิ่งที่รู้สึกท้อแท้มากกว่าค่ารักษาพยาบาล คือการต้องเริ่มต้นเล่าเรื่องที่เขาเผชิญใหม่ทุกครั้งที่เจอกับหมอคนใหม่ ในความเห็นของ “ต้น” จิตแพทย์มีน้อยอยู่แล้ว บางคนมีทัศนคติกับผู้ป่วยแย่ หลังจากดิ้นรนรักษาโรคซึมเศร้าอยู่หลายแห่ง การรับยาจากแพทย์ไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้น กลับทรมานและรู้สึกคุณค่าของตัวเองตกต่ำลงเรื่อยๆ ทุกครั้งที่กินยา จึงอยากให้มีนักจิตบำบัดเพิ่มขึ้น จิตแพทย์เพิ่มขึ้น ไม่อยากรักษาไกลจากที่พักอาศัย อยากให้แพทย์ทำใบส่งต่อเพื่อให้เขาอยู่ในระบบสวัสดิการ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปกลับทำใบส่งตัวระหว่างกรุงเทพฯ - ต่างจังหวัดทุก 3 เดือน หรือทุกครั้งที่ต้องพบแพทย์  ดังนั้น เพื่อลดขั้นตอนการส่งตัวอันยุ่งยาก วันนี้เขายอมรับภาระในการรักษาเองทั้งหมด          บนบ่าของวัยแรงงานมีเรื่องต้องแบกหามมากมาย ช่วงเรียนปริญญาตรี “คิม” ทั้งเรียนหนักและต้องดูแลพ่อที่ไตวาย ความเครียดสะสมนี้เพื่อนแม่จึงพาไปรักษากับจิตแพทย์และหมอสั่งยาให้ระยะหนึ่ง จน    ฤกระทั่งพ่อเสียชีวิต เธอรู้สึกว่าความกดดันลดลง อาการดีขึ้นจึงหยุดยาเอง จนกระทั่งเธอไปเรียนต่อปริญญาโทต่างประเทศตามลำพัง พบว่า ทำวิทยานิพนธ์ไม่ได้ นำเสนอผลงานไม่ได้ โชคดีว่าที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศมีศูนย์ให้คำปรึกษาสุขภาพจิตซึ่งดีมาก แต่ “คิม” ไม่อยากกินยาอีกแล้ว จึงพยายามขวนขวายหาชุมชนที่พูดคุยเรื่องการรักษาโรคซึมเศร้าในชุมชนออนไลน์ เพื่อดูแลตัวเอง และประคองตัวเองจนกระทั่งเรียนจบ กลับประเทศไทย ได้ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ ปัจจุบัน “คิม” เป็นผู้บริหารองค์กรระหว่างประเทศในฐานะตัวแทนประเทศไทยระดับภูมิภาคเอเชีย         ช่วงระยะเวลากว่า 10 ปี นับตั้งแต่พ่อเสียชีวิต การเรียนต่อต่างประเทศ การเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งทางการเมืองของไทย ซึ่งเธอเป็นข้อต่อที่มีบทบาทสำคัญ หัวใจอันอ่อนล้าไม่ได้หยุดพักเลย เมื่อแม่ของ “คิม” เริ่มมีภาวะสมอง เสื่อมจากเนื้องอกในสมอง หลังผ่าตัด พฤติกรรมแม่เปลี่ยนไปจนแทบควบคุมตัวเองไม่ได้ ยิ่งทำให้เธอเครียดมาก จากการควบบทบาททางสังคมอันหนักอึ้งและบทบาท “ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง” (care giver) แม้จะจ้างผู้ช่วยมาประจำที่บ้านอีกคน เธอรู้ตัวดีว่าอาการโรคซึมเศร้าที่หายไปนานกลับมาเยือนอีกครั้ง แม้มีสิทธิตามหลักประกันบัตรทอง แต่ระบบไม่ได้ยืดหยุ่นให้เธอเข้าถึงได้นัก เมื่อเข้าใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ก็พบว่าการบริการไม่ได้ดีนักอย่างที่คาดหวัง จึงพยายามหาทางเลือกอื่นเป็นที่พึ่ง พบว่า สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตอบโจทย์กับชีวิตอันยุ่งเหยิง ช่วยรับฟังปัญหาได้ดี แต่ข้อจำกัดของระบบฮอตไลน์ทำหน้าที่รับฟังแบบตั้งรับ ไม่มีระบบติดตามคนไข้ หรือตามอาการของผู้ป่วยที่โทรมาใช้บริการ รวมทั้งการประเมินอาการช่วยส่งต่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงระบบบริการสุขภาพจนสำเร็จ         “เราไม่สามารถเป็นผู้ป่วยอีกคนในบ้าน เพราะเรายังต้องดูแลแม่ที่ป่วย ช่วงนี้ไม่อยากทำงานบริหาร อยากเปลี่ยนทำงานที่เบาลง แต่ยังเป็นงานที่เรายังภูมิใจได้ เปลี่ยนสภาพแวดล้อม มีเงินสักก้อนไว้ดูแลแม่ที่สมองเสื่อม หากวันหนึ่งเราเป็นอะไรไป น้องจะได้ดูแลแม่ต่อได้” คิมบอกถึงความคาดหวัง          วันนี้ “นรินทร์” นักศึกษาปริญญาเอก มาหาฉันที่บ้าน เพื่อแบ่งยาไปกิน ยา Venlafaxine หนึ่งในสี่ชนิดของยาต้านเศร้าที่กรมสุขภาพจิตพยายามผลักดันเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ “นรินทร์” ใช้สิทธิประกันสังคมรักษากับโรงพยาบาลเอกชนชื่อดังแห่งหนึ่ง แต่การพบแพทย์ครั้งล่าสุด โรงพยาบาลออก “ใบค้างยา” และ “ใบสั่งยา” ให้ เพราะตัวยาที่เขาจำเป็นต้องใช้นั้น ขาดตลาดและหมดสต๊อกของโรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถไปซื้อยาข้างนอกได้ และหากยา กลับเข้ามาในระบบอีกครั้ง (ซึ่งระบุระยะเวลาแน่นอนไม่ได้) จะโทรศัพท์เรียกให้มารับยาค้างจ่าย ฐ. กินยาตัวเดียวกับเขาและมียาตัวนี้เก็บสะสมไว้มาก จึงแบ่งยาให้ “นรินทร์” ไปกินก่อน นี่คือ สถานการณ์เดียวกับ “เดย์” ที่เคยเจอเมื่อหลายสิบปีก่อน และฉันก็เคยมีประสบการณ์เดียวกัน เมื่อมีเงินจึงซื้อยาจำเป็นเก็บไว้         มุมของวิชาชีพแพทย์ เภสัชกร        นพ.พนม เกตุมาน ที่ปรึกษาภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า จะมีผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชีกลุ่มนี้ราว 20% ขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 70-80% ยังตอบสนองต่อยาในบัญชียาหลักได้ดี แต่ก็เริ่มไม่แน่ใจว่า ผู้ป่วย 80% ที่ตอบสนองต่อยาในบัญชียาหลักฯ จะรักษาได้หายขาดหรือไม่ หรือหากมีผลข้างเคียงก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยตัดสินใจหยุดการรักษากลางคันได้[3]         ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า ยาออริจินอลจากต่างประเทศ แม้จะขึ้นทะเบียนกับ อย.แล้ว แต่ยังอยู่นอกบัญชียาหลักฯ มักจะมีราคาแพง ยิ่งจำนวนผู้ป่วยไม่แน่นอน เป็นยารักษาโรคเฉพาะทาง หรือยังอยู่ในวงจำกัด โรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนมักไม่สั่งยาสต็อกไว้ในโรงพยาบาลมากนัก เพราะเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่สูงของโรงพยาบาล ผู้นำเข้ายาเองก็ไม่กล้านำเข้ามากนัก ดังนั้น ปัญหาการขาดยาเหล่านี้ในตลาด หรือโรงพยาบาลเป็นครั้งคราวจึงเกิดขึ้นเสมอ โดยเฉพาะยารักษาโรคมะเร็ง ยาด้านจิตเวช ในวงการยาเรียกว่า “ขาดคราว”         “ส่วนการพิจารณาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาตินั้น ทางวิชาการก็ต้องรอบคอบ ว่าเป็นยารักษาโรคเฉพาะทางจำเป็นสำหรับผู้ป่วยจริง ๆ โดยยาที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองได้แล้ว หรือเป็นยาถูกทำให้จำเป็นจากการโปรโมทของบริษัทยา เมื่อเป็นการเสนอโดยกรมสุขภาพจิต หรือสมาคมจิตเวชแห่งประเทศไทย ก็น่าจะมีเหตุผลทางวิชาการรองรับที่น่าเชื่อถือ คงอีกไม่นานน่าจะมีคำตอบ"         เรื่องของ ฐ.         ฐ. เป็นคนกรุงเทพฯ แต่ทำงานในพื้นที่ความขัดแย้งเรื้อรังชายแดนใต้นานกว่าสิบปี การทำงานกับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความรุนแรง เพื่อนร่วมงานและคนรอบข้างทยอยเสียชีวิต หรือได้รับผลกระทบจากคดีความมั่นคง กลายเป็นผู้ได้รับผลกระทบมือสองเสียเอง อาการป่วยคืบคลานกัดกินใจไม่รู้ตัว จนกระทั่งชีวิตประจำวันเสีย งานประจำที่เคยทำได้ก็ทำไม่ได้ โลกค่อย ๆ พังทลายลงสู่ความดำมืด นอนไม่หลับ และตื่นตระหนก ผวากลางดึก น้ำหนักลดลงเห็นได้ชัด แต่ไม่รู้ตัว นอนติดเตียง จนเพื่อนรอบข้างผิดสังเกตนำส่งรักษาฉุกเฉินที่โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราช การุณย์เพื่อลดเวลาในการคอยแพทย์         ช่วงแรกของการรักษาเพื่อดึง ฐ กลับมาสู่ภาวะที่พอจะช่วยเหลือตัวเองและใช้ชีวิตประจำวันได้ จิตแพทย์นัดบ่อยและปรับยาทั้งชนิดและขนาดอยู่หลายขนาน นานหลายเดือน เพราะร่างกายไม่ตอบสนองทั้งอาหารและยา ผลข้างเคียงจากยาก็เยอะ ทั้งต้องกินยาต้านเศร้าควบคู่กับยานอนหลับ หรือยากล่อมประสาทให้นอนหลับสนิทได้บ้าง คนในวงการซึมเศร้าพึงรู้ข้อควรระวังประการหนึ่งว่า ยาต้านเศร้านั้นก็มีผลข้างเคียงนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะคิดฆ่าตัวตาย เช่น ฐ. กินยากล่อมประสาทคู่กับยาต้านเศร้า ครั้งหนึ่งระหว่างข้ามถนน ก็เห็นถนนกลายเป็นทะเล แหย่เท้าลุยลงไป จนกระทั่งได้ยินเสียงแตรมอเตอร์ไซต์และเสียงก่นด่าของคนขับลั่น จึงได้สติ จากนั้นก็กลายเป็นคนวิตกกังวล (แพนิค) ไม่กล้าออกจากบ้านอยู่พักใหญ่         ถ้าเรื่องยาต้านเศร้า ฐ ทดสอบมาแล้วเกือบทุกตัวในบัญชียาหลักฯ บอกได้ว่าตัวไหนกินแล้วมีผลข้างเคียงอย่างไร จนข้ามมากินยานอกบัญชีฯ ทำให้ค่ารักษาบานไปเดือนเกือบ 5,000 บาท จนเงินเก็บหมด หมอก็ใจดีเขียนใบสั่งยาให้ออกไปซื้อนอกโรงพยาบาลได้ หลังจากอาการเริ่มดีขึ้น สามารถกลับไปทำงานที่ปัตตานีอีกครั้ง ยาที่ ฐ กินนั้นไม่สามารถซื้อหาในจังหวัดชายแดนใต้ได้เลย ไม่ว่าจะขอซื้อจากร้านยาที่เป็นดีลเลอร์ระดับภาค ขอซื้อยาจากโรงพยาบาลรัฐและคลีนิคเอกชนก็ตาม จนต้องรบกวนเครือข่ายเพื่อน ฐ ให้รับใบสั่งยาและซื้อยาจากกรุงเทพฯ ส่งไปรษณีย์มาให้ที่ปัตตานี ถึงจุดหนึ่ง ฐ รับภาระค่ารักษาไม่ไหวจึงปรึกษาจิตแพทย์ใจดีอยากย้ายไปใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ โดยเสียดายว่าได้จิตแพทย์ที่เข้ากับตัวเราแล้ว กลับต้องไปเริ่มรักษาใหม่         ข้อน่าสังเกต หาก ฐ คือ ผู้ป่วยที่เป็น “ยอดภูเขาน้ำแข็ง” ในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงยืดเยื้อจังหวัดชายแดนใต้นานนับ 20 ปี คาดการณ์ว่าต้องมีคนได้รับผลกระทบทางจิตใจจำนวนมาก ผู้ป่วยโรคจิตเวชในพื้นที่นี้ไม่น่าจะน้อย โดยรู้กันดีว่าชายแดนใต้เป็นพื้นที่ขาดแคลนแพทย์เฉพาะทางทุกประเภท การขาดแคลนยารักษาโรคซึมเศร้าในหน่วยบริการอาจเป็นตัวแปรหนึ่งที่สะท้อนถึงปัญหาการเยียวยาด้านจิตใจผู้คนที่ได้รับกระทบจากเหตุความรุนแรง และคุณภาพชีวิตของผู้คนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการจิตเวชหรือไม่ ถ้าจะคิดต่อเรื่องนี้ก็มีคำถามให้ถามกันมากทีเดียว         ในส่วนของ ฐ. การต่อคิวนัดจิตแพทย์ตามสิทธิบัตรทองผ่านศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิของกรุงเทพมหานครเพื่อส่งต่อรักษากับโรงพยาบาลวชิรพยาบาลนั้น ใช้เวลาเกือบ 6 เดือน และทุกครั้งต้องไปเอา “ใบส่งต่อ” จากศูนย์ฯ ก่อน การเสียเวลาหนึ่งวัน ออกจากบ้านแต่เช้าไปเอาใบส่งต่อที่ศูนย์บริการสาธารณสุขและรีบมาพบแพทย์ให้ทันภายในเที่ยง ทุก 2 เดือน ความเร่งรีบเช่นนี้มันหายใจไม่ทั่วท้อง ระยะหลังต่อรองให้ศูนย์บริการสาธารณสุขออกใบส่งตัวให้เป็นหนึ่งปีเลย ทั้งยังต้องเป็นการวางแผนชีวิตการขึ้นลงกรุงเทพฯ - ปัตตานีให้สอดคล้องกับวันนัดของแพทย์ ที่น่าสนใจ แม้จะย้ายมาใช้สิทธิบัตรทอง ฉันยังต้องจ่ายค่ายาต้านเศร้านอกบัญชียาหลักฯ เองอยู่ดี แต่ราคาลดเหลือครั้งละ 1,500 - 2,200 บาท ด้วยความเหนื่อยล้าจากประการทั้งปวง ฐ. จึงหยุดยาเอง อาการก็ทรุดลง แต่ก็ถือว่าไม่แย่นัก แค่ชีวิตมันชืดชาเหลือเกิน         ชีวิตผกผันหัวใจอ่อนล้ามาก ช่วงวิกฤติโควิด 19 ระบาด ฐ. ถูกเรียกตัวจากปัตตานีให้เข้ามาทำงานประจำในองค์กรข่าวระดับประเทศ ด้วยเหตุผลความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านก็จริง แต่เหตุผลหลักที่กลับมาทำงานประจำอีกครั้งคือค่าตอบแทนจำนวนไม่น้อยที่สามารถจุนเจือครอบครัว ที่ถูกปิดกิจการจากการปิดเมืองเพื่อควบคุมโรค การแบกงาน แบกความเจ็บป่วยของตัวเอง และครอบครัวไม่ให้ล้มละลายในยามวิกฤติ ช่วงระยะเวลา 3 ปีกว่าที่ขาดการรักษาและขาดยา ความกดดันนานานัปการทำให้โรคซึมเศร้ากลับมาอย่างเงียบๆ จน ฐ.ยอมกลับไปเริ่มต้นรักษาใหม่อีกครั้งที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล แต่อาการก็หนักแล้ว ไม่สามารถทำงานอย่างมืออาชีพได้อีกจึงตัดสินใจลาออกจากงานกลางปี 2565         บทเรียนจากการทำงานภาคใต้ เรื่องสิทธิเป็นเรื่องต้องต่อสู้ถึงจะได้มา         ฐ. รู้ภายหลังว่า การใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ ผู้ใช้สิทธิไม่ต้องจ่ายส่วนต่างค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งยานอก บัญชียาหลักแห่งชาติด้วย หากยาดังกล่าวแพทย์วินิยฉัยว่าจำเป็นต่อการรักษาก็สามารถเบิกได้ อ้าว... แล้วที่ผ่านมาคืออะไร? การคุยเรื่องสิทธิกับแพทย์ที่รักษาโดยไม่ให้เสียความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อค่อย ๆ นึกหาสถานการณ์คิดถึงบรรยากาศในการพูดคุยและเริ่มคุยกับหมอ ก็พบว่า ไม่ใช่หมอทุกคนจะรู้เรื่องสิทธิการรักษาพยาบาล หมอยกโทรศัพท์เช็คกับภาควิชา ห้องยา และโทรคุยกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ จนทั้งระบบของโรงพยาบาลเข้าใจเรื่องตรงกัน เดือนสิงหาคม 2566 จึงเป็นครั้งแรก ที่ได้ใบอนุมัติเบิกค่ายานอกบัญชียาหลักฯ จากแพทย์ไปยื่นให้ห้องยา ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี และในรอบ 4 ปีที่รักษาโรคซึมเศร้าด้วยสิทธิบัตรทองโดยไม่ต้องเสียเงินสักบาท แต่ไม่รู้ว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคนอื่นได้อนิสงค์นี้ด้วยหรือไม่          สถานการณ์เหล่านี้เป็นบางตัวอย่างยืนยันว่าโรคซึมเศร้าไม่ใช้ปัญหาส่วนตัว บางคนหาทางออกได้ แต่บางคนไม่สามารถต่อรองกับระบบได้ และบางคนก็ยอมแพ้ ...ช่วยพวกเราด้วย เรากำลังต่อสู้กับโรคซึมเศร้าอย่างเงียบ อยากหายป่วย ไม่อยากเป็นภาระใคร.  [1] “‘โรคซึมเศร้า’ ไทยน่าเป็นห่วง กว่า 70% เสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร”, เว็บไซต์คมชัดลึก, วันที่ 1 มีนาคม 2566. [2] “ป่วยซึมเศร้า รอหมอนาน กินยาแล้วแต่ไม่หายขาด?”, www.theactive.net., วันที่ 14 พฤศจิายน 2565. [3] อ้างแล้ว.

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 232 คัดค้านแพทย์สภาเรื่องหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย

        ประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา มีโอกาสไปร่วมเจรจาให้กับผู้ป่วยที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้มีตาข้างนึงมีปัญหาความดันตาสูง และต้องได้รับการฉีดก๊าซเพื่อทำการรักษา         วันที่ไปรับการรักษา ช่วงเช้าได้รับการตรวจตาตามนัด เนื่องจากติดพักกลางวัน แพทย์เลยให้ไปพักกลางวันทานอาหารก่อน แล้วค่อยมาฉีดก๊าซในตอนบ่าย         ตอนบ่ายกลับมาฉีดก๊าซตามที่แพทย์แจ้ง ก็พบว่า ตอนจะฉีดก๊าซผู้ป่วยถูกปิดตาอีกข้างที่ไม่มีปัญหา ก็ได้ถามคนไข้ว่า เกิดขึ้นได้อย่างไรทำไมไม่แจ้งแพทย์และพยาบาลว่าปิดผิดข้าง ซึ่งคนทั่วไปจะคิดว่า นั่นซิแล้วทำไมคนไข้ไม่บอก คำตอบที่ได้รับจากคนไข้หลังจากถาม คนไข้บอกว่า ที่ไม่บอกเพราะคิดว่าการฉีดก๊าซจะต้องทำจากอีกข้างไปสู่อีกข้าง เป็นวิธีการของแพทย์ในการรักษาต้องใช้เทคนิคแบบนั้น และยังคิดว่าแพทย์ยังจำได้ว่าตนมีปัญหาตาข้างไหนเพราะเพิ่งตรวจไปกับแพทย์ตอนเช้า         สุดท้ายผู้ป่วยตาบอดทั้งสองข้างเพราะฉีดก๊าซผิดข้าง ผู้ป่วยรายนี้มีอาชีพขับรถรับจ้างทั่วไป และทุกวันต้องขับรถพาภรรยาไปขายขนมที่ตลาด เมื่อตาบอดทำให้ไม่สามารถขับรถได้ ไม่ได้ทำงาน ภรรยาก็ไปขายของไม่ได้ เดือดร้อนมาก ลูกสาวมีครอบครัวอยู่คนละจังหวัด ลูกสาวไปบ้านเพื่อนซึ่งกำลังคุยกับนักกฎหมาย เลยมีโอกาสพบกับนักกฎหมาย นักกฎหมายแนะนำให้คุยกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นสาเหตุให้มีโอกาสไปร่วมเจรจาให้กับผู้ป่วยเพื่อเยียวยาความเสียหาย         ประกาศหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ในข้อ 2 ผู้ป่วยพึงเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพ “ที่เป็นจริงและอยู่ในความรับรู้” ของผู้ป่วยแก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้ เพื่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะได้รับทราบข้อมูลด้านสุขภาพทั้งหมดอันจะเป็นประโยชน์ต่อการให้การรักษาพยาบาลและป้องกันมิให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อผู้ป่วยรายอื่น รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง         เฉพาะข้อนี้อย่างเดียว หากมีการฟ้องร้องกันก็ทำให้ผู้ป่วยยากที่จะต่อสู้แล้ว ว่าทำไมไม่แจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีปัญหาตาอีกข้าง เพราะเป็นหน้าที่ของผู้ป่วย ทั้งๆ ที่ตามมาตรฐานทางการแพทย์ และการพยาบาลก่อนการฉีดก๊าซจะต้องตรวจสอบชื่อนามสกุล ว่าถูกคนมั้ย ตรวจสอบต่อไปว่าถูกข้างมั้ย เป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการให้บริการทางการแพทย์         แน่นอนหากเรามองกรณีโควิด19 ที่ผู้ป่วยไม่ยอมแจ้งข้อมูลว่า เกี่ยวข้องกับคนที่ติดเชื้อโควิด ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อและต้องกักตัวนานถึง 14 วัน เป็นปัญหาต่อบุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาล ต่อระบบสาธารณสุข แต่เรื่องนี้หากมองให้รอบคอบเราสามารถใช้กฎหมายควบคุมโรคระบาด หรือแม้แต่ พรบ.ควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินได้กับผู้ป่วยที่ไม่เปิดเผย โดยไม่จำเป็นต้องออกหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ซึ่งส่งผลต่อกรณีอื่นๆอีกหลายกรณี         ยังไม่รวมถึง หน้าที่ของผู้ป่วยในการเอาใจใส่และดูแลสุขภาพของตนเอง รวมทั้งการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในกระบวนการรักษาพยาบาล ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเห็นว่า ไม่อาจทำตามคำแนะนำดังกล่าวได้ ผู้ป่วยควรแจ้งให้ทราบโดยทันที เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน ซึ่งการรักษาแต่ละครั้งไม่ต้องอ้างว่าจะถาม แค่เวลาในการซักถามเรื่องการรักษายังทำได้ยาก แถมยังถูกหมั่นไส้เอาอีกด้วย         เพียงสองข้อ ที่ยกตัวอย่างสะท้อน การขาดความเข้าใจต่อปัญหาสุขภาพของประชาชน ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม แม้แต่การใช้สารเคมีทางการเกษตร อำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันของแพทย์และคนไข้ คนไข้อายุ 60 ปี ต้องยกมือไหว้แพทย์ อายุ 30 ปีก่อนทุกครั้งนั่นเป็นคำตอบอย่างดีว่าทำไมผู้ป่วยและผู้บริโภคต้องคัดค้านและต้องหาทางยกเลิกหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย หรือถึงเวลาที่ผู้ป่วยต้องออกประกาศหน้าที่ของแพทย์อันพึงปฏิบัติ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 231 ช่วยกันหยุดการทำมาหากินกับการป่วยออนไลน์

        ประชาชนจำนวนมาก หากเทียบเคียงในอดีต คงไม่แตกต่างจากขบวนการขอทานที่ตัดแขนตัดขาเด็กเพื่อขอทานตามสถานที่สาธารณะ จะแตกต่างกันเพียงการใช้ระบบดิจิทัลเท่านั้น รับรู้ประเด็นข่าวได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็วมากกว่าระบบแบบเดิม             ภาพเด็กป่วยสร้างอารมณ์ร่วมให้กับสังคมไทยได้เป็นอย่างมากในการขอรับบริจาค ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนถึงความไม่เข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและความไม่เชื่อมั่นบางอย่างในระบบการบริการสาธารณสุขของประเทศ การใช้เงินในการรักษาพยาบาลช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งที่ทุกคนที่ป่วยควรเข้าถึงการรักษาได้ผ่านระบบหลักประกันสุขภาพของแต่ละคน ไม่ว่าระบบราชการ ประกันสังคม หรือบัตรทอง         ความไม่เข้าใจระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นระบบรักษาพยาบาลที่รองรับสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลในระบบอื่นๆ โดยทุกคนจะได้รับการขึ้นทะเบียนสิทธิการรักษาตามทะเบียนบ้านกับหน่วยบริการที่ใกล้บ้านที่สุด ซึ่งระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้นมีระบบที่ชัดเจน ตั้งแต่การขึ้นทะเบียน การขอย้ายสิทธิ โดยที่สิทธิประโยชน์รองรับการรักษาโรคทุกโรคตามมาตรฐาน ทั้งนี้ในแต่ละปีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะมีการรับฟังความเห็นเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาระบบหลักประกันฯ ให้ครอบคลุมมากที่สุด ดังนั้นขอให้ประชาชนทุกคนตรวจสอบสิทธิการรักษาของตัวเองด้วยการโทรสอบถามที่สายด่วน สปสช. โทร 1330         ถึงเวลาที่ภาครัฐควรทบทวนการสร้างระบบการบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานเดียวให้เกิดขึ้นได้จริงๆ เพราะเชื่อว่าเวลาที่เราป่วย เราต่างต้องการบริการ การตรวจหรือยาที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นตัวเราหรือแม้แต่นายกรัฐมนตรี หากได้รับบริการสุขภาพมาตรฐานเดียวกันจะช่วยสร้างความมั่นใจในการไปรับบริการ         การระบาดของโควิด19 ในปัจจุบัน บริการสาธารณสุขที่ทุกคนได้รับเป็นมาตรฐานเดียวกันหมดทั้งประเทศเหมือนการใช้บริการในกรณีฉุกเฉิน แต่การรักษาโรคเรื้อรังและการเจ็บป่วยอื่นๆ ยังมีหลายมาตรฐานนี่คือสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาในฐานะที่เป็นมนุษย์         กรณีข้างต้นนี้ทำให้เราเรียนรู้ร่วมกันว่า สังคมปัจจุบันทำให้เรารู้จักเพื่อนออนไลน์มากกว่าเพื่อนข้างบ้าน คนเก็บขยะ คนกวาดถนนที่เราเห็นทุกวัน การช่วยเหลือปันน้ำใจทำได้ทุกที่ทุกแห่ง และโดยเฉพาะเพื่อนบ้าน ชุมชนหรือสังคมใกล้ตัว ไม่จำเพาะออนไลน์ที่เราตรวจสอบได้ยากยิ่ง หรืออย่างน้อยก็ต้องมั่นใจว่าการบริจาคนั้นผ่านองค์กรสาธารณประโยชน์ที่เราเชื่อถือซึ่งมีอยู่มากมาย ที่สำคัญการบริจาคควรจะเป็นเรื่องการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของคนที่ป่วยหรือคนดูแลมากกว่า ที่เขาอาจจะไม่ได้ทำงานหรือรักษาตัวจนตกงาน หรือเราต้องช่วยผลักดันให้รัฐมีระบบสวัสดิการถ้วนหน้าเรื่องบำนาญแห่งชาติ ถึงแม้หลายคนจะบอกว่า การบริจาคเหมือนการให้ทานให้ไปแล้วถือว่าจบ แต่ต้องไม่ส่งเสริมให้เกิดการฆ่าชีวิตเพื่อรับบริจาค หรืออย่างน้อยเราไม่เป็นฟันเฟืองสนับสนุนให้ทำแบบนี้ได้อีกต่อไปกรณีเหตุการณ์หญิงสาวรายหนึ่งขอรับบริจาค โดยอ้างว่าลูกป่วยด้วยโรคที่หายาก จนได้รับเงินบริจาคจาก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 233 ความเคลื่อนไหวเดือนกรกฏาคม 2563

5 แบงก์เปิดบัญชีเงินฝากด้วยใบหน้าสำเร็จ        ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไฟเขียว 5 แบงก์เปิดบัญชีเงินฝากด้วยเทคโนโลยีจดจำใบหน้าสำเร็จ จากทดสอบทั้งหมด 14 ราย พร้อมออกหลักเกณฑ์ ออกแนวปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีชีวมิติ (Biometric Technology) ให้บริการทางการเงิน         นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตอนนี้มี 5 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย กรุงเทพ กรุงศรีอยุธยา ทหารไทย และซีไอเอ็มบี ไทย ได้ออกจากศูนย์ทดสอบนวัตกรรมทางการเงิน (Sandbox) ภายหลังจากธปท.ได้เปิดทดสอบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลข้ามธนาคาร บนแพลตฟอร์ม NDID (National Digital ID) เพื่อเปิดบัญชีเงินฝากผ่านหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้าด้วยเทคโนโลยีชีวมิติ ในการให้บริการทางการเงิน โดยใช้เทคโนโลยีชีวมิติในการเปรียบเทียบใบหน้า (Facial recognition) เพื่อให้บริการเป็นวงกว้าง         “จากการทดสอบเราจะดูความแม่นยำของการยืนยันตัวตน ซึ่งในการทดสอบประมาณ 99.50% สามารถยืนยันได้แม่นยำ และอีก 0.50% อาจจะมีเรื่องของแสงของภาพอาจมืดไป หรือใบหน้าที่อาจมีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้น ธปท.จึงอยากให้ประชาชนไปอัพเดตข้อมูลกับธนาคารให้เป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อจะได้รับบริการที่สะดวกยิ่งขึ้น”         ทั้งนี้ ธปท. ได้ออกแนวปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีชีวมิติ ในการให้บริการทางการเงินเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ให้บริการทางการเงินที่นำ Biometrics มาใช้ในการให้บริการทางการเงิน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีการเปรียบเทียบใบหน้า แนวปฏิบัติดังกล่าวครอบคลุมหลักการที่ผู้ให้บริการทางการเงินพึงปฏิบัติ 6 ด้าน ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายและการกำกับดูแลการใช้เทคโนโลยีชีวมิติ 2) การรวบรวมข้อมูลชีวมิติของผู้ใช้บริการอย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย 3) การประมวลผลข้อมูลชีวมิติของผู้ใช้บริการอย่างแม่นยำ 4) การรักษาความปลอดภัยข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างเข้มงวดและรัดกุม ตามมาตรฐานสากล 5) การคุ้มครองผู้ใช้บริการและให้ความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกรรมด้วยเทคโนโลยีชีวมิติอย่างเหมาะสมเพียงพอ และ 6) การควบคุมความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและรองรับการให้บริการอย่างต่อเนื่อง  คาดธุรกิจฟาร์มปลูกผักในเมืองเติบโตขึ้นรับยุคนิวนอร์มัล        ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ประเทศไทยช่วง 1-2 ปีถัดจากนี้ อาจมีธุรกิจฟาร์มปลูกผักในเมืองเพิ่มขึ้น ด้วยเทคโนโลยีการปลูกที่ให้ผลผลิตต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่และหนึ่งหน่วยเวลาที่สูงกว่าปกติ สอดคล้องกับเทรนด์การบริโภคเพื่อสุขภาพ รวมถึง COVID-19 ที่ส่งผลให้ภาคธุรกิจนี้จำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้เข้าถึงความปลอดภัยด้านอาหารมากขึ้น นับเป็นโอกาสดีของคนเมือง         โดยทำเลที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายสำคัญในการลงทุน ได้แก่ พื้นที่ใจกลางเมืองที่มีผู้คนอาศัยหรือสัญจรเป็นจำนวนมาก อาทิ ห้างสรรพสินค้า รถไฟฟ้าใต้ดิน รวมถึงพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารสูง เป็นต้น เพื่อป้อนให้กับลูกค้าเป้าหมายที่สนใจและพร้อมเต็มใจจ่ายกับสินค้ากลุ่มนี้ อาทิ คนรักสุขภาพ ผู้ออกกำลังกายหรือผู้รักการทำอาหาร ส่วนในระยะต่อไปกลุ่มลูกค้าใหม่ที่น่าจับตาคาดว่า น่าจะอยู่ในกลุ่มของโรงแรม โรงพยาบาล เนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องการสินค้าคุณภาพสูงเพื่อนำเสนอให้กับลูกค้า ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้น โรงเรียนสังกัดกทม.ห้ามจำหน่ายน้ำอัดลม ขนมกรุบ ลดภาวะฟันผุในเด็ก         นายณัฐพงศ์ ดิษยบุตร ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กทม. เปิดเผยว่า จากการสำรวจนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาทั่วประเทศ เกี่ยวกับสุขภาพทางช่องปาก พบเด็กนักเรียนมีฟันผุในระยะเป็นรูถึงร้อยละ 50 เฉลี่ย 1-2 ซี่/คน ดังนั้นสำนักการศึกษา กทม. จึงวางแนวทางปฏิบัติสำหรับโรงเรียนสังกัด กทม. ในเรื่องการจำหน่ายอาหารว่าง เครื่องดื่มในโรงเรียน โดยห้ามจำหน่ายน้ำอัดลม อาหารกรุบกรอบ ลูกอมทุกชนิด อาหารประเภทปิ้งย่างที่ไม่สะอาดมีโภชนาการต่ำและไม่ปลอดภัยให้เป็นไปตามระเบียบ ซึ่งอาหารจะต้องมีคุณค่าตามหลักโภชนาการ สะอาดและปลอยภัยแก่นักเรียน พร้อมประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเรื่องการจำหน่ายอาหารแก่บุคลากรและร้านค้าทั้งในโรงเรียนและบริเวณรอบโรงเรียน ตลอดจนให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนในการเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ พร้อมให้คำแนะนำนักเรียนหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์โดยเฉพาะบริเวณรอบโรงเรียน เครือข่ายผู้ป่วยยื่นคัดค้าน ประกาศแพทยสภา 10 หน้าที่อันพึงปฏิบัติ        ตามที่แพทยสภาได้ออกประกาศแพทยสภา ที่ 50/2563 เรื่อง หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย โดยได้กำหนดหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วยไว้ 10 ข้อ และมีผลในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2563 นั้น         8 กรกฎาคม 2563 ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เครือข่ายผู้ป่วยทุกประเภททั่วประเทศ (Healthy Forum) และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเดินทางไปยื่นหนังสือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขอให้ยกเลิกประกาศแพทยสภา เรื่อง หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย เนื่องจากพบว่า การออกประกาศดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการได้ ขัดต่อกฎหมาย ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของแพทยสภาตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ซึ่งประกาศฯ นั้นไม่ได้ให้อำนาจแพทยสภาในการออกคำสั่งให้ผู้ป่วยหรือประชาชนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย          ประกาศหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วยในหลายข้อ มีประเด็นปัญหาที่จะส่งผลต่อการพิจารณาคดีทางการแพทย์ในปัจจุบัน สะท้อนทัศนคติทางการแพทย์ที่คับแคบ มองว่าประชาชนไม่สนใจปัญหาสุขภาพของตนเอง ทั้งที่ปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การทำข้อตกลงระหว่างประเทศ สังคม สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของอาหาร และปัญหาสารเคมีทางการเกษตร เป็นต้น           นอกจากนี้กระบวนการในการจัดทำประกาศหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วยนี้นั้น ไม่มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยเอง  ภาครัฐและประชาชนร่วมใจพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล        กลุ่มงานสื่อสารสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รายงานว่า เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2563 ในการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ได้มีมติเห็นชอบต่อแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานตามแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล พ.ศ. 2563-2565 ซึ่งครอบคลุมการพัฒนา ตั้งแต่ระบบการกำกับดูแลด้านยา (ต้นน้ำ) ผู้ประกอบวิชาชีพและสถานบริการสุขภาพ (กลางน้ำ) และ ประชาชน ครอบครัวและชุมชน (ปลายน้ำ) ทั้งการใช้ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ วัคซีน ยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่ใช้เพื่อการรักษา ยาสมุนไพร/ยาแผนโบราณ และยาสำหรับสัตว์ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่มุ่งหมายใช้เป็นยา         คนไทยทุกคนสามารถมาร่วมสร้างบรรทัดฐานใหม่ (new normal) เพื่อ ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล หรือเรียกว่า “Rational Drug Use country” ได้โดยยึดหลักว่าความเจ็บป่วยเป็นทุกข์ ซึ่งมีสมุทัยคือสาเหตุของการเกิดโรค การแก้ไขต้องเริ่มจากเหตุเพื่อนำไปสู่ความสุขทั้งกายและใจ เริ่มจากการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมเพื่อไม่นำโรคเอ็นซีดี เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันเกาะตับ โรคเกาต์ โรคไต ตลอดจนโรคจากการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด มาสู่ตน รวมไปถึงการนำบุตรหลานและบุคคลในครอบครัวไปรับวัคซีนต่าง ๆ ตามระยะเวลาที่กำหนด การกระทำเช่นนี้จะลดโอกาสป่วย ลดความจำเป็นในการใช้ยาลงได้อย่างมหาศาล แต่เมื่อเจ็บป่วยก็ต้องทำความรู้จักกับยาที่ได้รับและตั้งใจที่จะใช้ยานั้นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตามคำสั่งของแพทย์ ไม่หยุดยาเอง ไม่เลือกกินหรือไม่กินยาบางชนิด เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาที่ใช้หรือไม่ประสงค์จะใช้ยาต่อต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 227 ใช้สิทธิผู้ป่วย … ใช้สิทธิในการมีสติ

        เพื่อนนอกวงการสุขภาพคนหนึ่งของผม พิมพ์ข้อความปรึกษาผ่านมาทางไลน์ เกี่ยวกับอาการท้องเสียของเขา เล่าว่าถ่ายบ่อยๆ ติดกันมาสองวันแล้วจะทำอย่างไรดี เท่าที่ผมดูอาการก็ไม่น่ากังวลอะไร เพราะไม่ได้ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ไม่เพลีย ไม่มีไข้หรืออาเจียนจากอาหารเป็นพิษ สอบถามข้อมูลก็ไม่ค่อยทราบอะไรมากนัก จึงแนะนำในแง่การปฏิบัติตัว ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายรสไม่จัดไปก่อน หากอาการไม่ดีขึ้นอาจไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ         เพื่อนคนนี้หายไปห้าหกวันก็ไลน์กลับมาปรึกษาอีก เล่าว่าหลังจากสองวันอาการถ่ายก็หาย แต่ด้วยความไม่สบายใจจึงไปตรวจที่สถานพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง สถานพยาบาลแห่งนั้นตรวจแล้ว ก็ขอตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาว่าในอุจจาระมีเชื้ออะไรที่อาจทำให้เกิดโรค หลังจากยอมให้ตรวจโดยเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เมื่อกลับไปอีกครั้งทางสถานพยาบาลก็บอกอีกว่า น่าจะตรวจลำไส้หาสาเหตุต่างๆ เพิ่มอีก รวมทั้งให้ตรวจมะเร็งลำไส้ด้วย         ตนเองเริ่มรู้สึกแปลกๆ เพราะปกติตนเองก็ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอมาโดยตลอด และไม่เคยพบว่าผิดปรกติอย่างไร เพียงแค่ครั้งนี้ถ่ายบ่อยๆ ติดต่อกันสองวันนั้นเอง และอาการก็หายไปแล้วด้วยซ้ำ แต่เมื่อถูกทักและชักชวนให้ตรวจอะไรต่างๆ มากขึ้นก็เริ่มกังวล และหากตรวจเพิ่มตนก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกด้วย         ผมแนะนำให้กลับสอบถามทางสถานพยาบาลให้ชัดว่า ทำไมถึงต้องชักชวนให้ตรวจอะไรหลายๆ อย่าง มีเหตุผลจำเป็นอย่างไร เพื่อนก็บอกว่าไม่กล้าถาม        เพื่อนของผมก็คงคล้ายๆ กับผู้ป่วยอีกหลายคน เมื่อไปรักษาทางการแพทย์แล้วมักเกิดความสงสัยต่างๆ แต่กลับไม่กล้าสอบถามอะไรกับบุคลากรทางการแพทย์ และกลับมาวิตกกังวลเสียเอง ผู้ป่วยหลายท่านอาจไม่ทราบว่า แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ฯลฯ ได้ร่วมกันออกประกาศรับรองสิทธิของผู้ป่วย เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพกับผู้ป่วย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจอันดีและเป็นที่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน          โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเกี่ยวกับการได้รับข้อมูลต่างๆ เช่น ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและเข้าใจชัดเจนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอม หรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือที่รีบด่วนหรือจำเป็น  นอกจากนี้ยังมีสิทธิที่จะได้รับทราบ ชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน ตลอดจนสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพท่านอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการ และสถานบริการได้ ฯลฯ         การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีโรคหลายชนิดที่เป็นภัยเงียบ การตรวจตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม หากพบจะทำให้รักษาได้ง่าย และมีโอกาสหายขาดได้ แต่การตรวจสุขภาพต้องตรวจให้เหมาะสมกับตัวเรา หากตรวจเกินจำเป็นก็ทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ การตรวจสุขภาพไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปี แต่ควรตรวจตามระยะ ตามความจำเป็นของแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ และโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง          และอย่าลืมว่า เราสามารถตรวจสุขภาพด้วยตนเองในเบื้องต้นได้ โดยการตรวจสังเกตพฤติกรรม น้ำหนัก การวัดเส้นรอบเอวว่าอยู่ในภาวะลงพุงหรือไม่ หากพบว่ามีคมเสี่ยงต่างๆ เราก็จะได้รีบหันมาดูแลสุขภาพของตนเองได้ทันที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 225 ความเคลื่อนไหวเดือนพฤศจิกายน 2562

ปฏิรูปห้องฉุกเฉิน สปสช. พร้อมจัดบริการนอกเวลาราชการ        สปสช. แถลงผลการประชุม วันที่ 13 พฤศจิกายน ระบุที่ประชุมได้เห็นชอบข้อเสนอการใช้สิทธิบริการสาธารณสุขตามนโยบาย ‘บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินคุณภาพ’ ซึ่งนำเสนอโดย นพ.การุณย์ คุณติรานนท์ ว่า เพื่อลดความแออัดในห้องฉุกเฉินเพื่อให้ผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินวิกฤตและเร่งด่วนได้รับบริการมีคุณภาพมากขึ้น แยกการบริการเจ็บป่วยไม่รุนแรงและเจ็บป่วยทั่วไปออก เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการที่ไม่ถึงเกณฑ์เจ็บป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนมีสิทธิ์เข้ารับบริการนอกเวลาราชการ         โดยมีการออกประกาศตามข้อ 10 วรรคสอง ของข้อบังคับมาตรา 7 กำหนดเพิ่ม ‘เหตุสมควรอื่นเพื่อลดความแออัดในห้องฉุกเฉินและเพิ่มคุณภาพในการใช้บริการนอกเวลาราชการ’ เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (สีเขียว) และผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องรับบริการนอกเวลาราชการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและได้รับบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน กำหนดเงื่อนไขจัดบริการนอกเวลาราชการเฉพาะหน่วยบริการเฉพาะที่มีศักยภาพตามแนวทางบริการฉุกเฉินคุณภาพ ซึ่งจะแยกจัดบริการเป็น 2 ห้องชัดเจนตามมาตรฐานคือ ห้องฉุกเฉินคุณภาพเพื่อดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตและเจ็บป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สีแดงและสีเหลือง) และห้องฉุกเฉินไม่รุนแรงเพื่อดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (สีเขียว) และที่มีความจำเป็นต้องรับบริการนอกเวลา พร้อมแยกระบบข้อมูลบริการนอกเวลาราชการ         นอกจากนี้ได้เพิ่มค่าบริการสาธารณสุขนอกเวลาราชการในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง และผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องรับบริการนอกเวลาราชการเป็นรายการบริการใหม่ โดยกำหนดอัตราชดเชยค่าบริการ 150 บาทต่อครั้ง ซึ่งในปีงบประมาณ 2563 คาดว่าจะมีการรับบริการประมาณ 1.05 ล้านครั้ง หรือร้อยละ 10 ของการรับบริการผู้ป่วยนอก ใช้งบประมาณไม่เกิน 157.50 ล้านบาท โดยในระหว่างนี้จะเป็นการใช้เงินกองทุนรายการรายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสมในการดำเนินการหมอเผยพบมะเร็งเต้านมในสาวอายุน้อยเพิ่มขึ้น!         ในงานเสวนา “Save Your BREAST” จัดโดยมูลนิธิถันยรักษ์ รพ.ศิริราช กลุ่มอาร์ตฟอร์แคนเซอร์ และชมรมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแห่งประเทศไทย เผยข้อมูลสำคัญว่า มะเร็งเต้านมคร่าชีวิตของผู้ป่วยสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ดังนั้นผู้หญิงที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพเต้านมของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นและมีอายุน้อยลง         รศ.ดร.นพ.สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากตรวจพบเร็วในระยะแรกจะเป็นผลดีต่อการรักษา เพราะทุกวันนี้เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทั้งการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องเมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์ที่ทันสมัยสามารถตรวจพบตั้งแต่ก้อนเล็ก ทั้งวิธีการผ่าตัด การฉายรังสีรักษา การให้ยาคีโม ยาต้านฮอร์โมน และยารักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy) ที่พัฒนาก้าวหน้า สามารถรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกให้มีโอกาสหายได้ หรือรักษาผู้ป่วยระยะลุกลามให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นปีหน้าลด-เลิกถุงพลาสติก ก่อนประกาศกฎหมายห้ามใช้เต็มตัว        มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอใช้กลไกขับเคลื่อนการงดใช้ถุงพลาสติก โดยจะมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และภาคเอกชน         “ภายในวันที่ 1 ม.ค. 63 จะลดและเลิกใช้ถุงพลาสติกที่ใช้กันทั่วไปอยู่ในทุกวันนี้แบบครั้งเดียวทิ้ง หรือที่ทุกคนเรียกกันว่า “ถุงก๊อบแก๊บ” เพื่อให้หันไปใช้ถุงกระดาษหรือถุงผ้า จากนั้นในวันที่ 1 ม.ค. 64 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะขอให้ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการห้ามใช้ถุงพลาสติก แบบครั้งเดียวทิ้งด้วย” นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวกสทช.ยืนยันประเทศไทยจะมี 5G ใช้อย่างแน่นอน ภายในเดือน ก.ค. 2563        นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในช่วงต้นเดือน ก.พ. 2563 คาดว่าจะเปิดประมูลคลื่นสำหรับทำ 5G พร้อมกัน 4 คลื่น ได้แก่ 700 MHz,1800 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz เพื่อให้สามารถออกใบอนุญาตได้ไม่เกิน 20 ก.พ. 2563 และเริ่มลงทุนโครงข่ายในช่วงต้นเดือน มี.ค. 2563 เพื่อภายในเดือนก.ค. 2563 ผู้ชนะการประมูลจะสามารถเปิดให้บริการ 5G ในบางพื้นที่ที่มีความต้องการได้ ระวังภัยโรคเอ็มเอส (MS) หรือ Multiple Sclerosis         สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ ออกโรงเตือนคนวัยทำงาน ระวังภัยโรคเอ็มเอส (MS) หรือ Multiple Sclerosis ทำให้แขนขาอ่อนแรง ชาตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ตามองไม่เห็นหรือมองภาพซ้อน พบมากในช่วงอายุ 20-40 ปี         นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคเอ็มเอส คือโรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นประสาทในสมองและไขสันหลัง สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่แน่ชัด แต่เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น ความไม่สมดุลของภูมิคุ้มกัน การติดเชื้อไวรัสบางชนิด พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในช่วงอายุ 20-40 ปี ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ตามองไม่เห็นหรือมองภาพซ้อน ปัญหาเกี่ยวกับการกลืน การออกเสียง สะอึก ปวดแสบร้อน หรือคล้ายไฟช็อต การทรงตัวที่ผิดปกติ ภาวะเมื่อยล้า ปัญหาด้านความจำ อารมณ์ ความคิด และการควบคุมการขับถ่าย         ทั้งนี้ โรคดังกล่าวไม่ใช่โรคติดต่อ ผู้ป่วยแต่ละคนจะแสดงอาการแตกต่างกัน บางคนอาการหนัก หรือบางคนแสดงอาการเป็นครั้งคราว และไม่สามารถคาดเดา จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก อีกทั้งปัจจุบันยังไม่มีการรักษาแบบให้หายขาด แต่เป็นการรักษาเพื่อฟื้นฟูร่างกายและควบคุมอาการไม่ให้แย่ลง โดยแพทย์ให้คำแนะนำว่า ผู้ป่วยควรงดสูบบุหรี่ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงความเครียด         โรคเอ็มเอส เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ควรหมั่นสังเกตร่างกายของตนเอง หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรักษาได้อย่างทันท่วงที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 221 ความยินยอมไม่เป็นละเมิด

        อย่างที่เรารู้กันว่าคนไทยเราชอบอะไรง่ายๆ เรื่องเล็กน้อย ก็ยอมๆ กันได้ เช่น ข้างบ้านมาสร้างรั้วล้ำมาในเขตบ้านเรา แต่เราเห็นว่านิดๆ หน่อยๆ ก็ปล่อยยอมให้เขาสร้าง เช่นนี้เขาก็ถือว่าสร้างโดยเรายินยอม จึงไม่ผิด หรือมีคนมาหยิบหนังสือเราไปอ่าน เราก็ไม่ได้ทักท้วงอะไร เขาก็ไม่ผิด แต่รู้ไหมว่า การยินยอมบางอย่างมันมีผลทางกฎหมายด้วยนะครับ         ผมขอยกตัวอย่างในคดีทางการแพทย์ อย่างที่รู้เราไปหาหมอให้เขารักษา เท่ากับเรายินยอมให้เขารักษา เพราะเขาต้องใช้เครื่องมือแพทย์กับร่างกายเรา ทั้งเจาะร่างกาย ใช้เข็มแทง ผ่าตัด วางยาสลบ และเขาก็ยินยอมรักษาให้เรา หากภายหลังพบว่า หมอเขารักษาไม่ดี เช่นนี้จะถือเอาความยินยอมของเรา มาอ้างเพื่อพ้นความรับผิดได้ไหม เรื่องนี้ มีคำพิพากษาของศาลฎีกาตัดสินไว้ว่า แม้จะได้รับความยินยอมแต่หากการรักษานั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพแพทย์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของหมออันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ หมอก็ต้องรับผิดต่อโจทก์                     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2552        การตรวจร่างกายของผู้ป่วยถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการที่แพทย์จะวินิจฉัยโรคว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร พยาธิสภาพอยู่ที่ไหนและอยู่ในระยะใดเพื่อจะนำไปสู่การรักษาได้ถูกต้อง ในขั้นตอนนี้แพทย์จักต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์มิให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ เพราะอาจนำมาซึ่งอันตรายที่จะเกิดแก่ร่างกายหรือชีวิตของผู้ป่วยในขั้นตอนการรักษาที่ต่อเนื่องกัน การที่จำเลยที่ 3 มิได้ตรวจดูอาการของโจทก์ตั้งแต่แรกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล...ด้วยตนเอง แต่วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาอาการของโจทก์ตามที่ได้รับรายงานทางโทรศัพท์จากพยาบาลแทนโดยไม่ได้ตรวจสอบประวัติการรักษาของโจทก์ด้วยตนเอง แม้จำเลยที่ 3 จะสอบถามอาการและประวัติการรักษาของโจทก์จากพยาบาลก่อนที่พยาบาลจะฉีดยาให้แก่โจทก์เพื่อทำการรักษา ก็มิใช่วิสัยของบุคคลผู้มีวิชาชีพเป็นแพทย์จะพึงกระทำ ทั้งห้องแพทย์เวรกับห้องฉุกเฉินที่โจทก์อยู่ห่างกันเพียง 20 เมตร และไม่มีเหตุสุดวิสัยอันทำให้จำเลยที่ 3 ไม่สามารถมาตรวจวินิจฉัยอาการของโจทก์ได้ด้วยตนเอง ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อ เมื่อพยาบาลได้ฉีดยาบริคานิลให้แก่โจทก์ตามที่จำเลยที่ 3 สั่งการหลังจากนั้นโจทก์มีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรงโดยโจทก์ไม่มีอาการเช่นว่านั้นมาก่อน จึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์        ความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 3 ทำการรักษาแม้จะเป็นการแสดงออกให้จำเลยที่ 3 กระทำต่อร่างกายของโจทก์เพื่อการรักษาได้ แต่หากการรักษานั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพแพทย์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 อันเป็นหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ได้        ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย ค่าเสียสมรรถภาพในการมองเห็นและค่าสูญเสียความสวยงามของโจทก์ถือได้ว่าเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446        อย่างไรก็ตาม การยินยอมก็ต้องมีขอบเขต ถ้าเป็นการยินยอมที่ต้องห้ามตามกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ก็เป็นละเมิดต้องรับผิด เช่น กรณีผู้เสียหายยินยอมมีเพศสัมพันธ์ แต่เมื่อผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี กฎหมายบัญญัติเป็นความผิด การยินยอมก็ไม่ถือเป็นสาระสำคัญ  จึงถือว่ากระทำละเมิด ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8932/2557                ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ยินยอมเป็นความผิด" แสดงว่า กฎหมายมุ่งคุ้มครองเด็กอายุน้อยเป็นกรณีพิเศษโดยไม่ให้ความสำคัญแก่ความยินยอมของเด็ก ดังนั้น แม้ผู้เสียหายที่ 3 ยินยอมมีเพศสัมพันธ์กับจำเลย การกระทำของจำเลยก็ยังเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมาย จึงยังคงเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหายที่ 3 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โจทก์ร่วมในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายที่ 3 ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 219 วิ่งวุ่นจากเหตุใช้สิทธิป่วยฉุกเฉินวิกฤติรักษาฟรี

        น่าจะเป็นที่รับรู้โดยทั่วกันว่า หากประชาชนประสบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถใช้สิทธิ UCEP หรือสิทธิการรักษาเพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ซึ่งสามารถรักษาได้ฟรีทุกโรงพยาบาล ภายใน 72 ชั่วโมงแรก ก่อนจะส่งผู้ป่วยเข้าระบบตามสิทธิรักษาพยาบาลของผู้ป่วยนั้น อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติอาจมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดภาระเรื่องค่าใช้จ่ายหรือไม่ฟรีจริงแก่ผู้ป่วยและญาติที่ใช้สิทธิดังกล่าว ซึ่งทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะปลดเปลื้องภาระได้ ดังกรณีที่มีผู้ร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ        คุณประสานร้องเรียนว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ปีที่แล้ว เวลาประมาณ 16.30 น. คุณประสงค์ซึ่งเป็นน้องชายประสบอุบัติเหตุขณะขับขี่รถจักรยานยนต์แล้วมีรถบรรทุกเลี้ยวตัดหน้า คุณประสงค์ถูกนำส่งโรงพยาบาลใกล้ที่เกิดเหตุโดยรถกู้ภัยอาสาในภาวะหายใจเองไม่ได้และไม่รู้สึกตัว คุณประสานไปโรงพยาบาลและเฝ้าผู้ป่วยอยู่จนถึงเวลา 22.30 น. จึงได้กลับบ้าน แต่ประมาณ 23.00 น. ทางโรงพยาบาลได้โทรศัพท์แจ้งว่า ให้มาเซ็นเอกสาร 2 ฉบับเพื่อให้ผู้ป่วยรับการผ่าตัดด่วน ซึ่งตนเองก็รีบไปเซ็นเอกสารดังกล่าว         วันรุ่งขึ้นโรงพยาบาลแจ้งว่าอาการของผู้เสียหายหนักเกินกว่าที่ทาง รพ.จะรักษาได้ ต้องส่งไป รพ.ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพของผู้ป่วย แต่เมื่อติดต่อไปและแจ้งอาการ โรงพยาบาลตามสิทธิหลักประกันก็ไม่สามารถรักษาได้ น้องชายต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใหญ่หรือโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์เท่านั้น ทางโรงพยาบาลได้ติดต่อไปตามโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์หลายแห่งพบว่า เตียง ICU เต็ม ผู้ร้องจึงดิ้นรนติดต่อหาโรงพยาบาลที่มีศักยภาพพอที่จะรักษาน้องชายได้ จนได้ทราบว่าน้องชายสามารถใช้สิทธิ UCEP หรือฟรี 72 ชั่วโมงแรก เมื่อแจ้งเรื่องต่อโรงพยาบาลกลับได้ข้อมูลที่ต่างออกไป โดยโรงพยาบาลแจ้งว่า คุณประสงค์ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.รถ ไปแล้ว ไม่สามารถใช้สิทธิ UCEP ได้         วันที่ 6 มีนาคม ประมาณ 14.00 น. ทางโรงพยาบาลแจ้งคุณประสานว่า โรงพยาบาลศิริราชรับรักษาคุณประสงค์ ซึ่งทาง รพ.จะย้ายผู้ป่วยไปที่ศิริราช แต่คุณประสานต้องชำระค่ารักษาจำนวน 120,000 บาท คุณประสานจึงรีบไปหาหยิบยืมเงินมาจ่ายให้ทาง รพ. ซึ่งเวลาประมาณ 20.00 น.จึงพอที่จะรวบรวมเงินได้และนำมาจ่ายให้ รพ. น้องชายจึงได้ถูกส่งตัวไปรักษาต่อที่ รพ.ศิริราช คุณประสานพยายามขอข้อมูลจากทางศิริราชว่าผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิ UCEP ได้หรือไม่ ทางศิริราชให้ข้อมูลว่าการตัดสินใจว่าใช้ได้หรือไม่ได้ ต้องส่งข้อมูลเข้าไปที่ระบบซึ่งดูแลโดย สปสช. คุณประสานจึงขอให้ทาง รพ.ที่รักษาผู้ป่วยในครั้งแรกส่งข้อมูลไปยังระบบของ UCEP แต่ รพ.ปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่า “อาการของผู้ป่วยพ้นขีดอันตรายแล้ว”         คุณประสานจึงแจ้งเรื่องร้องเรียนไปที่ สปสช. ต่อมาได้รับแจ้งว่า ทาง รพ.ได้ส่งข้อมูลผู้ป่วยเข้าระบบแล้ว และกำลังเข้าสู่การพิจารณาว่าเป็นกรณีฉุกเฉินวิกฤตหรือไม่ ส่วนอาการของผู้ป่วยหลังจากรับการผ่าตัดแล้ว ได้ย้ายเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตามสิทธิหลักประกัน ซึ่งผู้ป่วยยังอยู่ในอาการไม่รู้สึกตัว ส่วนเรื่องของการร้องเรียนนั้น ผ่านไปประมาณ 7 เดือนยังไม่คืบหน้า ทำให้คุณประสานมีภาระเรื่องการผ่อนชำระหนี้สินที่กู้ยืมมาเพื่อรักษาน้องชาย จึงขอความช่วยเหลือกับศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคเพื่อให้ช่วยติดตามเรื่องให้ด้วย แนวทางการแก้ไขปัญหา        เบื้องต้นได้แนะนำให้คุณประสานดำเนินการเรื่องคดีความกับทางผู้ขับขี่รถบรรทุกเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม สำหรับการติดตามกรณีใช้สิทธิ UCEP ได้รับแจ้งจากทาง สปสช. ว่า แม้ รพ.ที่รักษาผู้ป่วยในครั้งแรกนั้นจะส่งข้อมูลเข้าระบบแล้ว แต่ไม่ได้ดำเนินการเรื่องเบิกเงินกับ UCEP  เรื่องจึงยังไม่คืบหน้า ซึ่งกรณีนี้ทาง สปสช.ได้พิจารณาแล้วว่าเข้ากรณีเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตั้งแต่ที่คุณประสานร้องเรียนไว้ รอเพียงให้ทาง รพ.เบิกเงิน ซึ่งจะทำให้ทราบว่ายอดเงินเป็นจำนวนเท่าใดเพื่อการพิจารณาจ่ายเงินให้ รพ. และ รพ. จะได้คืนเงินให้กับผู้ร้องต่อไป            กรณีของคุณประสานนี้ ความล่าช้าเกิดจาก รพ.อาจยังไม่เข้าใจการส่งเรื่องเข้าระบบ เพราะเมื่อติดต่อไปที่ รพ. ได้รับคำยืนยันว่า ได้ส่งข้อมูลเข้าระบบไปแล้วตั้งแต่มีนาคม แต่ รพ.ไม่ทราบว่าต้องส่งข้อมูลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วย เพราะ สปสช. ต้องใช้ในการพิจารณาว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาทั้งหมดนั้น สปสช. สามารถจ่ายได้เต็มจำนวนหรือไม่         ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ได้ช่วยประสานงานทวงถามให้กับผู้ร้องเรียนเป็นระยะ พบว่า ทาง รพ.อ้างว่ามีภาระงานมาก จึงทำให้การทำเรื่องเบิกจ่ายล่าช้า ดังนั้นกว่าจะทำเรื่องเบิกจ่าย ก็ต้องรอจนถึงเดือนธันวาคม 2561 ต่อมาในเดือนมกราคม 2562 เรื่องจึงได้ผ่านการพิจาณาของ สปสช. และมีหนังสือแจ้งการจ่ายเงินให้ รพ. ซึ่ง รพ. ก็ติดต่อให้คุณประสานเข้าไปรับเงินคืน  ------------นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” หรือ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ 1 เมษายน 2560 โดย สปสช.เป็นหน่วยงานกลางในการประสานกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ ทั้งหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และอื่นๆ เพื่อจ่ายเงินชดเชยให้รพ.เอกชนตามนโยบายนี้ว่า คนไทยทุกคนหากเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล (รพ.) ที่ใกล้ที่สุดได้ทั้ง รพ.รัฐและรพ.เอกชนไม่จำเป็นต้องเป็นรพ.ตามสิทธิ โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใน 72 ชั่วโมงแรก ผู้ป่วยไม่ต้องจ่าย แต่ละกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐที่ผู้ป่วยมีสิทธิจะดำเนินการจ่ายให้รพ.ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนด6 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ที่สามารถใช้สิทธิ UCEP รักษาพยาบาลฟรี 72 ชั่วโมงแรก1.หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ2.หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง3.ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น4.เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง5.แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่อง6.อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิตที่มา สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 219 ความเคลื่อนไหวเดือนพฤษภาคม 2562

11 องค์กรร่วมเคลื่อนขบวนผลักดันกัญชาออกจาก พ.ร.บ. ยาเสพติด        เครือข่ายภาคประชาชน 11 องค์กร ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม “เดินเพื่อผู้ป่วย : กัญชารักษาโรค” โดยการเดินเท้าจากวัดป่าวชิรโพธิญาณ จังหวัดพิจิตร ไปถึงวัดบางปลาหมอ จังหวัดสุพรรณบุรี รวมระยะทาง 268 กิโลเมตร ระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม – 9 มิถุนายน โดยระหว่างทางจะมีเวทีบรรยายพิเศษและเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายกัญชารักษาโรค โดยมีวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ แสดงความจำนงเข้าร่วมอย่างคับคั่ง        อาจารย์เดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ กล่าวว่า เป้าหมายหลักในการเดินครั้งนี้มีด้วยกันสาม ประการ คือ ประการที่หนึ่ง ต้องการปรับเปลี่ยนกฎหมายปัจจุบันให้ดีขึ้นเพราะกัญชายังเป็นยาเสพติดอยู่ แม้จะผ่อนผันให้ทำยาได้แต่ขอบเขตจำกัดมาก ทำให้การผลิตและแจกจ่ายเข้าถึงผู้ป่วยได้น้อย ประการต่อมา ต้องการให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อสาธารณชนว่ากัญชาไม่ใช่ยาเสพติดแต่เป็นยารักษาโรค การใช้ที่ถูกต้องจะเป็นประโยชน์มากโดยเฉพาะการรักษาและแก้ไขปัญหาสุขภาพซึ่งมีราคาถูก สามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากโดยเฉพาะลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และประการสุดท้าย ระดมทุนบริจาคเพื่อผลิตยาสำหรับแจกฟรี และหากยังทำไม่ได้มากก็ใช้ทุนก้อนนี้ในการรณรงค์ในการปรับกฎหมาย ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่จัดกิจกรรม และจัดครั้งเดียวอาจไม่เพียงพอ เพียงแต่เป็นการเริ่มต้น และมีอีกหลายเรื่องที่ยังต้องให้ความรู้โดยการอบรม จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายปี พาณิชย์ ยันค่ายา "รพ.เอกชน" สูงเกินจริงหลายเท่าตัว        12 พ.ค. 62  คณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการกำกับดูแลยาและเวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ ได้ศึกษาข้อเท็จของค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน โดยแยกเป็นสามส่วนคือ ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ และค่าบริการทางการแพทย์ ค่ายาคือฐานข้อมูลที่ศึกษาเสร็จแล้ว ปลัดกระทรวงพาณิชย์ บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร กล่าวว่า คณะทำงานได้ขอข้อมูลราคาซื้อ-ขาย ราคานำเข้า และต้นทุนการผลิตยากว่า 30,000 รายการ พบว่าราคายาของโรงพยาบาลเอกชนมีต้นทุนใกล้เคียงกับรายการยาของกรมบัญชีกลาง แต่ราคายาของโรงพยาบาลเอกชนราคาสูงมาก บางรายการสูงเกิน 300 - 500%        “ได้ทราบว่าโรงพยาบาลเอกชนแต่ละที่มีการเรียกเก็บค่ายาที่แตกต่างกัน ยาชนิดเดียวกันมีต้นทุนการซื้อใกล้เคียงกัน แต่ราคาที่จำหน่ายจะต่างกันมาก ระดับกำไรเมื่อเทียบกับต้นทุนที่ซื้อมา มีตั้งแต่ระดับไม่มาก จนสูงขึ้นไปถึง 300 - 900 เปอร์เซ็นต์ ก็มีในบางรายการ" บุณยฤทธิ์ กล่าว        ทั้งนี้ข้อมูลบางส่วนจากคณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการกำกับดูแลยาและเวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ ระบุผลการเปรียบเทียบราคายาสามรายการ คือ ยาบำรุงเลือด ราคาเบิกจ่ายกรมบัญชีกลาง 0.88 บาท ราคาซื้อ โรงพยาบาลเอกชน 3 บาท ราคาขาย 6 บาท ส่วนยาฆ่าเชื้อไวรัส ราคาเบิกจ่ายกรมบัญชีกลาง 2 บาท 77 สตางค์ ราคาซื้อ โรงพยาบาลเอกชน 4 บาท 84 สตางค์ ราคาขาย 27 บาท 84 สตางค์ ขณะที่ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ราคาเบิกจ่ายกรมบัญชีกลาง 43 บาท 92 สตางค์ ราคาซื้อ โรงพยาบาลเอกชน 68 บาท ราคาขาย 549 บาท 18 สตางค์ เครือข่ายผู้บริโภค ร่วมร้องสอดคดี รพ.เอกชนฟ้อง พณ.ยกเลิกประกาศควบคุมค่ายา-ค่ารักษาแพง        เครือข่ายผู้บริโภค ประกาศร่วมร้องสอดคดี สมาคม รพ.เอกชน และ 41 รพ.ยื่นฟ้องกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศค่ายา เวชภัณฑ์ ค่ารักษา เป็นสินค้าและบริการควบคุม เหตุได้รับผลกระทบโดยตรงหากยกเลิก หากถูกเอาเปรียบทำ พณ. ตรวจสอบเอาผิด รพ.ไม่ได้ ยัน รพ.เอกชนร่วมออกประกาศ ขณะที่มาตรการควบคุมเป็นของเดิมยังไม่ส่งผลกระทบใดๆ        14 พ.ค. เครือข่ายผู้บริโภคแถลงข่าวเตรียมร้องสอดการฟ้องคดีของสมาคม รพ.เอกชน โดย น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ประธานอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) กล่าวว่า จากการที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) มีมติเห็นชอบประกาศให้ยา เวชภัณฑ์ ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นสินค้าและบริการควบคุม ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 และผ่านความเห็นชอบคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2562 กระทั่งปลาย เม.ย. 2562 สมาคม รพ.เอกชน และสมาชิกสมาคมฯ ที่เป็น รพ.เอกชนอีก 41 แห่ง ได้ฟ้องศาลปกครองขอให้มีการยกเลิกการประกาศดังกล่าวไม่เป็นสินค้าและบริการ ซึ่งถ้ามีการยกเลิกประกาศ ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบโดยตรง จากการพูดคุยกับเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ จึงเห็นว่าเครือข่ายผู้บริโภคที่ร่วมผลักดันเรื่องนี้มาตลอดจะต้องร้องสอดเข้าใปในคดี และขอให้กระทรวงพาณิชย์และ กกร.เดินหน้าต่อไป เพื่อให้เกิดผลในการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริง        "เครือข่ายฯ ยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุนทุกอย่าง ในการที่จะมีมาตรการทำให้ค่ารักษาพยาบาลที่แพงลดลง เพราะการออกประกาศและให้ติดราคายังไม่แก้โจทย์เรื่องแพง ที่จะให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมกับผู้บริโภคและโรงพยาบาล” น.ส.สุภัทรา กล่าว        ด้านนายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวว่า คดีนี้สมาคมฯ กับพวกเป็น รพ.เอกชน 41 แห่งเป็นผู้ฟ้องคดี โดยมีผู้ถูกฟ้องคดี 4 คน ได้แก่ 1.กกร. 2.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 3.ปลัดพาณิชย์ และ 4.อธิบดีกรมการค้าภายใน ซึ่งมพบ.และองค์กรผู้บริโภคถือเป็นบุคคลภายนอกคดี ที่ไม่ใช่คู่ความ แต่อาจจะเข้ามาร่วมได้ด้วยการร้องสอดเป็นคู่ความในคดี ซึ่งเครือข่ายผู้บริโภคร้องสอดเข้ามาด้วยความสมัครใจในการเป็นผู้ถูกฟ้องคดีร่วมกับอีก 4 คน เพราะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคำพิพากษาในคดีนี้ ถ้าหากมีการยกเลิกเพิกถอนประกาศจะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคทั่วประเทศ จึงร้องสอดเป็นฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดีอยู่ฝั่งกระทรวงพาณิชย์ เพี่อเข้าไปร่วมต่อสู้กับสมาคมรพ.เอกชน มพบ. เผยสถานการณ์ผู้บริโภคไตรมาสแรกปี 62 ปัญหาโฆษณาเกินจริงยังคงครองแชมป์อันดับ 1         มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เปิดเผยสถานการณ์ผู้บริโภคในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 โดยตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนมีนาคมที่ผ่านมา มพบ. และเครือข่ายผู้บริโภค 7 ภาค ได้ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียนทั้งหมด จำนวน 1,147 ราย        ปัญหาที่ผู้บริโภคได้รับผลกระทบและร้องเรียนมากเป็นอันดับหนึ่งและสองยังคงเหมือนกับสถิติปี 2561 คือ เรื่องอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ 511 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.55 ของจำนวนผู้ร้องเรียนทั้งหมด และบริการสาธารณะ มีผู้ร้องเรียน 300 ราย  คิดเป็นร้อยละ 26.16 ส่วนอันดับที่สามเป็นเรื่อง การเงินการธนาคาร ที่ขยับขึ้นมา 1 อันดับจากปี 2561 โดยมีผู้ร้องเรียน 147 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.82        สำหรับการร้องเรียนหมวดอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ (511 ราย) ลักษณะปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องโฆษณาอันเป็นเท็จหลอกลวง ซึ่งมีมากถึง 282 ราย มีทั้งการแสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จ แสดงที่ตั้งอันเป็นเท็จทำให้หลงเชื่อ ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหามากที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากผู้บริโภคใช้บริการซื้อขายผ่านร้านค้าออนไลน์หรือสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเชื่อคำโฆษณาโดยไม่ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อน ซึ่งนอกจากจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพและประสิทธิภาพแล้ว ยังมีโอกาสได้รับสินค้าที่มีส่วนผสมของสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตอีกด้วย        ส่วนด้านบริการสาธารณะ (300 ราย) ได้รับร้องเรียนเกี่ยวกับการขนส่งทางบกมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการเยียวยาความเสียหายจากอุบัติเหตุรถโดยสาร กลุ่มรถที่ถูกเฝ้าระวังและร้องเรียนมากที่สุดสี่อันดับ ได้แก่ 1. รถทัวร์โดยสาร (107 ราย) ได้รับร้องเรียนเรื่องอุบัติเหตุรถ และพฤติกรรมพนักงานขับรถ อุปกรณ์ความปลอดภัยภายในรถ 2. รถตู้โดยสาร (86 ราย) เป็นเรื่องพฤติกรรมพนักงานขับรถและอุบัติเหตุรถ 3. รถรับส่งนักเรียน (48 ราย) เป็นเรื่องการใช้รถผิดประเภทในการรับส่งนักเรียน และ 4. รถสองแถว เรื่องการบรรทุกผู้โดยสารเกินที่นั่ง        สุดท้าย หมวดการเงินการธนาคาร (147 ราย) เรื่องร้องเรียนส่วนใหญ่คือ กลุ่มสินเชื่อถึง 96 ราย ปัญหาที่ร้องเรียนจะเป็นลักษณะการทำสัญญาพิสดาร ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นผลพวงจากคดี ‘สามล้อเอื้ออาทร’ เมื่อช่วงปลายปี 2561        จากสถิติที่กล่าวไปข้างต้น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และองค์กรเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ ได้รับเรื่องและดำเนินการช่วยเหลือผู้บริโภค โดยการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแต่ละกลุ่มปัญหา เพื่อช่วยกันหาทางออก แต่บางกลุ่มปัญหาเรื้อรังหรือมีเพิ่มมากขึ้น โดยไร้การแก้ไขเยียวยา ตลอดจนไม่มีหน่วยงานที่ดูแลชัดเจน และกระบวนการช่วยเหลือล่าช้า ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับการเยียวยา บางรายก็ได้รับความเสียหายมากกว่าเดิม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 215 คำวินิจฉัยแพทย์ ประกันสังคมและความเจ็บป่วยที่ผู้บริโภคต้องรอ

                   ความเจ็บป่วยนั้นรอไม่ได้ เมื่อไม่สบาย เราย่อมต้องการการรักษาพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการ ปัจจุบันคนไทยมีสิทธิการรักษาพยาบาลอยู่ในสามกองทุนหลักคือ สิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม และสิทธิในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งแต่ละกองทุนจะมีสิทธิประโยชน์และหลักปฏิบัติบางอย่างต่างกัน แต่ที่เหมือนกันคือ คำวินิจฉัยของแพทย์จะถือเป็นสิ่งสำคัญ หากคำวินิจฉัยยังไม่ชัดเจน ผู้ป่วยก็อาจต้องทนเจ็บทนรอจนแทบไม่ไหว อย่างกรณีของคุณสาธร        เมื่อต้นปี 2560 คุณสาธรไปพบแพทย์ด้วยอาการเข่าเสื่อม โดยใช้สิทธิในกองทุนประกันสังคมและได้รับการผ่าตัดในเวลาต่อมา แต่หลังผ่าตัดอาการยังไม่ดีขึ้น เนื่องจากไม่สามารถใส่เหล็กได้ แพทย์เจ้าของไข้จึงวินิจฉัยให้ผ่าตัดครั้งที่ 2 ซึ่งผู้ร้องจะต้องจ่ายเงินก่อนจำนวน 25,000 บาท ทั้งนี้ในการผ่าตัดครั้งแรกคุณสาธรได้สำรองเงินเป็นค่าประกันให้กับโรงพยาบาลไว้เป็นจำนวน 25,000 บาทไปก่อนแล้ว โดยเงินจำนวนนี้ก็ต้องยืมมาจากนายจ้าง เมื่อคุณสาธรสอบถามไปที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ ได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่ว่า วงเงินสำหรับการผ่าตัดที่ประกันสังคมตั้งไว้คือ 80,000 บาท ถ้าเกินนี้จึงจะต้องจ่ายเอง คุณสาธรจึงเห็นว่า ตนเองควรได้เงินประกันที่จ่ายไว้ในครั้งแรก 25,000 บาทคืนมาก่อนจากโรงพยาบาล จึงติดต่อทางโรงพยาบาลไป ซึ่งก็ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวคืนเรียบร้อย  แต่ทั้งนี้หากคุณสาธรประสงค์จะผ่าตัดครั้งที่สอง จะต้องจ่ายเงินเพิ่ม 50,000 บาท ซึ่งคุณสาธรไม่เข้าใจว่า ทำไมโรงพยาบาลจึงต้องเก็บเงินค่าผ่าตัด ในเมื่อการรักษายังไม่น่าจะเกินวงเงินที่ประกันสังคมกำหนด แนวทางแก้ไขปัญหา        คุณสาธรต้องกังวลใจเรื่องการผ่าตัดอยู่นานเป็นปี จนเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2561 จึงติดต่อมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอให้ช่วยเหลือ เมื่อรับเรื่องทางศูนย์พิทักษ์ฯ ได้สอบถามกับทางคอลเซนเตอร์ของประกันสังคม 1506 ได้รับการชี้แจงว่า “ประกันสังคมกำหนดว่า หากมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้เลย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ยกเว้นค่าห้องพิเศษ”          เมื่อติดต่อไปขอคำยืนยันจากคุณสาธรว่า แพทย์มีคำวินิจฉัยให้ผ่าตัดครั้งที่สองแน่นอนหรือไม่ เพราะถ้าเป็นคำวินิจฉัยของแพทย์ คุณสาธรก็ไม่ต้องจ่ายเงิน 50,000 บาทที่ทางโรงพยาบาลเรียกเก็บ คุณสาธรแจ้งว่า แพทย์เจ้าของไข้ให้ผ่าตัดใส่เหล็กจริง และเงิน 50,000 บาทที่โดนเรียกเก็บ โรงพยาบาลแจ้งว่าเป็นค่าเหล็กที่จะใส่ให้ผู้ร้อง ไม่ใช่ค่าผ่าตัด ทางศูนย์ฯ จึงขอให้คุณสาธรลองคุยกับแพทย์ดูก่อนว่า “สามารถใช้เหล็กที่อยู่ในสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมได้ไหมเพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม”         จากนั้นทางศูนย์ฯ ได้รวบรวมเอกสารจากคุณสาธรเพื่อส่งให้ทางประกันสังคมช่วยประสานงานกับทางโรงพยาบาลเพื่อให้คุณสาธรได้รับการรักษาตามสิทธิประกันสังคม เมื่อถึงเดือนมิถุนายน คุณสาธรเจ็บจนทนแทบไม่ไหวแล้วจึงยืมเงินนายจ้างมาอีกครั้งเพื่อจะได้ผ่าตัดครั้งที่สอง แต่โรงพยาบาลแจ้งว่ายังไม่สามารถผ่าตัดให้ได้ เนื่องจากโรงพยาบาลยังมีกรณีตรวจสอบเรื่องที่แพทย์ได้รับการร้องเรียนอยู่  “หากโรงพยาบาลรักษาให้โดยรับเงินจากผู้ร้องเกรงจะมีปัญหา อีกทั้งต้องรอให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลงนามอนุมัติเพื่อขอเบิกเงินจากประกันสังคมก่อน เมื่อนำเรื่องของผู้ร้องไปปรึกษากับกลุ่มงานคุ้มครองสิทธิ ของประกันสังคม ได้รับการชี้แจงว่า “อยู่ระหว่างการหารือกับคณะที่ปรึกษาทางแพทย์ และไม่ทราบระยะเวลาดำเนินการว่าจะรู้ผลเมื่อใด แต่ได้รับฟังความเห็นจากแพทย์ผู้รักษา เห็นว่ายังไม่ถึงขั้นต้องรีบผ่าตัดด่วน”        ทว่าคนเจ็บคือคุณสาธร ที่ต้องรอการประสานงานกันไปมาของทางประกันสังคมกับทางโรงพยาบาลที่มีเหตุจำเป็นเกิดขึ้นหลายอย่างทั้งการเปลี่ยนผู้อำนวยการและแพทย์ยังไม่เห็นว่าต้องผ่าตัดเร่งด่วน จนต้องประคองตัวเองด้วยไม้เท้าอยู่สามเดือนกว่า จึงได้รับการนัดผ่าตัดในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ตามสิทธิประกันสังคม  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 เมื่อ ‘จิตใจ’ ไม่สบาย สิทธิของผู้ป่วยจิตเวช

“ปี 2556 ประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีอาการป่วยทางจิตเวชและมีปัญหาสุขภาพจิตร้อยละ 11.5 หรือประมาณ 520,000 คน” น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ปัจจุบัน เราคุ้นเคยกับความป่วยไข้ทางจิตเวชมากขึ้น โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า อาจจะเป็นเพราะมีผู้ป่วยที่เปิดเผยตัวเอง ข่าวคราวของดารา นักร้องที่เป็นโรคซึมเศร้า (ขนาดว่าช่วงหนึ่งมีการพูดถึงกระแส ‘อยากซึมเศร้า’ เพราะรู้สึกว่าความป่วยไข้ชนิดนี้เท่) ถึงกระนั้น ตัวเลขข้างต้นก็น่าตกใจ เพราะมันหมายความว่าทุกๆ 10 คนที่เดินเหินในมหานครแห่งนี้ มี 1 คนที่ป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพจิต‘ฉลาดซื้อ’ จะพาไปรู้จักอาการทางจิตเวช แนวทางดูแลตัวเอง การอยู่ร่วมกับผู้ป่วย และสิทธิบางประการที่ควรรู้ เพราะเราทุกคนอาจป่วยทางจิตได้เหมือนกับที่ใครๆ ก็ป่วยเป็นไข้หวัดได้ซึมเศร้าเรื้อรัง เอก (นามสมมติ) รับรู้ถึงความผิดปกติบางอย่างในตัวเอง มันเริ่มจากความรู้สึกเศร้าและอยากร้องไห้แบบไม่มีต้นสายปลายเหตุ ตอนแรกเขาก็ยังไม่ได้สนใจอะไร กระทั่งอาการดังกล่าวเกิดขึ้นติดต่อกัน 2 วันจนเกือบทำการทำงานไม่ได้ เอกไม่ได้มีความเชื่อผิดๆ ที่ว่าการไปพบจิตแพทย์คือการถูกตีตราว่า ‘บ้า’ เขาจึงตัดสินใจลองไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลจิตเวชของรัฐแห่งหนึ่ง หลังการพูดคุยกับจิตแพทย์เกือบ 2 ชั่วโมง เอกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Dysthymia หรือโรคซึมเศร้าเรื้อรัง จิตแพทย์จ่ายยาให้เขา แม้ว่าเอกจะพยายามต่อรองเพื่อขอรับการรักษาแบบอื่นที่ไม่ต้องใช้ยา เช่น การทำจิตบำบัด แต่ก็ไม่อาจทัดทานได้ เขากินยาอยู่ได้ไม่กี่วัน เนื่องจากไม่ชอบผลข้างเคียงจากยาดังกล่าว นัดพบจิตแพทย์ครั้งที่ 2 แพทย์ยังคงยืนกรานให้เขาทานยา แม้ว่าเขาจะยังขอพบนักจิตวิทยา กระทั่งครั้งที่ 3 จิตแพทย์จึงยอมให้เขาพบนักจิตวิทยาเพื่อทำจิตบำบัด ระหว่างการทำจิตบำบัด เอกรู้สึกว่าอาการแย่ลง ความรู้สึกเศร้าเกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้น เขาจึงตัดสินใจไปพบจิตแพทย์อีกครั้งในโรงพยาบาลที่เขามีสิทธิประกันสังคมอยู่ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและรับฟัง Second Opinion ทว่า ก่อนที่จะได้พบแพทย์ทั่วไป  ซึ่งจะเป็นผู้วินิจฉัยเรื่องการส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทาง พยาบาลที่ทำการตรวจสุขภาพแจ้งแก่เขาว่า อาจต้องใช้เวลา 2-3 เดือนเพื่อทำนัดและรอพบจิตแพทย์ คำพูดดังกล่าวทำให้เอกตัดสินใจเดินออกมา นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์และอดีตคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า โรงพยาบาลเอกชนที่อยู่ในประกันสังคมมักหลีกเลี่ยงที่จะส่งต่อแพทย์เฉพาะทาง เพื่อต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ดังนั้นผู้มีสิทธิจะต้องเรียกร้อง ร้องเรียน หรือยืนยันสิทธิในการรักษาของตน แน่นอนว่าเอกไม่รู้เรื่องนี้และไม่ได้ยืนยันสิทธิที่ว่า และก็ไม่น่าจะใช้เอกคนเดียวที่ไม่รู้เรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของเอกสะท้อนแง่มุมต่อผู้ป่วยจิตเวชหลายประการ มันไม่เหมือนอาการป่วยกายเสียทีเดียว การไปหาหมอเป็นกระบวนการทั่วๆ ไปที่ใครๆ ก็พอจะนึกออก แต่พอเป็นความเจ็บป่วยทางจิต เอกและเชื่อว่าผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นอย่างไร “สังคมไทยอาจไม่คุ้นชินกับการที่ใครสักคนต้องไปพบจิตแพทย์ เรายังมองเป็นเรื่องประหลาด เป็นคนบ้า ซึ่งเราอาจต้องเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนมุมมองใหม่ว่า ความเจ็บป่วยทางจิตเป็นโรคโรคหนึ่ง ไม่ใช่อะไรที่แปลกประหลาด” นิมิตร์ เทียนอุดมสิทธิของเรา นิมิตร์บอกว่า โดยหลักทั่วไปแล้ว สิทธิประกันสังคมให้การดูแลสวัสดิการสุขภาพแก่ผู้ถือสิทธิไม่ต่างจากหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนั้นสิ่งที่ทุกคนต้องตระหนักเป็นเบื้องต้น คือเรามีสิทธิได้รับสวัสดิการสุขภาพ ผู้ป่วยจิตเวชก็ไม่ใช่ข้อยกเว้นแต่เชื่อหรือไม่? กว่าจะถึงวันนี้ วันที่ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการรักษาอย่างเสมอหน้าอาการป่วยไข้ทั่วไป ต้องผ่านการต่อสู้ไม่ต่างจากโรคเรื้อรังอื่นๆ“สมัยแรกที่มีสิทธิประโยชน์ กรณีจิตเวชถูกตีความว่าต้องรักษายาวนานเกินกว่า 180 วัน ทำให้มีปัญหาว่าบางทีโรงพยาบาลรับมารักษาแล้ว 180 วันก็ไม่ได้ดีขึ้น แค่ทุเลา ต้องจำหน่ายออก แล้วก็รับใหม่ หรือบางทีก็ให้กลับบ้านเลย ไปดูแลตัวเองที่บ้าน ทำให้เกิดปัญหา จึงมีการผลักดันให้ยกเลิกและปรับแก้กติกาที่ว่า การรักษาที่เกิน 180 วันจะไม่คุ้มครอง ไม่อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ ซึ่งจุดนี้เป็นประโยชน์กับผู้ป่วยเพราะทำให้ได้รับการรักษาต่อเนื่อง เนื่องจากโรคทางจิตเวชเป็นโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่อง ต้องอยู่ในความดูแล ต้องกินยา การยกเลิกกติกาข้อนี้จึงถือเป็นเรื่องที่พวกเราช่วยกันเคลื่อน จนผู้ป่วยจิตเวชก็ได้รับสิทธิประโยชน์นี้และมันก็ได้อานิสงค์ไปยังโรคอื่นๆ ที่ต้องรักษาเกิน 180 วันด้วยประการที่ 2 คือปัญหาเรื่องยาที่ต้องสั่งจ่ายให้แก่ผู้ป่วยจิตเวช ช่วงหนึ่งแพทย์ที่พร้อมจะดูแลยกประเด็นนี้ขึ้นมาว่า ทำอย่างไรยาจึงจะถูก เพราะถ้าไปอยู่ในค่าเหมาจ่ายรายหัว แล้วยาแพง โรงพยาบาลก็รู้สึกเป็นภาระและอาจจะปฏิเสธการรักษาได้ ดังนั้น ตอนที่มีการสู้เรื่องซีแอล (มาตรการบังคับใช้ Compulsory Licensing: CL) ก็ดูยาตัวนี้ด้วย ทำให้ได้ยาริสเพอริโดน (Risperidone) ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยจิตเวชกลับมามีชีวิตปกติได้” นิมิตร์ กล่าวเรื่องสิทธิและยาได้รับการแก้ไข ถึงกระนั้นใช่ว่าปัญหาจะหมดไปโดยสิ้นเชิง ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ยังคงมีปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยที่ยุ่งยาก เนื่องจากผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องใช้โรงพยาบาลใกล้บ้าน หากแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวช แล้วโรงพยาบาลแห่งนั้นไม่มีจิตแพทย์ก็จำเป็นต้องส่งต่อ แล้วใช่ว่าทุกพื้นที่จะมีจิตแพทย์ หมายความว่าการหาหมอใกล้บ้านกลายเป็นหาหมอไกลบ้าน สิ่งที่อาจเกิดขึ้นคือการบ่ายเบี่ยงการส่งตัว เพราะโรงพยาบาลที่ส่งตัวต้องตามไปจ่ายค่ารักษาให้แก่หน่วยบริการที่รับผู้ป่วยไปดูแลโรงพยาบาลต้นทางอาจทำใบส่งตัวครั้งละ 3 เดือนให้แก่ผู้ป่วยหรือที่หนักกว่า คือต้องทำใบส่งตัวใหม่ทุกครั้งที่นัดพบแพทย์ สร้างความยุ่งยากในชีวิตผู้ป่วยและญาติ นิมิตร์เสนอว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จะขจัดความยุ่งยากด้วยการปรับกติกาเสียใหม่ เช่น การทำใบส่งตัวครั้งละ 1 ปี เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติไม่ต้องเดินทางมารับใบส่งตัวบ่อยๆอีกด้านหนึ่ง กระทรวงสาธารณสุขคงต้องลงมาศึกษาอย่างจริงจังว่า ด้วยสถานการณ์สุขภาพจิตที่หนักมือขึ้นทุกขณะ ปัจจุบันประเทศไทยมีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาเพียงพอแล้วหรือยังส่วนด้านการดูแลรักษาต่อเนื่อง สปสช. ยังคงเดินหน้านโยบายดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนอย่างต่อเนื่องโดยจับมือร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดระบบบริการจิตเวชในชุมชน ตั้งแต่การกินยาต่อเนื่องจนถึงการปรับทัศนคติคนในชุมชนและลดการตีตรา“สังคมไทยอาจไม่คุ้นชินกับการที่ใครสักคนต้องไปพบจิตแพทย์” นิมิตร์กล่าวเสริม “เรายังมองเป็นเรื่องประหลาด เป็นคนบ้า ซึ่งเราอาจต้องเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนมุมมองใหม่ว่า ความเจ็บป่วยทางจิตเป็นโรคโรคหนึ่ง ไม่ใช่อะไรที่แปลกประหลาด”ดูแลตัวเอง จิตแพทย์อภิชาติ แสงสิน นายแพทย์ชำนาญการ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เห็นว่า ปัจจุบันความเข้าใจของผู้คนต่อผู้ป่วยจิตเวชเริ่มเปลี่ยนไปในทางที่ดีและรับรู้ว่าเป็นความป่วยไข้อย่างหนึ่งที่ต้องได้รับการรักษา เพียงแต่โรคทางจิตเวชค่อนข้างนามธรรม จับต้องได้ยากกว่าโรคทางกาย มาถึงตรงนี้ เมื่ออาการทางจิตเวชเป็นความป่วยไข้ไม่ต่างจากไข้หวัดหรือปวดท้อง มันก็ย่อมมีแนวทางที่เราจะดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากปัญหาสุขภาพจิต การออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจ คลายความตึงเครียดจากภาระในชีวิตประจำวันเป็นอะไรที่น่าจะรู้กันโดยทั่วไปอยู่แล้ว แต่เรายังมีคำแนะนำเพิ่มเติมจากจิตแพทย์อภิชาติ นั่นคือการคอยติดตามตนเองหรือมีสติรู้ตัวอยู่กับปัจจุบัน(ต้องเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า คำว่า การมีสติ ในที่นี้ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางศาสนาแต่อย่างใด) มีด้วยกัน 3 เทคนิค คือ 1.การอยู่กับการกระทำ คอยรู้ตัวเสมอว่ากำลังทำอะไรอยู่ เพราะหลายครั้งที่เรามักเผลอไผล ทำบางสิ่ง แต่ใจคิดอีกอย่าง ซึ่งมักจะเป็นอดีตไม่ก็อนาคต 2.การรับรู้ความคิด คอยรู้เสมอว่ากำลังคิดอะไรอยู่ 3.การรับรู้อารมณ์ คอยติดตามอารมณ์ว่ากำลังรู้สึกอย่างไร เฉยๆ เสียใจ เศร้า ดีใจ หรือโกรธ เป็นต้น ซึ่งการติดตามอารมณ์จะค่อนข้างยากกว่าการติดตามการกระทำหรือความคิด จิตแพทย์อภิชาติเสริมว่า เราไม่สามารถตามดูทั้ง 3 อย่างพร้อมกันได้ ดังนั้น อะไรที่เด่นชัดที่สุดให้ตามดูสิ่งนั้น ประโยชน์ของเทคนิค 3 ข้อ คือการทำให้เราสามารถรับรู้สัญญาณปัญหาด้านสุขภาพจิตได้ทันท่วงที จิตแพทย์อภิชาติกล่าวว่า “แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราป่วย สังเกตได้จากความรับผิดชอบที่เราควรทำได้ปกติเกิดสูญเสียไป ความรับผิดชอบที่ว่าแบ่งเป็น 3 ด้านคือความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เช่น เพื่อนร่วมงาน คนในครอบครัว ชุมชน เป็นต้น หน้าที่การงาน และการฟื้นคืนสภาพจิตใจหรือการผ่อนคลายความตึงเครียดได้ ถ้าทั้ง 3 เรื่องนี้หรือด้านใดด้านหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องทั้ง 3 ด้าน เกิดบกพร่องหรือสูญเสีย ก็มีแนวโน้มว่าน่าจะป่วย ควรไปพบแพทย์เพื่อประเมินว่ามีปัญหาอย่างไร เพื่อจะได้รักษาต่อไป”เมื่อนำกรณีของเอกไปสอบถาม จิตแพทย์อภิชาติอธิบายว่า “จริงๆ ผู้ป่วยกับจิตแพทย์สามารถคุยกันได้ ต้องดูก่อนว่าความเจ็บป่วยที่ว่านั้นคืออะไร และดูว่าภาวะการตัดสินใจของผู้ป่วยมีมากน้อยแค่ไหน เขามีสิทธิเลือกการรักษาที่เหมาะกับเขาได้ แต่ถ้าแพทย์เห็นว่าไม่เหมาะสมหรือจะเป็นอันตราย หรือไม่มีประโยชน์ต่อการรักษา แพทย์ก็อาจต้องให้คำแนะนำหรือเลือกทางที่ดีที่สุด แต่ในกรณีผู้ป่วยจิตเวชที่ความสามารถในการตัดสินใจบกพร่องไปแล้ว ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ไม่สามารถปกป้องสิทธิของตัวเองได้ กรณีนี้ก็ต้องมีผู้ทำการแทน เช่น คู่สมรส ญาติ หรือบุตร ตัดสินใจแทนเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากการดูแลรักษาให้มากที่สุด การรักษาอาการทางจิตเวช การให้ยาก็ส่วนหนึ่ง การทำจิตบำบัดก็ส่วนหนึ่ง ในกรณีทั่วไป การให้ยาจะช่วยให้อาการดีขึ้นเร็ว การทำจิตบำบัดก็มีข้อดีและช่วยได้ แต่จะช้ากว่าการให้ยา เพราะปัจจุบันความรู้ทางการแพทย์พัฒนา โรคทางจิตเวชคือการทำงานของสมองที่ผิดปกติไป ยาเข้าไปช่วยปรับให้สมองทำงานได้ดีขึ้น อาการก็จะดีขึ้น การทำจิตบำบัดก็จะช่วยเสริมตรงนี้ด้วย เสริมในด้านการปรับความคิด พฤติกรรม อารมณ์” กรณีที่ผู้ป่วยทานยาแล้วแพ้ยาหรือเกิดผลข้างเคียง ให้หยุดยาและกลับไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเปลี่ยนหรือปรับขนาดยา แต่หากไม่แพ้หรือไม่มีผลข้างเคียง ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาเอง เนื่องจากการรักษาโรคทางจิตเวชซึ่งเป็นโรคเรื้อรังต้องทานยาต่อเนื่อง ยาทางจิตเวชกว่าจะออกฤทธิ์เต็มที่ต้องใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ต้องค่อยๆ ติดตามผลว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อหายดีแล้วก็ยังต้องทานยาต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่งเพื่อให้พ้นระยะโรค เมื่อพ้นระยะแล้วก็ใช่ว่าจะหยุดยาได้ทันที แต่ต้องค่อยๆ ลดยาลง ขณะที่โรคทางจิตเวชบางโรคต้องกินยาตลอดชีวิต วินัยในการทานยาจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยและญาติต้องตระหนัก“หลายครั้งที่คนรอบข้างพยายามเข้าไปจัดการ แก้ปัญหา หรือแนะนำ ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของผู้แนะนำโดยไม่ได้เข้าใจปัญหาของผู้ป่วยจริงๆ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญกว่าการแนะนำคือการรับฟัง บางครั้งผู้ป่วยแค่ต้องการคนรับฟังหรือเข้าใจสิ่งที่ต้องการพูดเท่านั้น”อยู่ร่วมกัน สำหรับผู้ที่ต้องอยู่กับผู้ป่วยจิตเวช สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือการปรับทัศนคติ โรคทางจิตเวชจับต้องยาก อธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ยาก หลายครั้งถูกมองว่าเรียกร้องความสนใจหรือแกล้งทำบ้าง คนรอบข้างต้องปรับทัศนคติใหม่ว่ามันคือความเจ็บป่วยอย่างหนึ่งที่ไม่มีใครอยากเป็น ประการต่อมา จิตแพทย์อภิชาติบอกว่า ต้องรับฟังอย่างเข้าใจ หลายครั้งที่คนรอบข้างพยายามเข้าไปจัดการ แก้ปัญหา หรือแนะนำ ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของผู้แนะนำโดยไม่ได้เข้าใจปัญหาของผู้ป่วยจริงๆ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญกว่าการแนะนำคือการรับฟัง บางครั้งผู้ป่วยแค่ต้องการคนรับฟังหรือเข้าใจสิ่งที่ต้องการพูดเท่านั้น ซึ่งอาจได้ผลดีกว่าการแนะนำให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้เสียอีก ประการที่ 3 เฝ้าสังเกตอาการผู้ป่วย เมื่อเห็นความผิดปกติ ความเปลี่ยนแปลง ดูไม่เป็นคนเดิม ควรพามารับการรักษาหรือการบำบัด เพราะหลายครั้งที่มองข้ามไป ละเลย รู้อีกทีก็อาการรุนแรงเสียแล้ว และประการสุดท้าย เก็บอาวุธหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ให้ห่างจากผู้ป่วย เพราะอารมณ์เป็นสิ่งที่ไว เมื่อมันผุดขึ้นมาโดยไม่เท่าทัน อาจนำไปสู่กระทำที่ไม่ทันยั้งคิดทั้งต่อตนเองและผู้อื่น หากไม่ใช่กรณีที่หนักหนาจริงๆ ผู้ป่วยจิตเวชสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ เพียงเราปรับทัศนคติ ลดการตีตรา และรับฟัง ก็ไม่ยากนักที่เราจะเป็นเพื่อนกับผู้ป่วยจิตเวช

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 ป่วย เพราะอาหารเสริม?

มีผู้บริโภคอีกจำนวนไม่น้อยเลย ที่ยังคงสับสนระหว่างคำว่า “ยา” และ “อาหาร” ซึ่งส่วนใหญ่มักรับประทาน อาหาร เข้าไป แต่เผลอคิดไปว่าสามารถช่วยบำบัด รักษาโรคหรือออกฤทธิ์ได้เหมือน ยา ดังในกรณีของผู้ร้องรายนี้ ที่เธอรับประทาน ‘อาหารเสริม’ เข้าไป แต่คาดหวังสรรพคุณในการโรค คุณพลอยต้องการลดน้ำหนัก จึงตัดสินใจรับประทานอาหารเสริมยี่ห้อ Mizme เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะเห็นว่าเพื่อนกินแล้วหุ่นดีขึ้น อย่างไรก็ตามหลังรับประทานอาหารเสริมดังกล่าวไปได้จำนวน 7 กล่อง เธอกลับรู้สึกถึงอาการผิดปกติของร่างกาย และมีอาการแน่นหน้าอกเป็นประจำ จึงไปพบแพทย์และพบว่าเส้นเลือดหัวใจอักเสบ ซึ่งแพทย์ได้สันนิษฐานสาเหตุว่า อาจเกิดจากการการรับประทานอาหารเสริมดังกล่าวเข้าไป คุณพลอยจึงติดต่อไปยังบริษัทผู้ผลิตอาหารเสริม เพื่อขอให้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ทางบริษัทตอบกลับมาว่าเลิกผลิตยี่ห้อนี้ไปแล้ว และไม่ขอรับผิดชอบใดๆ เพราะอาการดังกล่าวอาจเกิดจากยาตัวอื่นก็เป็นได้ส่งผลให้คุณพลอยส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพื่อขอคำปรึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีนี้ผู้ร้องต้องการให้ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ ช่วยตรวจสอบส่วนประกอบของอาหารเสริมยี่ห้อดังกล่าว ว่ามีสารอันตรายที่สามารถส่งผลต่ออาการของเธอจริงหรือไม่ ศูนย์ฯ จึงแนะนำผู้ร้องเบื้องต้นว่า สามารถส่งผลิตภัณฑ์ต้องสงสัยไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามหลังได้รับเรื่องร้องเรียนไม่นาน ผู้ร้องได้แจ้งกลับมาว่าขอยุติการร้องเรียน เนื่องจากพบข่าว สสจ.จังหวัด นำเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมแหล่งผลิตยาลดความอ้วนยี่ห้อดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีการปลอมหมายเลข อย. นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังแจ้งข้อหาอื่นๆ อีก คือ 1. ตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต 2.ผลิตอาหารปลอม 3.โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณอันเป็นเท็จเป็นการหลอกลวงให้เกิดความเชื่อโดยไม่สมควร และ 4.ผลิตหรือนำเข้า หรือจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ ทั้งนี้เจ้าหน้ายังระบุว่า อาหารเสริมดังกล่าวเคยถูกร้องเรียนและตรวจพบส่วนผสมของ ยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) หรือยาที่ใช้สำหรับคนไข้จิตเวช/ โรคซึมเศร้า โดยมีผลทำให้ไม่อยากอาหาร และหากใช้ไปนานๆ ระยะยาว อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง บางรายอาจถึงขั้นอยากฆ่าตัวตายได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 193 ระวังการจ้างคนดูแลผู้ป่วย

แม้การจ้างคนดูแลผู้ป่วย จะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระให้หลายครอบครัวได้ แต่บางครั้งอาจเป็นการสร้างปัญหาที่ยากจะแก้ไข ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้ คุณสุชาติร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ว่า เขาได้จ้างคนดูแลผู้ป่วยมาเฝ้าไข้คุณแม่ ซึ่งนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล จากศูนย์บริการจัดส่งพนักงานประจำบ้าน-โรงพยาบาล โดยได้ตรวจสอบแล้วว่าคนที่จ้างมา ผ่านการรับรองและได้รับประกาศนียบัตรการสำเร็จหลักสูตรพนักงานผู้ช่วยบริบาลสุขภาพหลักสูตร 420 ชั่วโมง จากโรงเรียนการจัดการสุขภาพจุฬาเวชเรียบร้อย อย่างไรก็ตามหลังดูแลคุณแม่ได้ไม่กี่วัน พนักงานคนดังกล่าวก็แจ้งมายังคุณสุชาติว่า คุณแม่ของเขาไม่สบายและต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวน 5,000 บาท โดยขอร้องให้เขาโอนเงินเข้าบัญชีของเธอ เพื่อสำรองจ่ายไปก่อน ด้านคุณสุชาติคิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร จึงหลงเชื่อและโอนเงินเข้าบัญชีให้ แต่กลับพบว่าเธอได้หายตัวไปและติดต่อไม่ได้อีกเลยเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้เขาจึงไปแจ้งความ และติดต่อศูนย์บริการดังกล่าวเพื่อให้รับผิดชอบ แต่ได้รับคำตอบกลับมาว่า ตามสัญญาที่เขาทำไว้ก่อนตกลงจ้างคนดูแลผู้ป่วยได้ระบุไว้ดังนี้ “หากเกิดปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงาน หรือเกิดการเสียหายแก่ทรัพย์สินผู้ว่าจ้าง โดยเหตุเกิดอาจเกี่ยวกับพนักงานของผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้างจะต้องรีบแจ้งความร้องทุกข์ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายกับพนักงานได้ทันที โดยผู้รับจ้างไม่ต้องมีส่วนรับผิดชอบแต่ประการใดทั้งสิ้น เว้นแต่การให้ข้อมูลต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีเท่านั้น” ทำให้คุณสุชาติต้องส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องติดต่อไปยังโรงพยาบาลจุฬาเวชโดยตรง เพื่อร้องเรียนถึงพฤติกรรมของพนักงานดังกล่าว โดยขอให้พิจารณาถึงบทลงโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากพนักงานอาจใช้ประกาศนียบัตรที่ได้รับการรับรองทำงานต่อไปและหลอกลวงผู้อื่นได้อีก อย่างไรก็ตามจากปัญหานี้ได้แสดงให้เห็นถึง ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งในขณะที่ผู้ร้องได้ร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ ยังไม่มีการควบคุมเรื่องข้อสัญญาสำหรับธุรกิจประเภทดังกล่าว ทำให้ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ ทุพพลภาพและผู้ป่วยตามสถานที่อยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2559 โดยกำหนดว่า ข้อ 3 สัญญาการให้บริการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนทุพพลภาพและผู้ป่วยตามสถานที่อยู่อาศัยที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภค ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดตัวอักษรที่ไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร โดยมีจำนวนไม่เกินสิบเอ็ดตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว และจะต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังนี้1.รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ เลขประจำตัวประชาชนและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นนิติบุคล ให้ระบุเลขทะเบียนนิติบุคคล2.รายละเอียดของพนักงาน อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับ ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ความประพฤติและประวัติการกระทำความผิด (ถ้ามี)กรณีพนักงานเป็นคนไทยให้ระบุเลขประจำตัวประชาชน แต่กรณีเป็นพนักงานต่างด้าวให้ระบุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว3.รายละเอียดเกี่ยวกับประเภท และขอบเขตของงานที่ให้บริการ เช่น วันเริ่มต้นและสิ้นสุดการทำงาน วันหยุดพนักงาน การทำงานล่วงเวลา เป็นต้น4.รายละเอียดเกี่ยวกับอัตราค่าบริการ และเงินอื่นๆ ที่เรียกเก็บจากผู้บริโภค เช่น ค่าบริการพิเศษในวันหยุดของพนักงาน ค่าบริการล่วงหน้าและค่าทำงนล่วงเวลา รวมทั้งเงื่อนไขและวิธีชำระเงิน5.ผู้บริโภคมีสิทธิให้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงพนักงาน กรณีที่พนักงานไม่มาปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเอาใจใส่ ซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังตามที่พึงคาดหมายได้ จากการให้บริการตามสัญญา หรือพนักงานมีสภาพร่างกาย จิตใจ หรือความประพฤติไม่เหมาะสมหรือกระทำการอันเป็นความผิดอาญาทั้งนี้ผู้บริโภคมีสิทธิเลิกสัญญาได้ หากพบว่าไม่มีรายละเอียดของพนักงานตาม (2) หรือพนักงานไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติในการให้บริการตามที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือพนักงานมีพฤติกรรมตาม (5)รวมทั้งไม่ตัดสิทธิผู้บริโภคที่จะเรียกเบี้ยปรับในอัตราเดียวกันกับอัตราเบี้ยปรับที่ผู้ประกอบธุรกิจกำหนดให้ผู้บริโภคต้องชำระในกรณีผิดสัญญา และ (8) เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจต้องคืนเงินหรือสิ่งใดที่รับไว้เป็นค่าบริการล่วงหน้าทั้งหมดแก่ผู้บริโภค ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญา และถ้าผู้ประกอบธุรกิจไม่คืนเงินตามจำนวนและภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจนั้นชำระเบี้ยปรับในอัตราเดียวกันกับอัตราเบี้ยปรับที่ผู้ประกอบธุรกิจกำหนดให้ผู้บริโภคต้องชำระในกรณีผิดสัญญานอกจากนี้ข้อสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภค ต้องไม่ใช่ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือความหมายทำนองเดียวกัน ดังนี้(1) ข้อสัญญาที่เป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เกิดจากผู้ประกอบธุรกิจหรือพนักงาน(2) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิริบเงินค่าบริการและเงินอื่นๆ ที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคไว้ล่วงหน้า(3) ข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้บริโภคต้องรับผิดชำระค่าปรับ ค่าเสียหายหรือเงินอื่นๆ เพิ่มเติมในกรณีที่มีการเลิกสัญญา เว้นแต่กรณีที่กำหนดไว้แล้วตามกฎหมาย(4) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงอัตราค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือเงื่อนไขตามที่กำหนดในสัญญา ทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากว่าภาระที่เป็นอยู่ในเวลาทำสัญญา(5) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจบอกเลิกสัญญากับผู้บริโภค โดยผู้บริโภคมิได้ผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญข้อใดข้อหนึ่งในสัญญา(6) ข้อสัญญาที่กำหนดให้การต่อระยะเวลาของสัญญามีผลบังคับทันทีเมื่อครบกำหนดระยะเวลา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 ออกกำลังกายต้านโรค

เพื่อเกาะกระแสที่นายกรัฐมนตรีพยายามกระตุ้นให้ข้าราชการไทยได้ออกกำลังกายบ้าง ผู้เขียนจึงขอกล่าวถึงข่าวคราวที่ได้ความรู้จากการท่องเน็ต ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านเกี่ยวกับการออกกำลังกายผู้เขียนได้พบคลิปของ Stephen Hawking เรื่อง GEN-PEP–Pep Talk by Stephen Hawking ใน YouTube (www.youtube.com/watch?v=A92o9O4FZ7Y) พร้อมด้วยบทความเรื่อง Stephen Hawking Just Declared a New Threat to the Human Race ซึ่งเขียนโดย Sarah Rense เมื่อวันที่ 29 พฤษจิกายน 2016 ใน www.esquire.comดร. สตีเฟน ฮอร์คิง ซึ่งจัดได้ว่าเป็นนักฟิสิกส์ที่เก่งระดับเดียวกับไอนสไตน์ได้กล่าวในการประชุมเพื่อรณรงค์ต่อต้านโรคอ้วนขององค์กรไม่หวังกำไรชื่อ GEN-PEP ในสวีเดนประมาณว่า ในศตวรรษที่ 21 โรคอ้วนจะเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในทางสาธารณสุข ซึ่งอาจส่งผลให้มนุษย์สูญพันธุ์ภายในอีกราว 1000 ปี เพราะมนุษย์สมัยนี้เริ่มมีรูปแบบการดำรงชีวิตที่ค่อนข้างอยู่เฉยไม่ค่อยขยับตัวนักผู้เขียนเห็นด้วยอย่างสุดหัวใจกับ ดร. ฮอร์คิง เพราะปัจจุบันนี้มนุษย์ส่วนใหญ่ได้ฝักใฝ่อยู่กับเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต เริ่มจากการเสพติดกับข้อมูลที่มากับสมาร์ทโฟน ซึ่งเห็นได้จากการที่คนรุ่นนี้เมื่อมีเวลาว่างก็จะเริ่มเขี่ยหน้าจอกัน(จนลายนิ้วมือน่าจะสึกบ้าง) อีกทั้งการพยายามพัฒนาหุ่นยนต์ขึ้นมาทำงานแทนมนุษย์(โดยเฉพาะหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรมที่เริ่มทำให้คนไทยตกงาน) ตลอดไปจนแม้ในการขับรถก็พยายามสร้างรถที่ไม่ต้องมีคนขับซึ่งเป็นการวางใจว่า เทคโนโลยีในการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์นั้นจะไม่มีความบกพร่องจนเกิดการชนกันขนานใหญ่สิ่งที่ ดร. ฮอร์คิงไม่ได้พูดถึงก็คือ ปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์สุขภาพได้มองเห็นแนวโน้มในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่าง การงดออกกำลังกายกับการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งในการดูแลให้ร่างกายปลอดโรคภัยนั้นเริ่มทีเดียวก็คือ ควรกินอาหารที่ดีให้พออิ่ม โดยหวังว่าจะเป็นวิธีการควบคุมน้ำหนักตัวให้พอเหมาะ อย่างไรก็ดีงานวิจัยส่วนใหญ่ในเรื่องการควบคุมน้ำหนักนั้นมักออกมาในแนวว่า ต้องกำหนดให้มีการออกกำลังกายเป็นสิ่งควบคู่ไปเสมอ ทั้งนี้เพราะนอกจากเป็นการลดความเสี่ยงของมะเร็งแล้ว การออกกำลังกายยังเป็นลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและเบาหวานข้อแนะนำล่าสุดของ American Cancer Society เกี่ยวกับการออกกำลังกายสำหรับผู้ใหญ่ที่ยังไม่ชราคือ 150 นาทีต่อสัปดาห์ถ้าเป็นการออกกำลังกายปานกลาง และ 75 นาทีต่อสัปดาห์ถ้าเป็นการออกกำลังกายอย่างหนัก หรืออย่างละครึ่งในแต่ละกรณีรวมกัน และถ้าจะให้ดีควรกระจายการออกกำลังกายให้พอ ๆ กันในแต่ละวันของสัปดาห์ ข้อแนะนำนี้เป็นข้อแนะนำที่เพิ่มขึ้นจากการเคลื่อนไหวร่างกายที่เป็นปรกติในชีวิตประจำวันเช่น การขึ้นลงด้วยบันได การทำงานบ้านต่าง ๆ เป็นต้นสำหรับเด็กซึ่งมักมีเวลาว่างในแต่ละวันมากกว่าผู้ใหญ่และอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตนั้น มีข้อแนะนำให้ออกกำลังกายปานกลางประมาณ 60 นาทีในแต่ละวัน รวม 4 วัน และออกกำลังกายอย่างหนักวันละ 30 นาที อีก 3 วันสิ่งที่มักเป็นคำถามอยู่ตลอดเวลาคือ การออกกำลังกายปานกลางและการออกกำลังกายหนักนั้นคืออย่างไร ทาง American Cancer Society ได้ให้แนวทางว่า การออกกำลังกายปานกลางนั้นต้องทำให้ผู้ออกกำลังกายต้องหายใจหนักขึ้นกว่าปรกติ ในลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นเมื่อเราเดินเร็ว ซึ่งรวมถึงการขี่จักรยานไปเรื่อยๆ แบบไม่ช้าไม่เร็ว การทำงานบ้านอย่างต่อเนื่อง และการพรวนดินปลูกต้นไม้ในสวน ส่วนการออกกำลังกายหนักนั้นมักเป็นการใช้กำลังกายจากกล้ามเนื้อเป็นชุดจนได้เหงื่อและต้องหายใจแรงอย่างเร็ว ซึ่งผู้เขียนนึกถึงสภาพขณะที่ตนเองเล่นแบดมินตันในเกมส์ที่ถือว่า หนักจนเหงื่อเปียกเสื้อผ้าไปทั้งตัว ขนาดที่สามารถบิดเหงื่อออกจากเสื้อได้ประการสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์สุขภาพเน้นนักหนาคือ ต้องกำจัดพฤติกรรมอันเลวร้ายออกไปจากชีวิตประจำวัน ซึ่งได้แก่ การนั่งนิ่งหรือแค่ขยับนิ้วเขี่ยสมาร์ทโฟน การนอนราบไม่ทำงานเหมือนจงใจเล่นโยคะท่าศพอาสนะเพียงท่าเดียวโดยเมินเฉยท่าอื่น นั่งดูโทรทัศน์เป็นเวลานาน ซึ่งรวมถึงการให้รางวัลชีวิตหลังออกกำลังกายด้วยการกินขนมแป้งอบหรือแป้งทอดต่างๆ พร้อมน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้ในสหรัฐอเมริกามีองค์กรหนึ่งสังกัดกระทรวงสาธารณสุขชื่อ Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC ซึ่งเรามักเห็นในภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการเกิดโรคระบาดแล้ว CDC ต้องเข้าไปจัดการยุติการระบาด ซึ่งอาจถึงขั้นปิดเมืองหรือแม้แต่เผาเมืองทิ้ง ในปี 1996 CDC ได้มีเอกสารที่น่าสนใจออกมาเรื่องหนึ่งชื่อ Physical Activity and Health เอกสารนี้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ในช่วงเวลานั้นร้อยละ 60 ของคนอเมริกันที่เป็นผู้ใหญ่มีพฤติกรรมค่อนข้างเนือยเป็นจ่าเฉย โดยที่ร้อยละ 25 ของผู้ใหญ่ทั้งหมดไม่ยอมขยับเอาเสียเลยถ้ามีโอกาส ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดเท่ากันทั้งหญิงและชาย ที่น่าสนใจคือ คนจนนั้นอยู่เฉยนานกว่าคนรวย และคนเรียนน้อยมีอาการเฉยแฉะหนักกว่าคนเรียนสูง (คนรวยและคนเรียนสูงมักมีเงินไปสถานออกกำลังกาย)สำหรับคนหนุ่มสาวที่มีอายุ 12-21 ปีในตอนใกล้มิลลิเนียม (ค.ศ. 2000) นั้น แม้จะไม่เป็นจ่าเฉยแต่ก็น้องๆ จ่าที่ไม่ชอบทำอะไรให้เหงื่อออก และที่น่าเศร้าใจที่สุดคือ เด็กมัธยมซึ่งเป็นวัยรุ่นนั้นถอนรายวิชา (withdraw) พลศึกษาถึงร้อยละ 42 ในปี 1991 และดีขึ้นหน่อยในปี 1995 ที่ถอนเพียงร้อยละ 25 โดยข้อมูลจากการสำรวจยังกล่าวอีกว่า มีเด็กมัธยมปลายเพียงร้อยละ 19 เท่านั้นที่อยู่ในสภาวะการออกกำลังกายที่ถูกต้องนาน 20 นาที ในชั้นเรียนพลศึกษาของแต่ละสัปดาห์CDC กล่าวว่าประชาชนนั้น สามารถปฏิรูปชีวิตตนเองให้มีสุขภาพดีได้โดยไม่จำเป็นต้องทำตัวเหมือนนักกีฬาอาชีพ (ได้แก่ ไม่ต้องซื้อเครื่องแต่งตัวและอุปกรณ์แพง ๆ ตามการโฆษณา) ขอเพียงแต่มีการเคลื่อนไหวที่ใช้กล้ามเนื้อเป็นชุด โดยมีเจตคติที่ดีในการเพิ่มช่วงเวลา ความถี่และความหนักขึ้นบ้างเมื่อเวลาผ่านไปตัวอย่างวิธีออกกำลังกายซึ่งให้ผลใกล้กันตามที่ CDC แนะนำให้คนอเมริกันเลือกเพียงอย่างเดียวในแต่ละวันตามความเหมาะสม ซึ่งเริ่มจากชิล ๆ ที่ใช้เวลานานหน่อยไปจนถึงหนักขึ้นแต่ใช้เวลาน้อยลง ดังนี้ล้างและขัดเงารถ(45-60 นาที) ล้างหน้าต่างและทำความสะอาดพื้นบ้าน(45-60 นาที) เล่นวอลเลย์บอล(45 นาที) ทำสวนเป็นเรื่องเป็นเรื่องเป็นราว(30-45 นาที) คนพิการเข็นรถเข็นเอง(30-40 นาที) เดิน(ประมาณ 3 กิโลเมตรใน 30 นาที) ซ้อมยิงบาสเก็ตบอลต่อเนื่อง(30 นาที) ถีบจักรยานต่อเนื่อง(8 กิโลเมตรใน 30 นาที) เล่นกีฬาลีลาศ(30 นาที) โกยใบไม้(อย่างจริงจังนาน 30 นาที) เต้นแอโรบิคในน้ำ(30 นาที) ว่ายน้ำไปกลับในสระ(20 นาที) คนพิการแข่งบาสเก็ตบอลบนรถเข็น(20 นาที) คนปรกติแข่งบาสเก็ตบอล(15-20 นาที) ถีบจักรยานต่อเนื่อง(6.5 กิโลเมตรใน 15 นาที) กระโดยเชือก(15 นาที) วิ่ง(2.5 กิโลเมตร ใน 15 นาที)ประการสำคัญคือ อย่าออกกำลังกายจนเหนื่อยแล้วพูดภาษาคนไม่รู้เรื่อง เพราะนั่นหมายถึงท่านกำลังจะตาย อาจด้วยโรคหัวใจที่ไม่ได้คิดว่าเป็นหรือสมองขาดเลือดสิ่งตอบแทนที่ร่างกายได้จากการออกกำลังกายเป็นเรื่องเป็นราวนั้นคือ การลดความเสี่ยงต่อ 1) การตายก่อนวัยอันควร 2) โรคหัวใจ 3) เบาหวาน 4) ลดอาการความดันโลหิตสูง (ถ้าเป็นอยู่ก็ทำให้น้อยลง) 5) มะเร็งลำไส้ใหญ่ 6) ความเครียดและโรคซึมเศร้า 7) ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว 8) ทำให้กระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อต่าง ๆ เสื่อมช้าลง แม้หกล้มก็ไม่ถึงกับกระดูกหัก เพราะคนที่ออกกำลังกายเป็นเรื่องเป็นราวส่วนใหญ่มักรู้จักวิธีล้มเมื่อเกิดอุบัติเหตุ สังเกตได้จากนักฟุตบอลมักถูกฝึกให้มีมารยาในการล้มเพื่อตบตาผู้ตัดสิน 9) ที่สำคัญที่สุดคือ คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำมักอารมณ์ดีไม่ค่อยเครียด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนกุมภาพันธ์ 25601 เม.ย.ทำฟันประกันสังคมกับ รพ.รัฐไม่ต้องสำรองจ่าย 1 เมษายน 2560 นี้ ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม สามารถเข้ารับบริการด้านทันตกรรมที่โรงพยาบาลรัฐ ทั้งโรงพยาบาลสังกัด สธ., สังกัดกระทรวงกลาโหม, สังกัดกทม. และ โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ ตามสิทธิ 900 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ซึ่งเลื่อนจากเดิมที่วางกำหนดไว้วันที่ 1 ก.พ. เพื่อให้สถานพยาบาลแต่ละแห่งได้เตรียมความพร้อมในการให้บริการในส่วนของโรงพยาบาลเอกชน นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ขณะนี้มีคลินิกทันตกรรมเอกชนที่เข้าร่วมแล้วกว่า 530 แห่ง และคาดว่าภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะเพิ่มเป็น 800 แห่ง ทั้งนี้ก่อนรับบริการให้สังเกต “สติกเกอร์สัญลักษณ์ประกันสังคม” ที่จะติดไว้ที่คลินิกที่ร่วมโครงการ ซึ่งสามารถรับบริการโดยไม่ต้องสำรองจ่ายผู้ประกันตนที่พบปัญหาจากใช้บริการหรือพบคลินิกหรือสถานพยาบาลที่มีสติกเกอร์สัญลักษณ์ประกันสังคม แต่ยังมีการเรียกเก็บเงิน สามารถโทร.แจ้งเอาผิดได้ที่สวยด่วน สปส. โทร. 1506 คิดดอกเบี้ยเงินกู้โหด เจอโทษตามกฎหมายจากนี้ไปลูกหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ไม่ต้องกังวลเรื่องเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยโหดอีกแล้ว เพราะล่าสุดได้มีการออกพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 15 มกราคม 2560 ที่ผ่านมาสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ กำหนดให้ห้ามเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยปัจจุบันกฎหมายกำหนดห้ามคิดอัตราดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี หากกระทำความผิดจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดโทษไว้ว่าจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 3 พันบาทนอกจากนี้ในกฎหมายฉบับนี้ยังมีการระบุว่า ห้ามกำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่นๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืมเพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอันตราที่กฎหมายกำหนด หรือมีการระบุว่าจะเรียกรับประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นเงิน สิ่งของ หรือโดยวิธการอื่นใด จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืมเงินเส้นก๋วยเตี๋ยวใช้สารกันบูดน้อยลง แต่ยังเจอเกินค่ามาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ ได้ร่วมดำเนินงานภายใต้โครงการก๋วยเตี๋ยวอนามัย โดยหนึ่งในวัตถุประสงค์สำคัญของโครงการคือการควบคุมเรื่องการใช้ปริมาณวัตถุกันเสียโดยมีการสุ่มตรวจวิเคราะห์วัตถุกันเสียในเส้นก๋วยเตี๋ยวด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2555 - 2559 จากจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 370 ตัวอย่าง ตรวจพบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานกำหนด 71 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 19.2 โดยพบกรดเบนโซอิค ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 10.6 - 3,995 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในเส้นก๋วยจั๊บ เส้นใหญ่ และเส้นผัดไทชนิดแห้ง ซึ่งค่ามาตรฐานที่อนุญาตให้พบคือไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนกรดซอร์บิค พบประมาณร้อยละ 3.1 ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 102 - 414 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเมื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลจากงานวิจัยในปี 2550 พบว่า จำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานกำหนดลดลงจาก ร้อยละ 36 เหลือเพียง ร้อยละ 19.2 และปริมาณวัตถุกันเสียที่ตรวจพบสูงสุดลดลงจาก 17,250 เหลือเพียง 3,995 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ก็ยังเกินกว่าค่ามาตรฐาน“เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” ชื่อนี้เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) เตรียมเปลี่ยนชื่อโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ เป็น “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” เพื่อให้มีความชัดเจนขึ้น แก้ปัญหาความเข้าใจผิด ของทั้งผู้ป่วย ญาติ และสถานพยาบาล ซึ่งที่ผ่านมามีกรณีร้องเรียนเรื่องสถานพยาบาลเรียกเก็บเงินจากการรักษาพยาบาลฉุกเฉินจำนวนไม่น้อยโดยการใช้คำว่า “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต” ก็เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า หมายถึงอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตระดับสีแดง ซึ่งสามารถเข้ารักษาได้ทุกที่ทุกสิทธิ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในช่วง 72 ชั่วโมงแรก ซึ่งหลักการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสีแดงที่ กพฉ. กำหนด แบ่งเป็น 25 กลุ่มอาการ ดังนี้ 1.ปวดท้องบริเวณหลัง เชิงกราน และขาหนีบ 2.แพ้ยา แพ้อาหาร แพ้สัตว์ต่อย แอนาฟิแล็กซิส ปฏิกิริยาภูมิแพ้ 3.สัตว์กัด 4.เลือดออกโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บ 5.หายใจลำบาก หายใจติดขัด 6.หัวใจหยุดเต้น 7.เจ็บแน่นทรวงอก หัวใจ มีปัญหาทางด้านหัวใจ 8.สำลัก อุดกั้นทางเดินหายใจ 9.เบาหวาน 10.ภาวะฉุกเฉินเหตุสิ่งแวดล้อม11.ปวดศีรษะ ภาวะผิดปกติทางตา หู คอ จมูก 12.คลุ้มคลั่ง ภาวะทางจิตประสาท อารมณ์ 13.พิษ รับยาเกินขนาด 14.มีครรภ์ คลอด นรีเวช 15.ชัก มีสัญญาณบอกเหตุการชัก 16.ป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง ไม่ทราบสาเหตุจำเพาะ 17.อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียความรู้สึก ยืนหรือเดินไม่ได้เฉียบพลัน 18.ไม่รู้สติ ไม่ตอบสนอง หมดสติชั่ววูบ 19.เด็ก กุมารเวช 20.ถูกทำร้าย 21.ไหม้ ลวกเหตุความร้อน สารเคมี ไฟฟ้าช็อต 22.ตกน้ำ จมน้ำ บาดเจ็บทางน้ำ 23.พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุ เจ็บปวด 24.อุบัติเหตุยานยนต์ และ 25.อื่นๆ หากมีข้อสงสัยสามารถโทรสอบถามกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) โทร. 1669ชัดเจน!!! ห้ามใช้ “โคลิสติน” ในฟาร์มสัตว์หลังจากมีข่าวว่ามีการตรวจพบฟาร์มเลี้ยงหมูในหลายจังหวัดมีการใช้ยา “โคลิสติน” (Colistin) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะชนิดรุนแรงที่ทั่วโลกกำลังเฝ้าระวัง เพราะทำให้เกิดการดื้อยาทั้งในคนและสัตว์เรื่องดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลกับผู้บริโภคไม่น้อย กรมปศุสัตว์ที่มีหน้าที่จัดการดูแลปัญหานี้โดยตรงก็ไม่รอช้าเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ด้วยความรวดเร็ว โดยได้ออกคำสั่ง “เรื่อง การควบคุมการใช้ยา Colistin ในฟาร์ม” ส่งตรงถึง “นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย” ซึ่งมีสมาชิกทั่วประเทศกว่า 800 คน โดยเนื้อหาสำคัญในประกาศ คือการสั่งห้ามสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสั่งหรือใช้ยาโคลิสตินผสมอาหารหรือละลายน้ำให้สัตว์กินโดยเด็ดขาด พร้อมทั้งให้สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มต้องคัดกรองและตรวจสอบอาหารสัตว์สำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงสัตว์จะต้องไม่มียาโคลิสตินผสมอยู่ โดยให้มีการเก็บตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งตรวจเพื่อพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการเป็นระยะแต่ก็ยังผ่อนปรนให้สามารถใช้ยาโคลิสตินได้ ในกรณีที่สัตว์ป่วยแล้วไม่มียาปฏิชีวนะชนิดใดใช้แล้วได้ผล“ยาโคลิสติน” เป็นยาปฏิชีวะที่นิยมใช้รักษาหมูท้องร่วงจากเชื้อแบคทีเรีย “อี.โคไล” แต่เมื่อปีที่แล้วมีข่าวว่าจีนพบหมูและคนดื้อยาโคลิสตินจากฟาร์มหมูชนิดข้ามสายพันธุ์ได้ หรือ “ยีนเอ็มซีอาร์-วัน” ที่สามารถส่งสายพันธุกรรมหรือเชื้อดื้อยาข้ามจากสัตว์มาสู่คน และยังถ่ายทอดไปยังเชื้อโรคตัวอื่นๆ ในร่างกายมนุษย์ได้อีกด้วย ขณะนี้มีรายงานการพบยีนดื้อยาตัวนี้ในมนุษย์ หมู และไก่ ช่วงปี 2010–2015 จำนวนทั้งสิ้น 16 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 ตายไม่กลัว กลัวไม่สวย

“วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2559 เวลา 18.00 น. ห้องฉุกเฉิน รพ.ปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ได้รับตัว ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 33 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการผื่นแดงตามตัว มีอาการชาไปทั่วร่างกาย หายใจไม่สะดวก ผู้ป่วยให้ข้อมูลว่าประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนเกิดอาการ ตนได้รับประทานยามา 5 เม็ด(เภสัชกรได้เข้าไปตรวจสอบยาดังกล่าว จึงทราบว่าเป็นยา แก้ปวดลดไข้ (Paracetamol) ยาแก้ปวดอักเสบ(Ponstan) ยาปฏิชีวนะ(Ampicillin) ยา Danzen)” ทีมงานรากยา หมอยาบ้านนอก ได้ส่งต่อข้อมูลเพิ่มเติมมาให้ผมทราบว่า ผู้ป่วยรายนี้ได้ทำศัลยกรรมใบหน้าที่ร้านเสริมสวยแห่งหนึ่ง(ย้ำนะครับว่าร้านเสริมสวย) ในอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ โดยเจ้าของร้านเสริมสวยแห่งนี้ได้แนะนำผู้ป่วยว่า “ที่ร้านตนมีหมอศัลยกรรมที่มีประสบการณ์จากคลินิกเสริมความงามในกรุงเทพฯ มีความเชี่ยวชาญมานานกว่า 20 ปี   มีลูกค้าหลายคนที่มาทำกับหมอคนนี้แล้วสวย ไม่พบอันตราย” ผู้ป่วยจึงเลยตัดสินใจทำศัลยกรรมทั้งใบหน้า (ร้อยไหม ฉีดคาง เติมหว่างคิ้ว ฉีดตีนกา ฉีดฝ้า ทำหน้าใส และฉีดร่องแก้ม ) รวมค่าบริการ 15,000 บาท โดยก่อนทำ 1 ชั่วโมง  ชายผู้ที่อ้างว่าเป็นหมอได้นำยา 5 เม็ดดังกล่าวมาให้ผู้ป่วยรับประทาน  หลังจากนั้นจึงได้เริ่มฉีดคาง และฉีดยาชาตามบริเวณต่างๆ ของใบหน้า และเริ่มฉีดเติมในส่วนต่างๆ ขณะที่กำลังทำนั้น ผู้ป่วยมีอาการวิงเวียน และเริ่มชาตามส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย จนตนขยับตัวเองไม่ได้  เริ่มแน่นหน้าอกหายใจไม่ออก จนญาติต้องเร่งนำส่งตัวมาที่โรงพยาบาล ซึ่งแพทย์ได้รักษาและวินิจฉัยว่า เป็นอาการแพ้สารเคมีจนช็อกกะทันหัน (Anaphylactic shock) ในระหว่างที่ผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ชายที่อ้างตนเป็นหมอยังติดตามมาพูดคุยรายละเอียดต่างๆ กับแพทย์เจ้าของไข้ และยังนำตัวอย่างยามาให้ดู โดยมีพิรุธที่ไม่สามารถบอกชื่อยาได้ นอกจากบอกว่า “ไม่เคยเจอใครมีอาการแบบนี้ ทุกคนที่ทำล้วนกลับออกจากร้านด้วยความสวยงาม ผู้ป่วยรายนี้อาจใช้ยาอื่นมาก่อน” หลังจากรักษาตัวในโรงพยาบาล 1 คืน ผู้ป่วยอาการดีจึงได้ติดต่อกับชายที่อ้างตนเป็นหมอเสริมความงามผู้นี้เพื่อให้รับผิดชอบค่าเสียหาย แน่นอนว่า ผู้ก่อความเสียหายไม่ยอมรับผิดชอบ เพียงรับปากจะทำศัลยกรรมให้ใหม่จนหายปกติ ผู้ป่วยจึงได้มาแจ้งเรื่องร้องเรียนที่กลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.ปทุมราชวงศา ข้อมูลเพิ่มเติมคือ คนไข้เคยรับประทานยาที่ชายคนนี้จ่ายมาหลายครั้งแล้ว  นอกจากนี้ยังเคยรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลดความอ้วน และหยุดรับประทานมา 3 เดือน ก่อนทำศัลยกรรม รวมทั้งยังเคยทายาชาเพื่อสักคิ้วมาก่อน (สรุปว่ามีพฤติกรรมสวยแบบเสี่ยงมาโดยตลอด) กลุ่มงานเภสัชกร จึงได้ดำเนินการประสานกับตำรวจ ลงพื้นที่ไปติดตามข้อมูลที่ร้านเสริมสวย ซึ่งเจ้าของร้านให้ข้อมูลว่า ตนเองรู้จักชายคนนี้ จากการแนะนำของเพื่อนในจังหวัดจึงติดต่อให้มาใช้สถานที่ภายในร้านเสริมสวยเป็นห้องทำศัลยกรรม โดยตนเองจะเป็นคนหาลูกค้าให้ ซึ่งตนจะได้ค่านายหน้าและได้ทำศัลยกรรมใบหน้าฟรี ซึ่งทำหลายครั้งแล้ว ไม่เคยมีใครเกิดอาการผิดปกติ  (สรุปว่าเสี่ยงกันมาแล้วหลายคน) ล่าสุดชายคนดังกล่าวได้เก็บของหนีไปแล้ว จากข้อมูลที่ได้มา สะท้อนให้เห็นว่าเทคนิคในการออกล่าเหยื่อที่อยากสวย ของมิจฉาชีพในปัจจุบันมีมากมาย ในขณะที่ผู้คนในยุคปัจจุบันหลายคน อยากสวยโดยยอมเสี่ยงอันตราย พวกเราคงต้องช่วยกันให้ความรู้ และเตือนสติผู้บริโภค ตลอดจนช่วยกันสอดส่องดูแลมิให้มิจฉาชีพพวกนี้มาทำร้ายผู้คนนะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 156 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือน มกราคม 2557 “บ้านและที่อยู่อาศัย” กับปัญหายอดฮิตปี 56 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้สรุปเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคตลอดปี 2556 ที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยกลายเป็นปัญหากวนใจผู้บริโภคมากที่สุด แซงหน้าแชมป์เก่าอย่างปัญหาจากการใช้รถยนต์ เนื่องจากโครงการรถยนต์คันแรกที่เริ่มหมดลง ประกอบกับคนหันมาซื้อคอนโดมากขึ้น และเมื่อเกิดปัญหาเพียง 1 ยูนิต ผู้บริโภคที่อยู่ในโครงการเดียวกันก็มักจะตามกันมาร้องเรียนด้วย สำหรับเรื่องร้องเรียนในปี 2556 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 20 ธันวาคม มีผู้บริโภคร้องเรียนทั้งสิ้น 3,150 ราย โดยเรื่องร้องเรียนที่มากที่สุดคือเรื่อง อสังหาริมทรัพย์ 1,324 ราย แบ่งเป็น 3 ประเภทปัญหา คือ 1.อาคารชุด 629 ราย 1,390 เรื่อง เช่น ไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือโฆษณา ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จยกเลิกสัญญา  2.บ้านจัดสรร 392 ราย 1,019 เรื่อง เช่น ไม่ดำเนินการตามที่โฆษณา มีการชำรุดหลังก่อสร้าง กู้ได้ไม่เต็มจำนวนตามที่ประกาศ ขอยกเลิกสัญญา และ 3.เช่าพื้นที่ เช่าช่วง 303 ราย 608 เรื่อง   สคบ.ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามที่ผู้ร้องต้องการและเรื่องยุติแล้ว 60% เหลืออีก 40% โดยหลังจากนี้ทาง สคบ. จะส่งเจ้าหน้าที่จะลงสุ่มตรวจโครงการที่อยู่อาศัยที่พบปัญหาร้องเรียกซ้ำซาก แล้วจะมีการแจ้งชื่อโครงการที่มีปัญหาให้กับประชาชนทั่วไปได้รับทราบ     ผิวขาวออร่า แต่หน้าพัง กระแสความนิยมอยากจะมีผิวขาวของวัยรุ่นไทย กำลังเป็นเรื่องน่าห่วง หลังจากที่มีวัยรุ่นจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของโฆษณาหลอกลวงชวนเชื่อ ผลิตภัณฑ์ผิวขาว ที่โอ้อวดว่าใช้แล้วผิวขาวสว่าง “ออร่า” แต่กลับต้องเจอผลข้างเคียง นอกจากผิวจะไม่ขาวแล้ว ยังต้องเสียโฉม หน้าพัง ผิวที่หวังว่าจะขาวก็ยิ่งคล้ำดำลงกว่าเดิม ล่าสุดมีกรณีที่วัยรุ่นอายุ 16-18 ปีที่ จ.เพชรบุรี ให้ครีมที่อ้างสรรพคุณช่วยให้ผิวขาวแล้วเกิดอาการแพ้ ผิวลายแตกงา เมื่อเก็บตัวอย่างครีมผิวขาวที่น่าจะเป็นปัญหาไปตรวจสอบยังศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม พบว่า ตัวอย่าง ครีมและโลชั่นทาผิวที่อ้างว่าช่วยให้ผิวขาว จำนวน 11 ตัวอย่างที่วางขายในจังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วยครีม 4 ประเภท ได้แก่ 1.ครีมผสมเองแบ่งขายใส่กระปุกที่ไม่มีฉลาก 2.ครีมที่ผสมเองแบ่งขายใส่กระปุกที่มีฉลากแต่ไม่ได้จดแจ้ง  3.ครีมที่มีฉลากภาษาจีน และ 4.ครีมที่มีฉลากภาษาจีนที่เป็นยาใช้ภายนอก มีการใช้สารสเตียรอยด์ชนิดโคลเบทาซอล โพรพิโอเนต (Clobetasol propionate) ในครีมทั้ง 11 ตัวอย่าง ในปริมาณตั้งแต่ 8.0-449.8  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นส่วนผสมที่สูงมาก นอกจากนี้ยังตรวจพบสารคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ซึ่งจัดเป็นยาในทุกตัวอย่าง และบางตัวอย่างตรวจพบว่ามีการใส่วัตถุกันเสีย 2 ชนิดคือ เมทิลพาราเบน (Methylparaben) และโพรพิลพราราเบน (Propylparaben) ด้วย สำหรับ สารโคลเบทาซอล โพรพิโอเนตเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง สารดังกล่าวเป็นยาสเตียรอยด์ ใช้ทาภายนอกที่มีความแรงสูงสุด ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน โรคผื่นผิวหนังที่ดื้อยาสเตียรอยด์ชนิดรุนแรงปานกลาง หรือใช้ในบริเวณผิวหนังที่หนา เช่นที่ขาหรือส้นเท้า สารชนิดนี้เมื่อใช้ไปนานๆ จะทำให้ผิวหนังบางลง เกิดจ้ำเลือดง่าย หรือมีรอยแตกที่ผิวหนัง     ระวัง!!!ใช้สมุนไพรขัดหน้า การใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ขัดหน้า ขัดตัว หลายคนอาจจะคาดไม่ถึงว่า ตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในระดับสูงจนน่าตกใจ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ สทน. โดยนักวิจัยของศูนย์ฉายรังสี ได้ทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นทางจุลชีววิทยาในวัตถุดิบสมุนไพรและส่วนผสม ชนิดอื่น ๆ ที่มักใช้ผลิตเป็นเครื่องสำอางสมุนไพรไทยจำนวน 10 ชนิด ได้แก่ ไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ว่านนางคำ ทานาคา กวาวเครือ จันทน์หอม เปลือกมังคุด ดินสอพอง และจันทน์เทศแดง โดยพบว่าในวัตถุดิบทั้ง 10 ชนิด มีจำนวนแบคทีเรียทั้งหมดในระดับที่สูงมาก คือ 1,000-1,000,000 โคโลนีต่อกรัม ทั้ง ๆ ที่ค่ามาตรฐานของไทยที่กำหนดคือ ต้องมีไม่เกิน 1,000 โคโลนีต่อกรัม  และพบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ Clostridium spp. ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคบาดทะยัก ในวัตถุดิบ 4 ชนิด คือ ไพล  ทานาคา กวาวเครือ และ ดินสอพอง นอกจากนี้ยังได้สุ่มตรวจเครื่องสำอางสมุนไพรไทยที่สามารถหาซื้อตามตลาดทั่วไป ได้แก่ ครีมโคลนสมุนไพรพอกตัว จำนวน 12 ตัวอย่าง พบว่ามีจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ 5 ตัวอย่าง (ร้อยละ 41.67) แป้งสมุนไพรพอกหน้าและขัดตัวจำนวน 40 ตัวอย่าง พบว่ามีจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ 27 ตัวอย่าง (ร้อยละ 67.5)  และพบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ Clostridium spp. ถึง 22 ตัวอย่าง (ร้อยละ 55) ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด     ทุกข์ของผู้ป่วย การรักษาไม่ได้มาตรฐาน ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้เปิดเผยข้อมูลร้องเรียนด้านสุขภาพปี 2555 – 2556 พบว่ามีเรื่องร้องเรียนจากทุกสิทธิการรักษาคือ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิประกันสังคม สิทธิสวัสดิการข้าราชการ และกลุ่มที่จ่ายเงินเอง ทั้งจากโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และคลินิก รวมทั้งหมด 38 เรื่อง ปัญหาที่พบมากที่สุด คือเรื่องมาตรฐานการรักษา 18 เรื่อง เช่น ผิดพลาดในการรักษา การผ่าตัด ทำให้แผลติดเชื้อ แพทย์จ่ายยาผิด เข้ารักษาโรงพยาบาลตามสิทธิแต่แพทย์ตรวจไม่ละเอียดให้แต่ยาแก้ปวด จ่ายยาให้ยาไม่ตรงชื่อหน้าซอง ทำให้คนไข้เกิดอาการการแพ้ยา ซึ่งมีอยู่กรณีหนึ่งแพทย์ถึงขั้นลืมผ้าก๊อตไว้ในช่องคลอดหลังทำคลอดให้กับคนไข้ ตามมาด้วยปัญหามาตรฐานการบริการ 9 เรื่อง เช่น เจ้าหน้าที่ไม่บริการ พูดจาไม่สุภาพ ไม่เอาใจใส่ผู้ป่วย  นอกจากนี้ยังพบปัญหาเรื่องระบบส่งต่อผู้ป่วย ระบบการใช้สิทธิ และปัญหาอื่นๆ เช่น เรื่องค่ารักษาพยาบาลแพง กรณีการให้การช่วยเหลือที่ล่าช้า พบว่าเกิดจาก การขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการอ่านเวชระเบียน ร่วมทั้งหน่วยงานภาครัฐล่าช้ากรณีส่งต่อเรื่องร้องเรียน แล้วไม่ได้รับการตอบรับ ทำให้การดำเนินการช่วยเหลือผู้เสียหายบางรายทำได้ลำบาก ล่าช้า และผู้เสียหายยังติดปัญหาเรื่องการขอเวชระเบียน ที่สำคัญคือผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับความเสียหายยังไม่รู้ช่องทางการร้องเรียน     7 วิธีปิ้งย่างลดเสี่ยงมะเร็ง พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล นักวิชาการโครงการ “รวมพลัง ขยับกาย สร้างสังคมไทย ไร้พุง” เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำ 7 ข้อควรทำสำหรับคนที่ชอบกินอาหารปิ้งย่าง 1.เลือกสถานที่ปิ้งย่างที่มีอากาศถ่ายเทดี เพราะควันจากอาหารก็ส่งผลต่อร่างกายได้ 2. เน้นเนื้อสัตว์ประเภทปลา หรือไก่ไม่ติดหนัง ซึ่งมีปริมาณไขมันน้อยกว่า 3. เลี่ยงการรับประทานเนื้อแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน ไส้กรอกอีสาน เพราะมีไขมันและโซเดียมสูง 4. อย่าใช้ไฟแรงเกิน หรือปิ้งจนเกรียม หมั่นทำความสะอาดคราบเขม่าและรอยไหม้ต่างๆ ที่ติดอยู่บริเวณตะแกรง 5. หมักเนื้อด้วยน้ำมะนาว สะระแหน่ มินต์ โรสแมรี จะช่วยลดการเกิดของสารก่อมะเร็งในกลุ่มเอมีนส์ 6. ตัดเนื้อส่วนที่มีมันออกก่อนนำไปปิ้งย่าง หรืออบให้สุกนิดหน่อยก่อนเพื่อลดเวลาปิ้ง และ 7. เน้นกินผักสดๆ ควบคู่ด้วยเสมอ และเลือกดื่มน้ำเปล่า แทนน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะยิ่งเพิ่มปริมาณแคลอรีที่เกินความต้องการของร่างกาย อนึ่ง การรับประทานอาหารปิ้งย่างประจำจะมีผลกระตุ้น เซลล์มะเร็ง คือ สารในกลุ่มไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbons หรือ PAH) ซึ่งพบในควันที่เกิดจากไขมันสัตว์ที่โดนความร้อนสูง โดยพบว่ามีความสามารถในการก่อมะเร็งได้ไม่แพ้ควันบุหรี่ และสารในกลุ่มเอมีนส์ (Heteocyclic amines) ที่พบมากในเนื้อแดงที่ถูกความร้อนสูง มีงานวิจัยหลายแหล่งระบุว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็ง //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 บริการถึงที่ คุกตารางถึงตัว

ผมได้รับแจ้งเรื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในอำเภอหนึ่ง  ว่าพบผู้ป่วยหลายรายที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล  ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ให้การรักษาสอบถามข้อมูล  ก็พบว่าผู้ป่วยเหล่านี้ต่างซื้อยามารับประทานจากร้านค้าของชำแห่งหนึ่งในหมู่บ้าน  ทีมเจ้าหน้าที่ ทั้งสาธารณสุข  ท้องถิ่น  และมหาดไทย ได้ร่วมลงพื้นที่ตามรอยและตรวจสอบร้านค้าชำแห่งนี้ผลการตรวจสอบเจ้าหน้าที่พบยาหลายรายการในร้านค้าชำ  มีทั้งยาแก้ไข้หวัดที่คุ้นๆ ชื่อจากโฆษณาในโทรทัศน์ พบยาอันตรายหลายชนิด  นอกจากนี้ยังพบยาชุดมากมายหลายขนาน  เช่น ยาชุดแก้ยอก  ยาชุดแก้ปวดฟัน  ยาชุดแก้ไข้หวัดสำหรับผู้ใหญ่  ทีมเจ้าหน้าที่จึงได้ยึดยาและส่งตรวจวิเคราะห์เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป    จากการสอบถามเจ้าของร้าน ได้ให้ข้อมูลว่า  ตนเองเปิดร้านชำมานานแล้ว  จนกระทั่งวันหนึ่งมีคนขับรถกระบะมาจอดที่ร้าน  และนำรายการยามาให้ตนดูพร้อมทั้งชักชวนให้ตนเลือกยาตามรายการเหล่านี้ไว้จำหน่ายในร้าน  ตนไม่รู้ข้อมูลทางกฎหมาย  จึงเลือกยาตามรายการดังกล่าวไว้จำนวนหนึ่ง เมื่อจำหน่ายไปได้สักระยะหนึ่ง  ก็เริ่มมีคนมาเรียกหายารายการอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น(ขาดดีซะงั้น)  ตนเลยให้คนที่มาขายยาให้ตนหายามาให้จนเลยเถิดเพิ่มจากเดิมไปหลายรายการ  นอกจากนี้เจ้าของร้านยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า  พ่อค้าที่ขับรถกระบะมาขายนั้น ไม่ได้มีแค่รายเดียว  เพราะหลังจากนั้น มีคนขับรถแวะมาจอดที่ร้านหลายราย  คนเหล่านี้ต่างนำรายการยามาเชิญชวนให้ตนเลือกซื้อเพื่อจำหน่ายหลายรายการ  ยาต่างๆ พร้อมทั้งยาชุดที่ตนจำหน่ายก็ล้วนมาจากพ่อค้าเหล่านี้ ผมนำข้อมูลมาเตือนผู้อ่านทุกท่าน หรือใครที่มีธุรกิจเปิดร้านค้าร้านชำ  อย่าเสี่ยงรับยามาจำหน่ายเลยครับ เพราะมันผิดกฎหมาย  ยามันมีทั้งคุณและโทษ หากจำหน่ายโดยไม่มีการระมัดระวัง ผู้ขายไม่มีความรู้ จะเกิดอันตราย ดังที่ปรากฎเป็นข่าวอยู่เสมอก็ได้  ดังนั้นกฎหมาย จึงอนุญาตให้ร้านค้าทั่วไปจำหน่ายได้เฉพาะยาสามัญประจำบ้านเท่านั้น(สังเกตที่ฉลาก จะต้องระบุคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” ถ้าไม่มีแสดงว่าไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน) หากใครขายยานอกเหนือจากนี้ โดยไม่มีใบอนุญาต  จะมีความผิดตามกฎหมายยา มาตรา 12 (ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งยาแผนปัจจุบัน  เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต)  ใครฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามมาตรา 101 อาจถึงจำคุก (ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 12 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท)ยังไงก็ช่วยกันสอดส่องและแนะนำคนรอบข้างด้วยครับ จงอย่างได้เสี่ยงคุกเสี่ยงตารางกันเลย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 121 ทำผิดแล้วยังกล้า...อ้างผู้ใหญ่

ภญ.สุภาวดี  เปล่งชัย เภสัชกรคนขยันแห่ง โรงพยาบาลเสลภูมิ ส่งข่าวมาว่า พบผู้ป่วยหลายรายถูกชักจูงให้ซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร อ้างสรรพคุณเกิน ราคาแพงมาบริโภค เธอทราบข่าวครั้งแรกจากคุณครูท่านหนึ่ง  ซึ่งได้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพร  เคี่ยงเซียมเจ็ง (ตราณรงค์  เอ็น.อาร์.) (ขนาดบรรจุ 750 ml ราคา 2,900 บาท) มาให้เธอตรวจสอบและเมื่อเธอลงพื้นที่เพื่อไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยอัมพฤกษ์  ก็พบว่าผู้ป่วยรายนี้ ได้ซื้อผลิตภัณฑ์ ยาน้ำสมุนไพรโสมคนทั่งเฉ้า (ตราณรงค์  เอ็น.อาร์.) ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ทะเบียนเลขที่ G 70 / 49 (ขนาดบรรจุ 350  ml ราคา 1,400  บาท) โดยซื้อมา 5 ขวด เป็นเงินถึง  4,500   บาท  เพื่อรักษาโรคอัมพฤกษ์  ตามที่มีคนแนะนำ  จากการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ป่วย ได้ความว่า มีตัวแทนจำหน่ายจากหมู่บ้านหนึ่ง ในเขตอำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ได้นำรถมารับตนไปยังจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อรับฟังการบรรยายสรรพคุณ ที่โรงแรมแห่งหนึ่ง ซึ่งระหว่างการบรรยายยังมีการวินิจฉัยโรค โดยการจับชีพจรผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งตนเองด้วย  หลังจากนั้นก็ได้แจ้งว่าตนเป็นโรคนิ่ว  และได้จัดส่งยามาให้ทางไปรษณีย์ (ลักษณะเป็นเม็ดสีเขียว จำนวน 100 เม็ด ราคา  1,500  บาท รับประทานครั้งละ 6 เม็ด หลังอาหาร 3 เวลา) นอกจากนี้ตนยังได้ซื้อผลิตภัณฑ์ โสมคนทั้งเฉ้า  มา 5 ขวด 4,500  บาท มาเช่นเดียวกัน   ล่าสุด ภญ.สุภาวดี  ได้ออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยอีกรายซึ่งป่วยเป็นเบาหวาน  ก็พบว่าผู้ป่วยรายนี้ได้ซื้อผลิตภัณฑ์ ยาน้ำสมุนไพรฮั้วลักเซียม (ตราณรงค์ เอ็น.อาร์.) ขึ้นทะเบียนเป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ทะเบียนเลขที่ G 369/53 มารับประทาน (ขนาดบรรจุ  750 ml ราคา 2,900 บาท) โดยผู้ป่วยแจ้งว่ารับประทานเพื่อรักษาอาการปวด   ด้วยความที่ ภญ.สุภาวดี  มีวิญญาณคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้ขอตัวอย่างขวดผลิตภัณฑ์ พร้อมเอกสารโฆษณาจากผู้ป่วยมาตรวจสอบ  พบว่าเอกสารที่ผู้ป่วยมอบให้นั้น  แจ้งสรรพคุณว่า รักษาได้ 18  โรค แต่ข้อมูลที่ขอขึ้นทะเบียน และระบุที่ฉลากขวดและกล่อง  ระบุว่า บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต บำรุงสมอง เท่านั้น (อย่างนี้ก็เกินจริงหรือเปล่า ลองเดาเอาเองนะครับ)   ภญ.สุภาวดี  พบเห็นความผิดปกติจากการโฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณ รักษาโรคได้มากมาย  จึงได้นำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทั้ง 3  นี้  มาแสดงไว้ในตู้หน้าห้องจ่ายยา  “เพื่อเป็นการแนะนำ ให้ความรู้ที่ถูกต้องทั้งทางวิชาการและทางกฎหมายว่าไม่มีผลิตภัณฑ์ใดรักษาโรคได้ครอบจักรวาลอย่างนั้น” โดยในตู้ที่เผยแพร่ความรู้ ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแสดงร่วมด้วย ( เช่น  ยาชุด  ยาลูกกลอน ยาที่ไม่มีเลขทะเบียนยา  ยาแผนโบราณที่มีสเตียรอยด์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆที่อ้างรักษาได้หลายโรค) นอกจากนี้เธอยังได้ทำป้าย แสดงข้อความเตือนผู้บริโภค วางบนตู้  ว่า “อย่าหลงเชื่อ อย่าเสียเงินซื้อ ผลิตภัณฑ์ราคาแพงๆเหล่านี้รักษาโรคครอบจักรวาลไม่ได้” “โรคเหล่านี้ รักษาโดยอาหารเสริมไม่ได้ (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ มะเร็ง อัมพฤกษ์  อัมพาต หลอดเลือดสมอง ปวดเมื่อย)”   หลังจากนั้นไม่กี่วันก็มีคนโทรศัพท์มาหาเธอ อ้างว่าโทรมาจากบริษัท ขอให้นำผลิตภัณฑ์ของบริษัทออก และยังมาถ่ายรูปตู้ดังกล่าวด้วย และอีก 2 วันต่อมา บุคคลเดิมได้โทรมาสอบถามว่า เธอได้นำผลิตภัณฑ์ของบริษัทออกจากตู้หรือยัง  ถ้ายังจะให้ฝ่ายกฎหมายของบริษัทดำเนินการ และถัดมาไม่กี่ชั่วโมง  ก็มีผู้อ้างว่าเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี (อ้างว่าชื่อ สุรชัย เพิ่มสงวนวงศ์ ใช้เบอร์  081-3342877) โทรศัพท์เข้ามาข่มขู่เธอว่า “บริษัท ถูกเธอกลั่นแกล้ง นำผลิตภัณฑ์ของบริษัท มาประจานและได้ปรึกษานิติกรของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว ให้เอาลงเดี๋ยวนี้  บริษัทจะดำเนินคดีกับคุณแล้ว”   แต่ด้วยความเด็ดเดี่ยวของ ภญ.สุภาวดี ซึ่งยืนยันว่าตนได้ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค จึงไม่ยอมทำตามคำขู่และมีการประสานงานกับผู้ใหญ่ที่รู้จัก สืบจนได้ว่ามีการแอบอ้างชื่อ นายสุรชัย มาข่มขู่ ซึ่งขณะนี้ได้พยายามรายงานให้ผู้ที่ถูกอ้างชื่อทราบเพื่อจัดการแล้ว นอกจากนี้เครือข่ายเภสัชกรที่ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคยังได้ไปแจ้งข่าวใน Facebook ของท่านรัฐมนตรีเพื่อให้ดำเนินการกับผู้แอบอ้างด้วย   ท้ายนี้เลยขออนุญาตประชาสัมพันธ์เลยว่า หากผู้อ่านหรือเจ้าหน้าที่ท่านใด ที่ได้ทำหน้าที่เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค แล้วโดนข่มขู่เช่นนี้ ขอให้จดชื่อและเบอร์โทรศัพท์ไว้ และไปแจ้งความหรือแจ้งมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อดำเนินการจัดการกับพวกนี้ซะที  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 เจ็บป่วยฉุกเฉิน ยังคงต้องสำรองจ่าย

แม้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะมีนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” ที่ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทุกแห่งโดยไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า ซึ่งประกาศไปเมื่อปี 2555 แต่ก็ยังเกิดปัญหาผู้ป่วยฉุกเฉินบางราย ไม่สามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ ดังกรณีของผู้ร้องรายนี้สามีของผู้ร้องเป็นโรคหัวใจ ซึ่งขณะที่กำลังเดินทางอยู่บนสถานีรถไฟฟ้าก็เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ทำให้หมดสติ ต่อมาจึงได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยกู้ชีพ นำส่งไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในขณะนั้นคือ โรงพยาบาลพระราม 9 แต่ภายหลังเข้ารับการรักษา สามีของเธอก็ได้เสียชีวิตลง อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ไม่ได้จบแค่นั้น เมื่อทางโรงพยาบาลให้วางเงินมัดจำนวนเกือบ 80,000 บาท เป็นค่ารักษาพยาบาล แม้ผู้ร้องจะแจ้งว่าขอใช้สิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิน แต่ก็ได้รับคำตอบว่าให้เบิกคืนได้ที่กองทุนฉุกเฉิน เธอจึงต้องระดมหาเงินจำนวนดังกล่าวมาให้กับโรงพยาบาล ภายหลังจ่ายเงินเรียบร้อย เธอจึงไปติดต่อเบิกเงินคืนจาก สปสช. ซึ่งได้คืนประมาณ 19,000 บาท ส่วนที่เหลือกองทุนแจ้งว่า ต้องไปทำเรื่องขอความอนุเคราะห์เบิกกับที่โรงพยาบาลดังกล่าวแทน ดังนั้นเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้ร้องจึงขอความช่วยเหลือมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับกรณีนี้ผู้ร้องต้องการทราบว่าจะได้รับเงินที่จ่ายไปแล้วคืนหรือไม่ ศูนย์ฯ จึงช่วยทำหนังสือประสานงานไปยัง สปสช. และโรงพยาบาลดังกล่าว โดยอ้างตามสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบายรัฐบาล ภายหลังทางโรงพยาบาลยินยอมที่จะไม่เรียกเก็บเงิน พร้อมคืนเงินส่วนต่างทั้งหมดให้ ดังนั้นแนวทางสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินรายอื่นๆ ที่ไม่ต้องการเสียเงินเมื่อเข้ารับการรักษา มีดังนี้1. หากเลือกโรงพยาบาลได้ควรเป็นของรัฐ เพราะเจรจาต่อรองได้ง่ายกว่าเมื่อเกิดปัญหา2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ป่วย (ถ้ามี) พร้อมแจ้งการขอใช้สิทธิฉุกเฉินกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ซึ่งสำหรับการวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือไม่ แพทย์จะพิจาณาตามข้อบ่งชี้ ดังนี้ - โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายต่อผู้อื่น- โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรง ต้องรักษาเป็นการเร่งด่วน- โรคที่ต้องผ่าตัดด่วน หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต- โรคหรือลักษณะอาการของโรคที่คณะกรรมการกำหนด- ความดันโลหิต ชีพจร อาการของโรค การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษาและความเร่งด่วน ในการรักษารวมทั้งคำนึงถึงการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่อการป่วยด้วย3. หากโรงพยาบาลเรียกเก็บเงิน ต้องยืนยันการใช้สิทธิฉุกเฉิน โดยอ้างสิทธิตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งหากเจรจาตกลงกันไม่ได้ ควรแจ้งเรื่องที่สายด่วน สปสช. (โทรฟรี) 1330 4. เมื่อแพทย์แจ้งว่าผู้ป่วยพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้แล้ว ให้ประสานโรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อย้ายผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่อเนื่องอ้างอิงข้อมูล: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ http://www.nhso.go.th/FrontEnd/page-forpeople_useuc.aspx#b และ http://indyconsumers.org/main/index.php/information/handbook/health-service-157/168-571028016  

อ่านเพิ่มเติม >