ฉบับที่ 226 ผลการสำรวจฉลากปลั๊กพ่วง

        ปลั๊กพ่วงเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นสำหรับบ้านทุกหลัง เพราะเพียงแค่ช่องเสียบปลั๊กไฟบนผนังบ้าน อาจไม่เพียงพอต่อจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มี ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์, พัดลม, เครื่องเป่าผม, ที่ชาร์จมือถือ เป็นต้น ซึ่งการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้งานในจุดต่างๆ ที่มีระยะห่างจากผนังบ้าน ยังต้องพึ่งพาปลั๊กพ่วงอีกด้วย นอกจากนี้ ปลั๊กพ่วงยังมีคุณสมบัติเสริมความปลอดภัยช่วยตัดกระแสไฟฟ้าฉุกเฉินในกรณีที่เกิดการลัดวงจร         ดังนั้นการเลือกซื้อปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพมาตรฐานและตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งาน จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งก่อนหน้านี้ ปลั๊กพ่วงที่วางจำหน่ายในประเทศไทย มีคุณภาพที่หลากหลาย ปลั๊กพ่วงจำนวนไม่น้อยถูกผลิตด้วยวัสดุที่ด้อยคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน และวางขายในราคาถูก ซึ่งหากผู้บริโภคซื้อไปใช้ก็อาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินได้  ดังนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จึงได้ออกประกาศ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน : ชุดสายพ่วง (มอก. 2432-2555) ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับให้กับผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จัดจำหน่ายปลั๊กพ่วง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ปลั๊กพ่วงที่มีวางจำหน่ายตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป จะต้องมีการติดแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ มอก. 2432-2555 เอาไว้ที่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งปลั๊กไฟแบบเก่าที่ไม่มีมาตรฐาน มอก. 2432-2555 กำกับ จะสามารถขายได้ต่อจนกว่าสินค้าจะหมดสต๊อก ซึ่งปลั๊กพ่วงที่เหลือค้างต้องรายงานจำนวนไว้กับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ด้วย         ฉลาดซื้อ ในโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ปลั๊กพ่วง จำนวน 21 ตัวอย่าง ที่มีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและร้านขายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล เพื่อสำรวจข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องหมายสัญลักษณ์ มอก.2432-2555, วันผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ และราคาที่วางจำหน่ายมาเปรียบเทียบให้ผู้บริโภคได้ทราบกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้สรุปผลการสำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์        จากการสำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์ปลั๊กพ่วง จำนวน 21 ตัวอย่าง พบว่า        การแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ มอก. 2432-2555        มีผลิตภัณฑ์ปลั๊กพ่วง 19 ตัวอย่าง ที่มีการแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ มอก. 2432-2555และ มี 2 ตัวอย่าง ที่ไม่มีสัญลักษณ์ มอก.                 ซึ่งปลั๊กพ่วง 2 ตัวอย่าง ที่ไม่มีสัญลักษณ์ มอก. 2432-2555 ได้แก่        1) ยี่ห้อ D-VER รุ่น DV-88k4U  (ไม่ระบุวันผลิตหรือวันที่นำเข้า) ราคา 380 บาท              ที่สุ่มซื้อจาก ร้านเจ้เล้ง (ในห้างเซียร์ รังสิต)และ  2) ยี่ห้อ ELECTON รุ่น TE-2163 (วันผลิตหรือนำเข้า 1 ม.ค.61) ราคา 450 บาท            ที่สุ่มซื้อจาก ร้านนัตตี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ในห้างฯ ฟอร์จูน พระรามเก้า)        (ซึ่งวันผลิตหรือนำเข้าที่ระบุไว้ คือ 1 ม.ค.61 ซึ่งเป็นวันที่ก่อนประกาศมีผลบังคับใช้ (24 ก.พ.61)                  โดยหากรายงานไว้กับ สมอ. แล้ว ก็สามารถจำหน่ายได้ตามข้อยกเว้น)        การแสดงวันที่ผลิตหรือนำเข้า        พบว่า มีปลั๊กพ่วงจำนวน 4 ตัวอย่าง ที่ไม่แสดงวันที่ผลิตหรือนำเข้า ได้แก่        1) ยี่ห้อ Randy  ราคา 289 บาท ที่สุ่มซื้อจาก เทสโก้ โลตัส สาขาบางปะกอก        2) ยี่ห้อ D-VER รุ่น DV-88k4U  ราคา 380 บาท ที่สุ่มซื้อจาก ร้านเจ้เล้ง ในห้างเซียร์ รังสิต        3) ยี่ห้อ Elektra รุ่น 814U  ราคา 459 บาท ที่สุ่มซื้อจาก โฮมโปร สาขาพระรามสองและ  4) ยี่ห้อ ELECTON รุ่น EP9-4303  ราคา 550 บาท ที่สุ่มซื้อจาก ร้าน IKANO ในห้าง IKEA สาขาบางใหญ่ คำแนะนำในการเลือกซื้อปลั๊กพ่วง        1. เลือกปลั๊กพ่วงที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน มอก. 2432-2555        2. หากมีวัตถุประสงค์ใช้เฉพาะจุด ให้ดูกำลังไฟตามปริมาณเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งาน เช่น 10A, 16A        3. เลือกปลั๊กพ่วง ที่มีจำนวนช่องเสียบที่เหมาะสมกับจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการใช้ การซื้อปลั๊กพ่วงที่มีช่องเสียบจำนวนมากแล้วไม่ได้ใช้ทุกช่อง อาจสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น        4. เลือกปลั๊กพ่วงที่มีความยาวของสายไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน หากเลือกสายไฟที่สั้นเกินไป อาจทำให้ใช้งานลำบาก หรือ ถ้าหากเลือกสายไฟที่ยาวเกินไป ก็จะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ และจัดเก็บสายไฟส่วนเกินยาก และอาจเป็นที่แหล่งกักเก็บฝุ่น        5. ปลั๊กไฟบางรุ่น มีช่องจ่ายไฟแบบ USB ให้ด้วย เป็นตัวเลือกการใช้งานข้อมูลอ้างอิง        - มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน (มอก.2432-2555) โดย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม        - รู้ก่อนซื้อ! มอก.ใหม่ ควบคุมปลั๊กพ่วง หมดห่วงเรื่องไฟฟ้าลัดวงจร (www.officemate.co.th/blog/มาตรฐาน-มอก-ปลั๊กพ่วง)        - ผู้บริโภคต้องรู้! มาตรฐาน “มอก. ปลั๊กพ่วง” เพื่อความปลอดภัย บังคับใช้แล้วทั่วประเทศ  (www.https://www.thepower.co.th/knowledge/extension-cord-standard-ปลั๊กพ่วง)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

สุ่มสำรวจปลั๊กพ่วง พบส่วนใหญ่ยังไม่ติด มอก.2432-2555

จากการสุ่มสำรวจการจำหน่ายปลั๊กพ่วงในห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไปในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกองบรรณาธิการ นิตยสารฉลาดซื้อ พบว่า ปลั๊กพ่วงที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่ ยังไม่ติดตราสัญลักษณ์มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 2432-2555 (มาตรฐานปลั๊กพ่วง) บนหีบห่อบรรจุภัณฑ์ พบว่าส่วนใหญ่มีแต่การอ้างอิงมาตรฐานสายไฟ อย่างไรก็ตามพบ 2 ยี่ห้อ ได้แสดงตราสัญลักษณ์ มอก.2432-2555 แล้ว คือ Panasonic และ anitech                โดยเมื่อ 24 ก.พ. ที่ผ่านมาเป็นวันเริ่มบังคับใช้มาตรฐาน มอก.2432-2555 เต้าเสียบเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน : ชุดสายพ่วง จะเป็นผลิตภัณฑ์บังคับตามกฎหมาย ซึ่งนับเป็นข้อกำหนดที่ผู้ประกอบการจะต้องผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งในเรื่องคุณสมบัติต่างๆ ชนิด/ประเภท เกณฑ์กำหนดที่ต้องการ และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค                             แม้ว่าทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ยังอนุญาตให้สามารถจำหน่ายสินค้าปลั๊กพ่วงที่มีต่อไปได้จนกว่าจะหมด แต่ห้ามนำเข้าหรือผลิตเพิ่ม และต้องรายงานสต๊อกสินค้าต่อ สมอ.ให้รับทราบก็ตาม แต่ผู้ผลิตปลั๊กพ่วงควรเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งตรวจสอบคุณภาพให้ถูกต้องตามมาตรฐาน มอก.2432-2555 อย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภครายละเอียดข้อมูล มาตรฐานชุดสายพ่วง มอก.2432-2555: http://pr.tisi.go.th/รายละเอียดข้อมูล-มาตรฐานชุดสายพ่วง-มอก-2432-2555/

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 166 ทดสอบความปลอดภัย “รางปลั๊กไฟ”

“ปลั๊กพ่วง” หรือ “รางปลั๊กไฟ” ถือเป็น 1 ใน อุปกรณ์ที่เริ่มมีบทบาทต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ด้วยความที่ยุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ถูกคิดค้นขึ้นมาให้ตอบสนองเพื่อความสะดวกสบายของชีวิต ไม่ใช่แค่ โทรทัศน์ วิทยุ ตู้เย็น พัดลม แบบเมื่อก่อน เดี๋ยวนี้ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหน้าตาใหม่ๆ ที่พร้อมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ไมโครเวฟ ไดรฟ์เป่าผม เครื่องทำกาแฟ ฯลฯ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้า รางปลั๊กไฟจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นไปโดยปริยาย เพราะแค่เต้าเสียบปลั๊กไฟแบบที่ติดถาวรอยู่กับผนังอาคารอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ด้วยเหตุผลของการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นการเลือกซื้อเลือกใช้ “รางปลั๊กไฟ” ที่ได้คุณภาพมาตรฐานจึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนไม่ควรมองข้าม ปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐานนั้นย่อมหมายถึงความปลอดภัยที่เราจะได้รับจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อันตรายที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้าช็อต กระแสไฟฟ้ารั่ว อันตรายเหล่านี้สร้างความเสียหายได้ต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน   เกณฑ์ในการทดสอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. เป็นตัวช่วยรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า แต่รางปลั๊กไฟยังไม่มีมาตรฐานรับรอง แต่ก็มีมาตรฐานที่ใช้เทียบเคียงกันได้อย่าง มอก. 2162 – 2547 และ มอก. 166 – 2547 มาตรฐาน “เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน” ซึ่งการทดสอบครั้งได้เลือกข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยใน มอก. 2162 – 2547 เป็นเกณฑ์ในการทดสอบ   ประเด็นที่ในการทดสอบ เน้นที่เรื่องของการใช้งานและความปลอดภัย 1.ความต้านทานของฉนวนและความทนแรงดันไฟฟ้า – เป็นการทดสอบคุณสมบัติของฉนวนว่ามีความสามารถในการป้องกันการเกิดไฟดูดได้หรือไม่ โดยจะมีการวัดความต้านทานของฉนวนตรงบริเวณเต้ารับว่าทำหน้าที่ฉนวนได้ดีหรือไม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เกี่บวข้องกับความปลอดภัยโดยตรง หากฉนวนไม่มีความทนทานและไม่สามารถทนต่อแรงดันไฟฟ้าได้ อาจส่งผลให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วและไฟช็อตได้ 2.อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น – การใช้งานรางปลั๊กไฟเมื่อใช้เป็นเวลานานความร้อนย่อมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งความร้อนที่สะสมมากขึ้นนั้นอาจนำไปสู่การติดไฟหรือไฟฟ้าลัดวงจร การทดสอบจะดูทั้งเต้ารับ ขั้วต่อ ส่วนภายนอกของวัสดุฉนวน โดยอุณหภูมิจากการใช้งานกระแสไฟฟ้าต้องไม่สูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3.แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ – การใช้งานรางปลั๊กไฟ การเสียบเข้าและถอดออกของเต้าเสียบกับเต้ารับ ถือเป็นจังหวะที่เรามีความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าจากรางปลั๊กไฟมากที่สุด เพราะฉะนั้นการออกแบบรางปลั๊กไฟจะต้องทำให้เต้าเสียบเข้าและดึงออกง่าย และต้องมีการป้องกันเต้าเสียบหลุดออกจากเต้ารับในการใช้งาน เต้ารับที่หลวมเกินไปจนหน้าสัมผัสของปลั๊กไม่สมบูรณ์อาจเป็นสาเหตุของการเกิดไฟฟ้าช็อตได้ แต่หากเต้ารับแน่นเกินไปจนทำให้ปลั๊กถอดออกยาก อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อฉนวนของปลั๊กได้ด้วยเช่นกัน 4.ความทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ ไฟ และการเกิดรอย – ส่วนที่ทำด้วยวัสดุฉนวนที่อาจได้รับความร้อนจากกระแสไฟฟ้า เมื่อเสื่อมสภาพแล้วอาจทำให้ความปลอดภัยของรางปลั๊กไฟเสื่อมสภาพลง วัสดุฉนวนที่ดีต้องไม่ลุกติดไฟ หรือถ้าติดไฟก็ต้องดับภายในเวลา 30 วินาที เพื่อป้องกันความเสียหายทั้งต่อตัวรางปลั๊ก และป้องกันการลุกลามไปติดสิ่งของอื่นในบริเวณใกล้เคียง                          

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point