ฉบับที่ 226 ผลการสำรวจฉลากปลั๊กพ่วง

        ปลั๊กพ่วงเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นสำหรับบ้านทุกหลัง เพราะเพียงแค่ช่องเสียบปลั๊กไฟบนผนังบ้าน อาจไม่เพียงพอต่อจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มี ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์, พัดลม, เครื่องเป่าผม, ที่ชาร์จมือถือ เป็นต้น ซึ่งการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้งานในจุดต่างๆ ที่มีระยะห่างจากผนังบ้าน ยังต้องพึ่งพาปลั๊กพ่วงอีกด้วย นอกจากนี้ ปลั๊กพ่วงยังมีคุณสมบัติเสริมความปลอดภัยช่วยตัดกระแสไฟฟ้าฉุกเฉินในกรณีที่เกิดการลัดวงจร         ดังนั้นการเลือกซื้อปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพมาตรฐานและตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งาน จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งก่อนหน้านี้ ปลั๊กพ่วงที่วางจำหน่ายในประเทศไทย มีคุณภาพที่หลากหลาย ปลั๊กพ่วงจำนวนไม่น้อยถูกผลิตด้วยวัสดุที่ด้อยคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน และวางขายในราคาถูก ซึ่งหากผู้บริโภคซื้อไปใช้ก็อาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินได้  ดังนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จึงได้ออกประกาศ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน : ชุดสายพ่วง (มอก. 2432-2555) ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับให้กับผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จัดจำหน่ายปลั๊กพ่วง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ปลั๊กพ่วงที่มีวางจำหน่ายตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป จะต้องมีการติดแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ มอก. 2432-2555 เอาไว้ที่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งปลั๊กไฟแบบเก่าที่ไม่มีมาตรฐาน มอก. 2432-2555 กำกับ จะสามารถขายได้ต่อจนกว่าสินค้าจะหมดสต๊อก ซึ่งปลั๊กพ่วงที่เหลือค้างต้องรายงานจำนวนไว้กับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ด้วย         ฉลาดซื้อ ในโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ปลั๊กพ่วง จำนวน 21 ตัวอย่าง ที่มีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและร้านขายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล เพื่อสำรวจข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องหมายสัญลักษณ์ มอก.2432-2555, วันผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ และราคาที่วางจำหน่ายมาเปรียบเทียบให้ผู้บริโภคได้ทราบกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้สรุปผลการสำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์        จากการสำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์ปลั๊กพ่วง จำนวน 21 ตัวอย่าง พบว่า        การแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ มอก. 2432-2555        มีผลิตภัณฑ์ปลั๊กพ่วง 19 ตัวอย่าง ที่มีการแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ มอก. 2432-2555และ มี 2 ตัวอย่าง ที่ไม่มีสัญลักษณ์ มอก.                 ซึ่งปลั๊กพ่วง 2 ตัวอย่าง ที่ไม่มีสัญลักษณ์ มอก. 2432-2555 ได้แก่        1) ยี่ห้อ D-VER รุ่น DV-88k4U  (ไม่ระบุวันผลิตหรือวันที่นำเข้า) ราคา 380 บาท              ที่สุ่มซื้อจาก ร้านเจ้เล้ง (ในห้างเซียร์ รังสิต)และ  2) ยี่ห้อ ELECTON รุ่น TE-2163 (วันผลิตหรือนำเข้า 1 ม.ค.61) ราคา 450 บาท            ที่สุ่มซื้อจาก ร้านนัตตี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ในห้างฯ ฟอร์จูน พระรามเก้า)        (ซึ่งวันผลิตหรือนำเข้าที่ระบุไว้ คือ 1 ม.ค.61 ซึ่งเป็นวันที่ก่อนประกาศมีผลบังคับใช้ (24 ก.พ.61)                  โดยหากรายงานไว้กับ สมอ. แล้ว ก็สามารถจำหน่ายได้ตามข้อยกเว้น)        การแสดงวันที่ผลิตหรือนำเข้า        พบว่า มีปลั๊กพ่วงจำนวน 4 ตัวอย่าง ที่ไม่แสดงวันที่ผลิตหรือนำเข้า ได้แก่        1) ยี่ห้อ Randy  ราคา 289 บาท ที่สุ่มซื้อจาก เทสโก้ โลตัส สาขาบางปะกอก        2) ยี่ห้อ D-VER รุ่น DV-88k4U  ราคา 380 บาท ที่สุ่มซื้อจาก ร้านเจ้เล้ง ในห้างเซียร์ รังสิต        3) ยี่ห้อ Elektra รุ่น 814U  ราคา 459 บาท ที่สุ่มซื้อจาก โฮมโปร สาขาพระรามสองและ  4) ยี่ห้อ ELECTON รุ่น EP9-4303  ราคา 550 บาท ที่สุ่มซื้อจาก ร้าน IKANO ในห้าง IKEA สาขาบางใหญ่ คำแนะนำในการเลือกซื้อปลั๊กพ่วง        1. เลือกปลั๊กพ่วงที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน มอก. 2432-2555        2. หากมีวัตถุประสงค์ใช้เฉพาะจุด ให้ดูกำลังไฟตามปริมาณเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งาน เช่น 10A, 16A        3. เลือกปลั๊กพ่วง ที่มีจำนวนช่องเสียบที่เหมาะสมกับจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการใช้ การซื้อปลั๊กพ่วงที่มีช่องเสียบจำนวนมากแล้วไม่ได้ใช้ทุกช่อง อาจสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น        4. เลือกปลั๊กพ่วงที่มีความยาวของสายไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน หากเลือกสายไฟที่สั้นเกินไป อาจทำให้ใช้งานลำบาก หรือ ถ้าหากเลือกสายไฟที่ยาวเกินไป ก็จะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ และจัดเก็บสายไฟส่วนเกินยาก และอาจเป็นที่แหล่งกักเก็บฝุ่น        5. ปลั๊กไฟบางรุ่น มีช่องจ่ายไฟแบบ USB ให้ด้วย เป็นตัวเลือกการใช้งานข้อมูลอ้างอิง        - มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน (มอก.2432-2555) โดย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม        - รู้ก่อนซื้อ! มอก.ใหม่ ควบคุมปลั๊กพ่วง หมดห่วงเรื่องไฟฟ้าลัดวงจร (www.officemate.co.th/blog/มาตรฐาน-มอก-ปลั๊กพ่วง)        - ผู้บริโภคต้องรู้! มาตรฐาน “มอก. ปลั๊กพ่วง” เพื่อความปลอดภัย บังคับใช้แล้วทั่วประเทศ  (www.https://www.thepower.co.th/knowledge/extension-cord-standard-ปลั๊กพ่วง)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point


สุ่มสำรวจปลั๊กพ่วง พบส่วนใหญ่ยังไม่ติด มอก.2432-2555

จากการสุ่มสำรวจการจำหน่ายปลั๊กพ่วงในห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไปในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกองบรรณาธิการ นิตยสารฉลาดซื้อ พบว่า ปลั๊กพ่วงที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่ ยังไม่ติดตราสัญลักษณ์มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 2432-2555 (มาตรฐานปลั๊กพ่วง) บนหีบห่อบรรจุภัณฑ์ พบว่าส่วนใหญ่มีแต่การอ้างอิงมาตรฐานสายไฟ อย่างไรก็ตามพบ 2 ยี่ห้อ ได้แสดงตราสัญลักษณ์ มอก.2432-2555 แล้ว คือ Panasonic และ anitech                โดยเมื่อ 24 ก.พ. ที่ผ่านมาเป็นวันเริ่มบังคับใช้มาตรฐาน มอก.2432-2555 เต้าเสียบเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน : ชุดสายพ่วง จะเป็นผลิตภัณฑ์บังคับตามกฎหมาย ซึ่งนับเป็นข้อกำหนดที่ผู้ประกอบการจะต้องผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งในเรื่องคุณสมบัติต่างๆ ชนิด/ประเภท เกณฑ์กำหนดที่ต้องการ และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค                             แม้ว่าทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ยังอนุญาตให้สามารถจำหน่ายสินค้าปลั๊กพ่วงที่มีต่อไปได้จนกว่าจะหมด แต่ห้ามนำเข้าหรือผลิตเพิ่ม และต้องรายงานสต๊อกสินค้าต่อ สมอ.ให้รับทราบก็ตาม แต่ผู้ผลิตปลั๊กพ่วงควรเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งตรวจสอบคุณภาพให้ถูกต้องตามมาตรฐาน มอก.2432-2555 อย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภครายละเอียดข้อมูล มาตรฐานชุดสายพ่วง มอก.2432-2555: http://pr.tisi.go.th/รายละเอียดข้อมูล-มาตรฐานชุดสายพ่วง-มอก-2432-2555/

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 163 ปลั๊กไฟรุ่นพิเศษ เสียบปุ๊บ ไฟดับปั๊บ...

คุณโสภา  ได้ซื้อปลั๊กไฟชนิดอย่างดียี่ห้อหนึ่ง จากร้านจำหน่ายที่ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า เป็นปลั๊กไฟแบบ 5 ช่องเสียบ ยาว 4.5 เมตร  มา 1 อัน ในราคา 400 บาทเมื่อกลับมาถึงบ้าน  คุณโสภาได้หยิบปลั๊กมาเพื่อใช้งานทันที หลังจากเสียบปุ๊บ ทันใดนั้นไฟฟ้าทั้งชั้นก็ดับสนิท อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่เปิดอยู่ เช่น ทีวี พัดลม คอมพิวเตอร์ ทุกอย่างดับหมด  แต่คุณโสภา ยังไม่อยากเชื่อว่าปลั๊กไฟที่ซื้อมาจะเสีย ที่ไฟดับอาจเป็นเพราะพอดีการไฟฟ้าหยุดจ่ายไฟก็ได้ คุณโสภาจึงไปขอทดลองเสียบปลั๊กไฟอีกครั้งกับบ้านอีกหลังหนึ่งในบริเวณเดียววัน เมื่อเสียบปุ๊บ ผลเป็นเช่นเดียวกัน คือ ไฟฟ้าของบ้านหลังนั้นดับสนิท ทุกอย่างไม่สามารถใช้งานได้ คุณโสภาจึงรีบโทรศัพท์ไปที่ร้านเพื่อแจ้งว่าปลั๊กไฟที่ซื้อมามีปัญหา แต่ร้านที่ซื้อบอกไม่เกี่ยวกัน ให้ไปติดต่อกับบริษัทเอาเองเจอแบบนี้ คุณโสภา มึนแปดด้านไม่รู้จะทำยังไง ปลั๊กก็เสีย ไฟก็ดับ จึงมาขอคำปรึกษาและร้องเรียนที่มูลนิธิฯ แนวทางแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ จริงๆ แล้วง่ายมาก ตามสิทธิผู้บริโภคเมื่อซื้อสินค้ามาแล้วใช้งานไม่ได้ ผู้บริโภคก็ย่อมมีสิทธิได้เปลี่ยนสินค้าหรือได้เงินคืนกรณีนี้คุณโสภา สามารถนำสินค้าไปเปลี่ยนกับร้านที่ซื้อได้เลย แต่อาจจะมีปัญหาถกเถียงกันนิดหน่อย หากร้านที่ขายไม่ยอมให้เปลี่ยน อาจทำให้อารมณ์เสีย แต่ถ้าไม่อยากให้มีปัญหาและไม่ใช่หน้าที่ของเราที่ซื้อมาแล้วยังต้องเอาไปเปลี่ยน เพื่อความรวดเร็วจึงแนะนำให้กดโทรศัพท์ไปที่บริษัทผู้ผลิตปลั๊กไฟ ที่ระบุชื่อที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อที่กล่องผลิตภัณฑ์ เพื่อขอให้บริษัทส่งพนักงานเข้ามาตรวจสอบปลั๊กไฟที่ซื้อและระบบไฟฟ้าที่บ้านว่าเกิดจากสาเหตุใด หากมีความชำรุดเสียหายของอุปกรณ์และระบบไฟฟ้า อันเกิดจากปลั๊กไฟที่ชำรุดเสียหายแล้วนำมาจำหน่าย บริษัทผู้ผลิตต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไขหลังการแนะนำ คุณโสภาได้ทำตาม  และในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน บริษัทได้ส่งช่างเทคนิคมาตรวจสอบปลั๊กไฟและระบบไฟฟ้าของบ้านทั้งหมด ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าระบบไฟฟ้าของบ้านไม่มีปัญหา ช่างของบริษัทสามารถแก้ไขให้เป็นปกติเหมือนเดิมได้ แต่ในส่วนปลั๊กไฟที่ซื้อมานั้น ทดสอบแล้วพบว่ามีความชำรุดบกพร่องของสินค้าจริง บริษัทจึงขอแสดงความรับผิดชอบด้วยการนำปลั๊กไฟตัวใหม่ที่ทดลองแล้วว่าสามารถใช้งานได้มาให้แทน และขอนำปลั๊กไฟตัวปัญหากลับคืน เพื่อทดสอบหาสาเหตุต่อไปเรื่องเหมือนจะจบลงด้วยดี ถ้าคุณโสภาเป็นเพียงผู้บริโภคธรรมดาที่ไม่คิดมาก แต่คุณโสภา เข้าใจว่าปัญหาแบบนี้อาจเกิดได้กับทุกคนที่ซื้อปลั๊กไฟ และเพื่อให้ได้ข้อมูลข้อเท็จจริงนั้น จึงได้ขอสงวนสิทธิที่จะไม่ให้ปลั๊กไฟตัวปัญหาให้กับบริษัท แต่จะขอนำส่งให้กับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อให้ทดสอบหาข้อเท็จจริงของการชำรุดเสียหายของปลั๊กไฟนี้ เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับผู้บริโภคที่อาจจะเจอปัญหาแบบเดียวกันนี้การดำเนินการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที กับการแสดงความรับผิดชอบของบริษัทเช่นนี้ ทำให้คุณโสภา ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว เกิดความสบายใจและไม่คิดจะ ซึ่งหากใครที่เจอปัญหาแบบเดียวกันนี้ ก็สามารถนำวิธีนี้ไปใช้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมทั้งนี้เชื่อว่าหลายคนคงไม่รู้ว่า ปัจจุบันปลั๊กไฟ หรือปลั๊กพ่วง แบบต่างๆ ที่ขายกันในบ้านเรานั้น แท้จริงแล้ว มี มอก. เพียงเฉพาะในส่วนที่เป็นมาตรฐานสายไฟ คือ มอก. 11-2531  หรือ มอก. 11 ที่เป็นสายไฟหุ้มฉนวนทองแดง PVC  เท่านั้น โดยที่ในส่วนที่เป็นรางปลั๊กไฟทั้งชุด มอก. ไมได้กำหนดมาตรฐานควบคุมไว้ ซึ่งการกำหนดให้มีมาตรฐานดังกล่าวของสายไฟดังกล่าว ทาง มอก.  ได้ออกเป็นมาตรฐานประเภททั่วไป ที่ไม่มีการบังคับ คือจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้าได้รับเครื่องหมายก็แสดงถึงคุณภาพที่ได้มาตรฐานของผลิตภัณฑ์นั้นๆนั่นหมายความว่า ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายที่นำปลั๊กไฟมาขายนั้น ขอแค่มีสายไฟที่ถูกหลักเกณฑ์ตามมาตรฐาน มอก. ก็จะสามารถนำมาขายในประเทศไทยได้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายก็จะไม่บอกข้อมูลในส่วนนี้ให้ผู้บริโภคได้รับรู้กันด้วย บอกแค่ว่า ผลิตภัณฑ์นี้ได้ มอก. เท่านั้นเท่านี้ ผู้บริโภคก็คิดกันไปเองว่า มอก. นี้คือ มาตรฐานของปลั๊กไฟทั้งชุด... อึ้งกันเลยใช่ไหมล่ะ !!!เจอแบบนี้ ผู้บริโภคก็คงต้องดูแลตัวเอง การเลือกใช้ปลั๊กไฟจึงควรพิจารณาในส่วนประกอบต่างๆ ของปลั๊กให้ดี ทั้งตัวปลั๊กเสียบ สายไฟฟ้าและวัสดุที่ใช้ทำรางปลั๊ก และอย่างน้อยก็ อย่าลืมมองหาปลั๊กไฟที่มีตรามาตรฐาน มอก. ในการพิจารณาเลือกซื้อ แม้จะมีมาตรฐานเฉพาะสายไฟอย่างเดียว แต่ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและความปลอดภัยในการใช้งานนะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 166 ทดสอบความปลอดภัย “รางปลั๊กไฟ”

“ปลั๊กพ่วง” หรือ “รางปลั๊กไฟ” ถือเป็น 1 ใน อุปกรณ์ที่เริ่มมีบทบาทต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ด้วยความที่ยุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ถูกคิดค้นขึ้นมาให้ตอบสนองเพื่อความสะดวกสบายของชีวิต ไม่ใช่แค่ โทรทัศน์ วิทยุ ตู้เย็น พัดลม แบบเมื่อก่อน เดี๋ยวนี้ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหน้าตาใหม่ๆ ที่พร้อมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ไมโครเวฟ ไดรฟ์เป่าผม เครื่องทำกาแฟ ฯลฯ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้า รางปลั๊กไฟจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นไปโดยปริยาย เพราะแค่เต้าเสียบปลั๊กไฟแบบที่ติดถาวรอยู่กับผนังอาคารอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ด้วยเหตุผลของการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นการเลือกซื้อเลือกใช้ “รางปลั๊กไฟ” ที่ได้คุณภาพมาตรฐานจึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนไม่ควรมองข้าม ปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐานนั้นย่อมหมายถึงความปลอดภัยที่เราจะได้รับจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อันตรายที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้าช็อต กระแสไฟฟ้ารั่ว อันตรายเหล่านี้สร้างความเสียหายได้ต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน   เกณฑ์ในการทดสอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. เป็นตัวช่วยรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า แต่รางปลั๊กไฟยังไม่มีมาตรฐานรับรอง แต่ก็มีมาตรฐานที่ใช้เทียบเคียงกันได้อย่าง มอก. 2162 – 2547 และ มอก. 166 – 2547 มาตรฐาน “เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน” ซึ่งการทดสอบครั้งได้เลือกข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยใน มอก. 2162 – 2547 เป็นเกณฑ์ในการทดสอบ   ประเด็นที่ในการทดสอบ เน้นที่เรื่องของการใช้งานและความปลอดภัย 1.ความต้านทานของฉนวนและความทนแรงดันไฟฟ้า – เป็นการทดสอบคุณสมบัติของฉนวนว่ามีความสามารถในการป้องกันการเกิดไฟดูดได้หรือไม่ โดยจะมีการวัดความต้านทานของฉนวนตรงบริเวณเต้ารับว่าทำหน้าที่ฉนวนได้ดีหรือไม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เกี่บวข้องกับความปลอดภัยโดยตรง หากฉนวนไม่มีความทนทานและไม่สามารถทนต่อแรงดันไฟฟ้าได้ อาจส่งผลให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วและไฟช็อตได้ 2.อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น – การใช้งานรางปลั๊กไฟเมื่อใช้เป็นเวลานานความร้อนย่อมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งความร้อนที่สะสมมากขึ้นนั้นอาจนำไปสู่การติดไฟหรือไฟฟ้าลัดวงจร การทดสอบจะดูทั้งเต้ารับ ขั้วต่อ ส่วนภายนอกของวัสดุฉนวน โดยอุณหภูมิจากการใช้งานกระแสไฟฟ้าต้องไม่สูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3.แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ – การใช้งานรางปลั๊กไฟ การเสียบเข้าและถอดออกของเต้าเสียบกับเต้ารับ ถือเป็นจังหวะที่เรามีความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าจากรางปลั๊กไฟมากที่สุด เพราะฉะนั้นการออกแบบรางปลั๊กไฟจะต้องทำให้เต้าเสียบเข้าและดึงออกง่าย และต้องมีการป้องกันเต้าเสียบหลุดออกจากเต้ารับในการใช้งาน เต้ารับที่หลวมเกินไปจนหน้าสัมผัสของปลั๊กไม่สมบูรณ์อาจเป็นสาเหตุของการเกิดไฟฟ้าช็อตได้ แต่หากเต้ารับแน่นเกินไปจนทำให้ปลั๊กถอดออกยาก อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อฉนวนของปลั๊กได้ด้วยเช่นกัน 4.ความทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ ไฟ และการเกิดรอย – ส่วนที่ทำด้วยวัสดุฉนวนที่อาจได้รับความร้อนจากกระแสไฟฟ้า เมื่อเสื่อมสภาพแล้วอาจทำให้ความปลอดภัยของรางปลั๊กไฟเสื่อมสภาพลง วัสดุฉนวนที่ดีต้องไม่ลุกติดไฟ หรือถ้าติดไฟก็ต้องดับภายในเวลา 30 วินาที เพื่อป้องกันความเสียหายทั้งต่อตัวรางปลั๊ก และป้องกันการลุกลามไปติดสิ่งของอื่นในบริเวณใกล้เคียง                          

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 82 เสียบไม่เสียว

ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอเรื่องทดสอบผลิตภัณฑ์ใกล้ๆ บ้านกันบ้าง เราเชื่อว่าคงไม่มีบ้านไหนไม่ได้ใช้รางปลั๊กต่อพ่วงสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เราได้รับความร่วมมือจากสถาบันไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ ที่ทำการทดสอบรางปลั๊กไฟทั้งหมด 18 ราง ที่เราสุ่มซื้อจากห้างต่อไปนี้:   โฮมโปร โฮมเวอร์ค คาร์ฟู บิกซี และโลตัส รางปลั๊กที่นำมาทดสอบ มีตั้งแต่ราคา 660 บาท (แบบ 6 ฐาน) จนถึง 59 บาท (แบบ 3 ฐาน) โดยฉลาดซื้อเลือกทดสอบโดยเน้นเรื่องของความปลอดภัย ใน 4 ประเด็นต่อไปนี้1.    ความต้านทานของฉนวนและแรงดันไฟฟ้า*  2.    อุนหภูมิที่เพิ่มขึ้น* 3.    แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ* 4.    ความทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ*5.    ความยาวของสายไฟ*   ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 1.    เราทดสอบเพื่อดูคุณสมบัติของฉนวน  ว่าสามารถป้องกันการเข้าถึงส่วนที่มีไฟฟ้าหรือไม่ พูดง่ายๆ คือสามารถป้องกันโอกาสการเกิดไฟดูดได้หรือไม่นั่นเอง ความต้านทานฉนวนและแรงดันไฟฟ้าคือ ค่าคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการทำเต้ารับ ว่าสามารถเป็นฉนวนที่ดีอย่างไร และทนต่อแรงดันไฟฟ้าเกินได้มากน้อยแค่ไหน เป็นตัวชี้วัดคุณสมบัติสภาพของฉนวนที่ใช้2.    เป็นการตรวจสอบว่า เมื่อเราใช้งานมีความร้อนสะสมเกิดขึ้นจนถึงขั้นสามารถนำไปสู่การติดไฟหรือไม่  เมื่อหน้าสัมผัสของตัวรางปลั๊กไม่มีแรงสปริงกดขาของตัวเสียบมากพอ ทำให้เกิดเป็นความต้านทานหน้าสัมผัสที่สูง เมื่อมีกระแสไหลผ่านจะทำให้เกิดความร้อนขึ้น ทำให้ตัวรางปลั๊กร้อน และฉนวนในบริเวณโดยรอบจะเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด และอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการลัดวงจรได้ในที่สุด3.    ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมแล้ว เต้ารับไฟฟ้า จะต้องผลิตให้เสียบเข้าและดึงออกได้ง่าย ไม่หลวมเกินไปจนหน้าสัมผัสของปลั๊กไม่สมบูรณ์และนำไปสู่การอาร์ค (หรือที่เราเรียกกันว่าสปาร์ค)  และไม่แน่นเกินไปจนทำให้ถอดปลั๊กออกยาก และเกิดความเสียหายต่อฉนวนของตัวปลั๊กได้ และถ้าหากขั้วโลหะของเต้ารับหลุดออกมา ก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้เช่นกัน  การที่ค่าแรงดึงมากสุดไม่ผ่าน แสดงว่าสปริงของเต้ารับ กดตัวขาของเต้าเสียบมากเกินความจำเป็น และกรณีค่าแรงดึงน้อยสุดไม่ผ่าน น่าจะมีผลต่อค่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นด้วยเพราะแรงกดน้อยเกินไป4.    วัสดุฉนวนที่ดีต้องไม่ลุกติดไฟ หรือถ้าติดก็ต้องดับภายในเวลา 30 วินาที เพื่อป้องกันความเสียหายทั้งต่อตัวรางปลั๊กเอง และป้องกันการลุกลามไปติดสิ่งของอื่นในบริเวณใกล้เคียง5.    ข้อนี้ทดสอบตามหลักการของฉลาดซื้อ ว่าเป็นไปตามที่เขียนไว้ที่ฉลากหรือไม่ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ผลการทดสอบโดยย่อ•    ทุกรุ่นที่ทดสอบ ผ่านเกณฑ์ด้านความต้านทานของฉนวนและแรงดันไฟฟ้า•    มีเต้ารับ 3 รุ่น (จากทั้งหมด 18 รุ่นที่ส่งไปทดสอบ) ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทดสอบถึง 3 ด้าน•    มีเพียง 1 ใน 3 ของรางปลั๊กที่เราสุ่มทดสอบเท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ด้านแรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ•    และมีเพียง 5 รุ่นเท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ด้านความคงทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ •    เราพบว่าไม่มีรุ่นไหนที่มีความยาวของสายไฟเท่ากับที่ได้แจ้งไว้บนฉลาก โดยส่วนที่หายไปนั้นมีตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 6.2 เซ็นติเมตร •    จากตัวอย่างที่เราส่งทดสอบ เราพบว่าราคาไม่ใช่ตัวชี้วัดเรื่องความปลอดภัยเสมอไปประเด็นอื่นๆ•    สวิตช์ปิดเปิดบนรางปลั๊ก ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ มีประโยชน์ในการช่วยให้เราไม่ต้องถอดหรือเสียบปลั๊กบ่อยครั้ง (ซึ่งเพิ่มโอกาสในการอาร์ค) แต่ขณะเดียวกันสวิตช์ที่ออกแบบมาไม่เหมาะสมกับกระแสไฟที่ไหลผ่าน ก็จะเป็นจุดอ่อน ที่เกิดความร้อนสะสม และอาจนำไปสู่การติดไฟได้  ดีที่สุด เมื่อเลิกใช้งานให้ถอด ปลั๊กพ่วงออกจากเต้ารับที่ผนังบ้าน •    ควรเลือกรางปลั๊กไฟที่สปริงเป็นทองเหลืองเพราะมันสามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่าเหล็กหรือสังกะสี  การนำไฟฟ้าที่ไม่ดีทำให้เกิดความร้อนสะสม ซึ่งอาจนำไปสู่การขยายตัวของวัสดุ ทำให้ไม่สามารถเสียบปลั๊กได้แน่นอีกต่อไป หรืออาจนำไปสู่การลุกไหม้ในที่สุด•    วัสดุฉนวนที่ใช้ทำเต้ารับที่ดี ควรทำจากพลาสติกชนิดที่เรียกกันว่า ABS (ซึ่งมีราคาแพงกว่าพลาสติกพีวีซี) -------------------------------------------------------------------------------------------------------- ฉลาดซื้อขอขอบคุณ คำแนะนำจาก อาจารย์ ดร. วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณธีระ ริมปิรังษี จากสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  -------------------------------------------------------------------------------------------------------- >>> รุ่นเดียวที่ผ่านเกณฑ์ทุกด้านZircon DPN-41062 ราคา 370 บาทจำนวนเต้ารับ 6 เต้า>>> 3 รุ่น ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทดสอบด้านอุนหภูมิที่เพิ่มขึ้น แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ และความคงทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติPaCo MYW-6 TMราคา 115 บาทจำนวนเต้ารับ 6 เต้าข้อความบนฉลาก: -PaCo MTW 823ราคา 179 บาทจำนวนเต้ารับ 8 เต้าข้อความบนฉลาก: “เต้าเสียบไฟนี้ใช้ทองเหลืองแท้”GGG UN 6ราคา 99 บาทจำนวนเต้ารับ 6 เต้าข้อความบนฉลาก: “ปลอดภัย สายไฟหุ้มฉนวน 2 ชั้นแข็งแร็งทนทาน รองรับขาปลั๊กไฟได้ทั่วโลก ขาปลั๊กเสียบแน่น (ไม่หลวม)”ตารางรวม ยี่ห้อ/ รุ่น จำนวนเต้ารับ ราคา ความต้านทางของฉนวนและแรงดันไฟฟ้า อุนหภูมิที่เพิ่มขึ้น แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ ความทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ ไฟ และการเกิดรอย ความยาวที่หายไป  (เซ็นติเมตร) Zircon DPN-41062 6 370 ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน 1.6 TAC PT 24 6 159 ผ่าน ผ่าน ผ่าน X 1.5 CSC Power 705-3M 6 130 ผ่าน ผ่าน ผ่าน X 1.15 คุ้มค่า 6 69 ผ่าน ผ่าน ผ่าน X ไม่ได้ระบุความยาว แต่วัดได้ 2.87 เมตร Won Pro WES4-105 6 660 ผ่าน ผ่าน X ผ่าน ไม่ได้ระบุความยาว แต่วัดได้ 1.89 เมตร Carrefour 960A 6 239 ผ่าน ผ่าน X ผ่าน 1.4 Perfect Technology 554A 3 142 ผ่าน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 100 รางปลั๊กไฟสำหรับคอมพิวเตอร์

ได้เวลาทดสอบรางปลั๊กไฟกันอีกครั้ง คราวนี้เอาใจคนใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก เราเลือกรางปลั๊กไฟที่รองรับเต้าเสียบได้อย่างน้อย 4 ตัว (สมมุติว่าเสียบปลั๊ก ซีพียู จอ ลำโพง เราท์เตอร์ เหลือสำรองไว้อีกหนึ่ง)คราวนี้เราเปลี่ยนกลุ่มสินค้าทดสอบ จากรางปลั๊กราคาย่อมเยาทั่วๆไปที่เราพบในห้างค้าปลีก มาเป็นรางปลั๊กไฟสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยเราเน้นสินค้าที่มีขายอยู่ในแหล่งจำหน่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบเป็นหลักอย่างที่พันธุ์ทิพย์พลาซ่า แต่ก็มีบ้างที่ซื้อจากจากแผนกไฟฟ้าในห้างค้าปลีกหรือห้างสรรพสินค้าด้วยเช่นกัน   รางปลั๊กไฟที่เราซื้อมาทดสอบในครั้งนี้มีราคาตั้งแต่ 115 บาท ถึง 985 บาท วิธีการทดสอบยังคงเป็นเหมือนครั้งที่แล้วนั่นคือ การทดสอบรางปลั๊กไฟว่าผ่านหรือไม่ใน 5 ประเด็นต่อไปนี้ 1. ความต้านทานของฉนวนและแรงดันไฟฟ้า เพื่อดูว่าวัสดุที่ใช้ทำฉนวนสามารถป้องกันการเข้าถึงส่วนที่มีไฟฟ้า (หรือการเกิดไฟดูด) ได้หรือไม่2. อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น เพื่อดูว่าจะเกิดความร้อนสะสมในขณะที่เราใช้งานจนถึงขั้นทำให้เกิดติดไฟหรือไม่ 3. แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมนั้นเต้ารับไฟฟ้า จะต้องผลิตให้เสียบเข้าและดึงออกได้ง่าย ไม่หลวมหรือแน่นจนเกินไป4. ความทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ วัสดุที่ดีจะต้องไม่ลุกติดไฟ หรือถ้าติดก็ต้องดับภายในเวลา 30 วินาที5. ความยาวของสายไฟ เป็นไปตามที่แจ้งบนฉลากหรือไม่ จากการทดสอบเราพบว่ามีรางปลั๊กไฟ 3 รุ่น จากทั้งหมด 22 รุ่นที่เราทำการทดสอบ ที่ผ่านมาตรฐานเรื่องความปลอดภัย 4 ข้อแรก ได้แก่ Paco PC-S11 (ราคา 115 บาท), Haco EP-SFE3U (ราคา 495 บาท), และWonpro WES 4.5S (ราคา 985 บาท) แต่ทั้งสามรุ่นนี้ก็ยังให้ความยาวของสายไฟน้อยกว่าที่ระบุในฉลาก เราพบว่ามีรางปลั๊กไฟเพียงรุ่นเดียวที่ให้สายไฟเกินมาจากที่ระบุไว้ นั่นคือ Electon TE 9143 ความรับผิดชอบของผู้ผลิตต่อผู้บริโภค ว่าด้วยข้อมูลบนฉลาก ข้อสังเกตอย่างหนี่งจากการซื้อสินค้ามาทดสอบในครั้งนี้คือ รางปลั๊กไฟที่ขายกับกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนใช้คอมพิวเตอร์นั้น มักจะมีฉลากที่ดูไม่ธรรมดา มีข้อความทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มาอธิบายสรรพคุณของสินค้ากันมากมาย ซึ่งก็นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่จะได้เรียนรู้ไปด้วย แต่กระนั้นก็ตามเราพบว่าฉลากของรางปลั๊กไฟหลายรุ่นไม่ได้ให้ข้อมูลที่ควรจะให้ ในขณะที่บางรุ่นก็ให้ข้อมูลที่อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ ในประเด็นนี้ อ.ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้ ข้อมูลที่ควรแจ้งแก่ผู้บริโภค- “ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 2000 วัตต์”- “ใช้ได้ภายในบ้าน และไม่ควรวางไว้ในบริเวณที่อาจเปียกน้ำได้”- “ควรวางไว้ในที่ปลอดภัย ให้ห่างจากมือเด็กเล็ก”- (กรณีของรางปลั๊กที่มีตัวป้องกันไฟกระชาก) “อุปกรณ์นี้มีตัวป้องกันแรงดันเกินที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า และอาจไม่สามารถป้องกันอุปกรณ์หากเกิดฟ้าผ่าลงที่ตัวบ้าน สายโทรศัพท์ หรือเสาอากาศได้”- (กรณีรางปลั๊กสำหรับเต้าเสียบสามขา) “ต้องมีการเชื่อมต่อสายดินที่เต้ารับของบ้านอย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยจากไฟดูด” ข้อมูลที่ไม่ควรแจ้งแก่ผู้บริโภค - ถ้ารางปลั๊กดังกล่าวไม่มีตัวป้องกันไฟกระชาก ไม่ควรระบุว่า “เหมาะสมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์” เพราะอุปกรณ์ดังกล่าวอาจเสียหายได้เมื่อได้รับแรงดันเกิน- ไม่ควรระบุว่า “ป้องกันไฟฟ้ารั่ว” เพราะไฟฟ้ารั่วนั้นโดยทั่วไปนั้นเกิดจากตัวอุปกรณ์ไฟฟ้า (ไม่ได้เกิดจากรางปลั๊กไฟ) จึงอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ เรามาดูตัวอย่างของคำเตือนบนฉลากของรางปลั๊กไฟรุ่น Toshino DD-4MSWUSB3M ซึ่งเป็นรุ่นเดียวที่มีการให้ข้อมูลบนฉลากที่ดี (แต่น่าเสียดายที่คำเตือนเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษ มีเพียงสองบรรทัดแรกที่เป็นภาษาไทย) - ไม่ควรใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟเกิน 2000 W - ควรเก็บให้ห่างความชื้น- ควรใช้กับเต้ารับที่ได้มาตรฐาน (โหลดสูงสุด 240 โวลท์ และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ 10A) และควรมีการติดตั้งสายดินเพื่อความปลอดภัย- รางปลั๊กไฟนี้ไม่สามารถป้องกันอุปกรณ์ของท่านได้ หากเกิดฟ้าผ่าลงที่ตัวบ้าน สายโทรศัพท์ หรือเสาอากาศ- อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินไม่สามารถป้องกันแรงดันเกินที่อาจเกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า เช่น การลัดวงจรลงดิน- สำหรับใช้ภายในบ้านและในบริเวณที่แห้งเท่านั้น- ในกรณีที่มีปัญหา ควรปรึกษาช่างไฟผู้มีประสบการณ์ ดาวโหลด ตารางการทดสอบค่ะ 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point