ฉบับที่ 188 เพื่อนบ้านเป็นเหตุวิธีสังเกตเครื่องสำอางที่ปลอดภัย

การเลือกเครื่องสำอางให้ปลอดภัยจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากเราตรวจสอบรายละเอียดสำคัญต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ก่อนใช้งาน ซึ่งจะมีวิธีตรวจสอบเบื้องต้นอย่างไรลองมาดูกันเลย1. ตรวจสอบฉลากกันก่อนฉลากเครื่องสำอาง ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกชนิดจำเป็นต้องมี ซึ่งตามพระราชพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 กำหนดให้ระบุรายละเอียด ดังนี้ 1. ชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้า2. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต กรณีที่ผลิตในประเทศ ส่วนในกรณีที่นำเข้าให้ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้า และชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิต 3. ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนำ คำเตือน เดือนปีที่ผลิตและที่หมดอายุ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต และชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต 4. ข้อความอื่นเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกขาสำหรับกรณีภาชนะบรรจุเครื่องสำอางมีขนาดเล็ก คือ มีพื้นที่แสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร อย่างน้อยต้องแสดงข้อความ ดังนี้ 1. ชื่อเครื่องสำอาง 2. เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต 3. เดือน ปี ที่ผลิต/ปี เดือนที่ผลิต 4. เลขที่ใบรับแจ้ง ส่วนข้อความอื่นๆ ให้แสดงในใบแทรกหรือเอกสารคู่มือที่ใช้ประกอบเครื่องสำอาง2. ตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้งปัจจุบันเครื่องสำอางทุกชนิดต้องมีเลขที่จดแจ้งเป็นตัวเลขจำนวน 10 หลัก เช่น 10-2-5624168 โดย 2 หลักแรก บ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดที่จังหวัดใด ถัดมาหลักที่ 3 บ่งบอกว่าเป็นสินค้าที่ผลิต (1) หรือนำเข้า (2) หรือผลิตเฉพาะเพื่อการส่งออก (3) และหลักที่ 4 – 5 บ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดในปี พ.ศ. ใด ซึ่งจะมีอายุ 3 ปีนับแต่วันที่ออกใบรับจดแจ้ง ส่วนหลักที่ 6 -10 จะเป็นลำดับของการออกใบรับแจ้งในปี พ.ศ. นั้น ซึ่งเลขที่จดแจ้งจะแตกต่างจากเลข อย. 13 หลักที่ไว้กำกับควบคุมความปลอดภัยด้านอาหารหากผลิตภัณฑ์ใดผ่านการตรวจสอบจาก อย.แล้วว่าไม่มีสารห้ามใช้ (หรือหากมีสารที่ควบคุมปริมาณการใช้ก็จะต้องมีปริมาณไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด) จะได้รับเลขที่รับแจ้งและต้องแสดงเลขดังกล่าวไว้บนฉลากเครื่องสำอาง เพื่อบ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้แจ้งรายละเอียดต่อรัฐตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว และเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้สืบค้นข้อมูลได้ผ่านทางเว็บไซต์ของ อย. (http://fdaolap.fda.moph.go.th/logistics/cosmetic/CSerch.asp?id=cos ) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการระบุชื่อผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายตรงกับในฉลากหรือไม่ โดยหากเราพบว่าไม่ตรงกันก็สามารถแจ้ง อย. เพื่อให้ตรวจสอบได้อย่างไรก็ตามการที่ผลิตภัณฑ์มีเลขที่จดแจ้ง ไม่ได้หมายความว่าเราใช้แล้วจะไม่มีอาการแพ้ เนื่องจากการจดแจ้งเป็นเพียงการแจ้งส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่อาการแพ้เป็นปฏิกิริยาเฉพาะบุคคล ซึ่งต่อให้ไม่มีสารต้องห้ามอยู่ในส่วนประกอบ แต่เราสามารถเกิดอาการแพ้ได้จากสารประกอบอื่นๆ เช่น น้ำหอม แอลกอออล์หรือสารกันเสีย จึงควรทดสอบอาการแพ้เบื้องต้นก่อนใช้งานเสมอ3. สังเกตวิธีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ใดที่มีการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ทำให้เข้าใจว่า มีจุดมุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใดๆ ต่อร่างกายมนุษย์ หรือสำหรับใช้ในการบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค ถือว่าเป็นข้อความโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เนื่องจากทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญอันเกี่ยวกับเครื่องสำอาง เช่น “ยกกระชับ หน้าแลเรียวเล็ก ปลอดภัย 100% นวัตกรรมใหม่ ปรับหน้าเรียวง่ายๆ เมื่อใช้ต่อเนื่อง 7-14 วัน” โดยตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คำว่าปลอดภัย 100% ถือเป็นข้อความที่พิจารณาได้ว่าโอ้อวดเกินจริง ยากแก่การพิสูจน์4. สังเกตร้านค้าร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน เป็นทางเลือกที่ดีในการซื้อเครื่องสำอาง เพราะหากเกิดปัญหา เราสามารถติดต่อผู้รับผิดชอบได้ นอกจากนี้เราก็ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในภาชนะบรรจุหีบห่อสภาพดี และมีการเก็บรักษาอย่างดี ไม่อยู่ในที่ร้อนชื้นหรือโดนแสงแดด

อ่านเพิ่มเติม >