ฉบับที่ 160 10 คำถามกับนโยบายปฏิรูปพลังงานในเยอรมนี

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการแหล่งพลังงานจากฟอสซิลอย่างน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติมีข้อด้อยอยู่สองประการหลักๆ คือ เป็นพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัด และการเผาไหม้ยังปล่อยก๊าซที่เป็นพิษต่อสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดผลเสียและค่าเสียหายอย่างมหาศาลอีกด้วย ยูเรเนียมเองก็มีอยู่อย่างจำกัดเช่นกัน ดังนั้นการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจึงไม่เพียงแต่สมเหตุสมผลแต่เป็นประโยชน์อย่างมากในแง่เศรษฐกิจโดยรวม ลม น้ำ แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ และชีวมวล เป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่อย่างไม่สิ้นสุด นอกจากนี้การใช้พลังงานจากแหล่งเหล่านี้ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีความแน่นอนและมั่นคงทางพลังงาน ต่างจากแหล่งพลังงานอย่าง น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และยูเรเนียม การใช้พลังงานหมุนเวียนช่วยลดการนำเข้าพลังงานจากนอกประเทศ เพิ่มความมั่นคงในการจ่ายกระแสไฟฟ้า และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการให้บริการไฟฟ้าอย่างยั่งยืน ทำให้เกิดนวัตกรรมที่เข้มแข็ง และยังช่วยสร้างงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ อีกด้วย 10 คำถาม คำตอบ ต่อนโยบายปฏิรูปพลังงานในเยอรมนีจะช่วยทำให้เราเห็นภาพและทิศทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานของเยอรมนี ที่จะสร้างความมั่นคงและยั่งยืนสำหรับนโยบายพลังงานของประเทศ  1. เยอรมนีเชื่อมั่นต่อนโยบายปฏิรูปพลังงาน (Energiewende) คำถามคือ อะไรคือการปฏิรูปพลังงาน ? การปฏิรูปพลังงาน หมายถึงการปฏิรูประบบสำรองพลังงานที่ ก้าวข้ามการใช้พลังงานจากน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานนิวเคลียร์ แต่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มสำรองพลังงานหมุนเวียนแทน ภายในปี 2050 เยอรมนีจะผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 80 % และใช้พลังงานจากพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 60 % ของพลังงานทั้งระบบ เป้าหมายสำคัญคือ จะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 20222. เทคโนโลยีประเภทใดที่เป็นหัวใจสำคัญสำหรับ นโยบายการปฏิรูปพลังงาน ? พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญสำหรับเยอรมนี ภายใต้การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 20 ปี ส่งผลให้ราคาไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ มีราคา 6- 9 ยูโรเซนต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (2.6 – 3.8 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง) ซึ่งจะมีราคาเทียบเคียงกับการผลิตไฟฟ้าจากก้าซและถ่านหิน และถูกกว่าไฟฟ้าที่ผลิตจากนิวเคลียร์3. ในฐานะประเทศอุตสาหกรรม เยอรมนีสามารถให้ความเชื่อมั่นกับพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ได้หรือไม่ และจะเกิดปัญการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าได้หรือไม่ ? “เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดไฟฟ้าดับ น้อยที่สุดในยุโรป และคาดว่าจะคงรักษาอันดับนี้ต่อไป” การใช้พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียน จะมีเทคโนโลยีระบบสำรองพลังงาน(Backup Technology) ซึ่งสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในสถานการณ์ที่พลังงานจากลมและพลังงานแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ โดยในระยะแรกจะยังคงใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ในระยะยาวพลังานหมุนเวียนอื่นๆ เช่น พลังงานจากน้ำ ไบโอแมส และพลังงานความร้อนใต้พื้นพิภพ จะเป็นพลังงานสำรองเพิ่มขึ้น4. พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้นำมาใช้ ในพื้นที่ที่ผลิต มีเทคโนโลยีใดที่จะมาแก้ปัญหานี้ได้ ? โครงข่ายที่จ่ายกระแสไฟฟ้าที่มีอยู่ในตอนนี้มีความทนทานและสามารถส่งกระแสไฟฟ้าเพิ่มได้อีก            มาก ในระยะต่อไป จะมีการสร้างโครงข่ายสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลมบริเวณ            ชายฝั่งทะเลทางตอนเหนือของประเทศ ไปยังบริเวณที่มีกระแสลมไม่แรง หรือจะมีการสร้าง  โครงข่ายกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ที่มีการใช้พลังงานอย่างเข้มข้น5. เยอรมนีจะเป็นตัวอย่าง ที่แสดงถึงความสำคัญของนโยบายปฏิรูปพลังงาน ต่อประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างไร ? การใช้พลังงานหมุนเวียนจะเป็นคำตอบของความท้าทายการขาดแคลนพลังงานในอนาคต เนื่องจากพลังงานฟอสซิล ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจะลดน้อยลง และเป็นสาเหตุของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง การใช้พลังงานหมุนเวียนจะเป็นคำตอบของการแก้ปัญหาทั้งสองเรื่อง ในประเด็นนี้เยอรมนีจะเป็นมิตรต่อประเทศเพื่อนบ้านที่ให้คำปรึกษาในเรื่องการสร้างระบบโครงข่ายกระแสไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการผลิตไฟฟ้าจากลมและแสงอาทิตย์6. มีแรงจูงใจอะไรสำหรับนโยบายปฏิรูปพลังงาน เพื่อให้เกิดการแข่งขันในตลาดพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของเรกูเลเตอร์ ? พระราชบัญญัติพลังงานหมุนเวียน(Das Erneubare- Energie Gesetz: EEG) ในปี 2000 ได้ทำให้เกิดการแข่งขันของเทคโนโนโลยีการผลิตพลังงาน โดยเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เป็นฝ่ายได้รับประโยชน์จากกฏหมายฉบับนี้ โดยได้รับการสนับสนุนทั้งในเชิงเงินทุนสนับสนุนและ ในเชิงกฎหมาย7. ประเทศเยอรมนีจัดอยู่ในประเทศที่มีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และภายใต้การปฏิรูปพลังงานจะนำพาประเทศไปสู่ การสร้างนวัตกรรมได้หรือไม่? “นโยบายการปฏิรูปพลังงาน เป็น โครงการสำหรับอนาคตของประเทศเยอรมนี ในฐานะที่เป็นประเทศอุตสาหกรรม.พลังงานหมุนเวียนจะกลายเป็นสินค้าสำหรับตลาดทั่วโลก ถ้าราคาพลังงานหมุนเวียนใกล้เคียงกับราคาพลังงานจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ก็จะส่งผลให้ประเทศอื่นๆ สนใจพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะประเทศที่อุดมไปด้วยลมและแสงอาทิตย์ และประเทศเยอรมนีก็จะเป็นประเทศผู้นำการผลิตนวัตกรรมไม่เพียงเฉพาะทางด้านพลังงาน(Energy Technology) แต่จะขยายผลไปยังด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and communication technology) และเทคโนโลยีวัสดุ (Material Technology)8. นโยบายปฏิรูปพลังงานเป็นนโยบายที่ต้องใช้งบประมาณสูง(ระดับพันล้านยูโร) จะทำอย่างไรให้การปฏิรูปพลังงานมีต้นทุนไม่สูงสำหรับผู้บริโภคจนเกินไป และมีความคุ้มค่าในการลงทุน ? ประเทศเยอรมนี ต้องจ่ายเงินสำหรับการนำเข้าถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ ปีละกว่า 80,000 ล้านยูโร เงินที่ต้องจ่ายออกไปนอกประเทศแต่ละปีๆ นั้น ถ้าสะสมกันก็จะเป็นเงินจำนวนมหาศาล หากสามารถลดการนำเข้าพลังงานด้วยการผลิตพลังงานหมุนเวียน ก็จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหลักประกันในเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุน ถึงแม้นว่าในระยะแรกเริ่มซึ่งเป็นระยะการลงทุน ผู้บริโภคจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น แต่ค่าพลังงานที่จ่ายสำหรับครัวเรือนคิดเป็นมูลค่าเพียง 3% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในครัวเรือน9. การลดการใช้ไฟฟ้าเป็นเป็นความยั่งยืนสูงสุด การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจะมีความหมายอย่างไรต่อ การปฏิรูปพลังงาน ? การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเสาหลักแท่งที่สองของการปฏิรูปพลังงาน รองจากการใช้พลังงานหมุนเวียน การประหยัดพลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธภาพ ทำให้ลดการสร้างโรงไฟฟ้าและโครงข่ายการจ่ายกระแสไฟฟ้าลง การใช้กระแสไฟฟ้าในเยอรมนีลดลงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2007 และเป้าหมายในการลดการใช้ไฟฟ้าลง 10 % ในปี 2020 ยังคงเป็นเป้าหมายที่ยังห่างไกลอยู่ อย่างไรก็ตาม ภาคการเมืองก็ต้องมีมาตรการออกมาสำหรับผลักดันให้เป้าหมายเป็นจริง10. การเลิกการใช้พลังงานนิวเคลียร์มีผลต่อการปฏิรูปพลังงานอย่างไร ? หลายๆ คนเข้าใจว่า การประกาศเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ของเยอรมนี เกิดจากปฏิกริยาของ เหตุการณ์ ฟูกูชิมา ที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2011 แต่แผนการเลิกการใช้นิวเคลียร์ได้เริ่มมาก่อนนั้นแล้ว การสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 1990 และออกมาเป็น พระราชบัญญัติพลังงานหมุนเวียน(EEG) ในปี 2000 โดยในปีนี้ รัฐบาลเยอรมนีได้ทำความตกลงกับผู้ประกอบการผลิตพลังงาน ว่าจะเลิกการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในปี 2020 มติของรัฐบาลนายกแองเจลา แมร์เคิล ในปี 2011 คือ ลดการใช้ ถ่านหิน น้ำมัน และ เลิกการใช้นิวเคลียร์ เพิ่มการใช้พลังงานจากลม แสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ ไบโอแมส และความร้อนจากใต้พื้นพิภพ หวังว่าการปฏิรูปพลังงานในไทย จะทำให้คนไทยสามารถมีพลังงานใช้อย่างยั่งยืน ในราคาที่เป็นธรรม และค่าใช้จ่ายสำหรับพลังงานในครัวเรือนจะลดลงสามารถอยู่ที่ระดับ 3 %  ของค่าใช้จ่ายในครัวเรือน แหล่งข้อมูล DE Magazin Deutschland ฉบับที่ 1/2014 //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point