ฉบับที่ 270 ไปกินสุกี้บุฟเฟต์แล้วเกิดอาการหน้าบวม

        วันนี้ฉลาดซื้อ มีเรื่องราวเกี่ยวกับการรับประทานอาหารบุฟเฟต์มาเล่าเป็นประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคหลายๆ คน ให้คอยระมัดระวังกัน โดยเรื่องราวมีอยู่ว่า คุณน้ำตาลได้มาเล่าให้ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคฟังว่า 12 สิงหาคม ที่ผ่านมา เธอไปกินบุฟเฟต์ร้านดังที่กำลังฮิตอยู่ในตอนนี้กับเพื่อนหลายคน ซึ่งเธอก็ได้สั่งอาหารมากินแบบจัดหนักจัดเต็ม (ก็บุฟเฟต์นี่นะ) แต่...เมื่อเธอเริ่มกินอย่างเอร็ดอร่อยได้สักพัก ดันมีอาการหน้าบวม ตาบวมจนปิดขึ้นมาซะงั้น ทำให้เธอต้องไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งในวันนั้นเธอได้สั่งแมงกะพรุนกับหมึกกรอบมารับประทาน (อาหารต้องสงสัย) เพราะว่าตัวเองนั้นชอบกินมาก แต่ในตัวเธอเองก็ได้ยืนยันว่าเธอไม่เคยมีประวัติแพ้มาก่อน         ต่อมา เมื่อเธอถึงโรงพยาบาลแพทย์ก็ได้ทำการรักษา เช่น ฉีดยาแก้แพ้และรักษาตามอาการอื่นๆ แต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น พร้อมทั้งแพทย์ยังตรวจพบว่าเธอมีหนองอยู่ในโพรงจมูก สืบเนื่องจากอาการแพ้อาหาร และเธอยังเคยเสริมจมูกมาทำให้ต้องผ่าตัดซิลิโคนออกเพื่อเอาหนองออกไป จนเมื่อเธอได้ออกจากโรงพยาบาลจึงได้ติดต่อมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อปรึกษาและขอคำแนะนำ  แนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้น          จากข้อมูลที่ทางผู้ร้องได้แจ้งมากับทางมูลนิธิฯ ได้ให้คำแนะนำ ดังนี้             1. ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ พร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเป็นเรื่องจริง ไม่ได้กลั่นแกล้งหรือใส่ความแต่ประการใด            2. ทำจดหมายเรียกร้องค่าเสียหายกับทางร้านเป็นแบบไปรษณีย์ตอบรับ โดยสำเนาถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยให้เงื่อนเวลากำกับสำหรับการชดเชยค่าเสียหายไว้ด้วย เช่น 15-30 วัน เป็นต้นไป             3.หากพ้นกำหนดตามเงื่อนเวลาดังกล่าว ทางมูลนิธิฯ อาจเรียกผู้ร้องและคู่กรณีมาทำการไกล่เกลี่ยอีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้ายังไม่สามารถตกลงในรายละเอียดได้  ผู้ร้องอาจจะต้องฟ้องศาลเป็นคดีผู้บริโภค เพื่อให้ศาลตัดสินว่าผู้ร้องควรจะได้ค่าชดเชยเป็นจำนวนเงินเท่าไร         ทั้งนี้ หลังจากที่ทางผู้ร้องรับทราบก็ได้มีการทำตามที่มูลนิธิฯ แนะนำ หลังจากนั้นมูลนิธิฯ ได้ติดต่อผู้ร้องไปอีกครั้งเพื่ออัปเดตเรื่องดังกล่าวที่ก่อนหน้านี้วันที่ 18 สิงหาคม มีการนัดไกล่เกลี่ยกับทางร้านซึ่งสรุปว่าทางร้านไม่มาตามที่นัดหมายไว้ อย่างไรก็ตามผู้ร้องได้ปรึกษาอีกว่าได้มีการร้องเรียนไปยังสำนักข่าวต่างๆ เพื่อขอให้ช่วยเหลือเพิ่มเติมอีกด้วย แต่หลังจากข่าวแพร่ออกไปกับมีความคิดเห็นต่อผู้ร้องในแง่ลบ จึงอยากปรึกษาว่าจะทำอย่างไรดี? ทางเราจึงได้แนะนำให้เข้าคอร์สเพื่อตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยัน ซึ่งทางผู้ร้องเองก็ได้ไปตรวจมาเรียบร้อย และกำลังรอผลอีก 1 สัปดาห์          ขณะปิดต้นฉบับเรื่องราวของคุณน้ำตาลยังไม่จบเพราะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่า เป็นเพราะสาเหตุอะไรกันแน่ คุณน้ำตาลจึงมีอาการดังกล่าว พร้อมทั้งยังไม่ได้ค่าชดเชยจากทางร้าน  แต่อย่างไรก็ตาม ทางมูลนิธิฯ ก็อยากให้ทุกคนระมัดระวังในการรับประทานให้มาก เพราะยิ่งเป็นอาหาร เช่น หมึกกรอบแมงกระพรุนก็อาจจะทำให้เสี่ยงที่จะมีส่วนผสมของฟอร์มาลินได้ สามารถอ่านผลทดสอบหมึกกรอบได้ที่ : https://www.chaladsue.com/article/4269/           ทางที่ดีสอบถามทางร้านให้แน่นอนก่อนรับประทานเพราะมันคือสิทธิของเราที่จะถามว่าอาหารที่เรารับประทานมีแหล่งที่มาจากที่ไหนปลอดภัยและสะอาดหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 143 บุฟเฟต์จากข้าว : เมี่ยงกรอบ

  ก่อนปีใหม่ 2 สัปดาห์ฉันเพิ่งเจอกับเพื่อนสาวชาวนาเช่าเจ้าเก่าที่เธอมีอีกอาชีพคือแม่ค้าขายผักในตลาดนัด  ทำให้ฉันได้มีโอกาส up date สถานการณ์ ด้านการผลิตของเธอไปพร้อมๆ กับการจับจ่ายของในตลาดไปด้วย “น้ำในทุ่งลดลงเร็วเหลือแค่เอวแล้ว  ว่าจะวิดน้ำออกแล้วปลูกข้าว ก็กลัวจะไม่มีน้ำอีก”  เธอว่าสั้นๆ พลางส่ายหน้า โดยปกติแล้ว ทุ่งนาที่เธอเช่าทำนานั้นมักได้เริ่มต้นปั่นนาและทำเทือกเพื่อเตรียมหว่านข้าวแบบนาน้ำตมในช่วงหลังปีใหม่ เป็นนาปรังเที่ยวแรก   แต่ความกังวลของเธอก็คือข่าวภาวะน้ำจะแล้ง  น้ำในเขื่อนจะมีไม่เพียงพอ และทำให้ทำนาไม่ได้ตามที่ต้องการ  หรือทำนาได้แค่ปีละเที่ยวเดียวเท่านั้นจากที่เคยทำนาปี ละ 2 หน เมื่อภาวะแล้งมาเยือน  ประสบการณ์เดิมๆ ของเพื่อนนชาวนายังตามหลอนและสร้างความกังวลจนเธอต้องคิดหาทางเลือกอื่นๆ เพื่อให้ยังคงทำนาได้ปีละ 2 หนตามที่ต้องการ   แต่การเร่งวิดน้ำออกจากนาเพื่อเตรียมหว่านไถ  แล้วใช้วิธีการวิดน้ำเข้าไปอีกอย่างน้อยอีกประมาณ  3 – 4 เที่ยว เป็นช่วงๆ ใน ทุกๆ  7 – 10 วัน  เพื่อหล่อเลี้ยงข้าวให้เติบโต   ที่ต้องเสียทั้งเวลาและค่าน้ำมันทำให้เธอเอาโดยคร่าวๆ แล้วก็ได้แต่ส่ายหน้าว่าไม่คุ้ม   ผิดกับที่ใครหลายคนที่ไม่เคยมาสัมผัส คลุกคลี อยู่กับปัญหาของเธอที่คาดการณ์เอาอย่างง่ายๆ ว่า ราคาข้าวที่ถูกยกระดับขึ้นมาถึงตันละ 15,000 บาท นั้น จะทำให้ชาวนาอย่างเธอตาโตและหาช่องโกยกำไรโดยปลูกข้าวระยะสั้นมาขายเข้าโครงการ!! สำหรับเธอ  แม้จะอยากปลูกข้าวขาย แต่ก็ต้องอาศัยช่องทางอื่นๆ ที่ยังพอเหลืออยู่ และมีเงื่อนไขที่เหมาะสมกับตัวเธอมากกว่า ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น  ”ความยืดหยุ่น”  ที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน  โดยการที่เธอผันตัวเองมาเป็นแม่ค้า  ระดมทุนจากที่ตัวเองมีและร่วมทุนกับเครือญาติเปิดร้านค้าเล็กๆ แล้วเร่ขายไปตามตลาดนัดต่างๆ  ในช่วงที่ว่างจากงานนาราว 4 เดือน   ซึ่งนี่เป็นเพียงแค่ 1 ตัวอย่างที่ทำให้ฉันคลายข้อสงสัยที่เคยมีว่า ทำไมชาวนาภาคกลางซึ่งเป็นกลุ่มชาวนารายย่อยที่ไร้ที่ทำกินมากที่สุด จึงมีการรวมตัวเพื่อต่อสู้เรื่องที่ดินทำกินตัวน้อยที่สุด  เพราะการต่อสู้ในเรื่องนี้ต้องอาศัยพลังการรวมตัว อำนาจการวิเคราะห์ และระยะเวลาอย่างยาวนานในการต่อรองต่างๆ กับรัฐและทุน   ชาวนาที่ไม่มีที่ดิน  มีต้นทุนสำคัญของตัวเองคือเวลา หรือชั่วโมงการทำงานเพื่อสร้างผลิตผล เพื่อให้ได้ค่าตอบแทน(ผลผลิต หรือรายได้จากการค้าขาย)   และในกรณีชาวนารับจ้างทำนา  สิ่งที่ได้รับจากการลงทุนลงแรงในงานคือ ค่าจ้าง(กรณีชาวนารับจ้างทำนา)   ซึ่งถูกคิดคำนวณออกมาเป็นขนาดพื้นที่ของการผลิต  เช่น ค่าฉีดยา - หว่านปุ๋ย ไร่ละ 50 บาท   เมื่อผลผลิตทางการเกษตรมีเพดานราคาขายออกจากไร่นาต่ำ ความหวังที่จะดิ้นรนเพื่อให้พวกเขาอยู่รอดจึงไม่ใช่แค่ลดต้นทุนการผลิต หรือกินอยู่ใช้จ่ายอย่างพอเพียง  อย่างที่แนวคิดของกระบวนการส่งเสริมอินทรีย์พร่ำบอกให้พวกเขาต้องปฏิบัติโดยที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงกลไกตลาด    แต่มันคือความหวังที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและลำบากให้น้อยลงโดยการไปให้พ้นจากการทำการเกษตรที่ตกอยู่ภายใต้กลไกการตลาดที่รุมทึ้งเอากับส่วนเกินของผลตอบแทนจากชาวนาและแรงงานภาคการเกษตรไปให้กับฝ่ายพ่อค้า/ตัวกลางอย่างที่เป็นมาในอดีต   อุดมการณ์ชาวนาอินทรีย์อันเรียวแคบ  ที่มุ่งเน้นไปที่กลุ่มชาวนาที่มีที่ดิน ทุน และเวลา มากพอที่จะใช้เทคนิคทางเลือกต่างๆ ซึ่งเพิ่มเวลาในการจัดการมากยิ่งขึ้น  และเข้มงวดกับการควบคุมคุณภาพผลผลิตและผลกระทบต่อระบบนิเวศน์   และขายผลผลิตในระบบตลาด(เดิม) ตามแนวทางการส่งเสริมที่เป็นมา   ในสายตาของชาวนาไร้ที่จึงเป็นการขูดรีดตัวเองมากขึ้น  และเฝ้ารอผลตอบแทนที่เลื่อนออกไป      และหากมองในแง่ของการแข่งขันเชิงเปรียบเทียบกับการทำนาปกติของพวกเขา   การทำนาอินทรีย์ที่ขายในตลาดปกติจึงเป็นการเพิ่มอำนาจการแข่งขันของฝ่ายที่มีทุนมากกว่า  มีอำนาจในการจัดการมากกว่า เข้ามาเบียดขับชาวนาไร้ที่ให้หลุดออกไปจากระบบการทำนาไวยิ่งขึ้น  จากเบียดบังเอาส่วนของผลกำไร(ค่าตอบแทน) ของชาวนา  ที่มีผลต่อการกดค่าแรงของลูกจ้างในนา  โดยราคาข้าวเพดานต่ำกว่าตันละ  10,000 บาท ซึ่งเป็นราคาสูงสุดที่ชาวนาเคยขายได้ในระบบประกันราคา   เมื่อเครือข่ายชาวนาอินทรีย์อีสานออกมาโวยว่าราคาข้าวที่แพงขึ้นจากโครงการจำนำข้าว ทำให้ชาวนาที่พวกเขาคาดว่าจะเพิ่มเข้ามาเป็นส่วนของขบวนการทำนาอินทรีย์หดหายไป  เพราะราคาข้าวอินทรีย์ยังขายได้ในราคาเดิม(ที่สูงกว่าข้าวทั่วไปเล็กน้อย)  จึงกลายเป็นเรื่องกึ่งชวนหัวให้ขื่นขันกันว่า   ที่ผ่านมานาอินทรีย์และข้าวอินทรีย์นั้นอยู่ได้ในตลาดที่ขูดรีดตัวเองและเพื่อนๆ ชาวนาด้วยกันนั่นเอง   เมี่ยงกรอบ บุฟเฟต์อันนี้เหมาะกับงานปาร์ตี้ปีใหม่  ดัดแปลงมากจากเมนูอาหารเวียดนาม คือแหนมเนือง และหมูห่อชะพลูอันโด่งดัง  โดยเอาแผ่นแป้งข้าวเจ้าที่ใช้สำหรับกินกับแหนมเนืองมาใช้ห่อไส้หมูบดปรุงรสที่คลุกเคล้ากันใบชะพลูซอย   เครื่องปรุง หมูบด (หรือกุ้งบด)  1 ขีด  ,  รากผักชี  3 ราก  , พริกไทยเม็ด 20 เม็ด ,  กระเทียม 10 กลีบ,  เกลือนิดหน่อย,   แผ่นแป้ง 6 แผ่น , ใบชะพลูดซอยละเอียด 20 ใบ, น้ำมันปาล์มสำหรับทอด   วิธีทำ 1.โขลกรากผักชีกับพริกไทยเม็ดและกระเทียมให้ละเอียด  นำไปคลุกกับเกลือและหมูบด จนเข้ากันดีจึงนำใบชะพลูมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน 2.เตรียมแผ่นแป้ง ผ่าแบ่งเป็นแผ่นครึ่งวงกลม แล้วใช้น้ำสะอาดลูบแผ่นแป้งให้ทั่วจนแผ่นแป้งนิ่มลงจึงหยิบเนื้อหมูบดที่ปรุงแล้วมาพันเป็นรูปกรวย   หรือจะใช้วิธีเกลี่ยหมูปรุงรสลงบนแผ่นแป้งทั้งแผ่นแล้วใช้อีกแผ่นประกบก็ได้ 3.ใส่น้ำมันลงกระทะ ตั้งไฟปานกลางจนร้อนดี จึงค่อยนำกรวยแป้งลงไปทอดจนเหลืองกรอบให้ทั่ว ตักขึ้น กินกับน้ำจิ้มทอดมัน  น้ำจิ้มไก่ หรือบ๊วยเจี่ย แนมกับแตงกวา ต้นหอม และใบชะพลู ตามชอบ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 109 แซ่บทั่วไทย ปลอดภัยแค่ไหน

อีสานบ้านเฮา• หมูกระทะ อิ่มเยอะอาจเรื่องแยะ ร้าน หมูกระทะกลายเป็นกระแสนิยมของคนชอบกินมาหลายปี คงเป็นเพราะคนไทยเราชอบอะไรที่เป็นบุฟเฟ่ต์ ประมาณว่าจ่ายไม่ถึงร้อยแต่อร่อยได้ไม่อั้น ซึ่งใครที่ชอบทานอาหารปิ้งๆ ย่างๆ อย่างหมูกระทะก็คงเคยได้ยินคำร่ำลือเรื่องความไม่สะอาดของเนื้อหมูในร้านหมู กระทะกันมาบ้างไม่มากก็น้อย งานนี้ “ฉลาดซื้อ” ได้เครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในจังหวัดขอนแก่น บุกร้านหมูกระทะภายในจังหวัดจำนวน 8 ร้าน โดยเก็บตัวอย่างในเดือนกันยายน และ เดือน พฤศจิกายน 2552 เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ 3 ประเภทคือ แบคทีเรียซัลโมเนลร่า (Salmonella spp.), แบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus), และ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วงหรืออาหารเป็นพิษผลการตรวจสอบ- มีการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ซัลโมเนลล่า จำนวน 4 ตัวอย่างในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 (เดือนกันยายน) คือจากร้าน เพ้งเนื้อย่าง, MT เนื้อกระทะชุมแพ, 2K เนื้อกะทะ, และในสวนเนื้อย่างเกาหลี อย่างไรก็ตาม ไม่พบการปนเปื้อนเลยจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 ซึ่งทำการเก็บตัวอย่างอีก 4 ตัวอย่าง (เดือนพฤศจิกายน) - พบการปนเปื้อนของแบคทีเรีย สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เกินมาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ไม่สูงกว่า 200 โคโลนี ต่อกรัม) จำนวน 2 ตัวอย่างจากการเก็บ ตัวอย่างครั้งที่ 1 ที่ ร้านเพ้งเนื้อย่าง (6,300 โคโลนีต่อกรัม) และในสวนเนื้อย่างเกาหลี (5,300 โคโลนีต่อกรัม) สำหรับการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐานทั้ง 4 ตัวอย่างที่ร้าน บ้านสวนเนื้อเกาหลี (1,000 โคโลนี ต่อกรัม) เก็ตเนื้อกระทะ (175,000 โคโลนี ต่อกรัม) โอเนื้อเกาหลี (250,000 โคโลนีต่อกรัม) และเปาหมูกระทะ (10,000 โคโลนีต่อกรัม) - พบการปนเปื้อนของ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) จากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 จำนวน 2 ตัวอย่าง ที่ร้านบ้านสวนเนื้อเกาหลี และ โอ เนื้อเกาหลี ข้อสังเกต มีตัวอย่างเนื้อหมูจากร้านค้าจำนวน 4 ร้านที่พบจุลินทรีย์ปนเปื้อน ถึง 2 ประเภทในตัวอย่างเดียว ได้แก่ ร้านเพ้งเนื้อย่าง (ซัลโมเนลล่ากลุ่ม OMC และเอส ออเรียส) ร้านในสวนเนื้อย่างเกาหลี (ซัลโมเนลล่ากลุ่ม E และเอส ออเรียส) ร้านบ้านสวนเนื้อเกาหลี (เอส ออเรียสและ ซี เพอร์พริงเจนส์) และ ร้านโอเนื้อเกาหลี (เอส ออเรียสและ ซี เพอร์พริงเจนส์) เนื้อหมูดิบ (ร้านหมูย่างเกาหลี) Salmonella spp. S. aureus C. perfringens วันที่เก็บตัวอย่าง (in 25 g) (cfu/g) (0.001g) เกณฑ์กรมวิทย์ฯ Not detected < 200 Not detected   เพ้งเนื้อย่าง Detected group OMC 6.3 X 103 ไม่พบ 15-09-52 MT เนื้อกระทะชุมแพ Detected group C < 10 ไม่พบ 15-09-52 2K เนื้อกระทะ Detected group C < 10 ไม่พบ 15-09-52 ในสวนเนื้อย่างเกาหลี Detected group E 5.3 X 103 ไม่พบ 15-09-52 บ้านสวนเนื้อเกาหลี ไม่พบ 1 X 103 Detected 17-11-52 เก็ตเนื้อกะทะ ไม่พบ 1.7 X 105 ไม่พบ 17-11-52 โอเนื้อเกาหลี ไม่พบ 2.5 X 105 Detected 17-11-52 เปาหมูกะทะ ไม่พบ 1 X 104 ไม่พบ 17-11-52 สรุป อย่าได้กินแบบสุกๆ ดิบๆ นะจ๊ะ ปิ้งย่างให้สุกมากๆ จะได้ปลอดภัย   • ไส้กรอกอีสาน ความอร่อยที่ต้องระวัง ไส้กรอกอีสานเป็นอาหารที่หาซื้อได้ง่าย รสชาติก็อร่อย แถมราคาก็ย่อมเยา ไส้กรอกอีสานส่วนใหญ่ทำมาจากเนื้อหมูผสมกับข้าวสุก หนังหมูหรือวุ้นเส้น กระเทียม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงเพื่อให้เกิดรสเปรี้ยว ก่อนนำไปกรอกใส่ลงในไส้หมูที่ล้างทำความสะอาดมาแล้วเรียบร้อย เสร็จแล้วนำไปแขวนตากลมไว้ให้ไส้หมูแห้ง เป็นอันเรียบร้อยกระบวนการนำมาย่างหรือทอดกินได้ สำหรับไส้กรอกอีสานที่ขายอยู่ทั่วไป มีทั้งแบบที่ผู้ขายผลิตเองและที่ผลิตจากโรงงานซึ่งพ่อค้าซื้อมาปิ้งขายอีกที ซึ่งงานนี้ได้จังหวัดมหาสารคามทำหน้าที่เก็บตัวอย่างไส้กรอกอีสานในพื้นที่จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่ ส.ขอนแก่น ตลาดบรบือ ตลาดวาปีปทุม และตลาดนาเชือก โดยตรวจวัตถุเจือปนอาหาร 2 ประเภทคือ ไนเตรท และไนไตรท์ นอกจากนี้ยังตรวจหาจุลินทรีย์ปนเปื้อนอีก 2 ชนิดคือ แบคทีเรียซัลโมเนลร่า (Salmonella spp.), และ แบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่างอาหารครั้งที่ 1 ในช่วงเดือนกันยายน 2552 ผลการทดสอบ-ไม่พบการผสมไนเตรทและไนไตรท์ในไส้กรอกอีสานทุกตัวอย่าง -ตรวจพบการปนเปื้อนของซัลโมเนลล่า (Salmonella spp.) จำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 4 ตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือที่ ตลาดวาปีปทุม และตลาดนาเชือก -ตรวจพบการปนเปื้อนของแบคทีเรีย สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เกินมาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 4 ตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือที่ ตลาดบรบือ (400,000 โคโลนีต่อกรัม) และตลาดนาเชือก (140,000 โคโลนีต่อกรัม) ข้อสังเกต มีตัวอย่างไส้กรอกอีสานจาก 1 พื้นที่ที่พบการปนเปื้อนทางจุลินทรีย์ถึงสองประเภท ในหนึ่งตัวอย่าง คือ ตัวอย่างที่เก็บจาก ตลาดนาเชือกพบการปนเปื้อนทั้งซัลโมเนลล่าและเอสออเรียส ไส้กรอกอีสาน (มหาสารคาม) ส.ขอนแก่น ตลาดบรบือ ตลาดวาปีปทุม ตลาดนาเชือก Standard Nitrate (mg/kg) Not detected Not detected Not detected Not detected   Nitrite (mg/kg) Not detected Not detected Not detected Not detected   Salmonella spp. (in 25 g) Not detected Not detected Detected group E Detected group E Not detected Staphylococcus aureus (cfu/g) < 10 4 X 105 < 10 1.4 X 105 < 200 สรุป มีเชื้อโรคปนเปื้อนพอสมควร อย่างไรก็ตามอันนี้ส่วนใหญ่เรารับประทานแบบสุก ดังนั้นก็ปลอดภัยพอรับได้   • น้ำปลาร้าบรรจุขวดสำหรับใส่ส้มตำ แซ่บมีเสี่ยง สำรวจอาหารถึงถิ่นอีสานทั้งที จะไม่สำรวจอาหารขึ้นชื่อของที่นี้อย่าง “ปลาร้า” เดี๋ยวจะหาว่าเข้าไม่ถึงอาหารท้องถิ่น “ฉลาดซื้อ” เราจึงเลือกสำรวจน้ำปลาร้า ที่นิยมใส่ในส้มตำปลาร้าเมนูโปรดรสแซ่บของใครหลายๆ คน งานนี้เป็นหน้าที่ของเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดมหาสารคาม จะพาไปทดสอบความสะอาดของน้ำปลาร้าสำหรับใส่ส้มตำเพื่อดูการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อโรค 2 ชนิด คือ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) กับ บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) และค่าจุลินทรีย์รวม (Total Plate Count) การเก็บตัวอย่าง เก็บเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2552 ทั้งสิ้นจำนวน 4 ตัวอย่าง จากร้านค้าส้มตำในตลาดสดจังหวัด มหาสารคาม ผลการทดสอบ- ไม่มีตัวอย่างใดมีค่าจุลินทรีย์รวมเกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ - ไม่มีตัวอย่างใดที่พบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ - ทุกตัวอย่างที่เก็บพบเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาหารเป็นพิษ (อาเจียน ท้องเสีย) เกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point