ฉบับที่ 250 กระแสต่างแดน

ทำบุญวิถีใหม่           ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ผู้คนจากประเทศพัฒนาแล้วจำนวนไม่น้อยนิยม “ทำบุญ” ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสด้วยการบริจาคแพะให้กับผู้คนในประเทศยากจน โดยหวังว่าพวกเขาจะได้ใช้ประโยชน์จากมันในการสร้างรายได้ให้ครอบครัวด้วยสนนราคาเพียงตัวละ 12.50 ปอนด์ (ประมาณ 600 บาท) ที่ผ่านมาจึงมีแพะจำนวนมากหลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่กันดาร แถมแพะยังให้ลูกได้ถึงปีละหกตัว เรียกว่าลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากแต่ล่าสุด เจน กูดดอลล์ นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังออกมาเปิดเผยว่า การเลี้ยงแพะนั้นต้องใช้น้ำมาก ทำให้พื้นที่ๆ แห้งแล้งอยู่แล้วเสี่ยงที่จะแล้งกว่าเดิม ยังไม่นับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ประกอบกับไม่มีสัตว์แพทย์ที่จะดูแลรักษาแพะที่ป่วย โอกาสที่พวกมันจะอยู่รอดจนโตเต็มวัยจึงมีน้อยเธอแนะนำว่า หากต้องการช่วยเหลือผู้คนเหล่านี้อย่างยั่งยืน ให้นำเงินไปสมทบทุนโครงการศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืช โครงการปรับปรุงคุณภาพดิน หรือโครงการทำระบบชลประทาน จะดีกว่า ผลกระทบมาไกล         งานสำรวจโดยสถาบันสิ่งแวดล้อมศึกษาแห่งญี่ปุ่น ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกียวโต และมหาวิทยาลัยคิวชู พบว่า การบริโภคโดยคนญี่ปุ่นส่งผลให้มีผู้คนในประเทศต้นทางที่ผลิตสินค้า เช่น จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย เสียชิวิตก่อนวัยอันควรถึง 42,000 คนต่อปีในจำนวนนี้มีทั้งผู้ใหญ่ที่อายุเฉลี่ย 70 ปี และยังมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบถึง 1,000 คนทีมวิจัยใช้วิธีคำนวณจากข้อมูลประชากร ข้อมูลการปล่อย PM 2.5 จากโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงงานที่ผลิตสินค้า และจำนวนผู้เสียชีวิตจากห้าโรคร้ายที่มีความเกี่ยวข้องกับมลภาวะดังกล่าว เช่น โรคหลอดเลือดสมอง และโรคติดเชื้อบางชนิดนักวิจัยเสนอให้ผู้ประกอบการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษที่ตนเองสร้างขึ้น ทั้งในประเทศตัวเองและที่อื่นๆ ตลอดช่วงอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ รวมถึงแผนการบริหารจัดการมลพิษดังกล่าว เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกสนับสนุนผู้ผลิตที่รับผิดชอบต่อสังคมได้ การขายเชิงรุก           วิธีการขายแบบ “ตีหัวเข้าร้าน” ดูจะไม่จำกัดอยู่ในแวดวงฟิตเนสหรือศัลยกรรมความงามเท่านั้นล่าสุดองค์กรผู้บริโภคฮ่องกงเปิดเผยว่ามีเรื่องร้องเรียนจากผู้ที่ “ได้รับบริการทางการแพทย์โดยไม่จำเป็น” เพราะถูกชักชวนแกมกดดันถึง 71 เรื่อง ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้เทคนิคการขายแบบนี้เริ่มจากการสร้างความวิตกด้วยการบอกความรุนแรงของอาการเกินจริง จากนั้นก็เสนอบริการที่ “ค่อนข้างแพง” แต่ “จำเป็น” ว่าแล้วก็กดดันให้ลูกค้ารู้สึกว่าต้องซื้อบริการผู้ร้องรายหนึ่งซึ่งเป็นชายวัย 30 กว่า เสียเงินไป 150,000 เหรียญ (ประมาณ 650,000 บาท) เริ่มจากการเดินเข้าไปถามราคาบริการตรวจสุขภาพ เขาถูก “ต้อน” อยู่ 2 ชั่วโมง ในที่สุดก็เสียค่าถอนฟันไป 10,000 เหรียญ ตามด้วยค่าบริการนวดจัดกระดูกอีก 29,080 เหรียญ และอื่นๆ อีก เช่น ค่าตรวจลำไส้ ค่าอาหารเสริม เป็นต้นข่าวระบุว่าเขาได้เงินคืนเต็มจำนวน แต่ยังไม่ได้บอกว่าอุตสาหกรรมการแพทย์จะจัดการกับพฤติกรรมนี้อย่างไร ไข่ต้องมีข้อมูล           ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2022 เป็นต้นไป ไต้หวันกำหนดให้ไข่สดแต่ละฟองที่ผ่านการล้างและบรรจุลงกล่องต้องมีข้อมูลฟาร์มที่เลี้ยง โรงงานล้างบรรจุ วันที่บรรจุ รวมถึงรูปแบบการเลี้ยง บนเปลือกด้วยสภาเกษตรของไต้หวันระบุว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางอาหาร ที่จะทำให้การตรวจสอบย้อนกลับและการแจ้งเตือนเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว กรณีที่เกิดปัญหาขึ้นในส่วนของผู้บริโภค ข้อกำหนดดังกล่าวจะทำให้ไข่ไก่ขนาดแพ็ค 10 ฟอง มีราคาเพิ่มขึ้น 1 เหรียญไต้หวัน ส่วนทางด้านผู้ผลิต หากฝ่าฝืน จะต้องจ่ายค่าปรับระหว่าง 6,000 ถึง 30,000 เหรียญไต้หวันผลิตไข่ไก่ได้เฉลี่ยวันละ 22 ล้านฟอง ร้อยละ 65 เป็นแบบล้างและบรรจุกล่องการพิมพ์รหัสลงบนเปลือกไข่เป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว สหภาพยุโรปกำหนดให้พิมพ์ “รหัสผู้ผลิต” มาตั้งแต่ปี 2004 เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกได้ว่าจะรับประทานไข่จากฟาร์มที่เลี้ยงด้วยวิธีใด เช่น ปล่อยอิสระ เลี้ยงในกรง หรือเลี้ยงแบบออกานิก  จุดขายใหม่           สหภาพยุโรปเคาะแล้ว ในปี 2022 เขาจะทุ่มงบประมาณ 185.9 ล้านยูโร ในการส่งเสริมสินค้าเกษตรของประเทศสมาชิก ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากพืช พูดง่ายๆ คือเขาต้องการจูงใจผู้ผลิตให้หันมาเลือกแนวทางสายเขียวกันมากขึ้นด้วยการสร้างความต้องการในตลาดให้กับอาหารที่ทำจากพืชนั่นเองนอกจากนี้ยัง “ตีตรา” เนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูปที่เคยเป็นดาวเด่นมานานว่าเป็น “อาหารที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง” ด้วยเรื่องนี้ถูกใจสายสิ่งแวดล้อมที่ต้องการเห็นการลดการใช้น้ำและพลังงานมหาศาลในการเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า รวมถึงสายวีแกนที่อยากเห็นความเป็นมิตรต่อสัตว์โลกแต่แผนนี้ก็ขัดใจอุตสาหกรรมปศุสัตว์ที่ออกมาโต้ว่า การจะทำอาหารที่ผลิตจากพืชล้วนๆ ให้ถูกปากผู้บริโภค ก็ต้องผ่าน “การสร้าง” หรือการ “การแปรรูป” อย่างเข้มข้นเช่นกันผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าสิ่งที่โลกต้องการอย่างเร่งด่วนคือ นวัตกรรมอาหาร และการหาสมดุลระหว่างการผลิตพืชและสัตว์ให้ได้นั่นเอง    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 210 สิทธิการเข้าถึงบริการรักษาภาวะมีบุตรยาก ผลกระทบจากกฎหมายห้ามธุรกิจอุ้มบุญ

รู้หรือไม่ ก่อนจะมีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์  ประเทศไทยเป็นเป้าหมายอันดับต้นๆ ของผู้มีบุตรยากทั่วทุกมุมโลกในการเข้ามารับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย แต่เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่เข้ามาดูแลเป็นการเฉพาะทำให้เกิด “ธุรกิจอุ้มบุญ” โดยมีสาวไทยขายมดลูกอุ้มท้องแทนจำนวนหนึ่งแบบลับๆ เรื่องแดงออกมาจากกรณีชาวต่างชาติจ้างหญิงไทย “อุ้มบุญ” เมื่อให้กำเนิดลูกแฝดแล้วคนหนึ่งปกติ อีกคนเป็นโรคดาวน์ซินโดรม สุดท้ายชายชาวต่างชาติก็รับเลี้ยงแค่เด็กที่มีความปกติเท่านั้น แล้วทิ้งเด็กดาวน์ซินโดรมไว้ให้แม่อุ้มบุญดูแล จนเป็นข่าวครึกโครม และเมื่อมีการสอบสวนเชิงลึกก็พบว่าชายชาวต่างชาติที่มาว่าจ้างหญิงไทยตั้งครรภ์นั้น เคยก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กหญิงมาแล้ว 2 ครั้ง จนถูกจำคุกอย่างไรก็ตามปัญหาเกี่ยวกับการรับจ้างอุ้มบุญยังมีให้เห็นอยู่เนืองๆ ตลอดจนปัญหาการทอดทิ้งเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีให้แม่อุ้มบูญชาวไทยดูแล เพราะพอผู้ว่าจ้างเห็นหน้าเด็ก เห็นลักษณะเด็กแล้วไม่พอใจ ปรากฏเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์อีก หรืออย่างกรณีคู่รักชาย - ชาย มาว่าจ้างหญิงไทยอุ้มบุญก็เคยเจอ จนนำมาสู่การออกพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ในปี 2558 ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เป็นหลัก โดยห้ามซื้อ-ขายไข่ อสุจิ หรือสเปิร์ม และห้ามว่าจ้าง หรือรับจ้างตั้งภรรค์แทน หรือเรียกว่า “อุ้มบุญ” เด็ดขาดสถานการณ์การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์การเข้าถึง(บริการรักษาภาวะมีบุตรยาก) ถ้าลงให้ลึกจริงๆ มีหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องมาตรการช่วยเหลือผู้ที่มารับบริการรักษาภาวะมีบุตรยากยังมีไม่มากนัก เรื่องค่ารักษาไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐ การลางานไม่ได้ รวมถึงเมื่อมีโรคที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการมีบุตรยากประกันก็ไม่จ่าย เช่น ถุงน้ำในรังไข่ ซีสต์ พอผู้หญิงคนหนึ่งป่วยเป็นโรคนี้ บอกแพทย์ไปประกันไม่จ่ายทันที ถือว่าไม่เป็นธรรมมากรศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ ประธานอนุกรรมการเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลกระบุว่าผู้ที่แต่งงานกันแล้วและตั้งใจที่จะมีบุตร แต่ไม่มีภายในระยะเวลา 1 ปี ถือว่าเป็นผู้ที่มีภาวะมีบุตรยากควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและหาแนวทางรักษาต่อไป ส่วนคู่แต่งงานที่ฝ่ายภรรยามีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไปไม่ต้องรอให้ถึง 1 ปี หากยังไม่ตั้งครรภ์ภายใน 6 เดือนก็ควรพบแพทย์ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก ถ้าพูดถึงอัตราผู้มีปัญหาภาวะมีบุตรยากของไทยในปัจจบันมีอยู่ประมาณร้อยละ 10 – 15 ซึ่งมาจากหลายปัจจัยที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะปัจจุบันที่ฝ่ายหญิงมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงขึ้น จึงยังไม่อยากจะคิดถึงการมีบุตร การตั้งครรภ์ในขณะที่ยังมีความเจริญก้าวหน้า แต่จะเริ่มมาคิดถึงการตั้งครรภ์เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าทำให้เกิดปัญหาภาวะมีบุตรยากตามมา เพราะปัญหาเซลล์รังไข่เกิดสภาพไม่สมบูรณ์ ตกไข่ยาก หรือได้ไข่ที่ไม่ค่อยมีคุณภาพ เมื่อตั้งครรภ์แล้วก็แท้งง่าย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโรคประจำตัวของคนที่มีอายุมากเช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ รวมถึงความเครียดจากภาระงานที่พิ่มขึ้นจากความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทุกประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสิ้น ทั้งนี้สาเหตุที่เกิดจากฝ่ายชายก็ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาภาวะมีบุตรยากนั้นมีหลายวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยแพทย์จะพิจารณาเป็นรายกรณี และเริ่มรักษาทีละสเต็ปจากน้อยไปหากมากคือ เริ่มจากการตรวจหาสาเหตุ หากพบว่าภาวะมีบุตรยากเกิดจากการมีโรคประจำตัวอะไรก็รักษาโรคนั้นๆ ก่อน เช่น ไทรอยด์ เบาหวาน ซีสต์ ความเครียด การใช้ยาหรือสารต่างๆ เป็นต้น เมื่อรักษาแล้วก็มีโอกาสตั้งภรรค์ หากแก้ไขปัญหาเบื้องต้นไม่สำเร็จจึงไปถึงการใช้เทคโนโลยีช่วยเหลือการเจริญพันธุ์  ทั้งนี้ เทคโนโลยีช่วยเหลือการเจริญพันธุ์มีหลายวิธีเช่นกัน เริ่มจากการคัดเชื้ออสุจิ ฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในรังไข่ หรือเรียกว่าผสมเทียม หรือกระตุ้นไข่ หากยังไม่สำเร็จก็ขยับไปอีกขั้นหนึ่งคือการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ประเทศไทยสามารถทำได้หมด ปัจจุบันประเทศไทยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ด้วยการทำเด็กหลอดแก้ววิธีต่างๆ ประมาณปีละ 1 หมื่นรายตัวเลขเพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ แต่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับอัตราผู้มีบุตรยากในประเทศไทย โดยคิดว่าไม่น่าจะถึงร้อยละ 10 ที่เป็นเช่นนี้สะท้อนว่าประชากรไทยที่มีปัญหายังรับรู้ และเข้าถึงบริการนี้น้อย เมื่อเทียบกับต่างประเทศที่มีอัตราการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ค่อนข้างมาก เช่น ญี่ปุ่น มีผู้รับบริการประมาณ 2 แสนรายต่อปี บางประเทศอัตรการเข้ารับบริการพุ่งถึง 4 แสนรายต่อปี อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์มาช่วยเหลือผู้มีบุตรยาก แต่ก็เพราะมีการเอาไปใช้ในเชิงธุรกิจ จนนำมาสู่การออกเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 ซึ่งเมื่อกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้ก็มีผลกระทบทั้งผลดี และผลเสีย โดยผลดีก็ทำให้ประเทศไทยอยู่ในร่องในรอยแบบที่สากลโลกเขาทำอยู่ แต่กรณีที่ 2 คือทำให้เรื่องการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากโดยเทคโนโลยีเข้าช่วยนั้นทำได้ยากขึ้น เสียเวลามากขึ้น บางครั้งคนที่มีปัญหามีบุตรยากและต้องการมีบุตรจริงๆ เข้าถึงบริการน้อยลง ที่จริงเรื่องการเข้าถึงน้อยลงถ้าลงให้ลึกจริงๆ มีหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องมาตรการช่วยเหลือผู้ที่มารับบริการรักษาภาวะมีบุตรยากยังมีไม่มากนักเรื่องค่ารักษาไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐ การลางานไม่ได้ รวมถึงเมื่อมีโรคที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการมีบุตรยากประกันก็ไม่จ่าย เช่น ถุงน้ำในรังไข่ ซีสต์ พอผู้หญิงคนหนึ่งป่วยเป็นโรคนี้ บอกแพทย์ไปประกันไม่จ่ายทันที ถือว่าไม่เป็นธรรมมากนอกจากนี้สถานพยาบาลที่รักษาภาวะมีบุตรยาก ปัจจุบันที่มีอยู่ 70 แห่ง ถือว่าน้อยมากและส่วนใหญ่เป็นของเอกชน ซึ่งมีราคาแพง จากที่เข้าถึงบริการยากอยู่แล้ว ก็เลยยากที่จะเข้าถึงไปกันใหญ่ สำหรับหลักเกณฑ์การอุ้มบุญตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเข้มงวดนั้นไม่ได้เป็นปัญหา เช่น การหาคนมารับเป็นแม่อุ้มบุญนั้นจริงๆ ไม่ได้เจาะจงว่าต้องเป็นคนสายเลือดเดียวกันเท่านั้น แต่หากเป็นหญิงที่ไม่ใช่สายเลือดเดียวกันก็จะต้องมีการตรวจสอบที่เข้มงวดหน่อย เพราะต้นกำเนิดของกฎหมายก็มาจากปัญหาเรื่องการมีธุรกิจรับตั้งครรภ์แทนเกิดขึ้น ซึ่งถ้าเป็นต่างประเทศจะนับเรื่องนี้เป็นปัญหาการค้ามนุษย์ด้วย ข้อเสนอแนะสู่การแก้ไขปัญหาเพราะฉะนั้นเรื่องกฎหมายนับว่ามีความเหมาะสม แต่ถ้าจะแก้ไขก็ต้องทำให้ผู้ที่มีปัญหามีบุตรยากเข้าถึงบริการรักษาได้ง่ายขึ้นต้องมีทางเลือก อันดับแรกคือการมี “สิทธิ” เดินเข้าไปในโรงพยาบาลได้โดยที่ไม่มีอุปสรรคเรื่องของเวลา เรื่องค่าใช้จ่ายเหมาะสม หรือบางส่วนควรได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และควรแก้ไขเรื่องที่ประกันไม่จ่ายสินไหมโดยอ้างว่าเพราะปัญหาการมีลูกยากทำให้มีปัญหาถุงน้ำในรังไข่ ซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวเลยก็ได้ นับว่าไม่มีความเป็นธรรมอย่างยิ่ง แต่เกาหลีบังคับเลยว่าบริทประกันห้ามปฏิเสธการจ่าย “สิ่งที่อยากเห็นจริงๆ คือการเปิดให้บริการรักษาผู้มีบุตรยากควรเปิดในสถานพยาบาลของรัฐถึงจะแก้ปัญหาได้ ในความเป็นจริงมันไม่ใช่เช่นนั้น ปัจจุบันภาครัฐไม่ได้จัดสรรคงบประมาณส่วนนี้ให้ ทำให้โรงพยาบาลรัฐไม่ตั้งหน่วยดูแลเรื่องนี้เพราะเก็บเงินไม่ได้ ดังนั้นหากรัฐเห็นว่าเรื่องนี้ควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ก็ควรตั้งในโรงพยาบาลรัฐ ซึ่งหากจะทำจริงๆ ศักยภาพที่มีนั้นสามารถทำได้ เพราะเรื่องที่ยากกว่านี้โรงพยาบาลรัฐก็สามารถทำได้ดี” รศ.นพ.กำธร กล่าวอีกว่า ถ้าดูสถานการณ์การเกิดในประเทศไทยตอนนี้ตอนนี้ลดลงไปมาก โดยอัตราเจริญพันธุ์รวม (Total Fertility Rates - TFR) เดิมอยู่ที่ 6 และลดลงมาเรื่อยๆ จนถึง 2.1 และปัจจุบันลงมาถึง 1.5 ภายในระยะเวลา 20 กว่าปี ในขณะที่องค์การอนามัยโลกถือว่าประเทศที่มีความมั่นคงทางประชากรควรจะมีอัตราเพิ่มประชากรอยู่ที่ 2.1 เพราะฉะนั้นถือว่าประเทศไทยอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง แต่เท่าที่ดูกลับไม่ค่อยมีมาตรการแก้ปัญหาอะไรมากนัก ไม่ตื่นเต้น ไม่มีมาตการส่งเสริมการเกิด รวมถึงดูแลรักษาภาวะมีบุตรยากก็เข้าไม่ถึง ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ถือว่าเรื่องนี้เป็นสิทธิที่ประชาชนต้องเข้าถึง ในขณะที่นานาชาติหากอัตราเจริญพันธุ์รวมลดลงมาถึงระดับ 1.8 เขาจะต้องตื่นตัวในการหามาตรฐานมาส่งเสริมการเกิดให้เพิ่มขึ้น หรืออย่างประเทศญี่ปุ่นอัตราเจริญพันธุ์รวม ตอนนี้อยู่ที่ 1.46 ถึงกับตกใจมากและออกมาตรการมากมายเพื่อแก้ปัญหา และส่งเสริมการเกิดให้เพิ่มขึ้น เรื่องนี้ประเทศไทยควรจะจริงจังได้แล้วเพราะตอนนี้ประเทศไทย เป็นสังคมผู้สูงอายุมาถึงเร็วกว่าที่คิดไว้ เด็กเกิดมา 1 คนอาจจะต้องดูแลพ่อ แม่ พี่ น้อง อีกจำนวนมากเพราะไม่มีคนมาหารเฉลี่ยด้วย แล้วปัญหาเรื่องเศรษฐกิจแรงงานก็ตามมาแน่นอน หากยังไม่ตื่นตระหนก หาทางแก้ไขอย่างจริงจัง อนาคตจะกระทบกับความมั่นคงของประเทศ เพราะที่เห็นเดินอยู่ตามถนนในเมืองไทยอาจจะเต็มไปด้วยชาวต่างชาติ " อัตราเจริญพันธุ์รวม (Total Fertility Rates - TFR) ของไทยปัจจุบันคือ   1.5 ในขณะที่องค์การอนามัยโลกถือว่าประเทศที่มีความมั่นคงทางประชากรควรจะมีอัตราเพิ่มประชากรอยู่ที่ 2.1 หากดำเนินต่อไปโดยไม่ได้รับการแก้ไข ไทยจะมีแต่ประชากรสูงวัยและขาดแคลนแรงงานซึ่งเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ "ด้าน นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผอ.มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล บอกว่า ภายหลังจาก พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ บังคับใช้ก็เพื่อแก้ไขปัญหาการรับจ้างอุ้มบุญ ซึ่งถูกมองเป็นเรื่องการค้ามนุษย์ในสายตาของสังคมโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการรับจ้างอุ้มบุญจำนวนมากจริงๆ มีธุรกิจทางด้านนี้เกิดขึ้นเยอะ แต่หลังจากที่กฎหมายนี้ออกมาจะเห็นว่าสถานการณ์การรับจ้างอุ้มบุญในประเทศไทยก็ซาลงไปมากอย่างไรก็ตาม ยังมีอีกปัญหาหนึ่งที่โผล่ขึ้นมาจากการคุมเข้มเรื่องการ “อุ้มบุญ” คือ การเข้าถึงยาก ราคาแพง จนอาจจะทำให้ครอบครัวที่มีบุตรทำให้ตัดสินใจไปพึ่งการทำอุ้มบุญในต่างประเทศแทนด้าน นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผอ.มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล บอกว่า ภายหลังจาก พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ บังคับใช้ก็เพื่อแก้ไขปัญหาการรับจ้างอุ้มบุญ ซึ่งถูกมองเป็นเรื่องการค้ามนุษย์ในสายตาของสังคมโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการรับจ้างอุ้มบุญจำนวนมากจริงๆ มีธุรกิจทางด้านนี้เกิดขึ้นเยอะ แต่หลังจากที่กฎหมายนี้ออกมาจะเห็นว่าสถานการณ์การรับจ้างอุ้มบุญในประเทศไทยก็ซาลงไปมากนายจะเด็จ บอกอีกว่า สำหรับทางออก ทางเลือกสำหรับคนที่มีบุตรยาก สิ่งหนึ่งที่อยากให้มองสำหรับสังคมไทยตอนนี้จะเห็นว่าเรามีเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมาก็มีหลายๆ ครอบครัวที่มีบุตรยาก มารับเด็กจากสถานสงเคราะห์ไปเป็นบุตรบุญธรรม แต่ก็ยังมีเพียงส่วนน้อย เพราะติดกับทัศนคติเดิมที่ว่า “เอาลูกเขามาเลี้ยง เอาเมี่ยงเขามาอม” จึงไม่มั่นใจว่าเด็กที่โตมาจะเป็นอย่างไร ตรงนี้ต้องบอกว่าคุณภาพของเด็กต่างก็อยู่ที่การเลี้ยงดู เมื่อเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เด็กคนนั้นก็สามารถเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคมไทยได้ เพราะฉะนั้นสังคมไทยต้องปรับทัศนคติตรงนี้ หากอยากมีบุตรจริงๆ แล้วติดขัดในข้อกฎหมายก็สามารถใช้ทางเลือกนี้เป็นทางออกได้ ขณะเดียวกันภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ควรสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนด้วย โดยอาจจะนำเอาครอบครัวที่ประสบความสำเร็จจากการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม ที่พร้อมจะเปิดเผยข้อมูล มาช่วยกันรณรงค์ให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วย ไม่ใช้ออกกฎหมาย ออกมาตรการบังคับใช้อย่างเดียวพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์  2558สาระหลักตามกฎหมายสามารถแบ่งได้ดังนี้ ผู้มีที่ต้องการให้มีการตั้งครรภ์แทน มาตรา 21 ระบุว่า ต้องเป็นสามีและภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสัญชาติไทย ถ้าคนใดคนหนึ่งไม่มีสัญชาติไทยก็ต้องจดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ทั้งนี้แพทย์ต้องรับรองว่ามีบุตรยากและต้องการมีบุตรโดยการตั้งครรภ์แทน ผู้รับตั้งครรภ์แทน หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน คือ ต้องมิใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายตาม แต่เป็นญาติสืบสายโลหิต ในกรณีไม่มีญาติสืบสายโลหิตและต้องใช้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ตามหญิงที่ตั้งครรภ์แทนต้องเคยมีบุตรมาก่อน และต้องได้รับความยินยอมจากสามีก่อนวิธีการตั้งครรภ์แทนมาตรา 22 การตั้งครรภ์แทนมี 2 วิธี 1.ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีและไข่ของภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทน และ 2.ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีหรือไข่ของภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทนกับไข่หรืออสุจิของผู้อื่น ทั้งนี้ ห้ามใช้ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนมาตรา 23 ก่อนดำเนินการต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการให้ดําเนินการให้มีการตั้งครรภ์ก่อน หากฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 47 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับคุณสมบัติของแพทย์ที่จะใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ถูกกำหนดไว้ในมาตรา 15  ระบุว่าต้องแพทย์ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามและต้องปฏิบัติตามมาตรฐานในการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ถ้าเป็นผู้มีคุณสมบัติมาทำจะมีความผิดตามมาตรา 46 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับทั้งนี้ก่อนให้บริการ เกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ในมาตรา 16 ระบุเอาไว้ว่าแพทย์จะต้องตรวจและประเมินความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อมของผู้ขอรับบริการ หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน และผู้บริจาคอสุจิหรือไข่ที่จะนํามาใช้ดําเนินการ รวมทั้งการป้องกันโรคที่อาจมีผลกระทบต่อเด็กที่จะเกิดมาด้วยความเป็นบิดาและมารดาของเด็กและการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ มาตรา 29 เด็กที่เกิดมาเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์จะมีบุตร มาตรา 30 ถ้าสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์แทนถึงเสียชีวิตก่อนเด็กเกิด ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นผู้ปกครองเด็กคนนั้นนั้นจนกว่าจะมีการตั้งผู้ปกครองขึ้นใหม่โดยคํานึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของเด็กนั้นเป็นสําคัญมาตรา 32 ให้สามีและภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์เป็นคนแจ้งการเกิดของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ในกรณีสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์แทนถึงแก่ความตายก่อนเด็กเกิด ไม่อยู่ในประเทศไทย หรือไม่ปรากฏตัวภายหลังจากการคลอดเด็กนั้น ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนมีหน้าที่แจ้งการเกิดมาตรา 33 ห้ามมิให้สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์จะมีบุตรโดยการตั้งครรภ์แทนปฏิเสธการรับเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนดังกล่าว ฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 49 จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา 41 ห้ามมิให้ผู้ใดซื้อ เสนอซื้อ ขาย นําเข้า หรือส่งออก ซึ่งอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อน ฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 51 โทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับข้อห้ามทำธุรกิจอุ้มบุญสำหรับประเด็นที่เป็นปัญหาจนนำมาสู่การออกพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกกำหนดไว้ในมาตรา 24 ห้ามมิให้ผู้ใดดําเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้าฝ่าฝืนมีความผิดมาตรา 48 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาทมาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทําการเป็นคนกลางหรือนายหน้า ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 49 ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา 28 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาว่ามีหญิงรับตั้งครรภ์แทนไม่ว่าจะได้กระทําเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือไม่ก็ตาม ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 49 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ.

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 เพลิงบุญ : ความเมตตาหากไร้ซึ่งปัญญากำกับ

“เมตตาเป็นธรรมค้ำจุนโลก” สัจธรรมความคิดนี้น่าจะถูกต้องอยู่ แต่ทว่า ความเมตตาที่มีต่อโลกนั้น ก็ต้องมีเงื่อนไขและขอบเขตในการปฏิบัติด้วยเช่นกัน นิทานโบราณเรื่อง “ม้าอารี” เคยเล่าเตือนสติผู้คนจากรุ่นสู่รุ่นมาว่า ม้าตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในเพิงหลบแดดหลบฝน เพราะเจ้าของสร้างให้ด้วยความรักใคร่เอ็นดู ในขณะที่วัวอีกตัวหนึ่งกลับถูกทอดทิ้งไว้ตามยถากรรม จนวันหนึ่งฝนตกหนัก วัวก็ขอเข้ามาปันแบ่งชายคาเพิงพัก ม้าผู้อารีก็ใจดี ค่อยๆ เขยิบให้จมูกวัวพ้นจากฝน แต่เมื่อวัวหายใจคล่องขึ้น ก็เริ่มต่อรองให้ม้าเขยิบออกไปอีกทีละนิดๆ จนในที่สุด ม้าที่แสนใจดีก็ต้องกระเด็นออกไปยืนกลางแดดและตากฝนอยู่นอกเพิงพัก นิทานเรื่อง “ม้าอารี” สอนให้รู้ว่า ความเมตตาอารีแม้นจะมีได้ แต่ก็ใช้ไม่ได้กับคนที่ไม่รู้จักบุญคุณคน และยิ่งหากคนที่เมตตาไร้ซึ่งปัญญามากำกับด้วยแล้ว คนผู้นั้นก็อาจมีอันต้องระเห็จออกไปจากเพิงพักอันอบอุ่นในที่สุด และคนที่กำลังเล่นบทบาทแบบ “ม้าอารี” เยี่ยงนี้ ก็คงหนีไม่พ้นตัวละครอย่าง “พิมาลา” แห่งเรื่อง “เพลิงบุญ” ที่เอื้ออารีต่อเพื่อนรักอย่าง “ใจเริง” แบบมากล้น จนในท้ายที่สุด เธอก็แทบจะถูกอัปเปหิออกไปจากเพิงพักที่สร้างไว้กับสามีอันเป็นที่รักอย่าง “ฤกษ์”  ปรมาจารย์เจ้าตำรับทฤษฎีจิตวิเคราะห์อย่างซิกมันด์ ฟรอยด์ เคยอธิบายว่า ในห้วงแห่งจิตมนุษย์นั้นไซร้ จะมีการต่อสู้ชักเย่อกันไปมาระหว่างระบบระเบียบศีลธรรมของสังคมกับปรารถนาดิบๆ ที่หลบเร้นอยู่ในซอกลึกๆ ของจิตใจ หรือที่ฟรอยด์เรียกว่า เป็นการต่อสู้กันระหว่าง “superego” กับ “id” ในจิตมนุษย์นั่นเอง ภาพการชิงดำของสองส่วนในจิตแบบนี้ ก็สะท้อนอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครที่เป็นเพื่อนรักกันแต่ก็แตกต่างกันสุดขั้วอย่างพิมาลากับใจเริง ในด้านของพิมาลา ผู้เป็นตัวแทนของ “แม่พระ” หรือระเบียบศีลธรรมอันดีงามแห่งมวลมนุษยชาตินั้น ในขณะที่วัยเด็กของเธอเคยได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัวของใจเริงที่ช่วยปลดหนี้ของครอบครัวซึ่งเกือบจะล้มละลาย “บุญคุณ” ครั้งนั้นก็ได้กลายมาเป็นดั่ง “หนี้บุญคุณ” ที่พิมาลาต้องจ่ายคืนแบบไม่สิ้นไม่สุด ตรงกันข้ามกับใจเริง ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้หญิงที่ทะยานอยาก หรือเป็น “ปรารถนาดิบๆ” ที่อยู่ในหลืบเร้นในจิตของมนุษย์ เธอก็สามารถทำทุกอย่างโดยไม่ใส่ใจว่า นั่นจะละเมิดหลักศีลธรรมหรือไม่ อย่างไร เฉกเช่นประโยคที่เธอกล่าวว่า “เริงทำก็เพราะความอยู่รอด แล้วเริงก็รอดจริงๆ แสดงว่าเริงทำในสิ่งที่ถูกต้อง…” ชีวิตของผู้หญิงสองคนที่ผูกเกลียวเอาไว้ด้วย “บุญ” ที่กลายมาเป็น “เพลิง” เผาผลาญตัวละคร เริ่มต้นขึ้นเมื่อฤกษ์เข้ามายืนอยู่ตรงกลางระหว่างตัวแทนของคุณค่าศีลธรรมอย่างพิมาลา กับผู้หญิงที่เป็นภาพแทนของแรงขับดิบๆ ในจิตอย่างใจเริง แม้จุดเริ่มต้นใจเริงจะคบหากับฤกษ์ชายหนุ่มที่แย่งมาจากพิมาลา แต่เมื่อเธอได้มาพบกับนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หนุ่มผู้มั่งคั่งอย่าง “เทิดพันธ์” ใจเริงก็เปลี่ยนใจหันไปหาชายหนุ่มคนใหม่ และทิ้งฤกษ์ไปโดยไม่สนใจว่าเขาจะเจ็บปวดเพียงใด จนฤกษ์ได้เลือกตัดสินใจกลับมาลงเอยกับความรักอีกครั้งกับพิมาลา แต่ในเมื่อชีวิตคนล้วนไม่แน่นอน มีขาขึ้นก็ต้องมีขาลงสลับกัน ในขณะที่พิมาลากับฤกษ์ประสบความสำเร็จทั้งในชีวิตคู่และชีวิตการทำงาน แต่ชีวิตของใจเริงกับเทิดพันธ์กลับดิ่งลงเหว พร้อมๆ กับธุรกิจของเทิดพันธ์ที่เกิดล้มละลาย ผู้หญิงที่จมไม่ลงแบบใจเริงก็พร้อมจะเทเขาทิ้งแบบไร้เยื่อขาดใยเช่นกัน  และด้วยความริษยาที่มีต่อกราฟชีวิตของเพื่อนซึ่งดีวันดีคืน ใจเริงก็ใช้ “หนี้บุญคุณ” ซึ่งผูกไว้แต่อดีต มาทวงขอความช่วยเหลือจากพิมาลา อันกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นบทเรียนแบบ “ม้าอารี” ที่เพื่อนรักใช้มารยามา “หักเหลี่ยมโหด” เพื่อเขี่ยเจ้าของชายคากระเด็นออกไปจากเพิงพักในที่สุด เพราะเพื่อนรักเป็นประหนึ่ง “ม้าอารี” ใจเริงก็วางหมากกลค่อยๆ ยื่นจมูกเข้าไปในชายคาบ้านทีละนิดๆ ตั้งแต่เสแสร้งว่าเธอเป็นคนสิ้นเนื้อประดาตัวไร้พิษสงใดๆ ขนานไปกับการหว่านเสน่ห์ใส่ฤกษ์ให้เขาตบะแตก หรือแม้แต่จัดฉากภาพบาดตาที่เธอกับฤกษ์กำลังนัวเนียกันอยู่บนเตียง ปฏิบัติการทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็มุ่งเป้าที่จะผลักให้ “ม้าอารี” อย่างพิมาลาออกไปยืนกรำแดดกรำฝนอยู่นอกชายคานั่นเอง สำหรับใจเริงแล้ว แม้ใครต่อใครจะมองว่าเธอผิด และทุกคนก็ฉลาดพอจะรู้ทันการใช้เล่ห์มารยามาทำร้ายเพื่อนรักอยู่โดยตลอด แต่ที่น่าชวนฉงนยิ่งก็คือ พิมาลาผู้เป็นคู่กรณีนั้นกลับแสนซื่อโลกสวยเสมือน “ขี่ม้าชมทุ่งลาเวนเดอร์” ในความฝันอันงดงามตลอดเวลา แม้ผู้หวังดีจะหมั่นเตือนสติ แต่เธอก็คอยแก้ต่างด้วยวลีที่ว่า “แต่พิมกับเริงคบกันมาตั้งแต่เด็ก เริงไม่น่าจะคิดร้ายกับพิมขนาดนั้นหรอก” จนผ่านไปเกินค่อนเรื่องแล้วนั่นแหละ ที่พิมาลาจึง “ถึงบางอ้อ” เปลี่ยนมา “คิดใหม่ทำใหม่” และเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ว่า “พิมที่แสนดีก็ยังอยู่ แต่พิมที่โง่หลงเชื่อว่าเพื่อนที่เราดีด้วยจะดีตอบ...ตายไปแล้ว” แม้สำหรับผู้ชายอย่างฤกษ์ที่นอกใจภรรยาผู้โลกสวย หรือผู้หญิงตัวแทนแห่ง “ปรารถนาดิบๆ” แบบใจเริง จะถูกมองว่าผิดเต็มประตูก็จริง แต่ตัวละคร “ม้าอารี” ที่โลกสวยและศีลธรรมล้นเกินแบบพิมาลานั้น ก็มิต่างจากจำเลยอีกคนที่เป็นมูลเหตุให้ชีวิตคู่ของเธอเองต้องพังครืนลงมา คงเหมือนกับที่ “คุณฤทธิ์” พ่อของฤกษ์ที่กล่าวกับพิมาลาว่า “ทั้งสามคนมีจุดผิดพลาดร่วมกัน ไม่ต้องโยนให้คนอื่น และก็ไม่ต้องแบกรับเอาไว้คนเดียว” เพราะเผลอๆ แล้ว ความเมตตาหากไร้ซึ่งปัญญากำกับ ก็ถือเป็นอันตรายต่อการดำเนินชีวิตเสียยิ่งกว่าตัวแปรใดๆ  หากจะถามว่าข้อคิดของละครผู้หญิงสองคนแย่งชิงผู้ชายกันอย่างเรื่อง “เพลิงบุญ” ให้อะไรกับคนดูนั้น ก็คงเป็นอุทาหรณ์ที่คุณฤทธิ์เตือนสติพิมาลาและผู้ชมไปพร้อมๆ กันว่า “การทำความดีไม่ใช่สักแต่ว่าหลับหูหลับตาทำ แต่เราก็ต้องทำด้วยปัญญา...ให้ในสิ่งที่สมควร ในเวลาอันสมควร แก่ผู้ที่สมควร”  “บุญ” เป็นสิ่งที่เราพึงทำอยู่เสมอก็จริง แต่หาก “บุญ” เป็นดุจดั่ง “เพลิง” ที่เผาผลาญ เพราะคนทำบุญไม่ใช้ปัญญาขบคิดให้แตกฉานด้วยแล้ว ก็ไม่ต่างจาก “ม้าอารี” ที่ชักศึกเข้าบ้าน จนเบียดขับให้ตนต้องไปยืนกรำแดดกรำฝนอยู่นอกเพิงพักนั่นเอง 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 ตักบาตรให้ได้บุญ

ชาวพุทธส่วนใหญ่มักได้รับการปลูกฝังให้ทำบุญใส่บาตรเพื่อจะได้มีชาติหน้าที่ดี ทั้งที่ไม่เคยรู้เลยว่า ชาติหน้าจะได้เกิดเป็นคนหรือไม่ แต่ต่างก็แอบหวังว่าชาติหน้าน่าจะได้เป็นคน โดยมีบุญที่เกิดจากการทำในชาตินี้ไปรอตอบสนอง ขนาดบางวัดมีการนำเอาเรื่องบุญมาคำนวณว่า ทำเท่าไรได้ขึ้นสวรรค์ชั้นใด ดังนั้นการทำบุญหวังผลจึงเกิดกันทั่วไป สำหรับเรื่องการใส่บาตรนั้น ผู้เขียนก็ทำบ้างไม่ทำบ้างแล้วแต่จังหวะเหมาะ วันหนึ่งในเดือนกันยายน 2556 (ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของการรับราชการของผู้เขียนแล้ว) ก็มีนักข่าวจากโทรทัศน์ช่องหนึ่ง สนใจสัมภาษณ์ผู้เขียนในเรื่องเกี่ยวกับอาหารสำหรับการใส่บาตร จึงทำให้ผู้เขียนต้องมานั่งสำรวจตัวเองว่า เวลาใส่บาตรผู้เขียนทำอย่างไร เท่าที่จำความมา ผู้เขียนมักใส่บาตรพร้อมกับภรรยาเป็นประจำ เพราะผู้หญิงมักเป็นคนคิดถึงบุญกรรม ชาติหน้า ชาติก่อน มากกว่าผู้ชาย ของใส่บาตรนั้นส่วนใหญ่แล้วมักใส่ข้าวสารอาหารแห้งเป็นประจำ โดยหวังว่าพระจะได้มีของไว้ฉันในวันที่มีคนใส่บาตรน้อยเช่น วันฝนพรำ แต่เมื่อถามว่าอาหารที่ใส่นั้นครบถ้วนทางโภชนาการหรือไม่ คำตอบก็เป็นอย่างที่เดากันได้ว่า ไม่น่าครบ ส่วนที่ขาดมักเป็นผักและผลไม้ ซึ่งผู้เขียนได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า จะพยายามแก้ในสิ่งนี้ให้ได้   ก่อนให้สัมภาษณ์นักข่าวนั้นผู้เขียนได้เข้าไปตรวจดูข้อมูลในอินเตอร์เน็ตว่า ประเด็นเกี่ยวกับ พระ โภชนาการ และการใส่บาตร นั้นมีเว็บใดกล่าวถึงกันบ้าง ผลปรากฏว่ามีน้อยมาก ไม่กี่สิบเว็บ แต่ก็ได้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า มีการกล่าวถึงชนิดของอาหารที่ควรใส่บาตรให้พระสงฆ์ เพื่อให้พระนั้นมีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะบางเว็บได้กล่าวถึงการที่พระสงฆ์มีสุขภาพไม่ค่อยดี มีโรคที่เกิดเนื่องจากความเสื่อมเช่น ความดันสูง โรคอ้วน โรคหัวใจ เบาหวาน ฯ เร็วกว่าคนธรรมดา ซึ่งสาเหตุนั้นหลายท่านคงเดาได้ว่า คนไทยใส่บาตรนั้นต่างพยายามใส่อาหารที่ตนคิดว่าอร่อยที่สุด (เผื่อชาติหน้า) โดยไม่ค่อยใส่ใจกับคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร จากการค้นหาข้อมูลทางโภชนาการว่า อาหารอะไรที่ควรใส่ในบาตรพระนั้น พบว่ามีหนังสืออิเล็คทรอนิค 2 เล่มมีข้อมูลดังกล่าว โดยเล่มแรกนั้นเป็นหนังสือที่เขียนโดย ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล และคณะ(ในช่วงที่อาจารย์ยังไม่เกษียณจากสถาบันโภชนาการ) ชื่อ“คู่มือการเลือกอาหารตักบาตรเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีแด่พระภิกษุสงฆ์” ทุกท่านสามารถเข้าไปอ่านได้ฟรีที่ http://www.inmu.mahidol. ac.th/th/ebook/Book/magazine5/index.html#/0  หนังสือเล่มนี้หนา 166 หน้า ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำบุญทำทานที่มีโภชนาการเข้าไปเกี่ยวข้อง รวมทั้งโรคที่เกิดแก่พระสงฆ์เป็นประจำ ข้อมูลต่างๆ ในหนังสือของอาจารย์ประไพศรีและคณะนั้น ความจริงแล้วเป็นข้อมูลด้านโภชนาการที่คนไทยควรทราบ แต่ก็น่าประหลาดใจว่า เมื่อถามเด็กนักเรียนที่จบหลักสูตร(ที่ปรับแล้วปรับอีก) ของกระทรวงศึกษาเกือบทุกคนเกี่ยวกับความรู้ทางโภชนาการของอาหารที่กินทุกวัน คำตอบมักไม่เป็นเรื่องเป็นราว จนดูเหมือนไม่เคยเรียนมา นอกจากนี้ถ้าท่านผู้อ่านลองถามตนเองเกี่ยวกับความรู้ด้านโภชนาการของท่านแล้วรู้สึกว่า ไม่แน่ใจมันยังอยู่หรือไม่ ขอแนะนำให้ท่านเข้าไปอ่านหนังสือเล่มดังกล่าว แล้วสิ่งที่ตกหล่นหายไปอาจถูกกู้คืนมาได้ ยังมีหนังสืออีกเล่มชื่อ “แนวทางการตักบาตรให้ได้บุญ” ของ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดทำเพื่อให้ประชาชนได้อ่านบนจอคอมพิวเตอร์ หรือจะ download จาก http://nutrition.anamai.moph.go.th/temp/main/public01.php มาเก็บไว้อ่านยามว่าง หนังสือเล่มนี้น่าอ่านมากเช่นกัน เพราะมีข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมในการตักบาตรทำบุญ แถมบอกด้วยว่าทำบุญอย่างไรจึงจะได้บุญมาก และมีเมนูอาหารที่ประสกสีกาควรเลือกมาประกอบเพื่อถวายให้พระสงฆ์มีสุขภาพดี อย่างไรก็ตาม หนังสือก็คือหนังสือ มักมีอะไรบางอย่างที่ทำให้ต้องอ่านหลายรอบกว่าจะจบ ดังนั้นสิ่งที่ควรกำหนดไว้ในใจเมื่อต้องการทำบุญตักบาตรนั้น ผู้เขียนได้บอกแก่นักข่าวที่มาสัมภาษณ์ว่า ถ้าคิดว่าทำบุญอะไรแล้วจะได้อย่างนั้นในโลกหน้า ก็คงต้องเตรียมบุญให้ถูกหลักโภชนาการหน่อย หลักการคือ เวลาใส่บาตร ถ้าใส่ข้าวกล้องได้จะดีเลิศประเสริฐศรี เพราะนอกจากมีแป้งแล้ว ยังมีใยอาหาร วิตามินบีรวม วิตามินอี เบต้า-แคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระอีกมากมาย รวมทั้งกรดไขมันไม่อิ่มตัวด้วย และบุญจะมากขึ้นถ้าใส่ข้าวกล้องข้าวหอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี หรือข้าวเหนียวดำ (ซึ่งผู้เขียนเคยทำวิจัยพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าข้าวหลายชนิด) ในส่วนของอาหารโปรตีนซึ่งมักมาในรูปแกงของไทยนั้น พยายามเลี่ยงแกงกะทิ เพราะกะทินั้นเป็นไขมันที่อร่อยมาก กินแล้วหยุดยาก แต่ถ้าต้องการใส่แกงกะทิจริงแนะนำให้ท่านแบ่งใส่ถุงให้พระฉันเพียง 2-3 คำ หรือถ้าเปลี่ยนเป็นแกงป่าซึ่งมีสมุนไพรและเครื่องเทศมาก ใส่เท่าไรก็ไม่มีปัญหา โปรตีนในรูปเนื้อสัตว์ชุบแป้งทอดหรือทอดโดยไม่ชุบแป้งนั้น ควรใส่บาตรแต่น้อย เพราะเป็นอาหารที่อมน้ำมัน และทราบกันมานานแล้วว่า เนื้อสัตว์ที่ถูกทอดให้กรอบนั้นมักมีสารก่อมะเร็ง สารก่อมะเร็งในอาหารทอด(รวมถึงปิ้งย่างรมควัน) นั้นถ้ากินไม่มากนัก อวัยวะภายในของเราคือ ตับและไตก็คงสามารถทำลายทิ้งได้ โดยมีข้อแม้ว่าเซลล์ของอวัยวะที่ทำลายสารพิษนั้นต้องแข็งแรง ไม่ถูกทำลายด้วยเหล้าหรือบุหรี่เสียก่อน(ควันบุหรี่นั้นนอกจากไปปอดแล้วยังลงไปตับได้ด้วยการกลืนน้ำลายขณะสูบ) ประการสำคัญเราควรคำนึงว่า อาหารครบห้าหมู่หรือไม่ สำหรับคำแนะนำของผู้เขียนคือ ให้มื้ออาหารที่จะใส่บาตรนั้น มีหมู่ผักและผลไม้ดูแล้วประมาณครึ่งหนึ่ง จากนั้นอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือมีอาหารแป้ง (ไม่ว่าจะเป็นข้าวหรือเผือกมัน) อยู่ครึ่งหนึ่ง(1 ใน 4 ของอาหารทั้งหมด) ส่วนที่เหลือก็เป็นเนื้อสัตว์ที่มีน้ำมันเป็นองค์ประกอบจากการผัดหรือทอด ขณะที่มองภาพรวมของอาหารที่ใส่บาตร(หรือแม้ใส่ปากเราเองก็ตาม) ควรเห็นภาพว่า อาหารนั้นมีสีหลากหลาย คือ มีสีรุ้ง (ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง) เพื่อประกันว่า ได้องค์ประกอบของอาหารครบตามที่ร่างกายต้องการ ทั้งสารอาหารหลักคือ แป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่และใยอาหาร และองค์ประกอบรองคือ สารที่มีประโยชน์จากผัก ผลไม้และเครื่องเทศต่างๆ ซึ่งไม่ช่วยในการซ่อมแซมร่างกาย แต่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายต่างๆ ประการสำคัญในการใส่บาตรอีกประการคือ พระควรได้เดินออกจากวัดมาบิณฑบาต เพื่อเป็นการออกกำลังกายของพระในทางอ้อม ยิ่งถ้าได้เดินสักวันละเป็นกิโลเมตรขึ้นไป สุขภาพพระก็น่าจะดี การนำภัตตาหารไปใส่บาตรที่วัดนั้น ควรกระทำเฉพาะกับพระที่อาพาธ มีอายุมาก หรือน้ำท่วมวัดแล้วเท่านั้น

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 170 ลุงบัวพันธ์ บุญอาจ ปราชญ์ชาวบ้านแห่งเมืองหนองบัวลำภู

คุณลุงบัวพันธ์ บุญอาจ  ปราชญ์ชาวบ้านแห่งเมืองหนองบัวลำภู หรือพ่อบัวพันธ์ที่ชาวบ้านเรียก  ที่แม้ปีนี้อายุจะย่างเข้าสู่ปี  70   แต่แกก็เดินก้าวฉับๆ นำพวกเราชมสวนที่มีพื้นที่กว้างกว่า  60 ไร่  ดวงตาฉายแววถึงความภาคภูมิใจ พร้อมกับบอกเล่าถึงความเป็นมาของที่ดิน จากจุดเริ่มต้น จนมาถึงวันนี้ กว่า 40 ปีแล้ว ที่พ่อนำความรู้ด้านการเกษตรระดับมหาวิทยาลัย(ทั้งที่พ่อจบแค่ ม.3) ถ่ายทอดออกมาให้ฟังง่ายแบบชาวบ้านๆ เพื่อเป็นความรู้ให้แก่ผู้คนมากมายนับไม่ถ้วน “อันดับแรกแนะนำก่อนที่นี่ชาวบ้านเรียกศูนย์อบรม เพราะเป็นที่ให้ความรู้กับคนทั่วไป สิ่งที่เราทำเรายึดหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้ควบคู่กับหลักทฤษฎีใหม่ เพราะฉะนั้นมันจะเกี่ยวข้องแบบคละๆ กัน ตัวชี้วัดเศรษฐกิจพอเพียงตัวแรกคือ ชี้วัดการกิน สอง ชี้วัดการใช้สอย  สาม ชี้วัดการอยู่ สุดท้ายชี้วัดการร่วมมือ เราเอาตัวชี้วัด 4 ตัวนี้มาทำ การทำคือทำตั้งแต่เรื่องของป่า เรื่องดิน เรื่องน้ำ เรื่องของคน ทำควบคู่กันไป ต้นไม้ที่เราปลูกเราไม่ได้เน้นว่าดี ไม่ดี แต่เน้นว่าปลูกแล้วนำมาทำอาหารได้ไหม กินได้ไหม กินเป็นอาหารไม่ได้ก็กินเป็นยาได้ไหม ภูมิทัศน์ในนี้จึงเต็มไปด้วยของกิน ของที่ทำเป็นยาได้เป็นอันดับแรก และที่นี่ก็มีบ้านพักคนมีไฟ ชั้นล่างจะเป็นฐานเรียนรู้ เรียกว่า “ ฐานคนมีไฟ ” คนมีไฟ คือการเรียนรู้เรื่องของพลังงานทดแทน เรื่องสบู่ดำ มะเยากู้ชาติ (คนอีสานเรียกสบู่ดำว่า มะเยา คนเหนือ เรียก ละหุ่งฮั้ว โคราชเรียก สีหลอด คนใต้เรียกหงเทศ) ขี้วัว ขี้ไก่ เศษใบไม้แทนที่จะเผาทิ้ง เราก็มาผสมกันหมักทำปุ๋ยอินทรีย์แล้วก็นำไปใช้ได้ดีเลย แต่ที่นี่ไม่ได้เอาหลักวิชาการมาใช้เท่าไร เพราะถ้าใช้หลักการให้ทำตามอย่างนั้น อย่างนี้ ชาวบ้านจะไม่เข้าใจ ต้องแปลง่ายๆ ถ้าเราพูดถึงจุลินทรีย์ที่เราเอาเชื้อมาใช้ในการหมัก บอกว่าต้องเอา พด.2, พด. 1 (เป็นชื่อสูตรเร่งเชื้อจุลินทรีย์ของกรัมพัฒนาที่ดิน) นะ เขาก็จะจำไม่ได้ แล้วการเดินทางไปกรมพัฒนาที่ดินในตัวจังหวัดก็เสียเงินค่ารถอีก เราก็บอกจุลินทรีย์มีทั่วไปในอากาศ ในน้ำมีหมด แต่เราไม่ทราบว่ามันสายพันธุ์อะไรเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นการหมักพวกนี้ก็ถ้าเราจะหมักพืชสด หมักอะไรในถังข้าวหลังบ้านมีเต็มหมด ที่หมักไว้ระยะเวลาปีกว่าทั้งหมดใช้ได้ดีแล้ว ก็แนะนำชาวบ้านว่า ถ้าคุณมีวัตถุดิบพร้อม เอาไปผสมกากน้ำตาล กากน้ำตาลเป็นของหวาน ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ พอคุณผสมพืชวัตถุดิบเข้าไปแล้วจะหมักพืชสมุนไพรรสไหน รสจืด รสหวาน รสเมา เบื่ออะไรก็แล้วแต่ เติมน้ำเข้าไปตามอัตราส่วนแล้วคนให้ดี แล้วคุณก็ท่องคาถาเป่าเพี้ยงเรียบร้อย จุลินทรีย์ลงไปแล้ว (หัวเราะ) ปิดฝาเรียบร้อย”   เคยอ่านหนังสือบอกว่าให้เอาดินใต้ต้นไม้ที่อยู่ริมแม่น้ำมาทำหัวเชื้อ ยาก  ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก ผมไม่เอา ชาวบ้านเขาไม่ทำหรอก ถามว่ารถเหยียบหมาตายอยู่ในถนน มันย่อยสลายอยู่แล้วเพราะมันมีจุลินทรีย์ในอากาศมันก็ย่อยของมันเอง แต่มันต้องเกิดความชื้น และความร้อน ร้อนชื้นบวกกันสิ่งมีชีวิตถึงจะเกิดแค่นั้นเอง เนื้อที่ตรงนี้  17 ไร่เป็นไผ่รวก ไผ่ตาล ไผ่ไร่ ปลูกปนกับไม้สัก จริงๆ ตอนแรกปลูกไม้สัก แต่การปลูกไม้สักเพื่อใช้เนื้อไม้นี้ใช้เวลาไม่น้อย ถ้าไม่ใช่คนมีเงินจริงๆ การบริหารจัดการป่าจะล้มไปเอง เพราะความอดทนไม่พอ เพราะฉะนั้นต้องปลูกให้ผสมผสาน ก็มีเตาเผาถ่าน ไว้เก็บน้ำส้มควันไม้ แล้วก็มีแปลงผักอินทรีย์ กะหล่ำปลี บร็อกโคลี่ มะเขือเทศมีหมด โดยใช้น้ำจากบ่อ พืชที่อยู่ในที่ดินทั้งหมดนี้ก็ไม่เคยเอาสารเคมีมาใช้เลย ที่ผมปลูกไผ่หลายสายพันธุ์นี้เพราะ ไผ่นั้นถ้าให้คน 100 คน แต่ละคนจะเอาคำตอบเดียวถึงคำถามที่ว่าไผ่มีประโยชน์อะไร หนึ่งร้อยคนนั้นจะได้คำตอบที่เยอะมาก แค่ใบไผ่นี้ก็เอาไปทำปุ๋ยได้แล้ว ดินใต้ร่มไผ่นี่ถ้าเป็นสิบปีขึ้นไปเขาเรียกว่าดินขุยไผ่ รากไผ่ที่แก่แล้วก็จะมีรากใหม่ออกมา มันทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้นเรียกว่า ดินขุยไผ่นี่เป็นดินที่เยี่ยมเลย หน่อไผ่นี่ก็มีแต่คนจะให้ทำหน่อไม้ส้มให้ มีหลักอะไรไหมในเนื้อที่ 1 ไร่ ควรจัดสรรอย่างไร ถ้าใช้เป็นทฤษฎีแนวใหม่ ก็ต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน ถ้าจะทำการเกษตร พระเจ้าอยู่หัวทรงบอกว่าต้องให้ความสำคัญกับน้ำเป็นอันดับ 1 โดย 30 % ต้องเป็นแหล่งน้ำ ถ้าคนกรุงเทพฯ อยากเริ่มปลูกควรจะเริ่มอย่างไรบ้างโดยมีที่ดิน 1 แปลงเล็กๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บอกว่าให้แบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน ส่วนแรกคือน้ำ 30 % ส่วนที่ 2 คือแหล่งอาหาร 30 % ส่วนที่ 3 ป่าไม้ 30 % ส่วนที่ 4 คือ 10% ที่อยู่อาศัยคอกสัตว์และพืชผักสวนครัว ถ้าใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมันจะได้หมดเลย ดิน น้ำ ป่าครอบคลุมหมดเลย และถ้าได้ดิน น้ำ ป่า สุดท้ายก็จะได้ความสมดุลทางธรรมชาติ ความร่มรื่นก็จะเกิดขึ้น แถวนี้ก็จะมีผักหวานป่า ปลูกแซมกับไม้พยุง ไม้พยุงนี้กว่าจะใช้ได้ใช้เวลา 30 ปี แล้วลูกหลานจะกินอะไร เพราะฉะนั้นต้องปลูกพืชระยะสั้นไปด้วย อย่างผักหวานป่าเก็บกินได้ตลอด สำหรับบ้านที่แทบไม่มีที่เลยสามารถทำอย่างไรได้บ้าง ใช้หลักนี้แหละ เพียงแค่บังคับเนื้อที่ให้เล็กลงไป ลองนึกถึงพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมีมาตั้งแต่ปี 2517 แต่มีคนทำกี่คนในจำนวน 60 กว่าล้านนี้ ถ้าย่นเข้ามาย่านนี้มีกี่หลังคาเรือน แล้วทำกันกี่คน เปอร์เซ็นต์ก็ไม่ได้แตกต่าง พอพูดเรื่องพอเพียงคนไม่ค่อยชอบ ถ้าพูดเรื่องรวยคนจะตาโตขึ้นมาเลย แต่เศรษฐกิจพอเพียงไม่อยากรวย ก็รวย มันรวยโดยอัตโนมัติ นั่นคือ รวยที่ใจ อย่างผักหวานนี่ถ้าอยู่ใต้ต้นตะขบ มันงามมาก ต้นที่ห่างออกไปจะไม่งาม เพราะผักหวานกับต้นตะขบเป็นไม้ที่ให้การเกื้อกูลกันและกัน   เป็นระบบรากและระบบร่ม คือเป็นพืชตระกูลถั่วแล้วรากมันอุ้มน้ำ ผักหวานจะได้น้ำจากรากตะขบอีกทีหนึ่ง สังเกตผักหวานที่กำลังงาม ถ้าตัดต้นตะขบออกนี้ผักหวานแทบจะตายตามเลย เรื่องสมุนไพรชงดื่มต่างๆ น้ำมันมะพร้าวกลั่นเย็น เอาจากก้นครัว เอาจากอะไรต่างๆ มาทำเอง พอเราทำเอง กินของเราเอง เรารู้ว่าปลอดภัยหรือไม่ของเราเอง แต่พอทำแล้วชาวบ้านก็จะถามว่าขายไหม ส่วนใหญ่ยังไม่ทันกลับบ้านก็ถามแล้วว่าขายไหม คือเอาสบาย นั่นคือจุดอ่อน เราไม่ได้พูดถึงเรื่องซื้อขายเลย เราสอนเพื่อให้เอากลับไปทำเองใช้เอง สบู่นี่ก็มีถามขายก้อนละเท่าไร มีหมดทั้งสบู่มะขาม สบู่สูตรน้ำผึ้ง สูตรเปลือกมังคุด สูตรน้ำส้มควันไม้ สูตรถ่านที่ทำจากเตาเผาต่างๆ มีหมด คนที่เข้ามาอบรม 50 คน ต้องได้อะไรอย่างน้อย 2 % เราตั้งเป้าไว้แค่นี้ ไม่ต้องเยอะ บางคนกลับไปบ้านแล้วพาแฟนมาอีก มาบอกให้เราอธิบายให้เขาได้เข้าใจ เพราะพอกลับไปแล้วเขาก็ไม่เข้าใจกัน อธิบายกันไม่เข้าใจ แล้วคุยกันไม่ได้ มาให้พ่ออธิบายให้หน่อย แต่คนเป็นเมียมานี่ดีกว่าผัวนะ ถ้าผัวมากลับไปบอกเมียแล้วเมียไม่สนใจแรงทัดทานจะเยอะกว่า แต่ถ้าเมียมานี้กลับไปบอกผัวไม่สนใจ เมียยังบังคับให้ผัวมาได้นะ (หัวเราะ) มีระบบสั่งการได้อยู่ เรื่องการลดสารเคมีลุงให้คำแนะนำกับชาวบ้านอย่างไรบ้าง บางคนปลูกโดยใช้สารเคมีไว้ขาย ส่วนที่กินเองปลูกไว้ต่างหาก ซึ่งมันไม่แฟร์ สิ่งที่เราจะช่วยได้คือ ทำอย่างไรจะให้ความรู้ชาวบ้าน ผมว่าปัญหานี้พอแก้ได้ ตอนนี้ก็เอามาร่วมเครือข่าย 2 – 3 รายอยู่ สิ่งแรกต้องสร้างศรัทธาให้เขา เพราะเขาไม่เชื่อว่าถ้าไม่ใช้สารเคมีมันจะขายได้ไหม เลยให้เขามาดูของที่นี่ มาดูว่ามันขายได้ไหม ทั้งๆ ที่ไม่ได้ใช้สารเคมีเลย แถมต้นทุนยังถูกกว่าอีก เคยมีคนที่มาคุยว่ามีที่จำนวน 14 ไร่ มีการปลูกหมุนเวียนในที่ 14 ไร่นั้น รอบนี้ปลูก 4 ไร่ นอกนั้นปล่อยร้าง แล้วก็ปลูกทีละ 4  ไร่เวียนกัน อย่างนี้มันไม่ได้ นี่มันเวียนแปลงปลูก ถ้าไม่ปลูกพืชหมุนเวียนจะสู้กับโรคแมลงอะไรต่างๆ ไม่ได้ ถ้าซ้ำของเดิมเกิน 3 ครั้งนี่จบ มีนักเรียนมาดูงานบ่อยไหม มีบ้าง มากันเองก็มี ที่ครูบาอาจารย์พามาก็มี แต่ส่วนมากเป็นนักเรียนชั้นประถม คนดูงานก็มีมาบ่อยๆ ตอนหลังนี้ก็มีนิสิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มา 2 รุ่นแล้ว เพราะเขาไม่เคยเห็นแบบนี้มาก่อน น.ศ.มีทั้งมาจากฟินแลนด์ จากอัฟริกา ถ้าของกรมป่าไม้พามาก็มีทางลาว พม่า เวียดนาม จีน พวกโซนเอเชียที่มา ที่ อบต. วังทองนี้นอกจากปลูกผักเพื่อรับประทานในท้องถิ่นแล้ว มีการปลูกเพื่อส่งออกประเทศเพื่อนบ้าน อย่างลาวด้วยไหม มี แต่นั่นคือโครงการของผู้ว่าราชการกับนายอำเภอ แต่ก็ไม่ถึงขนาดเน้นแต่ส่งออกหรอก อันนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ว่ากับนายอำเภอคิดไว้ เพราะแหล่งนี้เป็นแหล่งที่ปลูกผักอยู่แล้ว ก็จะพัฒนาให้ได้ GMP แล้วก็ส่งออกไปประเทศลาว ระบบการซื้อขายผลิตภัณฑ์ของที่นี่มีรูปแบบอย่างไรบ้าง ผลิตภัณฑ์ต้องดูว่าเกี่ยวกับอะไร เพราะที่นี่ไม่ได้เน้นการทำเป็นธุรกิจ เน้นการถ่ายทอด ผักที่ปลูกก็ไปคุยกับโรงพยาบาลว่า รพ.รักษาโรคคนไข้ ดูแลเรื่องสุขภาพ แต่ผักที่เอาไปทำให้คนไข้กินมันก็เป็นผักที่มีสารเคมี มันสวนทางกัน ก็เลยเอาอย่างนี้ไหม ผมทำให้ ก็มีกลุ่มช่วยทำเพื่อจะเป็นต้นแบบก่อน ซึ่งก็จะมีหลายอำเภอมาดูงานแล้ว ลูกสาวผมก็มีแผงผักอยู่ในตลาด เป็นผักอินทรีย์ วันไหนไม่มีก็ไม่ไป ทุกวันศุกร์ก็จะมีตลาดสีเขียวในตัวเมือง แต่ของเราไม่สามารถจะมีไปได้ทุกวัน หลักในการบริหารผลผลิต คือ 1) กินให้ได้ก่อน 2) เหลือกินให้เอาไปแจก เหลือแจกให้แลก คนนี้มีไอ้นั้น คนนั้นมีไอ้นี้เอามาแลกกันกิน แล้ว 3) เหลือค่อยพูดถึงเรื่องขาย แต่ส่วนใหญ่ชาวบ้านมักจะพูดว่าจะเอาไปขายที่ไหน ถ้าเอาเรื่องขายเป็นตัวตั้งนั้นยาก อีกอย่างปัญหาชาวบ้านคือไม่มีเงินลงทุน ตลาดกับเงินลงทุนนี้เป็นปัญหา ถ้าผ่านสองอย่างนี้ได้ชาวบ้านเขาก็ทำ เอาเงินมาให้เขา พอเงินทุนหมดเขาก็หยุดทำ ถ้าทำเพราะเงินนั้นมันไม่ยั่งยืนอยู่แล้ว แต่ถ้าทำด้วยศรัทธาที่มาจากใจนั้นยั่งยืน ทุกวันนี้ก็เอาผักไปให้โรงครัวทำให้คนไข้ในโรงพยาบาล( รพ.นากลาง )กินทุกวัน เรามีสมาชิกในกลุ่ม 20 กว่าคนช่วยกันทำทุกวัน ก็จะเอามารวมกัน ใครมีอะไรก็เอามา แต่การไปส่งนั้นเวียนกันไป ราคาก็มีการตกลงเป็นกลางไว้เลย  ไม่มีขึ้นมีลง ถ้าช่วงผักราคา(ตลาด)ขึ้นก็ถือว่าเกษตรกรเสียหายนิดหน่อย แต่ถ้าผักราคา(ตลาด)ลงโรงพยาบาลก็อาจขาดทุน แต่ถ้าถามว่าคุ้มไหม มองในด้านธุรกิจไม่คุ้ม แต่เราทำเพื่อคนป่วย เราส่งวันต่อวันทุกวัน ทำให้คนป่วยได้มีอาหารที่ดีกิน   นายบัวพันธ์ บุญอาจ อายุ 70 ปี  ตำบลด่านช้าง  อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ลุงบัวพันธ์ ได้เริ่มทำการเกษตรบนที่ดิน 62  ไร่ มากว่า 40 ปี โดยในตอนนั้นยังไม่มีหน่วยงานใดๆ เข้ามาสนับสนุนเรื่องเกษตรผสมผสานหรือเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง แต่ลุงก็สนใจและทดลองทำตามแบบที่ตนเองคิดว่า น่าจะดี ด้วยความใฝ่รู้และสนใจศึกษาทดลองอย่างจริงจัง ทำให้ในที่สุดลุงได้เปลี่ยนพื้นที่แปลงนากว่า 60 ไร่ มาปลูกป่า  ปลูกผัก  ปลูกไม้ผล ทำบ่อเลี้ยงปลา  ฯลฯ ซึ่งในระยะเริ่มต้น การลองผิดลองถูกเช่นนี้เป็นเหตุให้ชาวบ้านทั่วไปมองว่า ลุงเป็นคนบ้า แต่ในที่สุดเมื่อสิ่งที่ลงทุนลงแรงไป ได้ก่อดอกผลอันน่าชื่นใจ ทุกคนก็ตระหนักและเริ่มเข้าใจหลักการเกษตรผสมผสานของลุง และในปี พ.ศ. 2550 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการคัดเลือกแต่งตั้งให้ลุงได้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน นอกจากนี้ลุงบัวพันธ์ยังได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการเกษตร จากอีกหลายสถาบันการศึกษา  ในทุกๆ ปี ทางกระทรวงฯ ยังจัดสรรงบประมาณให้มีการนำเกษตรกร นักเรียน นักศึกษาจากหลากหลายพื้นที่ มาอบรม ศึกษาดูงานในแปลงเกษตรของลุง  ปัจจุบันลุงมีทีมงานที่คอยให้คำแนะนำและคำปรึกษาทั้งหมด 9 คน   ซึ่งภายในพื้นที่ 62 ไร่แห่งนี้ มีทั้งไม้ยืนต้นอย่างต้นสัก พยุง ไม้ผล อย่าง ชมพู่  มะขาม มะปราง  มะพร้าว มะม่วง ตะขบ ตลอดจนพืชผักระยะสั้น เช่น ผักสลัด คะน้า  มะเขือเทศ  ฟักทอง และผักหวานป่าที่ปลูกแซมกับต้นสักและต้นตะขบ  ก่อให้เกิดรายได้ทั้งปี ทั้งยังเป็นแปลงเกษตรที่ปราศจากสารเคมีการเกษตรอีกด้วย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 151 “สังฆทาน บาป”

“สังฆทาน บาป” รู้หรือไม่ว่าของในถังสังฆทานที่ซื้อมาหมดอายุก่อนวันซื้อ คุณทำได้มากกว่าการนำไปเปลี่ยนคืนธ.ก.ส. ลดหนี้มโหฬาร ล้างบาป “กลุ่มเกษตรกรพันธุ์ใหม่” เมื่อกลุ่มเกษตรกร “คนรุ่นใหม่” ต้องตกเป็นเหยื่อจากการดำเนินโครงการด้านการเกษตรที่ล้มเหลวของรัฐสังฆทาน เป็นชื่อเรียกการถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก โดยเฉพาะการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์จะมีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง หรือแม้แต่การถวายทานแก่พระพุทธเจ้าแม้ยังทรงพระชนม์อยู่ ก็ยังได้บุญสู้การถวายทานแก่พระสงฆ์ที่เป็นหมู่คณะไม่ได้...ผู้รู้ทางพุทธศาสนาท่านว่าไว้อย่างนั้นแต่เดี๋ยวนี้...ในยุคสังคมแบบ “เร็วเข้าว่า ช้าไม่เป็น” สังฆทานถูกแปรรูป แปรเจตนาไปเยอะ มีการจัดชุดสังฆทานขายอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ต้องการบุญแบบแดกด่วน หวังกำไรมาก ไม่คิดถึงบาปบุญ จนกลายเป็นปัญหาขึ้นมาทั้งคนทำบุญและสงฆ์ที่รับทานคุณบารมี ไปซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เก็ตตราดอกบัว ย่านรังสิต เดี๋ยวนี้แทบทุกห้างมีแผนกนี้ล่ะ “แผนกเครื่องสังฆภัณฑ์” บารมีเตรียมหาของไปทำบุญวันเข้าพรรษา เห็นป้ายโฆษณาขายชุดถังสังฆทานใส่ในถังพลาสติกใบเหลืองเล็ก ขนาดพอหิ้วดูเก๋ไก๋ แกว่งไปมาได้ไม่เจ็บข้อมือ “ซื้อ 1 แถม 1” ราคา 155 บาท“โอว พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ...ได้บุญมาก ราคาไม่แพง แถมยังแบ่งกับเพื่อนได้อีกถัง” บารมีเห็นหนทางนิพพานของตัวเองทันที หิ้วถังสังฆทาน 2 ใบ ไปที่ทำงาน เห็นพลาสติกใสหุ้มสิ่งของจนล้นปากถังเลยอยากรู้ว่ามีอะไรอยู่บ้างดูซะล้นถังอย่างนั้น ชวนเพื่อนที่จะเป็นคู่บุญกันมาแกะดูสิ่งของที่อยู่ในถัง ขาดเหลืออะไรจะได้ซื้อเพิ่มเติมได้รายการของที่มีอยู่ในทั้งสองถังเหมือนกันเด๊ะ คือ ยาหอม 1 ถุง คงเข้าใจว่าพระเป็นลมบ่อยเลยใส่เข้ามา ชาจีน 1 กล่อง ถือเป็นมาตรฐานสังฆทานต้องมีชาจีน ชาเก๊กฮวย 1 กล่อง เผื่อพระไม่ชอบชาจีน น้ำส้มผสม 1 ขวด เผื่อให้พระเวลาสวดเวลาเทศน์เสียงจะได้สดได้ใส เกลือ 1 ถุง อาจจะเอาไว้ให้พระใส่เติมเพิ่มรสชาติน้ำชา น้ำส้ม ขันน้ำพลาสติกสีเหลือง 1 ใบ มีความบางจนน่าจะเขียนคำเตือนว่า “อย่าตักน้ำแรงเดี๋ยวขันแตก” และของที่ใหญ่ที่สุด สูงที่สุดซึ่งอยู่ก้นถัง และเป็นตัวการสำคัญที่ทำของดูพอกพูนจนล้นถัง มันคือ กระดาษชำระเนื้ออย่างเลว 1 ห่อ พิจารณาดูเนื้อกระดาษแล้ว หากนำไปเช็ดก้นเป็นประจำก็อาจทำให้เป็นริดสีดวงทวารได้ ว่างั้นเหอะ รวมกับถังพลาสติกใบเล็ก 1 ใบที่ใช้ใส่สิ่งของรวมเป็นชุดสังฆทาน 1 ชุดทั้งหมด ราคา 155 บาทแถมอีก 1 ถัง“ถึงว่าทำไมขายลดราคาได้” บารมีเริ่มตรัสรู้แต่เอ๊ะ...น้ำส้ม ทำไมวันหมดอายุไม่เหมือนกัน บารมีกับเพื่อนช่วยกันดู แล้วก็นะจังงัง เพราะน้ำส้มที่อยู่ในถังสังฆทานใบหนึ่ง มันหมดอายุไปเป็นเดือนแล้ว“ยังดีนะที่ไม่ได้เอาไปถวายพระ ไม่งั้นคงบาปแย่ เพราะนำของหมดอายุไปถวาย” บารมีรำพึงกับเพื่อนสรุปว่า วันเข้าพรรษาครานั้นบารมีและเพื่อนต้องไปหาซื้อของจัดชุดสังฆทานเพื่อถวายพระกันใหม่ ส่วนชุดสังฆทานที่ซื้อมาแล้วก็ต้องหิ้วมาร้องเรียนกันที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางแก้ไขปัญหาสังฆทานจัดชุดแล้วนำมาขายให้ชาวพุทธเกิดปัญหาบ่อยมาก เพราะเป็นการนำสินค้าหลายชนิดมาบรรจุหุ้มห่อรวมกัน สินค้าบางชนิดที่นำมารวมนั้นโดยเฉพาะจำพวกอาหารการกิน มีกำหนดอายุหรือเวลาที่ควรใช้ แต่คนที่ซื้อก็ไม่รู้ว่ามันหมดอายุหรือเปล่าเพราะถูกหุ้มห่อไว้ด้วยพลาสติกใสใส่ในถัง ผู้ผลิตที่แย่ๆ บางรายก็ชอบเอามาซุกมาห่อรวมกันขาย อีกปัญหาคือความไม่ลงรอยของสินค้าที่ถูกยัดใส่ในถังรวมกัน ชอบทำปฏิกิริยาหาเรื่องใส่กัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนสี กลิ่น หรือรส จนมาสร้างความซวยให้กับพระสงฆ์องค์เจ้าให้ท้องไส้ปั่นป่วนได้ ที่สำคัญตัวสินค้าในชุดสังฆทานน่ะต้นทุนไม่เท่าไหร่แต่ค่าจัดชุดสังฆทานนี่สิแพงที่สุดร่วม 30-40%ของราคาสินค้าทั้งหมด แถมของที่จัดมาพระสงฆ์ไม่ได้ใช้เลย เพราะเป็นของไม่มีประโยชน์ ไม่มีคุณภาพคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงออกประกาศให้ชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ประกาศเมื่อปี 2550 ใครจะขายต้องมีการแสดงฉลากแสดงรายละเอียดของรายการสินค้า ที่ระบุขนาด มิติ ปริมาณ ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน และราคาของสินค้าแต่ละรายการ ต้องแสดงชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย ต้องแสดงวันเดือนปีที่หมดอายุ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน ของสินค้าใดสินค้าหนึ่งที่นำมารวมนั้นระบุว่าเร็วที่สุด ต้องระบุวันเดือนปีที่บรรจุ และราคารวมชุดจัดบรรจุระบุหน่วยเป็นบาทประกาศฉบับนี้ยังควบคุมไปถึงปัญหาสินค้าที่อยู่ในชุดสังฆทานจะทำปฏิกิริยากันจนทำให้มีสี กลิ่น หรือรสเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่พระสงฆ์ หรือผู้บริโภคได้ จึงให้มีการระบุคำเตือนในฉลาก ด้วย เช่น ใบชา ข้าวสาร สบู่ และผงซักฟอก อาจทำปฏิกิริยากัน จนทำให้มีสี กลิ่น หรือรสเปลี่ยนแปลงไปซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคเนื่องในการใช้หรือโดยสภาพของสินค้านั้นได้ ดังนั้น ผู้ใช้ควรแยกสินค้าที่อาจทำปฏิกิริยากันได้นั้นออกจากกันโดยเร็ว แม้จะเป็นคำเตือนที่ดูแปลกๆ เพราะหากสินค้ามันจะเกิดปฏิกิริยากันมันก็สามารถเกิดได้ตั้งแต่ตอนวางขายอยู่ในห้างแล้ว แม้จะแยกกันออกมาภายหลัง สี กลิ่น หรือรส ที่เปลี่ยนแปลงไปก็คงไม่สามารถเรียกกลับคืนได้ง่าย สุดท้ายก็ต้องทิ้งของนั้นไป แต่ก็ถือว่าเป็นความพยายามของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้ามาควบคุมดูแลการขายชุดสังฆทานจากที่ไม่เคยมีมาก่อนตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 52 ได้กำหนดโทษไว้ว่า ผู้ใดขายสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่ฉลากหรือการแสดงฉลากนั้นไม่ถูกต้อง หรือขายสินค้าที่มีฉลากที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก(ภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) สั่งเลิกใช้ โดยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าการไม่มีฉลากหรือการแสดงฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำข้างต้นเป็นการกระทำของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้สั่งหรือนำเข้ามาในประเทศเพื่อขาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับด้วยโทษที่สูงเอาการ เราจึงแนะนำให้ผู้ร้องเรียนไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เพื่อเป็นหลักฐานก่อน ยังไม่ต้องแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ และมีจดหมายเชิญตัวแทนห้างดอกบัวในฐานะผู้ขายสินค้ามาเจรจาเพื่อเยียวยาความเสียหายแก่ผู้บริโภค ผลการเจรจาทางห้างยินยอมเยียวยาความเสียหายให้เป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท  ซึ่งผู้ร้องยินดีรับค่าเยียวยาความเสียหายและไม่ติดใจเอาความใดๆ ส่วนห้างเมื่อต้องจ่ายค่าเสียหายไปแล้ว ก็เดินหน้าเช็คบิลเอาผิดกับผู้ผลิตชุดสังฆทานต่อไป โดยจะทำการตรวจสอบสินค้าและหากพบว่าสินค้าที่อยู่ในชุดสังฆทานหมดอายุจริง ก็จะให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินการฟ้องร้องกับบริษัทผู้ผลิตชุดสังฆทาน ขณะที่ผู้ร้องเรียนก็ยินยอมที่จะเป็นพยานในชั้นศาลอีกด้วย   กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 52 ได้กำหนดโทษไว้ว่า ผู้ใดขายสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่ฉลากหรือการแสดงฉลากนั้นไม่ถูกต้อง หรือขายสินค้าที่มีฉลากที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก(ภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) สั่งเลิกใช้ โดยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าการไม่มีฉลากหรือการแสดงฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำข้างต้นเป็นการกระทำของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้สั่งหรือนำเข้ามาในประเทศเพื่อขาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ      

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 55 สังฆทานถังเหลือง

 เวลา 24 ชั่วโมงของคนในยุคนี้ กับเวลา 24 ชั่วโมงของคนสมัยอยุธยาดูมันจะหดแคบกว่ากันเยอะ เดี๋ยวนี้อะไร ๆ ก็ต้องด่วนไปหมด ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของการทำบุญ เรา มักจะอ้างว่าไม่ค่อยมีเวลาไปเข้าวัดฟังธรรม การทำสังฆทานเลยกลายเป็นทางเลือกหนึ่ง และกลายเป็นวิธีการทำบุญแบบเร่งด่วนไปโดยที่เราไม่รู้ตัว เดี๋ยวนี้ตามหน้าวัดหรือในวัดต่าง ๆ เราจะเห็นการจัดสังฆทานสำเร็จรูปในถังพลาสติกสีเหลืองไว้คอยบริการญาติโยม แต่เราเคยสำรวจกันไหมว่าในสังฆทานถังเหลืองเหล่านั้นจะมีของสักกี่ชิ้นที่จะ ก่อให้เกิดบุญก่อให้เกิดผลทั้งต่อผู้ให้และผู้รับที่เป็นพระสงฆ์องค์เจ้า จริง ๆ ฉลาดซื้อ ฉบับนี้ได้ไปเก็บรวบรวมสังฆทานถังเหลืองตามที่ต่าง ๆ เพื่อจะดูว่า มีของอะไรบ้างที่ถูกใส่เข้าไป และในของเหล่านั้นมีของอะไรบ้างที่เราใส่เข้าไปแล้วจะก่อให้เกิดบุญเกิดผล และของอะไรบ้างที่เราควรจะลดละเลิกไม่ควรใส่เข้าไปในสังฆทานเพราะจะเกิดโทษ ภัยกับพระสงฆ์หรือกับคนอื่น ๆ ที่พระท่านมอบต่อให้ไป   สิ่งของที่สำรวจพบในสังฆทานสำเร็จรูป(แสดงรูปประกอบเป็นกลุ่ม ๆ ) ก.      ภาชนะที่ใช้บรรจุสังฆทาน  ถังพลาสติกสีเหลือง กล่องพลาสติกใสแบบมีฝาปิด กระติกน้ำแข็ง ขันเงินใบใหญ่ ถังน้ำพลาสติกขนาดใหญ่ ข. ผลิตภัณฑ์ในสังฆทาน กลุ่มอาหาร น้ำปลาขวดเล็ก น้ำผลไม้บรรจุขวด ใบชา เครื่องดื่มขิง บะหมี่สำเร็จรูป ผลไม้กระป๋อง น้ำพริกเผาบรรจุขวด ขนมคุ๊กกี้บรรจุกล่อง เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม นมสดกระป๋อง ปลากระป๋อง น้ำดื่มบรรจุขวด ข้าวสารแบ่งบรรจุ ค. ผลิตภัณฑ์ในสังฆทาน กลุ่มสิ่งของเครื่องใช้ ผ้าขนหนูผืนเล็ก ผ้าอาบน้ำฝน อังสะ ผงซักฟอก สบู่ กล่องสบู่ ไฟฉายและถ่านไฟฉาย ธูปเทียน ไม้ขีดไฟ แก้วน้ำพลาสติก แปรงสีฟัน ทิชชู่ น้ำยาล้างจาน ร่ม รองเท้าฟองน้ำ ไม้จิ้มฟัน ยาสีฟัน ขันน้ำพลาสติก ด้าย และเข็มเย็บผ้า ง. ผลิตภัณฑ์ในสังฆทาน กลุ่มยา ยาหอม ยาสามัญประจำบ้าน ทำไมเราควรจัดถังสังฆทานเองเหตุผลสำคัญที่เราควรจะจัดหาสิ่งของมาจัดเป็นสังฆทานด้วยตนเอง คือ1.    สิ่งของที่อยู่ในสังฆทานสำเร็จรูปที่จำหน่ายโดยทั่วไปเกินกว่าครึ่ง เป็นของที่พระนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย2.    การจัดสังฆทานเองนอกจากจะได้ของที่เกิดประโยชน์แน่นอนแล้ว เรายังสามารถคุมค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย3.    สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งของที่คนชอบถวายจนพระใช้ประโยชน์ไม่ทันจนเหลือล้นวัดได้ การจัดสังฆทานที่ไม่ได้บุญ สังฆทานที่แท้คืออะไร คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการทำสังฆทานจะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะส่งผลบุญไปถึงญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วใน002อีก ภพอีกชาติหนึ่งได้ แต่ความหมายที่แท้จริงของการทำสังฆทานก็คือ การถวายสิ่งของแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ โดยไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เมื่อเราถวายให้แล้วก็ถือว่า พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปมีสิทธิ์ใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นตามสะดวก ซึ่งอาจจะมีเพียงตัวแทนสงฆ์เพียงรูปเดียวมารับประเคน ก็ถือว่าเป็นสังฆทานเหมือนกัน ดังนั้นบุญที่เราเข้าใจว่าจะได้จากการ ทำสังฆทานก็คือ การที่หมู่ภิกษุสงฆ์ได้ประโยชน์จากสิ่งของที่เราทำทานให้ท่าน ยิ่งของที่เราให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มาก บุญก็จะเกิดมากตามไปด้วย แต่ถ้าของที่อยู่ในสังฆทานหาประโยชน์ไม่ได้ สังฆทานก็จะกลายเป็นขยะล้นวัดไป การใส่ใจในสิ่งของที่จะทำสังฆทานจึง เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากเราให้ของไม่ดีไม่เกิดประโยชน์กับพระไป บุญที่จะได้ก็อาจจะกลายเป็นบาปก็ได้    ทานที่ใหญ่กว่าสังฆทาน  มีทานอีกรูปแบบหนึ่งที่คล้าย ๆ สังฆทาน เป็นทานที่มีอาณาเขตกว้างขวางกว่า คือ ทานที่ให้แก่หมู่พวกที่ไม่เฉพาะกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เรียก สาธารณทาน เป็นทานที่ไม่จำกัดเฉพาะในรั้ววัด เป็นการให้ที่ไม่มีขอบเขต สังฆทานเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณทานเช่นกัน   ทานที่น้อยกว่าสังฆทาน การถวายทานที่ให้เฉพาะพระภิกษุสงฆ์รูป นั้นรูปนี้ เรียก ปาฏิปุคคลิกทาน มีอานิสงส์น้อยกว่าทานสองประเภทข้างต้น เพราะเป็นการจำกัดเฉพาะบุคคลว่าต้องเป็นคนนั้นคนนี้ การให้ทานแก่ส่วนรวมย่อมได้อานิสงส์มากกว่า   คำถวายสังฆทานการ ทำพิธีถวายสังฆทาน ไม่มีอะไรยุ่งยาก เมื่อนำสิ่งของไปและพระสงฆ์รู้ความประสงค์ ท่านก็จะให้จุด ธูป เทียน แล้วก็ว่า นโม 3 จบ แล้วกล่าวถวาย สังฆทาน ดังนี้ อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะโอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆอิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ  บุญไม่ใช่แค่เรื่องการบริจาคทรัพย์ทำทาน บุญ แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด หรือ คุณสมบัติที่ทำให้บริสุทธิ์ ส่วนคำว่า "ทาน" แปลว่า การให้ การสละ การเผื่อแผ่แบ่งปัน จะมอบของให้ใคร หรือจะถวายของให้ใครก็เป็นบุญทั้งนั้น จะต่างกันก็เพียงว่าได้บุญมากบุญน้อยเท่านั้นเอง   ฉะนั้น เวลาพูดว่า ไปทำบุญทำทาน จึงหมายความว่าไปชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยการแบ่งปันสิ่งของซึ่งเป็นการแบ่งปันให้ใครก็ได้ และการทำบุญก็ไม่ได้มีความหมายแคบ ๆ แต่เพียงแค่การให้ทานบริจาคสิ่งของแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น    ตามหลักพุทธศาสนา มีการทำบุญด้วยกัน ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ) คือ1. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทาน เป็นการช่วยขัดเกลา ความเห็นแก่ตัว ความคับแคบ ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไป ก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคล หรือชุมชนโดยส่วนรวม สังฆทานก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำบุญในข้อนี้ 2. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิก ความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น เป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงาม และพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ 3. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนา เป็นการพัฒนาจิตใจ และปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น 4. อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม รวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ทั้งในความคิดความเชื่อ และวิถีปฏิบัติ ของบุคคลและสังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่น ในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย) 5. ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ช่วยเหลือสละแรงกายเพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้าน ที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ (ไวยาวัจจมัย) 6. เปิดโอกาสให้คนอื่น มาร่วมทำบุญกับเรา หรือในการทำงาน ก็เปิดโอกาสให้คนอื่น มีส่วนร่วมทำ - ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญ ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย) 7. ยอมรับและยินดีในการทำความดี (หรือทำบุญ) ของผู้อื่น เป็นการเปิดโอกาสร่วมใจอนุโมทนา ในการกระทำความดีของผู้อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย) 8. ฟังธรรม บ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดี มีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมสวนมัย) 9. แสดงธรรม ให้ธรรมะ และข้อคิดที่ดี กับผู้อื่น แสดงธรรม นำธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย)  10. ทำความเห็นให้ถูกต้อง และเหมาะสม มีการปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น - ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญก็เป็นบุญ (ทิฏฐุชุกรรม)  ทิฏฐุชุกรรม หรือ สัมมาทัศนะ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำบุญทุกชนิด และทุกโอกาส จะต้องประกบและประกอบเข้ากับบุญกิริยาวัตถุข้ออื่นทุกข้อ เพื่อให้งานบุญข้อนั้น ๆ เป็นไปอย่างถูกต้องตามความหมายและความมุ่งหมาย พร้อมทั้งได้ผลถูกทาง    อย่างไรที่เรียกว่า "ฉลาดทำบุญ" พระพยอม กัลยาโณ "การทำบุญตามหลักพุทธศาสนานั้น เราสรรเสริญคนที่ใคร่ครวญ คิดวินิจฉัยดีแล้วจึงทำบุญ ใครที่ทำบุญเก่งอย่างเดียว แต่คิดสังเกต ใคร่ครวญ ถึงประโยชน์ของบุญน้อยไป ก็จะเป็นพวกที่เรียกว่า หลงบุญ เมาบุญ บ้าบุญ คือ ทำดีไม่ถึงดี ทำดีไม่ถูกดี ทำดีไม่พอดี บางทีก็เป็นดีซ่านไป   ฉะนั้น จึงต้องวินิจฉัยว่า ประโยชน์ของการทำบุญในเวลานี้นั้น มันเกื้อกูลกับสังคมมนุษย์แค่ไหน เพราะบุญนั้นทำเพื่อให้มนุษย์สมบูรณ์ขึ้น พูดง่าย ๆ ว่าบุญนั้นต้องทำให้เกิดความสมบูรณ์ในความขาดแคลน เราจึงต้องมองว่าในเวลานี้อะไรขาดแคลนมากที่สุด เช่น มีเด็ก ๆ เป็นจำนวนมากที่ขาดสารอาหาร เราก็ควรทำบุญอาหารกลางวันเลี้ยงเด็กบ้าง ส่วนอาหารพระ เณร สังฆทานนั้น บางทีก็มากเกินไปแล้ว และของในสังฆทานบางครั้งก็ไม่จำเป็น เช่น เกลือ น้ำมันพืช บางครั้งก็มีมากเกินไป พระไม่ได้มีเวลาไปผัด ไปจิ้ม ไปทอดอะไรมากมาย หรืออย่างทำบุญปล่อยสัตว์ ปล่อยวัว ปล่อยควายเวลานี้ก็มากเกิน และบางวัดก็ทำไปในลักษณะหารายได้เข้าวัด ตัวเดียววนเวียนปล่อยอยู่ตั้งเป็นร้อยเจ้า หลายคนช่วยแต่ช่วยได้ชีวิตเดียว มันก็ไม่ฉลาด วัดรวยแต่สังคมก็ยังขาดแคลน  ดีที่สุด ก็คือ การทำบุญเพื่อให้ศีลธรรมกลับมา เช่น เอาวัวควายไปให้ชาวนาที่ยากจน ไม่ติดอบายมุข ไม่ติดการพนัน พวกที่ติดเหล้า เที่ยวเตร่ เล่นการพนันก็ต้องเลิกถึงจะให้ยืมวัว ยืมควายไปใช้ เพราะถ้าทำบุญแล้วศีลธรรมไม่กลับมา บุญก็จะมิได้ช่วยโลก ช่วยชาติ ช่วยบ้าน ช่วยเมืองเท่าไรเลย อาตมาจึงอยากจะให้เปลี่ยนจากการทำบุญด้วยสังฆทานต่าง ๆ มาเป็นการทำบุญเพื่อให้ศีลธรรมกลับมา ให้เกิดความสมบูรณ์ ให้ความขาดแคลนของสังคมหายไป"    แหล่งข้อมูลจากหนังสือฉลาดทำบุญ เรียบเรียงโดย พระชาย  วรธมโม และพระไพศาล  วิสาโล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 164 รากบุญ รอยรัก แรงมาร : ความปรารถนาเป็นอาหารอันโอชาของกิเลส

หลังจากที่กล่องรากบุญ อันเป็นแหล่งรวมพลังของ “กิเลส” ได้ถูกเจ้าของกล่องอย่าง “เจติยา” นางเอกนักตกแต่งศพทำลายไปแล้วในภาคแรก คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วกิเลสของมนุษย์สามารถถูกทำลายไปได้จนหมดจริงแล้วหรือ? เงื่อนไขที่กล่องรากบุญใบเก่าได้วางรหัสเอาไว้ก่อนหน้านั้นก็คือ ทุกครั้งที่เจ้าของกล่องได้ทำบุญด้วยการช่วยปลดปล่อยวิญญาณคนตายให้หลุดพ้นจากบ่วงกรรม เจ้าของกล่องรากบุญจะได้เหรียญมาหนึ่งเหรียญ และเมื่อสะสมเหรียญจนครบสามเหรียญ เจ้าของก็ต้องขอพรหนึ่งข้อ และกล่องก็จะบันดาลให้พรนั้นสัมฤทธิ์ตาม “ความปรารถนา” แต่เหตุที่เจติยาเลือกขอพรสุดท้ายให้กล่องรากบุญทำลายตัวเองไปนั้น ก็เพราะเธอเห็นแล้วว่า การทำบุญโดยหวังผลก็เป็นเพียงการแปรรูปโฉมโนมพรรณใหม่ของ “กิเลส” ชนิดหนึ่ง เพราะฉะนั้น ถ้ากล่องและเหรียญเป็นที่สั่งสมไว้ด้วยกิเลส ก็ต้องกำจัดกล่องรากบุญอันเป็นต้นตอของกิเลสนั้นเสีย ทว่า ด้วยปมคำถามที่ว่า กิเลสของมนุษย์สามารถถูกทำลายไปได้หมดจริงหรือไม่ มาถึงละครภาคต่อของเรื่อง “รากบุญ” นั้น แม้กล่องจะถูกทำลายไปแล้ว แต่เพราะเหรียญของกล่องรากบุญใบเก่าได้ถูก “วนันต์” ขโมยไปด้วยความโลภ จากเหรียญหนึ่งเหรียญก็ค่อยๆ แตกตัวมาเป็นสามเหรียญ และก็กลายเป็นกิเลสหยดเล็กๆ ที่ค่อยๆ สั่งสมขุมพลังให้ตนเองมีอำนาจมากขึ้น พลังของเหรียญที่มีกิเลสหล่อเลี้ยงอยู่ ได้สร้างปีศาจตนใหม่ขึ้นมาในชื่อว่า “กสิณ” ที่ตามท้องเรื่องเป็นปีศาจที่ไร้เพศไร้อัตลักษณ์ชัดเจน แต่ก็อาจจะด้วยว่าเป็นปีศาจที่ได้รับอิทธิพลจากกระแส J-pop หรืออย่างไรมิอาจทราบได้ ปีศาจกสิณจึงมักปรากฏตนในชุดยูกาตะของญี่ปุ่น และมีฝีมือดาบแบบซามูไรแดนอาทิตย์อุทัย เพื่อเพิ่มพลังให้กับกิเลสของมนุษย์ กสิณจึงพรางตัวอยู่ในเหรียญหนึ่งเหรียญ ซึ่ง “พิมพ์อร” ลูกสาวของวนันต์ได้ครอบครองอยู่ ทุกครั้งที่พิมพ์อรขอพรใดๆ ก็ตาม กสิณหรือปีศาจกิเลสก็จะมีพลังและอำนาจที่เพิ่มมากขึ้น แบบเดียวกับที่ปีศาจกสิณเคยเปรยขึ้นภายหลังจากครั้งหนึ่งที่พิมพ์อรลังเลที่จะไม่ขอพรว่า “เธอใจแข็งได้อีกไม่นานหรอก แล้วสักวัน ความปรารถนาของเธอจะเป็นอาหารอันโชะของฉัน...” เพราะฉะนั้น เมื่อความปรารถนาเป็นอาหารอันโอชารสของกิเลส กสิณจึงคอยตามเป็นเงาของพิมพ์อรอยู่ตลอดเวลา และเรียนรู้ที่จะเข้าไปกำกับก้นบึ้งในจิตใจของพิมพ์อร เพื่อล่อลวงและชักใยให้ผู้หญิงอย่างพิมพ์อรต้องขอพรตามปรารถนาลึกๆ ในใจ ก็ไม่ต่างไปจากภาพสัตว์อย่างกิ้งก่าที่พิมพ์อรเลี้ยงไว้ในห้องนอนของเธอ ที่ผู้กำกับจงใจตัดสลับไปมาในหลายๆ ครั้งคราที่พิมพ์อรกับกสิณสนทนากัน เพราะในขณะที่กิ้งก่าเป็นสัตว์ที่เลียนรู้ที่จะพรางตัวตามสภาวะแวดล้อมที่ต่างกันไป กสิณหรือตัวแทนของกิเลสก็เลียนรู้ที่จะปรับตัวตามธาตุแท้ของโลภะโทสะโมหะที่อยู่ในจิตใจของพิมพ์อรอย่างไม่แตกต่างกัน และเป้าหมายที่กสิณต้องการก็คือ การรวมพลังจากเหรียญที่อยู่ในมือของพิมพ์อรกับเหรียญที่เหลืออีกสองเหรียญเพื่อสร้างกล่องรากบุญใบใหม่ขึ้นมา ซึ่งเหรียญหนึ่งก็อยู่ในมือของ “อยุทธ์” ผู้เป็นน้องชายของพิมพ์อร กับอีกหนึ่งเหรียญที่เปลี่ยนถ่ายมือไปมาจนตกมาอยู่ในความครอบครองของนางเอกอย่างเจติยา แม้ในกรณีของอยุทธ์นั้น เขามีเดิมพันเรื่องการขอพรให้เหรียญช่วยยืดอายุของวนันต์บิดาผู้กำลังเจ็บป่วยใกล้ตาย ทำให้อยุทธ์ต้องเลือกขอพรและเติมความปรารถนาให้เป็นอาหารของกิเลสเป็นครั้งคราว แต่สำหรับเจติยาแล้ว เธอกลับเลือกที่จะยุติอำนาจของกิเลสที่บัดนี้พรางรูปมาอยู่ในร่างของกสิณนั่นเอง เพราะรู้เป้าหมายเบื้องลึกของกสิณที่จะรวมพลังของเหรียญทั้งสามเพื่อสร้างกล่องรากบุญใบใหม่ เจติยาจึงพยายามขัดขวางไม่ให้กิเลสได้สั่งสมขุมกำลังขึ้นมาใหม่ได้ ดังนั้นเจติยาจึงมุ่งมั่นทำความดีด้วยการปลดปล่อยความทุกข์ของวิญญาณคนตายให้หลุดพ้นจากการจองจำ และทุกครั้งที่เธอช่วยเหลือวิญญาณคนตายได้แล้ว แทนที่จะขอพรตามความปรารถนาให้กลายเป็นอาหารหล่อเลี้ยงกิเลสต่อไป เจติยากลับใช้วิธีการชำระเหรียญให้บริสุทธิ์ปราศจากความโลภโมโทสันแทน แต่เพราะเธอเลือกตั้งการ์ดเป็นอริกับกิเลสนี่เอง เจติยาจึงถูกทดสอบโดยกสิณเป็นระยะๆ ว่า เธอจะอดทนยืนหยัดต่อปรารถนาลึกๆ หรือกิเลสที่กำลังเรียกร้องอยู่ในจิตใจได้นานเพียงไร ไม่ว่าจะเป็นการที่กสิณพยายามเอาชีวิตของคนรอบข้าง เพื่อนสนิท น้องชาย ไปจนถึงมารดาของเธอมาเป็นเดิมพัน รวมทั้งล่อลวงสามีพระเอกอย่าง “ลาภิณ” ให้ถูกอำนาจมืดครอบงำจนลืมความรักที่มีต่อเจติยาไปชั่วคราว บทเรียนเหล่านี้จะว่าไปแล้ว ก็ไม่ต่างจากการให้คำตอบกับเราๆ ว่า แท้ที่จริง กิเลสไม่เคยห่างหายไปจากชีวิตของคนเราหรอก และกิเลสก็จะคอยทดสอบเราอยู่ตลอดเวลาว่า มนุษย์จะสามารถเอาชนะปรารถนาที่อยู่ลึกในใจของตนได้หรือไม่ เมื่อมาถึงบทสรุปของเรื่อง ในขณะที่พิมพ์อรที่เชื่อมั่นมาตลอดว่า เธอคือเจ้านายผู้สามารถควบคุมให้กสิณทำโน่นนี่ได้ตามใจปรารถนาของตนเอง แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว เธอกลับได้เรียนรู้ว่า กิเลสไม่เคยอยู่ใต้อำนาจของมนุษย์ หากแต่เป็นมนุษย์ที่สามารถตกเป็นทาสของกิเลสต่างหาก เหมือนกับที่พิมพ์อรได้พูดกับอยุทธ์ผู้เป็นน้องชายว่า “ใช่...พี่รู้แล้วว่าถูกหลอกมาตลอด กสิณไม่ใช่ทาสของพี่และคอยหาผลประโยชน์จากพี่ แต่พี่ก็จะใช้งานกสิณต่อไปเพื่อสร้างกล่องรากบุญขึ้นมาให้ได้ ต่อให้ฉันต้องขายวิญญาณให้ปีศาจ แต่ถ้ามันช่วยคุณพ่อได้ ฉันก็จะทำ” ในขณะเดียวกัน สำหรับผู้ครอบครองเหรียญอีกสองคนคือเจติยากับอยุทธ์ ต่างก็ค้นพบว่า แม้ปรารถนาลึกๆ ของตนต้องการขอพรเพื่อช่วยยืดชีวิตของบุพการีออกไปทั้งคู่ แต่ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีใครหรอกที่จะฝ่าฝืนอายุขัยของตนเองไปได้ เหมือนกับบรรดาศพทั้งหลายที่ทั้งสองคนคอยดูแลตกแต่งศพแล้วศพเล่า เมื่อเข้าใจสัจธรรมชีวิตเยี่ยงนี้ แม้กสิณจะบีบบังคับให้เจติยาและอยุทธ์ร่วมสร้างกล่องรากบุญใบใหม่ขึ้นมาได้ แต่พรที่อยุทธ์ขอเป็นข้อแรกจากกล่องใบใหม่ก็คือ ให้กล่องรากบุญทำลายตัวเองและทำลายพลังของกสิณให้สิ้นซากไป แม้บทเรียนของเหรียญและปีศาจกสิณจะบอกกับเราว่า กิเลสไม่เคยห่างหายไปจากจิตใจของมนุษย์ได้หรอก แต่หากมีจังหวะสักช่วงชีวิตที่เราจะบอกตนเองว่า ถึงกิเลสจะไม่เคยหายไป แต่แค่เพียงเราไม่พยายามเพิ่มพูนความปรารถนาให้มากเกินไปกว่านี้ อย่างน้อยเหรียญพลังของกิเลสก็ยังมีโอกาสจะถูกชำระให้สะอาดขึ้นได้บ้างเช่นกัน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 143 รากบุญ : ว่าด้วย “ราก” ที่แท้จริงของ “บุญ”

  ทุกวันนี้คนจำนวนมาก “ทำบุญ” กันเพื่ออะไร? หลายคนอาจจะบอกว่า ทำบุญก็ต้องหวังผล หรือสร้างเนื้อนาบุญในชาตินี้ ก็ต้องเพื่อผล(ประโยชน์) อะไรบางอย่างทั้งในชาตินี้และชาติหน้า แบบที่บางคนทำบุญเสร็จแล้ว ก็ต้องเที่ยวขอพรให้ลูกช้างได้โน่นได้นี่เป็นการตอบแทน   แต่นั่นก็คงไม่ใช่คำตอบของการทำบุญในนิยามและความยึดมั่นของหญิงสาววัยรุ่นสู้ชีวิตอย่าง “เจติยา” ตัวละครนางเอกในละครโทรทัศน์เรื่อง “รากบุญ” เป็นแน่   สำหรับเจติยาแล้ว “บุญ” คือการให้โดยไม่จำเป็นต้องหวังผลตอบแทนใด ๆ และเธอก็พิสูจน์ให้เห็นตั้งแต่เมื่อได้ถือครองเป็นเจ้าของกล่องรากบุญสืบต่อจากบิดาของพระเอก “ลาภิณ” เจ้าของบริษัทรับจัดแต่งศพแห่งหนึ่งที่เจติยาสมัครทำงานอยู่   เริ่มต้นตั้งแต่การที่เจติยามารับจ้างทำหน้าที่เป็นช่างแต่งศพของบริษัท ก็เป็นอาชีพที่พิสูจน์ให้เห็นว่า เพราะ “เกิดแก่เจ็บตาย” เป็นสัจธรรมของชีวิตที่มนุษย์ทุกคนต้องพานพบ เธอจึงมิได้รังเกียจหรือขยะแขยงต่อ “ความตาย” ที่มาในรูปของศพที่ไร้วิญญาณแต่อย่างใด   ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ เจติยาจึงถูกเลือกให้มาเป็นผู้รับช่วงสถานะความเป็นเจ้าของกล่องรากบุญ ก็เพื่อจะยืนยันให้เห็นว่า ในท่ามกลางผู้คนที่ล้วนแล้วแต่เชื่อกันว่า “โลกนี้ย่อมไม่มีอะไรฟรี” หรือ “no free lunch” นั้น ก็อาจจะมีมนุษย์แบบเจติยาอย่างน้อยสักหนึ่งคนที่กล้ายืนหยัดว่า ในโลกแห่งการทำบุญ ก็ไม่จำเป็นต้องหวังผลตอบแทน หรือการจะ “ให้” ก็ไม่จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนมาด้วยการ “รับ” เสมอไป   แม้กล่องรากบุญจะมีลักษณะไม่แตกต่างจากกล่องไม้แกะสลักทั่วไป ที่เพียงแต่มีรูปเป็นยักษ์อ้าปาก แต่กล่องใบนี้ก็เป็นสิ่งที่พญามัจจุราชได้สร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบกิเลสของมนุษย์บนเงื่อนไขว่า ทุกครั้งหลังจากที่เจ้าของกล่องได้บรรลุภารกิจช่วยเหลือแสวงหา “ความยุติธรรม” ต่อวิญญาณคนตายครบสามดวง (ตามเสียงเรียกร้องของเหล่าวิญญาณที่ร้องขอว่า “บอกความจริง!!!”) เจ้าของกล่องก็จักต้องขอพรอะไรก็ได้หนึ่งข้อเป็นการแลกเปลี่ยนเสมอ   ในขณะที่ชีวิตของเจติยาเองก็เวียนวนอยู่ท่ามกลางความทุกข์และปัญหาต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ปัญหาของมารดาที่สุขภาพไม่ดีและเกือบเอาชีวิตไม่รอด และปัญหาของน้องชายอย่างนที วัยรุ่นผู้กำลังเติบโตอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต แต่หลังจากช่วยค้นหาความยุติธรรมให้กับวิญญาณต่างๆ นั้น เจติยาก็พบว่า สิ่งที่เรียกว่า “ทุกข์” นั้น ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับผู้ใด และเป็นห่วงที่ผูกพันแม้ว่าคนๆ นั้นจะสิ้นชีวิตไปแล้วก็ตาม   ผีเด็กหญิงอย่างน้องออยก็อาจจะมีปัญหาค้างคาว่า ใครเป็นฆาตกรที่ขับรถชนเธอ ผีวัยรุ่นเด็กเนิร์ดคงแก่เรียนอย่างเคมี ก็อาจจะอยากสัมผัสกับรักโรแมนซ์และควงแขนหญิงคนรักไปเที่ยวสวนสนุกเป็นครั้งสุดท้ายของชีวิต หรือผีโจรผู้ร้ายอย่างปองและย้ง ก็อาจจะมีความปรารถนาที่ให้ระบบยุติธรรมลงโทษต่อคนผิดที่เป็นผู้บงการตัวจริง   เพราะฉะนั้น เมื่อทุกข์เป็นสัจธรรมของทั้งคนและผี และมรรควิธีในการดับทุกข์ก็เป็นปรารถนาอันสูงสุดของผู้เวียนว่ายตายเกิดทั้งปวง เจติยาจึงได้ข้อสรุปว่า การช่วยเหลือดับทุกข์ให้วิญญาณต่างๆ ได้พ้นทุกขเวทนา จึงถือเป็นการทำบุญสูงสุด แบบที่ “ให้” ได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอ “รับ” สิ่งใดเป็นการตอบแทนกลับคืนเลย   และด้วยเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของเจติยาเยี่ยงนี้ กล่องรากบุญจึงต้องสร้างตัวละครอย่าง “ปราณ” ขึ้นมา เพื่อเป็นบททดสอบสุดท้ายเรื่อง “การให้โดยไม่หวังผลตอบแทน” กับเธอ ทั้งนี้เพราะการดำรงอยู่ของกล่องรากบุญนั้น ขึ้นอยู่กับกิเลสของมนุษย์ที่ต้อง “ขอ” อะไรสักอย่าง เมื่อไม่มีการ “ขอ” อำนาจของกิเลสและอำนาจของกล่องรากบุญจึงไม่มีความชอบธรรมไปโดยปริยาย   ด้วยเหตุฉะนี้ ปราณผู้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกล่องรากบุญ จึงพยายามทุกวิถีทางและใช้กลยุทธ์ทุกอย่างที่จะบีบให้เจติยาต้อง “ขอ” พรจากกล่อง เพื่อให้อำนาจของกล่องรากบุญดำรงอยู่ต่อไปได้   ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสถานการณ์ร้ายๆ ต่อมารดาและน้องชายของเจติยา การทำร้ายลาภิณชายหนุ่มคนที่เธอรัก หรือการยืมมือของตัวร้ายอย่างพิสัยซึ่งเป็นน้าชายแท้ๆ ของลาภิณ แต่กลับเป็นผู้ที่เต็มไปด้วยความละโมบ ให้มาจัดการทำร้ายคนรอบข้างเจติยา   ความต้องการของปราณมีเพียงประการเดียวคือ การบีบให้เจติยายินยอมคืนสิทธิความเป็นเจ้าของกล่องรากบุญออกไปเสีย และยกกล่องให้ไปอยู่ในความครอบครองของคนที่เปี่ยมไปด้วยกิเลสและโลภจริตอย่างพิสัยแทน และเมื่อมาถึงบทสรุปของเรื่อง ภายใต้การเผชิญหน้าระหว่างเจติยากับปราณ(หรืออำนาจแห่งกิเลส) นั้น เจติยาก็ได้เลือกใช้วิธีเดียวกับการทำลายแหวนแห่งอำนาจในภาพยนตร์ The Lord of the Rings ด้วยการ “ขอ” ครั้งสุดท้ายให้กล่องรากบุญทำลายตัวเองและสูญสลายหายไปจากโลกมนุษย์ เพื่อให้ “บุญ” ได้กลับคืนสู่ความหมายของการ “ให้” แบบที่เคยเป็น   ทุกวันนี้ ภายใต้โลกใบนี้ที่มนุษย์ศรัทธาใน “มูลค่าแลกเปลี่ยน” ที่ว่า เมื่อมีการ “ให้” ก็ต้องมีการ “ขอ”คืนกลับ หรือเมื่อมี “give” ก็ต้องมี “take” เป็นคำตอบในนั้นด้วย ความคิดความศรัทธาเช่นนี้ก็ได้ไหลเข้ามาอยู่แม้แต่ในวิถีการทำบุญของผู้คน   ฉะนั้น หากเราจะลองย้อนกลับไปค้นหา “ราก” ที่แท้จริงของสิ่งที่เรียกว่า “บุญ” ด้วยแล้ว ก็คงต้องเริ่มต้น “คิดใหม่ทำใหม่” แบบตัวละครอย่างเจติยาที่ว่า “รากจริงๆ ของบุญ” ต้องมาด้วยจิตใจที่ปรารถนาจะ “ให้” คุณค่าดี ๆ ต่อมนุษย์และสรรพชีวิตบนโลกของเรา โดยมิจำเป็นต้องมุ่งหวังผลตอบแทนอันใดกลับคืน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 105 บุญ ไม่ใช่การซื้อ

คงไม่ใช่การพูดเกินเลยไปนัก หากจะมองว่าสังคมไทยวันนี้มีรูปแบบ “การทำบุญ” ไม่ต่างจากรูปแบบการบริโภคอื่นๆ คือ ต้องการอะไรสำเร็จรูป สะดวก รวดเร็วและอาศัย “เงิน” เป็นเครื่องมือไปสู่ความสุขหรือสู่การมีบุญ บุญในพุทธศาสนามาจากภาษาบาลีว่า “ปุญญะ” แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ บุญเป็นเครื่องกำจัดสิ่งเศร้าหมอง ที่เรียกกันว่า กิเลส ดังนั้นความหมายที่แท้จริงของการทำบุญคือ การทำให้เราลด ละ ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความมีจิตใจคับแคบ ความตระหนี่ ความลุ่มหลงในวัตถุสิ่งของ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความทุกข์ในจิตใจ หากสละได้ก็ทำให้ใจเป็นอิสระ ลดความเป็นตัวตนลง ถือเป็นโอกาสสร้างคุณความดีอื่นๆ ต่อไป   ดังนั้นการทำบุญคือ การสละอย่างฉลาด ไม่ใช่การตั้งหน้าตั้งตาซื้อ การทำบุญในพุทธศาสนาสามารถทำได้มากมายหลายวิธี ซึ่งขอสรุปให้เป็นแนวทาง 10 วิธี ดังนี้ 1.การให้ทาน บริจาคเงิน สิ่งของ (ทานมัย)2.การถือศีลหรือลดความประพฤติไม่ดี และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น (ศีลมัย)3.การเรียนรู้ ฝึกจิตให้สงบไม่เศร้าหมอง ทำให้เกิดปัญญา (ภาวนามัย)4.การสละแรงกายช่วยเหลือสังคมและผู้อื่น เป็นงานเพื่อส่วนรวม (ไวยาวัจจมัย) 5.การอ่อนน้อมถ่อมตน แม้มีอาวุโสกว่าก็มีเมตตา รู้จักให้เกียรติ (อปจายนมัย)6.การยอมรับและมีความยินดีในการทำความดีของผู้อื่น (ปัตตานุโมทนามัย) 7.การเผื่อแผ่โอกาสให้ผู้อื่นได้ร่วมทำบุญหรือความดีกับเรา พร้อมเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้รับส่วนบุญนั้นด้วย (ปัตติทานมัย) 8.การรับฟังธรรมะและข้อคิดดีงาม (ธรรมสวนมัย) 9.การให้ธรรมะและและข้อคิดที่ดีงามแก่ผู้อื่น (ธรรมเทศนามัย)10. การนึกคิดในทางที่ถูกต้องดีงาม (ทิฎฐุชุกรรม) หากดูจาก 10 ข้อ ที่กล่าวมา คนส่วนใหญ่จะคิดถึงเพียงข้อแรกคือ การให้ทาน และมักเข้าใจว่าต้องทำกับพระเท่านั้น กลายเป็นว่าเวลาต้องการทำบุญ เลยต้องไปซื้อ ถังบรรจุสิ่งของ ที่เรียกกันทั่วไปว่า ชุดสังฆทาน ไปมอบแด่พระภิกษุสงฆ์ ถามว่าได้บุญไหม ก็ได้อยู่ แต่ถ้าจะให้ดี ควรเลือกถวายของที่พระท่านจะได้นำไปใช้จริงๆ ไม่ใช่ของที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยจนพระท่านต้องทิ้งให้กองอยู่ล้นวัด อย่างนี้จะได้บุญมากกว่า การให้ทานแก่ผู้อื่นนอกจากพระสงฆ์ก็เป็นบุญเช่นกัน มีคนมากมายที่เราควรให้ความเอื้อเฟื้อ เช่น เด็กยากจน เด็กกำพร้า ผู้พิการ ฯลฯ หรือแม้แต่การสงเคราะห์สัตว์ เช่น สุนัข แมวเร่ร่อน ก็เป็นบุญเช่นกัน เอาเขามาเลี้ยงในบ้านเพื่อช่วยรักษาชีวิตของเขา หรือบริจาคเงินให้แก่หน่วยสงเคราะห์สัตว์ ทานอีกอย่างที่สำคัญคือ ธรรมทาน เช่น การให้หนังสือธรรมะ หรือหนังสือที่ช่วยให้ผู้อื่นมีแนวทางที่ถูกต้องในการดูแลจิตใจ สุขภาพ ร่างกาย ก็ถือว่าได้บุญเช่นกัน ไม่มีเงิน ก็ทำบุญได้ทำบุญไม่ได้แปลว่าให้ทานเสมอไป ไม่มีเงินเลยก็สามารถทำบุญได้เหมือนกัน การงดสิ่งเสพติด งดอบายมุข ก็ถือว่าได้บุญแล้ว รักษาศีล ไม่ประพฤติตนเป็นคนเกเร อันธพาล ไม่เป็นหนี้เป็นสินหรือไม่ใช่จ่ายให้เกินตัว ทำให้ชีวิตให้โปร่งเบาโดยลดกิเลสต่างๆ ลง เหล่านี้ไม่ต้องใช้เงิน ก็นับเป็นการทำบุญที่อานิสงค์ ไม่แพ้การให้ทานแต่ประการใด สังฆทาน ที่แท้นั้นคืออะไร“การทำบุญคือ การสละอย่างฉลาด ไม่ใช่การซื้ออย่างตะบี้ตะบัน”จะทำบุญกันทั้งที ก็ให้มันมีสติหน่อยพี่น้อง หากจะเลือกการทำทาน ที่เรียกว่า “สังฆทาน” ขอท่านได้โปรดพิจารณา ชุดสังฆทาน ชุดไทยธรรม ที่ฉลาดซื้อไปตะลุยซื้อมา ระหว่างวันที่ 4 – 5 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา จำนวน 15 ชุด แล้วลองทบทวนกันให้ดีอีกนิดว่า การถวายสังฆทานครั้งต่อไป ท่านยังจะเลือกซื้อสังฆทานสำเร็จรูปอีกหรือไม่ พฤติกรรมการเลือกซื้อ “ชุดสังฆทาน”บริษัท นาโน เซิร์ช จำกัด ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 200 ราย ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เกี่ยวกับพฤติกรรมการทำบุญและเลือกซื้อชุด “สังฆทาน” โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 44 หญิง ร้อยละ 56 ช่วงอายุระหว่าง 22 – 45 ปี   จากการสำรวจพบว่า พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าประเภทชุดสังฆทาน ส่วนใหญ่เลือกซื้อในรูปแบบที่มีการจัดสำเร็จรูปพร้อมยกไปใช้งานถึง ร้อยละ 61.1 และ ร้อยละ 21.1 เลือกจะไปใช้บริการที่วัดที่มีการบริการเกี่ยวกับชุดสังฆทานเมื่อต้องการถวายอยู่แล้ว และอีกร้อยละ 18.1 ซื้อของที่ต้องการและนำมาจัดชุดเอง ส่วนการเลือกซื้อชุด “สังฆทาน”ของผู้บริโภค นั้นพบว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้ตรวจสอบสินค้าก่อน ดูแค่ลักษณะภายนอกว่ามีสินค้าอะไรบ้าง ร้อยละ 40 ส่วนผู้บริโภคทีดูว่าสินค้าภายในชุดสังฆทานนั้นครบถ้วนอย่างที่ต้องการหรือไม่ มีเพียงร้อยละ 33.5 การจัดชุด”สังฆทาน” จะมีการตั้งราคาขายไว้อยู่แล้ว มีทั้งในรูปแบบขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือ ขนาดใหญ่ มูลค่าจะสูงขึ้นตามขนาดของสินค้าหรือของที่อยู่ภายใน ซึ่งราคาที่ผู้บริโภคเลือกซื้อได้นั้น อยู่ที่ประมาณ 200-400 บาทต่อชุด ร้อยละ 50 และ ไม่เกิน 200 บาทต่อชุด ร้อยละ 21 และราคา 401-600 บาท ร้อยละ 21 ในสัดส่วนที่เท่ากัน ที่มา http://www.businessthai.co.th{/xtypo_rounded2} สุดท้ายก็ไปกองล้นวัด จากการสำรวจของฉลาดซื้อ สิ่งของส่วนใหญ่ในสังฆทานสำเร็จรูป ประกอบด้วยของ 5 กลุ่มหลัก คือ 1.ภาชนะบรรจุ แน่นอนส่วนใหญ่เป็นถังพลาสติกสีเหลือง กล่อง ตะกร้าพลาสติก กล่องกระดาษ แต่แนวสุดในการสำรวจครั้งนี้คือ ย่ามพระ 2.ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหาร ได้แก่ ใบชา เครื่องดื่มขิง เครื่องดื่มสมุนไพร น้ำดื่ม น้ำรสผลไม้ เครื่องดื่มมอลต์ รสช็อกโกแลต นมพร้อมดื่ม นมถั่วเหลือง นมข้นหวาน บะหมี่สำเร็จรูป ปลากระป๋อง ข้าวสารแบ่งบรรจุ ขนมอบ กาแฟ ครีมเทียม 3.ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องใช้ สบู่ กล่องสบู่ ขัน แก้ว ถาด ตะกร้า ไม้ขีดไฟ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ไม้จิ้มฟัน ผ้าขนหนู มีดโกน เข็มด้าย ธูป เทียน ทิชชู่ กรรไกรตัดเล็บ แหนบ ผงซักฟอก ก้านสำลี สมุดโน้ต ปากกา ยาจุดกันยุง น้ำยาล้างจาน ฟองน้ำ ฝอยเหล็กล้างจาน ร่ม ผ้าขนหนูขนาดเล็กสำหรับเช็ดหน้าหรือเช็ดมือ 4.ผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค ยาหอม ยาอม ยาหม่อง ยาลดกรดในกระเพาะ ยาธาตุน้ำแดง ยาแก้ปวดลดไข้ 5.เครื่องใช้สำหรับพระ ผ้าอาบน้ำ ผ้าอังสะ ผ้ากราบ ข้าวของเครื่องใช้ดังปรากฏในรายงานการสำรวจครั้งนี้ แทบไม่ต่างจากการสำรวจของฉลาดซื้อเมื่อปี 2546 (ฉบับที่ 55 มิถุนายน-กรกฎาคม 2546) โดยฉลาดซื้อได้เคยเสนอทางเลือกให้ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้พิจารณาจัดหาหรือเตรียมข้าวของเอง เมื่อมีความตั้งใจที่จะถวายของแด่พระภิกษุสงฆ์ แทนการซื้อสังฆทาน ถังเหลือง ที่ข้าวของส่วนใหญ่พระท่านไม่ค่อยได้ใช้ หรือของบางอย่างจำเป็นจริง แต่ที่ใส่หรือบรรจุในชุดสังฆทานมักเป็นของไม่มีคุณภาพ เช่น ธูปเทียนที่ใช้ประโยชน์ไม่ค่อยได้ แปรงสีฟันคุณภาพต่ำ ไฟฉายที่ใช้งานไม่ได้ ทิชชู่ที่เนื้อหยาบคุณภาพต่ำ น้ำรสผลไม้ที่อุดมด้วยน้ำตาลแต่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร เป็นต้น รวมไปถึงถังเหลือง กล่องสบู่ ขันน้ำ ที่พากันไปกองทับถมอยู่ล้นวัด รายการสำรวจสังฆทาน ระหว่างวันที่ 4 – 5 พฤศจิกายน 2552 Doawload ตารางการสำรวจสังฆทาน ระหว่างวันที่ 4 – 5 พฤศจิกายน 2552 พระท่านคิดอย่างไรฉลาดซื้อได้นำรายการสินค้าจากการสำรวจไปสอบถามความคิดเห็นจากพระภิกษุสงฆ์ พบว่า ข้าวของส่วนใหญ่ที่ใส่มาในสังฆทานเป็น ของที่ไม่ค่อยจำเป็น มีประโยชน์น้อย 10. อันดับรายการสินค้าที่ไม่จำเป็น ที่พบในชุดสังฆทานจากการสำรวจ 1.ใบชา เหตุผล เดี๋ยวนี้พระท่านไม่ค่อยฉันแล้ว ควรเปลี่ยนเป็นน้ำผลไม้ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ที่อยู่ในสังฆทานส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีคุณภาพ เป็นน้ำหวานแต่งกลิ่น รส หรือผงสมุนไพรห่อเล็กๆ ที่ดูด้อยคุณภาพ 2. ขิงผงสำเร็จรูป เหตุผล เป็นเครื่องดื่มที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก แต่คนก็ชอบถวาย เพราะนึกว่าพระท่านจะชอบ 3. ยาจุดกันยุง เหตุผล สำหรับพระเมือง อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญเนื่องจาก ทางวัดน่าจะมีการจัดการที่ดีในการดูแลไม่ให้ยุงมารบกวนการทำกิจต่างๆ ส่วนพระป่า อาจมีความจำเป็นอยู่บ้าง 4. นมข้นหวาน เหตุผล พระท่านไม่รู้จะได้ใช้ตอนไหน เพราะถือว่าเป็นอาหาร หลังเพลก็ฉันไม่ได้แล้ว 5. กาแฟผงสำเร็จรูป เหตุผล พระท่านไม่รู้จะได้ฉันตอนไหนอีกเช่นกัน 6. ถัง กล่องสบู่ ขวดน้ำ ขัน พลาสติกเหตุผล ใครๆ ก็หิ้วกันไป เลยเหลือกองอยู่ล้นวัด 7.บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เหตุผล เป็นของไม่มีประโยชน์ พระท่านฉันเพียง 2 มื้อเท่านั้น อีกอย่างเก็บไว้นานก็ไม่ดี เพราะจะหืนหรือเสียเร็ว และมักหมดสภาพตั้งแต่อยู่ในชุดสังฆทานแล้ว 8.น้ำดื่มบรรจุขวดเหตุผล น้ำดื่มบรรจุขวดที่อยู่ในถังสังฆทานมักมีสภาพไม่น่าดื่ม และส่วนใหญ่แต่ละวัดก็จะมีระบบเรื่องน้ำสำหรับดื่มภายในวัดที่พร้อมกว่า 9.ขนมคุ้กกี้ ขนมอบต่างๆ เหตุผล ไม่ใช่ของที่ดีต่อสุขภาพ 10.ธูปเทียน ไม้ขีดไฟเหตุผล มีจำนวนเกินพอในวัดแล้ว และที่มากับสังฆทานมักหักหรืออยู่ในสภาพไม่เหมาะกับการใช้งาน พระไพศาล วิสาโลเจ้าอาวาสวัดป่ามหาวัน จังหวัดชัยภูมิสังฆทานนั้น ถ้าจะให้ได้บุญจริงๆ ต้องทำโดยไม่ต้องระบุ หรือมีเจตนาว่าจะให้กับพระรูปไหน ของที่จะให้พระก็ควรจะเป็นของพี่พระนำเอามาใช้ได้จริง หลายคนเลือกซื้อถังสังฆทานที่วางขายอยู่ตามร้านขายสังฆภัณฑ์ ซึ่งแต่ละถังก็มีราคาที่แตกต่างกัน ถูก – แพง ต่างกันไป แล้วแต่ว่าเขานำอะไรใส่ลงไปบ้าง แต่ที่เหมือนๆกันก็คือพระแทบจะนำมาใช้ประโยชน์ไม่ค่อยได้ ขันน้ำบางทีก็แตกมา อาหารกระป๋องก็หมดอายุ เคยเห็นจีวรในถังสังฆทานไหมว่าผืนแค่ไหน ผืนนิดเดียวจะเอามาทำอะไรได้ คนทั่วไปมักมองว่า “พระ” คือ “บุรุษไปรษณีย์” ที่จะนำสิ่งของต่างๆ ไปให้กับญาติที่จากโลกนี้ไปแล้ว หลายคนเลือกของที่ญาติๆ พวกเขาชอบมาถวาย ก็ถือว่าทำได้ แต่ควรจะนึกถึงประโยชน์ที่ทางวัด หรือพระจะนำไปใช้ประโยชน์มากกว่า อย่างเช่นพวกสมุด ดินสอ ปากกา หลอดไฟฟ้า ที่สำคัญอีกอย่างก็คือของที่ให้ต้องบริสุทธิ์ เจตนาต้องบริสุทธิ์ ผู้รับต้องบริสุทธิ์ด้วยเช่นกัน จึงจะได้ผลทานที่แท้จริง ชุดสังฆทานต้องมีฉลากแจ้งข้อมูลผู้บริโภคขณะที่คนส่วนใหญ่ยังชอบซื้อชุดสังฆทาน ชุดไทยธรรมสำเร็จรูป หลายหน่วยงานของรัฐจึงได้เข้ามาดูแลและกวดขันการบรรจุสังฆทานหรือชุดไทยธรรมสำเร็จรูปมากขึ้น โดย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2550) ให้ชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยต้องระบุข้อความ รายการสินค้าที่ระบุขนาด มิติ ปริมาณ ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน และราคาของสินค้าแต่ละรายการ รวมถึงชื่อ สถานที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายชุดสังฆทานหรือชุดไทยธรรม ไว้ด้วย นอกจากนั้นยังต้องระบุวันเดือนปีที่หมดอายุ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อนของสินค้าใดสินค้าหนึ่งที่นำมารวมนั้นระบุว่าเร็วที่สุด วันเดือนปีที่บรรจุ และราคารวมชุดจัดบรรจุที่ระบุหน่วยเป็นบาทและกรณีที่ชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมใด ที่นำสินค้าที่อาจทำปฏิกิริยากันจนทำให้มีสี กลิ่น หรือรสเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคเนื่องในการใช้หรือโดยสภาพของสินค้านั้นได้ ผู้ผลิตต้อง ระบุคำเตือนในฉลาก เช่น ใบชา ข้าวสาร สบู่ และผงซักฟอก อาจทำปฏิกิริยากัน จนทำให้มีสี กลิ่น หรือรสเปลี่ยนแปลงไป อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ซึ่งข้อความที่ติดตั้งหรือแสดงฉลากต้องเป็นข้อความภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน หากผู้ใดขายสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยไม่มีฉลาก หรือมีฉลากแต่ฉลากนั้นไม่ถูกต้อง จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยผู้ที่พบเห็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องสามารถแจ้งได้โดยตรงที่ สคบ.ในส่วนของ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ก็สามารถเอาผิดแก่ผู้ผลิตได้ หากนำของไม่มีคุณภาพตรงตามฉลากหรือหมดอายุมาจำหน่าย เพราะชุดสังฆทาน ชุดไทยธรรม ถือเป็นสินค้าบรรจุหีบห่อ กฎหมายว่าด้วยการกระทำเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อไม่ตรงกับที่ระบุไว้ ถือเป็นความผิดกฎหมายหีบห่อ มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการในกรณีสินค้าราคาต่ำแต่บวกราคาสูง มีความผิดปรับ 10,000 บาท และหากสินค้าไม่ครบตามจำนวนที่ระบุไว้ถือว่าผิดกฎหมายอาญาเข้าข่ายฉ้อโกง มีโทษปรับ 6,000 บาท จำคุก 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ หากประชาชนรวมถึงพระภิกษุพบเห็นสามารถร้องเรียนสายด่วน 1569 ได้เช่นกัน 10 สิ่งของถวายสังฆทานที่อาจนึกไม่ถึง 1.ยาสระผม แต่คงไม่ต้องถึงขั้นถวายครีมนวดผมด้วย เพราะท่านใช้เพียงแค่โกนศีรษะให้ง่ายขึ้น และช่วยดูแลผิวบริเวณศีรษะที่ไม่มีเส้นผมปกคลุมบ้างเท่านั้น 2.มีดโกน ใบมีดโกน ซึ่งเป็นของจำเป็น พระท่านได้ใช้งานบ่อย แต่ไม่ค่อยมีคนถวาย 3.อุปกรณ์เครื่องครัว จาน กระทะ หม้อ ช้อน แก้วน้ำ ที่คุณภาพค่อนข้างดี แม้ท่านมิได้นำไปประกอบอาหารเอง แต่ชาวบ้านที่มาจัดงานบุญ งานศพในวัดก็ได้ใช้ประโยชน์เสมอ อาจลองสอบถามดูว่าทางวัดต้องการมากน้อยแค่ไหน จะได้จัดเป็นชุดใหญ่ถวายให้เป็นของพระสงฆ์ เพื่อให้ชาวบ้านได้นำไปใช้ต่อในงานบุญงานประเพณีต่างๆ 4.อุปกรณ์งานช่าง ทั้งค้อน ตะปู ไขควง สว่าน ของเหล่านี้พระในหลายวัดโดยเฉพาะในต่างจังหวัดหรือนอกเขตเมือง ถือว่าเป็นสิ่งของจำเป็น พระท่านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาศาสนสถานภายในวัดได้ 5.อุปกรณ์งานทำความสะอาด ไม่ว่าจะเป็น ไม้กวาด ไม้ถูพื้น ไม้กวาดแข็ง ที่โกยขยะ ก็เป็นอุปกรณ์จำเป็นอีกเช่นกันในการดูแลความสะอาดเรียบร้อยภายในวัด 6.ข้าวสาร อาหารแห้ง ประเภทที่บรรจุในชุดสังฆทาน ส่วนใหญ่จะเป็นของไม่มีคุณภาพพระท่านไม่ได้ประโยชน์เท่าไร แต่หากเลือกของมีคุณภาพดีจัดถวายเป็นชุดใหญ่ พระท่านก็สามารถรวบรวมไปบริจาคหรือดูแลคนด้อยโอกาสที่ทางวัดให้การอุปการะอยู่ได้ 7.เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ แม้แต่กระดาษเป็นรีมๆ พระท่านก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในกิจการงานบุญต่างๆ ของวัดได้ 8.หนังสือธรรมะ หนังสือแนวทางดูแลสุขภาพกาย ใจ รวมไปถึงหนังสือที่ช่วยเปิดโลกทัศน์ในทางสร้างสรรค์ เช่น หนังสือเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงาน ที่คิดว่าพระท่านรู้แล้วจะนำไปบอกต่อญาติโยมได้ ก็ถือเป็นสิ่งของที่มีประโยชน์ 9.ผ้าสบง จีวร ผ้าอาบน้ำ เลือกที่มีคุณภาพดี แม้มีราคาค่อนข้างแพงสักหน่อยแต่พระท่านก็ได้ใช้ประโยชน์นานหลายปี ดีกว่าผ้าผืนบางๆ ที่บรรจุในถังสังฆทานราคาถูก อนึ่งการเลือกสี ขนาด เนื้อผ้า แต่ละวัดก็จะมีระเบียบในการครองผ้าสีต่างกัน หากเราอยากถวายพระวัดไหน ก็ย่องไปดูเสียก่อนว่าพระท่านใช้สีอะไรก็จะได้จัดหาได้ถูกต้อง 10.ยาสมุนไพร ยารักษาโรค เลือกที่มีคุณภาพดี มีมาตรฐานการผลิต พร้อมกับคู่มือการใช้ยาที่เหมาะสมเพื่อให้พระท่านได้ใช้ประโยชน์จากยาได้สูงสุด ไม่ก่อให้เกิดโทษภัยจากการใช้ยาผิดวิธี แถม… อีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจมาก นอกจากการถวายสิ่งของ ก็คือ การบริจาคเงินให้กับโรงพยาบาลสงฆ์ เพื่อช่วยเหลือพระภิกษุที่อาพาธ ได้บุญแรงเช่นกัน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point