ฉบับที่ 192 ใครจ่ายเมื่อบาดเจ็บ

หากเราประสบอุบัติเหตุไม่คาดฝัน สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งบางครั้งเราอาจไม่ทราบว่าสามารถเบิกจากที่ไหนได้บ้าง ดังเหตุการณ์ของผู้ร้องรายนี้คุณสุชาติส่งเรื่องมาขอคำปรึกษาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิว่า เขาประสบอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ล้มแขนหัก ขณะที่กำลังขี่ไปทำงาน ทำให้ต้องหยุดพักรักษาตัวเป็นเวลา 1 เดือน ซึ่งทางบริษัทได้ออกค่านอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลให้ อย่างไรก็ตามคุณสุชาติพบว่าตนเองได้ทำประกันตาม พ.ร.บ. ไว้กับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ด้วย จึงต้องการทราบว่าสามารถเบิกค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีกหรือไม่แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ ได้ชี้แจงการเบิกใช้สิทธิ พ.ร.บ. ในวงเงินค่าเสียหายเบื้องต้น ดังนี้กรณีบาดเจ็บ เบิกจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ในวงเงินตามที่รักษาจริงไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน (ปรับเพิ่มจากเดิมคุ้มครองเพียง 15,000 บาท) โดยผู้ประสบภัยจะเบิกเองหรือมอบอำนาจให้โรงพยาบาลตั้งเบิกกับบริษัทกลางฯ ผ่านระบบออนไลน์ก็ได้ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทกลางฯ ได้จัดทำระบบสินไหมอัตโนมัติ (ระบบสินไหมอัตโนมัติ หรือ e-claim online บริษัทกลางฯ จะโอนเงินจ่ายคืนโรงพยาบาลภายใน 7 วันนับแต่วันที่ส่งเรื่องตั้งเบิก) และขอความร่วมมือโรงพยาบาลทุกแห่งเข้าใช้ระบบ เพื่อลดภาระของประชาชนและผู้ประสบภัยจากรถอย่างไรก็ตามในกรณีที่ค่ารักษาพยาบาลเกินกว่านี้ ผู้ร้องสามารถใช้สิทธิจากวงเงินค่าเสียหายเบื้องต้นไปก่อน 30,000 บาท ส่วนเกินที่เหลือสามารถเบิกจ่ายเพิ่มเติมได้จาก 1.สิทธิบัตรทอง 30 บาท (ถ้ามี) 2.สิทธิประกันสังคม (ถ้ามี) หรือ 3.ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งในกรณีนี้ต้องรอผลสรุปทางคดีและสามารถเรียกร้องเอาจากคู่กรณีได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 123 เลือก “รองเท้านักเรียน” คู่ใหม่ ต้อนรับเปิดเทอม

  ถึงเวลาเปิดเทอม ก็ถึงเวลาที่เด็กๆ และพ่อแม่จะต้องมองหาอะไรใหม่ๆ ไว้ต้อนรับการศึกษาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเขียนใหม่ ชุดนักเรียนใหม่ เสื้อใหม่ กางเกงใหม่ และที่ลืมไม่ได้คือ “รองเท้าคู่ใหม่” ความสำคัญอันดับแรกของรองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนในบ้านเรา คงหนีไม่พ้นเรื่องของความถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน และรวมไปถึงไว้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ในชั่วโมงพละ ซึ่งแน่นอนว่ารองเท้านักเรียนแม้จะเป็นที่นิยมของเด็กๆ ในการเตะฟุตบอล เล่นตะกร้อ (เพราะราคาไม่แพงแถมถูกระเบียบ) แต่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งานคงสู้ไม่ได้กับรองเท้าที่ผลิตขึ้นมาสำหรับใส่เล่นกีฬาโดยเฉพาะ  ฉลาดซื้อ ได้ส่งตัวอย่าง “รองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนชาย” ไปทดสอบยังกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อทดสอบโดยยึดตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่งตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรองเท้าผ้าใบมีการกำหนดคุณลักษณะที่รองเท้าผ้าใบควรมีเอาไว้หลายข้อ แต่ด้วยข้อจำกัดในการจัดเตรียมชิ้นทดสอบทำให้บางรายการทดสอบไม่สามารถทำได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์บริการได้ให้ข้อมูลกับทางฉลาดซื้อ ว่าบางรายการทดสอบ เช่นการทดสอบความทนทานต่อการพับงอของส่วนพื้น ที่ต้องมีการเตรียมชิ้นทดสอบเป็นส่วนพื้นยางที่มีความหนาและความกว้าง เกินกว่าความหนาของพื้นรองเท้าผ้าใบที่ทางฉลาดซื้อส่งไปทดสอบ แถมยังต้องใช้ชิ้นทดสอบมากกว่า 1 ชิ้นต่อ 1 ตัวอย่าง  แต่ฉลาดซื้อก็ยังได้ผลทดสอบรองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนชายมาฝากแฟนๆ ด้วยผลทดสอบ 3 เรื่องที่น่าสนใจ ประกอบด้วย  1.ความหนาของบัวส้น – ส่วนส้นเท้ามีความสำคัญ บริเวณบัวส้นของรองเท้าที่แข็งแรงจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อเท้า ความหนาของบัวส้นยังมีผลต่อการคงตัวของทรงรองเท้า บัวส้นที่มีความหนาก็จะช่วยทำให้รูปทรงของรองเท้าคงตัว ไม่บิดเบี้ยวหรือเสียรูปทรงขณะวิ่งหรือเดิน ช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บ 2.ความหนาของวัสดุเสริมพื้น –  วัสดุเสริมพื้นที่ดีจะช่วยรับและกระจายแรงกระแทกจาก หลัง ขา และเท้า ก่อนลงสู่พื้น แถมยังช่วยเพิ่มความมั่นคงในการเดินและวิ่ง ซึ่งในการทดสอบครั้งนี้จะดูแค่เรื่องความหนาตามเกณฑ์มาตรฐาน มอก. เท่านั้น ไม่ได้ทดสอบไปถึงเรื่องวัสดุที่ใช้ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องความหนาของวัสดุเสริมพื้น  3.การติดแน่นของยางขอบกับผ้า – การติดแน่นของขอบพื้นยางกับส่วนผ้าของรองเท้าผ้าใบ มีผลต่อความแข็งแรงคงทนของตัวรองเท้า รวมถึงการทนทานต่อการพับงอ   ดังนั้นผลทดสอบรองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนทั้ง 3 เรื่องนี้ จะบอกได้เฉพาะในเรื่องของ ความคงทน และลักษณะความคงรูปทรงของรองเท้าเท่านั้น ไม่ได้บอกถึงประสิทธิภาพในการใช้  ฉลาดซื้อหวังว่าผลทดสอบครั้งนี้ น่าจะพอมีประโยชน์สำหรับคุณพ่อ-คุณแม่และผู้ปกครองได้บ้าง อย่างน้อยก็เรื่องความแข็งแรงคงทน   ตารางผลทดสอบรองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนตามมาตรฐาน มอก. ชื่อยี่ห้อ ชื่อรุ่น ราคา ตามที่แจ้งไว้ในฉลาก (บาท) ความหนาของบัวส้น (มม.) ความหนาของวัสดุเสริมพื้น (มม.) การติดแน่นของยางขอบกับผ้า (กรัมต่อ ซม.)   มาตรฐาน มอก.   ไม่น้อยกว่า 1.3 มม. ไม่น้อยกว่า 1.5 มม. ไม่น้อยกว่า 1,000 กรัมต่อ ซม.   1.Gold City 205S 249 1.3 7.0 3,219.1   2.นันยาง 205-S 274 1.3 8.0 283.4   3.Pan PF4136-AA 345 ไม่มี 3.5 -   4.Breaker BK-55 389 1.5 8.0 -   5.บาจา b-first - 299 1.0 4.0 1,720.1   6.Breaker futsal BK-30 385 1.5 8.0 -   7.Feebus F-111 249 1.4 8.0 3,411.1   8.Feebus F-599 179 ไม่มี 5.0 1,054.4   9.kito SSAM610 258 1.3 6.0 1,154.4   10.บาจา b-first - 269 2.2 7.0 2,823.1   11.Clicks CL-555 229 ไม่มี 4.0 1,943.6   12. Breaker futsal BK4/M+ 309 1.3 7.0 3,632.2   13.Breaker 4X4 4X4/M 289 1.4 5.5 2,650.6   14.Gerry Gang F-499 249 ไม่มี 5.0 702.1   15.Dynamic DU-111 295 1.0 4.0 1,795.4   16.Nike Zoom Alpha TR ครอส เทรนนิ่ง 2900 2.0 4.0 2,329.9   17.Adidas G21413 running men liquid 3390 1.4 6.0 1,560.4   18.Reebok Hosscat aluminum   3250 2.7 5.0 3,333.3     ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------รองเท้าผ้าใบที่ดีต้องมีอะไรบ้าง-ต้องมีความแข็งแรง ส่วนบนที่เป็นผ้าใบและส่วนพื้นที่เป็นยางของรองเท้าต้องยึดแน่นเข้าด้วยกัน-ทุกส่วนของรองเท้าต้องติดกันแน่นสนิท-ขอบยางต้องติดแน่นรอบพื้นและส้นรองเท้า และไม่ยื่นออกมานอกระดับของพื้นรองเท้า-ส่วนหัวรองเท้าต้องอยู่ตัวไม่บิดเบี้ยว-ส่วนบนของรองเท้าต้องมีความแข็งแรงและทนทานเพื่อป้องกันรอยย่นและโค้งงอ-พื้นรองเท้าด้านในต้องรองด้วยเศษยาง หรือแผ่นวัสดุที่ทำจากเศษผ้าและเศษยางบดรีดผสมกัน และบุด้วยผ้าอีกชั้นหนึ่ง-พื้นรองเท้าต้องนุ่ม ไม่ลื่น -มีรูระบายอากาศช่วยระบายความร้อน---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เรื่องของ “เท้า” ที่เราควรรู้ 1.เมื่อรูปร่างของเรามีการเปลี่ยนแปลง เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น อายุเพิ่มขึ้น ขนาดเท้าของเราก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน2.เท้าของเราอาจเปลี่ยนขนาดตามสภาพอากาศ เช่น อากาศร้อนทำให้เท้าขยายใหญ่ขึ้น3.ว่ากันว่าช่วงเวลาในแต่ละวันก็มีผลต่อขนาดของเท้าเช่นกัน 4.โรคภัยไข้เจ็บและอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับเท้า เช่น โรคข้ออักเสบ หรือมีบาดแผลที่เท้า ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้รูปเท้ามีการเปลี่ยนแปลง5.เวลาที่เท้าเรามีบาดแผล รองเท้าที่ใส่ประจำอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อลดอาการบาดเจ็บและป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น6.เท้าเป็นอวัยวะเล็กๆ ที่ถูกใช้งานหนัก แต่เรากลับให้ความสำคัญกับมันน้อยมาก เรียกว่าแทบไม่ได้ค่อยได้รับการดูแล ดังนั้นเราควรหันมาใส่ใจดูแลกับเท้าคู่น้อยๆ ของเรากันให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเรื่องความสะอาด การออกกำลังในส่วนของข้อเท้าและกล้ามเนื้อเท้าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาสู่ปลายเท้า--------------------------------------------- เลือกซื้อรองเท้า-ต้องลองสวมร้องเท้าทุกครั้งก่อนซื้อ เพราะขนาดของรองเท้าแม้จะมีมาตรฐานระบุไว้ แต่รองเท้าแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น ถึงจะเป็นเบอร์เดียวกัน ขนาดของรองเท้าก็อาจไม่เท่ากัน -เวลาลองรองเท้าต้องลองทั้ง 2 ข้าง เพราะเท้าของเราข้างซ้ายกับขวาอาจมีขนาดไม่เท่ากัน ต้องเลือกรองเท้าคู่ที่ลองใส่แล้วใส่ได้สบายทั้ง 2 ข้าง-เวลาลองรองเท้าอย่าลืมสวมถุงเท้า-พยายามลองรองเท้าหลายๆ แบบ หลายๆ รูปทรง เพื่อเลือกดูว่ารองเท้าแบบไหนเหมาะกับเท้าของเรามากที่สุด-เมื่อเลือกรองเท้าคู่ที่โดนใจได้แล้ว ให้ลองสวมแล้วลองเดินไปเดินมา เพราะรองเท้าที่ดีต้องใส่สบายทั้งตอนที่นั่ง ยืน และตอนเดิน ซึ่งถือเป็นตอนที่เราใช้งานเท้าของเรามากที่สุด-รองเท้าที่ดีที่สุด คือ รองเท้าที่สวมแล้วเข้ากับรูปเท้าของเรา ไม่คับหรือหลวมเกินไป ใส่สบาย -การเลือกรองเท้าควรเหลือพื้นที่ระหว่างปลายนิ้วเท้าและขอบในรองเท้าไว้บ้าง เพื่อไม่ให้เท้ารู้สึกอึดอัดเกินไป ป้องกันการเสียดสีของเท้ากับตัวรองเท้า และเผื่อไว้สำหรับการขยายของเท้า-เลือกรองเท้าที่สวมแล้ว ส้นเท้าพอดี ไม่หลวมและไม่หลุดในขณะเดินหรือวิ่ง-ควรเลือกซื้อรองเท้าให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่จะทำ เช่น รองเท้าสำหรับใส่ประจำวัน หรือรองเท้าสำหรับออกกำลังกาย ซึ่งกีฬาแต่ละประเภทก็มีการผลิตรองเท้าเฉพาะของแต่ละประเภทกีฬา  เพราะการเลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำนอกจากจะช่วยในเรื่องความปลอดภัย ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ-ควรเลือกรองเท้าที่สามารถปรับความกระชับได้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point