ฉบับที่ 204 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนกุมภาพันธ์ 2561อย.ใช้มาตรา 44 ปลดล็อกบริการขึ้นทะเบียน หวังเพิ่มประสิทธิภาพงานคุ้มครองผู้บริโภคเลขาธิการ อย.ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ (เผยแพร่วันที่ 6 ก.พ.2561) ถึงความคืบหน้าการดำเนินการตามคำสั่งมาตรา 44 ที่ปลดล็อกความล่าช้าเรื่องบริการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งจะทำให้ อย.สามารถเรียกเก็บค่าขึ้นทะเบียนเพื่อมาใช้ในกิจการของ อย. ได้ อีกทั้งทำให้การพิจารณาอนุญาตและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยปีงบประมาณ 2562 อย.ได้ของบประมาณราว 250 ล้านบาท เพื่อใช้ก่อสร้างอาคารใหม่ 9 ชั้น ตั้งเป็นศูนย์บริการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สุขภาพแบบเบ็ดเสร็จ หรือ One Stop Service รวมถึงจะดำเนินการออกกฎหมายใหม่ และแก้ไขกฎหมายเดิม เช่น กฎหมายยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแล โดยมองว่าน่าจะช่วยให้การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปในทางที่ดีขึ้นอย่างไรก็ตาม แม้ว่า อย. หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะทำงานอย่างเต็มที่ แต่ก็เรียกว่าไม่สามารถป้องปรามการซื้อขายผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะการขายที่ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ยากต่อการควบคุม ดังนั้นผู้บริโภคยังคงต้องช่วยกันเฝ้าระวังจับตาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ช่วยแจ้งเบาะแสที่สายด่วน อย. 1556 เพื่อรีบดำเนินการกับผู้กระทำผิดกฎหมายอย่างรวดเร็ว‘แท็กซี่โอเค’ ขนส่งทางบกจัดให้เพื่อยกระดับแท็กซี่ไทย หากผู้บริโภคเคยเห็นแท็กซี่ไฟสีเขียว ซึ่งดูแปลกตา และทำให้ไม่กล้าใช้บริการ ขอบอกว่า ไม่ต้องตกใจ เพราะกรมขนส่งทางบกเขาออกมาบอกว่า แท็กซี่ไฟเขียวนั้นอยู่ในโครงการ “แท็กซี่โอเค” เป็นการยกระดับคุณภาพมาตรฐานของแท็กซี่ไทย เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคเพื่อแก้ไขปัญหารถแท็กซี่ที่บริการไม่สุภาพและปฏิเสธผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ทำโครงการแท็กซี่โอเค ซึ่งกำหนดให้เเท็กซี่ที่จดทะเบียนใหม่ทุกคัน ต้องติดตั้งอุปกรณ์ จีพีเอส แทรคกิ้ง (GPS Tracking) ซึ่งจะแสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ระบุพิกัดเส้นทางการเดินรถและการใช้ความเร็ว มีปุ่มฉุกเฉินกรณีผู้โดยสารต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉินใกล้บริเวณที่นั่งผู้โดยสาร ทั้งยังมีการติดตั้งกล้องบันทึกภาพภายในรถ และเชื่อมต่อข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการแท็กซี่ของกรมขนส่งทางบก เพื่อส่งข้อมูลการเดินรถแบบเรียลไทม์ (Real-Time) อีกด้วย ซึ่งผู้บริโภคสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเรียกรถผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนได้ โดยมีค่าบริการเรียกผ่านแอพพลิเคชั่นครั้งละ 20 บาทต่อไปเมื่อเห็นแท็กซี่ไฟสีเขียว ณ แห่งหนใด ผู้บริโภคก็สามารถโบกเรียกใช้บริการได้อย่างมั่นใจ บัตรประชาชนหายอาจไม่ใช่เรื่องเล็กต้องรีบจัดการ ต้นปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคคงได้ยินข่าวหญิงสาวรายหนึ่ง ที่อยู่ดีๆ ก็ตกเป็นจำเลยและถูกดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกง เพราะถูกแอบอ้างเอาบัตรประชาชนไปเปิดบัญชีกับธนาคารต่างๆ มากถึง 9 บัญชี ซึ่งความจริงก่อนหน้านี้เธอถูกมิจฉาชีพขโมยกระเป๋าสตางค์ขณะอยู่บนรถโดยสาร และเธอเองก็ได้ไปแจ้งความว่าบัตรประชาชนหายและได้ทำบัตรใหม่เรียบร้อยแล้ว กรณีเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ใครๆ ก็สามารถตกอยู่ในความเสี่ยงได้ ดังนั้นควรเก็บรักษาบัตรประชาชนให้อยู่ดีในที่ปลอดภัย ไม่วางทิ้งหรือฝากไว้กับคนที่ไม่รู้จักคุ้นเคยอย่างเด็ดขาด หรือเมื่อต้องใช้บัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรทำธุรกรรมใดๆ ก็ควรต้องขีดคร่อม เขียนข้อความกำกับทับบนสำเนาหน้าบัตรด้วยว่า ใช้เพื่ออะไร กับใครหรือหน่วยงานใด พร้อมระบุวันที่ให้ชัดเจน เป็นแนวทางการป้องกันเบื้องต้นที่สามารถทำได้แต่หากต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชนในการแสดงตัวตนเพื่อแลกบัตรหรือติดต่อทำธุระกับหน่วยงานต่างๆ หรือใช้ฝากไว้เป็นหลักประกันกรณีเช่าสินค้าหรือบริการ หากเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยง หรือใช้ใบขับขี่หรือบัตรอื่นๆ แทนบัตรประจำตัวประชาชน และหากบัตรประชาชนหายอย่านิ่งนอนใจ แม้จะไม่ต้องใช้ใบแจ้งความในการดำเนินการทำบัตรใหม่ เพียงไปที่สำนักงานเขตเพื่อขอทำบัตรใหม่ก็สามารถทำได้ทันที แต่ให้ปลอดภัยเพิ่มขึ้นก็ควรไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน เผื่อโชคร้ายมีคนเอาบัตรประชาชนเราไปทำเรื่องผิดกฎหมาย อย่างน้อยก็จะได้มีหลักฐานเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของเราเอง  ผักไฮโดรโปรนิกส์ไม่ปลอดภัย สวนทางความเชื่อผู้บริโภคThai-PAN (Thailand Pesticide Alert Network) เปิดเผยผลการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ ประจำปี 2561 พบการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักไฮโดรโปนิกส์สูงกว่าผักทั่วไปปัจจุบันผู้บริโภคหันมาเลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น ผักและผลไม้จะเป็นอาหารประเภทแรกๆ ที่กลุ่มคนรักสุขภาพเลือกบริโภค เพราะอุดมด้วยสารอาหารและกากใยที่ดีต่อสุขภาพ แต่เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มผู้บริโภคผัก อาจต้องกลุ้มใจเพิ่มขึ้น เพราะผักที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปรนิกส์(รากไม่สัมผัสดิน) ที่หลายคนเชื่อ(ไปเอง) ว่าปลอดภัยนั้น ทางเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ Thai-PAN (Thailand Pesticide Alert Network) ได้ออกมาเปิดเผยผลการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ ประจำปี 2561 ว่า มีการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักไฮโดรโปนิกส์สูงกว่าผักทั่วไป โดยไทยแพนเองได้เก็บตัวอย่างผักไฮโดรโปนิกส์จำนวน 30 ตัวอย่าง จากตลาดและห้างสรรพสินค้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า ผักจำนวน 19 ตัวอย่าง พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 63.3 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด โดยเมื่อเปรียบเทียบกับการตกค้างของผักและผลไม้ทั่วไป ซึ่งไทยแพนได้เคยสำรวจและวิเคราะห์เมื่อปลายปีที่แล้ว พบว่ามีการตกค้างสูงกว่าผักทั่วไปที่พบการตกค้างเกินมาตรฐานที่ร้อยละ 54.4  และนอกจากนี้ยังพบการตกค้างของไนเตรท ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในผักไฮโดรฯ อีกด้วย ปัญหาร้องเรียนเรื่องสินค้าและบริการทั่วไปครองแชมป์ปี 60ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ระบุ ผู้บริโภคร้องเรียนเรื่องสินค้าและบริการทั่วไปมากที่สุด ทั้งโฆษณาเกินจริง สัญญาไม่เป็นธรรม รองลงมาได้แก่ การเงินการธนาคาร ซึ่งหนี้บัตรเครดิตยังคงเป็นประเด็นสำคัญศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ได้เปิดเผยสถิติเรื่องร้องเรียนใน เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2560 ว่ามียอดร้องเรียนจำนวนทั้งสิ้น 1,153 เรื่อง ผ่านช่องทางโทรศัพท์ เว็บไซต์ ไปรษณีย์ เดินทางมาด้วยตนเอง ส่งอีเมล์ และร้องเรียนผ่านเฟซบุ๊คแฟนเพจของมูลนิธิฯ ตามลำดับหมวดปัญหาที่ร้องเรียนมากที่สุด อันดับหนึ่ง ได้แก่ ปัญหาด้านสินค้าและบริการทั่วไป ซึ่งมีการร้องเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 41.54 โดยเฉพาะประเด็นปัญหา สินค้าที่โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อและเลือกซื้ออุปโภคบริโภค เช่น การโฆษณาขายกระทะยี่ห้อดังที่คุณสมบัติสินค้าไม่เป็นไปตามที่โฆษณา การปิดกิจการของสถานบริการออกกำลังกายที่ไม่แจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า หรือการไม่สามารถขอยกเลิกสัญญา คอร์สบริการเสริมความงาม เพราะข้อสัญญาที่ระบุว่าจะไม่คืนเงินทุกกรณีอันดับสอง คือ ปัญหาด้านการเงินการธนาคาร คิดเป็นร้อยละ 34.69 ฮิตที่สุดในหมวดนี้ ได้แก่ ปัญหาหนี้บัตรเครดิต และปัญหาการเช่าซื้อรถ และอันดับสุดท้ายคือ ปัญหาอุบัติเหตุจากการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะทั้งนี้เมื่อพิจารณาปัญหาเรื่องร้องเรียนข้างต้นพบว่า สาเหตุสำคัญเกิดจากพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจที่มักเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค และไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ให้ข้อมูลสินค้าหรือบริการแก่ผู้บริโภคไม่ครบถ้วนถูกต้อง ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อซื้อสินค้าและบริการดังกล่าว รวมถึงข้อสัญญาต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคที่สำคัญคือ หน่วยงานของรัฐไม่มีมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นรูปธรรมชัดเจน รวดเร็ว รวมถึงไม่มีกลไกแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบยังมุ่งเน้นการแก้ปัญหาเป็นรายกรณี ซึ่งศูนย์พิทักษ์สิทธิ มีข้อเสนอว่า ควรต้องทำงานเชิงรุกในการตรวจสอบและเฝ้าระวัง ไม่ต้องรอให้ผู้บริโภคมาร้องเรียนจึงค่อยดำเนินการ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 116 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์ กันยายน 2553 5 กันยายน 2553 “คอนแท็กเลนส์” ขึ้นทะเบียนสินค้าควบคุม ต้องมีฉลาก+คำเตือนกระทรวงสาธารณสุข ประกาศควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยผู้ใช้คอนแทคเลนส์ โดยกำหนดให้คอนแทคเลนส์เป็นเครื่องมือแพทย์ ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องมีฉลากภาษาไทย แสดงชื่อคอนแทคเลนส์ วัสดุที่ใช้ทำ คุณสมบัติของเลนส์ เช่น กำลังหักเห รัศมีความโค้ง บอกชื่อของสารละลายที่ใช้แช่เลนส์ ระยะเวลาการใช้งาน ส่วนคอนแทคเลนส์ที่ไม่กำหนดระยะเวลาการใช้งาน ให้ระบุวันหมดอายุ เลขที่ใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์ ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ในกรณีที่นำเข้าให้แสดงชื่อผู้ผลิต เมืองและประเทศผู้ผลิตด้วย   พร้อมทั้งต้องแสดงข้อห้ามการใช้ เช่น ห้ามใส่คอนแทคเลนส์นานเกินระยะเวลาที่กำหนด ห้ามใช้ร่วมกับบุคคลอื่น ห้ามใส่คอนแทคเลนส์ทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้ว่าจะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม รวมถึงข้อความควรระวัง ผู้ที่ไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์ ผู้ที่มีสภาวะของดวงตาผิดปกติ และระบุข้อปฏิบัติหากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือปวดตาอย่างมากร่วมกับอาการแพ้แสง ตามัว น้ำตาไหลมาก หรือตาแดง ให้หยุดใช้คอนแทคเลนส์ทันทีและรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็ว -------------------------------------------------- 13 กันยายน 2553 ตรวจ “ผลไม้รถเข็น” พบสารพิษเพียบ!!!คนที่ชอบซื้อผลไม้จากรถเข็นมาทานต้องระวัง!!! เมื่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยข้อมูลผลทดสอบความไม่ปลอดภัยในผลไม้รถเข็นของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งพบว่า ผลไม้153 ตัวอย่างปนเปื้อนแบคทีเรียโคลิฟอร์มหรือเชื้อจุลินทรีย์เกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดถึง 67.3% นอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนของสีสังเคราะห์ ในตัวอย่างผลไม้ 161 ตัวอย่าง และพบการปนเปื้อนของสารกันรา (ซาลิซิลิค) ส่วนผลไม้แปรรูปจำพวกของดอง พบการปนเปื้อนหรือเจือปนของสารเคมี และสารปนเปื้อนของสารกันรา ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย โดยเฉพาะ ฝรั่งดองบ๊วยที่มีสีเขียวเข้ม และสีแดงเข้มจนม่วง   นอกจากนี้ในการลงพื้นที่แหล่งผลิตและกระจายผลไม้ 5 แห่งได้แก่ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ริมคลองผดุงกรุงเกษม ซอยลูกหลวง 7 (ข้างวัดญาณ) ชุมชนริมทางรถไฟยมราช พบพฤติกรรมผู้ผลิตและจำหน่าย ใช้วัสดุ วัตถุดิบ และกระบวนการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะและมีการเติมสารเคมีจำพวกสารกันรา และสีสังเคราะห์ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภคทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วง คลื่นไส้อาเจียน และอาจก่อให้เกิดมะเร็ง รวมทั้งทำให้ร่างกายอ่อนแอขาดความต้านทานโรคจนถึงแก่ชีวิตได้----------------------------------------------------------------------- 24 กันยายน 2553“ดื่มแล้วไม่ฉลาด” อย.เตือน!!! อย่าเชื่ออาหารโม้สรรพคุณคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ออกโรงเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อคำโฆษณาสรรพคุณของสารอาหารที่อ้างว่าทำให้ฉลาดขึ้น ซึ่งการโฆษณาที่ไม่ระบุสรรพคุณ คุณประโยชน์ คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก อย.จากนั้นผู้ประกอบการจะออกโฆษณาชุดใหม่เพื่อบอกว่าผลิตภัณฑ์ของตนมีสารอาหารดังกล่าว เช่น มีวิตามินบี 12 โดยมุ่งหมายให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าถ้ากินผลิตภัณฑ์ของตนก็จะได้วิตามินบี 12 ก็จะทำให้ฉลาดเกิดความคิดดีๆ ซึ่งวิธีโฆษณาแบบนี้เป็นวิธีที่ขาดจริยธรรม-------------------------------------------------- 28 กันยายน 2553กทม. ใส่ใจผู้บริโภค เตรียมส่งเสริมความรู้สิทธิ 5 ประการกรุงเทพมหานคร เตรียมออกแผนการดำเนินงาน ในการดูแลและคุ้มครองประชาชนในฐานะผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิของผู้บริโภค 5 ประการ ประกอบด้วย 1.สิทธิในการรับข่าวสาร/คำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ 2.สิทธิในการเลือกสินค้าหรือบริการ 3.สิทธิที่ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 4.สิทธิที่ได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา และ 5.สิทธิที่ได้รับพิจารณาและชดเชยความเสียหายจากการบริโภคสินค้า ซึ่งทางกรุงเทพมหานครมีสำนักงานเขต และสำนักอนามัย เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน โดยมีชมรมคุ้มครองผู้บริโภคของกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต คอยสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ป้องกันผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองตามสิทธิสูงสุด-------------------------------------------------- บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรีทั่วประเทศกระทรวงสาธารณสุขประเกศดีเดย์ 1 ต.ค.นี้ ใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรีได้ทั่วประเทศ หลังจากเตรียมความพร้อมมากว่า 6 เดือน โดยประชาชน 48 ล้านคนที่มีสิทธิการรักษาพยาบาลในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับที่เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ ผ่านระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ออนไลน์ระหว่างหน่วยบริการกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ส่วนสถานีอนามัยและโรงพยาบาลตำบลที่อยู่ห่างไกลและไม่มีระบบคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต เจ้าหน้าที่จะสำเนาฐานข้อมูลรายชื่อจากส่วนกลางและปรับให้ทันสมัยทุกเดือน สำหรับใครที่ยังไม่ได้รับบัตรประชาชน สามารถใช้บัตรอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และรูปถ่าย ส่วนคนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีซึ่งยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านแทนได้ ซึ่งสิทธิการรักษาฟรีนี้ครอบคลุมเกือบครบทุกโรค ทั้งบริการทำฟัน การตรวจสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพหลังเจ็บป่วยในรายการที่เหมาะสม เช่นโรคเอดส์ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง โรคหัวใจ โรคไต ถ้าจำเป็นสามารถผ่าตัดเปลี่ยนไต ล้างไต และมีบริการส่งน้ำยาล้างไตถึงบ้านฟรี ยกเว้นการล้างไตผ่านเครื่อง มีค่าใช้จ่ายครั้งละ 1,500 บาท รัฐจ่ายให้ 1,000 บาท ผู้ป่วยร่วมจ่ายเพิ่มเพียง 500 บาท แต่ไม่ได้ครอบคลุมการผ่าตัดตกแต่ง การปลูกถ่ายตับ ปอด และหัวใจ ซึ่งมีราคาสูง-------------------------------------------------- ปรับลดค่าธรรมเนียมธนาคารการทำธุรกรรมข้ามเขต ธนาคารแห่งประเทศไทยมีมติร่วมกับธนาคารพาณิชย์เรื่องการปรับลดค่าธรรมเนียม ในการทำธุรกรรมทางการเงินข้ามเขตทั้งการถอนเงินโอนเงิน เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันทันสมัยขึ้น สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ด้วยระบบออนไลน์ซึ่งทำให้ต้นทุนลดลงไปมาก ซึ่งค่าธรรมเนียมใหม่ที่ออกมามีดังนี้ 1.อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ของการโอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต จากหมื่นละ 10 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท บวกค่าบริการ 20 บาท เป็นโอนฟรีครั้งแรกส่วนครั้งต่อไปคิดไม่เกิน 15 บาท   2.การถอนเงินในธนาคารเดียวกันข้ามเขต ปัจจุบันธนาคารพานิชย์ส่วนใหญ่คิดหมื่นละ 10 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท บวกค่าบริการ 20 บาท เป็นไม่เกิน 15 บาทต่อรายการ 3.การถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต ปัจจุบันคิดหมื่นละ 10 บาท ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 20 – 25 บาท ครั้งที่ 5 ขึ้นไปใน 1 เดือน คิดเพิ่ม 5 บาท ปรับเป็นไม่เกิน 20 บาทต่อรายการ 4.การถอนเงินและถามยอดผ่านตู้ ATM ต่างธนาคารในจังหวัดเดียวกัน ปัจจุบันถอนและสอบถามยอดในเขตกรุงเทพฯ ใช้ฟรี 4 ครั้งต่อเดือน ครั้งที่ 5 คิดครั้งละ 5 บาท ต่างจังหวัดคิดค่าธรรมเนียม 20 – 25 บาทต่อครั้ง ครั้งที่ 5 ขึ้นไปคิดเพิ่ม 5 บาท เป็นให้ใช้บริการฟรี 4 ครั้งต่อเดือน ครั้งที่ 5 ขึ้นไปคิดไม่เกิน 10 บาท ซึ่งค่าธรรมเนียมใหม่นี้จะเริ่มใช้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนค่าธรรมเนียมครั้งนี้จะช่วยเหลือประชาชนรายย่อยหรือคนที่ไม่ได้มีธุระต้องทำธุรกรรมทางการเงินเป็นประจำ เช่นการโอนเงินที่ให้ฟรีได้ 1 ครั้งในแต่ละเดือน แต่ที่น่าจะส่งผลกับคนที่ถอนเงินบ่อยตรงที่การปรับค่าธรรมเนียมการถอนเงินผ่านตู้ ATM ต่างธนาคาร จากที่เสีย 5 บาท ในครั้งที่ 5 ของเดือน สำหรับตู้ ATM ในจังหวัดเดียวกัน ส่วนตู้ในต่างจังหวัดคิด 20 - 25 บาท ปรับเป็น 10 บาท ราคาเดียวทั่วประเทศ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 129 ระวังปัญหาแอบใช้บัตรประชาชน…ช่วงน้ำท่วม

  มีโอกาสไปประชุมกับศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดลพบุรีเลยได้มีโอกาสฟังปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านในจังหวัด ซึ่งเป็นปัญหาเก่าแก่ที่เกิดขึ้นมานานคือ การแอบนำสำเนาบัตรประชาชนไปใช้ทำกิจการอย่างอื่นๆ เรื่องมีอยู่ว่าชาวบ้านจำนวนสามสิบกว่าคนได้นำสำเนาบัตรประชาชนไปให้ผู้ใหญ่บ้านเพื่อขอขึ้นทะเบียนเกษตรกร แต่วันดีคืนดีก็พบว่า สมาชิกในกลุ่มทั้งสามสิบกว่าคนเป็นหนี้กันถ้วนหน้าคนละหลายแสนบาท เรื่องแดงขึ้นเพราะถูกโทรศัพท์ทวงเงินว่าไปกู้เงินกับเขาไว้แล้วทำไมไม่จ่ายคืน แถมถูกแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจ ตำรวจพาซื่อนัดผู้เสียหายไปข่มขู่ให้เสร็จว่า เป็นหนี้เขาแล้วก็ต้องจ่าย จะทำบันทึกจ่ายกันยังไงก็ว่ามา เจอเรื่องแบบนี้กับเรา หากไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหรือไม่มีความรู้คงปวดหัวและวุ่นวายมากพอควร แต่เผอิญสามสิบกว่าคนนี้โชคดี จังหวัดลพบุรีมีศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เลยมีคนนำเรื่องมาเล่าให้ผู้ประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ ฟังก็ได้สืบสาวเรื่องราวจนทำให้ได้ข้อเท็จจริงว่า ลูกสะใภ้ผู้ใหญ่บ้านได้นำสำเนาบัตรประชาชนของคนที่ไปขึ้นทะเบียนไปทำสำเนาเพิ่มเติมแล้วปลอมลายเซ็นต์ไปกู้เงิน และน่าจะรับรู้ร่วมกันระหว่างคนแอบไปกู้กับคนให้กู้ โดยอาจจะเคยดำเนินการแบบนี้มาก่อนหรือไม่ ในอดีตเราอาจจะมีปัญหาเรื่องนี้เพราะนำบัตรประชาชนไปขอใช้โทรศัพท์มือถือเรียกว่านอนอยู่บ้านเฉยๆ ก็เป็นหนี้ หรือบางคนก็กลายเป็นสมาชิกพรรคการเมืองกันไป กรณีนี้เมื่อศูนย์ฯ เข้าไปให้การช่วยเหลือนอกจากไม่ต้องจ่ายเงินเพราะไม่ได้กู้แล้ว ยังได้แจ้งความดำเนินคดีกับลูกสะใภ้ผู้ใหญ่บ้านว่า ใช้เอกสารทางราชการโดยไม่ได้รับอนุญาต และฉ้อโกงประชาชน ช่วงนี้หลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและรัฐบาลได้มีมติให้เยียวยาความเสียหาย ซึ่งในคอลัมน์นี้เราคงไม่ถกเถียงเรื่องจำนวนที่จ่ายว่ามากน้อยเพียงพอหรือไม่เพียงใด แต่ทุกครั้งในการดำเนินการก็ต้องใช้บัตรประชาชนเป็นหลักฐาน อย่าลืมคิดถึงเรื่องนี้ไว้เป็นบทเรียน การใช้สำเนาบัตรประชาชนต้องระบุให้ชัดเจนว่าเพื่อวัตถุประสงค์อะไร และกรุณาเขียนให้ชัดเจนในการใช้งานและเขียนระบุบนรูปของตนเองไม่ต้องกลัวว่ารูปจะไม่สวยหรือมองไม่เห็นเพราะมิเช่นนั้น อาจจะมีผู้ไม่หวังดีนำสำเนาไปใช้ประโยชน์เพื่อการอื่นและอาจจะลำบากและเจ็บตัวภายหลังได้ ให้กำลังใจกับผู้ประสบภัยน้ำท่วมทุกคน

อ่านเพิ่มเติม >