ฉบับที่ 101 กระแสในประเทศ

กระแสในประเทศ ฉบับที่ 1012 มิถุนายน 2552 เรดบูลโคล่าพบโคเคน ขายต่างประเทศไทยคนละสูตร นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงข่าวสำนักงานความปลอดภัยด้านอาหาร กระทรวงอาหาร การเกษตร และคุ้มครองผู้บริโภค ประเทศเยอรมนี ตรวจพบร่องรอยของสารโคเคนในเครื่องดื่มเรดบูลโคล่าและไต้หวันอายัดเครื่องดื่ม Red Bull Energy Drink เพราะตรวจพบร่องรอยของสารโคเคนเจือปนอยู่เล็กน้อยหลังจากให้กองควบคุมอาหารเก็บตัวอย่างสินค้าเครื่องดื่มกระทิงแดงโคล่าที่ผลิตในประเทศไทยไปตรวจสอบอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม เรดบูลโคล่าในเยอรมนีถูกพัฒนาสูตรโดยบริษัท Red Bull GmbH ประเทศออสเตรีย และผลิตในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับเครื่องดื่ม Red Bull Energy Drink ที่จำหน่ายในประเทศไต้หวัน ผลิตและส่งออกจากบริษัทในออสเตรีย ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผลการตรวจวิเคราะห์ในรุ่นการผลิตเดียวกันของประเทศออสเตรียไม่พบโคเคน ซึ่งจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป "กระทิงแดงโคล่าที่จำหน่ายในประเทศไทย เป็นคนละสูตรกับผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในต่างประเทศ ไม่ได้ใช้แหล่งการผลิตเดียวกัน ขอให้ประชาชนผู้บริโภคอย่าตื่นตระหนก อย.ได้เฝ้าระวังเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ให้มีการตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียดที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อีกด้วย ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจการดำเนินงานของ อย. เมื่อพบผลิตภัณฑ์ใดมีปัญหาจะเร่งตรวจเฝ้าระวังดำเนินการและชี้แจงให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลโดยเร็ว”   15 มิ.ย. 52ห้ามขาย-ห้ามทาน น้ำหวาน “แคนดี้ ไซรับ” นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้รับข้อมูลว่าพบร้านค้าบริเวณหน้าโรงเรียนใน จ.ราชบุรี มีการนำขนมที่มีชื่อว่า “แคนดี้ ไซรับ” ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำหวานบรรจุในขวดสเปรย์ เวลารับประทานจะใช้วิธีการฉีดพ่นเข้าปาก มาจำหน่ายให้กับเด็กนักเรียน ทาง อย. จึงรีบออกมาแจ้งให้ทราบว่า ผลิตภัณฑ์ประเภท “น้ำหวานในขวดสเปรย์” ไม่มีการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้า และเตือนให้เด็กๆ อย่าซื้อมารับประทานเป็นอันขาด อย. ได้ประสานต่อไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี พบว่า เลขเอกสารบนฉลากอาหารดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม ไม่ใช้ของหวานในขวดสเปรย์ นอกจากนี้ยังไม่พบข้อมูลผู้ผลิตและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อย. ฝากให้สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดช่วยตรวจตาและเฝ้าระวังการผลิต นำเข้า ทั้งผลิตภัณฑ์แคนดี้ ไซรับ และผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยและอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 29 มิ.ย. 52เลิกบุหรี่อาจถึงตาย! อย่าใช้ “นิโคตินเจล”กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกโรงเตือนผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ ว่าอย่าซื้อ “นิโคตินเจล” มาใช้เด็ดขาด เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้รับการรับรองจาก อย. ผู้ที่ใช้อาจได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต การพิสูจน์ทางการแพทย์ระบุว่า การใช้นิโคตินทดแทนมีประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงในการเลิกบุหรี่ ซึ่งในต่างประเทศมีอยู่ด้วยกัน 6 วิธี คือ หมากฝรั่งเคี้ยวนิโคติน, แผ่นปิดผิวหนังนิโคติน, นิโคตินชนิดสูบพ่นทางปาก, นิโคตินชนิดสเปรย์พ่นจมูก, ยาอมนิโคติน และนิโคตินชนิดเม็ดอมใต้ลิ้น แต่สำหรับในเมืองไทยได้มีการขึ้นทะเบียนไว้เพียง 3 รูปแบบ คือ หมากฝรั่งเคี้ยวนิโคติน, แผ่นปิดผิวหนังนิโคติน และยาอมนิโคติน โดยผลิตภัณฑ์เพื่อการเลิกบุหรี่เหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเสียก่อน สำหรับ “นิโคตินเจล” ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียน เนื่องจากยังต้องตรวจสอบเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยจาก อย. เพราะการใช้ยานิโคตินทดแทนที่ไม่ได้มาตรฐานอาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นแรง และทำให้แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้หายช้า ผู้ที่มีประวัติการป่วยเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และผู้เป็นโรคแผลในทางเดินอาหาร ต้องพิจารณาให้ดีในการใช้ยานิโคตินเพื่อเลิกบุหรี่ ใครที่ต้องการเลิกบุหรี่และอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติม โทร.ไปได้ที่ “สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600” 29 มิ.ย. 52ห้ามหักเงินในบัญชีใช้หนี้บัตรเครดิตนายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เผยว่า สคบ.เตรียมออกประกาศห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์หักบัญชีเงินฝากของผู้บริโภคเพื่อนำมาชำระหนี้บัตรเครดิต หากยังเป็นกรณีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือยังไม่มี ข้อยุติใดๆ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย สคบ.เนื่องจากธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ทั้งนี้ สคบ.ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมากว่า ได้รับความเดือดร้อนจากกรณีที่ธนาคารพาณิชย์หักเงินในบัญชีของผู้ฝากเงินเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาบัตรเครดิตโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม “การที่สถาบันการเงินกำหนดข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตไว้ในสัญญาและกำหนดให้ผู้ถือบัตรทำหนังสือยินยอมให้ธนาคารมีอำนาจหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่ผู้ถือบัตรมีอยู่กับธนาคารมาชำระหนี้บัตรเครดิตในทันที ถือเป็นข้อสัญญาที่มีผลให้คู่สัญญาต้องรับภาระเกินกว่าที่บุคคลธรรมดาจะสามารถคาดหมายได้ตามปกติ เพราะการไม่ชำระหนี้บัตรเครดิตอาจเกิดได้หลายกรณี โดยที่เจ้าของบัตรไม่มีเจตนาหรือจงใจ เช่น กรณีบัตรสูญหาย บัตรถูกลักขโมย ซึ่งยังไม่ได้พิสูจน์ความรับผิด นอกจากนี้ สคบ.ยังเห็นว่าเป็นการใช้ข้อสัญญาที่เลี่ยงกระบวนการยุติธรรมโดยไม่ไปใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลเพื่อพิสูจน์ความผิดให้เสร็จสิ้นเสียก่อน” เทสโก้ แพ้คดีเรียก 1000 ล้าน ศาลอาญาสั่งยกฟ้องคดีที่ เทสโก้ โลตัส ฟ้อง ว่าที่ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในกรณีหมิ่นประมาททำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและรายได้ โดยทาง เทสโก้ โลตัส ได้เรียกร้องค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินถึงหนึ่งพันล้านบาท ซึ่งศาลสั่งยกฟ้องด้วยเหตุผลว่าการติชมเป็นการทำหน้าที่โดยสุจริตที่มาของการฟ้องร้องเกิดขึ้นเมื่อ ว่าที่ร.อ.จิตร์ ให้สัมภาษณ์ในหัวข้อข่าว “ค้ากำไรบนซากโชวห่วย เทสโก้สูบไทย 37% จากยอดขายทั่วโลก” ตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ “ผู้จัดการรายวัน” ฉบับวันที่ 1 ต.ค.50 โดยเนื้อข่าวระบุว่า เทสโก้ โลตัส ดูดเงินจากผู้บริโภคชาวไทยส่งกลับไปยังบริษัทแม่ที่อังกฤษหลายหมื่นล้าน ทำให้เทสโก้ฯไต่ทะยานขึ้นเป็นบริษัทร่ำรวยที่สุดอันดับ 4 ของโลก มียอดขายรวมทั่วโลก 79,978 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมาจากไทยมากถึง 37% สวนทางกับผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยของไทย ที่ล้มตายอย่างรวดเร็วเหลือรอดไม่ถึงครึ่ง โดยที่ต่อมา ทาง “ผู้จัดการรายวัน” ได้แก้ไขตัวเลขยอดรายได้ของเทสโก้ฯในไทย จาก 37% เป็น 3.7% ตามที่ผู้บริหารของเทสโก้ฯแจ้งมาในภายหลัง ซึ่งทาง เทสโก้ฯ ไม่ได้ฟ้องหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เป็นจำเลยในคดี แต่ได้ฟ้อง ว่าที่ร.อ.จิตร์ โดยเรียกค่าเสียหายพันล้านบาท และฟ้องคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คือนายกมล กมลตระกูล นักสิทธิมนุษยชน และนางนงนาถ ห่านวิไล บรรณาธิการน.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจ เรียกค่าเสียหายรายละ100 ล้าน ซึ่งเผยแพร่เนื้อหาว่า เทสโก้ฯ ขยายกิจการจนส่งผลกระทบต่อร้านค้าปลีกรายย่อยในชุมชนล่มสลาย สำหรับคำพิพากษาของศาลอาญา สรุปได้ว่า วันที่ 16 มิ.ย. 52 ความอาญาระหว่างบริษัทเอก–ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด เป็นโจทก์ฟ้อง ว่าที่ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์ เป็นจำเลยฐานความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ละเมิด เรียกค่าเสียหาย 1,000 ล้านบาท ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำบรรยายของว่าที่ร.อ.จิตร์ ที่พูดถึงปัญหาค้าปลีกในประเทศไทย มีฐานข้อมูล ในฐานะหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับจำเลยมาก่อน ส่วนเรื่องที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์เลี่ยงภาษี เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งประชาชนสามารถทำได้ ส่วนคำพูดที่ว่า โจทก์ใช้เล่ห์เหลี่ยมในการขายสินค้าโดยวิธีต่ำกว่าทุน จึงมิใช่จำเลยกล่าวอย่างเลื่อนลอย ไม่มีมูลความจริง จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ ส่วนที่โจทก์กล่าวว่า “โลตัสเปรต” เป็นเพียงการเรียกความสนใจของผู้ฟัง เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สมควรตามวิสัยสันดานของแต่ละคน เป็นเพียงการใช้ถ้อยคำเกินเลยไป เมื่อฟังว่า คำบรรยายของจำเลยในงานสัมมนาไม่เป็นความผิด ในส่วนข้อความติชมนั้น ไม่ว่าจะให้สัมภาษณ์ในฐานะกรรมาธิการพาณิชย์ หรือไม่ก็ตาม จึงยังรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยอ้างข้อมูลเท็จ อันจะทำให้ผู้อื่นเข้าใจโจทก์ผิด คดีของโจทก์จึงไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง ส่วนในคดีแพ่ง เมื่อจำเลยมิได้ทำผิดตามฟ้อง โจทก์จึงไม่เสียหาย การที่โจทก์ขอคิดค่าเสียหายโดยอ้างว่าทำให้ยอดขายสินค้าลดลงมา 1,000 ล้านบาทนั้น เป็นว่าส่อแสดงเจตนาเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต พิพากษายกฟ้อง ยกเลิกบัตรทอง ใช้แค่บัตรประชาชน!นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศเตรียมยกเลิก “บัตรทอง” ทั่วประเทศปลายเดือน ก.ย. นี้ โดยจะเปลี่ยนมาใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียวเพื่อความสะดวก โดยจะเริ่มจากการใช้รักษาในโรงพยาบาลตามสิทธิ พร้อมเตรียมให้ 8 จังหวัดนำร่องใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกโรงพยาบาลในจังหวัด เพื่อศึกษาข้อดี-ข้อเสียก่อนปรับใช้ทั่วประเทศ “กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินโครงการในการใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรทองมาแล้ว 37 จังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา ใน 13 จังหวัด และ 1 มิ.ย. อีก 24 จังหวัด และในเดือน ต.ค.นี้ จะนำร่องใน 8 จังหวัด ให้ใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ภายในจังหวัดนั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิประกันตนที่ระบุในแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้ได้ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดูความพร้อมของแต่ละโรงพยาบาลและพิจารณางบประมาณ ก่อนดำเนินการใช้ให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไป”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 173 ดื่มน้ำหวานในฤดูร้อน พึงระวัง

ฤดูร้อนนั้นเป็นฤดูที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนมากที่สุด เพราะนอกเหนือไปจากความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคในอาหารที่ตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องที่สูงเกือบเท่าหรืออาจเกินอุณหภูมิของร่างกาย แล้ว เรายังมักดื่มของเหลวเพื่อลดความกระหาย เนื่องจากความร้อนในกายมากกว่าช่วงเวลาอื่นเช่น ในฤดูฝนหรือฤดูหนาวในการดื่มของเหลวนั้น ถ้าโชคดีเป็นน้ำเปล่าปัญหาก็ไม่เกิด แต่ปัญหาต่อสุขภาพจะเกิดถ้ามันเป็นน้ำที่มีความหวานจากน้ำตาลธรรมชาติ เพราะมันเป็นปัจจัยการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวในช่วงอากาศร้อน และประเด็นที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับความหวานในเครื่องดื่มคือ ถ้าชนิดของสารให้ความหวานตามธรรมชาติต่างกัน ผลที่เกิดขึ้นมันก็ต่างกันท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าน้ำตาล(ที่เขียนบนฉลากอาหาร) ที่ใช้ให้ความหวานในอาหารที่ผลิตทางอุตสาหกรรมนั้นคืออะไร คำตอบอาจง่ายสำหรับผู้ที่เรียนมาทางด้านอาหารและโภชนาการ แต่ผู้ที่จบสาขาอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอาจไม่ทราบว่ามันอาจเป็น น้ำเชื่อมฟรุกโตสเข้มข้น (high fructose corn syrup หรือ HFCS) ซึ่งผลิตจากแป้งข้าวโพดก่อนอื่นท่านผู้อ่านควรเข้าใจความแตกต่างในการใช้น้ำตาลฟรุกโตสกับคนที่มีอาการเบาหวาน และการใช้น้ำเชื่อมฟรุกโตสในอุตสาหกรรมอาหาร ว่ามันเป็นคนละเรื่องเดียวกันฟรุกโตส (Fructose) เป็นน้ำตาลที่พบได้ทั่วไปในอาหารตามธรรมชาติ พบมากในผลไม้และน้ำผึ้ง ฟรุกโตส เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ซึ่งนิยมใช้ให้ความหวานของอาหารทางการแพทย์ชนิดที่ใช้กับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะฟรุกโตสถูกดูดซึมเข้าเซลล์โดยไม่ต้องอาศัยฮอร์โมนอินซูลิน(ไม่เหมือนน้ำตาลกลูโคส) ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับพลังงานในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้รู้สึกสดชื่น หายอ่อนเพลียอย่างรวดเร็ว ส่วนน้ำเชื่อมฟรุกโตสนั้น ก็มีองค์ประกอบเป็นน้ำตาลฟรุกโตสเช่นกัน แต่กรรมวิธีการผลิตนั้นเป็นการนำเอาแป้งข้าวโพด ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นโพลีเมอร์ของน้ำตาลกลูโคสต่อเรียงกันยาว จนกลายเป็นแป้งมาย่อยด้วยเอ็นไซม์อัลฟาอะมัยเลส (α-amylase) จนได้แป้งชนิดที่เป็น oligosaccharide ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นโพลีเมอร์ของกลูโคสสายสั้น ๆ ซึ่งต้องถูกย่อยต่อด้วยเอ็นไซม์กลูโคอะมัยเลส (Glucoamylase) ได้เป็นน้ำตาลกลูโคส แล้วจึงเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาลฟรุกโตส ด้วยเอ็นไซม์กลูโคสไอโซเมอเรส (glucose isomerase) ซึ่งผลที่ได้นั้นจะมีน้ำตาลฟรุกโตสและน้ำตาลกลูโคส ที่ไม่ถูกย่อยผสมกันด้วยอัตราส่วนเกือบ 1 ต่อ 1 น้ำเชื่อมฟรุกโตสเข้มข้นทั่วไปมักมีปริมาณน้ำร้อยละ 24 ส่วนที่เหลือคือน้ำตาลวิธีการผลิตน้ำเชื่อมฟรุกโตสเข้มข้นด้วยตนเอง (DIY หรือ Do It Yourself) นั้นมีคำอธิบายไว้ใน www.bonappetit.com ภายใต้หัวข้อ Make Your Own High-Fructose Corn Syrup with Artist Maya Weinstein ซึ่งเป็นชุดปฏิบัติการที่ประกอบด้วยสารเคมีและเอ็นไซม์ต่าง ๆ ที่สามารถใช้ผลิตในครัวที่บ้าน แต่ราคาก็คงไม่เบานักเพราะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ถ้าท่านผู้บริโภคต้องการน้ำเชื่อมฟรุกโตสเข้มข้นจริงอาจสั่งซื้อจากร้านค้าที่มีโฆษณาในเน็ทดีกว่า เพียงแต่คงต้องซื้อในปริมาณมากหน่อยเท่านั้น ประเด็นที่ควรตั้งเป็นคำถาม เมื่อมีการบริโภคอะไรมากไปจากเดิม เช่นในกรณีของน้ำเชื่อมฟรุกโตส คือ มันปลอดภัยหรือไม่ ทั้งนี้เพราะบนฉลากอาหารในต่างประเทศนั้น ต้องระบุการผสมน้ำเชื่อมฟรุกโตสในน้ำอัดลม น้ำผลไม้ ชาเขียว ขนมอบ ขนมปัง ผลไม้กระป๋อง แยมและเยลลี่ต่างๆ ไม่ใช่แค่บอกว่ามีส่วนผสมเป็นน้ำตาล แล้วก็มโนเอาว่าเป็นน้ำตาลทรายหรือซูโครส (Sucrose) สาเหตุที่น้ำเชื่อมฟรุกโตสได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและรวดเร็วก็เพราะ ฟรุกโตสให้ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 1.3 เท่า หวานนุ่มกว่าน้ำตาลชนิดอื่นๆ เป็นน้ำเชื่อมใสไม่มีสี จึงไม่บดบังสีของอาหาร ดังนั้นเมื่อเทียบกับน้ำตาลทราย ซึ่งเมื่อใช้ในอาหารแล้วมักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้ว ฟรุกโตสจึงคุ้มค่ากว่าในด้านราคาต้นทุนการผลิต และความสะดวกการที่ฟรุกโตสถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ของร่างกายได้โดยไร้กลไกการควบคุมนั้น อาจดีเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยารักษาโรคเบาหวานอยู่ และสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี แต่การใช้ฟรุกโตสในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและไร้การควบคุม ที่น่าสนใจคือ มีการสำรวจพบว่า ตั้งแต่วงการอุตสาหกรรมเริ่มนำน้ำเชื่อมฟรุกโตสมาใช้แทนน้ำตาลทรายก็พบว่า อัตราการเกิดโรคอ้วนก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานนั้นน้ำตาลในเลือดไม่สูงผิดปรกติ แต่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีผู้ตั้งสมมุติฐานว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีฟรุกโตสเป็นส่วนผสมติดต่อกันอาจเพิ่มความอยากอาหาร จึงทำให้กินอาหารอื่นได้ในปริมาณมากขึ้น แต่ที่หนักหนาคือ น้ำตาลฟรุกโตสอาจส่งผลให้ไขมันในเลือดสูงขึ้น โดยเฉพาะไขมันชนิดแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-C) แถมพกด้วยภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งไม่เป็นผลดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากนั้นการใช้ฟรุกโตสในระยะยาวยังทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบ และความดันโลหิตสูง และที่น่าหนักใจคือ น้ำตาลฟรุกโตสยังถูกเปลี่ยนไปเป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งถูกสงสัยว่าอาจก่อให้เกิดภาวะไขมันเกาะตับ (Fatty Liver) โดยไม่รู้ตัวประเด็นปัญหาของฟรุกโตสต่อสุขภาพสิ่งมีชีวิตนั้น ล่าสุดได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารออนไลน์ของ Nature (วารสารที่ถูกจัดว่ามีอิทธิพลในวงการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ที่สุดเล่มหนึ่ง) คือ www.nature.com/scientificreports ซึ่งตีพิมพ์งานวิจัยของ Catarina Rendeiro และคณะ เรื่อง Fructose decreases physical activity and increases body fat without affecting hippocampal neurogenesis and learning relative to an isocaloric glucose diet เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2015ดอกเตอร์ Rendeiro และคณะได้ทดลองในหนู mouse โดยแบ่งหนูเป็นสองกลุ่ม ให้ได้อาหารที่มีสัดส่วนทุกอย่างเหมือนกันหมด (ซึ่งหมายความว่าได้พลังงานเท่ากันด้วย) สิ่งที่ต่างกันอย่างเดียวคือ แหล่งให้พลังงานในอาหารกลุ่มหนูทดลองหนึ่งนั้นเป็นฟรุกโตส(ซึ่งคำนวณว่าให้พลังงานร้อยละ 18 ของคาร์โบไฮเดรตซึ่งได้แก่ แป้งข้าวโพดและน้ำตาลทราย) ส่วนของอีกกลุ่มเป็นกลูโคส(ซึ่งให้พลังงานร้อยละ 18 ของแป้งข้าวโพดและน้ำตาลทรายเช่นกัน) จากการเลี้ยงหนูนาน 77 วัน พบว่า หนูที่กินอาหารผสมด้วยน้ำตาลฟรุกโตสนั้น มีน้ำหนักตัวมากกว่ากลุ่มที่กินอาหารผสมน้ำตาลกลูโคสอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมตับที่โตกว่า ซึ่งอาจเนื่องจากไขมันที่มาพอกเพิ่มเติม(ในทางวิทยาศาสตร์แล้วการที่ตับมีไขมันสะสมถือว่าตับเริ่มแย่แล้ว เนื่องจากไม่สามารถเผาผลาญไขมันได้หมด)ท่านผู้อ่านที่ไม่เคยเรียนวิชาชีวเคมีมาคงไม่ทราบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดความแตกต่างนี้ในสัตว์ทดลองคือ โดยทั่วไปแล้วน้ำตาลกลูโคสนั้น อาศัยฮอร์โมนอินซูลินในการนำเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกายเพื่อสันดาปให้พลังงานแก่เซลล์ ซึ่งต่างกับน้ำตาลฟรุกโตส ซึ่งถูกสันดาปเป็นส่วนใหญ่ที่เซลล์ตับ ดังนั้นพลังงานที่เกิดที่ตับจึงมีความเหลือเฟือจนน่าจะส่งผลทำให้เกิดการสร้างไขมันขึ้นมาได้ เพราะเมื่อใดที่อวัยวะใดของร่างกายมีพลังงานเหลือเฟือเซลล์ของอวัยวะนั้น จะเริ่มการสร้างไขมันขึ้นมาสะสมแทน เนื่องจากไขมันนั้นเป็นแหล่งสะสมพลังงานที่ใช้พื้นที่ในการเก็บน้อยกว่าแป้งกลัยโคเจน อีกประเด็นที่คณะวิจัยได้ค้นพบ และเชื่อว่าอาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้หนูกลุ่มที่กินน้ำตาลฟรุกโตสมีปัญหาสุขภาพคือ หนูกลุ่มนี้มีการออกแรงทำกิจกรรมลดลงอย่างเห็นได้ชัด(กล่าวโดยสรุปคือ ขี้เกียจมากขึ้น) ประเด็นนี้ถ้านำมาอุปมาอุปไมยถึงคนที่ออกกำลังกายเหนื่อย ๆ แล้วกลับบ้านกินน้ำอัดลม คงได้คำตอบเสียทีว่า ทำไมออกกำลังกายแทบตายน้ำหนักถึงลดบ้างไม่ลดบ้างดังนั้น....หลังจากเขียนบทความนี้แล้ว สิ่งที่ผู้เขียนจะปฏิบัติเพื่อให้เป็นนิสัยคือ เมื่อรู้สึกเหนื่อยหลังการออกกำลังกายแล้ว ถ้ากระหายอยากดื่มน้ำอัดลม ก็จะดื่มพร้อมกับสร้างภาพลวงว่า สิ่งที่ดื่มเป็นสุราเหมาไถ กล่าวคือ จะรินน้ำอัดลมลงแก้วในปริมาณที่คอเหล้าเขาทำกัน เพื่อดื่มเพียงนิดหน่อยพอรู้รส (เพราะถ้าเป็นเหล้าเหมาไถมันจะแรงและแพง) นั่นเอง  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 43 Heavy boy น้ำหวานตกมาตรฐาน

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชานี ตรวจพบน้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เนื่องจากมีสีสังเคราะห์ผสมอยู่เกินมาตรฐานกำหนด อากาศร้อนอบอ้าวอย่างที่เราเจอกันอยู่นี้ ถ้าได้เครื่องดื่มเย็น ๆ สักแก้วสองแก้วก็ช่วยคลายร้อนได้เยอะ แต่ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองเงินทองทุกบาทก็ย่อมมีค่า น้ำอัดลมก็กลายเป็นของแพงไปเสียแล้ว จะไปซื้อหาผลไม้มาคั้นมาปั่นราคาก็ไม่ใช่ถูก ๆ แถมได้ปริมาณไม่มาก น้ำหวานเข้มข้นจึงเป็นที่พึ่งยามยากของหลาย ๆ ครอบครัว น้ำหวานเข้มข้นขวดหนึ่งก็สามารถผสมกับน้ำสะอาดทำเป็นน้ำหวานได้มากถึง 4 เท่า แถมยังมีให้เลือกหลายรสชาติตามแต่จะต้องการ แม้จะมีข้อดีในเรื่องของการประหยัดสตางค์ในกระเป๋า แต่น้ำหวานเข้มข้นก็ยังมีเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน เนื่องจากน้ำหวานเข้มข้นส่วนใหญ่หรือเกือบจะทั้งหมดล้วนใช้สีสังเคราะห์เป็นส่วนผสมด้วยกันทั้งนั้น และสีสังเคราะห์นี้หากผู้ผลิตเขาใส่มากเกินไปก็อาจจะเกิดอันตรายจากการสะสมของสารพิษที่อยู่ในสีสังเคราะห์นั้นได้ ฉลาดซื้อและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย , ขอนแก่น , บุรีรัมย์ , สุราษฎร์ธานี และสงขลา จึงได้ร่วมกันสำรวจตลาดและเก็บตัวอย่างน้ำหวานเข้มข้นในพื้นที่ของตน และได้ส่งไปให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 7 อุบลราชธานี ทำการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของสีสังเคราะห์ที่ผสมอยู่ในน้ำหวานเข้มข้นยี่ห้อต่าง ๆ ยี่ห้อน้ำหวานเข้มข้นที่สำรวจพบมีทั้งหมด  12 ยี่ห้อ คือ 1.Heavy boy 2.โกลเด้นแพน 3.แคนดี-เคน 4.แคนดี้บอย 5.ซันนี่บอย 6.ท็อปส์ 7.เมาเทนเบส 8.วินนี่ บราวน์ 9.วินบอย 10.ออคิด 11.ฮอร์น บอย 12.เฮลซ์บลูบอย ส่วนกลิ่นและสีของน้ำหวานเข้มข้นที่สำรวจพบมีอยู่ 8 ชนิดด้วยกัน คือ 1.สับปะรด 2.ส้ม  3.สละ 4.องุ่น  5.ครีมโซดา  6.สตรอเบอรี่  7.ซาสี่  8.กุหลาบ กลิ่นและสีเหล่านี้เกิดจากการใช้สีสังเคราะห์มาเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตน้ำหวานเข้มข้น กลิ่นและสีบางอย่างก็เกิดจากการผสมสีสังเคราะห์ 2 ชนิดในสัดส่วนที่เหมาะสม อย่างกลิ่นครีมโซดาเกิดจากการผสมกันระหว่างสีสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลู FCF เป็นต้น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 7 ได้ทำการตรวจวิเคราะห์น้ำหวานเข้มข้นรวมทั้งสิ้น 52 ตัวอย่างจาก 12 ยี่ห้อดังกล่าว พบน้ำหวานเข้มข้นที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 1 ตัวอย่างคือ น้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ ในฉลากไม่ระบุชื่อผู้ผลิต ระบุเพียงสถานที่ผลิตคือ เลขที่ 456 ถ.ริมทางรถไฟสายปากน้ำ ต.คลองเตย อ.พระโขนง กรุงเทพฯ เลขทะเบียน อย./ฉผด. 98/36 เนื่องจากมีสีสังเคราะห์ผสมอยู่เกินมาตรฐานกำหนด(สีเอโซรูบีน 92.34 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบน้ำหวานเข้มข้นที่ทำผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องการแสดงฉลาก คือ ไม่มีการแสดงวันที่ผลิตหรือวันหมดอายุ ได้แก่ 1.Heavy boy แหล่งผลิตเลขที่ 456 ถ.ริมทางรถไฟสายปากน้ำ ต.คลองเตย อ.พระโขนง กรุงเทพฯ 2.Horn boy แหล่งผลิตโรงงาน ส.วัฒนา 43/20 หมู่ 7 ซ.วัดกำแพง เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 3.Win boy แหล่งผลิตโรงงานน้ำหวานสมชัย 68 หมู่ 1 ถ.สุขาภิบาล 2 ต.คลองขวาง อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี นอกจากน้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ ที่มีสีสังเคราะห์เกินมาตรฐานแล้ว นอกนั้นถือว่ามีการใช้สีสังเคราะห์ผสมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตารางที่นำมาแสดงนี้จะเรียงตามปริมาณสีสังเคราะห์ตัวหลักจากน้อยไปมากและจะจัดเป็นกลุ่มตามกลิ่นของน้ำหวาน ชอบใจน้ำหวานรสหรือกลิ่นไหนก็เลือกกันได้เลย แต่อย่าลืมว่า น้ำหวานนั้นมีส่วนประกอบของน้ำตาลอยู่ค่อนข้างมาก ดื่มน้ำหวานมากระวังโรคอ้วนจะถามหา เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน วิธีการเลือกซื้อ เลือกดื่มน้ำหวานเข้มข้น1. ไม่จำเป็นต้องเลือกซื้อน้ำหวานเข้มข้นที่มีราคาแพง 2. แม้น้ำหวานเข้มข้นส่วนใหญ่จะมีปริมาณสีสังเคราะห์เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการรับสีสังเคราะห์เข้าสู่ร่างกาย ควรเลือกซื้อน้ำหวานที่มีปริมาณสีสังเคราะห์ที่มีปริมาณน้อยไปจนถึงปานกลาง(ของแต่ละตาราง) 3. ในการทำน้ำหวานให้เจือจางควรปฏิบัติตามฉลากที่แสดงคือ ผสมน้ำหวาน 1 ส่วน กับน้ำสะอาด 4 ส่วน เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับความหวาน และปริมาณสีสังเคราะห์มากเกินไป(แม้ว่าจะมีปริมาณสีสังเคราะห์อยู่ในเกณฑ์ก็ตาม) 4. ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรบริโภคน้ำหวาน เพราะร่างกายของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีน้ำตาลในเลือดมากเกินกว่าที่ตนเองจะใช้ได้หมดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลในรูปของอาหารประเภทใดก็ตาม งดได้ควรงด 5. เตือนตัวเองตลอดเวลาว่า น้ำที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายคือน้ำดื่มสะอาด(น้ำเปล่า) ไม่ควรดื่มน้ำหวานบ่อย ๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาโรคอ้วนได้(และจะมีโรคอื่น ๆ ตามมาอีกหลายโรค) เกณฑ์การควบคุมปริมาณสีที่ใช้เติมลงไปในน้ำหวานเข้มข้นกลุ่มสีแดง -สีปองโซ 4 อาร์  เติมได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม-สีเอโซรูบีน เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีเหลือง-สีตาร์ตราซีน , สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีเขียว-สีฟาสต์กรีน FCF  เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีน้ำเงิน-สีอินดิโกร์คาร์มีน  เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม-สีบริลเลียนท์บลู FCF เติมได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กรณีที่น้ำหวานมีสีผสมกันอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป -ต้องมีปริมาณรวมของสีทุกชนิดไม่เกินปริมาณของสีที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุด เช่น น้ำหวานที่มีสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลู FCF ผสมกันอยู่ ต้องมีปริมาณรวมของสี 2 ชนิด ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม อันเป็นเกณฑ์ของสีบริลเลียนท์บลู FCF ที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุดนั่นเอง อันตรายของสีสังเคราะห์1.พิษของสีในระยะยาว สีส้ม (ซันเซ็ต เย็ลโล FCF) ถ้ารับประทานเกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะทำให้ท้องเดินและน้ำหนักตัวลด 2.พิษที่เกิดจากโลหะที่ปนมากับสีผสมอาหาร ตะกั่ว ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ และโลหิตจาง อาการต่อมาคือเป็นอัมพาตตามแขนขา สมองไม่ปกติ ชักกระตุก เพ้อคลั่ง และหมดสติ สารหนู ทำอันตรายต่อระบบส่วนกลาง ระบบทางเดินอาหาร ทำให้ตับอักเสบ และมีอันตรายต่อวงจรโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจ อาจทำให้หัวใจวายได้ • โครเมียม ทำให้เวียนศีรษะ กระหายน้ำอย่างรุนแรง ปวดท้อง อาเจียนจนหมดสติ และเสียชีวิตเนื่องจากปัสสาวะเป็นพิษ   ผลการวิเคราะห์น้ำหวานเข้มข้น โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต 7 อุบลราชธานี(เรียงตามปริมาณสีสังเคราะห์จากน้อยไปหามาก)   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์* (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 เมาเทนเบส กุหลาบ กรุงเทพฯ - - 12.32 - 2 เฮลซ์บลูบอย กุหลาบ กรุงเทพฯ - - 39.31 - 3 เฮลซ์บลูบอย กุหลาบ เชียงราย - - 39.63 -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 วินนี่ บราวน์ ครีมโซดา เชียงราย 7.35 1.96 - - 2 โกลเด้นแพน ครีมโซดา สุราษฎร์ธานี 8.37 0.72 - - 3 โกลเด้นแพน ครีมโซดา กรุงเทพฯ 9.76 1.43 - - 4 ท็อปส์ ครีมโซดา สงขลา 10.14 1.46 - - 5 ท็อปส์ ครีมโซดา กรุงเทพฯ 10.15 0.85 - - 6 ออคิด ครีมโซดา กรุงเทพฯ 16.73 1.30 - - 7 ออคิด ครีมโซดา บุรีรัมย์ 18.14 1.25 - - 8 เมาเทนเบส ครีมโซดา กรุงเทพฯ 18.65 1.16 - - 9 แคนดี-เคน ครีมโซดา เชียงราย 19.51 1.35 - - 10 เฮลซ์บลูบอย ครีมโซดา บุรีรัมย์ 20.03 2.24 - - 11 แคนดี้บอย ครีมโซดา สุราษฎร์ธานี 21.12 1.50 - - 12 ซันนี่บอย ครีมโซดา สงขลา 23.63 3.74 - - 13 แคนดี้บอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 24.88 2.37 - - 14 ซันนี่บอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 26.25 3.62 - - 15 เฮลซ์บลูบอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 28.10 2.07 - - 16 Heavy boy ครีมโซดา ขอนแก่น 36.50 2.25 - -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 เฮลซ์บลูบอย ซาสี่ กรุงเทพฯ ตรวจไม่พบสีสังเคราะห์ 2 เมาเทนเบส ทับทิม กรุงเทพฯ 14.07 - 25.04 - 3 วินบอย เพียเรด บุรีรัมย์ 22.96 2.03 - - 4 เฮลซ์บลูบอย สตรอเบอรี่ กรุงเทพฯ - - 42.39 -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1

อ่านเพิ่มเติม >