ฉบับที่ 224 ผลวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีน้ำส้มคั้น

          ในบรรดาเครื่องดื่มที่ทำจากผลไม้ น้ำส้ม เป็นน้ำผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดครองใจคนไทยมาโดยตลอด ด้วยรสชาติหวานเข้มอมเปรี้ยวลงตัวและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ทำให้เป็นที่นิยมดื่มกันทุกเพศวัย และไม่เพียงแต่รสชาติถูกใจยังได้รับการยอมรับด้วยว่า มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมด้วยแร่ธาตุและวิตามินซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่จะเป็นความจริงหรือไม่ เรามาลองดูผลวิเคราะห์ตัวอย่าง “น้ำส้มคั้น” ที่นิตยสารฉลาดซื้อ โดยโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ  นำมาทดสอบ ทั้งคุณภาพทางเคมี ได้แก่ วัตถุกันเสีย(กรดซอร์บิกและกรดเบนโซอิก) ปริมาณน้ำตาล การตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของสารเคมีการเกษตร และการวิเคราะห์หาการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ซึ่งเก็บตัวอย่างกันแบบสดใหม่ในช่วงเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา จำนวนทั้งสิ้น 30 ตัวอย่าง โดยเกณฑ์การคัดเลือกตัวอย่าง คือ        1.เก็บจากสถานที่จำหน่ายน้ำส้มคั้นสด จำนวน 25 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่(1 ตัวอย่าง)  และ        2.น้ำส้มบรรจุกล่องผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ ที่ระบุบนฉลากว่าเป็นน้ำส้ม 100 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 5 ตัวอย่าง ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นเก็บตัวอย่างสินค้าเดือนสิงหาคม 2562หมายเหตุ 1.การทดสอบหายาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ได้แก่ Amoxycillin Ampicillin Benzyl penicillin และ Tetracycline ไม่พบยาทั้ง 4 ชนิดในทุกตัวอย่าง            2.กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกที่พบในปริมาณต่ำ(น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อาจเป็นไปได้ในทางทฤษฎีว่าเป็นสารที่ได้จากผลไม้ตามธรรมชาติ   สรุปผลการทดสอบ          1.การวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแบบ Multi-Pesticide Residues พบว่า มีตัวอย่างน้ำส้มจำนวน 18 ตัวอย่าง มีสารเคมีตกค้าง โดยสรุปในแต่ละตัวอย่างพบสารพิษตกค้างตั้งแต่ 1-7 ชนิด และการทดสอบครั้งนี้พบสารพิษตกค้างทั้งสิ้นจำนวน 14 ชนิด ได้แก่ Acequinocyl, Acetamiprid, Azoxystrobin, Carbendazim, Carbofuran, Carbofuran-3-hydroxy, Chlorpyrifos, Ethion, Fenobucarb, Imazalil, Imidacloprid, Methomyl, Profenofos และ Prothiofos โดยตัวอย่างที่พบสารพิษตกค้างเป็นตัวอย่างที่มาจากการคั้นสดแล้วบรรจุขวดขายโดยตรงแก่ผู้บริโภค รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย อย. และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น Orange Juice Pulp, Tipco Squeeze SHOGUN และ Tipco ส้มสายน้ำผึ้ง เป็นต้น          เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานเพื่อวิเคราะห์ผล ปรากฎว่าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2556 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 3635) พ.ศ. 2549 กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำผลไม้ : น้ำส้ม มาตรฐานเลขที่ มอก. 99 – 2549 ไม่พบการกำหนดค่าสารพิษตกค้างจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในน้ำส้มในประกาศทั้ง 2 ฉบับ         อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาตามประกาศกระทรวงสารณสุข ฉบับที่ 387 พ.ศ.2560 เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง และประกาศฯ ฉบับที่ 393 พ.ศ. 2561 เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 2) มาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกษ.) กรมวิชาการเกษตร และมาตรฐาน CODEXพบว่าไม่มีตัวอย่างใดเกินค่ากำหนดปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่มีได้ในสินค้าเกษตร           2.การทดสอบหายาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ได้แก่ Amoxycillin Ampicillin Benzyl penicillin และ Tetracycline ผลทดสอบไม่พบยาทั้ง 4 ชนิดในทุกตัวอย่าง          3.การทดสอบวัตถุกันเสีย กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกผลทดสอบ พบกรดเบนโซอิกใน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ ส้มฝากนาย(190 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อุดมพันธุ์(50.8  มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และ Healthy Plus(66.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) พบกรดซอร์บิกใน 2 ตัวอย่าง ได้แก่  Healthy Plus(52.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และ Malee จากส้มสายน้ำผึ้ง(43.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม)  ซึ่งปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 คือ ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม        อย่างไรก็ตาม น้ำส้มอุดมพันธุ์ Malee และ Healthy Plus ทั้งสามผลิตภัณฑ์ระบุว่า ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากปริมาณกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกที่พบในปริมาณต่ำ (น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อาจเป็นไปได้ในทางทฤษฎีว่า เป็นสารที่ได้จากผลไม้ตามธรรมชาติไม่ได้มีการใส่สารเคมีเจือปนลงไปจากข้อมูลบทความเรื่อง สารกันบูด เรื่องจริงบางอย่างที่คุณอาจยังไม่รู้ ตีพิมพ์ในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 203 โดย ดร.วิสิฐ จะวะสิต  กล่าวว่า “สารกันบูดมีหลากหลายชนิด ทั้งที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์  ซึ่งสารกันบูดที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์ ได้แก่ กรดอินทรีย์ ชนิดต่างๆ เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก กรดโพรพิโอนิก สารกันบูดที่เป็นกรดอินทรีย์ยังพบในพืชหลายชนิดตามธรรมชาติและยังสามารถสร้างได้โดยจุลินทรีย์บางชนิด เช่น กรดเบนโซอิกมีพบในผลไม้พวกเบอรี่หลายชนิด เครื่องเทศจำพวกอบเชย และนมเปรี้ยว ผลแครนเบอรี่เป็นตัวอย่างของผลไม้ที่มีกรดเบนโซอิกในปริมาณที่สูงมาก กรดซอร์บิกก็มีพบในผลไม้หลายชนิดเช่นกัน...”         ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อได้ส่งตรวจยืนยันอีกครั้ง พบว่า มีวัตถุกันเสีย ใน 2 ตัวอย่างเท่านั้น คือ ส้มฝากนาย พบกรดเบนโซอิก 176.11 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ Healthy Plus พบ เบนโซอิก 53.46 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และกรดซอร์บิก 2 41.51 มิลลิกรัม/กิโลกรัม        4.ปริมาณน้ำตาล ผลทดสอบพบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9.84 กรัม/100 มิลลิลิตร (ใกล้เคียงกับปริมาณน้ำตาลในน้ำส้มคั้นที่เคยมีผู้วิจัยไว้ คือ 8.4 กรัม/หน่วยบริโภค 100 กรัม ที่มา www.CalForLife.com) โดยยี่ห้อที่มีน้ำตาลมากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่ฉลาดซื้อนำมาทดสอบ ได้แก่                      Orange Juice Healthy Valley                   13.8 กรัม/100 มิลลิลิตร                    C-orange                                                 13.4 กรัม/100 มิลลิลิตร                    Gourmet Juice by Hai Fresh Juice         13.3 กรัม/100 มิลลิลิตร                    เจ้ทิพย์ จี้ดจ้าด                                          12.8 กรัม/100 มิลลิลิตร                    Fram Fresh                                             12.5 กรัม/100 มิลลิลิตร                    Kiss Cjuice                                              12.5  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Teddy Zero                                              12     กรัม/100 มิลลิลิตร                    The Orange                                            11.8  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Orangee                                                  11.4  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Beautea                                                   11.3  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Tipco Squeeze Shogun                           10.3  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Malee จากส้มสายน้ำผึ้ง                             10.1  กรัม/100 มิลลิลิตร------------------กินน้ำส้มดีหรือร้ายต่อสุขภาพ          หลายคนมีความเชื่อว่า น้ำส้ม เป็นน้ำผลไม้ที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะพวกวิตามิน ซี แต่ในขณะเดียวกันความเห็นของนักวิชาการทางด้านสุขภาพ ยังคงแสดงความเป็นห่วงว่า น้ำจากผลไม้ ไม่เฉพาะน้ำส้มเท่านั้น อาจทำให้ร่างกายได้รับอันตรายจากปริมาณน้ำตาลที่สูงเกินไป ทำให้ติดหวานและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้          ที่มาของความห่วงใยนี้เกิดจากความกังวลที่นักวิชาการด้านสุขภาพพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าใจว่า การดื่มน้ำผลไม้มีประโยชน์มากกว่าดื่มน้ำอัดลม หรือน้ำชา กาแฟที่มีการผสมน้ำตาล แต่ความจริงคือ ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในผลไม้ตามธรรมชาติ หรือน้ำตาลที่มีการผสมเข้าไปในเครื่องดื่มอย่าง น้ำอัดลม ชาเขียว ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพไม่ต่างกัน “เมื่อคุณดื่มน้ำผลไม้ลงไปแล้ว ท้องของคุณไม่รู้หรอกว่านั่นคือน้ำส้มคั้นหรือโคล่า”          การกินผลไม้ตามลักษณะธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่งเราจะได้น้ำตาลในระดับที่ก่ออันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าน้ำผลไม้(หากกินไม่มาก) เพราะปริมาณของน้ำหรือกากใยที่อยู่ในเนื้อผลไม้จะช่วยให้เราอิ่มไว แต่การดื่มน้ำที่คั้นจากเนื้อผลไม้ เช่น น้ำส้ม มันดื่มได้ง่ายและไว ดังนั้นโอกาสที่เราจะได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไปจึงมีสูง อีกทั้งยังสูญเสียคุณประโยชน์ในส่วนกากใยอาหารไปด้วย หรือบางทีอาจมีการเติมน้ำตาลเพิ่มเข้าไปอีกเพื่อปรับปรุงรสชาติของน้ำผลไม้ยิ่งทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลมากขึ้น(ขอบคุณข้อมูลจาก https://health.kapook.com/view80221.html)  น้ำส้มคั้น เขาทำขายกันอย่างไร          ส้มเขียวหวาน ส้มแมนดาริน ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มเช้ง...เมืองไทยเรานี้ก็มีส้มหลากหลายสายพันธุ์จนหลายคนอาจจะงงๆ เหมือนกันว่า อะไรแบบไหนจะดีกว่ากัน หรือน้ำส้มคั้นที่เห็นขายกันทั่วไปนั้น เขาใช้ส้มอะไรมาคั้น แท้ไม่แท้ ผสมน้ำตาลหรือเปล่า ใส่สารกันบูดไหม หรือจริงๆ แล้วเป็นแค่หัวเชื้อ(น้ำส้มเข้มข้น)ผสมกับน้ำ น้ำเชื่อมกันแน่          สำหรับผู้บริโภคถ้าให้มั่นใจว่าคั้นจากผลส้มจริงๆ เราก็คงต้องเห็นกับตาว่าเขาคั้นสดๆ ต่อหน้าจริง แบบนี้ก็จะหวานด้วยน้ำตาลที่มีอยู่ในผลส้มตามธรรมชาติ (ซึ่งถ้ายังหวานไม่พอก็อาจมีการเติมน้ำเชื่อม และเกลือเพื่อปรุงรส) โดยทั่วไปการทำน้ำส้มคั้นบรรจุขวดขายในปัจจุบันนั้นผู้ค้าจะมีสูตรเฉพาะของตนเอง หลักๆคือการผสมน้ำส้มคั้นจากผลส้มหลายสายพันธุ์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดรสชาติที่อร่อยลงตัว เช่น น้ำส้มจากส้มเขียวหวานผสมกับส้มสายน้ำผึ้ง เป็นต้น เพราะส้มแต่ละสายพันธุ์จะมีคุณสมบัติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บางพันธุ์หวานเข้ม บางพันธุ์เปรี้ยวมากกว่าหวานแต่กลิ่นหอม  บางพันธุ์เนื้อส้มเป็นเกล็ดสวย ฯลฯ ซึ่งสูตรพวกนี้จะไม่ค่อยเปิดเผยต่อสาธารณะ มักจะซื้อขายกันเรียกว่าเป็นความลับทางการค้า          อย่างไรก็ตามพอจะรวบรวมมาฝากโดยสรุป ดังนี้          1.น้ำส้มคั้นจากส้มสายพันธุ์เดียว          2.น้ำส้มคั้นจากส้มหลายสายพันธุ์ผสมกัน          3.น้ำส้มคั้นจากการผสมหัวเชื้อน้ำส้ม น้ำ น้ำเชื่อมกับน้ำส้มคั้นธรรมชาติเพื่อปรุงแต่งให้มีกลิ่นและรสสัมผัสคล้ายส้มตามธรรมชาติ           ทั้งนี้บางผู้ผลิตอาจมีการเติมน้ำตาลและเกลือเพื่อปรับรสชาติให้กลมกล่อมขึ้น  และอาจเติมวัตถุกันเสียลงไปด้วย          สำหรับวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ ได้แก่ กรดซอร์บิก กรดเบนโซอิก ซึ่งตามกฎหมายอาหาร อนุญาตให้ผสมได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร(ฉบับที่ 5) 

อ่านเพิ่มเติม >