ฉบับที่ 238 มัดรวมผลทดสอบอาหาร 2 ปีรวด คน "ฉลาดซื้อ" ต้องอ่าน

        “อาหาร” ก็เหมือน “ยา” การได้กินอาหารที่ดีมีคุณประโยชน์ร่างกายก็แข็งแรง ซึ่งแน่นอนว่าหาก “กายดี จิตก็ดี” ในทางกลับกันหากกินอาหารคุณภาพไม่ดี คุณประโยชน์ขาดๆ เกินๆ นอกจากจะไม่แฮปปี้ในการกินแล้วยังส่งผลให้สุขภาพแย่ลงด้วย โดยเฉพาะอาหารที่มีการผสมสารเคมีหรือวัตถุเจือปนอาหารต้องห้ามหรือมากเกินมาตรฐานอย่างสารกันบูด การปนเปื้อนโลหะหนักอย่างสารตะกั่ว หรือการปนเปื้อนสารพิษอันตราย อาทิ สารเคมีทางการเกษตร ทั้งยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลงต่างๆ แทนที่จะกินอาหารเป็นยา กลับกลายเป็น “ยาพิษ” ไปได้         ดังนั้นนอกจากการออกเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่พยายามปรับปรุงอย่างเต็มกำลัง ซึ่งจะมีข้อห้ามและบทลงโทษเอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว ก็อาจต้องยอมรับว่า อย.ยังด้อยเรื่องการทำงานเชิงรุก เรียกว่ายังไม่มากเพียงพอที่จะตามทันเล่ห์เหลี่ยมคนที่จ้องจะหาผลประโยชน์จากการผลิต “ผลิตภัณฑ์อาหาร” ที่ไม่ได้คุณภาพออกมา         “นิตยสารฉลาดซื้อ” โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) จึงเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งในการทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามผลิตภัณฑ์อาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาดเมืองไทย เพื่อคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมให้คนไทยได้กินอาหารที่ดี มีประโยชน์จริงๆ ซึ่งต้องบอกว่าเรื่องนี้ “ฉลาดซื้อ” ติดตาม เกาะติดมานานหลายปี ช่วยจัดทำชุดข้อมูลข้อเท็จจริงส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำกับติดตามให้เกิดการแก้ไข และเพื่อการมีอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย         ในโอกาสสิ้นปี 2563 นี้ นิตยสารได้ทำการสรุปผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้ดำเนินการตรวจสอบตั้งแต่ปี 2562 ถึง 2563 อะไรเด่น “ฉลาดซื้อ” มัดรวมเอาไว้ผ่านบทความชิ้นนี้ โดยแยกเป็นกลุ่ม 1. สารกันบูด 2. สารเคมีทางการเกษตร 3. เชื้อดื้อยา และ 4. ไขมันทรานส์         เริ่มกันที่ กลุ่มวัตถุกันเสีย หรือ สารกันบูด ทั้ง กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) และ กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) มีผลต่อการทำงานของตับ และไต ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา นิตยสารฉลาดซื้อได้เก็บตัวอย่างมาทดสอบจำนวนมาก ดังนี้...         “โรตีสายไหม” สุดยอดของฝากจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งการตรวจสอบต้องแยกเป็น 2 ส่วนคือ 1.แผ่นแป้ง ซึ่งบูดง่าย อาจมีการใช้สารกันบูดเพื่อยืดอายุการใช้งาน 2.น้ำตาลสายไหม ทำจากน้ำตาล น้ำมันมะพร้าว แป้งสาลี และสีผสมอาหารสังเคราะห์ที่มากเกินไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพ หลังจากที่เคยเก็บตัวอย่างเมื่อเดือนมี.ค. 2561 จำนวน 10 ตัวอย่าง พบ 4 ตัวอย่างผสมสารกันบูด ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เข้ามาจัดการแล้ว แต่จากการเก็บตัวอย่างมาตรวจอีกครั้งในเดือนเม.ย.2562 จากตลาด 13 แห่งในพื้นที่ โดยเป็นโรตีสายไหมจากเจ้าเดิม 10 ตัวอย่าง และเจ้าใหม่อีก 3 ตัวอย่าง ผลทดสอบในแป้งโรตี มีการใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ตาร์ตราซีน (Tartrazine) เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด (สูงสุดไม่เกิน 50 มก./กก.) 2 ตัวอย่าง คือ 1.ร้านวรรณพร ตรวจพบ ตาร์ตราซีน 59.76 มก./กก. และ 2.ร้านประวีร์วัณณ์  ตรวจพบ ตาร์ตราซีน 57.41 มก./กก.         ขณะที่การทดสอบวัตถุกันเสียนั้น ในทุกตัวอย่างไม่พบกรดซอร์บิก แต่พบกรดเบนโซอิกในทุกตัวอย่าง แต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน (ไม่เกิน 1,000 มก./กก.) 7 ตัวอย่าง แต่มีอีก 6 ตัวอย่างที่พบกรดเบนโซอิกเกินค่ามาตรฐาน คือ 1. โรตีสายไหม ร้านเรือนไทย 2. ร้านไคโร น้องชายบังอิมรอน 3. ร้านบังหมัด 4.ร้านวริศรา โรตีสายไหม 5.ร้านบังเปีย อามีนะห์ แสงอรุณ และ 6.ร้านแม่ชูศรี (รายละเอียดในฉบับที่ 218) โดยมีอยู่ 2 ร้านที่ผลการทดสอบครั้งแรกเดือนมี.ค. 2561 (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 205) และครั้งนี้พบเกินค่ามาตรฐานทั้ง 2 ครั้ง ร้านเอกชัย (B.AEK) และ ร้านศิลัคข บังอารีย์ แสงอรุณ เจ้าเก่า อ่านรายละเอียดที่ฉลาดซื้อฉบับที่ 218)            “เส้นขนมจีน” ซึ่งเป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยม เป็นอาหารจำพวกแป้งสด จึงบูดเสียง่าย จึงพบการลักลอบในสารกันบูดเช่นเดียวกัน ซึ่งจากการทดสอบมาแล้ว 2 ครั้ง ในเดือน ก.พ. 2559 (ฉบับที่ 180) และในเดือนมิ.ย. 2560 (ฉบับที่ 196) พบว่ามีการการผสมสารกันบูดเกินมาตรฐานเกินครึ่งของกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มเก็บมา         ล่าสุดเดือนพ.ค.2562 สุ่มเก็บมาอีก 31 ตัวอย่าง จากตลาดสดและห้างสรรพสินค้า ตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการแล้วไม่พบกรดซอร์บิกเลย แต่พบกรดเบนโซอิกในทุกตัวอย่าง และมี 2 ตัวอย่างที่พบเกินค่ามาตรฐาน 1.เส้นขนมจีน ยี่ห้อ หมื่นบูรพา จากตลาดคลองเตย พบในปริมาณ 1066.79 มก./กก.และ  2.เส้นขนมจีน ยี่ห้อ M&A บ้านขนมจีนปทุม จากตลาดสี่มุมเมือง พบในปริมาณ 1361.12 มก./กก.         อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตรวจพบว่าเส้นขนมจีนทุกตัวอย่างมีการปนเปื้อนกรดเบนโซอิก จึงสังเกตที่ฉลากบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติมพบว่ามีเพียง 4 ตัวอย่างที่แสดงข้อมูลการใช้สารกันบูดหรือวัตถุกันเสีย ที่เหลือบางตัวอย่างมีเลขสารระบบของอย. บางตัวอย่างระบุไว้บนฉลากว่าปราศจากวัตถุกันเสีย ปราศจากสิ่งเจือปน  (อ่านรายละเอียดที่ฉลาดซื้อฉบับที่ 219)         “น้ำพริกหนุ่ม” สำหรับการตรวจหาสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่มนั้น โดยสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำพริกหนุ่มที่จำหน่ายในภาคเหนือ 17 ตัวอย่าง เมื่อเดือนมิ.ย. 2562 ผลการตรวจพบว่า 2 ตัวอย่างไม่มีสารกันบูดเลย ส่วนที่พบสารกันบูดแต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน 8 ตัวอย่าง         และพบกรดเบนโซอิกเกินมาตรฐาน 7 ตัวอย่าง คือ 1.น้ำพริกหนุ่ม ร้านดำรงค์ จาก ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ พบ 890.32 มก./กก. 2.น้ำพริกหนุ่ม ล้านนา จาก ตลาดของฝากเด่นชัย จ.แพร่ พบ 1026.91 มก./กก. 3.น้ำพริกหนุ่ม นิชา (เจ๊หงษ์ น้ำพริกหนุ่ม) จาก ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ 1634.20 มก./กก. 4.น้ำพริกหนุ่ม เจ๊หงษ์ จาก ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ พบ 1968.85 มก./กก. 5.น้ำพริกหนุ่ม แม่ชไมพร จาก ตลาดสดอัศวิน ร้านสิริกรของฝาก จ.ลำปาง พบ 2231.82 มก./กก. 6.น้ำพริกหนุ่ม ยาใจ (รสเผ็ด) จาก ร้านขายของฝากสามแยกเด่นชัย จ.แพร่ พบ 3549.75 มก./กก. และ 7. น้ำพริกหนุ่ม อุมา จาก ตลาดสดแม่ต๋ำ จ.พะเยา พบ 5649.43 มก./กก. (อ่านรายละเอียดที่ฉลาดซื้อฉบับที่ 221)         “กุนเชียง” ว่าด้วยเรื่องของกุนเชียงนั้น เมื่อเดือน ธ.ค.2562 “นิตยสารฉลาดซื้อ” ได้รับการสนับสนุนทีมอาสาสมัครจากเครือข่ายผู้บริโภคภาคอีสาน ในการเก็บตัวอย่าง กุนเชียง 19 ตัวอย่าง แบ่งเป็นกุนเชียงหมู 9 ตัวอย่าง  กุนเชียงไก่ 5 ตัวอย่าง และกุนเชียงปลา 5 ตัวอย่าง มาตรวจสอบ ก็พบว่าทุกตัวอย่างมีความปลอดภัย ไม่มีวัตถุเจือปนอาหาร ไนไตรท์ ไนเตรท กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก เกินค่ามาตรฐาน หรือถ้าพบก็พบในปริมาณน้อยไม่เกินค่า ...(อ่านต่อได้ที่ฉลาดซื้อฉบับ 227)         มาต่อกันที่ “สลัดครีม” เมนูอาหารมื้อเบาๆ ที่มักพบสารกันบูดละไขมันนั้น จากการ สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประเภทสลัดครีม 17 ตัวอย่าง จากร้านสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ มาตรวจวิเคราะห์ พบ 1 ตัวอย่างมีสารกันบูด ทั้งกรดซอร์บิก และ กรดเบนโซอิก รวมกันเกินค่ามาตรฐาน คือ “American Classic Ranch” โดยพบกรดเบนโซอิก664.14 มก./กก. และพบกรดซอร์บิก 569.47 มก./กก. รวมแล้วทั้ง 2 ชนิดพบ 1,233.61 มก./กก. (อ่านรายละเอียดที่ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 232)         กลุ่มสารเคมีทางการเกษตร และโลหะหนัก ทั้งนี้ สิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย มีโลหะหนัก หรือการใช้สารเคมีในภาคเกษตรที่มีอยู่หลายร้อยชนิด เป็นความเสี่ยงอย่างสูงที่จะทำให้วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารนั้นมีการปนเปื้อนสารเหล่านี้ไปด้วย ดังนั้น ตลอดปี 2562-2563  “ฉลาดซื้อ” มีการเก็บตัวอย่างอาหารมาทดสอบหาการปนเปื้อน           โฟกัสไปที่ “น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ” เมื่อเดือน ก.พ.-มี.ค.2561 ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ 12 ตัวอย่าง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อตรวจหาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ผลการตรวจตะกั่ว พบว่าในน้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มก./ อาหาร 1 กก. ส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้าของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียมต้องน้อยกว่า 2 มก./กก.ก็พบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช.ทุกตัวอย่าง           ต่อมาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ 15 ตัวอย่าง โดยเป็นตัวอย่างในชื่อผลิตภัณฑ์เดิม 9 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 6 ตัวอย่าง ตรวจแล้วทุกอย่างอย่างผ่านเกณฑ์การทดสอบตะกั่ว และแคดเมียมทั้งหมด  แต่กลับตรวจพบสารกันบูดแต่ยังไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ซึ่งกรณีที่พบในปริมาณน้อย อาจจะเป็นไปได้ว่า กรดเบนโซอิกสามารถพบได้จากพืชพรรณหลายชนิดตามธรรมชาติ  (อ่านรายละเอียดที่ฉลาดซื้อฉบับที่ 220)         ขณะที่ “ปลาสลิดตากแห้ง” ซึ่งเป็นอาหารที่แมลงวันชอบมาตอมและไข่ทิ้งไว้ ทำให้ดูไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งบางร้านใช้การขับไล่ตามปกติ แต่บางร้าน  อาจจะมีการใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่น ดังที่เป็นข่าวเมื่อต้นปี 2560 ที่พบการใช้ ไดคลอโรไดฟีนิลไตรคลอโรอีเทน (Dichloro-diphenyl-trichloroethane หรือ ดีทีที) ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อเดือน ก.ค. 2562 “ฉลาดซื้อ” จึงได้สุ่มเก็บตัวอย่างปลาสลิดตากแห้ง 19 ตัวอย่าง จากร้านค้าในตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้าทั่วไป และร้านค้าออนไลน์ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด แต่ผลตรวจไม่พบว่ามีตัวอย่างใดปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต และในกลุ่มไพรีทรอยด์ แต่อย่างใด (อ่านรายละเอียดที่ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 235)         มาต่อกันที่ “น้ำปู” หรือ “น้ำปู๋” เป็นเครื่องปรุงรสของทางภาคเหนือ กลุ่มเดียวกับกะปิ ซึ่งจากการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์น้ำปูจำนวน 24 ตัวอย่าง จากตลาดในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ ระหว่างวันที่ 7-15 ก.ย. 2563 มาตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของพาราควอต พบสารพาราควอตในน้ำปู 33 % หรือ 1 ใน 3 ของตัวอย่างที่สุ่มตรวจ ค่าเฉลี่ยของการตกค้าง 0.04275 มก./กก.         โดยตัวอย่างที่พบปริมาณพาราควอตตกค้างมากที่สุด ได้แก่1.น้ำปู ไม่ระบุยี่ห้อ จาก ต.บ้านลา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง พบ 0.090 มก./กก. 2.น้ำปู ไม่ระบุยี่ห้อ จาก ต.ทุ่งฮั้ว อ.วังเหนือ จ.ลำปาง พบ 0.074 มก./กก. 3.น้ำปู ยี่ห้อน้ำปู๋แม่แจ่ม จาก ตลาดสดข่วงเปา ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ พบ 0.046 มก./กก.  4.น้ำปู ไม่ระบุยี่ห้อ จาก ร้าน น.ส.นิตยา ต.แม่ยางฮ่อ อ.ร้องกวาง จ.แพร่ พบ 0.042 มก./กก. 5.น้ำปู ไม่ระบุยี่ห้อ จาก บ้านป่าสัก ต.ศรีถ้อย อ.แม่ใจ จ.พะเยา พบ 0.040 มก./กก. 6.น้ำปู ไม่ระบุยี่ห้อ จาก ตลาดบ้านปางลาว ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย พบ 0.031 มก./กก. 7.น้ำปู ไม่ระบุยี่ห้อ จากบ้านหนุน อ.ปง จ.พะเยา พบ 0.011 มก./กก. และ 8. น้ำปู ไม่ระบุยี่ห้อ จาก ร้านป้าหวิน บ้านร่องกาศใต้ ต.ร่องกาศ อ.สูงเม่น จ.แพร่ พบ 0.006 มก./กก. (อ่านรายละเอียดได้ที่ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 235)         ส่วน “หมึกแห้ง” นั้น เมื่อเดือน ม.ค.2563 ฉลาดซื้อได้เก็บหมึกแห้ง 8 ตัวอย่าง  (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 112-113 ปลาหมึกแห้ง ของดีแต่มีเสี่ยง) จากตลาดสดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งร้านค้าในต่างจังหวัด และห้างออนไลน์ รวม 13 ตัวอย่าง  ตรวจพบว่าทั้ง 13 ตัวอย่างมีการปนเปื้อนปรอทแต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด โดยตัวอย่างที่พบสูงสุดอยู่ที่ 0.042 มก./กก. เช่นเดียวกับผลการตรวจหาตะกั่วที่พบทั้ง 13 ตัวอย่างแต่ไม่เกินเกณฑ์ สูงสุด คือ 0.059 มก./กก. สำหรับการตรวจหาสารพิษจากเชื้อรา ( Aflatoxin B1, B2, G1, G2 และ Total Aflatoxin) ไม่พบในทุกตัวอย่าง  เช่นเดียวกับการตรวจหาการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ ก็ไม่พบในทุกตัวอย่างเช่นกัน         อย่างไรก็ตาม เมื่อทำการตรวจหาแคดเมียม ก็พบทุกตัวอย่าง แต่มีอยู่ 7 ตัวอย่างที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน คือ 1.หมึกแห้ง จาก ตลาดคลองเตย ไม่ระบุ ซ.1 ต้นโพธิ์ พบ 2.003  มก./กก. 2. หมึกแห้ง จาก จังหวัดระยอง ร้านโชคชัยการค้า พบ 2.393 มก./กก. 3. หมึกแห้ง จาก ร้านค้าออนไลน์ SHOPEE พบ 2.537  มก./กก. 4. หมึกแห้ง จาก ตลาดเยาวราช ร้าน ต.วัฒนาพาณิชย์ ตลาดเก่าเยาวราช พบ  3.006  มก./กก. 5. หมึกแห้ง จาก ตลาดมหาชัย ร้านศรีจันทร์ พบ  3.303  มก./กก. 6. หมึกแห้ง จาก จังหวัดตราด ร้านเจ๊อำนวย (ตรงข้าม รพ. จังหวัดตราด) พบ 3.432  มก./กก. และ 7. หมึกแห้ง จาก ตลาดปากน้ำสมุทรปราการ ร้านพี่น้อง (เจ๊เล็ก) พบ 3.872  มก./กก. ...(อ่านรายละเอียดที่ฉลาดซื้อฉบับที่ 230)         อีกหนึ่งตัวอย่างที่ฉลาดซื้อให้ความสำคัญคือ “ถั่วเหลือง” เป็นพืชที่พบการใช้สารเคมีอันตราย อย่างพาราควอต และไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส แต่ถูกผลักดันให้ยกเลิกการนำเข้า และใช้สารเคมีเหล่านี้ในประเทศไทย ทั้งนี้เมื่อฉลาดซื้อ เก็บตัวอย่างถั่วเหลืองทั้งแบบเต็มเม็ดและแบบผ่าซีก  3 ครั้ง ในวันที่ 29 พ.ย., 2 ธ.ค. และ 6 ธ.ค. 62  รวม 8 ตัวอย่าง จากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่มาทำการตรวจหาการปนเปื้อนสารเคมีทางการเกษตร         ทั้งนี้ผลตรวจสอบพบการตกค้างของไกลโฟเซต 5 ตัวอย่างแต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน  ได้แก่ ถั่วเหลือง ตรา ไร่ทิพย์ พบ 0.53 มก./กก., ถั่วเหลืองซีก ตรา เอโร่ พบ 0.07 มก./กก., ถั่วเหลือง ตรา ด็อกเตอร์กรีน พบ 0.50 มก./กก., ถั่วเหลืองซีก ตรา โฮม เฟรช มาร์ท พบ 0.20 มก./กก., และถั่วเหลืองผ่าซีก ตรา แม็กกาแรต พบ 0.24 มก./กก. ส่วนอีก 3 ตัวอย่างไม่พบการตกค้างได้แก่ ถั่วเหลือง ตรา บิ๊กซี, ถั่วเหลิองออร์แกนิค ตรา โฮม เฟรช มาร์ท, และถั่วเหลืองซีก ตรา ท็อปส์        “แม้จะพบไกลโฟเซตไม่เกินค่ามาตรฐานอาหารสากล แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ หากมีการบริโภคในปริมาณที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านความร้อนสูงไม่ว่าจะเป็นน้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ฟองเต้าหู้”...(อ่านรายละเอียดที่ฉลาดซื้อฉบับที่ 231)         สำหรับกลุ่ม “ไขมันทรานส์” ที่มักพบในขนม นมแนย นั้น และส่งผลกระทบกับสุขภาพของประชาชน ซึ่งล่าสุดทายอย.ประกาศห้ามมีในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ แล้วนั้น อย่างไรก็ตาม “ฉลาดซื้อ” ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาตรวจสอบ และเผยแพร่ต่อประชาชนคือ         “เค้กเนย และชิฟฟ่อน” โดยมีการเก็บตัวอย่าง 16 ตัวอย่าง พบไขมันทรานส์ในปริมาณน้อยไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ที่กำหนดไว้ คือ ไม่เกิน 0.5 กรัม/หน่วยบริโภค ยกเว้นเค้กเนยของยี่ห้อ PonMaree Bakery (พรมารีย์ เบเกอรี่)  ที่พบไขมันทรานส์ที่ 0.61 กรัม ต่อ 1 หน่วยบริโภค (55 กรัม) ถือว่าสูงกว่ายี่ห้ออื่นๆ แต่เมื่อตรวจสอบที่ผลการวิเคราะห์ชนิดของกรดไขมันทรานส์ พบว่า ยี่ห้อนี้เขาจัดหนักจัดเต็มในสูตรเค้กเพราะใช้เนยแท้ หรือก็คือ ปริมาณกรดไขมันทรานส์ที่ตรวจพบนี้เป็นกรดไขมันทรานส์ธรรมชาติ จึงไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจผิดต่อผู้ที่รักสุขภาพ ส่วนผลตรวจหาสารกันเสีย ก็พบเค้กเนยนั้นไม่พบกรดเบนโซอิก แต่กรดเบนโซอิกเล็กน้อยไม่เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนดไว้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ..(อ่านรายละเอียดที่ฉลาดซื้อฉบับที่ 216)           การตรวจหาการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ และเชื้อดื้อยา        “ปลาทับทิมและเนื้อไก่ชำแหละ” ...เมื่อเดือนต.ค. 2563 “ฉลาดซื้อ” ลุยเก็บตัว “ปลาทับทิม” จากตลาดในเขตกรุงเทพฯ 11 แห่ง ตลาดและกระชังปลาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง 4 แห่ง รวม 15 ตัวอย่าง ส่งตรวจพบว่ามี 14 ตัวอย่าง ไม่พบการตกค้างของยาปฏิชีวนะที่ส่งตรวจ มีเพียง 1 ตัวอย่าง จากตลาดคลองเตย พบ ยา Oxytetracycline ในปริมาณน้อยกว่า 5.00 ไมโครกรัม/กิโลกรัม (ไม่เกินมาตรฐาน)         ส่วน “เนื้อไก่ชำแหละ” ซึ่งได้เก็บมา 10 ตัวอย่าง ผลตรวจพบว่ามี 9 ตัวอย่าง ไม่พบการตกค้างของยาปฏิชีวนะที่ส่งตรวจ  มี 1 ตัวอย่าง จากเนื้อไก่ที่ซื้อจากตลาดเจ้าพรหม  พบยา Enrofloxacin (Endrofloxacin) ในปริมาณ 0.66 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ทั้งนี้ ยาดังกล่าวไม่ได้เป็นรายการยาในบัญชีแนบท้ายประกาศ แม้ อย. อนุญาตให้ใช้ได้แต่ต้องไม่พบการตกค้างเลย อาจถือเป็นความผิดตามมาตรา 60 โทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ของ พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522           มัดรวมไว้ตรงนี้ เผื่อว่าใครยังไม่ทราบว่าฉลาดซื้อได้เคยทำทดสอบด้านอาหารอะไรไว้บ้าง ก็น่าจะได้เป็นแนวทางในการค้นหารายละเอียดต่อไป และเราสัญญาว่า เราจะตามติดและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยา เครื่องสำอาง ฯลฯ เพื่อให้ผู้บริโภคใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ “ซื้อ” หรือ “ไม่ซื้อ” ในปี 2564 อย่างเข้มข้น แน่นอน 

อ่านเพิ่มเติม >

ตรวจ ‘น้ำพริกหนุ่ม’ รอบ 2 พบ สารกันบูดเกินมาตรฐานน้อยลง

ฉลาดซื้อ จับมือ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ ตรวจ ‘น้ำพริกหนุ่ม’ รอบ 2 พบ สารกันบูดเกินมาตรฐานน้อยลง        ฉลาดซื้อ และ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ ตรวจซ้ำ ‘สารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม’ รอบ 2 พบ น้ำพริกหนุ่ม 7 ตัวอย่างตรวจไม่พบวัตถุกันเสียทั้งสองชนิด และมีน้ำพริกหนุ่ม 8 ตัวอย่าง ตรวจพบสารกันบูดแต่ไม่เกินมาตรฐาน ส่วนอีก 8 ตัวอย่าง ตรวจพบปริมาณวัตถุกันเสียเกินมาตรฐาน ขณะที่มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ยี่ห้อที่ตรวจไม่พบสารกันบูดเลยทั้ง 2 รอบ คือ น้ำพริกหนุ่มอุ้ยคำ (ตราขันโตก) และ น้ำพริกหนุ่ม ตรา วรรณภา         นิตยสารฉลาดซื้อ ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ สุ่มตรวจน้ำพริกหนุ่มครั้งที่ 2 โดยแบ่งกลุ่มสินค้าตัวอย่างเป็นยี่ห้อเดิมที่เคยตรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 221 ผลทดสอบสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม) จำนวน 11 ตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่างใหม่จำนวน 12 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ถึงเดือนมีนาคม 2563 โดยนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มส่งตรวจวิเคราะห์หาปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) และ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ซึ่งเป็นวัตถุกันเสียที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง      สารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ผลการทดสอบ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ตรวจไม่พบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิกหรือกรดซอร์บิกเลย กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ตรวจพบสารกันบูด แต่ไม่เกินมาตรฐาน และ กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ตรวจพบว่ามีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน           กลุ่มที่ 1 ตรวจไม่พบวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดเลย จำนวน 7 ตัวอย่าง ได้แก่ 1) น้ำพริกหนุ่มอุ้ยคำ (ตราขันโตก จากตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ 2) น้ำพริกหนุ่ม วนัสนันท์ สูตรดั้งเดิม จากตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ 3) น้ำพริกหนุ่ม จ่าเหลาหมูทอด จากตลาดโต้รุ่งข้างลานเจ้าแม่ลำพูน 4) น้ำพริกหนุ่มแม่ลัด จาก จ.ลำพูน 5) น้ำพริกหนุ่ม ครัวไส้อั่วแม่บุญนาค จาก จ.ลำพูน 6) น้ำพริกหนุ่มเปมิกา จากร้านเปมิกา ตลาดแม่ทองคำ จ.พะเยา และ 7) น้ำพริกหนุ่ม ตรา วรรณภา สูตรโบราณ จาก บจก.นันท์ธินี จ.เชียงราย         กลุ่มที่ 2 ตรวจพบสารกันบูดแต่ไม่เกินมาตรฐาน จำนวน 8 ตัวอย่าง ได้แก่ 1) มารศรี น้ำพริกหนุ่ม สูตรดั้งเดิมจากร้านแม่ทองปอน ตลาดแม่ทองคำ จ.พะเยา พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 115.25 มก./กก. 2) นิชา (เจ๊หงษ์ น้ำพริกหนุ่ม) จากร้านเจ๊หงษ์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 133.16 มก./กก. 3) แม่อุ่นเรือน จากตลาดสดอัศวิน จ.ลำปาง พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 187.17 มก./กก. 4) นันทวัน น้ำพริกหนุ่มเจียงฮาย สูตรดั้งเดิม จาก บจก.นันท์ธินี จ.เชียงราย พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 282.66 มก./กก. 5) น้ำพริกหนุ่มอำพัน จากร้านข้าวแต๋นของฝาก จ.ลำปาง พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 302.10 มก./กก. 6) น้ำพริกหนุ่ม ร้านดำรงค์ จากร้านดำรงค์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 382.19 มก./กก. 7) น้ำพริกหนุ่มอุ้ยแก้ว จากกาดขัวมุง จ.ลำพูน พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 430.18 มก./กก. และ 8) น้ำพริกหนุ่ม ตรา ศุภลักษณ์ (รสเผ็ดมาก) จากร้านแม่ทองปอน ตลาดสดแม่ทองคำ จ.พะเยา พบปริมาณ กรดซอร์บิก เท่ากับ 524.59 มก./กก.        ส่วนผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มในกลุ่มที่ 3 ตรวจพบปริมาณวัตถุกันเสียเกินมาตรฐาน พบจำนวน 8 ตัวอย่าง ได้แก่ 1) เจ๊หงษ์ จากร้านเจ๊หงษ์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 515.13 มก./กก. 2) ร้านแคบหมู รัตติกรณ์ จากตลาดพะเยาอาเขต จ.พะเยา พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 577.71 มก./กก. 3) น้ำพริกหนุ่มอุมา จากตลาดสดแม่ทองคำ จ.พะเยา พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1152.12 มก./กก. 4) น้ำพริกหนุ่มดวงกมล สูตรดั้งเดิม จากร้านขายของฝาก (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1262.21 มก./กก. 5) ประชันฟาร์ม จากร้านแม่สมใจ (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่ พบปริมาณ กรดซอร์บิก เท่ากับ 1346.65 มก./กก. 6) บัวลักษณ์ จากร้านขายของฝาก (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 3007.29 มก./กก. 7) คุณถนอม จากตลาดสดอัศวิน จ.ลำปาง พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 3370.82 มก./กก. และ 8) น้ำพริกหนุ่ม แม่ประกาย จากร้านยาใจ (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 4647.98 มก./กก. ในส่วนของผลการเปรียบเทียบการตรวจวิเคราะห์น้ำพริกหนุ่มจากการตรวจครั้งที่ 2 และ 3 สรุปได้ ดังนี้        • มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่ตรวจไม่พบสารกันบูดเลยทั้งสองครั้ง คือ น้ำพริกหนุ่มอุ้ยคำ (ตราขันโตก) และ น้ำพริกหนุ่ม ตรา วรรณภา        • มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่เคยตรวจพบปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐานในครั้งที่แล้ว แต่ครั้งนี้ไม่เกินมาตรฐาน คือ นิชา (เจ๊หงษ์ น้ำพริกหนุ่ม) และ น้ำพริกหนุ่ม ร้านดำรงค          • มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่ตรวจพบปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐานทั้งสองครั้ง  (แต่ครั้งล่าสุด ตรวจพบปริมาณสารกันบูดน้อยลง แต่ก็ยังคงเกินมาตรฐาน) คือ เจ๊หงษ์ และ น้ำพริกหนุ่มอุมา         ทั้งนี้ หากลองเปรียบเทียบสัดส่วนผลตรวจปริมาณสารกันบูดที่เกินมาตรฐานทั้งสองครั้ง จะพบว่า ในครั้งที่แล้ว (เดือนมิถุนายน 2562) ผลตรวจน้ำพริกหนุ่มทั้งหมด 17 ตัวอย่าง พบว่า มีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 41.17 และในครั้งนี้ จากทั้งหมด 23 ตัวอย่าง พบว่า มีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 34.78 ซึ่งน้อยลงกว่าครั้งก่อน     ด้าน พวงทอง ว่องไว เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ กล่าวว่า ผลการเฝ้าระวังที่ออกมาครั้งนี้จะพบว่ามีผู้ประกอบการส่วนมากได้มีการปรับคปรุงคุณภาพของสินค้าได้ดีขึ้น ส่วนนี้ต้องขอบคุณในความใส่ใจเพื่อผลิตอาหารที่ปลอดภัยออกมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค และในบางผลิตภัณฑ์ที่ยังพบอยู่นั้น คงต้องขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการในการพัฒนาสูตรและการผลิตต่อไป ส่วนเครือข่ายผู้บริโภคจะทำหน้าที่เฝ้าระวังสินค้าต่างๆ ต่อไปเพื่อกระตุ้นให้ผู้ผลิตให้ความสำคัญและผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายให้มีความปลอดภัยต่อการบริโภคอ่านผลทดสอบฉบับเต็มได้ที่ ผลทดสอบสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 229 ผลทดสอบสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม

        หากยังจำกันได้ ฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของฝากจากภาคต่างๆ ของประเทศไทย เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์วัตถุเจือปนอาหาร เช่น สารกันบูด สีผสมอาหาร หรือการปนเปื้อนของโลหะหนักจำพวกตะกั่ว-แคดเมียม เพื่อผู้บริโภคจะได้นำข้อมูลผลทดสอบไปใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อของฝากได้อย่างมั่นใจมากขึ้น โดยของฝากจากภาคต่างๆ ที่ฉลาดซื้อเคยสุ่มทดสอบ ได้แก่ โรตีสายไหม จากภาคกลาง, น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จากภาคอีสาน, แกงไตปลาแห้ง จากภาคใต้และน้ำพริกหนุ่ม จากภาคเหนือ ซึ่งในฉบับนี้จะเป็นการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มซ้ำอีกครั้ง        น้ำพริกหนุ่มจัดเป็นอาหารที่บูดเสียง่าย เก็บได้ไม่นาน โดยเฉพาะหากเก็บไว้ในที่ๆ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ หากลองชิมแล้วพบว่าน้ำพริกหนุ่มมีรสเปรี้ยว แปลว่าบูดแล้ว ไม่ควรนำมารับประทาน ดังนั้นการถนอมน้ำพริกหนุ่มให้อยู่ได้นาน ผู้ผลิตอาจใช้สารกันบูดเป็นตัวช่วยในการยืดอายุการเก็บรักษา ซึ่งหากใช้สารกันบูดในปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสมก็จะมีความปลอดภัย แต่หากใช้เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้         ฉลาดซื้อและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ ได้ดำเนินการเฝ้าระวังสินค้าตาม โครงการสนับสนุนระบบการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม จำนวน 23 ตัวอย่าง จากร้านขายของฝากและตลาดต่างๆ ในจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มที่นำมาส่งตรวจวิเคราะห์นั้นมีทั้งแบบตักชั่งน้ำหนักใส่ถุงขาย และแบบบรรจุในบรรจุภัณฑ์ปิดสนิท         เราแบ่งกลุ่มสินค้าตัวอย่างเป็นยี่ห้อเดิมที่เคยตรวจ เมื่อเดือนมิถุนายน 2562  (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 221 ผลทดสอบสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม ภาค 2) จำนวน 11 ตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่างใหม่จำนวน 12 ตัวอย่าง โดยนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มส่งตรวจวิเคราะห์หาปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) และ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ซึ่งเป็นวัตถุกันเสียที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง         โดยผลการทดสอบปรากฏดังตารางที่ 1 ซึ่งแสดงผลวิเคราะห์ปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก ในผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มทั้ง 23 ตัวอย่าง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ตรวจไม่พบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิกหรือกรดซอร์บิกเลย  กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ตรวจพบสารกันบูด แต่ไม่เกินมาตรฐาน และ กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ตรวจพบว่ามีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน สรุปผลการทดสอบ         ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) ได้อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณสูงสุดของวัตถุกันเสียประเภท กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) ไว้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม และวัตถุกันเสียประเภท กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ไว้ไม่เกิน 1000 มก./กก. ในหมวดอาหารประเภทเครื่องปรุงรส เช่น น้ำพริกพร้อมบริโภค น้ำพริกสำหรับคลุกข้าว น้ำพริกกะปิ          จากตารางผลตรวจวิเคราะห์ พบว่า         กลุ่มที่ 1 ตรวจไม่พบวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดเลย จำนวน 7 ตัวอย่าง ได้แก่           1) น้ำพริกหนุ่มอุ้ยคำ (ตราขันโตก) จากตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่          2) น้ำพริกหนุ่ม วนัสนันท์ สูตรดั้งเดิม จากตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่          3) น้ำพริกหนุ่ม จ่าเหลาหมูทอด จากตลาดโต้รุ่งข้างลานเจ้าแม่ลำพูน          4) น้ำพริกหนุ่มแม่ลัด จาก จ.ลำพูน          5) น้ำพริกหนุ่ม ครัวไส้อั่วแม่บุญนาค จาก จ.ลำพูน          6) น้ำพริกหนุ่มเปมิกา จากร้านเปมิกา ตลาดแม่ทองคำ จ.พะเยาและ    7) น้ำพริกหนุ่ม ตรา วรรณภา สูตรโบราณ จาก บจก.นันท์ธินี จ.เชียงราย          กลุ่มที่ 2 ตรวจพบสารกันบูดแต่ไม่เกินมาตรฐาน จำนวน 8 ตัวอย่าง ได้แก่          8) มารศรี น้ำพริกหนุ่ม สูตรดั้งเดิม จากร้านแม่ทองปอน ตลาดแม่ทองคำ จ.พะเยา               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 115.25 มก./กก.          9) นิชา (เจ๊หงษ์ น้ำพริกหนุ่ม) จากร้านเจ๊หงษ์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 133.16 มก./กก.          10) แม่อุ่นเรือน จากตลาดสดอัศวิน จ.ลำปาง               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 187.17 มก./กก.          11) นันทวัน น้ำพริกหนุ่มเจียงฮาย สูตรดั้งเดิม จาก บจก.นันท์ธินี จ.เชียงราย               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 282.66 มก./กก.          12) น้ำพริกหนุ่มอำพัน จากร้านข้าวแต๋นของฝาก จ.ลำปาง               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 302.10 มก./กก.          13) น้ำพริกหนุ่ม ร้านดำรงค์ จากร้านดำรงค์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 382.19 มก./กก.          14) น้ำพริกหนุ่มอุ้ยแก้ว จากกาดขัวมุง จ.ลำพูน               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 430.18 มก./กก.และ    15) น้ำพริกหนุ่ม ตรา ศุภลักษณ์ (รสเผ็ดมาก) จากร้านแม่ทองปอน ตลาดสดแม่ทองคำ จ.พะเยา               พบปริมาณ กรดซอร์บิก เท่ากับ 524.59 มก./กก. และมีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มในกลุ่มที่ 3 ซึ่ง ตรวจพบปริมาณวัตถุกันเสียเกินมาตรฐาน พบจำนวน 8 ตัวอย่าง ได้แก่          16) เจ๊หงษ์ จากร้านเจ๊หงษ์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 515.13 มก./กก.           17) ร้านแคบหมู รัตติกรณ์ จากตลาดพะเยาอาเขต จ.พะเยา                พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 577.71 มก./กก.          18) น้ำพริกหนุ่มอุมา จากตลาดสดแม่ทองคำ จ.พะเยา               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1152.12 มก./กก.          19) น้ำพริกหนุ่มดวงกมล สูตรดั้งเดิม จากร้านขายของฝาก (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1262.21 มก./กก.          20) ประชันฟาร์ม จากร้านแม่สมใจ (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่               พบปริมาณ กรดซอร์บิก เท่ากับ 1346.65 มก./กก.          21) บัวลักษณ์ จากร้านขายของฝาก (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 3007.29 มก./กก.          22) คุณถนอม จากตลาดสดอัศวิน จ.ลำปาง               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 3370.82 มก./กก.และ    23) น้ำพริกหนุ่ม แม่ประกาย จากร้านยาใจ (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 4647.98 มก./กก.          ผลการเปรียบเทียบการตรวจวิเคราะห์น้ำพริกหนุ่มจากการตรวจครั้งที่ 2 และ 3         เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสารกันบูดของผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 11 ตัวอย่าง ที่เคยสุ่มตรวจครั้งที่ 2 (เมื่อเดือน มิถุนายน 2562) กับในครั้งนี้ จะปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้           สรุป          - มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่ตรวจไม่พบสารกันบูดเลยทั้งสองครั้ง คือ น้ำพริกหนุ่มอุ้ยคำ (ตราขันโตก) และ น้ำพริกหนุ่ม ตรา วรรณภา        - มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่เคยตรวจพบปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐานในครั้งที่แล้ว แต่ครั้งนี้ไม่เกินมาตรฐาน คือ นิชา (เจ๊หงษ์ น้ำพริกหนุ่ม) และ น้ำพริกหนุ่ม ร้านดำรงค์         - มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่ตรวจพบปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐานทั้งสองครั้ง  (แต่ครั้งล่าสุด ตรวจพบปริมาณสารกันบูดน้อยลง แต่ก็ยังคงเกินมาตรฐาน) คือ เจ๊หงษ์ และ น้ำพริกหนุ่มอุมา                ทั้งนี้ หากลองเปรียบเทียบสัดส่วนผลตรวจปริมาณสารกันบูดที่เกินมาตรฐานทั้งสองครั้ง จะพบว่า ในครั้งที่แล้ว (มิ.ย.62) ผลตรวจน้ำพริกหนุ่มทั้งหมด 17 ตัวอย่าง พบมีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 41.17 และในครั้งนี้ จากทั้งหมด 23 ตัวอย่าง พบมีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 34.78 ซึ่งน้อยลงกว่าครั้งก่อน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 221 ผลทดสอบสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม (ภาค 2)

หากใครได้เดินทางไปท่องเที่ยวในจังหวัดภาคเหนือบ่อยๆ อย่างเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ คงได้มีโอกาสลิ้มลองอาหารเอกลักษณ์ตำรับเหนืออย่าง ข้าวซอย แกงฮังเล แกงขนุน น้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม ไส้อั่ว เป็นต้น โดยเฉพาะน้ำพริกหนุ่มที่ยังไงๆ ก็ต้องกินคู่กับแคบหมู ถึงจะอู้กำเมืองได้เต็มปากว่า “ลำแต๊ๆ ลำขนาด เจ้า...”        น้ำพริกหนุ่ม อาหารพื้นบ้านล้านนา ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นน้ำพริกที่ทำมาจากพริกหนุ่ม (พริกชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายพริกชี้ฟ้า แต่มีสีเขียวอ่อนๆ คล้ายพริกหยวก) โดยนำพริกหนุ่มไปย่างไฟพร้อมกับหอมแดง และกระเทียม จากนั้นจึงลอกเปลือกออก นำไปโขลกให้ผสมกลมเกลียวกันในครก ปรุงรสด้วยเกลือเล็กน้อย เสิร์ฟคู่กับผักสดหรือผักลวก พร้อมแคบหมู(บางสูตรอาจใส่ปลาร้าหรือปลาแห้งลงไปด้วย) แต่ผู้บริโภคอย่างเรา คงไม่อยากติดเตาย่างพริกหนุ่มกันให้ยุ่งยาก ในเมื่อการเดินเข้ากาด(ตลาด) หาซื้อน้ำพริกหนุ่มและแคบหมู หิ้วกลับไปเป็นของฝากนั้นดูจะง่ายกว่ากันเยอะ         น้ำพริกหนุ่มที่วางจำหน่ายตามร้านต่างๆ นั้น มีทั้งสูตรเผ็ดมาก เผ็ดน้อย ในรูปแบบมัดใส่ถุง แบบกระปุกหรือตักขายตามน้ำหนัก ซึ่งน้ำพริกหนุ่มเป็นอาหารที่บูดเสียง่าย เก็บได้ไม่นาน โดยเฉพาะหากเก็บไว้ในที่อุณหภูมิเปลี่ยนบ่อยๆ หากชิมแล้วพบว่ามีรสเปรี้ยว แปลว่าบูดเสียแล้ว ไม่ควรกิน ดังนั้นการถนอมน้ำพริกหนุ่มให้อยู่ได้นาน ผู้ผลิตอาจใช้วัตถุกันเสียในการยืดอายุการเก็บรักษา ซึ่งหากใช้สารกันบูดในปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสมก็จะปลอดภัย แต่ถ้าหากใช้เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้         ฉลาดซื้อ ในโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารให้กับผู้บริโภค จึงเลือกสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำพริกหนุ่มที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ จำนวนทั้งสิ้น 17 ตัวอย่าง ในเดือนมิถุนายน 2562 โดยเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ ส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) และกรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ซ้ำเป็นครั้งที่ 2 จากที่เคยสุ่มตรวจครั้งแรก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2561 (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 205 มี.ค.2561) ซึ่งปรากฏผลทดสอบ ดังตารางต่อไปนี้ตารางที่ 1 แสดงผลทดสอบปริมาณกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ในตัวอย่างน้ำพริกหนุ่ม 17 ยี่ห้อ                                                                  ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น                                                                 เก็บตัวอย่างน้ำพริกหนุ่ม เดือน มิถุนายน 2562สรุปผลการทดสอบตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) ได้อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณสูงสุดของวัตถุกันเสียประเภท กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) ไว้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม และวัตถุกันเสียประเภท กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ไว้ไม่เกิน 1000 มก./กก. ในหมวดอาหารประเภทเครื่องปรุงรส เช่น น้ำพริกพร้อมบริโภค น้ำพริกสำหรับคลุกข้าว น้ำพริกกะปิ จากตารางแสดงผลทดสอบปริมาณสารกันบูดข้างต้น สามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มที่ไม่พบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก 2. กลุ่มที่พบสารกันบูดแต่ไม่เกินมาตรฐาน และ 3. กลุ่มที่พบสารกันบูดเกินมาตรฐาน         โดยน้ำพริกหนุ่ม กลุ่มที่ตรวจไม่พบสารกันบูด ประเภทกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก มีจำนวน 2 ตัวอย่าง ได้แก่ 1) น้ำพริกหนุ่ม อุ้ยคำ (ตราขันโตก) จากตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ และ 2) น้ำพริกหนุ่ม วรรณภา จากร้านวรรณภา จ.เชียงราย ส่วนกลุ่มที่ตรวจพบปริมาณสารกันบูด แต่ไม่เกินมาตรฐาน มีจำนวน 8 ตัวอย่าง ได้แก่            1) น้ำพริกหนุ่ม แม่ศรีนวล จาก ร้านขายของฝากสามแยกเด่นชัย จ.แพร่                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 30.67 มก./กก.            2) น้ำพริกหนุ่ม มารศรี สูตรดั้งเดิม จาก ตลาดสดแม่ต๋ำ จ.พะเยา                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 36.92 มก./กก.            3) น้ำพริกหนุ่ม แม่มารศรี (น้ำพริกหนุ่ม - ปลาร้า) จาก ร้านปะเลอะเยอะแยะของฝาก จ.เชียงราย                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 41.73 มก./กก.            4) น้ำพริกหนุ่ม ป้าแอ็ด ของฝากจากเดอะโคโค่ นครลำปาง จาก ร้านป้าแอ็ดของฝากเมืองลำปาง                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 387.38 มก./กก.            5) น้ำพริกหนุ่ม ศุภลักษณ์ รสเผ็ดมาก จาก ตลาดสดแม่ต๋ำ จ.พะเยา                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 51.92 มก./กก. และ กรดซอร์บิก เท่ากับ 338.17 มก./กก.             6) น้ำพริกหนุ่ม อำพัน จาก ร้านข้าวแต๋นของฝากลำปาง                       พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 435.29 มก./กก.                          7) น้ำพริกหนุ่ม อุ้ยแก้ว จาก ตลาดสดแม่ต๋ำ จ.พะเยา                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 437.27 มก./กก.และ      8) น้ำพริกหนุ่ม นันทวัน เจียงฮาย สูตรดั้งเดิม จาก ร้านนันทวัน จ.เชียงราย                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 455.80 มก./กก.                 สำหรับกลุ่มที่ตรวจพบสารกันบูดเกินมาตรฐาน มีจำนวน 7 ตัวอย่าง ได้แก่          1) น้ำพริกหนุ่ม ร้านดำรงค์ จาก ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 890.32 มก./กก.          2) น้ำพริกหนุ่ม ล้านนา จาก ตลาดของฝากเด่นชัย จ.แพร่                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1026.91 มก./กก.          3) น้ำพริกหนุ่ม นิชา (เจ๊หงษ์ น้ำพริกหนุ่ม) จาก ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1634.20 มก./กก.          4) น้ำพริกหนุ่ม เจ๊หงษ์ จาก ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1968.85 มก./กก.          5) น้ำพริกหนุ่ม แม่ชไมพร จาก ตลาดสดอัศวิน ร้านสิริกรของฝาก จ.ลำปาง                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 2231.82 มก./กก.          6) น้ำพริกหนุ่ม ยาใจ (รสเผ็ด) จาก ร้านขายของฝากสามแยกเด่นชัย จ.แพร่                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 3549.75 มก./กก.และ    7) น้ำพริกหนุ่ม อุมา จาก ตลาดสดแม่ต๋ำ จ.พะเยา                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 5649.43 มก./กก.         ทั้งนี้ หากเทียบปริมาณสารกันบูดจากน้ำพริกหนุ่ม จำนวน 7 ยี่ห้อ ที่ได้สุ่มตรวจในครั้งแรกเมื่อเดือน มี.ค.2561 จะปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้ตารางที่ 2 แสดงผลการเปรียบเทียบปริมาณสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก ทั้ง 2ครั้งจากตารางข้างต้นสรุปได้ว่า มีน้ำพริกหนุ่ม 2 ยี่ห้อ ที่พบปริมาณสารกันบูดน้อยลงกว่าเดิม จากเดิมที่เคยตรวจพบสารกันบูดเกินมาตรฐาน ได้แก่ ยี่ห้อ ศุภลักษณ์ และ ยี่ห้อ มารศรี สูตรดั้งเดิม และมี 2 ยี่ห้อ ที่พบว่ามีสารกันบูดเกินมาตรฐาน ได้แก่ ยี่ห้อ เจ๊หงษ์ และ ร้านดำรงค์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉลาดซื้อฉบับที่ 205 ผลิตภัณฑ์ของฝาก-ของดี จาก 4 ภาค "น้ำพริกหนุ่ม น้ำปลาร้า แกงไตปลาแห้ง และโรตีสายไหม"

สารกันบูด ในน้ำพริกหนุ่ม และ แกงไตปลาแห้งฉลาดซื้อฉบับนี้ เราจะพาไปขึ้นเหนือล่องใต้ ออกอีสานและแวะเที่ยวภาคกลาง ด้วยเรื่องราวของ ของฝากสี่ภาค โดยฉลาดซื้อ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และเครือข่ายผู้บริโภคทั้งสี่ภาค  เก็บตัวอย่างสินค้า 4 ชนิด ซึ่งจัดเป็นของฝากยอดนิยม มาทดสอบเพื่อเป็นการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ขอประเดิมด้วย ผลทดสอบของฝากยอดนิยมจากภาคเหนือ อย่าง “น้ำพริกหนุ่ม” ซึ่งนิยมรับประทานคู่กับแคบหมู เพราะมีรสชาติที่ไม่เผ็ดมากนัก(ลำแต้ๆ เจ้า) และ “แกงไตปลาแห้ง” จากภาคใต้ที่ออกรสชาติเค็มและเผ็ดร้อน เหมาะรับประทานเคียงกับผัก(หรอยจังฮู้) โดยปัจจุบันน้ำพริกทั้งสองชนิดนี้ มักถูกวางจำหน่ายไปยังศูนย์โอทอปหรือศูนย์ของฝากทั่วประเทศ ทำให้ผู้ผลิตหลายรายนิยมใช้วัตถุกันเสีย หรือสารกันบูดมาช่วยถนอมอาหาร เพื่อทำให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น ซึ่งแม้กฎหมายไม่ได้ห้ามการใส่สารดังกล่าว แต่ก็กำหนดให้ใส่อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามเกณฑ์มาตรฐานของโคเด็กซ์ (CODEX) ที่กำหนดไว้ในหมวดอาหารประเภทน้ำพริกแบบแห้งและน้ำพริกแบบเปียก เพราะการใช้วัตถุกันเสียที่มากเกินไป สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคที่รับประทานเป็นประจำได้ เช่น ทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือเกิดการสะสมในร่างกายและก่อให้เกิดเป็นพิษเรื้อรังในอนาคต เครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำพริกหนุ่มพร้อมบริโภค จากจังหวัดต่างๆ แถบภาคเหนือ และเครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ สุ่มเก็บตัวอย่างแกงไตปลาแห้งพร้อมบริโภค จากจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ เป็นจำนวนภาคละ 10 ยี่ห้อ (เก็บตัวอย่างระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 61) ซึ่งมีการวางจำหน่ายตามท้องตลาดหรือร้านของฝากทั่วไป เพื่อทดสอบหาปริมาณสารกันบูด (กรดเบนโซอิกและซอร์บิก) โดยผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้น ไปดูกันเลยสรุปผลการทดสอบ - น้ำพริกหนุ่ม จากตัวอย่างน้ำพริกหนุ่มที่นำมาทดสอบทั้งหมด จำนวน 10 ยี่ห้อ พบว่า ทุกตัวอย่างมีสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิกตกค้าง โดยมีน้ำพริกหนุ่ม 4 ยี่ห้อ ที่มีปริมาณกรดเบนโซอิกสูงเกินกว่าที่มาตรฐานโคเด็กซ์กำหนด คือ ไม่เกิน 1,000 มก./อาหาร 1 กก. ได้แก่1. แม่ถนอม มีปริมาณกรดเบนโซอิกมากที่สุด คือ 3476.46 มก./กก. 2. ป้านวย มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1195.06 มก./กก.3. ศุภลักษณ์(รสเผ็ดมาก) มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1122.06 มก./กก. และ4. น้ำพริก มารศรี(สูตรดั้งเดิม) มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1043.80 มก./กก. อีก 6 ตัวอย่าง ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน  ปลอดภัยในการบริโภค  โดยน้ำพริกหนุ่มยี่ห้อ เรือนไทยขนมไทย พบปริมาณกรดเบนโซอิกน้อยที่สุด คือ 217.73 มก./กก.สารกันบูด แกงไตปลาแห้งจากตัวอย่างแกงไตปลาแห้งที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 10 ยี่ห้อ พบว่า- มี 3 ยี่ห้อ ที่ไม่พบสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิกตกค้างเลย ได้แก่ 1. คุณแม่จู้ 2. วังรายา และ 3. วิน (Win) - มี 2 ยี่ห้อ พบกรดเบนโซอิก แต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ แม่รุ่ง และ เจ๊น้อง - มี 5 ยี่ห้อ ที่พบสารกันบูด (กรดเบนโซอิก/ ซอร์บิก) ตกค้างเกินกว่าที่มาตรฐานโคเด็กซ์กำหนด คือพบได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มก./ อาหาร 1 กก. ได้แก่1. ป้าสุ มีปริมาณกรดเบนโซอิกและซอร์บิก คือ 1318.32 มก./กก. และ 978.88 มก./กก. ตามลำดับ 2. ชนิดา(CHANIDA) มีปริมาณกรดเบนโซอิก 2540.22 มก./กก.3. RICHMe by lalita มีปริมาณกรดเบนโซอิก 2429.64 มก./กก. 4. จันทร์เสวย มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1572.86 มก./กก.5. แม่จิตร มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1508.32 มก./กก.ยี่ห้อ ป้าสุ ซึ่งตรวจพบ ปริมาณกรดเบนโซอิก 1318.32 มก./กก. และกรดซอร์บิก 978.88 มก./กก. นั้น พบว่า มีผลรวมของสารกันบูด หรือกรดเบนโซอิกและซอร์บิกรวมกัน เท่ากับ 2.297.2 มก./กก. ซึ่งสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้  หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) “ข้อ 6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชื่อวัตถุเจือปนอาหาร หมวดอาหาร หรือชนิดอาหาร หน้าที่ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต และปริมาณสูงสุดที่อนุญาตที่กำหนดไว้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ การใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง”ข้อสังเกตเรื่อง ฉลากอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 237) พ.ศ.2544 เรื่องการแสดงฉลากของอาหารพร้อมปรุง และอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคบริโภคทันที กำหนดให้อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคบริโภคทันที หมายถึง อาหารที่ผลิตเรียบร้อยพร้อมบริโภค ที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายได้ทันที ซึ่งต้องมีการแสดงฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ.2543 เรื่องฉลาก ที่กำหนดให้ ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทย และมีข้อความแสดงรายละเอียดต่อไปนี้ (ยกเว้นอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที ซึ่งผู้ปรุงเป็นผู้จำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรง)1. ชื่ออาหาร 2. เลขสารบบอาหาร 3. ชื่อและที่ตั้งของสถานที่ผลิต หรือแบ่งบรรจุ หรือจัดจำหน่าย แล้วแต่กรณี 4. น้ำหนักสุทธิ 5. ส่วนประกอบที่สำคัญ 6. ข้อความว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” ถ้ามีการใช้ 7. ข้อความว่า “เจือสีธรรมชาติ” หรือ “เจือสีสังเคราะห์” ถ้ามีการใช้แล้วแต่กรณี 8. ข้อความว่า “ใช้...เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร” 9. ข้อความว่า “ใช้...เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล” 10. ข้อความว่า “แต่งกลิ่นธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นสังเคราะห์” “แต่งรสธรรมชาติ” หรือ “แต่งรสเลียนธรรมชาติ” ถ้ามีการใช้แล้วแต่กรณี 11.วันเดือนและปีที่หมดอายุ/ ผลิต 12. คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี)และจากตัวอย่างน้ำพริกหนุ่ม และแกงไตปลาแห้งที่นำมาทดสอบทั้งหมด พบว่า มีหลายตัวอย่างที่แสดงรายละเอียดบนฉลากไม่ครบถ้วน ซึ่งอาจขัดต่อกฎหมายดังกล่าวน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จโลหะหนัก ตะกั่ว แคดเมียม ในน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จปลาร้า เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่แทบขาดไม่ได้ในครัวคนอีสานหรือร้านอาหารอีสาน โดยเฉพาะส้มตำปลาร้า เมนูสุดแซ่บขวัญใจคนทุกภาค แต่ปลาร้านั้นหากไม่ทำให้สุกก่อนบริโภค ก็อาจก่อปัญหาด้านสุขภาพได้มาก โดยเฉพาะเรื่องพยาธิใบไม้ที่แฝงในตัวปลาหรือจุลินทรีย์ก่อโรคที่อาจส่งผลให้เสาะท้องได้ จึงมีการรณรงค์ในวงกว้างให้ใช้ปลาร้าสุกหรือทำปลาร้าให้สุกก่อนบริโภค ซึ่งก็ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา นั่นคือ น้ำปลาร้าปรุงสุกสำเร็จรูป ออกวางขายทั่วไป เรียกว่า ช่วยสร้างความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคได้อร่อยนัวกันอย่างวางใจ ซึ่งแหล่งผลิตใหญ่ก็ไม่พ้นภาคอีสาน และถือเป็นหนึ่งในของฝากที่มีชื่อเสียง ฉลาดซื้อ โดยโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงร่วมมือกับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 12 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2561 เพื่อทดสอบหาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไปและมีโอกาสเข้าสู่ตัวปลาที่ใช้ในการทำน้ำปลาร้า ถือเป็นการเฝ้าระวังด้านอาหารเพื่อสร้างความมั่นใจในการบริโภค และเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จเป็นของฝากยามเยือนถิ่นอีสานน้ำปลาร้า หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักปลากับเกลือ เติมข้าวคั่วที่บดละเอียด รำข้าว หรือรำข้าวคั่วในอัตราส่วนที่เหมาะสม ก่อนหรือหลังการหมักปลากับเกลือ เพื่อให้ได้กลิ่นรสตามธรรมชาติของปลาร้านำมากรอง ให้ความร้อนก่อนบรรจุ หรือได้จากการนำปลาร้าดิบมาต้มกับนํ้า อาจเติมเกลือ สมุนไพร แล้วกรอง อาจเติมเครื่องปรุงรส เช่น น้ำตาล น้ำมะขาม น้ำกระเทียมดอง และให้ความร้อนก่อนบรรจุที่มา มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.1346/2557ผลทดสอบผลทดสอบตะกั่ว น้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัมส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช.มาตรฐานตะกั่วและแคดเมียมในอาหารประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน  กำหนดให้ตรวจพบตะกั่วไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนแคดเมียมไม่มีการกำหนดมาตรฐานไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 แต่อาจพิจารณาเทียบเคียงจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า (มผช. 1346/2557) ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดไว้ว่า สารปนเปื้อนแคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  ขณะที่ Codex (Codex Standard 193-1995) กำหนดไว้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัมในสัตว์น้ำ (Marine bivalve molluscs) และสหภาพยุโรป (EC) No 1881/2006 กำหนดค่ามาตรฐานแคดเมียมในเนื้อปลาไว้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(0.05 ppm.)  แต่ทั้งนี้ก็มีการแยกย่อยไปตามชนิดของปลาด้วย ตะกั่ว แคดเมียม อยู่ในน้ำปลาร้าได้อย่างไร โลหะหนักถูกใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมหลายชนิด แต่ที่หลุดรอดออกสู่แหล่งดิน น้ำธรรมชาติ และถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานอาหารส่วนใหญ่ คือ ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม เนื่องจากมีพิษรุนแรง การปนเปื้อนเข้าสู่แหล่งน้ำ ก็มีความเสี่ยงที่โลหะหนักจะสะสมในตัวสัตว์น้ำอย่างปลา ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำปลาร้า และโลหะหนักไม่อาจทำลายได้ด้วยความร้อน จึงสามารถพบได้ในอาหารที่ผลิตออกจำหน่าย  โรตีสายไหม โรตีสายไหม ของฝากออเจ้า จากกรุงเก่าอยุธยาหากได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากการแวะไปไหว้พระทำบุญในวัดสำคัญ และเยี่ยมชมโบราณสถานที่งดงามในจังหวัดแล้ว คงไม่พลาดต้องซื้อของฝากชื่อดังอยุธยาอย่าง “โรตีสายไหม” หนึ่งในของดีภาคกลางติดไม้ติดมือกลับบ้านไปฝากคนรู้จักรู้ใจอย่างแน่นอน เพราะรสสัมผัสของแผ่นแป้งโรตีที่ละมุนนุ่มลิ้น กับกลิ่นหอมหวานของสายไหมสีสดใส เมื่อได้ชิมชิ้นแรก ก็คงห้ามใจ ไม่ให้หยิบชิ้นต่อไปคงไม่ได้“ขนมโรตีสายไหม” มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนของแป้ง และส่วนของเส้นสายไหม แป้งโรตีประกอบไปด้วย แป้งสาลี น้ำ และเกลือ ส่วนของสายไหม มีส่วนผสมของน้ำตาล น้ำมันมะพร้าว และแป้งสาลี ซึ่งขนมที่มีส่วนประกอบของแป้ง อาจต้องใช้สารกันบูด กันรา เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ไม่ให้บูดเสียเร็วหรือขึ้นราได้ง่าย และอาจมีการใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ในแผ่นแป้ง และสายไหม เพื่อสร้างสีสันให้กับแผ่นแป้ง และเส้นสายไหม ให้สดใสดึงดูดใจคนกิน ฉลาดซื้อ ร่วมกับตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง จึงอยากเชิญชวนผู้บริโภค มาลองดูกันว่า เมื่อสุ่มเก็บตัวอย่าง โรตีสายไหม ในแบบฉบับที่ผู้บริโภคซื้อกันแล้ว เราพบอะไรบ้างที่น่าสนใจว่ากันว่าโรตีสายไหม ที่โด่งดังของอยุธยานั้น เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม มีต้นกำเนิดมาจากการรังสรรค์ของนายบังเปีย แสงอรุณ และครอบครัว ที่ได้คิดค้นขึ้น เมื่อครั้งไปทำงานอยู่ที่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ก่อนจะเดินทางกลับมาประกอบอาชีพที่บ้านเกิดอยุธยาหากเอ่ยถึงตลาดขายโรตีเจ้าดัง คงต้องตรงดิ่งไปที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ไม่ได้พาไปหาหมอหายา แต่ว่าร้านโรตีเจ้าอร่อย เขามารวมตัวกันอยู่ที่นี่ แถวเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา แต่ถ้าใครไม่ได้ผ่านไปแถวนั้น ก็ไม่ต้องเสียใจ ยังมีเส้นทางโรตีสายไหม ที่จอดรถซื้อข้างทางได้ เช่น ถนนบางไทร - บางปะหัน, ถนนอยุธยา - บางปะอิน, ถนนเลี่ยงเมืองสุพรรณ รวมไปถึงถนนสายเอเชียผลทดสอบโรตีสายไหม โรตีสายไหมที่นำมาทดสอบ จำนวน 10 ตัวอย่าง ได้จากการสุ่มซื้อโดยเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง จากร้านโรตีสายไหม 10 แห่ง ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ในส่วนของแผ่นแป้งโรตี ฉลาดซื้อเลือกทดสอบวัตถุกันเสีย จำนวน 3 ชนิด ที่อาจถูกใช้เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ได้แก่ กรดซอร์บิก กรดเบนโซอิก และกรดโพรพิโอนิก รวมทั้งทดสอบหาสีสังเคราะห์ในแผ่นแป้งด้วย สำหรับสายไหม เลือกทดสอบเฉพาะสีสังเคราะห์ ผลการทดสอบพบว่า• แผ่นแป้งโรตี  ตรวจพบกรดเบนโซอิก(Benzoic Acid) เกินมาตรฐาน (1,000 มก./กก.)   จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่  1) โรตีสายไหม ร้านศิลัคข บังอารีย์ แสงอารุณ เจ้าเก่า ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1910.45  มก./กก.2) ร้านแม่ชูศรี ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1894.05  มก./กก. 3) ร้านเรือนไทย ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1502.32  มก./กก.4) ร้านเอกชัย (B.AEK) ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1147.95  มก./กก.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 381 พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) สำหรับอาหารประเภทธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ กำหนดปริมาณกรดเบนโซอิก ไม่เกิน 1,000 มก./อาหาร 1 กก. อีก 6 ตัวอย่างตรวจพบ กรดเบนโซอิก แต่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เกินมาตรฐาน(เรียงลำดับจากน้อยที่สุดไปมากที่สุด ได้แก่1) ร้านอาบีดีน+ประนอม แสงอรุณ  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  23.96 มก./กก. 2) ร้านวริศรา โรตีสายไหม  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  671.45 มก./กก. 3) ร้านโรตีสายไหมบังแป๊ะ  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  686.56 มก./กก. 4) ร้านโรตีสายไหม ไคโร น้องชายบังอิมรอน  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  708.64 มก./กก. 5) ร้านจ๊ะโอ๋  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  887.62 มก./กก. 6) ร้านประวีร์วัณณ์  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  985.84 มก./กก.ด้านสีสังเคราะห์ พบในแผ่นแป้งโรตีทุกตัวอย่างแต่ไม่เกินมาตรฐาน  อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ร้านเอกชัย (B.AEK) ซึ่งตรวจพบสีสังเคราะห์ กลุ่มสีเหลือง คือ ตาร์ตราซีน ปริมาณ  49.82 มก./กก. และกลุ่มสีน้ำเงิน คือ บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ ปริมาณ  5.94 มก./กก. เมื่อคำนวณแล้วพบว่า ผลรวมสัดส่วนของสีสังเคราะห์ทั้งสองชนิดที่ตรวจพบ เท่ากับ 1.036 ถือว่าเกินเกณฑ์มาตรฐานไปเล็กน้อย เพราะตามกฎหมายระบุว่า เมื่อนำมาคำนวณร่วมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 1 (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381 ข้อ 6 ) สำหรับกรดซอร์บิกและกรดโพรพิโอนิกตรวจไม่พบในทุกตัวอย่าง  •สายไหม  ตรวจพบสีสังเคราะห์ทุกตัวอย่าง แต่ไม่เกินมาตรฐาน โดยสีสังเคราะห์ที่ตรวจพบในแผ่นแป้งและสายไหม อยู่ในกลุ่มสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ได้แก่ คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน INS122, ตาร์ตราซีน INS102 และบริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ INS133มาตรฐานการใช้ปริมาณวัตถุกันเสียและสีสังเคราะห์ สารกันบูด สารกันรา และสีสังเคราะห์ จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข  (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4)  ที่มีข้อกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ ตามหมวดอาหารแต่ละประเภทเอาไว้ ซึ่งแผ่นแป้งโรตีเทียบได้กับอาหารประเภทธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ ส่วนสายไหมนั้นเทียบได้กับอาหารในหมวดลูกกวาด ลูกอม ช็อกโกแลตปริมาณกรดเบนโซอิกที่อนุญาตให้พบได้ในส่วนของ แผ่นแป้งโรตี แผ่นแป้งโรตี เทียบได้ในหมวดอาหารกลุ่มขนมหวานที่มีธัญชาติและสตาร์ชเป็นส่วนประกอบหลัก ตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้ใช้ปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุดได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนสีสังเคราะห์ในกลุ่มสีแดง ได้แก่ คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) INS 122 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก., ในกลุ่มสีเหลือง ได้แก่ ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก. และในกลุ่มสีน้ำเงิน ได้แก่ บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 150 มก./กก.ปริมาณสีสังเคราะห์อาหารที่อนุญาตให้พบได้ในส่วนของ สายไหม สายไหม อาจเทียบได้ในหมวดอาหารกลุ่มลูกกวาด นูกัตและมาร์ซิแพน ตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้ใช้สีสังเคราะห์ ในกลุ่มสีเหลือง ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 และในกลุ่มสีน้ำเงิน บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133 ได้ในปริมาณไม่เกิน 300 มก./กก. ทั้งนี้ หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) “ข้อ 6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชื่อวัตถุเจือปนอาหาร หมวดอาหาร หรือชนิดอาหาร หน้าที่ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต และปริมาณสูงสุดที่อนุญาตที่กำหนดไว้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ การใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง”รู้จักสารกันบูด และ สารกันรา สารกันบูด และสารกันราที่ฉลาดซื้อเลือกสุ่มตรวจ ได้แก่ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) INS 200, กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) INS 210 และ กรดโพรพิโอนิก (Propionic Acid) INS 280 ซึ่งสารกันเสียแต่ละตัวเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่มีลักษณะและวัตถุประสงค์การใช้ในอาหาร ดังนี้ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) INS 200* เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ที่อยู่ในกลุ่มซอร์เบต (sorbate) ที่ใช้เป็นสารกันเสีย (preservative) มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ใช้ป้องกันการเจริญเติบโตของยีสต์ รา และเเบคทีเรีย โดยไม่มีผลต่อกลิ่นและรสชาติของอาหาร กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) INS 210* เป็นกรดอ่อนในอาหาร เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อใช้เป็นสารกันเสีย มีลักษณะเป็นผงผลึกหรือเกล็ดสีขาว มีคุณสมบัติสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ กรดโพรพิโอนิก (Propionic Acid) INS 280* เป็นกรดอินทรีย์ที่พบในอาหารที่เกิดจากการหมัก เป็นวัตถุเจือปนอาหาร มีหน้าที่เป็นสารกันเสีย และใช้เป็นสารกันราในอาหาร(ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.foodnetworksolution.com)หมายเหตุ: *INS (International Numbering System) คือ ระบบเลขหมายสากลสำหรับวัตถุเจือปนอาหารสีสังเคราะห์ที่ใช้ในอาหารสีผสมอาหารสังเคราะห์ หมายถึง สีที่เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากการสังเคราะห์ ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร จัดอยู่ในกลุ่มสีผสมอาหาร สีสังเคราะห์มีราคาถูกกว่าสีธรรมชาติ อีกทั้งยังสะดวกต่อการเลือกใช้ ผู้ประกอบการจึงมักนิยมใช้สีสังเคราะห์ในอาหารมากกว่าสีธรรมชาติ ทั้งที่สีธรรมชาติมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากกว่า ซึ่งสีสังเคราะห์ สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่างๆ ได้แก่ กลุ่มสีแดง, กลุ่มสีเหลือง, กลุ่มสีเขียว และกลุ่มสีน้ำเงินกลุ่มสีแดง มี 3 สี ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4 R), คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) และ เออริโทรซีน (Erythrosine)กลุ่มสีเหลือง มี 3 สี ได้แก่ ตาร์ตราซีน (Tartrazine), ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอฟซีเอฟ (Sunset Yellow FCF) และ ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)กลุ่มสีเขียว มีสีเดียว ได้แก่ ฟาสต์ กรีน เอฟซีเอฟ (Fast Green FCF)และกลุ่มสีน้ำเงิน มี 2 สี ได้แก่ อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกติน (Indigocamine or Indigotine) และบริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF)

อ่านเพิ่มเติม >