รถถูกน้ำท่วมรถเคลมยังไง?

ตรวจดูความคุ้มครองของกรมธรรม์ขั้นตอนแรก ที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด คือ การตรวจดูความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่เราต่ออายุไว้ทุกปี  ว่าครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติด้วยหรือไม่  ซึ่งความคุ้มครองตัวรถที่เอาประกันภัยคือประกันชั้น 1ประกันชั้น 2+ บางแพคเกจประกันชั้น 3+ บางแพคเกจความคุ้มครองประกันแบ่งความเสียหายจากน้ำท่วมเป็นสองแบบคือ 1.การสูญเสียโดยสิ้นเชิงคือกรณี น้ำท่วมมิดคัน หรือ ท่วมเกินช่วยคอนโซลหน้า ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับทั้งห้องโดยสาร บริษัทประกันประเมิณว่า ไม่คุ้มที่จะซ่อมให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม บริษัทประกันยินดีที่จะจ่ายเงิน 70-80% ของทุนประกันเพื่อเป็นการขอซื้อซากรถ2.ความเสียหายบางส่วนถ้ารถคันนั้นไม่เสียหายมากนัก สามารถซ่อมกลับมาใช้ได้ ประกันภัยก็จะตีเป็นลักษณะความเสียหายบางส่วน บริษัทประกันจะรับผิดชอบซ่อมแซมรถให้กลับมาใช้งานได้ปกติ โดยที่ประกันภัยนั้นจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดขั้นตอนการเคลมประกันจากน้ำท่วมเมื่อรถเราเจอน้ำท่วมขั้อนตอนการเคลม  โทรแจ้งประกันที่เราได้ทำประกันไว้  จากนั้นจะมีจ้าหน้าที่ประกันมาประเมิณความเสียหาย เมื่อประเมิณเสร็จแล้ว หากรถเราเสียหายบางส่วนก็รอใบเคลม แล้วนำไปเข้าอู่ซ่อม แต่ถ้ารถเสียหายทั้งคัน(เกินจะซ่อมแซม) ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ ผู้เอาประกันก็รอรับค่าเสียหายจากประกันที่จะซื้อซากรถที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว  แต่มีบางกรณี ที่บริษัทประกันจะไม่รับผิดชอบเลยก็คือเราตั้งใจปล่อยให้น้ำท่วมรถหรือตั้งใจขับไป (ต้องพิสูจน์)ขับรถลุยน้ำ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย1. สังเกตระดับน้ำว่าลึกขนาดไหน อาจมองจากขอบทางเดินถนน หรือ ถ้ามีรถคันอื่นขับผ่านถนนเส้นนั้นอยู่ ให้ลองกะดูจากสายตา หากคุณขับรถเก๋งคุณสามารถลุยน้ำได้หากระดับน้ำไม่เกิน 30 ซ.ม. ไม่อย่างนั้นอาจเครื่องดับ2. ปิดแอร์! เพราะเมื่อเปิดแอร์ พัดลมจะทำงานและพัดน้ำให้กระจายไปทั่วห้องเครื่อง น้ำนี้แหละทำให้เครื่องดับได้3. ขับช้าๆ ด้วยระดับความเร็วที่มั่นคง ใช้เกียร์ต่ำ คือเกียร์ 1-2 และรักษาอัตราเร่งไว้ให้ได้ประมาณ 1500-2000 รอบ ต่ำกว่านี้เครื่องอาจดับ สูงกว่านี้อาจจะดูดอากาศและน้ำเข้าเครื่องได้อีก สำหรับเกียร์ออโต้ ใช้เกียร์ L จำไว้ว่า ขับช้าๆ อย่าหยุด อย่าเร่งเร็ว4. การขับเร่งเครื่องอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่คนเดินถนนและผู้ใช้รถคนอื่นๆ ได้ โดยรถอาจลอยขึ้นจากถนนและทำให้คุณควบคุมรถไม่ได้ น้ำสกปรกอาจกระเด็นไปโดนคนเดินถนน และการเร่งเครื่องจะทำให้เครื่องเกิดความร้อน พอเครื่องเกิดความร้อน พัดลมใบพัดเพื่อระบายความร้อนทำงาน พอพัดลมทำงาน ก็จะพัดน้ำให้กระจายเต็มห้องเครื่องนั่นเอง5. เลี่ยงไม่ขับผ่านตรงที่มีสายไฟฟ้าจมลงไป เดี๋ยวไฟดูดนะครับ6. ดูว่ามีวัตถุอะไรลอยตามน้ำมาไหม เพราะมันอาจขวางหรือชนรถทำให้คุณขับต่อไปไม่ได้7. พยายามรักษาระยะห่างจากรถคันหน้า เพราะระบบเบรกแช่น้ำอยู่ ประสิทธิภาพจะต่ำลง8. หากเจอพื้นที่ที่มีน้ำไหล ลึกประมาณ 4 นิ้ว อย่าขับรถผ่านตรงนั้นเด็ดขาด เพราะคุณกับรถอาจโดนกวาดไปพร้อมกับสายน้ำได้9. หากเครื่องดับระหว่างอยู่กลางน้ำ อย่าสตาร์ทเครื่องเพราะเครื่องยนต์อาจได้รับความเสียหาย ให้โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือหรือเรียกคนที่อยู่ภายนอกรถให้ช่วย และสุดท้าย10. เมื่อขับรถสวนกับรถอีกคันให้ลดความเร็วลง ไม่งั้นจะเป็นการทำคลื่นชนคลื่น ทำให้น้ำกระเด็นไปทำอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในรถทั้งสองคันได้หลังพ้นพื้นที่ที่มีน้ำท่วม1. ให้ทดสอบเบรกโดยการขับช้าๆ และเบรกเป็นช่วงๆ เพื่อให้ผ้าเบรกแห้ง และดิสเบรกจะแห้งเร็วกว่าดรัมเบรก2. อย่าพึ่งดับเครื่องยนต์ทันที จอดทิ้งไว้โดยที่ยังสตาร์ทเครื่องไว้ซักครู่ เพื่อให้น้ำในท่อไอเสียระเหยออกไปให้หมด ซึ่งอาจจะมีไอออกมาจากท่อ นี่คือสิ่งปกติ หากคุณดับเครื่องทันที ท่อไอเสียอาจจะผุได้การดูแลรถหลังจากมีการลุยน้ำท่วม1. ล้างรถให้สะอาด ฉีดน้ำเข้าท้องรถ ล้อรถ กำจัดเศษหินดินทราย เศษหญ้า ใบไม้ เพราะอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้2. เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ เพราะจะมีน้ำซึมเข้าไปในระบบเกียร์ทำให้พังได้3. เช็คลูกปืนล้อ เมื่อแช่น้ำนานอาจทำให้เกิดเสียงดัง4. ตรวจสอบพื้นพรมในรถ เปิดผ้ายาง รื้อพรม เพื่อป้องกันการติดเชื้อราในพรมและการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ5. ตรวจสอบระบบต่างๆ ให้อยู่ในความเรียบร้อย หากพบอะไรที่ผิดปกติให้นำรถเข้าศูนย์เช็คสภาพรถด่วนร้องเรียนเรื่องประกันภัยได้ที่ สายด่วน  1186  สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)     http://www.oic.or.thหรือ 022483737 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  ข้อมูลเพิ่มเติม  และขอบคุณข้อมูลhttp://www.consumerthai.orghttp://www.oic.or.th/th/consumer/news/releases/86321http://www.moneyguru.co.thhttp://www.moneyandbanking.co.thhttps://goo.gl/wjSgtihttps://goo.gl/GS76Mf

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 130 กระแสในประเทศ

 ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤศจิกายน 2554 8 พฤศจิกายน 2554สคบ.ระดมหน่วยงานช่วยเหลือผู้บริโภคที่ประสบภัยน้ำท่วมสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. จับมือร่วมกับหลากหลายองค์กร เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยหลังน้ำลด โดยจะดูแลให้ความช่วยเหลือให้ครอบคลุมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขอความร่วมมือจากสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ดูแลช่วยเหลือผู้บริโภคในเรื่องการเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เช่นการพักชำระหนี้ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ส่วนสมาคมอู่กลางแห่งประเทศไทยก็จะเข้ามาดูแลเรื่องการซ่อมรถยนต์ ควบคุมเรื่องค่าบริการของอู่ซ่อมต่างๆ ให้มีความเป็นธรรม โดยต้องมีการแสดงเอกสารใบเสร็จให้ชัดเจน เพื่อความสบายใจของผู้ที่มาใช้บริการด้านการไฟฟ้านครหลวงก็ได้จัดทำคู่มือแนะนำ ข้อควรปฏิบัติก่อนและหลังน้ำท่วม ส่วนผู้ที่ต้องการซ่อมแซมบ้านที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ สคบ. ได้ขอความร่วมมือจากสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน และสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร จัดทำข้อมูลราคากลางการซ่อมแซมบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งในส่วนของค่าแรงและค่าวัสดุ เพื่อไว้ใช้เปรียบเทียบกับราคาที่ผู้ประสบภัยจะใช้ว่าจ้างกับผู้รับเหมาก่อนตัดสินใจซ่อมแซมบ้าน สามารถดูเอกสารแสดงราคากลางการซ่อมแซมบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม ได้ที่เว็บไซต์ของ สคบ.ผู้ประสบภัยที่ต้องการความช่วยเหลือหรือขอคำแนะนำจากหน่วยงานต่างๆ ที่กล่าวมา สามารถติดต่อได้ตามเบอร์โทร. เหล่านี้ สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน โทร.02-570-0153, สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย โทร. 02-655-0240-55, สมาคมนายหน้าประกันภัย โทร. 02-645-1133, สำนักงานกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โทร. 1186 และ การไฟฟ้านครหลวง โทร. 1130__________________________________________________________   28 พฤศจิกายน 2554ยาย้อมผมไม่ใช่แชมพู ใช้บ่อยอันตราย คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เตือนคนที่ชอบเปลี่ยนสีผม ให้ระวังการใช้ผลิตภัณฑ์ย้อมผมรูปแบบแชมพู เพราะไม่ใช่แชมพูสระผมทั่วไป ใช้บ่อยอาจได้รับอันตราย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ย้อมผมส่วนใหญ่มีสารที่เป็นสีย้อมผมที่อาจทำให้เกิดการแพ้ได้ ซึ่งขณะนี้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ย้อมผมในรูปแบบแชมพู โดยให้ผู้ใช้นำส่วนผสมที่บรรจุอยู่ในซองผสมเข้าด้วยกันแล้วชโลมบนเส้นผมให้ทั่ว จากนั้นล้างออกด้วยน้ำเหมือนการสระผมปกติ จึงมีการโฆษณาทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทแชมพูสระผมที่สระแล้วทำให้สีผมเปลี่ยนไป จนผู้บริโภคบางส่วนเข้าใจผิดว่าสามารถใช้สระผมได้ทุกวันเหมือนแชมพูทั่วไป ผลิตภัณฑ์ย้อมผมมากกว่าร้อยละ 60 ที่จำหน่ายในท้องตลาดมีสาร p-phenylenediamine หรือ PPD เป็นสีย้อมผมถาวร ซึ่งอาจทำให้เกิดการแพ้ได้ การใช้ผลิตภัณฑ์ย้อมผมจึงควรใช้อย่างระมัดระวัง และถึงแม้จะอยู่ในรูปแบบแชมพูก็ไม่สามารถใช้บ่อยเหมือนการสระผมทั่วไป เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งเราสามารถทดสอบการแพ้ก่อนใช้ได้ โดยทาผลิตภัณฑ์ย้อมผมที่ผสมแล้วใต้ท้องแขนหรือหลังใบหู ทิ้งไว้ 24 - 48 ชั่วโมง หากมีอาการคัน เป็นผื่นแดง บวม หรือมีอาการผิดปกติอื่นใดก็ตามให้หยุดใช้ทันที-----------------------------------------   30 พฤศจิกายน 2554นอนกางเต็นท์ระวังเป็นผู้ป่วย ช่วงหน้าหนาวปลายๆ ปีแบบนี้ ถือเป็นช่วงที่หลายๆ คนนิยมไปเที่ยวพักผ่อน ซึ่ง 1 ในกิจกรรมยอดฮิตของนักเที่ยวก็คือ การไปกางเต็นท์นอนตามป่าหรือภูเขา รวมทั้งการนอนดูดาวกลางแจ้ง แต่อย่ามัวเพลิดเพลินกับบรรยากาศจนลืมดูแลตัวเอง เพราะกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมาเตือนนักท่องเที่ยวที่จะไปกางเต็นท์นอนบนพื้นหญ้าตามป่าตามเขาระวังถูกตัวไรอ่อนที่อยู่ตามป่ากัด สาเหตุของโรคสครับไทฟัส ซึ่งอาจทำให้เกิดไข้สูง ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยตามตัว ตาแดง อาจมีอาการทางปอดและสมองได้ เวลาที่เราถูกไรอ่อนกัดจะสังเกตเห็นเป็นแผลไหม้ เล็กๆ คล้ายกับโดนบุหรี่จี้ ตรงกลางเป็นสะเก็ดสีดำ และรอบๆ แผลจะแดง โดยอาการป่วยจะแสดงหลังถูกกัดประมาณ 10-12 วัน นอกจากนี้ยังให้ระวังอย่าให้ถูกยุงก้นปล่องกัด เพราะอาจป่วยเป็นโรคมาลาเรีย ซึ่งทั้ง 2 โรคนี้มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต สำหรับการป้องกันไม่ให้ไรอ่อนกัด ควรใส่รองเท้า ถุงเท้าหุ้มปลายขากางเกงไว้ ใส่เสื้อแขนยาวปิดคอ และเหน็บปลายเสื้อเข้าในกางเกงปิดทางเข้าของไรมายังร่างกาย ส่วนการเลือกที่ตั้งค่ายพักในป่า ควรทำบริเวณค่ายพักให้โล่งเตียน หลีกเลี่ยงการนั่งและนอนบริเวณพุ่มไม้ ป่าละเมาะ หรือที่หญ้าขึ้นรก และเมื่อกลับมาถึงที่พัก ควรทำความสะอาดเสื้อผ้าที่ใส่ทันที รายงานโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศในปี 2554 พบมีผู้ป่วยโรคสครับไทฟัส 5,721 ราย เสียชีวิต 2 ราย ผู้ป่วยร้อยละ 63 พบในภาคเหนือ มากที่สุดคือ จ.น่าน เชียงราย และตาก รองลงมาคือ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนโรคมาลาเรีย ในปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยทั้งสิ้น 17,636 ราย เสียชีวิต 8 ราย พบมากที่สุดที่ภาคเหนือ 11,150 ราย ภาคใต้ 3,028 ราย ภาคกลาง 2,694 ราย จังหวัดที่พบมากที่สุด คือ จ.ตาก แม่ฮ่องสอน และยะลา ----------------------------------------------------------     จัดการเชื้อราในบ้านหลังน้ำลด เมื่อน้ำลดก็ถึงเวลาที่แต่ละครอบครัวจะต้องกลับไปฟื้นฟูและซ่อมแซมบ้านของตัวเอง ซึ่งสิ่งที่ต้องระวังที่สุดคือ “เชื้อรา” ที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชื้นสูง การสูดหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราที่ปลิวอยู่ในอากาศภายในบ้านเข้าไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น เกิดโรคภูมิแพ้ มีไข้ จาม น้ำมูกไหล โรคปอดอักเสบจากภูมิแพ้ โรคหอบหืด ก่อให้เกิดระคายเคืองต่อตา จมูก หลอดลม ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน และอาการแพ้เป็นผื่นลมพิษ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ฝากข้อแนะนำในการกำจัดเชื้อราในบ้านหลังน้ำลด  เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเชื้อรา ซึ่งขั้นตอนที่ควรทำมีดังต่อไปนี้ 1.การป้องกันตนเอง โดยการสวมรองเท้าบู้ทยาง สวมถุงมือยาง เพื่อป้องกันเชื้อราสัมผัสผิวหนังโดยตรง 2.ต้องระบายอากาศในระหว่างทำความสะอาด ให้อากาศถ่ายเทและให้มีแสงแดดส่องถึง ที่สำคัญไม่ควรเปิดแอร์ และพัดลมในระหว่างการทำความสะอาดเพราะจะทำให้สปอร์ของเชื้อราฟุ้งกระจายได้ 3.การทำความสะอาด หากพบเชื้อราภายในบ้าน ให้ใช้แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาฟอกผ้าขาวผสมน้ำ (อัตราส่วน 1 ถ้วย หรือ 240 มิลลิลิตร ในน้ำประมาณ 4 ลิตร) เช็ดคราบเชื้อราทิ้งไว้ 15 นาที แล้วใช้น้ำล้างออก ส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อราและทำให้แห้งได้ เช่น พรม เบาะผ้า ที่นอน ฟูก วอลเปเปอร์ ฯลฯ ไม่ควรเก็บไว้ใช้ต่อควรทิ้งโดยใส่ในถุงพลาสติกและมัดอย่างดีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อราสู่อากาศ 4.หลังทำความสะอาดและฆ่าเชื้อราในบ้านเสร็จแล้วให้เปิดพัดลมเป่าในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เปิดหน้าต่าง ประตู เพื่อให้อากาศถ่ายเท 5.ตรวจสอบเชื้อรา หลังจากทำความสะอาดไปแล้ว 2-3 วัน ให้สังเกตว่ามีเชื้อราเจริญเติบโตอีกหรือไม่ ถ้ายังพบว่ามีเชื้อราให้ทำความสะอาดซ้ำ หากมีเชื้อราเกิดขึ้นอีกให้ตรวจสอบระบบระบายอากาศ ระบบแอร์ทั้งหมด และระดับความชื้นภายในบ้านด้วย    ภาครัฐรวมพลังแก้ปัญหาโฆษณาอาหาร - ยาโม้เกินจริงปัญหาโฆษณายาและอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณทางยาเกินจริงที่กำลังแพร่หลายอย่างมากทางวิทยุท้องถิ่น เคเบิลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม กำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องรีบหาทางแก้ไข ถึงเวลาที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องออกมาจัดการ ก่อนที่ผู้บริโภคจะตกเป็นเหยื่อมากไปกว่านี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), กรมประชาสัมพันธ์, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย, บุคลากรสาธารณสุข และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ ระดมสมองหาทางออกร่วมกัน จัดทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเรื่อง “การจัดการปัญหาโฆษณายาและอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณทางยาที่ผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น เคเบิลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม” เพื่อนำไปพิจารณาในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ในวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2555 สำหรับข้อเสนอฯ เบื้องต้น มีร่างมติ 9 ข้อ เช่น ขอระบุให้ อย.เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการ และมีการเสนอให้เพิ่มโทษหากละเมิดกฎหมายว่าด้วยยาและอาหาร รวมทั้งกฎหมายอื่นๆ ถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่ง กสทช. จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ฯ พร้อมทั้งจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณายาและอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณทางยาที่ผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น เคเบิลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม ภายในปี 2555 ด้านกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ก็จะเข้ามาควบคุมในส่วนของการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคเองก็ต้องติดตามข่าวสารและใช้วิจารณญาณในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้มากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณทางยาเกินจริงทั้งหลาย ทั้งอันตรายและราคาแพง อย่าหลงซื้อมาใช้โดยเด็ดขาด ข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังและรับร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพของ อย. ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554 ก็พบว่ามีเรื่องร้องเรียนโฆษณายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายสูงถึง 1,461 เรื่อง จำแนกเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร 556 เรื่อง ยา 335 เรื่อง เครื่องสำอาง 319 เรื่อง เครื่องมือแพทย์ 208 เรื่อง และวัตถุอันตราย 73 เรื่อง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 129 กระแสในประเทศ

 ประมวลเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2554 1 ตุลาคม 2554ใช้เครื่องสำอางให้ปลอดภัย ต้องมี “เลขที่ใบรับแจ้ง”สาวๆ ที่ใช้เครื่องสำอางเป็นประจำต้องอ่านข่าวนี้ รู้กันหรือยังว่า? เครื่องสำอางได้กลายเป็นสินค้าควบคุมตามประกาศของ อย. แล้วเรียบร้อย หลังจากที่มีข่าวคราวการตรวจจับเครื่องสำอางปลอมและไม่ได้คุณภาพออกมาอยู่เรื่อยๆ การกำหนดให้เครื่องสำอางเป็นสินค้าควบคุมน่าจะเป็นอีกหนึ่งวิธีในการช่วยให้สาวๆ ปลอดภัยจากเครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ เพราะฉะนั้นจากนี้ไปผู้ผลิต ผู้นำเข้าเครื่องสำอางจะต้องแจ้งข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์กับทาง อย. ตั้งแต่ชื่อหรือประเภทเครื่องสำอาง สารที่เป็นส่วนผสม ชื่อ – ที่อยู่ผู้ผลิตและนำเข้า จากนั้นจึงจะได้ใบรับแจ้งซึ่งจะมี “เลขที่ใบรับแจ้ง” เป็นหลักฐานว่าเป็นเครื่องสำอางที่ผ่านการจดแจ้งแล้วเรียบร้อย โดย อย. ได้ออกประกาศบังคับให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต้องแสดง “เลขที่ใบรับแจ้ง” บนฉลาก ซึ่งผู้ที่ใช้เครื่องสำอางสามารถนำเลขที่ใบรับแจ้งไปสืบค้นข้อมูลเครื่องสำอางก่อนตัดสินใจซื้อ หรือหากพบเครื่องสำอางที่น่าสงสัย ใช้แล้วมีผลข้างเคียง ก็สามารถใช้เลขที่ใบรับแจ้งในการตรวจสอบกับทาง อย. หรือสาธารณสุขจังหวัดได้ หรือตรวจสอบด้วยตัวเอง www.fda.moph.go.th ซึ่งนอกจาก เลขที่ใบรับแจ้งแล้ว ยังสามารถใช้ ชื่อทางการค้า ชื่อผู้ประกอบการ และชื่อเครื่องสำอาง ในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน พวกเครื่องสำอางที่หิ้วมาเอง หรือเหมาสายการบิน อันนี้ต้องบอกว่า ผิดกฎหมายไทยนะจ๊ะ------------   11 ตุลาคม 2554กินขนมปังระวังสารกันบูด!!! เรื่องน่าตกใจสำหรับคนชอบทานขนมปัง เมื่อผลทดสอบโดยกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ และสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เบเกอรี่จากทั่วประเทศจำนวน 837 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาสารกันบูด ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่ามีถึง 658 ตัวอย่าง ที่พบว่ามีการใส่สารกันบูด สารกันบูดที่ทดสอบมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก และกรดโปรปิโอนิก ซึ่งผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่นำมาทดสอบก็มีหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ขนมปังแถว แซนด์วิช เบอร์เกอร์ พิซซ่า ขนมปังสอดไส้ เค้ก แครกเกอร์ ขนมปังกรอบ เวเฟอร์ ขนมปังแท่ง พัฟ พาย ครัวซองท์ โดนัท คุกกี้ และเอแคร์ ซึ่งสารกันบูดที่พบมีทั้งที่พบแบบ 1 ชนิดต่อ 1 ตัวอย่าง และแบบที่พบ 2 หรือ 3 ชนิดต่อ 1 ตัวอย่าง โดยจากผลทดสอบพบว่ามีมากกว่า 100 ตัวอย่าง ที่มีปริมาณสารกันบูดเกินกว่ามาตรฐาน แม้ปริมาณของสารกันบูดที่พบในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ยังไม่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่อันตราย แต่ในชีวิตประจำวันเรายังมีโอกาสได้รับสารกันบูดจากการทานอาหารอื่นๆ ซึ่งจากการพบการใช้วัตถุกันเสียมากกว่า 1 ชนิด หน่วยงานภาครัฐจึงควรทบทวนข้อกำหนดการใช้วัตถุกันเสียทั้งปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ และชนิดวัตถุกันเสียที่อนุญาตให้ใช้ เนื่องจากกรดเบนโซอิกและซอร์บิกไม่ใช่วัตถุกันเสียที่ให้ใช้กับผลิตภัณฑ์ขนมอบโดยตรง นอกจากนี้เรื่องการควบคุมการผลิตของเบเกอรี่ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะของเบเกอรี่ที่ทำขายหน้าร้านส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องแจ้ง อย.---------------------   19 ตุลาคม 2554น้ำท่วมต้องช่วยกัน ค่าโทรศัพท์-ค่าเน็ตงดเก็บช่วงน้ำท่วมสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ฝากถึงประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์บ้านและอินเตอร์เน็ตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม มีสิทธิ์ที่จะขอระงับการใช้บริการชั่วคราวได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย น.พ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. กล่าวว่า ผู้บริโภคที่ใช้บริการโทรคมนาคมทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต มีสิทธิ์ในการขอระงับบริการชั่วคราวได้ เนื่องจาก ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของสัญญา ให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ข้อ 25 ได้ระบุว่า ผู้ใช้บริการมีสิทธิในการระงับการใช้บริการโทรคมนาคมชั่วคราวได้ โดยบริษัทจะกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำสุดหรือสูงสุดที่ยินยอมให้ระงับการใช้บริการชั่วคราวและผู้ให้บริการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ใช้บริการไม่ได้ นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้บริโภคขอระงับบริการชั่วคราวแล้ว เมื่อครบกำหนดการขอระงับใช้บริการ บริษัทต้องเปิดบริการให้ผู้บริโภคทันทีโดยผู้ให้บริการ จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ใช้บริการไม่ได้ -------------------- มั่นใจน้ำดื่มปลอดภัยหลังน้ำท่วมในช่วงที่เกิดภาวะน้ำท่วม มีแหล่งน้ำและโรงงานผลิตน้ำดื่มหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้เตรียมพร้อมแผนฟื้นฟูสถานประกอบการผลิตน้ำดื่ม และน้ำแข็งที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ หลังจากที่ต้องอยู่ในสภาพน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารพิษต่างๆ ที่มาพร้อมกับน้ำ นอกจากนี้ยังอาจปนเปื้อนอยู่ในเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่มและน้ำแข็ง ซึ่งหากดำเนินการผลิตโดยไม่ได้ตรวจสอบแก้ไข เชื้อโรคต่างๆ ก็อาจปนเปื้อนไปสู่ผู้บริโภค โดยในการช่วยเหลือฟื้นฟูครั้งนี้ อย. จะประสานความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในการให้คำแนะนำในการฟื้นฟูสถานประกอบการ อาทิ การทำความสะอาดอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิตแก่ผู้ประกอบการ ขณะที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะให้บริการตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค การันตีเรื่องความสะอาด ก่อนหน้านี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำดื่ม น้ำใช้ น้ำแข็ง และน้ำประปา จากศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วมและบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ประสบอุกทกภัยในจังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี ราชบุรี และนครปฐม รวม 78 ตัวอย่าง พบมีที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพรวม 28 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่จะพบเป็นเชื้อที่ก่อโรค โดยตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ น้ำแข็ง สำหรับข้อแนะนำในการเลือกบริโภคน้ำดื่มและน้ำแข็ง ควรเลือกบริโภคน้ำดื่มที่บรรจุในภาชนะที่สะอาด ปิดสนิท ไม่รั่วซึม ไม่มีร่องรอยการเปิดใช้ ลักษณะของน้ำที่บรรจุอยู่ต้องใสสะอาด ไม่มีตะกอน ไม่มีกลิ่น และรสที่ผิดปกติ ส่วนการเลือกบริโภคน้ำแข็ง ควรเลือกน้ำแข็งบรรจุถุงที่มีการแสดงข้อความบนฉลากอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะเครื่องหมาย อย. แต่ถ้าเป็นน้ำแข็งที่ตักแบ่งขายตามร้านค้าทั่วไป ควรสังเกตสถานที่เก็บและภาชนะบรรจุ ต้องไม่มีการใส่น้ำแข็งปนกับอาหารประเภทอื่น และก้อนน้ำแข็งต้องมีความใส สะอาด -------------------------------------   อย. ควอลิตี้ อวอร์ด 2554 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. มอบรางวัล “อย. ควอลิตี้ อวอร์ด ประจำปี 2554” ให้กับผู้ประกอบการผู้ผลิตสินค้าด้านอาหาร ด้านยา ด้านเครื่องสำอาง ด้านเครื่องมือแพทย์ และด้านวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้าน โดยหลักเกณฑ์ผู้ที่ได้รับรางวัลต้องเป็นผู้ประกอบที่ผลิตสินค้าจำหน่ายในประเทศไทย และดำเนินกิจการมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี มีการรักษาคุณภาพและพัฒนามาตรฐานการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ท้องตลาด และที่สำคัญคือต้องไม่เคยถูกดำเนินคดี ถูกปรับ หรือถูกตักเตือนจาก อย. ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีระบบการดูแลผู้บริโภคและมีการรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นเรื่องของการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบการที่ดี สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รางวัลในแต่ละประเภทมีดังนี้ ด้านอาหาร จำนวน 11 ราย ได้แก่ 1. บริษัท จอมธนา 2. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด 3. บริษัท ใบชาโชคจำเริญ จำกัด 4. บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด 5. บริษัท แฟชั่นฟู้ด จำกัด 6. บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด 7. บริษัท ศิริวานิช (เอส แอนด์ ดับเบิ้ลยู) จำกัด 8. บริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) 9. บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) 10. บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) และ 11. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อิสริยะผล ด้านยา จำนวน 9 ราย ได้แก่ 1. บริษัท ขายยาเพ็ญภาค จำกัด 2. บริษัท ขาวละออเภสัช จำกัด 3. บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์  คอสเมติค จำกัด 4. บริษัท ไบโอแลป จำกัด 5. บริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด 6. บริษัท ฟาร์ม่า อินโนวา จำกัด 7. บริษัท สีลมการแพทย์  จำกัด 8. บริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด และ 9. บริษัท อาร์เอ็กซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ด้านเครื่องสำอาง จำนวน 5 ราย ได้แก่ 1. บริษัท คอลเกต – ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด 2. บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด 3. บริษัท แพน ราชเทวี กร๊ป จำกัด 4. บริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด และ 5. บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด ด้านเครื่องมือแพทย์ จำนวน 4 ราย ได้แก่ 1. บริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัด 2. บริษัท เยเนอรัล ฮอสปิตัล ดปรดัคส์ จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท สยาม เซมเพอร์เมด จำกัด และ 4. บริษัท เอ็ม.อี. เมดิเทค จำกัด ด้านวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1. บริษัท เชอร์วู้ด เคมิคอล จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท ลัดดา จำกัด และ 3. บริษัท ไอ.พี. แมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด -----------------------

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 131 ความเพ้อเจ้อในเดือนธันวา

  บทความในฉบับนี้ยังคงเป็นควันหลงจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตคนอายุต่ำกว่าเจ็ดสิบปี ดังนั้นจึงยังไม่มีข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตมาเล่าให้ฟัง เพราะผู้เขียนเพิ่งได้เข้าไปที่ทำงาน ยังไม่ค่อยมีเวลาหาข้อมูลที่เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการทางเน็ตสักเท่าใด จึงเป็นข้อมูลจากความรู้สึกล้วน ๆ มีคนกล่าวว่า คนไทยรักโลก รักสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน ด้วยปาก คนที่ทำจะไม่พูด ส่วนคนที่พูดจะไม่ทำ (ยกเว้นเวลาสร้างภาพ) ซึ่งผู้เขียน ณ วันนี้แล้วคิดว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้น่าจะจริง เพราะเหตุน้ำท่วมใหญ่ปีนี้ นอกจากปัญหาการบริหารน้ำได้ไม่ดีแน่ๆ แล้ว การไหลลงของน้ำในลักษณะน้ำหลากอย่างรุนแรงก็เป็นการฟ้องที่ชัดเจนว่าเราขาดแคลนป่าไม้ ทั้งที่มีนโยบายปิดป่าไปตั้งนานแล้ว หรือว่าเป็นการปิดป่าแบบปิดประตูตีแมวก็ไม่รู้ ผู้เขียนลี้ภัยไปท่องเที่ยวที่หัวหินเสียหนึ่งเดือน รู้สึกประหลาดใจในความแล้งของภูเขาในส่วนอำเภอหัวหินเป็นอย่างยิ่ง ระหว่างขับรถไปดูโน่นดูนี่ ก็เห็นการทำไร่ต่างๆ เต็มไปหมด แม้เนินเขาที่ไม่น่าออกโฉนดได้ก็ยังมีไร่สับปะรด ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ที่ประทับใจคือ สับปะรดพันธุ์ฉีกตา ซึ่งแปลกดีเพราะสามารถกินโดยไม่ต้องปอก แต่ความอร่อยก็งั้น ๆ ที่น่ากังวลคือ เศษดินที่อยู่ตรงตาที่ฉีกว่าจะเป็นสาเหตุของท้องร่วงหรือไม่ เรื่องการออกโฉนดได้ในที่ที่ไม่ควรออกได้นั้น ปรากฏการณ์น้ำท่วมคราวนี้เห็นได้ชัดมากกับการพบคลองตันในเขตบางขุนเทียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนประหลาดใจในหน่วยราชการที่ออกโฉนดแก่ผู้ขอโดยไม่ลืมหูลืมตา และคนกรุงเทพมหานครก็ควรตั้งตาดูว่า หลังน้ำท่วมแล้วจะมีการเช็คบิลกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ หรือจะปล่อยให้ยายนวลถูกลอยอีก (ปล่อยให้คนชั่วลอยนวล) ตามระเบียบ หลายครั้งที่ไปเที่ยวตามต่างจังหวัด เวลาไปพักตามรีสอร์ทที่มีสภาพป่าเขา ผู้เขียนมักรู้สึกสงสัยว่า การที่เรามาพักในที่แบบนี้เป็นการสนับสนุนการกระทำผิดในเรื่องการรุกป่าหรือไม่ แต่เรื่องแบบนี้คงพูดไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องไม่เห็นใครสนใจกัน เพราะต่างคนต่างก็รักป่าจนน้ำลายไหล เมื่อเราพูดถึงการประหยัดพลังงาน วันหนึ่งได้ไปกินข้าว (แบบจำใจ) ที่ร้านอาหารในสยามสแควร์ซึ่งราคานั้นเป็นสี่เท่าของร้านที่กินประจำที่สถาบันโภชนาการ เรื่องของราคานั้นไม่เท่าไร แต่ที่รู้สึกว่าคนไทยรักษ์พลังงานแต่ปากก็คือ เมื่อสั่งน้ำแข็งใส่น้ำชา สาวเสิร์ฟก็เอาน้ำชาร้อนๆ ควันพุ่งเทลงในแก้วน้ำแข็ง ซึ่งถ้ามองในแง่การประหยัดพลังงานแล้วมันเป็นความเลวร้ายมากที่เอาน้ำร้อนราดบนน้ำแข็ง มองในแง่ที่ดีคือ คนเสิร์ฟคงเข้าใจว่าได้ทำการฆ่าเชื้อโรคในน้ำแข็งด้วยการลวกน้ำร้อน การขึ้นลิฟต์ในสถานที่ทำงานเพียงสองสามชั้นทั้งที่มีการติดป้ายว่า ลิฟต์สำหรับขนของหนักและผู้พิการ ก็เป็นตัวอย่างการประหยัดพลังงานด้วยปาก ยิ่งถ้าเป็นสถานบริการต่างๆ แล้ว การขึ้นลิฟต์เพียงชั้นเดียวนั้น เป็นการเอาให้คุ้มกับเงินที่จ่ายไปกับบริการของสถานที่ ขณะที่เขียนบทความนี้ผู้เขียนยังต้องลี้ภัยน้ำท่วมมานอนที่คอนโดของพี่ภรรยา บนถนนราชดำริ ดังนั้นคงไม่ต้องประหลาดใจที่ต้องเล่าให้ฟังว่า ได้เห็นความหรูหรา ฟุ่มเฟือยของการใช้พลังงานไฟฟ้าของคนไทยที่ทำตัวเลียนแบบชาติที่ไม่ยอมลงนามในคำประกาศลดภาวะโลกร้อนที่เรียกว่า พิธีสารโตเกียว ตัวอย่างเช่น ตึกข้าง ๆ ที่ผู้เขียนอาศัยอยู่มีลักษณะเป็นกึ่งโรงแรมกึ่งคอนโด (ซึ่งชั้นหนึ่งมีสองหน่วยราคาซื้อต่อปัจจุบันคือ หน่วยละแปดสิบเจ็ดล้านบาท) เวลาตอนกลางคืนผู้เขียนมองออกนอกหน้าต่างก็เห็นหลายห้องเปิดไฟทั้งไม่มีคนอยู่จนเช้า บางห้องก็เปิดโทรทัศน์ตลอดเวลา อาจเปิดเป็นเพื่อนเพราะอยู่คนเดียวเลยกลัวผี ดังนั้นถ้าคนซึ่งอยู่ในป่าเขา สายไฟฟ้ายังลากไปไม่ถึงมาเห็นพฤติกรรมการใช้ไฟของคนมีสตางค์ บ้านเมืองนี้คงร่มเย็นยาก คนไทยเป็นคนฉวยโอกาสและขาดระเบียบเป็นที่สุด ยิ่งพอน้ำหลากมาจะท่วมกรุง คนไทยก็แสดงธาตุแท้ของการ เอาไว้ก่อนพ่อแม่มันสอนไว้ เช่น การกวาดซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปคนเดียวหลายๆ กล่อง ไม่แบ่งปันให้คนข้างหลัง ย้อนกลับไปสมัยเราขาดแคลนน้ำมันปาล์ม ผู้เขียนไปซื้ออาหารที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งที่ปิดป้ายประกาศว่า ครอบครัวหนึ่งซื้อน้ำมันปาล์มได้หกขวด สิ่งที่เห็นกับตาคือ การกวาดน้ำมันปาล์มลงจากชั้นสู่รถเข็นมากที่สุดเท่าที่ทำได้แล้วก็ให้เหล่าบริวารของอาเจ้ (ทั้งไทยและจีน) เอารถเข็นเข้ามารับไปที่ละหกขวดเพื่อไปจ่ายเงิน ซึ่งเป็นการเวียนเทียนนอกเทศกาลทางพุทธศาสนา โดยพนักงานของห้างสรรพสินค้านั้นได้แต่มอง พอถามว่า ทำไมไม่ห้าม พนักงานของห้างก็กล่าวว่าไม่กล้ากลัวโดนมธุรสวาจา ภาษาดอกไม้ทองของอาเจ้ทั้งหลาย ดังนั้นอย่างที่รู้ๆ กันว่า ถ้าประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าปรมาณูแบบที่หลายๆ คนต้องการให้มี โดยอ้างว่า เวียดนามก็ทำสัญญาแล้ว เขมรก็วางแผนแล้ว ไทยก็คงต้องมีบ้าง โดยไม่ดูตัวเองว่า คนไทยที่มีคุณภาพคือ มีจิตใจดีมีวัฒนธรรมความเป็นคนสูงนั้น ค่อนข้างน้อยมาก แล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุแบบที่เกิดกับเมืองฟูกูชิมะของญี่ปุ่นแล้ว การอพยพ หนีภัย แจกสิ่งของคงดูไม่จืดแน่ ย้อนกลับมาที่น้ำท่วมบ้านเราอีกที ผู้เขียนอ่านข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์และในเน็ตพบว่า ยังไม่เห็นมีใครเขียนถึงเรื่องดังกล่าวคือ ความเรื่องมากของผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะพวกที่ไปลี้ภัยในมหาวิทยาลัยต่างๆ สิ่งได้ฟังมาคือ มีการเสนอความต้องการว่า ทำไมอาหารน้อย ทำไมอาหารไม่อร่อย ทำไมไม่เปิดแอร์ (บางมหาวิทยาลัยใช้บริเวณส่วนกลางของหอพัก ซึ่งไม่มีเครื่องปรับอากาศ เพราะให้เข้าไปอยู่ในห้องพักนักศึกษาไม่ได้เนื่องจากยังมีของใช้ส่วนตัวของนักศึกษาอยู่) โดยที่ผู้อพยพไม่ได้มองว่า ค่าใช้จ่ายในเรื่องดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเป็นเงิน ซึ่งอาจเป็นเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ไม่ใช่งบประมาณแผ่นดิน ประเด็นปัญหาดังกล่าวนี้น่าจะแสดงให้เห็นว่า คนไทยขาดการชี้นำและอบรมให้รู้จักรับภัยธรรมชาติ เพราะเราคิดกันว่า ประเทศไทยไม่ควรมีภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงดอก อย่างสึนามิที่มีมาก็คงอีกร้อยปีกระมังถึงจะเกิดอีก ที่มีการซ้อมก็เริ่มซาๆ ไป สักวันหนึ่งหอเตือนภัยก็คงเหมือนเสาโด่ธรรมดาที่เตือนภัยไม่ได้ เพราะขาดการบำรุงรักษาเยาวชนไทยเราขาดการศึกษาในสิ่งที่ควรมีประจำตัวหลายเรื่อง เริ่มตั้งแต่ความซาบซึ้งในความรู้เรื่องการกินอาหารให้ถูกหลักการทางโภชนาการ ความรู้ในวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรมที่ถูกชำแหละให้ไปอยู่ในวิชาประหลาดๆ ที่ดูดีแต่เลว เพราะสอนแล้วก็ทำกันไม่ได้ ซึ่งผิดกับข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตของรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาที่มักสอนทุกเรื่อง ตั้งแต่อาหารโภชนาการจนถึงแผ่นดินไหว และการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูว่า เด็กควรทำตัวอย่างไร ในวันหนึ่งถ้าเกิดแผ่นดินไหวในกรุงเทพเกินหกริกเตอร์ อะไรจะเกิดขึ้น ผู้เขียนนึกภาพไม่ออกว่าผู้เขียนจะทำตัวอย่างไร เพราะไม่เคยเรียนรู้หรือฝึกปฏิบัติ แม้แต่การหนีไฟที่อาจเกิดที่ทำงาน ผู้เขียนจำได้ว่าไม่เคยซ้อม ซึ่งว่าไปก็ดูเป็นความประมาท เพราะเมื่อถามตัวเองว่า ถ้าเกิดปัญหาสาธารณภัยขึ้นมา เราจะคว้าอะไรออกไปกับตัวเมื่อเกิดภัยพิบัติย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะออกวิ่งแต่ตัวเปล่าโดยไม่เอาบัตรประจำตัวประชาชนไว้แสดงกับเจ้าหน้าที่ราชการ ซึ่งมักไม่สามารถจะตรวจสอบว่า คนที่ประสบภัยคือใคร ทั้งที่เวลาทำบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดนั้น มีทั้งรูปถ่ายปัจจุบันและลายนิ้วมือตั้งหลายนิ้ว แค่ใส่ชื่อในคณิตกรณ์หรือคอมพิวเตอร์นั้น ถ้าระบบดีจริงก็ควรตรวจหาได้ว่า ใครเป็นใคร อาจต้องรอให้มีการพิมพ์ลายนิ้วอย่างอื่นเพิ่มกระมัง ถึงจะสามารถพิสูจน์สถานภาพของผู้เคราะห์ร้ายจากการสืบค้นด้วยคณิตกรณ์ นอกจากบัตรประจำตัวซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการแสดงตัวตนแล้ว ถ้ามีการเตรียมพร้อมให้ดีก็ควรมีอาหารแห้งที่ไม่ใช่ บะหมี่อาม่า เพราะหลายคนอาจจดจำความขมขื่นในการกิน อาม่า ไปจนวันตาย ผู้เขียนมีความรู้สึกว่า มหาวิทยาลัยในเมืองไทยขาดการทำวิจัยถึงการผลิตอาหารในยามวิกฤตที่มนุษย์สามารถกินได้แบบที่ยังคงความเป็นมนุษย์ไว้ เช่น อาจมีข้าวหลามไส้หมูสับพร้อมผักในภาชนะพลาสติกปลอดเชื้อ ซึ่งไม่ต้องใช้ความร้อนก่อนบริโภค เหตุที่ควรเป็นข้าวหลามก็เพราะมันอร่อยกว่าข้าวสวย และไขมันของกะทิก็ยังช่วยถนอมอาหารได้พอควร ผู้เขียนเคยให้สัมภาษณ์ทางวิทยุในเรื่องประเด็นอาหารในช่วงวิกฤตน้ำท่วมว่า ควรเป็นอย่างไร (โดยไม่เคยคิดว่าตนเองจะต้องมีประสบการณ์ เนื่องจากคิดว่ารัฐบาล เอาอยู่) ซึ่งในหลักการแล้ว อาหารที่ดีควรจะบูดเสียยาก เช่น ข้าวผัด ทั้งนี้เพราะน้ำมันที่เคลือบเมล็ดข้าวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ดี ผู้เขียนจำได้ว่า ครั้งหนึ่งที่ พลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แล้วเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่น ทางกรุงเทพมหานครได้ส่งข้าวหลามไปช่วยชาวญี่ปุ่น ซึ่งคนญี่ปุ่นก็ยังประทับใจไม่ลืมการจัดของยังชีพที่มีแต่ อาม่า และอะไร ๆ ที่มีแค่ยังชีพได้นั้น เป็นการช่วยที่คนได้รับคงลืมไม่ลงในความยากลำบาก ณ วันนี้น้ำลดเกือบหมด (บ้านผู้เขียนที่ถนนศาลาธรรมสพน์ ยังมีน้ำขังอยู่นิดหน่อยและยังขึ้นลงตามปริมาณน้ำในคลองหลังหมู่บ้าน) ถามว่า อนาคตจะเป็นอย่างนี้อีกหรือไม่ ร้อยทั้งร้อย ทุกคนตอบแบบมั่นใจว่า ปีหน้ามีแน่และอาจจัดหนักกว่าปีนี้ ตราบใดที่การบริหารน้ำของประเทศยังเป็นระบบแบบที่เป็นอยู่ ดังนั้นเราควรเตรียมตัวอย่างไรกับอาหารที่จะกักตุนเวลาน้ำท่วม หลายท่านอาจเคยดูรายการทีวีที่ออกมาแนะนำเรื่องการเตรียมอาหารเพื่อสู้น้ำท่วมต่างๆ นานา ซึ่งไม่มีอะไรผิดเลย ถ้าท่านจะปักหลักอยู่กับน้ำอย่างมีความสุข แต่ผู้เขียนได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่งซึ่งมีคุณพ่อที่เกษียณจากกรมชลประทานเล่าให้ฟังว่า คุณพ่อสอนว่าชาวไทยชนบทนั้นไม่เคยคิดจะสู้กับน้ำท่วมเลย เพราะประเทศเราต้องมีการท่วมเป็นประจำ ดังนั้นต้องรับน้ำเข้าบ้านแล้วส่งต่อให้ไปไกลๆ เลย การต่อสู้ไม่ว่าด้วยถุงใหญ่หรือถุงเล็กนั้น อย่างไรก็แพ้ ดังนั้นถ้าเป็นแบบนี้ ก็คงต้องใช้หลักการที่มีคนกล่าวในยูทูปว่า น้ำท่วมให้แจว ไปหาที่อยู่ที่อื่น เหมือนที่มีนักวิชาการของศูนย์ที่ผู้เขียนไม่ต้องการจะเอ่ยนามแนะนำในตอนแรกของการเกิดน้ำท่วมคราวนี้ว่า ให้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะท่องเที่ยวไทยเป็นการพักร้อนที่ได้เงินเดือนฟรีสำหรับข้าราชการหรือพนักงานมหาวิทยาลัยอย่างผู้เขียน สรุปท้ายบทความนี้คงต้องกล่าวว่า ช่วงเวลาหนึ่งเดือนกว่านั้น เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตไร้ความหมายเกือบที่สุดของชีวิต ข้อดีที่เกิดขึ้นคือ การทบทวนว่าเราโชคดีหรือโชคร้ายที่มีโอกาสได้อยู่กันแบบครอบครัวทั้งวันทั้งคืน เมื่อต้องอพยพไปอยู่ในต่างถิ่น ผู้เขียนยังโชคดีกว่าที่ไม่ต้องเข้าศูนย์พักพิง ซึ่งหลายท่านต้องเข้า ดังนั้นความดีความชอบที่เกิดในช่วงอุทกภัยนี้ควรจะยกให้ใคร เกือบทุกท่านคงตอบได้นะครับ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 137 บ้านถูกน้ำท่วม ไม่ใช้เน็ตแต่ถูกเรียกเก็บค่าบริการ

เป็นที่ทราบกันดีว่าที่อยู่อาศัยแถบอำเภอบางบัวทองต้องถูกน้ำท่วมอย่างหนัก แทบไม่มีใครอยู่อาศัยได้ ระบบสาธารณูปโภคต่างๆล่ม จึงมีการยกเว้นการเรียกเก็บค่าบริการไม่ให้ซ้ำเติมความทุกข์ของชาวบ้าน แต่ความดีแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับอินเทอร์เน็ตของทรูไลฟ์พลัส เพราะมีการร้องเรียนว่ายังเรียกเก็บค่าบริการต่อเนื่องเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นคุณชูชัยเป็นผู้บริโภครายหนึ่งที่ร้องเรียนมาว่า ตนและครอบครัวอยู่อาศัยในหมู่บ้านชื่อดังแห่งหนึ่งย่านถนนบางกรวยไทรน้อย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เมื่อน้ำท่วมใหญ่เข้าอำเภอบางบัวทองเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2554  ทำให้ไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านได้ จึงได้โทรแจ้งไปยังบริษัท ทรู ไลฟ์ พลัส จำกัดว่า บ้านถูกน้ำท่วมอยู่อาศัยไม่ได้จึงไม่สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตของบริษัทได้ ขอให้บริษัทระงับการเรียกเก็บค่าบริการไว้ก่อนเสียงร้องขอของผู้บริโภคคงไร้ความหมาย เจตนารมณ์ของทรูไลฟ์พลัส คงไม่เปลี่ยนแปลงและมุ่งมั่นรักษาสโลแกนของตนไว้เหมือนเดิม “ชีวิตมีแต่บวก” ก็เลยมีการส่งใบแจ้งหนี้บวกเพิ่มให้คุณชูชัยเข้ามาทุกเดือน กลายเป็นหนี้สะสมทบติดต่อกันมาถึง  5 เดือนนับจากวันที่น้ำท่วมเข้าบางบัวทอง จนถึงวันที่ร้องเรียน คุณชูชัยก็ยังไม่สามารถเข้าอาศัยในบ้าน ของตัวเองได้เนื่องจากอยู่ระหว่างการซ่อมแซมต้องไปหาพักอาศัยในคอนโดแห่งหนึ่งแทน จึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางแก้ไขปัญหา เรื่องนี้ได้มีการร้องเรียนไปที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.)ของ กสทช.อีกทางหนึ่งด้วย เราจึงได้สอบถามความคืบหน้าไปที่ สบท. ทราบว่าหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนแห่งนี้ได้มีหนังสือถึงบริษัท ทรู ไลฟ์ พลัสฯ เพื่อขอให้พิจารณายกเว้นการเรียกเก็บค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผู้บริโภคไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากเหตุน้ำท่วมใหญ่ทรู ได้ปรับลดค่าบริการตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2554 ถึงรอบเรียกเก็บในเดือนมีนาคม 2555 เป็นเงิน 3,700 กว่าบาทให้ และได้มีการเริ่มต้นคิดค่าใช้จ่ายกับผู้บริโภคอีกครั้ง สอบถามคุณชูชัยได้ความว่าตอนนี้ยังอาศัยอยู่ที่คอนโดยังไม่ได้กลับเข้าบ้านเพราะบ้านยังซ่อมไม่เสร็จ จึงอยากจะทำเรื่องยกเลิกการใช้บริการอินเทอร์เน็ตและขอเงินประกันกล่อง Router คืนไปเลย แต่กล่อง Router หายไปตอนน้ำท่วมหลังทราบความต้องการของผู้บริโภค ทรูจึงทำการยกเลิกบริการอินเทอร์เน็ต และแจ้งว่าค่าประกันกล่อง Router อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เรื่องนี้มีความสับสนอยู่สักพัก เพราะจริงๆแล้ว กล่อง Router นั้นไม่มีการทำประกัน แต่เป็นลักษณะของการซื้อขายอุปกรณ์เมื่อใช้อินเทอร์เน็ตครบ 1 ปี กล่อง Router จะตกเป็นของผู้บริโภค ส่วนเงินที่ติดตามทวงถามคืนนั้นเป็นค่าประกันหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งห้ามมิให้มีการเรียกเก็บเงินในลักษณะนี้ จึงได้มีการติดตามทวงถามคืนจากทีโอทีรวมจำนวน 2 เลขหมาย และท้ายที่สุดได้คืนเป็นจำนวนเงินเลขหมายละ 3,000 บาท รวมเป็น 6,000 บาทเรื่องจึงเป็นอันยุติ สวัสดี  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่่ 135 รถถูกน้ำท่วม ประกันปัดจ่ายอ้างซ่อมรถอู่นอกเครือ

คุณกชนุช มีบ้านอยู่ ต.บางบัวทอง อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ครั้งน้องน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 54 ทั้งครอบครัวสำลักน้ำไปเต็มๆ ไม่เว้นแม้แต่รถเก๋งคันงาม ตราวอลโว่ พยายามพาขึ้นที่สูงก็ไม่รอด โดนเข้าไปถึงเบาะทีแรกคิดว่าจะเบาใจได้เพราะรถคันนี้ทำประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ไว้กับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างทิพยประกันภัย เมื่อน้ำลดในปลายเดือนพฤศจิกายน 2554 จึงนำรถเข้าศูนย์วอลโว่ รามอินทรา เพื่อตรวจสภาพความเสียหาย โดยมีพนักงานฝ่ายเคลมประกันของทิพยประกันภัยมาร่วมตรวจสภาพและถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐาน พร้อมออกใบเคลมประกันให้เบื้องต้น มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง พร้อมทำความสะอาดเบาะและพรมที่ถูกน้ำเน่าแช่ขังอยู่นาน เสียค่าใช้จ่ายรวม 12,500 บาทเศษ ส่วนความเสียหายอื่นๆ ที่เหลือ ศูนย์วอลโว่ฯ จะจัดทำใบเสนอราคาส่งให้ทิพยประกันภัยพิจารณาต่อไป“วันรุ่งขึ้น ได้ติดต่อสอบถามไปที่ทิพยประกันภัยเพื่อขอทราบผลการพิจารณา คุยกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายคุมราคา ใช้เวลาคุยอยู่นานค่ะ ถึงทราบว่าการทำประกันรถของดิฉันเป็นประกันซ่อมอู่ไม่ใช่ซ่อมห้าง คือนำรถเข้าซ่อมกับศูนย์บริการของวอลโว่ไม่ได้”“ดิฉันต้องการให้บริษัทประกันภัยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด จึงได้สอบถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายคุมราคาว่า มีอู่ในเครือของบริษัทฯ อยู่ที่ไหนบ้าง เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุมราคาได้เอ่ยชื่อศูนย์บริการมา 4 แห่ง ดิฉันยังได้ย้ำว่า ขอเป็นอู่ในเครือ ก็ยังได้รับการเสนอชื่อศูนย์เดิม 4  แห่งนั้น ทำให้ดิฉันเข้าใจว่าเป็นศูนย์ที่เป็นอู่ในเครือ ของบริษัทฯ จึงตัดสินใจนำรถเข้าไปตรวจเช็คและซ่อมที่ศูนย์สุขุมวิท 66/1 ของบริษัท ทีทีไอ โกลเบิล ออโตโมทีฟ จำกัด”สี่สัปดาห์ต่อมา คุณกชนุชได้ติดต่อไปที่ศูนย์สุขุมวิท 66/1 เพื่อขอรับรถที่ซ่อม จึงได้ทราบข่าวร้ายว่าศูนย์ดังกล่าวไม่ได้เป็น “อู่ในเครือ” ของบริษัททิพยประกันภัยฯ ตามที่เข้าใจ “ที่ทราบก็เพราะศูนย์สุขุมวิท 66/1 บอกกับดิฉันว่า จะต้องจ่ายส่วนต่างค่าซ่อม 40% ค่ะ” คุณกชนุชบอกสถานการณ์ตอนนั้น คุณกชนุชก็ยังไม่รู้จะทำยังไงก็ต้องสำรองจ่ายไปอีกครั้งเป็นเงิน 55,400 บาทเศษ แต่ก็เข้าใจว่าบริษัทประกันภัยควรต้องรับผิดชอบค่าซ่อมทั้งหมดเพราะคนของประกันภัยเป็นคนบอกเองว่าเป็นอู่ในเครือ แล้วรถก็ยังซ่อมไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะศูนย์แจ้งว่าต้องรออะไหล่บางชิ้นก่อน จนหลังปีใหม่ คุณกชนุชได้นำรถกลับไปซ่อมที่ศูนย์สุขุมวิท 66/1 อีกครั้ง เพราะศูนย์ฯแจ้งมาว่าอะไหล่ส่งมาถึงแล้ว“หลังจากเอารถเข้าศูนย์ฯ ดิฉันได้ติดตามอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่าจนถึงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ศูนย์ฯ ไม่ได้ดำเนินการอะไรให้เลย อ้างว่าบริษัทประกันภัยยังไม่อนุมัติการซ่อม เมื่อสอบถามไปที่บริษัทประกันภัยคุยกับเจ้าหน้าที่คนเดิมก็บอกว่า ส่งแฟกซ์ใบอนุมัติไปที่ศูนย์ฯ แล้ว แต่พอสอบถามที่ศูนย์ฯ ศูนย์ฯ ก็บอกว่ายังไม่ได้รับ”“เมื่อแจ้งไปที่บริษัทประกันภัยว่าศูนย์ฯ ยังไม่ได้รับ เจ้าหน้าที่คนเดิมของบริษัทประกันภัยก็บอกว่าจะจัดการให้” คุณกชนุชเล่าไปกัดฟันไปด้วยความโกรธและฉุน เพราะจับได้ว่าเจ้าหน้าที่บริษัทประกันตุกติกสามวันหลังจากนั้น คุณกชนุชคาดว่ารถน่าจะซ่อมเสร็จแล้วจึงได้ติดต่อไปที่ศูนย์ซ่อมอีกครั้ง ปรากฏว่าศูนย์ฯ ยังไม่ได้รับเอกสารการอนุมัติซ่อมเลย คุณกชนุชจึงติดต่อไปที่บริษัทประกันภัย เจ้าหน้าที่คนเดิมบอกว่า “ได้คุยกันแล้ว ไม่ต้องรอแฟกซ์เอกสารให้ เพราะงานยุ่ง”คุณกชนุช เธอก็อดทนมาก โทรศัพท์กลับไปที่ศูนย์ฯ อีกครั้ง ได้คำตอบจากศูนย์ฯ ว่า ถ้าไม่มีเอกสารยืนยันจากบริษัทประกันภัยก็ไม่สามารถซ่อมได้ เพราะเกรงจะมีปัญหาการเบิกจ่ายในภายหลังคุณกชนุชเธออดทนถึงที่สุดก็สุดทน จึงประกาศวาจาต่อหน้าบานกระจกว่า “เรื่องนี้มันต้องถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแน่!”“ดิฉันคิดว่า เจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัย มีพฤติกรรมไม่ตรงไปตรงมา ปัดความรับผิดชอบ ด้วยการให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ชัดเจน ทำให้ดิฉันเข้าใจผิดในสาระสำคัญ สร้างความเสียหายแก่ดิฉันที่ต้องจ่ายเงินค่าซ่อม รวมถึงพฤติกรรมบ่ายเบี่ยง ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการ จนถึงขณะนี้รถยังไม่ได้ซ่อม ไม่สามารถใช้รถได้ จึงขอร้องเรียนต่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ช่วยดำเนินการให้บริษัททิพยประกันภัยรับผิดชอบความเสียหายครั้งนี้ด้วยค่ะ” แนวทางแก้ไขปัญหามูลนิธิฯ ได้ติดต่อไปที่บริษัททิพยประกันภัย แจ้งข้อเรียกร้องของคุณกชนุช ที่ยินดีจะชำระค่าส่วนต่างของค่าซ่อม 40% แต่ขอให้บริษัทชดเชยค่าเสียหายที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากรถเป็นเงิน 30,000 บาท ทิพยประกันภัยให้คำตอบกลับมาว่า เรื่องค่าซ่อมน่าจะจัดการได้ แต่อาจติดปัญหาเรื่องค่าชดเชยเยียวยา ขอให้มูลนิธิฯ ช่วยเจรจากับผู้ร้องอีกครั้งหลังทราบข้อมูล คุณกชนุช จึงแจ้งข้อเสนอใหม่ คือ ไม่ติดใจเรื่องค่าชดเชยแต่ขอให้บริษัทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อม 100% และขอให้คืนเงินค่าซ่อมที่ได้สำรองจ่ายไปก่อนแล้วจำนวน 67,900 กว่าบาทด้วยทิพยประกันภัยขอเวลาสามวันจะให้คำตอบ วันที่สามตามกำหนด มูลนิธิฯ ได้โทรสอบถามทันที ได้รับคำตอบว่า บริษัทฯ ได้อนุมัติตามที่ผู้ร้องต้องการในที่สุดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์ปี 2555 คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจึงได้มาทำบันทึกข้อตกลงยุติเรื่องที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยบริษัททิพยประกันภัย ยินดีรับผิดชอบคืนค่าซ่อมรถ 67,900 กว่าบาทที่คุณกชนุชสำรองจ่ายไป และรับผิดชอบค่าซ่อมรถตามใบเสนอราคาของศูนย์ฯ ทั้งหมดอีก 98,293 บาทคุณกชนุช ขอบคุณในความรับผิดชอบของบริษัททิพยประกันภัย และขอบคุณความช่วยเหลือของมูลนิธิฯ และรับปากว่า จะช่วยมูลนิธิฯ ด้วยการสมัครเป็นสมาชิกอุปถัมภ์นิตยสารฉลาดซื้อให้กับโรงเรียนจำนวน 19 โรงเรียน เพื่อเป็นมงคลชีวิตและครอบครัวของตนเองต่อไปสาธุ...สาธุ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 132 น้ำท่วมก่อนงานวิวาห์ ขอเรียกค่าจัดงานแต่งคืน

คุณพลวิษฐ์ ได้ฤกษ์หามยามดีกำหนดแต่งงานกับเจ้าสาวในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2554 ซึ่งไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ เลยเถิดถึงขั้น “เอาไม่อยู่” ในช่วงเวลานั้นพอดีตอนนั้นกำหนดสถานที่จัดงานแต่งไว้ที่หอประชุมกองทัพเรือ ริมแม่น้ำเจ้าพระยากะว่าได้บรรยากาศสุดๆ  ลงทุนว่าจ้างธุรกิจรับเหมามืออาชีพจัดงานแต่งอย่างเว็ดดิ้ง เซ็นเตอร์มาจัดโต๊ะจีนเลี้ยงแขกเหรื่อในวันงาน วางเงินไปถึง 70,000 บาทเป็นค่ามัดจำการจัดงานยังไม่ทันจะเริ่มทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน มวลน้ำก้อนใหญ่ก็ถาโถมถล่มเข้ากรุงเทพฯ เสียก่อนตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม เห็นแววว่าจะ “เอาไม่อยู่” ผู้คนเริ่มทยอยอพยพหนีภัยน้ำท่วมกันจ้าละหวั่น คงไม่มีใครจะมีกะจิตกะใจมางานแต่ง และขืนฝืนจัดงานไปอาจมีเพียงแค่สองบ่าวสาวลอยคอพิสูจน์รักกันอยู่กลางน้ำเป็นแน่ เลยตัดสินใจเลื่อนงานแต่งไปเป็นวันคริสมาสต์วันที่ 25 ธันวาคม 2554 และเปลี่ยนสถานที่หนีน้ำไปที่โรงแรมมณเฑียรแทนเมื่อรู้แน่ว่าจะไม่แต่งงานในวันและสถานที่เดิมด้วยเหตุมีภัยน้ำท่วม คุณพลวิษฐ์จึงมีอีเมล์แจ้งบอกยกเลิกโต๊ะจีนที่ว่าจ้างเว็ดดิ้ง เซ็นเตอร์จัดหาให้ โดยแจ้งบอกเลิกก่อนวันแต่งวันที่ 20 พฤศจิกายน เป็นเวลา 12 วัน และขอเงินค่ามัดจำ 70,000 บาทคืนคำตอบที่ผู้รับเหมาจัดงานแต่งแจ้งกลับมาคือ คุณพลวิษฐ์เป็นฝ่ายผิดสัญญา บริษัทมีสิทธิยึดเงินดังกล่าวทั้งหมด คุณพลวิษฐ์จึงตั้งคำถาม ถามมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า  การที่จะยกเลิกโต๊ะจีนเพราะมีเหตุคาดว่าน้ำจะท่วมและขอเงินมัดจำคืนในทางกฎหมายนั้น จะมีทางเป็นไปได้หรือไม่ เพราะทางบริษัทบอกแต่เพียงว่าเราเป็นฝ่ายผิดสัญญา บริษัทจึงไม่จำเป็นต้องคืนเงินมัดจำ“ผมว่ามันไม่เป็นธรรมกับผมเลยครับ” แนวทางแก้ไขปัญหาสัญญาที่ไปว่าจ้างให้ใครมาจัดงานแต่ง เป็นธุระจัดหาโต๊ะจีนมาเลี้ยงแขกแทน ต้องมีซุ้มดอกไม้ให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวยืนถ่ายรูปกับแขกเป็นที่ระลึก มีน้ำแข็งแกะสลักปล่อยให้ละลายเป็นน้ำอยู่ในงาน หรือต้องมีเค้กให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวได้ตัดแบ่งแจกเป็นทานให้กับแขกที่มาร่วมงาน กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้เป็นลักษณะของสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ.มาตรา 587 คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นตามแต่ถ้ากิจกรรมที่จ้างไปแล้วยังทำไม่แล้วเสร็จ อาจจะทำไปแล้วเพียงบางส่วน เช่น ผู้รับจ้างเริ่มติดต่อประสานงานหาคนมาออกไอเดียว่าจะแกะน้ำแข็งเป็นรูปหมาหรือรูปควายคู่ตั้งไว้กลางงานดี จะทำซุ้มประตูเข้างานแบบไหน เค้กจะเป็นรูปอะไรจะทำกี่ชั้น ซึ่งเป็นงานทางความคิดที่ต้องดำเนินเตรียมการกันเป็นอาทิตย์ก่อนจะทำกันจริงในก่อนวันงานวันหรือสองวัน แต่เมื่อมาถูกผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาเสียกลางคันไม่ว่าเหตุที่เลิกจ้างจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม กฎหมายกำหนดไว้ว่า ผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อเสียค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 605ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ สมควรใช้วิธีการเจรจากันเพื่อที่จะตกลงจ่ายค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่ผู้รับจ้างได้ดำเนินการไป ไม่ใช่จะไปเจรจาเพื่อขอเงินค่ามัดจำคืนทั้งหมด ตรงนี้ก็จะไม่เป็นธรรมต่อฝ่ายผู้รับจ้างได้เช่นกัน เพราะเขาอาจต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้วในบางส่วนก็เป็นได้ผลของการเจรจาปรากฏว่า คุณพลวิษฐ์ได้รับเงินคืนเป็นจำนวน 49,000 บาท ถูกหักเป็นค่าสินไหมทดแทนสำหรับการบอกเลิกสัญญาไป 21,000 บาท เงินที่เสียไปจำนวนนี้หากคุณพลวิษฐ์พอมีเวลาอาจจะยื่นเรียกค่าเสียหายฟ้องรัฐบาลในฐานที่ประกาศว่า “เอาอยู่” แต่ถึงเวลาจริงๆ กลับ “เอาไม่อยู่” ก็ได้  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 131 ตื่นเถิด กกพ.

หลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ที่ส่งผลให้มีผู้คนเดือดร้อนเสียหายจำนวนมาก  และที่สำคัญคือมีผู้เสียชีวิต ด้วยเหตุถูกไปช้อตตาย 100 กว่าคน ถือว่ามีคนตายด้วยเหตุนี้มากที่สุดในโลก  พูดถึงไฟฟ้า วันนี้ผู้เขียนมีเรื่องที่เกี่ยวกับไฟฟ้าที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง  เอาตั้งแต่โครงสร้างไฟฟ้าในบ้านเรา  ประเทศไทยเรามี พรบ. กำกับกิจการพลังงาน(ที่กำกับโครงสร้างทั้งราคาและบริหารน้ำมันไม่ได้เพราะเขียนกฎหมายยกเว้นน้ำมันไม่ให้อยู่ใน พรบ.นี้) เรามีกระทรวงพลังงาน(ที่กำลังวุ่นวายกรณีจะลอยตัวราคาแก๊ส) แต่น่ามหัศจรรย์มาก เพราะกระทรวงพลังงานดูแลได้แค่ ปตท. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเท่านั้น    ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวงขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทยจะไม่ให้ว่ามันมหัศจรรย์ได้อย่างไร  ในเมื่อนโยบายกระทรวงพลังงานเป็นผู้ดูแล  แต่การบริหารจัดการมหาดไทยดูแล  โอ้ย...ยิ่งคิดยิ่งซับซ้อนเอา...มาเข้าเรื่องที่จะคุยวันนี้ดีกว่า   เรื่องมีอยู่ว่ามีกรณีผู้ใช้ไฟฟ้า ที่มีเหตุอันที่ทำให้ไปจ่ายค่าไฟฟ้าไม่ตรงเวลา แล้วถูกตัดไฟ   เมื่อไปจ่ายเงินและขอให้มาต่อมิเตอร์ไฟฟ้า  ผู้ร้องต้องเสียค่าต่อไฟฟ้า 107 บาท(บวกภาษี) ซึ่งเป็นที่รู้กัน แต่ก็มีกรณีซ้อนกรณีเข้ามาอีกนั่นคือ ไฟฟ้ายังไม่โดนตัดแต่ไปจ่ายไฟฟ้าเลยกำหนดก็ถูกเรียกเก็บ 107 บาท เช่นกัน   ซึ่งกรณีนี้มีผู้ร้องเรียนว่าเมื่อไฟฟ้ายังไม่ได้ไปตัดไฟ  ก็ยังไม่มีค่าใช้จ่ายแล้วมาเรียกเก็บเงินเขาค่าอะไร เรื่องนี้มีการร้องเรียนไปถึงคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติ(กกพ.)  จนนำไปสู่การทำข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กกพ.และไฟฟ้า  ว่าไฟฟ้าจะเรียกเก็บ 107 บาทได้เฉพาะกรณีมีการตัดไฟฟ้าจริงแล้วเท่านั้น(ไฟฟ้าไม่ดับปรับ 107 ไม่ได้) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่กลางปี 2554  ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี  แต่เหตุการณ์ไม่เป็นเช่นนั้น   ฝ่ายปฏิบัติ(การเงิน)ของการไฟฟ้าในหลายที่(ตามข้อมูลร้องเรียน)ยังเก็บเงิน107 บาท โดยไม่สนใจว่าไฟฟ้าจะถูกตัดหรือไม่ตัด   ยึดเพียงวันที่ตามบิลเรียกเก็บเงินเป็นหลักหากเลยวันที่กำหนดเรียกเก็บทันทีป้าอ้วน(คนที่มาร้องเรียนและเป็นคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขตด้วย)เล่าให้ฟังว่า “ฉันเถียงเขาว่าฉันออกจากบ้านมาไฟฟ้าที่บ้านฉันยังไม่ถูกตัดเลย ทำไมมาเก็บเงินฉัน  ก็กกพ.มีข้อตกลงกับไฟฟ้าแล้วว่าไฟฟ้ายังไม่ถูกตัดจะไม่เก็บ 107 บาท”   เจ้าหน้าที่ตอบกลับมาว่าไม่สนใจข้อตกลงอะไรทั้งนั้นทำตามหน้าที่ไม่พอใจไปฟ้องร้องเอาผู้เขียนในฐานะประธานผู้ใช้พลังงานเขต  จึงได้ทำหนังสือไปหารือกับ กกพ.ถึงข้อตกลงที่ไฟฟ้าไม่ปฏิบัติตามก็ได้คำตอบว่า กกพ.ได้ทำหนังสือไปถึงการไฟฟ้าแล้ว 3 ฉบับ ในขณะที่มีเรื่องร้องเรียนเรื่องนี้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง   รายใดร้องเรียนก็จะได้เงินคืนรายใดไม่ร้องก็เสียเงินฟรี  เราก็ทำหนังสือกระตุ้นเข้าไปอีก  เพื่อให้ กกพ.ที่มีหน้าที่กำกับดูแลทำงานตามหน้าที่ ที่ต้องทำ  ไม่ใช่เข้ามานั่งเสวยสุขกันไปวันๆขอแรงพวกเราช่วยกันร้องเรียนและเฝ้าระวังให้องค์กรที่มีหน้าที่ ได้ทำงานตามหน้าที่(กันบ้าง?) คิดถึง พรบ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จัง เมื่อไหร่จะคลอดเสียที.. จะได้มาช่วยดันก้น องค์กรเหล่านี้ให้ทำงานได้จริงๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 ลูกค้าธนาคารออมสิน โวย มาตรการพักชำระหนี้ช่วยภัยน้ำท่วมไม่เป็นจริง

ในช่วงปลายปี 2553 เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่ในหลายท้องที่ของประเทศไทยรวมทั้งที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาธนาคารออมสินได้มีการประชาสัมพันธ์แถลงข่าวและส่งจดหมายมาถึงลูกหนี้แจ้งมาตรการบรรเทาผลกระทบของลูกค้าและประชาชน จากเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ให้พักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย สำหรับลูกค้าสินเชื่อทุกประเภทเป็นเวลาครึ่งปีคุณบุษกร กู้เงินสินเชื่อเคหะจากธนาคารออมสิน สาขาเจ้าพรหม จ.พระนครศรีอยุธยาเพื่อมาปลูกสร้างบ้านใหม่หลังโดนภัยน้ำท่วมจนบ้านพังอยู่อาศัยไม่ได้ เมื่อเห็นประชาสัมพันธ์นี้เข้าก็คิดว่าดีได้หยุดพักชำระหนี้จะได้นำเงินไปทำอย่างอื่นที่จำเป็นบ้างเธอเข้าทำสัญญาพักชำระหนี้แก้ไขเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้เงินสินเชื่อเคหะของธนาคารออมสิน โดยตกลงกันที่จะผ่อนผันการพักชำระหนี้เงินต้นและหนี้ดอกเบี้ยเงินกู้ รวมเป็นเวลา 6 เดือน หรือ 6 งวด นับแต่เดือนธันวาคม 2553 โดยเข้าใจว่า ธนาคารจะระงับการคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อครบกำหนดพักชำระหนี้ 6 เดือนแล้ว คุณบุษกรจึงนำเงินไปชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญาจำนวน 3,700 บาท ซึ่งเป็นอัตราชำระขั้นต่ำตามสัญญา ปรากฏว่า ถูกธนาคารคิดเป็นดอกเบี้ยทั้งหมด โดยไม่มีเงินต้นเลย เมื่อสอบถามกับพนักงานของธนาคารออมสิน สาขาเจ้าพรหม ก็อธิบายให้เข้าใจเป็นที่กระจ่างไม่ได้ว่า ทำไมจึงมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยเป็นดอกเบี้ยย้อนหลังกลายเป็นดอกเบี้ยค้างชำระทบเข้ามา ทำให้ต้องรับภาระหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก เมื่อเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงเขียนเรื่องร้องเรียนเข้าที่เว็บไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค www.consumerthai.org แนวทางแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้สอบถามไปยังธนาคารออมสิน และได้รับหนังสือชี้แจงจากนายมนตรี   นกอินทร์ ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาเจ้าพรหม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า การผ่อนผันการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 เดือนนั้น เป็นการหยุดเรื่องส่งชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเท่านั้น ส่วนเรื่องของการคิดดอกเบี้ยในขณะผ่อนผัน ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยสะสมไว้ รอลูกหนี้มาชำระหนี้เมื่อครบกำหนดสัญญาผ่อนผันการพักชำระหนี้เมื่อได้คำชี้แจงมาแบบนี้ ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เห็นว่า การให้ข้อมูลโฆษณาประชาสัมพันธ์ของธนาคารออมสิน เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน สับสน และก่อให้เกิดการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่ผิดพลาดมีความเสียหายขึ้น ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคที่สำคัญ  และเชื่อว่าน่าจะมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมอีกหลายรายที่หลงเชื่อเข้าร่วมโครงการนี้ของธนาคารออมสิน จึงได้จัดเวทีแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมาผลปรากฏว่า ธนาคารออมสินได้มีการประชุมพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการเร่งด่วน และมีมติอนุมัติที่จะให้ปรับปรุงบัญชีดอกเบี้ยของ 6 เดือนที่หยุดชำระจำนวนประมาณ 14,000 บาทนั้นออกไปทั้งหมด ส่งผลให้สถานะบัญชีหนี้ของคุณบุษกรกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมอีกครั้ง “ขอบคุณคุณมูลนิธิเพื่อผู้บริโภครวมถึงผู้สื่อข่าวทุกๆ ท่านที่ให้การช่วยเหลือมากเลยนะคะ” คุณบุษกรกล่าวสำหรับการดำเนินการแก้ปัญหาที่รวดเร็วของผู้บริหารธนาคารออมสินนั้น มูลนิธิฯ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง และขอให้ดูแลลูกค้ารายอื่นให้มีมาตรฐานเดียวกันด้วย เพื่อให้สมกับเป็นธนาคารของประชาชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 129 ตรวจสอบมาตรการช่วยเหลือจากธนาคาร เมื่อหนี้อาจเป็นภัยอย่างหนึ่งหลังน้ำท่วม

คงไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ขึ้นในประเทศไทยเรา แม้ปัญหาน้ำท่วมจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปีในหลายจังหวัด แต่หนนี้ต้องเรียกว่าเป็นภัยพิบัติขั้นรุนแรงจนหลายคนให้คำจำกัดความน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ว่าเป็น "มหาอุทกภัย" เพราะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ หลายจังหวัด น้ำท่วมสูงและท่วมเป็นเวลานานนับเดือน ไม่ว่าจะบนถนนหนทาง หรือบ้านเรือนตามตรอกซอกซอยต่างๆ ล้วนได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันต้องหยุดชะงัก   การจัดการชีวิตให้สามารถรับมือกับภาวะน้ำท่วมและหาหนทางทำให้ปริมาณน้ำลดลงโดยเร็วที่สุดถือเป็นโจทย์ข้อแรกที่ทุกคนต้องช่วยกันคิดช่วยกันแก้ แต่หลังจากนี้เมื่อวิกฤติน้ำท่วมคลี่คลายอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ตั้งท่าเตรียมพร้อมสำหรับรอการแก้ไขก็คือ เรื่องของการฟื้นฟู การให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพราะในช่วงที่น้ำท่วม หลายๆ คน หลายๆ ครอบครัว คงเจอกับปัญหา บ้านเรือน ข้าวของต่างๆ เสียหายเพราะจมอยู่ใต้น้ำ บางคนที่เอารถไปจอดหนีน้ำไม่ทัน ก็ต้องยอมทำใจรอน้ำลดเมื่อไหร่ค่อยหาทางซ่อม นอกจากนี้ในสถานการณ์ที่น้ำท่วมรุนแรงก็ทำให้หลายๆ คนขาดรายได้ กิจการงานต่างๆ ที่เคยทำก็ต้องหยุดชะงักยอมแพ้ต่อปริมาณน้ำที่มากมายมหาศาล ความเดือดร้อนที่กำลังรออยู่หลังน้ำลด ต้องอาศัยมาตรการที่ดีในการช่วยเหลือ โดยเฉพาะการช่วยเหลือในเรื่องของเงินทุนเพื่อนำไปใช้ในการซ่อมแซมและฟื้นฟูความเสียต่างๆ ที่เกิดจากน้ำท่วม แน่นอนว่าเงินช่วยเหลือส่วนหนึ่งรัฐต้องเป็นคนที่ทำหน้าที่ดูแลช่วยเหลือ แต่อีกส่วนที่ก็มีความสำคัญในฐานะแหล่งที่พึ่งเรื่องเงินๆ ทองๆ ก็คือ "ธนาคาร" แม้จะต้องแลกกับการจ่ายดอกเบี้ย แต่การกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆ ก็เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการเงินสักก้อนเพื่อใช้เป็นต้นทุนในการทำธุรกิจหรือผ่อนชำระทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงอย่างบ้านหรือรถ ในช่วงที่วิกฤติน้ำท่วมสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนเป็นจำนวนมาแบบนี้ ธนาคารต่างๆ ก็ได้เตรียมพร้อมความช่วยเหลือ ทั้งเรื่องการปรับลดหนี้สินและขยายเวลาการชำระหนี้ และเตรียมข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าของธนาคารที่ต้องการกู้เพิ่ม ลองมาดูกันสิว่าธนาคารแต่ละแห่งได้เตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเอาไว้อย่างไรกันบ้าง   ตารางแสดงมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบภัยน้ำท่วมของสถาบันการเงินต่างๆ ธนาคาร การปรับลด – ผ่อนปรนสินเชื่อเดิม การขอสินเชื่อเพิ่ม อื่นๆ ธนาคารพาณิชย์ กรุงเทพ ชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นสูงสุด 12 เดือน หรือปรับลดยอดการผ่อนชำระรายเดือนลงสูงสุด 40% เป็นเวลา 1 ปี อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษในปีแรก 5% ปีถัดไปคิดดอกเบี้ยในอัตรา 1MRR สามารถผ่อนชำระสินเชื่อที่กู้เพิ่มได้สูงสุด 5 ปี 1.ลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตลง 50% จนถึงเดือนมิถุนายน 2555 2.ยกเว้นค่าธรรมเนียมและค่าบริการโอนเงินข้ามเขตแก่ลูกค้าที่โอนเงินไปยังบัญชีครอบครัวในพื้นที่ประสบภัย กรุงไทย พักชำระหนี้วงเงินกู้แบบมีระยะเวลาทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นสามารถทยอยผ่อนชำระดอกเบี้ยที่พักไว้ สูงสุดภายใน 24 เดือน ผ่อนชำระนานสูงสุด 60 งวด ดอกเบี้ยปีแรกอัตรา MRR -1.75 % ต่อปี สำหรับลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย   กรุงศรีอยุธยา 1.สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงผ่อนชำระดอกเบี้ยอย่างเดียวสูงสุด 6 เดือน และอัตราดอกเบี้ยพิเศษแล้วแต่กรณี 2.สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม ให้ความช่วยเหลือผ่อนชำระดอกเบี้ยอย่างเดียว 3 เดือน และอัตราดอกเบี้ยพิเศษแล้วแต่กรณี     กสิกรไทย ลูกค้าสินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถยนต์ ลดยอดผ่อนชำระรายเดือน 40-50% เป็นระยะเวลานานสูงสุด 1 ปี ลูกค้าสินเชื่อบ้านสามารถเลือกผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 6 เดือนได้ ส่วนลูกค้าสินเชื่อรถยนต์จะได้รับการขยายระยะเวลาผ่อนชำระออกไปนานสูงสุด 6 เดือน ลูกค้าสินเชื่อบ้านสามารถขอรับ 1.สินเชื่อบ้านเอนกประสงค์กสิกรไทย ขอเงินกู้เพิ่มสูงสุด 100% ของสินเชื่อบ้านที่ผ่อนชำระไปแล้ว  ดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน ผ่อนสูงสุด 15 ปี อนุมัติวงเงินกู้เบื้องต้น 2 แสนบาทแรก ภายใน 48 ชั่วโมง หรือ 2.ขอสินเชื่อบ้านทวีทรัพย์กสิกรไทยโดยนำบ้านที่ปลอดภาระจำนองมาเปลี่ยนเป็นเงินกู้ โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 3 เดือน ผ่อนสูงสุด 15 ปี หรือ 3.นำรถที่ปลอดภาระจำนองมาเปลี่ยนเป็นเงินกู้ รับดอกเบี้ย 0% ใน 3 เดือนแรก ระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 72 เดือน 4.ลูกค้าสามารถขอสินเชื่อเงินสดทันใจกสิกรไทย (K-Express Cash) โดยสามารถอนุมัติและรับเงินก้อนเข้าบัญชีทันที่ ดอกเบี้ย 0% นาน 2 เดือน และ 5.ผู้ถือบัตรเครดิตกสิกรไทยสามารถขอเพิ่มวงเงินช่วยเหลือพิเศษได้อีก 1 เท่าของรายได้ อนุมัติภายใน 24 ช.ม. ผู้ถือบัตรเครดิตกสิกรไทยและผู้ใช้สินเชื่อเงินสด จะได้รับการผ่อนผันให้ชำระดอกเบี้ย 50% และปรับลดยอดผ่อนชำระขั้นต่ำให้เป็น 0-10% เกียรตินาคิน ลูกค้าเช้าซื้อรถยนตร์ พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุด 6 เดือน   บริการให้ทำรายการต่างสาขา และยืนยันการทำรายการผ่านทางโทรศัพท์ ซีไอเอ็มบี ไทย 1. พักชำระหนี้ให้สูงสุด 90 วัน 2. ขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ให้สูงสุด 12 เดือน 3.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันของลูกค้า เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยลูกค้าสินเชื่อบุคคลมีหลักประกันจะได้ลดอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.5% และลูกค้าสินเชื่อบุคคลไม่มีหลักประกันจะได้ลดอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 7%     ทหารไทย 1.ลูกค้าที่มีค่างวดค้างชำระตั้งแต่ 1-30 วัน ชำระเฉพาะดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นโดยยังไม่ต้องชำระเงินต้นเป็นเวลา 6 เดือน และขยายระยะเวลาผ่อนชำระจากปัจจุบัน ออกไปอีก 6 เดือน 2.ลูกค้าสินเชื่อทีเอ็มบีแคชทูโก สามารถชำระเฉพาะดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเป็นเวลา 3 เดือน และ ขยายระยะเวลาผ่อนชำระออกไปอีก 3 เดือน 3.ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตทีเอ็มบี สามารถติดต่อขอชำระเงินเป็นรายเดือน เดือนละเท่าๆกัน เป็นเวลา 3 เดือน โดยขั้นต่ำชำระไม่น้อยกว่าจำนวนดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน 1.ลูกค้าสินเชื่อบุคคลทีเอ็มบีแคชทูโก ธนาคารจะพิจารณาให้กู้โดยให้วงเงินสินเชื่อเท่ากับวงเงินสินเชื่อเดิมที่มีอยู่กับธนาคาร และเพิ่มโบนัสพิเศษ ให้อีก 10% ของวงเงินสินเชื่อ ในวงเงินกู้ตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท สูงสุด 5 เท่าของรายได้ เมื่ออนุมัติสินเชื่อแล้ว ธนาคารจะดำเนินการหักกลบลบหนี้สินเชื่อทีเอ็มบีแคชทูโก ที่มีอยู่เดิม และจะโอนเงินส่วนที่คงเหลือให้ลูกค้าต่อไป โดยลูกค้ายังไม่ต้องชำระค่างวดในช่วง 3 เดือนแรกนับจากวันอนุมัติ แต่จะเริ่มผ่อนชำระค่างวดตั้งแต่ เดือนที่ 4 เป็นต้นไป และนอกจากนี้ ธนาคารยังขยายระยะเวลาการผ่อนชำระค่างวดออกไปให้อีก 3 เดือน 2.ลูกค้าบุคคลที่ใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆของธนาคารอยู่แล้ว สามารถติดต่อขออนุมัติสินเชื่อทีเอ็มบีแคชทูโก เป็นกรณีพิเศษ ในวงเงิน ตั้งแต่ 20,000 -1,000,000 บาท สูงสุด  5 เท่าของรายได้ ลูกค้าไม่ต้องผ่อนชำระค่างวดคืนธนาคารใน 3 เดือนแรกนับจากวันอนุมัติ แต่จะเริ่มผ่อนชำระงวดแรกตั้งแต่ เดือนที่ 4 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ธนาคารยังขยายระยะเวลาการผ่อนชำระให้เพิ่มอีก 3 เดือน ยกเว้นค่าธรรมเนียมทุกประเภทในกรณีที่ลูกค้าบุคคลที่ได้รับผลกระทบ เช่น ค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้ ทิสโก้ 1.พิจารณาปรับโครงสร้างหนี้โดยการขยายระยะเวลาชำระหนี้และลดค่างวดลง 2. พิจารณามาตรการพักชำระหนี้ให้ลูกค้าทุกรายที่ประสบอุทกภัยเป็นเวลา 3 เดือน ในกรณีที่ลูกค้าได้รับผลกระทบรุนแรง จนไม่มีความสามารถชำระหนี้ในช่วงเวลาหนึ่ง 1.พิจารณาให้วงเงินสินเชื่อเพิ่ม หากลูกค้าต้องการวงเงินฉุกเฉินสำหรับไปใช้สอยในช่วงวิกฤติที่เกิดขึ้น โดยคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก และช่วงแรกชำระแต่ส่วนดอกเบี้ยเท่านั้น 2.แคมเปญเร่งด่วน “รับเงินวันนี้ ผ่อนปีหน้า” เมื่อติดต่อขอสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ “ทิสโก้ ออโต้ แคช” วันนี้ สามารถเริ่มผ่อนชำระค่างวดได้ปีหน้า สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ปลอดภาระ โดยจะได้รับการพิจารณาวงเงินและอัตราดอกเบี้ยให้เป็นพิเศษ 1.ยกเว้นค่าปรับล่าช้า และค่าติดตามทวงถาม ในช่วงเวลาที่เกิดภัยพิบัติ สำหรับลูกค้าที่ประสบภัย 2.ช่วยเหลือประสานงานในการเคลมประกันภัยสำหรับลูกค้าที่รถยนต์คันที่เช่าซื้อได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมอีกด้วย โดยเปิดศูนย์ช่วยเหลือลูกค้าเรื่องประกันภัยตลอด 24 ชั่วโมง ไทยพาณิชย์ 1.สินเชื่อบ้าน- พักชำระหนี้สูงสุด 6 เดือน และลดดอกเบี้ยสูงสุด 50%  เป็นเวลา 3 เดือน- วงเงินเพิ่มสูงสุด 120% ของราคาประเมินเดิม ดอกเบี้ย 0% เป็นเวลา 3 เดือน 2.สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ - พักชำระหนี้สูงสุดเป็นเวลา 3 เดือน   พักชำระหนี้และลดดอกเบี้ย บัตรเครดิตและ Speedy Loan สูงสุด 50% เป็นเวลา 3 เดือน   ธนชาต 1.สินเชื่อบ้าน พักชำระหนี้สินเชื่อบ้าน เป็นเวลา 3 เดือน หรือ ลดค่างวดเป็นเวลา 12 เดือน 2.สินเชื่อรถ พักชำระหนี้ได้สูงสุด 90 วัน (นับวันที่ตามปฏิทิน) และสามารถขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ เพิ่มสูงสุดได้อีก 12 งวด แต่ต้องไม่เกินงวดสูงสุดตามธนาคารกำหนด ดังนี้ สินเชื่อรถใหม่ทั่วไปสูงสุด 96 งวด สินเชื่อรถใช้แล้วสูงสุดไม่เกิน 84 งวด และสินเชื่อรถแลกเงินสูงสุดไม่เกิน 72 งวด ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศธนาคารเรื่องหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อรถยนต์     กรณีผ่อนชำระมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี สามารถขอวงเงินสินเชื่อเคหะทวีสุข ด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีแรก 4.50% หลังจากนั้น 2MLR-0.50% ของราคาประเมินเดิม ระยะเวลากู้สูงสุด 10 ปี 1.ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามเขตที่เครื่องเอทีเอ็มของธนาคารธนชาตทุกรายการ 2.กรณีทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็มของธนาคารอื่น ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการถอนเงินสดต่างธนาคาร และการโอนเงินระหว่างบัญชีธนาคารธนชาตที่ผูกภายในบัตรเดียวกัน ผ่านเครื่องเอทีเอ็มต่างธนาคาร แต่ยังคงมีค่าธรรมเนียมทำรายการต่างธนาคารกรณีทำรายการตั้งแต่ครั้งที่ 5 ภายในเดือนเดียวกัน 3.กรณีบัตร ATM หรือบัตร Debit เสีย/สูญหาย จากเหตุการณ์น้ำท่วม ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมทำบัตรทดแทน และค่าธรรมเนียมรายปีแก่กลุ่มลูกค้าประสบภัยน้ำท่วม 4.ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมการฝากเช็คเข้าบัญชี / ขึ้นเงินสดเช็คต่างสาขาแบบไม่รอเรียกเก็บ 5.ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมเช็คคืน กรณีลูกค้าที่สั่งจ่ายเช็คแล้ว แต่ไม่สามารถนำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันของตัวเองได้ ยูโอบี เลื่อนการผ่อนชำระหนี้สูงสุด 3 เดือน ยอกเว้นดอกเบี้ยผิดนัด กรณีชำระล่าช้า ลดค่างวดผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือน พักการผ่อนชำระเงินต้นสูงสุด 12 เดือน 1.ดอกเบี้ย 0% 6 เดือนแรก สำหรับลูกค้าเดิมที่ต้องการกู้เพิ่ม 2.ดอกเบี้ย 0% 3 เดือนแรก สำหรับลูกค้าใหม่ที่กู้สินเชื่อเอนกประสงค์ หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยทั้ง 2 รายการจะปรับดอกเบี้ยเป็น MLR – 1.00% ตลอดสัญญากู้   สถาบันการเงินของรัฐ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 1.สำหรับลูกค้าเดิมของธนาคาร กรณีหลักประกัน และ/หรือ รายได้ ได้รับผลกระทบ ธนาคารจะพักหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน (คิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี) กรณีได้รับผลกระทบรุนแรง จะพักหนี้ต่อเป็นระยะเวลาอีกไม่เกิน 6 เดือน ( คิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี2.กรณีลูกค้าเดิมได้รับอุบัติเหตุจากเหตุการณ์น้ำท่วมจนทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงหรือเสียชีวิต ธนาคารจะลดดอกเบี้ยให้เหลือ 0.01% ต่อปี ตลอดระยะเวลากู้ที่เหลืออยู่ 3.กรณีลูกค้าเดิมที่อาคารที่อยู่อาศัยพังเสียหายทั้งหลังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ จะได้รับการ ปลดภาระหนี้ตามยอดหนี้คงเหลือในส่วนของอาคาร โดยผู้กู้ผ่อนชำระหนี้ในส่วนของที่ดินที่คงเหลือ 1.สำหรับลูกค้าเดิมของและลูกค้าใหม่ ที่อาคารได้รับความเสียหายสามารถขอกู้เพิ่ม หรือ กู้ใหม่ เพื่อปลูกสร้างอาคารทดแทนอาคารเดิม( มีหลักประกัน (คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ 2% ต่อปี นาน 5 ปี ( วงเงินกู้ 100% ของราคาประเมิน และภายในวงเงินต่อรายไม่เกิน 1 ล้านบาท) หลังจากนั้น คิดอัตราดอกเบี้ย   เท่ากับ  MRR-0.05% ต่อปี สำหรับรายย่อย และคิดอัตราดอกเบี้ย =MRR-1.00% ต่อปี สำหรับลูกค้าสวัสดิการ 2.กรณีกู้ซ่อมแซมอาคารที่ได้รับความเสียหาย ให้กู้รายละไม่เกิน 1 แสนบาท (ไม่มีหลักประกันด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ 4% ต่อปี นาน 5 ปี (   ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) 1.กรณีที่เสียชีวิตจากอุทกภัย จะปลดหนี้พร้อมให้คู่สมรสหรือทายาทขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าแทนผู้เสียชีวิต และมอบเงินบำรุงขวัญให้กับคู่สมรสหรือทายาทครอบครัวละ 20,000 บาท 2.กรณีประสบภัยร้ายแรงหรือเสียหายจนเป็นเหตุให้รายได้ลดลงเกินกว่าร้อยละ 50 ของรายได้ปกติ จะพักชำระหนี้ 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2554 - 2556 พร้อมงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงที่พักชำระหนี้  หากพักชำระหนี้แล้วยังเป็นภาระหนักจะพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ และลดหย่อนหลักประกันเงินกู้ 3.กรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกัน จากกู้ได้ไม่เกินครั้งหนึ่งเป็นกู้ได้ไม่เกินวงเงินจำนองและกรณีใช้กลุ่มลูกค้ารับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ขยายการค้ำประกันจากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท ให้เงินกู้ใหม่รายละไม่เกิน 100,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเงินกู้ปกติร้อยละ 3 ต่อปี   ออมสิน 1.พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยไม่เกิน 6 เดือน ปรับลดเงินและ/หรือขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ ออกไปจากเดิมอีก ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี สำหรับสินเชื่อบ้าน และไม่เกิน 1 ปี สำหรับสินเชื่อบุคคล 1. ให้กู้เพิ่มได้ไม่เกิน 10% ตามสัญญาเดิม และไม่เกิน 300,000 บาท 2. ชาระหนี้เงินกู้ไม่เกิน 5 ปี 3. อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = 3.45% ต่อปี ปีที่ 4-5 = MLR-0.50% ต่อปี 4. ไม่ต้องประเมินราคาหลักทรัพย์   *ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและมีความประสงค์จะขอทำเรื่องผ่อนผัน – ผ่อนปรนการชำระหนี้ต่างๆ กับธนาคาร ควรรีบติดต่อไปยังธนาคารนั้นๆ เพื่อรักษาสิทธิ์ไม่ให้ตัวเองกลายเป็นผู้ผิดชำระหนี้และเสียประวัติทางการเงินของตัวเอง เพราะมาตรการทั้งหมดที่ออกมาของแต่ละธนาคารมีกำหนดเวลา 1MRR (Minimum retail rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี2MLR (Minimum lending rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดสำหรับลูกค้าชั้นดีตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารทุกครั้งก่อนทำธุรกรรมทางการเงิน   ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ จ่ายหลังน้ำท่วมได้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครั้งนี้ด้วยการผ่อนผันการชำระค่าไฟฟ้าในช่วงเดือนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมออกไปเป็นระยะเวลา 3 เดือน การประปานครหลวง (กปน.) ลดค่าน้ำประปาเดือนตุลาคม 2554 ลง 50% ให้กับผู้ใช้ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วม แถมขยายเวลาการชำระค่าน้ำประปาในเดือนตุลาคม 2554 ออกไป 3 เดือน รวมทั้งหากตรวจสอบได้ว่ามีค่าน้ำส่วนเกินที่เกิดจากการแตกรั่วของท่อน้ำภายในบ้านช่วงน้ำท่วม กปน. จะไม่คิดค่าน้ำส่วนที่เกินมา องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทีโอที) ยกเว้นค่าบริการโทรศัพท์บ้านและค่าบริการอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ที่รัฐประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ โดยผู้ประสบภัยต้องขอแจ้งความจำนงที่ศูนย์บริการลูกค้า ทีโอที ทั่วประเทศ สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร หรือ โรงรับจำนำของ กทม. ได้ขยายเวลาในการตามคืนทรัพย์ที่จะหลุดจำนำในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2554 ออกไปเป็นจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2554 บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ขอความร่วมมือไปยังสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก หากลูกหนี้ที่ประสบภัยที่เข้าโครงการผ่อนผัน-ผ่อนปรนของสถาบันการเงินนั้นๆ จะไม่มีการบันทึกในประวัติการเงินว่าค้างชำระหรือล่าช้าในการชำระหนี้ *ทุกมาตรการที่บอกมาผู้ที่ประสบภัยอย่าลืมไปแจ้งความจำนงขอเข้าร่วมในมาตรการช่วยเหลือ ไม่อย่างงั้นจะเสียสิทธิ์นะ

อ่านเพิ่มเติม >