‘มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค’ ยืนหยัด ‘คุ้มครองผู้บริโภค’ แถลงชัดไม่มีนโยบายถอนข้อมูลผลทดสอบจากเว็บไซต์

            ตามที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ดำเนินการเชิงรุกเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคช่วงโควิด - 19 โดยเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์เจลแอลกอฮอล์ล้างมือในช่วงที่ขาดแคลนและมีราคาแพง รวมทั้ง ขาดข้อมูลอ้างอิงที่จะทำให้ผู้บริโภคเชื่อถือได้ว่ามีคุณภาพตรงกับฉลากหรือคำโฆษณา และไม่ปนเปื้อนสารที่ก่ออันตราย มูลนิธิฯ ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เจลแอลกอฮอล์ล้างมือจำนวน 39 ตัวอย่าง เพื่อตรวจหาปริมาณแอลกอฮอล์ในผลิตภัณฑ์ว่าเป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือไม่ และตรวจหาการปนเปื้อนของเมธิลแอลกฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดที่มีอันตรายต่อผู้บริโภค ผลพบว่า จำนวน 27 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 69.23 มีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำกว่าร้อยละ 70 จากนั้นจึงได้เผยแพร่ข้อมูลให้ผู้บริโภคได้รับทราบผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยเปิดเผยชื่อยี่ห้อ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อเท็จจริง และมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการเลือกซื้อสินค้าที่มีความจำเป็นต้องใช้สำหรับปกป้องสุขภาพในภาวะที่มีการระบาดของเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อชีวิตนั้น (อ่านข้อมูล ผลทดสอบเจลแอลกอฮอล์ จากนิตยสารฉลาดซื้อ ได้ที่ https://www.chaladsue.com/article/3420)         ต่อมาวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 บริษัท รีเอกซ์ โปรดักส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตเจลแอลกอฮอล์ ได้ฟ้องคดีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นจำเลยที่ 1 และนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่า จำเลยได้กระทำผิดอาญา ใส่ความหมิ่นประมาทบริษัท และระบุว่า “...ไม่ใช่ผลการทดสอบที่ถูกต้องที่จะนำเสนอเป็นข่าวหรือบทความให้สาธารณชนได้รับทราบเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์เจลล้างมือ เพราะเกณฑ์มาตรฐานการทดสอบจำเป็นต้องมีการควบคุมการทดสอบและกำหนดค่าความผันแปรของผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ที่มีความอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมระหว่างทดสอบ...”         ในวันนี้ (5 พฤศจิกายน 2563) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงได้แถลงข่าวเพื่อให้ข้อเท็จจริงและแสดงจุดยืนต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้         1. นิตยสารฉลาดซื้อ และ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้จัดให้มีการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 เพื่อเผยแพร่ข้อมูลกับผู้บริโภค โดยมีการเปิดเผยชื่อยี่ห้อให้ผู้บริโภคได้รับทราบ ด้วยเหตุผลในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า ตามหลักการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 โดยมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการตามหลักการนี้มาอย่างต่อเนื่องตลอดมา         2. การทดสอบได้ทำอย่างสุจริตและโปร่งใส โดยยึดมั่นหลักวิชาการ และดำเนินการอย่างมีคุณภาพสูงสุด เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยการทดสอบเจลแอลกอฮอล์ในครั้งนี้ ดำเนินการโดย ศูนย์บริการเทคโนโลยีเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ มีความเป็นอิสระ และเป็นห้องทดลองที่ได้มาตรฐานและผ่านการรับรอง ISO 17025 แม้แต่ อย. ก็ใช้ห้องทดลองนี้เช่นกัน และในการแถลงข่าวเพื่อเผยแพร่ข้อมูล เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ผู้เกี่ยวข้องกับการทดสอบได้ร่วมในการให้ข้อมูลอย่างเปิดเผย ประกอบด้วย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รศ.ดร.ภก.วรสิทธิ์ วงศ์สุทธิเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บริการเทคโนโลยีเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร. ยุพดี ศิริสินสุข คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) และรองผู้จัดการแผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย         3. มูลนิธิฯ เห็นว่า การฟ้องร้องของบริษัท รีเอ็กซ์ โปรดักส์ จำกัด อาจเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้มูลนิธิฯ ยุติการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภค         4. มูลนิธิฯ ไม่มีนโยบายถอนข้อมูลผลทดสอบที่ได้จัดทำและเผยแพร่จากเว็บไซต์ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคให้สามารถเลือกซื้อสินค้า โดยเป็นไปตามหลักการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ดังที่ได้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติตลอดมา         ด้าน ดร. ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ยืนยัน กระบวนการทดสอบสินค้าและบริการของนิตยสารฉลาดซื้อ ใช้ห้องทดสอบที่มีมาตรฐาน ระดับประเทศที่พัฒนาแล้ว สำหรับกระบวนการทดสอบด้านสินค้าและบริการ จะอ้างอิงหลักการและวิธีการออกแบบการทดสอบ ขององค์กรผู้บริโภคระหว่างประเทศ ที่เป็นสมาขิกของ International Consumer Product Research and Testing โดยเน้นหลักการความเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ใช้การสุ่มซื้อสินค้าที่มีการจำหน่ายจากร้านค้าจริงทั่วไปและออนไลน์เหมือนผู้บริโภคซื้อสินค้าและเผยแพร่ผลการทดสอบผ่านนิตยสารฉลาดซื้อ ซึ่งเป็นสื่อสาธารณะที่ไม่รับโฆษณาจากบริษัทต่าง ๆ เพื่อทำให้สามารถรักษาผลประโยชน์สาธารณะได้อย่างตรงไปตรงมา         "การทดสอบสินค้าที่มีมาตรฐานกำกับจะดำเนินการทดสอบตามมาตรฐาน โดยใช้ห้องทดสอบของมหาวิทยาลัย หรือ ห้องทดสอบเอกชนระดับมาตรฐาน ISO 17025 กรณีสินค้าที่ยังไม่มีมาตรฐานกำกับจะทดสอบโดยใช้มาตรฐานของต่างประเทศที่ได้รับความน่าเชื่อถือ ตัวอย่างเช่น กรณีการทดสอบเครื่องฟอกอากาศ การทดสอบเปรียบเทียบมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทยที่จะเข้าไปกำกับมาตรฐานของเครื่องฟอกอากาศในอนาคต เป็นต้น"        ทั้งนี้ พลังของผู้บริโภคในการสนับสนุนการต่อสู้คดีในครั้งนี้ ซึ่งเป็น “ครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี” ที่ผลการทดสอบและการเปิดเผยข้อมูลของนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ถูกฟ้องคดีโดยบริษัทผู้ผลิตหลังจากเปิดเผยชื่อผู้ผลิตและยี่ห้อของสินค้าจากการทดสอบ” จึงมีความสำคัญต่อการยืนหยัดทำหน้าที่ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 112-113 "17 ปี คนฉลาดซื้อ"

17 คน 17 ปี นิตยสารฉลาดซื้อ 1.พัชรศรี เบญจมาศ นักข่าว / พิธีกร รายการผู้หญิงถึงผู้หญิง 1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไร แมร์ว่าคนเราบริโภคกันดุเดือดมากขึ้นนะ เพราะมันมีทั้งแรงโฆษณา กระแส ค่านิยม ซึ่งมันทำให้คนบริโภคกันอย่างดุเดือด อะไรที่ใครบอกว่าดี ก็อยากจะลอง ทั้งใช้ทั้งกิน จนบางครั้งก็ลืมถามตัวเองไปเลยว่า ‘มันจำเป็นกับตัวเราหรือเปล่า’ ‘แค่นี้พอหรือเหมาะสมกับตัวเราแล้วหรือยัง’ อีกอย่างที่แมร์คิดว่าสำคัญก็คือคนเราขาดข้อมูลในการเลือกซื้อ เลือกใช้ หรือขาดข้อมูลที่จะสนับสนุนว่าอะไรดี อะไรที่เหมาะกับชีวิตของเรา ที่เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้   2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน แน่นอนค่ะ มันตามชื่อเลย “ฉลาดซื้อ” ทำให้คนฉลาดมากขึ้น การซื้อของไม่ใช่แค่มีเงินอย่างเดียวนะ เอ้อ..มันก็ต้องมีอะไรที่มันประกอบกันเข้าไปด้วยใช่ม้ะ…มันก็ต้องคิดบ้างล่ะว่าของสิ่งนี้มันเหมาะกับเราไหม รายได้เราเท่านี้ แบบไหนถึงจะเหมาะกับเรา มันก็น่าจะมีหน่วยงานอะไรที่มาบอกกับเรา คอยเป็นหูเป็นตาแทนเรา เป็นปากเป็นเสียงแทนเรา ว่าอะไรที่ไม่ยุติธรรมกับเรา หรือบอกเราว่า “อะไรที่คุ้มค่ากับเรา” ก็น่าจะมีหน่วยงานตรงนั้น 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ อืมม..ได้รับเกียรติอย่างยิ่งค่ะ อ้อ..แน่ล่ะรูปลักษณ์มันต้องดูดี แพคเก็จต้องดูดี คนถึงจะหยิบจับไปใช้ ไปหาความรู้ การจัดวางหน้า ปกต้องดูดี รูปแบบตัวหนังสือ ภาพประกอบต้องดูดี หรือแม้แต่เนื้อหาในหนังสือก็ต้องปรับให้ทันยุคทันสมัย เข้าใจง่าย ใช้ภาษาที่เป็นเพื่อนกับคนอ่าน เข้าถึงง่าย พอเขาอ่านได้ง่าย และเกี่ยวกับเขา การที่จะถูกเลือกให้เป็นหนังสือประจำบ้านก็จะง่ายมากขึ้น อย่างคอลัมน์สัมภาษณ์ทำให้ดีไปเลยนำเสนอวิถีและแนวคิดของคนที่ไปสัมภาษณ์ให้คนอ่านได้เห็น อาจจะเป็นกลุ่มคนที่น่าสนใจ เพราะใครๆ ก็จะสนใจว่าคนเหล่านั้นเขาคิด กิน เลือกใช้อะไรกันอย่างไรนะ.   2.สรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรข่าวโทรทัศน์ 1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไร คำว่าบริโภคนิยมมันก็ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะอยู่ในรูปแบบของสื่ออย่างเต็มรูปแบบ สมัยนี้ถ้าอะไรที่มันติดหรือเกิดกระแสก็จะเกิดในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ผมว่าปัจจุบันคนเรามีความรู้ดีขึ้นนะ คนเราต้องมีการกรองในตัวของมันพอสมควร เพราะเดี๋ยวนี้สินค้าไม่ใช่แค่ขายคุณภาพของสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว แต่ขายด้วยความหลากหลาย บางทีก็ขายรสนิยม ขายเทรนด์หรือบางตัวก็แบ่งผู้บริโภคออกเป็นกลุ่มๆ ซึ่งตรงนี้เราก็ไม่ว่ากัน มันขึ้นอยู่ที่ความคุ้มค่า นี่ผมพยายามมองอย่างเป็นกลางนะ อย่างสินค้าบางตัวซื้อด้วยอารมณ์ ซื้อเพราะอยากได้มากกว่าซื้อเพราะประโยชน์ เราก็ขอแต่เพียงว่าอย่าให้มันเป็นโทษก็พอ 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มากน้อยแค่ไหน นี่เป็นตัวสำคัญเพราะสามารถหาคำตอบได้เลยทั้งในแง่วิทยาศาสตร์ แต่เป็นปัญหาตรงที่จะทำอย่างไรให้เกิดการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนโดยทั่วไป ฉลาดซื้อมีการเปรียบเทียบสินค้าที่ไม่ใช่การแนะนำให้ซื้อในด้านอารมณ์ความรู้สึก น่าเสียดายตรงที่อยู่ในวงแคบไปหน่อย ที่จะได้ให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มค่าในการเลือกซื้อสินค้า อย่างผงซักฟอก เราจะเห็นการโฆษณาผงซักฟอกที่มีการทดลองซักผ้าขาว ยี่ห้อนี้ซักคราบกาแฟ ซักคราบซอสออก แข่งกันโฆษณา แบบนี้เราน่าจะแยกออกมาให้ผู้บริโภคเห็นกันชัดๆ ไปเลยว่ายี่ห้อไหนดี ยี่ห้อไหนเด่นเรื่องอะไร หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟตอนนี้ไปใครๆ ก็บอกแต่ให้ซื้อแต่เบอร์ 5 ซึ่ง ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็อยากจะรู้ว่ามันมี 5.1 5.2 อีกหรือเปล่า หรือเตารีดใช้งานแบบเดียวกันยี่ห้อนี้ดีอย่างไร ดีกว่าแบบอื่นตรงไหน ให้เปรียบเทียบสินค้ากันให้เห็นไปเลย น่าเสียดายที่ไม่ค่อยเป็นที่น่ารู้จัก เข้าใจนะว่าการทดสอบแต่ละครั้งต้องใช้เงินเยอะ 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ ผมว่าก็ดีอยู่แล้วนะ ถ้าเป็นผม ผมก็จะทำแบบนี้ล่ะ เพียงแต่ว่าผมจะมองเพิ่มในเรื่องของสื่อ อาจจะทำให้ประเด็นหวือหวาขึ้น เช่นเอาตัวคนที่มีชื่อเสียงเข้ามาใส่ เช่นการทดลองอะไรบางอย่างก็นำเอาคนที่มีชื่อเสียงเข้ามา หรือประเด็นวิชาการ ลองเขียนให้อ่านง่ายขึ้นหน่อยน่าจะดี คือพอเรานำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจ ไม่ว่าข้อมูลจะยากหรือซับซ้อนแค่ไหน มันก็จะง่ายขึ้น คนอ่านก็จะติดตามเราเอง 3. รองศาสตราจารย์ ดร. ปาริชาต สถาปิตานนท์   ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไร นับวันสังคมไทยเป็นสังคมที่บริโภคกันสูงขึ้นเรื่อยๆ ถือว่าเป็นสังคมบริโภคนิยมมากๆ คนจะอยากได้ อยากมี อยากเป็น และอยากเปลี่ยน และไม่ได้คิดถึงคุณค่าของอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกันกับตัวผู้ประกอบการที่ผลิตเพื่ออายุสั้น ไม่ได้ผลิตเพื่อให้ของนั้นสามารถใช้ได้อายุยาวชั่วลูกชั่วหลาน ซึ่งเป็นภาพที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและสังคมโลก 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน การเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ที่รวดเร็วและหลากหลาย ทำให้เกิดการซื้อเยอะขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือการสร้างกระแสให้เกิดลัทธิการบริโภค ลัทธิการเอาอย่าง ซึ่งตรงนี้เป็นตัวอันตราย และฉลาดซื้อเป็นสื่อหนึ่งที่ช่วยได้ เป็นตัวที่ช่วยเทียบให้เห็นถึงความหลากหลายให้คนได้ชะลอตัวเองมากขึ้น ให้ได้คิดมากขึ้น คิดเรื่องคุณสมบัติต่างๆ ของสินค้าที่จะซื้อ ไม่ใช่ซื้อเพราะชอบยี่ห้อนี้ไม่ได้ดูเหตุผลประกอบ อีกอย่างก็คือฉลาดซื้อมีคอลัมน์ที่หลากหลายทำให้เรามีมุมมองที่หลากหลาย มาแบ่งปันประสบการณ์ทำให้เรารู้เท่าทันว่ามันเกิดอะไรขึ้นในสังคมบริโภคบ้าง 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ อยากเห็นซีรี่ส์ที่หลากหลายในฉลาดซื้อ ซึ่งตอนนี้ฉลาดซื้อสื่อออกมาในแนววิชาการที่น่าอ่านและน่าเก็บ แต่อยากเห็นฉลาดซื้อในเวอร์ชั่นสำหรับเยาวชน อยากเห็นจริงๆ ค่ะ อยากเห็นการเชิญชวนให้เยาวชนรุ่นใหม่กล้าคิด กล้าวิเคราะห์ คิดนานๆ เพราะเราไม่สามารถปฏิเสธสังคมบริโภคนิยม ปฏิเสธลัทธิการเอาอย่างได้ เพียงแต่เราจะทำอย่างไรให้เราและเยาวชนเท่าทันได้อย่างไร และนั่นล่ะคือสิ่งที่อยากเห็น อีกอย่างที่อยากเห็นคือการใช้พื้นที่ในส่วนของสังคมออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ เพราะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่น่าสนใจและจะเป็นการส่งต่อที่รวดเร็วด้วย 4.ภัทรีดา ประสานทอง นักวาดภาพประกอบหนังสือ 1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไร ถามหน่อยว่าใครที่กลับบ้านโดยไม่ซื้ออะไรบ้าง เหมือนความสุขที่หาได้ตอนนี้คือการได้ซื้อแล้วค่ะ บางครั้งซื้อไปแล้วก็ไม่ได้ใช้ แต่มีความสุขที่ได้ซื้อ หรือตอนนี้อาจจะกลายเป็นการติดการซื้อไปแล้ว 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน ตอนได้เห็นหนังสือฉลาดซื้อที่แผง เปิดอ่านดู ต้องบอกก่อนนะคะว่า คำว่า“ฉลาดซื้อ” เหมือนทุกคนต้องป้องกันตัวเองในการซื้อน่ะ เรามีความสุขแค่การซื้อ จ่ายตังค์แล้วก็แค่ได้ของมาบางทีก็ลืมไปเลยว่าเราซื้อของนั้นมา เพราะฉะนั้นมันต้องมีเส้นแบ่งว่า ซื้อจ่ายตังค์แล้วมีความสุข ตอนนี้ความสุขไม่ได้จบลงแค่ของแล้วค่ะ แต่กลายเป็นมีความสุขที่ได้ซื้อ แล้วก็ซื้อไปเรื่อยๆ แต่ใน “ฉลาดซื้อ” ไม่มีโฆษณาเพื่อจูงใจให้ซื้อ อ่านแล้วต้องขอบคุณคนทำเลยค่ะ มีทั้งการเปรียบเทียบของแต่ละอย่าง คือทำให้เราอ่านเลยค่ะ มันต้องอ่านน่ะ 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ อยากให้หนังสือมีภาพประกอบที่โมเดิร์น เช่นนำภาพคนที่วาดการ์ตูนในหนังสือ 100 สิ่งที่ไม่ต้องทำฯ มาประกอบ หรือทำสีข้างในให้ดูสดใส ปรับฟ้อนท์อีกนิดหน่อย เนื้อหาข้างในดีอยู่แล้วค่ะ อยากให้ทุกบ้านมีฉลาดซื้อติดบ้านไว้ค่ะ เป็นนิตยสารที่ทุกคนต้องอ่านค่ะ 5.นที เอกวิจิตร์ - หนึ่งในสมาชิก วงบุดดาเบลส1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไร ตามหลักพุทธศาสนาเลย ต้องใช้สติอย่างมาก เพราะปัจจุบันเราเห็นอะไรปุ๊บก็ซื้อเลย ยิ่งมีบัตรเงินสดสารพัดบัตร กด รูดกันปุ๊บปั๊บ เห็นโฆษณาเดี๋ยวนี้ก็สมเพชนะครับ ทำให้คนอยากได้ของ มีทั้งเอารถไปดาวน์ เปลี่ยนเป็นเงินสด คือของฟุ่มเฟือยน่ะ มันไม่มีมันก็ไม่ตายหรอกนะ ตรงข้ามกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง มันสวนกระแส ผมว่ามันเป็นทาง ฉิบหายเลยล่ะ เป็นทางสนับสนุนกิเลสโดยไม่เกิดผลเลยชัดๆ ไม่ได้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มากเลย ถึงแม้จะทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจมันดีขึ้น คือตัวเลขมันวัดได้ก็จริง แล้วไม่ใช่ตัวเลขหรอกเหรอที่ทำให้เกิดฟองสบู่แตกมาไม่รู้กี่ครั้ง ในต่างประเทศก็เป็น อเมริกาก็เป็น IMF เป็นคนบอกให้เราด้วยซ้ำว่าต้องทำอย่างไร แต่ตัวมันเองยังจะเอาตัวไม่รอดผมว่าอย่างที่ในหลวงท่านพูด มันถูกทุกอย่าง เอาดัชนีความสุขมาวัดดีกว่า อย่ามาใช้ตัวเลขวัดกันเลย ตัวเลขมันก็เป็นแค่ตัวเลขน่ะ รวยแล้วเป็นอย่างไรมีความสุขไหม เศรษฐกิจดีแล้วไง มีความสุขอย่างไร ความสุขก็คือความทุกข์ที่มันยังมาไม่ถึง ฟังแล้วมันอาจดูเวอร์นะ แต่ผมว่าปล่อยให้มันค่อยไปจะดีกว่าไม่เห็นจะต้องตัวเลข GDP สูงกระฉูดเลย แค่ให้อยู่กลางๆ ให้ทุกคนไม่มีใครสุขหนักและทุกข์หนัก แบบนั้นผมว่ามันยังดีนะ เพราะว่าผมว่าบริโภคนิยมเดี๋ยวนี้ทำให้คนที่มีความสุขก็สุขสุดๆ ไปเลย อะไรอยากได้ก็ซื้อ ไม่มีปัญญาซื้อก็ดาวน์ก่อนผ่อนทีหลัง พอใช้หนี้ไม่ไหวก็ทุกข์หนักมีปัญหาตามมาค่อยว่ากัน คือมันสุขหนักกับทุกข์หนักไปเลย 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน ผมว่าฉลาดซื้อนำเสนอเรื่องที่เราไม่เคยรู้ให้ได้รู้ คือถ้ามีคนมาทดลองให้เราดู ให้เรารู้ว่าสารนี้มีผลอะไรต่อร่างกาย ต้องกินเท่าไร กินอย่างไรไม่เป็นอันตราย ช่วยเราได้เยอะนะ อีกอย่างผมว่าฉลาดซื้อจะช่วยให้เราประหยัดได้นะ อย่างเรื่องเครื่องดื่มที่ทำให้สวย พอรู้แล้วว่าเอ้ย…ยย มันไม่มีอะไร แค่เรากินอาหารให้ครบ 5 หมู่ก็สวยและสุขภาพดีได้แล้ว ไม่ต้องไปเสียเงินซื้ออะไรแบบนี้แล้ว 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ ผมอยากให้ทำสรุปผลการทดสอบออกมาเลย ว่าอะไรที่อันตราย หรือบอกว่าควรจะกินอย่างไร เดือนหนึ่งควรจะกินกี่ห่อ อะไรกินแล้วดี เพราะดูในตารางแล้วมันงง ไหงจะต้องมาสรุปเอง มันจะงง สรุปให้มันง่ายคนก็จะเข้าใจง่ายขึ้น อีกอย่างเรื่องความเชี่ยวชาญอย่างเรื่องกล้อง ผมก็ไม่แน่ใจนะว่าจะเชี่ยวชาญมากกว่าที่อื่นหรือเปล่า น่าจะลงส่วนที่ทดสอบหรือห้องปฏิบัติการลงไปด้วย จะสร้างความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นครับ 6.ประกิต หลิมสกุล คอลัมนิสต์กิเลนประลองเชิง นสพ.ไทยรัฐ1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไร สินค้าหรือของมีการออกมามากมายพัฒนาไปเยอะ ในขณะที่คนไทยภาพรวมในความคิดผมนะยังมีความรับรู้และเข้าใจต่อสิ่งที่จะเข้ามาไม่พอ ยังเลือกที่จะบริโภคของเพื่อตัวเองได้ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลย อย่างเรื่องราวของธุรกิจขายตรง ผมอยู่ในวงการหนังสือพิมพ์มานานก็จะเห็นเรื่องราวซ้ำซากอย่างแชร์ลูกโซ่ มันมีการเปลี่ยนรูปแบบไปเท่านั้นอย่างแจกรถยนต์ มันก็คล้ายๆแชร์แม่ชะม้อยนั่นล่ะ ปัจจุบันก็ยังมีอยู่ หรือแม้แต่เรื่องราวของการตกทอง เป็นการต้มตุ๋นอย่างเห็นได้ชัด ก็ยังมีอยู่ หรือแม้แต่การใบ้หวยปัจจุบันก็ยังมีอยู่ เรื่องที่นอนแม่เหล็กที่เน้นไปที่ความกตัญญูให้ลูกซื้อรักษาโรคให้พ่อแม่ ทั้งที่มันเป็นเรื่องราวการต้มกันชัดๆ ก็ยังมีอยู่ จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้การบริโภคเราแย่มาก ยังไปไม่ทัน 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน จากจำนวนสมาชิกฉลาดซื้อปัจจุบัน พอเทียบกับจำนวนคนในประเทศถือว่าน้อยมากนะ คิดเป็นจุดต่ำกว่าศูนย์กี่ตัว คนไทยควรจะอ่านนิตยสารฉลาดซื้อสักครึ่งหนึ่งของประเทศ แล้วสิ่งที่ฉลาดซื้อหวังไว้ถึงจะได้ ฉลาดซื้อก็ดีนะ ผมเห็นแล้วก็จะเปิดดู ผมว่าเก่งนะที่กล้าเปิดเผยรายชื่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างไทยรัฐก็เปิดคอลัมน์ “มันมากับอาหาร” หรือมีข่าวมีเรื่องร้องเรียนเข้ามา เราก็เลี่ยงที่จะไม่เปิดเผยชื่อผลิตภัณฑ์ อย่างจิ้งจกในนม หรือสื่อของหน่วยงานภาครัฐเองก็ได้แต่ออกมาเตือน ให้ระวังนะ แต่ก็ไม่ได้กล้าจะเปิดเผยชื่อ เพราะติดเรื่องกฎหมายอาจจะถูกฟ้องกลับได้ แต่ฉลาดซื้อทำได้ ฉลาดซื้อกล้าที่จะทำ กล้าที่จะบอกว่าอะไรดี อะไรไม่ดี ในขณะที่สื่อหลักอาจจะติดปัญหาเรื่องกฎหมาย หนังสือชื่อดีนะถ้าทำอะไรในทางการค้า จะขายได้และร่ำรวยเลย แต่ว่าทำโดยไม่แสวงประโยชน์ จึงไม่ร่ำรวย ถ้าฉลาดซื้อตกอยู่ในมือมารนะรวยแย่เลย 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ ฉลาดซื้อทำดีกว่าสื่ออื่นนะ ทำอย่างมีหลักมีเกณฑ์ มีทนายคอยช่วยเหลือ มีหน่วยงานทดสอบ เรื่องราวการนำเสนอเป็นเรื่องราวมีประโยชน์ เป็นเรื่องราวของปัญญาชน แต่ไม่ค่อยมีคนชอบอ่าน เพราะเป็นเรื่องของคนที่ต้องใช้ปัญญา เขาถึงจะอ่านกัน ต้องใช้เวลา และถ้านำข้อมูลแบบฉลาดซื้อมาลงในไทยรัฐ เราก็จะขายได้แค่ 10,000 เล่มเท่านั้นละ มีคนมาดูงานที่ นสพ.ไทยรัฐนะแล้วก็ถามว่าทำไมทำหนังสือแบบนี้ ทำเรื่องนุ่งน้อยห่มน้อย ทำข่าวฆ่ากันตาย เพราะบ้านเรายังมีคนหลายกลุ่ม คนที่เป็นปัญญาชนบ้านเรายังน้อย คนที่หาแต่สาระยังมีน้อย ถ้ากล้าที่จะทำเรื่องที่ท้าทาย ฉลาดซื้อก็จะขายได้เยอะ แต่ทุกอย่างต้องใช้เวลา 7. ดร.ไพบูรณ์ ช่วงทอง1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไรตามความคิดและประสบการณ์ส่วนตัวของผมนะครับ ผมว่าขายกันทั้งวันทั้งคืน ทั้งของข้างนอกและในทีวี เราจะเห็นว่ามีโฆษณาที่กระตุ้นให้อยากซื้ออยากได้อยู่ตลอดเวลา เรียกว่าขายกัน 24 ชั่วโมง ถ้าหากเราไปเปรียบเทียบกับต่างประเทศอย่างเยอรมันเขาจะมีวันว่างหนึ่งวันไว้ทำอะไร เล่นกีฬาออกกำลังกาย หรือมีเวลาให้กับครอบครัว แต่ของเรานี่ขายกันอย่างเดียวเลย มีตลาดนัดเกือบทุกที่ กระตุ้นกันอยู่ตลอดเวลา 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน ผมมองว่าเป็นหนังสือที่เปิดมุมมองใหม่ให้กับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมด้วย และที่สำคัญคือไม่มีโฆษณาทำให้ไม่ตกอยู่ในอิทธิพลของสินค้าหรือภาคเศรษฐกิจ ผมว่าสังคมเราน่าจะเห็นความสำคัญของฉลาดซื้อ จะสนับสนุนแบบไหนก็อีกค่อยว่ากันอีกที ภาครัฐเองก็น่าจะสนับสนุนบางส่วน อย่างเยอรมันก็จะมีนิตยสารตัวหนึ่งที่ทำคล้ายๆ กับฉลาดซื้อทุกอย่างแต่ว่าของเขาจะได้รับเงินอุดหนุนจากภาครัฐ ซึ่งเป็นการสนับสนุนที่ถูกเขียนไว้ในกฎหมายที่รัฐจะต้องสนับสนุน เหมือนตั้งเป็นมูลนิธิที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสินค้าแล้วก็เผยแพร่ความรู้สู่ผู้บริโภค อย่างที่เยอรมันเขาจะทำการทดสอบสองเล่มคือ ทดสอบสินค้า กับทดสอบผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับทางด้านการเงิน คนที่นั่นจึงมีแหล่งข้อมูลและอาวุธในการเลือกซื้อเลือกใช้สินค้า ซื้อรถยนต์ หรือแม้แต่เรื่องทัวร์ต่างประเทศเขาก็ใช้ข้อมูลนี้ 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ ก็คงจะเพิ่มเติมในส่วนวิชาการมากกว่าครับที่ทำอยู่ดีอยู่แล้วครับ ทางภาควิชาการก็จะเป็นหน่วยงานที่สนับสนุน เพราะจริงๆ แล้วฉลาดซื้อเป็นองค์กรผู้บริโภคและต้องเล่นบทนำ นักวิชาการเล่นบทสนับสนุน งานคุ้มครองผู้บริโภคความจริงมีหลายด้านนะครับ จึงต้องมีหลายส่วนสนับสนุนและต้องมีภาคสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความเป็นธรรม อีกส่วนที่ฉลาดซื้อน่าจะเพิ่มเข้าไปก็คือ News Letter ไม่ต้องรอบอกในหนังสือก็ได้ เพราะบางข่าวส่งถึงสมาชิกได้เลย อาจจะทางอีเมลล์ก็ได้ครับสะดวกดี หรือส่งทาง SMS ก็ได้ ด้านรูปเล่มผมว่าดูน่าอ่านมากขึ้นนะ แต่น่าจะนึกถึงผู้สูงอายุด้วยนะ เพราะบางทีตัวเล็กมากก็ลำบากเหมือนกันครับ 8.จุฑา สังขชาติ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไร มองในฐานะของคนที่ทำงานองค์กรผู้บริโภคนะ เรียกสังคมว่าตอนนี้เป็นสังคมบริโภคนิยมแบบเต็มตัวไปแล้ว ปัญหาต่างๆ ที่เราเจอก็จะเกิดจากการบริโภคที่เกินตัว และเกินความจำเป็น ทั้งการโฆษณาชวนเชื่อ อย่างเรื่องการแจกซิมการ์ด คือทั้งที่มันก็ไม่จำเป็นอะไรเลย แล้วปัญหาก็ตามมา แล้วไม่ใช่แค่ใช้บริการหรือใช้สินค้าแล้วมันปัญหา แต่มันเกิดปัญหาสังคมโดยภาพรวมตามมาเพราะมันมีความอยากได้ที่มากเกินกำลังของตัวเอง ตอนนี้กับเด็กจะเกิดปัญหามาก อยากมีให้เหมือนเพื่อน ต้องดีกว่าเพื่อน เพราะเขาถูกกระตุ้นความอยากได้ แล้วเขาก็ต้องหาให้ได้มา หรือก็ไปซื้อมาใช้โดยขาดข้อมูลหรือวุฒิภาวะการซื้อไม่เพียงพอ หรือไม่ก็ไปขอเงินพ่อแม่มา แล้วก็ซื้อหามาได้ง่ายๆ อาจจะไปสำแดงฤทธิ์กับพ่อแม่ ที่นี้พ่อกับแม่ก็ไปกู้สถาบันการเงิน นำเงินในอนาคตออกมาใช้ คนแก่ก็มีปัญหานะเพราะขาดข้อมูลในการเลือกซื้อ ก็จะถูกหลอก เช่นมีคนเอาเก้าอี้รักษาโรคไปขาย ให้นั่ง 24 ครั้งแล้วหายจากอัมพาต ราคาเหยียบแสน ผู้ร้องยินดีที่จะขายที่ดินเพื่อจะซื้อเลยนะ เขาก็ยังจะซื้อเพราะเขาทุกข์ทรมานกับโรคมานาน หรือปัญหาโทรศัพท์มือถือจะมี SMS ไปรบกวน ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เขาไม่ต้องการเลย เราจะเห็นความพยายามเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการในวิถีทางต่างๆ นานา 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน ฉลาดซื้อช่วยได้เยอะนะคะ ฉลาดซื้อเหมือน “คัมภีร์ผู้บริโภค” บางคนอ่านแล้วก็บอกว่านี่ล่ะที่เขาหามานาน เป็นคู่มือผู้บริโภคใช้เป็นข้อมูลประกอบการเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้าต่างๆ หรือบางเรื่องก็จะเป็นข้อมูลเตือนให้เขาระวัง ทำให้พวกเขาได้เท่าทันการบริโภคปัจจุบัน ในขณะที่เราทำงานผู้บริโภคฉลาดซื้อก็เหมือน “ยาสามัญประจำบ้าน” ที่ต้องมีเพราะเราสามารถหยิบเอาไปพูดในรายการวิทยุชุมชน พูดในเวที หรือเป็นเครื่องมือในการจัดนิทรรศการกับหน่วยงาน กับชาวบ้าน ก็จะหยิบฉลาดซื้อไปจัดนิทรรศการด้วยเป็น “นิทรรศการฉลาดซื้อ” ให้คนที่มาดูได้เห็นว่า ยังมีนิตยสารผู้บริโภคที่ทำเรื่องผู้บริโภคทุกอย่างที่เป็นปัญหา ซึ่งเราจะเห็นว่าเรื่องเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ฉลาดซื้อก็นำมาเสนออีกเราจะเห็นว่าปัญหามันแรงขึ้นกว่าเดิม เหมือนประเด็นของฉลาดซื้อทันสมัยตลอดเวลา ไม่เคยล้าสมัย 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ รูปเล่มหน้าตาดูดีขึ้น มีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอด ก่อนที่จะปรับรูปเล่มเคยได้ยินคนบอกว่า “ฉลาดซื้อ อ่านได้ทั้งเดือน” คือมันไม่ล้าสมัย อ่านมันได้ตลอด แต่พอเป็นเล่มเล็กก็จะง่ายขึ้น เร็วขึ้น น่าสนใจมากขึ้น อยากให้เพิ่มข่าวหรือสถานการณ์จากเครือข่ายลงไปด้วย เพราะจะได้เห็นความเคลื่อนไหวของเครือข่ายและเรื่องผู้บริโภคในส่วนภาคอื่นๆ ด้วย 9.พระไพศาล วิสาโล1.มองสังคมปัจจุบันที่เป็นสังคมบริโภคอย่างไรสังคมไทยในปัจจุบันเป็นสังคมบริโภคที่เข้มข้นมาก คือไม่ได้เป็นแค่สังคมของผู้บริโภคหรือสังคมที่เต็มไปด้วยคนที่บริโภคในสิ่งที่ตนไม่ได้ผลิตเท่านั้น แต่ยังเป็นสังคมที่ถูกกระแสบริโภคนิยมครอบงำสูงมาก กล่าวคือผู้คนมีความเชื่ออย่างแพร่หลายว่าความสุขอยู่ที่การบริโภคหรือการมีวัตถุเยอะ ๆ ที่น่าสนใจคือเดี๋ยวนี้คนไม่ได้บริโภคเพราะหวังความสะดวกสบายหรือความเอร็ดอร่อยทางตา หู จมูก ลิ้น และกายเท่านั้น แต่ยังต้องการมีตัวตนใหม่จากการบริโภคด้วย เช่น บริโภคเพื่อเป็นคนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นผู้หญิงเก่ง เพื่อเป็นคนทันโลก ฯลฯ ด้วยเหตุนี้สินค้าแบรนด์เนมจึงสำคัญมาก เพราะมันช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้ดูดีและทำให้รู้สึกว่ามีตัวตนใหม่ที่โก้เก๋นี้ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วกับสังคมบริโภคอย่างอเมริกาหรือญี่ปุ่น แต่สังคมไทยแตกต่างจาก 2 ประเทศตรงที่ว่า ขณะที่คนอเมริกันและญี่ปุ่นแม้จะใฝ่เสพใฝ่บริโภค แต่เขาก็ใฝ่ผลิต คือมีความขยันขันแข็งด้วย ส่วนคนไทยนั้นไม่ค่อยมีความใฝ่ผลิต อยากได้อะไร ก็คิดแต่ว่าทำอย่างไรถึงจะได้มาโดยไม่เหนื่อย ไม่ต้องออกแรง ก็เลยนิยมทางลัด เช่น เล่นพนัน เล่นหวย พึ่งพาไสยศาสตร์ หนักกว่านั้นคือขโมย โกง หรือคอร์รัปชั่น สรุปคือเป็นสังคมบริโภคที่ล้าหลังมาก 2. คิดว่านิตยสารฉลาดซื้อมีความหมายกับสังคมบริโภคนิยมมากน้อยแค่ไหน นิตยสารฉลาดซื้อมีประโยชน์ตรงที่ช่วยให้คนบริโภคอย่างฉลาด คือซื้อของอย่างรู้ค่าและเหมาะสมกับราคา ทำให้มีสติยั้งคิด ไม่หลงไปตามกระแสโฆษณา และหันมาช่วยเหลือกันเอง ประเด็นหลังนี้สำคัญมาก เพราะบริโภคนิยมมีแนวโน้มให้ผู้คนอยู่อย่างตัวใครตัวมัน ไม่ช่วยเหลือกัน ไม่รวมกลุ่มกันเพื่อปกป้องสิทธิของตัวเอง แต่นิตยสารฉลาดซื้อช่วยให้ผู้บริโภคมีเวทีและพื้นที่ที่จะแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ และปรึกษาหารือกัน 3.หากท่านเป็นบก.ฉลาดซื้อ คิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ หากเป็นบก.ฉลาดซื้อ อาตมาจะเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับ “สุขได้แม้ไม่ซื้อ” คือนอกจากซื้ออย่างฉลาดแล้ว เราควรฉลาดที่จะไม่ซื้อด้วย อาตมาจะเพิ่มคอลัมน์เรื่อง “หนึ่งสัปดาห์ในชีวิตที่ไม่ซื้อ” เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ของคนที่ไม่ซื้ออะไรเลยตลอดหนึ่งอาทิตย์ แล้วเขาอยู่อย่างไรโดยที่มีความสุขด้วย อาจจะเชิญชวนคนดังหรืออาสาสมัครมาทดลองอยู่แบบนี้ ต่อไปก็อาจเพิ่มเป็น “หนึ่งเดือนในชีวิตที่ไม่ซื้อ” นอกจากนั้นก็จะมีคอลัมน์เกี่ยวกับการผลิตสิ่งของด้วยตัวเอง ที่เหมาะกับคนในเมือง จากนั้นก็จะขยายไปสู่แนวคิดเรื่อง “สุขได้เพราะไม่ซื้อ” คือลงเรื่องราวเกี่ยวกับคนที่มีความสุขเพราะไม่หลงติดในบริโภคนิยม สุขเพราะปลอดจากความอยากซื้อ 10. หมอวิชัย โชควิวัฒน์ ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไรเป็นสังคมบริโภคนิยมเกือบจะสุดขั้วเลย ในประเทศอย่างสหรัฐอเมริกานี่นะ เขาเป็นบริโภคนิยม แต่เขาก็ส่งเสริมคนให้ผลิตด้วย แต่ของไทยเราเนี่ยนะส่งเสริมคนให้บริโภค แต่ไม่ส่งเสริมการผลิต แล้วการส่งเสริมการบริโภคนั้นก็เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ท่ามกลางระบบการคุ้มครองประชาชนด้านบริโภคที่อ่อนแอมาก 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน มีความหมายน้อย สังคมไทยเป็นสังคมที่เน้นการพูดคุยไม่เน้นอ่าน เพราะอากาศมันร้อนคนก็ไม่อยากอุดอู้อยู่ในบ้านอ่านหนังสือ ไม่เหมือนประเทศหนาวที่หลบหนาวอยู่ในบ้าน เพราะฉะนั้นเขาก็จะส่งเสริมการอ่านมากกว่าบ้านเรา ถ้ามองย้อนไปในอดีตบ้านเราแต่โบราณ วัฒนธรรมการถ่ายทอดความรู้เป็นแบบมุขปาฐะ คนที่รู้เยอะเขาจะเรียกว่าพหูสูตร เป็นพวกที่ฟังมาก ไม่ใช่อ่านมาก เพราะฉะนั้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 178 สถานการณ์ อาหาร GMO ในเยอรมนี

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการร่างกฎหมายจีเอ็มโอ (GMO- Genetically Modified Organism) หรือร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ ที่ผลักดันโดยกลุ่มผู้สนับสนุนจีเอ็มโอและใกล้ชิดกับบรรษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติผ่านการเห็นชอบโดยคณะรัฐมนตรี แล้ว กำลังถูกเสนอไปสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันเชื่อว่าจะผ่านการพิจารณาโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยเร็ว กฎหมายฉบับนี้จะเป็นใบผ่านเพื่อเปิดทางสะดวกให้กับการปลูกพืชจีเอ็มโอในประเทศไทย โดยเปิดช่องโหว่ให้บรรษัทที่ทำการทดลองจีเอ็มโอในภาคสนาม และขายเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอในเชิงพาณิชย์ไม่ต้องรับผิดชอบผลกระทบที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางอาหาร และผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังมีประเด็นที่ควรปรับปรุง เพราะมีหลายข้อที่ไม่สอดคล้องกับหลักการสากลในพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ และพิธีสารเสริมนาโงย่า-กัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการรับผิดและชดใช้ความเสียหาย เช่น กรณีผลกระทบจากกรณีจีเอ็มโอนั้น ในพิธีสารฯ ครอบคลุมถึงการคุ้มครองผลกระทบทางสังคมเศรษฐกิจ และอนุญาตให้ใช้ดุลพินิจตามสมควรได้ แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ แต่ในร่างกฎหมายระบุว่า ต้องใช้ข้อมูลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนแล้วเท่านั้น สำหรับประเทศเยอรมนี ที่ประชาชนมากกว่าร้อยละ 80 ไม่ต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มี GMO ก็ตกอยู่ในฐานะมัดมือชก ซึ่งก็ยังถูกบังคับให้บริโภคทางอ้อมเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายของเยอรมนีเข้มงวดมากในเรื่องการติดฉลากผลิตภัณฑ์ที่มี ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ และองค์กรผู้บริโภคก็เรียกร้องให้รัฐบาลแบน อาหารที่มี GMO เป็นองค์ประกอบ   เคยมีกรณีที่รัฐบาลท้องถิ่น ซากเซน อันฮาลต์ (Sachsen Anhalt) เป็นโจทก์ ฟ้องร้องรัฐบาลกลางที่ออกกฎหมายการขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ปลูกพืช GMO และควบคุมอย่างเข้มงวด ในกรณีที่มีการปนเปื้อน การผสมพันธุ์พืชข้ามแปลง เกษตรกรที่ปลูกพืช GMO จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ฝ่ายโจทก์อ้างว่า เป็นการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพ คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี ยืนยันถึงหลักแห่งความปลอดภัยและคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ จึงยกคำร้องของของโจทก์ จนถึงปัจจุบันนี้ พื้นที่การทำการเพาะปลูก พืช GMO ในเยอรมนี เหลือน้อยมาก และไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากถูกต่อต้านจากผู้บริโภคและเกษตรกรที่ให้ความสำคัญกับเกษตรอินทรีย์ เยอรมนีมีคำสั่งประกาศห้ามปลูก ข้าวโพด GMO Mon 810 ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายห้ามแต่ก็มีช่องทางอื่นที่สามารถหลุดรอดเข้ามาได้ จากการนำเข้าผลผลิตทางเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ถั่วเหลือง คาโนลา (พืชสำหรับผลิตน้ำมันพืช) และเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์บางราย ก็ใช้อาหารสัตว์ที่มีส่วนผสมของ GMO เลี้ยงสัตว์ด้วย ในอียูอนุญาตให้ใช้สิ่งมีชีวิตที่ดัดแปลงพันธุกรรม GMO ประมาณ 50 ชนิด ในเยอรมนี รัฐบาลห้ามจำหน่ายพืชผัก เนื้อสัตว์ ที่เป็น GMO ซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์ ยกเว้นอาหารบางชนิดเช่น ช็อคโกแลต จาก อเมริกา ซีอิ๊วในร้านอาเซียนช็อป แต่ต้องติดฉลากว่า GMO ให้เห็นอย่างชัดเจนเรื่องการติดฉลาก หากผลิตภัณฑ์ชนิดใดมีส่วนผสมของ ผลิตภัณฑ์ GMO น้อยกว่า 0.9 % ได้รับข้อยกเว้นไม่ต้องติดเครื่องหมาย GMO สำหรับผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ไม่ว่า จะเป็น เนื้อ นม ไข่ ที่ผลิตจาก สัตว์ ที่เลี้ยงด้วยอาหารสัตว์ GMO ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายมาควบคุมเรื่องฉลาก เนื่องจาก การย่อยของกระเพาะสัตว์ ที่เลี้ยงด้วยพืช GMO สามารถย่อยสลาย DNA ของพืชชนิดนี้ได้ แต่จากผลการศึกษาปัจจุบันมีการตรวจพบ ว่า มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมในสัตว์ที่เลี้ยงด้วย พืช GMO ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ให้รัดกุมยิ่งขึ้น หน่วยงานเฝ้าระวังทางด้านอาหารของเยอรมนี ทำการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ทางอาหารมนุษย์เป็นระยะๆ พบว่า หนึ่งในสี่ ของผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง มี GMO ปนอยู่ พบว่าในน้ำผึ้งที่นำเข้ามาจำหน่ายในเยอรมนี มีการปนเปื้อนของ GMO สำหรับข้าวโพดพบมากถึง 6% และ และพบว่า ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง 7 ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด 3 ตัวอย่างมีการปนเปื้อน GMO สูงกว่าที่กฎหมายกำหนด (ยกตัวอย่าง ชิปข้าวโพด (maize chip) ที่นำเข้าจากฟิลิปปินส์) และยังตรวจพบมะละกอนำเข้ามี่มีการปนเปื้อน GMO (โชคดีที่ วารสารสำหรับผู้บริโภคที่มีสมาชิกมากกว่า หนึ่งแสนราย ไม่ได้ใส่ชื่อประเทศที่ส่งออกไปว่า เป็นประเทศไทย) สำหรับผู้บริโภคที่ตระหนักถึงความเสี่ยงจากผลกระทบทางด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมจากGMO สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจาก GMO ภายใต้ฉลาก GMO free ซึ่งเป็นการติดฉลากแบบสมัครใจ ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ที่ตระหนักและให้คุณค่ากับการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์นั้นจะต้องไม่มีการใช้ ส่วนผสมที่เป็น GMO และต้องรักษามาตรฐานความปลอดภัย ไม่ให้มีการปนเปื้อนของ GMO ในฟาร์มแบบเกษตรอินทรีย์ ในกรณีที่เราจะผลักดันนโยบายเกษตรอินทรีย์ นั้น เราคงต้องเลือกระหว่าง GMO กับ เกษตรอินทรีย์ อย่างชัดเจน ว่าจะเอาแบบไหน สำหรับผมเองในฐานะผู้บริโภค ชัดเจนครับว่า “ไม่เอา GMO” ครับ   (ที่มา วารสาร test 2/2014)  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point