ฉบับที่ 189 “ทิชชู่เปียก” เลือกใช้เท่าที่จำเป็น

ปัจจุบันนี้มีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายหลากหลายประเภท ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันชนิดหนึ่งก็คือ ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย” หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า “ทิชชู่เปียก” (Wipes) ถือเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอเนกประสงค์ ใช้เช็ดทำความสะอาดได้ทั้งผิวกาย ผิวหน้า ใช้ลบรอยเครื่องสำอาง บางชนิดบางยี่ห้อก็สามารถนำไปทำความสะอาดผิวกายของทารกได้ด้วย หตุผลที่ผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย หรือ ทิชชู่เปียก ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน น่าจะมาจากความรู้สึกของผู้ใช้ที่รู้สึกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนี้สามารถทำความสะอาดได้ดีมีประสิทธิภาพมากกว่าจะใช้แค่กระดาษชำระธรรมดา ทั้งนี้เพราะผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ มีส่วนประกอบหลักคือ “น้ำ” ทำให้เวลาที่เช็ดทำความสะอาดนอกจากคราบสกปรกจะถูกเช็ดออกได้หมดจดมากกว่าแล้ว ยังทำให้ผิวของผู้ใช้รู้สึกถึงความชุ่มชื่น นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของสารลดแรงตึงผิว สารฆ่าเชื้อโรค สารที่ช่วยบำรุงผิว จึงอาจทำให้ผู้บริโภคมั่นใจและนิยมมากกว่ากระดาษทิชชู่แต่การใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบของสารเคมีในกลุ่มของสารที่ใช้ฆ่าเชื้อ (กลุ่ม Antiseptics หรือสารเคมีที่ใช้ทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่อยู่ภายนอกร่างกายสิ่งมีชีวิต ไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อ) แม้ว่าจะเป็นสารที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้เพราะผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่เป็นอันตราย แต่ผิวของแต่ละคนไม่เหมือนกันอาการแพ้จากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงอาจเกิดขึ้นได้นอกจากนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกาศว่าพบผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ มีบางตัวอย่างไม่ผ่านมาตรฐานด้านจุลชีววิทยาจำนวน 2 ตัวอย่าง(จาก 44 ตัวอย่าง) คิดเป็นร้อยละ 4.5 เนื่องจากมีจำนวนรวมของแบคทีเรีย ยีสต์ และ รา ที่เจริญเติบโตโดยใช้อากาศมากกว่า 1,000 cfu/g ซึ่งอาจมีสาเหตุจากกระบวนการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะ จึงต้องระมัดระวังในการใช้ให้ถูกวิธี ฉลาดซื้อ ฉบับนี้จะพาไปดูผลการเปรียบเทียบของผลิตภัณฑ์ “ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย” ว่าแต่ละยี่ห้อที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด มีจุดดีจุดเด่นอะไรกันบ้าง ผลการสำรวจ-จากการสำรวจพบว่า มีการกล่าวอ้างบนฉลากว่า “ไม่มีการใช้แอลกอฮอล์” แทบจะทุกยี่ห้อ อย่างไรก็ตาม แอลกอฮอล์ที่ถูกอ้างถึง น่าจะหมายถึง เอทานอล (ethanol) ซึ่งมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค แต่ก็เป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวได้ง่าย แต่จากการสังเกตบนฉลากในส่วนประกอบบางยี่ห้อที่อ้างว่าปราศจากแอลกอฮอล์นั้น ก็มีการระบุว่า มีการใช้ Dichlorobenzyl alcohol ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ ชนิดหนึ่งเช่นกัน ซึ่งนิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อในช่องปาก และบางยี่ห้อมีการใช้ Phenoxyethanol ที่มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แต่ถ้าใช้ในปริมาณที่เข้มข้นอาจเกิดอาการแพ้ได้-พบว่า มีการใช้คำอ้างว่า ลดการสะสมของแบคทีเรีย แอนตี้แบคทีเรีย สูตรแอนตี้แบคทีเรีย ในหลายยี่ห้อ แต่มีเพียง 4 ยี่ห้อที่ ระบุลดการสะสมของแบคทีเรีย 99.9% คือยี่ห้อ เดทตอล ซึ่งระบุวิธีการทดสอบ จากผลการทดสอบในหลอดทดลองระยะเวลาสัมผัสเชื้อ E.coli, S.aureus นาน 60 วินาที (เรกคิทท์ เบนคีเซอร์, 2558)ยี่ห้อ เซลล็อกซ์ พิวริฟาย อ้างว่าลดการสะสมของแบคทีเรีย(S.aureus,K.pneumoniae) 99.9% ด้วยเทคโนโลยีเจิร์มเคลียร์พลัส แต่ไม่มีรายละเอียดวิธีการทดสอบเหมือนเดทตอลยี่ห้อ แคริสม่า อเนกประสงค์ อ้างว่า มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อไวรัส รา และแบคทีเรียได้ถึง 99.99% แต่ไม่มีการบอกถึงลักษณะของการทดสอบว่าใช้วิธีการใด อ้างเพียงว่า ผ่านการรับรองโดยนักวิจัยจากห้องทดลองชั้นนำ ใน UK และ VIRUSOLVE+ นอกจากนี้ยังไม่มีการระบุเลขที่จดแจ้งบนฉลากด้วยยี่ห้อ แคริสม่า ผ้าเช็ดผิวแบบเปียก สูตรยับยั้งแบคทีเรีย มีการใช้ภาพเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า Antibacterial 99.9% โดยไม่ระบุวิธีการทดสอบแต่อย่างใด ซึ่งน่าจะเข้าข่ายฉลากที่ชวนให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ โดยกล่าวอ้างเกินจริง ว่าสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ 99.9 %ฉลาดซื้อแนะนำ- ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย หรือ ทิชชู่เปียก จัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องสำอาง ต้องมีการจดแจ้งเพื่อผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทยชัดเจนครบถ้วน มีเลขที่ใบรับแจ้ง รวมถึงระบุผู้ผลิตชัดเจน และควรสังเกตหากใช้แล้วมีอาการแพ้ เป็นผื่นแดง บวม อักเสบ ต้องหยุดใช้ และไปพบแพทย์ทันที- ควรใช้ให้ถูกวิธีและปฏิบัติตามคำเตือนบนฉลาก เช่น ไม่ควรเช็ดรอบบริเวณดวงตา ไม่ทิ้งลงในชักโครก - ชนิดที่ระบุว่า ฆ่าเชื้อโรคได้ 99% ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่อาจก่อให้เกิดเชื้อโรคดื้อยาในสิ่งแวดล้อม - ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย ที่ถึงแม้จะโฆษณาว่า อ่อนโยนต่อผิวทารก ไม่มีแอลกอฮอล์ ไม่มีน้ำหอม ใช้แล้วไม่ระคายเคืองต่อผิว แต่ก็ควรใช้แต่พอดีใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อไม่เป็นการสร้างขยะ และการทิ้งเชื้อโรคไว้ในทิชชู่เปียก ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกใช้วิธีทำความสะอาดแบบธรรมดาอย่างการใช้สบู่และน้ำจะดีกว่า ประหยัดกว่า- มีข้อมูลจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USFDA) ว่า ได้มีการเรียกเก็บผลิตภัณฑ์เช็ดทำความสะอาดแบบเปียกบางยี่ห้อคืนจากท้องตลาด เนื่องจากพบจุลินทรีย์ในกลุ่ม Pseudomonas ปนเปื้อน ดังนั้นก็ใช่ว่า ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดแล้ว จะสะอาดเสมอไป เพราะอาจได้เชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่เพิ่มเข้ามาด้วย - ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายที่ใช้แล้วควรทิ้งทันที เพราะอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค เมื่อเช็ดทำความสะอาดผิวของตัวเราแล้วไม่ควรนำไปเช็ดทำความสะอาดผิวของคนอื่นอีก- การอ้างว่า ผ่านการทดสอบโดยสถาบันหรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังมาแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวนั้น อย่าได้วางใจ 100% เพราะผิวของแต่คนแตกต่างกัน โอกาสที่จะเกิดอาการแพ้จากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีอย่างผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายถือว่ามีความเป็นไปได้ เพราะฉะนั้นควรใช้อย่างระมัดระวัง ปฏิบัติตามคำเตือน เมื่อเกิดอาการแพ้ต้องหยุดใช้ทันทีทิชชู่เปียก ทำลายสิ่งแวดล้อม?ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายที่ใช้แล้ว ถือเป็นขยะที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะย่อยสลายช้า ว่ากันว่าต้องใช้เวลามากกว่า 100 ปีในการย่อยสลาย เช่นเดียวกับพลาสติก มีหลายคนที่นำผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายที่ใช้แล้วทิ้งลงในชักโครก ซึ่งการเป็นต้นเหตุให้เกิดการอุดตันในท่อระบายน้ำ อย่างที่ประเทศอังกฤษบรรดาบริษัทด้านระบบประปาต่างรบตัวกันออกแคมเปญ “อย่าทิ้งทิชชู่เปียกลงในชักโครก” ส่วนในอเมริกาก็มีกรณีฟ้องร้องให้บริษัทผู้ผลิตทิชชู่เปียกจำนวน 6 บริษัท ยกเลิกข้อความบนผลิตภัณฑ์ที่บอกว่า “ทิ้งลงชักโครกได้” เพราะเมื่อทิ้งลงไปแล้ว ตัวทิชชู่เปียกไม่ได้ถูกย่อยสลาย แถมจะไปอุดตันตามท่อ ถ้าออกไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติก็จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมสารประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย1.  น้ำ ใช้เพื่อทำเป็นตัวทำละลายสารต่างๆ ถือเป็นส่วนประกอบหลัก ในฉลากผลิตภัณฑ์อาจจะใช้คำที่หลากหลายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น water, Puriffed water, Pure Water และ Aqua2.   สารที่ใช้ฆ่าเชื้อโรค ที่พบบ่อย Ethanol, Dichlorobenzyl Alcohol, Benzalkonium Chloride Isopropyl Methylphenol เป็นต้น3. สารลดแรงตึงผิว(Surfactants) มีคุณสมบัติเพื่อช่วยให้สิ่งสกปรกหลุดออกจากพื้นผิวโดยง่าย เช่น lauryl hydroxysultaine และสารลดแรงตึงผิวบางชนิดมีคุณสมบัติทำลายเชื้อโรคพ่วงด้วย ที่พบใช้อยู่ในหลายผลิตภัณฑ์ก็คือ Benzalkonium Chloride นอกจากนี้ยังมีสารที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นอย่าง Panthenol และสารที่ได้จากกรดผลไม้อย่าง Malic Acid (สารสกัดจากแอปเปิล), Citric Acid (สารสกัดจากส้ม) หรือ Ascorbic Acid (วิตามินซี)4.  น้ำหอม ใส่เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมเชิญชวนให้น่าใช้มากขึ้น บนฉลากจะใช้คำว่า Fragance, Perfume หรือ Parfum5.  วัตถุกันเสีย (Preservative) มีคุณสมบัติป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพก่อนกำหนด สารที่นิยมใช้คือ Sodium Benzoate เป็นได้ทั้งวัตถุกันเสียและมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อด้วยเช่นกัน และสารในกลุ่ม Paraben เช่น Methylparaben และ Ethylparaben ซึ่ง พาราเบนเป็นสารที่ยังมีข้อสงสัยในหมู่นักวิจัยว่าอาจเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ก็ยังเป็นสารที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ โดยอ้างว่าปริมาณที่ใช้ในผลิตภัณฑ์อยู่ในปริมาณที่น้อยมากจนไม่น่าส่งผลกระทบใดๆ แต่ก็เริ่มมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจำนวนไม่น้อย ที่เลิกใช้สาร Paraben เพื่อลดความเสี่ยงให้กับผู้บริโภคผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย ทำมาจากผ้าที่มีชื่อเรียกว่า Spunlance Nonwoven เป็นผ้าชนิดที่ไม่มีการถักการทอตามลักษณะโดยทั่วไป แต่เกิดจากการยึดติดกันของเส้นใยโดยการใช้สารเคมี และยึดโดยการใช้ความร้อน อัดติด หรือการทำให้เส้นใยยึดติดเกาะกันเองด้วยกระบวนการทางเคมี เชิงกล ความร้อน สารละเลย หรือหลายๆ อย่างรวมกัน มีคุณสมบัติเป็นผ้าที่มีผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม เส้นใยไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่อผู้ใช้ ดูดซึมน้ำและของเหลวได้ดี น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นดี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 149 เช็คปริมาณกระดาษเช็ดหน้า

กระดาษทิชชู่ หรือ กระดาษชำระ ถือเป็นกระดาษอเนกประสงค์ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็มีกระดาษทิชชู่ให้เลือกใช้สารพัดอย่างแบ่งตามประเภทการใช้งาน ทั้งกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า กระดาษเช็ดมือ ฯลฯ คิดว่าคนส่วนใหญ่คงตัดสินใจเลือกซื้อกระดาษทิชชู่จาก ยี่ห้อ ราคา หรือแม้แต่สีสันของบรรจุภัณฑ์ และอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่หลายๆ คนใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อกระดาษทิชชู่ นั้นคือ “จำนวนแผ่นกระดาษทิชชู่” เปรียบเทียบดูว่ายี่ห้อไหนมีจำนวนที่คุ้มค่าคุ้มราคากว่ากัน แต่จะมีใครมั้ย? ที่เคยลองตรวจสอบดูว่าจำนวนกระดาษทิชชู่ที่อยู่ในกล่องกับตัวเลขที่ระบุบนฉลากข้างกล่องถูกต้องตรงกันหรือเปล่า ฉลาดซื้อเราจึงขอรับอาสาเช็คความถูกต้องของกระดาษทิชชู่ โดยเราเลือกกระดาษเช็ดหน้าชนิดบรรจุกล่องมาลองนับกันแบบแผ่นต่อแผ่นว่าแต่ละยี่ห้อที่เรานำมาสำรวจมีปริมาณแผ่นกระดาษเช็ดหน้าตรงกับที่แจ้งไว้หรือเปล่า   วิธีการทดสอบ เราใช้อาสาสมัคร 3 คน เพื่อตรวจนับจำนวนแผ่นกระดาษเช็ดหน้า อาสาสมัครทั้ง 3 คนจะนับกันคนละ 1 ครั้งต่อ 1 ตัวอย่าง เท่ากับว่าแต่ละตัวอย่างเราจะทำการตรวจนับจำนวนแผ่นกระดาษเช็ดหน้าถึง 3 ครั้ง เพื่อตรวจสอบจำนวนและทวนความถูกต้อง ผลการทดสอบ เป็นเรื่องที่น่าดีใจที่กระดาษเช็ดหน้าทุกยี่ห้อที่เรานำมาสำรวจจำนวนแผ่นกระดาษ พบว่าทั้งหมดตรงตามจำนวนที่ระบุไว้ในรายละเอียดข้างกล่อง แถมฉลาดซื้อยังพบว่ามีหลายยี่ห้อให้จำนวนกระดาษมาเกินกว่าที่ระบุเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น ยี่ห้อ เชลล็อกกระดาษเช็ดหน้าโรชี่ ที่ระบุจำนวนไว้ว่า 150 แผ่น แต่จากการสำรวจเรานับจำนวนได้ 154 แผ่นทั้ง 3 ครั้ง นอกจากนี้ยังมียี่ห้อ ซิลค์ ที่เรานับจำนวนได้ 124 แผ่น แต่ข้างกล่องระบุไว้ 120 แผ่น, ยี่ห้อ เลดี้สก๊อตต์ ที่นับจำนวนได้ 152 แผ่น ขณะที่ข้างกล่องระบุไว้ 150 แผ่น และยี่ห้อ เทสโก้ (กล่องเล็ก) ที่นับได้ 52 แผ่น แต่ระบุจำนวนที่ข้างกล่องไว้ 50 แผ่น ถือว่าเป็นกำไรของผู้บริโภค ตารางแสดงผลการสำรวจจำนวนแผ่นกระดาษเช็ดหน้า เปรียบเทียบกับจำนวนที่แจ้งไว้บนบรรจุภัณฑ์ ชื่อสินค้า จำนวนที่นับได้ จำนวนที่ระบุบนผลิตภัณฑ์ ขนาดแผ่น วัน/เดือน/ปีที่ผลิต ราคา (บาท) เชลล็อกกระดาษเช็ดหน้าโรชี่ 154 150 - 27 03 13 42 เลดี้สก๊อตต์ 152 150 - 16 04 13 - คุ้มค่า 150 150 20x20 ซม. 04 04 56 18.50 บิ๊กซี 150 150 20x20 ซม. 14 02 56 - แฮปปี้บาท 150 150 20x20 ซม. 30 03 56 - คลีเน็กซ์ 150 150 - 07 04 13 54 ซิลค์ 124 120 - 13 04 13 27 สก็อต 120 120 - 14 04 13 94 เทสโก้ กล่องเล็ก 52 50 13x20 ซม. 02 01 13 42   ฉลาดซื้อแนะนำ การเลือกซื้อกระดาษชำระ -กระดาษชำระที่ดี เนื้อของกระดาษแต่ละแผ่นต้องมีสีที่สม่ำเสมอกัน -ไม่มีรอยตัด ฉีกขาด (ยกเว้นรอยปะสำหรับฉีก) -ไม่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในกระดาษ -กระดาษเช็ดหน้า กระดาษเช็ดปาก กระดาษเช็ดมือ และกระดาษชำระ ถือเป็นสินค้าควบคุมฉลาก -บนฉลากต้องแสดงขนาดความกว้าง – ยาว ของแผ่นกระดาษ เป็นเซนติเมตร -ถ้าในฉลากมีการระบุประเภทของกระดาษ เช่น “กระดาษเช็ดหน้า” “กระดาษเช็ดปาก” “กระดาษเช็ดมือ” หรือ “กระดาษชำระ” กระดาษนั้นก็ต้องมีคุณลักษณะที่ตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) กำหนดไว้ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของกระดาษ -เพราะฉะนั้นเราควรใช้กระดาษชำระให้ถูกต้องตามประเภทการใช้งาน เพราะกระดาษแต่ละชนิดถูกผลิตออกมาเพื่องานที่แตกต่างกัน ความหนานุ่ม ความยืดหยุ่น และการดูดซับน้ำ รวมถึงเรื่องการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จึงมีความแตกต่างกัน ที่มา: ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2526) เรื่อง กำหนดกระดาษเช็ดหน้า กระดาษเช็ดปาก กระดาษเช็ดมือ และกระดาษชำระ เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก   ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- การแสดงปริมาณสินค้าบนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม การแสดงปริมาณสินค้าบนฉลากถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริโภคอย่างเราควรรู้ ลองมาดูกันดีกว่าว่าแบบไหนคือการแสดงปริมาณสินค้าบนฉลากหรือบนผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องเหมาะสมได้ใจผู้บริโภค 1.ต้องแสดงปริมาณสุทธิหรือจำนวนที่แท้จริงของสินค้า โดยต้องไม่รวมน้ำหนักของสิ่งที่ใช้บรรจุหรือสิ่งที่ห่อหุ้มอยู่ 2.ต้องแสดงปริมาณตามมาตราชั่ง มาตราตวง หรือมาตราวัด ในระบบเมตริกหรือแสดงเป็นหน่วย (กรัม, มิลลิกรัม, ชิ้น, แผ่น ฯลฯ) แล้วแต่ชนิดของสินค้าหีบห่อ โดยใช้ตัวเลขไทยหรือตัวเลขอารบิคและอักษรไทย 3.มีข้อความภาษาไทยว่า “ปริมาณสุทธิ” หรือที่มีความหมายเช่นเดียวกัน อยู่หน้าปริมาณของสินค้า 4.แสดงปริมาณของสินค้าไว้บนฉลาก บรรจุภัณฑ์ ให้สามารถมองเห็นได้ง่ายและชัดเจน ตัวเลขและตัวอักษรมีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร และต้องติดอยู่ถาวรไม่ลบเลือน 5.แสดงปริมาณของสินค้าทุกแห่งให้ตรงกันในกรณีที่มีการแสดงปริมาณไว้หลายแห่ง 6.ในกรณีที่เป็นสินค้าที่เป็นห่อใหญ่แล้วบรรจุมีสินค้าชนิดเดียวกันที่มีปริมาณเท่ากัน ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป และแต่ละห่อสามารถขายแยกต่างหากจากห่อใหญ่ได้ การบรรจุสินค้าห่อใหญ่ดังกล่าวจะต้องแสดงจำนวนห่อเล็กและปริมาณของสินค้าในห่อเล็กด้วย ที่มา : ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง กำหนดชนิดและวิธีการแสดงปริมาณของสินค้าหีบห่อ พ.ศ. 2543 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- รู้มั้ยว่า? ปริมาณสินค้าที่แจ้งบนฉลากกับปริมาณสินค้าจริงๆ อาจไม่ตรงกันเสมอไป!!! แม้เรื่องของปริมาณสินค้าจะเป็นเรื่องสำคัญที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต้องแจ้งกับผู้บริโภค แต่บางครั้งปริมาณของสินค้าจริงๆ กับปริมาณที่แจ้งไว้อาจไม่ตรงกันก็ได้ แต่อย่าเพิ่งตกใจ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้นั้นเป็นเพราะกฎหมายเขาอนุโลมให้การแสดงปริมาณสุทธิของสินค้าต่างๆ สามารถแสดงปริมาณแบบเผื่อเหลือเผื่อขาดได้ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------   อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด สำหรับสินค้าที่แสดงปริมาณโดยนับเป็นหน่วย ปริมาณที่แสดงบนหีบห่อ อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดร้อยละของปริมาณที่แสดง ไม่เกิน 35 หน่วย - มากกว่า 35 หน่วย แต่ไม่เกิน 50 หน่วย 3 มากกว่า 50 หน่วย ขึ้นไป 2   อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด สำหรับสินค้าที่แสดงปริมาณเป็นมาตราชั่ง ปริมาณที่แสดงบนหีบห่อ อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดร้อยละของปริมาณที่แสดง ไม่เกิน 200 กรัม 6 มากกว่า 200 กรัม แต่ไม่เกิน 1 กก. 3 มากกว่า 1 กก. แต่ไม่เกิน 5 กก. 2 มากกว่า 5 กก. แต่ไม่เกิน 15 กก. 1.5 มากกว่า 15 กก. แต่ไม่เกิน 50 กก. 1 ที่มา : ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง กำหนดชนิดและวิธีการแสดงปริมาณของสินค้าหีบห่อ พ.ศ. 2543

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 102 กระดาษชำระ ใช้ให้ถูกงาน…เรื่องไม่บานปลาย

เรื่องทดสอบ 2 กองบรรณาธิการ ถ้าพูดถึง ทิชชู่ (tissue) หรือกระดาษทิชชู่ ส่วนใหญ่เราจะเหมารวมว่า เป็นกระดาษสีขาว เนื้อบางเบาที่มีคุณสมบัติซึมซับน้ำได้ดี ถือเป็นสินค้าจำเป็นประจำครัวเรือน สำนักงาน ร้านอาหารหรือเกือบจะเป็นสถานที่ทุกแห่งที่มีคนอยู่อาศัยก็ว่าได้ ทิชชู่ช่วยให้คนส่วนใหญ่รู้สึกสะอาดขึ้นเมื่อเกิดสภาพที่จำเป็นต้องเช็ดหรือเก็บคราบสกปรกต่างๆ จริงๆ แล้วกระดาษทิชชู่มีด้วยกันหลายประเภท โดยแบ่งตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ กระดาษชำระ (toilet tissue) กระดาษเช็ดหน้า (facial tissue) กระดาษเช็ดปาก (napkin) กระดาษเช็ดมือ (hand towel) และกระดาษอเนกประสงค์ แต่ดูเหมือนว่าคนไทยเราจะใช้กระดาษทิชชู่โดยไม่ค่อยได้แบ่งชนชั้นวรรณะมากนัก กระดาษชำระบางทีก็ไปตั้งอยู่บนโต๊ะอาหารได้ หรือใช้เช็ดหน้าเช็ดตาได้ ห่ออาหารก็เคยเห็น โดยส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยได้นึกรังเกียจแต่อย่างใด ด้วยความที่เราใช้กระดาษชำระ ชำระกันไปเสียเกือบทุกอย่างดังที่กล่าวมา เลยมีคนตั้งข้อสงสัยว่า กระดาษชำระมันสะอาดปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน หลังจากไปพลิกคู่มือมาตรฐานอุตสาหกรรม กระดาษชำระดูแล้ว ก็พบว่า ตามมาตรฐานจะให้ความสำคัญในเรื่องการซึมซับน้ำ การย่อยสลาย ขนาด ความยาวและจุดสกปรก คือไม่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในม้วนกระดาษชำระ ซึ่งเท่าที่ดูด้วยตาเปล่าเราก็ไม่พบเห็นสิ่งผิดปกติใดๆ แต่ในระดับที่มองไม่เห็นล่ะ มันมีสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ด้วยหรือไม่ ฉลาดซื้อส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์กระดาษชำระทั้งเกรดเอ เกรดบี จำนวน 24 ตัวอย่าง เข้าห้องทดสอบของบริษัท ห้องปฏิบัติการกลางประเทศไทย จำกัด เพื่อทดสอบหาปริมาณจุลินทรีย์ชนิดก่อโรค ได้แก่ Bacillus cereus. Staphylococcus aureus, Escผลการทดสอบพบว่า ทุกยี่ห้อมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ แต่ในปริมาณน้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดโรคภัยใดๆ herichia coli, Salmonella, Yeast and mold และ Total Plate Count หรือการตรวจปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวอย่าง แต่ก็ถือว่ามี ดังนั้นเราก็ควรใช้งานกระดาษชำระให้ถูกประเภท นิสัยที่ชอบเอากระดาษชำระไปเช็ดทุกอย่าง(นอกจากเช็ดก้น) เช็ดหน้า เช็ดมือ เช็ดผลไม้ เช็ดจาน เช็ดช้อน ฯลฯ อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในวัตถุหรือพื้นผิวที่เราเอากระดาษชำระไปเช็ดได้ และหากทิ้งไว้เป็นเวลานานเมื่อมีสภาวะที่เหมาะสมเชื้อก็สามารถขยายตัวได้เป็นจำนวนมากๆ จนส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน ดาวโหลดตาราง สำเร็จรูป ดาวโหลด file ตาราง แบคทีเรียที่มักก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารเป็นพิษ ส่วนใหญ่เกิดจาก Salmonella, Staphylococcus aureus, Clostridium perfringens, รองลงมาได้แก่ Bacillus cereus, Shigella, Campylobacter และ Clostridium botulinum Campylobacter, Escherichia coli  แบคทีเรียเมื่อได้รับอาหาร น้ำ อากาศ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม จะสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วมาก ในระยะเวลาไม่นานเพียง 2-6 ชั่วโมงก็สามารถเพิ่มจำนวนมหึมาจนสร้างปัญหาต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ได้ อย่างไรก็ตามแบคทีเรียจะไม่สร้างปัญหาให้กับมนุษย์มากนัก หากหมั่นชำระล้างร่างกาย มือ ให้สะอาด การรับประทานอาหารต้องเป็นอาหารที่สุก สะอาด ผักผลไม้ที่จะรับประทานสด ก็ต้องล้างน้ำให้สะอาดด้วยเช่นกัน กระดาษชำระสืบประวัติได้ยาวนานไปถึงหลายร้อยปีราวศตวรรษที่ 14 โดยมีความนิยมใช้กันในราชสำนักของจีนแต่ก็เฉพาะบรรดาเชื้อพระวงค์เท่านั้น โดยคนธรรมดาทั่วไปสิ่งของที่นำมาใช้เช็ดก้นหลังปลดทุกข์นั้นก็มีหลายอย่าง ส่วนใหญ่ก็เป็นใบไม้ เศษผ้า ยุคหลังๆ มาหน่อยก็นิยมกระดาษหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ใบปลิวต่างๆ จนมีนักธุรกิจชาวอเมริกันคนหนึ่ง ชื่อนายโจเซฟ กาเย็ตตี้ เป็นคนแรกที่ได้ผลิตกระดาษชำระออกวางขายในปี ค.ศ. 1857 แต่ก็ขาดทุนไปในที่สุดเพราะคนยังนิยมของเดิมคือกระดาษเก่าๆ ที่ไม่ต้องเสียสตางค์ อีก 20 ปีต่อมา สองพี่น้องสกุลสก๊อตจึงได้ผลิตกระดาษชำระออกวางขายอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ชื่อว่า สก๊อตทิชชู่ ในขณะนั้นส้วมชักโครก และห้องน้ำภายในอาคารเริ่มเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง ทำให้คนใช้กระดาษชำระมากขึ้น นอกจากนี้ยังใช้สะดวก เนื้อนุ่มและยังเข้ากับการตกแต่งห้องส้วมอีกด้วย จากนั้นเป็นต้นมา ตลาดกระดาษชำระก็เริ่มเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ กับวิวัฒนาการที่ค่อยๆ พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่กระดาษชำระเคยเป็นของใช้ระดับไฮคลาสสำหรับผู้มีอันจะกิน ปัจจุบันก็กลายมาเป็นสินค้าที่ใครๆ ก็สามารถหาซื้อได้ทั่วไป (ข้อมูลจากหนังสือ 108 ซองคำถาม) Total Plate Count หรือ Standard Plate Count คือ การตรวจสอบจำนวนประชากรจุลินทรีย์ เป็นการตรวจปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวอย่าง การตรวจสอบนั้นถ้าพบว่ามีจุลินทรีย์มากเกินค่ามาตรฐาน หรือค่าที่กำหนดให้มีได้ในผลิตภัณฑ์ แสดงให้เห็นว่าตัวอย่างที่นำมาตรวจสอบไม่ควรนำมาบริโภคหรือนำออกจำหน่าย เช่น น้ำดื่มต้องมีค่าจำนวนประชากรจุลินทรีย์

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point