ฉบับที่ 273 สถานการณ์ผู้บริโภคประจำปี 2566

        มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยสถานการณ์ผู้บริโภคปี 2566 ได้รับเรื่องร้องเรียนและให้คำปรึกษาตั้งแต่เดือน มกราคม-พฤศจิกายน 2566 ดำเนินการสำเร็จ 1,277 เรื่อง จากเคสร้องเรียนทั้งหมด 1,614 เรื่อง โดยแบ่งปัญหาของผู้บริโภค 9 เรื่องเด่นใน 4 หมวด ได้แก่ สินค้าและบริการทั่วไป, บริการขนส่งและยานพาหนะ, อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย, การเงินการธนาคารและประกัน เรื่องที่ได้รับร้องเรียนมากที่สุด ได้แก่ หมวดสินค้าและบริการทั่วไป มีมากถึง 630 เรื่อง หรือคิดเป็นร้อยละ 39 จากทุกข์ของผู้บริโภคทั้งหมดที่ร้องเรียนเข้ามา     9 เรื่องเด่น ประจำปี 2566    เรื่องที่ 1        ·     หมวดบริการขนส่งและยานพาหนะ        M-Flow ตามที่มีนโยบายของกระทรวงคมนาคม เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนทางด่วนและมอเตอร์เวย์ โดยการใช้เทคโนโลยี AI พัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางด้วยกล้องตรวจบันทึกภาพป้ายทะเบียนรถ ผ่านระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) บนเส้นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ของกรมทางหลวง  ได้แก่ ด่านทับช้าง 1 ด่านทับช้าง 2 ด่านธัญบุรี 1 ด่านธัญบุรี 2 นั้น          มูลนิธิฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่ใช้บริการ และประสบปัญหาเรื่องการถูกเรียกเก็บค่าปรับทางด่วน  โดยมีเรื่องร้องเรียนดังนี้         1. อัตราค่าปรับแพง ระบบ M-Flow กำหนดให้ผู้ใช้บริการชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันใช้บริการ หากไม่ชำระภายในระยะเวลาดังกล่าวจะถูกปรับ 10 เท่าของค่าธรรมเนียม โดยให้ผู้ใช้บริการดำเนินการชำระเงิน หากไม่เห็นด้วยให้เข้ามาชี้แจงต่อกรมทางหลวงภายในระยะเวลาที่กำหนด (ให้ระยะเวลาเข้าไปชี้แจงประมาณ 8 วัน) หากไม่ดำเนินการชี้แจงจะถูกปรับจากการไม่มาชี้แจงตามกำหนดเวลา (200 บาทต่อกรณี) ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าอัตราค่าปรับไม่เหมาะสมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการ เนื่องจากผู้ใช้บริการไม่ได้มีเจตนาที่จะไม่ชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง         2. ไม่ทราบว่าเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางที่ใช้ระบบ M-Flow ผู้ใช้บริการบางคนเดินทางมาจากต่างจังหวัด ทำให้ไม่ทราบว่า หากใช้เส้นทางของระบบ M-Flow แล้วต้องชำระค่าบริการหรือไม่ หรือต้องชำระค่าบริการอย่างไร หรือบางรายอาจถูกรถเบียดเปลี่ยนเส้นทางไม่ได้ จนหลุดเข้าไปใช้เส้นทางดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจ แล้วไม่ทราบว่าต้องดำเนินการชำระเงินอย่างไร ซึ่งกว่าจะได้รับหนังสือแจ้งเตือน ก็เลยกำหนดระยะเวลาที่ต้องชำระไปแล้ว         3.ป้ายแสดงไม่ชัดเจน จำนวนป้ายแสดงน้อย และมีขนาดเล็ก หากไม่สังเกต หรือไม่คุ้นเส้นทางก็จะไม่ทราบว่าเส้นทางข้างหน้าเป็นเส้นทาง M-Flow         4.ไม่รู้ยอดอัตราค่าบริการ และช่องทางการชำระ ไม่มีการประชาสัมพันธ์ช่องทางการชำระเงินให้ผู้ใช้บริการรับทราบ ซึ่งผู้ใช้บริการบางรายไม่ทราบด้วยว่าได้ใช้งานผ่านเส้นทาง M-Flow แล้ว         5.หนังสือแจ้งให้ชำระค่าบริการมาถึงช้า ทำให้เกินกำหนดชำระต้องเสียค่าปรับ ผู้ใช้บริการบางรายแจ้งว่า หนังสือแจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง ส่งมาถึงก่อนวันถึงกำหนดเพียง 1 วัน โดยไม่ได้ระบุช่องทางการชำระเงินมาในหนังสือ แต่ระบุเพียงว่า “ท่านสามารถชำระผ่านเว็บไซต์ระบบ M-Flow  (www.mflowthai.com)” หรือบางรายได้รับหนังสือหลังจากเกินกำหนดชำระแล้ว ทำให้ต้องเสียค่าปรับจำนวน 10 เท่า         6.ระบบโต้แย้งค่าผ่านทาง ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ ระบบ M-Flow ได้จัดให้มีการส่งเหตุผลการโต้แย้งค่าผ่านทางได้ ผ่านเว็บไซต์ https://mflowthai.com/mflow/dispute และเหตุผลในการโต้แย้งค่าผ่านทาง ไม่ครอบคลุมปัญหาที่ผู้ใช้บริการได้รับจริง โดยในเว็บไซต์จะมีเหตุผลการโต้แย้งให้เลือกได้ดังนี้         (1) มีหนังสือยกเว้นภายหลังผ่านทาง         (2) ชำระเงินแล้วมีหนังสือแจ้งเตือน/ขอคืนเงิน/ขอคืนแต้ม         (3) ไม่ได้ผ่านทาง         (4) ข้อมูลซื้อขายรถไม่ตรงกับกรมขนส่งทางบก         (5) ซื้อขายรถแบบโอนลอย         (6) รถสวมทะเบียน         (7) รถหาย/รถโดนขโมย         (8) การผ่านทางซ้ำ (การสร้างรายการผ่านทางซ้ำ)         (9) ขนาดรถไม่ถูกต้อง         (10) เคลื่อนย้ายรถส่งซ่อมการดำเนินการ         1. ทำหนังสือขอให้ดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการใช้งานระบบ M-FLOW พร้อมแนบรายชื่อผู้เสียหาย (มพบที่.119/2565)                                                                      2.ทำหนังสือ/ข้อเสนอ ขอให้ดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการใช้งานระบบ M-FLOW (มพบที่ 272/2566)    เรื่องที่ 2        ·     หมวดสินค้าและบริการทั่วไป        งานวิ่ง Ultra Trail Unseen Koh Chang 2023 ถูกยกเลิก แต่บริษัท ทีละก้าว จำกัด ไม่คืนเงินซึ่งจะจัดในวันที่ 21-22 ม.ค. 66 จัดที่โรงเรียนสลักเพชร เกาะช้างใต้ จ.ตราด โดยสมัครทางช่องทาง Google Form 2023 ผู้เสียหายได้ชำระค่าสมัครเรียบร้อย ต่อมาวันที่ 20 ม.ค.2566 เพจ Ultra-Tail Unseen Koh Chang ประกาศแจ้งยกเลิกงานดังกล่าว ทำให้เกิดความเสียหาย ผู้ร้องจึงประสงค์ให้บริษัทคืนเงินค่าสมัคร โดยได้แจ้งขอคืนเงินไปยังบริษัทฯแล้ว แต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการคืนเงินแต่อย่างใด        การดำเนินการ         1. บริษัท ทีละก้าว จำกัด จัดการแข่งขันวิ่งเทรลเกาะช้าง จังหวัดตราด ในวันที่ 21-22 มกราคม 2566 และได้มีการประกาศยกเลิกฉุกเฉิน ผ่านเพจ ""Ultra-Trail Unseen Koh Chang"" ที่เป็นของผู้จัดงาน ประกาศเพียง 1 วัน และแจ้งเพียงช่องทางเดียว         2. 3 มิถุนายน 2566 เนื่องจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ทราบปัญหาการยกเลิกงานวิ่งดังกล่าวจึงได้ตรวจสอบเพจเฟซบุ๊ก Ultra-Trail Unseen Koh Chang ของ ผู้จัดงานวิ่ง พบว่าโพสต์ล่าสุด 18 เมษายน 2566 ได้โพสต์แจ้งการคืนเงินเฉพาะค่าสมัครวิ่งให้กับผู้เสียหายตามกำหนดรอบเรียงตามคิวที่ยื่นเรื่อง แต่จนถึงต้นเดือนมิถุนายน ยังมีผู้เสียหายจำนวนมาก ที่ยื่นเรื่องตามคิวแรกแจ้งว่า ยังไม่ได้รับเงินคืน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงประกาศให้ผู้เสียหายงานวิ่งเทรลเกาะช้าง ส่งหลักฐานเพื่อนำสู่การไกล่เกลี่ยกับผู้จัดให้เร่งจ่ายเงินคืน พร้อมส่งหลักฐานประกอบการร้องเรียน กรณี Ultra Trail Unseen Koh Chang 2023 (งาน UTKC 2023) (21-22 มกราคม 2566) ดังนี้            (1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน            (2) หลักฐานการสมัครวิ่ง, หมายเลขประจำตัวนักวิ่ง             (3) หลักฐานการโอนเงิน            (4) หลักฐานการจองที่พัก หรือค่าเสียหายอื่นๆ         มีผู้ร้องเรียนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจำนวน 18 ราย         3. 13 กรกฎาคม 2566 เชิญบริษัทฯมาไกล่เกลี่ย ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในฐานะศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ซึ่งดำเนินการไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 จากการไกล่เกลี่ย ผู้ร้องและบริษัทฯได้ทำบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาท ดังนี้             (1)  บริษัทฯจะดำเนินการตรวจสอบรายชื่อนักวิ่งที่ตกหล่นและอัพเดตรายชื่อนักวิ่งให้สามารถตรวจสอบได้ พร้อมระบุลำดับการคืนเงินผ่านเพจ ""Ultra-Trail Unseen Koh Chang"" และบริษัทฯจะดำเนินการตอบข้อความผู้ร้องและเคลื่อนไหวข้อมูลทางเพจ ภายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2566             (2)  บริษัทฯจะดำเนินการประสานนักวิ่งเพื่อขอข้อมูลที่พัก รวบรวมเพื่อประสานสภาอุตสาหกรรม ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่ประสานไว้             (3)  บริษัทฯจะดำเนินการคืนเงินแก่นักวิ่งตามรอบที่ลงทะเบียนเดิม โดยจะเริ่มคืนรอบที่ 2 ภายใน 2 เดือนนับแต่วันที่มาไกล่เกลี่ย ผู้ร้องตกลงรับข้อเสนอที่บริษัทฯแจ้ง             (4)  13 กันยายน 2566 ผู้เสียหายรอบการคืนเงิน 16 กรกฎาคม – 16 สิงหาคม 2566 แจ้งมายังมูลนิธิฯว่ายังไม่ได้รับการคืนเงินจากบริษัทฯตามที่ได้ทำบันทึกไว้ จึงประสานไปยังบริษัทฯแจ้งว่าจะดำเนินการตรวจสอบและคืนเงินแก่ผู้ร้องภายในวันที่ 22 กันยายน 2566 เมื่อครบกำหนดผู้ร้องกลับไม่ได้รับเงินคืนตามสัญญา และตรวจสอบจากผู้ร้องพบว่ายังไม่มีผู้ร้องคนใดได้รับการคืนเงิน            (5)  12 ตุลาคม 2566 ติดต่อบริษัทฯสอบถามความคืบหน้าการคืนเงิน บริษัทฯขอให้ส่งรายชื่อผู้เสียหายอีกครั้ง มูลนิธิฯจึงส่งอีเมล์พร้อมแนบรายชื่อผู้เสียหายอีกครั้ง            (6)  18 ตุลาคม 2566 บริษัทฯแจ้งว่าได้รับอีเมล์และรายชื่อผู้เสียหายแล้ว บริษัทฯจะดำเนินการคืนเงินให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 แต่จนถึงปัจจุบันผู้เสียหายยังไม่ได้รับการการคืนเงินและไม่ได้รับการติดต่อกลับจากบริษัทฯ ทั้งนี้มูลนิธิฯไม่สามารถติดต่อบริษัทฯได้เช่นเดียวกัน ***  ซึ่งผู้เสียหายสามารถใช้สิทธิทางกฎหมายเพื่อดำเนินคดีกับผู้ประกอบการได้ โดยสามารถแจ้งความประสงค์ในการดำเนินคดีพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง มายังมูลนิธิฯเพื่อช่วยเหลือในการดำเนินคดีได้     เรื่องที่ 3        ·     หมวดสินค้าและบริการทั่วไป        การปรับผังเวทีคอนเสิร์ต Mark Tuan ‘the other side’ Asia Tour 2023 in Thailand บัตรราคา 6,500 บาท ในรอบการแสดงที่กรุงเทพ และ บัตรราคา 4,500 บาท ในรอบการแสดงที่ขอนแก่น  ทำให้ผู้ซื้อบัตรคอนเสิร์ตที่ไม่พอใจการจัดเวทีรูปแบบใหม่         การดำเนินการ         ดำเนินการเจรจาแทนผู้ร้อง โดยผู้จัดงาน บริษัท ไบร์ท แพนเทอร์ จำกัด ได้ติดต่อมาที่มูลนิธิฯ บริษัทฯจะดำเนินการคืนเงินแก่ผู้ร้องที่ประสงค์จะขอเงินคืน หากผู้ร้องจะขอเงินคืนสามารถแจ้งชื่อ-สกุล เบอร์ติดต่อ/อีเมล์ และให้มูลนิธิฯดำเนินการประสานไปยังบริษัทฯ แต่ทั้งนี้ในส่วนของการเปลี่ยนผังบริษัทฯแจ้งว่าจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้     เรื่องที่ 4        ·     หมวดอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย            บริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) สร้างคอนโด 4 ปีไม่เสร็จตามสัญญา ไม่คืนเงิน โดยมีโครงการดังนี้             1.โครงการ RISE Phahon - Inthamara : ขณะนี้สร้างเสร็จถึงชั้น 2 แต่บอกว่าสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ 31 ธันวาคม 2564             2.โครงการ The Excel ลาซาล 17 : ขณะนี้ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ แต่บอกว่าสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ 31 ธันวาคม 2564             3.โครงการ The Excel Hideaway รัชดาห้วยขวาง : ขณะนี้ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ แต่บอกว่าสร้างเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ : 31 ธันวาคม 2562            4.โครงการ The Excel Hideaway สุขุมวิท 50 : ผู้เสียหายแจ้งขอยกเลิกสัญญาตั้งแต่ก่อนก่อสร้างแล้วเสร็จ ( ซึ่งเดิมแจ้งว่าสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์มีกำหนด กุมภาพันธ์ 2563)             5. โครงการ Impression เอกมัย สร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ : มิถุนายน 2563  โดยมูลนิธิฯดำเนินการช่วยยื่นฟ้องคดีที่ศาลแพ่ง จำนวน 22 คดี , และยื่นฟ้อง ที่ ศาลแขวงพระนครเหนือ จำนวน 10 คดี         การดำเนินการ         ดำเนินการช่วยเหลือผู้ร้องโดยการฟ้องคดี                               1. ฟ้องที่ศาลแพ่ง จำนวน 22 คดี                                              2.ยื่นฟ้อง ที่ศาลแขวงพระนครเหนือ จำนวน 10 คดี     เรื่องที่ 5     ·     หมวดสินค้าและบริการทั่วไป        Asia Society Fitness สาขารามคำแหง119 ปิดให้บริการ สมาชิกที่สมัครในสาขาดังกล่าวไม่สะดวกไม่สามารถไปใช้บริการในสาขาอื่น บริษัทฯไม่กำหนดแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหา  ผู้บริโภคต้องการยกเลิกสัญญาและขอเงินคืน บริษัทฯแจ้งว่าจะดำเนินการคืนเงินภายใน30 วัน เมื่อครบกำหนดบริษัทฯไม่คืนเงินและไม่สามารถติดต่อบริษัทฯได้         การดำเนินการ        ทำหนังสือขอให้คืนเงิน (มพบที่ 147/2566) แต่ไม่ได้รับการตอบกลับจากบริษัทฯ     เรื่องที่ 6    ·     หมวดสินค้าและบริการทั่วไป          ถูกว่าจ้างให้ซื้อมือถือ  ปัจจุบันมือถือกับค่ายผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มีการทำโปรโมชั่นร่วมกัน ด้วยการจำหน่ายมือถือในราคาพิเศษ แต่แลกด้วยการทำสัญญาเปิดใช้บริการอย่างน้อย 1 ปี (ซิมรายเดือน) จุดนี้จะมีช่องให้มีคนหาผลประโยชน์เข้าตนเองได้ คือ การจ้างบุคคลทั่วไป ใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องรู้จักกัน เพียงแค่อายุ 18 ปีขึ้นไปและมีบัตรประชาชน ซื้อมือถือและเปิดใช้บริการแทนตน โดยแลกกับการจ่ายเป็นค่าจ้างให้ 300-500 บาท มองเผินๆ ก็น่าจะดีเพราะไม่ได้ทำอะไรมาก แค่ซื้อเครื่องให้และรับเงินค่าจ้างสบายๆ แต่อาจลืมมองไปว่าคนที่ลงลายมือชื่อทำสัญญาใช้บริการนั้นคือเจ้าของบัตรประชาชน” ดังนั้นในกรณีที่เกิดการค้างชำระค่าบริการ หรือโทรศัพท์ถูกนำไปใช้ก่ออาชญากรรม คนที่ต้องรับผิดชอบก็คือคนที่ทำสัญญา     การดำเนินการ         ตามพระราชกำหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ระบุว่า เจ้าของบัญชีม้า หรือเบอร์ม้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ         รวมถึงผู้ที่เป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใดๆ เพื่อให้มีการซื้อ ขาย ให้เช่า หรือให้ยืม บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ บัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งลงทะเบียนผู้ใช้บริการในนามของบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 - 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000 - 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ         ทั้งนี้หากบุคคลที่ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้เปิดบัญชี ให้รีบดำเนินการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที และใช้เอกสารที่แจ้งความไปติดต่อขอยกเลิกสัญญากับผู้ให้บริการ     เรื่องที่ 7    ·     หมวดการเงินการธนาคาร/ประกัน         ทำประกันแบบสะสมทรัพย์ 20 ปีแต่ได้รับเงินปันผลไม่ครบตามสัญญา ผู้ร้องสมัครทำประกันแบบสะสมทรัพย์ 20 ปี ตรีคูณ  (มีเงินปันผล)  จำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท เริ่มทำสัญญาวันที่ 8 สิงหาคม 2545 กรมธรรม์ครบสัญญาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ผู้ร้องแจ้งว่าก่อนทำสัญญาพนักงานขายแจ้งแก่ผู้ร้องว่าหากทำสัญญาครบ 20 ปี จะได้รับเงินปันผลจำนวน 500,000 บาท  ปรากฏว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาบริษัทฯแจ้งว่าจะจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ร้องจำนวน 70,000 บาท ผู้ร้องจึงทำเรื่องร้องเรียนโต้แย้งการจ่ายเงินปันผล บริษัทฯพิจารณาเสนอการจ่ายเงินเพิ่มเติมจากเดิมแก่ผู้ร้องเป็นจำนวน 180,000 บาท แต่ผู้ร้องไม่รับข้อเสนอเนื่องจากไม่เป็นตามสัญญาที่ระบุว่าผู้ร้องจะต้องได้รับเงินปันผลจำนวน 500,000 บาท  หลังจากรับเรื่องร้องเรียนมูลนิธิฯทำหนังสือเชิญบริษัทฯมาเจรจาแต่ไม่ได้รับการติดต่อกลับใดๆจากทางบริษัทฯ จึงดำเนินการฟ้องคดีเพื่อช่วยเหลือผู้ร้อง         การดำเนินการ         1.ทำหนังสือเชิญบริษัทฯมาไกล่เกลี่ย ( มพบ. 038/2566)บริษัทฯไม่มาไกล่เกลี่ย         2.ดำเนินการช่วยเหลือผู้ร้องโดยการฟ้องคดี          เรื่องที่ 8    ·     สินค้าและบริการทั่วไป         ร้องเรียนกรณีถูกบริษัท  มิเนอรัล บิวตี้ จำกัด  เสนอขายเครื่องสำอางค์ของ Aqua Mineral แพงเกินจริง         การดำเนินการ         เจรจาตามความประสงค์ที่ร้องเรียน     เรื่องที่ 9    ·     หมวดสินค้าและบริการทั่วไป          ธุรกิจนำเที่ยว บริษัท อ้วนผอม อะราวด์ เดอะ เวิลด์ จำกัด หรือทัวร์ “อ้วน ผอม จอมเที่ยว” ยกเลิกทัวร์ ทำให้มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก และเกิดความเสียหายกว่า 50 ล้านบาท         การดำเนินการ         ประสานกรมการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยวแจ้งกรณีถูกบริษัท อ้วนผอม อะราวด์ เดอะ เวิลด์ จำกัด ยกเลิกทัวร์ให้ผู้เสียหายเตรียมเอกสารหลักฐาน 5 รายการ ดังนี้         1. รายการนำเที่ยวที่ซื้อ         2. ใบเสร็จรับเงิน         3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ชำระเงิน         4. หลักฐานการแจ้งยกเลิกการเดินทาง (ถ้ามี)         5. เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อความการแชตพูดคุยต่างๆ         ส่งทางอีเมล tgtcenter@tourism.go.th หรือ เดินทางมาร้องเรียนได้ตนเอง ที่กรมการท่องเที่ยว (บริเวณโถงกลาง) ชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ         หลังจากส่งเอกสารครบถ้วนนิติกรจะติดต่อกลับไปยังผู้ร้องทั้งนี้กรมจะดำเนินการเชิญบริษัทฯมาเจรจาหากบริษัทฯไม่มาเจรจาหรือเจรจาไม่ได้ กรมจะนำเงินกองทุนคุ้มครองธุรกิจนำเที่ยวมาชดเชยแก่ผู้เสียหาย และจะดำเนินการส่งเรื่องให้สคบ.ดำเนินการฟ้องคดี         สามารถติดตามการแถลงข่าว สถานการณ์ผู้บริโภค ปี 2566 ได้ที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค | มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงผลงานปี2566 (ffcthailand.org)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 273 ยกเลิกทัวร์และได้เงินมัดจำคืน

        การจองทัวร์ไปท่องเที่ยวเมื่อถึงกำหนดแล้วได้ท่องเที่ยวตามที่ใจหวังนับเป็นโชคดี แต่หากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นแล้ว การจ่ายเงินซื้อทัวร์ท่องเที่ยวก็ทำให้เงินสูญไปได้เฉยเลยเช่นเดียวกัน   การศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อปกป้องรักษาสิทธิของตนเองก่อนทำการซื้อทัวร์จึงมีความสำคัญอย่างมาก เช่น กรณีของคุณส้มริน         เรื่องราวของคุณส้มรินเริ่มเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา คุณส้มรินได้จองทัวร์ทัศนศึกษาสถานที่สำคัญในพระคัมภีร์ไบเบิล ณ ประเทศอิสราเอล กับสถาบันที่ส่งเสริมศาสนาคริสต์แห่งหนึ่ง  โดยมีกำหนดเดินทางวันที่ 4-10 ม.ค. 2567  จำนวน 3 คน ราคามัดจำคนละ 15,000 บาท รวมทั้งสิ้น  45,000 บาท อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอลตั้งแต่ช่วงกลางเดือนตุลาคมและรัฐบาลอิสราเอลแจ้งว่าสงครามจะยืดเยื้อไปอีกอย่างน้อย 2 เดือน คุณส้มรินและครอบครัวจึงเป็นกังวลต่อความปลอดภัยในการเดินทางจึงได้ติดต่อขอยกเลิกทัวร์และขอคืนค่ามัดจำ ซึ่งผู้จัดทัวร์ได้แจ้งคุณส้มรินว่าได้นำเงินชำระค่ามัดจำกับสายการบินแอล อัลอิสราแอร์ไลน์ (LY) ไปแล้ว ซึ่งสายการบินได้แจ้งว่า กรุ๊ปทัวร์ที่เดินทางตั้งแต่เดือน ต.ค. - พ.ย. สามารถเลื่อนทัวร์ได้ แต่ยกเลิกไม่ได้ ส่วนกรุ๊ปทัวร์ที่เดินทางในปี 2567 ไม่สามารถเลื่อนหรือยกเลิกการเดินทางได้         คุณส้มรินเห็นว่าการจำเป็นต้องยกเลิกทัวร์เป็นเหตุมาจากภัยสงครามไม่ได้เกิดปัญหาจากตัวเธอ จึงร้องเรียนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ  แนวทางการแก้ไขปัญหา         ฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ให้คำแนะนำกับคุณส้มรินว่าหากผู้ซื้อทัวร์แจ้งขอยกเลิกให้ผู้จัดทัวร์ทราบล่วงหน้า 30 วัน (หรือเกิน 30 วันไปแล้ว) และยังไม่ได้รับเงินคืนสามารถแจ้งเพิ่มเติมได้ที่กรมการท่องเที่ยว เนื่องจากประกาศคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เรื่อง  หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดอัตราการจ่ายเงินค่าบริการคืนให้แก่นักท่องเที่ยว พ.ศ. 2563 ได้กำหนดไว้ในข้อ 4 (1) ว่า ‘ถ้านักท่องเที่ยวแจ้งยกเลิกการเดินทางล่วงหน้าให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวทราบไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันที่นำเที่ยวให้คืนในอัตราร้อยละหนึ่งร้อยของเงินค่าบริการ’ และในข้อ 5 ยังระบุว่า ‘ในกรณีมีเหตุให้ต้องยกเลิกการนำเที่ยวตามที่ได้โฆษณาไว้ โดยมิใช่ความผิดของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจ่ายเงินค่าบริการคืนแก่นักท่องเที่ยวในอัตราร้อยละหนึ่งร้อยของเงินค่าบริการ’         อย่างไรก็ตามเมื่อมูลนิธิฯ ได้รับเรื่องของคุณส้มรินแล้วจึงติดต่อไปยังสถาบันผู้จัดทัวร์ดังกล่าว ซึ่งทางสถาบันฯ ได้แจ้งว่า “ปัจจุบันผู้จัดทัวร์ได้ติดต่อกลับคุณส้มรินแล้ว และแจ้งว่าถ้าคุณส้มรินต้องการเดินทางต่อสามารถเลื่อนออกไปก่อนได้จนกว่าจะพร้อม แต่ถ้าไม่ประสงค์ที่จะเดินทางต่อผู้จัดทัวร์จะคืนเงินมัดจำให้คุณส้มรินทั้งหมด”         ดังนั้นประกาศคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เรื่อง  หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดอัตราการจ่ายเงินค่าบริการคืนให้แก่นักท่องเที่ยว พ.ศ. 2563 เป็นกฎหมายที่สำคัญอย่างยิ่งที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแนะนำให้ประชาชนศึกษาอย่างละเอียดก่อนการซื้อทัวร์ท่องเที่ยวทุกครั้ง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 267 จองรถทัวร์แต่ขึ้นไม่ได้ เพราะรถออกก่อนกำหนดเวลา

        จู่ๆ ถูกเท มันก็จะเคว้งคว้างหน่อยๆ นี่คือเรื่องราวของ “คุณเมฆ”ที่จองตั๋วรถทัวร์ผ่านเว็บไซต์ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งพอถึงเวลากลับไม่เจอรถที่จุดจอดตามข้อมูลที่ได้รับแจ้งล่วงหน้าเพราะ “รถทัวร์ออกไปก่อนเวลา” เสียแล้ว ทำให้คุณเมฆต้องรีบซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อเดินทางกลับ เพราะต้องมาทำงานให้ทัน รวมมูลค่าความเสียหายที่ซื้อตั๋วรถทัวร์แต่ไม่ได้รับบริการและซื้อตั๋วเครื่องบินเกือบ  5,500 บาท         ช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา “คุณเมฆ” เดินทางไปเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ต  ขากลับวันที่ 16 เมษายน  2566 ได้จองตั๋วรถทัวร์ผ่านเว็บไซต์ของบริษัทแห่งหนึ่งเพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ เป็นรถทัวร์ Premium first class VIP24  ตั๋วราคา 1,192 บาท  นัดหมายขึ้นรถเวลา 18.10 น. ตามที่พนักงานของบริษัทรถทัวร์โทรศัพท์มาแจ้งล่วงหน้า   “คุณเมฆ” ไปถึงสถานีขนส่งก่อนเวลารถออกด้วยซ้ำเผื่อไว้เพราะไม่ชำนาญทาง แต่กลับไม่พบรถทัวร์คันที่ตนเองจองไว้  สอบถามรถทัวร์คันอื่นๆ รวมถึงผู้คนที่อยู่ในบริเวณนั้น  บอกตรงกันว่ารถคันที่ผู้เสียหายจองไว้  ขับออกไปแล้ว คุณเมฆงงใจมาก ฉันมาก่อนเวลาด้วยซ้ำทำไมออกไปก่อน ทำไมไม่รอ นี่ทิ้งฉันใช่ไหม เรียกว่าสารพัดคำถามผุดขึ้นมาในหัวอยู่ตลอดเวลา         คุณเมฆพยายามติดต่อหาบริษัทขนส่งรายนี้ทุกช่องทางเพื่อแก้ปัญหา ทว่าติดต่อไม่ได้เลย  เมื่อล่วงเลยมา 1 ทุ่มเศษ  ตั๋วรถทัวร์บริษัทอื่นๆ ก็ไม่มีขายแล้ว  คุณเมฆจึงจำต้องซื้อตั๋วเครื่องบิน ราคา 4,250 บาท และขึ้นเครื่องเวลา 21.20 น. เพื่อให้ทันกลับมาทำงานที่กรุงเทพในวันรุ่งขึ้น “ผมทำอะไรได้บ้าง” คือคำขอที่ส่งให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค “เอาเปรียบกันเกินไป ผมต้องการค่ารถทัวร์คืนและชดเชยค่าเครื่องบินให้ผมด้วย”  แนวทางการแก้ไขปัญหา                เบื้องต้นทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคได้ให้คำแนะนำ ดังนี้  (1) ทำหนังสืออย่างเป็นทางการ  ส่งถึงบริษัททัวร์เพื่อเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด (2) รวบรวมหลักฐานนำไปแจ้งความที่สถานีตำรวจใกล้บ้าน เพื่อดำเนินการทางคดีร้องเรียนเรื่องรถโดยสารสาธารณะกับกรมการขนส่งทางบก ขณะเดียวกันทางมูลนิธิฯ ได้ออกหนังสือถึงบริษัททัวร์ให้เร่งดำเนินการชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้บริโภค  โดยขอรับทราบผลดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษรและได้ทำหนังสือถึงกรมการขนส่งทางบก ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลบริการขนส่งสาธารณะเพื่อหาข้อตกลงในการเยียวยาผู้บริโภคต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 267 ‘ทัวร์เกาหลี’

        ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคโดย ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ได้รับเรื่องร้องเรียนปัญหาของประชาชนจากการซื้อบริการทัวร์ท่องเที่ยวยังประเทศเกาหลี ทำให้สูญเสียเงิน หรือไม่ได้ท่องเที่ยวตามที่หวังไว้ หลายลักษณะ         ข้อมูลจากองค์การส่งเสริมท่องเที่ยวเกาหลี (KTO) ในเดือน มิถุนายน ปี 2023 เผยว่า ปัจจุบันนักท่องเที่ยวไทยเดินทางท่องเที่ยวเกาหลีมากถึง 570,000 คน/ปี สูงเป็นลำดับที่ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน และเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และไต้หวันแม้ประชาชนส่วนใหญ่จะนิยมเดินทางท่องเที่ยวคนเดียวมากขึ้นต่อเนื่อง แต่การท่องเที่ยวกับครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อนขนาดใหญ่ การเดินทางโดยการซื้อทัวร์ยังมีความสำคัญ และยังได้รับความนิยม เรื่องเด่นฉบับนี้รวมประเด็นสำคัญที่ประชาชนควรได้รู้ก่อนตัดสินใจซื้อบริการทัวร์ท่องเที่ยวหลายลักษณะปัญหาที่พบจากเรื่องร้องเรียนกรณีซื้อทัวร์เกาหลีที่เข้ามายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค        -          จองทัวร์ไปท่องเที่ยวประเทศเกาหลีระหว่างวันที่ 13-17 มีนาคม 2563 แต่ถูกเลื่อนเพราะจากสถานการณ์โควิด จ่ายเงินครบจำนวน 139 ,491 บาท แต่ไม่ได้ท่องเที่ยวต่อมาได้เจรจาไกล่เกลี่ย บริษัทได้เสนอเป็นเครดิตท่องเที่ยวจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2567         -          ซื้อทัวร์แบบกลุ่มไปเที่ยวเกาหลีกับเพื่อนร่วมงาน แต่ลงทะเบียนระบบ K-ETA (ระบบอนุมัติการเดินทางออนไลน์สำหรับชาวต่างชาติท่ีต้องการเข้าประเทศเกาหลีใต้โดยไม่ต้องขอวีซ่า) ไม่ผ่าน บริษัททัวร์ไม่ได้แจ้งเงื่อนไขในสัญญาว่าถ้าลงทะเบียนไม่ผ่าน ไม่สามารถเดินทางได้        -          ซื้อทัวร์ไปเที่ยวกับครอบครัวและญาติๆ รวมจำนวน 9 คน แต่ลงทะเบียนระบบ K-ETA ผ่านเพียง 4 รายเป็นเด็กเล็ก 3 รายและมีผู้ใหญ่เพียงคนเดียวและไม่ได้เป็นผู้ปกครองของเด็ก จึงจำต้องยกเลิกทัวร์ ถูกบริษัททัวร์หักเงินไปจำนวนมาก        -          จองทัวร์เพื่อไปเที่ยวลานสกีที่เกาหลี แต่เมื่อไปเที่ยวกลับไม่ได้ไปที่ลานสกีเพราะปิดบริการ บริษัทจึงพานักท่องเที่ยวไปเที่ยวชดเชยในจุดอื่นๆ แต่นักท่องเที่ยวไม่พอใจเพราะไม่ได้เล่นสกีตามที่ทัวร์ได้โฆษณาไว้ จึงร้องขอเงินคืนในส่วนที่ทัวร์ไม่ได้จัดโปรแกรมให้เล่นสกี  เจาะเรื่องจริง ศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อทัวร์         กรณีของคุณพฤกษ สามกษัตริย์ ได้ซื้อทัวร์ไปเที่ยวแบบกลุ่มกับครอบครัวและญาติพี่น้อง รวมจำนวน 9 ราย ในราคาโปรโมชั่น 1 แถม 1 จากราคา 34,999 เฉลี่ยลดลงมาที่รายละ 17,499.5 บาท เป็นโปรแกรมท่องเที่ยวแบบ 5 วัน 3 คืน  คุณพฤกษซื้อทัวร์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และมีกำหนดเดินทางท่องเที่ยวในช่วงกลางเดือนมีนาคม         ปัญหาของคุณพฤกษเริ่มเกิดขึ้นในช่วงของการลงทะเบียนระบบ K-ETA (ระบบอนุมัติการเดินทางออนไลน์สำหรับชาวต่างชาติท่ีต้องการเข้าประเทศเกาหลีใต้โดยไม่ต้องขอวีซ่า) ซึ่งคุณพฤกษได้เลือกให้บริษัททัวร์เป็นผู้ดำเนินการให้ แต่แล้วจากการลงทะเบียนมีผู้ลงทะเบียนผ่านเพียง 4 ราย คือ คุณพฤกษ และลูกๆ ของญาติ เหตุนี้จึงทำให้คุณพฤกษ์ไม่อาจเดินทางไปท่องเที่ยวได้ จำต้องยกเลิกโปรแกรมทัวร์         อย่างไรก็ตามเมื่อย้อนกลับไปแรกเมื่อบริษัทเสนอขายโปรแกรมทัวร์ให้แบบโปรโมชั่นคุณพฤกษ์ได้สอบถามถึงการตรวจ K-ETA  ตั้งแต่แรกเจ้าหน้าที่ของบริษัททัวร์กลับให้ข้อมูลว่า “ใช่ค่ะ ต้องทำค่ะ แต่จะรบกวนจองทัวร์เข้ามาก่อนได้ไหม  เพราะว่าเดี๋ยวโปรฯ มันจะหมด” และขอให้คุณพฤกษรีบตัดสินใจ โอนเงินให้บริษัทแบบเต็มจำนวน คือ 151,796 บาท และย้ำถึงเรื่องการลงทะเบียนระบบ K-ETA  ว่า “ไม่น่ามีปัญหาค่ะ เดี๋ยวจัดการให้เลย” “ไม่น่ามีปัญหานะคะ เพราะว่าไม่เคยมีใครมีประวัติอะไรเลย ดังนั้นทำคิดว่าน่าจะผ่าน”         เมื่อผลการลงทะเบียน K-ETA  ไม่ผ่าน คุณพฤกษจึงขอคืนเงินค่าทัวร์ที่ได้จ่ายไปเต็มจำนวน บริษัททัวร์จึงแจ้งว่าจะหักเงินไว้รวมจำนวน 33,732 บาท ในจำนวนนี้เป็นเงินที่บริษัทจะหักจากผู้ที่ลงทะเบียนK-ETA  ผ่านร้อยละ 50 ส่วนผู้ที่ไม่ผ่านจะถูกหักรายละ 500 บาท          แน่นอนว่า คุณพฤกษไม่พอใจที่ถูกหักเงินไว้จำนวนมาก ทั้งที่บริษัทยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ แต่เมื่อศึกษาข้อมูลจากเอกสารของโปรแกรมท่องเที่ยวที่บริษัทได้ให้ไว้ คุณพฤกษพบว่า หลักเกณฑ์ ข้อกำหนดเหล่านี้ถูกระบุไว้ทั้งหมดในเงื่อนไขท้ายโปรแกรม เพียงขณะที่ซื้อทัวร์การสื่อสารของพนักงานบริษัทได้เร่งเร้าให้รีบซื้อและรีบจ่ายเงินเต็มจำนวน นี่คือความผิดพลาดที่ผู้ซื้อทัวร์อาจไม่ทันเฉลียวใจที่คุณพฤกษ์อยากบอกต่อเพราะประสบการณ์ครั้งนี้ทำให้สูญเงินไปได้เปล่าๆ จำนวนมากและยังไม่ได้เที่ยว!           "เขาเขียนชัดเจนครับ  คือเขาระบุเลยนะว่า กรณีที่เราจ่ายเงินแล้ว และลงทะเบียนไม่ผ่าน เขาจะคืนเงินให้ 50% แต่กรณีผ่านแล้วมีการเปลี่ยนแปลง หรือไม่ไปเขาจะหักไว้ครึ่งนึงแล้วกำหนดเวลาคุณจะต้องทำลงทะเบียน K-ETA เข้าประเทศเกาหลีใต้ให้ผ่าน คือในเอกสารเขามี แต่การขายทัวร์ของเจ้าหน้าที่ของเขาไม่สื่อสารเราแบบนี้"         "ผมอยากให้บริษัททัวร์สื่อสารกับนักท่องเที่ยว กับผู้ซื้อทัวร์ให้ชัดเจน  สื่อสารความเสี่ยงให้ชัดเจนเลยว่า เขาจะไม่ได้รับเงินคืนเรื่องอะไรบ้าง ให้เน้นเรื่องนี้ตัวแดงบันทึกไว้ทุกที่เลย"  เมื่อเกิดปัญหาจากการซื้อทัวร์ท่องเที่ยว ประชาชนควรทำอย่างไร         เมื่อมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  มูลนิธิฯ จะแนะนำให้ประชาชนผู้เดือดร้อนติดต่อไปยังสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศน์กลาง กรมการท่องเที่ยว พร้อมเอกสารหลักฐานต่างๆ ในการจองทัวร์ดังกล่าว  โดยกรมการท่องเที่ยวจะดำเนินการดังนี้        o  การสอบข้อเท็จจริง โดยจะนัดหมายบริษัท และประชาชนผู้ซื้อบริการท่องเที่ยวเข้ามาสอบข้อเท็จจริง นายทะเบียนจะพิจารณาข้อสาระสำคัญฝ่ายใดเป็นผู้ทำให้เกิดความเสียหายให้เกิดขึ้น เช่น บริษัทนำเที่ยวปฎิบัติตามสัญญาในการนำเที่ยวหรือไม่ หรือมาจากเหตุส่วนตัวของผู้ซื้อทัวร์เอง        o  เมื่อสอบข้อเท็จจริงแล้วจะเจรจาไกล่เกลี่ย หากบริษัทเป็นผู้ทำให้ความเสียหายเกิดขึ้น เช่น คีย์ข้อมูลของนักท่องเที่ยวผิดพลาด ทำให้การลงทะเบียน K-ETA ไม่ผ่าน นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางไปได้ บริษัทย่อมต้องคืนเงินให้แก่นักท่องเที่ยว        o  กรณีบริษัททัวร์ไม่จ่ายเงินคืน หรือหักเงินนักท่องเที่ยวไว้ส่วนใด บริษัทมีหน้าที่ที่จะต้องแสดงหลักฐานว่ามีค่าใช้จ่ายส่วนใดเกิดขึ้นอันเป็นความเสียหายต่อบริษัทอย่างชัดเจน หากไม่สามารถระบุได้ บริษัทต้องคืนเงินให้กับนักท่องเที่ยว        o  หากฝ่ายบริษัทเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายกับนักท่องเที่ยว แต่ไม่ยอมชดใช้ความเสียหายให้กับนักท่องเที่ยว นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้หักเงินหลักประกันของบริษัททัวร์นำมาชดเชยความเสียหายให้กับนักท่องเที่ยวไปพรางก่อน หากเงินหลักประกันยังไม่ครอบคลุมความเสียหายทั้งหมด กรมการท่องเที่ยวจะส่งเรื่องนี้ไปที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อพิจารณาเรื่องร้องเรียน หาทางออกเพื่อชดเชยความเสียหายของนักท่องเที่ยวในส่วนที่เหลือต่อไป        o  ข้อแนะนำจากกรมการท่องเที่ยวก่อนที่ประชาชนตัดสินใจซื้อโปรแกรมทัวร์คือให้ศึกษาเงื่อนไขท้ายโปรแกรมอย่างละเอียด เพราะส่งผลต่อส่วนได้ ส่วนเสียกับนักท่องเที่ยวอย่างมาก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 267 “ผมคิดทุกคนก็จะมีความเสี่ยงที่จะเจอเรื่องเดียวกันนี้ เพราะการตรวจข้อมูล K-ETA ใช้ AI ผมจึงอยากแบ่งปันเรื่องนี้”

        ประเทศเกาหลีเป็นอีกประเทศหนึ่งที่คนไทยนิยมไปเที่ยวมาก  นิยมกันไปทั้งแบบเดี่ยวและแบบกรุ๊ปทัวร์ โดยการท่องเที่ยวกับครอบครัว กลุ่มเพื่อน การซื้อบริการทัวร์ท่องเที่ยวย่อมสร้างความสะดวกให้มากกว่า จึงได้รับความนิยมค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามทัวร์เกาหลีในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากการซื้อทัวร์ท่องเที่ยวไปประเทศเกาหลีใต้หลายกรณีด้วยกัน หลายรายประสบปัญหาจากการซื้อทัวร์เกาหลี ทำให้สูญเงินหรือไม่ได้ท่องเที่ยวตามที่หวังไว้หลายลักษณะ  ทุกคนมีสิทธิ์ฉบับนี้ ฉลาดซื้อได้รับความกรุณาจาก คุณพฤกษ สามกษัตริย์ มาแบ่งปันเรื่องราวปัญหาที่ได้พบเจอจากการซื้อทัวร์เกาหลีใต้  มาติดตามกันเลยค่ะ เหตุการณ์เริ่มเกิดขึ้นอย่างไร         เริ่มที่ผมกับครอบครัวและเพื่อนๆ ตั้งใจจะไปเที่ยวเกาหลี ครอบครัวผมมีลูกและภรรยา ครอบครัวของเพื่อนก็เหมือนกัน รวม 3 ครอบครัว เราจะไปกัน 9 คน  ตัวผมไปมาหลายรอบแล้ว แต่เพราะจากสถานการณ์โควิดเราทราบว่ามีความยุ่งยาก ญาติพี่น้องเลยบอกว่า งั้นเราไปซื้อทัวร์แล้วกัน การไปเองมันเดินทางลำบาก ถ้าไปกับทัวร์ เราได้ขึ้นรถบัส มีเซอร์วิส บริการดี  แล้วราคาก็ถือว่ายุติธรรม  โปรแกรมที่ผมจะไปคือเดินทางช่วงกลางเดือนมีนาคม  5 วัน 3 คืน  บริษัททัวร์ที่เกิดปัญหาขึ้น ผมจองทัวร์กับเขาเพราะว่า มีคนที่รู้จักเคยไปมาแล้ว และแนะนำมาพอติดต่อไป บริษัทบอกว่า ตอนนี้เรามีโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 จากราคาต่อคนที่ 30,999 บาท เฉลี่ยลดลงมาที่ 17,499  จัดโปร 4 ชุด บวกกับอีก 1 คน  ราคาคำนวณทั้งหมดคือ 151,796 บาท         ทีนี้ผมทราบว่า ก่อนเดินทางต้องมีลงทะเบียน K-ETA เข้าประเทศเกาหลีใต้ เจ้าหน้าที่ของบริษัทเขาก็บอกว่า  “ใช่ค่ะ ต้องทำคะ แต่จะรบกวนจองทัวร์เข้ามาก่อนได้ไหม  เพราะว่าเดี๋ยวโปรมันจะหมด ”เราเลยบอกว่า “ได้ๆ เดี๋ยวผมจะเริ่มโอนตังค์มาให้”   เขาเลยบอกว่า ขอเก็บเต็มจำนวนเลย เพราะว่าเวลาเหลืออีกไม่กี่วันแล้ว ผมเลยโอนเต็มจำนวนไปเลย 151,796 บาท แล้วปัญหาเริ่มเกิดขึ้นเมื่อไหร่        เริ่มเกิดในขั้นตอนลงทะเบียน K-ETA บริษัททัวร์บอกว่า เดี๋ยวเขาทำให้ มันจะได้ผ่านง่ายเป็นมาตรฐานเดียวกันเหมือนกันหมด แล้วเขาก็คิดเงินค่าดำเนินการคนละประมาณ  350 บาท ผมก็ส่งรายละเอียด ทั้ง 9 คนไปให้ คือครอบครัวผมและครอบครัวเพื่อนๆ ไป 3 ครอบครัว ปรากฏลงทะเบียน K-ETA ส่งไป 9 คน  คนที่ผ่าน  มี 4 คนครับ คือมีผมคนเดียวและเด็กอีก 3  คน  กลายเป็นพ่อแม่ของที่เหลือไม่ผ่านกันสักคน ผมเลยบอกว่า “อ้าว แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ทำยังไงถ้าไม่ผ่าน”  เขาก็แนะนำว่า อย่าทำรอบ 2 – 3 เลย   เพราะว่าถ้าทำ จะไม่ผ่านอยู่ดี แล้วทำได้แค่ 3 รอบ การลงทะเบียน K-ETA เข้าประเทศเกาหลีใต้ ครั้งนี้คือบริษัทลงให้           ผมส่งข้อมูลให้บริษัทลงให้  คือผมวางใจเพราะผมไปเที่ยวเกาหลีเองแล้วหลายครั้ง คือเราไม่ค่อยเป็นคนที่น่าสงสัย แล้วน้องๆ คนอื่นๆ ที่ไปด้วยกันคนอื่นๆ เป็นเจ้าของกิจการ ได้รายสูงทุกอย่างโปรไฟล์ดีมากๆ  เขาไปต่างประเทศมาเยอะมาก เพียงแต่ว่ายังไม่เคยเข้าประเทศเกาหลีใต้  ส่วนเด็กๆ เขาไม่มีประวัติอะไร  ผมเลยให้ข้อมูลไป  ทางบริษัททัวร์ก็บอกว่า “ไม่น่ามีปัญหาค่ะ เดี๋ยวจัดการให้เลย” แต่ผู้ใหญ่ไม่ผ่านสักคน  มีผมคนเดียว         แต่ถามว่าลงทะเบียน K-ETA  ไม่ผ่านเพราะอะไร  ผมกำลังสันนิษฐานว่า บางทีรูปไม่ชัดเพราะว่าเขาใช้ AI ตรวจ ไม่ได้ใช้คนตรวจ ผมรู้สึกได้เลยว่าบางรูปมันไม่ตรงปก เพราะเนื่องจากว่า เขาจะให้เราถ่ายรูปหน้าตรงพื้นหลังสีขาว  ใส่เสื้อสีขาวแล้วส่งไป รูปพวกนี้ เราดูด้วยตาเรายังรู้สึกเลยว่าไม่เป็นธรรมชาติ  แต่ทางบริษัททัวร์ที่ทำให้ เขาก็ไม่ช่วยเราติงว่า “พี่คะ รูปมันไม่เคลียร์นะคะ  พี่คะ ช่วยถ่ายรูปใหม่ได้ไหม” จะไม่มีข้อแนะนำใดๆ เลย เขาได้อะไรจากเรา  เขาก็เอาไปทำต่อเลย พอเกิดปัญหา แล้วเริ่มแก้ไขอย่างไร          ผมก็ถามทางเจ้าหน้าที่ว่า สถานการณ์เป็นอย่างนี้แล้วเราต้องทำยังไง  เราผ่านกันแค่ 4 คน  เขาบอกว่า ก็จะต้องไป 4 คน เราบอกว่า “ไม่ได้สิ  ผมจะเอาลูกคนอื่นไปยังไง  พ่อแม่เขาต้องไปด้วย” ทางทัวร์เลยบอกว่า  อย่างนั้นเท่ากับว่าผมยกเลิกซึ่งเงื่อนไขการยกเลิกของเขา คนที่ผ่านคือผมกับเด็กอีก 3  คน จะได้รับเงินคืนแค่ครึ่งเดียว จะหัก 50%  ส่วนคนที่ไม่ผ่านถูกหักรายละ 500 บาท  ผมเลยบอกว่าในความเป็นจริง ทำไมคุณถึงไม่บอกว่าให้ลงทะเบียน K-ETA ก่อนแล้วค่อยจ่ายเงินจองทัวร์ ถูกไหม เพราะว่าถ้าคุณมีเงื่อนไขคืนครึ่งเดียวสำหรับคนที่ผ่าน แล้วถ้าเราจะไปเป็นบางคนมันเป็นไปไม่ได้แน่นอน เขาไม่แจ้ง เขาบอกว่ามันไม่ได้จริงๆ ค่ะ มันเป็นกฎ         ผมจึงแจ้งยกเลิกการเดินทาง ยกเลิกทัวร์และเข้ามาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มาร้องเรียนที่มูลนิธิเพราะรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างไร         ผมคิดว่าเขาควรจะสื่อสารความเสี่ยงให้ผู้ซื้อทัวร์ให้ชัดเจนกว่านี้ ต้องให้ชัดเจนมากๆ ผมติดที่ว่า เขาไม่พูดความเสี่ยงให้เราฟัง และไม่ช่วยเหลือเราในการแบบว่า “เห้ย เดี๋ยวพี่จะเสียเงินฟรีนะ ถ้าทำตรงนี้ไม่ผ่าน”   เขาไม่ช่วยเรา  แล้วอีกกรณีที่สำคัญ พอเกิดเรื่องขึ้นแล้ว ผมคิดว่าช่วยๆ กันได้ เพราะว่าเขาก็ยังไม่ได้ซื้อตั๋วอะไรให้เราเลย เพราะล่วงหน้าเป็นเดือน เราเลยคิดว่าเขาจะคืนเงินให้เราเยอะกว่านี้ ผมจะรู้สึกดีกว่านี้         ถามว่าในเอกสารโปรแกรมการท่องเที่ยวของบริษัทเขาระบุไว้ไหม เขาเขียนชัดเจนครับ  คือเขาระบุเลยนะว่า กรณีที่เราจ่ายเงินแล้ว และลงทะเบียนไม่ผ่าน เขาจะคืนเงินให้ 50% แต่กรณีผ่านแล้วมีการเปลี่ยนแปลง หรือไม่ไปเขาจะหักไว้ครึ่งนึงแล้วกำหนดเวลาคุณจะต้องทำลงทะเบียน K-ETA เข้าประเทศเกาหลีใต้ให้ผ่าน คือในเอกสารเขามี แต่การขายทัวร์ของเจ้าหน้าที่ของไม่สื่อสารเราแบบนี้ มันจะมีแชท ที่ผมส่งรูปเข้าไป ที่ผมสอบถาม แล้วเราจะต้องทำยังไง เขาจะบอกว่าโอนจองก่อน รีบโอน เดี๋ยวหมดโปร คือเขาโทรมา เขาไม่ได้พิมพ์  เขาพิมพ์มาแค่ว่า ช่วยโอนเงินจองก่อนค่ะ เพียงแต่ผมคิดว่า เขาควรจะบอกว่า “คุณลูกค้า ช่วยทำ K-ETAให้ผ่านก่อนนะคะ แค่คนละ 350 บาท ”  แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร เขาไม่แนะนำให้ทำ K-ETA ก่อน เราไม่เชิงปรึกษา เราถามเขาเพราะเห็นในเอกสารว่าต้องทำ เจ้าหน้าที่บอกว่า  “ไม่น่ามีปัญหานะคะ เพราะว่าไม่เคยมีใครมีประวัติอะไรเลย ดังนั้นทำคิดว่าน่าจะผ่าน” ผมเชื่อตามด้วยความคิดแบบนี้ ผมเลยซื้อทัวร์         อีกอย่าง สมมติถ้าผมรู้เงื่อนไขนี้อยู่แล้ว ผมบอกว่า ให้เขาทำ K-ETA ให้ก่อนได้ไหม ในนั้นเขาระบุว่าไม่ได้  เขาจะทำ K-ETA  ให้ต่อเมื่อเราลงทัวร์กับเขาแล้ว  เขาถึงจะมีบริการทำให้ อันนี้เป็นข้อที่ผมรู้สึกว่าผิด จริงๆ คุณต้องทำก่อนสิ  เราถึงจะจ่ายเงินทัวร์ ถึงจะยุติธรรม แต่กลายเป็นเราจ่ายทัวร์  แล้วให้เขาไปทำ ถ้าไม่ผ่าน ก็โดนเงื่อนไข โดนหักเงิน  ผมโดนหักเงินไป 33,732 บาท จนถึงปัจจุบันปัญหาได้รับแก้ไขอย่างไร          ตอนแรกครอบครัวก็บอกว่า เราแจ้งไปที่  สคบ. เลยไหม แต่เงินกว่า 150,000 บาทเกิดจากการรวมกันของหลายครอบครัว   พวกเราหลายคนกลัวว่าเงินจะจม ต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะได้คืน เงินแสนนึงเราเอามาทำอะไรได้มากมาย  ญาติพี่น้องผมบอกว่า ถ้าไม่ได้ไปเกาหลีเขาก็อยากเอาเงินไปเที่ยวประเทศเวียดนาม  ต้องใช้เงินในการทำทริปต่อไป เราเลยจำใจต้องเอาเงินคืนกลับมาให้ได้ก่อน เพราะว่ายังไงเราก็ไปไม่ได้ ยังไงเราก็ต้องทิ้ง  เราก็ยอม แล้วทำเรื่องส่งไปให้ทำเงินคืนให้หน่อย  บริษัทบอกว่าจะคืนให้ภายใน 7 วัน  เราก็รอไปเกือบเดือน กว่าจะได้เงินคืน จนผ่านเวลาที่จะเดินทางไปแล้ว เราตามหลายครั้งจนได้เงินคืน  มาราว 1 แสน 1 หมื่นกว่าบาท   อยากฝากอะไรถึงผู้ที่สนใจจะซื้อทัวร์ไปประเทศเกาหลี         ผมอยากให้บริษัททัวร์สื่อสารกับนักท่องเที่ยว กับผู้ซื้อทัวร์ให้ชัดเจน  สื่อสารความเสี่ยงให้ชัดเจนเลยว่า เขาจะไม่ได้รับเงินคืนเรื่องอะไรบ้าง แบบขอตัวแดง บันทึกไว้ทุกที่เลย แค่ระบุว่า  อันนี้เขาพูดแบบ ก็มีกรณี มีตายาย พ่อแม่และลูกจะไปด้วยกันแต่พ่อแม่ไม่ผ่านเขาก็ไปกับตายายได้ ผมมองว่ามันตลกหรือเปล่า หลายกรณีมันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะไปเที่ยวได้  เอาจริงๆ ครับ ผมคิดทุกคนก็จะมีความเสี่ยงที่จะเจอเรื่องเดียวกันนี้ เพราะการตรวจข้อมูล K-ETA ใช้ AI ผมจึงอยากแบ่งปันเรื่องนี้ ผมเลยคิดว่าง่ายมากเลย  บังคับให้ลูกค้า หรือคนที่จะไปทัวร์ลงทะเบียน K-ETA เข้าประเทศเกาหลีใต้ ให้ผ่านก่อน  วิธีทำให้เรียบร้อยครับ  มีการสื่อสารแนะนำให้ประชาชนเข้าใจว่าจะลงลงทะเบียน K-ETA ให้ผ่านได้อย่างไร ผมคิดว่าต้องมีชุดความรู้ที่ถอดออกแนะนำได้ ทำให้เรามีความเข้าใจที่ชัดเจนมากกว่าที่เป็นอยู่ได้ครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 254 ความเคลื่อนไหวเดือนเมษายน 2565

นายกฯ สั่งปฏิรูปรถเมล์ไทย         5 เมษายน นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญและติดตามความคืบหน้าของโครงการจัดหารถโดยสารพลังงานสะอาดเพื่อมาให้บริการประชาชนในกรุงเทพฯ ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมคาดการณ์ว่า “จะสามารถให้บริการได้ภายในเดือนสิงหาคม 2565”  โดยการปฏิรูปรถเมล์ครั้งนี้ ต้องการให้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะยกระดับมาตรฐานบริการรถโดยสารประจำทาง ซึ่งกรมการขนส่งทางบก จะมีการประเมินผลการประกอบการด้วยดัชนีชี้วัด 12 ข้อ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ รถโดยสารใหม่จะต้องมี GPS  CCTV หรือระบบ E-Ticket เก็บข้อมูลผู้โดยสาร ใช้บริการมากน้อยแค่ไหน ช่วงเวลาไหนผู้โดยสารแน่นหรือคนน้อย หรือช่วงไหนรถติด โดยข้อมูลจะถูกนำมาประมวลผลและวิเคราะห์ด้วยระบบ AI ทำให้สามารถปรับปรุงแก้ไขปัญหาการให้บริการได้อย่างรวดเร็ว โฟม-พลาสติกใช้ครั้งเดียว ห้ามนำเข้าอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช         ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เรื่อง ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟมและบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง นำเข้าเขตอุทยานแห่งชาติ  ทั้งนี้เพื่อเป็นการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครองดูแลรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ ป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อปะการัง ระบบนิเวศ และเป็นการควบคุมลดปริมาณขยะในอุทยานแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังนี้         ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟม และบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียว ได้แก่ พลาสติกหูหิ้ว ความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องบรรจุอาหารพลาสติก แก้วพลาสติก (แบบบางใช้ครั้งเดียว) หลอดพลาสติก และช้อน-ส้อมพลาสติก เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ หากผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 20 ประกอบมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติ อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มีผล 6 เมษายน 2565 เป็นต้นไป)  ตำรวจสอบสวนกลางเตือนภัย “มิจฉาชีพ แอบอ้างเป็นบริษัทเงินกู้”         ตำรวจสอบสอบสวนกลาง ได้โพสต์เตือนภัย โดยมีข้อความระบุว่า ปัจจุบันเราจะพบเห็นกลุ่มมิจฉาชีพหลากหลายกลุ่มใช้กลลวงต่างๆ หลอกลวงประชาชน เพื่อให้ได้ไปซึ่งข้อมูลส่วนตัวต่างๆ รวมไปถึงทรัพย์สินของมีค่าของประชาชน ตำรวจสอบสวนกลางจึงขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยให้ทราบถึงรูปแบบหนึ่งของมิจฉาชีพที่จะแอบอ้างเป็นบริษัทให้บริการเงินกู้ หลอกเอาข้อมูลส่วนตัวของท่านไป เพื่อนำไปใช้ในการถอนเงินในบัญชี ซึ่งมิจฉาชีพจะติดต่อผ่านช่องทาง SMS Line Facebook หรืออื่นๆ และแอบอ้างเป็นบริษัทให้บริการเงินกู้ หลอกลวงให้โอนค่าธรรมค้ำประกัน หลอกเอาข้อมูลส่วนตัว เลขหน้า-หลังบัตรประชาชน เลขหน้า-หลังบัตรเครดิต  วันเดือนปีเกิด หลังจากนั้นนำข้อมูลไปใช้เพื่อถอนเงินในบัญชี เพื่อความปลอดภัยเราควรตรวบสอบข้อมูลให้แน่ใจ ว่าบริษัทบริการเงินกู้นั้นได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ที่ https://bit.ly/3rW26VF   (เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศ) หากพลาดโอนเงินให้มิจฉาชีพสามารถแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจในท้องที่ หรือติดต่อได้ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร.1599 กรมอนามัยเผยคนไทยบริโภคน้ำตาลสูงเสี่ยงโรค NCDs          นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย พบว่าปัจจุบันคนไทยกินน้ำตาลมากถึงวันละ 25 ช้อนชา มากกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ คือไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา ซึ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs มากยิ่งขึ้น         สอดคล้องกับข้อมูลการศึกษาเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ต่อพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2562 ที่ระบุว่า โดยเฉลี่ยคนไทยดื่มเครื่องดื่มผสมน้ำตาล 3 แก้วต่อวัน โดยเฉพาะเด็กอายุ 6-14 ปี ซึ่งคือกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มผสมน้ำตาลเฉลี่ยต่อสัปดาห์มากที่สุด  ทั้งนี้เครื่องดื่มผสมน้ำตาลที่ขายทั่วไปนั้น พบว่ามีปริมาณน้ำตาลสูงถึง 9-19 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร แต่ปริมาณที่เหมาะสมจริงๆ แล้วคือไม่ควรมีน้ำตาลเกินกว่า 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินน้ำตาลของคนไทย สามารถเปลี่ยนได้ โดยเริ่มจากการลดการดื่มเครื่องดื่มผสมน้ำตาลมาเป็นดื่มน้ำเปล่า 6-8 แก้วต่อวันแทน  และขอความร่วมมือจากภาคเอกชน ร้านเครื่องดื่ม ร้านกาแฟที่มีการจำหน่ายเครื่องดื่มผสมน้ำตาล ขอให้ช่วยกันในการคิดค้นหาเครื่องดื่มสูตรหวานน้อยจำหน่ายในร้าน เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนเลือกเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ ลดเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง ผู้บริโภคต้องการยกเลิกจองทัวร์ท่องเที่ยว “สามารถขอเงินคืนได้”          วันที่ 14 เมษายน 2565 นางนฤมล เมฆบรสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้กล่าวว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์อาจมีผู้บริโภคที่จองทัวร์ท่องเที่ยวไว้ แต่ด้วยความที่ช่วงนี้สถานการณ์โควิด-19 มีแนวโน้มติดเชื้อสูงขึ้น ผู้บริโภคที่จองทัวร์สามารถใช้สิทธิของผู้บริโภคในการยกเลิกทัวร์ที่จองไว้ได้ ตามประกาศคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดอัตราการจ่ายเงินค่าบริการคืนให้แก่นักท่องเที่ยว พ.ศ. 2563 ในกรณีมีเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางได้เฉพาะตัว ให้นักท่องเที่ยวแจ้งขอรับเงินค่าบริการคืนจากผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องจ่ายเงินคืนในอัตรา ดังนี้  1. หากนักท่องเที่ยวแจ้งยกเลิกการเดินทางล่วงหน้าก่อน 30 วัน ให้คืนในอัตราร้อยละ 100 ของเงินค่าบริการ 2. ถ้านักท่องเที่ยวแจ้งยกเลิกการเดินทางล่วงหน้าก่อน 15 วัน ให้คืนในอัตราร้อยละ 50 ของเงินค่าบริการ 3. ถ้านักท่องเที่ยวแจ้งยกเลิกการเดินทางล่วงหน้าก่อนน้อยกว่า 15 วัน ไม่ต้องคืนเงินค่าบริการ กรณีมีเหตุให้ต้องยกเลิกนำเที่ยวตามที่ได้โฆษณาไว้ โดยไม่ใช่ความผิดผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจ่ายค่าบริการคืนในอัตรา ร้อยละ 100 ขอเงินค่าบริการ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 231 สงสัยจริงจังราคาวีไอพี แต่ทำไมไม่มีบริการพิเศษ

หากจำเป็นต้องเดินทางไปต่างจังหวัด หลายคนต้องพึ่งพาบริการขนส่งมวลชน ไม่ว่าจะเป็นรถทัวร์โดยสารหรือเครื่องบิน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าสะดวกเดินทางแบบไหน แต่ไม่ว่าจะใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะประเภทใด ก็ควรต้องได้รับการบริการที่ปลอดภัย พร้อมบริการที่คุ้มค่าและได้มาตรฐาน        คุณนิชรัตน์ มีธุระต้องไปทำงานที่จังหวัดขอนแก่นแบบเร่งด่วน ในช่วงเย็นจึงรีบเก็บกระเป๋าและนั่งรถเมล์มาที่สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต เธอซื้อตั๋วโดยสารกับบริษัทรถทัวร์แห่งหนึ่ง ซึ่งระบุว่าเป็นตั๋ววีไอพีของรถเสริมในราคา 700 บาท ซึ่งแพงกว่าราคาปกติเกือบสองเท่า คุณนิชรัตน์ไม่มีทางเลือกอื่นเพราะว่าวันนั้นถ้าไม่จ่ายราคานี้ก็จะไม่มีเที่ยวรถอื่นบริการอีก         หลังจากรถออกจากสถานีขนส่งหมอชิตมุ่งสู่จังหวัดขอนแก่น ระหว่างเดินทางคุณนิชรัตน์ ไม่ได้รับการบริการอาหาร น้ำดื่ม รวมถึงผ้าห่มที่เธอคุ้นเคยว่าต้องมีบริการเหล่านี้ หรือเพราะว่าเป็นรถเสริม แต่ทว่าราคาตั๋วที่จ่ายนั้นมีราคาแพง และก็เรียกว่า วีไอพี แต่ทำไมบริการถึงได้แย่ขนาดนั้น ไม่สมกับราคาเลย คุณนิชรัตน์คิดว่าสิ่งนี้เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค จึงได้ร้องกับสมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่นเพื่อขอคำแนะนำในการแก้ปัญหาดังกล่าว แนวทางการแก้ไขปัญหา         สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น ได้ประสานงานกับศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารและรับเรื่องร้องเรียน ของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งต่อมาได้รับการแจ้งว่า ทางศูนย์ฯ พบว่า ผู้ให้บริการรถทัวร์โดยสารที่คุณนิชรัตน์เดินทางนั้น จำหน่ายตั๋วในราคาแพงกว่าปกติจริง ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารจึงมีคำสั่งให้บริษัทฯ คืนเงินส่วนต่างค่าตั๋วโดยสารให้กับผู้บริโภค และดำเนินการเปรียบเทียบปรับผู้ประกอบการที่กระทำผิดกฎหมาย         ดังนั้น ผู้บริโภคหากมีข้อสงสัยว่า บริการรถทัวร์ที่ท่านใช้งานนั้นกระทำการเอาเปรียบผู้บริโภค เช่น ไม่แสดงอัตราค่าโดยสาร ณ บริเวณจุดจำหน่ายตั๋ว หรือพนักงานขายตั๋วออกตั๋วโดยสารโดยไม่มีใบเสร็จ หรือท่านต้องจ่ายเงินค่าโดยสารเกินกว่าตัวเลขที่ปรากฏอยู่บนตั๋วหรือใบเสร็จรับเงิน รวมทั้งการนำรถเสริมมาให้บริการ หรือการปรับค่าตั๋วโดยสารโดยไม่มีเอกสารอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก รวมทั้งงานบริการที่ไม่มีมาตรฐาน ท่านสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารฯ กรมการขนส่งทางบก สายด่วน 1584 และขอแนะนำให้ผู้บริโภคเก็บตั๋วโดยสารไว้ด้วยทุกครั้งที่เดินทาง และภ่ายภาพเลขรถโดยสารคันที่ท่านใช้บริการไว้ด้วย จะช่วยให้จดจำเลขประจำรถได้สะดวกขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 227 ทัวร์เกาหลีอลวนจนไม่ได้ไป

        การเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ หลายท่านนิยมจัดการธุระต่างๆ ด้วยตนเอง แต่อีกหลายคนก็เลือกใช้บริการบริษัททัวร์เพราะคิดว่าน่าจะสะดวกกว่า เสียค่าธรรมเนียมบ้างแต่ไม่ต้องกังวลปัญหาที่อาจคาดไม่ถึงหากต้องจัดการเอง แต่กระนั้นปัญหาคาดไม่ถึงจากการใช้บริการบริษัททัวร์ก็อาจเกิดขึ้นได้ เราลองมาดูกัน          เรื่องนี้เป็นประสบการณ์ของคุณสายชลที่มาขอคำปรึกษากับศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค         อย่างที่หลายท่านทราบ เกาหลีกับไทยนั้นมีความสัมพันธ์ที่ดี จนทำให้คนไทยไม่จำเป็นต้องใช้วีซ่าเข้าประเทศเกาหลีสำหรับการท่องเที่ยว และเกาหลีนั้นก็มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ สวยงาม จนคนไทยหลายคนใฝ่ฝันจะไปท่องเกาหลีกันสักครั้ง แม้ว่าระยะหลังจะมีข่าวคราวที่ทำให้ภาพลักษณ์ของนักเที่ยวไทยเสียหายเพราะบางคนไม่ได้ตั้งใจไปเที่ยวแต่แอบเข้าไปเพื่อทำงานแบบผิดกฎหมาย จนเกาหลีเริ่มเข้มงวดจับตานักเที่ยวไทยมากขึ้น แต่มนต์เสน่ห์ของเกาหลีก็ยังไม่จางหายไป คุณสายชลก็เป็นหนึ่งในนั้น          คุณสายชลตั้งใจไปเกาหลีโดยใช้บริการของบริษัททัวร์แห่งหนึ่ง ในที่นี้ขอเรียกว่าบริษัทซี  และได้จ่ายค่าดำเนินการต่างๆ ไปทั้งสิ้น 30,000 บาท ด้วยการโอนผ่านบัญชีธนาคาร ทุกอย่างเรียบร้อยดีจนถึงวันเดินทาง เหตุไม่คาดฝันก็เกิด เมื่อพนักงานบริษัทซีที่มาดำเนินการติดต่อประสานงานกับเคาน์เตอร์สายการบิน ที่จะพาคุณสายชลไปเกาหลีนั้น ไม่สามารถตอบคำถามกับพนักงานของสายการบินได้ อีกทั้งเอกสารเกี่ยวกับการเดินทางก็มีความผิดพลาด จนสุดท้ายทางสายการบินปฏิเสธไม่ให้เธอเช็คอินและยกเลิกตั๋ว ซึ่งความเสียหายนี้ไม่เพียงแค่อดไปเที่ยวเท่านั้น แต่ยังหมายถึงค่าเดินทาง ค่าที่พัก ตลอดจนการลาหยุดงานและนัดหมายต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนทั้งหมด เธอจึงเรียกร้องขอให้บริษัทซีคืนเงินทั้งหมดและชดเชยค่าเสียหายเพิ่มเติมด้วย         “ตอนที่ติดต่อไป ทางบริษัทฯ ปฏิเสธว่าทำดีที่สุดแล้ว อย่างไรก็ตามจะโอนเงินคืนให้พร้อมระบุวันที่ชัดเจน แต่เมื่อถึงเวลากลับไม่เป็นไปตามที่ตกลง บริษัทฯ อ้างว่า สายการบินไม่ยอมโอนเงินคืนบริษัทฯ และผัดผ่อนเรื่อยมา จนเข้าเดือนที่หกแล้ว  ดิฉันควรทำอย่างไรดี”  แนวทางแก้ไขปัญหา         เบื้องต้นได้แนะนำให้คุณสายชลดำเนินการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อน เพราะมีส่วนที่เข้าข่ายคดีอาญาได้ และจะช่วยดำเนินการเจรจากับทางบริษัทต่อไปเพื่อขอให้คืนเงินค่าดำเนินการท่องเที่ยว 30,000 บาท ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างเจรจา อย่างไรก็ตาม เราขอนำเสนอเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่ต้องการท่องเที่ยวด้วยบริษัททัวร์ แม้จะมั่นใจบริษัททัวร์แค่ไหน แต่ก็อย่าวางใจ ควรตรวจสอบเอกสารต่างๆ ให้มั่นใจอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้ได้เดินทางอย่างสะดวกโดยเฉพาะประเทศเกาหลี ซึ่งปัจจุบันมีการตรวจสอบการเข้าเมืองที่ค่อนข้างเข้มงวดกับนักเดินทางชาวไทย  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 227 โชว์แค่ภาพถ่ายตั๋ว ขึ้นรถทัวร์ได้ไหม ?

        ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคท่านหนึ่ง เกี่ยวกับปัญหาการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ โดยเรื่องมีอยู่ว่า          คุณนิตยา ได้ซื้อตั๋วรถทัวร์โดยสารระหว่างจังหวัด จากจุดขายตั๋วของบริษัทรถทัวร์แห่งหนึ่งในจังหวัดพะเยา เพื่อให้หลานชายใช้เดินทางจากเชียงใหม่กลับบ้านที่พะเยา เมื่อซื้อตั๋วโดยสารแล้ว คุณนิตยาก็ใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพตั๋วโดยสาร ส่งไลน์ไปให้หลานชายที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่         เมื่อถึงวันเดินทาง หลานชายคุณนิตยา ได้แสดงภาพถ่ายตั๋วโดยสารในมือถือ ให้พนักงานประจำรถที่สถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ดู แต่พนักงานประจำรถกลับปฏิเสธไม่ให้ขึ้นรถ โดยให้เหตุผลว่า ต้องใช้ตั๋วโดยสารฉบับจริงเท่านั้น และบอกให้หลานชายคุณนิตยาซื้อตั๋วโดยสารใหม่ที่ช่องขายตั๋ว หลานชายคุณนิตยาจึงจำต้องเสียเงินซื้อตั๋วโดยสารใบใหม่เพื่อให้ได้ขึ้นรถกลับบ้าน         เมื่อหลานชายเดินทางกลับถึงบ้าน ก็เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้คุณนิตยาฟัง คุณนิตยาจึงสอบถามมายัง ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา ถึงประเด็นที่ว่า ก่อนหน้านี้ ก็เคยใช้รูปถ่ายตั๋วโดยสารขึ้นรถจากพะเยาไปเชียงใหม่ได้ แต่ทำไมไม่สามารถใช้ขึ้นรถโดยสารบริษัทเดียวกันจากเชียงใหม่กลับพะเยาได้ อยากให้บริษัทมีมาตรฐานการให้บริการที่เหมือนกัน และช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าสามารถเดินทางได้ มากกว่าการให้ผู้โดยสารซื้อตั๋วโดยสารใหม่ แนวทางการแก้ไขปัญหา         เมื่อได้รับเรื่องร้องเรียน ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อประสานงานกับบริษัทรถทัวร์โดยสาร เพื่อขอให้แก้ไขปัญหาและพัฒนาการบริการให้มีมาตรฐานเดียวกัน  ซึ่งทางบริษัทฯ ได้ตอบกลับมาว่า จะดำเนินการปรับปรุงการบริการให้มีมาตรฐานดีขึ้นต่อไป  ข้อแนะนำ          การซื้อตั๋วรถโดยสาร มีทั้งแบบที่ต้องใช้บัตรประชาชน พร้อมระบุชื่อผู้โดยสาร กับ แบบที่ไม่ระบุชื่อ ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการนั้นๆ ซึ่งการแสดงตนเพื่อใช้บริการควรใช้ตั๋วโดยสารฉบับจริง        ในกรณีข้างต้น ผู้บริโภคเคยใช้ภาพถ่ายตั๋วเพื่อเดินทางในบริษัทเดียวกันมาก่อน แต่พอมาขึ้นรถโดยสารจากต้นทางอีกแห่ง กลับไม่สามารถใช้ภาพถ่ายตั๋วเพื่อเดินทางได้ ทำให้ผู้บริโภคสับสน ดังนั้นบริษัทฯ ควรกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนได้มาตรฐานในทุกสาขา         นอกจากนี้ ผู้บริโภคควรเก็บตั๋วเอาไว้ให้ดี หากเกิดเหตุฉุกเฉินระหว่างเดินทาง ตั๋วโดยสารจะเป็นหลักฐานสำคัญในการใช้สิทธิต่างๆ ในภายหลัง         ทั้งนี้ หากท่านต้องการคำแนะนำเรื่องสิทธิผู้บริโภค สามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา www.phayaocivil.org

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 222 ซื้อตั๋วรถทัวร์ล่วงหน้า แต่ว่าไม่มีที่นั่งในวันเดินทาง

        ปัญหาคลาสสิกของเรื่องการเดินทางช่วงวันหยุดยาวคือ การหารถโดยสารเพื่อเดินทาง เพราะคนมาก ความต้องการสูงแต่รถน้อย ดังนั้นหลายท่านจึงแก้ไขด้วยการจองตั๋วล่วงหน้า และถ้าได้ตั๋วมาไว้ในมือแล้ว ซึ่งมีพร้อมรายละเอียดทั้งเที่ยวรถและเลขที่นั่ง ย่อมจะมั่นใจว่าตนเองไม่พลาดการเดินทางแน่ แต่ระบบรถโดยสารประเทศไทยอะไรก็เกิดขึ้นได้        คุณเนตรนภาและหลานสาวเป็นชาวจังหวัดแพร่ มีแผนที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ในวันหยุดยาวที่กำลังจะมาถึง เนื่องจากเกรงว่าตั๋วโดยสารจะเต็มเพราะเป็นช่วงเทศกาล คุณเนตรนภาจึงตัดสินใจซื้อตั๋วล่วงหน้าจากบริษัทรถทัวร์เชิดชัยทัวร์ จากท่ารถอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ในราคาใบละ 450 บาท ซึ่งตั๋วได้ระบุเวลาเดินทางและเลขกำกับที่นั่งไว้ชัดเจน 1 เอ และ 1 บี โดยมีรอบเดินทางเวลา 20.50 น.         เมื่อถึงวันเดินทางก่อนเวลาแค่ 20 นาที คือ 20.30 น. คุณเนตรนภาได้รับแจ้งจากพนักงานขายตั๋วโดยสารทางโทรศัพท์ว่า รถทัวร์คันที่คุณเนตรนภาได้ซื้อตั๋วล่วงหน้าเอาไว้นั้น เต็มตั้งแต่ต้นทางแล้ว ขอให้คุณเนตรนภารีบเดินทางไปซื้อตั๋วโดยสารใหม่ที่สถานีขนส่งแพร่         เมื่อคุณเนตรนภาเดินทางไปถึงสถานีขนส่งจังหวัด ก็ได้โต้เถียงกับพนักงานขายตั๋วว่า รถจะเต็มได้อย่างไร ในเมื่อตั๋วที่ซื้อมาระบุที่นั่งและเวลาไว้ชัดเจน ตนเองควรได้สิทธิในการนั่งเพราะตนเองจองและจ่ายเงินไปแล้ว  ไม่ควรต้องถูกปฏิเสธิการใช้บริการและไปเที่ยวหาซื้อตั๋วใหม่ ซึ่งไม่แน่ว่าจะได้ไหม  การที่บริษัททำแบบนี้ เอาเปรียบตนเองและหลานสาวมาก หากตนเองซื้อตั๋วใหม่ไม่ได้จะทำอย่างไร ที่พัก และอื่นๆ ที่จองไว้ก็จะพลาดทั้งหมด         คุณเนตรนภาพยายามใช้สิทธิอย่างเต็มที่ แต่สุดท้ายก็ต้องจำใจรับเงินค่าโดยสารคืนกลับมา เพราะการบริษัทปล่อยให้มีคนอื่นโดยสารในที่ของตนเองไปแล้ว อย่างเลี่ยงไม่ได้  เมื่อพาหลานสาวเดินหาตั๋วใหม่ในคืนนั้น ก็เป็นอย่างที่คิดคือ เที่ยวรถที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ นั้นเต็มหมดทุกเที่ยว คุณเนตรนภาและหลานสาวจึงต้องพลาดการเดินทางในคืนนั้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คุณเนตรนภาตัดสินใจร้องเรียนมายังศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดแพร่ ถึงการให้บริการที่ไม่ได้มาตรฐานของบริษัทรถทัวร์ จากการซื้อตั๋วโดยสารล่วงหน้าที่ระบุเลขที่นั่งชัดเจน แต่เมื่อถึงเวลาเดินทาง กลับไม่สามารถเดินทางได้เพราะที่นั่งเต็ม แนวทางการแก้ไขปัญหา        กรณีดังกล่าว ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดแพร่ ได้ดำเนินการส่งเรื่องร้องเรียนไปยังบริษัทเชิดชัยทัวร์ และขนส่งจังหวัดแพร่เพื่อแก้ไขปัญหา แต่ไม่พบว่ามีการตอบกลับมาจากทั้งสองแห่ง         อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ทางคุณเนตรนภาขอยุติเรื่องไปก่อน ดังนั้นหากผู้บริโภคเจอเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกัน ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้         1. ถ่ายภาพตั๋วโดยสาร สถานที่จำหน่ายตั๋ว และสอบถามชื่อพนักงานจำหน่ายตั๋วเก็บไว้เป็นหลักฐาน        2. แจ้งความลงบันทึกประจำวัน ณ สถานีตำรวจที่สะดวก กรณีเกิดความเสียหายจากการพลาดเที่ยวรถ เช่น ค่าปรับจากการผิดนัดติดต่องาน หรือเสียโอกาสจากการว่าจ้างงาน โดยท่านสามารถเรียกค่าเสียหายจากบริษัทผู้ให้บริการรถทัวร์โดยสารได้        3. ส่งหนังสือร้องเรียนไปยังบริษัทผู้ให้บริการรถทัวร์, ขนส่งประจำจังหวัด และ กรมการขนส่งทางบก รวมถึงส่งสำเนาหนังสือร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ด้วยก็ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 222 ผู้เสียหายจากการซื้อทัวร์ อีแอลซี

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2562 ตัวแทนผู้เสียหายที่ซื้อโปรแกรมทัวร์เพื่อเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศ กับ บริษัท อีแอลซี กรุ๊ป จำกัด และนางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เข้ายื่นหนังสือต่อนางสาววันทนา แจ้งประจักษ์ รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว(กทท.) เขตปทุมวัน ขอให้พิจารณาทบทวนกฎหมายและหลักเกณฑ์การอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว  โดยมีข้อเสนอเพื่อเป็นแนวทางให้กรมการท่องเที่ยว ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล นำไปพิจารณาทบทวนและแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนเป็นส่วนรวม อีกทั้งเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะเช่นนี้ซ้ำอีก และให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการด้วยความสุจริต อาจารย์เรณู เวชรัชต์พิมล  ข้าราชการบำนาญ หนึ่งในผู้เสียหายเปิดใจให้สัมภาษณ์กับนิตยสารฉลาดซื้อว่า         ที่เรามาร้องเรียน คือเกี่ยวกับบริษัททัวร์ที่เป็นข่าวชื่อบริษัท ELC ทัวร์ ซึ่งผู้บริหารก็ถูกจับกุมแล้วจริงๆ เราไม่มาที่นี่เลยก็ได้และหลายๆ คนก็ไม่อยากเป็นข่าวแต่ที่เรามาเพราะเราเห็นว่ากฎหมายที่มีอยู่ยังคุ้มครองประชาชนได้ไม่ดี เราอยากจะทำเพื่อส่วนรวมเพื่ออนาคตว่ามันจะต้องมีกฎหมายที่ดีกว่านี้เพื่อป้องกันสิทธิของประชาชนเราจึงมาเรียกร้องในวันนี้         เราซื้อทัวร์ไปเที่ยวประเทศแคนาดาโอนเงินให้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 แต่เขาไม่ออกทัวร์ให้ กำหนดเดินทางประมาณเดือนเมษายนที่ผ่านมา เขาก็เลื่อนมาเรื่อยๆ และไม่มีการติดต่อกลับมา  เราก็ติดต่อไปวิธีการที่เราจะเข้าไปติดต่อ คือต้องเข้าไปในแบรนด์ติดต่อทักเขาไปเขาก็ไม่คุยกับเรา แต่เป็นการคุยสื่อสารฝ่ายเดียว ติดต่อเขาได้เฉพาะทางแบรนด์เท่านั้น แล้วก็อาจจะเข้าไปทักพูดคุยกันในกลุ่มแบรนด์ เอาเข้าจริงๆ เขาก็ไม่คุยไม่ตอบ เราก็เข้าไปแต่นานๆ ครั้งเขาถึงจะคุยกับเราบางทีก็มีการหลอกว่าส่งเจ้าหน้าที่มาแล้วมาทำวีซ่า แล้วเจ้าหน้าที่ก็มาหลอกอีกว่าวีซ่าเต็มหมดแล้วจองได้แค่ 5 คนเราก็ต้องเข้าไปดูเองปรากฏว่าว่าง คือมันโกหกเป็นขบวนการเจ้าหน้าที่ก็โกหก เราต้องติดต่อไปเองทุกครั้งเลยมาคิดว่าที่เขาทำทัวร์ถูกได้เป็นเพราะว่าเขาไม่ต้องจ้างเจ้าหน้าที่หลายคน เขาจะส่งเรื่องมาทาง E-Mail  เช่น คุณกรอกวีซ่า คุณตรวจชื่อนะว่าครบถ้วนไหม ทั้งหมดเขาจะส่งมาให้เราทาง E-Mail เราต้องมาเช็คเอง ทำไมอาจารย์ถึงเลือกใช้บริการบริษัทฯ นี้         เพราะว่าพี่สาวเคยไป ไปมาเป็นสิบครั้งได้ น้องสาวก็ไป ลูกชายลูกสะใภ้ก็ไปก็ไม่มีปัญหา เราก็เลยมั่นใจ เราเองก็เพิ่งจะเข้ามาซื้อทัวร์เมื่อเดือนมกราคมเป็นครั้งแรกเป็นลูกค้าใหม่เพิ่งจะเริ่มมีปัญหาจากที่เราซื้อ  ซึ่งเรารู้ช้าเราควรจะรู้เร็วกว่านี้ ถ้ากรมการท่องเที่ยวปรับปรุงกฎหมายและเผยแพร่ข้อมูลให้เร็วกว่านี้ และเตือนเราว่าบริษัทนี้กำลังอยู่ในข่ายกำลังพิจารณา แต่ไม่ได้มีการเตือนเลย มันมีเรื่องตั้งแต่ก่อนเราซื้อทัวร์แล้ว อย่างเพื่อนนี่มาซื้อเมื่อเดือนมีนาคมนี่เอง(กรมการท่องเที่ยวได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค ตั้งแต่ปลายปี 2561 และต่อใบอนุญาตฯ ให้บริษัทฯ เมื่อเดือนมกราคม 2562 ที่ผ่านมา) มารวมกลุ่มผู้เสียหายกันได้อย่างไร         พี่นี่แหละเป็นตัวตั้งตัวตี พี่เป็นนักวิชาการที่ทำงานช่วยชาวบ้านอยู่แล้ว รู้จักมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รู้จักคุณสารี คุณรสนา รู้จักหลายๆ คนอยู่แล้ว ก็เลยพากลุ่มผู้เสียหายมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และไม่ได้ไปที่อื่นเลยเพราะเชื่อมั่นในที่นี่  พี่พูดคุยกันในกลุ่มแบรนด์ว่าพี่มีทนายฟรีก็มีคนสนใจทักเข้ามาในกลุ่มไลน์ ตั้งกลุ่มไลน์กันที่เป็นผู้เสียหาย มีคนเห็นเขาก็ไปชวนกันมาในกลุ่ม นัดให้มาเจอกันที่มูลนิธิและมาคุยกันว่าจะทำอย่างไร เราเริ่มมาหามูลนิธิเมื่อประมาณวันที่ 7 มิถุนายน แต่ว่าเราคุยกันในกลุ่มไลน์ตั้งแต่ก่อนหน้านั้นแล้ว ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็ให้ศูนย์พิทักษ์สิทธ์ช่วยดำเนินการให้และก็มายื่นเรื่องกันในวันนี้ ก่อนหน้าที่จะมาให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคช่วยเหลือเคยดำเนินการอย่างไรบ้าง         ในส่วนตัวเคยรวมกลุ่มมายื่นเรื่องที่กรมการท่องเที่ยว เขาก็รับเรื่องแล้ว ขั้นตอนตอนนี้เขาบอกว่าจะส่งเรื่องไป สคบ. แล้ว ทางกรมฯ เขาก็ตรวจสอบให้เรียบร้อยแล้วว่าเรื่องของพี่ส่งไปที่ สคบ. แล้ว มีความคาดหวังอย่างไร        ความคาดหวังก็อยากให้ปรับปรุงกฎหมาย ก็คือดีใจว่ากรมการท่องเที่ยวเขากำลังจะปรับกฎหมาย เราขอมามีส่วนร่วมในการรับฟัง เขาคงจะแจ้งทางมูลนิธิไป อันที่สองก็คืออยากให้ทำงานเชิงรุกคือ เผยแพร่ เหมือนอย่างคำถามที่ถามบ่อย อย่างวันนี้เอาไปพิมพ์ก็ได้ สำหรับคนที่เจอทัวร์ประเภทแบบนี้ต้องอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่าคนอาจจะไม่ได้เชื่อถือพี่มากเท่ากับที่เผยแพร่อยู่ใน Web Side ของการท่องเที่ยว จุดประสงค์หลักที่มาในวันนี้คือเพื่อส่วนรวม ในส่วนเรื่องค่าเสียหายก็เป็นเรื่องของตำรวจเป็นเรื่องทางคดี อยากฝากอะไรถึงคนอื่นๆ ที่เจอปัญหาแบบเดียวกับเรา         ถ้าเห็นว่ามีข้อผิดปกติอะไรไม่เป็นไปตามข้อตกลงให้รีบแจ้งที่กรมการท่องเที่ยว    มาปรึกษาที่นี่เลยเขามีอะไรที่จะช่วยเรา อย่างพี่ไม่รู้ว่ามีที่นี่ ถ้ารู้ตั้งแต่แรกพี่คงจะมาเร็วกว่านี้ รู้ว่ามีหน่วยงานท่องเที่ยวที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ แต่ไม่รู้ว่ามีกรมการท่องเที่ยวโดยตรงก็เลยไม่ได้มาที่นี่ตั้งแต่แรก เรื่องของเราจะดำเนินการต่อไปอย่างไร         ก็คิดว่าตำรวจคงจะดำเนินการ อันที่หนึ่งก็คือว่าคนทำผิดก็ต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย พี่เชื่อว่ามันไม่ได้เป็นการทำผิดคนเดียวมันน่าจะมีขบวนการ และใครก็ตามที่มาทำผิดกฎหมายที่ไม่ได้มีสิทธิ์ขายทัวร์ก็ควรจะโดน เพราะพี่เชื่อว่าเขาไม่ได้ทำแบบจิตอาสาหรอกเขาต้องได้ผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นทางใดทางหนึ่งในเรื่องผลประโยชน์ที่เขาได้แล้ว พี่คิดว่าคนทำผิดที่เป็นเจ้าของทัวร์ควรจะถูกลงโทษฉ้อโกงประชาชน ยึดทรัพย์ได้เท่าไหร่ก็เอามาแบ่งปันกลับไปเป็นสัดส่วนให้ผู้เสียหายคิดว่าควรจะเป็นอย่างนั้นค่ะ อยากฝากอะไรถึงกรมการท่องเที่ยวบ้างคะ         อยากให้กรมการท่องเที่ยวมีคำแนะนำขั้นตอนปฏิบัติต่างๆ ในการที่จะเลือกบริษัททัวร์แต่ไม่ได้ระบุชื่อบริษัทนะเพราะเป็นการเลือกปฏิบัติ แต่ควรจะบอกว่าเราควรจะตรวจสอบอะไรก่อนจะซื้อทัวร์ 1 2 3 4 5 ต้องทำอย่างไร ถ้าไม่แน่ใจต้องทำอย่างไร ถ้าเกิดผิดไปจากอันนี้ขอให้ติดต่อไปที่ไหน ทำในเชิงรุกมี Facebook ไหม มีอะไรของกรมไหม ให้คนได้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ให้ความรู้ เพราะกฎหมายมันอ่านแล้วเข้าใจยากเพราะมันมี พรบ. และมันยังมีอนุบัญญัติ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าต้องไปหาอ่านตรงไหน ยังไม่เคยอ่านเหมือนกัน เพราะถ้าเป็นกฎหมายคนก็รู้สึกว่าอ่านไม่รู้เรื่อง ไม่อ่านหรอก อยากให้ทำให้เข้าใจได้ง่าย คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ค่ะ ผู้เสียหายอีก 1 ท่าน คุณจินตนา  ดุลยพัชร์ อาชีพรับราชการเช่นกัน เล่าให้ฟังคล้ายกับท่านแรกว่ารู้จักบริษัททัวร์นี้จากเพื่อนสนิท         เริ่มต้นคือรู้จักทัวร์นี้จากเพื่อนสนิทกัน เขาก็ไปเที่ยวอยู่แล้วเขาก็อยากจะชวนไปด้วย ก็เห็นว่าไม่มีอะไรก็เลยอยากไปเที่ยวพักผ่อนบ้าง ก็ซื้อทัวร์ไปเที่ยวกับเพื่อน นั่นเป็นครั้งแรกที่ซื้อทัวร์ของบริษัทนี้ เพื่อนเคยไปเที่ยวกับที่นี่อยู่แล้วและก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร พี่ไม่ได้ทำอะไรเลยคือโอนเงินให้เพื่อนอย่างเดียวให้เพื่อนสมัครให้หมดเลย ติดต่อเจ้าของทัวร์ก็ไม่ได้ทำเองผ่านเพื่อนหมดเลย          ที่จองทัวร์ไว้คือแคนาดากับเมดิเตอร์เรเนียน เคยไปกับทัวร์นี้มาก่อนเคยไปเมื่อไม่นานมานี้ ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรเลยแล้วราคาก็ถูกกว่าที่อื่นด้วย  เลยมั่นใจที่จะไปกับทัวร์นี้ แต่ไม่ได้จองเองจองผ่านเพื่อน เพื่อนจะเป็นคนติดต่อ บอกว่าถึงเวลาจ่ายเงินแล้วพี่ก็จะโอนเงินให้ จนถึงเวลาต้องไปแต่เขามาเลื่อน เขาจะมีแบรนด์เป็นกลุ่มปิดจ่ายเงินเสร็จถึงจะได้เข้าแบรนด์  ในแบรนด์ก็จะบอกการเคลื่อนไหว เช่น เก็บเงินค่าทัวร์นะ เราก็จะโอนเงินไป         จริงๆ พี่ต้องไปตั้งแต่เดือนมีนาคมแต่เขาเลื่อนพี่มา พอถึงกำหนดบริษัทก็ไม่ได้บอกอะไรเลยจัดกระเป๋า 3 รอบแล้วทำเรื่องลาราชการแล้วด้วย รอบแรกก็ยังมั่นใจเพราะว่าเขานัดเราไปทำวีซ่าเรียบร้อยแล้ว ทำเสร็จถึงเวลาเดินทางก็เงียบ รอบที่สองถึงเวลาก็มีการเลื่อนเราต้องเช็คจากแบรนด์ไม่มีเจ้าหน้าที่ติดต่อมาเลย ติดต่อกันทางแบรนด์อย่างเดียว ในแบรนด์เขาจะบอกว่ามีทัวร์ช่วงไหนก็ติดต่อกันกับเพื่อนว่าว่างช่วงไหนก็ไป  ตอนโดนยกเลิกก็ติดต่อเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีปัญหาด้วยตอนที่เขาเลื่อนรอบแรกพี่ต้องไปตามเอาพาสปอร์ตกลับเองเพราะพี่ต้องใช้ เผื่อมีอะไรขึ้นมา         รอบแรกที่เลื่อนก็รู้สึกไม่ดีกับบริษัทแล้วค่ะ เพราะว่าติดต่อเอาพาสปอร์ตกลับไม่ได้เลยจนต้องหาเองว่าจะไปเอาที่ไหนอย่างไร หาลู่ทางเองหมดเลย ก็โทรไปถามคนที่พาไปทำวีซ่าคือตอนแรกพาสปอร์ตอยู่กับเขาๆ ก็บอกว่าเอาไปส่งแล้วก็ถามว่าที่ตรงไหนพี่ก็ต้องขับรถไปตามต้องทำเองทุกอย่าง ในแบรนด์ก็จะมีกลุ่มที่ตั้งขึ้นมากันเขาก็แนะนำให้มีคนมาตอบ มาช่วยกันเยอะเลยคือคนอื่นก็เคยโดนแบบนี้ก็มาตั้งกลุ่มช่วยกัน เราเริ่มคิดว่าลูกค้าแค่เริ่มมีปัญหาเรื่องพาสปอร์ตคุณก็ไม่ช่วยเรา ก็คิดว่าคงต้องพิจารณาในการซื้อทัวร์ต่อ จ่ายเงินค่าทัวร์ไป 150,000 บาท 2 ทัวร์แต่ละทัวร์ก็โดนเพิ่มเงินไป 3 รอบ ช่วงแรกที่บอกว่าเราจ่ายเงินไปหมดแล้วก็บอกว่าจะพาไป แต่เพิ่มที่เที่ยวนะก็ให้จ่ายเงินเพิ่มก็จะทยอยเก็บทีละหน่อยเราก็จ่ายไป เพราะเงินส่วนใหญ่อยู่ที่เขาแล้ว ก็ไม่อยากมีปัญหา เราดำเนินการอย่างไรบ้างเมื่อเจอปัญหาที่เกิดขึ้น        คือรู้จักกับพี่สมศรีที่เป็นเพื่อนที่รู้จักกัน เขาจะเป็นคนที่เวลามีปัญหาเขาจะพยายามเรียกร้องให้มันถูกต้องชัดเจน รู้ว่าพี่เขาจะมีลู่ทางที่จะดำเนินการเรื่องนี้ คือทำอย่างไรให้เราได้สิ่งที่เราเสียหายกลับคืนมา ปรึกษากับเขาเพราะเราไม่เคยมีปัญหาแบบนี้    พี่ปรึกษาหลายคน ปรึกษาทนายที่เป็นพี่ชายด้วย พี่ชายแนะนำให้ไปหาสภาทนายความด้วยพี่ก็ไป ดำเนินการเองทุกอย่าง ต้องการทำอะไรก็ได้ให้สิทธิที่มี แล้วเรารู้ว่าเขาทำผิดกฎหมาย ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้เขาชะงักไป พอรู้ว่าไม่ได้ไปทัวร์ก็ดำเนินการเลย พี่สมศรีแนะนำให้มาเจอคุณมลที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค บอกว่าช่วยเหลือได้แน่นอนเขาช่วยผู้บริโภคจริงๆ พอได้มีโอกาสมาคุยรู้สึกดีมาก คุยกับเพื่อนว่าบางคนเขาไม่มีใครฟังเราแต่คุณมลนั่งฟังและเข้าใจ พยายามถามเพื่อช่วยเหลือรู้สึกดีมากเลยเมื่อกลับไปหลังจากที่คุยกันแล้ว รู้สึกดีว่ามีคนรับฟังปัญหาของเราไปหลายที่แล้ว พี่ชายที่เป็นทนายยังบอกให้ทำใจเลย ความคาดหวังของพี่ที่มาในวันนี้         คือพี่ทำงานราชการและรู้ว่าคนที่อยากพึ่งพาเขาต้องการที่พึ่งอยู่แล้ว หรือแม้แต่พี่ที่ซื้อทัวร์นี่ก็เพราะรู้ว่าเขามีใบอนุญาตเลยซื้อ อยากให้องค์กรที่เราไปพึ่งพาในส่วนนโยบายที่มันมีปัญหาอยู่และทำให้เกิดการแก้ปัญหานี้ขึ้นมาได้ อยากให้ กกท. ได้รับฟังผู้เสียหายรู้เท่าทันปัญหาที่เกิดขึ้น และต้องมีนโยบายแนวทางในการป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคมีปัญหาอีก ลดช่องว่างให้ได้และเป็นจังหวะที่ดีที่มีผู้เสียหายอยู่แล้ว มีตัวอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเป็นช่วงที่เขาจะได้รับฟัง เช่น ในเรื่องของข่าวสารข้อมูลการ เข้าถึงข้อมูลของผู้มีปัญหาว่าจะรับรู้ได้อย่างไร ไม่อย่างนั้นเราก็ไม่ได้รับรู้เลยเราจะหาใครมาพึ่งถ้าไม่มีองค์กรรัฐ เพราะถ้าไม่มีปัญหานี้เกิดขึ้นเราก็ไม่เคยรู้เลยว่ามีหน่วยงานนี้อยู่ ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ตรวจสอบอย่างไรไม่รู้เลย หรือแม้แต่ว่าศูนย์ร้องเรียนมีไหมที่จะต้องรับฟังปัญหาของผู้บริโภค แต่ผู้บริโภคเองก็ต้องคิดว่าจะซื้ออะไร มีเหตุมีผลอย่าซื้อที่ถูกเกินไป ถ้าคนที่เพิ่มเงินอยากไปเที่ยวถ้าทำได้ถูกต้องก็อยากจะให้ได้ไป เรื่องได้เงินคืนคาดหวังน้อยมากแต่สิ่งที่คาดหวังคืออยากให้มีการปรับปรุงระบบการทำงานขององค์กรที่ให้กับผู้บริโภคมากกว่า ให้เป็นบรรทัดฐาน คนอื่นจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อเหมือนเรา อยากให้กรมฯ มีแนวทางหรือคำแนะนำอย่างไรสำหรับผู้บริโภค         อยากให้มีการเปิดเผยข้อมูล เช่นบริษัทไหนที่มี Blacklist บริษัทไหนที่ทำถูกต้องนะ เช่น ขอใบอนุญาตถูกต้อง มีเวลาก็โพสต์เลยค่ะ Online ให้เห็นเลยว่ากลุ่มนี้ทำถูกต้องผู้บริโภคจะได้เลือกได้ ถ้าเกิดบางกลุ่มที่มีปัญหาว่ามีคนร้องเรียนก็ต้องโพสต์เหมือนกันว่ามีคนร้องเรียนนะ อย่างบริษัท ELC เคยมีปัญหามาก่อนหน้านั้นแล้วทำไมยังขายทัวร์ได้ ทำไมเราไม่รู้อย่างพี่มาเจอตอนมีนาคมซึ่งคนอื่นฟ้องแล้วพี่ยังไม่ทราบเลย ไปรอบแรกไม่มีปัญหาแต่เพิ่งมาชะงักช่วงนี้ บริษัทก็ไม่เคยมาคุยเรื่องค่าเสียหายเลยบางครั้งคุยเรื่องเงินไม่เป็นประโยคเลยเป็นแค่วลีว่าให้เพิ่มเงินเท่านั้น อยากฝากอะไรถึงผู้บริโภคท่านอื่นที่มีปัญหาเหมือนเราแล้วก็ไม่กล้ามาร้องเรียน         ก็ให้คิดว่าตั้งใจทำอะไรที่มันถูกต้อง แล้วก็ต้องเชื่อว่าอย่างน้อยกฎหมายประเทศเราก็มี ถ้าเราคิดทำสิ่งดีๆ ไว้ให้กับลูกหลานให้กับคนที่จะเป็นรุ่นต่อไป คิดว่ามาได้เลย ต้องมาร้องเรียนให้หน่วยงานต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือว่าเขามีช่องว่างอะไรอยู่ ให้เขาไปพัฒนา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 186 ซื้อทัวร์แล้ว แต่เดินทางไม่ได้

เมื่อต้นปีที่แล้วได้มีข่าวเกี่ยวกับสายการบิสซิเนส แอร์ ที่ถูกกรมการบินพลยกเลิกการบิน เนื่องจากยังไม่ชำระหนี้ที่ค้างไว้ ทำให้ทัวร์ชาวไทยตกค้างที่ประเทศเกาหลีและสนามบินดอนเมืองจำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในคณะทัวร์ที่ได้รับความเสียหายครั้งนั้น ก็ส่งเรื่องมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอคำปรึกษาผู้ร้องซื้อโปรแกรมทัวร์ให้คณะนักศึกษากับบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งเดินทางโดยสารการบินของบริษัท บิสซิเนสแอร์เซ็นเตอร์ จำกัด โดยมีกำหนดเดินทางวันที่ 20 – 23 ม.ค. 2558 อย่างไรก็ตามเมื่อถึงกำหนดการกลับผลว่าไม่สามารถเดินทางได้ ซึ่งในขณะนั้นทางบริษัททัวร์ได้มีการเจรจาและตกลงกับผู้ร้องว่า ให้ผู้ร้องออกเงินค่าตั๋วใหม่จำนวน 100,000 บาทไปก่อน แล้วทางบริษัททั้งสองจะร่วมกันจ่ายให้ภายหลัง ผู้ร้องจึงยินยอมและเดินทางด้วยสายการบินอื่นแทน อย่างไรก็ตามปัญหาใหม่ก็เกิดขึ้นเมื่อผู้ร้องได้ทำหนังสือขอคืนเงิน แต่ทางบริษัทก็ไม่มีการตอบรับใดๆ ทำให้เขาต้องมาร้องเรียนเพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาจากกรณีนี้ในเบื้องต้นพบว่า หากกรมการบินพลเรือนสามารถดูแลหรือแจ้งข่าวสาร สถานะความสามารถในการให้บริการของบริษัทการบินต่างๆ ให้ผู้โดยสาร รวมทั้งบริษัททัวร์รับทราบได้ ก็อาจไม่เกิดปัญหาจ่ายเงินไปแล้วแต่เดินทางไม่ได้เช่นนี้ ทั้งนี้ศูนย์ฯ ได้ช่วยเหลือผู้ร้องด้วยการแนะนำให้รวบรวมเอกสารต่างๆ มาให้เพิ่มเติม ได้แก่ จดหมายทวงถาม หนังสือขอคืนเงิน เอกสารการติดต่อกับสายการบิน จากนั้นจึงช่วยติดต่อกับทางสายการบินดังกล่าว ซึ่งตัวแทนของบริษัททัวร์แจ้งว่าจะมีการคืนเงินให้ผู้ร้องปลายปีนี้  โดยเหตุที่ล่าช้าและไม่สามารถดำเนินการบินได้ เนื่องจากสายการบินประสบปัญหาถูกสั่งห้ามบิน และมีการฟ้องร้องอยู่ในชั้นศาลปกครอง อย่างไรก็ตามจะรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว ด้วยการคืนค่าตั๋วเครื่องบินให้กับผู้ร้องตามจำนวนที่จ่ายไปเพิ่มเติม คือ 100,000 บาท แต่ขอแบ่งชำระเป็น 2 งวด งวดละ 50,000 บาท ซึ่งผู้ร้องยินดีกับข้อเสนอดังกล่าว แต่เหตุการณ์ไม่ได้จบลงเพียงเท่านี้ เพราะเวลาต่อมาบริษัทฯ ก็แจ้งกลับมาอีกครั้งว่า ก่อนหน้านี้บริษัทฯ อยู่ในระหว่างการยื่นขอฟื้นฟูกิจการ ซึ่งเจ้าหนี้บางรายคัดค้าน อาจทำให้กระบวนการชำระหนี้ล่าช้า แต่ขณะนี้การที่กรมการบินพลเรือนได้เพิกถอนใบอนุญาตของบริษัทฯ ทำให้ภายหลังบริษัทฯ ต้องถอนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ เพราะไม่สามารถประกอบกิจการได้ ผู้ร่วมทุนของบริษัทรายใหม่ก็ถอนหุ้นไปเกือบหมด บริษัทฯ จึงไม่มีเงินที่จะดำเนินกิจการ แต่บริษัทฯ จะยังคงหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ เพื่อที่จะดำเนินการกิจการต่อไป และประสงค์ที่จะยื่นฟื้นฟูกิจการอีกครั้ง เนื่องจากคิดว่าหากมีการฟื้นฟูกิจการ บริษัทฯ ก็สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และขอนำเรื่องผู้ร้องเข้าที่ประชุมของบริษัทฯ  เพื่อพิจารณาเรื่องจำนวนเงินที่จะผ่อนชำระให้ผู้ร้องอีกครั้ง ทั้งนี้ภายหลังทางบริษัทฯ ก็เสนอกลับมาว่า สามารถผ่อนจ่ายให้ผู้ร้องได้เดือนละ 2,000 บาท จนกว่าจะสามารถฟื้นฟูกิจการได้ ซึ่งเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ผู้ร้องก็ต้องยินยอมข้อเสนอดังกล่าวไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤศจิกายน 2555 ใบจองต้องเป๊ะ ซื้อรถคันแรก หลังจากที่รัฐบาลออกนโยบายรถคันแรกซึ่งเอื้อให้ประชาชนสามารถมีรถยนต์เป็นของตัวเองได้ง่ายขึ้น จากเงื่อนไขที่ภาครัฐที่จ่ายภาษีคืนให้กับผู้ซื้อ ทำให้ยอดการจองรถยนต์มีอัตราสูงขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยการทำสัญญาจองรถยนต์นั้นผู้บริโภคต้องให้ความสำคัญกับ “ใบจอง” เพราะเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคถูกหลอก โดยทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เคยทำหนังสือถึงผู้ประกอบการจำหน่ายรถยนต์ทุกค่ายพิจารณาการออกใบจองรถยนต์ให้ลูกค้าให้มีมาตรฐาน เป็นประโยชน์กับผู้ซื้อ โดยต้องแสดงรายละเอียดสำคัญให้ครบถ้วน ตั้งแต่รายละเอียดของรถยนต์ สี รุ่น ราคา ระยะเวลาการผลิตรถ ขนาดของเครื่องยนต์ และกำหนดเวลาส่งมอบรถ พร้อมสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ หากค่ายรถยนต์ใดไม่แสดงรายละเอียดข้อมูลดังกล่าวให้ครบถ้วน ถือว่าอาจเข้าข่ายการหลอกลวงผู้บริโภค จากข้อมูลของ สคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2555 ทั้งสิ้น 889 เรื่อง เป็นกรณีขอเงินจองคืนเนื่องจากไม่ได้รถยนต์ 100 รายการ ไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญา 69 รายการ ยกเลิกสัญญาและขอเงินคืน 53 รายการ ชำรุด 231 รายการ คืนรถ ค้างค่างวด 91 รายการ ยึดรถคืน 40 รายการ ขอชดใช้ค่าเสียหาย 38 รายการ ค่าปรับสูง 31 รายการ ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ 31 รายการ ขอคำปรึกษา 30 รายการ     ที่พักแพงแจ้ง สคบ. ปีใหม่นี้หลายๆ คนคงเตรียมตัวไปเที่ยวตามที่ต่างๆ ซึ่งสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องคิดและวางแผนเลือกกันอย่างดีก่อนที่จะออกไปเที่ยวก็คือ “ที่พัก” แม้จะมีให้เลือกมาก แต่รูปแบบและราคาก็แตกต่างกันมากด้วยเช่นกัน ที่สำคัญยิ่งถ้าเป็นช่วงหน้าท่องเที่ยวหรือไฮซีซั่น บรรดาที่พักต่างๆ ก็มักจะฉวยโอกาสขึ้นราคา ถือว่าไม่ค่อยเป็นธรรมกับผู้บริโภค หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงจับมือกันเพื่อหาทางช่วยเหลือผู้บริโภค โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เป็นเจ้าภาพ ร่วมกับกรมการค้าภายใน กรมการท่องเที่ยว สมาคมโรงแรมไทย ฯลฯ โดยหนึ่งในมาตรการที่อยากขอร้องกับให้ผู้ประกอบการ รวมถึงบริษัททัวร์ ก็คือ ให้จัดทำโบรชัวร์แสดงราคาของที่พักที่ต้องมีความชัดเจน แจ้งทั้งราคาช่วงไฮซีซั่นและโลว์ซีซั่น เพื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นและตัดสินใจได้ ซึ่งความจริงแล้วบริษัททัวร์ ที่พัก หรือสถานที่ท่องเที่ยว จัดอยู่ในกลุ่ม 26 สินค้าที่ สคบ. มีโครงการจะมอบตราสัญลักษณ์ให้ด้วยเช่นกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้หากผู้นักท่องเที่ยวคนใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องราคาทั้งที่พัก สามารถร้องเรียนไปได้ที่ สายด่วน สคบ. 1166 บะหมี่สำเร็จรูปเกาหลีไม่มีสารก่อมะเร็ง หลังจากมีที่มีข่าวออกมาว่า มีการตรวจพบสารก่อมะเร็งในบะหมี่สำเร็จรูปยี่ห้อดังจากประเทศเกาหลี “นองชิม” (nongshim)  ที่วางจำหน่ายในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งส่งผลมาถึงประเทศไทยเราเพราะบะหมี่สำเร็จรูปยี่ห้อดังกล่าวก็มีวางขายในประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยงานนี้ทางคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง จึงออกมาตรการด่วนด้วยการสุ่มเก็บตัวอย่าง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนองชิมที่นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้และฮ่องกง จำนวน 20 ตัวอย่าง พร้อมกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทย จำนวน 3 ตัวอย่าง รวม 23 ตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนอันตราย ซึ่งผลวิเคราะห์ที่ได้พบว่าทุกตัวอย่างปลอดภัยจากสารก่อมะเร็ง ผู้บริโภคสามารถหาซื้อมารับประทานได้อย่างสบายใจ โดยการตรวจวิเคราะห์ในครั้งนี้เป็นการตรวจหาสารก่อมะเร็ง (สารเบนโซ (เอ) ไพรีน) ที่อยู่ในเครื่องปรุงรสของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเต้าเจี้ยว, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสปลาหมึก, บะหมี่  กึ่งสำเร็จรูปรสอาหารทะเล และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเผ็ด ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบสารก่อมะเร็งในเครื่องปรุงรสแต่อย่างใด คปภ. แนะซื้อประกันภัยสุขภาพอย่างถูกต้อง คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) แนะนำผู้ที่จะซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนเลือกซื้อ อันดับแรกต้องเข้าใจก่อนว่าระหว่างการประกันชีวิตและการประกันภัยสุขภาพนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร สำหรับการประกันชีวิตนั้น เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทางด้านชีวิตโดยตรง บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินสินไหมทดแทนเนื่องจากการเสียชีวิต (จากทุกกรณี) หรือเนื่องจากการมีชีวิตอยู่รอดตามระยะเวลาที่กำหนดขึ้นอยู่กับสัญญาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองการเสียชีวิตและการอยู่รอดเต็มจำนวนผลประโยชน์ที่ซื้อจากทุกๆ กรมธรรม์ประกันชีวิต ส่วนการประกันภัยสุขภาพ ซึ่งเป็นสัญญาเพิ่มเติมที่ซื้อเพิ่มจากกรมธรรม์ประกันชีวิตจะให้ความคุ้มครองด้านค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยรายได้เนื่องจากนอนพักรักษาพยาบาลเท่านั้น ไม่ว่าการรักษาพยาบาลนั้น จะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งการพิจารณารับประกันภัยของบริษัทประกันภัย จะขึ้นอยู่กับสุขภาพและอายุของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ ทั้งนี้ บริษัทประกันภัยส่วนใหญ่จะไม่คุ้มครอง “โรคที่เป็นมาก่อนการทำประกันภัย” เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย และโรคเอดส์ และหากผู้ขอเอาประกันภัย มีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีโรคประจำตัวหลายอย่าง บริษัทประกันภัยอาจจะพิจารณารับประกันภัยด้วยเบี้ยประกันภัยที่สูงกว่าคนปกติ หรืออาจจะไม่รับประกันภัยเลยก็ได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาและควรรู้สำหรับผู้ที่จะทำประกันสุขภาพก็คือ การเบิกค่ารักษาพยาบาลจากการทำประกันภัยสุขภาพ ผู้เอาประกันภัยจะเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริงเท่านั้น ดังนั้น การซื้อประกันภัยสุขภาพ ผู้เอาประกันภัยไม่จำเป็นต้องซื้อหลายๆ กรมธรรม์ แต่ควรพิจารณาว่าค่ารักษาพยาบาลที่ได้ทำอยู่แล้วครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่ผู้เอาประกันภัยต้องการหรือไม่ และควรศึกษาทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยทุกครั้ง ว่าตรงกับที่บริษัทประกันภัยเสนอขาย     รถทัวร์เตรียมใช้ “จีพีเอส” ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป รถโดยสารสาธารณะเตรียมนำระบบจีพีเอสมาใช้ เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้โดยสาร โดยจะเริ่มต้นที่รถของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กว่า 800 คัน ก่อนจะขยายผลไปยังรถร่วมบริการของ บขส. และรถตู้โดยสาร ซึ่งระบบจีพีเอสน่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องอุบัติเหตุของรถโดยสารที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในปัจจุบัน ระบบจีพีเอสมีเป็นระบบสื่อสารกับดาวเทียม สามารถรู้จุดตำแหน่งของรถที่ติดตั้ง การใช้ความเร็ว สามารถควบคุมให้พนักงานขับรถปฏิบัติตามกฎหมาย และเกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จของผู้บริโภค หลังจากที่องค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยบนท้องถนนหลากหลายภาคส่วน ได้เข้ายื่นหนังสือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอให้จัดตั้ง “ศูนย์ควบคุมการเดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางตลอด 24 ชั่วโมง” และให้มีการติดตั้งระบบจีพีเอสและกล่องเก็บข้อมูลในรถโดยสารสาธารณะประจำทาง เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา เห็นหรือยังว่าพลังของผู้บริโภคมีความสำคัญอย่างมากในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาและแก้ปัญหาต่างๆ ของผู้บริโภคในสังคม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 172 ไปทัวร์ อย่าเสียที

เชื่อว่าผู้อ่านวารสารฉลาดซื้อหลายท่านคงมีโอกาสไปเที่ยวต่างประเทศกับทัวร์ต่างๆ กันมาแล้ว นอกจากสถานที่น่าสนใจตามโปรแกรมทัวร์แล้ว ยังมีสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ทัวร์มักจะพาเราไปเยี่ยมชม(ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ขอร้องขอ หรือบางครั้งก็อาจจะร้องขอ คือร้องขอให้ตัดออกจากโปรแกรมไปเลย) สถานที่ที่ผมกำลังพูดถึงคือ ร้านขายผลิตภัณฑ์สุขภาพนั่นเอง เมื่อเราได้หลงตามเข้าไปแล้ว หลังเผชิญพิธีกรรมอันแยบยลสุดท้ายลูกทัวร์หลายคนก็กลายเป็นลูกเท คือมือไม้อ่อนเทเงินออกจากกระเป๋าเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์กันระนาว กว่าจะรู้ตัวสติกลับคืนร่าง ก็เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้วพบว่าเงินในกระเป๋ามันพร่องแถมผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมา ซึ่งก็งั้นๆ หาได้มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมสมดังคำโฆษณาไม่ ขอ ถือโอกาสนี้ “คืนสติให้คนทั้งชาติ” ไม่ให้เสียทรัพย์ช้ำทรวงโดยไม่จำเป็นดีกว่า1. เขาบอกว่า ร้านค้าสุดยอด : สถานที่แห่งนี้มักจะระบุในโปรแกรมทัวร์มาแล้ว โดยไกด์มักจะบอกว่าเป็นสถานที่บังคับของการท่องเที่ยวประเทศนั้นๆ และบางทีก็จะโน้มน้าวเพิ่มเติมให้ว่า สถานที่แห่งนี้รัฐบาลรับรองให้ด้วยนะ ไม่ใช่ร้านค้าแบกะดินกินพื้นที่ริมถนน ดังนั้นของที่มีจำหน่ายจะคุณภาพดีกว่าของริมถนน หรือในตลาด (คำว่าดีกว่าอาจหมายความว่าดีกว่าจริง แต่ไม่ได้หมายถึงมีคุณภาพสมดังคำโฆษณานะครับ)2. พนักงานฉอเลาะ พูดเพราะจับใจ : เมื่อเราโดนต้อนเข้าไปแบบต้อนหมู่แล้ว เราจะพบกับพนักงานขายใบหน้ายิ้มแย้ม ที่สำคัญคือส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยได้ มาทักทายกระจายรอยยิ้ม เชิญชวนให้เรารับฟังการแนะนำผลิตภัณฑ์ของเขา แถมบอกว่าไม่ซื้อไม่ว่าซะด้วย(ไม่ซื้อไม่ว่าน่ะทำจริง แต่จะมีพิธีกรรมอย่างอื่นให้เราระทวยดังต้องมนต์จนหลงซื้อในลำดับต่อไป)3. เทคนิคการขาย สลายสติ : ขั้นตอนนี้ จะเป็นพิธีกรรมสลายสติ สารพัดวิธีการที่พนักงานขายจะนำมาใช้กับเรา ตั้งแต่เอารูปหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์มาอธิบายแบบงูๆ ปลาๆ จับแพะชนแกะ บางทีก็เอาเครื่องมือสมัยใหม่มาประกอบด้วย เช่น ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องข้อนิ้วดูเส้นเลือดฝอย แล้วโชว์ผ่านจอ ซักถามอาการและวินิจฉัยแบบทำนายว่า ถ้าเส้นเลือดเราเป็นแบบนี้จะมีความเสี่ยงโรคนั้นโรคนี้ขนาดไหน ซึ่งมักจะวินิจฉัยแบบหมูหมากาไก่ อย่างน้อยก็เฉียดกันบ้าง แถมบางครั้งพนักงานทำท่าห่วงใยจนแทบจะกรี๊ดตกอกตกใจแทนเราว่า แย่แล้ว สุขภาพเรากำลังจะแย่จงเร่งซื้อผลิตภัณฑ์เถิดจะเกิดผล เจอไม้นี้นักท่องเที่ยวบางคนก็เคลิ้มเชื่อไปเกือบทั้งตัวแล้ว 4. ไกด์เหลือทน เล่ห์กลผสมโรง : เคยไปบางทัวร์ที่ลูกทัวร์ล้วนมีสติ ไม่มีใครยอมควักสตางค์ซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพแม้พนักงานขายจะพูดจนปากเปียกปากแฉะแล้ว จนไกด์ถึงกับทนไม่ไหว กระโจนใส่ทันที อย่าคิดว่ามาช่วยเรียกสติเรานะ ส่วนใหญ่จะโน้มน้าวให้ซื้อด้วยซ้ำ(เพราะบางทีเขาจะได้เปอร์เซ็นต์หรือของกำนัลจากยอดขาย)5. อุปาทานหมู่ หรือจะสู้สติ : ลูกทัวร์ทั้งหลายพึงตั้งสติให้ดีนะครับ จากประสบการณ์ที่เคยเจอ กรณีที่ผู้ขายอ้างเครื่องหมายรับรองคุณภาพทั้งหลาย ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งนั้น หมายความว่า “มันไม่ใช่ยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ” คิดง่ายๆ ถ้าได้ผลจริงพลเมืองในประเทศนี้คงไม่เจ็บไม่ป่วย โรงพยาบาลคงเอาเข้าไปใช้เป็นยาในโรงพยาบาลกันแล้ว ... ยังไงตั้งสติให้ดีนะครับ ถ้าไม่ชัวร์ท่องไว้ในใจ “ไม่ควรเสี่ยงซื้อ” ไปทัวร์อย่าเสียทีนะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 169 ความคืบหน้ากรณี รถทัวร์ตกเหว แล้วหลอกให้ผู้เสียหายทำยอมรับเงิน

ความคืบหน้าหลังการฟ้องคดี จากเสียงผู้บริโภค ฉบับที่ 165 ตอน บริษัทประกัน หลอกผู้เสียหาย ทำยอมรับเงิน เหตุรถทัวร์ตกเหว ครับจากเหตุการณ์ ที่กลุ่มชาวบ้านผู้สูงอายุ จากหมู่บ้านแม่สะลาบและหมู่บ้านบุปผาราม ตำบลชมพู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมกันเหมารถยนต์โดยสารรับจ้างจำนวน 3 คัน เพื่อไปทำบุญทอดกฐินที่วัดใหม่สามัคคีธรรม จังหวัดลำปาง ครั้นเมื่อทำบุญเสร็จแล้ว และกำลังเดินทางกลับจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อมาถึงบริเวณเส้นทางถนนสายพะเยา – วังเหนือ มุ่งหน้าไปยังอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นทางลาดลงเขา รถยนต์โดยสารคันที่ 2 ที่ขับรถมาด้วยความเร็ว ได้เสียหลัก ก่อนจะพุ่งใส่ราวสะพานเหล็กกั้นริมถนน ชนเข้ากับต้นไม้ใหญ่หักโค่น หลังคารถฉีกขาด รถพลิกคว่ำพุ่งดิ่งลงเหวลึก มีผู้เสียชีวิตทันที 22 คนและบาดเจ็บ 17 คน นั้นหลังเกิดเหตุ ตัวแทนบริษัทผู้ประกอบการรถยนต์โดยสารและตัวแทนบริษัทประกันภัยได้เข้าเยี่ยมดูแลผู้เสียหายทั้งหมดด้วยความปรารถนาดี พร้อมมอบของขวัญอันล้ำค่าที่ไม่ลืมเลือนให้กับผู้เสียหายที่บาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิตแต่ละราย ด้วยการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทน พร้อมสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยที่ตัวแทนบริษัทประกันภัยดังกล่าวไม่ได้อธิบายถึงข้อเสียของการทำสัญญาประนีประนอมให้กับผู้เสียหายแต่อย่างใด ว่าเมื่อผู้เสียหายรับเงินและลงชื่อรับเงินไปแล้วจะเสียสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายต่างๆ เพิ่มเติมจากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นคนขับ เจ้าของรถ หรือบริษัทประกันภัยทันทีจากกรณีดังกล่าว ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมกับ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ และมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ในการลงพื้นที่รวบรวมข้อเท็จจริงและให้ความช่วยเหลือทางคดีเพื่อเรียกร้องสิทธิที่ถูกละเมิดและถูกหลอกลวงจากข้อมูลของบริษัทประกันภัย จึงได้ยื่นฟ้องนายวิวัฒน์ โนชัย , ห้างหุ้นส่วนวีระพันธ์ทัวร์แอนด์ทราเวล , นายวีระพันธ์ เหลืองทอง , บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด มหาชน และ บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด มหาชน เป็นคดีผู้บริโภค จำนวน 26 คดี ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 ศาลจังหวัดเชียงใหม่ นัดพิจารณาคดีครั้งแรก ในวันที่ 23 ธันวาคม 2557   และ 16 มกราคม 2558  ตามลำดับ โดยในวันนัดดังกล่าวคู่ความทั้งหมดประกอบด้วยผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ทั้ง 26 คดี และจำเลยทั้งห้ามาศาล เพื่อเจรจาไกล่เกลี่ย แต่คู่ความทั้งสองฝ่ายเจรจากันไม่ได้ เนื่องจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรถแถลงต่อศาลว่าไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายตามที่โจทก์ทั้ง 26 คดีเรียกร้องได้ และให้เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 4 บริษัทประกันภัยให้จ่ายค่าเสียหายแทน  ส่วนจำเลยที่ 4 และที่ 5 ในฐานะบริษัทประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุ ก็ออกตัวชัดเจนว่าได้จ่ายเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้กับผู้เสียหายและทายาททั้งหมดแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องจ่ายเพิ่มให้อีกแต่อย่างใด  เมื่อคดีไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ ศาลจึงกำหนดให้นัดสืบพยานเพื่อไม่ให้คดีล่าช้าโดยศาลใช้กระบวนพิจารณาคดีแบบกลุ่ม คือ รวมทั้ง 26 คดีเป็นคดีเดียวกัน โดยให้สืบโจทก์แต่ละคดีให้เสร็จสิ้นก่อน ค่อยให้จำเลยทั้งห้าสืบแก้ แต่ในระหว่างการสืบพยานโจทก์  คู่ความทั้งสองฝ่ายได้เจรจาไกล่เกลี่ยกันโดยตลอดซึ่งภายหลังการสืบพยานโจทก์ได้ 10 วัน  จำเลยที่ 2 และ 3 เสนอเงื่อนไขการเจรจา ยินยอมชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้ง 26 คดี เป็นเงินจำนวนหนึ่ง และจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยภาคสมัครใจของรถยนต์คันเกิดเหตุ เสนอเงื่อนไขการเจรจา ช่วยเหลือชำระค่าเสียหายเพิ่มเติมให้กับโจทก์ที่บาดเจ็บตามการเรียกร้องของแต่ละคนอีกจำนวนหนึ่ง (สำหรับกรณีคนที่เสียชีวิตนั้น จำเลยที่ 4 ไม่ได้จ่ายเพิ่ม เนื่องจากเต็มวงเงินตามหน้ากรมธรรม์ประกันภัยแล้ว)  โจทก์ทั้ง 26 เห็นชอบด้วยกับเงื่อนไขของจำเลยดังกล่าว จึงยอมรับและยินยอมถอนฟ้องจำเลยทั้งหมดในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมาหลังคดีสิ้นสุด จำเลยที่ 3 เจ้าของรถ ได้แถลงต่อหน้าศาลแสดงความเสียใจและขออโหสิกรรมในความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด และผู้เสียหายทุกคนไม่ติดใจ ยินยอมอโหสิกรรมให้ตามที่จำเลยที่ 3 แถลง คดีจึงยุติลงด้วยดีบทสรุปของคดีนี้ หากมองถึงเรื่องจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนได้รับแล้ว อาจจะไม่สมหวังเท่าใดนัก เหตุเพราะคดีนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เรื่องจำนวนเงินค่าเสียหายไม่ใช่ประเด็นสำคัญสำหรับการฟ้องคดี  อาทิ เจ้าของรถไม่มีเงินเพราะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย และผู้เสียหายเกือบทุกคนถูกบิดเบือนข้อมูลหลอกให้รับเงินทำสัญญาประนีประนอมยอมความแต่หากมองถึงเรื่องกระบวนการต่อสู้ของผู้เสียหายทุกคนที่ ร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจ ในการเรียกร้องสิทธิ รวมถึงขั้นตอนการฟ้องคดี ที่ชาวบ้านผู้เสียหายทั้งหมดได้เรียนรู้โดยตรง ในการเจรจาไกล่เกลี่ย และการรวมคดีเพื่อพิจารณาแบบกลุ่มนั้น ต้องถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงและที่สำคัญ ผู้เสียหายทุกคน รู้ตัวเองดีว่าโอกาสที่จะได้รับค่าเสียหายได้ยาก เพราะถูกสัญญาประนีประนอมยอมความปิดปากไว้แล้ว แต่ทุกคนก็ไม่ยอมแพ้ ไม่มีถอย พร้อมที่จะสู้ เพราะทุกคนต้องการปกป้องสิทธิของตนเอง ต้องการฟ้องคดีเพื่อให้เป็นประเด็นสาธารณะ  เป็นตัวอย่างให้กับจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานสัญญารถเช่าต่อไปกรณีนี้ ถือเป็นกรณีตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่งที่จะเป็นบทเรียนให้กับผู้บริโภครายอื่นๆ ได้เรียนรู้ได้ว่า อย่าเพิ่งยอมแพ้กับสิ่งที่ยังไม่เกิด แม้จะมีปัญหาและอุปสรรคขวางอยู่ข้างหน้า ขอให้เราได้เริ่ม รับรองมีทางออกแน่นอน...  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 159 เหยื่อรถทัวร์ผี ความสูญเสียที่ไม่มีวันได้คืน

เทศกาลสงกรานต์หลายครอบครัวคงมีความสุขที่ได้กลับมาอยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา แต่สำหรับครอบครัว นันตะนะ นี่คือการสูญเสียอย่างไม่มีวันได้คืน...เช้า 13 เมษายน 2553  บุญถม นันตะนะ ได้รับงานด่วนให้ไปที่จังหวัดอุบลราชธานี   บุญถมจึงรีบโทรศัพท์จองตั๋วกับ บ.รถทัวร์ แต่ทุกที่บอกเพียงว่า “ ให้มาก่อน บางทีเผื่อจะมีคนยกเลิกตั๋ว ไม่ก็มีรถเสริม ”  คล้อยบ่ายบุญถม จึงรีบเดินทางไปสถานีขนส่งหมอชิต 2  โดยหวังว่าจะมีตั๋วว่างสำหรับคืนนี้ค่ำวันนั้น “  พ่อได้ตั๋วแล้วนะแม่ ซื้อที่ช่องขายตั๋วเลย รถจะออกตอนสี่ทุ่มครึ่ง เดี๋ยวถึงแล้วจะโทรหาแม่นะ ” ...นี่คือเสียงสุดท้ายที่ ชุติกาญจน์ ได้ยินเสียงจากสามี  เพราะเช้ามืดวันที่ 14 เมษายน 2553  รถทัวร์ที่บุญถมนั่งไปประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำที่จังหวัดนครราชสีมา บุญถม พร้อมผู้โดยสารอีกหลายราย เสียชีวิตทันที และมีคนบาดเจ็บจำนวนมากหลังการเสียชีวิตของบุญถม ชุติกาญจน์ได้รับจดหมายแจ้งสิทธิการให้ความช่วยเหลือจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เธอจึงมาร้องขอความช่วยเหลือ เพื่อให้ช่วยเรื่องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อให้ชุติกาญจน์ได้รับการเยียวยาตามสิทธิที่มีก่อนนั้น มูลนิธิฯ ได้นำเรื่องยื่นต่ออนุญาโตตุลาการ เพื่อมีคำสั่งให้บริษัทกมลประกันภัย จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับชุติกาญจน์ตามกรมธรรม์โดยทันที ผลการเจรจาไกล่เกลี่ย บริษัทยอมจ่ายค่าสินไหมตามกรมธรรม์ให้กับชุติกาญจน์ได้สำเร็จ ส่วนข้อเท็จจริงทางคดีจากทะเบียนรถยนต์คันเกิดเหตุ พบว่า รถทัวร์คันที่เกิดเหตุนั้น เป็นรถโดยสารไม่ประจำทางของบริษัท เฟิร์สแฟรงค์ทัวร์ จำกัด ที่นำมาเสริมวิ่งรับคนโดยสารในช่วงเทศกาลสงกรานต์กับบริษัท ขนส่ง จำกัด  แต่ บริษัท ขนส่ง จำกัด กลับปฏิเสธ อ้างไม่มีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์นี้ เพราะรถคันนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาวิ่งรับคนโดยสารในวันดังกล่าว ทำให้การเจรจาไม่สามารถยุติได้ ชุติกาญจน์ จึงจำเป็นต้องนำเรื่องขึ้นฟ้องนายชำนาญ มหาสังข์ คนขับ จำเลยที่ 1 , บริษัท เฟิร์สแฟรงค์ทัวร์ จำกัด เจ้าของรถ จำเลยที่ 2 และ บริษัท ขนส่ง จำกัด  จำเลยที่ 3 ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีผู้บริโภค เพื่อเรียกค่าเสียหาย เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554ในชั้นพิจารณาคดี ทั้งสองฝ่ายนำพยานเข้าสืบ ฝ่ายโจทก์ มีชุติกาญจน์ เบิกความยืนยันถึงความเดือดร้อนเสียหายที่เกิดขึ้นกับครอบครัว ภายหลังที่สามีเสียชีวิต โดยมีคุณวิลาวรรณ  ผู้รอดชีวิตที่ขึ้นรถคันเดียวกับบุญถม มาเป็นพยานนำชี้จุดซื้อตั๋วและทางเดินไปที่ชานชาลา พร้อมยืนยันการขึ้นรถในสถานีขนส่ง ขณะที่ฝ่ายจำเลย  บริษัท ขนส่ง จำกัด จำเลยที่ 3  ปฏิเสธไม่เกี่ยวข้องทุกอย่าง โดยมีพยานเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัท มาเป็นพยานเบิกความถึงขั้นตอนการขออนุญาตนำรถเสริมเข้ามาวิ่งร่วมรับส่งคนโดยสารกับบริษัทในเทศกาลดังกล่าวศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า แม้ว่าจำเลยที่ 3 ที่จะนำพยานที่เป็นเจ้าหน้าที่เบิกความทำนองว่า รถยนต์โดยสารที่จะนำเข้ามาวิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 3 และกรมการขนส่งทางบกก่อน ตามหนังสือขออนุญาตของจำเลยที่ 3 และจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจใบอนุญาตตั้งแต่ปากทางเข้าและทางออกอยู่ตลอดเวลานั้นแต่ตามหลักฐานเอกสารการขออนุญาตนำรถเข้าวิ่งร่วมของจำเลยที่ 3 ที่นอกจากจะระบุให้เจ้าของรถร่วมหมวด 2 มาร่วมวิ่งแล้ว ยังระบุให้สมาคมผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถโดยสารไม่ประจำทางมาร่วมวิ่งเสริมได้ด้วย ซึ่งรถยนต์คันเกิดเหตุอาจอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะนำรถเข้าวิ่งร่วมกับจำเลยที่ 3 และได้รับอนุญาตให้นำรถเข้ามาวิ่งร่วมกับจำเลยที่ 3 ได้ แม้จะไม่มีตราหรือสัญลักษณ์ใดๆ ของจำเลยที่ 3 ติดอยู่ก็ตาม เพราะมิฉะนั้นรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุคงไม่สามารถเข้ามาวิ่งร่วมรับคนโดยสารได้เพราะจะถูกเจ้าหน้าที่จับกุมยึดรถได้นอกจากนี้เอกสารดังกล่าวยังระบุว่าให้เจ้าของรถร่วมและสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารไม่ประจำทางทุกคันต้องใช้ตั๋วรถโดยสารตามแบบตั๋วโดยสารที่จำเลยที่ 3 กำหนด นั้น ก็เป็นการสอดคล้องกับคำเบิกความของพยานโจทก์ที่ว่าได้ซื้อตั๋วโดยสารที่ช่องจำหน่ายตั๋วและขึ้นรถที่ชานชาลาในสถานีขนส่งหมอชิต 2 อีกด้วยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบจึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานของจำเลย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้อนุญาตจำเลยที่ 2 รถโดยสารเข้าร่วมวิ่งรับขนคนโดยสารกับจำเลยที่ 3 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นการชั่วคราวโดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และ จำเลยที่ 2  เมื่อพิเคราะห์จากความเสียหายที่โจทก์ได้รับแล้ว จึงกำหนดให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจ่ายค่าสินไหมทดแทนรวมเป็นเงิน 1,312,000 บาท เมื่อหักจากเงินที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยไปแล้ว คงเหลือเป็นเงินที่จำเลยทั้งสามต้องจ่ายทั้งสิ้นจำนวน  682,000 บาทกรณีนี้ถือเป็นบทเรียนสำคัญและเป็นคดีตัวอย่างของผู้บริโภคที่อาจจะไม่มีทางเลือก และหลงใช้บริการรถทัวร์ผี ที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว อาจจะไม่มีผู้ใดออกมารับผิดชอบ แต่กรณีนี้โชคดีที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้เสียชีวิตซื้อตั๋วที่ช่องจำหน่ายตั๋วและขึ้นรถภายในสถานีขนส่งหมอชิต 2ซึ่งแม้คดีจะจบลงด้วยศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจ่ายค่าเสียหาย แต่คดีก็ใช้เวลานานกว่า 3 ปี อีกทั้งจำเลยทั้งสามยังมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาต่อได้ ทำให้คดียังไม่สิ้นสุด ชุติกาญจน์ จึงยังไม่ได้รับการเยียวยาอย่างแท้จริงแต่อุปสรรคดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้ชุติกาญจน์ยอมแพ้  แม้จะเจ็บช้ำ แต่เธอยังมีหน้าที่ต้องสู้เพื่อสิทธิของครอบครัวเธอต่อไป  สู้จนกว่าเธอจะชนะ   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 102 กระแสต่างแดน

แดดไม่แจ่ม เราจ่าย บริษัททัวร์หัวใสในประเทศฝรั่งเศสมีโปรโมชั่นใหม่มาเอาใจลูกค้าที่นิยมสายลมแสงแดด คือถ้าคุณซื้อทัวร์ของบริษัท Pierre et Vacances หรือ FranceLoc ไป แล้วต้องขาดโอกาสในการอาบแดดเพราะไปติดฝนอยู่ไม่ต่ำกว่า 4 วันต่อหนึ่งสัปดาห์ บริษัทจะรับผิดชอบด้วยการจ่ายเงินคืนให้ด้วยวงเงินประกันสูงสุด 400 ยูโร (ประมาณ 20,000 บาท) คุณอาจสงสัยว่าแล้วจะพิสูจน์กันยังไง ถ่ายรูปตัวเองตอนเปียกปอนเพราะสายฝนแล้วส่งไปให้บริษัทดูอย่างนั้นหรือ ข่าวบอกว่านักท่องเที่ยวไม่ต้องทำอะไร บริษัทจะเป็นฝ่ายส่งอีเมล์หรือเอสเอ็มเอสไปหาเองถ้าเขาตรวจสอบข้อมูลกับรูปถ่ายจากดาวเทียมของกรมอุตุของฝรั่งเศสแล้วว่ามีฝนตกจริงๆ ในสถานที่ที่ลูกค้าซื้อทัวร์ไป จากนั้นก็จะส่งเช็คมาให้ภายใน 3 วันหลังจากลูกค้ากลับถึงบ้าน เงินที่จะคืนให้กับลูกค้าแต่ละรายนั้นเขาจะดูตามปริมาณฝนที่ต้องเผชิญด้วย (สงสัยว่าคนที่จะได้ 400 ยูโรเต็มๆ นี่คงจะเป็นพวกที่ต้องหลบฝนอยู่ในโรงแรมทั้ง 7 วันเลยแน่ๆ) ไอเดียนี้ ททท. สนใจจะนำมาใช้โปรโมทการชวนคนไทยเที่ยวไทยบ้างก็น่าจะดี ว่าแต่จะประกันเรื่องอะไรดี เราก็ไม่ใช่ชนชาติที่นิยมแสงแดดเหมือนเขาเสียด้วย คิวบา ประกาศรัดเข็มขัด ประธานาธิบดี ราอูล คาร์ลอส ของคิวบาบอกกับประชาชนว่า ขณะนี้ประเทศกำลังอยู่ในช่วงวิกฤติขั้นรุนแรง ขอให้ทุกคนขยันกันให้มากขึ้น และเตรียมพร้อมกับการรัดเข็มขัดระดับชาติกันได้แล้ว ฤดูร้อนปีที่ผ่านมา คิวบาก็เผชิญกับพายุเฮอริเคนถึงสามครั้ง เป็นความเสียหายทั้งหมดกว่าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และจนถึงวันนี้ก็ยังซ่อมบ้านของประชาชนไปได้เพียงร้อยละ 43 ของบ้านที่เสียหายทั้งหมดจำนวน 260,000 หลัง ที่สำคัญคิวบาสูญเสียเสบียงอาหารและสินค้าเกษตรที่รัฐบาลเก็บตุนไว้เพื่อประกันราคาด้วย เมื่อต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ คิวบาซึ่งประชากรแทบทุกคนเป็นลูกจ้างของรัฐ ด้วยเงินเดือนเฉลี่ยต่อหัวประมาณ 20 เหรียญ (ประมาณ 700 บาท) ได้ประกาศยกเลิกอาหารกลางวันเอื้ออาทรที่เคยมีไว้บริการพนักงานในโรงงานแล้ว และตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนเป็นต้นมา คิวบา (ซึ่งผลิตน้ำมันเองได้ และยังได้ใช้น้ำมันฟรีจากเวเนซูเอล่า) ก็ประกาศนโยบายประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนลดรายจ่ายของประเทศลงให้ได้ร้อยละ 6 ด้วย เดี๋ยวนี้รัฐประกาศให้ข้าราชการมาทำงานแค่ 8 โมงเช้า ถึง 3 โมงเย็นเท่านั้น บางแห่งให้มาทำอาทิตย์ละ 2 วัน ที่สำคัญที่ทำการรัฐหลายๆ แห่งก็ห้ามเปิดเครื่องปรับอากาศด้วย ข่าวบอกว่าโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายลดการใช้พลังงานไปแล้วได้แก่ โรงงานผลิตยางรถยนต์ และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากนมวัว ช่วงนี้ยางรถยนต์ที่คิวบาขาดตลาด ในขณะที่โยเกิร์ตในเมืองหลวงฮาวาน่านั้น กลายเป็นของหายากและราคาแพงลิบลิ่ว มีขายเฉพาะในห้างหรูๆ หรือแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น คนคิวบาตาดำๆ ไม่สามารถซื้อหามากินได้ แบนร้านฟาสต์ฟู้ด อีกไม่นานนิวยอร์คอาจมีประกาศห้ามเปิดร้านฟาส์ตฟู้ดในระยะ 1.6 กิโลเมตรจากที่ตั้งของโรงเรียนรัฐกระแสการตื่นตัวเรื่องโรคอ้วนในเด็กกับอาหารฟาสต์ฟู้ด ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มธุรกิจร้านอาหารฟาส์ต์ฟู้ดรายใหญ่ได้ไม่น้อยทีเดียว เช่น แมคโดนัลด์ หรือเบอร์เกอร์ คิง และบริษัทฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาอีก 13 ราย (ในกลุ่มนี้ไม่มี เคเอฟซี พิซซ่าฮัท เอแอนด์ดับบลิว และทาโก้ เบลล์) ได้ทำข้อตกลงร่วมกันว่า จะต้องมีข้อความที่พูดถึงอาหารที่ดีต่อร่างกายอย่างน้อยครึ่งหนึ่งในโฆษณาที่มีเป้าหมายเป็นเด็ก ลดการใช้ตัวการ์ตูนที่เด็กๆ รู้จัก และไม่ทำการโฆษณาในเขตโรงเรียน อย่างไรก็ตามกลุ่มที่เคลื่อนไหวเรื่องนี้ยังเป็นห่วงว่า มาตรการต่างๆ นั้นอาจไม่เป็นผลเมื่อบริษัทเหล่านี้ก็จะยังคงเปิดสาขาเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับลูกค้าเด็กๆ ในบริเวณที่ใกล้กับสถานศึกษา เพิ่มขึ้นทุกวัน จากผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ระบุว่า เด็กแคลิฟอร์เนียที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่มีร้านเบอร์เกอร์และเฟรนช์ฟรายส์ อยู่ใกล้ๆ นั้นมีอัตราการเป็นโรคอ้วนสูงกว่าเด็กจากที่อื่นๆ ร้อยละ 5.2 เจนนิเฟอร์ แฮริส นักวิชาการด้านโรคอ้วนและนโยบายด้านอาหารจากมหาวิทยาลัยเยล บอกว่าความพยายามของผู้ประกอบการนั้นยังไม่อาจนับเป็นอะไรได้ สิ่งที่ควรจะมีขึ้นคือการใช้กฎหมายเพื่อจำกัดการเข้าถึงอาหารฟาสต์ฟู้ดไปเลย เหมือนอย่างที่ทำกับสินค้าอย่างบุหรี่หรือเหล้านั่นเอง ว่าแล้ว เอริค โจยา สมาชิกสภาเมืองนิวยอร์ค ก็เตรียมยื่นร่างกฎหมายที่ห้ามเปิดกิจการร้านฟาสต์ฟู้ดในระยะ 1.6 กิโลเมตรจากโรงเรียนไปเสียเลย เขาบอกว่าถึงบรรดาพ่อแม่จะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการเลือกรับประทานอาหารของลูก แต่รัฐเองก็มีหน้าที่รับผิดชอบในการช่วยให้พ่อแม่สามารถเลี้ยงลูกให้มีสุขภาพดีขึ้นด้วยเช่นกัน รถมือสอง ... เรื่องร้องเรียนอันดับหนึ่งของคนอังกฤษ คอนซูเมอร์ ไดเร็ค หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคของประเทศอังกฤษ ออกมาแถลงสถิติจำนวนเรื่องร้องเรียนว่าปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามามากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2552 ได้แก่ ปัญหาจากการซื้อรถมือสองนั่นเอง โดยมีกรณีร้องเรียนทั้งหมด 24,672 กรณี จากทั้งหมด 414,000 กรณีส่วนอันดับสองได้แก่ สัญญาการใช้โทรศัพท์มือถือ อันดับสามคือโทรทัศน์ และตามด้วยโทรศัพท์มือถือ (หมายถึงตัวเครื่อง) โดยรวมแล้วปีนี้มีคนร้องเรียนน้อยลงร้อยละ 3 โดยถ้าแยกแยะเป็นประเด็นแล้วหนึ่งในสามของเรื่องร้องเรียนเหล่านั้น เป็นเรื่องของสินค้าชำรุด บกพร่อง ในขณะที่หนึ่งในสี่เป็นการได้รับบริการที่ไม่ดีจากร้านหรือจากพนักงานขาย อังกฤษมีการใช้ พรบ.การขายสินค้า ค.ศ. 1979 ที่ระบุว่า ถ้าของที่เราซื้อมามีความบกพร่อง ทางร้านจะต้องรับผิดชอบด้วยการคืนเงินหรือซ่อมหรือเปลี่ยนสินค้าชิ้นใหม่ให้ แต่ถ้าความบกพร่องดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการใช้งานโดยผู้บริโภคแล้ว ถ้ายังอยู่ในช่วงหกเดือนแรกหลังการซื้อ ทางร้านจะต้องรับภาระการพิสูจน์ข้อบกพร่องดังกล่าว แต่ถ้าหกเดือนผ่านไปภาระการพิสูจน์จะเป็นของผู้บริโภค จองได้ ไม่ต้องจ่ายเพิ่งรู้เหมือนกันว่าที่ประเทศจีนนั้นจะพบแพทย์กันครั้งหนึ่งเราต้องไปเข้าคิวขอนัดหมอ และการเข้าคิวอย่างเดียวก็ใช้เวลาหลายชั่วโมงแล้ว ที่เพิ่งจะรู้อีกอย่างหนึ่งคือคนจีนที่เบื่อรอ เขานิยม (หรือจำเป็นก็ไม่แน่ใจ) ไปเสียเงินใช้บริการของตัวแทนรับจองนัดพบแพทย์อย่าง www.91985.com เป็นต้น ข่าวไม่ได้บอกว่าค่าบริการครั้งละเท่าไร แต่คงไม่สำคัญแล้วเพราะกระทรวงสาธารณสุขของจีนซึ่งอยู่ในระหว่างการปฎิรูปบริการสาธารณสุขมีแผนจะห้ามโรงพยาบาลใช้บริการจากตัวแทนดังกล่าว แล้วบังคับให้โรงพยาบาลเหล่านั้นให้บริการรับนัดฟรีให้กับประชาชนด้วยตนเอง ขณะนี้แผนการดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาและมีการเปิดให้ประชาชนเข้าไปแสดงความเห็นได้ในเว็บไซต์ของกระทรวงฯ โรงพยาบาลใหญ่ๆ อย่างโรงพยาบาลรุยจินและโรงพยาบาลหัวซานได้ประกาศยกเลิกการรับนัดผ่านตัวแทน www.91985.com ไปแล้ว และทางตัวแทนดังกล่าวก็บอกว่าจะเปลี่ยนไปทำธุรกิจขายข้อมูลด้านสุขภาพแทน

อ่านเพิ่มเติม >