ฉบับที่ 208 ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

“คดีส่วนใหญ่ที่เราไปฟ้อง เขาจะจ้างลอว์เฟิร์มมาต่อสู้คดีกับเราเพราะเขามีเงิน  แต่ผู้บริโภคไม่มีเงินมากขนาดที่จะไปจ้างได้ แต่เราก็มีทนายจากศูนย์ทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมาช่วยเหลือ ซึ่งตรงนี้จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้” จากสถิติการร้องเรียนของผู้บริโภคทั่วประเทศ ผ่านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ในปี 2560 พบว่า มีเรื่องร้องเรียนสูงถึง 3,615 กรณี ในจำนวนนี้ปัญหาที่มีการร้องเรียนมากที่สุดคือ ปัญหาด้าน อาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 885 กรณี สินค้าและบริการทั่วไป 682 กรณี บริการสุขภาพและสาธารณสุข 631 กรณี การเงินการธนาคาร 527 กรณี บริการสาธารณะ 424 กรณี สื่อและโทรคมนาคม 176 กรณี อสังหาริมทรัพย์ 127 กรณี และอื่นๆ 163 กรณี ศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจึงเกิดขึ้น โดยคุณเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เล่าถึงที่มาว่าทนายความจิตอาสามีความสำคัญในงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไร“ปัญหาของผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ์ ในปัจจุบันเป็นเรื่องสลับซับซ้อนและเป็นเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามากขึ้น เช่นการรักษาพยาบาล การซื้อรถยนต์มาใช้ก็มีปัญหาเรื่องรถเสีย ซึ่งต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยี หรือต้องใช้ พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ถึงจะช่วยผู้บริโภคได้ เพราะปัญหาผู้บริโภคสมัยนี้ไม่ได้โบราณ แบบ ไปตลาด เช่น ซื้อเนื้อมา 1 กิโล แต่ได้เนื้อมา 9 ขีด ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้มันก็ง่าย แต่ปัจจุบันนี้  มันเป็นเรื่องที่ยากที่จะระบุว่า สินค้าที่ผู้บริโภคมาใช้แล้วมีปัญหานี่ มันเป็นความผิดของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการไหม ตัวอย่างที่เห็นกันอยู่เรื่อยๆ ปัญหาเรื่องรถยนต์ที่เราซื้อมาใหม่ อยู่ในระยะประกันป้ายแดง ผู้บริโภคคิดว่ามันไม่ปกติ แต่เวลาไปเข้าศูนย์ของผู้ประกอบการเขาบอกว่าปกติ แล้วตกลงมันเป็นอย่างไรกันแน่ แล้วที่ว่าไม่ปกติ ไม่ปกติแค่ไหน จึงถือว่าเป็นความชำรุดบกพร่องที่ตัวผู้ผลิตจะต้องรับผิดชอบกับผู้บริโภค ด้วยการแก้ไขซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ ถ้าหากว่าแก้ไขซ่อมแซมแล้วมันไม่ดีขึ้น เรื่องเหล่านี้ทนายทั่วๆ ไป ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในด้านนี้ ก็จะดำเนินคดีไม่ถูกว่าจะเริ่มตรงไหนจากจุดไหน ซึ่งศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มีประสบการณ์ทางด้านการฟ้องคดีเกี่ยวกับรถยนต์ มีนักวิชาการให้การสนับสนุน ช่วยตรวจสอบดูว่าเหตุที่มันเกิดเพราะสาเหตุอะไรทำให้ผู้บริโภคมีข้อมูลที่จะไปโต้แย้งกับผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตที่บอกว่าปกติ ไม่เป็นไร หรือการไปใช้สิทธิทางศาล เพราะว่าการเจรจาไม่เป็นผล ก็จะมีข้อมูลจากนักวิชาการเพียงพอที่ทนายจะใช้ไปประกอบในคำฟ้องของตนได้จึงทำให้เราเกิดศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นการรวบรวมทนายที่มีจิตช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือผู้บริโภคโดยไม่ได้หวังสิ่งอื่น และเป็นทนายความที่มีความรู้หลากหลาย บางคนจบปริญญาโท จบเนติบัณฑิต รับรองว่าทนายของศูนย์ฯ มีทนายที่มีความรู้ความสามารถไม่น้อยหน้ากว่าองค์กรไหนๆ ทั้งสิ้น  คดีส่วนใหญ่ที่เราไปฟ้อง เขาจะจ้างลอว์เฟิร์มมาต่อสู้คดีกับเราเพราะเขามีเงิน  แต่ผู้บริโภคไม่มีเงินมากขนาดที่จะไปจ้างได้ แต่เราก็มีทนายจากศูนย์ทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมาช่วยเหลือ ซึ่งตรงนี้จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้” คุณศรินธร อ๋องสมหวัง ทนายประจำมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค “การเป็นทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มันจะแตกต่างตรงที่ เราจะได้รับรู้ถึงความเป็นผู้บริโภค ว่ามันเป็นอย่างไร  แล้วเวลาที่ผู้บริโภคเดือดร้อนแต่เค้าไม่รู้จะหันไปหาใคร เรามาทำงานส่วนนี้ก็เป็นเพราะใจของเราด้วย ทำให้เรารู้สึกว่าเขาไม่ได้เป็นลูกความ เหมือนเป็นญาติกัน เป็นเพื่อนกัน ที่เราอยากให้คำแนะนำให้เค้าหลุดพ้นจากปัญหา”สิ่งที่ได้จากการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคเราจะได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องผู้บริโภคโดยเฉพาะ ซึ่งถ้าเราทำงานที่อื่น เราจะไม่ได้ในจุดนี้นะคะ ปกติก็จะเป็นคดีทั่วไป แพ่ง อาญา ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับผู้บริโภค  เราก็ต้องปรับใช้  อย่างเช่นคดีทางการแพทย์ ซึ่งเราก็จะได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยการถามหมอเพิ่มเติมเพื่อเอามาทำคดีได้ หรือคดีเกี่ยวกับผู้บริโภคก็จะมีเรื่องเฉพาะ อย่าง เช่น ประกาศ สคบ. อะไรพวกนี้ที่ต้องใช้โดยตรง อย่างเรื่องเครื่องสำอางเพิร์ลลี่ ซึ่งต้องไปดูเรื่องสินค้าไม่ปลอดภัยว่าเป็นอย่างไร ถ้าคุณมาทำงานที่นี่คุณจะไม่ได้แค่เรื่องกฎหมายอย่างเดียว คุณจะได้เรื่องความเข้าใจเพราะส่วนหนึ่งเราก็เป็นผู้บริโภค ซึ่งเราสามารถเอาความรู้ไปปรับใช้กับครอบครัวเราได้ ว่าถ้าครอบครัวเราหรือคนรู้จักมีปัญหา เราจะรู้ว่าวิธีเบื้องต้นที่จะแก้ไขปัญาจะมีอะไรบ้าง ไม่ใช่ต้องฟ้องอย่างเดียว อาจจะทำหนังสือร้องเรียน สอบถามเพื่อรักษาสิทธิ์ของตัวเองก่อน แต่ถ้าเราทำงานกฎหมายเราก็ยื่นโนติสแล้ว ซึ่งถ้าเรารู้หลักของมันเราอาจจะไม่ถึงฟ้อง เราแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ แล้วเรื่องมันก็จบในคดีผู้บริโภคนั้น อาจไม่ต้องมีทนายความเลยก็ได้ ผู้บริโภคสามารถดำเนินคดีด้วยตนเองได้ แต่การไม่มีทนายให้คำปรึกษา อาจทำให้ในหลายคดี ซึ่งต้องมีการสืบพยาน การที่ผู้บริโภคไม่มีทนายความคอยให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ  จะเกิดความอยากลำบาก เพราะไม่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับกฎหมาย เกิดการเสียเปรียบในการดำเนินคดีในชั้นศาล โอกาสที่จะเพลี่ยงพล้ำในคดีก็จะมีมาก โดยทางฝั่งผู้ประกอบธุรกิจ จะมีทนายความประจำอยู่แล้ว การที่ผู้บริโภคมีทนายความในการช่วยเหลือในคดี ทำให้ไม่เป็นการเสียเปรียบในเชิงคดีปัจจุบันจะเห็นว่า ยังมีผู้บริโภคเป็นจำนวนมากที่ได้รับความเสียหายจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามาตรการเชิงป้องกันที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอ จึงสมควรที่สนับสนุนให้ผู้บริโภค ได้ความรู้หรือศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องนั้นๆ ก่อนที่ตนเองทำการบริโภคสินค้าหรือบริการ เช่น การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ครบถ้วนถูกต้อง การให้ผู้บริโภคได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้าหรือบริการ เมื่อพบปัญหาขึ้นจะได้แก้ไขได้ทันท่วงทีความแตกต่างของการเป็นทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคงานทนายความเพื่อผู้บริโภค ได้มีโอกาสสัมผัสกับผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน เห็นการถูกละเมิดสิทธิ โดยที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องคุณภาพสินค้าหรือบริการ และขาดอำนาจต่อรองในการเข้าทำสัญญา ทำให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายถูกเอาเปรียบอยู่เสมอ  และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น ผู้บริโภคก็ขาดความรู้ ในวิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องตามขั้นตอน  ทนายความจึงควรมีบทบาทในการให้ข้อมูลเรื่องสิทธิผู้บริโภคโดยการให้คำแนะนำและความช่วยเหลือด้านคดีความกับผู้บริโภค  ทำงานกับผู้บริโภค รับรู้ถึงความเป็นผู้บริโภคการเป็นทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มันจะแตกต่างตรงที่ เราจะได้รับรู้ถึงความเป็นผู้บริโภค ว่ามันเป็นอย่างไร  แล้วเวลาที่ผู้บริโภคเดือดร้อนแต่เค้าไม่รู้จะหันไปหาใคร เรามาทำงานส่วนนี้ก็เป็นเพราะใจของเราด้วย ทำให้เรารู้สึกว่าเขาไม่ได้เป็นลูกความ เหมือนเป็นญาติกัน เป็นเพื่อนกัน ที่เราอยากให้คำแนะนำให้เขาหลุดพ้นจากปัญหาถ้าเป็นลูกความก็จ่ายเงินมา เราทำตามหน้าที่รับเงิน แต่พอมาที่นี่ก็เหมือนได้หลายๆ อย่าง ผู้ร้องกับเราก็เหมือนเกิดความผูกพัน ไปไหนมาไหนก็คิดถึงเราซื้อขนมมาให้ เป็นเหมือนครอบครัว สังคมผู้บริโภค คือเขาเดือดร้อนก็จะนึกถึงมูลนิธิว่ามูลนิธิเป็นที่พึ่ง เขาไปร้องเรียนที่ศาลหรือศูนย์ดำรงธรรม เขาก็จะแนะนำให้มาร้องเรียนที่มูลนิธิ แล้วเวลาเขาร้องเรียนเรื่องกฎหมายก็จะนึกถึงมูลนิธิก่อน เพราะว่าจะเชี่ยวชาญเกี่ยวกับคดีผู้บริโภคที่สุด รักษาผลประโยชน์ให้เขาได้ เนื่องจากคดีมีความหลากหลาย อยากได้คนที่มีความรู้ที่หลากหลายสาขาอาชีพมาช่วย เช่น ปัญหาเรื่องการเงินการธนาคารมาช่วยเรื่องการคิดคำนวณเรื่องดอกเบี้ย ด้านวิศวกรรม เรื่องสินค้าชำรุดบกพร่องอย่างเช่น เรื่องรถยนต์ เป็นต้น มีพี่คนหนึ่งเขาจบพยาบาลมา ก็รับคดีเกี่ยวกับการแพทย์ไป เพราะอ่านเวชระเบียนได้ ในส่วนของใครที่มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยนั้นอย่างตัวเองทำงานมา 2 ปีกว่าๆ เราทำงานด้วยใจและทำตามหน้าที่ โดยนำข้อเท็จจริงมาปรับใช้ในการทำงาน กฎหมายบ้านเมืองก็มีอยู่แล้ว คุณมาทำงานที่นี่ไม่ต้องกลัวเรื่องการถูกคุกคาม เพราะเราทำมาสองปีกว่า เราก็มีความปลอดภัยและมีความสุขกับการทำงานดีค่ะ ปัจจุบันทีมทนายความจิตอาสา ศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มีประมาณมากกว่า 20 ท่าน โดยมีความรู้ความสามารถที่หลากหลายกันไปค่ะ”ทนายความสวิทย์ จันทร์ต๊ะคาด“ทนายความอาสาเป็นเรื่องจำเป็นเพราะว่า อาชีพทนายเป็นอาชีพอิสระ และหาคนที่มีจิตอาสาหรือจิตที่เป็นบุญกุศลมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันยาก และทนายอาสาควรที่จะมีความรู้ความสามารถ ที่จะต้องช่วยเหลือประชาชนได้ด้วย”เหตุที่สนใจงานด้านจิตอาสาพอดีเห็นจากประกาศของมูลนิธิประกาศรับสมัครทนายความที่มีจิตอาสามาร่วมองค์กร เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน ผมคิดว่าตนเองพอจะมีความรู้ความสามารถ และมีจิตอาสาที่อยากช่วยประชาชน ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค เห็นว่าหน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายควบคุมอยู่ในมือไม่สามารถใช้กฎหมายนั้นบังคับได้จริง ต้องให้ประชาชนใช้สิทธิทางศาลเอง ถึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย กฎหมายไทยมองว่าจะต้องพัฒนาอีกไกลเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ ทนายความอาสาเป็นเรื่องจำเป็นเพราะว่า อาชีพทนายเป็นอาชีพอิสระ และหาคนที่มีจิตอาสาหรือจิตที่เป็นบุญกุศลมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันยาก และทนายอาสาควรที่จะมีความรู้ความสามารถ ที่จะต้องช่วยเหลือประชาชนได้ด้วยความคาดหวังเมื่อเข้ามาเป็นทนายอาสาปกติจะมีส่วนกลางใช่ไหมครับ ส่วนภูมิภาคใช่ไหมครับ ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการบริโภคสินค้าหรือบริการที่ไม่ปลอดภัย สามารถขอคำปรึกษากับเครือข่ายที่อยู่ตามภูมิภาคได้ เพื่อที่จะได้ลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเดินทางมาส่วนกลางเราจะช่วยดำเนินการด้านคดีอย่างไร ต้องดูว่าสิ่งที่ผู้บริโภคได้รับผลกระทบมีอะไรบ้าง และเราจะขอให้ศาลคุ้มครองสิทธิอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามกฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภคนั้นๆ ยุคนี้คือเทคโนโลยีได้พัฒนาไปไกล ทำให้มีการผลิตสินค้าและบริการมากมาย ซึ่งก่อนที่เราจะบริโภคสินค้าหรือบริการนั้น ควรมีการตรวจสอบที่มาที่ไป ส่วนประกอบ ผลข้างเคียง ถ้าได้บริโภคหรือใช้สินค้านั้นทนายความวาสนา สายเป้า“ผู้บริโภคเมื่อจะใช้สิทธิอะไรเมื่อตัวเองเสียเปรียบ หรือสินค้าตัวนั้นไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริโภค ผู้บริโภคควรเรียกร้องสิทธินั้นกลับมาให้คุ้มกับที่เงินที่จ่ายไปถึงแม้ราคาสินค้าจะเป็นบาทเดียว ห้าบาท สิบบาท แต่ควรให้คุ้มค่าตรงนั้น”ความคิดกับงานคุ้มครองผู้บริโภคงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นพื้นฐานสำคัญของผู้บริโภคในเบื้องต้น กรณีการเป็นทนายอาสาเป็นการดูแลเบื้องต้นของผู้บริโภคที่มี คือการรักษาสิทธิของผู้บริโภคเบื้องต้น ซึ่งบ้างครั้งผู้บริโภคไม่ทราบว่าตนเองสามารถเรียกร้องสิทธิ ที่ตัวเองเสียไปจากการใช้บริการสินค้าต่างๆได้ เราจะเป็นตัวแทนให้คำแนะนำ ให้ช่องทางในการเรียกร้องสิทธิ ไม่ว่ากรณีสินค้าไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือการใช้สินค้าไม่ตรงตามคุณสมบัติของรายการสินค้าที่ควรจะต้องเป็นไปตามที่ผู้บริโภคต้องได้รับ เราจะเป็นตัวแทนที่ให้ทราบสิทธิของผู้บริโภคเบื้องต้น ทำหน้าที่ต่อโดยการเรียกร้องสิทธิให้กับผู้บริโภคต่อไปจะสนับสนุนความรู้เรื่องกฎหมายแก่ผู้บริโภคอย่างไรอันนี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้บริโภค จริงๆ ผู้บริโภคอาจจะไม่คิดถึงว่าการบริโภคแค่ทานอาหาร ต้องใช้กฎหมายเลยเหรอ ถ้าเราให้ความรู้ผู้บริโภคก็จะสังเกตถึงสิ่งที่ตนเองบริโภคเข้าไปว่า มันถูกต้อง คุ้มราคา คุ้มที่เราจ่ายไปไหม และการบริโภคมันสมกับที่เขาโฆษณาไหม ให้ผู้บริโภคได้สังเกตสินค้ามากขึ้น แล้วก็เป็นการตรวจสอบเบื้องต้น ซึ่งก็จะเป็นผลดีต่อไปด้วยคิดว่าเมื่อเข้ามาอาสา จะช่วยงานคดีทำให้ดีขึ้นได้อย่างไรชัดเจนอยู่แล้ว มันดีขึ้นอยู่แล้ว เพราะเป็นช่องทางที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสิทธิตนเอง เมื่อคุณเสียเงินไปแล้วหรือการใช้บริการไปแล้ว คุณควรได้คุ้มค่ากับการที่ต้องเสียเงินบริโภคสิ่งนั้น เพราะผู้บริโภคเมื่อจะใช้สิทธิอะไรเมื่อตัวเองเสียเปรียบ หรือสินค้าตัวนั้นไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริโภค ผู้บริโภคควรเรียกร้องสิทธินั้นกลับมาให้คุ้มกับที่เงินที่จ่ายไปถึงแม้ราคาสินค้าจะเป็นบาทเดียว ห้าบาท สิบบาท แต่ควรให้คุ้มค่าตรงนั้น ถ้าผู้บริโภคไม่รักษาสิทธิ ผู้ประกอบการก็จะใช้โอกาสหรือช่องที่ผู้บริโภคไม่ได้สนใจเอาเปรียบไป ถึงแม้ผู้บริโภคจะมีสักล้านนึง คนละบาทคนละบาท อย่างกรณีค่าโทรศัพท์มันก็เหมือนกันนั้นก็คือเป็นสิทธิของผู้บริโภคที่จะเรียกร้องกลับมา(มีอะไรฝากถึงมูลนิธิฯ) ฝากให้มูลนิธิดูแลผู้บริโภคต่อไป อยากให้ดูแลไปตลอดเพราะผู้บริโภคไม่มีที่พึ่งตรงไหน ก็มีที่พึ่งที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเท่านั้น อยากให้ผู้บริโภคทุกคนมาใช้มูลนิธิทำงาน มูลนิธิยินดีอยากให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุดกับสินค้าทุกตัว นั้นคือความสุขของมูลนิธิทนายความจิราภา เต็มเพ็ชร“หากผู้บริโภคมีฐานะยากจนไม่มีทุนทรัพย์ที่จะจ้างทนายความ ทนายความอาสาจะเข้าไปช่วยเหลือผู้บริโภคที่ยากจนให้ได้รับสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้มากขึ้น”แนวคิดกับงานคุ้มครองผู้บริโภคผู้บริโภคคือประชาชนทั้งประเทศ ทุกเพศ ทุกวัย ควรได้รับความคุ้มครองจากรัฐในทุกด้าน รัฐควรเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือให้ความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และหากมีการรวมตัวกันของกลุ่มบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคเพื่อเป็นกระบอกเสียงของผู้บริโภคด้วยกันแล้ว รัฐควรเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุนในเรื่องนี้ เช่น เรื่องงบประมาณ, การศึกษาวิจัย, การดำเนินคดี ฯลฯงานทนายอาสามีความสำคัญกับงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไรทนายความอาสานั้นมีบทบาทสำคัญต่อการคุ้มครองผู้บริโภคมาก เพราะใช้ความรู้ด้านกฎหมายช่วยเหลือในการฟ้องร้องและต่อสู้คดีแทนผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการบริโภคสินค้า และหากผู้บริโภคมีฐานะยากจนไม่มีทุนทรัพย์ที่จะจ้างทนายความ ทนายความอาสาจะเข้าไปช่วยเหลือผู้บริโภคที่ยากจนให้ได้รับสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้มากขึ้นผู้บริโภคต้องการความช่วยเหลือหรือสนับสนุนความรู้เรื่องกฎหมายอย่างไรผู้บริโภคควรได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุน ในด้านกฎหมายเรื่องที่ว่าควรจะเลือกบริโภคสินค้า อาหาร และผลิตภัณฑ์ อย่างไรให้ปลอดภัย ถูกสุขอนามัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และหากว่าต่อมาผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากการบริโภคแล้ว จะมีแนวทางในการดำเนินคดีกับผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการอย่างไรบ้าง คิดว่าเมื่อเข้ามาอาสาช่วยให้คำแนะนำกับผู้บริโภคนั้น จะช่วยงานด้านคดีให้ดีขึ้นด้วยการทำให้ผู้บริโภคที่ยากจนมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้มากขึ้น จากการที่ตนได้รับความเสียหายจากการบริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 ทนายความทิ้งคดี

ผู้บริโภคหลายคนที่ประสบปัญหาด้านคดีความ มักว่าจ้างทนายความให้มาช่วยแก้ต่างให้ ซึ่งต่อให้ไม่ชนะคดี แต่สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือ ความเอาใจใส่ด้านคดีความหรือการทุ่มเทให้กับคดีอย่างเต็มที่ และหากเราพบภายหลังว่าทนายความมีการทิ้งคดี หรือหนีหายจากการทำคดีไปดื้อๆ จะสามารถจัดการปัญหาได้อย่างไรบ้าง ลองไปดูเหตุการณ์นี้กันคุณชูชาติพบว่า มีหลายคนเข้ามาบุกรุกที่ดินของตัวเอง จึงไปว่าจ้างทนายความมาช่วยฟ้องร้องให้ ซึ่งภายหลังส่งเรื่องไปที่ศาล ทนายความก็นัดให้เขาเตรียมตัวขึ้นศาลเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ย อย่างไรก็ตามหลังจากนัดแนะวันเวลากันเรียบร้อย ทนายความก็กลับมาบอกว่าศาลเลื่อนนัดและเป็นเช่นนี้อยู่หลายครั้งคุณชูชาติจึงลองเดินทางไปที่ศาลเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยตนเองและพบว่า ศาลได้พิพากษายกฟ้องคดีของเขาไปนานแล้ว เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองคนที่เข้ามาบุกรุกให้เป็นคดีเดียวกัน แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะแยกฟ้องจำเลยเข้ามาใหม่ แต่ทนายกลับไม่ได้ยื่นฟ้องเข้ามาใหม่แต่อย่างใด ส่งผลให้คดีขาดอายุความในที่สุดเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คุณชูชาติจึงรู้สึกว่าถูกทิ้งคดี และส่งเรื่องร้องเรียนปัญหาไปยังสภาทนายความ ซึ่งได้รับการตอบกลับมาว่า ทนายความคนดังกล่าวไม่ได้มีสถานภาพเป็นทนายความแล้ว เนื่องจากใบอนุญาตการประกอบอาชีพของเขาได้หมดอายุไปแล้ว และยังไม่มีการยื่นคำขอต่อใบอนุญาตแต่ประการใด อย่างไรก็ตามคุณชูชาติกลับพบชื่อของทนายดังกล่าว ในเครือข่ายสังคมออนไลน์หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) ของสภาทนายความประจำจังหวัด ซึ่งเป็นการโพสต์เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อแจ้งรายชื่อบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งในสภา ส่งผลให้คุณชูชาติส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบปัญหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 กำหนดให้ทนายความต้องมีมรรยาทต่อตัวความ ซึ่งไม่ควรกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้  เพราะอาจทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความ คือ 1.จงใจขาดนัด หรือทอดทิ้งคดี 2. จงใจละเว้นหน้าที่ที่ควรกระทำอันเกี่ยวแก่การดำเนินคดีแห่งลูกความของตน  หรือปิดบังข้อความที่ควรแจ้งให้ลูกความทราบ ซึ่งผู้ร้องสามารถร้องเรียนปัญหาไปที่สภาทนายความเพื่อให้มีการตรวจสอบได้ นอกจากนี้หากพบว่าทอดทิ้งคดีจริงและทำให้ผู้ร้องเสียหาย อาจเข้าข่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 ที่กำหนดว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ผู้นั้นจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอีกด้วย อย่างไรก็ตามสำหรับในกรณีนี้ศูนย์ฯ ช่วยผู้ร้องทำหนังสือสอบถามข้อเท็จจริงไปยังสภาทนายความอีกครั้ง ซึ่งผลจะเป็นอย่างไรยังคงต้องติดตาม

อ่านเพิ่มเติม >