ฉบับที่ 213กระแสต่างแดน

ยังรู้ได้อีก     ร้อยละ 90 ของคนออสเตรเลียเห็นด้วยว่าการรีไซเคิลเป็นสิ่งที่ควรทำและร้อยละ 71 มั่นใจว่าตนเองรู้ว่าขยะแบบไหนสามารถนำมารีไซเคิลได้     แต่จากการสำรวจเทศบาล 180 แห่งในประเทศ องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม Planet Ark พบว่าร้อยละ 46 ของเทศบาลเหล่านี้มีคนนำพลาสติกอ่อนมาทิ้งลงในถังขยะรีไซเคิล     ความจริงแล้วถุงพลาสติกหรือพลาสติกห่ออาหารควรถูกนำไปทิ้งในถัง RedCycle ที่ร้านค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ตจัดไว้ต่างหาก เพราะมันจะเข้าไปติดในเครื่องแยกขยะ นอกจากนี้ร้อยละ 41 ของเทศบาลเหล่านี้ยังพบว่าผู้คนมักจะนำพลาสติกรีไซเคิลมาใส่รวมกันในถุงใบใหญ่ก่อนทิ้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และการทิ้งเศษอาหารในถังรีไซเคิลก็ยังมีอยู่เช่นกัน ออเตรเลียเริ่มใช้ฉลากรีไซเคิลที่ระบุว่าบรรจุภัณฑ์ส่วนไหนควรถูกกำจัดอย่าง แต่ Planet Ark บอกว่าผลการสำรวจนี้ยืนยันว่ารัฐบาลต้องให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องนี้ให้มากขึ้นด้วย        ตกมาตรฐาน         บริษัทชั้นนำของโลกส่วนใหญ่ไม่ผ่านมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่สหประชาชาติกำหนดองค์กร Corporate Human Rights Benchmark  ได้ทำการสำรวจนโยบายและแนวปฏิบัติในเรื่องความโปร่งใส การหลีกเลี่ยงบังคับใช้แรงงาน และการให้ค่าจ้างที่เป็นธรรม ของบริษัทข้ามชาติ 100 แห่ง โดยดูจากการให้ข้อมูลต่อสาธารณะ     คะแนนเฉลี่ยของบริษัทเหล่านี้อยู่ที่ 27 จากคะแนนเต็ม 100  และมีถึงสองในสามที่ได้น้อยกว่า 30 คะแนน     อันดับหนึ่งได้แก่ อาดิดาสที่ได้ไป 87 คะแนน ตามด้วยผู้ประกอบการเหมืองแร่ Rio Tinto และ BHP Billiton     สองอันดับท้ายสุดได้แก่ บริษัทสุรากุ้ยโจวเหมาไถ และแบรนด์เสื้อผ้า Heilan Home (HLA) จากประเทศจีน  ทั้งนี้ สตาร์บัคส์ ปราด้า และแอร์เมส ก็อยู่ในกลุ่มที่ได้คะแนนน้อยเช่นกัน      ปัจจุบันการใช้แรงงานเด็กและการเอาเปรียบแรงงานหญิงยังมีอยู่ และมีคนไม่ต่ำกว่า 25 ล้านคนทั่วโลกอยู่ในสภาพถูกบังคับใช้แรงงานคิดก่อนคีบ       สมาคมผู้บริโภคแห่งสิงคโปร์(เรียกสั้นๆ ว่า CASE) ได้เก็บตัวอย่างตะเกียบไม้ไผ่แบบใช้ครั้งเดียว ทิ้ง 20 ยี่ห้อจากห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต มาตรวจหาปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่ใช้เพื่อฟอกขาวและป้องกันเชื้อรา    จากตัวอย่างที่นำมาตรวจ  เขาพบว่าไม่มียี่ห้อไหนมีสารดังกล่าวเกิน 400 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ต่ำที่สุดคือ 7มล./กก. และสูงที่สุดคือ 364มล./กก.)     สิงคโปร์ใช้เกณฑ์อ้างอิงจากจีนและไต้หวันที่กำหนดให้มีได้ไม่เกิน 600 มล./กก. และ 500 มล./กก. ตามลำดับ       แม้จะดูเหมือนปลอดภัย แต่ CASE ย้ำว่าเขายังไม่ได้ทดสอบตะเกียบจากร้านหรือศูนย์อาหารต่างๆ(ด้วยเหตุผลด้านการสืบหาที่มา) จึงแนะนนำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงตะเกียบที่ดูขาวเกินไปหรือมีกลิ่นสารเคมีรุนแรง การได้รับซัลเฟอร์ไดออกไซด์มากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ปีใหม่ต้องไม่เจ็บ         เมื่อถึงเทศกาลลอยกระทงทีไร ต้องได้ยินเสียงประทัดแว่วมา แต่ที่ฟิลิปปินส์นั้นเสียงประทัดไม่อาจจัดว่า “แว่ว” เพราะเขานิยมจุดให้เปรี้ยงปร้างอลังการเพื่อส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่     ความรื่นเริงนั้นไม่เป็นปัญหาแต่สิ่งที่มักเกิดตามมานี่สิใช่ เมื่อปี 2012 มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นประทัด ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ทำให้ฟิลิปปินส์ต้องหามาตรการมารับมือ     เดือนมิถุนายนปีที่แล้วประธานาธิบดีดูเตอร์เต้ได้ออกคำสั่งให้หยุดการขึ้นทะเบียนหรือออกใบอนุญาตให้กับผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายและผู้ขายประทัด       กรมสุขภาพฟิลิปปินส์พบว่า จำนวนผู้ผลิตที่ลดลงมีส่วนทำให้สถิติการบาดเจ็บลดลงด้วย ปีใหม่ที่ผ่านมามีผู้ได้รับบาดเจ็บจากประทัด 463 คน (ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 27)       กรมฯ ยังยืนยันว่าเป้าหมายสูงสุดคือการบาดเจ็บต้องเป็นศูนย์ และขอร้องให้ผู้ปกครองช่วยกันระมัดระวังดูแลบุตรหลานให้ปลอดภัยในงานปีใหม่ที่จะถึงนี้ ประเทศนี้ต้องไม่หมู         ตามข้อตกลงการค้าล่าสุดระหว่างบริษัทของเดนมาร์กและจีน บริษัท  Danish Crown ของเดนมาร์กจะจัดส่งเนื้อหมูปริมาณ 250 ตันต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลาห้าปี ให้กับ Win-Chain ของประเทศจีนเพื่อนำไปแปรรูปเป็นเบคอน      งานนี้เดนมาร์กจะได้เงินเข้าประเทศเกือบ 11,500 ล้านบาท และได้ของแถมเป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ด้วย      ตัวแทนกรีนพีซเดนมาร์กบอกว่า เขาไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลยินยอมให้ผู้ประกอบการทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในประเทศอื่น       เขายังบอกด้วยว่า แม้จะรู้กันว่าเนื้อสัตว์ คือผลิตภัณฑ์อาหารที่สร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เดือนที่แล้วรัฐบาลเดนมาร์กกลับนำเสนอนโยบายสิ่งแวดล้อมโดยไม่กล่าวถึงปัญหามลภาวะจากการผลิตเนื้อหมูเลย      เท่ากับเป็นการเปิดไฟเขียวให้บริษัทสามารถทำธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 ตะเกียบ

คนไทยนิยมใช้ตะเกียบเหมือนกันแต่กับอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว ปกติจะใช้ช้อนกับส้อมอย่างฝรั่งมากกว่า(แต่ไม่เอามีดมาด้วย) ปัจจุบันคนนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านกันมากขึ้น ตะเกียบถูกพัฒนาให้เป็นตะเกียบแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่ออนามัยอันดี แต่มักมีข่าวว่ามีการใช้สารฟอกขาวเพื่อทำให้ตะเกียบสีขาวสวย ซึ่งเขาว่าควรลวกน้ำร้อนก่อนเพื่อให้ปลอดภัย เฮ้อ...ลำบากจัง   ตะเกียบนั้น คนจีนนิยมให้ด้านบนเป็นเหลี่ยมและปลายมน เพื่อให้กระชับมือและด้านปลายมนเพื่อไม่ให้บาดปาก ในขณะที่ญี่ปุ่น ตะเกียบมีลักษณะกลมมนและเรียวสอบลงจนปลายแหลม เพราะข้าวญี่ปุ่นมีความเหนียวนุ่ม สามารถใช้ตะเกียบคีบข้าวได้ และคนญี่ปุ่นนิยมอาหารสด อย่างปลาดิบ ตะเกียบปลายเรียวแหลมจึงเหมาะกับลักษณะอาหารมากกว่า สิ่งที่นำมาทำตะเกียบส่วนใหญ่จะเป็นไม้เนื้อเบาอย่างไม้ไผ่ ส่วนที่ทำจากงาช้าง เงิน เซรามิก อันนี้ก็แล้วแต่ฐานะทางสังคมและการเงินของผู้ใช้ ส่วนที่เกาหลีตะเกียบมักทำจากโลหะและมีลักษณะแบนๆเดิมมนุษย์เราเริ่มต้นด้วยการใช้มือหยิบจับอาหารใส่ปากเหมือนๆ กัน เมื่อเริ่มเป็นชุมชน เป็นชาติ มีวัฒนธรรม มีสำรับข้าวปลาอาหาร ก็พัฒนาเครื่องใช้ในการกินอยู่เพิ่มเติมเพื่อความสะดวกสบาย คนจีนสมัยดั้งเดิมใช้ตะเกียบเพื่อคีบกับข้าวหรืออาหารร้อนใส่ชามตนเองแล้วเปิบมือเหมือนกัน มาใช้ตะเกียบพุ้ยข้าวกันอย่างแพร่หลายหลังยุคราชวงศ์ฮั่น และเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ที่รับวัฒนธรรมจากจีนแผ่นดินใหญ่ไป ไม่ว่าจะเป็น เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม ซึ่งสืบสานธรรมเนียมกันยาวนานจนชาติเหล่านี้ไปพัฒนาดัดแปลงกลายเป็นวัฒนธรรมการกินประจำชาติของตนเอง 1 ใน 3 ของคนในโลกนี้รับประทานอาหารด้วยตะเกียบที่ชนชาติจีนเป็นผู้สร้างมาตั้งแต่ 2,000 กว่าปีก่อน

อ่านเพิ่มเติม >