ฉบับที่ 189 การเลือกซื้อรถเข็นเด็ก

เมื่อทราบข่าวจากคุณภรรยาว่าจะมีสมาชิกใหม่ในบ้าน หลายครอบครัวก็ต้องมาวางแผนในการที่จะต้องซื้อของเพื่อใช้ในการเลี้ยงเด็กทารก รถเข็นเด็กเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้เพื่อพาเด็กทารกร่วมเดินทางไปกับพ่อแม่ด้วย ดังนั้นการเลือกซื้อรถเข็นเด็กจำเป็นต้องมีข้อมูลและแนวทางเบื้องต้นในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกซื้อรถเข็นเด็กทั่วไป ได้แก่ 1 ใจเย็นๆ ไม่ต้องรีบร้อน โดยก่อนซื้อควรทดสอบรถเข็นก่อนว่าสามารถนำรถเข็นเด็กขึ้นรถของเราได้หรือไม่2 ในกรณีที่ต้องใช้รถเข็นบ่อยๆ ก็ควรเลือกรถเข็นเด็กที่มีน้ำหนักเบา 3 ควรเลือกซื้อรถเข็นเด็กที่สามารถใช้งานได้จนเด็กมีอายุสามขวบ ในระหว่างที่อายุไม่เกิน 6 เดือน การใช้เปลเคลื่อนที่แบบถอดประกอบได้(carry car seat) ติดตั้งในรถยนต์ได้จะเหมาะสมกว่า เปลเคลื่อนที่สามารถใช้กับเด็กที่มีน้ำหนักตัวไม่เกิน 15 กิโลกรัม4 ความสูงของพนักพิงหลังไม่ควรต่ำกว่า 50 เซนติเมตร เพราะจะช่วยประคอง คอและศีรษะของเด็กได้ดี5 ล้อของรถเข็น ในกรณีที่ต้องใช้รถเข็นบนพื้นที่ขรุขระ ควรเลือกล้อที่มีขนาดใหญ่ แบบสี่ล้อแต่ถ้าใช้รถเข็นบนพื้นราบเรียบ ก็ควรเลือกล้อขนาดเล็กที่ล้อหน้าสามารถหมุนได้6 ในกรณีที่เลือกใช้ของมือสอง ซึ่งมักจะซื้อขายทางออนไลน์(ซึ่งไม่รู้ที่มาที่ไป) ดังนั้นควรตรวจสอบสภาพของรถเข็นเด็ก เช่น ตรวจสอบว่ามีรอยแตก หรือชำรุด บกพร่องหรือไม่ ห้ามล้อ เข็มขัดนิรภัย ยังทำงานดีอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ควรพิจารณาเรื่องอะไหล่ เพราะในกรณีที่ชิ้นส่วนชำรุดก็สามารถหามาเปลี่ยนได้ง่าย7 สารเคมีอันตรายในกลุ่ม polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHC), Phthalate, Chlorparaffine, Organophosphor compound, Organozine compound, Phenolic compound, และ Formaldehyde สำหรับประเด็นเรื่องสารเคมีอันตรายที่แฝงมาในชิ้นส่วนของรถเข็นเด็ก ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ทำมาจากพลาสติก เป็นเรื่องที่ยากในการตรวจสอบและพิสูจน์ในเมืองไทย ขณะที่ในต่างประเทศจะมีการตรวจสอบสารเคมีสม่ำเสมอเพื่อแจ้งเตือนพ่อแม่ และผู้ผลิตเพื่อนำไปปรับปรุงสินค้าให้ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น สำหรับคนที่สนใจในเรื่องสารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์ของเด็กทารก ก็สามารถติดตามข้อมูลการแจ้งเตือนของเว็บไซต์ กรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค ของอียู http://ec.europa.eu/consumers/consumers_safety/safety_products/rapex/alerts/main/?event=main.listNotifications ได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 114 ค่าโทรโผล่ที่ไอร์แลนด์

“ดิฉันโดนเรียกเก็บค่าบริการโทรทางไกลระหว่างประเทศไปประเทศไอร์แลนด์ 2 รอบบิลติด ทั้งที่ไม่มีคนรู้จักหรือเคยโทรออกไปประเทศนี้เลยค่ะ”คุณมนต์ชิตาลูกค้าทรูมูฟร้องทุกข์“ตอนที่ได้รับบิลแรกได้โทรกลับไปสอบถามที่คอลเซนเตอร์ เค้าบอกว่าตรวจสอบแล้วว่าเป็นเครื่องของเราโทรออกไป แต่เรายืนยันว่าไม่ได้โทรออกไปจริงๆ ให้ตรวจสอบอีกครั้ง เพราะเคยทำมือถือหาย ไม่รู้ว่าซิม เก่าโดนใช้หรือเปล่า แต่ถูกปฏิเสธทันที ว่าเป็นไปไม่ได้”“ดิฉันยุ่งๆ เลยไม่ได้ใส่ใจอะไรมาก พอบิลมาอีกครั้ง ก็มีโทรไปประเทศเดิม เบอร์เดิมอีก ดิฉันโมโหมาก โทรไปที่คอลเซนเตอร์ พนักงานถามว่า มือกดไปโดนรึเปล่าคะ หรือมีการโทรออกเองอัตโนมัติหรือเปล่าคะ”เจอคำถามแบบนั้นคุณมนต์ชิตาก็ได้แต่คิดใจว่า มือใครมันจะสามารถกดไปโดนเบอร์เดียวกันถึง 6 ครั้งในเวลาที่ต่างกัน และอีกอย่างก็ไม่มีเบอร์นี้บันทึกไว้อยู่ในเครื่อง ดังนั้นโทรศัพท์คงไม่มีทางโทรออกได้เองแน่“ดิฉันที่เป็นเจ้าของเครื่อง ยืนยันว่าไม่ได้โทร เขายังบอกว่าโทร ดิฉันเลยบอกว่าจะให้สาบานมั้ย เพราะไม่รู้ว่าจะบอกอย่างไรแล้ว เขายังถามต่ออีกว่า มีคนอื่นเอาไปใช้มั้ย คือวันๆ ได้แต่เลี้ยงลูกอยู่ในบ้าน ลูกอายุ 1 ขวบ 6 เดือน แถมยังไม่เคยมีเพื่อนอยู่ที่ประเทศไอร์แลนด์ หรือถ้าลูกเอาไปกดเล่น ก็คงจะไม่กดได้เบอร์เหมือนกันทุกครั้งใช่มั้ยคะ แล้วคงจะไม่รู้ว่าโทรไปต่างประเทศต้องเริ่มกดด้วย 006 แน่ๆ” เมื่อเซ็งสุดๆ กับผีคอลเซนเตอร์ คุณมนต์ชิตาจึงขอปิดบริการเบอร์มือถือเจ้าปัญหา แต่ผีคอลเซนเตอร์กลับโยกโย้เยกเย้แจ้งว่า จะต้องไปปิดที่ทรูชอปสาขาใดก็ได้ แต่บ้านของคุณมนต์ชิตาอยู่ต่างจังหวัด และไม่ได้อยู่ในอำเภอที่มีทรูชอป“แล้วดิฉันจะทำอย่างไรหล่ะคะ ถ้ารอบบิลหน้า มันมีโทรไปไอร์แลนด์อีก พวกพนักงานโง่ไม่สามารถตอบได้ จนดิฉันต้องบอกว่าทำไมไม่ระงับการโทรออกไปต่างประเทศให้ลูกค้า ถ้าเค้าบอกว่าไม่ได้โทร ทำไมพวกคุณไม่เสนอให้เค้าระงับสัญญาณโทรออกต่างประเทศ”“ดิฉันบอกพนักงานว่าดิฉันจะจ่ายแต่ยอดที่ดิฉันใช้จริง ที่ไม่ได้ใช้จะไม่จ่าย และตอนนี้มีจดหมายจากทนายมา ดิฉันควรทำอย่างไรคะ”แนวทางแก้ไขปัญหาตามกฎหมายโทรคมนาคมผู้บริโภคมีสิทธิปฏิเสธค่าใช้บริการที่ไม่ถูกต้องได้ แต่การแจ้งไปที่คอลเซนเตอร์มักไม่ค่อยได้เรื่องแถมยังทำให้รำคาญใจเสียอีก วิธีที่ได้ผลกว่าคือให้แจ้งเป็นหนังสือจะเป็นรูปของจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับหรืออีเมล์ก็ได้ส่งไปที่กรรมการผู้จัดการบริษัทผู้ให้บริการและให้จดหมายมีน้ำหนักมากขึ้นก็ให้สำเนาส่งมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคด้วยเมื่อส่งจดหมายออกไปแล้ว กฎหมายโทรคมนาคมจะบังคับให้เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการโทรศัพท์ต้องดำเนินการตรวจสอบอย่างเป็นทางการครับ และกฎหมายโทรคมนาคมได้บังคับให้ผู้ให้บริการต้องมีคำชี้แจงกลับมาเป็นลายลักษณ์อักษรเช่นกัน ถ้าไม่ตอบมาภายใน 60 วัน ผู้ให้บริการโทรศัพท์จะหมดสิทธิ์ในการเรียกเก็บเงินที่มีปัญหากันอยู่ทันทีคุณมนต์ชิตาใช้วิธีเขียนเรื่องร้องเรียนไปที่ www.truemove.com ไม่นานมีพนักงานของทรูมูฟติดต่อกลับมา แจ้งว่ายินดีจะยกเว้นการเรียกเก็บเงินจำนวนที่ทักท้วงให้ แต่ขอให้เซ็นเอกสารที่มีใจความว่าผู้ร้องไม่ติดใจเอาความกับบริษัททรูมูฟอีกต่อไป คุณมนต์ชิตาเห็นว่ายอดเงินตรงกันจึงตกลงเซ็นยินยอมยุติเรื่องโดยไม่คิดเรียกร้องค่าเสียหายต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 129 ตรวจสอบมาตรการช่วยเหลือ กรณีการเช่าซื้อรถยนต์

ช่วงน้ำท่วมหนักๆ เราได้รับข่าวสารจาก สคบ. ว่าได้ขอความร่วมมือกับหน่วยงาน 5 แห่ง ได้แก่ สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย   สมาคมอู่กลางแห่งประเทศไทย  สมาคมนายหน้าประกันวินาศภัย   สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน การไฟฟ้านครหลวง เพื่อหามาตรการช่วยเหลือผู้บริโภค ฉลาดซื้อจึงสอบถามเพิ่มเติมในกรณีช่วยเหลือผู้บริโภคที่ประสบอุทกภัยกรณีการเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริโภคไว้ดูแลตนเองหลังน้ำท่วม   มาตรการน้ำท่วมของสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย มาตรการน้ำท่วม 7 ข้อ สำหรับผู้ประสบภัยและมีปัญหาเกี่ยวกับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เพื่อจะนำไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสินเชื่อได้อย่างเหมาะสม มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าว สรุปได้ดังนี้   1. ให้มีการยกเว้นค่าติดตามทวงถามและเบี้ยปรับล่าช้าสำหรับลูกค้าที่ประสบภัยน้ำท่วมในช่วงระยะเวลาที่เกิดภาวะน้ำท่วม 2. มีแนวทางการพักชำระค่างวดเช่าซื้อ สำหรับลูกหนี้ปกติที่ประสบภัยน้ำท่วม 3. ให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น ขยายเวลาการผ่อนชำระค่างวดเช่าซื้อ ทั้งนี้แต่ละสถาบันจะพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้าต่อไป 4. ในส่วนของผู้เช่าซื้อเพื่อการพาณิชย์หรือเช่าซื้อรถยนต์หลายคัน (Fleet Finance) จะพิจารณาช่วยเหลือตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า 5. ให้มีมาตรการหยุดการทวงถามสำหรับลูกหนี้เช่าซื้อปกติที่ประสบภัยน้ำท่วมและอยู่ในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม 6. ในกรณีที่ลูกค้าต้องการวงเงินฉุกเฉินเพิ่มเติมหลายๆ สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกสมาคมก็ได้จัดให้มีวงเงินกู้สำหรับลูกค้าที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินฉุกเฉิน (สามารถติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย โทร 02 6550240-5) 7. มาตรการอื่นๆ ตามที่ลูกค้าเช่าซื้อร้องขอ โดยพิจาณาเป็นรายๆ ไป   หมายเหตุ: ทั้งนี้มาตรการต่างๆ ที่สมาคมและบริษัทสมาชิกได้สรุปแนวทางมานั้น จะใช้ตามความเหมาะสมและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันออกไปบ้างตามปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมกันนี้สมาคมได้มีหนังสือเลขที่ ชซ.342/2554 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2554 เพื่อขอให้ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีหนังสือประสานไปยังคณะกรรมการการคุ้มครองข้อมูลเครดิต และบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เพื่อให้มีการปรับ Code สำหรับลูกค้าที่ได้รับการผ่อนผันหรือช่วยเหลือด้านการเงินจากการประสบภาวะน้ำท่วมเช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   ทั้งนี้มาตรการน้ำท่วมดังกล่าวถือว่าเป็นครั้งที่ 4 ที่สมาคมและบริษัทสมาชิกได้ออกแนวทางช่วยเหลือผู้บริโภคนับตั้งแต่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในภาคเหนือและภาคอีสานปี 2553 ที่ผ่านมา สำหรับมาตรการดังกล่าวเป็นนโยบายกว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจงเนื่องจากความจำเป็นด้านการเงินของผู้บริโภคและนิติบุคคล เนื่องจากฐานะของผู้บริโภคมีความแตกต่างกัน  ซึ่งผู้บริโภคสามารถร้องขอตามความจำเป็น พร้อมทั้งเป็นการเปิดกว้างให้บริษัทสมาชิกมีแนวทางในการช่วยเหลือให้เหมาะสมกับความเสี่ยงของบริษัทด้วย สำหรับขั้นตอนในการยื่นขอเข้ามาตรการน้ำท่วม 7 ข้อ ข้างต้น ทางผู้บริโภคสามารถติดต่อไปที่บริษัทลีสซิ่งหรือสถาบันการเงินพร้อมยื่นเอกสาร อาทิ -บัตรประชาชน -สำเนาทะเบียนรถ -รูปถ่ายหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้เช่าซื้อประสบภัยน้ำท่วม อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้บริโภคผ่อนชำระกับบริษัทที่ไม่ใช่สมาชิกของสมาคมสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือผ่านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ที่หมายเลข 1166 ได้ ผู้ให้ข้อมูล นายบุญหนา จงถิ่นสุวรรณ ผู้จัดการสมาคมเบอร์โทรประสานงาน   สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย   02 655 0240-5 --------------------------------- บริษัทสมาชิกสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทยปี 2553(THAI HIRE-PURCHASE ASSOCIATION) 1. บมจ. อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง โทร. 0-2612-3233 แฟกซ์.0-2612-3255 Website:  www.navaleasing.co.th 2. บมจ.ธนาคารทิสโก้ โทร. 0-2633-6000 แฟกซ์. 0-2633-6800 Website:  www.tiscogroup.com 3. บจ. ตรีเพชรอีซูซุลิสซิ่ง โทร.0-2792-2000 แฟกซ์. 0-2966-2282-4 4. บมจ.ธนาคารเกียรตินาคิน โทร. 0-2680-3333 แฟกซ์.0-2256-9165 Website:  www.Kiatnakin.co.th 5. บมจ. เงินทุนสินอุตสาหกรรม โทร. 0-2263-2100 แฟกซ์. 0-2253-7086 Website:  www.sicco.co.th E-mail:     finance@mozart.inet.co.th 6. บจ. ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง โทร. 0-2637-5445-51 แฟกซ์. 0-2637-5442 7. บมจ. เอเชียเสริมกิจลีสซิ่ง โทร. 0-2679-6226 แฟกซ์. 0-2679-6241-3 Website:  www.bgpl-lease.com E-mail:     bgpl@bkk.loxinfo.co.th 8. บมจ. เมโทรโพลิส ลีสซิ่งโทร.0-2642-5031  0-2642-5043 9. บจ. โตโยต้า ลีสซิ่ง (ปทท.) โทร. 0-2634-6400 แฟกซ์.0-2636-1408 Website:  www.tlt.co.th   10. บจ. ยูไนเต็ดลีสซิ่ง โทร. 0-2318-4058 แฟกซ์.0-2314-2083 11. บมจ. ไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง โทร. 0-2949-1800 12. บจ. ชยภาค โทร.0-2318-2000 แฟกซ์.0-2318-6677 13. บจ. พระนคร ยนตรการ โทร. 0-2561-4610 แฟกซ์. 0-2579-9826 14. บจ. ซิตี้คอร์ป ลิสซิ่ง (ปทท.) โทร. 0-2788-2000 แฟกซ์. 0-2788-4889 Website:  www.citibank.com 15. บจ. บีเอ็มดับเบิลยู ลิสซิ่ง (ปทท.) โทร.0-2305-8999 แฟกซ์.0-2305-8998 Website:  www.bmw.co.th 16. บมจ. ราชธานีลิสซิ่ง โทร. 0-2440-0844แฟกซ์. 0-2440-0848Website:  www.ratchthani.com E-mail:    info@ratchthani.com 17. บจ. ฮอนด้า ลีสซิ่ง (ปทท.)โทร. 0-2706-2800, 706-2900 แฟกซ์. 0-2744-7714 Website:  www.honda.co.th 18. บจ. เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่ง (ปทท.)โทร. 0-2676-5900 แฟกซ์. 0-2676-5949 Website:  www.mercedes-benz-leasing.co.th 19. บมจ. ตะวันออกพาณิชย์ลีสซิ่ง โทร. 0-2641-5252 แฟกซ์.0-2641-5995 20. บมจ. อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส โทร.0-2627-8000 แฟกซ์.0-2627-8001 Website:  www.krungsriauto.com 21. บจ. ไทยประกันชีวิตโทร. 0-2247-0247 แฟกซ์.0-2246-9688 Website:  www.thailife.com 22. บจ. คลังเศรษฐการ โทร. 0-2274-0111 แฟกซ์.0-2274-0311 23. บจ. กรุงไทย ออโต้ลีส โทร. 0-2969-7628-29 แฟกซ์.0-2968-5900 24. บจ. ลีสซิ่งกสิกรไทย โทร. 0-2696-9900 แฟกซ์. 0-2696-9988 25. บจ. เซ็นเตอร์ ออโต้ ลีส โทร. 0-2673-9111-8 แฟกซ์.0-2673-9092 26. บจ. ลีสซิ่งสินเอเชีย โทร.0-2626-8100 แฟกซ์. 0-2626-8190 27. บจ. นิสสัน ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) โทร. 0-2207-4000 แฟกซ์. 0-2207-4001 28. บมจ.ธนาคารธนชาต โทร. 0-2217-8000 แฟกซ์. 0-2217-9642 Website:  www.nfs.co.th 29. บจ. เคทีบี ลีสซิ่ง โทร. 0-2299-3888 แฟกซ์. 0-2299-3801 30. บมจ.ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย โทร.0-2697-5454 แฟกซ์. 0-2642-3048 Website:  www.tcrbank.com 31. ธนาคารไทยพาณิชย์  จำกัด (มหาชน) โทร. 0-2544-1111 32. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยโทร. 0-2650-6999 แฟกซ์.0-664-3345 Website:  www.isbt.co.th 33. บริษัท แฟคเตอรี แอนด์ อีควิปเมนท์ กสิกรไทย จำกัด โทร. 0-2290-2900 แฟกซ์. 0-2277-3322 Website:  www.kasikornbankgroup.com

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 83 ของ (ไม่น่า) เล่น

ใครๆก็รู้ว่าของเล่นเป็นสิ่งที่สามารถสร้างช่วยเสริมทักษะ และสนับสนุนพัฒนาการต่างๆให้กับเด็กได้ แต่ใช่ว่าของเล่นทุกชิ้นที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาดจะปลอดภัยสำหรับบุตรหลานของท่าน หลายคนอาจได้ยินเรื่องของของเล่นปนเปื้อนสารตะกั่วที่ต้องมีการประกาศเรียกคืนมาบ้างแล้ว เพราะของเล่นดังกล่าวอาจจะทำให้พัฒนาการเรียนรู้ พัฒนาการของกล้ามเนื้อและกระดูก รวมถึงพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กช้าหรือน้อยลงนั่นเอง มาดูกันว่าของเล่นที่มีขายในตลาดบ้านเราชิ้นที่เป็นอันตรายเพราะมีสารตะกั่วปนเปื้อนเกินมาตรฐานนั้นมีอะไรบ้าง ข้อมูลที่ฉลาดซื้อนำมาเสนอนั้นได้จาก ศูนย์วิจัยเสริมสร้างความปลอดภัยการป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ได้ทำการตรวจสอบหาโลหะหนักในของเล่นจำนวน 183 ชิ้น ที่มีราคาระหว่าง 20 – 150 บาท และเป็นของเล่นที่หาซื้อได้จากห้างและตลาดทั่วไป ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร น่าน พิษณุโลก สระแก้ว และ บุรีรัมย์ ผลการตรวจสอบ•    ของเล่นที่พบว่ามีสารตะกั่วเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดนั้นมีทั้งของเล่นที่มี และไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม •    ในภาพรวม ร้อยละ16.9 ของของเล่นทั้งหมดที่ตรวจสอบ มีระดับสารตะกั่วสูงเกินมาตรฐาน•    ร้อยละ 16.3 ของของเล่นที่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม และร้อยละ 18.8 ของของเล่นที่ไม่มีเครื่องหมายดังกล่าว มีระดับสารตะกั่วสูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 150 ตรวจคุณภาพข้าวสารบรรจุถุง ตอนที่ 2

เรื่องของข้าวสารบรรจุถุงยังไม่จบ หลังจากที่ฉลาดซื้อรายงานผลการทดสอบหาการปนเปื้อนของสารเคมีไปเมื่อฉบับที่แล้ว ฉบับนี้เรายังมีเรื่องของผลวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพของข้าวสารบรรจุถุงมาให้ติดตามกันต่อ การตรวจวิเคราะห์ด้านกายภาพ เป็นการตรวจวิเคราะห์เพื่อดูเรื่องของคุณภาพข้าวสารบรรจุถุง โดยจะดูเรื่องของสิ่งปนเปื้อนที่ปลอมปนมาในข้าวและปริมาณของเมล็ดข้าวที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน เช่น ปริมาณข้าวหัก ข้าวเมล็ดสีอื่น อย่างสีแดง สีเหลือง ข้าวเปลือก หรือ เมล็ดพืชชนิดอื่นๆ โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย พ.ศ. 2549 และ มาตรฐานสินค้าข้าวขาว พ.ศ. 2555 ที่รับรองโดยกระทรวงพาณิชย์   มาตรฐานข้าวขาวหอมมะลิ 100% และ ข้าวขาว 100% (ชั้น 3) -ข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 -ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 5.0 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 8.0 ส่วน  ไม่เกินร้อยละ 5.0 ในจำนวนนี้อาจมีข้าวหักที่มีความยาวไม่ถึง 5.0 ส่วน และไม่ผ่านตะแกรงเบอร์ 7 ไม่เกินร้อยละ 0.5 และปลายข้าวขาวซีวัน ไม่เกินร้อยละ 0.1 นอกนั้นเป็นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 8.0 ส่วนขึ้นไป -ข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้ ข้าวเมล็ดแดง     ห้ามพบ ข้าวเมล็ดเหลือง ไม่เกินร้อยละ 0.2 ข้าวเมล็ดท้องไข่  ไม่เกินร้อยละ 6.0 ข้าวเมล็ดเสีย      ไม่เกินร้อยละ 0.25 ข้าวเหนียวขาว    ไม่เกินร้อยละ 1.5 ข้าวเปลือก         ไม่เกิน 7 เมล็ดต่อข้าว 1 กิโลกรัม ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น และวัตถุอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันไม่เกินร้อยละ 0.2   -ระดับการสี สีดีพิเศษ ที่มา : ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง  กำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย   สรุปภาพรวมผลการทดสอบคุณภาพทางกายภาพของข้าวสารบรรจุถุง กลุ่มข้าวหอมมะลิ 100% จำนวนตัวอย่างข้าวสารขาวหอมมะลิ 100% ที่ฉลาดซื้อสุ่มสำรวจมีทั้ง 15 ตัวอย่าง ได้แก่ยี่ห้อดังต่อไป 1. ลายกนก 2.สุรินทร์ทิพย์ 3.ข้าวโรงเรียน 4. ปทุมทอง 5. cooking for fun 6.ฉัตรทอง 7.ข้าวเบญจรงค์ 8.ข้าวหอมมะลิแปดริ้ว 9.ตราเกษตร 10.ติ๊ก ชีโร่ 11.ดอกบัว 12.ท๊อปส์ 13.หงษ์ทอง 14.โฮมเฟรชมาร์ช จัสมิน และ 15.ชามทอง ซึ่งจากผลการวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ ข้าวสารขาวหอมมะลิ 100% บรรจุถุงทั้ง 15 อย่าง พบเรื่องที่น่ายินดี คือ ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์ในเรื่อง % ของปริมาณข้าวเต็มเมล็ด ที่กำหนดไว้ว่าต้องไม่น้อยกว่า 60% อีกเรื่องที่ตัวอย่างส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์คือ ปริมาณของข้าวหัก ที่กำหนดว่าห้ามเกิน 8% จากการวิเคราะห์มีเพียง 1 ตัวอย่างเท่านั้นที่สูงเกินมาตรฐาน คือตัวอย่างยี่ห้อปทุมทอง ขณะที่ผลการวิเคราะห์เรื่องสิ่งปลอมปนในข้าว พบว่ามีหลายตัวอย่างพบการปนของข้าวเมล็ดแดง (ข้าวที่สีต่ำกว่ามาตรฐาน) และข้าวเมล็ดเหลือง ที่กำหนดไว้ว่าห้ามพบสำหรับข้าวเมล็ดแดง และ ไม่เกิน 0.2% สำหรับข้าวเมล็ดเหลือง ตัวที่พบได้แก่ ลายกนก, สุรินทร์ทิพย์, ข้าวโรงเรียน, ปทุมทอง, ข้าวเบญจรงค์, ตราเกษตร, ติ๊ก ชีโร่, ดอกบัว, โฮมเฟรชมาร์ช จัสมิน และ ชามทอง ซึ่งปริมาณที่เกินเกณฑ์มานั้นก็ไม่ได้มากมายอะไร ไม่ถึง 1% ส่วนการปลอมปนของสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ อย่าง ข้าวเมล็ดท้องไข่ ข้าวเมล็ดเสีย ข้าวเปลือก จากผลการวิเคราะห์ทุกตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ในเรื่องการคุณภาพการสีทีกำหนดไว้ว่าต้องเป็นระดับการสีดีพิเศษ ข้าวสารขาวหอมมะลิ 100% บรรจุถุงทั้ง 15 ตัวอย่าง มีระดับการสีอยู่ที่สีดีเท่านั้น   กลุ่มข้าวหอมผสม เพราะมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทยของกระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้ข้าวสารบรรจุถุงหากจะใช้คำว่า “ข้าวหอมมะลิ” ในทางการค้า ข้าวที่นำมาบรรจุถุงขายต้องมีปริมาณข้าวหอมมะลิไม่น้อยกว่า 92% หากน้อยกว่านี้ใช้ได้เพียงแค่คำว่า ข้าวหอม เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะลักษณะเป็นข้าวผสม คือ มีข้าวหอมมะลิอยู่ประมาณ 70% จำนวนข้าวทั้งหมด อีก 30% ที่เหลือเป็นข้าวขาวธรรมดา ซึ่งข้าวหอมมะลิที่ใช้มักเป็นข้าวหอมมะลิที่เกรดคุณภาพ 10% หรือ 5% ซึ่งคุณภาพจะแตกต่างจากข้าวหอมมะลิเกรดคุณภาพ 100% ที่ยอมให้มี % ปริมาณของข้าวหักและสิ่งปลอมปน เช่น ข้าวเมล็ดแดง ข้าวเมล็ดเหลือง ข้าวเมล็ดเสีย ข้าวเปลือก ข้าวเมล็ดลีบ ได้มากกว่า สำหรับผลการวิเคราะห์ พบว่าข้าวที่อยู่ในกลุ่มข้าวหอมผสม ซึ่งมีตัวอย่างจำนวน 6 ยี่ห้อ ได้แก่ 1.บัวทิพย์ 2.ธรรมคัลเจอร์ ข้าวหอมคุณภาพคัดพิเศษ 3.ปิ่นเงิน ข้าวหอมคัดพิเศษ 4.ข้าวแสนดี ข้าวหอมยโสธร 5.ข้าวหอมผสมเอโร่ และ 6.สุพรรณหงส์ ข้าวหอมสุรินทร์ นอกจากนี้ยังมีอีก 1 ตัวอย่าง ที่ไม่ได้แจ้งทั้งเกรดคุณภาพของข้าวและปริมาณของข้าว คือยี่ห้อ ไก่แจ้เขียว บอกแต่เพียงว่าเป็นข้าวหอมมะลิสุรินทร์ ซึ่งเราจะนำตัวอย่างในกลุ่มนี้เทียบโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานข้าวหอมมะลิ 100% ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน % ของปริมาณข้าวเต็มเมล็ด ส่วนเรื่องการปลอมปนนั้น มีหลายยี่ห้อที่พบการปลอมปนของเมล็ดข้าวเหลืองเกินมาตรฐาน ได้แก่ยี่ห้อ ธรรมคัลเจอร์, ข้าวแสนดี และ ปิ่นเงิน ซึ่งตัวอย่างข้าวสารถุงยี่ห้อ ปิ่นเงิน ข้าวหอมคัดพิเศษ พบว่าตกเกณฑ์มาตรฐานหลายข้อ ทั้ง % ข้าวหักและปลายข้าวซีวัน การปนของเมล็ดข้าวแดงและเมล็ดข้าวเหลือง เรื่องคุณภาพการสีทุกตัวอย่างอยู่ในระดับ สีดี   กลุ่มข้าวหอมปทุม มาตรฐานข้าวหอมปทุมตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ เป็นมาตรฐานแบบเดียวกับมาตรฐานข้าวหอมมะลิ 100% ซึ่งในตัวอย่างข้าวสารถุงที่ฉลาดซื้อสุ่มมาวิเคราะห์นั้น มี 2 ตัวอย่าง ที่ระบุว่าเป็นข้าวหอมปทุม 100% คือ 1.ท๊อปส์ ข้าวหอมปทุมธานี และ 2.ยี่ห้อบิ๊กซี ข้าวหอมปทุม ทั้ง 2 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์เรื่อง % ของปริมาณข้าวเต็มเมล็ด แต่ทั้ง 2 ตัวอย่าง ตกเกณฑ์เรื่อง % ข้าวหักและปลายข้าวซีวัน ส่วนเรื่องสิ่งปลอมปน ท๊อปส์ ข้าวหอมปทุมธานี พบปริมาณข้าวเมล็ดแดงเกินเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนบิ๊กซี ข้าวหอมปทุม พบปริมาณข้าวเมล็ดเหลืองเกินเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนสิ่งปลอมปนอื่นๆ ผ่านเกณฑ์ทั้ง 2 ตัวอย่าง เรื่องระดับคุณภาพการสี ทั้ง 2 ตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์ สีดี ซึ่งตามมาตรฐานต้องเป็น สีดีพิเศษ   กลุ่มข้าวขาว มาตรฐานทางกายภาพของข้าวขาวจะถูกแบ่งตามเกรดคุณภาพของข้าว ไล่ตั้งแต่ ข้าวขาว 100% ข้าวขาว 5% ข้าวขาว 10% ข้าวขาว 15% ข้าวขาว 25% และ ข้าวขาว 35% ซึ่งเกณฑ์แต่ละประเภทก็จะเคร่งครัดลดหลั่นกันไป โดยตัวอย่างข้าวสารบรรจุถุงที่ฉลาดซื้อสุ่มเก็บมาวิเคราะห์นั้น มีตัวอย่างครบทุกเกรดข้าว รวมทั้งหมด 21 ตัวอย่าง ข้าวขาว 100% มีด้วยกัน 7 ตัวอย่าง ได้แก่ 1.ข้าวพันดี 2.ดอกบัว ตงฮั้ว 3.ข้าวแสนดี 4.มาบุญครอง 5.ช้างเผือก 6.เอโร่ ข้าวขาว 100% และ 7.ดอกบัว ข้าวขาวตาแห้ง ซึ่งผลการวิเคราะห์เรื่อง % ของปริมาณข้าวเต็มเมล็ด พบว่ามีเพียง 1 ยี่ห้อที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คือ ดอกบัว ตงฮั้ว ที่ระบุว่าเป็นข้าวขาวเสาไห้ ส่วนเกณฑ์ที่มีหลายตัวอย่างไม่ผ่านเกณฑ์ คือเรื่องส่วนของข้าวหัก และ% ข้าวหักและปลายข้าวซีวัน รวมถึงเรื่องการปนของข้าวเมล็ดแดงและข้าวเมล็ดเสีย ตัวอย่างข้าวในกลุ่มนี้ที่ผลวิเคราะห์ออกมาค่อนข้างน่าพอใจ มียี่ห้อ ดอกบัว ข้าวขาวตาแห้ง ที่ไม่ผ่านเกณฑ์เรื่องการปนของข้าวเมล็ดแดงเรื่องเดียวเท่านั้น เรื่องคุณภาพการสี ทุกตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์สีดี ซึ่งตามมาตรฐานต้องเป็นสีดีพิเศษ ข้าวขาว 5% มีจำนวน 5 ตัวอย่าง ได้แก่ 1.ตราฉัตร 2.โค-โค่ ข้าวขาวพิมพา 3.ข้าวมหานคร 4.ข้าวแสนดี ข้าวหอมทิพย์ และ 5. ตราคุ้มค่า ข้าวหอม ในกลุ่มนี้ตัวอย่างส่วนใหญ่จะตกเกณฑ์ในเรื่องของส่วนของข้าวหัก และ % ข้าวหักและปลายข้าวซีวัน  ทั้ง ตราฉัตร, โค-โค่ ข้าวขาวพิมพา และ ข้าวมหานคร ตัวอย่างในกลุ่มข้าวขาว 5% ไม่ค่อยพบการตกเกณฑ์เรื่องการปลอมปนของข้าวเมล็ดแดงหรือเมล็ดเหลือง แต่พบตกเกณฑ์การปนของข้าวเมล็ดท้องไข่ใน 2 ตัวอย่าง คือ ตราฉัตร และ ข้าวมหานคร ระดับคุณภาพการสี ทุกตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์สีดี ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ข้าวขาว 10% มี 2 ตัวอย่าง ได้แก่ 1.ชาวนาไทย ข้าวเสาไห้ และ 2.ข้าวหอมฉัตรอรุณ สำหรับตัวอย่าง ชาวนาไทย ข้าวเสาไห้ ตกเกณฑ์ในเรื่อง ข้าวหักที่มีความยาวไม่ถึงส่วนขั้นต่ำที่กำหนดและไม่ผ่านตะแกรงเบอร์ 7 และ ปลายข้าวซีวัน ส่วน ข้าวหอมฉัตรอรุณ ตกเกณฑ์เรื่อง ส่วนของข้าวหัก % ข้าวหักที่มีความยาวไม่ถึงส่วนขั้นต่ำที่กำหนดและไม่ผ่านตะแกรงเบอร์ 7 และ % การปลอมปนของข้าวเมล็ดเหลือง ข้าวขาว 15% มี 2 ตัวอย่าง ได้แก่ 1.ตราฉัตร และ 2.พนมรุ้ง ซึ่งทั้ง 2 ตัวอย่างตกเกณฑ์เรื่องเดียวกัน คือ ส่วนของข้าวหัก % ข้าวหักที่มีความยาวไม่ถึงส่วนขั้นต่ำที่กำหนดและไม่ผ่านตะแกรงเบอร์ 7 และ % ปลายข้าวซีวัน โดยเฉพาะ พนมรุ้ง ที่ผลวิเคราะห์ที่ได้ตกจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ค่อนข้างเยอะ ข้าวขาว 25% มี 1 ตัวอย่าง คือยี่ห้อ ข้าวอิ่มทิพย์ ซึ่งผลวิเคราะห์ตกเกณฑ์เรื่อง % ปลายข้าวซีวัน และการปนของเมล็ดข้าวเหลือง ข้าวขาว 35% มีจำนวน 4 ตัวอย่าง 1.รุ้งทิพย์ 2.คุ้มค่า 3.ถูกใจ และ 4.แฮปปี้บาท ตัวอย่างข้าวสารบรรจุถุงในกลุ่มนี้ ตกเกณฑ์ในเรื่องของส่วนของข้าวหัก และ % ปลายข้าวซีวัน   ฉลาดซื้อแนะนำ การเลือกซื้อข้าวสารถุงหากต้องการชนิดของข้าวสารตรงตามกับที่ต้องการ ต้องไม่ลืมที่จะอ่านรายละเอียดส่วนประกอบที่อยู่บนฉลากข้างถุงเด็ดขาด เพราะข้าวสารถุงหลายยี่ห้อที่เป็นข้าวแบบผสม ถ้าเราไม่อ่านส่วนประกอบเราจะไม่รู้เลยว่า ข้าวที่ผสมกันนั้น เป็นข้าวหอมกี่ % ข้าวขาวกี่ % และเป็นข้าวเกรดไหน ซึ่งเมื่อรู้ว่าข้าวยี่ห้อนี้เป็นข้าวเกรดอะไร เราก็สามารถนำไปเปรียบเทียบกับข้าวเกรดเดียวกันยี่ห้ออื่นๆ เพื่อเลือกดูที่ยี่ห้อที่คุ้มค่าคุ้มราคามากที่สุด ส่วนของเมล็ดข้าว คือ ส่วนของข้าวเต็มเมล็ดแต่ละส่วนที่แบ่งตามความยาวของเมล็ดออกเป็น 10 ส่วนเท่า ๆ กัน ข้าวเต็มเมล็ด คือ เมล็ดข้าวที่อยู่ในสภาพ เต็มเมล็ด ไม่มีส่วนใดหักและให้รวมถึงเมล็ดข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 9ส่วนขึ้นไป ข้าวหัก คือ เมล็ดข้าวแตกเป็นซีกที่มีเนื้อที่เหลืออยู่ไม่ถึงร้อยละ 80 ของเมล็ด ปลายข้าวซีวัน คือ เมล็ดข้าวหักขนาดเล็กที่ร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 7 ตะแกรงเบอร์ 7 คือ ตะแกรงโลหะรูกลม หนา 0.79 มิลลิเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางรู 1.75 มิลลิเมตร ข้าวเมล็ดแดง คือ เมล็ดข้าวที่มีรำสีแดงหุ้มอยู่ทั้งเมล็ดหรือติดอยู่เป็นบางส่วนของเมล็ด ข้าวเมล็ดเหลือง คือ เมล็ดข้าวที่มีบางส่วนของเมล็ดกลายเป็นสีเหลืองอย่างชัดแจ้ง ข้าวเมล็ดท้องไข่ คือ เมล็ดข้าวเจ้าที่เป็นสีขาวขุ่นเหมือนช็อล์คมีเนื้อที่ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปของเนื้อที่เมล็ดข้าว ข้าวเมล็ดเสีย คือ เมล็ดข้าวที่เสียอย่างเห็นได้ชัดแจ้งด้วยตาเปล่าซึ่งเกิดจากความชื้น ความร้อน เชื้อรา แมลง หรืออื่น ๆ ข้าวเมล็ดลีบ คือ เมล็ดข้าวที่ไม่เจริญเติบโตตามธรรมดาที่ควรจะเป็น มีลักษณะแฟบ แบน ระดับการสี แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ 1.สีดีพิเศษ คือการขัดสีเอารำออกทั้งหมดจนเมล็ดข้าวมีลักษณะสวยงามเป็นพิเศษ 2.สีดี คือ การขัดสีเอารำออกทั้งหมดจนเมล็ดข้าวมีลักษณะสวยงามดี 3.สีดีปานกลาง คือการขัดสีเอารำออกเป็นส่วนมากจนเมล็ดข้าวมีลักษณะสวยงามพอสมควร และ 4.สีธรรมดา คือการขัดสีเอารำออกแต่เพียงบางส่วน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 138 ตรวจแถวคุณภาพข้าวหอมมะลิ

ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอชวนผู้อ่านมารับประทานข้าวด้วยกัน กับผลทดสอบพร้อมเสิร์ฟ “เปรียบเทียบคุณภาพข้าวหอมมะลิบรรจุถุง” ข้าวหอมมะลิ ถือเป็นข้าวขวัญใจมหาชน ได้รับการยกย่องในเรื่องของรสชาติความอร่อย แต่จะสักกี่คนที่จะรู้ว่าข้าวหอมมะลิที่ดีนั้นควรมีลักษณะอย่างไร ฉลาดซื้ออยากให้ทุกคนได้กินข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพ อร่อยคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป เราจึงได้สุ่มเก็บตัวอย่างข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด จำนวน 18 ยี่ห้อ และข้าวหอมชนิดอื่นอีก 2 ตัวอย่าง เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์เรื่องคุณภาพในส่วนของคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งประกอบด้วย 3 คุณสมบัติ ได้แก่ 1.ปริมาณอมิโลส 2.ปริมาณ % เมล็ดที่มีอุณหภูมิแป้งสุก และ 3.เรื่องความหอม มาทำความรู้จักคุณสมบัติทางเคมีในข้าวหอมละมิทั้ง 3 ประเภทกันก่อน   ปริมาณอมิโลส ส่วนประกอบหลักของข้าวก็คือ แป้ง ซึ่งในแป้งข้าวจะมีองค์ประกอบสำคัญคือ อมิโลเปคติน และ อมิโลส อัตราส่วนของอมิโลสและอมิโลเปคติน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้าวสุกมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ถ้าหากข้าวมีปริมาณอมิโลสสูงเวลาที่หุงข้าวจะดูดน้ำมากกว่าข้าวที่มีอมิโลสต่ำ ทำให้ข้าวที่มีอมิโลสสูงเมื่อหุงสุกแล้วจะมีความร่วน แข็ง ตรงข้ามกับข้าวที่มีอมิโลสต่ำจะทำให้ข้าวมีความเหนียว อย่างในข้าวเหนียวจะมีปริมาณอมิโลสอยู่ที่ประมาณ 0 – 2% เท่านั้น สำหรับปริมาณอมิโลสที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย คือ 13 – 18% ซึ่งเป็นปริมาณอมิโลสจะที่จะทำให้ข้าวหอมมะลิที่หุงมีความเหนียวนุ่มกำลังดี ทั้งนี้ก็ต้องหุงโดยใช้น้ำให้เหมาะสม ปริมาณอมิโลสในข้าวหอมมะลิถือว่าอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางต่ำ น้ำที่ใช้หุงก็ไม่ควรใช้มากเกินไป ปริมาณที่แนะนำคือ ถ้าใช้ข้าวสารหอมมะลิ 1 ถ้วยตวง ให้ใช้น้ำ 1 ถ้วยครึ่ง หรือไม่เกิน 1 ถ้วยกับอีก 3 ใน 4 ส่วนของถ้วยตวง อุณหภูมิแป้งสุก ข้าวที่มีคุณภาพดีควรมีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ หากมีอุณหภูมิแป้งสุกสูงจะทำให้ข้าวเมื่อหุงสุกมีความแข็งกระด้าง อุณหภูมิแป้งสุกมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการหุงต้ม โดยทั่วไป การหุงต้มข้าวจะใช้เวลา 13 - 24 นาที ข้าวที่มีอุณหภูมิแป้งสุกสูงจะใช้เวลาในการหุงต้มนานกว่าข้าวที่มีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ข้าวหอมมะลิต้องมีอุณหภูมิข้าวสุกต่ำเมื่อหุงสุกแล้วความจะไม่แฉะ โดยอุณหภูมิแป้งสุกที่ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ คือไม่เกิน 65 องศาเซลเซียส การตรวจหาคุณภาพของข้าวหอมมะลิในส่วนของอุณหภูมิแป้งสุก จะใช้วิธีดูจากปริมาณของเมล็ดข้าวที่มีอุณหภูมิแป้งสุกจากการหุง คือเมื่อทำการหุงตามระยะเวลาที่กำหนด ข้าวที่หุงได้สุกทั่วทั้งเมล็ด ไม่มีส่วนที่แข็งคล้ายข้าวสาร ซึ่งข้าวหอมมะลิที่ดีควรมีปริมาณเมล็ดที่มีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 92% กลิ่นหอม ความหอมที่เป็นเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิ เกิดจากสารระเหยที่ชื่อว่า 2 – acetyl – 1 – pyrroline ความหอมของข้าวหอมมะลิแต่เดิมนั้นว่ากันว่ากินหอมนั้นหอมคล้ายกับดอกมะลิ ซึ่งกลายเป็นที่มาของชื่อ แต่หลายคนเปรียบกลิ่นหอมของข้าวหอมมะลิว่าเหมือนกับกลิ่นหอมของใบเตย แต่ว่ากลิ่นหอมนี้จะระเหยไปตามเวลา อายุของข้าว ข้าวใหม่ – ข้าวเก่าจึงมีผลกับความหอมของข้าวหอมมะลิ โดยธรรมชาติแล้ว ข้าวใหม่จะมีความหอมมากกว่าข้าวเก่าหรือข้าวที่เก็บไว้นานก่อนจะนำมาบรรจุใส่ถุงขาย   ตารางเปรียบเทียบผลวิเคราะห์ข้าวขาวหอมมะลิบรรจุถุง ยี่ห้อ ชนิดของข้าว มีตรารับรอง ของกระทรวงพานิชย์ (ตรามือพนม) ผู้ผลิต แจ้งว่าเป็น ข้าวใหม่ หรือ ข้าวเก่า ที่ถุง วันเดือนปีที่ผลิต ราคา ผลวิเคราะห์ กลิ่นหอมตามธรรมชาติ % อมิโลส % เมล็ดที่มีอุณหภูมิแป้งสุก มาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย 13 – 18 ต่ำ >= 92 ปานกลาง – สูง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 123 ตรวจสอบการให้ข้อมูลบนฉลากของอาหารกึ่งสำเร็จรูปแบบบรรจุห่อรวม

  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นเสบียงคู่ครัวคนไทยสมัยใหม่มาอย่างยาวนาน เท่าที่ผู้เขียนทราบก็ราว ๆ ปี พ.ศ. 2514 – 2515 จนถึงปัจจุบัน โดยมียี่ห้อแรกคือ ซันวา นิตยสารฉลาดซื้อได้เคยลงบทความทดสอบปริมาณโซเดียม (เกลือ และ ผงชูรส) มาแล้ว ครานี้ผมขอนำบทความเกี่ยวกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาเสนอผู้อ่านอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เราจะไม่พูดถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด หากแต่เป็นเรื่องของ ฉลาก และการให้ข้อมูลบนฉลาก ที่ต้องพูดคุยกันมาก ฉบับนี้เลยขอนำเสนอการเปรียบเทียบฉลากภายนอกของอาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดจัดชุดก่อน และฉบับหน้าจะพาท่านผู้อ่านไปดูรายละเอียดฉลากชนิดซองต่อซอง ยี่ห้อต่อยี่ห้อของผู้ประกอบการรายต่าง ๆ ในตลาดว่าค่ายใดจะให้ข้อมูลกับผู้บริโภคมากกว่ากัน   ฉลากและความสำคัญคำว่า ฉลาก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายความว่า รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยา อาหาร หรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ฉลากยา ฉลากเครื่องสําอาง  ส่วนคำว่า ฉลากอาหาร นั้น พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ระบุว่าหมายรวมถึง รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่อาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร หรือหีบห่อของภาชนะที่บรรจุอาหาร  ฉลากอาหารเป็นแหล่งข้อมูลของผู้บริโภค ที่จะทำให้ผู้บริโภคได้ทราบข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับอาหารนั้น ๆ ในการแสดงข้อมูลบนฉลากอาหาร ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ. 2543 เรื่องฉลาก ได้กำหนดไว้ว่า “ฉลากของอาหารที่จำหน่ายต่อผู้บริโภค ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยแต่จะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ และจะต้องมีข้อความแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้…” สำหรับข้อมูลที่ประกาศฉบับนี้ระบุให้แสดงนั้นมีทั้งหมด 15 รายการ   ในปัจจุบันสินค้าหลายชนิดถูกวางขายในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และห้างสรรพสินค้าในลักษณะแพ็กชุดใหญ่ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องดื่มชงชนิดต่างๆ เพื่อส่งเสริมการขายให้มากขึ้น เพราะการซื้อแบบแพ็กชุดราคาจะถูกลงเมื่อเทียบเป็นจำนวนชิ้น ในกรณีฉลากสำหรับบรรจุภัณฑ์ภายนอกของอาหารชนิดจัดชุดนั้น ตามหลักการควรที่จะมีการแสดงข้อมูลในระดับเดียวกันกับการแสดงข้อมูลที่อยู่ในซองย่อยที่อยู่ภายในซองบรรจุภัณฑ์รวม เพราะไม่เช่นนั้นจะรู้ได้อย่างไรว่า ผลิตภัณฑ์ข้างในเป็นอย่างไร เนื่องจากไม่สามารถแกะแยกห่อออกมาดูได้  ฉลาดซื้อจึงได้ลองใช้เกณฑ์ขั้นต่ำที่พึงแสดงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องฉลากที่ต้องแสดงจำนวน 4 รายการ ได้แก่ ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณของอาหารเป็นระบบเมตริก (น้ำหนักสุทธิ-กรัมหรือกิโลกรัม/ ปริมาตรสุทธิ-มิลลิลิตรหรือลิตร) และวันเดือนและปีที่ผลิต วันเดือนและปีที่หมดอายุการบริโภค หรือ วันเดือนและปีที่อาหารยังมีคุณภาพดี โดยมีข้อความว่า “ผลิต” “หมดอายุ” หรือ “ควรบริโภคก่อน” กำกับไว้ด้วยแล้วแต่กรณี มาใช้เป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณากับตัวที่บรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มสินค้าชนิดแพ็กชุด  โดยตัวอย่างทดสอบชุดแรก มาจากกรณีร้องเรียนของผู้บริโภครายหนึ่งที่ ร้องเรียนกับศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคเมื่อกลางเดือนเมษายน เรื่องซื้อสินค้าหมดอายุเนื่องจากการไม่เห็นวันผลิต – วันหมดอายุ บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ 3 ห่อได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้งน้ำข้น ตรามาม่า ชนิดห่อแบบจัดชุด 6 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตรามาม่า ชนิดจัดชุด 10 ซอง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับ ตรายำยำ จัมโบ้ ชนิดจัดชุด 10 ซอง ที่ผู้ร้องซื้อจากห้างบิ้กซี สาขาสะพานควายเมื่อเดือนมีนาคม   จากการตรวจสอบหลักฐานเบื้องต้นที่ผู้ร้องส่งมา พบว่าซองภายนอกของผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ห่อ ไม่มีการระบุ วันผลิต – วันหมดอายุ แต่มีการระบุวัน เวลา ดังกล่าวไว้ในบรรจุภัณฑ์ย่อยแต่ละซองที่อยู่ภายในซองใหญ่ ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมผู้เขียนจึงได้ไปเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 จากห้างที่ผู้ร้องไปใช้บริการจำนวน 3 ตัวอย่าง และจากร้านท็อปซูเปอร์มาเก็ต สาขาโรงภาพยนตร์เซ็นจูรี่ จำนวน 5 ตัวอย่าง รวม 8 ตัวอย่างได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับต้มยำ ตราไวไว ชนิด 10 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตราไวไว ชนิด10 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสกุ้งนึ่งมะนาว ตราไวไวควิก ชนิด 5 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำหมูสับ ตรา ยำยำจัมโบ้ ชนิด 6 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำทะเลหม้อไฟ ตรายำยำจัมโบ้ ชนิด 6 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ตรามาม่า ชนิด 10 ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสไก่กระเทียม ตราซื่อสัตย์ ชนิด 6 ซอง และวุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตราเกษตร ชนิด 4 ซอง แล้วนำมารวมกับตัวอย่างเก่าที่ผู้ร้องส่งมาให้รวมทั้งหมด 11 ตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบลักษณะการแสดงข้อมูลขั้นต่ำแก่ผู้บริโภค จำนวน 4 รายการได้แก่ ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณของอาหารเป็นระบบเมตริก และ วันผลิต – วันหมดอายุ รวมไปถึงตรวจดูลักษณะบรรจุภัณฑ์บนซองภายนอกของผลิตภัณฑ์   ผลการทดสอบพบว่า1. เกือบทุกตัวอย่าง แสดงชื่อสินค้าและตราสินค้าบนซองภายนอกบรรจุภัณฑ์ แม้ว่าซองที่บรรจุจะเป็นซองใสก็ตาม ยกเว้น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสไก่กระเทียม ตราซื่อสัตย์ ที่ได้แสดงข้อมูลไว้ในห่อภายในของบรรจุภัณฑ์โดยที่ห่อภายนอกเป็นพลาสติกใส สามารถมองทะลุได้อย่างชัดเจน  2. ไม่มีตัวอย่างใดแสดงชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุบนซองภายนอกของบรรจุภัณฑ์ 3. มีตัวอย่างจำนวน 7 ตัวอย่างจาก 11 ตัวอย่างแสดงปริมาณของอาหารไว้บนห่อรวมบรรจุภัณฑ์ โดยที่ 3 ตัวอย่างแสดงไว้ด้านหลังบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ยำยำจัมโบ้รสต้มยำหมูสับชนิด 6 ซอง ยำยำจัมโบ้รสต้มยำทะเลหม้อไฟชนิด 6 ซอง และไวไวรสต้มยำกุ้งชนิด 10 ซอง อีก 4 ตัวอย่างแสดงไว้ด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ได้แก่ มาม่ารสต้มยำชนิด 10 ซอง มาม่ารสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ชนิด 10 ซอง มาม่ารสต้มยำกุ้งน้ำข้นชนิด 6 ซอง และยำยำจัมโบ้รสหมูสับชนิด 10 ซอง  4. ไม่มีตัวอย่างใดแสดงวันผลิต-วันหมดอายุบนห่อรวมบรรจุภัณฑ์ หากแต่มีการแสดงข้อมูลวันผลิต วันหมดอายุ หรือวันบริโภคก่อน ภายในบรรจุภัณฑ์ย่อยในทุกผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามมีตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่างที่ไม่สามารถเห็นวันผลิต – วันหมดอายุในผลิตภัณฑ์ด้านในซอง ได้อย่างชัดเจน เนื่องจากซองรวมบรรจุภัณฑ์มีลักษณะปิดทึบทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ได้แก่ รสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ชนิด 10 ซอง ยำยำจัมโบ้รสต้มยำทะเลหม้อไฟ ชนิด 6 ซอง ยำยำจัมโบ้รสต้มยำหมูสับ ชนิด 6 ซอง  5. ลักษณะของบรรจุภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ (1) บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกใสทั้งหมดหรือใสบางส่วนแต่สามารถเห็นได้ครบทุกด้านทั้งซ้าย ขวา หน้า และหลัง บรรจุภัณฑ์กลุ่มนี้มี 3 ตัวอย่าง คือ ซื่อสัตย์รสไก่กระเทียม ชนิดจัดชุด 6 ซอง ไวไวควิกรสกุ้งนึ่งมะนาว ชนิดจัดชุด 5 ซอง และ วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำตราเกษตร ชนิดจัดชุด 4 ซอง (2) บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกประกอบลวดลายด้านหน้าและหลังแต่เปิดพื้นที่ว่างด้านซ้ายและขวาให้มองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างในได้ บรรจุภัณฑ์กลุ่มนี้มี 4 ตัวอย่าง ได้แก่ มาม่ารสต้มยำกุ้ง ชนิดจัดห่อ 10 ซอง มาม่ารสต้มยำกุ้งน้ำข้น ชนิดจัดชุด 6 ซอง ยำยำจัมโบ้รสหมูสับ ชนิดจัดชุด 10 ซอง และไวไวรสต้มยำกุ้ง ชนิดจัดชุด 10 ซอง (3) บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกประกอบด้วยรูปหรือลวดลายปิดหมด 3 ด้านเปิดพื้นที่ใสให้เห็นด้านในเพียงด้านเดียวหรือปิดทั้ง 4 ด้านจนไม่สามารถเห็นสิ่งที่อยู่ด้านในได้ บรรจุภัณฑ์กลุ่มนี้มีทั้งหมด 4 ตัวอย่าง ได้แก่ มาม่ารสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ชนิดจัดชุด 10 ห่อ ยำยำจัมโบ้รสต้มยำทะเลหม้อไฟ ชนิดจัดชุด 6 ซอง ยำยำจัมโบ้รสต้มยำหมูสับ ชนิดจัดชุด 6 ซอง และไวไวรสหมูสับต้มยำชนิดจัดชุด 10 ซอง   ข้อสังเกต1. ถึงแม้ผลิตภัณฑ์จะเป็นตราสินค้าเดียวกันแต่หากต่างรสกัน ไม่เสมอไปที่การแสดงข้อมูลจะเป็นแบบเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ไวไวรสหมูสับต้มยำชนิดจัดชุด 10 ซอง กับ ไวไวรสต้มยำกุ้งชนิดจัดชุด 10 ซอง ที่ตัวอย่างแรกมีการแสดงข้อมูลเพียงชื่อและตราสินค้าร่วมกับตัวอักษรขนาดใหญ่ว่าจัดชุด 10 ซอง ขณะที่ตัวอย่างหลังมีการแสดงข้อมูลสำคัญทุกอย่างเกือบครบถ้วนรวมไปถึง ข้อมูลโภชนาการด้วย 2. มีเพียง 2 ตัวอย่างเท่านั้นที่มีการแสดงคำว่า ผลิต หรือ ควรบริโภคก่อน เป็นภาษาไทยอยู่ในบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้งตราเกษตร ชนิดจัดชุด 4 ซอง และ ไวไวรสต้มยำกุ้ง ชนิดจัดชุด 10 ซอง  3. ไม่มีรูปแบบตายตัวของการแสดงข้อมูลสำคัญของผู้ผลิตบนห่อใหญ่ของบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันผลิต วันหมดอายุ หรือ ควรบริโภคก่อน อีกทั้ง เมื่อมองเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ย่อย ยังพบว่าหน่วยปีที่ใช้ก็ยังมีความแตกต่างกัน ขณะที่ส่วนใหญ่ใช้ปี ค.ศ. แต่ก็ยังมีบางรายใช้ปี พ.ศ. ในการอ้างอิง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสไก่กระเทียมตราซื่อสัตย์ เป็นต้น  สรุป การแสดงฉลากของอาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดจัดชุดอยู่ในระดับไม่น่าพอใจเนื่องจากมีการแสดงข้อมูลสำคัญที่จำเป็นไม่เพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันผลิต วันหมดอายุ หรือ ควรบริโภคก่อน   ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ หรือ มีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย เช่น มาม่ารสต้มยำกุ้ง ชนิดบรรจุ 10 ซอง ระบุว่ามีธาตุไอโอดีน เหล็ก และวิตามินเอ บนฉลากทั้งซองรวมภายนอกและซองเล็กภายในแต่บนซองรวมกลับไม่มีการระบุฉลากโภชนาการไว้ จริงอยู่ว่ามีการแสดงข้อมูลโภชนาการไว้ภายในซองเล็ก และลักษณะซองภายนอกอาจจะมีลักษณะใสมองเห็นด้านในได้บางส่วน แต่การจัดวางบรรจุภัณฑ์ทำให้มองไม่เห็นข้อมูลเหล่านี้  ดังนั้น ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นี้ชนิดจัดชุด ควรดูที่การแสดงข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ภายนอก หากไม่มีการแสดงข้อมูลวันผลิต-วันหมดอายุ ที่เห็นได้ชัดเจน ผู้บริโภคไม่น่าจะสนับสนุน ผู้ประกอบการรายนั้นๆ และควรส่งเสริมผู้ประกอบการที่ทำดี ทำฉลากชัดเจนจะดีกว่า   ตารางเปรียบเทียบการแสดงข้อมูลบนฉลากของอาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดบรรจุห่อรวม ผลิตภัณฑ์/ยี่ห้อ ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณของอาหาร วันผลิต – วันหมดอายุ ลักษณะบรรจุภัณฑ์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตรามาม่า ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายด้านหน้าและหลังของบรรจุภัณฑ์แต่มองเห็นด้านข้างได้ทั้งสองด้าน โดยแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อยที่อยู่ภายในห่อรวม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้งน้ำข้น ตรามาม่า ชนิดจัดชุด 6 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายด้านหน้าและหลังของบรรจุภัณฑ์แต่มองเห็นด้านข้างได้ทั้งสองด้าน โดยแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อยที่อยู่ภายในห่อรวม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ ตรามาม่า ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายทั้งด้านหน้าและหลังของบรรจุภัณฑ์ ซองมีสีชมพูถึงชมพูเข้มทั้งซอง มีการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อยที่อยู่ภายในห่อรวมแต่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งของด้านในได้อย่างชัดเจน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับต้มยำ ตราไวไว ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายบนผลิตภัณฑ์ 3 ด้าน เปิดพื้นที่ให้เห็นด้านในได้หนึ่งด้าน โดยแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตราไวไว ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและการแสดงข้อมูลชื่ออาหาร ตราสินค้า เลขสารบบอาหาร (เลขอย.) ด้านหน้าของซองรวม ด้านหลังแสดงข้อมูลโภชนาการ วิธีปรุง ส่วนประกอบสำคัญ และคำแนะนำในการบริโภค และเปิดพื้นที่ด้านข้างทั้งสองข้างให้มองเห็นวันผลิต-วันหมดอายุที่อยู่ภายในซองย่อย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสกุ้งนึ่งมะนาว ตราไวไวควิก ชนิดจัดชุด 5 ซอง มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี เป็นซองใสมีลายเล็กน้อยตรงกลางด้านหน้าซอง ซึ่งเป็นที่ระบุข้อมูลชื่อและชนิดอาหารพร้อมบาร์โค้ดของซอง วันผลิต-วันหมดอายุอยู่ในซองย่อยแต่มองได้ไม่ชัดเจนเนื่องจากสีสันของบรรจุภัณฑ์ภายในมีมากเกินไป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูสับ ตรายำยำจัมโบ้ ชนิดจัดชุด 10 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายด้านหน้าและหลังของบรรจุภัณฑ์แต่มองเห็นด้านข้างได้ทั้งสองด้าน โดยแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อยที่อยู่ภายในห่อรวม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำหมูสับ ตรายำยำจัมโบ้ ชนิดจัดชุด 6 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายบนผลิตภัณฑ์ และมีสีทึบ 3 ด้าน เปิดพื้นที่ให้เห็นด้านในได้เพียงเล็กน้อยหนึ่งด้าน โดยมีลวดลายมากจนมองเห็นการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อย ได้ไม่ชัดเจนหรือไม่เห็นเลย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำทะเลหม้อไฟ ตรายำยำจัมโบ้ ชนิดจัดชุด 6 ซอง มี ไม่มี มี ไม่มี มีภาพประกอบและลวดลายบนผลิตภัณฑ์ และมีสีทึบ 3 ด้าน เปิดพื้นที่ให้เห็นด้านในได้เพียงเล็กน้อยหนึ่งด้าน โดยมีการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ บนซองย่อย แต่ไม่สามารถเห็นได้เนื่องจากตำแหน่งของวันผลิต-วันหมดอายุที่อยู่ในซองย่อยไม่ตรงกับช่องที่เปิดไว้ให้เห็นด้านในเพียงเล็กน้อย วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง ตราเกษตร ชนิดจัดชุด 4 ซอง มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี เป็นซองใส มีข้อมูลชื่อและชนิดอาหารพร้อมบาร์โค้ดของซอง วันผลิต-วันหมดอายุ อยู่ในซองย่อย สามารถมองเห็นได้ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสไก่กระเทียม ตราซื่อสัตย์ ชนิดจัดชุด 6 ซอง ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี เป็นซองใสมีลายเล็กน้อยตรงกลางด้านหน้าซอง ระบุตราสินค้าแต่ไม่ระบุชื่อสินค้า มีบาร์โค้ดของซอง วันผลิต-วันหมดอายุอยู่ในซองย่อยสามารถมองเห็นได้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 118 จัดกระเช้าผลไม้ อย่าลืมตรวจสอบคุณภาพ

จัดกระเช้าผลไม้ อย่าลืมตรวจสอบคุณภาพโดย พชร  แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณที่ดี (นสธ.)  ใกล้ปีใหม่แล้ว เริ่มคิดจัดกระเช้าผลไม้ต้อนรับเทศกาลกันหรือยัง ถ้าตัดสินใจเลือกกระเช้าผลไม้เป็นของขวัญของฝาก เราก็ขอฝากข้อมูลไว้ให้พิจารณาเพิ่มด้วย ปีใหม่นี้จะได้แฮปปี้กันทั้งผู้ให้และผู้รับครับ  ผลไม้นั้นได้ชื่อว่าเป็นของดีต่อสุขภาพ แต่กระบวนการผลิตปัจจุบันอาจมีการแอบแฝงเข้ามาของสารเคมีกลุ่มยาฆ่าแมลงที่เหลือตกค้างอยู่ ดังนั้นก่อนรับประทานก็ต้องเลือกให้ดี และล้างให้สะอาด ถ้ายังไงลองนำข้อมูลที่นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ทำสำรวจไว้เป็นแนวทางในการพิจารณานะครับ แต่อย่าถึงขนาดเป็นทุกข์มากจนไม่รับประทานนะครับยังไงผลไม้ก็ดีต่อสุขภาพมากกว่าขนมครับ  ผมหยิบข้อมูลมานำเสนอสองชุด ข้อมูลชุดแรกเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลไม้นำเข้าจาก โครงการศึกษาระบบการจัดการอาหารนำเข้าที่ด่านอาหารและยาในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ปี 2552 - 2553 ซึ่งได้ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพตัวอย่างผักสดและผลไม้สดนำเข้ารวม 44 ตัวอย่าง (เป็นผลไม้สด 14 ตัวอย่าง) จากด่านอาหารและยาเชียงแสน (เชียงของ) ผลการวิเคราะห์พบยาฆ่าแมลง จำนวน 16 ตัวอย่าง โดยมี 7 ตัวอย่าง เป็นผลไม้สด ได้แก่ 1) องุ่น จำนวน 1 ตัวอย่าง พบแลมป์ดา-ไซแฮโลทริน (แอล-ไซแฮโลทริน) ยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ ที่ปริมาณ 0.03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (มก./กก.) 2) ทับทิม จำนวน 2 ตัวอย่าง พบยาฆ่าแมลง 2 ชนิดคือคลอร์ไพริฟอสในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ที่ปริมาณ 0.02 – 0.09 มก./กก. และ ไซเพอร์เมทรินในกลุ่มไพรีทอยด์ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. 3) สาลี่ จำนวน 1 ตัวอย่าง พบพิริมิฟอสเมทิล    ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตที่ปริมาณ 0.21 มก./กก. 4) ลูกพลับ จำนวน 3 ตัวอย่าง พบคลอร์ไพริฟอสในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. และไซเพอร์เมทริน กับ แอล-ไซแฮโลทริน ในกลุ่มไพรีทอยด์ที่ปริมาณ 0.02 และ 0.01 มก./กก. ตามลำดับ โดยสรุปจากข้อมูลชุดแรก ผลไม้นำเข้าทั้ง 4 ชนิดที่ทดสอบมีความเสี่ยงประมาณร้อยละ 50 ที่จะพบการปนเปื้อนของสารตกค้างทางการเกษตร แต่ทุกตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเป็นสารเคมีที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้ในผลไม้ชนิดนั้น ๆ ทั้งมาตรฐานในประเทศและมาตรฐานสากล ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าปริมาณสารเคมีที่พบแต่ละชนิดในผลไม้ต่าง ๆ นั้นเป็นอันตรายหรือ ไม่อย่างไร   ผลไม้จากโครงการเฝ้าระวังฯ ชุดนี้เป็นข้อมูลผลไม้สดที่จำหน่ายในประเทศ และทางโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังฯ ได้นำมาทดสอบ ได้แก่ ส้ม ส้มจีน แอ๊ปเปิ้ล สาลี่ ลูกพลับ เพื่อหาการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตร 4 ประเภทประกอบด้วย ยากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (สารเลียนแบบโครงสร้างโมเลกุลจากสาร Pyrethrins ที่สกัดได้จากดอกไม้พวกดอกเบญจมาศ) กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (สารอินทรีย์ที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ) และกลุ่มคาร์บาเมต (สารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ) ในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล โดยเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 4 ครั้ง ครั้งละ 2-3 ชนิด แบ่งเป็น 2 ครั้งในปี 52 คือเดือนกันยายนและเดือนพฤศจิกายน 2552 และอีก 2 ครั้งในปี 53 คือเดือนมกราคมและเดือนมีนาคม 2553 ส่วนผลการทดสอบการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้างทางการเกษตรในผลไม้แต่ละชนิดเป็นอย่างไรกันบ้าง ไปดูกันเลยครับ   ส้ม เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 1 ครั้ง (ส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้า) จำนวน 8 ตัวอย่างจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ได้แก่ บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส และคาร์ฟูร์ ในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดเมื่อเดือนกันยายน 2552 เพื่อส่งทดสอบหา การตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่ม ไพรีทอยด์ และยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ผลการทดสอบพบว่า 1) มีการตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ37.5 ที่ปริมาณ 0.07 – 0.24 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยพบในตัวอย่างของ บ.เซนคาร์ จำกัด จากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ บ.เอกชัยดิสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด จากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงคราม และ บมจ. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จากห้างบิ๊กซี สุขสวัสดิ์ กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตามปริมาณสารเคมีที่พบจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารสากล (CODEX) ที่ระบุให้มีคาร์เบนดาซิมในส้มได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   2) พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในต้วอย่างจำนวน 6 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 75 โดยพบการตกค้างของยาฆ่าแมลงตั้งแต่ 1 – 4 ชนิด ในแต่ละตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 0.004 – 0.64 มก./ กก.  ยาฆ่าแมลงที่พบประกอบด้วย คลอร์ไพริฟอส อีไทออน โพรฟิโนฟอส ไดเมโธเอต ไดอาซินอน และมาลาไธออน เมื่อนำมาตรฐานมาประกอบการพิจารณาจะพบว่าทั้ง 6 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้และมี 3 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐานได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สุขสวัสดิ์ กรุงเทพฯ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงคราม และตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม พบโพรฟิโนฟอสเกินมาตรฐานที่ปริมาณ 0.64 0.47 และ 0.45 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ   3) พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 โดยมี 3 ตัวอย่างที่พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงชนิดที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้ ได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี มหาสารคาม ตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา ชนิดของยาฆ่าแมลงที่พบในแต่ละตัวอย่างมีตั้งแต่ 1 – 5 ชนิด ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 0.03 – 0.54 มก./กก. ประกอบด้วย ไซเพอร์เมทริน เดลทาเมทริน แอล-ไซฮาโลทริน ไซฟลูทริน และเฟนวาเลท   ข้อสังเกต 1. มีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 25) ที่พบการตกค้างในทุกกลุ่มของสารเคมีที่ทำการทดสอบได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ กรุงเทพฯ และตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะตัวอย่างจากจังหวัดกรุงเทพฯ พบการตกค้างในปริมาณที่สูงกว่าจังหวัดอื่น ๆ แต่ยังไม่เกินมาตรฐานยกเว้นโพรฟิโนฟอสที่ตกค้างสูงเกินมาตรฐาน และสารอื่นที่ไม่มีมาตรฐานกำหนด 2. และมีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่างเช่นกัน ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรเลยนอกจากนี้ทั้ง 2 ตัวอย่างเป็นตัวอย่างจากพื้นที่ภาคใต้ได้แก่ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสตูล และ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สรุปความเสี่ยงจากสารเคมีทางการเกษตรในส้มและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงในภาพรวมต่อการพบสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ประมาณร้อยละ 60) และมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะได้รับอันตรายจากสารเคมีแต่ละชนิดที่ตกค้างโดยเฉพาะ โพรฟิโนฟอสในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคติดต่อกันเป็นประจำในปริมาณมาก (เกินครึ่งกิโลกรัมต่อวัน)     ส้มจีนเก็บตัวอย่างจำนวน 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 8 ตัวอย่างในการเก็บตัวอย่างเดือนมกราคม 2553 จากตลาดสดหรือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในพื้นที่ดำเนินงาน 8 จังหวัด จังหวัดละ 1 ตัวอย่างโดยทดสอบหาสารตกค้างทางการเกษตร 3 กลุ่มเช่นเดียวกับที่ทดสอบในส้ม คือคาร์เบนดาซิม ออร์กาโนฟอสเฟต และไพรีทอยด์ มีผลการทดสอบดังนี้ 1. พบยากันรา-คาร์เบนดาซิม จำนวน 3 ตัวอย่างได้แก่ตัวอย่างจาก ตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่ปริมาณ 0.06 มก./กก. ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.05 มก./ และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสตูล ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภคเนื่องจากไม่สูงเกินกว่ามาตรฐานอาหารสากล (CODEX) ซึ่งระบุไว้ที่ไม่เกิน 1 มก./กก. 2. พบยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตจำนวน 4 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 50 และ 3 จาก 4 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงชนิดที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุไว้ให้ใช้ได้ ได้แก่ คลอร์ไพริฟอส และไตรอะโซฟอส ปริมาณสารเคมีที่พบในทั้ง 4 ตัวอย่างอยู่ระหว่าง 0.006 – 0.14 มก./กก. 3. พบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์จำนวน 3 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 37.5 โดยมีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้ ได้แก่ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาฟอร์จูน กรุงเทพฯ พบฟลูไซทริเนตที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา พบ แอล-ไซฮาโลทริน และ ไซฟลูทรินที่ปริมาณ 0.14 – 0.16 มก./กก. ตามลำดับ ข้อสังเกต 1. ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาฟอร์จูน กรุงเทพฯ พบการตกค้างของสารเคมีเมทิดาไธออน (Methidathion) ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส ซึ่งผ่านมาตรฐาน CODEX แต่เป็นสารเคมีที่อยู่ในรายการเฝ้าระวังการใช้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เนื่องจากมีอันตรายสูง อีกทั้งยังพบการตกค้างของสารเคมี ฟลูไซทริเนต (Flucythrinate) ซึ่งเป็นสารเคมีมีพิษร้ายแรงตามการจัดลำดับของ EPA (US Environmental Protection Agency) อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบถือว่าไม่สูงนัก (ต่ำกว่า 0.02 มก./กก.) จึงไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแบบเฉียบพลันเมื่อบริโภค 2. มีเพียงตัวอย่างจากตลาดรถไฟ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีกลุ่มใด ๆ เลย   สรุปความเสี่ยงของสารตกค้างในส้มจีนมีความเสี่ยงต่อการพบสารเคมีทางการเกษตรตกค้างอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง (ร้อยละ 35 – 50) และมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากการได้รับสารเคมีตกค้างเข้าสู่ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างปลอดภัย (ปริมาณที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำกว่า 0.1 มก./กก.) แต่ไม่ควรบริโภคติดต่อกันเป็นประจำ   แอ็ปเปิ้ล  เก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง รวม 15 ตัวอย่าง เมื่อเดือนกันยายน 2552 และเดือนมกราคม 2553 จากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่หรือตลาดสดในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัด จังหวัดละ 1 ตัวอย่าง/ครั้ง เพื่อทดสอบหาการตกค้างของสารเคมี 3 กลุ่มคือคาร์เบนดาซิม ออร์กาโนฟอสเฟต และไพรีทอยด์ ผลการทดสอบพบว่า 1. มีการตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิมจำนวน 4 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 27) เป็นตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างในเดือนกันยายน 52 จำนวน 1 ตัวอย่างคือแอ็ปเปิ้ลเขียวของ หจก. สยาม เอส ซี ที จากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.01 มก./กก. และเป็นตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างในเดือนมกราคม 53 จำนวน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ตัวอย่างจากตลาดรถไฟ จังหวัดขอนแก่นที่ปริมาณ 0.09 มก./กก. ตัวอย่างจากตลาดสดหาดใหญ่ใน จังหวัดสงขลา ที่ปริมาณ 0.06 มก./กก. และตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. อย่างไรก็ตามไม่สามารถระบุได้ว่าสารเคมีที่พบเป็นอันตรายแค่ไหนหากบริโภคเนื่องจากไม่มีมาตรฐานใดระบุไว้ให้ใช้ได้หรือไม่และมากน้อยเพียงใดหากให้ใช้ในผลไม้ชนิดนี้ 2. มีการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตจำนวน 3 ตัวอย่าง (ร้อยละ 20) จากการเก็บตัวอย่าง 2 ครั้ง โดยในเดือนกันยายน 52 พบ 2 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่พบอีไทออน และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา พบคลอร์ไพริฟอส และอีก 1 ตัวอย่างในเดือนมกราคม 53 พบสารเคมีชนิดคลอร์ไพริฟอสในต้วอย่างของบ.วิตี้เฟรชฟรุ๊ต จากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมากจนแทบจะตรวจไม่พบโดยเฉพาะตัวอย่างจากจังหวัดเชียงใหม่ที่เก็บเมื่อเดือนมกราคม 53 จึงไม่น่าเป็นอันตรายแต่อย่างใดต่อการบริโภค   3. มีการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์จำนวน 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ 40) แบ่งออกเป็น 4 ตัวอย่างในตัวอย่างที่เก็บเมื่อเดือนกันยายน 2552 ได้แก่ตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ปริมาณรวม 0.73 มก./กก. ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา ที่ปริมาณรวม 0.08 มก./กก. ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณรวม 0.04 มก./กก. และตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์สาขาลาดพร้าว กรุงเทพฯ ที่ปริมาณรวม 0.03 มก./กก. กับอีก 2 ตัวอย่างในตัวอย่างที่เก็บเมื่อเดือนมกราคม 2553 ได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคามที่ปริมาณรวม 0.02 มก./กก. และตัวอย่างจากตลาดรถไฟ จังหวัดขอนแก่นที่ปริมาณ 0.01 มก./กก. โดยพบสารเคมีตั้งแต่ 1 – 5 ชนิดได้แก่ แอล-ไซฮาโลทริน ไซเปอร์เมทริน เฟนวาเลท ไซฟลูทริน และเดลทาเมทริน และมีเพียงแค่ 2 ชนิดคือไซฟลูทรินและเดลทาเมทรินที่มีมาตรฐานกำกับการใช้ (มาตรฐานอาหารสากล-CODEX)   ข้อสังเกตมีตัวอย่างอย่างจาก 2 จังหวัดที่ไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในแอ๊ปเปิ้ลเลยจากการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้งได้แก่ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงครามและตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสตูล   สรุปความเสี่ยงในแอ๊ปเปิ้ลและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงต่อการพบสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับน้อยถึงเกือบปานกลาง และมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารเคมีในระดับต่ำยกเว้นสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์บางชนิด คำแนะนำในการบริโภค ควรปอกเปลือกและล้างทำความสะอาดก่อนการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงจากสารเคมีตกค้างให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 156 กระแสต่างแดน

พลาดจนได้ ห้างอิเกียสาขาซามาร่า ในรัสเซียกลับมาเป็นข่าวอีกครั้งหลังจากเปิดดำเนินการเมื่อสามปีก่อน ซึ่งกว่าจะเปิดได้ก็ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ นานาจนเปิดห้างได้ล่าช้ากว่าแผนไปถึง 4 ปี เหตุที่แผนต้องสะดุดไปถึง 8 ครั้งนั้น รวมถึงการที่ห้างยังสร้างอาคารไม่ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัยของรัสเซีย ซึ่งกำหนดให้อาคารต้องแข็งแรงขนาดต้านทานพายุเฮอริเคนได้ด้วย ที่สำคัญ บริษัทไม่มีนโยบายจ่ายค่าน้ำร้อนน้ำชาให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ และถึงขั้นเคยไล่เจ้าหน้าที่ระดับบริหารออกไปสองราย เพราะจับได้ว่าติดสินบนเจ้าหน้าที่รัสเซียด้วย แต่ที่เปิดได้ในที่สุดเพราะบริษัทใช้ไม้ตายด้วยการยื่นคำขาดว่าถ้าเปิดสาขาซามาร่าไม่ได้ ก็จะระงับแผนการลงทุนทั้งหมดในรัสเซีย (ปัจจุบันธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านสัญชาติสวีดิช มีสาขาในรัสเซียถึง 14 แห่ง จากทั้งหมด 338 สาขาทั่วโลก)   ปีนี้ อิเกีย ซามาร่า เป็นข่าวอีกครั้งเพราะโดนข้อหาขายต้นไม้ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบโดยด่านกักกันพืชของเมือง และถูกปรับเป็นเงิน 1,900 เหรียญ ซึ่งต้นไม้จำนวน 20,000 ต้นที่สต็อคไว้ขายนี้ก็ถูกส่งมาจากสาขาในเมืองมอสโควและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กนั่นเอง ยิ้มสองมาตรฐาน เดนมาร์กใช้ระบบแสดงผลการตรวจสอบสุขอนามัยของร้านขายอาหาร ด้วยสไมลี่ย์ หรือ “หน้ายิ้ม” ที่เรารู้จักกัน โดยแสดงเป็น 4 หน้า ตั้งแต่ หน้าเบะ (โดนปรับ โดนแจ้งข้อหา หรือถูกถอนใบอนุญาต) หน้าบึ้ง (ถูกห้ามขายชั่วคราว) หน้าอมยิ้ม (เกือบดีแล้ว ปรับปรุงเพียงเล็กน้อย) ไปจนถึงหน้ายิ้มแฉ่ง (ผ่านฉลุย ไม่มีข้อติ) รายงานหน้ายิ้มซึ่งเป็นผลจากการเข้าตรวจโดยไม่แจ้งล่วงหน้า(ปีละ 1 ถึง 3 ครั้ง) ที่ว่านี้จะถูกแสดงไว้ที่หน้าร้านให้ผู้บริโภคมองสามารถเห็นได้ชัดเจน เดนมาร์กใช้ระบบนี้ดูแลเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารมา 13 ปีแล้ว ทั้งกับร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำ ร้านขายขนมอบ รถเข็นขายอาหาร โรงอาหาร ครัวโรงพยาบาล และบ้านพักคนชรา เมื่อ 6 ปีที่ผ่านมาเขาเพิ่มหน้ายิ้มแฉ่งติดโบว์ หรือ “อิลิทสไมลี่ย์” ให้กับร้านที่ได้หน้ายิ้มแฉ่ง 4 ครั้งติดต่อกันด้วย แต่วันนี้ อย. ของเดนมาร์กมีแผนที่จะยกเลิกเจ้าอิลิทสไมลี่ย์ เพราะมันทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าร้านที่ได้สัญลักษณ์นี้สะอาดถูกสุขอนามัยกว่าร้านที่ได้รับหน้ายิ้มแฉ่งเฉยๆ นั่นเอง   จิตตกระหว่างทาง ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางไปทำงานในแต่ละวันนั้น มีผลกระทบต่อระดับความสุข และความกังวลของมนุษย์เงินเดือนมิใช่น้อย นี่เป็นผลจากการสำรวจที่สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษทำกับประชากร 60,000 คน เพื่อต้องการเปรียบเทียบสภาพจิตใจของคนที่เดินทางไปทำงานกับคนที่ทำงานอยู่กับบ้าน ในภาพรวมเขาพบว่า “การเดินทาง” นั้นส่งผลในทางลบอย่างเห็นได้ชัดต่อความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต และการเห็นคุณค่าในงานที่ทำ นอกจากนี้มันยังมีผลต่อระดับความสุขและความวิตกกังวลด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่ใช้เวลาเดินทางระหว่าง 60 ถึง 90 นาที ต่อเที่ยว และจะยิ่งหนักหนามากขึ้นในกรณีของผู้ที่เดินทางด้วยรถประจำทางหรือแท็กซี่(อย่างหลังนี่เป็นเพราะนั่งนานแล้วจ่ายมากด้วยหรือเปล่าผลสำรวจเขาไม่ได้บอก) คุณอาจจะนึกว่าการขี่จักรยานไปทำงานน่าจะเป็นทางออก  ... แต่ไม่ใช่ เพราะเขาพบว่าระยะเวลาที่ใช้ยังคงส่งผลในทางตรงข้ามต่อผู้ขับขี่จักรยานอยู่ดี ยิ่งปั่นนาน ความสุขก็จะยิ่งน้อยลง(เขาไม่ได้บอกว่าเป็นเพราะเหนื่อยหรือเปล่า) โธ่ ผู้คนของเขายังจิตตกได้ขนาดนี้ทั้งๆ ที่ระบบการขนส่งออกจะก้าวหน้า ถ้าสำนักงานสถิติแห่งชาติบ้านเราทำบ้างสงสัยต้องประกาศให้ทุกคนทำงานอยู่บ้านแน่นอน   อ้วนแล้วหล่อ สำหรับหนุ่มๆ ชาวกัมพูชาแล้ว ถ้าอยากจะดูมีเสน่ห์ก็ขอบอกว่าต้องอวบนิดๆ ช่างเข้าทางกับพฤติกรรมการบริโภคของคนสมัยนี้ที่นิยมรับประทานขนมหวาน น้ำอัดลมและ อาหารขยะมากขึ้นเสียเหลือเกิน ในภาพรวมแล้ว กัมพูชามีสถิติคนเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่นานประเทศเพื่อนบ้านของเราเพิ่งจะได้รับตำแหน่งประเทศที่มีพฤติกรรมการกินที่ส่งเสริมสุขภาพที่สุดในโลกจากองค์การออกซ์แฟม งานวิจัยที่ทำในปี 2010 พบว่าร้อยละ 15.5 ของประชากรกัมพูชามีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน จะว่าไปแล้วกัมพูชาก็ไม่ต่างจากอีกหลายประเทศในโลกที่มีทั้งประชากรที่อดอยากและประชากรที่น้ำหนักเกิน อีกหนึ่ง ภาพสะท้อนว่าระบบอาหารของโลกเราช่างไร้สมดุล และทุกวันนี้จำนวนคนเป็นโรคอ้วนในประเทศกำลังพัฒนาแซงหน้าประเทศพัฒนาแล้วไปถึง 2 เท่าตัว ข่าวจากพนมเปญโพสต์ระบุว่าคนกัมพูชาอวบขึ้น เพราะรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เมื่อผู้คนนิยมเข้ามาทำงานในเมืองกันมากขึ้น วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมที่เคยต้องลงแรงกับการทำการเกษตรก็เริ่มได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่น้อยลง นอกจากนี้สถิติการนำเข้าขนมหวานสำเร็จรูปและน้ำอัดลมเพิ่มขึ้นหลายเท่าระหว่างปี 2003 ถึง 2008 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศไทย และร้านอาหารแบบตะวันตกอย่างร้านเบอร์เกอร์จากอเมริกาก็เริ่มมาเปิดกิจการกันมากขึ้นเช่นกัน หยุดตรวจ? งานวิจัยจากแคนาดา ซึ่งเก็บข้อมูลจากผู้หญิง 90,000 คนในช่วงเวลา 25 ปี ระบุว่าอัตราการตายจากมะเร็งเต้านมไม่แตกต่างกันระหว่างผู้หญิงที่เข้ารับการตรวจแมมโมแกรมและผู้หญิงที่ไม่ได้รับการตรวจ นอกจากนี้เขาพบว่าการตรวจอาจส่งผลในทางลบ เพราะ 1 ใน 5 ของมะเร็งที่ตรวจพบโดยแมมโมแกรมและได้รับการรักษาไปแล้วนั้นไม่ได้มีอันตรายและไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ทำคีโม หรือฉายรังสีเลยด้วยซ้ำ แม้จะเป็นที่รู้กันว่ามะเร็งบางชนิดเติบโตช้ามาก หรือไม่โตเลย และไม่จำเป็นต้องรักษา บางชนิดหดหายไปเองได้ด้วย แต่เมื่อมีการตรวจพบเราจะไม่มีทางทราบได้ว่ามันอันตรายหรือไม่ แพทย์จึงต้องทำการรักษาทุกกรณีเพื่อเป็นการปลอดภัยไว้ก่อน ณ ปัจจุบัน สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศเดียวที่เปลี่ยนนโยบายการตรวจแมมโมแกรม โดย Swiss Medical Board ประกาศว่าจะไม่มีการเพิ่มสถานพยาบาลที่จัดการตรวจแมมโมแกรมอีก (ปัจจุบันนี้มี 10 เขต จากทั้งหมด 26 เขต) ส่วนโรงพยาบาลที่มีอยู่แล้วก็กำลังจะยกเลิกในอีกไม่ช้า ทั้งนี้เพราะเห็นว่าแมมโมแกรมไม่ได้ลดอัตราการตายจากมะเร็งเต้านม แต่สร้างความวิตกกังวลที่นำไปสู่การรักษาที่ไม่จำเป็น สถาบันมะเร็งแห่งอเมริกา ซึ่งออกมายืนยันว่าการตรวจดังกล่าวสามารถลดอัตราการตายจากมะเร็งเต้านมได้ถึงร้อยละ 15 สำหรับผู้หญิงในวัย 40 ปี และร้อยละ 20% สำหรับผู้หญิงที่สูงวัยกว่า ก็ประกาศว่าจะพิจารณาปรับเปลี่ยนข้อแนะนำการตรวจแมมโมแกรมสำหรับปีนี้ด้วย   //

อ่านเพิ่มเติม >