ฉบับที่ 267 หุ่นยนต์ดูดฝุ่น 2023

        หุ่นยนต์ทำความสะอาดพื้นกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ประจำในร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า แถมยังมีสารพัดยี่ห้อให้ได้เลือกกัน หลายคนอยากมีไว้ประจำบ้านแต่ก็ยังลังเลเพราะผลการทดสอบเปรียบเทียบสองครั้งก่อนที่ฉลาดซื้อเคยนำเสนอ (ในฉบับที่ 197 และ 258) ทำให้เราได้ข้อสรุปว่าผู้ผลิตหุ่นยนต์ดูดฝุ่นยังต้องปรับปรุงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์นี้อีกมาก มาดูกันว่าในการทดสอบครั้งล่าสุดนี้มีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ หรือ International Consumer Research & Testing ได้ส่งหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเข้าทดสอบโดยห้องปฏิบัติการ CTTN/IREN Centre Technique de la Teinture et du Nettoyage ของฝรั่งเศส ในระหว่างเดือนสิงหาคม 2565 ถึงมีนาคม 2566*คะแนนแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ในสัดส่วนดังนี้        1. ประสิทธิภาพการทำความสะอาด (ร้อยละ 40) โดยวัดจากความสามารถในการกำจัดฝุ่น เศษขนมปัง เส้นใย ทั้งบนพื้นพรมและพื้นกระเบื้อง        2. ความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 22)        3. การเคลื่อนไหวในห้องนั่งเล่นที่มีสิ่งกีดขวาง เช่น โซฟา ม่าน แจกัน สายไฟ (ร้อยละ 20)        4. เสียงรบกวนจากเครื่องขณะใช้งาน (ร้อยละ 12)        5. การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 6)                 พนักงานขายอาจเล่าถึงสรรพคุณของเจ้าหุ่นยนต์พวกนี้ไว้อย่างน่าตื่นเต้น แต่การทดสอบของเรากลับพบว่าแม้แต่รุ่นที่ได้คะแนนมากที่สุด ก็ได้ไปเพียง 53 คะแนนเท่านั้น (น้อยกว่าสองครั้งก่อนหน้าที่ตัวท้อปได้คะแนน 63 และ 57 ตามลำดับ) ดูรายละเอียดคะแนนด้านต่างๆ ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทั้ง 22 รุ่น (สนนราคาโดยประมานตั้งแต่ 5,250 ถึง 23,170 บาท*) ได้ในหน้าถัดไป* ราคาที่แสดงเป็นราคาที่สำรวจจากอินเทอร์เน็ตในช่วงเดือนมิถุนายน 2566 โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับที่ 258 หุ่นดูดฝุ่น

        หุ่นยนต์ทำความสะอาดพื้นดูเหมือนจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น จากที่เคยมีราคาค่อนข้างแพงและตัวเลือกจำกัด ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายเจ้าส่งผลิตภัณฑ์นี้ออกมาให้ผู้บริโภคได้มีทางเลือกมากขึ้น ทั้งรูปลักษณ์ ฟังก์ชัน และราคา แต่คำถามที่ยังคาใจหลายคนคือ อุปกรณ์นี้น่าลงทุนหรือไม่ ฉลาดซื้อฉบับนี้จะพาคุณไปหาคำตอบกันอีกครั้ง*         สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ หรือ International Consumer Research & Testing ได้ร่วมกันส่งตัวอย่างหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเข้ารับการทดสอบในห้องปฏิบัติการ CTTN/IREN Centre Technique de la Teinture et du Nettoyage ที่ประเทศฝรั่งเศส* ในระหว่างเดือนพฤษภาคม 2564 จนถึงพฤษภาคม 2565 โดยการทดสอบแบ่งออกเป็น 5 ด้าน แต่ละด้านมีสัดส่วนคะแนนแตกต่างกันดังนี้        1. ประสิทธิภาพการทำความสะอาด (ร้อยละ 40) โดยวัดจากความสามารถในการกำจัดฝุ่น เศษขนมปัง เส้นใย ทั้งบนพื้นพรมและพื้นกระเบื้อง        2. ความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 22)         3. การเคลื่อนไหวในห้องนั่งเล่นที่มีสิ่งกีดขวาง เช่น โซฟา ม่าน แจกัน สายไฟ (ร้อยละ 20)        4. เสียงรบกวนจากเครื่องขณะใช้งาน (ร้อยละ 12)        5. การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 6)         ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงขอเลือกรุ่นที่ได้คะแนนรวมสูงสุดในกลุ่มออกมา 20 ตัวเพื่อนำเสนอ (สนนราคาโดยประมานตั้งแต่ 7,000 ถึง 43,000 บาท*)         เราเรียนรู้จากผลการทดสอบครั้งนี้ว่าประสิทธิภาพโดยรวมของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่วางตลาดในช่วงสองปีที่ผ่านมาไม่ได้ดีขึ้นจากเดิมนัก และรุ่นที่ได้คะแนนมากที่สุดในการทดสอบครั้งนี้ ก็ได้ไปเพียง 57 คะแนน (เทียบกับครั้งก่อน ตัวท็อปได้ไป 63 คะแนน) ที่น่าสังเกตคือราคาที่แพงกว่าอาจไม่ได้บ่งบอกถึงประสิทธิภาพที่สูงกว่าเสมอไป         อย่างไรก็ตามหากคุณยังต้องการ “พื้นสะอาด” โดยไม่ต้องเหนื่อยแรงมากนัก ลองพลิกดูคะแนนในด้านต่างๆ ของแต่ละรุ่นได้ในหน้าถัดไป            *ติดตามบทความเรื่องทดสอบหุ่นยนต์ดูดฝุ่นครั้งก่อนหน้าได้ใน ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 197        *อัตราค่าทดสอบเฉลี่ยอยู่ที่รุ่นละ 1.318 ยูโร (ประมาณ 47,500 บาท)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 197 หุ่นยนต์ดูดฝุ่น

ฉลาดซื้อเล่มนี้ขอตามเทรนด์ล้ำๆ ด้วยการนำเสนอผลทดสอบหุ่นยนต์ทำความสะอาดพื้นที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศทำไว้ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา แม้สนนราคาของมันจะค่อนข้างแพงแต่เครื่องดูดฝุ่นแบบนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะใครๆ ก็อยากมีผู้ช่วยดูแลพื้นบ้านให้สะอาดเอี่ยม คำถามคือ มันทำอย่างนั้นได้จริงหรือไม่? การทดสอบครั้งนี้แบ่งคะแนนออกเป็น 5 ด้าน เรียงตามน้ำหนักคะแนนได้แก่ ประสิทธิภาพการทำความสะอาด (ฝุ่น เศษขนมปัง เส้นใย) บนพื้นพรมและพื้นไม้ ความสะดวกในการใช้งาน การเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ในห้องนั่งเล่น(ที่มีโซฟา ม่าน แจกัน สายไฟ เป็นต้น) ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและเสียงที่เกิดขณะใช้งานทีมทดสอบพบว่ารุ่นที่ “ดีที่สุด” สอบผ่านด้วยคะแนนร้อยละ 63 เท่านั้น ดูรวมๆ แล้วอุปกรณ์ประเภทนี้ยังทำงานได้ต่ำกว่าความคาดหวังของผู้บริโภค แต่รู้ไว้ไม่เสียหลาย พลิกหน้าถัดไปเพื่อดูว่าหุ่นยนต์รุ่นที่คุณเห็นในโฆษณาหรือที่พนักงานสาธิตให้ดูในห้างนั้นได้คะแนนแต่ละด้านไปมากน้อยอย่างไร   

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 178 ประสิทธิภาพ “เครื่องดูดฝุ่น”

เครื่องดูดฝุ่น ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตประจำวัน ช่วยให้การทำความสะอาดบ้านง่ายขึ้นเยอะ ทุ่นแรงทุ่นเวลา หลายบ้านอยากจะมีเจ้าเครื่องดูดฝุ่นไว้ใช้งาน แต่อาจยังติดเรื่องราคาที่ค่อนข้างสูง และอาจยังไม่มั่นใจว่าซื้อมาแล้วจะใช้งานได้คุ้มค่าหรือเปล่า แถมยังสงสัยเรื่องประสิทธิภาพในการดูดฝุ่นว่าจะดีจริงอย่างที่โฆษณาหรือเปล่า เพื่อไขข้อข้องใจให้กับคนที่กำลังมองหาเครื่องดูดฝุ่นไว้ใช้งานสักเครื่อง ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอนำเสนอผลทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ พลังในการดูด ไปดูกันสิว่าเครื่องยี่ห้อไหน รุ่นอะไร คุ้นค่าน่าซื้อกันบ้าง การทดสอบครั้งนี้ทดสอบโดย เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ตัวอย่างเครื่องดูดฝุ่นที่นำมาทดสอบครั้งนี้มีทั้งหมด 9 ตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่มีที่เก็บฝุ่น เป็นถุงผ้า จำนวน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ Tefal รุ่น city space TW2422 AH ระบุกำลังไฟฟ้า 2000 วัตต์Philips รุ่น PowerLife FC 8451 ระบุกำลังไฟฟ้า 1900 วัตต์ Panasonic รุ่น MC-CG 331ระบุกำลังไฟฟ้า 1600 วัตต์ 2.กลุ่มที่มีที่เก็บฝุ่นเป็น ถังพลาสติก จำนวน 6 ตัวอย่าง ได้แก่Samsung รุ่น VCMA 18 AV ระบุกำลังไฟฟ้า 1800 วัตต์Hitachi รุ่น CV-SH18 ระบุกำลังไฟฟ้า 1800 วัตต์Sharp รุ่น EC-L518-V ระบุกำลังไฟฟ้า 1800 วัตต์Electrolux รุ่น MobiMAXX ZAR 3500 ระบุกำลังไฟฟ้า 1600 วัตต์Imaflex รุ่น VC-932 ระบุกำลังไฟฟ้า 1600 วัตต์ LG รุ่น VC 2316 NND.BORPETH ระบุกำลังไฟฟ้า 1600 วัตต์                                         ฉลาดซื้อแนะนำ• ก่อนซื้อควรพิจารณาว่า เครื่องดูดฝุ่นของเราสามารถดูดฝุ่นเก็บในปริมาณมากหรือน้อย ซึ่งสามารถดูจากปริมาตรของถุงและถังเก็บฝุ่น• อย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์เสริมสำหรับการใช้งานในที่แคบ บางยี่ห้อไม่มีอุปกรณ์เสริมสำหรับการดูดฝุ่นในที่แคบ • กำลังไฟฟ้าที่ระบุไว้ (จากการทดสอบนี้) อาจไม่ได้ส่งผลต่อความสามารถในการดูดฝุ่น จะเห็นได้ว่า ในกรณีของกลุ่มที่มีที่เก็บฝุ่นเป็นถุงผ้า เครื่องดูดฝุ่นยี่ห้อ Philips ซึ่งระบุกำลังไฟฟ้าที่ 1900 วัตต์ สามารถดูดผงทรายและผงเหล็ก ได้ดีกว่ายี่ห้อ Tefal ซึ่งระบุกำลังไฟฟ้าที่ 2000 วัตต์ ในกรณีของ กลุ่มที่มีที่เก็บฝุ่นเป็นถังพลาสติก เครื่องดูดฝุ่น ยี่ห้อ Imaflex ซึ่งระบุกำลังไฟฟ้าที่ 1600 วัตต์ สามารถดูดผงทรายและผงเหล็ก ได้ดีกว่า ยี่ห้อ Hitachi ซึ่งระบุกำลังไฟฟ้าที่ 1800 วัตต์----------------------------------------------------- วิธีการทดสอบ1.ทดสอบ “ดูดผงเหล็ก” และ “ผงทราย” บนพื้นพรม และ ทดสอบดูดผงทรายบนพื้นปูน-นำผงเหล็กและผงทรายที่ชั่งน้ำหนักแล้วไปโรยบนพื้นพรม และพื้นปูน ปาดผงเหล็กและผงทรายเกลี่ยให้ทั่ว บนพื้นที่ทดสอบ ขนาด 3 เมตร x 3 เมตร -การทดสอบดูดผงเหล็กบนพื้นพรม เครื่องดูดฝุ่น กลุ่มที่มีที่เก็บฝุ่นเป็นถุงผ้า ใช้ปริมาณผงเหล็ก 2.5 กิโลกรัม ส่วนเครื่องดูดฝุ่น กลุ่มที่มีที่เก็บฝุ่นเป็นถุงพลาสติก ใช้ปริมาณของผงเหล็ก 5 กิโลกรัม-การทดสอบดูดผงทรายบนพื้นพรม เครื่องดูดฝุ่น กลุ่มที่มีที่เก็บฝุ่นเป็นถุงผ้า ใช้ปริมาณผงทราย 1.5 กิโลกรัม ส่วนเครื่องดูดฝุ่น กลุ่มที่มีที่เก็บฝุ่นเป็นถุงพลาสติก ใช้ปริมาณของผงทราย 3 กิโลกรัม-การทดสอบดูดผงทรายบนพื้นปูน ทั้งเครื่องดูดฝุ่น กลุ่มที่มีที่เก็บฝุ่นเป็นถุง และกลุ่มที่มีที่เก็บฝุ่นเป็นถุงพลาสติก ใช้ปริมาณของผงทราย 1.5 กิโลกรัม เท่ากัน-เปิดเครื่องดูดฝุ่นให้มีกำลังสูงสุด ดูดจนกระทั่งพื้นพรมและพื้นปูนสะอาด จับเวลา และวัดการใช้พลังงานด้วยเครื่องวัดการใช้พลังงานไฟฟ้า ยี่ห้อ Voltcraft รุ่น Cost Control 3000 SET-ชั่งน้ำหนักของผงเหล็กและผงทราย ที่เครื่องดูดฝุ่นสามารถดูดกลับคืนมาได้ 2.ทดสอบความดังของเสียง-เปิดเครื่องดูดฝุ่นที่ระดับกำลังสูงสุด ทำการดูดผงทรายที่พื้นปูน เป็นเวลา 1 นาที-วัดระดับความดังของเสียง ด้วยเครื่องวัดความดังเสียง ยี่ห้อ ONO SOKKI รุ่น LA 4440 บันทึกค่าความดังสูงสุดที่วัดได้ 3.ประเมินความสามารถในการดูดฝุ่นในที่แคบการทดสอบนี้จึงใช้การประเมินความสามารถในการดูดในพื้นที่แคบ โดยดูจากขนาดของปากท่อและความยาวของหัวดูด ซึ่งขนาดของปากท่อที่ดูดขนาดเล็กจะมีความสามารถในการแทรกซอนลงไปในพื้นที่แคบได้ดีกว่า เกณฑ์การให้คะแนนการทดสอบ “ดูดผงเหล็ก” และ “ผงทราย” บนพื้นพรม และ ทดสอบดูดผงทรายบนพื้นปูนดีมาก : 3 คะแนน (สามารถดูดผงเหล็กกลับคืนได้ครบ)ดี : 2 คะแนน (สามารถดูดผงเหล็กกลับคืนได้เกินกว่า 90 %ของน้ำหนักทั้งหมด)ผ่าน : 1 คะแนน (สามารถดูดผงเหล็กกลับคืนได้น้อยกว่า 90 %ของน้ำหนักทั้งหมด) การทดสอบ การวัดความดังของเสียง ดีมาก : 3 คะแนน (ระดับเสียงน้อยกว่า 75 เดซิเบล)ดี : 2 คะแนน (ระดับเสียงระหว่าง 75-80 เดซิเบล)ผ่าน : 1 คะแนน (ระดับเสียงมากกว่า 80 เดซิเบล) การประเมินความสามารถในการดูดฝุ่นในที่แคบ ดีมาก : 3 คะแนน (สามารถใช้ดูดได้ในที่แคบและลึก)ดี : 2 คะแนน (สามารถใช้ดูดได้ในที่แคบ)ผ่าน : 1 คะแนน (ใช้ดูดได้ในที่แคบ)ไม่ผ่าน : 0 คะแนน (ใช้ในการดูดในที่แคบไม่ดี) กิตติกรรมประกาศเครือนักวิชาการเพื่อผู้บริโภคขอขอบคุณภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ให้ความอนุเคราะห์ การใช้เครื่องมือวัดระดับความดังของเสียงในการทดสอบการใช้งานเครื่องดูดฝุ่นครั้งนี้      

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point