ฉบับที่ 189 รู้เท่าทันการกินฉี่

การดื่มน้ำปัสสาวะเพื่อเป็นการบำบัดโรคนั้น เคยเกิดกระแสนิยมในสังคมไทยเมื่อสิบกว่าปีก่อน โดยเฉพาะในสายการแพทย์ทางเลือกและในสายของผู้ปฏิบัติธรรม ต่อมาลดความนิยมลง แต่ยังมีการปฏิบัติกันในหมู่นักปฏิบัติธรรมและผู้รักสุขภาพบางกลุ่ม ในบางช่วงก็เกิดกระแสนิยมเป็นครั้งคราว เหตุที่การดื่มน้ำปัสสาวะไม่ก่อกระแสรุนแรงเหมือนผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ นั้น อาจเป็นเพราะ ทุกคนเป็นเจ้าของน้ำปัสสาวะ ไม่ต้องซื้อขาย จึงไม่มีกระแสธุรกิจที่จะมาขายน้ำปัสสาวะอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เรามารู้เท่าทันน้ำปัสสาวะกันดีกว่าความเป็นมาการดื่มหรือการใช้น้ำปัสสาวะของคนหรือของสัตว์เพื่อการบำบัดโรคนั้นมีการใช้กันทั่วโลกมานานกว่าพันปี ในพระธรรมวินัย กำหนดแนวทางยังชีพหรือนิสัย 4 ให้ภิกษุฉันน้ำมูตเน่า(น้ำปัสสาวะ) มีหลักฐานการจารึกในอิยิปต์โบราณ กรีก โรม คัมภีร์โยคะของอินเดีย ตำราการแพทย์จีน ดังนั้นการดื่ม การใช้น้ำปัสสาวะจึงเป็นภูมิปัญญาของมนุษยชาติที่เก่าแก่หลายพันปีบทความในวารสาร Nephrology เดือน พ.ค. - มิ.ย. 2011 เขียนว่า ผู้คนที่ใช้น้ำปัสสาวะเชื่อว่า น้ำปัสสาวะไม่เป็นของเสียของร่างกาย แต่เป็นสิ่งที่กลั่นจากเลือดและมีสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย ถูกเรียกเป็น “ทองคำจากเลือด” และ “ยาอายุวัฒนะ” การดื่มน้ำปัสสาวะมีที่มาจากวัฒนธรรมอินเดีย และมีการใช้มานานหลายศตวรรษและหลายวัฒนธรรมบทบรรณาธิการในวารสาร Pan Afr. Med J. เผยแพร่ ออนไลน์ 25 พค. 2010 เขียนว่า จากการค้นหาเกี่ยวกับ “การดื่มน้ำปัสสาวะ” ในกูเกิ้ลเกือบ 100,000 รายการและในวิดีทัศน์ 150 รายการ ยืนยันว่า “การดื่มน้ำปัสสาวะ ยังคงเป็นที่นิยมและกลับมานิยมในทุกวันนี้”ในน้ำปัสสาวะมีของล้ำค่าอะไรบ้างน้ำปัสสาวะส่วนใหญ่เป็นน้ำ มียูเรีย (25g/d), กรดยูริก (1g/d), ครีเอตินีน (1.5g), แร่ธาตุต่างๆ (10g/d ส่วนใหญ่เป็น เกลือโซเดียม), ฟอสเฟตและกรดอินทรีย์ (3g/d) , มีโปรตีนเล็กน้อย (40-80 mg/d, ส่วนใหญ่เป็นอัลบูมิน, ฮอร์โมนเล็กน้อย, กลูโคส และวิตามินที่ละลายน้ำน้ำปัสสาวะจะบริสุทธิ์ ปราศจากเชื้อโรคเมื่อเกิดขึ้นในไต แต่เมื่อปล่อยออกจากร่างกายแล้วมักจะมีการปนเปื้อนเชื้อโรคมีการใช้น้ำปัสสาวะรักษาโรคอะไรในบทความ Nephrology ปี 1999 เขียนว่า มีการดื่มน้ำปัสสาวะในตอนเช้าเพื่อเป็นการรักษาโรคจำนวนมาก เช่น การติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรีย อาการที่เกิดขึ้นระหว่างวันแรกๆ ที่ดื่มน้ำปัสสาวะ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ใจสั่น ท้องเสีย หรือไข้ สารสำคัญจำนวนมากในปัสสาวะได้แก่ ยูเรีย กรดยูริก ไซโตไคน์ (เป็นโปรตีนหรือไกลโคโปรตีนที่มีขนาดเล็ก สร้างจากเซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเพื่อตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น) ฮอร์โมน มีการใช้น้ำปัสสาวะกับภายนอก ได้แก่ การชโลม การทา การประคบก้อนเนื้องอก การอาบน้ำปัสสาวะ หรือแช่เท้าในน้ำปัสสาวะ การหยอดตา หยอดหู และทำความสะอาดแผล จาการค้นหาการทบทวนการใช้น้ำปัสสาวะในการบำบัดจากวารสารวิชาการต่างๆ ไม่พบว่ามีการทบทวนประสิทธิผลของการใช้น้ำปัสสาวะต่อร่างกายสรุป การดื่มและใช้น้ำปัสสาวะเป็นภูมิปัญญาเก่าแก่มานานหลายพันปี ใช้กันทั่วโลก ผู้คนเชื่อว่าทำให้สุขภาพแข็งแรง อายุยืน รักษาโรคได้ มีความเห็นตรงกันว่า ให้ดื่มน้ำปัสสาวะของตนเอง ควรเป็นน้ำปัสสาวะในตอนเช้าหลังตื่นนอน ไม่ควรดื่มทั้งวันหรือดื่มแทนน้ำอย่างไรก็ตาม ยังไม่พบการทบทวนทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ ทั้งในแง่ประโยชน์ในการบำบัดโรค หรือโทษระยะยาวจากการดื่มน้ำปัสสาวะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 104 วิทยาศาสตร์เทียมกับคนไทย

เมื่อค่ำของวันที่ 16 กันยายน 2552 ผู้เขียนได้ดูรายการข่าวของทีวีไทย จนถึงรายงานพยากรณ์ ซึ่งพิธีกรก็รายงานสภาพอากาศตามปรกติ แล้วตบท้ายด้วยการแก้คำผิดในเรื่องที่ได้เสนอไปในวันอื่นที่ผู้เขียนไม่ได้ดู ความผิดพลาดที่มีการแก้ไขเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลที่มักมีการ forward mail และแสดงในเว็บหลายเว็บ เกี่ยวกับการไม่ควรกินน้ำเย็นขณะกินอาหาร เพราะจะทำให้ไขมันในอาหารจับแข็งตัว เป็นอันตรายต่อสุขภาพต่าง ๆ นานา ซึ่งท่านผู้อ่านหลายท่านคงเคยผ่านตาและผู้เขียนก็ได้เคยเขียนใน ฉลาดซื้อ นานมาแล้วว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ผู้รายงานข่าวได้แก้ไขความผิดพลาดเพราะมีนายแพทย์ท่านหนึ่งได้ให้ข้อมูลแย้งว่า การดื่มน้ำเย็นขณะรับประทานอาหารนั้นไม่ได้อันตรายอย่างที่หลายคนคิด ผู้เขียนคงต้องขออธิบายสั้น ๆ ซ้ำอีกทีว่า น้ำไม่ว่าอุ่นมากหรือเย็นจัดนั้น เมื่อผ่านลำคอลงไปแล้ว ร่างกายจะมีระบบปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะกับที่ร่างกายต้องการเพื่อการดูดซึม จะไม่ไปทำให้อุณหภูมิของกระเพาะและลำไส้เย็นลงจนทำให้ไขมันในอาหารกลายเป็นก้อน เหมือนที่เห็นในตู้เย็น เหตุที่ร่างกายต้องพยายามดำรงอุณหภูมิในทางเดินอาหารให้อุ่นคือ ราว 37oC เพราะการทำงานของระบบเอนไซม์ต่าง ๆ ที่ย่อยอาหารให้เกิดการดูดซึมได้นั้น ต้องการอุณหภูมิประมาณนี้ ตัวอย่างรายการโทรทัศน์ที่ยกให้เห็นนี้ เป็นการแสดงว่าอย่างน้อยทีวีไทยมีความใส่ใจในการแก้ความผิดพลาด ซึ่งดีกว่าสถานีวิทยุและโทรทัศน์หลายสถานีที่ไม่สนใจ ปล่อยให้ความผิดพลาดดำเนินไป โดยเฉพาะการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ คนที่โชคร้ายคือ ผู้บริโภคที่ไม่มีโอกาสมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างลึกซึ้งพอความผิดพลาดด้านวิทยาศาสตร์แบบตั้งใจนั้น ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Pseudoscience ซึ่งภาษาไทยน่าจะแปลว่า วิทยาศาสตร์เทียม เพราะคำว่า Pseudo นั้นเป็นคำที่มาจากภาษาลาติน มีความหมายถึงสิ่งที่ไม่เป็นจริงคือ โกหก นั่นเอง การโกหกทางวิทยาศาสตร์สุขภาพนั้น มีให้เห็นในจอโทรทัศน์เป็นประจำ โดยไม่มีใครสนใจแก้ไข เพราะต่างได้ประโยชน์กันเป็นแถว ความผิดพลาดนั้นมีสาเหตุใหญ่ 2 ประการคือ ความผิดพลาดที่เกิดจากความไม่รู้ คือ มั่ว ส่วนอีกประการนั้นเป็นความตั้งใจให้ผิดเพื่อเอาประโยชน์ การมั่วทางวิทยาศาสตร์นั้นมีรากฐานจากทิฐิของนักวิชาเกินที่ไม่รู้จริง เช่น กรณีของการกินน้ำเย็นแล้วไขมันจะเป็นก้อนในทางเดินอาหารก่อให้เกิดปัญหามากมาย สุดท้ายก็ขาดไม่ได้ที่ต้องพาดพิงถึงมะเร็งเพื่อให้ดูสมจริง นักวิชาเกินเหล่านี้คงมีประสบการณ์มองอาหารในตู้เย็น และพบว่าอาหารที่มีไขมันเป็นองค์ประกอบมักเห็นไขมันแยกเป็นก้อนให้เห็น และด้วยความที่ไม่เคยเรียนวิชาสรีรวิทยา หรือแม้เคยเรียนก็ลืมไปแล้ว เลยทำให้เกิดความผิดพลาดในการให้ความรู้แก่ประชาชน ส่วนความผิดพลาดในประการที่สอง ซึ่งตั้งใจทำให้ผิดพลาดเพื่อหารับประทานนั้น มีตัวอย่างที่เห็นอย่างชัดเจนแล้วในบ้านเราคือ เรื่องอุปกรณ์ทำให้โมเลกุลของน้ำมันเรียงตัวก่อนเข้าระบบเผาไหม้เพื่อประหยัดน้ำมันและลดควันดำหรือสารพิษในไอเสีย ตามมาด้วยเรื่องน้ำดื่มที่ผ่านอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการเรียงตัวตามสนามแม่เหล็กของโมเลกุลน้ำ เพื่อทำให้น้ำธรรมดาเป็นน้ำวิเศษที่ทำให้สุขภาพดีขึ้นได้ ตัวอย่างที่ยกให้เห็นนี้ ขี้หกทั้งเพและเป็นเรื่องการโกหกระดับนานาชาติด้วย ในอินเตอร์เน็ตนั้นมีเว็บหลายเว็บที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เทียมหรือ pseudoscience ซึ่งท่านผู้บริโภคข้อมูลสามารถเข้าไปศึกษาได้ เว็บแรกที่แนะนำคือ http://www.chem1.com/acad/ sci/pseudosci.html ซึ่งให้คำจำกัดความของ pseudoscience ว่า {xtypo_quote}A pseudoscience is a belief or process which masquerades as science in an attempt to claim a legitimacy which it would not otherwise be able to achieve on its own terms; it is often known as fringe- or alternative science. {/xtypo_quote} ซึ่งน่าจะหมายความว่า วิทยาศาสตร์เทียมนั้นหมายถึง ความเชื่อหรือกระบวนการที่หลอกลวงว่าสิ่งที่เกิดหรือสิ่งประดิษฐ์นั้นเป็นวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับได้ทั้งที่มันเป็นมันไม่น่าจะใช่ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างที่พบได้ในเน็ตของคนที่ใช้วิทยาศาสตร์เทียมเพื่อความร่ำรวยของตนคือ การบอกว่า แสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านใบไม้ใหญ่ลงมากระทบตัวคนแล้วจะทำให้สุขภาพดี จึงจัดให้ในบริการล้างพิษ ผู้บริโภคที่หลงเชื่อก็จะไปนอนตากแดดแล้วเอาใบไม้ใหญ่มาคลุมตัว ยังดีนะครับที่ไม่ได้ใช้หนังสือพิมพ์มาคลุม ความแตกต่างของวิทยาศาสตร์แท้กับวิทยาศาสตร์เทียม (ซึ่งอาจเรียกอีกคำว่า creationist ได้) คือ วิทยาศาสตร์แท้นั้นจะหาความจริงจากการทดลองแล้วจึงสรุปออกมาว่าเป็นอะไร ในขณะที่วิทยาศาสตร์เทียมจะมีข้อสรุปก่อนแล้วจึงพยายามหาความจริงมายืนยัน ซึ่งบางทีก็ยันไม่ได้ทั้งยืนหรือนอน คำภาษาอังกฤษอีกคำที่อาจนำมาใช้กับปรากฏการณ์ที่พยายามทำแค่ความเชื่อดของตนเอง กลายเป็นวิทยาศาสตร์คือ Junk science ซึ่งในบางเว็บได้รวบเรื่องราวของ homeopathy เข้าไปอยู่ในกลุ่มนี้ ผู้เขียนเคยเขียนเรื่อง homeopathy ในฉลาดซื้อ แล้วมีผู้อ่านจดหมายมาทางกองบรรณาธิการเพื่อต่อว่า ซึ่งผู้เขียนก็เข้าใจว่าบทความดังกล่าวอาจไปก้าวล่วงในความเชื่อของหลายท่าน แต่ความจริงแล้วลักษณะของ homeopathy นั้นเข้าอยู่ในลักษณะของวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ยังไม่มีการพิสูจน์เป็นเรื่องเป็นราว เมื่อสมัยผู้เขียนดูหนังเกาหลีที่นางเอกในเรื่องชื่อว่า จังกึม นั้น ตอนหนึ่งที่นางเอกสูญเสียประสาทสัมผัสในการลิ้มรส แล้วตัวละครที่เป็นแพทย์สมัยนั้นใช้เหล็กไนผึ้งต่อยที่ลิ้นจังกึม ก็เป็นลักษณะการรักษาแบบหนามยอกเอาหนามบ่ง ซึ่งถามว่าเป็น homeopathy ในความรู้สึกผู้เขียนหรือไม่ ผู้เขียนก็ว่าใช่ ทั้งนี้เพราะ homeopathy นั้นบางครั้งก็ดูเป็นพิษวิทยา แต่ดูอีกทีก็ไม่น่าใช่นัก เนื่องจาก homeopathy นั้นมีความเชื่อว่า สารที่ทำให้เกิดพิษนั้น ถ้านำมาเจือจางให้มากๆ ก็สามารถต้านพิษได้ ถ้าต้องการอ่านเป็นภาษาอังกฤษก็หาได้จาก Wikipedia ซึ่งให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า   {xtypo_quote}German physician Samuel Hahnemann in 1796, that treats patients with heavily diluted preparations which are thought to cause effects similar to the symptoms presented. {/xtypo_quote} ที่ผู้เขียนกล่าวว่า homeopathy น่าจะเข้าข่ายของวิทยาศาสตร์เทียมเพราะใน Wikipedia ได้กล่าวไว้อีกเช่นกันว่า {xtypo_quote}Claims of homeopathy's efficacy beyond the placebo effect are unsupported by the collective weight of scientific and clinical evidence. {/xtypo_quote} อีกเว็บหนึ่ง คือ http://biocab.org/Pseudoscience.html ซึ่งให้ข้อมูลที่เป็นตัวอย่างของวิทยาศาสตร์เทียมที่เมื่อท่านเข้าไปอ่านแล้ว อาจอุทานว่า “โอ้พระเจ้าช่วยกล้วยทอด มันเหมือนกับที่เห็นในบ้านเราเลยซาร่า” เว็บนี้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการที่มีผู้พยายามสร้างความเชื่อว่า ปิรามิดนั้นใช้เทคโนโลยีที่ได้จากมนุษย์ต่างดาว ซึ่งก็เป็นเรื่องพื้น ๆ แต่ที่น่ากังวลกว่านั้นคือ ในเว็บได้เริ่มกังวลกับ academic pseudoscience ซึ่งเกิดจากนักวิทยาศาสตร์เทียมซึ่งได้เป็นอาจารย์ของสถานศึกษา ซึ่งผลิตนักวิทยาศาสตร์ด้วยความคิดแบบวิทยาศาสตร์เทียม ตัวอย่างในประเทศไทยก็มี เช่น การสอนให้เชื่อว่า เก้าอี้แม่เหล็กรักษาโรคได้ ทั้งที่กระทรวงสาธารณสุขออกมาบอกแล้วว่ายังพิสูจน์ไม่ได้ เว็บสุดท้ายที่แนะนำให้เข้าไปดูคือ www.quackwatch.com เจ้าเก่าของ Dr. Barrett ซึ่งมีบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เทียมสองบทความคือ Distinguishing Science and Pseudoscience และ Why Science Needs to Combat Pseudoscience ซึ่งเป็นบทความพื้นฐานที่ผู้อ่านที่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ก็ควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุที่ว่าสื่อทั้งหลายต่างมีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำข้อมูลสู่ผู้บริโภค การกรองข้อมูลให้ถูกต้องก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะอะไรที่ไม่เป็นจริงมักถูกเชื่อว่าเป็นจริง เพราะมันดูสนุกดี จนผู้บริโภคลืมไปว่า ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งเคยให้กระบวนการในการตัดสินใจว่าอะไรถูกผิดคือ กาลามสูตร{xtypo_alert} (โปรด สังเกตว่า บัดเดี๋ยวนี้ชื่อของที่ทำงานของผู้เขียนได้ถูกเปลี่ยนจาก สถาบันวิจัยโภชนาการ ไปเป็น สถาบันโภชนาการ เพื่อให้ครอบคลุมภารกิจในการทำงานกว้างขึ้นครับ) {/xtypo_alert}  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 178 รู้เท่าทันการดื่มน้ำด่าง

การดื่มน้ำด่างเพื่อสุขภาพและรักษาโรคนั้นเคยโด่งดังอย่างมากในต่างประเทศ และได้ขยายตัวมาเมืองไทยเมื่อสามสี่ปีก่อน จนมีแพทย์ นักหนังสือพิมพ์ และผู้มีชื่อเสียงในไทยจำนวนมากสนับสนุนและจำหน่ายเครื่องทำน้ำด่างหรือน้ำอัลคาไลน์ หรือน้ำไอออนอย่างเป็นล่ำเป็นสัน บางกลุ่มก็ให้นำขี้เถ้ามาแช่ในน้ำและกรองเอาน้ำมาดื่มก็มี ปัจจุบันก็ยังมีกระแสการส่งเสริมให้ดื่มน้ำด่างกันอย่างกว้างขวาง เรามารู้เท่าทันน้ำด่างกันดีกว่า น้ำด่างหรือน้ำไอออนที่ส่งเสริม ก็คือน้ำที่ทำให้มีสภาพเป็นด่างด้วยเครื่องไอออนไนเซอร์ ซึ่งมีขายกันทั่วไป ราคาหลักหมื่น เครื่องนี้จะเปลี่ยนส่วนประกอบทางเคมีของน้ำ ทำให้น้ำเป็นด่าง น้ำดื่มปรกติมีค่ากรดด่างเป็น 7 แต่น้ำด่างมีค่ากรดด่างเป็น 8 หรือ 9 เลือดของเรามีค่ากรดด่าง 7.35-7.45 ซึ่งเป็นด่างเล็กน้อย ฝ่ายที่สนับสนุนและธุรกิจจำหน่ายเครื่องทำน้ำด่างกล่าวอ้างว่า น้ำด่างเป็นน้ำที่มีชีวิต มีพลังในการหล่อเลี้ยงร่างกายเหมือนพืชผักที่สด ดูดซึมได้ดีกว่าน้ำทั่วไป และทำหน้าที่เหมือนสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์เสื่อม ดังนั้น จึงมีการกล่าวอ้างถึงประโยชน์ของน้ำด่างไว้มากมาย ตั้งแต่ o รักษาโรคหรืออาการที่เกิดจากภาวะเป็นกรดมาก เช่น ข้ออักเสบ มะเร็ง เบาหวานo เนื่องจากมีเกลือแร่ในน้ำด่าง ช่วยให้กระดูกดูดซึมเกลือแร่เหล่านี้และนำไปใช้ ทำให้กระดูกบางตัวช้าลงo โมเลกุลของน้ำด่างจะเล็กกว่าน้ำทั่วไป ทำให้ดูดซึมเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายได้เร็วกว่า และช่วยขับสารพิษและกรดออกจากเซลล์ได้ดีขึ้นo กระทรวงสาธารณสุขไทยเคยทำการวิจัยน้ำไอออนยี่ห้อหนึ่งที่ขายในเมืองไทย โดยนำมาใช้กับผู้ป่วยเอดส์ในปี พ.ศ.2554 และอ้างว่าทำให้ภูมิต้านทานดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อทำการทบทวนการศึกษาทางวิชาการใน Cochrane Library จากเอกสารทั้งสิ้น 907,144 บทความ ไม่พบว่ามีบทความการทบทวนน้ำด่างเกี่ยวกับหัวข้อประโยชน์ต่อสุขภาพดังกล่าว และใน PubMed ก็ไม่พบการทบทวนเกี่ยวกับหัวข้อนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งแสดงว่า ยังไม่มีการวิจัยที่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้พอว่า น้ำด่างมีประโยชน์ต่อสุขภาพดังที่กล่าวอ้างมา เมื่อประมวลความเห็นในเว็บไซต์ต่างๆ ที่เห็นค้านการกล่าวอ้างประโยชน์ของน้ำด่าง มีดังนี้o น้ำด่างช่วยรักษาโรคเรื้อรังนั้น หลักฐานทางการแพทย์ยังอ่อน เพราะร่างกายควบคุมภาวะกรดด่างอย่างเข้มงวด และอวัยวะแต่ละส่วนต้องการภาวะกรดด่างแตกต่างกัน นอกจากนี้เมื่อร่างกายเกิดภาวะเสียสมดุล ร่างกายจะปรับสมดุลทันที เช่น ถ้าเลือดเป็นกรด ร่างกายจะหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป เป็นต้นo น้ำด่างทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นนั้น ยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัย เพราะการที่น้ำด่างอาจเพิ่มความเป็นด่างกับร่างกาย แต่ไม่แน่ชัดว่าจะทำให้สุขภาพดีขึ้น ผู้ที่มีภาวะสุขภาพบางอย่างควรหลีกเลี่ยงการกินเกลือแร่ที่มากเกินไปo น้ำด่างจะขัดขวางการลดการเกิดอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันเชื้อโรคต่างๆ นั้น ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะกลับทำให้ลดการต้านทานการป้องกันการติดเชื้อo ประเด็นสำคัญคือราคา เพราะส่วนใหญ่ถูกชักชวนให้ซื้อเครื่องที่มีราคาแพง ความจริงเราสามารถหยดหรือหยอดสารที่ทำให้เป็นด่างหรือซื้อน้ำเกลือแร่ที่เป็นด่าง ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนน้ำด่างที่ทำจากเครื่องและมีประโยชน์เหมือนกัน   สรุปคือ ยังขาดหลักฐานทางการแพทย์ที่จะยืนยันประโยชน์ของการดื่มน้ำด่างว่าดีต่อสุขภาพ

อ่านเพิ่มเติม >