ฉบับที่ 208 กระแสต่างแดน

แบบนี่สิ “ซูเปอร์”ต่อไปนี้ธุรกิจค้าปลีกที่ต้องการเรียกตัวเองว่า ซูเปอร์มาเก็ต ในเวียดนามจะต้องผ่านเกณฑ์ของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า  “ซูเปอร์มาเก็ต” ต้องมีพื้นที่มากกว่า 250 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 9,999 ตารางเมตร (หากพื้นที่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไปจะเป็น “ศูนย์การค้า”) และต้องเปิดให้บริการระหว่างสิบโมงเช้าถึงสี่ทุ่มเป็นอย่างต่ำนอกจากข้อกำหนดเกี่ยวกับตัวอาคาร อุปกรณ์ในร้าน วิธีการเก็บรักษาสินค้า รวมถึงบริการที่ต้องจัดให้สำหรับเด็กและผู้พิการแล้ว เขายังระบุเงื่อนไขการทำโปรโมชั่นด้วย...ซูเปอร์มาเก็ตจะจัดโปรฯ ลดราคาได้ไม่เกินสามครั้งต่อปี แต่ละโปรฯ จะต้องมีระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน และโปรโมชั่นใหม่ต้องทิ้งระยะห่างจากโปรฯ ก่อนหน้า ไม่ต่ำกว่า 30 วันที่สำคัญ “โปรฯ ลดราคา” หมายความว่าต้องมีสินค้าในร้านมากกว่าร้อยละ 70 ที่ปรับราคาลดลง เรื่องขยะ ต้องขยับหลายประเทศตื่นตัวและเริ่มลงมือจัดการกับขยะพลาสติกที่กำลังจะท่วมโลกมานานแล้ว สิงค์โปร์เพื่อนบ้านของเราก็จัดการเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่เขายังไม่หยุดแค่นั้น  ล่าสุดองค์กรสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสิงคโปร์เตรียมกำหนดให้ร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาเก็ตรายงาน ปริมาณถุงพลาสติกที่ใช้ ขยะจากหีบห่อสินค้า รวมถึงนำเสนอแผนลดการใช้พลาสติกต่อรัฐฯ ภายในปี 2021  เขาบอกว่าอาจมีมาตรการจูงใจด้วยการลดภาษีเพื่อตอบแทนผู้ประกอบการที่ให้ความร่วมมือด้านขยะอิเล็กทรอนิกส์ รัฐบาลก็สนับสนุนให้เอกชนร่วมมือกันจัดเก็บและนำกลับมาใช้ใหม่ภายใต้โครงการ (RENEW: Recycling Nation’s Electronic Waste Programme) ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปฝากทิ้งได้ที่สาขาของร้าน Best Denki ร้าน Courts ร้าน Gain City และร้าน Harvey Normanของมันต้องมีธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งสวิตเซอร์แลนด์และบริษัทด้านการเงิน UBS สำรวจราคาของสินค้าที่มนุษย์มิลเลเนียลต้องมีใน 11 เมือง (นิวยอร์ก ลอนดอน ปารีส ซูริค ดูไบ ฮ่องกง โจฮันเนสเบิร์ก มอสโคว บัวโนสไอเรส โตรอนโต และกรุงเทพฯ“ของ” ดังกล่าวได้แก่ ไอโฟน คอมพิวเตอร์พกพา กางเกงยีน รองเท้าผ้าใบ ค่าสมาชิกเน็ตฟลิกซ์ กาแฟ บิ๊คแม็ค และอโวคาโด  เขาพบว่า มิลเลนเนียล(คนที่มีอายุระหว่าง 22 ถึง 34 ปี ซึ่งจะเป็นคนส่วนใหญ่ในการขับเคลื่อนธุรกิจ) ชาวบางกอก ต้องใช้เงินซื้อ “ของต้องมี” มากกว่ามิลเลนเนียลในฮ่องกงหรือดูไบ  คุณสามารถซื้อสินค้าทั้ง 8 อย่างได้ในราคา 1,825 เหรียญ (59,500 บาท) ที่ฮ่องกง และ 2,004 เหรียญ (65,500 บาท) ที่ดูไบ  แต่หากซื้อที่กรุงเทพฯ คุณต้องจ่ายถึง 2,131 เหรียญ (69,500 บาท)  เฉพาะทะเบียนปักกิ่งตั้งแต่ 1 พฤศจิกายนปีหน้า รถยนต์ที่ไม่ได้จดทะเบียนในปักกิ่งจะไม่สามารถวิ่งหรือจอดในเมืองนี้โดยไม่มีใบอนุญาต ทั้งนี้ผู้ขับขี่สามารถยื่นขอใบอนุญาตได้ปีละ 12 ครั้ง แต่ละครั้งเป็นระยะเวลาเจ็ดวันติดต่อกันปักกิ่งใช้ระบบจับฉลากทะเบียนรถมาตั้งแต่ปี 2010 ผู้ที่ต้องการซื้อรถต้องลุ้นโชคเพื่อให้ได้เป็นเจ้าของทะเบียน คนที่ไม่รอโชคชะตาก็จะหันไปพึ่งพาตัวแทนขายรถให้ดำเนินการจดทะเบียนที่เมืองอื่นให้ ด้วยค่าบริการ 4,500 หยวน (ประมาณ 23,000 บาท)จากนั้นเจ้าของรถก็ขอใบอนุญาตออนไลน์เพื่อนำรถเข้ามาใช้ในเมืองได้ครั้งละเจ็ดวัน ปัจจุบันสถิติการขอใบอนุญาตสูงถึง 725,000 ใบต่อสัปดาห์ ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาก็มีรถยนต์สัญจรไปมาในตัวเมืองปักกิ่งมากกว่าวันละ 700,000 คัน มาตรการดังกล่าวจึงออกมาเพื่อลดความแออัดบนท้องถนน ลดมลภาวะในเมือง และทำให้ผู้คนกลับไปเชื่อมั่นในนโยบายจับฉลากมากขึ้น อาหารก็เปลี่ยนปัญหาโลกร้อนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ของเกษตรกรเท่านั้น งานวิจัยจากลอนดอนพบว่าภาวะแห้งแล้ง อุณหภูมิที่สูงขึ้น และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นสามารถส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการของผลผลิตทางการเกษตรด้วยนักวิทยาศาสตร์ทราบมานานแล้วว่าคุณค่าทางอาหารของพืชหลักที่เราบริโภคนั้นเริ่มลดน้อยลง แต่ส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นเพราะการปลูกแบบเชิงเดี่ยวที่เน้นปริมาณ ไม่เน้นคุณภาพคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสิ่งที่พืชต้องใช้ในการเติบโต แต่การได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็จะเร่งกระบวนการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชผลิตคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวอย่างกลูโคสมากขึ้น ในขณะที่ผลิตโปรตีน สังกะสี และเหล็กน้อยลงปัจจุบันร้อยละ 76 ของประชากรโลกพึ่งพาโปรตีนจากพืชอย่างข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และมันฝรั่ง มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดระบุว่า ภายในปี 2050 จะมีคน 150 ล้านคนเป็นโรคขาดโปรตีนเพราะความเปลี่ยนแปลงทางอากาศ 

อ่านเพิ่มเติม >