ฉบับที่ 220 ผลทดสอบปริมาณพลังงาน น้ำตาล และข้อมูลโภชนาการอื่นๆ ในเครื่องดื่ม “ ชานมไข่มุก ”

        ต้นกำเนิดของ  “ชานมไข่มุก” บับเบิลมิลค์ที หรือ ปัวป้ามิลค์ที (Bubble Tea / Boba Tea) มีที่มาจากร้านชา “ชุนฉุ่ยถัง” ในเมืองไทจง ประเทศไต้หวัน เมื่อปี 1980 ด้วยการนำไข่มุก (Bubble) หรือ เฟิ่นเหยิน (Fen Yuan) ซึ่งเป็นขนมดั้งเดิมของไต้หวัน ดัดแปลงใส่ลงไปในชานม จึงเกิดผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ขึ้นมา จนปัจจุบันกลายมาเป็นเครื่องดื่มประจำชาติของคนไต้หวัน และโด่งดังไปทั่วเอเชีย เช่น จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี ไทย และ แผ่ขยายไปยังภูมิภาคอื่นๆ เช่น อเมริกาเหนือ และยุโรป อีกด้วย         เม็ดไข่มุก (Tapioca Pearls) ทำจากแป้งมันสำปะหลัง (Tapioca Flour) ซึ่งอาจมีหลากสี เช่น สีดำ สีทอง สีเขียว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่ใส่ลงไป โดยส่วนใหญ่ที่พบทั่วไปจะเป็นไข่มุกสีดำที่มาจากสีผสมอาหารสังเคราะห์ หรือ น้ำตาลทรายแดงและผงโกโก้        ปัจจุบันเราจะเห็นร้านชานมไข่มุกอยู่เกือบทุกที่ เนื่องจากรสชาติหวานหอมของชานม ที่ผสานกับเนื้อสัมผัสที่เหนียว นุ่ม หนึบ ของไข่มุกอย่างลงตัว ทำเอาคนไทยติดใจ จนร้านชานมไข่มุกหน้าใหม่ แข่งขันกันเปิดให้บริการเป็นจำนวนมาก ทั้งแบบแบรนด์ต่างชาติ แฟรนไชส์ และร้านท้องถิ่น ซึ่งราคาก็มีตั้งแต่ ระดับแมส แก้วละ 20 - 30 บาท ระดับพรีเมียมแมส แก้วละ 35 - 50 บาท ไปจนถึงระดับพรีเมียมแก้วละ 80 – 100 กว่าบาทเลยทีเดียว         จากรายงานการวิจัยตลาดของบริษัท Allied Analytics ในปี 2017 มูลค่าตลาดชานมไข่มุกทั่วโลกอยู่ที่ 1,954 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราวๆ 65,000 ล้านบาท) คาดว่าภายในปี 2023 จะมีมูลค่าแตะ 3,214 ล้านเหรียญ (ราว 100,000 ล้านบาท) ส่วนตลาดชานมไข่มุกในไทย จากการสำรวจของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจกสิกรไทย พบว่ามีมูลค่าราว 2,000 ล้านบาท โดยบริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดคือ โอชายะ Ochaya ที่มีสาขามากกว่า 360 สาขา มีรายได้ปี 2560 ที่ 148,202,491 บาท เมื่อเทียบจากปี 2558 แล้วถือว่าเติบโตมากกว่า 1 เท่าตัว (ที่มาข้อมูล: https://voicetv.co.th/read/B1eivkqFm)         ด้วยความนิยมดื่มชานมไข่มุกของคนไทย ฉลาดซื้อจึงหยิบเอาข้อมูลปริมาณพลังงานและน้ำตาลที่ได้จากการบริโภคชานมไข่มุกมาให้ผู้บริโภคได้ทราบกัน ซึ่งชานมไข่มุกหนึ่งแก้ว ประกอบด้วย ชานม (ซึ่งอาจมีส่วนประกอบของนมผง ครีมเทียม หรือนมสด) แป้งมันสำปะหลัง น้ำตาล และวัตถุเจือปนอาหารชนิดต่างๆ         ฉลาดซื้อในโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างชานมไข่มุกแบบสูตรปกติ จำนวน 25 ยี่ห้อ ตั้งแต่ระดับแมส พรีเมียมแมส และพรีเมียม ที่มีจำหน่ายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่งตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ เช่น ปริมาณพลังงาน และน้ำตาลต่อแก้ว และ ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารกันบูดและโลหะหนักในเม็ดไข่มุก โดยผลการตรวจวิเคราะห์แสดงดังตารางต่อไปนี้ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลผลทดสอบข้อมูลโภชนาการ ชานมไข่มุก (สูตรปกติ) 25 ยี่ห้อหมายเหตุ: * ปริมาณน้ำหนักต่อแก้ว (กรัม) ของชานมไข่มุก เป็นขนาดแก้วปกติของแต่ละยี่ห้อ (ไม่รวมน้ำแข็ง) ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นเก็บตัวอย่างเดือน พฤษภาคม 2562หมายเหตุ: * ปริมาณน้ำหนักต่อแก้ว (กรัม) ของชานมไข่มุก เป็นขนาดแก้วปกติของแต่ละยี่ห้อ (ไม่รวมน้ำแข็ง) ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นเก็บตัวอย่างเดือน พฤษภาคม 2562 ตารางที่ 2 เปรียบเทียบปริมาณพลังงานกับปริมาณข้าวสวย(ทัพพี) และ ปริมาณน้ำตาลเป็นช้อนชาหมายเหตุ: * ปริมาณน้ำหนักต่อแก้ว (กรัม) ของชานมไข่มุก เป็นขนาดแก้วปกติของแต่ละยี่ห้อ (ไม่รวมน้ำแข็ง) ** ** ข้าวสวย (ข้าวขาว) 1 ทัพพี ให้พลังงานเท่ากับ 80 กิโลแคลอรี (kcal) *** น้ำตาล 4 กรัม เท่ากับ 1 ช้อนชา *** น้ำตาล 4 กรัม เท่ากับ 1 ช้อนชาสรุปผลการทดสอบคุณค่าทางโภชนาการ (ปริมาณพลังงาน และ น้ำตาล) ของชานมไข่มุก     จากผลการทดสอบปริมาณพลังงานทั้งหมด พบว่า        ตัวอย่างชานมไข่มุกที่ให้พลังงานทั้งหมดต่อแก้ว น้อยที่สุด ได้แก่             - ชานมไข่มุก ยี่ห้อ KOI The’ (น้ำหนัก 173 กรัม / ไม่รวมน้ำแข็ง)             ให้ปริมาณพลังงานทั้งหมด 157 กิโลแคลอรี (kcal)             เทียบได้กับข้าวสวย ปริมาณ 1.96 ทัพพีและ     ตัวอย่างชานมไข่มุกที่ให้พลังงานทั้งหมดต่อแก้ว มากที่สุด ได้แก่            - ชานมไข่มุก ยี่ห้อ CoCo Fresh Tea & Juice (น้ำหนัก 699 กรัม / ไม่รวมน้ำแข็ง)              ให้ปริมาณพลังงานทั้งหมด 769 กิโลแคลอรี (kcal)             เทียบได้กับข้าวสวย ปริมาณ 9.61 ทัพพี จากผลการทดสอบปริมาณน้ำตาล พบว่า         ตัวอย่างชานมไข่มุกที่มีปริมาณน้ำตาล น้อยที่สุด ได้แก่             - ชานมไข่มุก ยี่ห้อ KOI The’ มีปริมาณน้ำตาล 16 กรัม            เทียบได้กับน้ำตาล จำนวน 4 ช้อนชาและ     ตัวอย่างชานมไข่มุกที่มีปริมาณน้ำตาล มากที่สุด ได้แก่            - ชานมไข่มุก ยี่ห้อ CoCo Fresh Tea & Juice มีปริมาณน้ำตาล 74 กรัม            เทียบได้กับน้ำตาล จำนวน 18.5 ช้อนชาโดยข้อสังเกตอื่นๆ มีดังนี้        - ปริมาณชานมไข่มุกเฉลี่ยต่อแก้ว จากทุกยี่ห้อ เท่ากับ 371 กรัม        - ชานมไข่มุก ที่มีราคาถูกที่สุด ได้แก่ ยี่ห้อ Cha…Ma  ราคาแก้วละ 23 บาท        และ ราคาแพงที่สุด ได้แก่ ยี่ห้อ Fire Tiger by Seoulcial Club ราคาแก้วละ 140 บาท                  ในแต่ละวัน เราควรได้รับพลังงานจากการบริโภคอาหาร ตั้งแต่ 1,600 – 2,400 กิโลแคลอรี (kcal) ในกลุ่มคนไทยที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป สำหรับในกลุ่มข้าวและแป้ง (เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมจีน ขนมปัง) ควรได้รับวันละ 8 – 12 ทัพพี หญิงวัยทำงาน วัยทอง หรือผู้สูงอายุ กินวันละ 8 ทัพพี ชายวัยทำงาน 10 ทัพพี หรือหากต้องใช้พลังงานมากก็ 12 ทัพพี ซึ่งหากคิดพลังงานที่ควรได้รับ เท่ากับ 2,000 กิโลแคลอรี/วัน แบ่งเป็น 3 มื้ออาหาร เท่ากับมื้อละ 666 กิโลแคลอรี การดื่มชานมไข่มุก 1 แก้ว ก็อาจเท่ากับพลังงานที่ได้รับจากอาหาร 1 มื้อ ผลทดสอบปริมาณสารกันบูดและโลหะหนักในเม็ดไข่มุก         นอกจากการทดสอบคุณค่าทางโภชนาการในชานมไข่มุกแล้ว ฉลาดซื้อยังทดสอบวัตถุกันเสียและโลหะหนักในเม็ดไข่มุก ทั้ง 25 ตัวอย่างอีกด้วย โดยประเภทของวัตถุกันเสียที่ตรวจวิเคราะห์ ได้แก่ กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) และ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ส่วนโลหะหนักที่ตรวจวิเคราะห์ คือ ตะกั่ว (Lead)         ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่า ไม่พบโลหะหนักประเภทตะกั่ว (Lead) ในเม็ดไข่มุกทุกตัวอย่างส่วนผลการทดสอบสารกันบูดแสดงดังตารางต่อไปนี้ตารางที่ 3 ผลทดสอบสารกันบูดและโลหะหนักในเม็ดไข่มุก 25 ยี่ห้อ (เรียงลำดับตามปริมาณรวมของสารกันบูดจากน้อยไปมาก) สรุปผลการทดสอบสารกันบูดในเม็ดไข่มุก        จากผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่า เม็ดไข่มุกทุกตัวอย่างตรวจพบสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ในปริมาณที่แตกต่างกัน ส่วนกรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) พบว่า ตรวจพบเกือบทุกตัวอย่าง ยกเว้น 3 ตัวอย่าง ได้แก่ 1) ยี่ห้อ The ALLEY  2) ยี่ห้อ CoCo Fresh Tea & Juice และ 3) KOI Thé  ที่ตรวจไม่พบกรดเบนโซอิก        ซึ่งหากรวมปริมาณสารกันบูดทั้งสองชนิดดังกล่าวแล้ว พบว่า         - ตัวอย่างเม็ดไข่มุกที่มีปริมาณสารกันบูดทั้งสองชนิด น้อยที่สุด ได้แก่                 ยี่ห้อ The ALLEY  มีปริมาณสารกันบูดรวม 58.39 มิลลิกรัม/กิโลกรัม        และ ตัวอย่างเม็ดไข่มุกที่มีปริมาณสารกันบูดทั้งสองชนิด มากที่สุด ได้แก่                 ยี่ห้อ BRIX Desert Bar  มีปริมาณสารกันบูดรวม 551.09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม                  ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้พบปริมาณสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก ในกลุ่มขนมหวานที่มีธัญชาติและสตาร์ชเป็นส่วนประกอบหลัก สูงสุดได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม (โดยมีสัดส่วนของผลรวมไม่เกินหนึ่ง)         ซึ่งจากผลตรวจวิเคราะห์ พบว่า ไม่มีเม็ดไข่มุกยี่ห้อใดพบสารกันบูดในปริมาณที่เกินมาตรฐาน คำแนะนำในการบริโภค         รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ  อาจารย์และประธานหลักสูตรปริญญาโท สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้คำแนะนำในการบริโภคว่า ไม่ควรบริโภคชานมไข่มุก หรือ เครื่องดื่มประเภทเดียวกัน เช่น กาแฟเย็นมากกว่า 1 แก้วต่อวัน หากบริโภคชานมไข่มุกแล้ว เครื่องดื่มในมื้ออื่นๆ ควรเลือกเป็นน้ำเปล่า ที่สำคัญควรเลือกบริโภคชานมไข่มุกแก้วที่มีขนาดเล็กหน่อย เพราะจะให้ผลเสียต่อสุขภาพน้อยกว่า         การบริโภคชานมไข่มุกอาจทำให้เกิดพลังงานส่วนเกินมากกว่าที่ร่างกายเราใช้ไป หากสะสมจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น กรณีชานมไข่มุก เราจะได้น้ำตาล และแป้งจากเม็ดไข่มุก รวมถึงไขมันจากส่วนผสมที่เป็นนมหรือครีมเทียม ถ้าดูจากสัดส่วนจะเห็นว่าหนักในเรื่องน้ำตาล แป้ง และไขมัน ซึ่งถ้ากินชานมไข่มุกแทนมื้ออาหาร ก็จะทำให้ได้สารอาหารไม่ครบ แม้ว่าน้ำตาลจะให้พลังงาน แต่ไม่ได้ให้สารอาหารอื่นๆ ในขณะที่ถ้าเรากินข้าว ก็จะได้แร่ธาตุและวิตามิน หากเราบริโภคชานมไข่มุก อาจต้องไปลดปริมาณข้าวหรือแป้งในอาหารปกติลง เช่น เคยกินข้าว 3-4 ทัพพี ก็อาจลดเหลือแค่ 2 ทัพพี เพื่อไม่ได้เกิดพลังงานส่วนเกิน” แหล่งข้อมูลอ้างอิง:- สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล - wikipedia.org - คลิปวิดีโอ ThaiPBS “พิสูจน์ชานมไข่มุกร้านต้นตำรับที่ไต้หวัน : ดูให้รู้” - คลิปวิดีโอ ThaiPBS “ความยิ่งใหญ่อุตสาหกรรมชานมไข่มุก : ลงทุนทำกิน (3 มิ.ย. 62)” - ชาไข่มุก : ทำไมถึงกลับมาฮิต เกี่ยวโยงเศรษฐกิจ-การเมืองไต้หวันอย่างไร?     (https://voicetv.co.th/read/B1eivkqFm)  (https://voicetv.co.th/read/B1eivkqFm)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 98 รับร้อนกับชานมเย็นๆ สักแก้ว??

ชานมพร้อมเสิร์ฟชานม ไม่ว่าจะแบบร้อนหรือแบบเย็น จะรสต้นตำรับไทยแบบโบราณหรือแบบฝรั่งตะวันตก ต่างก็ให้รสชาติหวานหอม กลมกล่อมและชวนดื่มยิ่งนัก ยิ่งอากาศร้อนๆ อย่างนี้ หากเป็นชานมเย็นๆ สักแก้วก็จะยิ่งทำให้ชื่นใจกันไปใหญ่โดยเฉพาะคอชา แต่ยังไงก็ตามเพื่อให้ดื่มได้อย่างรู้จริงและมั่นใจว่าปลอดภัย ฉลาดซื้อจึงนำชานมสำเร็จรูปทั้งชนิดผงพร้อมชงและแบบบรรจุกล่อง/ขวดสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ส่งเข้าห้องทดสอบเพื่อลองดูว่า ชานมประเภทนี้มีความเสี่ยงเรื่องไขมันสูงหรือไม่ โดยเฉพาะไขมันชนิดทรานส์ ที่ว่ากันว่า เป็นผู้ร้ายตัวฉกาจไม่แพ้ไขมันอิ่มตัว ผลการทดสอบพบว่า มีอยู่ 4 ผลิตภัณฑ์ที่มีกรดไขมันทรานส์ คือ ชานมลิปตันมิลค์ที รสวานิลลา ชานมลิปตันมิลค์ที รสต้นตำรับไทย ซุปเปอร์ ชานมสำเร็จรูปและมะลิ ชาไทยผสมนม โดยลิปตันมิลค์ที รสวานิลลามีปริมาณกรดไขมันชนิดทรานส์ 0.36 กรัมต่อ 100 กรัม รองมาคือ ลิปตันรสต้นตำรับไทย 0.28 กรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งน่าจะมาจากส่วนประกอบที่มีครีมเทียมผสมลงไปด้วย (ดูในตารางผลทดสอบ) ส่วนผลิตภัณฑ์ที่พบว่า มีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูงได้แก่ ซุปเปอร์ ชานมปรุงสำเร็จ คือ 6.1 กรัม/ 100 กรัม   แต่เดี๋ยว…ช้าก่อน อย่าเพิ่งตกอกตกใจไป เนื่องจากเวลาที่เราดื่มจริงๆ เราก็คงดื่มไม่ถึง 100 กรัม(นอกจากจะชอบเอามากจริงๆ) ฉลาดซื้อจึงลองคำนวณโดยใช้น้ำหนักจากขนาด 1 ซองเป็นตัวตั้ง ได้ข้อมูล ดังนี้ ปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวเมื่อเทียบหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ หน่วยบริโภค กรดไขมันอิ่มตัว (กรัม) 1. ซุปเปอร์ ชานมปรุงสำเร็จ 1 ซอง 17 กรัม 1 2. ลิปตัน มิลค์ที รสวานิลลา 1 ซอง 20 กรัม 0.9 ปริมาณกรดไขมันชนิดทรานส์เมื่อเทียบหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ หน่วยบริโภค กรดไขมันอิ่มตัว (กรัม) 1. ลิปตัน มิลค์ที รสวานิลลา 1 ซอง 20 กรัม 0.07 2. ลิปตัน มิลค์ที รสต้นตำรับไทย 1 ซอง 15 กรัม 0.04 สรุปว่าการดื่มชานม 1 แก้ว ไม่มีความเสี่ยงมากในเรื่องของไขมัน เพราะมีปริมาณไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวน้อย แต่ที่ต้องระวังคือ เรื่องน้ำตาลหรือความหวาน ซึ่งมีปริมาณสูงพอสมควร ยิ่งประกอบกับคำแนะนำที่ข้างฉลากของผลิตภัณฑ์ชนิดผงที่ระบุว่า ชงเพิ่มเป็น 2 ซอง เมื่อต้องการดื่มกับน้ำแข็ง ก็จะเสี่ยงได้รับน้ำตาลมากเกินไป ส่วนชนิดพร้อมดื่ม ดูจากปริมาณ 1 หน่วยบริโภคคือขวดหรือกล่องแล้ว ก็พบว่า ยังไม่เข้าข่ายเสี่ยงมากในเรื่องปริมาณของไขมันเช่นกัน หลายยี่ห้อก็ไม่พบกรดไขมันชนิดทรานส์ แต่เรื่องน้ำตาลถือว่าแรงอยู่ บางยี่ห้อก็หวานเกินไป เช่น ไอวี่ ชาเย็นสูตรโบราณที่มีน้ำตาล 13.9 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ถ้าดื่ม 1 กล่อง 180 มิลลิลิตรก็จะได้น้ำตาลไปถึง 25 กรัม หรือคิดเป็นน้ำตาลประมาณ 6 ช้อนชาทีเดียว (พอๆ กับดื่มน้ำอัดลมหนึ่งกระป๋อง)ปริมาณน้ำตาลเมื่อเทียบหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ หน่วยบริโภค กรดไขมันอิ่มตัว (กรัม) ไอวี่ 1 กล่อง 180 มิลลิลิตร 25 กรัม ลิปตัน มิลค์ที รสวานิลลา 1 ซอง 20 กรัม 10 กรัม (20 กรัมเมื่อทำเป็นชาเย็น) ลิปตัน มิลค์ที รสต้นตำรับไทย 1 ซอง 15 กรัม 9 กรัม (18 กรัมเมื่อทำเป็นชาเย็น) ผลทดสอบชานมสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ น้ำหนัก ราคาต่อหน่วย (บาท) วันผลิต-วันหมดอายุ ผลทดสอบ น้ำตาล (กรัม/100 กรัม) กรดไขมันอิ่มตัว (กรัมต่อ 100 กรัม) กรดไขมันชนิดทรานส์ (กรัมต่อ 100 กรัม) ซุปเปอร์ ชานมปรุงสำเร็จ 510 กรัม (30 ซอง ซองละ 17 กรัม) 79 หมดอายุ 18-05-2010 51.20 6.10 0.08 ลิปตัน มิลค์ที รสต้นตำรับไทย 150 กรัม (10 ซอง ซองละ 15 กรัม) 46 07-08-2008 07-02-2010 57.60 4.00 0.28 ลิปตัน มิลค์ที รสวานิลลา 100 กรัม (5 ซอง ซองละ 20 กรัม) 27 20-10-2008 20-04-2010 52.40 4.70 0.36 ไอวี่ ชาเย็น สูตรโบราณ 180 มล. 13 ผลิต 27-11-2009 13.90 0.40 0 ยูนิฟ บาเล่ ชานมและข้าวบาร์เลย์ 350 มล. 17.50 18-12-2008 18-10-2009 7.40 0.20 0 มะลิ ชาไทยเย็นยูเอชทีผสมนมปรุงสำเร็จ 180 มล. 11 หมดอายุ 22-09-2009 8.80 0.70 0.02 นะมาชะ กรีนลาเต้น้ำชาเขียวญี่ปุ่น ผสมนม 280 มล. 18 03-09-08 03-07-09 8.0 0.2 0   ดื่มชาเพียวๆ ดีกว่าชานมจริงหรือมีงานวิจัยที่ระบุว่า ชาที่เติมนมจะมีดีที่รสชาติอร่อยเท่านั้น แต่คุณประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากชาจะหายไป เพราะนมจะไปหยุดสารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทันทีที่ผสมกับน้ำชา นักวิจัยได้ทดลองจนพบว่า โปรตีนในนมจะเข้าไปจับกับสารประกอบในน้ำชาที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (รวมทั้งบรรดาสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ในน้ำชา) ทำให้สารประกอบนั้นไม่สามารถออกฤทธิ์ได้อีกต่อไป ผลการทดลองดังกล่าวช่วยให้ข้อสรุปได้ว่า หากจะรับประโยชน์จากการดื่มชา ให้ดื่มชาแท้ๆ ไม่ผสมนม แต่หากใจมันชอบจะเติมนมหรือครีมผสมกับน้ำชา ก็ให้รู้ไว้ว่า มันไม่ค่อยมีประโยชน์อะไร ท่านจะได้แค่ความอร่อยหวานมันเท่านั้น อย่างไรก็ตามเรื่องอย่างนี้มันก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน ห้ามกันไม่ได้อยู่แล้ว   กรดไขมันชนิดทรานส์กรดไขมันชนิดทรานส์ (Trans Fatty acid ) เป็นกรดไขมันที่เกิดจากกระบวนการเติมไฮโดรเจน (Partial hydrogenation) ลงในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้นหรือเป็นของกึ่งเหลว พบในอุตสาหกรรมเนยเทียม (margarine) หรือเนยขาว (shortening) ครีมเทียม เป็นต้น   จากการศึกษาวิจัยพบว่ากรดไขมันชนิดทรานส์ให้ผลร้ายเช่นเดียวกับกรดไขมันอิ่มตัว คือทำให้ไขมันไม่ดีชนิดอื่นเพิ่มปริมาณมากขึ้นในร่างกาย ขณะเดียวกันก็ไปลดไขมันชนิดดี ส่งผลให้หลอดเลือดในร่างกายอักเสบ เสื่อม จนตีบตัน เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ประเทศที่นิยมรับประทานอาหารที่ต้องใช้กรดไขมันชนิดทรานส์เข้าไปอยู่ในกระบวนการผลิต จึงต้องออกประกาศ ให้ผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในประเทศทั้งหมดระบุปริมาณไขมันทรานส์บนฉลากโภชนาการ เช่น แคนาดาและสหรัฐอเมริกา สำหรับอาหารที่มีความเสี่ยงมาก ต้องระวังในการรับประทานคือ อาหารที่มีปริมาณกรดไขมันชนิดทรานส์มากกว่า 0.7 กรัมต่อมื้อ และมีกรดไขมันชนิดทรานส์บวกกับกรดไขมันอิ่มตัว มากกว่า 4 กรัมต่อมื้อ อาหารที่เป็นที่นิยมของคนไทยก็พบว่ามี กรดไขมันชนิดทรานส์ด้วยเช่นกัน ได้แก่พวก ขนมอบหรือเบเกอรีที่มีมาการีนเป็นส่วนประกอบ อย่างคุกกี้ พาย หรืออาหารที่ใช้มาการีนในการทอด อย่าง โรตี โดนัท แฮมเบอร์เกอร์ เป็นต้น  

อ่านเพิ่มเติม >