ฉบับที่ 182 เชื้อจุลินทรีย์ในโยเกิร์ต

โยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนมเปรี้ยว(fermented milk) หรือผลิตภัณฑ์นมชนิดที่ได้จากการหมักด้วยแบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแล็กทิก (lactic acid bacteria, LAB) แบคทีเรียชนิดที่นิยมใช้หมักโยเกิร์ต คือ สเตรพโตค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus) และแล็กโทบาซิลลัส บัลการิคัส (Lactoobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus) โดยผู้ผลิตมักใช้เชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิดนี้ร่วมกันเพื่อให้สามารถผลิตโยเกิร์ตได้เร็วขึ้น มีกลิ่นและรสชาติดีกว่าใช้เชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียว อย่างไรก็ตามอัตราส่วนของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดและสายพันธุ์ที่คัดเลือกมาเป็นหัวเชื้อจะมีผลต่อรสชาติและกลิ่นรวมทั้งเนื้อสัมผัสของโยเกิร์ต ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อที่ผลิตออกมาขาย และอาจมีการเติมแบคทีเรีย LAB ชนิดอื่นลงไปด้วย เช่น แบคทีเรียกลุ่มโพรไบโอติก อย่าง บิฟีโดแบคทีเรียม(Bifidobacterium) โยเกิร์ตนั้นโดยทั่วไปจะใช้น้ำนมวัวเป็นวัตถุดิบ แต่ก็สามารถใช้น้ำนมจากสัตว์ชนิดอื่น เช่น น้ำนมแพะ หรือผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น น้ำนมถั่วเหลืองหรือกะทิแทนน้ำนมวัวได้ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จะเรียกโยเกิร์ตที่ผ่านการปรุงแต่งกลิ่น รส สี หรือเติมผลไม้ลงไปว่า โยเกิร์ตปรุงแต่ง (flavoured yogurt) ทั้งโยเกิร์ตและโยเกิร์ตปรุงแต่งจะต้องมีจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักที่มีชีวิตคงเหลืออยู่ ในประเทศไทยโยเกิร์ตจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ โยเกิร์ตชนิดแข็งตัว(set yoghurt) ซึ่งจะมีเนื้อแน่น และโยเกิร์ตชนิดคน(stirred yoghurt) ซึ่งเนื้อโยเกิร์ตค่อนข้างเหลวไม่จับเป็นก้อน   การเลือกซื้อโยเกิร์ต จุดเด่นที่เราต้องการจากโยเกิร์ตคือ จุลินทรีย์กลุ่มแลกทิก(LAB) ซึ่งช่วยเรื่องสมดุลในระบบทางเดินอาหารและยังทำให้คนที่ไม่สามารถดื่มนมได้เนื่องจากขาดเอนไซม์ที่จะย่อยแลกโทสในน้ำนมนั้น สามารถกินโยเกิร์ตทดแทนได้ หลักการซื้อจึงควรดูเรื่องอุณหภูมิในการเก็บรักษาโยเกิร์ต เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้หมักและรุ่นการผลิต   1.เลือกที่มีวันผลิตใกล้เคียงกับวันที่ซื้อ เพื่อให้ได้โยเกิร์ตที่สดใหม่ ซึ่งจะยังมีเชื้อจุลินทรีย์ LAB ที่มีชีวิตจำนวนมาก(เชื้อจุลินทรีย์จะลดจำนวนลงเรื่อยๆ เมื่อผ่านไปหลายวัน) 2.ตู้แช่บริเวณชั้นวางผลิตภัณฑ์ควรมีอุณหภูมิในการเก็บรักษาระหว่าง 2 – 5 องศาเซลเซียส คือต้องเย็นพอๆ กับตู้เย็นบ้านหรือเย็นกว่า เนื่องจากจุลินทรีย์ LAB ชอบอากาศเย็น และจะคงสภาพมีจำนวนเชื้อที่มีชีวิตมากกว่าในที่อากาศร้อน 3.พลิกดูฉลากอ่านชื่อเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในถ้วยถ้าเป็น สเตร็ปโตค็อคคัส เทอร์โมฟิลัสและแล็คโตแบซิลลัส บัลการิคัส เพียงสองชนิดจัดว่าเป็นโยเกิร์ตธรรมดา แต่หากต้องการโยเกิร์ตที่เป็นโพรไบโอติก ต้องเลือกที่มีเชื้ออื่นที่ข้างถ้วย โดยโพรไบโอติกที่มีอยู่ในโยเกิร์ตในท้องตลาดบ้านเราคือ ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดุม (Bifidobacterium bifidum) ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010) แล็คโตแบซิลลัส คาเซอิ (Lactobacillus casei) แล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) เป็นต้น (ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศไทยมักใส่โพรไบโอติกเพียง 1 ชนิด ส่วนที่มาจากต่างประเทศจะเติมโพรไบโอติกลงไป 1-3 ชนิด) 4.โยเกิร์ตแบบโพรไบโอติก จะมีคุณสมบัติในเรื่องของการช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ถ้าคุณเป็นคนท้องผูกควรลองรับประทานโยเกิร์ตประเภทนี้ แต่ถ้ามีระบบขับถ่ายไว ควรเลือกรับประทานโยเกิร์ตแบบธรรมดา โยเกิร์ตพร้อมดื่มเหมือนหรือแตกต่างจากโยเกิร์ตอย่างไร โยเกิร์ตพร้อมดื่มหรือนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม มีกระบวนการหมักเหมือนกับโยเกิร์ต คือใช้วัตถุดิบเป็นนมวัวและเติมเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแลกทิกลงไป เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการหมักแล้วจะมีการเจือจางและปรุงแต่งกลิ่น รส สี หรือมีการเติมน้ำผลไม้หรือน้ำเชื่อมเพิ่มลงไป จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเหลว นมเปรี้ยวที่วางขายซึ่งผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์ และนมเปรี้ยวพร้อมดื่มยูเอชที โพรไบโอติก(Probiotic) หมายถึง แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ แบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กทิก(lactic acid bacteria, LAB) เช่น Lactobacillus และ Bifidobacterium แบคทีเรียกลุ่มนี้ พบในผลิตภัณฑ์อาหารหมัก(fermentation) เช่น นมเปรี้ยว แหนม กิมจิ จะช่วยยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค(pathogen) ช่วยย่อยอาหารที่มนุษย์ย่อยไม่ได้หรือย่อยได้ไม่หมด ช่วยการดูดซึมของสารอาหาร โคเรสเตอรอล และสร้างวิตามินที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย อาหารที่แบคทีเรีย กลุ่มโพรไบโอติกนำไปใช้ได้ เรียกว่า พรีไบโอติก(prebiotic) เช่น ใยอาหาร(dietary fiber) ข้อมูล1. ดร.สุนัดดา โยมญาติ นักวิชาการสาขาชีววิทยา http://biology.ipst.ac.th/?p=9872. รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.pharmacy.mahidol.ac.th          

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 85 โยเกิร์ต

สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการโดย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โยเกิร์ต (Yogurt) เป็นผลิตภัณฑ์นม ประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะในวัยรุ่นและสาวๆ วัยทำงาน เพราะเชื่อว่า ดีต่อสุขภาพ ทำให้อายุยืน ผอมหรือเอาไปใช้พอกหน้าเพื่อบำรุงผิวพรรณ โยเกิร์ต ได้มาจากการนำน้ำนมสัตว์ เช่น นมโค นมแพะ มาผ่านการทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค แล้วหมักด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้เกิดโรคหรืออันตราย ทำให้ค่าความเป็นกรดเพิ่มขึ้น (รสเปรี้ยว) และอาจปรุงแต่งเพิ่มเติมเพื่อให้รับประทานได้อร่อยขึ้น สำหรับบางคนที่อาจไม่ชอบรสชาติและกลิ่นที่เกิดจากการหมักนมเปรี้ยว เชื้อจุลินทรีย์ที่นำมาหมักให้เป็นนมเปรี้ยว เป็นเชื้อจุลินทรีย์ชนิดไม่ก่อให้เกิดโรค ส่วนใหญ่ได้แก่ แบคทีเรีย สเตรปโทค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส และแล็กโทบาซิลลัส เดลบรึคคิไอ ซับสปีชีส์ บัลแกริคัส เราเรียกมันว่า แลกติก แอซิด แบคทีเรีย ก็ได้ เชื่อกันว่า แลกติก แอซิด แบคทีเรีย ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย ซึ่งน่าจะจริงอยู่เพราะคนที่ท้องผูก บางครั้งได้โยเกิร์ตสักถ้วย ก็ช่วยให้ระบายท้องได้ แต่อย่าเพิ่งไปเชื่อถึงขนาดว่า มันจะป้องกันมะเร็งในระบบทางเดินอาหารได้ ผลทดสอบโยเกิร์ต รสธรรมชาติ (Plain Yogurt) 7 ยี่ห้อ (เก็บตัวอย่าง 11 กุมภาพันธ์ 2551)•    ปริมาณแคลเซียมในผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตทุกยี่ห้อ ไม่ได้มีค่าต่างกันมากนัก แม้หลายยี่ห้อจะกล่าวอ้างว่า แคลเซียมสูง ก็ตาม (ดูตารางเปรียบเทียบเรื่องปริมาณแคลเซียมกับผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ) •    ยี่ห้อ ริชเชส พบปริมาณโปรตีน 2.6 กรัม / 100 กรัม ซึ่งน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด 0.1  (ตามกฎหมายต้องมีโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.7 ของน้ำหนัก) เป็นไปได้ว่า เกิดจากปริมาณน้ำนมโคที่ต่ำกว่ายี่ห้ออื่น ริชเชส นมโคร้อยละ  91.5 ดัชชี่ ร้อยละ 98 เมจิ ร้อยละ 100 (ตามที่ระบุบนฉลาก) •    ยี่ห้อ ดัชชี่ แฟตฟรี ระบุบนฉลากว่า น้ำตาลน้อยกว่า ไม่รู้จะหมายความว่า น้อยกว่ายี่ห้ออื่นหรือไม่ อย่างไร เพราะทดสอบพบว่า มีน้ำตาล 11.1 กรัม / 100 กรัม แต่บนฉลากบอกว่า มีน้ำตาล 9 กรัม / น้ำหนัก 150 กรัม (หนึ่งหน่วยบริโภค) •    ยี่ห้อ เมจิ ระบุอยู่บนฉลากว่า มีน้ำตาล 4 กรัม (จากหน่วยบริโภค 150 กรัม) แต่ฉลาดซื้อทดสอบได้ 7 กรัม (ต่อ 100 กรัม) ถ้าปริมาณโยเกิร์ตต่อหน่วย 150 กรัม น่าจะมีน้ำตาลอยู่ที่ 10.5 กรัม•    จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ยิ่งมีจำนวนมากยิ่งมีประโยชน์ จากการทดสอบพบว่า ยี่ห้อดัชชี่ ไบโอ ดัชชี่ แฟต ฟรี และโฟร์โมสต์ พรี โพร บาลานซ์ มีปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจำนวนมากใน 3 ลำดับแรก  แต่…เนื่องจากฉลาดซื้อมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเก็บผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อให้มีวันผลิตใกล้เคียงกันหรือวันเดียวกันได้  ค่าของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจึงไม่อาจเปรียบเทียบได้อย่างชัดเจน เพราะการมีอยู่ของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตในโยเกิร์ต จะขึ้นอยู่กับอายุของผลิตภัณฑ์ ยิ่งผลิตใหม่สดเท่าไร จุลินทรีย์ที่มีชีวิตก็จะมีปริมาณสูง และจะลดลงไปเรื่อยๆ จนถึงวันหมดอายุ ดังนั้นยี่ห้อ บีทาเก้น ที่มีปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตน้อยกว่ายี่ห้ออื่น ก็อาจเนื่องมาจากผลิตก่อนยี่ห้ออื่นนั่นเอง (โยเกิร์ตมีอายุการบริโภคไม่เกิน 30 วัน เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส)•    ทุกยี่ห้อไม่พบแบคทีเรียชนิดก่อโรค (โคลิฟอร์ม) เกินกฎหมายกำหนด (น้อยกว่า 3 ต่อนมเปรี้ยว 1 กรัม โดยวิธี เอ็ม พี เอ็น)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 99 อยากเปรี้ยวอย่างมีคุณค่า ต้องถามหา “จุลินทรีย์”

เรื่องทดสอบ 2กองบรรณาธิการ  คนรุ่นใหม่อย่างเราๆ คงรู้กันดีอยู่แล้วว่า “นมเปรี้ยว” คืออะไร ถูกผลิตขึ้นมาได้อย่างไร แต่ถ้าใครยังไม่เคยรู้ถึงที่มาที่ไปของความอร่อยและคุณประโยชน์ของนมเปรี้ยวมาก่อนล่ะก็ ลองเขยิบ (สายตา) เข้ามาใกล้ๆ วันนี้เรามีเรื่องดีๆ เกี่ยวกับนมเปรี้ยวมาบอกกันนมเปรี้ยว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำน้ำนมสัตว์ปกติมาหมักด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้เกิดโรคหรือที่เป็นอันตราย จุลินทรีย์ที่สำคัญในการหมักคือจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแลคติก โดยทำให้น้ำตาลแลคโตสในนมเปลี่ยนเป็นกรดแลคติกทำให้นมมีรสเปรี้ยว ก่อนจะนำมาเติมแต่งปรุงรสชาติให้อร่อยด้วยน้ำผลไม้ เป็นนมเปรี้ยวแบบที่เราได้ดื่มกันเป็นประจำทุกวัน มาทำความรู้จักประเภทของนมเปรี้ยว1. นมเปรี้ยว (fermented milk) หมายถึง ผลิตภัณฑ์นมที่ได้จากนมหรือผลิตภัณฑ์นมซึ่งเกิดจากการหมักบ่มด้วยจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดกรดแล็กติกเป็นหลัก เช่น แล็กโตบาซิลลัส เดลบรูคิอิ ซับส์ บัลการิคัส (Lactobacillus delbrueckii subsp bulgaricus) สเตรปโตค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus) ไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) แล็กโตบาซิลลัส อะซิโดฟิลัส (Lactobacillus acidophilus) หรือจุลินทรย์อื่นที่ใช้ในการผลิตนมเปรี้ยว ทั้งจะมีจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักบ่มที่มีชีวิตคงเหลืออยู่หรือไม่ก็ได้2. โยเกิร์ต (yoghurt) หมายถึง นมเปรี้ยวซึ่งมีจุลินทรีย์ใช้ในการหมักบ่มที่มีชีวิตคงเหลืออยู่3. โยเกิร์ตปรุงแต่ง (flavoured yoghurt or composite fermented milk) หมายถึงโยเกิร์ตที่ผ่านการปรุงแต่งกลิ่น รส สี หรือวัตถุอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ผลไม้ แยม เป็นต้น ซึ่งอาจแยกชั้นในภาชนะบรรจุ (set yoghurt) หรือผสมรวมเข้าด้วยกัน (stirred yoghurt) และมีจุลินทรีย์ใช้ในการหมักบ่มที่มีชีวิตคงเหลืออยู่4. นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม (fermented milk drink or drinking yoghurt) หมายถึง นมเปรี้ยวที่ผ่านการเจือจางและปรุงแต่งกลิ่น รส สี หรือวัตถุอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น น้ำผลไม้ น้ำผึ้ง เป็นต้น สำหรับดื่มโดยตรง และมีจุลินทรีย์ใช้ในการหมักบ่มที่มีชีวิตคงเหลืออยู่5. นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์ (pasteurized fermented milk drink or pasteurized drinking yoghurt) หมายถึง นมเปรี้ยวพร้อมดื่มที่ผ่านการทำลายจุลินทรีย์ ด้วยความร้อนโดยกระบวนการพาสเจอไรซ์ และมีจุลินทรีย์ใช้ในการหมักบ่มที่มีชีวิตจำนวนหนึ่ง6. นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม ยูเอชที (UHT fermented milk drink or UHT drinking yoghurt) หมายถึง นมเปรี้ยวพร้อมดื่มที่ผ่านการทำลายจุลินทรีย์ด้วยความร้อนโดยกระบวนการ ยูเอชที ข้อแตกต่างระหว่าง นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม, นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์ และ นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม ยูเอชที - นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม เป็นนมที่เน้นให้คนที่ดื่มได้รับประโยชน์ของเชื้อแบคทีเรีย ที่เติมลงไปมากกว่าประโยชน์จากนมสด เนื่องจากมีส่วนประกอบของนมขาดมันเนยเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น นมเปรี้ยวชนิดนี้มีอายุการรักษาที่อุณหภูมิตู้เย็นประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ซึ่งน้อยที่สุดใน 3 ประเภท- นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์ ด้วยกระบวนการพาสเจอไรซ์ทำให้อายุการเก็บรักษายาวนานขึ้น คือสามารถเก็บไว้ได้ในอุณหภูมิตู้เย็นประมาณ 1 เดือน แต่การเนื่องจากกระบวนการนี้ต้องผ่านความร้อน จึงทำให้เอ็นไซม์กาแลคโตชิเอส และแบคทีเรียถูกทำลายหมดไป ประโยชน์ที่ได้จึงเป็นเรื่องของปริมาณน้ำตาลแลคโตสลดลง - นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม ยูเอชที คือนมเปรี้ยวพร้อมดื่มที่ผ่านการฆ่าเชื้อแบบยูเอชที สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องได้นานมากกว่า 6 เดือน สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากการดื่มนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม ยูเอชที นั้น จะเหมือนกับนมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์ จุลินทรีย์ สิ่งที่ดีที่สุดในนมเปรี้ยว- จุลินทรีย์ ช่วยรักษาสมดุลให้กับระบบการทำงานของลำไส้ ซึ่งในลำไส้ของคนเรามีจุลินทรีย์มากมายหลายชนิด มีทั้งที่เป็นประโยชน์และให้โทษ ซึ่งเมื่อคนเราอยู่ในช่วงสุขภาพไม่แข็งแรง ระบบการทำงานของลำไส้ก็จะเกิดปัญหา จุลินทรีย์ที่ให้โทษก็จะขยายตัวมากขึ้นจนมีมากกว่าจุลินทรีย์ที่ดี เพราะระบบการทำงานในลำไส้เสียสมดุล ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องเสีย จุลินทรีย์ที่มีชีวิตในนมเปรี้ยวเมื่อดื่มเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปช่วยปรับสภาพของลำไส้ให้กลับมาสู่ภาวะสมดุล- จุลินทรีย์ ในนมเปรี้ยวมีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยผลิตสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่าง กรดแลคติก กรดอะมิโน- จุลินทรีย์ ช่วยในระบบการย่อยอาหาร ซึ่งส่งผลดีต่อมายังระบบขับถ่าย - จุลินทรีย์ ช่วยยับยั้งมะเร็ง และกำจัดสารก่อมะเร็งบางชนิด เพราะเชื้อแลคโตบาซิลัสสามารถจับกับสารก่อมะเร็ง โลหะหนัก และกรดน้ำดีซึ่งมีพิษ ยับยั้งการเจริญเติบโตของกลุ่มแบคทีเรียในลำไส้ที่สร้างสารไนเตรท ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งได้ ตารางแสดงคุณลักษณะทางเคมีและทางจุลชีววิทยาในนมเปรี้ยว ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม   รายการ โยเกิร์ต โยเกิร์ตปรุงแต่งพร้อมดื่ม นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์ นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม ยูเอชที     จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดกรดไม่น้อยกว่า โคโลนี*ต่อกรัมหรือโคโลนีต่อลูกบาศก์เซนติเมตร     107     107     107     104     น้อยกว่า 10     *โคโลนี หมายถึง กลุ่มเซลล์จุลินทรีย์ที่สามารถมองเห็นได้ โดยหนึ่งโคโลนีเจริญมาจากหนึ่งเซลล์ ผลทดสอบ- อย่างที่บอกว่าจุลินทรีย์ที่มีชีวิตในนมเปรี้ยว ถือเป็นประโยชน์หลักที่เราจะได้รับจากการดื่มนมเปรี้ยว แต่ด้วยข้อจำกัดที่ไม่สามารถเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์แต่ละยี่ห้อให้มีวันผลิตให้ใกล้เคียงกัน จึงอาจทำตัวเลขจำนวนของจุลิทรีย์มีชีวิตแต่ละยี่ห้ออาจมีการเปลี่ยนด้วยปัจจัยของวันที่ผลิตและอุณหภูมิที่ใช้เก็บรักษา- บีทาเก้น สูตรนมพร่องมันเนย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตมากที่สุด เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวยี่ห้ออื่นๆ ในการทดสอบครั้งนี้ ซึ่งบนฉลากผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้จุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ- จุลินทรีย์ แอล.คาเซอิ ชิโรต้า เป็นชนิดของจุลินทรีย์ที่พบเฉพาะในยาคูลท์เท่านั้น ซึ่งชื่อนี้มีที่มาจาก ดร.ชิโรตะ มิโนรุ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบแบคทีเรียชนิดนี้ ในปี 1930- ชนิดของจุลินทรีย์ที่นมเปรี้ยวที่ใช้ทดสอบครั้งนี้ระบุไว้ที่ฉลากได้แก่ แอล.คาเซอิ ชิโรต้า, แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ, แลคโตบาซิลลัส บัลแกริคัส, สเตร็ปโทค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส, บิฟิโดแบคทีเรียม อะนิมาลิส-ดีเอ็ม173010 และ แลคโตบาซิลลัส เดลบรีคคิโอซัมสปีชีส์ บัลแกริคัส- มี 6 ยี่ห้อ ที่มีจำนวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตตามคุณลักษณะทางเคมีและทางจุลชีววิทยา ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด ซึ่งได้แก่ บีทาเก้น สูตรนมพร่องมันเนย (9.0 x 108 cfu), โฟร์โมสต์ โอเมก3 นมเปรี้ยวไขมันต่ำ (1.2 x 107 cfu), ดีไลท์ ดัชมิลล์ (ฉลากสีฟ้า) นมเปรี้ยวปราศจากไขมัน น้ำตาลน้อยกว่า (3.0 x 107 cfu), เคซีไอ (casei) นมเปรี้ยวปราศจากไขมัน ผสมใยอาหารอินนูลิน (5.5 x 107 cfu), เคซีไอ (casei) ฉลากโดราเอมอน นมเปรี้ยวปราศจากไขมัน ผสมใยอาหารอินนูลิน (2.4 x 107 cfu) และ ดานอน แอคทีเวีย นมเปรี้ยวโยเกิร์ต กลิ่นสตอร์เบอรี่ (1.4 x 107 cfu)- เมจิ บิวติ ดีโทซี่ โยเกิร์ตพร้อมดื่มไม่มีไขมัน ทั้ง 2 รส คือ ชนิดผสมน้ำผึ้งและนาว กับ ชนิดผสมน้ำผึ้งและแอปเปิลไซเดอร์ ทดสอบพบจุลินทรีย์น้อยกว่า 10 cfu ด้วยกันทั้งคู่- ดานอน แอคทีเวีย นมเปรี้ยวโยเกิร์ต กลิ่นสตอร์เบอรี่ เป็นยี่ห้อที่ทดสอบพบปริมาณแคลเซียมมากที่สุด ซึ่งมากกว่ายี่ห้ออื่นถึงเกือบเท่าตัว ขณะที่นมเปรี้ยวยี่ห้ออื่นๆ มีปริมาณแคลเซียมเฉลี่ยใกล้เคียงกัน- ปริมาณน้ำตาลที่พบในนมเปรี้ยวในการทดสอบครั้งนี้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน เฉลี่ยอยู่ที่ 14 -15 กรัม หรือ 4 ช้อนชา ซึ่งปริมาณน้ำตาลที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวันคือไม่เกิน 6 ช้อนช้า ดังนั้นการรับประทานนมเปรี้ยวจึงไม่ช่วยทำให้ผอมลงได้อย่างแน่นนอน สาวๆ ที่ยังเข้าใจผิดต้องรีบเปลี่ยนความคิดโดยด่วน ตารางแสดงผลทดสอบนมเปรี้ยว  *cfu = Colony Forming Unit หรือ หน่วยก่อรูปเป็นโคโลนีวิเคราะห์โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยามหิดล ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >