ฉบับที่ 252 ยอมได้ไหม เมื่ออายุเป็นมากกว่าตัวเลข

        การคิดราคาไม่เท่ากันสำหรับสินค้าหรือบริการอย่างเดียวกัน มีข้อดีตรงที่ผู้คนในกลุ่มเปราะบางหรือรายได้น้อยได้มีโอกาสเข้าถึงสินค้าหรือบริการดังกล่าวในราคาที่เอื้อมถึง (เช่น ราคานักศึกษา หรือบัตรสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น) และยังช่วยให้เกิดสมดุลขอดีมานด์และซัพพลาย (เช่น ตั๋วถูกนอกเวลาเร่งด่วน) แต่ขณะเดียวกันการใช้นโยบาย “การตั้งราคาเฉพาะบุคคล” ในแพลตฟอร์มออนไลน์หรือในธุรกิจที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ก็อาจไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคนัก เช่น ค่าตั๋วเครื่องบินหรือห้องพักที่หลายคนได้ราคาต่างกันโดยไม่ทราบเหตุผล หรือกรณีที่ Uber แพลตฟอร์มบริการเรียกรถ ใช้อัลกอริทึมประเมินราคาสูงสุดที่คน “พร้อมและยินดี” จ่าย สำหรับการเดินทางในช่วงเวลาต่างๆ (ข้อมูลจากการเปิดเผยของ “คนใน”) หรือกรณีของ บางประเทศ เช่นบราซิล ก็จัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง เช่น ในปี 2017 เว็บขายทัวร์ Decolar.com ถูกสั่งปรับ 7.5 ล้านเรียล (ประมาณ 48.6 ล้านบาท) โทษฐานที่คิดราคาทัวร์ต่างกันตาม “ที่อยู่” ของลูกค้า         อีกบริการหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมได้แก่ แพลตฟอร์มหาคู่ออนไลน์ ก็มีการนำนโยบายนี้มาใช้อย่างกว้างขวางเช่นกัน เรื่องนี้ยืนยันโดยงานสำรวจล่าสุดของสหพันธ์ผู้บริโภคสากล Consumers International ร่วมกับมูลนิธิมอซิลลา Mozillia Foundation ที่เปรียบเทียบราคาสมาชิกของผู้ใช้แพลตฟอร์มเจ้าดังอย่าง Tinder ในหกประเทศ ได้แก่ อเมริกา เนเธอร์แลนด์ บราซิล อินเดีย เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์         การสำรวจดังกล่าวมีข้อค้นพบที่น่าสนใจหลายประการดังนี้        - ไม่มีการแจ้งผู้ใช้เรื่องนโยบายการตั้งราคาแบบเฉพาะบุคคลอย่างชัดเจน มีเพียงเนื้อหาใน “ข้อตกลงการใช้งาน” ที่ระบุว่าจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อนำเสนอดีลและส่วนลดที่เหมาะกับโพรไฟล์ของผู้ใช้         -  “ราคาสมาชิก” มีหลายระดับ        Tinder Plus ในเนเธอร์แลนด์มีถึง 21 ระดับระคา ในขณะที่อเมริกามี 9 ระดับ น้อยที่สุดคือบราซิล (2 ระดับ)ราคาสูงสุด แพงกว่าราคาต่ำสุดประมาณ 4 ถึง 6 เท่า ในกรณีของเกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ อเมริกา และเนเธอร์แลนด์  ส่วนของอินเดียก็ต่างกันมากกว่าสองเท่า        - \ อายุ เป็นปัจจัยในการกำหนดราคา        ร้อยละ 65.3 ของคนในช่วงอายุ 30 – 49 ปี จ่ายค่าสมาชิกแพงกว่ากลุ่ม 18 – 29 ปี        ในทุกประเทศที่สำรวจ (ยกเว้นบราซิล) กลุ่มผู้ใช้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ถูกเรียกเก็บค่าสมาชิกแพงกว่า ในขณะที่กลุ่มอายุระหว่าง 30 – 49 ปี และกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป จ่ายไม่แตกต่างกัน          แต่อายุอาจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่นำมากำหนดราคา เช่น กรณีของบราซิลและนิวซีแลนด์ มีกลุ่มอายุมากกว่าที่ได้ราคาต่ำกว่า ในขณะเดียวกันก็พบคนกลุ่มอายุน้อยในเกาหลี เนเธอร์แลนด์ และบราซิล ที่ต้องจ่ายในราคาสูงเช่นกัน         พื้นที่อยู่อาศัยก็อาจเป็นอีกปัจจัย แต่ยังสรุปไม่ได้จนกว่าจะมีการสำรวจเพิ่มเติม การสำรวจนี้พบว่าคนเมืองในอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ เสียค่าสมาชิกถูกกว่า แต่คนเมืองในเกาหลีและอินเดีย กลับต้องจ่ายแพงกว่า เป็นต้น          -   ผู้บริโภคยังมีความกังวล          ร้อยละ 56 ของผู้ใช้ กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว ในขณะที่หนึ่งในสามรู้สึกว่าการตั้งราคาแบบนี้ไม่ยุติธรรม เมื่อถามถึงประโยชน์ของการตั้งราคาเฉพาะบุคคลร้อยละ 14 ไม่เห็นประโยชน์ร้อยละ 38 เชื่อว่ามันช่วยให้ได้สินค้าและบริการตรงใจขึ้นร้อยละ 40 เชื่อว่ามันอาจทำให้พวกเขาได้ราคาที่ถูกลง          แต่เมื่อถามว่าถ้ามีปุ่มให้เลือก “ไม่ต้องตั้งราคาเฉพาะบุคคล” ก็มีถึงร้อยละ 83 ที่จะคลิก         ทีมสำรวจยังพบด้วยว่าแต่ละประเทศยังไม่มีการกำกับดูแลอย่างจริงจัง ส่วนที่มีก็ยังไม่ครอบคลุมหรือไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การตั้งราคาส่วนบุคคลนั้นไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่มันควรจะเกิดขึ้นภายใต้กฎระเบียบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เข้มข้นขึ้น เช่น ผู้ใช้จะต้องรู้ตัวว่าจะมีการเก็บข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว และแพลตฟอร์มจะต้องต้องขอความยินยอมจากผู้ใช้ รวมถึงควรมีความโปร่งใสในนโยบายการตั้งราคา ไม่เช่นนั้นก็อาจจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในตลาดดิจิทัลโดยรวม

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 235 สามีหรือภริยาทำหนังสือยินยอมให้คู่สมรสไปค้ำประกันหนี้ ต้องร่วมรับผิดในหนี้นั้นด้วยหรือไม่

        ผมขอหยิบเรื่องใกล้ตัวของคนที่แต่งงานเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายแล้วมาเสนอในคราวนี้ครับ  เนื่องจากเห็นว่าในช่วงนี้ มีข่าวเกี่ยวกับคู่สามีภริยาที่เป็นคนดังมีประเด็นพิพาทกันมากมาย โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ จึงขอนำเรื่องเกี่ยวกับการค้ำประกันหนี้ของสามีหรือภริยามาเล่าสู่กันฟัง        อย่างที่เราทราบกันว่า เมื่อจดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้หลังสมรส ถือเป็นสมบัติร่วมกันของสามีภริยา แต่ถ้าเป็นเรื่องไปก่อหนี้ เช่นการที่สามีหรือภริยา ฝ่ายหนึ่งไปค้ำประกันหนี้ให้ใครสักคน จะถือว่าคู่สมรสของคนที่ไปค้ำประกัน เขาจะต้องร่วมรับผิดในหนี้นั้นด้วยหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ก็มีการพิพาทเป็นคดีขึ้นสู่ศาล และศาลฏีกาได้เคยตัดสินในเรื่องนี้ไว้แล้ว คือ สามีหรือภริยาของคนที่ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด เพราะไม่ถือเป็นการให้สัตยาบันตามกฎหมาย แต่ถ้าคู่สมรสคนที่ค้ำประกันเสียชีวิต สามีหรือภริยานั้นต้องรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันในฐานะทายาทตามหลักกฎหมายมรดก แต่ความรับผิดจะจำกัดไม่เกินทรัพย์มรดกของคู่สมรสที่ตนได้รับ ตามคำพิพากษาศาลฏีกา 8820/2561 (ประชุมใหญ่)          คำพิพากษาศาลฏีกา 8820/2561 (ประชุมใหญ่)            ในส่วนที่ ส. ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไม่ใช่นิติกรรมที่จำต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส เมื่อจำเลยที่ 2 ให้ความยินยอมไว้เป็นการทั่วไป จึงเป็นการแสดงเจตนารับรู้และไม่คัดค้านที่ ส. สามีไปทำนิติกรรม หาใช่เป็นการให้สัตยาบันตามนัยของบทบัญญัติ มาตรา 1490 (4) ไม่ เนื่องจากไม่มีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แต่อย่างใดว่าจำเลยที่ 2 รับรองการที่ ส. ก่อหนี้ขึ้นแล้วตามมูลหนี้ที่มีการทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 คงปรากฏเฉพาะการที่จำเลยที่ 2 รับรู้ถึงการเข้าทำสัญญาค้ำประกันของ  ส. เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้สัตยาบันการก่อหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่คู่สมรสได้กระทำไป จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม  แต่หากสามีถึงแก่ความตาย ภริยาคงรับผิดตามสัญญาค้ำประกันในฐานะทายาทโดยธรรมคือรับผิดไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกของสามีที่ตกทอดได้แก่ตนเท่านั้นตาม ม.1601         อยากให้ดูเทียบกับอีกกรณี ที่ภริยาไปลงนามในหนังสือให้ความยินยอมทำสัญญาซื้อขายที่ดิน ต่อมาสามีไปกู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่ดิน เช่นนี้ ถือว่าภริยาให้สัตยาบันแล้ว จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้กู้ยืมดังกล่าว         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848/2550         จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ภริยาของจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมซึ่งมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อและจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และกู้ยืมเงินจากโจทก์ได้โดยไม่คัดค้าน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมรับรู้หนี้กู้ยืมเงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีได้ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวในระหว่างสมรสและจำเลยที่ 2 ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์         จากตัวอย่างข้างต้นที่หยิบยกมา เราจะเห็นได้ว่า การเป็นสามีภริยากัน มีสิทธิหน้าที่ซึ่งกันและกัน ดังนั้นเราควรทราบว่าสามีหรือภริยาของตนเองได้ไปทำสัญญาอะไรไว้บ้าง โดยเฉพาะสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้ และหมั่นตรวจสอบว่าตนได้ให้ความยินยอมใดๆ ไปในการดำเนินการของคู่สมรสของตนเอง มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน เพื่อมิให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในครอบครัวตามมาภายหลัง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 ไม่พอใจบริการบริษัทหาคู่ ทำอะไรได้บ้าง

บริการแม่สื่อหรือการหาคู่ดูตัว ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะมีมาแต่โบราณ เพียงแค่ไม่ได้เป็นธุรกิจใหญ่โตเช่นปัจจุบัน มีการประมาณการว่า ธุรกิจจัดหาคู่ เฉพาะตลาดเมืองไทยนั้น มูลค่าปีละกว่า 5,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตได้อีก เพราะคนส่วนใหญ่ไม่มีใครอยากอยู่คนเดียวไปตลอด แต่จะเที่ยวไปค้นหาเองอาจไม่ใช่สิ่งที่อยากทำ ด้วยเหตุผลที่หลากหลาย  ธุรกิจนี้จึงตอบสนองชีวิตคนเหงาที่ไม่ค่อยมีเวลา ด้วยการค้นหาข้อมูลของผู้ใช้บริการที่น่าจะมีรูปแบบการใช้ชีวิตใกล้เคียงกัน ให้ได้มาเจอกัน เพียงแค่จ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ให้บริการ ซึ่งมีตั้งแต่หลักหมื่นบาทถึงล้านบาทคุณลัดดาเป็นหญิงสาวคนหนึ่งที่สนใจบริการจัดหาคู่  โดยก่อนจะมาขอคำปรึกษาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เธอได้จ่ายเงิน 40,000 บาทให้แก่บริษัทจัดหาคู่แห่งหนึ่ง ซึ่งเธอตรวจสอบแล้วว่า มีชื่อเสียงพอสมควรตามคำอ้างของพนักงานที่ว่า เคยออกรายการโทรทัศน์และมีการรับรองธุรกิจจากต่างประเทศ จำนวนเงินที่จ่ายนี้เป็นแพ็กเกจที่จะได้รับคำแนะนำให้ออกเดท(นัดพบ) กับบุคคลที่ทางบริษัทคัดเลือกจากฐานข้อมูลของบริษัท โดยรับรองว่าจะพยายามหาผู้ที่มีความเหมาะสมตามความต้องการที่คุณลัดดาได้เคยตอบแบบสอบถามไว้ “ก่อนจะมีเดทแรก บริษัทส่งโปรไฟล์คู่เดทมาให้ดิฉันดู ต้องบอกว่า ไม่ตรงกับความต้องการที่ดิฉันเคยทำสัมภาษณ์ไว้ แต่พนักงานก็พยายามโน้มน้าวว่า ส่วนที่ไม่ตรงกับสเปคของคุณนั้น ไม่เป็นสาระสำคัญของชีวิตคู่”เมื่อได้พบกันจริง คุณลัดดาผิดหวังมากกับคู่เดทที่บริษัทเลือกให้ เพราะเขาไม่เพียงไม่ตรงกับคนที่ใช่ เขายังเป็นผู้ชายที่ทำในสิ่งที่เธอเคยให้ข้อมูลไว้กับบริษัทว่า เธอไม่ชอบพฤติกรรมแบบนี้เอามากๆ เธอจึงขอยกเลิกสัญญาและขอเงินคืนทั้งหมดในการเจรจาด้วยตัวเองนั้น เธอได้รับคำตอบว่า บริษัทจะคืนเงินให้ส่วนหนึ่ง แต่เธอไม่ยินยอม บริษัทก็ขอเป็นเงื่อนไขว่า ถ้าบริษัทคืนเงินให้ทั้งหมด คุณลัดดาต้องเซ็นยินยอมในเอกสารเป็นภาษาอังกฤษว่าจะไม่นำเรื่องนี้ไปเผยแพร่ในสื่อทุกชนิด เรื่องนี้ทำให้คุณลัดดาเห็นว่า ไม่เป็นธรรม และเชื่อว่าเพราะเหตุนี้เมื่อตอนที่เธอค้นหาข้อมูลในคราวแรก จึงไม่เคยมีเรื่องการร้องเรียนบริษัทนี้ในสื่อใดๆ เลย เธอมองว่าทำให้เธอเสียโอกาสในการพิจารณาเข้าใช้บริการสำหรับเรื่องที่คุณลัดดาขอคำปรึกษามีอยู่ 2 ประเด็น1.สามารถขอรับเงินคืนทั้งหมด โดยไม่เซ็นสัญญาเรื่องห้ามเปิดเผยข้อมูลได้หรือไม่2.สามารถเรียกค่าเสียหายอะไรได้บ้าง เพราะต้องเสียเวลาไปนัดพบกับบุคคลที่ไม่ใช่ตามที่เคยให้ข้อมูลแก่บริษัทไว้ แนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ยังอยู่ในระหว่างเจรจาเพื่อให้ผู้ร้องได้ประโยชน์สูงสุด แต่ขอตอบคำถามทั้งสองข้อไว้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริโภคท่านอื่น กรณีนี้เป็นการซื้อขายบริการ ซึ่งหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำตามสัญญา คู่สัญญามีสิทธิบอกยกเลิกสัญญาได้ กรณีที่บริษัทมีเงื่อนไขว่า จะคืนเงินทั้งหมดหากยินยอมเซ็นสัญญาไม่เปิดเผยข้อมูล บริษัทสามารถทำได้ และถึงแม้จะมีการไกล่เกลี่ยกันในชั้นศาล ข้อตกลงดังกล่าวนี้ก็ยังทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย แต่หากดำเนินการฟ้องร้องจนศาลมีคำพิพากษา สามารถนำผลของคดีมาเผยแพร่ได้ เงื่อนไขนี้เป็นอันตกไป ส่วนในเรื่องของค่าเสียหาย ผู้ร้องสามารถเรียกเพิ่มเติมเป็นค่าเสียเวลา ค่าเดินทางได้ตามที่เกิดขึ้นจริง สุดท้ายคุณลัดดาฝากถึงผู้บริโภคท่านอื่นๆ ที่กำลังตัดสินใจใช้บริการธุรกิจจัดหาคู่ ให้เพิ่มความระมัดระวังเรื่องการที่จะต้องออกไปพบกับคู่เดท เพราะอาจจะเสียความรู้สึกและเกิดอันตรายได้ หากคนที่บริษัทนัดให้มาเจอกันนั้นมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 107 คู่มือ Photoshop

“เลือกเล่มที่ใช่ เพื่องานที่คุณชอบ”ฉลาดซื้อ เคยได้นำเสนองานทดสอบที่น่าสนใจเกี่ยวกับหนังสือคู่มือการใช้งานโปรแกรมซอร์ฟแวร์คอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งมีวางขายอยู่ในร้านหนังสือทั่วไป แต่ทั้งนี้ด้วยความหลากหลายของโปรแกรมซอร์ฟแวร์ที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีมากมายจนผู้ใช้เองก็แทบจะติดตามกระแสของเทคโนโลยีที่กำลังจะวิ่งแซงความรู้ความสามารถของผู้ใช้ พอจะหาซื้อหนังสือมาอ่านให้ก้าวทันเทคโนโลยีทั้งทีก็ยังต้องมาเจอปัญหาที่ว่าคู่มือสอนการใช้งานโปรแกรม Software เหล่านี้ก็มีมากมายจนประหวั่นพาลไม่มั่นใจว่าจะเลือกเล่มไหนจึงจะดีที่สุด “ฉลาดซื้อ” เล็งเห็นปัญหาของผู้อ่าน เราจึงภูมิใจนำเสนองานทดสอบหนังสือคู่มือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อีกครั้ง โดยครั้งนี้เราได้คัดและเลือกสรรหนังสือสอนการใช้งานโปรแกรมซอร์ฟแวร์หนึ่งซึ่งมีความฮอตฮิตที่สุดในการใช้งานด้านการตกแต่งภาพ และใช้งานด้านการออกแบบตกแต่งงานกราฟฟิกดีไซน์มาเป็นงานทดสอบแรกในบรรดาหนังสือคู่มือการใช้งานโปรแกรมซอร์ฟแวร์ต่างๆ ซึ่งโปรแกรมที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ก็คือ Adobe Photoshop นั่นเอง ในวงการของผู้ใช้งานโปรแกรมนี้ ย่อมรู้ดีว่า Adobe Photoshop นั้นเป็นโปรแกรมสำหรับงานตกแต่งภาพที่มีการพัฒนาให้มีความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งานมาอย่างต่อเนื่อง เวอร์ชั่นล่าสุดของ Adobe Photoshop นั้นจึงดำเนินมาถึง Adobe Photoshop CS 4 ซึ่งข้อดีของมันเห็นจะเป็นการทำให้เครื่องมือ (Tool) ง่ายและสะดวกสบายในการใช้งานในคำสั่งต่างๆ มากขึ้น แน่นอนว่าเมื่อมีการพัฒนาโปรแกรมเป็นเวอร์ชั่นใหม่ หนังสือคู่มือย่อมมีการพัฒนาเพิ่มเติมตามไปด้วย จากการสอบถามข้อมูลโดยการจัดทำสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากผู้มีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม Adobe Photoshop และผู้ที่เริ่มต้นศึกษาและใช้งานโปรแกรม Adobe Photoshop ในระดับเบื้องต้นผ่านทางการอ่านหนังสือคู่มือ ทำให้เราได้ข้อมูลที่น่าสนใจอันเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่จะนำเอาเกร็ดข้อคิดไปใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อหนังสือคู่มือโปรแกรม Adobe Photoshop เวอร์ชั่นต่างๆ เพื่อให้สามารถเลือกซื้อหนังสือคู่มือ โปรแกรม Adobe Photoshop ได้อย่างชาญฉลาด--------------------------ฉลาดซื้อ ได้ทำสำรวจความคิดเห็นในลักษณะ โฟกัสกรุ๊ป (Focus Group) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มผู้ที่เคยเลือกซื้อหนังสือคู่มือการใช้โปรแกรม Adobe Photoshop ซึ่งมีทั้งผู้ที่มีความรู้เรื่องการใช้โปรแกรมอยู่บ้าง ผู้ต้องการใช้โปรแกรมเพื่อปรับแต่งภาพถ่าย และผู้ที่ใช้โปรแกรมเพื่องานกราฟฟิก ทั้งผู้ที่ศึกษาอยู่ในเรื่องนี้โดยตรง และคนทั่วไปที่ต้องการศึกษาการใช้โปรแกรม Adobe Photoshop ด้วยตัวเอง   ข้อแนะนำก่อนเลือกซื้อหนังสือคู่มือคู่มือโปรแกรม Adobe Photoshop1.ให้เวลาอ่านเนื้อหา (ในเล่ม) สักนิดนักอ่านมือสมัครเล่นผู้ที่เคยหาซื้อหนังสือคู่มือ โปรแกรม Adobe Photoshop มาใช้แล้วนั้น กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ในกรณีของมือสมัครเล่นมักจะเกิดปัญหาจากการซื้อคู่มือบางเล่มที่แม้ลักษณะภายนอกสวยงาม และเลือกเล่มที่เหมาะกับระดับความรู้เบื้องต้นของผู้อ่านแล้ว แต่เนื้อหาภายในก็ยังไม่ได้บอกขั้นตอนที่ชัดเจน บางเล่มยังมีคำศัพท์เฉพาะหรือมีการอธิบายเชิงเทคนิคมากเกินไป ผู้อ่านทั่วไปจึงไม่เข้าใจเท่าที่ควร ผู้อ่านหลายต่อหลายท่านคงมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของตนเองในการเลือกซื้อหนังสืออยู่แล้วเป็นทุนเดิม และสิ่งที่ทำคล้ายๆ กันคือการเปิดดูคร่าว ๆ ถึงเนื้อหาภายในอ่านบ้างไม่อ่านบ้าง ซึ่งวิธีนี้สำหรับหนังสือทั่ว ๆ ไป อาจจะเป็นวิธีที่เหมาะสม แต่สำหรับหนังสือคู่มือ Adobe Photoshop นอกเหนือจากการเปิดอ่านหนังสือคู่มือคร่าว ๆ แล้ว สิ่งที่น่าสนใจและสามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาเลือกซื้อ คือเนื้อหาในเล่มที่ควรจะต้องบอกขั้นตอนของการทำงานในเครื่องมือต่างๆ ของโปรแกรมได้อย่างเป็นระบบ และเข้าใจง่าย มีภาพประกอบ มีการอธิบายไม่วกวนหรือใช้ศัพท์ทางเทคนิคมากเกินไป เพราะถ้าหากผู้อ่านซื้อไปแล้วกลับอ่านไม่เข้าใจ ก็เหมือนว่าเราไม่ได้อะไรจากหนังสือเล่มนั้นเลย 2.ถามตัวเองให้แน่ใจว่าต้องการศึกษาในเรื่องไหนหลายคนที่เริ่มหัดใช้โปรแกรม Adobe Photoshop มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการใช้โปรแกรมเหล่านี้ ในงานตกแต่งภาพหรืองานดีไซน์ต่างๆ และมีไม่น้อยที่เลือกที่จะซื้อหนังสือคู่มือมาชิมลางทดลองด้วยตัวเองก่อน แต่อย่างไรก็ตามในการเลือกซื้อหนังสือผู้ซื้อควรจะให้ความสำคัญในการเลือกซื้อตั้งแต่ครั้งแรกเพื่อจะให้ได้ประโยชน์สูงสุด ไม่ต้องไปหาซื้อเล่มที่สอง เล่มที่สาม ติดต่อตามกันมาเรื่อยๆ เป็นการสิ้นเปลืองเงินไปไม่ใช่เล่น ๆ เริ่มจากการพิจารณาตัวเองก่อน การพิจารณาตัวเองในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการเข้าทางธรรมะแต่อย่างใด แต่หมายถึงผู้ซื้อต้องตรวจสอบก่อนว่าตัวเองนั้นใช้ โปรแกรม Adobe Photoshop เพื่อวัตถุประสงค์อย่างไร และตนเองมีพื้นความรู้บ้างหรือไม่ หากเป็นเพียงคนใช้งานโปรแกรม Adobe Photoshop เพื่อการตกแต่งภาพของตนเองหรือเพื่อนเล็กๆ น้อยๆ หรือศึกษาเอาไว้เพื่อประดับความรู้ ก็อาจจะเลือกซื้อคู่มือสอนการใช้งานโปรแกรม Adobe Photoshop ที่ไม่ต้องเป็นเล่มสำหรับระดับมืออาชีพ เพราะจะมีราคาไม่สูงมากนัก แต่ถ้าใครจะหันไปเอาดีทางด้านนี้ จะหาซื้อเล่มสำหรับการพัฒนาฝีมือก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพทางด้านการตกแต่งภาพกันไปเลยอันนี้ก็ไม่ว่ากันสำหรับผู้ที่ต้องการใช้โปรแกรม Adobe Photoshop เพื่อใช้งานตกแต่งภาพทั่วๆ ไป ในท้องตลาดหากสังเกตดีๆ จะเห็นว่ามีคู่มือเกี่ยวกับการตกแต่งภาพแยกออกมาจากหนังสือคู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Photoshop ซึ่งหนังสือเกี่ยวกับการแต่งภาพเหล่านี้ แตกต่างจากหนังสือคู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Photoshop โดยทั่วไป ตรงที่หนังสือเหล่านี้ตอบสนองความต้องการด้านการตกแต่งภาพในลักษณะที่จำเพาะไปตามลักษณะของการแต่งภาพ เช่น แต่งภาพถ่ายให้เป็นสไตล์ต่างๆ ลบริ้วรอยของคนในภาพ ปรับแสงให้ภาพถ่ายสวยงาม เหล่านี้เป็นต้น คู่มือลักษณะนี้จึงเหมาะกับผู้ใช้งานโปรแกรม Adobe Photoshop ที่ต้องการทำงานเกี่ยวกับภาพถ่ายโดยเฉพาะ 3.อย่าตัดสินจากปกสวยๆ แม้ลักษณะภายนอกของรูปเล่มหนังสือคู่มือจะมีความสวยงาม มีภาพประกอบที่ดึงดูดใจ แต่ไม่น้อยเล่มเช่นกันที่เนื้อหาภายในไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ซื้อ ภาพประกอบปกที่ดูน่าเชื่อถือก็อาจจะเป็นเพียงสิ่งห่อหุ้มที่สวยงามขัดกับเนื้อหาภายใน จากการสนทนากับผู้ที่เคยเลือกซื้อหนังสือคู่มือโปรแกรม Adobe Photoshop พบว่าที่ผ่านมา มีไม่น้อยที่เลือกซื้อโดยการพิจารณาจากลักษณะภายนอกเท่านั้น เช่น ภาพประกอบปก ความหนาบางของเล่ม และสีสันของเล่ม เนื่องจากตัวเล่มในลักษณะนี้ให้ความรู้สึกของการเป็นหนังสือเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพและงานดีไซน์ หากมีภาพปกที่สื่อถึงความมีสไตล์หรือการออกแบบดีไซน์ สีสันที่สดใส ยิ่งสร้างความน่าเชื่อถือให้เข้าใจว่าคู่มือเล่มนั้นๆ มีความเป็นมืออาชีพ ความหนาบางของเล่มก็มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออีกเช่นกัน หลายคนอาจจะชอบเล่มบางเบาพกพาสะดวก บางคนชื่นชอบเล่มที่มีความหนาหน่อย แสดงให้เห็นถึงคุณภาพที่คับแน่นเต็มเล่ม 4.ราคาก็เป็นเรื่องสำคัญการเลือกซื้อหนังสือคู่มือการใช้โปรแกรม Adobe Photoshop อย่างชาญฉลาด นอกจากการนำข้อควรคิดที่นำเสนอไปแล้วดังข้างต้นมาประกอบการตัดสินใจซื้อแล้ว อีกเรื่องสำคัญซึ่งท่านผู้อ่านต้องไม่ลืม คือ ควรตรวจสอบราคาของหนังสือแต่ละเล่มของแต่ละสำนักพิมพ์ก่อนตัดสินใจซื้อด้วย เนื่องจากตอนนี้หนังสือคู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Photoshop ทยอยออกสู่ตลาดกันอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้เกิดการแข่งขันกันในเรื่องราคาของแต่ละสำนักพิมพ์ตามไปด้วยการเลือกซื้อหนังสือคู่มือที่เหมาะสมกับพื้นฐานความรู้ของผู้อ่านเอง อีกทั้งยังถูกใจทั้งหน้าตาภายนอก เนื้อหาภายใน อ่านทำความเข้าใจได้ง่าย ราคาสบายกระเป๋า ย่อมเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา อาจจะเสียเวลาสักเล็กน้อยแต่รับรองว่าได้หนังสือคู่มือคุณภาพคุ้มกับราคา อีกทั้งยังได้ความรู้นำไปแต่งภาพให้สวยงามตามใจอยากได้อย่างแน่นอน ***เราสามารถแบ่งประเภทของหนังสือคู่มือการใช้โปรแกรม Photoshop ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.คู่มือที่สอนเกี่ยวกับเทคนิคการปรับแต่งรูปภาพหรือภาพถ่าย และ 2.คู่มือที่สอนเรื่องการทำงานสร้างสรรค์ด้านกราฟฟิก ซึ่งเนื้อหาในหนังสือก็จะมีแบ่งระดับของผู้ที่ต้องการใช้ออกไปอีก คือมีตั้งแต่ระดับพื้นฐานหรือกลุ่มที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมมาก่อนเลย ไล่ไปจนถึงกลุ่มผู้ใช้ที่มีความรู้เรื่องโปรแกรมดังกล่าวเป็นอย่างดี ใช้งานอยู่เป็นประจำแต่ต้องการศึกษาเทคนิคใหม่ๆ เพื่อใช้ในการทำงาน ซึ่งผู้ที่ต้องการจะซื้อหนังสือคู่มือการใช้โปรแกรม Photoshop ควรถามตัวเองก่อนว่าต้องศึกษาในเรื่องใด ถึงขั้นไหน และต้องลองสำรวจดูว่าตัวเรามีความรู้ความเข้าใจอยู่ในขั้นไหน เพื่อช่วยให้การเลือกซื้อหนังสือได้เหมาะสมและคุ้มค่า ตรงตามความต้องการในการใช้งานของเรามากที่สุด

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 99 ทีโอที ยังเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์

เป็นเรื่องที่มีการร้องเรียนมานานแล้วว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์ค่ายต่างๆ จะสามารถเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ใหม่ได้หรือไม่หลังจากที่ผู้ใช้บริการค้างชำระค่าบริการตั้งแต่ 2 งวดขึ้นไป ทั้งๆ ที่เวลาเปิดบริการใช้ครั้งแรกไม่ยักมีการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายแต่อย่างใด คุณจิรอร พนักงานขายประกันจากจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเหยื่ออีกรายหนึ่งของผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่มีการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายใหม่หลังผิดนัดชำระค่าบริการเกิน 2 งวด คุณจิรอรขอเปิดใช้บริการโทรศัพท์บ้านมาตั้งแต่เป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจนปัจจุบันกลายเป็นกับบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) แต่ด้วยความที่มีภารกิจการงานมากมายในแต่ละวันทำให้เกิดอาการผัดวันประกันพรุ่งไม่มีโอกาสไปจ่ายค่าโทรศัพท์เสียที จนล่าช้าไปถึง 2 เดือน พอไม่จ่ายค่าโทรศัพท์เป็นเดือนที่สองก็เป็นเรื่องล่ะทีนี้ เพราะถูกทีโอทีตัดสัญญาณให้บริการโทรศัพท์ทันทีโดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า คนขายประกันอย่างคุณจิรอรเลยต้องเดือดร้อนเป็นธรรมดาเพราะไม่มีโทรศัพท์ไว้ใช้งานติดต่อกับลูกค้า“ตายแล้วนี่ฉันลืมจ่ายค่าโทรศัพท์หรือเนี่ย” คุณจิรอรอุทานออกมาหลังจากใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โทรไปสอบถามถึงสาเหตุสัญญาณโทรศัพท์บ้านขาดหายไปหลายวัน“ก็ไม่ได้ตั้งใจจะไม่จ่ายเขาหรอกค่ะ แต่มันลืมจริง ๆ ก็ขอโทษขอโพยเขาไปและคิดว่าแค่จ่ายเงินค่าโทรศัพท์ที่ค้างอยู่เรื่องน่าจะจบและได้กลับมาใช้โทรศัพท์ใหม่ แต่ทางพนักงานเขาบอกว่าเราต้องจ่ายค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ใหม่ด้วยอีก 107 บาทรวมแวต เราก็เลยถามไปว่าการต่อสัญญาณโทรศัพท์ใหม่สมัยนี้เนี่ยมันยุ่งยากอะไรแค่ไหนถึงต้องเรียกค่าใช้จ่ายกันเป็นร้อย ตามจริงแล้วเงินค่ารักษาเลขหมายที่จ่ายให้ทุกๆ เดือนก็เกินพอแล้วมั้ง ก็ถามเขาไปอย่างนี้” “เขาบอกไงรู้ไหมคะ ยังไงก็ต้องจ่ายถ้าไม่จ่ายก็ไม่ต่อโทรศัพท์ให้ เจอมุขนี้เข้าเราก็เลยต้องจ่ายให้เขาไปด้วยความจำยอม แต่พอกลับมาถึงบ้านเปิดดูหนังสือพิมพ์เจอข่าวว่า กทช. ว่าเขาห้ามเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์แบบนี้ไปแล้ว เราก็เลยเป็นงงค่ะ อ้าว...แล้วทำไมทีโอทียังมาเรียกเก็บเงินกับเราอยู่ มันยังไงกัน” คุณจิรอรจึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือเรียกเงิน 107 บาทคืนจากทีโอทีแนวทางแก้ไขปัญหาข่าวที่คุณจิรอรได้อ่านคงเป็นข่าวนี้ครับ ...เมื่อวันที่ 12 มีนาคมทีผ่านมา (12 มี.ค. 2552) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) ได้มีมติชี้ชัดในเรื่องการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ หลังจากที่เรื่องนี้ยืดเยื้อมาระยะหนึ่ง โดย กทช. มีมติให้ทุกบริษัทงดเว้นการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ในกรณีที่ผู้ใช้บริการผิดนัดหรือค้างชำระค่าบริการเป็นเวลา 2 เดือนมตินี้จะมีผลให้ผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคซึ่งถูกตัดบริการโทรออกเพราะชำระค่าบริการล่าช้า และเมื่อนำเงินไปชำระต้องถูกเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ใหม่เป็นจำนวน 107 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือในบางรายเรียกเก็บ 214 บาท ต่อไปนี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์จะไม่สามารถทำเช่นนั้นได้อีก ไม่ว่าจะเป็นกรณีของโทรศัพท์บ้านหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ตาม มตินี้จะใช้บังคับทั้งกับ บมจ.ทีโอที บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส บจก.ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมิเดีย บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น บมจ.ทีทีแอนด์ที บจก.เอเซีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่นอย่างไรก็ดี แม้จะมีมติ กทช. ชี้ชัดออกมาอย่างนี้ ทางมูลนิธิฯ ก็ยังคงได้รับเรื่องร้องเรียนอยู่เป็นระยะๆ จากผู้บริโภคว่ายังคงถูกเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ใหม่ แม้ผู้บริโภคบางรายได้พยายามทักท้วงด้วยการอ้างถึงมตินี้แต่ก็ไม่เป็นผล พนักงานของผู้ให้บริการโทรศัพท์ตามสาขาต่าง ๆ ได้อ้างว่ายังไม่มีคำสั่งโดยตรงมาจากสำนักงานใหญ่ จึงต้องมีการเรียกเก็บไปก่อนข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภคที่ประสบปัญหาแบบนี้ คือให้จ่ายเงินค่าโทรศัพท์ที่ค้างชำระให้เรียบร้อย หากยังไม่มีการต่อสัญญาณโทรศัพท์ให้และมีการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ใหม่ ผู้ใช้บริการควรเขียนเป็นหนังสือแจ้งถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่ของผู้ให้บริการโทรศัพท์นั้นๆ ว่า ขอทักท้วงและปฏิเสธการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ดังกล่าวเพราะเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนในมติของ กทช. และขอให้ผู้ให้บริการดำเนินการต่อสัญญาณโทรศัพท์โดยทันที ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผู้ให้บริการผิดสัญญาการให้บริการ เราในฐานะผู้ใช้บริการมีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้เป็นรายวันเลยล่ะครับ จะเรียกร้องค่าเสียหายผ่านทางสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนของ กทช. ก็ได้ หรือจะเล่นลูกหนักฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคต่อศาลก็ได้ทั้งนั้นครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 168 การสำรวจราคากระเบื้องลอนคู่

“อย่างที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกบอกอย่างชัดเจนว่า “แร่ใยหิน” หรือ “แอสเบสตอส” (Asbestos) ซึ่งมักใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องซีเมนต์ ท่อน้ำซีเมนต์ ผ้าเบรค และคลัทช์ นั้นเป็นวัตถุอันตราย เนื่องจากก่อให้เกิดโรคร้ายต่อมนุษย์หากหายใจเข้าไป เช่น โรคมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด จนหลายๆ ประเทศได้สั่งห้ามผลิตและใช้วัสดุที่มีแร่ใยหินแล้ว และแม้ว่าจะมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2554 ที่เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการอันตรายของแร่ใยหิน ตามยุทธศาสตร์ ‘สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’ ที่เสนอโดยสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยการนำเข้าและส่งออก กฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แต่ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบโดยตรงยังไม่มีการปฏิบัติตามมติ ครม.ดังกล่าว ทำให้ไม่เป็นไปตามกรอบระยะเวลา อีกทั้งผู้ประกอบการที่ยังมีความต้องการใช้แร่ใยหินชนิดนี้อยู่  ได้พยายามให้ข้อมูลในเรื่องของ ราคาสินค้าที่อาจทำให้ผู้บริโภครับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นหากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีแร่ใยหิน ส่วนในประเทศไทยของเรา มากกว่าร้อยละ 90 ของแร่ใยหินที่นำเข้า จะใช้เพื่อการผลิตสินค้าประเภทซีเมนต์ใยหินเช่น กระเบื้องทนไฟ กระเบื้องมุงหลังคา ท่อซีเมนต์ และประมาณร้อยละ 7 ใช้เพื่อการผลิตสินค้าประเภทเบรค คลัทช์ ที่เหลืออีกร้อยละ 3 ใช้ในการผลิตสินค้าอื่นๆ เช่นฉนวนกันความร้อน กระเบื้องยางปูพื้น ภาชนะพลาสติก เสื้อผ้าทนไฟ กระดาษลูกฟูก สายฉนวนเตารีด เป็นต้น แต่ก็ยังมีอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องซีเมนต์ในบ้านเรา  ที่ยังคงผลิตสินค้าประเภทกระเบื้องมุงหลังคาแบบมีแร่ใยหินอยู่เนื่องจากมีความแข็งแรง ทนทาน ราคาถูกกว่ากระเบื้องแบบไร้แร่ใยหิน ทั้ง ๆ ที่ราคากระเบื้องทั้งสองแบบอาจจะมีราคาที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ทางแผนงานฯ จึงร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ และเครือข่ายผู้บริโภค จัดให้มีการสำรวจราคากระเบื้องมุงหลังคาที่มีและไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นข้อมูลในการผลักดัน กระตุ้นให้ผู้บริโภคเลือกใช้สินค้าที่ไม่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ เป็นทางเลือกในผู้บริโภคที่ตระหนักในเรื่องของสุขภาพ ของตัวเองเเละคนงานก็ย่อมเลือกเเบบไม่มีเเร่ใยหิน  รณรงค์ให้ผู้ประกอบการผลิตกระเบื้องที่ไม่มีส่วนผสมแร่ใยหิน และสุดท้ายก็เพื่อให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน รศ.ดร.ภก.วิทยา  กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ---------------------------------------------------- 1.ระยะเวลาการสำรวจ เริ่มตั้งแต่วันที่     10 - 28 ก.พ. 2558 2.การเลือกพื้นที่สำรวจ เลือกจากเขตสาธารณสุขจำนวน 12 เขต เขตละ 2 จังหวัด โดยวิธีการจับสลาก รวม 24 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง แพร่ พิษณุโลก สุโขทัย นครสวรรค์ ชัยนาท ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี จันทบุรี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุดรธานี สกลนคร นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี มุกดาหาร* นครศรีธรรมราช สุราษฎรธานี สงขลา ตรัง บวกกรุงเทพฯ  เขตชั้นใน และชั้นนอก 3.การสำรวจราคากระเบื้องมุงหลังคา 3.1สำรวจราคาจากร้านค้าไทวัสดุก่อสร้าง และ ร้านค้าในเขตอำเภอเมือง ของจังหวัดเป้าหมาย 3.2สำรวจราคากระเบื้องลอนคู่ขนาด 4 มม. สีซีเมนต์และสีมาตรฐาน และกระเบื้องลอนคู่ขนาด 5 มม. สีซีเมนต์และสีมาตรฐาน 4.สัมภาษณ์ช่างมุงกระเบื้องหลังคา เรื่องความรู้เกี่ยวกับแร่ใยหิน ในทุกจังหวัดเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 48   ราย               เรื่องเล่าจากช่างมุงหลังคา ความเห็นจากช่าง/ผู้รับเหมา การสำรวจความเห็นจากช่าง/ผู้รับเหมารวม 48 คน ในพื้นที่จังหวัดที่เข้าร่วมการสำรวจ พบว่า กระเบื้องที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในกลุ่มนี้ 5 อันดับแรกคือ กระเบื้องตราช้าง กระเบื้องตราเพชร กระเบื้องตราห้าห่วง กระเบื้องตราลูกโลก และกระเบื้องทีพีไอ ตามลำดับ กระเบื้องที่ช่างเหล่านี้เลือกใช้บ่อยที่สุด 3 แบรนด์ได้แก่ ตราช้าง ตราเพชร และตราห้าห่วง ตามลำดับ  เหตุผลอันดับต้นๆที่ช่างเลือกใช้กระเบื้องตราช้างคือความแข็งแรงทนทานและความเป็นที่นิยม สำหรับกระเบื้องตราเพชรอันดับหนึ่งคือราคา ตามด้วยความแข็งแรงทนทาน และเหตุผลที่เลือกกระเบื้องตราห้าห่วงอันดับแรกคือความแข็งแรงทนทาน ตามด้วยราคา ในกรณีที่ลูกค้าขอคำแนะนำ ...(จะใช้ยี่ห้ออะไรดีนะช่าง) ยี่ห้อที่ถูกแนะนำโดยช่างกลุ่มนี้มากที่สุด 4 อันดับแรกได้แก่ ตราช้าง (ร้อยละ 66.7)  ตามด้วยตราเพชร (ร้อยละ 14.6) ตราลูกโลก (ร้อยละ 10.4) และตราห้าห่วง (ร้อยละ 8.3)  ด้วยเหตุผลเรื่องความแข็งแรงทนทานและราคาเป็นหลัก ในกรณีที่ลูกค้าเจาะจงเลือก … จากประสบการณ์ของช่าง แบรนด์ที่ลูกค้าเจาะจงเลือกใช้มากที่สุดได้แก่ ตราช้าง (ร้อยละ 88.9) ตราเพชร (ร้อยละ 24.4) ตามด้วยตราลูกโลกและตราห้าห่วง (ร้อยละ 17.8 เท่ากัน) ความเข้าใจเรื่องแร่ใยหิน ช่าง/ผู้รับเหมาประมาณร้อยละ 70 ทราบว่ากระเบื้องมุงหลังคาทำจากวัสดุอะไรบ้าง ร้อยละ 50 ตอบว่ารู้จักแร่ใยหิน และกระเบื้องที่ช่าง/ผู้รับเหมาเชื่อว่ามีแร่ใยหินได้แก่ (เรียงตามลำดับความถี่ของการเลือกตอบ) ตราเพชร ตราลูกโลก ตราห้าห่วง ตราช้าง และตราทีพีไอ มากกว่าร้อยละ 60 เชื่อว่าแร่ใยหินเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพของช่างที่ทำงานกับกระเบื้อง   *หมายเหตุ ช่าง/ผู้รับเหมาที่ให้ข้อมูลในการสำรวจครั้งนี้ มีอายุระหว่าง 27 ถึง 67 ปี และทำงานในวงการก่อสร้างเป็นเวลา 3 ถึง 48 ปี   ความเห็นของช่าง/ผู้รับเหมาต่อเรื่องอันตรายของแร่ใยหิน กลุ่มที่เห็นว่าแร่ใยหินมีอันตรายต่อคนทำงานและผู้อยู่อาศัย “เชื่อว่าแร่ใยหินมีอันตรายจึงเลือกซื้อ/ใช้กระเบื้องประเภทที่ไม่มีแร่ใยหิน” “แนะนำผู้ว่าจ้างให้ใช้กระเบื้องหลังคาแบบที่ไม่มีใยหิน” “เวลาตัดจะสวมหน้ากากกันฝุ่น แต่ถ้ามีรุ่นใหม่ที่ไม่มีแร่ใยหินมีออกมาขายมากขึ้น คิดว่าคงเลือกใช้           แบบไม่มีแร่ใยหิน” “ลูกน้องบางคนเป็นโรคทางเดินหายใจ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะแร่ใยหินหรือไม่” “เวลาเจาะ ตัด จะมีฝุ่นเข้าจมูก อาจทำให้เกิดโรคตามมา” “เวลาตัดฝุ่นฟุ้งกระจายมากกว่ากระเบื้องชนิดอื่นๆ” “ถ้ามีอันตราย คนที่ได้รับอันตรายมากสุดคือช่าง ผู้อยู่อาศัยอาจได้รับอันตรายบ้างแต่ไม่เสี่ยงเท่า    ช่าง” “อันตรายกับช่างที่สัมผัส อันตรายกับผู้อยู่อาศัยจากฝุ่นใยหินที่ฟุ้งกระจายในบ้าน” “อันตรายต่อช่าง หายใจไม่ออก ป้องกันโดยการใช้ผ้าปิดจมูก แต่ไม่น่ามีผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัย” “อาจเป็นอันตรายต่อตัวช่างเพราะต้องสัมผัสอย่างใกล้ชิด แต่ไม่แน่ใจว่าอันตรายกับผู้อยู่อาศัยหรือไม่”        “เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย” “มีอันตรายถ้าใช้ระยะยาว เพราะมีส่วนประกอบเป็นวัสดุที่ก่อมะเร็ง” “ฝุ่นและสิ่งสกปรกจากแผ่นกระเบื้องทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้” “มีผลต่อสิ่งแวดล้อม น้ำฝนไม่สะอาด ส่งผลต่อสุขภาพ” “อันตรายแต่ต้องรู้จักวิธีใช้” “อาจทำให้เกิดมะเร็งได้” “โรคปอด โรคผิวหนัง” “น่าจะอันตรายแต่ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ให้ลูกจ้างให้ใส่หน้ากากและดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ อยากให้ตรวจสอบวัสดุก่อสร้างว่ามีแร่นี้หรือไม่ ถ้ามีควรแจ้งผู้รับเหมา ลูกค้า หน่วยงานรัฐต้องเข้ามา   จัดการ”   กลุ่มที่เห็นว่าแร่ใยหินไม่มีอันตรายต่อคนทำงานและผู้อยู่อาศัย “ไม่น่าจะมีอันตรายเพราะเป็นสิ่งที่คนใช้กันเยอะ” “ใช้กันทั่วไปในการสร้างที่อยู่อาศัย” “ยังไม่เคยเห็นผลกระทบต่อร่างกาย” “ไม่แน่ใจเพราะยังไม่เห็นผลโดยตรง” “ไม่น่าจะอันตรายเพราะไม่ได้สัมผัสเป็นเวลานาน” “คิดว่าแร่ใยหินไม่อันตราย แต่ฝุ่นละอองจากกระเบื้องทุกชนิดมีอันตราย” “ไม่น่าจะอันตราย เพราะนำมาสร้างที่อยู่คน การผลิตต้องมีมาตรฐาน”  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 123 เลือก “รองเท้านักเรียน” คู่ใหม่ ต้อนรับเปิดเทอม

  ถึงเวลาเปิดเทอม ก็ถึงเวลาที่เด็กๆ และพ่อแม่จะต้องมองหาอะไรใหม่ๆ ไว้ต้อนรับการศึกษาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเขียนใหม่ ชุดนักเรียนใหม่ เสื้อใหม่ กางเกงใหม่ และที่ลืมไม่ได้คือ “รองเท้าคู่ใหม่” ความสำคัญอันดับแรกของรองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนในบ้านเรา คงหนีไม่พ้นเรื่องของความถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน และรวมไปถึงไว้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ในชั่วโมงพละ ซึ่งแน่นอนว่ารองเท้านักเรียนแม้จะเป็นที่นิยมของเด็กๆ ในการเตะฟุตบอล เล่นตะกร้อ (เพราะราคาไม่แพงแถมถูกระเบียบ) แต่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งานคงสู้ไม่ได้กับรองเท้าที่ผลิตขึ้นมาสำหรับใส่เล่นกีฬาโดยเฉพาะ  ฉลาดซื้อ ได้ส่งตัวอย่าง “รองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนชาย” ไปทดสอบยังกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อทดสอบโดยยึดตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่งตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรองเท้าผ้าใบมีการกำหนดคุณลักษณะที่รองเท้าผ้าใบควรมีเอาไว้หลายข้อ แต่ด้วยข้อจำกัดในการจัดเตรียมชิ้นทดสอบทำให้บางรายการทดสอบไม่สามารถทำได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์บริการได้ให้ข้อมูลกับทางฉลาดซื้อ ว่าบางรายการทดสอบ เช่นการทดสอบความทนทานต่อการพับงอของส่วนพื้น ที่ต้องมีการเตรียมชิ้นทดสอบเป็นส่วนพื้นยางที่มีความหนาและความกว้าง เกินกว่าความหนาของพื้นรองเท้าผ้าใบที่ทางฉลาดซื้อส่งไปทดสอบ แถมยังต้องใช้ชิ้นทดสอบมากกว่า 1 ชิ้นต่อ 1 ตัวอย่าง  แต่ฉลาดซื้อก็ยังได้ผลทดสอบรองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนชายมาฝากแฟนๆ ด้วยผลทดสอบ 3 เรื่องที่น่าสนใจ ประกอบด้วย  1.ความหนาของบัวส้น – ส่วนส้นเท้ามีความสำคัญ บริเวณบัวส้นของรองเท้าที่แข็งแรงจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อเท้า ความหนาของบัวส้นยังมีผลต่อการคงตัวของทรงรองเท้า บัวส้นที่มีความหนาก็จะช่วยทำให้รูปทรงของรองเท้าคงตัว ไม่บิดเบี้ยวหรือเสียรูปทรงขณะวิ่งหรือเดิน ช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บ 2.ความหนาของวัสดุเสริมพื้น –  วัสดุเสริมพื้นที่ดีจะช่วยรับและกระจายแรงกระแทกจาก หลัง ขา และเท้า ก่อนลงสู่พื้น แถมยังช่วยเพิ่มความมั่นคงในการเดินและวิ่ง ซึ่งในการทดสอบครั้งนี้จะดูแค่เรื่องความหนาตามเกณฑ์มาตรฐาน มอก. เท่านั้น ไม่ได้ทดสอบไปถึงเรื่องวัสดุที่ใช้ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องความหนาของวัสดุเสริมพื้น  3.การติดแน่นของยางขอบกับผ้า – การติดแน่นของขอบพื้นยางกับส่วนผ้าของรองเท้าผ้าใบ มีผลต่อความแข็งแรงคงทนของตัวรองเท้า รวมถึงการทนทานต่อการพับงอ   ดังนั้นผลทดสอบรองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนทั้ง 3 เรื่องนี้ จะบอกได้เฉพาะในเรื่องของ ความคงทน และลักษณะความคงรูปทรงของรองเท้าเท่านั้น ไม่ได้บอกถึงประสิทธิภาพในการใช้  ฉลาดซื้อหวังว่าผลทดสอบครั้งนี้ น่าจะพอมีประโยชน์สำหรับคุณพ่อ-คุณแม่และผู้ปกครองได้บ้าง อย่างน้อยก็เรื่องความแข็งแรงคงทน   ตารางผลทดสอบรองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนตามมาตรฐาน มอก. ชื่อยี่ห้อ ชื่อรุ่น ราคา ตามที่แจ้งไว้ในฉลาก (บาท) ความหนาของบัวส้น (มม.) ความหนาของวัสดุเสริมพื้น (มม.) การติดแน่นของยางขอบกับผ้า (กรัมต่อ ซม.)   มาตรฐาน มอก.   ไม่น้อยกว่า 1.3 มม. ไม่น้อยกว่า 1.5 มม. ไม่น้อยกว่า 1,000 กรัมต่อ ซม.   1.Gold City 205S 249 1.3 7.0 3,219.1   2.นันยาง 205-S 274 1.3 8.0 283.4   3.Pan PF4136-AA 345 ไม่มี 3.5 -   4.Breaker BK-55 389 1.5 8.0 -   5.บาจา b-first - 299 1.0 4.0 1,720.1   6.Breaker futsal BK-30 385 1.5 8.0 -   7.Feebus F-111 249 1.4 8.0 3,411.1   8.Feebus F-599 179 ไม่มี 5.0 1,054.4   9.kito SSAM610 258 1.3 6.0 1,154.4   10.บาจา b-first - 269 2.2 7.0 2,823.1   11.Clicks CL-555 229 ไม่มี 4.0 1,943.6   12. Breaker futsal BK4/M+ 309 1.3 7.0 3,632.2   13.Breaker 4X4 4X4/M 289 1.4 5.5 2,650.6   14.Gerry Gang F-499 249 ไม่มี 5.0 702.1   15.Dynamic DU-111 295 1.0 4.0 1,795.4   16.Nike Zoom Alpha TR ครอส เทรนนิ่ง 2900 2.0 4.0 2,329.9   17.Adidas G21413 running men liquid 3390 1.4 6.0 1,560.4   18.Reebok Hosscat aluminum   3250 2.7 5.0 3,333.3     ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------รองเท้าผ้าใบที่ดีต้องมีอะไรบ้าง-ต้องมีความแข็งแรง ส่วนบนที่เป็นผ้าใบและส่วนพื้นที่เป็นยางของรองเท้าต้องยึดแน่นเข้าด้วยกัน-ทุกส่วนของรองเท้าต้องติดกันแน่นสนิท-ขอบยางต้องติดแน่นรอบพื้นและส้นรองเท้า และไม่ยื่นออกมานอกระดับของพื้นรองเท้า-ส่วนหัวรองเท้าต้องอยู่ตัวไม่บิดเบี้ยว-ส่วนบนของรองเท้าต้องมีความแข็งแรงและทนทานเพื่อป้องกันรอยย่นและโค้งงอ-พื้นรองเท้าด้านในต้องรองด้วยเศษยาง หรือแผ่นวัสดุที่ทำจากเศษผ้าและเศษยางบดรีดผสมกัน และบุด้วยผ้าอีกชั้นหนึ่ง-พื้นรองเท้าต้องนุ่ม ไม่ลื่น -มีรูระบายอากาศช่วยระบายความร้อน---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เรื่องของ “เท้า” ที่เราควรรู้ 1.เมื่อรูปร่างของเรามีการเปลี่ยนแปลง เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น อายุเพิ่มขึ้น ขนาดเท้าของเราก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน2.เท้าของเราอาจเปลี่ยนขนาดตามสภาพอากาศ เช่น อากาศร้อนทำให้เท้าขยายใหญ่ขึ้น3.ว่ากันว่าช่วงเวลาในแต่ละวันก็มีผลต่อขนาดของเท้าเช่นกัน 4.โรคภัยไข้เจ็บและอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับเท้า เช่น โรคข้ออักเสบ หรือมีบาดแผลที่เท้า ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้รูปเท้ามีการเปลี่ยนแปลง5.เวลาที่เท้าเรามีบาดแผล รองเท้าที่ใส่ประจำอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อลดอาการบาดเจ็บและป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น6.เท้าเป็นอวัยวะเล็กๆ ที่ถูกใช้งานหนัก แต่เรากลับให้ความสำคัญกับมันน้อยมาก เรียกว่าแทบไม่ได้ค่อยได้รับการดูแล ดังนั้นเราควรหันมาใส่ใจดูแลกับเท้าคู่น้อยๆ ของเรากันให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเรื่องความสะอาด การออกกำลังในส่วนของข้อเท้าและกล้ามเนื้อเท้าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาสู่ปลายเท้า--------------------------------------------- เลือกซื้อรองเท้า-ต้องลองสวมร้องเท้าทุกครั้งก่อนซื้อ เพราะขนาดของรองเท้าแม้จะมีมาตรฐานระบุไว้ แต่รองเท้าแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น ถึงจะเป็นเบอร์เดียวกัน ขนาดของรองเท้าก็อาจไม่เท่ากัน -เวลาลองรองเท้าต้องลองทั้ง 2 ข้าง เพราะเท้าของเราข้างซ้ายกับขวาอาจมีขนาดไม่เท่ากัน ต้องเลือกรองเท้าคู่ที่ลองใส่แล้วใส่ได้สบายทั้ง 2 ข้าง-เวลาลองรองเท้าอย่าลืมสวมถุงเท้า-พยายามลองรองเท้าหลายๆ แบบ หลายๆ รูปทรง เพื่อเลือกดูว่ารองเท้าแบบไหนเหมาะกับเท้าของเรามากที่สุด-เมื่อเลือกรองเท้าคู่ที่โดนใจได้แล้ว ให้ลองสวมแล้วลองเดินไปเดินมา เพราะรองเท้าที่ดีต้องใส่สบายทั้งตอนที่นั่ง ยืน และตอนเดิน ซึ่งถือเป็นตอนที่เราใช้งานเท้าของเรามากที่สุด-รองเท้าที่ดีที่สุด คือ รองเท้าที่สวมแล้วเข้ากับรูปเท้าของเรา ไม่คับหรือหลวมเกินไป ใส่สบาย -การเลือกรองเท้าควรเหลือพื้นที่ระหว่างปลายนิ้วเท้าและขอบในรองเท้าไว้บ้าง เพื่อไม่ให้เท้ารู้สึกอึดอัดเกินไป ป้องกันการเสียดสีของเท้ากับตัวรองเท้า และเผื่อไว้สำหรับการขยายของเท้า-เลือกรองเท้าที่สวมแล้ว ส้นเท้าพอดี ไม่หลวมและไม่หลุดในขณะเดินหรือวิ่ง-ควรเลือกซื้อรองเท้าให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่จะทำ เช่น รองเท้าสำหรับใส่ประจำวัน หรือรองเท้าสำหรับออกกำลังกาย ซึ่งกีฬาแต่ละประเภทก็มีการผลิตรองเท้าเฉพาะของแต่ละประเภทกีฬา  เพราะการเลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำนอกจากจะช่วยในเรื่องความปลอดภัย ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ-ควรเลือกรองเท้าที่สามารถปรับความกระชับได้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 157 มติแพทยสภามีผลผูกพันคู่ความและศาลแค่ไหน ตอนจบ

ความเดิม เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 1  (สามี) และผู้ตาย(ภริยา)เป็นคนไข้ที่มารับบริการตรวจรักษา ใช้บริการ(คลอดบุตร) ที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 (โรงพยาบาลสมิติเวช) แต่แพทย์ผู้รักษาคือจำเลยที่ 3 เป็นวิสัญญีแพทย์ จำเลยที่ 4 เป็นสูติแพทย์ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ภริยาและบุตรโจทก์ที่ 1 ตาย โจทก์ที่ 1  ถึงที่  6  จึงฟ้องคดีเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้โรงพยาบาลเอกชน... การที่ประเทศต่างๆ ได้เปลี่ยนแนวความคิดเกี่ยวกับมาตรฐานในการรักษาของแพทย์โดยไม่ถือเอามาตรฐานการรักษาดีที่สุด  แต่ใช้มาตรฐานการรักษาตามสภาพและสภาวะในขณะทำการรักษาเป็นตัวกำหนด  รวมทั้งการที่แพทยสภาใหม่ตามแนวคิดดังกล่าวน่าจะมีอิทธิพลต่อการกำหนดมาตรฐานของศาลให้เปลี่ยนแปลงไปจากการอาศัยมาตรฐานการรักษาดีที่สุดไปสู่หลักเกณฑ์ใหม่  แต่การที่คดีนี้ศาลฎีกายังคงถือหลักมาตรฐานการรักษาในระดับดีที่สุดอยู่เนื่องจากมูลคดีเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2538 ในขณะที่ยังใช้ข้อบังคับเดิมของแพทยสภาที่ถือเอาการรักษาในระดับดีที่สุดเป็นมาตรฐาน  และไม่มีข้อเท็จจริงหรือได้ว่ากล่าวกันมาคือ  เงื่อนไขตามมาตรฐานที่ข้อบังคับใหม่ของแพทยสภากำหนดจึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ศาลฎีกายังคงใช้มาตรฐานดีที่สุด  ซึ่งเป็นข้อที่ปรากฏอยู่ในสำนวนเป็นมาตรฐานการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลย  สำหรับคดีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ซึ่งเป็นเวลาที่ข้อบังคับแพทยสภาฉบับปี  2549 ได้บังคับแล้ว  น่าเชื่อว่าการถือมาตรฐานในการรักษาคงจะเปลี่ยนไปตามมาตรฐานใหม่ที่กำหนดใช้ในข้อ 15 แห่งข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549   6. มีปัญหาต่อไปตามฎีกาของจำเลยว่า  คณะกรรมการแพทยสภาได้ลงมติแล้วว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่มีความผิด  เหตุใดศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยไปตามมติของแพทยสภา หลักในการวินิจฉัยความรับผิดของแพทย์  โดยเฉพาะการวินิจฉัยว่าการรักษาของแพทย์เป็นไปตามหลักวิชาหรือไม่  เป็นเรื่องยากที่ศาลหรือบุคคลทั่วไปจะเข้าใจและรับรู้ได้  ศาลในประเทศต่างๆ จึงถือแนวปฏิบัติว่าจะต้องอาศัยความเห็นของแพทย์ในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ( expert witness ) เป็นสำคัญ ในคดี Bolam v. Friem Hospital Management Committee ( 1957 WER 882 )  ศาลได้วางหลักให้ถือเอาความเห็นขององค์กรแพทย์ที่ดูแลแขนงสาขาวิชาทางการแพทย์สาขานั้น  และโดยแพทย์ผู้กอปรทักษะความรู้ในสาขานั้นเป็นเกณฑ์สำคัญในการตัดสิน ( The accepted practice must be regarded as proper by  “  a responsible body of medical men “ skilled in that art ) ทำให้เกิดหลักเรียกว่า Bolam test ขึ้น กล่าวคือ หากผู้แทนองค์กรแพทย์ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เบิกความมาเป็นผู้ให้ความเห็นก็จะผูกพันมีน้ำหนักสำคัญให้ศาลเชื่อถือรับฟัง  ส่วนความเห็นของแพทย์ที่มิอยู่ในสาขาวิชาดังกล่าว หรือโดยองค์กรของแขนงวิชาดังกล่าวมาเบิกความก็จะไม่ถือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น หลัก Bolam test ได้เป็นที่ยอมรับในศาลของหลายๆ ประเทศ  แต่ในรอบ 20  ปีที่ผ่านมา  ศาลและประชาชนผู้เกี่ยวข้องเริ่มมีความรู้สึกว่าองค์กรแพทย์มักให้ความเห็นในการปกป้องแพทย์ด้วยกันเองมากกว่าการให้ความเห็นตามหลักวิชาที่เป็นกลางและเที่ยงธรรม  ทำให้ศาลของประเทศต่างๆ ในระยะหลังเริ่มไม่รับฟังความเห็นขององค์กรแพทย์  โดยวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานเองแยกแตกต่างไปจากความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญ เช่น คดี Hucks v. Cole (( 1993 ) , 4 Med LR 393 ) คดี Gascoine v. Ian Shridan & Co. (( 1994 ) , 5 med LR 437 และคดี Joyce v.  Wandsworth Health Authority (( 1995 ) , 6 Med LR 60 เป็นต้น อย่างไรก็ดีศาลอีกบางส่วนก็ยังถือเอาความเห็นขององค์กรแพทย์เป็นสำคัญในการวินิจฉัยคดีอยู่เช่นเดิม  จนกระทั่ง House of Lords ของอังกฤษได้ตัดสินคดีสำคัญที่วางหลักการรับฟังพยานผู้เชี่ยวชาญทางแพทย์  และถือว่าเป็นการวางแนวทางที่ได้รับการยอมรับที่ศาลในประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว้างขวางที่สุด นั่นคือ คดี Bolitho v. City & Hackney Authonrity  (( 1997 ),  All ER 771 ) คดีดังกล่าวศาลวางหลักว่า  หากองค์กรแพทย์ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่วินิจฉัยตามประเด็นแห่งคดีให้ความเห็นตามหลักวิชาที่เปี่ยมด้วยเหตุผล  ศาลพึงต้องรับฟังความเห็นขององค์กรแพทย์ดังกล่าวในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญที่มีน้ำหนักยิ่ง  แต่ถ้าความเห็นมิได้มาจากแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญสาขาวิชาดังกล่าว  ศาลจะไม่รับฟังก็ได้ ผลของคดี Bolitho ทำให้นำไปสู่แนวความคิดในการรับฟังความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะความเห็นขององค์กรแพทย์ว่าศาลยังรับฟังความเห็นขององค์กรแพทย์  เว้นจะปรากฏว่ามีเหตุที่ไม่ควรรับฟัง เช่น  (ก) ขาดเหตุผล หรือมิได้มาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เบิกความ หรือความเห็นขององค์กรแพทย์ไม่อาจชี้ชัดไปได้ว่าจะเป็นเช่นใด เช่น คดี Penney , PaImer and Conon v. East Kent HeaIth Authority (( 2000 ) , Lloyd ‘s Law Rep ( MedicaL , 41 ))  ที่ฝ่ายโจทก์และจำเลยต่างมีพยานองค์กรแพทย์มาให้ความเห็นสนับสนุน  เช่นนี้ศาลวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานเองได้     (ข) แพทย์รักษาผิดไปจากฎหมายที่บัญญัติไว้  หรือเงื่อนไขการรักษาหรือมิได้เป็นไปตามมาตรฐาน CGP (  Clinical Practice Guideline ) (ค)  เมื่อแพทย์รักษาผิดอย่างชัดเจน เช่น แพทย์ผ่าซี่โครงผิดข้าง  หรือเด็กประสงค์ให้แพทย์ผ่าตัดตุ่มเม็ดในปาก  แต่แพทย์ไปขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะแทน  หรือในคดี McGrew v. St. Joseph ‘ s Hospital ( 200 W.Va 114 , 488 SE 2d 389 (1997 ) ) พนักงานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลยกตัวคนไข้ไม่ดี  ทำหลุดมือปล่อยคนไข้ตกเตียง  ศาลสูงสุดแห่งเวสต์เวอร์จิเนียวินิจฉัยว่าโรงพยาบาลกระทำการโดยประมาทหรือไม่  ศาลวินิจฉัยได้เองโดยไม่ต้องอาศัยความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญหรือองค์กรแพทย์ 7.  ตามคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยด้วยความระมัดระวังไม่ว่าการวางหลักตามแนววินิจฉัยในคดี Bolitho ว่าหากมติของแพทย์สภาถูกต้องและเป็นธรรมก็นำมารับฟังได้  แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าการได้มาซึ่งมติความเห็นของแพทยสภามีข้อกังขาและสงสัยว่าจะชอบหรือเหมาะสมหรือไม่  การที่ศาลฎีกาไม่รับฟังมติความเห็นของแพทยสภา  แต่วินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเสียเองจึงชอบแล้ว หมายเหตุผู้เขียน  ต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงในความเห็นของท่านอาจารย์นพพร  โพธิรังสิยากร ซึ่งเป็นความเห็นที่ทรงคุณค่าทางวิชาการอย่างยิ่งและเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคที่ต้องเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 156 มติแพทยสภามีผลผูกพันคู่ความและศาลแค่ไหน ตอน 5

ความเห็นต่อเนื่องจากคดีคนไข้ฟ้องร้องแพทย์ โดยอาจารย์นพพร  โพธิรังสิยากร ...   4.เมื่อแพทย์ต้องได้รับความยินยอมในการรักษาจากคนไข้  ความคิดเดิมที่ Hippcrates เชื่อว่าแพทย์รักษาดีที่สุดตามหลัก Patermityship โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคนไข้จึงได้รับการพิจารณาใหม่ว่า  เมื่อเป็นดังนี้แพทย์ยังจะต้องรักษาคนไข้ในระดับมาตรฐานดีที่สุดหรือไม่  จนต่อมาได้มีคำประกาศ ณ กรุงเจนีวา ค.ศ. 1948 ( the Declaration of Geneva in 1948 amended in Sydney in 1968) ว่าแพทย์ยังจะต้องประกอบวิชาชีพในระดับดีที่สุด โดยถือเป็นจริยธรรมในการรักษาคนไข้เรียกว่าหลัก best practice  อย่างไรก็ดี  แม้องค์กรแพทย์จะถือว่าโดยจริยธรรมแพทย์ต้องรักษาดีที่สุดก็ตาม  แต่ความเห็นในวงการกฎหมายกลับมีความเห็นแตกต่างไปจากเดิม  โดยเห็นว่าการรักษาดีที่สุดไม่มี และมีไม่ได้ เหตุที่มีผู้เห็นว่าการรักษาดีที่สุดไม่มี เป็นการพิจารณาตามสภาวะความเป็นจริง เช่น แพทย์ไปพบคนเจ็บนอนข้างทาง  แพทย์ทำการรักษาเบื้องต้น โดยไม่มีเครื่องมืออุปกรณ์ครบครันเป็นการรักษาดีที่สุดหรือไม่ หากไม่ใช่การรักษาดีที่สุดก็ต้องถือว่าแพทย์ประมาท เพราะทำการรักษาต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดว่า ต้องดีที่สุด แพทย์ประจำอนามัยมีเครื่องมือน้อยกว่าแพทย์ประจำอยู่โรงพยาบาลชุมชนหากรักษาคนไข้ย่อมเรียกได้ว่าเป็นการรักษาไม่ดีที่สุด  หากเป็นเช่นนี้จะมีแพทย์ประจำอนามัยที่กล้ารักษาประชาชนได้อย่างไร   แพทย์ประจำโรงพยาบาลชุมชน มีเครื่องมือไม่เท่ากับโรงพยาบาลประจำจังหวัดแม้จะสามารถผ่าตัดเล็กน้อยได้  แต่ไม่มีวิสัญญีประจำโรงพยาบาลชุมชน  หากมีการผ่าตัดก็ต้องถือว่าเป็นการรักษาไม่ดีที่สุด  เช่นนี้แล้วแพทย์ประจำโรงพยาบาลชุมชนจะกล้าผ่าตัดช่วยคนไข้หรือไม่ แพทย์ประจำโรงพยาบาลประจำจังหวัด มีเครื่องมือและประสบการณ์น้อยกว่าผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลชั้นดีในกรุงเทพมหานคร  การรักษาของแพทย์ในโรงพยาบาลประจำจังหวัดก็ต้องถือว่าไม่ดีที่สุดเช่นกัน แพทย์ประจำโรงพยาบาลชั้นนำในกรุงเทพมหานคร  ก็หาใช่จะรักษาดีเท่ากับแพทย์ในโรงพยาบาลชั้นนำของโลกที่มีเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ทันสมัยที่สุด  หากเป็นเช่นนี้เท่ากับไม่มีการรักษาที่ดีที่สุดในประเทศไทย แล้วจะมีแพทย์รักษาคนไข้ในประเทศนี้ได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เห็นว่าการรักษาดีที่สุดไม่มี  และมีไม่ได้ เนื่องจากหากมีการรักษาดีที่สุดแล้วก็คงไม่ต้องมีการวิจัยพัฒนาวงการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้นเนื่องจากเป็นการรักษาดีที่สุดอยู่แล้ว  เช่นนี้เท่ากับเป็นการหยุดยั้งพัฒนาการในวงการแพทย์  ซึ่งหาเป็นสิ่งที่ถูกที่ควรไม่  ดังนั้น วงการกฎหมายในประเทศต่างๆ จึงมิได้ถือเอาจริยธรรมของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมแพทย์ในระดับดีที่สุดเป็นมาตรฐานว่าแพทย์กระทำการด้วยความประมาทเลินเล่อหรือไม่ ( Puteri N. J. Kassim , op.cit . , p.41 ) ด้วยเหตุนี้จึงมีคำวินิจฉัยของศาลในประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษวินิจฉัยปฏิเสธมาตรฐานในการรักษาในระดับดีที่สุด เช่น คดี Osbom v. Irwin Memorial BloodBank ( 7 CalRptr. 2d , 101 ( Ct.App.Cai.1991 ) ที่เด็กอายุ 3 อาทิตย์ต้องรับการผ่าตัดหัวใจและได้รับการให้เลือด แต่เลือดมีเชื่อ HIV เนื่องจากโรงพยาบาลไม่มีเครื่องมือตรวจสอบเบื้องต้นว่าเลือดที่ได้รับบริจาคมีเชื้อ HIV หรือไม่  ซึ่งมิใช่การรักษาที่ดีที่สุด  แต่ศาลเห็นว่าทางปฏิบัติของโรงพยาบาลแม้มิใช่วิธีการดีที่สุดแต่ก็เป็นไปตามมาตรฐานการรักษาทั่วไป ( Standard Practice ) ของวิธีปฏิบัติในการรักษาในเวลานั้น(custom at the time ) จึงไม่ถือว่าเป็นความประมาท หลังจากนั้นได้มีคดี Nowatske v. Osterioh ( 198 Wis 2d 419 , 543 NW 2d. 265 (1996 )  และคดี Vergara v. Doan ( 593 NF 2d 185 ( ind. 1992 ) วางหลักวินิจฉัยในทำนองเดียวกันว่า  มาตรฐานในการรักษาไม่จำต้องถือมาตรฐานการรักษาดีที่สุด  และไม่จำเป็นต้องใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ( national  standard ) แต่จะเป็นมาตรฐานใดย่อมแล้วแต่สภาพ  สภาวะแห่งท้องถิ่นแต่ละที่เป็นหลัก ( Locality rule ) ซึ่งในคดี Vergara v.Doan ได้วางหลักว่าแพทย์ในเมืองเล็กย่อมมีมาตรฐานต่ำกว่าแพทย์ในเมืองใหญ่  แพทย์ทั่วไปย่อมมีมาตรฐานต่ำกว่าแพทย์ผู่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง แพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐย่อมมีมาตรฐานต่ำกว่าแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนที่เรียกค่ารักษาสูงกว่าแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ  ทำให้เกิดหลักในการกำหนดมาตรฐานในการรักษาของแพทย์ขึ้นใหม่แทนการใช้หลักการรักษาดีที่สุด ( best practice ) มาเป็นการพิจารณามาตรฐานในการรักษาตามสภาพและสถานที่ที่มีการรักษานั้น  (Current Accepted Medical Practice) แนวความคิดในการกำหนดมาตรฐานในการรักษาตามหลัก Current Accepted   Practice ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง  ทำให้ศาลในประเทศต่างๆ  ถือเป็นแนวในการกำหนดมาตรฐานการรักษาของแพทย์ สำหรับประเทศไทยนั้น  คณะกรรมการแพทย์สภาได้มีการนำแนวความคิดังกล่าวไปทำการแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับแพทย์สภาเสียใหม่ ดังนี้ “  ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.๒๕๔๙ หมวด ๔ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับดีที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ ภายใต้ด้วยความสามารถและข้อจำกัดของภาวะ วิสัย และพฤติการณ์ที่มีอยู่ “  ( ราชกิจจานุเบกษา , เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๑๑๕ ง วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ หน้า ๒๔ )   ไว้มาต่อตอนจบ(จริงๆ) กันในฉบับหน้านะครับ   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 155 มติแพทยสภามีผลผูกพันคู่ความและศาลแค่ไหน ? ตอน 4

ความเดิม เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 1  (สามี) และผู้ตาย(ภริยา)เป็นคนไข้ที่มารับบริการตรวจรักษา ใช้บริการ(คลอดบุตร) ที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 (โรงพยาบาลสมิติเวช) แต่แพทย์ผู้รักษาคือจำเลยที่ 3 เป็นวิสัญญีแพทย์ จำเลยที่ 4 เป็นสูติแพทย์ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ภริยาและบุตรโจทก์ที่ 1 ตาย โจทก์ที่ 1  ถึงที่  6  จึงฟ้องคดีเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้โรงพยาบาลเอกชน...   เหตุใดแพทย์จึงกำหนมาตรฐานการประกอบวิชาชีพว่า “ ดีที่สุด “ 3. การรักษาของแพทย์ขึ้นอยู่กับความยินยอมของคนไข้  เนื่องจากการที่แพทย์ใช้เข็มแทงก็ดี  ใช้มีดผ่าก็ดี วางยาสลบก็ดี ผ่าตัดก็ดี หากไม่มีความยินยอมของคนไข้ย่อมเป็นการกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายทั้งสิ้น ( Assualt and Battery ) เมื่อคนไข้ยินยอมให้แพทย์รักษา  แพทย์จึงไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามหลักความยินยอม ไม่เป็นละเมิด (Volunti non fit injuria) (Puteri N.J.Kassim,Medical Negligence Law in Malaysia, (Interntional Law Book Service, 2003), pp.3-5) ด้วยเหตุนี้การรักษาคนไข้ของแพทย์จึงเกิดหลักคนไข้ยินยอมหรือ Informed Consent ขึ้น   ปัญหาว่าแพทย์จะรักษาคนไข้ต้องได้รับความยินยอมจากคนไข้ดังกล่าวสร้างปัญหาแก่แพทย์ตลอดมา  โดยเฉพาะในอดีตที่แพทย์เชื่อว่าแพทย์มีเจตนาดีประสงค์จะช่วยคนไข้ เหตุใดจึงต้องได้รับความยินยอมจากคนไข้ด้วย  ทำให้แพทย์ในอดีตรักษาคนไข้โดยไม่ใส่ใจว่าคนไข้ต้องให้ความยินยอมหรือไม่ เช่น ในสมัยพุทธกาลหมอชีวกทำการรักษาอาการประชวรของพระเจ้าปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี พระเจ้าปัชโชต ขอไม่ให้หมอให้ยาที่มีส่วนผสมของเนยใส  และไม่ยินยอมให้หมอรักษาหากผสมยาด้วยเนยใส หมอชีวกได้หุงเนยให้มีสี กลิ่น และรสเหมือนน้ำฝาด   เป็นยารักษาพระเจ้าปัชโชต  โดยขอรางวัลในการรักษาเป็นช้างภัททวดีซึ่งเป็นช้างที่เดินเร็วที่สุด แล้วขึ้นช้างหนีไปจากกรุงอุชเชนีทันที (พระไตรปิฎก , พระวินัยปิฎก เล่มที่ 5 มหาวรรต ภาค 2 เรื่องพระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงประชวรโรคผอมเหลือง หน้า 144-145) ปัญหาแพทย์รักษาโดยไม่ใสใจความยินยอมของคนไข้ดังกล่าว ก่อปัญหาว่าเมื่อคนไข้ไม่ยินยอมหรือไม่ได้ให้ความยินยอมแล้วแพทย์ทำการรักษาจะไม่ผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือ  ปัญหานี้ได้ถูกวางแนวทางแก้ไขโดย Hippocrates ซึ่งถือว่าเป็นบิดาแห่งวงการแพทย์ Hippocrates เห็นว่า แพทย์ต้องปฏิญาณว่าจะทำการต่อคนไข้ดีที่สุดดังเช่นบิดามารดาเลี้ยงดูบุตร  ทำให้เกิดคำปฏิญาณของ Hippocrates เรียกว่า Hippocratic oath และเกิดแนวคิดว่าบิดามารดาเลี้ยงดูบุตร ต้องให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่บุตรโดยไม่จำต้องอาศัยความยินยอมของบุตรที่ตนเลี้ยงดู ทำให้เกิดหลัก Paternityship ( ความเป็นบิดามารดา ) ขึ้น อันนำมาซึ่งการรักษาโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคนไข้ หรือที่เรียกว่าเอกสิทธิ์ในการรักษา ( Therapeutic Privilege ) ( Puteri N.J.Kassim, op. Cit.p.13 ) ต่อมาใน พ.ศ.2457 วงการแพทย์ทั่วโลกยอมรับวิธีปฏิบัติในการรักษาว่า คนไข้ต้องให้ความยินยอม เว้นแต่เป็นเหตุฉุกเฉินคนไข้ไม่อยู่ในฐานะให้ความยินยอมได้เท่านั้นแพทย์จึงจะทำการรักษาได้ หาไม่แล้วการรักษาของแพทย์ที่คนไข้ไม่ยินยอม  แพทย์ผู้รักษาต้องมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ซึ่งเป็นไปตามคำพิพากษาคดี Schloendorff v.Society of New York Hospital ( 105 N.E 92 ( N.Y.1914 ) นอกจากนี้ในคดี Largey v. Rothman (110 N.J.204,540 A 2d. 504 (1998) ยังวางหลักต่อไปว่าความยินยอมของคนไข้จะสมบูรณ์เมื่อแพทย์ได้แจ้งวิธีรักษาและความเสี่ยงของการรักษาให้คนไข้ประกอบการตัดสินใจให้ความยินยอมเรียกว่าหลัก Prudent Patient(Kenneth A. Bamberger , Medical Maipractice & Professionna Liability , handout for Thai Judiciary Course , June 2009 , P .2 ) หรือที่เรียกว่า Informed Consent  ทำให้การรักษาของแพทย์ต้องได้รับความยินยอมจากคนไข้เสมอ และความยินยอมต้องมาจากการที่แพทย์ให้ข้อมูล ( inform ) ในวิธีรักษาและความเสี่ยงของการรักษาแก่คนไข้ (ยังมีต่อนะครับ)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 154 มติแพทยสภามีผลผูกพันคู่ความและศาลแค่ไหน ? ตอน 3

ความเดิม เป็นเรื่องที่ สามี ฟ้องคดีแพทย์และโรงพยาบาลเอกชน จากเหตุผู้ตายคือ ภริยาใช้บริการ(คลอดบุตร) ที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 แต่แพทย์ผู้รักษาคือจำเลยที่ 3 เป็นวิสัญญีแพทย์ จำเลยที่ 4 เป็นสูติแพทย์ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ภริยาและบุตรตาย ศาลพิพากษาลงโทษทั้งจำเลยที่ 3 และ 4 แม้แพทยสภาระบุไม่ผิด หมายเหตุผู้เขียน  คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้(อ่านได้จากสองตอนแรก) ท่านอาจารย์นพพร  โพธิรังสิยากร ได้เขียนหมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ไว้อย่างน่ารับฟัง เป็นบทความที่ทรงคุณค่าทางวิชาการอย่างยิ่ง  ผู้เขียนจึงขอนำมาเพื่อผู้บริโภคได้อ่านกัน หมายเหตุ ท่านอาจารย์นพพร  โพธิรังสิยากร   1.คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดโดยอ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นวิสัญญีแพทย์ ส่วนจำเลยที่ 4 เป็นสูติแพทย์ต้องรักษาคนไข้ในระดับดีที่สุดตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  ซึ่งกำหนดโดยข้อบังคับแพทย์สภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2526  หมวดที่ 3 ข้อ 1 บัญญัติว่า “ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับที่ดีที่สุด...” ( ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 10 ตอนที่ 115 วันที่ 14 กรกฎาคม  2526 หน้า 28 ) ศาลฎีกาเห็นว่าการที่จำเลยที่ 3 ฉีดยาชาเข้าสันหลังผู้ตายเพื่อลดความเจ็บปวดในการคลอดบุตรแล้วผู้ตายไปวางยาสลบคนไข้รายอื่นที่ห้องอื่น  ส่วนจำเลยที่ 4 เจาะถุงน้ำคร่ำผู้ตาย  แล้วละทิ้งผู้ตายไปตรวจคนไข้รายอื่น ทำให้เมื่อผู้ตายเกิดภาวะวิกฤติเพราะน้ำคร่ำมีภาวะแทรกซ้อนไปอุดกั้นหลอดเลือดในปอด  จึงกลับมาแก้ไขเยียวยาชีวิตผู้ตายไม่ทัน  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มิได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพในระดับดีที่สุดตามข้อบังคับแพทยสภาฉบับดังกล่าว จึงเป็นการประมาทเลินเล่อเป็นละเมิดต่อโจทก์ 2. ความรับผิดในทางแพ่งมีได้ 2 ทาง คือ ความรับผิดเพราะผิดสัญญา(Contractual liability) และความรับผิดในฐานละเมิด (Tortious  liability ) ความรับผิดฐานละเมิดเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 คือ ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหาย... ความหมายของประมาทเลินเล่อได้เทียบอาศัยตามความหมายใน ป.อ.มาตรา 59 วรรคสี่ว่า “ กระทำโดยประมาท ได้แก่  กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา  แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ " ตามบทบัญญัติดังกล่าว  การกระทำโดยประมาทเลินเล่อต้องเป็นกรณีมิได้ใช้ความระมัดระวังตามที่ควร แต่แค่ไหนจะควรเป็นการกระทำที่สมควร  ซึ่งเรียกว่ามาตรฐานในการใช้ความระมัดระวัง(Standard of care) ในบางกรณีเป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยโดยเฉพาะในการประกอบวิชาชีพบางอาชีพ เช่น ทนายความ ผู้ตรวจสอบบัญชี และแพทย์ ด้วยเหตุนี้ความรับผิดและการกำหนดมาตรฐาน จึงต้องอาศัยมาตรฐานโดยบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว  และเป็นบุคคลที่ผู้ร่วมวิชาชีพยอมรับ  ทำให้เกิดจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพดังกล่าว  ในทางกฎหมายต่างประเทศจะเรียกความรับผิดของทนายความ ผู้ตรวจสอบบัญชี และแพทย์ว่า Professional liability หรือความรับผิดของผู้ประกอบวิชาชีพ  แต่สิ่งที่ปรากฏต่อมาก็คือ ทนายความว่าต่างแก้ต่างคดีให้แก่ลูกความแล้วแพ้คดีก็ดี  ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบบัญชีงบดุลให้ลูกค้าแต่ลูกค้าประสบภาวะขาดทุนก็ดี  จะมีคดีถูกฟ้องร้องน้อยมาก  แต่แพทย์ที่รักษาคนไข้กลับมีแนวโน้มถูกฟ้องร้องคดีมากกว่าผู้ที่ถูกกำหนดให้อยู่ในความรับผิดของผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น ทนายความหรือผู้ตรวจสอบบัญชี เหตุผลที่เป็นดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากมาตรฐานของการประกอบวิชาชีพของแพทย์ที่กำหนดว่า ต้องประกอบวิชาชีพในระดับดีที่สุด เนื้อที่อันจำกัดขอจบในตอนหน้าครับ ด้วยคำอธิบายว่า เหตุใดแพทย์จึงกำหนมาตรฐานการประกอบวิชาชีพว่า “ ดีที่สุด “   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 มติแพทยสภามีผลผูกพันคู่ความและศาลแค่ไหน ? ตอนจบ

ความเดิม เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 1  ( สามี) และผู้ตาย( ภริยา )เป็นคนไข้ที่มารับบริการตรวจรักษา ใช้บริการ(คลอดบุตร) ที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 (โรงพยาบาลสมิติเวช) แต่แพทย์ผู้รักษาคือจำเลยที่ 3 เป็นวิสัญญีแพทย์ จำเลยที่ 4 เป็นสูติแพทย์ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ภริยาและบุตรโจทก์ที่ 1 ตาย โจทก์ที่ 1  ถึงที่  6  จึงฟ้องคดีเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้โรงพยาบาลเอกชน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7634/2554 ความต่อจากคราวที่แล้ว... ข้อบกพร่องของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงนำไปสู่การเยียวยาเพื่อช่วยชีวิตผู้ตายและบุตรไม่ได้อย่างรวดเร็วและดีที่สุดตามที่ควรเป็น จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 3  และที่ 4  เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่ได้รักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับดีที่สุดตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพฯ หมวดที่ 3 การประกอบวิชาชีพเวชกรรม ข้อที่ 1 ทอดทิ้งผู้ตายไปรักษาพยาบาลผู้ป่วยรายอื่นเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4ประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย   มติของแพทยสภาที่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2  ถึงที่ 4 ไม่ได้กระทำผิดหรือไม่ได้รักษาผิดมาตรฐานนั้น มติแพทยสภามิใช่กฎหมายและไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า มติแพทยสภามีผลผูกพันคู่ความและศาล  ถ้าศาลเห็นว่ามติของแพทยสภาถูกต้องและเป็นธรรมก็จะนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ที่ 3  และที่ 4  ได้ แต่มติเรื่องนี้มีข้อสงสัยว่าจะถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่ เพราะเมื่อนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการแพทยสภา มีกรรมการมาประชุม 30 คน ลงมติโดยเปิดเผยโดยการยกมือฝ่ายที่เห็นว่าจำเลยที่ 4  ผิดมี 12  เสียง ฝ่ายที่เห็นว่าไม่ผิดมี 13  เสียง ส่วนมติเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ลงมติว่าไม่ผิด 12  เสียง ต่อ 10  เสียง แต่มีกรรมการที่ลงมติว่าไม่ผิด 1 คนเป็นญาติและนามสกุลเดียวกับผู้ถูกกล่าวหา หลังลงมติมีกรรมการแพทยสภาลาออกเพื่อประท้วงคณะกรรมการแพทยสภา กรรมการแพทยสภาลงมติโดยไม่ได้ศึกษาสำนวนโดยละเอียด กรรมการบางคนไม่เคยประชุมแพทยสภามาก่อนแต่ลงมติว่าไม่ผิด มติแพทยสภาดังกล่าวที่ยังมีข้อโต้แย้งว่าถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่ ศาลจึงเพียงแต่นำมารับฟังประกอบการพิจารณาเท่านั้น โดยไม่จำต้องถือตามมติแพทยสภา พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ทั้งหก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 152 มติแพทยสภามีผลผูกพันคู่ความและศาลแค่ไหน ? ตอนแรก

ฉบับนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 1  ( สามี) และผู้ตาย( ภริยา )เป็นคนไข้ที่มารับบริการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 (โรงพยาบาลสมิติเวช) ก่อนเกิดเหตุเป็นเวลาต่อเนื่องกันกว่า 10 ปี ทั้งที่ผู้ตายมีภูมิลำนาอยู่จังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นจังหวัดที่มีมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ และโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียง  การที่ผู้ตายมาใช้บริการ(คลอดบุตร) ที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1  ครั้งนี้น่าจะเป็นเพราะความเชื่อถือในชื่อเสียงและความสามารถจากแพทย์ของโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในความรู้และความคาดหวังที่จะได้รับการดูและรักษาในมาตรฐานและความพึงพอใจในระดับที่สูงกว่าที่จะจากโรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนอื่น แม้จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลและบริการที่สูงกว่าก็ตาม ต่อมาแพทย์ผู้รักษาคือจำเลยที่ 3 เป็นวิสัญญีแพทย์ จำเลยที่ 4 เป็นสูติแพทย์ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ภริยาและบุตรโจทก์ที่ 1 ตาย โจทก์ที่ 1  ถึงที่  6  จึงฟ้องคดีเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้โรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเรียกค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยที่สูงกว่าโรงพยาบาลของรัฐและแพทย์ผู้ทำการรักษามีความรับผิดชอบต่อผู้ป่วยด้วยมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับที่ดีที่สุดตามข้อบังคับแพทย์สภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม ฝ่ายจำเลยให้การต่อสู้คดีหลายประการรวมทั้งอ้างว่าแพทยสภาได้วินิจฉัยไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มีผู้ใดกระทำผิดหรือให้การรักษาผู้ตายไม่ได้มาตรฐานแต่อย่างใด มาดูกันว่าถึงที่สุดศาลฎีกาจะว่าอย่างไร   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7634/2554 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  จำเลยที่ 1 เป็นโรงพยาบาลเอกชนเรียกค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยสูงกว่าโรงพยาบาลของรัฐและแพทย์ผู้ทำการรักษา มีความรับผิดชอบต่อผู้ป่วยด้วยมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับดีที่สุดตามข้อบังคับแพทย์สภาว่าด้วยการรักษาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมฯ หมวดที่ 3 ข้อที่ 1 การทำคลอดด้วยการให้ยาชาเข้าไขสันหลังโดยตรง ที่เรียกว่า Spinal Anaesthesia หรือ Epidural Block อาจมีอาการแทรกซ้อนได้หลายประการ  แม้กระทั่งถึงชีวิตในทันทีก็ได้ วิสัญญีแพทย์จำเป็นต้องเฝ้าติดตามอาการของคนไข้โดยใกล้ชิด การที่จำเลยที่ 4 เจาะถุงน้ำคร่ำผู้ตายแล้ว จะต้องดูแลอาการอย่างใกล้ชิด หากจำเลยที่ 4 ไม่อยู่จะต้องมีสูติแพทย์หรือวิสัญญีแพทย์อยู่ดูแลแทน ส่วนจำเลยที่ 3 เมื่อให้ยาชาทางสันหลังจะต้องดูแลผู้ตายอย่างใกล้ชิด  แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4  ทอดทิ้งผู้ตายไว้ในห้องโดยไม่มีสูติแพทย์หรือวิสัญญีแพทย์คนอื่นดูแลแทน คงมีแต่พยาบาลซึ่งมิใช่วิสัญญีพยาบาลดูแลร่วมกับผู้ช่วยคนไข้ ทั้งไม่ได้ความว่าก่อนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะออกจากห้องคลอดมีการสั่งให้พยาบาลดูแลผู้ป่วยเช่นใด  โดยเฉพาะการวัดความดันโลหิตและชีพจร ผู้ตายถึงแก่ความตายในวันดังกล่าว เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวจากเศษน้ำคร่ำเข้าไปในระบบเส้นเลือดของปอด จำเลยที่ 3 และที่ 4 รับว่าไม่เคยประสบภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นเส้นเลือดในปอดเหมือนเช่นคดีนี้มาก่อนจึงน่าจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ละเลยถึงภาวะดังกล่าวจนไม่ปฏิบัติหรือสั่งการให้ผู้อื่นปฏิบัติตามหลักวิชาการแพทย์เพื่อดูแลผู้ตายอย่างใกล้ชิดจนการคลอดเสร็จสิ้น... หน้ากระดาษหมดพอดี ถ้าว่ากันต่อตัวหนังสือจะเล็กมากไป ดังนั้นขอต่อเป็นตอนสองในฉบับหน้านะครับ

อ่านเพิ่มเติม >