ฉบับที่ 151 ข้อความส่วนตัวบน Line กับความมั่งคงของประเทศ?

เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม 2556 หลายคนที่ชื่นชอบการใช้โซเชียลมีเดีย ต้องตื่นตระหนกกับการออกหมายเรียกผู้โพสต์ข้อความลงบนเฟสบุ๊คของตนเอง ว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์  รวมถึงผู้ที่กด like หรือ กด Share จำนวน 4 รายนั้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวจึงส่งผลให้เกิดกระแสการควบคุมการสื่อสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมตรวจสอบเฝ้าระวังการสื่อสารผ่านโปรแกรมสนทนาไลน์ หรือแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) โดยอ้างว่าอาจกระทบความมั่นคงของชาติ จนทำให้ใครหลายๆ คนในวงการโซเชียลมีเดีย ออกมาถามหาความความเป็นส่วนตัวในการดำรงชีวิต ด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์การตรวจสอบเฝ้าระวังการสื่อสารแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) ของผู้ใช้โซเชียลมีเดีย จึงกลายเป็นข่าวฮอตฮิตไปทั่วประเทศ แอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) เป็นโปรแกรมที่เป็นตัวกลางช่วยให้สามารถสื่อสารผ่านข้อความ รูปภาพ ระหว่างอุปกรณ์มือถือ และได้พัฒนาโปรแกรมให้สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะได้อีกด้วย ทั้งที่ต้องใช้ผ่านอินเตอร์เน็ตด้วย การสื่อสารบนแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) จะเหมือนกับการส่งข้อความส่วนตัวโต้ตอบกันได้ทันทีจากคนหนึ่งไปถึงอีกคนหนึ่ง หรือเป็นหลายคนในเวลาเดียวกันได้   จากสถิติของบริษัทไลน์ คอร์ปอเรชั่น (LINE Corporation) ในงาน press conference เมื่อช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2556 ปัจจุบันมียอดผู้ใช้งาน Line Messenger ทั่วโลกอยู่ที่ 230 ล้านคน  โดยประเทศไทยติดอันดับเป็นประเทศที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอันดับ 2 ถึง 18 ล้านคน รองลงมาจากอันดับ 1 ประเทศญี่ปุ่น มีผู้ใช้งาน 47 ล้านคน ส่วนอันดับที่ 3 จากประเทศไต้หวัน มีผู้ใช้งาน 17 ล้านคน อันดับที่ 4 จากประเทศสเปน มีผู้ใช้งาน 15 ล้านคน และอันดับที่ 5 จากประเทศอินโดนีเซีย มีผู้ใช้งาน 14 ล้านคน สังเกตปริมาณการใช้ แอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) ในประเทศไทย 18 ล้านคน ถือว่าประเทศไทยมีผู้ใช้งานค่อนประเทศ ถ้าต้องการตรวจสอบเฝ้าระวังการสื่อสารบนแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) จริง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องใช้จำนวนคนและเวลาในการตรวจสอบนานพอดู เพราะขณะนี้สถิติข้อความที่ใช้ส่งหากันใน Line มีมากกว่า 7 พันล้านข้อความแล้ว  ลองคำนวณกันเองล่ะกันว่าผู้ใช้งานในประเทศไทย จะส่งข้อความหากันไปแล้วกี่ข้อความ...

อ่านเพิ่มเติม >