ฉบับที่ 201 สารกันบูดในขนมปังไส้สังขยาและไส้เผือก

ผลทดสอบ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพสารกันบูดในขนมปังไส้สังขยาและไส้เผือก“ขนมปัง” นั้น ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความที่เป็นเมนูที่หารับประทานได้ง่าย ซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป อีกทั้งราคาไม่แพงและแถมสะดวกในการพกพาไว้รับประทานระหว่างเดินทางอีกด้วย จึงเป็นทางเลือกที่ทดแทนอาหารหนึ่งมื้อได้เลยทีเดียว  ซึ่งชนิดของขนมปังที่พบได้มากที่สุดตามร้านค้าร้านสะดวกซื้อต่างๆ ก็คือ ขนมปังพร้อมทาน(Snack Bread)  หรือขนมปังที่มีปริมาณบรรจุต่อ 1 ซอง เหมาะสมพอดีต่อการรับประทาน 1 ครั้ง ขนมปังพร้อมทานมีหลายรูปแบบหลายรสชาติ แต่ที่น่าจะได้รับความนิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้น ขนมปังสอดไส้หวาน เช่น ไส้ครีม ครีมสังขยา ช็อกโกแลต  ตลอดจนแยมผลไม้ต่างๆ ฉลาดซื้อฉบับนี้ จึงขอนำเสนอผลวิเคราะห์ปริมาณ “สารกันบูด” ในขนมปังไส้หวาน โดยเราเลือกวิเคราะห์ขนมปังไส้หวาน 2 รสชาติแบบไทยๆ อย่าง ไส้สังขยาและไส้เผือก ซึ่งหลายๆ คนน่าจะชื่นชอบ จำนวน 19 ตัวอย่าง เราลองไปดูกันสิว่า ขนมปังไส้สังขยาและไส้เผือกที่เราเคยรับประทาน หรือบางคนอาจจะรับประทานเป็นมื้อเช้าแทบจะทุกวันมีปริมาณของสารกันบูดมาก-น้อยแค่ไหนกันบ้าง นอกจากนี้เรายังสุ่มทดสอบไส้สังขยาและไส้เผือกสำเร็จรูปที่เป็นวัตถุดิบในการทำขนมปังและเบเกอรี่ต่างๆ อีก 8 ตัวอย่างจากร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการทำขนมอบ เบเกอรี่ เพื่อให้รู้ชัดกันไปเลยว่าขนมปังหรือไส้ อันไหนที่มีสารกันบูดมากกว่ากันหมายเหตุ สารกันเสียที่ระบุบนฉลากอาหารINS 202 (โพแทสเซียมซอร์เบต) กลุ่มซอร์เบตINS 210 (กรดเบนโซอิก) กลุ่มเบนโซเอตINS 211 (โซเดียมเบนโซเอต) กลุ่มเบนโซเอตINS  282 (แคลเซียมโพรพิโอเนต) กลุ่มโพรพิโอเนตผลทดสอบการวิเคราะห์หาปริมาณสารกันบูดในขนมปังใส่ไส้ครั้งนี้ เราเลือกทดสอบสาร 2 ตัว คือ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งเป็นสารกันบูดที่นิยมใช้ในอาหาร และมีการกำหนดค่ามาตรฐานไว้ (ส่วนสารแคลเซียมโพรพิโอเนต INS 282 ที่พบในหลายผลิตภัณฑ์ ไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐาน ระบุเพียงว่า ปริมาณที่เหมาะสม จึงไม่ได้ทดสอบ) ส่วนตัวอย่างขนมปังสอดไส้ที่ฉลาดซื้อสุ่มนำมาทดสอบครั้งนี้ มีทั้งตัวอย่างที่วางจำหน่ายอยู่ในร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรพพสินค้าทั่วไป รวมทั้งตัวอย่างจากร้านขนมปังสอดไส้เจ้าดัง ที่คนชอบทานขนมปังสอดไส้ต่างๆ น่าจะรู้จักกันดี รวมแล้วทั้งหมด 14 ยี่ห้อ 19 ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ที่ได้พบว่า •ขนมปังไส้สังขยา 11 ตัวอย่าง และขนมปังไส้เผือก 8 ตัวอย่าง รวมทั้งหมด 19 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนของสารกันเสีย กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก ทุกตัวอย่าง •ข่าวดี ทุกตัวอย่างพบในปริมาณที่อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดย 3 ตัวอย่างที่พบปริมาณ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก รวมกันน้อยที่สุด คือ1. ยี่ห้อ UFM ขนมปังไส้เผือก พบกรดเบนโซอิก 15.23 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม (มก./กก.) หรือถ้าคิดเฉลี่ยต่อ 1 ชิ้น ที่น้ำหนัก 100 กรัม จะเท่ากับ 1.53 มิลลิกรัม ส่วนกรดซอร์บิก ไม่พบ2. ยี่ห้อ กาโตว์ เฮาส์ ขนมปังไส้เผือก พบกรดเบนโซอิก 15.87 มก./กก. หรือคิดเฉลี่ยต่อ 1 ชิ้น ที่น้ำหนัก 90 ก. จะเท่ากับ 1.42 มก.3.ขนมปังเจ้าดังจากเยาวราช ไส้สังขยา พบกรดเบนโซอิก 15.38 มก./กก. และกรดซอร์บิก 5.54 มก./กก. หรือคิดเฉลี่ยต่อ 1 ชิ้น ที่น้ำหนัก 87 ก. จะเท่ากับกรดเบนโซอิก 1.33 มก. และกรดซอร์บิก 0.48 มก./กก. •ตัวอย่างที่พบปริมาณสารกันเสีย เบนโซอิกและซอร์บิก ร่วมกันสูงที่สุดคือ ยี่ห้อ Victory ขนมปังไส้สังขยา พบกรดเบนโซอิก 389.01  มก./กก.และกรดซอร์บิก น้อยกว่า 1.50 มก./กก.ข้อสังเกตจากการวิเคราะห์ตัวอย่าง•ตัวอย่างขนมปังไส้สังขยา พบปริมาณสารกันเสีย เบนโซอิกและซอร์บิก มากกว่าตัวอย่างขนมปังไส้เผือก•ตัวอย่างขนมปังไส้สังขยาจากร้านวังหลังเบเกอรี่ พบว่ามีทั้งกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก แต่ถุงใส่ขนมปังของร้าน ซึ่งเป็นแบบทำสดขายวันต่อวัน มีข้อความว่าไม่ใส่วัตถุกันเสีย ปริมาณสารกันบูดที่อนุญาตให้พบได้ในขนมปังประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้มีการใช้สารกันเสีย กรดเบนโซอิก ในผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมอบที่มีการปรุงแต่งรสชาติ และส่วนผสมสำเร็จรูป ได้สูงสุดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถพบในอาหารในกลุ่มเดียวกันได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมหากมีการใช้ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) “ข้อ 6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชื่อวัตถุเจือปนอาหาร หมวดอาหาร หรือชนิดอาหาร หน้าที่ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต และปริมาณสูงสุดที่อนุญาตที่กำหนดไว้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ การใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง”ตามเกณฑ์ดังกล่าวนี้ ฉลาดซื้อคำนวณแล้ว พบว่า ไม่มีตัวอย่างใดเกินค่ามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด ตารางผลการวิเคราะห์กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกใน ไส้สังขยาและไส้เผือกสำเร็จรูปข้อสังเกตจากการวิเคราะห์ตัวอย่าง•ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) ไม่ได้มีการกำหนดเรื่องการใช้กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก ในไส้สังขยาและไส้เผือกสำเร็จรูป ที่ดูแล้วพอจะสามารถอ้างอิงได้ใกล้เคียงที่สุด น่าจะเป็นกลุ่มไส้ขนมที่ทำจากผลไม้ ซึ่งในประกาศฯกำหนดปริมาณของกรดเบนโซอิก ไว้ที่ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม เช่นเดียวกับกรดซอร์บิกที่ก็กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมเท่ากัน•ถ้ายึดตามเกณฑ์นี้ ก็เท่ากับว่า ไส้สังขยาสำเร็จรูป 4 ตัวอย่าง และไส้เผือกสำเร็จรูป 4 ตัวอย่างที่ฉลาดซื้อสุ่มทดสอบครั้งนี้ พบปริมาณสารกันเสีย กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ทุกตัวอย่าง แต่ทุกตัวอย่างก็พบปริมาณที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมี 1 ตัวอย่างคือ ยี่ห้อยูยี ไส้เผือกสำเร็จรูป ที่พบการปริมาณ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก น้อยมาก คือพบกรดเบนโซอิกแค่ 1.68 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม และไม่พบกรดซอร์บิกเลย 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า1000 Point