ฉบับที่ 269 สำรวจฉลากอาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิด ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บและเส้นหมี่

        อาหารที่เรียกว่า กึ่งสำเร็จรูป คนไทยส่วนใหญ่จะรู้จัก “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” มากที่สุด เพราะคุ้นชินและมีความนิยมมากเมื่อมองจากมูลค่าการตลาดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งสูงถึงสองหมื่นล้านบาทในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม “อาหารกึ่งสำเร็จรูป” ไม่ได้มีเพียงแค่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเท่านั้นยังมีชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น โจ๊ก ข้าวต้มหรือซุป กึ่งสำเร็จรูป ที่วางจำหน่ายทั่วไป         ทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และ โจ๊ก ข้าวต้ม กึ่งสำเร็จรูป นั้น “ฉลาดซื้อ” เคยสำรวจฉลากอยู่บ่อยครั้งเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาเลือกซื้อให้กับผู้อ่าน แต่สำหรับคราวนี้เราเลือกหยิบ “อาหารกึ่งสำเร็จรูป” อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อนด้วยเทคโนโลยีการผลิตและความนิยมอาจจะทำให้มีผู้ผลิตไม่มากนัก ยากจะฝ่ากระแสของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ แต่ด้วยยุคสมัยที่ก้าวหน้าทั้งการผลิตและช่องทางการจำหน่าย ปัจจุบันเราจะพบ “อาหารกึ่งสำเร็จรูป” ชนิด ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เส้นหมี่ (หมี่โคราช) วางจำหน่ายในตลาดมากขึ้น โดยบางยี่ห้อก็สามารถทำยอดขายจากผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูปได้ถึงปีละ 100 ล้านซอง เรียกว่ากำลังเป็นตลาดที่น่าจับตา         นิตยสารฉลาดซื้อ ร่วมกับโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. จึงได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปประเภท ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เส้นหมี่ (ผัดโคราช) และยำขนมจีน  จำนวนรวมทั้งสิ้น 19 ยี่ห้อ จากร้านค้าทั่วไป ร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ตลอดจนแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อนำมาสำรวจฉลากของผลิตภัณฑ์ทั้งในเรื่อง การแสดงฉลากทั่วไป การแสดงคุณค่าทางด้านโภชนาการและราคา เพื่อให้เป็นชุดข้อมูลสำหรับผู้บริโภคไว้เปรียบเทียบและพิจารณาเลือกซื้อได้อย่างถูกต้อง ตรงใจ     สรุปผลการสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เส้นหมี่และยำขนมจีน        1.     ทุกตัวอย่างทั้ง 19 ยี่ห้อ  มีเลขสารบบอาหาร (อย.)         2.     การแสดงฉลากโภชนาการ                 - ก๋วยจั๊บสำเร็จรูป แสดงฉลากโภชนาการ 5 ตัวอย่าง ไม่มีการแสดงฉลากโภชนาการ 2 ตัวอย่าง                - หมี่โคราช แสดงฉลากโภชนาการ 4 ตัวอย่าง ไม่มีการแสดงฉลากโภชนาการ 4 ตัวอย่าง                 - ยำขนมจีน แสดงฉลากโภชนการ 1 ตัวอย่าง ไม่มีการแสดงฉลากโภชนการ 1 ตัวอย่าง                 -  ก๋วยเตี๋ยวเรือ แสดงฉลากโภชนาการ  ตัวอย่าง         3.     ปริมาณโซเดียมพบว่า อาหารกึ่งสำเร็จรูปมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง                 - ก๋วยจั๊บในขนาดซองเล็กที่ปริมาณ 50-75 กรัม จะมีโซเดียมระหว่าง 1280 – 1730 มก.                - ผัดหมี่โคราชในหนึ่งหน่วยบริโภคที่ปริมาณ 100 กรัม จะมีโซเดียมระหว่าง 720 – 1330 มก.                - ยำขนมจีนในหนึ่งหน่วยบริโภคที่ปริมาณ 120 กรัม จะมีโซเดียม 1990 มก.                - ก๋วยเตี๋ยวเรือ ในหนึ่งหน่วยบริโภคที่ปริมาณ   กรัม จะมีโซเดียม    มก.        4.     มีเพียง ห้าดาว หมี่โคราชพร้อมน้ำผัดสำเร็จรูป สูตรต้นตำรับโคราช ระบุไม่เจือสีและวัตถุกันเสีย         5.     ราคาสินค้าอยู่ระหว่าง    บาท    ฉลาดซื้อแนะ        1.อาหารกึ่งสำเร็จรูปมีข้อดีที่เก็บรักษาได้นาน ราคาย่อมเยาและรสชาติที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตามจัดว่าเป็นอาหารที่มีปริมาณสารอาหารไม่มาก ปริมาณโปรตีนต่ำและมีโซเดียมสูงซึ่งเกิดจากการปรุงรสให้กลมกล่อม ดังนั้นไม่ควรรับประทานบ่อย และในการปรุงควรเพิ่มปริมาณเนื้อสัตว์ ผัก เพื่อเพิ่มคุณค่าของสารอาหาร         2.ผัดหมี่ มักจะมาในบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ ซึ่งในการทำหนึ่งครั้งอาจแบ่งกินได้ 3 – 4 คน หรือ 3 – 4 ครั้ง ดังนั้นควรเลี่ยงไม่รับประทานหมดห่อในครั้งเดียว ด้วยเสี่ยงต่อปริมาณโซเดียมที่สูงเกินไป         3.เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มี เลขสารบบอาหาร วันเดือนปี ผลิต/หมดอายุที่ชัดเจน และมีสถานที่ติดต่อหรือแหล่งผลิตแน่นอน        4.หากเปิดซองแล้วพบสภาพสินค้า ไม่สมบูรณ์ มีกลิ่นหืน ไม่ควรรับประทาน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 266 ความเคลื่อนไหวเดือนเมษายน 2566

พบจุลินทรีย์เกินมาตรฐาน ใน “ก๋วยเตี๋ยวเรือสำเร็จรูป”        สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดผลทดสอบก๋วยเตี๋ยวเรือสำเร็จรูปร่วมกับทางสาธารณสุข จ.นนทบุรี พบตัวอย่างอาหารบรรจุถุงพลาสติกสีแดงฉลากระบุว่า “เลอรส” เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ก๋วยเตี๋ยวเรือเส้นเล็ก โดยเลขสารบบอาหาร 12-2-01765-6-0002 วันผลิต 01/02/23 และวันหมดอายุ 01/05/23 พบจุลินทรีย์เกิดโรค Bacillus cereus  6,600 CFU/กรัม ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 416) พ.ศ. 2563 พ.ร.บ. พ.ศ.2522 ได้กำหนดให้ Bacillus cereus ในเครื่องปรุง ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ บะหมี่ เส้นหมี่ และวุ้นเส้น ได้ไม่เกิน 1,000 CFU/กรัม ถือว่าเป็นอาหารผิดมาตรฐาน ต่อมาทางบริษัทก๋วยเตี๋ยวเรือเลอรสได้ออกมาชี้แจงผ่านทางเฟซบุ๊กว่า “ก๋วยเตี๋ยวเรือกึ่งสำเร็จรูป เส้นเล็ก”ดังกล่าวได้มีการให้ทาง อย. อายัดล็อตดังกล่าวแล้วและไม่นำออกมาจำหน่ายอีก หิ้วผลไม้เข้าไทย มีโทษปรับ 2 หมื่น-คุก 1 ปี        กรมวิชาการเกษตร แจ้งถึงการนำเข้าผลไม้สดเข้ามายังประเทศไทย ระบุหากไม่สำแดงใบรับรองสุขอนามัยพืชผ่านเข้ามายังประเทศไทยในทุกช่องทางจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ.2507 (และแก้ไขเพิ่มเติมมีโทษทั้งจำและปรับ)         อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวว่า ขอแจ้งเตือนถึงนักท่องเที่ยวที่เดินทางกลับเข้าประเทศให้ระวังการกระทำดังกล่าว ซึ่งอาจจะไม่ได้มีเจตนากระทำผิดเพราะหากมีการตรวจพบจะถูกดำเนินการตามกฎหมายมีโทษทั้งจำและปรับและสินค้าจะทำการยึดเพื่อไปทำลายตามกฎหมายกักพืช ที่ผ่านมาพบว่า นักท่องเที่ยวมักจะซื้อตามคำแนะนำของไกด์นำเที่ยว จึงฝากให้ประชาชนระมัดระวังเพื่อไม่ต้องเสียเงินกับสินค้ากลุ่มนี้และฝ่าฝืนจะมีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 21 จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เตือนซื้อตั๋วรถไฟนอกระบบ เสี่ยงถูกโกง         นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้แจ้งเตือนให้ประชาชนระมัดระวังกลุ่มมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบต่างๆ โดยมีการนำตั๋วรถไฟปลอมมาจำหน่ายหรือมีการเปิดรับจองตั๋ว การให้โค้ดจองหรือการซื้อขายตั๋วโดยสารนอกระบบ ซึ่งจะทำให้เสียทั้งทรัพย์และเวลา โดยไม่สามารถเดินทางได้จริง ที่ผ่านม พบว่ามีประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อแล้ว เมื่อตรวจสอบเบื้องต้นผู้โดยสารได้ซื้อตั๋วมาทางเฟซบุ๊ก  ดังนั้นการรถไฟฯ จึงขอเตือนให้ทุกคนระวังการซื้อตั๋วจากคนภายนอกหรือสื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่ใช่ของการรถไฟฯ โดยตรง เพราะอาจเป็นตั๋วที่ปลอมแปลงขึ้นมา และระวังอย่าหลงเชื่อบุคคลที่แอบอ้างเป็นพนักงานการรถไฟฯ และนำตั๋วไปขายต่อเพราะถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย เปิดสถิติอุบัติเหตุบนถนนคร่าชีวิต "ผู้สูงวัย"         เปิดสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนไตรมาสแรกไทย พบ กทม.เกิดเหตุสูงที่สุด ช่วงเวลาก่อน 6 โมงเช้า เหตุคนต้องรีบออกจากบ้านเดินทางไปทำงาน ขณะที่ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ผู้สูงอายุเสียชีวิตจากท้องถนนเกือบหมื่น บาดเจ็บร่วม 2 แสน         ไทยพีบีเอสออนไลน์เปิดสถิติจาก ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนระบุว่า ในรอบ 5 ปี (พ.ศ.2560-2564 ) ที่ผ่านมา มีผู้ประสบภัยในช่วงอายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 9.43 จากจำนวนประชากรทั้งหมดที่เสียชีวิต 44,810 คนและบาดเจ็บ 1,945,345 คน เมื่อพิจารณาเฉพาะสัดส่วนผู้ประสบภัยที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป พบว่าในช่วง 5 ปี เสียชีวิต 7,526 คน บาดเจ็บ 179,978 คน ส่วนใหญ่เป็นคนขับยานพาหนะนั้นๆ สูงถึงร้อยละ 7.71 รองลงมาคือผู้โดยสารร้อยละ 1.22 และบุคคลอื่นๆ ร้อยละ 0.5         ข้อมูลจากกลุ่มพัฒนานโยบายและสารสนเทศการบาดเจ็บจราจร กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค เรื่อง "คนเดินเท้าเสียชีวิตในประเทศไทย" ช่วง 1 ม.ค. - 2 เม.ย. 2566 พบผู้เสียชีวิตสูงถึง 60 คน พาหนะที่ชนมากที่สุดคือรถยนต์และรถกระบะ โดยช่วงเวลาเกิดเหตุมากที่สุดคือ 03.00-05.59 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่คนพลุกพล่านทั้งเพื่อให้ทันเวลาเข้างานในช่วงเช้า รวมถึงเป็นช่วงเวลาที่คนเดินเท้าเดินทางไปขึ้นรถเมล์หรือรถสาธารณะหรือออกไปซื้อของที่ตลาดหรือไปออกกำลังกายในตอนเช้า ทำให้ผู้เดินเท้าอาจขาดการประเมินความเสี่ยงและคาดการณ์อุบัติเหตุ ไม่ระมัดระวังในการเดินข้ามถนนหรือเดินในบริเวณที่ไม่ได้จัดให้คนเดินเท้าใช้ในการสัญจร ไม่ว่าจะเป็นทางแยก ทางข้าม หรือทางม้าลาย จึงทำให้ถูกพาหนะที่วิ่งบนถนนชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกระตุ้นรัฐให้ความสำคัญการโดยสารรถสาธารณะปลอดภัย         11 เมษายน พ.ศ.2566  นางนฤมล เมฆบริสุทธ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์ กล่าวว่า จากประเด็นข่าวเผยแพร่ถึงเหตุการณ์ที่เจ้าของบริษัททัวร์บังคับให้คนขับรถ ขับรถไป-กลับ ระหว่าง ชัยภูมิ-กรุงเทพฯ เป็นจำนวน 3 รอบติดกันโดยไม่ได้พักนั้น น่ากังวลว่า ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์นี้ ที่จะมีผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะเดินทางกลับต่างจังหวัดจำนวนมากอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุบนถนนจนเกิดอันตรายทั้งผู้โดยสารและรถที่อยู่บนท้องถนน ซึ่งเป็นปัญหาที่ร้ายแรงเพราะสร้างผลกระทบไม่ใช่แค่ผู้ประสบเหตุแต่กระทบไปถึงครอบครัวที่ต้องสูญเสียบุคคลสำคัญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรต้องมีมาตรการการลงโทษกับผู้ประกอบการเพื่อมิให้เกิดการกระทำผิดซ้ำ เนื่องจากในช่วงเทศกาลหรือวันหยุดยาวทั้งในช่วงสงกรานต์ และรวมไปถึงช่วงเดือนพฤษภาคม อาจจะมีการฉวยโอกาสกระทำแบบเดิมเพราะเป็นช่วงที่ผู้บริโภคมีความต้องการใช้บริการรถโดยสารในการเดินทาง รวมถึงกรณี รถผี รถเถื่อน หรือรถที่ไม่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการขนส่งแต่ผู้ประกอบการนำมาใช้ในการให้บริการกับผู้บริโภค         มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงขอให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและจริงจัง ในการตรวจจับรถที่ผิดกฎหมายเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาและเสนอให้ผู้ประกอบการรถโดยสาร เพิ่มจำนวนรถและกำลังคนขับเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 98 กระแสในประเทศ

กระแสในประเทศประมวลเหตุการณ์เดือนมีนาคม 255217 มีนาคม 52ก่อนกิน สังเกตป้าย “ก๋วยเตี๋ยวอนามัย” ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ โดยนายสมโภช ศรีอัสดร นักวิชาการสาธารณสุข กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ร่วมกันจัดโครงการ “ก๋วยเตี๋ยวอนามัย” เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวใส่ใจเรื่องสุขลักษณะของอาหารที่ปลอดภัยและไร้สารพิษและกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการควบคุมดูแลร้านก๋วยเตี๋ยวให้ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น   จากผลสำรวจของกรมอนามัยพบว่า มีร้านก๋วยเตี๋ยวทั่วประเทศทั้งในแบบร้านค้า แผงลอย รถเข็น จนถึงที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า จำนวนรวมกันมากถึงกว่า 75,500 ร้าน เฉลี่ยมีคนไทยบริโภคก๋วยเตี๋ยวถึง 4 ล้านคนต่อวัน แต่ปัญหาคือ ร้านก๋วยเตี๋ยวส่วนใหญ่มีการใช้สารกันเสียชนิด “เบนโซอิก” ในเส้นเกินมาตรฐานถึงร้อยละ 22 ส่วนผักที่ใช้เป็นส่วนประกอบ ก็มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนร้อยละ 4–11 ในส่วนเครื่องปรุงก็พบว่ามีการใช้น้ำส้มสายชูที่ไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 26 รวมทั้งยังพบสารพิษอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงและพริกป่นร้อยละ 19 ซึ่งหากสะสมพิษดังกล่าวไว้ในร่างกายเป็นจำนวนมาก อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งตับได้ โครงการก๋วยเตี๋ยวปลอดภัยนี้ กรมอนามัยจะเฝ้าติดตามพัฒนาและประเมินผลร้านก๋วยเตี๋ยวที่ร่วมโครงการ ซึ่งหากร้านก๋วยเตี๋ยวใดผ่านการประเมินความปลอดภัยจะได้รับป้ายก๋วยเตี๋ยวอนามัย เพื่อการันตีเรื่องความสะอาดปลอดภัยให้กับผู้บริโภค 20 มีนาคม 2552ยอดผ่าตัดไส้ติ่งรพ.ชุมชนลดฮวบ เหตุแพทย์กลัวถูกฟ้องผลสำรวจโรงพยาบาลชุมชนเผยว่า แพทย์กว่าร้อยละ 50 ไม่กล้าผ่าตัดผู้ป่วย เพราะกลัวถูกฟ้อง ขณะที่ยอดผ่าตัดไส้ติ่งในโรงพยาบาลชุมชนในรอบ 4 ปีลดลงถึงร้อยละ 25 โดย นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวจากการสำรวจโรงพยาบาลชุมชนจำนวน 187 แห่ง ซึ่งสาเหตุของการลดลงของตัวเลขการผ่าตัดพบว่า โรงพยาบาลชุมชนกว่าครึ่งหรือ 94 แห่งระบุว่า กลัวการฟ้องร้องแล้วแพทย์ถูกดำเนินคดี ส่วนโรงพยาบาลชุมชน 87 แห่งหรือร้อยละ 46 ระบุว่าระยะทางระหว่างโรงพยาบาลชุมชนใกล้กับโรงพยาบาลใหญ่ จึงเลือกที่จะส่งต่อในกรณีที่อาจจะเกิดความเสี่ยงสูง ขณะที่อีก 80 แห่งหรือร้อยละ 42.8 ระบุว่าไม่มีวิสัญญี แพทย์ และเครื่องมือไม่พร้อม ส่วนความเห็นที่ว่าหากมี พ.ร.บ.ชดเชยความเสียหายจากบริการทางการแพทย์จะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้มากน้อยเพียงใดร้อยละ 55 ตอบว่า ช่วยได้บ้างดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ขณะที่ร้อยละ 15.5 บอกว่าไม่ช่วยเท่าใดนัก ซึ่งพ.ร.บ.นี้ยังอยู่ในขั้นตอนที่รัฐบาลต้องพิจารณาและผลักดันให้เกิดขึ้นต่อไป 21 มีนาคม 52คนเป็นภูมิแพ้ระวัง อาจตายเพราะแมลงทอดนพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยตัวเลขของผู้ป่วยจากการรับประทานแมลงทอดที่เข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 24 ธ.ค. 2550 – 7 ม.ค. 2551 พบว่ามีจำนวนถึง 118 คน จาก 7 จังหวัด คือ สิงห์บุรี นครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา สุราษฏร์ธานี ชัยนาท และนครราชสีมา ซึ่งอาการที่พบในผู้ป่วยส่วนใหญ่มีทั้ง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะรุนแรง พูดไม่ได้ ตัวสั่น เหงื่อออก ใจสั่น บางรายมีอาการชาตามร่างกาย ซึ่งจากการตรวจในห้องปฏิบัติการ ไม่พบสารพิษปนเปื้อนอย่างยากำจัดศัตรูพืชหรือสารอันตรายใดๆ ในตัวอย่างของแมลงทั้งที่ทอดและยังไม่ได้ทอด ใบเตย น้ำมันที่ใช้ทอดแมลง และอาเจียนของผู้ป่วย แต่ตรวจพบสารฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ตกค้างอยู่ โดยพบมากที่สุดในดักแด้หนอนไหมทอด ที่เก็บตัวอย่างจาก จ.สุราษฏร์ธานี ตรวจพบสารฮีสตามีน 875 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในขณะที่ปริมาณฮีสตามีนในอาหารของไทยกำหนดไว้ให้มีได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โฆษกกระทรวงสาธารณสุขกล่าวเสริมว่า อาการหลังได้รับสารฮีสตามีนจะรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณที่รับประทานเข้าไป แต่ในกลุ่มที่มีประวัติภูมิแพ้หรือหอบหืด จะตอบสนองได้เร็วกว่ากลุ่มบุคคลอื่น ซึ่งอาจเกิดอาการแพ้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จากการตรวจสอบแหล่งที่มาของแมลงทอดที่มีรายงานผู้ป่วยจาก 7 จังหวัด พบรับดักแด้หนอนไหมมาจากแหล่งเดียวกันคือ ตลาดโรงเกลือ จ.สระแก้ว คาดว่ากระบวนการเก็บรักษาไม่ดีพอกว่าจะถึงมือแม่ค้ารายย่อย ทำให้เกิดการสะสมของสารฮิสตามีนที่ก่อภาวะเจ็บป่วยให้กับผู้บริโภค พบสารก่อมะเร็งในแก๊สโซฮอล์นางเดซี่ หมอกน้อย นักวิจัยด้านอากาศจากศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่องปริมาณการแพร่กระจายของสารประกอบคาร์บอนิลในอากาศในเขตกรุงเทพฯ ระหว่างปี 2549 – 2551 หลังจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เนื่องจากมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินและดีเซล ว่าจากผลการวิจัยพบ อากาศในกรุงเทพฯ มีปริมาณสารพิษกลุ่มคาร์บอนิลซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเพิ่มขึ้น การวิจัยครั้งนี้เก็บตัวอย่างสารกลุ่มคาร์บอนิลในอากาศครอบคลุมพื้นที่ริมถนน 49 จุดในเขตกรุงเทพฯ ที่มีการจราจรหนาแน่น ซึ่งตรวจพบค่าความเข้มข้นของสารกลุ่มคาร์บอนิล 10 ชนิด โดยเฉพาะในถนนที่มีการจราจรหนาแน่นอย่าง ริมถนนอนุสาวรีย์ชัย พระราม 5 รัชดาภิเษก สุขุมวิท และดอนเมือง มีค่าความเข้มข้นของสารฟอร์มัลดีไฮด์ 10.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูงเกินเกณฑ์ระดับความเสี่ยงของอเมริกาถึง 5 เท่า ส่วนสารที่พบอีกตัวคืออะเซทัลดีไฮด์มีปริมาณความเข้มข้นอยู่ในช่วง 3.31 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งในอเมริกากำหนดมาตรฐานไว้ที่ 2.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้แก๊สโซฮอล์มีสารพิษดังกล่าวเกิดจากกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ออกมาแล้วเจอกับแสงในบรรยากาศจะส่งผลให้มลพิษตัวอื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งสารฟอร์มัลดีไฮด์และอะเซทัลดีไฮด์ยังไม่มีการกำหนดมาตราฐานในเมืองไทย อย่างไรก็ตามหลังจากข่าวนี้เผยแพร่ออกไป ทางด้านผู้เกี่ยวข้องอย่างนายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ได้ออกมาชี้แจงข้อมูลว่า “ยอมรับว่าแก๊สโซฮอล์ มีผลเกี่ยวเนื่องกับการเกิดสารประกอบคาร์บอนิล หากกระบวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์จะทำให้เกิดไอเสียที่มีสารดังกล่าวปะปนกับไอเสีย อาจมากหรือน้อยแล้วแต่สภาพของเครื่องยนต์ ทั้งนี้หากรถยนต์เก่าดูแลไม่ดีมีโอกาสเกิดไอเสียที่มีสารพิษปะปนมาก และไม่ว่ารถชนิดนั้นจะใช้น้ำมันชนิดใดก็ตามจะมีไอเสียที่เป็นสารพิษออกมา เช่น จากน้ำมันดีเซลมีสารกำมะถันมาก น้ำมันเบนซินมีสารอะโรมาติกส์ และสารเบนซีน ที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง เป็นอันตรายมากกว่าสารกลุ่มคาร์บอนิล หากดูในภาพรวมแล้วแก๊สโซฮอล์จะเกิดมลพิษน้อยกว่าน้ำมันเบนซิน” ไม่อยากให้ผู้ที่ได้รับข่าวสารกลัวว่าใช้แก๊สโซฮอล์แล้วจะเป็นมะเร็ง ในตัวของน้ำมันเองไม่มีสารที่ก่อมะเร็ง แต่หากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จะเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งผู้ที่ใช้รถควรหมั่นนำรถตรวจสภาพ และจูนอัพเครื่องยนต์เสมอ เพราะรถยนต์เมื่อใช้ไประยะเวลาหนึ่งชิ้นส่วนจะผิดเพี้ยนไปจากเดิม แต่นิสัยคนไทยไม่เสียไม่ซ่อมจึงทำให้มลพิษเพิ่มขึ้น และไปโทษว่าแก๊สโซฮอล์ผิดอีกแล้วเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง” อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน อย่าโยนภาระค่าไฟให้ประชาชนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคคัดค้าน กกพ. ขึ้นค่าผ่านท่อ หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มีมติอนุมัติปรับขึ้นอัตราค่าผ่านท่อก๊าซให้กับ ปตท.จากเดิมที่จัดเก็บในอัตรา 19.74 บาทต่อล้านบีทียู เป็น 21.76 บาทต่อล้านบีทียู หรือเพิ่มขึ้น 2.02 บาท ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2552 นั้น ด้านเครือข่ายผู้บริโภคที่มองเห็นถึงความไม่โปร่งใสและไม่เหมาะสมในเรื่องผลประโยชน์ที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะได้รับ พร้อมๆ กับที่จะผลักภาระมาให้ประชาชน จึงรวมพลังกันออกมาคัดค้านทันที นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงเรื่องอัตราค่าผ่านท่อก๊าซนี้ว่า ความจริงราคาที่ใช้อยู่ก่อนหน้านี้ก็ถือว่าไม่ถูกต้องอยู่แล้ว เพราะคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้กำหนดให้ค่าผ่านท่อเป็นค่าคงที่ตลอดอายุโครงการ ทำให้ในแต่ละปี ปตท. ได้กำไรส่วนเกินไปปีละกว่า 2,500 ล้านบาท และที่ผ่านมาได้มีการประมาณการตัวเลขการใช้ก๊าซที่น้อยกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้การกำหนดราคาค่าผ่านท่อสูงเกินจริง ซึ่งหากจะมีปรับราคาจริงควรเป็นการปรับลดมากกว่า ทั้งนี้ด้วยเหตุผลหลักสองข้อคือ ปตท.คิดอัตราผลตอบแทนการลงทุน (Return of Equality : ROE)สูงกว่าค่ามาตรฐาน คือคิดถึงร้อยละ 18 ทั้งที่ควรจะคิดเพียงเป็นร้อยละ 14 เท่านั้น และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว 40 ปีไว้ในอัตราคงที่สูงถึงร้อยละ 10.5 ทั้งที่ความเป็นจริงอัตราดอกเบี้ยมีการปรับลดตลอดเวลา การคิดค่าผ่านท่ออยู่บนฐานอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินจริงขนาดนี้ ทำให้ปตท.ได้ผลประโยชน์ไปมาก เลขาธิการ มพบ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ได้มีการคำนวณกันไว้ว่า หากมีการปรับลดค่า ROE เป็นร้อยละ 14 และอัตราดอกเบี้ยที่ควรจะเป็นคือร้อยละ 5.75 มูลค่าก๊าซจะลดลงมากถึง 3,800 ล้านบาท และค่าบริการต้นทุนคงที่ (Demand Charge) ซึ่งเป็นสัดส่วนส่วนใหญ่ของราคาค่าส่งท่อก๊าซจะสามารถลดลงจากเดิม 19.40 บาทเป็น 13.13 บาทต่อล้านบีทียูเท่านั้น นอกจากนี้ ปตท.ยังมีความผิดเรื่อง ไม่คืนทรัพย์สินที่ใช้อำนาจมหาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นท่อส่งก๊าซธรรมชาติและนับเป็นการนำทรัพย์สินประชาชนมาหากำไรกับประชาชน เรื่องนี้ถือเป็นการเอาเปรียบประชาชนที่สุดถือเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ หากการปรับเพิ่มอัตราค่าผ่านท่อก๊าซมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน คือค่าเอฟที (Ft) จะเพิ่มขึ้นทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น ซึ่งทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภคจะเข้ายื่นเรื่องฟ้องต่อศาลปกครองและจะขอให้มีการคุ้มครองให้มีการระงับการอนุมัติปรับขึ้นอัตราค่าผ่านท่อก๊าซดังกล่าวของ กกพ.เพราะถือเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เอาเปรียบประชาชนผู้บริโภคและจะดำเนินการเรื่องนี้ให้ถึงที่สุดต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >