ฉบับที่ 223 ว่าด้วยเรื่อง การบริจาค

ข่าวคราว การระดมเงินบริจาคให้กับพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ น้ำท่วม ให้กับดารานักแสดง ที่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนมากกว่าการทำงานภาครัฐ ซึ่งทำให้สามารถระดมเงินช่วยเหลือ หลายร้อยล้านบาทภายในเวลาอันรวดเร็ว จนอาจจะทำให้การบริหารจัดการเงินบริจาค เป็นปัญหาตามมาหลังจากน้ำลดแล้วนั้น ก็เป็นสิ่งที่ทุกพลังทางสังคมต้องช่วยกัน ด้วยการบริจาคเงินและสิ่งของไปยังผู้ที่ประสบทุกข์ได้ยาก เป็นสิ่งที่เราพึงกระทำตามกำลัง อย่างไรก็ตาม เรามักพบการขอรับบริจาค การเรี่ยไรเงิน ทั้งจากองค์กรสาธารณกุศล และองค์กรที่มีความน่าสงสัยอยู่ ตลอดจนมิจฉาชีพที่อาจแฝงตัวมา โดยใช้ความน่าสงสารเป็นเครื่องมือในการประกอบการที่ไม่สุจริต         วันนี้ขออนุญาตเล่าเรื่องการบริจาคและการจัดการเงินบริจาคของ องค์กรร่มแห่งการบริจาคของเยอรมนี ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ ความน่าเชื่อถือขององค์กรที่ขอรับบริจาคความช่วยเหลือ เนื่องจากในแวดวงเงินบริจาคที่ประชาชนชาวเยอรมัน บริจาคให้กับองค์กรสาธารณกุศลนั้น ในแต่ละปี อยู่ระหว่าง 2,000 – 5,000 ล้านยูโร มีองค์กรที่ขึ้นทะเบียนและขอรับบริจาคเงินจากประชาชนได้ ประมาณ 17,400 องค์กร เงินที่ได้รับจากการบริจาคส่วนมากจะถูกนำไปใช้ช่วยเหลือในเรื่อง ผู้ประสบภัยพิบัติและเด็ก ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผ่านทางองค์กรศาสนา         สำหรับองค์กรร่ม ที่ทำหน้าที่ในการดูแล เรื่องการบริจาคเงินขององค์กรที่ขึ้นทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย มีกฎหมายรองรับคือ Deutscher Spendenrat e.V.(German Donation Council) ก่อตั้งในปี 1993 จดทะเบียนในรูปแบบ สมาคม และมีสมาชิก ที่เป็นองค์กรสาธารณกุศลอื่นๆ ทำหน้าที่ในการช่วยให้การบริจาคเงินไปยังองค์กรต่างๆ ได้รับความน่าเชื่อถือจากสังคม ปัจจุบันมีองค์กรที่เป็นสมาชิกอยู่ 65 องค์กร รวมทั้งองค์กรกาชาดแห่งเยอรมนี ซึ่ง มีหลักการทำงานที่สำคัญดังนี้ คือ        ·  ความโปร่งใส (Transparency)         ·  ควบคุมคุณภาพ (Quality)         ·  มีการกำหนดมาตรฐานในการทำงาน (Standard)        ·  มีการเผยแพร่ข้อมูลให้กับสังคม ในรูปแบบของรายงานประจำปี เพื่อทบทวนผลงานที่ผ่านมา และมองถึงแนวโน้มในอนาคต (Information for the public)        ·  สนับสนุนให้สังคมเป็นสังคมแห่งการให้ (Donation readiness)        ·  อยู่ในกรอบของกฎหมาย (Legal Framework) เพื่อให้มีกฎ กติกาที่ยืดหยุ่น ผ่อนคลาย กฎระเบียบที่สร้างความยุ่งยากในการทำงาน โดยให้ประชาสังคม สามารถใช้ช่องทางการ ลดหย่อนภาษี ให้กับทั้งผู้บริจาค และอาสาสมัครที่อาสาเข้ามาช่วยงานในรูปของอาสากิตติมศักดิ์(Ehrenamtlich Taetigkeit)         สำหรับการจัดการเรื่องการบริจาค อาจจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการที่มีลักษณะคล้ายๆ กันนี้ เพื่อให้พลังทางสังคมได้แสดงบทบาทในการจรรโลงสังคมที่อยู่ร่วมกัน โดยมีช่องทางให้อาสาสมัครและผู้ใจบุญ มีพื้นที่ในการทำงานสาธารณกุศลและป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพใช้การบริจาคในการหลอกลวงประชาชน แหล่งข้อมูล https://www.spendenrat.de

อ่านเพิ่มเติม >