ฉบับที่ 265 กระแสต่างแดน

ถูกใจสิ่งนี้        ชาวเน็ตจีนแห่สรรเสริญมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหูหนาน ที่ใช้วิธีการอันแยบยลในการช่วยเหลือนักศึกษาที่มีปัญหาทางการเงิน         จากการวิเคราะห์ข้อมูล “บิ้กดาต้า” เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินซื้ออาหารกลางวันของนักศึกษา 40,000 กว่าคน มหาวิทยาลัยพบว่ามีอย่างน้อย 2,000 คน ที่กินข้าวในโรงอาหารวันละ 3 มื้อ โดยใช้เงินไปไม่ถึง 11 หยวน (ประมาณ 55 บาท)         มหาวิทยาลัยจะพิจารณาว่านักศึกษาคนใดในกลุ่มนี้สมควรได้รับความช่วยเหลือ แล้วก็จะโอนมูลค่าเครดิต 200 หยวนเข้าไปใน “บัตรอาหาร” โดยอัตโนมัติ โดยจะโอนให้ปีละ 4 ครั้ง ในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กันยายน และ พฤศจิกายน         ผู้บริหารบอกว่าเด็กที่ฐานะทางบ้านยากจนส่วนใหญ่จะไม่กล้าติดต่อขอความช่วยเหลือ จึงเลือกใช้วิธีนี้เพราะสามารถช่วยให้เด็กเหล่านั้นได้กินอาหารอิ่ม โดยไม่ต้องรู้สึกด้อยกว่าคนอื่นฉลากไม่เป็นมิตร         องค์กรผู้บริโภคยุโรป (BEUC) เรียกร้องให้แบนคำว่า “carbon neutral” “CO2 neutral” หรือ “climate positive” บนฉลากสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มในสหภาพยุโรป        การสำรวจพบว่าข้อความคลุมเครือเหล่านี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในสินค้าที่ขายอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตของกลุ่มประเทศสมาชิก         นอกจากฉลากหรือสัญลักษณ์ที่อ้างความ “เป็นมิตรต่อโลก” ในยุโรปที่มีมากถึง 230 แบบ จะสร้างความสับสนให้ผู้บริโภคแล้ว ยังทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่ากระบวนการผลิตสินค้าเหล่านั้นไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนในกระบวนการผลิต ทั้งที่จริงๆ แล้วบริษัทเพียงใช้วิธีปลูกป่าเพื่อนำมาหักล้าง โดยยังคงสร้างคาร์บอนต่อไป และไม่มีหลักประกันว่าจะไม่สร้างเพิ่มขึ้นในอนาคต เป็นต้น          ปัจจุบัน “ฉลากสิ่งแวดล้อม” ที่ใช้กันทั่วโลกมีถึง 450 แบบ จึงน่าจะมีผู้บริโภคอีกจำนวนมากที่เข้าใจผิดว่าตัวเองได้เลือกสินค้าที่ไม่ได้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย อุปสรรคสำคัญ         สหประชาชาติระบุ การเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมน้ำดื่มบรรจุขวดเป็นปัจจัยบั่นทอนความพยายามของรัฐในการจัดหาแหล่งน้ำดื่มสะอาดให้กับประชากรอย่างทั่วถึงรายงานล่าสุดจาก UN University ที่สำรวจอุตสาหกรรมน้ำดื่มบรรจุขวดใน 109 ประเทศ ยังพบความเหลื่อมล้ำอีกด้วย น้ำดื่มบรรจุขวดในซีกโลกเหนือจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่ผู้คนซื้อดื่มเพราะต้องการน้ำที่รสชาติดีและดีต่อสุขภาพแต่ผู้คนในซีกโลกใต้ต้องพึ่งน้ำดื่มบรรจุขวดเพราะต้องการน้ำดื่มสะอาด และกำไรมหาศาลของบริษัทน้ำดื่มในเอเชียแปซิฟิกก็ตอกย้ำความเฉื่อยชาของภาครัฐในการลงทุนกับระบบน้ำดื่มสาธารณะ ที่น่าสนใจคือผู้คนยอมจ่ายเพื่อความปลอดภัย แต่แทบไม่มีการสุ่มตรวจคุณภาพโดยภาครัฐเลยธุรกิจที่ดึงน้ำมาใช้ด้วยต้นทุนต่ำและผลิตน้ำบรรจุขวดขายในราคาแพงกว่าน้ำประปาถึง 150 – 1,000 เท่านี้ยังเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายเรื่องความยั่งยืน เพราะนอกจากจะสร้างขยะพลาสติกแล้ว ยังทำให้บางพื้นที่ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ด้วยไต้หวันจะไม่ทน         ไต้หวันเตรียมเสนอร่างกฎหมายพื้นฐานว่าด้วยความปลอดภัยบนท้องถนนในเดือนเมษายนนี้จากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เครือข่ายถนนของไต้หวันถือเป็นปัญหาความมั่นคงระดับชาติ สถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรอยู่ที่ 12.67 คนต่อประชากร 100,000 คนการจราจรในไต้หวันได้รับการขนานนามจากสื่อว่าไม่ต่างอะไรกับสนามรบ และยังเป็นนรกสำหรับคนเดินถนนโดยแท้ ในปี 2565 มีผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร ไม่หยุดรถที่ทางม้าลายให้คนข้ามถึง 50,000 รายรายงานข่าวระบุว่าปัญหาหลักของถนนไต้หวันคือการออกแบบและการก่อสร้างที่ล้าสมัย บวกกับการกำกับดูแลที่ไม่ทั่วถึงเพราะมีหน่วยงานเกี่ยวข้องมากเกินไป ถนนในไต้หวันทำมาเพื่อรองรับรถยนต์ส่วนตัวเป็นหลัก (แนวคิดเดียวกับถนนอเมริกาในยุค 60) ขนส่งมวลชนและคนเดินถนนจึงถูกละเลยการเพิ่มจำนวนไฟจราจรและกล้องวงจรปิดพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าสิ่งที่ไต้หวันต้องเปลี่ยนจริงๆ คือการออกแบบถนน และการปรับทัศนคติของผู้ขับขี่รถยนต์ ต้องมากกว่าหนึ่ง        นายกรัฐมนตรีมาเลเซียประกาศว่ารัฐบาลจะทบทวนการให้สิทธิผูกขาดกับผู้ประกอบกิจการ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีและเป็นธรรมโดยแต่ละกระทรวงได้รับคำสั่งให้ไปศึกษาเหตุผลและความเป็นมาที่รัฐบาลเคยให้สิทธิดังกล่าวกับเอกชนรายใดรายหนึ่ง และทำการประเมินอย่างรอบคอบและเป็นธรรมว่าจะให้สิทธินั้นต่อหรือไม่ก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรีมีมติไม่ต่ออายุสัมปทานแบบผูกขาดให้กับบริษัท Puspakom ที่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการตรวจสภาพรถยนต์ตาม พรบ. ขนส่งทางบก ค.ศ. 1987 แต่เพียงผู้เดียวในมาเลเซียตั้งแต่ปี 1994 ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลและรถที่ใช้ในการประกอบธุรกิจหมายความว่าเมื่ออายุสัมปทานดังกล่าวหมดลงในวันที่ 31 สิงหาคม 2566 บริษัทอื่นที่ผ่านคุณสมบัติตามที่รัฐกำหนดก็สามารถประกอบกิจการดังกล่าวแข่งกับ Puspakom ที่ได้รับสัมปทานต่ออีก 15 ปีได้ เป็นที่ยินดีของผู้บริโภคที่จะไม่ต้องรอนาน และไม่ต้องทนกับภาวะไร้ทางเลือกอีกต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 220 โรงพยาบาลบริการไม่เป็นมิตร

        ทุกคนต่างทราบดีว่า การเข้าใช้บริการของโรงพยาบาลรัฐนั้น ความสะดวกสบายเป็นไปค่อนข้างยาก เนื่องจากความแออัดของผู้ป่วยที่รอเข้าใช้บริการในแต่ละวัน จากสถิติสาธารณสุขระบุว่า ในปี พ.ศ.2561 รพ. รัฐ มีจำนวนผู้ป่วยนอกสูงถึง 71.83 ล้านคน ตรวจรักษา 247.34 ล้านครั้ง เฉลี่ย 3.44 ครั้งต่อคน (ที่มา ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ด้วยเหตุนี้ความไม่พอใจต่องานบริการจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอด ซึ่งบางเรื่องก็สามารถจัดการแก้ไขให้ลุล่วงได้ ขอเพียงแต่ละฝ่ายได้สื่อสารกันด้วยเหตุผล         คุณเพียงใจเข้าใช้บริการทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง เมื่อกลับมารักษาตัวที่บ้านพบว่าเกิดอาการหน้าบวม ตาบวม คาดว่าน่าจะเกิดจากการแพ้ยาจึงหยุดยา แต่อาการยังไม่ดีขึ้นติดต่อกับทางฝ่ายเภสัชกรรมของโรงพยาบาลได้รับคำแนะนำให้มาที่แผนกฉุกเฉิน จึงขอให้ญาติช่วยพามาส่งที่โรงพยาบาล เวลาประมาณ 12.00 น. เมื่อพยาบาลห้องฉุกเฉินวัดความดันให้บอกว่า “ทำไมไม่ไปที่ตึก...” (ซึ่งเป็นตึกที่ตรวจรักษาทั่วไป) จากนั้นให้เจ้าหน้าที่เข็นรถพาไปส่งยังตึกดังกล่าว แต่เมื่อเข็นรถมาได้สักพัก เจ้าหน้าที่เข็นรถถามญาติผู้ป่วยว่า “รู้จักตึก...ใช่ไหม ไปถูกไหม” ญาติตอบไปว่า “รู้จัก” เจ้าหน้าที่ก็บอกว่า “ถ้างั้นเข็นไปเองนะ” แล้วเดินจากไปทันที         ญาติคุณเพียงใจจึงต้องช่วยเข็นรถพามาที่ตึกดังกล่าว คราวนี้เมื่อพยาบาลคัดกรองตรวจสอบประวัติคนไข้แล้วได้แจ้งว่า “รอ 4 โมงเย็นนะค่อยพากลับไปตรวจที่ตึกเดิม(ฉุกเฉิน)” คุณเพียงใจรู้สึกว่าตนเองได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดี คำแนะนำก็ทำให้เกิดความลำบากในการรักษา จึงโทรแจ้งประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลเพื่อขอคำแนะนำ ก็ได้รับแจ้งว่า “คุณไปหาข้าวกินก่อนแล้วค่อยมาตามนั้น เพราะที่ตึก...เตียงไม่ว่าง” คุณเพียงใจจึงอดตัดพ้อไม่ได้ว่า “ถ้าดิฉันตายไปหรือเป็นอะไรมา โรงพยาบาลรับผิดชอบแล้วกัน” ฝ่ายประชาสัมพันธ์ตอบกลับว่า “ตกลงร้องเรียนใช่ไหมคะ” คุณเพียงใจจึงแจ้งมาทางศูนย์พิทักษ์สิทธิว่า อยากให้ช่วยบอกทางโรงพยาบาลให้ปรับปรุงแก้ไขวิธีปฏิบัติงาน เพราะเห็นว่าไม่เป็นมิตรกับประชาชน แนวทางการแก้ไขปัญหา        ทางศูนย์ฯ ได้ขอข้อมูลจากคุณเพียงใจเพิ่มเติมเพื่อทำหนังสือถึงทางโรงพยาบาล ขอให้ตรวจสอบคุณภาพบริการและแก้ไขปัญหา ซึ่งต่อมาได้รับการแจ้งว่า “ขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางโรงพยาบาลได้รับทราบปัญหาแล้วและได้แก้ไขเรื่องดังกล่าว ทั้งเรื่องการสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรในเรื่องการเข็นรถและการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย ส่วนเรื่องความแออัดและความล่าช้าในการตรวจรักษา ทางโรงพยาบาลได้พิจารณาที่จะจัดตั้งคลินิกเสริมในช่วงบ่ายโดยเร็วที่สุด” ศูนย์ฯ ได้ส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวต่อผู้ร้อง คุณเพียงใจพอใจที่ทางโรงพยาบาลมีแนวทางแก้ไขปัญหาและเข้าใจเรื่องความแออัดของผู้ป่วย แต่ก็อยากที่จะเห็นบริการที่เป็นมิตรจากโรงพยาบาลเพียงเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 218 ฉลาดซื้อร่วมกับบ้านสมเด็จโพลล์ พบว่า 70.4 % อยากให้บริการขนส่งสินค้ามีความปลอดภัย

ฉลาดซื้อร่วมกับบ้านสมเด็จโพลล์พบว่า 70.4 % อยากให้บริการขนส่งสินค้ามีความปลอดภัย         นิตยสารฉลาดซื้อร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริการขนส่งสินค้า โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,183 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 3 - 6 มีนาคม 2562 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่าประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต้องการสะท้อนความคิดเห็นในเรื่องการบริการขนส่งสินค้า ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วจากผลของการซื้อสินค้าทางออนไลน์ที่มีการส่งสินค้าผ่านการบริการขนส่งสินค้า ในปัจจุบันมีการแข่งขันสูงในการให้บริการขนส่งสินค้า แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการขนส่งสินค้า ตั้งแต่การส่งสินค้าล่าช้า การสูญหายจากการส่งสินค้า สินค้าที่ส่งเกิดความเสียหาย กล่อง / บรรจุภัณฑ์ เสียหาย การส่งสินค้าโดยไม่มีการเซ็นรับสินค้า การนัดหมายในการส่งสินค้าไม่ตรงเวลา ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริการขนส่ง โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริการขนส่งสินค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีข้อมูลดังต่อไปนี้ส่วนที่ 1 การบริการขนส่งสินค้า1.   ท่านเคยใช้บริการขนส่งสินค้าหรือไม่            เคย                                                          ร้อยละ   97.3            ไม่เคย                                                      ร้อยละ   2.72.   ท่านเคยใช้บริการขนส่งสินค้าของผู้ให้บริการใดบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)            ไปรษณีย์ไทย                                         ร้อยละ   87.2            เคอรี่ เอ็กซ์เพรส                                      ร้อยละ   75.2            เอสซีจี เอ็กซ์เพรส                                   ร้อยละ   12.2            ดีเอชแอล                                               ร้อยละ   11.1            ลาล่ามูพ                                                 ร้อยละ   19.7            ไลน์แมน                                                 ร้อยละ   37.5            นิ่มเอ็กซ์เพรส                                          ร้อยละ   11.6            อื่นๆ                                                        ร้อยละ   2.1    3.   ท่านเคยพบปัญหาในการใช้บริการขนส่งสินค้าหรือไม่            เคย                                                        ร้อยละ   89.9            ไม่เคย                                                    ร้อยละ   10.14.   ท่านเคยพบปัญหาใดบ้างในการใช้บริการขนส่งสินค้า            การส่งสินค้าล่าช้า                                     ร้อยละ   31.8              การสูญหายจากการส่งสินค้า                      ร้อยละ   8.3                สินค้าที่ส่งเกิดความเสียหาย                      ร้อยละ   12.4              กล่อง / บรรจุภัณฑ์ เสียหาย                       ร้อยละ   19.9            การส่งสินค้าโดยไม่มีการเซ็นรับสินค้า         ร้อยละ   5.9                การนัดหมายในการส่งสินค้าไม่ตรงเวลา      ร้อยละ   13.2            อื่นๆ                                                        ร้อยละ   8.55.   ท่านเคยร้องเรียนปัญหาการใช้บริการขนส่งสินค้าต่อหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคหรือไม่            ใช่                                                             ร้อยละ   67.2            ไม่ใช่                                                         ร้อยละ   32.86.   หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ท่านเคยร้องเรียนปัญหาการใช้บริการขนส่งสินค้าได้แก่ (เลือกได้มากกว่าหนึ่งข้อ)            สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)           ร้อยละ   38.5            มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค                                                      ร้อยละ   35.1            หน่วยงานอื่น                                                              ร้อยละ   5.8            ไม่เคย                                                                        ร้อยละ   20.67.     ท่านมีการใช้บริการขนส่งผ่านช่องทางใดมากที่สุด            การไปใช้บริการยังที่ตั้งของบริษัท                             ร้อยละ   27.9            การใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์                           ร้อยละ   54.9            การใช้บริการผ่านทางโทรศัพท์                                 ร้อยละ   11.6            อื่นๆ                                                                       ร้อยละ   5.68.     ท่านเคยใช้บริการขนส่งสินค้าโดนสินค้าที่ส่งมีมูลค่าสูงสุดเท่าใด            น้อยกว่า 100 บาท                                                   ร้อยละ   6.5            101 – 500 บาท                                                      ร้อยละ   27.5            501 – 1,000 บาท                                                   ร้อยละ   37.9            1,000 – 5,000 บาท                                                ร้อยละ   21.4            5,001 – 10,000 บาท                                              ร้อยละ   6.5                มากกว่า10,000 บาท                                               ร้อยละ   0.29.   หากท่านพบปัญหาการใช้บริการขนส่งสินค้า ท่านติดต่อไปยังผู้ให้บริการและได้รับความสะดวกรวดเร็วหรือไม่            ใช่                                                                            ร้อยละ   56.8            ไม่ใช่                                                                        ร้อยละ   43.210.             ท่านคิดว่าการใช้บริการขนส่งสินค้ามีความปลอดภัย หรือไม่            มี                                                                              ร้อยละ   70.4            ไม่มี                                                                          ร้อยละ   29.611.           ท่านคิดว่าในปัจจุบันควรมีการบังคับใช้กฎหมายในการแสดงบัตรประชาชนในการใช้บริการขนส่งสินค้าหรือไม่            เคย                                                                       ร้อยละ   85.0            ไม่เคย                                                                   ร้อยละ   15.012.           ท่านอยากให้การให้บริการขนส่งสินค้าควรมีการปรับปรุงในด้านในมากที่สุด            ความรวดเร็ว                                                          ร้อยละ   29.2            ค่าบริการ                                                               ร้อยละ   26.6            ความปลอดภัย                                                       ร้อยละ   38.0            อื่นๆ                                                                      ร้อยละ   6.2 13.           ท่านมีความพึงพอใจในการใช้บริการขนส่งสินค้าของผู้ให้บริการใดมากที่สุด            ไปรษณีย์ไทย                                                        ร้อยละ   28.0            เคอรี่ เอ็กซ์เพรส                                                    ร้อยละ   52.4            เอสซีจี เอ็กซ์เพรส                                                 ร้อยละ   2.3            ดีเอชแอล                                                             ร้อยละ   1.5            ลาล่ามูพ                                                               ร้อยละ   5.4            ไลน์แมน                                                               ร้อยละ   7.9            นิ่มเอ็กซ์เพรส                                                        ร้อยละ   1.4            อื่นๆ                                                                      ร้อยละ   1.1    14.           ท่านมีความพึงพอใจกับความรวดเร็วในการใช้บริการขนส่งสินค้าของผู้ให้บริการใดมากที่สุด            ไปรษณีย์ไทย                                                       ร้อยละ   24.4            เคอรี่ เอ็กซ์เพรส                                                    ร้อยละ   49.6            เอสซีจี เอ็กซ์เพรส                                                 ร้อยละ   2.5            ดีเอชแอล                                                             ร้อยละ   1.2            ลาล่ามูพ                                                               ร้อยละ   7.1            ไลน์แมน                                                               ร้อยละ   12.1            นิ่มเอ็กซ์เพรส                                                        ร้อยละ   1.9            อื่นๆ                                                                      ร้อยละ   1.2    15.           ท่านมีความพึงพอใจกับค่าบริการในการใช้บริการขนส่งสินค้าของผู้ให้บริการใดมากที่สุด            ไปรษณีย์ไทย                                                        ร้อยละ   39.5            เคอรี่ เอ็กซ์เพรส                                                     ร้อยละ   38.2            เอสซีจี เอ็กซ์เพรส                                                  ร้อยละ   1.9            ดีเอชแอล                                                              ร้อยละ   0.9            ลาล่ามูพ                                                                ร้อยละ   4.9            ไลน์แมน                                                               ร้อยละ   11.7            นิ่มเอ็กซ์เพรส                                                        ร้อยละ   1.7            อื่นๆ                                                                      ร้อยละ   1.2    16.           ท่านมีความพึงพอใจกับการให้บริการในการใช้บริการขนส่งสินค้าของผู้ให้บริการใดมากที่สุด            ไปรษณีย์ไทย                                                        ร้อยละ   26.1            เคอรี่ เอ็กซ์เพรส                                                     ร้อยละ   48.5            เอสซีจี เอ็กซ์เพรส                                                  ร้อยละ   2.4            ดีเอชแอล                                                              ร้อยละ   1.2            ลาล่ามูพ                                                                ร้อยละ   7.0            ไลน์แมน                                                                ร้อยละ   11.1            นิ่มเอ็กซ์เพรส                                                         ร้อยละ   2.2            อื่นๆ                                                                       ร้อยละ   1.5      ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์1. เพศ           ชาย                ร้อยละ   45.3  หญิง               ร้อยละ   54.72. อายุ           ต่ำกว่า 20 ปี    ร้อยละ   2.3    21 – 25  ปี      ร้อยละ   15.0                      26 – 30  ปี      ร้อยละ  12.4   31 – 35  ปี      ร้อยละ   17.5                        36 – 40  ปี      ร้อยละ  26.7   41 -  45 ปี       ร้อยละ   8.1                          46 -  50 ปี      ร้อยละ  12.0   มากกว่า 50 ปี   ร้อยละ   6.03. อาชีพ      นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา                                       ร้อยละ 12.6                       ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ        ร้อยละ 13.1                   พนักงานบริษัทเอกชน                                             ร้อยละ 27.6                   นักธุรกิจ/เจ้าของกิจการส่วนตัว                                 ร้อยละ 16.9                   แม่บ้าน/พ่อบ้าน                                                      ร้อยละ 10.6                       รับจ้างทั่วไป                                                           ร้อยละ 18.9    

อ่านเพิ่มเติม >