ฉบับที่ 205 การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี

การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนีหลังจากที่พรรค CDU ของนางแองเจล่าร์ แมร์เคลประสบความสำเร็จได้รับคะแนนเสียงสูงสุดจากการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปีที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงข้างมากได้ และคะแนนนิยมตกต่ำลงซึ่งเป็นผลพวงมาจาก นโยบายการรับผู้อพยพลี้ภัย โดยไม่คำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยภายใน ส่งผลให้การเจรจากับพรรคอื่น ไม่ว่าจะเป็น พรรค FDP หรือ พรรค The Greeen Party ประสบความล้มเหลว และในที่สุด ก็สามารถจัดตั้งพรรครัฐบาลผสมโดยพรรคขนาดใหญ่ 3 พรรค คือ พรรค CDU CSU ซึ่งเป็นพรรคการเมืองสายอนุรักษ์นิยม และพรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสายสังคมนิยม การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสม ได้สั่นคลอนความเป็นปึกแผ่นของพรรค SPD มีการเปลี่ยนผู้นำพรรค และผู้บริหารพรรค นอกจากนี้ หลังการเจราจาจัดตั้งรัฐบาลผสมแล้ว ก็ยังมีการทำสัตยาบรรณ (Koalitionsvertrag) ในการเข้าเป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยสิ่งที่น่าสนใจสำหรับ พรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสายสังคมนิยม คือ การลงคะแนนเสียงของสมาชิกพรรค เพื่อยอมรับ สัตยาบรรณ ดังกล่าว ซึ่งเสียงของสมาชิกส่วนใหญ่ (66.02%) จากสมาชิกพรรคทั้งหมด 463,723 คน เรียกได้ว่า การจัดตั้งรัฐบาลผสมขนาดใหญ่ผ่านอุปสรรคด่านแรกไปอย่างหืดขึ้นคอทีเดียวสำหรับความเห็นขององค์กรผู้บริโภคต่อนโยบายของรัฐบาลต่อประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี จัดทำเอกสาร เพื่อประเมินนโยบายของรับบาลผสมขนาดใหญ่ของทั้งสามพรรค โดยมีทั้งหมด 12 ประเด็นได้แก่• การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค (Right and Right receiving)• การคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคดิจิทัล (Digital  world)• ตลาดเงิน ตลาดทุน (Financial market)• การประกันสุขภาพและการดูแลผู้ป่วย (health and care insurance market)• อาหาร (food market)• พลังงาน (Energy market)• อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย (Real estate and accommodation)• การเดินทาง การท่องเที่ยว (Mobility and tourism)• การบริโภคที่ยั่งยืน และการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ (sustainability consume and resource protection)• การค้าข้ามชาติ ( International commerce)• การรู้เท่าทัน (consumer education)• การเฝ้าระวังกลไกตลาด (market surveillance) นโยบายการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค (Right and Right receiving)นโยบายของรัฐบาลผสมขนาดใหญ่ คือ การออกกฎหมายสำหรับการฟ้องคดีแบบกลุ่ม (Class action) เพื่อเพิ่มอำนาจและ การบังคับใช้กฎหมายที่คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ซึ่งเป็นประเด็นที่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี เรียกร้องมาโดยตลอด ในประเด็นนี้ รัฐบาลมีนโยบายให้สิทธิในการฟ้องคดีกับหน่วยงานที่เป็นองค์กรภาคประชาชนที่ ได้มาตรฐาน (qualified organization or institution) เช่น องค์กรผู้บริโภค สมาคมสงเสริมการแข่งขันทางการค้า เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดการ “ค้าความ” ขึ้นในกระบวนการยุติธรรม ความเห็นของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคกับนโยบายดังกล่าว คือ เห็นด้วย แต่ในประเด็นของข้อกฎหมายที่เป็นข้อกังวล คือ การตีความว่า องค์กรหรือ สถาบันใดที่จะได้รับสิทธินั้น ซึ่งไม่ควรจะกำหนดกฎเกณฑ์ จนทำให้มีเพียงไม่กี่องค์กรที่สามารถฟ้องคดีแบบกลุ่มได้นอกจากนี้ ในกรณีของการเยียวยาผู้บริโภค ต่อกรณีการละเมิดสัญญาในการทำธุรกรรมในโลกดิจิทัล เช่นการซื้อตั๋วรถไฟ กรณีการละเมิดสัญญา ควรที่จะมีการเยียวยาโดยอัตโนมัติต่อกรณีของการรับผิดต่อสินค้า โดยเฉพาะการทำธุรกรรมในยุคดิจิทัล จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายเรื่องการรับผิดต่อสินค้าให้ทันสมัยกับยุคดิจิทัล โดยรัฐบาลต้องติดตามสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด และ ปรับปรุง มาตรฐาน กฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคดิจิทัล (Digital  world)- การควบคุม Algorithm control ของ Artificial Intelligemce (AI) โดยจะจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมในด้านการใช้ข้อมูล (Data- Ethic Commission) เพื่อติดตามและเฝ้าระวังการใช้ AI ที่อาจละเมิดสิทธิผู้บริโภคต่อประเด็นดังกล่าว สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเห็นด้วย และสนับสนุนในการมีตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ในคณะกรรมชุดนี้ และการทำงานของคณะกรรมการชุดดังกล่าวต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที และไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน (โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของ เวลา ที่มักเป็นจุดอ่อนของ Regulator)- ประเด็น Network neutrality ซึ่งสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาลที่จะรักษาหลักการนี้ โดยจะต้องมีการกำกับดูแล ผ่าน กฎหมาย ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักกฎหมายของอียู- นโยบายการขยายโครงข่าย broadband ทั่วประเทศ ภายในปี 2025 สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า เป็นเรื่องที่สมควรทำ โดยในปีแรกของรัฐบาลควรที่จะขยายโครงข่ายให้ได้มากกว่า 50 % ของพื้นที่เป้าหมาย และต้องคำนึงถึงประเด็นในเชิงคุณภาพ ของเครือข่าย broadband ด้วย - ข้อมูลส่วนบุคคล (E-privacy- Regulation) รัฐบาลเสนอให้เกิดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเข้มงวด และการออกกฎหมายของรัฐบาลต้องสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของอียู และความสนใจของทั้งผู้บริโภค และผู้ประกอบการ ซึ่งจะต้องรักษาสมดุลระหว่างกันและกันในขณะที่ประเด็นนี้ สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า เป็นนโยบายที่ย้อนแย้งกัน แต่ก็เห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะดำเนินนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเข้มงวดฉบับนี้ขออนุญาต นำเสนอ 2 นโยบายที่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ได้มีความเห็นและเผยแพร่ต่อสาธารณะหลังจากที่การจัดตั้งรัฐบาลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ความน่าสนใจของรัฐบาลชุดนี้ คือ จะสามารถทำงานได้ครบวาระหรือไม่ ภายใต้การขัดแย้งทางการเมืองที่ถาโถมเข้ามาเป็นระยะๆ (ที่มา เว็บไซต์สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี https://www.vzbv.de/.../ausfuehrliche_bewertung_koav_vzbv.pdf) ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ

อ่านเพิ่มเติม >