ฉบับที่ 98 รับร้อนกับชานมเย็นๆ สักแก้ว??

ชานมพร้อมเสิร์ฟชานม ไม่ว่าจะแบบร้อนหรือแบบเย็น จะรสต้นตำรับไทยแบบโบราณหรือแบบฝรั่งตะวันตก ต่างก็ให้รสชาติหวานหอม กลมกล่อมและชวนดื่มยิ่งนัก ยิ่งอากาศร้อนๆ อย่างนี้ หากเป็นชานมเย็นๆ สักแก้วก็จะยิ่งทำให้ชื่นใจกันไปใหญ่โดยเฉพาะคอชา แต่ยังไงก็ตามเพื่อให้ดื่มได้อย่างรู้จริงและมั่นใจว่าปลอดภัย ฉลาดซื้อจึงนำชานมสำเร็จรูปทั้งชนิดผงพร้อมชงและแบบบรรจุกล่อง/ขวดสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ส่งเข้าห้องทดสอบเพื่อลองดูว่า ชานมประเภทนี้มีความเสี่ยงเรื่องไขมันสูงหรือไม่ โดยเฉพาะไขมันชนิดทรานส์ ที่ว่ากันว่า เป็นผู้ร้ายตัวฉกาจไม่แพ้ไขมันอิ่มตัว ผลการทดสอบพบว่า มีอยู่ 4 ผลิตภัณฑ์ที่มีกรดไขมันทรานส์ คือ ชานมลิปตันมิลค์ที รสวานิลลา ชานมลิปตันมิลค์ที รสต้นตำรับไทย ซุปเปอร์ ชานมสำเร็จรูปและมะลิ ชาไทยผสมนม โดยลิปตันมิลค์ที รสวานิลลามีปริมาณกรดไขมันชนิดทรานส์ 0.36 กรัมต่อ 100 กรัม รองมาคือ ลิปตันรสต้นตำรับไทย 0.28 กรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งน่าจะมาจากส่วนประกอบที่มีครีมเทียมผสมลงไปด้วย (ดูในตารางผลทดสอบ) ส่วนผลิตภัณฑ์ที่พบว่า มีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูงได้แก่ ซุปเปอร์ ชานมปรุงสำเร็จ คือ 6.1 กรัม/ 100 กรัม   แต่เดี๋ยว…ช้าก่อน อย่าเพิ่งตกอกตกใจไป เนื่องจากเวลาที่เราดื่มจริงๆ เราก็คงดื่มไม่ถึง 100 กรัม(นอกจากจะชอบเอามากจริงๆ) ฉลาดซื้อจึงลองคำนวณโดยใช้น้ำหนักจากขนาด 1 ซองเป็นตัวตั้ง ได้ข้อมูล ดังนี้ ปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวเมื่อเทียบหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ หน่วยบริโภค กรดไขมันอิ่มตัว (กรัม) 1. ซุปเปอร์ ชานมปรุงสำเร็จ 1 ซอง 17 กรัม 1 2. ลิปตัน มิลค์ที รสวานิลลา 1 ซอง 20 กรัม 0.9 ปริมาณกรดไขมันชนิดทรานส์เมื่อเทียบหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ หน่วยบริโภค กรดไขมันอิ่มตัว (กรัม) 1. ลิปตัน มิลค์ที รสวานิลลา 1 ซอง 20 กรัม 0.07 2. ลิปตัน มิลค์ที รสต้นตำรับไทย 1 ซอง 15 กรัม 0.04 สรุปว่าการดื่มชานม 1 แก้ว ไม่มีความเสี่ยงมากในเรื่องของไขมัน เพราะมีปริมาณไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวน้อย แต่ที่ต้องระวังคือ เรื่องน้ำตาลหรือความหวาน ซึ่งมีปริมาณสูงพอสมควร ยิ่งประกอบกับคำแนะนำที่ข้างฉลากของผลิตภัณฑ์ชนิดผงที่ระบุว่า ชงเพิ่มเป็น 2 ซอง เมื่อต้องการดื่มกับน้ำแข็ง ก็จะเสี่ยงได้รับน้ำตาลมากเกินไป ส่วนชนิดพร้อมดื่ม ดูจากปริมาณ 1 หน่วยบริโภคคือขวดหรือกล่องแล้ว ก็พบว่า ยังไม่เข้าข่ายเสี่ยงมากในเรื่องปริมาณของไขมันเช่นกัน หลายยี่ห้อก็ไม่พบกรดไขมันชนิดทรานส์ แต่เรื่องน้ำตาลถือว่าแรงอยู่ บางยี่ห้อก็หวานเกินไป เช่น ไอวี่ ชาเย็นสูตรโบราณที่มีน้ำตาล 13.9 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ถ้าดื่ม 1 กล่อง 180 มิลลิลิตรก็จะได้น้ำตาลไปถึง 25 กรัม หรือคิดเป็นน้ำตาลประมาณ 6 ช้อนชาทีเดียว (พอๆ กับดื่มน้ำอัดลมหนึ่งกระป๋อง)ปริมาณน้ำตาลเมื่อเทียบหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ หน่วยบริโภค กรดไขมันอิ่มตัว (กรัม) ไอวี่ 1 กล่อง 180 มิลลิลิตร 25 กรัม ลิปตัน มิลค์ที รสวานิลลา 1 ซอง 20 กรัม 10 กรัม (20 กรัมเมื่อทำเป็นชาเย็น) ลิปตัน มิลค์ที รสต้นตำรับไทย 1 ซอง 15 กรัม 9 กรัม (18 กรัมเมื่อทำเป็นชาเย็น) ผลทดสอบชานมสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ น้ำหนัก ราคาต่อหน่วย (บาท) วันผลิต-วันหมดอายุ ผลทดสอบ น้ำตาล (กรัม/100 กรัม) กรดไขมันอิ่มตัว (กรัมต่อ 100 กรัม) กรดไขมันชนิดทรานส์ (กรัมต่อ 100 กรัม) ซุปเปอร์ ชานมปรุงสำเร็จ 510 กรัม (30 ซอง ซองละ 17 กรัม) 79 หมดอายุ 18-05-2010 51.20 6.10 0.08 ลิปตัน มิลค์ที รสต้นตำรับไทย 150 กรัม (10 ซอง ซองละ 15 กรัม) 46 07-08-2008 07-02-2010 57.60 4.00 0.28 ลิปตัน มิลค์ที รสวานิลลา 100 กรัม (5 ซอง ซองละ 20 กรัม) 27 20-10-2008 20-04-2010 52.40 4.70 0.36 ไอวี่ ชาเย็น สูตรโบราณ 180 มล. 13 ผลิต 27-11-2009 13.90 0.40 0 ยูนิฟ บาเล่ ชานมและข้าวบาร์เลย์ 350 มล. 17.50 18-12-2008 18-10-2009 7.40 0.20 0 มะลิ ชาไทยเย็นยูเอชทีผสมนมปรุงสำเร็จ 180 มล. 11 หมดอายุ 22-09-2009 8.80 0.70 0.02 นะมาชะ กรีนลาเต้น้ำชาเขียวญี่ปุ่น ผสมนม 280 มล. 18 03-09-08 03-07-09 8.0 0.2 0   ดื่มชาเพียวๆ ดีกว่าชานมจริงหรือมีงานวิจัยที่ระบุว่า ชาที่เติมนมจะมีดีที่รสชาติอร่อยเท่านั้น แต่คุณประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากชาจะหายไป เพราะนมจะไปหยุดสารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทันทีที่ผสมกับน้ำชา นักวิจัยได้ทดลองจนพบว่า โปรตีนในนมจะเข้าไปจับกับสารประกอบในน้ำชาที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (รวมทั้งบรรดาสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ในน้ำชา) ทำให้สารประกอบนั้นไม่สามารถออกฤทธิ์ได้อีกต่อไป ผลการทดลองดังกล่าวช่วยให้ข้อสรุปได้ว่า หากจะรับประโยชน์จากการดื่มชา ให้ดื่มชาแท้ๆ ไม่ผสมนม แต่หากใจมันชอบจะเติมนมหรือครีมผสมกับน้ำชา ก็ให้รู้ไว้ว่า มันไม่ค่อยมีประโยชน์อะไร ท่านจะได้แค่ความอร่อยหวานมันเท่านั้น อย่างไรก็ตามเรื่องอย่างนี้มันก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน ห้ามกันไม่ได้อยู่แล้ว   กรดไขมันชนิดทรานส์กรดไขมันชนิดทรานส์ (Trans Fatty acid ) เป็นกรดไขมันที่เกิดจากกระบวนการเติมไฮโดรเจน (Partial hydrogenation) ลงในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้นหรือเป็นของกึ่งเหลว พบในอุตสาหกรรมเนยเทียม (margarine) หรือเนยขาว (shortening) ครีมเทียม เป็นต้น   จากการศึกษาวิจัยพบว่ากรดไขมันชนิดทรานส์ให้ผลร้ายเช่นเดียวกับกรดไขมันอิ่มตัว คือทำให้ไขมันไม่ดีชนิดอื่นเพิ่มปริมาณมากขึ้นในร่างกาย ขณะเดียวกันก็ไปลดไขมันชนิดดี ส่งผลให้หลอดเลือดในร่างกายอักเสบ เสื่อม จนตีบตัน เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ประเทศที่นิยมรับประทานอาหารที่ต้องใช้กรดไขมันชนิดทรานส์เข้าไปอยู่ในกระบวนการผลิต จึงต้องออกประกาศ ให้ผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในประเทศทั้งหมดระบุปริมาณไขมันทรานส์บนฉลากโภชนาการ เช่น แคนาดาและสหรัฐอเมริกา สำหรับอาหารที่มีความเสี่ยงมาก ต้องระวังในการรับประทานคือ อาหารที่มีปริมาณกรดไขมันชนิดทรานส์มากกว่า 0.7 กรัมต่อมื้อ และมีกรดไขมันชนิดทรานส์บวกกับกรดไขมันอิ่มตัว มากกว่า 4 กรัมต่อมื้อ อาหารที่เป็นที่นิยมของคนไทยก็พบว่ามี กรดไขมันชนิดทรานส์ด้วยเช่นกัน ได้แก่พวก ขนมอบหรือเบเกอรีที่มีมาการีนเป็นส่วนประกอบ อย่างคุกกี้ พาย หรืออาหารที่ใช้มาการีนในการทอด อย่าง โรตี โดนัท แฮมเบอร์เกอร์ เป็นต้น  

อ่านเพิ่มเติม >