ฉบับที่ 243 ช่องทางการเช็กข้อมูลโควิด19 ผ่าน Social Media

        จากตัวเลขผู้ติดเชื้อในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ระลอก 3 ในแต่ละวัน ทำให้หลายคนใจหายและภาวนาอยากให้สถานการณ์ดีขึ้น ไม่เลวร้ายไปมากกว่านี้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญสำหรับช่วงนี้คือ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เพื่อที่จะได้รับมือและระมัดระวังตัว โดยเฉพาะคนทำงานที่ยังคงต้องเดินทางไปทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือแม้กระทั่งพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องหาเช้ากินค่ำ ที่ต้องเดินทางหรือไปอยู่ในพื้นที่ที่อาจมีความเสี่ยงได้โดยไม่รู้ตัว         อีกทั้งข่าวปลอมที่แพร่สะพัดก็เยอะ การเช็คข้อมูลที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ฉบับนี้มาดูกันว่า ข่าวสารต่างๆ ที่น่าเชื่อถือนั้น สามารถดูได้จากที่ใดบ้าง เบื้องต้นขอแบ่งออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ เว็บไซต์ Facebook และแอปพลิเคชั่น มาดูรายละเอียดกันเลยค่ะ         เริ่มด้วย หมวดที่ 1 หมวดเว็บไซต์ที่น่าสนใจดังนี้https://covid19.th-stat.com เว็บไซต์แจ้งรายงานสถานการณ์โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php เว็บไซต์ข้อมูลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขhttps://pr.moph.go.th/?url=main/index เว็บไซต์ข่าวสารของสำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขhttps://covidtracker.5lab.co เป็นแพลตฟอร์มเว็บไซต์ที่พัฒนาโดย 5Lab บริษัทเอกชน ที่นำข้อมูลจุดที่มีผู้ติดเชื้อและข่าวสารทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ มาระบุพิกัดบนแผนที่ให้เห็นกันแบบชัดเจน มีการกรองข้อมูลของ Fake News อัปเดตจุดเสี่ยงที่ผ่านการทำความสะอาดแล้ว         หมวดที่ 2 หมวด Facebook ที่น่าสนใจดังนี้Facebook กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขFacebook กระทรวงสาธารณสุขFacebook ศูนย์ข้อมูล COVID-19Facebook ไทยรู้สู้โควิดFacebook กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์         หมวดที่ 3 หมวดแอปพลิเคชั่นที่น่าสนใจดังนี้แอปพลิเคชั่น “ใกล้มือหมอ” ช่วยเช็กอาการเบื้องต้นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพแอปพลิเคชั่น “หมอชนะ” ช่วยบันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานด้วยเทคโนโลยี GPS และ Bluetooth เพื่อเช็กอินตามสถานที่ต่าง ๆแอปพลิเคชั่น “หมอพร้อม” หรือ บัญชี LINE “หมอพร้อม” ช่วยรายงานข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัคซีนโควิด19บัญชี LINE “Away Covid-19” ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต่อการรับมือกับโควิด 19 และจะอัปเดตสถิติผู้ติดเชื้อในไทย สถานที่มีความเสี่ยง เป็นต้น         หวังว่าข้อมูลที่รวบรวมมาจะมีประโยชน์ทำให้การติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ระลอก 3 ของผู้อ่านได้รับข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผู้อ่านอย่าลืมช่วยกันรักษามาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี การเว้นระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และรับรู้ข่าวสารอย่างพอดี ไม่วิตกกังวลจนเกินไป การ์ดอย่าตกนะคะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 219 Search Engine ผลการทดสอบเปรียบเทียบ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Search Engine ผลการทดสอบเปรียบเทียบ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ขออนุญาตนำเสนอผลการทดสอบ search engine ที่ทำการทดสอบโดย  องค์กรทดสอบและเปรียบเทียบสินค้าและบริการ ของเยอรมนี (วารสาร Test ฉบับ เดือนเมษายนที่ผ่านมา)  โดยมีผลการทดสอบตามตารางและข้อสรุป ดังต่อไปนี้ ตารางแสดงผลการทดสอบ Search EngineสรุปผลการทดสอบStartpage.com ได้รับคะแนนสูงสุดจากการทดสอบครั้งนี้ เนื่องจากสามารถคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ดีมาก  search engine ของบริษัทนี้ตั้งอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่ก็ใช้เทคโนโลยีของกูเกิลด้วย ไม่มี option สำหรับการค้นหาแยกระหว่าง News- Search แต่มีคุณภาพดีสำหรับการค้นหาข้อมูลทั่วไป         Google เป็น search Engine ที่ได้คะแนนสูงสุดในเรื่องคุณภาพการค้นหาข้อมูล ได้คะแนนสูงสุดในประเด็นการทดสอบเรื่องความสะดวกในการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ มีโฆษณาน้อยมาก ไม่รบกวนการใช้งานของผู้บริโภค แต่ได้รับคะแนนน้อยมากในประเด็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และยังมีประเด็นในเรื่องข้อบกพร่องในการแจ้งเรื่อง (สัญญา) การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับผู้ใช้งาน นอกจากนี้กูเกิลยังรวบรวมและเก็บข้อมูลการใช้งานผ่าน App อื่นๆ ในเครือ         Ecosia เป็น search engine สัญชาติเยอรมัน ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยบริจาครายได้บางส่วนคืนสู่สังคม ซึ่งเงินที่บริจาคคืนสู่สังคมนี้สามารถนำไปปลูกต้นไม้ได้มากถึง 50 ล้านต้นในทวีปอัฟริกาและอเมริกาใต้ ใช้เทคโนโลยีของ search engine เดียวกันกับ Bing (Microsoft) มีโฆษณารบกวนน้อย แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยังมีประเด็นที่น่ากังวล เนื่องจากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือ         Web.de  เป็น search engine สัญชาติเยอรมัน ที่ไม่มี option ในการค้นหาไฟล์วิดิทัศน์ และไม่สามารถกำหนดช่วงเวลาของการค้นหาข้อมูลได้ มีโฆษณารบกวนมาก และไม่มี App เฉพาะสำหรับการใช้งานในสมาร์ตโฟน ได้รับคะแนนน้อยกว่า Google และ Ecosia แต่ได้รับคะแนนสูงกว่าในประเด็นเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล         Qwant เป็น search engine สัญชาติฝรั่งเศส ที่มีโฆษณารบกวนน้อย ใช้เทคโนโลยี ของ search engine เดียวกันกับ Bing (Microsoft) และเป็น search engine เดียวของยุโรปที่มีข้อบกพร่องในการชี้แจงเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลBing เป็น search engine ของ ไมโครซอฟท์ สัญชาติอเมริกัน ใช้งานได้สะดวก มีข้อบกพร่องในเรื่องการชี้แจงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาก         Yahoo! เป็น search engine ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับ Bing มีโฆษณารบกวนมาก และไม่แยกโฆษณากับผลการค้นหาออกจากกัน สะดวกในการใช้งาน มีข้อบกพร่องในเรื่องการชี้แจงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากเนื่องจาก search engine นี้จะส่งข้อมูลส่วนบุคคลไปยังบริษัทอื่นๆ ที่สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้สมาร์ตโฟนได้         t-online.de สัญชาติเยอรมัน มีข้อจำกัดในการค้นหารูปภาพ  และไฟล์วิดิทัศน์ ใช้เทคโนโลยีเดียวกับกูเกิล มีโฆษณารบกวนมาก และไม่มี App เฉพาะสำหรับการใช้งานในสมาร์ตโฟน         DuckDuckGo สัญชาติอเมริกัน โฆษณาว่ามีนโยบายความเป็นส่วนตัว และไม่เก็บข้อมูลของผู้ใช้งานที่ไม่จำเป็น แต่การชี้แจงเรื่องนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่มีภาษาเยอรมัน ซึ่งผิดกฎหมายเยอรมัน และไม่เป็นมิตรกับผู้บริโภค มีโฆษณารบกวนน้อย และใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับ Bing         Metager เป็น search engine เดียวที่พัฒนาภายใต้สมาคมเพื่อสาธารณะประโยชน์ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ไม่มี option ในการค้นหาไฟล์รูปภาพและวิดิทัศน์ อย่างไรก็ตาม มีนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีต่อยอดเพิ่มขึ้นมาก  มีโฆษณารบกวนมาก         สำหรับเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย จำเป็นที่จะต้องให้ความรู้และข้อมูลพื้นฐานกับประชาชนและผู้บริโภคของประเทศไทยว่ามีความสำคัญอย่างไร ซึ่งในงานวันคุ้มครองผู้บริโภคสากลที่จัดโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและภาคเครือข่ายได้เริ่มรณรงค์และให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมีคณะทำงานรณรงค์และให้ความรู้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินของประชาชนและผู้บริโภคนั่นเอง         สำหรับกระบวนการการทดสอบ search engine นั้น สามารถดูรายละเอียดวิธีการทดสอบได้จาก www.test.de/suchmaschinen/methodik        (แหล่งข้อมูล วารสาร Test 4/2019)

อ่านเพิ่มเติม >