ฉบับที่ 232 ผลิตภัณฑ์กันยุงชนิดปลอดจาก DEET

        เข้าหน้าฝนยุงเริ่มเป็นปัญหากวนใจ ดังนั้นแม้โรคโควิด-19 ยังต้องระวัง แต่ต้องไม่ลืมปัญหาไข้เลือดออกจากยุงลายที่เป็นพาหะ หรือโรคอื่นๆ ที่เกิดจากยุง การป้องกันยุงทำได้หลายวิธี ทั้งการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ การฉีดพ่นสเปรย์สารเคมีเพื่อฆ่ายุงโดยตรง หรือการใช้ยาจุดกันยุงแบบขดให้เกิดควันเพื่อไล่ยุง เรายังมีผลิตภัณฑ์ทากันยุงทั้งชนิดสเปรย์ ชนิดโลชั่นหรือปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ชนิดแผ่นแปะไล่ยุงออกมาเป็นทางเลือกเพื่อความสะดวกอีกด้วย  อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ทากันยุงส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีที่เรียกว่า DEET เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ เพราะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงสูง แต่ก็มีผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์เช่นกัน จึงมีผลิตภัณฑ์ชนิดปลอด DEET หรือการใช้สารธรรมชาติพวกน้ำมันหอมระเหยออกมาแข่งขันในตลาดมากขึ้น        ฉลาดซื้อเคยสำรวจผลิตภัณฑ์ทากันยุงไว้ในฉบับที่ 187 (ผู้อ่านสามารถดูผลการสำรวจได้ที่ www.ฉลาดซื้อ.com) ซึ่งส่วนใหญใช้ DEET เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ และตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพิ่มขึ้น ดังนั้นฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงสำรวจเพิ่มในส่วนของผลิตภัณฑ์ทากันยุง/ป้องกันยุง ที่ปลอดจากสาร DEET พร้อมเปรียบเทียบราคาต่อปริมาตรเพื่อเป็นข้อมูลใน สารทากันยุงชนิดอื่นนอกจาก  DEET        ·  น้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) เป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอม จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยน้ำมันตะไคร้หอม ควรปิดฝาให้สนิท อย่าให้ถูกแสงแดด เปลวไฟหรือความร้อน        ·   พิคาริดิน (Picaridin, KBR3023) เป็นสารสกัดจากพืชชนิดหนึ่ง หากมีความเข้มข้นสูง เช่น 20% จะมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ DEET แต่ระยะเวลาสั้นกว่า        ·   น้ำมันยูคาลิปตัส (oil of Lemon eucalyptus) ซึ่งมีพีเอ็มดี (PMD: P-menthane-3,8-diol) เป็นส่วนประกอบ มีประสิทธิภาพเป็นครึ่งหนึ่งของ DEET เช่น PMD 30% มีประสิทธิภาพเทียบเท่า DEET 15%        ·   ไออาร์ 3535 (IR3535: Ethyl butylacetylamino propionate) เป็นสารสังเคราะห์ จากการศึกษาหนึ่งพบว่า IR3535 มีประสิทธิภาพรองจาก DEET และ Picaridin         ·   ไบโอยูดี (BioUD: 2-undecanone) เป็นสารสกัดจากพืชชนิดหนึ่ง เพิ่งได้รับการรับรองจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา (EPA) การใช้ผลิตภัณฑ์ทากันยุงเพื่อความปลอดภัยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) และปฏิบัติตามฉลากแนะนำการใช้อย่างเคร่งครัดไม่ควรใช้ยาทากันยุงที่มีส่วนผสมของดีอีอีที เอทิลบิวทิลอเซติลามิโนโพรพิโนเอตหรือพิคาริดิน มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เพราะความเข้มข้นของสารเคมีในระดับดังกล่าวไม่ได้ช่วยให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงมากขึ้นและอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ทายากันยุง (แต่อาจต่ำกว่า 4 ปีได้ ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์)ควรคอยเฝ้าดูขณะเด็กใช้ยาทากันยุง และหลีกเลี่ยงการทายากันยุงบริเวณมือเด็ก เพราะเสี่ยงต่อการนำนิ้วเข้าปากหรือขยี้ตาไม่ควรทายากันยุงบริเวณที่เป็นแผลไม่ควรใช้สเปรย์กันยุงฉีดใบหน้าโดยตรง ควรฉีดพ่นลงบนฝ่ามือก่อนนำมาทาบนใบหน้า หลีกเลี่ยงการทาบริเวณรอบดวงตาและริมฝีปากไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสูตรผสมระหว่างครีมกันแดดและยาทากันยุง เพราะอาจทำปฏิกิริยาต่อกันจนส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิภาพลดลง อีกทั้งการทายากันยุงซ้ำบ่อย ๆ อาจทำให้ได้รับสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากเกินไปที่มา https://www.pobpad.com

อ่านเพิ่มเติม >