ฉบับที่ 147 ยกเลิกคอร์สทำหน้าแล้ว แต่บัตรเครดิตยังเรียกเก็บเงิน

ขอความกรุณาช่วยแนะนำด้วยค่ะได้ทำเรื่องยกเลิกคอร์สทำหน้ากับคลินิกแห่งหนึ่ง(ยังไม่เคยไปใช้บริการเลยค่ะ) จ่ายไปจำนวนเงิน 30,000 บาทเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 ทางเจ้าหน้าที่ของคลินิกได้ออกเอกสารทำเรื่องคืนเงินเข้าบัตรมาให้ 2 ฉบับและดิฉันได้ไปทำเรื่องขอปฏิเสธการชำระเงินพร้อมกับแนบเอกสารที่คลินิกออกให้กับดิฉันให้ทางธนาคารด้วย  แต่พอใกล้ ๆ สิ้นเดือนตุลาคม มีจดหมายใบแจ้งหนี้ยอดบัตรเครดิตส่งมาให้ โทรสอบถามกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารก็ได้รับคำตอบว่าในระหว่างดำเนินการตรวจสอบยอดจำนวนเงินที่ขอปฏิเสธการชำระไว้ ดิฉันต้องจ่ายเงินที่รูดไปให้กับทางธนาคารก่อน  ระยะเวลาในการตรวจสอบอาจนานถึง 120 วันดิฉันอยากจะถามว่าทำไมต้องตรวจสอบนานมากขนาดนั้นด้วยคะ ทั้ง ๆ ที่ดิฉันก็มีเอกสารที่ทางร้านค้าให้เป็นหลักฐานในการคืนเงินเข้าบัตรเครดิตแล้ว แล้วถ้าเกิดว่าทางร้านค้าไม่ยอมคืนเงินให้ดิฉันจะทำอย่างไรได้บ้าง โทรไปสอบถามกับทางธนาคารหลายทีแล้วว่าเรื่องได้ดำเนินการไปถึงไหนแต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่เป็นประโยชน์เลยค่ะ ดูเหมือนทางธนาคารจะไม่สนใจไม่ยอมช่วยเหลืออะไรดิฉันเลย กลุ้มใจมากค่ะ อยากขอความช่วยเหลือ ขอคำแนะนำด้วยนะคะ แนวทางแก้ไขปัญหาคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ประกาศให้ ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ในกรณีที่มีการชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการผ่านทางบัตรเครดิต แล้วผู้บริโภคเกิดเปลี่ยนใจไม่ต้องการที่จะซื้อสินค้าหรือบริการนั้นอีกต่อไปและทางผู้ให้บริการยินดียกเลิกสัญญาการใช้บริการโดยไม่มีเงื่อนไข จึงถือว่าผู้บริโภคไม่ได้เป็นผู้ขอรับบริการอีกต่อไปประกาศฉบับนี้ได้ให้ความคุ้มครองกับผู้บริโภคในกรณีดังกล่าว ด้วยการบังคับให้บัตรเครดิตต้องมีข้อสัญญาว่า ถ้าผู้บริโภคทักท้วงว่าไม่ได้เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าหรือไม่ได้เป็นผู้ขอรับบริการ จากผู้ขายหรือผู้ให้บริการดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจจะระงับการเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภคทันที หรือในกรณีที่เรียกเก็บเงินไปแล้วจะคืนเงินให้กับผู้บริโภคทันที เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจจะพิสูจน์ได้ว่าภาระหนี้ที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำของผู้บริโภคเองและใช้สิทธิเรียกคืนจากผู้บริโภคในภายหลังดังนั้น เมื่อผู้บริโภคได้ทักท้วงไปยังธนาคารที่ออกบัตรเครดิตว่า ไม่ได้เป็นผู้ขอรับบริการจากทางคลินิกแล้ว เมื่อธนาคารรับทราบแล้ว จะต้องปฏิบัติตามสัญญาควบคุมของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยการระงับการเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภคทันที หากมีการเรียกเก็บเงินไปแล้วก็จะต้องคืนให้กับผู้บริโภคทันทีเช่นกัน หากมิได้ดำเนินการโดยทันที ผู้บริโภคมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากธนาคารได้ โดยอาจเทียบเคียงจากเบี้ยปรับการชำระเงินล่าช้าที่ธนาคารเรียกเก็บก็ได้นอกจากนี้ ประกาศฉบับดังกล่าว ยังให้ความคุ้มครองในสิทธิของผู้บริโภคในการยกเลิกการซื้อสินค้าหรือรับบริการอีกด้วย ด้วยการออกข้อบังคับให้สัญญาบัตรเครดิตต้องมีเงื่อนไขที่จะไม่ตัดสิทธิของผู้บริโภคที่จะขอยกเลิกการซื้อสินค้าหรือรับบริการภายในระยะเวลา 45 วัน นับตั้งแต่วันที่สั่งซื้อหรือขอรับบริการ หรือภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันถึงกำหนดการส่งมอบสินค้าหรือบริการ ในกรณีที่มีการกำหนดระยะเวลาส่งมอบสินค้าหรือบริการเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าผู้บริโภคพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้รับสินค้า หรือไม่ได้รับบริการ หรือได้รับแต่ไม่ตรงตามกำหนดเวลาหรือได้รับแล้วแต่ไม่ครบถ้วน หรือชำรุดบกพร่อง หรือไม่ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์โดยผู้ประกอบธุรกิจจะระงับการเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภค หรือในกรณีที่เรียกเก็บเงินไปแล้ว ถ้าเป็นการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการภายในประเทศ จะคืนเงินให้กับผู้บริโภคภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้บริโภคแจ้ง ถ้าเป็นการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ จะคืนเงินให้กับผู้บริโภคภายในระยะเวลา 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้บริโภคแจ้ง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 แฟนท้อง อยากจะขอเลิกสัญญาฟิตเนส

แฟนเล่นฟิตเนสครบปีและเพิ่งต่อสัญญาเมื่อเดือนมกราคม ในสัญญาลงไว้ 12 เดือน ถ้าจะ dropต้องเสีย ทุกเดือน 20% หรือประมาณ 400 บาทตอนนี้แฟนผมท้อง จึงจะขอยกเลิกสัญญา เพราะคิดว่าไม่ได้ไปใช้บริการเพราะไม่จำเป็นทำไมต้องเสียเงินอีก ไม่ทราบยกเลิกสัญญาได้ไหมครับ แล้วต้องทำอย่างไรถึงไม่โดนหักบัตรเครดิตต่อ ขอบคุณครับ แนวทางแก้ไขปัญหาคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา  พ.ศ. ๒๕๕๔  มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้วตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2554สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ คือ ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา หมายความว่า หากข้อความในสัญญาของฟิตเนสฉบับไหนขัดต่อประกาศฉบับนี้ให้ถือว่าข้อความในสัญญานั้นไม่มีผลทางกฎหมาย และหากสัญญาของฟิตเนสฉบับไหนไม่มีข้อความตามประกาศฉบับนี้ ก็ให้ถือว่าสัญญาของฟิตเนสนั้น มีข้อความหรือข้อสัญญาตามที่ประกาศได้กำหนดไว้โดยอัตโนมัติทันที แม้มิได้มีข้อความปรากฏอยู่ในสัญญาฉบับนั้นก็ตาม “ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกาย” ตามประกาศฉบับนี้ หมายความว่า ธุรกิจให้บริการ ใช้สถานที่ และอุปกรณ์ออกกำลังกายเพื่อประโยชน์ในทางการค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจทำสัญญาให้บริการ ออกกำลังกายกับผู้บริโภคให้เป็นสมาชิก แต่ไม่หมายความรวมถึงธุรกิจให้บริการเฉพาะโยคะ ศิลปะการป้องกันตัว และกีฬา ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร โดยมีจำนวนไม่เกินสิบเอ็ดตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว และจะต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้(1) รายละเอียดเกี่ยวกับขนาดพื้นที่ของสถานที่ให้บริการออกกำลังกาย จำนวนประเภทและจำนวนอุปกรณ์ออกกำลังกาย สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และการให้บริการอื่น ๆ ที่ผู้บริโภคมีสิทธิพึงได้รับตามสัญญา(2) รายละเอียดอัตราค่าสมาชิก และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เรียกเก็บจากสมาชิก เช่น ค่าใช้ บริการออกกำลังกาย ค่าฝึกสอน ค่าธรรมเนียม เป็นต้น เงื่อนไขและวิธีการชำระเงิน วันเริ่มต้น และสิ้นสุดการเป็นสมาชิก(3) การผิดสัญญาเรื่องใดของผู้บริโภคที่ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเลิกสัญญาหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องระบุเหตุในเรื่องนั้น ๆ ไว้เป็นการเฉพาะด้วยตัวอักษรสีแดง หรือตัวดำหรือตัวเอนที่เห็นเด่นชัดกว่าข้อความทั่วไป และก่อนการบอกเลิกสัญญาต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้บริโภคทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เว้นแต่การผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ ดังนี้ (ไม่ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า)(ก) กระทำการอันเป็นความผิดกฎหมายอาญาโดยเจตนา(ข) มีพฤติกรรมรบกวนการใช้บริการของสมาชิกอื่น(ค) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงประกาศฉบับนี้ได้กำหนดสิทธิเลิกสัญญาของผู้บริโภค ไว้เพียง 3 กรณี คือ(1) ผู้ประกอบธุรกิจไม่มีประเภทอุปกรณ์ออกกำลังกาย หรือบริการอื่น ๆ ตาม (1) หรือประเภทอุปกรณ์ดังกล่าวชำรุดบกพร่องหรือให้บริการได้ไม่เหมาะสมและเพียงพอ เมื่อเทียบกับ จำนวนสมาชิกและพื้นที่ออกกำลังกาย โดยผู้ประกอบธุรกิจไม่จัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการนั้น ๆ ที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่ามาทดแทนได้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับแจ้ง(2) มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากแพทย์ยืนยันว่าการใช้บริการออกกำลังกายต่อไป อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หรือสภาพร่างกายหรือจิตใจผิดปกติ(3) ได้รับการบาดเจ็บเนื่องจากผู้ฝึกสอนของผู้ประกอบธุรกิจไม่มีความรู้ความชำนาญ หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายที่ไม่มีคำเตือนว่าชำรุดบกพร่องดังนั้น จากคำถามที่ถามมา ภรรยาตั้งครรภ์หรือการมีปัญหาทางด้านสุขภาพ จะสามารถบอกเลิกสัญญาได้ต่อเมื่อมีหลักฐานใบรับรองแพทย์ยืนยันว่าการใช้บริการฟิตเนสต่อไป อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือสภาพร่างกายหรือจิตใจผิดปกติ ไปแสดงประกอบการบอกเลิกสัญญาในกรณีที่ผู้บริโภคชำระค่าสมาชิกและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ด้วยบัตรเครดิต ประกาศฉบับนี้กำหนดให้ ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องแจ้งระงับการเรียกเก็บเงินจากบัตรเครดิตทันทีเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงคำบอกกล่าวในการบอกเลิกสัญญาของผู้บริโภคให้ทำเป็นจดหมายส่งถึงผู้ให้บริการทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับเป็นดีที่สุดครับ        

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 แอร์การ์ดทรู เรียกเก็บค่าบริการไม่เป็นธรรม

เรื่องมีอยู่ว่า...เมื่อเดือนธันวาคม 2555 ผมเดินทางไปเชียงใหม่ จำเป็นต้องส่งข่าวกลับ กทม.ผมจึงซื้อแอร์การ์ดของทรูมาใช้ในราคา 990 บาท ตอนซื้อมานึกว่าจะใช้ได้เลย ก็กลับใช้ไม่ได้ทันที โดยต้องสมัครอะไรไม่รู้วุ่นวาย จากนั้น Call Center 1331 แนะนำว่าถ้าจะใช้งานทันที ต้องสมัครแบบคิดค่าบริการรายเดือน..ผมต้องการรีบส่งข่าวก็เลยยอมเวลาผ่านไปการใช้งานแอร์การ์ด ก็ดีบ้างไม่ดีบ้าง..โดยวันที่ 21 ธันวาคม 2555 ผมโทรไป 1331 อีกครั้ง เพื่อถามว่า..จะขอยกเลิกบริการต้องทำอย่างไร เจ้าหน้าที่บอกว่า..โปรโมชั่นจากยอด 990 ที่ซื้อมาสามารถใช้ได้ถึงเดือนมิถุนายน โดยถ้าไม่ใช้ก็ไม่มีค่าบริการ ซึ่งผมก็คิดว่า..ใกล้ๆ เดือนมิถุนายนค่อยไปยกเลิกก็ยังทันปรากฏว่าเดือนมีนาคมมีบิลมาเรียกเก็บค่าบริการ 4 ร้อยกว่าบาท ทั้งๆ ที่ไม่ได้ใช้แอร์การ์ดเลยตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม ผมโทรไป 1331 สอบถาม ได้คำตอบว่า...ค่าใช้จ่ายมีเดินทุกเดือน แต่ที่ไม่ส่งบิลมาให้ เพราะจะใช้วิธีหักจากยอด 990 บาทให้หมดก่อน เมื่อยอดเกินค่อยส่งใบเรียกเก็บ กรณีนี้..ทรูส่อพฤติกรรมซุ่มเงียบตีกินโดยไม่รู้ตัว เพราะถ้าส่งใบเสร็จมาให้ตั้งแต่เดือนธันวาคมหรือมกราคม ถึงแม้จะเป็นยอดที่หักจาก 990 บาท ก็ควรส่งใบเรียกเก็บทุกเดือนให้ลูกค้าเข้าใจได้ว่ามีค่าใช้บริการเดินอยู่ เพราะอย่างน้อยถ้ามีการเรียกเก็บเงินตั้งแต่แรกผมก็จะได้ไปดำเนินการปิดบริการตั้งแต่เดือนมกราคมแล้วหลังจากนั้น..ผมพยายามติดต่อทั้งทาง 1331 ทั้งทางเว็บไซต์ เพื่อขอฟังเทปสนทนาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ถ้าผมผิดจริงก็ยินดีจ่ายให้ แต่ถ้าพนักงานแนะนำไม่ให้ปิดบริการจริง ทางทรูก็ต้องรับผิดชอบโดยไม่คิดค่าบริการส่วนเกินที่เรียกเก็บ..ก็เท่านั้น ซึ่งระหว่างหาเทปสนทนามายืนยันไม่ได้ ผมก็ขอให้ทรูระงับค่าบริการไม่ให้เดินหน้าต่อไปอีก ซึ่งคำตอบก็คือ..ต้องจ่ายค่าบริการที่ค้างอยู่ก่อนจึงจะปิดบริการได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตอบได้แค่เบสิกพื้นฐานตามระเบียบอย่างเดียวแล้วถ้าผมยอมจ่ายส่วนเกินที่ไม่เป็นธรรมแล้วให้ปิดบริการ ก็เท่ากับผมยอมรับยอดเงินส่วนเกินอย่างงั้นเหรอ..มันไม่ถูกต้อง ถึงจะไม่กี่ร้อยบาท แต่ถ้าลูกค้าเจอแบบนี้เข้าไปหลายๆ ราย..จะเป็นเงินเท่าไหร่(เคยตัว) จนป่านนี้..ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ระดับตัดสินใจได้หรือแก้ปัญหาเป็น มาแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จ คงปล่อยให้เวลาเนิ่นนานไปเรื่อยๆ..ถ้าเดาไม่ผิด เพื่อจะเอาค่าบริการที่ยังเดินอยู่นั่นเอง แนวทางแก้ไขปัญหาหลักการในการแก้ไขปัญหาสำหรับคนที่เจอปัญหาการบอกเลิกสัญญาบริการโทรคมนาคมในลักษณะเดียวกันนี้...เมื่อผู้บริโภคไม่ประสงค์จะใช้บริการอีกต่อไป และไม่มีค่าบริการติดค้างกันอยู่ ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะบอกเลิกการใช้บริการได้ทุกเมื่อ ส่วนใหญ่มักจะถูกสาวคอลเซนเตอร์หรือพนักงานบริการปฏิเสธไว้ก่อนว่าบอกเลิกไม่ได้ ดังนั้น การบอกเลิกสัญญาบริการโทรคมนาคมที่ดีที่สุดคือ การบอกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรส่งไปถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่ของผู้ให้บริการ แล้วเก็บรายละเอียดการบอกเลิกสัญญาไว้เป็นหลักฐาน หากผู้ให้บริการยังมาเรียกเก็บอีก ผู้บริโภคอาจจะเรียกร้องค่าเสียหายกับผู้ให้บริการได้ โทษฐานเบาะๆ คือ การก่อความเดือดร้อนรบกวนรำคาญ แต่หากระหว่างการบอกเลิกสัญญากันนั้น หลังจากที่ได้หักค่าบริการที่ได้ใช้บริการกันไปแล้ว ยังมีค่าบริการเหลืออยู่ ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องให้ผู้ให้บริการคืนค่าบริการที่เหลืออยู่ได้อีกด้วยนอกจากปัญหาทำนองนี้แล้ว ปัญหาในบริการของทรูที่มีการร้องเรียนเข้ามาที่มูลนิธิฯ จนเป็นเรื่องร้องเรียนที่ซ้ำซากเอามากๆ คือ ซิมทรูมูฟแจกฟรี แล้วมาลักไก่เก็บค่าบริการรายเดือนในภายหลัง เมื่อผู้บริโภคเจอปัญหาแบบนี้คำตอบเดียวคือ ไม่ต้องจ่ายเงินครับ และให้มีหนังสือแจ้งไปที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของทรูด้วยตัวเองได้เลย ทางจดหมาย (Mail) ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเลขที่ 1252 ชั้น 14 อาคารทรูทาวเวอร์2 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กทม.10250 ทางโทรศัพท์ (Call Center) (ไม่คิดค่าบริการ) ผ่านเลขหมาย 0-2900-8088 เวลาทำการ: ทุกวัน เวลา 08.00น.-20.00น. ไม่มีเวลาพัก ทางโทรสาร (Fax) (คิดอัตราค่าใช้จ่ายตามอัตราปกติ) ผ่านเลขหมาย 0-2699-4338 ทางจดหมายอิเลคทรอนิคส์ (Email) Email Address: voc@truecorp.co.th ทางเว็บไซต์ (Website) www.trueinternet.co.th ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของผู้ให้บริการโทรคมนาคมทุกรายถูกกำหนดขึ้นตาม ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง “กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่อง ร้องเรียนของผู้ใช้บริการ” ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2549 ได้กำหนดไว้ในข้อ 20 บทเฉพาะกาลว่า “ ให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน...” และในข้อ 15 วรรคหนึ่งได้ระบุว่า “ผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นแยกออกจากหน่วยงาน ตอบคำถามหรือข้อสงสัยทั่วไป เพื่อทำหน้าที่ดูแลการรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน” และในวรรคที่ 2 ระบุต่อว่า “การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตอาจดำเนินการด้วยตัวเองหรือจัดจ้างให้บุคคลอื่นดำเนินการ โดยผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายอาจร่วมกันจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นเพื่อทำหน้าที่ก็ได้…”  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 มันมาในรูปของ sms

มีเรื่องร้องเรียนเรื่องถูกส่ง sms มารบกวน และต้องจ่ายค่าบริการเยอะมาก  และที่มากไปกว่านั้นยังมีการโฆษณาสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคสมัครเข้ามารับบริการ เช่น หากสนใจกดหมายเลข .... แต่ไม่มีการให้ข้อมูลว่าหากต้องการยกเลิกจะกดอะไร ? ได้บ้าง  สิ่งที่เห็นคือเมื่อสมัครไปแล้วต้องการยกเลิกแทบไม่มีช่องให้ทำได้  หรือทำได้ก็มีการกำหนดขั้นตอนให้ยุ่งยากซับซ้อน ยากลำบากในการใช้สิทธิขอเลิกใช้บริการ ซึ่งอาจคาดเดาว่านี่คงเป็นยุทธศาสตร์เพื่อให้ผู้บริโภคเบื่อหน่าย และยอมจ่ายเงินไปเรื่อยๆองค์กรที่กำกับดูแล ก็เหมือนไม่ใยดีกับปัญหาที่ผู้บริโภคกำลังเผชิญกับการเอารัดเอาเปรียบของผู้ประกอบการ แถมองค์กรกำกับของเรายังมีพฤติกรรมคล้ายๆ กรรมการห้ามมวยปล้ำที่มักเอนเอียงไปทางด้านผู้ประกอบการซะอีก  ทั้งที่ผู้ประกอบการหลายมีพฤติกรรมแบบว่า ออกแนว ขี้โกงสารพัด  มากกว่าจะยึดกติกาที่เป็นธรรม(ที่กสทช.กำหนดขึ้นมาเองแต่ไม่บังคับใช้)   หากประเทศไทยก้าวเข้าสู่การบริการ 3G เต็มรูปแบบ และองค์กรกำกับยังเป็นอย่างนี้   เราคงต้องร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรกันต่อไปที่กล่าวมาข้างต้นคงสื่อให้เห็นปัญหากันบ้างแล้ว    สาเหตุของปัญหาจริงๆ มันอยู่ตรงไหน   หากนำปัญหาเรื่องร้องเรียนต่างๆ มาสังเคราะห์ อาจจะทำให้เห็นภาพของต้นเหตุได้ชัดเจนพอสมควร   เช่น กรณีมีผู้บริโภคร้องเรียนมาว่า  ต้องการยกเลิกข้อมูลที่ส่งมาแล้วถูกเก็บเงินโดยไม่เคยเปิดใช้บริการ  คำตอบที่ได้มาชวนให้คิดต่อได้มาก  คือ บริการเสริมเหล่านั้น ไม่เกี่ยวกับบริษัทผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตแต่เป็นบริการเสริมจากผู้ประกอบการรายอื่น(contantprovider) คำตอบนั้น เป็นเรื่องจริงหรือโกหกคำโตกันแน่?     เพราะข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนคือ   ผู้ให้บริการเสริมไม่ได้มาเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภคโดยตรง  แต่เป็นการจ่ายผ่านระบบบริการ ทั้งระบบเติมเงินและรายเดือนของทั้ง  เอไอเอส,ดีแทค,และทรู “ทั้ง 3 ผู้ประกอบการได้นำเลขหมายที่ขายให้ผู้บริโภคแล้ว ไปขายให้กับผู้ให้บริการเสริมเพื่อให้ได้กำไรหลายต่อหรือไม่?”เพราะหากเป็นเรื่องจริง ปัญหานี้ต้องได้รับการแก้ไข  กสทช.ต้องไม่ปล่อยให้บริษัทผู้ประกอบการนำเลขหมายที่เป็นสิทธิส่วนบุคคลของผู้บริโภค  ไปค้าขายทำกำไร 2 ต่อ คำถามตามมาคือ หากองค์กรกำกับฯ (กสทช.)  ละเลยไม่กำกับดูแลตามหน้าที่  ผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ จะลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิกันอย่างไร? 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 2 ปี กับการจัดการโฆษณาหลอกลวงน้ำผลไม้อินทรา

 เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2554 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รับเรื่องร้องเรียนจากคุณเกษสุดา ชาวแม่เมาะ จ.ลำปาง ว่า ได้รับแผ่นพับโฆษณาขายน้ำผลไม้ ยี่ห้ออินทรา ซึ่งนำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท ไลฟ์สไตล์ แปซิฟิค ริม(ประเทศไทย) จำกัดแผ่นพับที่คุณเกษสุดาได้มา มีข้อความระบุว่า เป็นของศูนย์ข้อมูลน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพของป๋ามร มีเบอร์โทรศัพท์ติดต่อย่างชัดเจน มีการโฆษณาว่า น้ำผลไม้อินทรา มีสรรพคุณในการรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ ให้ดีขึ้นเหมือนกับการรักษาทางยา เช่น ไมเกรน โรคผิวหนัง โคเลสเตอรอล อัมพฤต อัมพาต เบาหวาน กระดูกสันหลังทับเส้น โรคมะเร็ง โรคตับอักเสบ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ เรียกว่ากวาดกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวางคุณเกษสุดา มีอาการอัมพาตช่วงหัวเข่า คิดว่าอาการของตัวเองไร้ทางออก หลงเชื่อว่าน้ำผลไม้ยี่ห้อนี้จะช่วยรักษาให้หายได้ เลยซื้อมากินหนึ่งขวด ราคาขวดละ 1,445 บาท ถูกมั้ยล่ะ กินไปได้ 2 เดือน อาการอัมพาตที่เป็นอยู่ก็ยังเหมือนเดิมนั่นแหละแต่ถึงขนาดนี้คุณเกษสุดาก็ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองถูกหลอกหรือเปล่า เลยส่งเรื่องมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบโฆษณาน้ำดื่มผลไม้ยี่ห้อนี้ แนวทางแก้ไขปัญหามูลนิธิฯ ได้มีหนังสือไปถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อปลายเดือนกันยายน 2554 และได้รับหนังสือตอบกลับมาในกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2556เรามาดูกันว่าเส้นทางการจัดการปัญหาโฆษณาหลอกลวงของน้ำผลไม้ยี่ห้อดังกล่าวหลังจากนี้เป็นอย่างไรบ้าง อย. ได้รับเรื่องร้องเรียนในวันที่ 7 ตุลาคม 2554 และได้ส่งเรื่องให้สำนักงานสาธารณสุขเชียงใหม่(สสจ.เชียงใหม่) ทำการตรวจสอบ ขณะเดียวกันสำนักอาหารของ อย. ได้ทำการตรวจสอบควบคู่ไปในเวลาเดียวกันวันที่ 7 พฤศจิกายน 2554 สำนักอาหารได้สรุปผลการตรวจสอบเอกสารการโฆษณาส่งกลับมาที่เลขา อย.  ได้ความว่า เอกสารของโฆษณาสื่อให้เข้าใจว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตราอินทรา มีสรรพคุณในการบำบัด บรรเทารักษาโรคได้หลายชนิด แม้จะมีการแสดงเลขอนุญาตโฆษณาอาหาร แต่การโฆษณาซึ่งทำให้เข้าใจสรรพคุณลักษณะดังกล่าวถือว่าไม่ได้รับอนุญาตให้โฆษณา จัดเป็นการโฆษณาคุณประโยชน์ สรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีการหลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร จัดเป็นการกระทำฝ่าฝืนมาตรา 41 และมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522สำนักอาหารยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า กรณีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเคยได้ตรวจสอบกับบริษัท ไลฟ์สไตล์ฯ หลายครั้งแล้ว และไม่พบว่ามีเอกสารการโฆษณาตามที่มีการร้องเรียน อย่างไรก็ตามอาจเป็นไปได้ว่า เป็นการดำเนินการของสมาชิกอิสระของบริษัทฯ เนื่องจากบริษัทฯ ประกอบธุรกิจจำหน่ายอาหารแบบขายตรง และข้อมูลการร้องเรียนแจ้งว่าผู้ร้องเรียนได้รับเอกสารจากบุคคลชื่อ ป๋ามร ระบุหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบจากอินเตอร์เน็ตว่า หมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าว        เป็นของ นายมร  กันยาบำเรอ ทั้งนี้ จากการขอข้อมูลชื่อ-สกุล และที่อยู่ของบุคคลดังกล่าวกับนายอำเภอเมืองนนทบุรี ได้ข้อมูลว่าบุคคลดังกล่าวอยู่บ้านเลขที่......ตำบลป่ากุมเกาะ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย จึงเห็นควรแจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัยตรวจสอบดำเนินการตามกฎหมาย และสั่งระงับโฆษณากับผู้โฆษณาในเขตพื้นที่ และให้รวบรวมบันทึกการตรวจสอบและพยานหลักฐานส่งให้ สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำเนินการกรณีพบว่า เป็นการดำเนินการเผยแพร่โฆษณาโดยบริษัทฯ และนอกจากนี้เนื่องจากเห็นว่า เป็นการโฆษณาจำหน่ายอาหารในลักษณะขายตรง ซึ่งอาจมีการโฆษณาลักษณะดังกล่าวทั่วประเทศ จึงเห็นควรประสาน กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคช่วยเผยแพร่ข้อมูลความรู้ให้กับผู้บริโภคทราบ และให้ใช้วิจารณญาณอย่าหลงเชื่อคำโฆษณา และประสาน กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อแจ้งให้ทุกจังหวัดเป็นข้อมูลเฝ้าระวังวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ มีหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนถึง เลขา อย. แจ้งว่า พบว่าศูนย์ข้อมูลน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพป๋ามร มีสถานที่อยู่ที่ ต.ท่าชัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เป็นสถานที่ตั้งของสถานีวิทยุ FM 95.25 MHzสอดคล้องกับการตรวจสอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัยซึ่งมีหนังสือตอบกลับมาที่ อย.ในวันที่ 7 ธันวาคม 2554 ว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย ได้ตรวจสอบสถานที่ หจก.กันยามีเดีย ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าชัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้อินทรา ขณะตรวจพบ นางดวงศมนฑร์  ไกรทอง ผู้ดูแลกิจการ ยอมรับว่า เอกสารแสดงสรรพคุณเป็นของทางร้านที่แนบไปกับผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบให้กับลูกค้า สสจ.สุโขทัย จึงได้ชี้แจงว่าเอกสารดังกล่าวเป็นการโอ้อวดสรรพคุณเป็นยาไม่ใช่น้ำผลไม้ และให้ยุติการแจกจ่ายเอกสารให้กับลูกค้า ส่วนเอกสารของบริษัทผู้นำเข้าได้รับอนุญาตโฆษณาถูกต้อง สามารถเผยแพร่ได้ นอกจากนี้ ทางร้านยังมีการโฆษณาทางวิทยุคลื่น 95.25 MHz ขอให้นำข้อความหรือเสียงมาขออนุญาตจากจังหวัดให้ถูกต้องเสียก่อนจึงจะโฆษณาได้ ขณะนี้(ช่วงเวลาในขณะนั้น)ให้ระงับโฆษณาไปก่อน ต่อมา นายมร กันยาบำเรอ ได้เดินทางมาที่สำนักงานสาธารณสุขจ.สุโขทัย รับว่าจะดำเนินการให้ถูกต้อง โดยยุติการแจกจ่ายเอกสารแสดงสรรพคุณ 31 รายการ และดำเนินการขออนุญาตเกี่ยวกับโฆษณาให้ถูกต้อง31 มกราคม 2555 สสจ.สุโขทัย ได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสัชนาลัย เพื่อขอความร่วมมือในการบันทึกเสียงการโฆษณาจากสถานีวิทยุชุมชน FM 95.25 MHz8 กุมภาพันธ์ 2555 สสจ.สุโขทัย มีหนังสือกลับมาที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาว่า ได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่บันทึกเสียงการโฆษณา ณ ปัจจุบัน (หลังจากแจ้งให้สถานีวิทยุระงับการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย)ซึ่งเบื้องต้นยังไม่พบข้อความที่จะเข้าข่ายหรือหลอกลวงให้หลงเชื่ออีก 1 ปีต่อมา19 กุมภาพันธ์ 2556 อย. ได้มีหนังสือตอบกลับมาที่มูลนิธิฯว่า จากการตรวจสอบเอกสารโฆษณาดังกล่าว พบว่า มีการโฆษณาคุณประโยชน์สรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต และหลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร ผู้โฆษณาชื่อ นายมร กันยาบำเรอ เป็นสมาชิกขายตรงอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย จึงได้ขอความร่วมมือ สสจ.สุโขทัยตรวจสอบสถานที่จำหน่ายห้างหุ้นส่วนจำกัด กันยามีเดีย โดยผู้ดูแลกิจการยอมรับว่า เอกสารโฆษณาเป็นของทางร้าน จึงได้ให้ยุติการแจกจ่ายให้กับลูกค้า นอกจากนี้ทางร้านยังมีการโฆษณาทางวิทยุคลื่น 95.25 MHz จึงขอให้นำข้อความหรือเสียงมาขออนุญาตให้ถูกต้อง ซึ่งได้ให้ระงับโฆษณาไปก่อน ต่อมานายมรฯ ได้เดินทางมาที่สำนักงานสาธารณสุข(จ.สุโขทัย) รับว่าจะดำเนินการให้ถูกต้อง ทั้งนี้ได้มีการประชาสัมพันธ์เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อในคำโฆษณา และแจ้งให้ทุกจังหวัดเป็นข้อมูลเฝ้าระวังด้วยแล้วอย.ตอบกลับมาที่มูลนิธิฯ เหมือนกับที่ สสจ.สุโขทัย ตอบกลับมาที่ อย. แทบไม่มีผิดเพี้ยนผู้บริโภคหลงเชื่อโฆษณาเสียเงินไป 1,445 บาท เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม นี่แค่รายเดียวที่มีการร้องเรียน แต่จะมีอีกกี่รายที่โดนแบบนี้ แต่ในเบื้องต้น สสจ. และ อย. ได้ใช้มาตรการตักเตือนไปก่อน ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่า การดำเนินการคดีทางกฎหมายจะเป็นเช่นใดทั้งนี้ ตามกฎหมาย พ.ร.บ.อาหารพ.ศ. 2522 ความผิดในมาตรา 40 ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 41 ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ ภาพยนตร์ หรือทางหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น หรือด้วยวิธีอื่นใดเพื่อประโยชน์ในทางการค้า ต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนตร์ หรือข้อความที่จะโฆษณาดังกล่าวนั้นให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะโฆษณาได้ ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 คนใกล้ชิดรับเหมาซ่อมบ้าน รับเงินแล้วงานอืด

โศรส เป็นหนึ่งในผู้ประสบภัยคราวน้ำท่วมใหญ่ฤทธิ์ของน้ำที่เข้ามาท่วม เอ่อและขัง ทำให้บ้านได้รับความเสียหายทั้งในบ้านและนอกบ้านอย่างที่ทราบกันดี ช่วงหลังน้ำท่วม ผู้รับเหมาซ่อมบ้านงานเข้าเป็นกอบเป็นกำและมีข่าวทิ้งงานก็เยอะ  ซ้ำหาตัวยากแสนยากโศรสพยายามมองหาผู้รับเหมาที่ไว้ใจได้ จนมีรุ่นน้องที่ทำงานแนะนำให้รู้จักกับน้องชายและทีมงานที่ทำงานรับเหมาทำบ้านซ่อมบ้านสร้างบ้านอยู่โศรสและสามีตกลงทำสัญญาว่าจ้างให้ซ่อมบ้านทั้งในบ้านและนอกบ้าน แม้จะต้องจ่ายเงินค่ามัดจำค่อนข้างเยอะ แต่ด้วยความไว้วางใจเห็นเป็นน้องของคนรู้จักที่ทำงานจึงไม่ได้ต่อรองอะไรเธอเล่าว่าตอนแรกๆ ทีมรับเหมาก็มาทำงานทุกวันจนครบตามสัญญาที่ต้องจ่ายเงินมัดจำ 2 งวด  เป็นจำนวนทั้งหมด 96,000 บาท หรือราว 80% ของยอดทั้งหมด แต่งานที่ทำยังไม่ถึง 50% ของที่ตกลงไว้ในสัญญา โดยแต่ละครั้งที่มาทำจะมากันแค่ 2 คน คือน้องชายของน้องที่ทำงานที่เป็นคนแนะนำกับคนงานอีก 1 คนเมื่อตรวจเช็คงานที่ทำ มีหลายครั้งที่ไม่ตรงตามที่ตกลง เช่น ของเงินเพิ่ม 10,000 บาท เพื่อจะจ้างรถใหญ่มางัดพื้นขุดหลุม แต่ก็ไม่ได้มา อ้างว่ายามหมู่บ้านไม่ให้เข้า พอไปเช็คสอบถามยาม ยามบอกว่าไม่เคยเห็นมีรถใหญ่ขอเข้ามาเลยนอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการเลือกวัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น เสาเข็มความยาวไม่ถึง 6 เมตร ช่างรับเหมาอ้างว่า หาซื้อแถวนี้ไม่ได้ร้านไม่มาส่ง  โศรสเธอก็เที่ยวไปตามถามร้านอุปกรณ์ก่อสร้างแถวบ้านพบว่ามีหลายร้านที่ขายและมาส่งด้วย จากนั้นก็เริ่มไม่มาทำงาน โดยมีเหตุผลต่างๆ นานา เช่น ไม่สบายต้องเข้าโรงพยาบาล หรือรถเสียต้องเอาไปซ่อม หลายครั้งที่มีการโทรตามก็ติดต่อไม่ได้ ไม่ยอมรับโทรศัพท์ หรือบางครั้งโทรติดต่อได้ก็รับปากว่าจะมาแต่ก็ไม่ได้มาตามนัด“แฟนที่อุตส่าห์ลางานเพื่อมาเฝ้าดู ต้องเสียวันลาและเวลาไปฟรีๆ ดิฉันและแฟนโกรธมาก”ท้ายสุดต้องไปคุยกับรุ่นน้องที่บริษัทถึงปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้น กลัวจะมีการเบี้ยวงาน โกงเงินดิฉันไป รุ่นน้องที่บริษัทจึงช่วยประสานงานให้น้องเขากลับมาทำงานหลังจากหายไม่มาทำงานไปเดือนเศษ แต่พอมาทำได้แค่อาทิตย์เดียว น้องที่รับเหมาเริ่มตุกติก บอกว่าจจะทำให้แต่ส่วนนอกบ้านคือรั้วกับปูกระเบื้องนอกบ้าน แต่งานในบ้านเป็นส่วนของแถมไม่รวมให้“ดิฉันได้ฟังแล้วคิดว่า สงสัยจะถูกโกงแล้ว จึงไม่ยอม และบอกให้ช่างรับเหมาทำตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้แต่แรก แต่ทางผู้รับเหมาบอกว่า ไม่ได้กันเงินมาจ่ายค่าจ้างคนงาน ที่มีแค่หนึ่งคน ถ้าจะให้ทำข้างในบ้านต้องขอเวลารอเงินค่างวดที่จะได้จากอีกงานหนึ่งก่อน”“ดิฉันควรจะทำอย่างไรดีที่จะให้ผู้รับเหมา รับผิดชอบทำงานให้ครบตามที่สัญญาไว้” แนวทางแก้ไขปัญหางานที่ยังเหลือ คือการปูพื้นกระเบื้องในบ้าน ใส่บัว ลอกวอลเปเปอร์และทาสีชั้นล่างทั้งในบ้านและนอกบ้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนะนำให้ผู้ร้องเรียนรีบทำหนังสือเรียกร้องให้ผู้รับเหมารีบมาดำเนินการงานส่วนที่คั่งค้างโดยเร็ว หากไม่ดำเนินการตามคำเรียกร้อง ผู้ร้องเรียนสามารถบอกเลิกสัญญาและจัดหาผู้รับเหมารายใหม่มาทำงานต่อได้ และหากมีภาระค่าใช้จ่ายหรือความเสียหายเกิดขึ้นเพิ่มเติม ให้ย้อนกลับไปเรียกร้องเอากับผู้รับเหมารายแรกทันทีที่ผ่านมา โศรสได้แต่ใช้การทวงถามทางโทรศัพท์ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาได้หากต้องมีการฟ้องร้องกันเพราะไม่มีหลักฐานการติดตามเรื่องที่เป็นลายลักษณ์อักษรเลย แม้จะเป็นคนรู้จักมักจี่แค่ไหนก็ควรทำ เธอจึงทำจดหมายขึ้นมาเพื่อเรียกให้ผู้รับเหมามาดำเนินการซ่อมบ้านให้ครบตามสัญญา ซึ่งเหลือไม่มากแล้วไม่นาน หลังได้รับจดหมาย ผู้รับเหมาได้ทยอยเข้าซ่อมแซมงานที่คั่งค้างอยู่จนลุล่วง แม้จะล่าช้าไปบ้าง แต่เมื่อได้กลับเข้าอยู่อาศัยในบ้านแล้ว ผู้ร้องเรียนก็คลายใจ ไม่ติดใจเอาเรื่องเอาความอีกแต่อย่างใด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 ทรู อ้างอุปกรณ์ชำรุดริบเงินมัดจำ

วิโรจน์ สมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตกับทรู ไลฟ์ พลัส ตั้งแต่ปี 2550วิโรจน์ถูกเรียกเก็บค่ามัดจำอุปกรณ์รับสัญญาณเป็นเงินสองพันบาท จะได้คืนต่อเมื่อมีการบอกเลิกสัญญากันวิโรจน์ ใช้บริการอินเทอร์เน็ตกับทรู มาจนถึงกลางปี 2555 เป็นเวลา 5 ปี อยากจะบอกเลิกใช้บริการ จึงโทรไปแจ้งให้ทรูทราบว่า ต้องการบอกเลิกสัญญาและให้ทรูมาเก็บอุปกรณ์ของตัวเองไปหลังจากนั้นไม่นาน ทรูส่งเจ้าหน้าที่มาเก็บอุปกรณ์ คือกล่องดำรับสัญญาณ มารับอุปกรณ์ เซ็นเอกสารอะไรกันเสร็จ จากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ช่างที่มาเก็บอุปกรณ์โทรมาบอกว่า กล่องดำรับสัญญาณที่เก็บไปการ์ดชำรุด ใช้งานไม่ได้“ผมก็แย้งไปว่า กล่องดำที่เสียน่ะเป็นของผมหรือเปล่า หรือคุณทำของผมเสียหายแล้วโทรแจ้ง ทำไมตอนเก็บไม่ตรวจสอบต่อหน้าลูกค้าว่าอุปกรณ์เกิดชำรุด เสียหายอะไรบ้าง แล้วมาบอกว่าจะถูกหักเงินจากเงินมัดจำ”วิโรจน์ทักท้วงไป แต่ก็ไม่ได้ผลอะไร เพราะปลายเดือนเขาได้รับเงินโอนเข้าบัญชีจากทรูเป็นเงิน 1,000 บาท แทนที่จะเป็น 2,000 บาท วิโรจน์ต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาโทรไปถามทรูว่า ทำไมเงินมัดจำได้รับคืนไม่ครบ ได้รับคำตอบว่า เป็นการหักเงินค่ามัดจำอุปกรณ์ที่เกิดการชำรุดวิโรจน์รวบรวมหลักฐานที่มีอยู่ส่งเรื่องมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค “ผมคิดว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกค้า เป็นการหักโดยประมาณค่าใช้จ่าย และช่างของ ทรูได้เซ็นรับอุปกรณ์ไปแล้ว มาแจ้งภายหลังว่าการ์ดเสีย ไม่รู้ว่าเสียจริงหรือหรือเปล่า” แนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อได้ฟังข้อเท็จจริงจากผู้ร้องเรียนแล้ว เราจึงรีบแนะนำให้คุณวิโรจน์ทำจดหมายเรียนถึงกรรมการผู้จัดการบริษัท ทรู ไลฟ์ พลัส ทันที เพราะการเจรจาทางโทรศัพท์ฝั่งผู้บริโภคจะไม่มีอะไรเป็นหลักฐานยืนยันว่าได้เคยมีการทักท้วงในปัญหาที่เกิดขึ้น และให้ยืนยันอย่างชัดเจนว่ามีความประสงค์ในการร้องเรียนเพื่ออะไรคุณวิโรจน์ได้ทำหนังสือขึ้น เพื่อขอค่ามัดจำที่เหลืออยู่คืน เนื่องจากทรูได้รับอุปกรณ์คืนไปเรียบร้อยแล้ว แต่กลับมาอ้างว่าอุปกรณ์เสียในภายหลัง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น อุปกรณ์ดังกล่าวยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ เขียนเสร็จก็ส่งไปที่ อีเมล์ voc@truecorp.co.th พร้อมส่งสำเนามาให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเมื่อได้รับจดหมายร้องเรียนเป็นทางการแล้ว เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ จึงสามารถประสานไปที่ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียนของทรูได้ จากนั้นไม่นานได้รับแจ้งจากผู้ร้องเรียนว่า ได้รับเงินคืนจำนวน 1,000 บาทจากทรูเป็นที่เรียบร้อยแล้วใครที่มีปัญหาทำนองนี้ ใช้วิธีการร้องเรียนแบบนี้ได้ทันที ไม่ควรใช้ช่องทางโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 145 เปลี่ยนโปรฯ มือถือใหม่ เจอจ่าย 2 ต่อ

ผู้เขียนมีโอกาสไปเยี่ยมศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเพชรบูรณ์  เพื่อให้กำลังใจในการทำงาน  และแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำงานร่วมกัน   มีประเด็นน่าสนใจมากคือ  กรณีผู้บริโภคขอเปลี่ยนโปรโมชั่นการจ่ายเงินแต่กลับถูกเรียกเก็บเงินทั้ง 2 โปรฯ เหตุเกิดที่ บ้านคีรีรัตน์ หมู่ที่ 11 ตำบลเขกน้อย อำเภอ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์เรื่องมีอยู่ว่าน้องนักเรียนคนหนึ่งร้องเรียนว่าเงินที่เพิ่งไปเติมมา 500 บาท เมื่อวานนี้ หมดไปแล้วทั้งที่เพิ่งโทรออกไปแค่ 3 ครั้ง เท่านั้นเอง สอบถามได้รายละเอียดว่า โทรศัพท์ที่ใช้เป็นระบบเติมเงินของบริษัท  เอไอเอส  เดิมใช้โปรโมชั่นเหมาจ่ายเดือนละ   199 บาท โทรฟรีตั้งแต่ ตี 5 ถึง 5 โมงเย็น  ซึ่งใช้มานานพอสมควร จนเวลาของโปรฯ ที่ใช้อยู่จะหมด  ก็มีข้อความ SMS แจ้งเข้ามาในเครื่องว่าโปรฯ ที่คุณกำลังจะหมด  พร้อมโฆษณาโปรโมชั่นใหม่ โทรได้นาทีละ 99 สตางค์  ซึ่งผู้ร้องเรียนบอกว่าสนใจมากเพราะคิดว่าที่ใช้อยู่เดือนละ 199 บาท ตัวเองใช้ไม่ถึง จากนั้นก็เลยไปติดต่อที่ศูนย์ เอไอเอส  เพื่อขอเปลี่ยนโปรฯ  ก็ได้คำตอบจากเจ้าหน้าที่ว่า  หากจะเปลี่ยนโปรฯ ต้องเติมเงินก่อน   ผู้ร้องเลยตัดสินใจเติมเงินไป 500 บาท พร้อมขอเปลี่ยนไปใช้โปรฯ ใหม่ไปพร้อมๆ กัน   เสร็จเรียบร้อยก็กลับบ้านอย่างมีความสุขเพราะได้สิ่งที่ต้องการแล้วรุ่งขึ้นอีกวันความสุขที่ว่ากลับเปลี่ยนเป็นความทุกข์ทันที  เมื่อเงินที่เติมมา 500 บาท หมดไปเพราะการโทรแค่ 2 ครั้ง   ศูนย์ฯ จึงได้ประสานไปที่ศูนย์บริการลูกค้าของเอไอเอส  ได้คำตอบว่า เพราะผู้ร้องเรียนไปเติมเงินพร้อมเปลี่ยนโปรฯ ใหม่ในวันเดียวกัน  จึงถูกเรียกเก็บเงินทั้ง เหมาจ่ายรายเดือน 199 บาท และโปรฯ นาทีละ 99 สตางค์   จึงทำให้เงินหมดไว ศูนย์ฯ ก็ถามต่อไปอีกว่า มันเอาเปรียบผู้บริโภคชัดๆ  ก็ได้คำตอบว่า  นี่เป็นระบบที่บริษัทตั้งไว้ (เฮ้ย....ตั้งไว้อย่างนี้ผู้บริโภคก็แย่นะซิ!)ใครมีปัญหาร้องเรียนมาบริษัทก็พร้อมจะคืนให้ (อ้าว..อย่างนั้นคนที่ไม่ร้องและไม่รู้ก็โดนเอาเปรียบใช่ไหม? ) แล้วทำไมไม่บอกก่อนว่า การเปลี่ยนโปรฯ กับเติมเงินทำพร้อมกันแล้วจะถูกเรียกเก็บ 2 ต่อ”การที่ผู้ประกอบการตั้งระบบ บริการที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างนี้” นั่นคือ “โกงชัดๆ” องค์กรกำกับ(กสทช.) อย่าเอาแต่นิ่งเฉย ท่านต้องมีนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหา และมีบทกำหนดโทษให้ชัดเจน!  เพื่อป้องปรามมิให้เกิดเรื่องเช่นนี้อีก  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 145 ตามหาเงินเยียวยา

ดิฉันชื่อ ฉันทนาค่ะเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2555 ได้นั่งรถโดยสารปรับอากาศเดินทางจากกรุงเทพฯ จะไปลงที่โพนพิสัย จ.หนองคาย เพื่อไปหาพ่อแม่ จองตั๋วรถกับบริษัท แอร์อุดร จำกัด เส้นทางกรุงเทพฯ-บึงกาฬ ระหว่างทางรถโดยสารขับมาด้วยความเร็วสูงมาก ถึงช่วงถนนมิตรภาพ  อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เกิดอุบัติเหตุรถโดยสารที่ดิฉันนั่งมาคนขับพยายามจะขับแซงรถพ่วงแต่ไม่พ้น และไปชนท้ายรถบรรทุกพ่วงอย่างแรงก่อนเสียหลักลงไหล่ทาง ทำให้ดิฉันได้รับบาดเจ็บศีรษะแตก และกระดูกนิ้วก้อยเท้าขวาแตกหน่วยกู้ภัยพาดิฉันส่งโรงพยาบาลปากช่องนานา แพทย์ได้ทำการรักษากระดูกแตกที่นิ้วเท้าและเย็บแผลแตกที่ศีรษะรวม 10 เข็ม จะกลับบ้านได้ต้องโทรศัพท์ให้ญาติมารับหลังประสบอุบัติเหตุ ไม่ได้รับการติดต่อใดๆ จากบริษัท แอร์อุดรเลย ประมาณวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 ได้รับการติดต่อจากแม่ว่า ตำรวจให้ไปพบที่สถานีตำรวจโพนพิสัย จึงได้ไปตามนัดในวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 บริษัท แอร์อุดร ได้ส่งพนักงานไม่แจ้งชื่อมาเจรจาโดยมีข้อเสนอชดใช้เยียวยาให้ที่จำนวน 50,000 บาท ดิฉันได้ตกลงยอมรับข้อเสนอ พนักงานคนนั้นจึงบอกกับดิฉันว่าจะติดต่อกลับมาภายใน 7 วันนับจากวันที่แจ้ง แต่จนถึงปัจจุบัน(28 สิงหาคม 2555) ยังไม่ได้รับการติดต่อใดๆ จากบริษัทดังกล่าวเลยดิฉันขอให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายในจำนวนเงิน 50,000 บาท ให้กับดิฉันด้วยค่ะ แนวทางแก้ไขปัญหาคุณฉันทนาเป็นหนึ่งในผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บจำนวนทั้งสิ้น 29 ราย ในอุบัติเหตุครั้งนั้น มูลนิธิฯได้ติดตามตรวจสอบข้อมูลแล้วทราบว่า รถโดยสารคันดังกล่าว ทำประกันภัยไว้กับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด จึงได้มีหนังสือเชิญตัวแทนจากบริษัท ทิพยประกันภัย มาร่วมเจรจากันในวันที่ 25 ธันวาคม 2555 แต่เนื่องจากผู้เสียหายอยู่ต่างจังหวัดไม่สามารถเดินทางมาร่วมเจรจาได้ จึงมีการเจรจากับผู้เสียหายทางโทรศัพท์กันในวันนั้น ได้ผลว่า บริษัท ทิพยประกันภัย ตกลงจ่ายค่าสินไหมตามที่ได้มีการร้องขอและเจรจากันไว้แต่แรก จำนวน 50,000 บาท และนัดหมายเพื่อมารับเช็คค่าสินไหมอีกครั้งในอาทิตย์ถัดไป อาทิตย์ต่อมาตัวแทนของทิพยประกันภัยเตรียมเช็คค่าสินไหมมาตามวันเวลานัดหมาย แต่ปรากฏว่าผู้เสียหายไม่สามารถติดตามตัวได้ในวันนั้น จึงต้องกำหนดนัดใหม่เป็นสัปดาห์ถัดไป อีกสัปดาห์หนึ่งต่อมาผู้เสียหายจึงสามารถเดินทางมารับเช็คค่าสินไหมได้ด้วยตนเองนอกจากคุณฉันทนาแล้ว ยังมีผู้โดยสารอีกท่านหนึ่งคือคุณโพสิทธิ เครือเนตร ที่ได้รับบาดเจ็บและทิพยประกันภัยตกลงที่จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท แต่ขณะนี้ไม่สามารถติดต่อได้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและทิพยประกันภัยจึงได้ทำหนังสือตกลงกันไว้ว่า หากผู้เสียหายท่านนี้ได้ติดต่อกลับมา ทางทิพยประกันภัยยินดีดำเนินการเยียวยาความเสียหายให้ต่อไปคุณโพสิทธิ หรือญาติ ทราบข่าวแล้วโปรดติดต่อกลับมาด่วน ทิพยประกันภัยรอคุณอยู่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 145 กรวดก้อนเดียว มูลค่าเป็นแสน

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อล่ะกรวดก้อนเดียวมีมูลค่าเป็นแสนจริงๆณัฎฐา เป็นสาวไทยได้สามีเป็นหนุ่มออสเตรเลีย ทุกๆ ปี จะพาสามีและบุตรสาวกลับมาที่ประเทศไทยเพื่อมาเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่ที่บ้านระหว่างที่อยู่ในประเทศไทย เธอได้พาสามีและลูกสาวไปรับประทานอาหารในร้านอาหารฟูจิ สาขามาบุญครอง วันนั้นมีการสั่งอาหารไปหลายรายการ รวมทั้ง TAKO SASHIMI จังหวะที่กำลังเพลิดเพลินกับรสชาติอาหารเมนูนี้อยู่ ฟันของเธอได้ไปกระทบกับของแข็งที่ปะปนอยู่ใน TAKO SASHIMI อย่างแรง พอคายออกมาถึงเห็นว่ามันเป็นก้อนกรวดขนาดสัก 3 มิลลิเมตร มันใหญ่พอที่จะทำให้ฟันกรามล่างด้านซ้ายซี่หนึ่งแตกหักไปครึ่งซี่ แถมยังมีเลือดปนออกมาด้วยณัฎฐา เรียกผู้จัดการร้านมาทันที ผู้จัดการร้านมาถึงก็กล่าวคำขอโทษพร้อมนำ TAKO SASHIMI มาเปลี่ยนให้ใหม่ แล้วรีบเก็บ TAKO SASHIMI ชามเดิมรวมทั้งก้อนกรวดออกไป พร้อมกับยื่นนามบัตรให้ 1 ใบ กำชับให้ผู้ร้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาและมาเก็บค่ารักษาพยาบาลกับทางร้านในภายหลังช่วงเวลาที่เกิดเหตุ เป็นเวลาที่ดึกมากแล้ว คุณณัฎฐาจึงยังไม่ได้ไปพบแพทย์ในคืนนั้น พอรุ่งเช้าจึงไปพบแพทย์ที่คลินิกแห่งหนึ่ง แพทย์ตรวจดูอย่างละเอียดแล้วแจ้งว่า ฟันหักมากควรจะถอนทิ้ง แต่ทีนี้เมื่อถอนฟันกรามด้านล่างแล้วจะต้องถอนฟันกรามด้านบนด้วย เพราะถ้าถอนด้านล่างอย่างเดียวเวลาเคี้ยวอาหารจะเกิดความไม่สมดุลกัน“ถ้าไม่ถอนออกล่ะคะคุณหมอ” เธอถามหาทางเลือก“ถ้าไม่ถอนออก ก็ต้องรักษาไปตามอาการ คือ จะต้องมีการอุดฟันในส่วนที่หักไว้ก่อน แล้วจึงค่อย ทำการรักษารากฟันทีหลัง พร้อมทั้งทำครอบฟันด้วย” คุณหมออธิบายโดยละเอียด เมื่อเห็นทางเลือกในการรักษา ณัฎฐาบอกให้แพทย์รักษาไปตามอาการก่อน เพื่อที่จะกลับไปตัดสินใจอีกครั้งหนึ่งว่าจะถอนฟันทิ้งไปดีหรือไม่วันรุ่งขึ้น เธอเดินทางไปที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ทำการแจ้งความเอาไว้เป็นหลักฐาน และอีกวันหนึ่งต่อมา ณัฎฐาและครอบครัวต้องเดินทางกลับออสเตรเลีย จึงได้ทำการมอบอำนาจให้คุณพ่อของเธอมาดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายแทนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้วันครอบครัวของณัฎฐาอยู่ในบรรยากาศ ซึมกันไปหมดเมื่อกลับไปถึงออสเตรเลียแล้ว เธอแจ้งกลับมาหาคุณพ่อว่า กินอะไรก็ไม่อร่อยเลย เพราะไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้เหมือนปกติ ท้ายที่สุดต้องตัดสินใจถอนฟันซี่ที่แตกหักและซี่ที่เกี่ยวข้อง แต่ค่ารักษาพยาบาลที่ออสเตรเลียนั้นแพงเอาการอยู่ จึงต้องการให้ร้านอาหารญี่ปุ่นชื่อดังแห่งนี้เยียวยาความเสียหายโดยเร็ว แนวทางแก้ไขปัญหาคุณพ่อของณัฎฐานำเรื่องมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอให้ช่วยเรียกค่าเสียหายให้ด้วย หลังรับเรื่องร้องเรียน มูลนิธิฯ ได้มีหนังสือเชิญตัวแทนร้านอาหารฟูจิเพื่อมาเจรจาไกล่เกลี่ยกัน โดยฝ่ายผู้เสียหายขอเรียกค่าเสียหายเป็นเงินรวม 202,246 บาท แบ่งเป็นค่าอาหารมื้อที่สร้างทุกข์ 1,096 บาท ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นที่จ่ายให้กับคลินิกในประเทศไทย 1,150 บาท ค่าใช้จ่ายในการรักษาฟันที่ออสเตรเลียประเมินแล้วน่าจะอยู่ราว 100,000 บาท และค่าทุกข์ทรมานในการสูญเสียฟัน 100,000 บาทร้านอาหารฟูจิ ได้ทำประกันภัยไว้กับทิพยประกันภัย ทิพยประกันภัยจึงส่งตัวแทนประกันภัยเข้าร่วมเจรจา ท้ายที่สุดได้ข้อตกลงว่าบริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 110,000 บาท ทางฝ่ายผู้เสียหายเห็นว่าการเยียวยาเป็นไปตามสมควรเพียงพอต่อการรักษาพยาบาลทางร่างกายและจิตใจแล้วจึงยอมยุติเรื่อง ไม่ต้องเสียเวลาเดินเรื่องฟ้องร้องต่อศาลต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 145 มหากาพย์ซิมฟรี ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

 เรียนผู้จัดการบริษัท True move หรือผู้เกี่ยวข้องดิฉันมีข้อข้องใจในการหาลูกค้าและบริการของซิมที่ทางบริษัท True ให้เจ้าหน้าที่มาเดินยัดเยียด แจกฟรี ตามชุมชนต่างๆเนื่องจากบุตรชายของดิฉันน่าจะตกเป็นเหยื่อของกลโกงทางการค้าของท่าน เนื่องจากดิฉันได้รับจดหมายให้ชำระค่าบริการ True จากบริษัท เรียลมูฟ จำกัด ส่งมาเรียกเก็บค่าบริการ ดิฉันจึงได้โทรติดต่อไปยังบุตรชายที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยในจังหวัดชลบุรี เนื่องจากการเรียกเก็บเป็นในนามบุตรชายบุตรชายแจ้งว่า ไม่ได้ใช้เลย แต่จำได้ว่าประมาณ 1-2 เดือนที่ผ่านมา ขณะไปขึ้นรถไปชลบุรีที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กทม. มี เจ้าหน้าที่ของ True แจ้งว่า แจกซิมฟรี ยัดเยียดให้ผู้คนที่ผ่านไปมา และบุตรชายก็มารับมาตามประสาความซื่อ จนท. True ขอสำเนาบัตรประชาชนโดยแจ้งว่า จะเอาไปเก็บเป็นสถิติ โดยไม่มีการให้ลงเอกสารใดๆ ในการขอใช้ซิม True ทั้งสิ้นบุตรชายรับมาโดยไม่ใช้ใดๆ แต่มีเอกสารตามมาเก็บเงิน เมื่อดิฉันแจ้งให้บุตรไปยกเลิก บุตรช ายได้ไปชำระเงินและแจ้งยกเลิก แต่ทาง จนท. รับชำระเงินอ้างว่ายกเลิกแล้วก็ยังต้องเสียค่าบริการไปอีก 2 เดือน เป็นค่าต่อสัญญาณหรืออะไรสักอย่าง บุตรชายจึงโทรมาแจ้งให้ดิฉันทราบดิฉันจึงแจ้งให้ลูกไปแจ้งความลงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน (ไม่แน่ใจว่าลูกจะไปหรือไม่ เพราะเสียเวลามาก) ต่อมาสามีของดิฉันจึงได้โทรติดต่อ 1331 (คอลเซนเตอร์ทรู) ต่อว่าผู้รับสาย (ซึ่งน่าจะเป็นพนักงานที่ไม่มีอำนาจการตัดสินใจ) ไม่สามารถชี้แจงได้ว่า เหตุใดจึงทำการหลอกลวงเช่นนั้นตอนแรก ดิฉันไม่คิดจะเขียนจดหมายฉบับนี้ เพราะเบื่อกับการฟ้องร้องหรือร้องเรียน ซึ่งกฎหมายของไทยและระบบยุติธรรมที่ล่าช้าและยุ่งยาก แต่พอมาคุยกับผู้ร่วมงาน หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เคยถูกหลอกลวงยัดเยียดซิมแบบนี้มาก่อน โดยพนักงาน True อ้างว่า ฟรี และไม่แจ้งว่าจะมีการเรียกเก็บเงินแต่อย่างใด ดิฉันจึงเปิด Website ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและหาทางออก รวมทั้งอยากให้ท่านได้ชี้แจง หรือเลิกใช้วิธีการโกงเช่นนี้ การที่ทางบริษัทฯ หาลูกค้าด้วยวิธีโกงเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ลูกค้า ซึ่งจะมีในอนาคตอย่างครอบครัวเรา จะจำ Brand True เป็น False จริงอยู่บริษัทของท่านอาจเป็นผู้ผูกขาดในอนาคตยิ่งใหญ่ในวงการโทรคมนาคมก็เป็นได้ ประชาชนตัวเล็กๆ อย่างเรา คงไม่สามารถต่อกรกับท่านได้ แต่ความเชื่อถือหายไป และท่านกำลังทำให้เยาวชนที่ถูกท่านหลอกลวง จะเกิดรอยประทับในจิตใจของเขาเหล่านั้น ให้เกิดความไม่ไว้วางใจในสังคมธุรกิจหรือสังคมไทยอีกท่านได้ทำลายความดีงามในใจของเยาวชนที่เสมือนผ้าขาวให้ไม่ไว้วางใจใคร ไม่เชื่อใคร และไม่คิดจะช่วยใครอีก ซึ่งเป็นความเสียหายที่ประเมินค่ามิได้ ดิฉันรู้สึกเสียใจกับการกระทำของ True เป็นอย่างยิ่ง เงินแค่พันกว่าบาทดิฉันและลูกจ่ายได้อยู่แล้ว แต่ความรู้สึกดีๆ ที่หายไปนี่เป็นสิ่งสำคัญ มันไม่มีเหลืออยู่อีกเลยถ้าการหาลูกค้าด้วยวิธีนี้ไม่ใช่นโยบายของ True แต่เป็นการกระทำของพนักงานที่ท่านจ้างไปเดินแจกซิม ก็ขอให้ท่านชี้แจงและอบรมพนักงานของท่านให้ดี อย่าให้ทำเสียชื่ออีก แต่ถ้าเป็นนโยบายของท่าน ดิฉันเชื่อว่า ลูกค้าของท่านคงไม่มั่นใจในบริการของท่าน ในอนาคตโลกเปลี่ยนไปแล้ว การค้าที่ไม่สนใจคำร้องเรียน หรือโกง คงจะสื่อกันให้รู้ได้เร็วกว่าก่อน โลกนี้คงไม่ได้อยู่ในมือท่านตลอดไปถ้าท่านอ่านมาถึงนี้แล้ว ดิฉันขอขอบคุณที่อ่าน และมีอีกสิ่งที่ดิฉันบอกลูกว่า แม่เสียใจที่เลี้ยงลูกให้เป็นคนดีเกินไป มองโลกในแง่ดี จนกลายเป็นคนโง่ เลยตกเป็นเหยื่อของคนโกง แนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการหลอกแจกซิมฟรี แล้วมาเรียกเก็บเงินภายหลังเพราะเป็นระบบจ่ายแบบรายเดือน โดยที่ผู้บริโภคไม่ได้ต้องการที่จะใช้บริการ หรือเผลอไปใช้บริการแล้ว แต่ไม่รู้ว่าเป็นแบบจ่ายรายเดือนเลยต้องการบอกเลิกสัญญา แต่พอไปบอกเลิกก็เลิกได้ยาก อ้างโน่นอ้างนี่ สุดท้ายถูกหลอกกินตังค์ไปเรื่อยๆ กรณีแบบนี้ ผู้บริโภคจะได้รับความคุ้มครองตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 8 ที่กำหนดไว้ว่า สัญญาย่อมเกิดขึ้นเมื่อคู่สัญญาได้แสดงเจตนาเสนอและสนองถูกต้องตรงกัน โดยชัดแจ้งว่า ผู้ให้บริการตกลงให้บริการโทรคมนาคม และผู้ใช้บริการตกลงใช้บริการโทรคมนาคมของผู้ให้บริการ ในกรณีที่ผู้ใช้บริการมิได้ปฏิเสธข้อเสนอเกี่ยวกับบริการใดของผู้ให้บริการจะถือว่าผู้ใช้บริการได้แสดงเจตนาตกลงใช้บริการนั้นของผู้ให้บริการมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ใช้บริการได้ใช้บริการนั้นอยู่แล้ว และประสงค์จะใช้บริการนั้นต่อไปดังนั้น ย้ำชัดๆ ว่า ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เต็มร้อย  หรือหากจ่ายค่าบริการไปแล้วก็สามารถที่จะเรียกเงินคืนได้ ไม่ต้องไปฟังเสียงผีคอลเซนเตอร์ใดๆมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ส่งเรื่องไปที่ True ผ่านทางอีเมล์ voc@truecrop.co.th รวมทั้งติดต่อไปที่หมายเลขโทรศัพท์รับเรื่องร้องเรียนของ True ที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย คือ 02-9008088 เพื่อขอให้ทรูยกเลิกการเรียกเก็บเงินและคืนเงินที่ได้เรียกเก็บไปแล้ว พร้อมยกเลิกสัญญาการให้บริการในเลขหมายที่มีการร้องเรียนมา ซึ่ง ทรู ยินยอมคืนเงินโดยโอนเข้าบัญชีที่ผู้ร้องเรียนแจ้งและยกเลิกสัญญาตามความประสงค์ของผู้ร้องเรียนอย่างไม่มีเงื่อนไขจะเห็นว่าการบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืน(หากเผลอจ่ายไปก่อน) ไม่จำเป็นต้องไปติดต่อที่สำนักงานสาขาของผู้ให้บริการมือถือเลย ส่งเรื่องทางอีเมล์ก็ได้ แนบสำเนาบัตรประชาชนพร้อมเขียนข้อความคาดทับกำกับให้ชัดเจนว่าใช้เพื่อการร้องเรียนเท่านั้น พร้อมแจ้งหมายเลขบัญชีที่ต้องการให้ผู้ให้บริการมือถือส่งเงินคืน เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วซิมฟรี แถวอนุสาวรีย์ชัยฯ มีอันตรายเช่นนี้แล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 144 ไฟฟ้าตก แต่ต้องจ่ายค่าไฟแพง

พอดีผู้เขียนได้ทำหน้าเป็นประธานคณะกรรมการผู้ใช้พลังงาน(คพข) เขต 10 ราชบุรี  (ตาม พรบ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550)  มีจังหวัดในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ ระนอง,ชุมพร,ประจวบ,เพชรบุรี,สมุทรสงครามและราชบุรี  ภารกิจที่สำคัญคือการรับและแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียน   มีเรื่องร้องเรียนมามากมายหลายเรื่อง ทั้งเรื่องถูกเก็บค่าต่อเชื่อมมิเตอร์ 107 บาท ทั้งที่ไม่ได้ถูกตัดไฟ(ไฟไม่ดับปรับ 107 ไม่ได้) การถูกเรียกเก็บค่าไฟฟ้าราคาไม่เป็นธรรม ถูกเรียกเก็บค่าไฟฟ้าแต่ไม่มีใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ แต่ที่น่าสนใจคือเรื่องร้องเรียนกรณีไฟฟ้าตก(ตกติดต่อกันเกิน 6 เดือนแล้ว)  เปิดไฟฟ้าไม่ค่อยติดแต่บิลค่าไฟฟ้าแพงกว่าปกติ เกือบ 2 เท่า(หลักฐานจากประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง 6 เดือน)ผู้ร้องแจ้งว่าไฟฟ้าที่บ้านตกมาก  ตกขนาดไฟฟ้าทุกดวงที่บ้านดับหมด ดูทีวีได้อย่างเดียว  เข้าห้องน้ำก็ต้องใช้เทียน จนอ่างน้ำจะเป็นกระถางน้ำมนต์อยู่แล้วเพราะมีน้ำตาเทียนลอยอยู่เต็ม   หรือไม่ก็ต้องกระเสือกกระสนไปซื้อไฟฟ้าฉุกเฉินมาใช้ในเวลากลางคืน  เครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งตู้เย็น  พัดลม หม้อหุงข้าว  เสียหมดต้องซื้อใหม่ยกชุด  แต่พอบิลค่าไฟฟ้ามาเก็บถึงกับเข่าอ่อน จากเดิมที่เคยเสียอยู่  1,300 บาท  กลับมีตัวเลขถึง 2,700  บาทเมื่อมีเรื่องร้องเรียนเข้ามา  คพข. ได้ประสานไปยังการไฟฟ้าจังหวัด  ไฟฟ้าได้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจตัวเลขที่จดว่าตรงกันไหม  ผลัดกันไปหลายชุด  ปรากฏว่าตัวเลขในบิลเรียกเก็บกับมิเตอร์ตรงกัน  ผู้ใช้ไฟฟ้าก็ไม่ยอมและได้นำคลิปวิดีโอมาให้ดูว่า  เขาเปิดไฟฟ้าทั้งบ้าน  ทุกดวงมีการสตาร์ทไฟแดงๆ แต่ไม่ติด พร้อมคำถาม ไฟฟ้าไม่ได้ใช้ทำไมต้องจ่ายค่าไฟแพงด้วย และยืนยันว่าจะยอมจ่ายค่าไฟฟ้า ตามตัวเลขที่เคยใช้เท่านั้น  ส่วนที่เกินไปไม่ใช่ความผิดของผู้ใช้ไฟ ดังนั้นไม่ควรโยนภาระมาให้ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องรับผิดชอบ เรื่องนี้ไฟฟ้าได้นำไปหารือในคณะกรรมการเพราะไม่เคยมีใครมาร้องเรียนในประเด็นอย่างนี้  สรุปมาคร่าวๆ คือกำลังไฟฟ้า โวลต์กับแอมแปร์มาไม่เท่ากันทำให้ไฟฟ้าสตาร์ทตลอดเวลา  แต่ไฟฟ้าไม่ติด  และการที่ไฟฟ้าสตาร์ทตลอด มิเตอร์จะเดินเร็วทำให้ตัวเลขการใช้ไฟฟ้าสูงกว่าปกติ   แต่การไฟฟ้าบอกว่าต้องพิจารณาก่อนเพราะไฟฟ้าจังหวัดไม่มีอำนาจตัดสินใจลดค่าไฟฟ้าให้ใคร   ต้องเก็บตามตัวเลขที่ขึ้นตามมิเตอร์  ซึ่งเรื่องนี้ผู้ใช้ไฟยืนยันว่าไม่ยอมจ่าย  ที่สำคัญในขณะที่มีเรื่องร้องเรียนกันอยู่  ก็จะมีเจ้าหน้าที่มาเตือนให้ไปจ่ายค่าไฟฟ้า  ไม่อย่างนั้นอาจถูกตัดไฟฟ้า  หรือเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าก็โทรมาให้ไปจ่ายค่าไฟก่อนได้ไหมไม่อย่างนั้นฝ่ายบัญชีไม่ผ่านตัวชี้วัดบ้าง  หรือไม่ก็บอกว่าหากผู้ร้องไม่ยอมจ่ายส่วนต่างที่เกินขึ้นมา เจ้าหน้าที่ไฟฟ้าต้องช่วยกันออกเงินแทน(ฟังดูเหมือนผู้ร้องเรียนเป็นมารร้ายยังไงก็ไม่รู้)ขณะเขียนเรื่องนี้ เหตุการณ์ยังไม่จบ แต่ก็นำมาเป็นกรณีศึกษา หากท่านผู้อ่านท่านใดเจอเรื่องแบบนี้สามารถร้องเรียนไปได้ที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)ชั้น 15 ตึกจามจุรีสแควร์ หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประจำเขต(สกพ.) ซึ่งมีอยู่ 13 เขตทั่วประเทศ ร้องทุกข์ 1 ครั้ง ดีกว่าบ่น 1,000 ครั้ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 144 รัฐบาลโหมโฆษณากล่อมชาวบ้าน เมษานี้ขึ้นแน่...แก๊สหุงต้ม 100 บาท/ถังใน 1 ปี

 มีผู้บริโภคหลายรายถามมาว่า แก๊สหุงต้มจะขึ้นจริงหรือเปล่า เห็นบอกว่าจะขึ้นช่วงปีใหม่ แต่ผ่านมาแล้วยังไม่เห็นขึ้นซะที แล้วถ้าขึ้นจริงราคาจะขึ้นเป็นเท่าไรแน่“เสียงจากผู้บริโภค” ในฉลาดซื้อ ฉบับรับปีใหม่ ได้นำเสนอข่าวที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน จัดชงแนวทางการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม(LPG) เสนอต่อนายพงษ์ศักดิ์  รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน โดยอาศัยการคาดการณ์ราคา LPG ในตลาดโลกปี 2556-2557 เฉลี่ยอยู่ที่ 900 เหรียญสหรัฐ/ตัน (ทำให้ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 27.76 บาท/กก. และราคาขายปลีก 36.35 บาท/กก.)มาใช้อ้างอิง แต่พอมีเสียงทัดทานจากผู้บริโภคออกไป รมต.พลังงานคงเห็นว่าขึ้นราคาแบบนี้คงไม่เนียน ใส่เกียร์เจ้าตูบถอยหลังปรับทัพสักหน่อย สั่งเลื่อนเวลาปรับขึ้นราคาไปอีก 2 เดือน และให้ สนพ. ไปจ้างสวนดุสิตทำการศึกษาหามาตรการบรรเทาช่วยเหลือกับผู้มีรายได้น้อยและร้านค้าหาบเร่เพื่อลดแรงต้านรมว.พลังงานส่งสัญญาณมาแบบนี้ ก็กระจ่างชัดเจนแล้วว่า แก๊สหุงต้มปรับขึ้นราคาแน่...พี่น้อง มาตรการปรับราคาแก๊สหุงต้มของรัฐบาลก่อนการปรับขึ้นราคา LPG กระทรวงพลังงานได้จัดพิมพ์แผ่นพับ “ความจริงวันนี้ของ LPG” จำนวน 2 ล้านชุด เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนยอมรับ LPG ราคาใหม่ด้วยความสงบสาระสำคัญคือ จะมีการปรับราคา LPG กับภาคครัวเรือนและรถยนต์เริ่มเดือนเมษายน 2556 นี้เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งดังนี้1.ภาคครัวเรือนจะทยอยปรับขึ้นราคาจาก 18.13 บาท/กก. ขึ้นเป็น 24.82 บาท/กก. หรือเพิ่ม 100 บาท/ถัง(15 กก.) ภายในสิ้นปี 25562.ภาครถยนต์ จะปรับขึ้นราคาจาก 21.38 บาท/กก. เป็น 24.82 บาท/กก. เช่นเดียวกัน ส่งผลให้ก๊าซ LPG สำหรับรถยนต์จากปัจจุบันอยู่ที่ 11.56 บ./ลิตร (LPG 1 กก. = 1.85 ลิตร) จะปรับขึ้นไปอยู่ที่ 13.42 บาท/ลิตร ภายในปี 2556(เอกสารไม่แจ้งว่าจะใช้วิธีทยอยปรับขึ้นราคาหรือไม่)3.กระทรวงพลังงานจะลดแรงต้านทานจากประชาชนด้วยการให้ผู้มีรายได้น้อยประมาณ 9 ล้านครัวเรือน และร้านหาบเร่แผงลอยประมาณ 500,000 ร้าน ได้ใช้ LPG ในราคาเดิมคือ 18.13 บาท/กก. (คาดว่าจะใช้เงินจากกองทุนน้ำมันที่เก็บจากประชาชนเข้าไปจ่ายชดเชยให้) ใครได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นราคา LPG บันไดปรับราคาก๊าซ LPG (แก๊สหุงต้ม) ขั้นที่ ราคา ต้นทุนที่โรงแยกได้ ราคาขายปลีก เหรียญสหรัฐ/ตัน บาท/กก. บาท/กก. 1 ราคาปัจจุบัน 333 10.26 18.13 2 ราคาโรงแยก 550 16.96 24.82 3 ราคาตลาดโลก 900 27.76 36.35   LPG ราคาที่ 24.82 บาท/กก. ซึ่งกระทรวงพลังงานส่งสัญญาณจะปรับขึ้นราคาในไตรมาสที่ 2/2556 หรือเมษายนนี้ เป็นการปรับราคาตามแผนขั้นที่ 2 โดยตัวเลขที่ 24.82 บาท/กก. นี้เป็นราคาขายปลีกก๊าซ LPG ที่รวมภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล เงินจ่ายเข้ากองทุนน้ำมัน และภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เมื่อแยกออกมาให้เหลือเฉพาะที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติของ บมจ.ปตท ได้รับจะอยู่ที่ 16.96 บาท/กก. (550 เหรียญสหรัฐ/ตัน)ปตท.อ้างว่า ตัวเลข 16.96 บาท/กก.นี้เป็นราคาต้นทุนของโรงแยกก๊าซธรรมชาติของตน (ปัจจุบันยังไม่เคยมีหน่วยงานวิชาการที่เป็นกลางตรวจสอบว่าเป็นต้นทุนที่แท้จริงหรือไม่) แต่จากการตรวจสอบข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานพบว่า โรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ซื้อและใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยมาผลิตก๊าซ LPG ในราคาเฉลี่ย 8.42 บาท/กก. (เป็นราคาที่ต่ำกว่าที่ประชาชนซื้อก๊าซธรรมชาติผ่านราคาค่าไฟฟ้า) ดังนั้น การที่รัฐบาลกำหนดราคา LPG จากโรงแยกก๊าซไว้ที่ 10.26 บาท/กก. (333 เหรียญสหรัฐ/ตัน ตามบันไดขั้นที่ 1)ก็ถือว่าเป็นราคาที่โรงแยกก๊าซได้กำไรพอสมควรอยู่แล้ว (มีส่วนต่าง 1.84 บาท/กก.)แต่เมื่อรัฐยอมให้โรงแยกก๊าซขยับราคาต้นทุนขึ้นมาที่ 16.96 บาท/กก.ตามบันไดขั้นที่ 2 จะทำให้ส่วนต่างระหว่างราคาขายก๊าซ LPG ของโรงแยกก๊าซกับต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบมากถึง 8.54 บาท/กก.หรือสูงราว 1 เท่าตัวของราคาวัตถุดิบ ถ้าเป็นธุรกิจทั่วไปอาจเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับธุรกิจผูกขาดอย่างกิจการก๊าซธรรมชาติ ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดาแน่ขณะที่ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้รายงานปริมาณการใช้ LPG ของประเทศในปี 2555 ว่า ภาคครัวเรือนใช้ LPG ประมาณ 3 ล้านตัน ส่วนรถยนต์ใช้ประมาณ 1 ล้านตัน ดังนั้น ผลของการปรับราคาก๊าซ LPG จะทำให้โรงแยกก๊าซธรรมชาติของ บมจ.ป ตท มีรายได้เป็นเงินสดๆจากการจำหน่าย LPG ให้ภาคครัวเรือนและรถยนต์เพิ่มขึ้นราว 23,540 ล้านบาทภายใน 1 ปี (ไม่ต้องเสียเวลารอเบิกจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง) และนั่นยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพราะกระทรวงพลังงานยังคงมีแผนบันไดขั้นที่ 3 ปรับราคา LPG ให้ขึ้นตามราคาตลาดโลก ไว้รอประชาชนอยู่เห็นแผนการทยอยปรับขึ้นราคาแบบนี้ ทำให้นึกถึงการทดลองวิทยาศาสตร์สมัยเรียนหนังสือ การทดสอบเรื่องปฏิกิริยาของกบในหม้อน้ำร้อน คือถ้าเราโยนกบลงไปในหม้อที่ต้มน้ำร้อนเดือดอยู่แล้ว กบจะรู้สึกร้อนและกระโดดหนีทันที แต่ถ้าปล่อยให้กบอยู่ในหม้อน้ำอย่างสบายใจไปก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิความร้อนของน้ำทีละนิดๆ กบจะไม่ค่อยรู้สึกอะไรและนั่งอยู่ในหม้อต่อไป จนเมื่อน้ำร้อนจนถึงขั้นเดือดปุดๆ กว่ากบจะรู้ตัว น้ำร้อนก็ลวกกบตายเสียแล้ว ขอไว้อาลัยกับกบไทยทุกตัว ตารางแสดงรายได้ของโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่คาดว่าจะได้รับจากการปรับขึ้นราคา LPG ในภาคครัวเรือน รายได้จาก LPG ภาคครัวเรือน ราคาปัจจุบัน ราคาใหม่ โรงแยกมีรายได้เพิ่มขึ้น ราคาขายปลีก 18.13 บาท/กก. 24.82 บาท/กก.   ราคาที่โรงแยกได้ 10.26 บาท/กก. 16.96 บาท/กก. 6.70 บาท/กก. ครัวเรือนใช้ 3,000 ล้านกิโลกรัมต่อปี โรงแยกจะมีรายได้ 30,780 ล้านบาท 50,880 ล้านบาท 20,100 ล้านบาท   ตารางแสดงรายได้ของโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่คาดว่าจะได้รับจากการปรับขึ้นราคา LPG ในภาคครัวเรือน รายได้จาก LPG ภาครถยนต์ ราคาปัจจุบัน ราคาใหม่ โรงแยกมีรายได้เพิ่มขึ้น ราคาขายปลีก 21.38 บาท/กก. 24.82 บาท/กก.   ราคาที่โรงแยกได้ 14.34 บาท/กก. 17.78 บาท/กก. 3.44 บาท/กก. รถยนต์ใช้ 1,000 ล้านกิโลกรัมต่อปี โรงแยกจะมีรายได้ 14,340 ล้านบาท 17,780 ล้านบาท 3,440 ล้านบาท หมายเหตุ : ราคาขายปลีก และราคาที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติได้ รวบรวมจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ก.พลังงาน   จริงหรือไม่ แหล่งปิโตรเลียมของไทยเป็นแหล่งเล็ก ขุดหายาก ต้นทุนสูงช่วงนี้มีคำถามเรื่องพลังงานของประเทศไทยเข้ามาเยอะ คงเพราะประเด็นเรื่องพลังงานกำลังเป็นเรื่องร้อนและสร้างผลกระทบกับประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเรื่องราคาเชื้อเพลิงมีข้อสงสัยเรื่องพลังงานมาอีกหนึ่งเรื่อง ถามมาว่า เห็นกระทรวงพลังงานทำเอกสารประชาสัมพันธ์ผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์ บอกว่า แหล่งปิโตรเลียมของไทยมีขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นกระเปาะเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป ยากที่จะทำการค้นหา ต้องใช้เงินลงทุนสูงในการสำรวจและมีความเสี่ยงสูง การคิดผลตอบแทนให้กับรัฐ จึงต้องกำหนดให้เหมาะสม มิเช่นนั้นจะไม่จูงใจให้เกิดการลงทุน จริงหรือไม่ ตอบข้อสงสัยจากเอกสารเผยแพร่ที่ชื่อว่า ย้อนรอยปิโตรเลียมไทย ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ใน http://www.chevronthailand.com/knowledge/history.asp ได้กล่าวถึงเทคนิคการขุดเจาะแบบหลุมแคบ หรือ Slim hole drilling ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย ขอคัดมาให้อ่านกันชัดๆ เพื่อคลายข้อสงสัยที่ถูกปกปิดกันมานานในการสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่มีความลึกแต่ละหลุมประมาณ 9,000 – 9,500 ฟุต (2,700 – 2,900 เมตร) จากระดับความลึกของผิวน้ำทะเล การขุดเจาะหลุมแคบ หรือ Slim hole เป็นวิธีการขุดเจาะหลุมที่มีขนาดหลุมเล็กกว่าการเจาะแบบปกติ ที่ต้องขุดเจาะหลุมขนาดใหญ่ 26-30 นิ้ว และ 17 ½ นิ้ว ก่อนที่จะลดลงมาเหลือ 12 ¼  นิ้ว แล้วจึงทำการขุดเจาะหลุมเล็กขนาด 8 ½ นิ้ว และใส่ท่อผลิตขนาด 7 นิ้ว แต่ในการขุดเจาะแบบหลุมแคบ หรือ Slim hole นี้ จะแบ่งเป็นสามชั้น ขนาด 12 ¼ นิ้ว และ 8 ½ นิ้ว ขนาดหลุมผลิตที่ต้องขุดเจาะเล็กลงเหลือ 6 ½ นิ้ว  และใส่ท่อขนาด 2 ¾ นิ้วหรือ 3 ½  นิ้ว เท่านั้นจากประสบการณ์ในการพัฒนาแหล่งเอราวัณในอ่าวไทยของกลุ่มบริษัทเชฟรอนฯ พบว่า ทั้งแหล่งก๊าซหรือแหล่งน้ำมันที่มีกาขุดเจาะด้วยวิธีดังกล่าว จะมีขนาดเล็กกว่าแหล่งปิโตรเลียมอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับแหล่งปิโตรเลียมในตะวันออกกลาง นอกจากนี้ โดยส่วนใหญ่ปิโตรเลียมมักถูกพบอยู่รวมกันเป็นกระเปาะเล็กๆ ตามแนวแตกของหิน ดังนั้น การจะพัฒนาแหล่งผลิตเพื่อนำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด จึงจำเป็นต้องขุดเจาะหลุมจำนวนมาก และแต่ละหลุมควรต้องมีการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี ซึ่งขาดขุดเจาะด้วยวิธีนี้นั้นทำได้อย่างรวดเร็ว มีความปลอดภัยสูง และสามารถออกแบบแท่นผลิตให้เล็กลงจากปกติได้ ส่งผลให้มีต้นทุนการเจาะหลุมที่ต่ำกว่าการเจาะหลุมแบบปกติ หรือ Conventional hole drilling (เป็นแท่นเจาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อุปกรณ์และส่วนประกอบมีขนาดใหญ่ และสามารถเจาะได้ลึกมาก อาจถึง 35,000 ฟุต หรือ 10-11 กิโลเมตร ในขณะที่แหล่งปิโตรเลียมของไทยอยู่ลึกเพียง 2-3 กิโลเมตรเท่านั้น) ด้วยเหตุนี้ การนำเทคนิคการเจาะหลุมแบบแคบมาใช้จึงเป็นคำตอบสำหรับแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่บริษัท เชฟรอนฯ นำมาใช้พัฒนาแหล่งปิโตรเลียมทั้งหมดที่มีอยู่นับตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา เนื่องจากสามารถเจาะหลุมสำรวจและผลิตได้จำนวนมาก และสอดคล้องกับโครงสร้างทางธรณีวิทยาใต้ดินในอ่าวไทย แหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย เจาะง่ายและไวที่สุดในโลก ลึก 3 กิโลเมตรใช้เวลาแค่ 46 ชั่วโมงในด้านความเร็วของการขุดเจาะ สถิติที่น่าจดจำที่ถูกบันทึกไว้สำหรับในการนำเทคนิคการขุดเจาะหลุมแคบ (Slim hole) มาใช้คือ การเจาะหลุมฟูนาน เจ-13 ในอ่าวไทยเมื่อปี 2542 ของทางเชฟรอน (หรือยูโนแคลไทยแลนด์ในช่วงนั้น) โดยอาจเรียกได้ว่า เป็นการเจาะหลุมที่เร็วที่สุดในโลก โดยสามารถเจาะได้ด้วยอัตราความเร็ว  5,145 ฟุตต่อวัน( 1,568 เมตรหรือ 1.5 กม.ต่อวัน) ทำลายสถิติที่เคยเจาะหลุมสตูล เอ-17 ที่เคยทำได้ 4,720 ฟุตต่อวัน (1,439 เมตร หรือ 1.4 กม.ต่อวัน) เมื่อปี 2540 ซึ่งหลุมฟูนาน เจ-13 นี้ เจาะถึงความลึกที่ 9,882 ฟุต หรือ 3,012 เมตร (ความลึกตามแนวดิ่ง 7,900 ฟุต หรือ 2,408 เมตร) ภายในเวลาเพียง 46 ชั่วโมงเท่านั้น จากหลุมแบบใหญ่ เปลี่ยนเป็นหลุมเล็กหลายหลุม ต้นทุนถูกกว่า ผลิตก๊าซได้มากกว่าบริษัทเชฟรอนฯ ยังมีแท่นผลิตเก่าที่เคยออกแบบไว้เป็นหลุมใหญ่ 12 หลุม ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ด้วยเทคนิคการเจาะแบบหลุมแคบ โดยแบ่งหลุมใหญ่ดังกล่าวออกได้เป็น 3-4 หลุมย่อย ทำให้ได้จำนวนหลุมเพิ่มขึ้นเป็น 24 หลุมหรือ 36 หลุม ซึ่งช่วยให้ผลิตก๊าซธรรมชาติได้เพิ่มขึ้น และมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ลดลง (เอกสาร เรื่อง “วิธีการเจาะสำรวจ“ เผยแพร่ในเว็บไซต์ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ระบุว่าเทคนิคการเจาะแบบนี้ ช่วยให้การปฏิบัติงานเจาะเร็วขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงมากกว่า 30%)ผลของเทคนิคการขุดเจาะดังกล่าวที่นำมาใช้กับแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย ได้ผลที่น่าตื่นใจตรงกันข้ามกับที่กระทรวงพลังงานทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์กับประชาชนทั่วไป โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้รวบรวมจำนวนหลุมสำรวจปิโตรเลียม ในแหล่งในทะเลของไทย ตั้งแต่ปี 2515-2554 ซึ่งรายงานโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ พบว่า ประเทศไทยมีการเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเลทั้งหมด 852 หลุม พบปิโตรเลียมมากถึง 679 หลุม หรือคิดเป็นร้อยละ 80 และมีหลุมที่สำรวจไม่พบปิโตรเลียมเพียง 173 หลุม หรือร้อยละ 20 เท่านั้น โดยพบก๊าซธรรมชาติ 495 หลุม (73%) คอนเดนเสท 97 หลุม(14%)   และ น้ำมันดิบ 87 หลุม (13%)นับตั้งแต่ปี 2524 ถึง 2554  อันเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยเริ่มมีการผลิตปิโตรเลียมรวมเวลา 30 ปี ปิโตรเลียมที่ผลิตได้มีมูลค่าทั้งสิ้น 3.4 ล้านล้านบาท รัฐยอมให้เอกชนผู้รับสัมปทานนำค่าใช้จ่ายในการลงทุนกว่า 1.5 ล้านล้านบาทมาหักออก ก่อนจะนำรายได้ส่วนที่เหลือประมาณ 2 ล้านล้านบาทมาหักแบ่งกันอีกครั้ง  โดยรัฐได้รับผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายของเอกชนแล้วตกราว 1 ล้านล้านบาท ขณะที่ภาคเอกชนนอกจากจะได้รับเงินลงทุนคืนไปทั้งหมดแล้วยังได้รับผลตอบแทนเพิ่มอีกกว่า 9 แสนล้านล้านบาทเป็นรางวัลอีกด้วย สรุปว่ามูลค่าปิโตรเลียมทั้งหมด 3.4 ล้านล้านบาท ตกเป็นของรัฐเพียง 30% ส่วนที่เหลือ 70% ตกเป็นของเอกชนทั้งในรูปของเงินลงทุนและผลกำไรล่าสุดกำลังจะมีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ และมีความพยายามที่จะขยายเวลาสัมปทานปิโตรเลียมที่หมดอายุไปแล้ว คำถามคือว่า รัฐจะมีการแก้ไขเงื่อนไขผลตอบแทนให้รัฐได้รับมากไปกว่านี้หรือไม่ จึงเป็นสิ่งที่สังคมควรจับตาเป็นอย่างยิ่ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 143 แค่ส้มตำปลาร้า ทำให้กระเป๋าฉีกได้

 และแล้วปี 2012 ก็ผันผ่านไป โดยที่โลกยังปลอดภัย “ไม่แตก” ไปตามคำทำนายที่หลายคน  หวาดหวั่น    หลังจากเทศกาลปีใหม่  ที่หลายคนได้หยุดพักผ่อนไป  ลัลลา......  ท้าลมหนาว  กลับไปหาความอบอุ่นกับครอบครัวที่ต่างจังหวัดให้หายคิดถึง เรียกได้ว่าเป็นเทศกาลชาร์ตพลัง และการเคลื่อนย้ายผู้คนครั้งยิ่งใหญ่   การพักผ่อน การหาความสุขในช่วงสั้นๆ (ที่หาไม่ค่อยได้ในสังคมเมือง)ผู้เขียนจึงขอหยิบยก เรื่องอาหารการกิน ที่คนเมืองอพยพ ได้ไปลิ้มรสชาติ ท่ามกลางบรรยากาศที่สดชื่น     ที่เกริ่นเรื่องนี้มาคืออยากบอกว่า    ผู้บริโภค ที่ต้องบริโภคอะไรก็ตาม ยังคงต้องระมัดระวัง  ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของพวกฉวยโอกาสขายสินค้าราคาเกินจริงด้วยตัวเองอยู่เช่นเดิมๆ ที่ผ่านมา    เพื่อนมาเล่าให้ฟังว่าปีใหม่ ได้เดินทางไปเที่ยวที่เกาะสีชังจังหวัดชลบุรี  ผ่านหาดบางแสนเลยแวะไปนั่งกินข้าวที่ชายหาด เป็นร้านแผงลอยเล็กๆ บริเวณนั้น   สิ่งที่เจอก็คือ หากจะนั่งกินอาหารที่ชายหาดต้องเสียค่าที่นั่งเก้าอี้ตัวละ 30 บาท(โอเคปรกติ) ตามมาด้วยเมนูอาหารที่ไม่บอกราคา  เมื่อถามว่าทำไมไม่เขียนราคา ก็ได้คำตอบว่ามันมีจานใหญ่จานเล็ก ราคาไม่เท่ากัน เลยไม่ได้เขียนราคา    แต่ด้วยกลุ่มที่ไปกินกลัวว่า ราคาอาหารทะเลจะแพงมาก(เพราะไม่มีราคาบอกไว้)   ก็เลยสั่งประเภทส้มตำ หมูน้ำตก  หอยนางรมสด  มากินกัน เพราะเห็นว่าราคาน่าจะเป็นมาตรฐานสักพักเพื่อนในทีมที่เดินไปซื้อข้าวกล่องเดินหน้ามุ่ยกลับมา  พร้อมคำบ่นว่าไปซื้อข้าวกินเหมือนโดนปล้นเลย ข้าวกะเพราไข่ดาวกล่องละ 60 บาท หลายคนพูดตรงกัน ”แพงอ่ะ”   เพื่อนในกลุ่มหัวเราะเยาะสมน้ำหน้าที่ไปซื้อของแพง   และแล้วอาหารที่สั่งก็มาส่งทุกคนก็กินกันอย่างครื้นเครง   แต่เมื่อถึงเวลาจ่ายเงิน  ทั้งกลุ่มตกอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก   เพิ่งตระหนักว่าข้าวของเพื่อนที่ไปซื้อมาไม่แพงเลย   เพราะส้มตำไทยปู ส้มตำปูปลาร้า (ไมใช่ส้มปูม้าดอง) ราคา 60 บาท ทุกจาน  หอยนางรมสดตัวเล็กๆประมาณ 18 ตัว ราคา 150  บาท(ตัวละเกือบ 10 บาท)  หมูน้ำตกจานเล็กนิดเดียวมีหมูไม่กี่ชิ้นจานละ 80 บาท  บวกรวมๆ อาหารไม่กี่จานเกือบ 800 บาท (เหงื่อตกทั้งกลุ่ม) ก่อนจ่ายเงินได้ถามว่าทำไมราคาอาหารถึงแพงมากอย่างนี้คำตอบคือ  “ราคานี้เป็นราคาที่เทศบาลตำบลแสนสุขเป็นผู้กำหนด” ทุกร้านต้องขายแพงอย่างนี้เหมือนกันทั้งหมดเพื่อนจึงได้โทรประสานไปที่เทศบาลตำบลแสนสุข (038-193500) เพราะอยากทราบว่า เทศบาลฯเป็นผู้กำหนดราคาจริงดังที่แม่ค้ากล่าวอ้างหรือไม่   โทรติดก็มีการโอนสายไปมาหลายครั้งกว่าจะมีคนรับสายก็หมดค่าโทรไปหลายบาท ที่สุดก็ได้คุยกับกองสาธารณสุข   จนได้คำตอบว่าเทศบาลกำหนดราคาจริง คือเป็นส้มตำมะม่วงปูม้าดองให้ขายไม่เกิน 60 บาท  ส้มตำทั่วไปให้ขายไม่เกิน 50 บาท  เราก็ตั้งคำถามว่าราคาที่เทศบาลกำหนดแพงกว่าราคาที่กรมการค้าภายในกำหนดหรือไม่?  คำตอบคือ ไม่ทราบ เพราะราคานี้นายกเทศมนตรีเป็นผู้กำหนดเมื่อข้อมูลไม่ครบก็ต้องหาต่อ  ก็เลยโทรไปที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน   และก็ได้ข้อมูลจริงๆ ว่ากรมการค้าภายในไม่มีการกำหนดราคาอาหารเหล่านี้  ผู้ขายสามารถตั้งราคาได้อย่างอิสระ แต่ต้องเขียนราคากำหนดไว้ เพื่อให้เป็นข้อมูลการตัดสินใจของผู้บริโภค  หากร้านไหนไม่เขียนสามารถสั่งปรับได้ไม่เกิน 10.000 บาท  ดังนั้นผู้บริโภคต้องดูแลตัวเองก่อนซื้อสินค้า “ให้ตรวจสอบราคาก่อน”ได้ฟังข้อมูลแล้วก็ได้แต่สะท้อนใจ     ก็ไหนกระทรวงพาณิชย์ออกมาตีปี๊บโครมๆ ผ่านสื่อ  เรื่องการควบคุมราคาอาหารไม่ให้สูงเกินจริง  แต่สิ่งที่เห็นคือ ดีแต่ตีปี๊บ แต่ “ทำไม่ได้จริง” บางแสนคงเป็นแค่กรณีตัวอย่าง เห็นชัดเจนว่าผู้บริโภคยังไม่มีที่พึ่ง ที่แท้จริง  สิ่งที่ทำได้คือต้อง “พึ่งตัวเองไปก่อน” ทำตัวเป็นผู้บริโภคที่รู้ทัน   ไม่เช่นนั้นก็จะกระเป๋าฉีกเช่นนี้แล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 143 ผ่าตัดเกินพอดี

นิตยามีอาการปวดใต้ลิ้นปี่ ไปเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งที่ถือสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่แพทย์ตรวจพบว่ามีนิ่วอยู่ในถุงน้ำดี จึงทำการผ่าตัดออก และนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลอยู่ 6 วันแพทย์จึงให้กลับบ้าน แต่เมื่อกลับไปพักที่บ้านได้ 1 อาทิตย์ เกิดอาการผิดปกติตัวเหลืองตาเหลืองไม่มีแรง นิตยาจึงเข้าพบแพทย์ที่โรงพยาบาลตามสิทธิอีกครั้ง แพทย์ได้เอ็กซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจหาว่ามีนิ่วไปอุดท่อถุงน้ำดีอีกหรือไม่ และแจ้งว่าหากอาการผิดปกติยังไม่หายจะส่งตัวผู้ร้องไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราชจากนั้นจึงให้เธอกลับไปรอดูอาการที่บ้าน“อาการของดิฉันรู้สึกแย่ลงมาก ตัวเหลือง ตาเหลืองมากขึ้น อีกประมาณ 10 วัน หมอนัดตรวจอาการ แต่เป็นหมอคนใหม่บอกว่ามารักษาแทนหมอคนเดิมที่ทำการผ่าตัด ดิฉันบอกกับหมอที่มารักษาแทนว่า หมอคนเดิมบอกว่าถ้าพบสิ่งผิดปกติจะส่งตัวไปที่โรงพยาบาลศิริราชแล้วทำไมถึงเงียบ หมอถามว่า หมอคนเดิมบอกแบบนั้นหรือ ดิฉันก็ตอบว่าใช่ค่ะ แล้วคุณหมอท่านนั้นก็บอกว่าผมจะส่งคุณไปเอง”นิตยาถูกทำเรื่องส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชในเวลาต่อมา แต่ก็พบปัญหาว่าผลเอ็กซเรย์ของโรงพยาบาลเอกชนที่ส่งมานั้นดูผลได้ไม่ชัดต้องเอ็กซเรย์ใหม่ แต่ติดที่ต้องจ่ายค่าเอ็กซเรย์เองหากจะให้ศิริราชดำเนินการ     นิตยาจึงต้องย้อนกลับไปติดต่อที่โรงพยาบาลแห่งเดิม ซึ่งได้แจ้งให้เธอไปเอ็กซเรย์กับโรงพยาบาลในเครืออีกแห่งแล้วถึงได้นำผลเอ็กซเรย์ไปให้โรงพยาบาลศิริราชวินิจฉัยทำการรักษาต่อไปนิตยาใช้เวลาในการเดินเรื่องขั้นตอนนี้กว่า 2-3 เดือน ขณะที่สภาพร่างกายแย่มากขึ้นเรื่อยๆ กว่าจะได้รับการผ่าตัดอีกครั้งจากโรงพยาบาลศิริราช“ก่อนผ่าตัดคุณหมอบอกว่า การผ่าตัดครั้งนี้ต้องตัดไส้มาเย็บต่อน้ำดี เนื่องจากว่าท่อน้ำดีถูกตัดสั้นจนเกินไป(จากการผ่าตัดครั้งที่ผ่านมา) เลยทำให้การเย็บต่อก่อให้เกิดการตีบตันของทางเดินเลือด จึงเป็นสาเหตุทำให้ตัวเหลือง ตาเหลือง น้ำหนักลดจาก 55 เหลือ 44 กิโลกรัม” ปัญหาจากการผ่าตัดครั้งแรกทำให้น้ำหนักตัวของนิตยาลดลงถึง 11 กิโลกรัมภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว จากตัวเหลืองก็กลายเป็นดำและคันตามตัวเป็นอย่างมากและตาก็เหลืองมากขึ้น ด้วยร่างกายที่อ่อนแอลงทำให้เธอไม่สามารถประกอบอาชีพได้เหมือนเดิม ขณะที่ต้องรับภาระส่งลูกเรียกระดับ ปวช. ส่งค่าบ้านที่จำนองไว้กับธนาคารก่อให้เกิดหนี้สินมากมายเพราะไม่สามารถประกอบอาชีพได้ในช่วงรักษาตัวและทำการผ่าตัด ทำให้นิตยาต้องร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือในการเรียกร้องค่าเสียหายจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรก แนวทางแก้ไขปัญหากรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลตามสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติถ้วนหน้า ภายหลังการยื่นเรื่องตามคำแนะนำของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นิตยาได้รับพิจารณาเงินช่วยเหลือจำนวน 50,000 บาท  ขณะที่โรงพยาบาลเอกชนที่ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดในครั้งแรก ได้รับคำร้องเรียนของนิตยาและรับที่จะรับผิดชอบเยียวยาในความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งโรงพยาบาลได้ทำประกันภัยความเสี่ยงจากการรักษาพยาบาลไว้กับบริษัทประกันภัย ในที่สุดนิตยาได้รับการพิจารณาเยียวยาความเสียหายเป็นเงินทั้งสิ้น 240,000 บาท เรื่องจึงเป็นอันยุติโดยมิต้องดำเนินการฟ้องร้องให้เป็นคดีความกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 143 เป็นหนี้สองแสนเพราะทำสปาแบบไม่ตั้งใจ

ศิริวัลย์ อยากบอกเลิกสัญญาและขอเงินคืนจากบริการสปา หลังจ่ายเงินไปร่วมสองแสนบาท แต่อ้อยเข้าปากสปาปากแล้ว เอาออกยากยิ่งกว่าปากช้างเสียอีกศิริวัลย์บอกว่าเมื่อเดือนตุลาคมปลายปีที่ผ่านมา ได้สมัครสมาชิกสปาและสถานบริการฟิตเนส สปานั้นเป็นสปาหน้าและตัววงเงิน 20,000 บาท ส่วนสถานบริการฟิตเนสวงเงิน 25,000 บาทเราถามว่า กล้าจ่ายเงินมากขนาดนั้นได้ไง เธอบอกว่า มันเริ่มจากการที่พนักงานขายเชิญชวนและให้เช็คสุขภาพ และได้ทดลองเข้าใช้บริการฟรี 1 ครั้ง พอไปเข้าใช้บริการครั้งแรก พนักงานขายก็พยายามเชิญชวนให้ปรับคอร์สขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างเข้ารับบริการพนักงานทำทรีทเมนต์ก็ยังแนะนำเสนอขายเครื่องสำอางอีก 1 ชุด“ทุกครั้งที่รับบริการเสร็จ พนักงานขายและเจ้าหน้าที่ที่พนักงานขายแนะนำว่าเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติบริการจะพูดจาโน้มน้าวให้เราซื้อคอร์สเพิ่มขึ้น จนเราต้องยอมซื้อโดยจ่ายค่าคอร์สวีไอพีเป็นเงินรวม 200,000 บาท เครื่องสำอางอีก 1 ชุด 9,240 บาท รวมจ่ายทั้งสิ้น 209,240 บาท รูดบัตรเครดิตไปทั้งสิ้น 6 ครั้งค่ะ”เธอเล่าเพิ่มเติมว่า ตอนสมัครคอร์สวีไอพี พนักงานขายแจ้งว่า เป็นสมาชิกโดยไม่มีหมดอายุ สามารถให้ผู้ใดมาใช้บริการด้วยก็ได้ ตอนที่ตกลงทำสัญญาไปก็ไม่มีโอกาสได้ศึกษาสัญญาอย่างละเอียดเนื่องจากมีพนักงานขายถึง 3 คนมาช่วยดำเนินการ นอกจากนั้นยังมีการคืนยอดบัตรเครดิตเข้าออกถึง 2 ครั้งจนสับสนไปหมด“เราไม่มีโอกาสได้อ่านสัญญาอย่างถี่ถ้วน มีเพียงทำเครื่องหมายให้เราเซ็นชื่อ พนักงานขายเพียงพูดว่าเป็นไปตามที่เขาพูด” นอกจากนี้เธอยังเล่าอีกว่า ในวันที่สมัครสมาชิกแล้วและได้ทดลองทำสลิม 2 ครั้ง หลังจากที่ทำครั้งแรกแล้วน้ำหนักลดเพียง 2 ขีด และเพิ่มขึ้นมาอีก 1 กิโลกรัมก่อนทำในครั้งที่สอง เมื่อทำเสร็จก็ลดลง 2 ขีด เสียเงินสองครั้งนั้นไป 11,000 บาท และยังมาเสียเงินทำสปาอีก 2 ครั้งเป็นเงิน 4,500 บาท เพียงแค่วูบเดียวแทนที่น้ำหนักจะถูกรีด กลับกลายเป็นเงินในกระเป๋าถูกรีดไป 15,500 บาทหลังจากที่ได้สมัครไปแล้ว กลับมานั่งทบทวนสัญญาที่บ้าน พบว่ามีสัญญาบางข้อที่ไม่เป็นไปตามที่พนักงานให้ข้อมูล เช่น ระยะเวลาการเป็นสมาชิกที่บอกว่าเป็นตลอดชีพ แต่ในสัญญาระบุว่า สมาชิกมีอายุคงอยู่ได้ 2 ปี และต้องเข้ารับบริการให้ครบถ้วน การต่ออายุต้องมีการสมัครใช้บริการเพิ่ม 15,000 บาท นอกจากนี้เครื่องสำอางยังมีราคาแพงกว่าสินค้าที่โฆษณาทางอินเทอร์เน็ต และไม่มีภาษาไทยหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นที่แสดงถึงความมั่นใจในผลิตภัณฑ์เมื่อมีโอกาสได้ตรวจดูข้อสัญญาและข้อมูลต่างๆแล้ว ทำให้สติกลับคืนมา อยากจะบอกเลิกสัญญา และขอเงินที่ได้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไปร่วม 2 แสนบาทคืน แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด“บริษัทฯ ไม่มีนโยบายคืนเงิน” นั่นคือคำตอบที่เธอได้รับ แนวทางแก้ไขปัญหาปัญหาเกี่ยวกับสัญญาบริการฟิตเนส  คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้มีประกาศขึ้นมาฉบับหนึ่ง เป็นประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2554 ระบุถึงสิทธิเลิกสัญญาของผู้บริโภคไว้ดังนี้ ผู้ประกอบธุรกิจไม่มีประเภทอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการอื่นตามที่ได้แจ้งหรือสัญญาไว้กับผู้บริโภค หรือประเภทอุปกรณ์ดังกล่าวชำรุดบกพร่อง หรือให้บริการได้ไม่เหมาะสมและเพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนสมาชิก และพื้นที่ออกกำลังกาย โดยผู้ประกอบธุรกิจไม่จัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการนั้นๆที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่ามาทดแทนได้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับแจ้ง มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากแพทย์ยืนยันว่า การใช้บริการออกกำลังกายต่อไปอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หรือสภาพร่างกายหรือจิตใจผิดปกติ ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากผู้ฝึกสอนของผู้ประกอบธุรกิจไม่มีความรู้ความชำนาญ หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายที่ไม่มีคำเตือนว่า ชำรุดบกพร่อง เมื่อพิจารณาจากเหตุผลที่ผู้ร้องเรียนยกขึ้นมากล่าวอ้างเทียบกับสิทธิเลิกสัญญาของผู้บริโภคตามประกาศข้างต้น จะเห็นว่าไม่เข้ากันหรือไม่สามารถใช้เป็นเป็นสิทธิบอกเลิกสัญญาตามที่กฎหมายให้ความคุ้มครองได้อย่างไรก็ดี มูลนิธิฯได้ติดต่อไปที่สถานบริการฟิตเนส เพื่อแจ้งถึงความประสงค์ของลูกค้าที่ต้องการขอเลิกสัญญาและขอเงินคืน ได้รับแจ้งกลับมาว่า บริษัทฯไม่มีการคืนเงินให้ลูกค้าทั้งหมด แต่จะคืนเงินให้ 85% หลังหักจากยอดที่ผู้บริโภคได้ใช้บริการไปแล้ว 5 ครั้ง เป็นเงิน 15,500 บาท รวมกับคอร์สที่ผู้บริโภคต้องเข้าใช้บริการเพิ่มเติมอีก 20,000 บาท โดยบริษัทขอหักค่าดำเนินการ 15% เป็นเงิน 26,061 บาท คงเหลือคืนผู้ร้อง 147,679 บาทศิริวัลย์นั่งคิดคำนวณดูแล้ว ท้ายที่สุดตัดสินใจยอมรับเงื่อนไขที่บริษัทเสนอมา พร้อมทั้งฝากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้ช่วยเตือนผู้บริโภคในการเข้าทำสัญญาเสริมความงามหรือสถานบริการออกกำลังกายให้ตรวจสอบราคาค่าบริการให้ดี อ่านสัญญาให้ละเอียดก่อนเซ็น และอย่าสมัครเพราะขัดใจพนักงานขายไม่ได้“หลังจากเข้าไปรับบริการจนครบคอร์สที่เหลืออีก 20,000 บาท ก็คงไม่ซื้อคอร์สเพิ่มแล้ว คงหยุดซื้อโดยเด็ดขาดแล้วค่ะ” ศิริวัลย์กล่าวด้วยความเข็ดขยาด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 143 เชื่อหรือไม่ การโหลดของขึ้นเครื่องบิน อาจทำให้ของด้อยค่าลงได้

เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2554 แม้เวลาผ่านมาได้ 1 ปีแล้ว แต่เหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดขึ้นกับใครอีกก็ได้ ถ้าสายการบินและผู้ดูแลสนามบินไม่มีมาตรการความปลอดภัยที่ดีกว่าเดิมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2554 คุณสุทธิดาเดินทางจากจังหวัดเชียงรายเข้ากรุงเทพมหานคร โดยสายการบินไทยเที่ยวเวลา 10.25 น. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 11.30 น. มายืนรอรับกระเป๋าที่โหลดขึ้นเครื่องมาพร้อมกันอยู่เป็นนาน กลับไม่เห็นวี่แวว จึงได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ของการบินไทยรอประมาณ 1 ชั่วโมงก็ยังไม่ได้กระเป๋าคืน สรุปความได้ว่ากระเป๋าหายแน่แล้วเจ้าหน้าที่การบินไทยจึงให้เธอแจ้งเรื่องกระเป๋าหายไว้ และให้ไปรอที่โรงแรมที่พัก ถ้าได้กระเป๋าแล้วจะติดต่อกลับมา วันนั้นเธอใช้เวลาเดินทางบนเครื่องบินราว 1 ชั่วโมง แต่ต้องมาเสียเวลาติดตามเรื่องกระเป๋าหายข้ามปีคุณสุทธิดาบอกว่า ในวันนั้นเธอต้องรีบมาประชุมที่โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เวลา 16.00 น. และยังมีการประชุมต่อเนื่องอีก 2 วัน เป็นงานประชุมระดับชาติ แต่เธอไม่มีของใช้ติดตัวอะไรเลย ของในกระเป๋ามีชุดประชุม 4 ชุด ซึ่งตัดใหม่สำหรับใส่ไปงานนี้ 2 ชุด มีทั้งเสื้อสูท ชุดไปรเวท กางเกง เครื่องสำอาง น้ำหอม ชุดชั้นในบอดี้สูท ยกทรง ที่ชาร์ตแบตกล้องถ่ายรูป มือถือ หนังสือ แผ่นซีดี วิตามิน รวมราคาประมาณ 3 หมื่นกว่าบาท“ลำบากมากๆ และต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสิ่งของต่างๆ เพื่อใช้ในการประชุมอย่างเร่งด่วน เสียค่าโทรศัพท์เพื่อติดต่อการบินไทย ที่สำคัญเกิดความวิตกกังวลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้พักผ่อนและประชุมด้วยใจที่ไม่ปกติสุข”สำนักงานการบินไทยบอกกับคุณสุทธิดาว่าให้รอครบ 21 วันก่อน ถ้าไม่ได้กระเป๋าจะทำเรื่องเคลมให้ พอถึงกำหนดกระเป๋ายังไม่ได้คืน คุณสุทธิดาจึงได้ทำเรื่องเคลมขอเรียกค่าเสียหายไป “สำนักงานการบินไทยที่เชียงรายโทรมาบอกว่า ทราบเรื่องแล้วจะเคลมให้โดยคิดเป็นกิโลกรัม กิโลกรัมละ 450 บาท กระเป๋าดิฉันหนัก 13 กิโลกรัมรวมแล้วได้ประมาณ 5,850 บาท ซึ่งไม่คุ้มกับสิ่งที่เสียไป และไม่ได้เป็นความผิดของดิฉันด้วย การบินไทยทำแบบนี้ดิฉันรู้สึกยอมรับในเงื่อนไขไม่ได้ค่ะ ขอปรึกษาและขอความช่วยเหลือ ต้องทำอย่างไรต่อไปคะ” แนวทางแก้ไขหลังได้รับเรื่องร้องเรียน เรารู้สึกหนักใจเพราะกรณีนี้ยากแก่การพิสูจน์ว่ามีรายการทรัพย์สินและมูลค่าทรัพย์สินตามที่ผู้ร้องเรียนกล่าวอ้างจริงมากน้อยแค่ไหน จึงได้ขอให้ผู้ร้องทำรายละเอียดรายการทรัพย์สินที่สูญหายไปพร้อมกับกระเป๋าพร้อมมูลค่าราคาทรัพย์สิน เพื่อแนบส่งไปให้บริษัทการบินไทย ได้พิจารณาอีกครั้งต่อมาการบินไทยได้มีหนังสือตอบกลับมาว่า บริษัทฯ ตระหนักในความเสียหายที่เกิดขึ้นในการขนส่งสัมภาระของสุทธิดา และได้มีจดหมายขออภัยและชี้แจงไปยังคุณสุทธิดาแล้ว ถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากลในการชดเชยค่าเสียหายกรณีสัมภาระสูญหาย สำหรับเที่ยวบินในประเทศ พิจารณาจากน้ำหนักจริงของสัมภาระที่สูญหาย กิโลกรัมละ 450 บาท ซึ่งในกรณีนี้ผู้โดยสารเดินทางในชั้นประหยัด พร้อมสัมภาระจำนวน 1 ชิ้น 13 กิโลกรัม ดังนั้นหากพิจารณาตามเกณฑ์ปรกติกรณีสัมภาระสูญหาย ผู้โดยสารจะได้รับค่าชดเชยเป็นเงินจำนวน 5,850 บาท ทั้งนี้ บริษัทฯ โดยสำนักงานเชียงรายได้พิจารณาชดเชยจากน้ำหนักสูงสุดที่อนุญาตคือ 20 กิโลกรัม ในการคำนวณค่าชดเชยเป็นเงินทั้งสิ้น 9,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดที่บริษัทฯ สามารถให้ได้นอกเหนือจากหลักเกณฑ์การพิจารณาตามปรกติ และขอยืนยันว่าจำนวนเงินค่าชดเชยดังกล่าว บริษัทฯ ได้พิจารณาเป็นกรณีพิเศษแล้วเราแจ้งคำยืนยันของการบินไทยฯ ให้คุณสุทธิดาพิจารณาอีกครั้งว่า จะตัดสินใจยอมรับในค่าชดเชยใหม่ที่การบินไทยเสนอหรือว่าจะดำเนินการฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคต่อไป คุณสุทธิดาตกลงยอมรับในค่าชดเชยใหม่ เพราะหากจะฟ้องร้องต่อ เรื่องก็อาจกินเวลามากขึ้น และอาจได้รับการพิจารณาชดเชยความเสียหายที่ไม่ต่างกันมากนักก็ได้คติเตือนใจสำหรับเรื่องนี้ เดินทางด้วยเครื่องบิน ถ้าคุณนำโน้ตบุ้คส์น้ำหนัก 1 กิโลกรัมโหลดขึ้นเครื่องแล้วเกิดสูญหาย จำไว้ว่าคุณจะได้เงินคืนเพียง 450 บาทเท่านั้น อยากได้มากกว่านั้นต้องฟ้องสถานเดียว  ทางที่ดีของมีค่าควรเก็บไว้กับตัวเราเป็นดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 143 เหตุผลที่ “สก๊อต” ไม่แสดงวันหมดอายุ

 คุณพรทิพย์ร้องเรียนมาว่า เครื่องดื่มสกัดเข้มข้น สก๊อต เพียวเร่ แสดงฉลากระบุเฉพาะวันที่ผลิต แต่ไม่มีการระบุวันหมดอายุหรือวันที่ควรบริโภคก่อน และการระบุวันที่ผลิตบนฉลากผลิตภัณฑ์บางส่วนพิมพ์ทับอยู่บนรูปภาพเครื่องหมายทางการค้า ขอให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคช่วยตรวจสอบให้ด้วย แนวทางการแก้ไขปัญหามูลนิธิฯ ได้มีหนังสือแจ้งข้อร้องเรียนข้างต้นไปถึงผู้ประกอบการคือ บริษัท สก๊อต อินดัสเตรียล(ประเทศไทย) จำกัด และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)บริษัท สก๊อตฯ มีหนังสือตอบกลับมาว่า บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ.2543 เรื่องฉลาก ข้อ 11.2 (ตามจริงคือ ข้อ 3(11.2)) กล่าวคือ  แสดง เดือนและปีที่ผลิต หรือ วันเดือนและปีที่หมดอายุการบริโภคสำหรับอาหารที่เก็บไว้ได้เกิน 90 วัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เข้าข่ายตามข้อกำหนดดังกล่าว จึงเลือกระบุเฉพาะเดือนและปีที่ผลิตลงบนฉลากผลิตภัณฑ์ ส่วนตัวเลขด้านหลังที่ต่อจากเดือนและปีที่ผลิตตามที่ผู้บริโภคร้องเรียนมาว่า เลือนรางนั้น เป็นตัวเลขแสดงรหัสสินค้าการผลิตสำหรับใช้ตรวจสอบภายในบริษัทฯ เท่านั้น ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้มีหนังสือตอบกลับมาว่า สำนักงานฯ(อย.) ขอความร่วมมือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีตรวจสอบสถานที่ผลิตบริษัทสก๊อตฯ พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มพรุนสกัดเข้มข้น ตราสก๊อตเพียวเร่ และเครื่องดื่มตราสก๊อตเพียวเร่ เท็นเบอร์รี่ ที่ฉลากไม่มีระบุวันเดือนปีที่หมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน และวันที่ผลิตมีการระบุไว้แต่ไม่ชัดเจน เนื่องจากพิมพ์ทับบนตราสินค้า แต่อาหารประเภทเครื่องดื่มสกัดเข้มข้น มิได้มีกฎหมายบังคับให้ต้องแสดงวันหมดอายุ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี จึงได้มีหนังสือขอความร่วมมือกับทางบริษัทฯ ให้แสดงวันหมดอายุบนฉลากผลิตภัณฑ์ และแสดงวันที่ผลิตให้ชัดเจน เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคสรุปว่า อาหารที่เก็บไว้ได้เกิน 90 วัน ตามกฎหมายปัจจุบันไม่จำเป็นต้องแสดงวันหมดอายุก็ได้ จะบังคับเฉพาะอาหารที่เก็บได้ไม่เกิน 90 วันเท่านั้นที่ต้องแสดงวันหมดอายุบนฉลาก คำถามคือว่า แล้วชาวบ้านธรรมดาๆ เขาจะรู้ไหมนะว่า อาหารไหนเก็บได้เกินหรือไม่เกิน 90 วัน อันที่จริงหากจะเก็บได้เกิน 90 วัน ก็ควรจะมีขอบเขตอายุการขายอยู่บ้างน่าจะดีกว่ากระมัง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 กรณีทีวี “จอดำ” (ตอนที่ 5 “ นาตะ ดนตรีที่ศาล?)

9  โมงเช้า ของวันที่  26  มิถุนายน 2555  กลุ่มผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้อง มาพร้อมหน้ากันที่ศาล  ตามเวลาที่นัดหมาย  เหตุการณ์ก็เป็นเหมือนเดิมคือ กว่าศาลจะลงนั่งบัลลังก์ ก็ปาเข้าไปเกือบเที่ยง   จากนั้นศาลได้เริ่มกระบวนการไต่สวนข้อมูลที่ได้จากกระบวนการไต่สวน ซึ่งเป็นที่ตื่นตะลึงมาก   เพราะเรารู้แต่ว่ารายการโทรทัศน์(ฟรีทีวี) บ้านเรามาจากระบบสัมปทานทั้งสิ้น  ช่อง 9 อสมท.  แตกคลื่นไปให้ช่อง 3 เช่า ช่อง 5 กองทัพบก แตกคลื่นไปให้ ช่อง 7 เช่า  ภายใต้สัญญาร่วมการงาน(ซึ่งเป็นสัญญาเช่าช่วงต่อจากผู้รับสัมปทาน)  ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์  และช่องสื่อสาธารณะ THAI PBSที่ว่าตื่นตะลึงคือ กฎข้อบังคับของการให้สัมปทานคือ  ผู้รับสัมปทานฟรีทีวีต้องทำให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงฟรีทีวีได้โดยสะดวก  นั่นคือต้องลงทุนเพื่อกระจายคลื่น  เพราะฟรีทีวี  แม้ประชาชนจะได้ดูฟรี  แต่ฟรีทีวีเหล่านั้นก็สามารถหาผลประโยชน์ได้จากขายโฆษณาได้ชั่วโมงละ 12 นาที (ทำให้ช่อง 3 ช่อง 7 (รวยติดอันดับต้นๆของประเทศไทย)  แต่ข้อมูลที่เปิดออกมาคือ ผู้รับสัมปทานฟรีทีวีทั้งหมด หยุดการพัฒนาระบบกระจายคลื่นเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงมากว่า 15 ปี  โดยหน่วยงานที่ให้สัมปทาน ไม่มีการติดตามให้ผู้รับสัมปทานทำตามข้อบังคับที่กำหนดไว้ในสัญญารับสัมปทาน    และการที่ผู้บริโภคจะหวังพึ่ง กสทช. ก็คงพึ่งไม่ได้ เพราะ กสทช.เพิ่งออกประกาศ ระยะเวลาที่ผู้ได้รับสัมปทานรายเดิม(ฟรีทีวีทุกช่อง) ยังอยู่ไปอย่างนี้ได้อีก 10 กว่าปี  (มีกสทช.อีก 2 ชุดก็ยังหาน้ำยาไม่เจอ)เมื่อระบบส่งคลื่นสัญญาณไม่มีการพัฒนาก็ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องดิ้นรนกันเอง เพื่อให้เข้าถึงฟรีทีวีอย่างชัดเจน  นั่นคือ หันไปเสียเงินซื้อจานรับสัญญาณกันเองตามกำลังทรัพย์ที่มี    ศาลทั้งตั้งคำถามดีมาก    เช่น ถาม อสมท. ว่า คุณเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการคลื่นแทนรัฐ   ไปร่วมมือกับเอกชนละเมิดสิทธิการเข้าถึงฟรีทีวีของผู้บริโภคได้อย่างไร ถามว่าเรื่องการส่งคลื่นฟรีทีวี  ปัจจุบันส่งระบบใด  โดยสรุปทุกช่องส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมแล้ว   แม้ว่าจะพยายามบอกว่าคลื่นที่ส่งๆ ไปที่ฐานเครือข่ายของตนเอง  และการที่ประชาชนดูฟรีทีวีผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียมได้นั้น  เป็นการลักลอบ  หรือขโมยสัญญาณของเขาโดยไม่ได้รับอนุญาต   เราก็เลยถามว่าเขาลักลอบใช้สัญญาณนานหรือยัง  คำตอบคือ  “มากกว่า 25 ปี”  เราเลยถาม ต่อว่า ทำไมไม่แจ้งจับปล่อยให้ลักลอบใช้สัญญาณนานขนาดนั้นได้อย่างไร คำตอบคือ  “เงียบ” ในส่วนฝั่งแกรมมี่ศาลได้เรียกสัญญาระหว่างแกรมมี่และยูฟ่า มาเปิดเผย(แต่ศาลห้ามนำออกมาภายนอก) ก็เห็นชัดเจนว่า ยูฟ่า ไม่ได้จำกัดการถ่ายทอดผ่านดาวเทียมแต่เขียนห้าม ไม่ให้สัญญาณออกนอกประเทศ ซึ่งประเทศไทยทำได้ที่จะไม่ให้สัญญาณทะลักออกไป นั่นคือการใส่รหัสผ่านเข้าไปดู  การที่ห้ามส่งสัญญาณผ่านผู้ที่ดูฟรีทีวีผ่านจานรับสัญญาณ แกรมมี่เป็นผู้กำหนดเอง  ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ  เพราะผู้ที่ดูฟรีทีวีผ่านจานดาวรับสัญญาณคือ กลุ่มที่แกรมมี่จะขายกล่องรับสัญญาณของตนเองได้ (ส่วนกลุ่มที่ชมผ่านก้างปลาหนวดกุ้งไม่ใช่ฐานลูกค้า)  เพราะแกรมมี่มีแผนธุรกิจที่จะทำทีวีดาวเทียม     การที่แกรมมี่ประมูลสัญญาณการถ่ายทอดครั้งนี้แกรมมี่ได้หลายเด้ง  ทั้งขายโฆษณา ขายกล่อง ขยายฐานลูกค้าทีวีดาวเทียมของตนเองในอนาคต (โอ้โห.....พูดไม่ออก...)   ข้อมูลที่พรั่งพรูออกมาจากกระบวนการไต่สวนทั้งการตั้งคำถามของศาล และการตั้งคำถามของผู้ฟ้อง ชัดเจนยิ่ง(ในมุมของเรา) แต่มุมของศาลไม่ใช่ศาลยังอยากได้ข้อมูลประกอบอื่นทั้งเทคนิคเฉพาะเพื่อเป็นส่วนประกอบการตัดสินใจคุ้มครองหรือไม่   โดยขอไต่สวนเพิ่มฝ่ายเทคนิคของช่องต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับคดี และไม่เกี่ยวกับ  กระบวนการไต่สวนดำเนินไปเวลาถ่ายทอดอีกแค่ 2 นัดไม่ทราบว่าเป็นเทคนิคของศาลที่ต้องการลดการกดดันทางกระแสสังคม กับเรื่องนี้อ่อนลงหรือไม่   เพราะดูศาลจริงจังมาก  ลงไต่สวนเต็มองค์คณะ 6-8 คนทุกนัด  เวลาไต่สวนศาลมองมาทางเราบ่อยมาก และพูดประมาณว่าเราต้องมองอนาคต    และวันที่รอคอยก็มาถึงนั่นคือศาลนัดฟังคำตัดสินว่าจะคุ้มครองหรือไม่(คุ้มครองคือต้องถ่ายทอดสดผ่านฟรีทีวีทุกช่อง ไม่คุ้มครองคือถ่ายทอดผ่านหนวดกุ้งก้างปลาเหมือนเดิม)  คำตัดสินอย่างที่ทุกคนรู้กันว่า  “เรื่องนี้มีเรื่องลิขสิทธิ์ต่างประเทศมาเกี่ยวข้องจึงไม่คุ้มครอง  แต่รับคดีไว้พิจารณาต่อไป”สรุปว่าที่เขียนเล่ามาหลายตอน  อารมณ์ของผู้เขียนเหมือนนั่งดู “ลิเก”โรงใหญ่ที่มีผู้แสดงมากมาย  แต่ตอนจบหักมุม “นางเอกโดนน็อคหมดสติ” ลิเกโรงใหญ่ หรือ “นาตะดนตรีที่ศาล” จะจบอย่างไรคงต้องรอคำตัดสินในคดีนี้ต่อไปอย่างใจระทึก....

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 ฝรั่งออสเตรเลีย ฟ้อง ธ.กรุงไทย หลังโดนหักเงินในบัตรเดบิตไม่ทราบเหตุ

ฝรั่งออสเตรเลียฟ้องธนาคารกรุงไทย ฐานหักค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตทั้งที่ไม่ได้เป็นผู้ใช้ เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 1.25 แสน ศาลพิพากษาธนาคารผิดจริงให้จ่ายค่าเสียหายตามที่เรียกพร้อมค่าเสียหายเชิงลงโทษอีก 120,000 บาทเจฟฟรี ชายชราชาวออสเตรเลีย เข้ามาใช้ชีวิตบั้นปลายอาศัยอยู่ในเมืองไทยที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณปี 2548 เขาเปิดบัญชีออมทรัพย์ กับธนาคารกรุงไทย สาขาแม่สะเรียง เพื่อฝากเงินที่ได้รับจากสวัสดิการผู้สูงอายุประเทศออสเตรเลีย และเปิดใช้บริการบัตรเดบิตผ่านบัญชีดังกล่าวต่อมาราวปลายปี 2554 เจฟฟรี ใช้บัตรเดบิตเบิกเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม พบความผิดปกติว่าเงินในบัญชีลดลงอย่างมาก จึงติดต่อกับธนาคารกรุงไทย สาขาแม่สะเรียงเพื่อให้ตรวจสอบการหักเงินจากบัญชีเงินฝาก ผลการตรวจสอบของธนาคารพบว่า  มีรายการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการที่ประเทศสหรัฐอเมริกา  ติดต่อกันในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2554 เป็นเงินประมาณ 120,000 กว่าบาท ซึ่งการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นการใช้จ่ายที่ต้องใช้บัตรเดบิตพร้อมกับการลงลายมือชื่อของเจ้าของบัตรเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการซื้อสินค้าหรือบริการที่สามารถชำระด้วยการโอนเงินโดยใช้บัตรเดบิตพร้อมกับรหัสประจำตัวได้ปัญหาอยู่ตรงที่ รายการใช้จ่ายซื้อสินค้าดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่เจฟฟรียังพำนักพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย และบัตรเดบิตก็อยู่กับตัวเขาตลอดเวลา เจฟฟรีจึงมีหนังสือถึงธนาคารปฏิเสธรายการใช้บัตรเดบิตและเข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธร จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานทันทีที่ทราบเรื่อง ต่อมาธนาคารกรุงไทยได้แจ้งผลการตรวจสอบรายการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต และปฏิเสธการคืนเงินให้กับเจฟฟรี อ้างว่าเป็นการใช้บัตรซื้อสินค้าและบริการตามปกติ ไม่ใช่การทำธุรกรรมของมิจฉาชีพ   แนวทางแก้ไขปัญหาหลังได้รับเรื่องร้องเรียน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ส่งอาสาสมัครขึ้นไปที่ จ.แม่ฮ่องสอนเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเจฟฟรีและภรรยาชาวไทย และพยายามนัดเจรจากับ ธ.กรุงไทย แต่ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าใดนัก ด้วยข้ออ้างว่าธนาคารมีประสบการณ์ในการแยกแยะการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตของคนธรรมดาทั่วไปกับมิจฉาชีพ หากเป็นการใช้จ่ายของมิจฉาชีพจริง เมื่อปลอมบัตรหรือได้รหัสผ่านแล้วจะรีบนำเงินออกจากบัญชีให้เร็วที่สุด ไม่ใช่ใช้บัตรเดบิตเดินช้อปปิ้งซื้อของเล็กบ้างใหญ่บ้าง แถมยังใช้บัตรเดบิตจ่ายค่าแท๊กซี่ปรากฏอยู่ด้วย เป็นสภาพของการซื้อใช้สินค้าและบริการตามปกติของผู้คนทั่วไปที่ใช้บัตรเดบิตของตัวเอง จึงยืนกระต่ายขาเดียวปฏิเสธการคืนเงินให้แก่เจฟฟรีเมื่อหมดหนทางการพูดคุยในทางปกติ เราจึงถามใจเจฟฟรีว่าจะสู้กับธนาคารต่อหรือไม่ เจฟฟรีบอก ผมอยากได้รับความเป็นธรรม ผมไม่ได้เป็นคนซื้อสินค้าเหล่านี้ ธนาคารต้องคืนเงินให้กับผมวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 จึงเป็นวันที่เจฟฟรีเข้ายื่นฟ้องธนาคารกรุงไทย เป็นคดีผู้บริโภค กล่าวหาธนาคารกรุงไทยมีความผิดฐานผิดสัญญาการใช้บัตรเดบิต เรียกค่าเสียหาย 125,357 บาท พร้อมดอกเบี้ยในวันที่  7  พฤศจิกายน  2555   ศาลแขวงพระนครใต้ พิพากษาให้ ธนาคาร กรุงไทย จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้กับเจฟฟรี เป็นเงินตามจำนวนที่ฟ้อง พร้อมกับสั่งให้ธนาคารกรุงไทย จ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เนื่องจากพบว่ามีการกระทำที่มีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม เพิ่มอีก 120,599.35 บาท  รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 245,956.46 บาทเหตุที่ศาลชั้นต้นให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายชนะคดี เพราะว่าเมื่อพิเคราะห์พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงแล้วฟังได้ว่า กรณีนี้ธนาคารกรุงไทยยอมรับว่ามีผู้นำบัตรเดบิตที่ออกให้กับนายเจฟฟรี ไปใช้ในต่างประเทศจริงและทราบด้วยว่าใช้ที่ไหนบ้าง ซึ่งในการให้บริการดังกล่าวจะต้องมีเซลล์สลิปการใช้บริการหรือลายมือชื่อลูกค้าเป็นหลักฐาน แต่ธนาคารกลับไม่นำหลักฐานที่ว่ามาแสดงต่อศาล อีกทั้งพยานของธนาคารเองยังเบิกความย้ำว่า จากประสบการณ์ทำงานที่ยาวนานสันนิษฐานได้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากการถูกขโมยบัตรเดบิตไปใช้จริง ซึ่งหากมีกรณีบัตรถูกขโมยไปใช้นั้น ธนาคารจะไม่ชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัญญาให้บริการ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับข้ออ้างของเจฟฟรีที่ยืนยันว่าเขาไม่ได้เป็นผู้ใช้บัตรในช่วงขณะดังกล่าวดังนั้นเมื่อธนาคารไม่มีหลักฐานมาแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ว่าผู้บริโภคเป็นผู้ใช้เองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นนำไปใช้ ธนาคารจึงไม่มีสิทธินำรายการดังกล่าวมาหักเงินจากบัญชีธนาคารของลูกค้า เมื่อธนาคารหักเงินจากบัญชีธนาคารของลูกค้าไปแล้ว ธนาคารจึงต้องคืนเงินที่หักไปจากบัญชีของลูกค้าทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยหักเงินไปจากบัญชี และการที่ธนาคารทราบอยู่แล้วว่า กรณีนี้เกิดจากการมีบุคคลอื่นขโมยบัตรเดบิตของลูกค้าไปใช้ เมื่อลูกค้าทวงถามแล้ว แต่ธนาคารกลับปฏิเสธไม่คืนเงินให้กับลูกค้า จึงถือว่าธนาคารมีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินชดเชยความเสียหายทั้งค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและเงินในเชิงลงโทษให้กับเจฟฟรีตามจำนวนที่กล่าวมา และยังสั่งให้ธนาคารชำระค่าธรรมเนียมต่อศาลรวมทั้งค่าทนายความจำนวน 5,000 บาทแทนนายเจฟฟรีอีกด้วย“ผมรู้สึกพอใจกับคำพิพากษาของศาลไทยเป็นอย่างมาก ผมดีใจที่ได้ความยุติธรรมกลับคืนมา เนื่องจากการจ่ายเงินคืนของธนาคารเป็นการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภคมาก ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวมีความจำเป็น แม้จะไม่มากมายแต่ก็เป็นเงินเพื่อใช้ในการยังชีพของผมที่อายุมากและภรรยา  ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ต้องเจอแบบนี้เหมือนกัน อยากให้ธนาคารให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมากกว่านี้” เจฟฟรี กล่าวนายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า กรณีนี้เป็นคดีตัวอย่างสำหรับผู้บริโภค ที่ถูกธนาคารในฐานะผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบและจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะการกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษกับธนาคาร  ที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีของการป้องปรามหรือยับยั้งไม่ให้ผู้ประกอบการทำเช่นนี้กับใครอีก โดยเฉพาะการที่จำเลยในคดีนี้เป็นรัฐวิสาหกิจควรต้องมีการประกอบการที่สุจริตเป็นที่น่าเชื่อถือต่อนานาชาติ“ในคดีนี้กระบวนพิจารณาของศาลก็รวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคอย่างแท้จริง ทำให้ผู้บริโภคได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงทีโดยไม่ต้องรอนาน ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย  ทั้งนี้ศูนย์ทนายความอาสาฯ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะนำผลของคดีนี้ไปศึกษา เพื่อขยายผลและสร้างให้เป็นบรรทัดฐานทางกฎหมายต่อไป ” นายเฉลิมพงษ์กล่าว

อ่านเพิ่มเติม >