ฉบับที่ 158 ถังแก๊สเป็นสนิมทำไงดี

แก๊สหุงต้มเป็นเรื่องใกล้ตัวและจำเป็นต้องใช้กันอยู่ทุกครัวเรือน นอกจากราคาที่แพงเอาๆ แล้วก็ไม่น่ามีปัญหาอื่น แต่ก็มีจนได้ครับ มันคือเรื่องของถังแก๊สเป็นสนิมเช้าวันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม 2557 เวลาประมาณ 8.00 น.สมชายได้สั่งซื้อแก๊สยี่ห้อ ปตท.น้ำหนัก 15 กิโลกรัม จากร้านค้าแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่แถวถนนสรรพวุธ บางนา  เป็นร้านที่สมชายสั่งซื้ออยู่เป็นประจำ เมื่อแก๊สหมดถัง ก็โทรไปสั่งตามปกติแต่วันนี้เป็นผู้ชายรับสายแทนที่จะเป็นผู้หญิงเหมือนแต่ก่อนสมชายสั่งไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เด็กส่งแก๊สก็นำแก๊สมาส่งถึงที่บ้าน ขณะที่แกะสายรัดและเอาถังแก๊สลงมาข้างล่าง สมชายมองเห็นสภาพถังเห็นเป็นถังเก่ามาก  เป็นสนิม ตัวหนังสือแทบจะไม่มี ผิดกับถังของตนซึ่งอยู่ในสภาพที่ใหม่จึงถามเด็กส่งแก๊สว่า “ทำไมถังถึงเก่าอย่างนี้ ช่วยเปลี่ยนใบใหม่ให้ได้ไหม กลัวใช้แล้วอาจเกิดอันตรายได้” เด็กส่งแก๊สตอบว่า “ถังมีแต่แบบนี้คราวนี้ใช้ไปก่อนคราวหน้าค่อยเปลี่ยนถังใบใหม่ให้” สมชายก็บอกว่า “ช่วยเปลี่ยนให้หน่อยเถอะเพราะที่บ้านใช้แก๊สนานหลายเดือนกว่าจะหมดและประการสำคัญถ้าเกิดเป็นอันตรายใครจะรับผิดชอบ”“ถ้าไม่เอาก็ต้องคิดค่าแบกขึ้นอีก 25 บาท” นี่คือคำสุดท้ายจากเด็กส่งแก๊สสมชายขอบิลดูก็พบว่าราคาแก๊สแตกต่างไปจากครั้งก่อน ซื้อกับผู้หญิงจะเป็นราคา 295 บาทบวกค่ายกอีก 25 บาท รวมเป็น 320 บาท แต่นี่คิดราคา 310 บาทถ้ารวมกับค่ายกก็เป็น 310+25 รวมเป็น 335 บาทสมชายจึงตกลงใจที่จะไม่ซื้อแก๊สถังดังกล่าวไว้ เนื่องจาก ข้อแรก ถังอยู่ในสภาพเก่า เกรงว่าเมื่อใช้จะเกิดอันตรายขึ้นได้ ข้อสอง ราคาแตกต่างกับที่เคยซื้อครั้งก่อน(ซึ่งสมชายใช้สิทธิตามโครงการรัฐสำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อยอยู่) เรื่องเป็นมาแบบนี้สมชายจึงขอปรึกษาว่าถ้าไม่ต้องการซื้อร้านนี้อีกต่อไป โดยต้องการเปลี่ยนร้านใหม่จะสามารถทำได้หรือไม่และสิทธิยังใช้ได้เหมือนเดิมหรือไม่ แนวทางแก้ไขปัญหาปกติถังแก๊สทั่วไปจะหมดสภาพการใช้งานประมาณ 5 ปี แต่ถ้าเกิดถังเก่าก่อนกำหนดหรือใช้แล้วเป็นสนิม หน้าที่ในการซ่อมหรือเปลี่ยนถังแก๊ส เป็นของบริษัทแก๊ส เช่นแก๊สของ ปตท.หากถังแก๊สของ ปตท. มีการขึ้นสนิมหรือทรุดโทรมอย่างไร ผู้ใช้ก็สามารถคืนหรือเปลี่ยนถังแก๊สเป็นถังใหม่จากร้านค้าแก๊สนั้นได้ ซึ่งหลังจากนั้นทางร้านก็จะส่งคืนให้ทาง ปตท. ทางปตท.ก็จะเป็นผู้บำรุงรักษาถังนั้นเองด้วยค่าใช้จ่ายของ ปตท.เองในส่วนของการร้องเรียนของแก๊ส ปตท. นั้นผู้ร้องสามารถร้องเรียนได้ที่ เบอร์ 02 5372000 ต่อ แผนกร้องเรียน ซึ่งขั้นแรกอาจจะทำการตักเตือนกับทางร้านค้าก่อน ถ้ายังทำอีกก็อาจจะมีการเพิกถอนใบอนุญาตต่อไปส่วนในกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้า สามารถร้องเรียนได้ที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนราคาสินค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์  โทรสายด่วน 1569 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือจะทำเป็นจดหมายแบบไปรษณีย์ตอบรับก็ได้สำเนาถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อจะได้ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอีกกรณีที่ผู้ร้องได้ลงทะเบียนเพื่อยืนยันสิทธิแล้วจะเปลี่ยนร้านจำหน่ายซื้อก๊าซหุงต้มนั้น สามารถเปลี่ยนได้ โดยครัวเรือนที่มีรายได้น้อย สามารถกดลงทะเบียนใหม่ได้ด้วยตนเอง ตามขั้นตอนของการลงทะเบียนเพื่อยืนยันสิทธิ แต่มีเงื่อนไขว่า ร้านจำหน่ายใหม่ที่จะซื้อก๊าซจะต้องอยู่ในเขตอำเภอเดียวกันกับที่อยู่ของผู้ร้องถ้าผู้ร้องร้องเรียนแล้วยังไม่มีการดำเนินการแก้ไข ผู้ร้องสามารถส่งเรื่องและเอกสารที่เกี่ยวข้องมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ เพื่อจะได้มีการตรวจสอบให้กับผู้ร้องอีกครั้งหนึ่ง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 กินยาบำรุงร่างกายถึงตายได้เลยนะ

ได้มีโอกาสไปเยี่ยมศูนย์รับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน   ตามมาตรา50(5)  ตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   ซึ่งเป็นการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน  เพื่อเป็นศูนย์รับ เรื่องร้องเรียน  และช่วยแก้ปัญหาของภาคประชาชน (ที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 100 ศูนย์)   ในภาคอีสานตอนบนการไปเยี่ยมเยียนพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาการใช้บริการด้านสุขภาพของประชาชนในหน่วยบริการ จากการพูดคุย     มีเรื่องที่น่าตกใจ   และไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นคือ   มีเด็กกินยาบำรุงร่างกายแล้วเสียชีวิต   เมื่อถามรายละเอียด  จึงทราบว่า  ยาที่เด็กกินคือยา  xxx ยาบำรุงเม็ดสีแดง   ชาวบ้านเล่าว่า   เด็ก 2 คน  อายุ 3-4 ขวบ เป็นพี่น้องกัน  พ่อ-แม่เด็กไปทำงานในเมือง  เด็กกับอยู่กับตา    ตากินยาบำรุงแล้ววางไว้ในมุ้ง    เด็กเห็นเม็ดยาสีสวยคงนึกว่าขนม  จึงแอบกินเกือบหมด    ตามาเห็นจึงรีบพาเด็กส่งโรงพยาบาล คำถามแรกคือ “เด็กกินยาไปกี่เม็ด   คนไหนกินมากกว่ากัน”  ตาบอกจำนวนเม็ดยาได้  แต่บอกไม่ได้ว่า  คนไหนกินมากกว่ากันแพทย์รับตัวไว้ดูอาการใน โรงพยาบาลผ่านไป 2 วัน อาการไม่มีอะไรน่ากังวล จึงเตรียมจะให้เด็กกลับบ้าน  แต่เด็กเริ่มมีอาการน่าเป็นห่วงสัญญาณชีพมีปัญหา  โรงพยาบาลอำเภอจึงเร่งส่งตัวไปโรงพยาบาลจังหวัด    ไปถึงปรากฏว่าว่าเด็กมีอาการไตวายเฉียบพลัน   แพทย์เร่งล้างท้องและช่วยชีวิตเด็กได้ 1 คน  อีกคนเสียชีวิต (คุยกับแพทย์ได้เหตุผลว่ายาบำรุงมีธาตุเหล็ก  กินมากๆ ธาตุเหล็กจะไปเกาะตับไต ทำให้ตับไตมีปัญหา)  เรื่องนี้มีการร้องเรียนโรงพยาบาลแรกว่าไม่ดำเนินการล้างท้องเด็กปล่อยให้อาการหนักจนเสียชีวิต สปสช. จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกัน  400.000  บาท  เรื่องก็จบไป  พร้อมชีวิตเด็ก 1 คน    แต่ไม่มีการร้องเรียนผู้ผลิตยาดังกล่าวแต่อย่างใด      ดิฉันเลยไปร้านยา ขอดูฉลากยาข้างกล่องเท่าที่ดู (ภายนอก)อย่างละเอียด  ไม่เห็นคำเตือนให้เก็บห่างมือเด็กแต่อย่างใด    จึงเขียนมาเพื่อ เตือนผู้ผลิตว่าควรมีคำเตือนเรื่องนี้ อย่างจริงจัง  เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค  และผู้ปกครองทั้งหลายจะได้ทราบไว้เป็นอุทาหรณ์    เพราะยามีคุณอนันต์  ก็มีโทษมหันต์ เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 ว่าด้วยเรื่อง พ.ร.บ.รถ อีกสักที

ปัญหาเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางถนนสร้างความปวดหัว และปวดใจได้ไม่น้อยเลย ยิ่งในรายที่ประสบอุบัติเหตุแบบไม่ธรรมดา คือ ต้องไปข้องเกี่ยวกับรถที่ไม่ได้ทำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือเรียกว่า พ.ร.บ.ภาคบังคับ หรือบางราย พ.ร.บ.หมดอายุ (พ.ร.บ. ขาด) แล้วใครล่ะที่จะมารับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล และค่าปลงศพ (กรณีเสียชีวิต)ให้กับผู้เสียหาย  เรื่องนี้มีคำตอบกรณีที่ผู้เสียหาย 3 คน เดินกินลมชมวิวริมถนนอยู่ดีๆ ก็มีรถมาเฉี่ยวชน คนที่ 1 บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนคนที่ 2 บาดเจ็บเล็กน้อย คนที่ 3 เสียชีวิตคาที่  และบังเอิญ รถคันที่มาชนไม่ได้ทำ พ.ร.บ.ภาคบังคับเสียด้วย จะได้รับการชดเชยเยียวยาอะไรบ้างการชดเชยในกรณีนี้ -  ทั้ง 3 คน สามารถใช้สิทธิจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ สามารถทำเรื่อง เบิกจ่ายได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) -  คนที่ 1 ทายาทจะได้รับเงิน จำนวน 35,000 บาท ซึ่งจะหัก ค่ารักษาพยาบาลตามจริงก่อนเสียชีวิต ด้วย ในรายที่รักษาเกินกว่า 35,000 บาท ก่อนเสียชีวิตก็เท่ากับว่าจะไม่ได้ค่าปลงศพนั่นเอง -  คนที่ 2 โรงพยาบาลจะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท หากเกินจะสามารถใช้สิทธิที่ตนเองมีอยู่ เช่น ประกันสังคม ข้าราชการ หลักประกันสุขภาพ(บัตรทอง) -  คนที่ 3 ทายาทจะได้รับเงินค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาทอีกกรณีคือเด็กชายอายุ 13 ปี ได้ขับรถมอเตอร์ไซด์ พาน้องสาวอายุ 9 ปี นั่งซ้อนท้ายมาด้วยกัน แล้วถูกรถยนต์เก๋งชน จนเป็นเหตุให้คนขับบาดเจ็บ ส่วนน้องสาวเสียชีวิตคาที่  ทั้ง พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซด์ และ พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย อ้างว่า เด็กชายคนดังกล่าวไม่มีใบขับขี่การชดเชยในกรณีนี้ -  โปรดจำไว้ว่า แม้คนขับจะไม่มีใบขับขี่ก็ตาม จะได้รับจากชดเชยเยียวยาจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามปกติคือ ค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท แต่หากพิสูจน์ได้ว่า คู่กรณีเป็นฝ่ายผิดจะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเป็นตามจริง ไม่เกิน 50,000 บาท  เพราะ เป็นกฎหมายคนละฉบับกัน หากคนขับไม่มีใบขับขี่จะถูกดำเนินการลงโทษจาก พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยการเปรียบเทียบปรับในภายหลัง - สำหรับคนซ้อน ถือเป็นบุคคลภายนอก ไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด จะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซด์ทันที ที่ 200,000 บาท - หากไม่สามารถตกลงกันได้ สามารถร้องเรียนได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)   ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ค่ารักษาพยาบาล ตามจริง ไม่เกิน 50,000 บาท ค่าปลงศพ จำนวน 200,000 บาท ค่าชดเชยกรณีนอนโรงพยาบาล วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกจะต้องมีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครอบผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หากไม่ทำจะมีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และให้เจ้าของรถหรือผู้ใช้รถเก็บรักษาหลักฐานแสดงการมีประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถไว้ให้พร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทุกเวลาที่ใช้รถ เว้นแต่กรณีรถคันดังกล่าวได้จดทะเบียนหรือชำระภาษีประจำปีแล้ว   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 ปวดหัวกับพี่วิน ปัญหานี้มีทางออก

ปัญหาที่มีร้องเรียนเข้ามามากมายอย่างต่อเนื่องของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ในหมวดบริการสาธารณะก็คือ ปัญหาจากการบริการของมอเตอร์ไซด์รับจ้าง หรือว่า พี่วิน ของเราท่านนั่นเองปัญหาที่ผู้บริโภคพบส่วนใหญ่คือ คิดราคาแพง เกินกว่าป้ายบอกราคา   หรือแพงกว่าที่ควรจะเป็น  ตั้งราคาเอง  วินเถื่อน  การปฏิเสธไม่รับผู้โดยสารที่มีรูปร่างอวบอ้วน น้ำหนักตัวมาก กิริยา วาจา ไม่สุภาพ หรือบางรายเข้าข่ายลวนลามลูกค้าก็มี  เรื่องทำนองนี้มีมาเข้ามามิได้หยุดหย่อน แล้วเราจะทำอย่างไรกันดีเมื่อเจอกับปัญหาลักษณะนี้คุณแสนดี เป็นผู้หนึ่งที่ใช้บริการมอเตอร์ไซด์รับจ้างอยู่เป็นประจำ เพราะบ้านพักอยู่ในซอยที่ค่อนข้างเปลี่ยวและลึก และวันหนึ่งเธอก็ใช้บริการตามปกติ กับวินเดิม แต่สิ่งที่ทำให้คุณแสนดีปรี๊ดแตกก็คือวันนั้นพี่วินไม่ยอมเข้าไปส่งเธอถึงบ้านพักเพราะอ้างว่า ซอยเปลี่ยวและดึกเกินไป ทั้งที่นาฬิกาข้อมือบอกเวลาที่ 19.00 น. เท่านั้นคุณแสนดีพยายามบอกให้คนขับเข้าไปส่งเพราะเธอไม่อยากเดินเข้าไปในซอยเพราะแม้ไม่ดึก แต่ก็มีคนงานตั้งวงดื่มสุรากันริมทาง เกรงจะไม่ปลอดภัย แต่คนขับก็ยืนยันไม่เข้าไปส่งท่าเดียว จนในที่สุดคุณแสนดีต้องจำใจเดินเข้าซอยท่ามกลางความหวาดระแวงตลอดทางจนถึงบ้าน แต่ด้วยความรอบคอบเธอสามารถจดจำหมายเลขทะเบียนรถ และหมายเลขเสื้อของคนขับได้ครบถ้วนจึงได้นำเรื่องมาปรึกษากับเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค แนวทางแก้ไขปัญหา ถ้าท่านพบเจอเหตุการณ์เช่นเดียวกับคุณแสนดี หรือถูกเอาเปรียบในเรื่องอื่นๆ สามารถแก้ไขปัญหาได้ดังต่อไปนี้ -  จดจำรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานที่ตั้งวิน หมายเลขทะเบียนรถ หมายเลขที่เสื้อคนขับ พื้นที่ให้บริการซึ่งจะระบุไว้ที่ตัวเสื้อ และช่วงเวลาที่เกิดเหตุ -  ร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่ทำหน้าที่ ควบคุม ดูแล ประกอบด้วย1) ตำรวจ ท้องที่ที่เกิดเหตุ 2) สำนักงานเขต 3) กรมการขนส่งทางบก -  การร้องเรียน แจ้งเบาะแส พฤติกรรม ต้องดำเนินการทำเป็นลายลักษณ์อักษร จะเกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะสามารถติดตามการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆที่รับเรื่องร้องเรียนได้ด้วย หากไม่มีความคืบหน้าก็สามารถดำเนินการทางปกครองกับหน่วยงานเหล่านี้ตาม มาตรา 157 (ละเว้นปฏิบัติหน้าที่) ค่ะ   จุดสังเกตว่าเป็นมอเตอร์ไซด์รับจ้างที่ผิดกฎหมาย หรือ วินเถื่อน - ไม่มีการสวมเสื้อวิน - ไม่มีเบอร์ หรือหมายเลขปรากฎด้านหลัง - ไม่มีการระบุเขตพื้นที่การวิ่งรถ - ไม่มีการระบุชื่อ พนักงานขับรถที่หน้าอกเสื้อวิน หากพบว่า เป็นวินเถื่อน แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันที     //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 อยากซ่อม ไม่อยากขายซาก

รถเกิดอุบัติเหตุก็ต้องซ่อม แม้จะเยินไปหน่อยแต่ก็เพิ่งซื้อมา ทำประกันชั้นหนึ่งด้วย อยู่ๆ จะให้ขายเป็นซากแบบไม่สมเหตุผลมันก็ทำใจลำบากอยู่คุณผุสดี ซื้อรถยนต์ใหม่ป้ายแดงมาหมาด พร้อมทำประกันภัยชั้น 1 ไว้กับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในวงเงิน 650,000 บาท โชคร้ายรถประสบอุบัติเหตุ(โชคดีที่คนขับไม่บาดเจ็บมาก) ทางประกันภัยจึงมายกรถที่สภาพเสียหายค่อนข้างหนักไปเข้าศูนย์ซ่อมแต่ผ่านไป 4 เดือน รถไม่เคยถูกซ่อม ทางประกันภัยแจ้งว่าทางศูนย์ซ่อมที่ประกันฯ นำรถไปดำเนินการนั้นแจ้งราคาซ่อมเกินวงเงินประกันภัย จึงไม่สามารถซ่อมได้ ประกันฯ ขอรับซื้อซากรถแทน “แต่ดิฉันไม่ตกลงขายค่ะ เพราะสภาพมันซ่อมได้ ไม่ใช่ว่าซ่อมไม่ได้เลย ดิฉันจึงทำหนังสือแจ้งไปยังบริษัทประกันฯ ว่าจะขอนำรถมาซ่อมที่อู่ ซึ่งดิฉันรู้จัก ซึ่งประกันก็ยินยอม แต่ว่ารถก็ยังไม่ได้รับการซ่อมอยู่ดี อู่บอกว่าประกันฯ ยังไม่ได้คุยว่าจะต้องซ่อมอะไร ยังไง พอดิฉันไปคุยกับประกันฯ ทางประกันบอกว่าจะติดต่อกับอู่เองโดยตรง ดิฉันไม่รู้จะทำยังไงดี รถคันนี้ต้องใช้ประกอบอาชีพด้วย ตอนนี้เดือดร้อนมาก” แนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ติดต่อเจรจากับทางบริษัทประกันภัย ได้ความว่า รถของผู้บริโภคนั้น มีสภาพความเสียหาย(ที่ต้องซ่อมแซม) เกินกว่า 70% ซึ่งเข้าข่ายซ่อมไม่ได้ จึงได้เสนอคืนเงินประกันให้กับคุณผุสดี แต่ทางคุณผุสดีแจ้งว่า เงินที่ทางบริษัทประกันจะคืนให้นั้น ไม่พอปิดยอดไฟแนนซ์ ซึ่งจะต้องชำระค่าส่วนต่างอีกหลายหมื่นบาท และเมื่อดูรายการตามที่ทางช่างได้ประเมินเรื่องการซ่อมแล้ว คุณผุสดีเห็นว่า ช่างยืนยันว่าซ่อมได้ ทั้งยังไม่เกินวงเงินประกันด้วย ทางบริษัทประกันฯ น่าจะพิจารณาคุ้มครองการจ่ายค่าซ่อมแซมทั้งหมดหลังการเจรจาเรื่องก็จบลงด้วยดีตามความประสงค์ของคุณผุสดีคือ ทางบริษัทประกันอนุมัติการซ่อม คุณผุสดีจึงขอบคุณทางศูนย์ฯ ที่ช่วยเรื่องการเจรจาในครั้งนี้ //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 156 100 ปี หมอยา

เมื่อวันที่ 10- 12  มกราคม 2557  เป็นวันจัดงาน “100  ปี วิชาชีพและการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย โดย สภาเภสัชกรรม  และมูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม   ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทบทวนผลการดำเนินการ 100 ปี ที่ผ่าน และทิศทางการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา “วิชาเภสัชศาสตร์” กับความคาดหวังของประชาชนต่อวิชาชีพนี้  ในทศวรรษ ต่อไปประเด็นที่ท้าทาย “หมอยา” มีมากมาย   รวมถึงการกำหนดหลักสูตรการสอนอย่างไร?  ให้ผู้ที่จบหลักสูตรวิชาชีพเภสัชกรรม  เป็นผู้ที่ “เอาธุระต่อสังคม” ไม่ใช่เป็นแค่อาชีพหนึ่งในสังคม   สาเหตุที่เขียน เช่นนี้ เพราะเภสัชกร  เป็นผู้ทรงความรู้เกี่ยวกับเรื่องยา   ทุกแขนง ทุกสาขา ทั้งความรู้เรื่องการใช้ยาการกินยา ผลกระทบของยา การผลิตยา  ทั้งยาคนยาสัตว์  รวมถึงเป็นผู้ที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดความมั่นคงด้านยา  เรียกได้ว่าเป็นรอบรู้เรื่องที่เกี่ยวกับยาครบวงจร   แต่ความรู้ที่อุตส่าห์ร่ำเรียนมาตั้ง 6 ปี  กลับถูกนำมาใช้อย่างจำกัด  เภสัชกร เป็นได้แค่คนขายยาในร้านยา คนจัดยาและแนะนำยาให้กินยาตามแพทย์สั่ง  เช่น  ยานี้กินกี่วัน กินวันละกี่มื้อ  แต่กินไม่ตรงแล้วเป็นไง กินไม่ครบจะเกิดอะไร(ไม่มีเวลาบอก)  เป็นเภสัชในโรงงาน  ฯลฯ ที่ยังไม่เคยเป็นเลยตลอด 100 ปีที่ผ่านมา  เห็นจะเป็น  “ผู้ทำให้ประเทศไทยพึ่งพาตัวเองด้านยาได้” อย่างที่ควรจะเป็น ด้วยข้อจำกัด และอุปสรรคมากมาย ทำให้ 100 ปี ที่ผ่านมาประเทศไทยยังต้องพึ่งการนำเข้ายาจากต่างประเทศเป็นหลัก  เท่าที่ผู้เขียนไปนั่งฟังในเวทีรวมถึงเป็นผู้ที่ร่วมวิพากษ์ เรื่องหลักสูตรการศึกษานี้  ทำให้ทราบว่า  เรายังขาด   องค์กรที่จะมาเป็นเจ้าภาพในการสร้างความมั่นคงด้านยาของประเทศ  ขาดทั้งงบประมาณ  ความพร้อมในการผลิตยา  รวมถึงขาดนโยบาย จากฝ่ายการเมือง  ที่จะสร้างความมั่นคงด้านยาอย่างจริงจัง  นักการเมืองบ้านเรายังมีความสุขกับการอนุมัติงบประมาณเพื่อนำไปซื้อยา  มากกว่าที่จะทำให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งด้านพึ่งพาตนเองเรื่องยา   ในภาวะกระแสปฏิรูปประเทศไทยกำลัง มาแรง  ก็เลยอยากฝากประเด็นนี้ให้ติดอยู่ในกระบวนการปฏิรูปด้วยก็จะดียิ่งเจอกันฉบับหน้าจะนำปัญหาการใช้ยาอย่างขาดความรู้จนทำให้ถึงตายมาเล่าสู่กันฟัง มีเยอะเชียวล่ะคุณเอ๋ย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 156 ค้างค่างวดรถ 3 งวด แต่จะให้จ่าย 6 ไหวไหม

สมัยนี้ยังจะมีใครซื้อรถด้วยเงินสดๆ แบบจ่ายทีเดียวไหม คงน้อยมากๆ แม้แต่คนที่มีเงินมาก ก็ไม่ทำเพราะระบบลิซชิ่งหรือระบบเช่าซื้อรถยนต์มันทำให้บริหารเงินได้ดีกว่าที่จะเอาเงินเยอะๆ ไปทุ่มในครั้งเดียว และยังช่วยให้คนเงินน้อยสามารถมีรถยนต์เป็นของตนเองได้ บริษัทรถยนต์ก็ขายได้มากขึ้น ยังไม่รวมนโยบายรถคันแรกที่รัฐบาลออกมาช่วยกระตุ้นยอดขายด้วย เราจึงเห็นปรากฏการณ์ยอดขายรถยนต์สูงลิ่วในทุกปีการเช่าซื้อหรือทำสัญญาเช่าซื้อ (Hire-Purchase) คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้ให้เช่าซื้อนำทรัพย์สินออกให้เ ช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือให้ทรัพย์สินตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อได้ชำระเงินครบถ้วนตามสัญญาแล้วการเช่าซื้อรถยนต์เราจึงยังไม่ได้เป็นเจ้าของโดยสมบูรณ์แต่เป็นเพียงผู้เช่าซื้อ โดยมีสัญญาว่าจะชำระเงินให้เป็นงวดๆ ให้แก่เจ้าของจริง ซึ่งก็คือบริษัทที่ให้บริการเช่าซื้อรถยนต์ ถ้าสามารถจ่ายเงินได้ตรงงวดคงไม่มีปัญหา ปัญหามาเกิดเอาตรงที่จ่ายไม่ทันและถ้าไม่ทัน 3 งวดติด เจ้าของเขาก็จะมายึดรถ(ทรัพย์)ของเขาทันทีคุณพิมลวรรณเช่าซื้อรถยนต์กับบริษัท โตโยต้า ลิสซิ่ง(ประเทศไทย) จำกัด เป็นราคาค่าเช่า 857,247 บาท โดยจะชำระงวดละ 8,733 บาท แต่เกิดปัญหาขึ้นเมื่อคุณพิมลวรรณขาดส่งไป 3 งวด ไม่นานทางบริษัทลิสซิ่ง ได้ให้พนักงานมานำรถไปพร้อมบอกว่า ให้ไปไถ่ถอน ด้วยการชำระเงิน 3 งวดที่ขาดส่งไป รวมค่าปรับ ค่าติดตามรถ พร้อมค่าไถ่ถอนทั้งสิ้น 36,624 บาท โดยให้เวลาดำเนินการ 6 เดือน แต่เมื่อคุณพิมลพรรณติดต่อกลับไปทางโทรศัพท์เพื่อขอทราบรายละเอียดค่าบริการค่าปรับต่างๆ ก็ได้ข้อมูลใหม่ชวนตกใจว่า คุณพิมลพรรณต้องชำระทั้งหมด 89,022 ซึ่งเป็นยอดที่รวมค่าเช่าล่วงหน้าอีก 6 เดือน จึงจะมารับรถคืนได้ แนวทางแก้ไขปัญหาทางศูนย์พิทักษ์ฯ ได้สอบถามข้อมูลจากคุณพิมลพรรณ พบว่า ยอดค่าใช้จ่ายที่ถูกเรียกเก็บเกิดจากการเจรจาความกันทางโทรศัพท์ ซึ่งคุณพิมลพรรณมิได้รับหนังสือบอกกล่าวจากบริษัทแต่อย่างใดตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เรื่องให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์นั้น ความข้อ 3 มีสาระสำคัญและมีเงื่อนไข ที่เกี่ยวข้องดังนี้ (4) ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อรายงวด 3 งวดติดๆ กัน และผู้ให้เช่าซื้อมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อย 30 วัน นับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือและผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น (5) เมื่อผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและกลับเข้าครอบครองรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่ให้เช่าซื้อ เพื่อนำออกขายให้แก่บุคคลอื่น     ก. ก่อนขายให้แก่บุคคลอื่น ผู้ให้เช่าซื้อต้องแจ้งล่วงหน้าให้ผู้เช่าซื้อทราบเป็นหนังสือไ ม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิซื้อได้ตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ       ข. ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ออกขาย หากได้ราคาเกินกว่ามูลหนี้ในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อจะคืนเงินส่วนที่เกินนั้นให้แก่ผู้เช่าซื้อ แต่หากได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะรับผิดส่วนที่ขาดนั้นเฉพาะกรณีการขายโดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาดที่เหมาะสมเท่านั้นเมื่อไม่มีหนังสือแจ้งบอกกล่าว เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์ฯ จึงได้ติดต่อกลับไปยัง บริษัท โตโยต้า ลิสซิ่ง เพื่อขอทราบข้อเท็จจริง อีกทั้งแจ้งให้ทางผู้ร้องชำระเงินค่างวดที่ค้างไว้ 3 งวดแก่บริษัทฯ เพื่อให้สัญญากลับคืนสู่สภาพ ทางศูนย์ฯ ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ว่า ผู้ร้องผิดสัญญาเพราะผิดนัดชำระ 3 งวด ในหนังสือบอกกล่าวก็ระบุไว้ว่าให้ชำระทันที จุดนี้ทางศูนย์ฯ แย้งว่า ผู้ร้องไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวจากทางบริษัทแต่อย่างใด อีกทั้งการชำระทันทีก็ยังต้องอยู่ในเงื่อนไขตามประกาศของ สคบ. คือ ไม่เกิน 30 วัน จึงถือว่ากรณีนี้ผู้ร้องมิได้กระทำผิดสัญญาและยังได้ชำระค่างวดที่ค้างอยู่ทั้งหมดแล้ว ทางบริษัทจึงต้องคืนรถยนต์ให้กับผู้ร้องโดยทันทีเมื่อแย้งกลับไปด้วยข้อกฎหมายทางฝ่ายบริษัทฯ เลยขอพักการเจรจาก่อนบอกว่า ตนเองมิใช่คนดูแลโดยตรง จะติดต่อกลับในภายหลังต่อมาผู้ร้องได้แจ้งว่า บริษัทฯ ติดต่อให้ไปรับกุญแจคืนและตนก็ได้ไปรับตรวจรถเรียบร้อยแล้ว จึงขอขอบคุณมูลนิธิฯ มา ณ ที่นี้   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 156 เอสเอ็มเอส ไม่สมัครไม่ต้องจ่าย

มาอีกแล้วกับเรื่องเอสเอ็มเอสที่ไม่ได้สมัครใช้บริการ แต่เครือข่ายดันมาคิดค่าบริการแล้วบอกปัดว่า “ไม่ใช่ของบริษัทฯ ค่ะ จึงไม่สามารถระงับบริการได้” ใครจะเชื่อที่ผ่านมาและน่าจะยังเป็นเรื่องปัจจุบันด้วย คือรูปแบบการส่งข้อความสั้น หรือ SMS ปัญหาจะมีลักษณะที่อ้างว่าเป็นบริการในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความตลก คลิปลับ ดูดวง ชิงโชค บริการข่าว โหลดเพลง ฯลฯ และมีการหักเงินค่าบริการผ่านระบบการหักเงินอัตโนมัติจากเครือข่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบต่างๆ ทั้งในระบบเติมเงิน และรายเดือน บางท่านจะไม่รู้ตัวเลยว่าถูกหักเงิน จนเมื่อโทรศัพท์ไม่สามารถใช้งานได้นั่นแหละ ถึงจะทราบว่าตนเองเป็นเหยื่อไปอีกรายแล้วคุณณิชาก็เช่นกัน เธอเล่าว่าใช้บริการของทรู ทั้งหมายเลขโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต Wi-Fi มานานแล้ว จนพฤษภาคม  ปีที่แล้วได้เปิดบริการเพิ่มอีก 1 เบอร์ โดยวงเงินของเบอร์นี้จำกัดไว้ที่ 1,000 บาท และเนื่องจากใช้บริการหลายอย่างจึงไม่ทันได้สังเกตถึงความผิดปกติ(รายละเอียด)ของค่าบริการว่ามีอะไรบ้าง ได้แต่ชำระเงินไปตามยอดที่ตรวจสอบได้จากทางเว็บไซต์ของทรูเท่านั้น จนเดือนตุลาคมเธอไม่สามารถใช้บริการโทรออกจากเบอร์ที่เปิดใช้งานเมื่อเดือนพฤษภาคมนั่นแหละ จึงรู้ตัวว่าโดนเข้าแล้ว“ก็มียอดค้างค่าบริการเบอร์นี้ประมาณ 1 เดือนนะคะ ไม่คิดว่าจะถูกตัดบริการ พอลองหาใบแจ้งหนี้ค่าบริการดู เลยมารู้ตัวว่า เบอร์นี้ไม่เคยมีใบแจ้งหนี้มาที่บ้านเลยตั้งแต่สมัคร เมื่อสอบถามกับคอลเซนเตอร์ ปรากฏว่าทางบริษัทฯ จัดส่งใบแจ้งหนี้ไปที่ที่อยู่เก่า ทั้งที่ตอนสมัครใช้ก็แจ้งที่อยู่ปัจจุบันอย่างชัดเจน ยอดค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 701 บาท ซึ่งสูงมากเพราะดิฉันไม่ค่อยได้ใช้บ่อยนัก จึงถามรายละเอียดว่าเป็นค่าอะไร ทางคอลเซนเตอร์แจ้งว่า เป็นค่าบริการที่สมัครเกมจาวา งงไปเลยค่ะว่าสมัครไปตอนไหนกัน” คุณณิชาปฏิเสธว่าไม่เคยสมัครเล่นเกมอะไรเลย ทางคอลเซนเตอร์จึงทำเรื่องยกเลิกให้ ทั้งหมด 4 เกม จากนั้นคุณณิชาลองมาดูรายละเอียดการใช้งานในเดือนกันยายนผ่านทางเว็บไซต์ ก็พบว่า มีการส่ง SMS มาที่เบอร์นี้เยอะมาก ประมาณ 80 ข้อความ(ค่าบริการ 10-20 บาท/ข้อความ) และสำหรับเดือนตุลาคมที่ยังไม่ได้ตัดรอบบิลก็เจอไปอีก 130 ข้อความ ค่าบริการทะลุไป 1,350 บาท ช่วงเวลาที่เกิดปัญหาคือช่วง 05.00 – 08.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่เคยจะหยิบโทรศัพท์มาใช้งานเลยสำหรับคุณณิชา“ดิฉันแจ้งร้องเรียนกับทางคอลเซนเตอร์ทันที ยืนยันไปค่ะว่าไม่เคยสมัคร ทางคอลเซนเตอร์ก็ยืนยันว่า ลูกค้าสมัครๆ และเสนอว่าจะลดค่าบริการให้ 300 บาท จากยอดสองเดือนรวมๆ ประมาณ 2,000 กว่าบาท มันไม่แฟร์เลยนะคะ”คุณณิชาไม่เชื่อว่าทางทรูจะไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่า ช่วยเหลือ 300 บาท ก็ขนาดยอดเงินในเบอร์นี้มีแค่ 1,000 บาท ยังปล่อยให้ข้อความสั้นมันทะลุเกินวงเงินไปได้ จึงมาร้องเรียนและขอคำปรึกษากับทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค แนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อไม่ได้สมัครใช้บริการ ก็ไม่ควรต้องจ่ายค่าบริการ ทางศูนย์ฯ จึงแนะนำให้คุณณิชาทำหนังสือ หรือทำจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล์) ถึงบริษัท ทรู โดย 1.ขอให้ทางทรูตรวจสอบค่าใช้จ่ายกรณีบริการเสริมข้อความสั้น พร้อมปฏิเสธการชำระค่าบริการข้อความสั้นทั้งหมด ตามใบแจ้งหนี้ในรอบบิลที่มีปัญหา พร้อมยกเลิกบริการเสริมทุกชนิด(เพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต) 2.แจ้งขอให้ทางบริษัทฯ เปิดสัญญาณการใช้งานตามปกติ โดยทางผู้ร้องจะชำระค่าบริการที่ยังค้างอยู่เฉพาะที่เป็นค่าบริการจริงไม่เกี่ยวกับค่าบริการข้อความสั้นที่ผู้ร้องไม่ได้สมัครใช้บริการ โดยหนังสือนี้สำเนาถึงศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ด้วยต่อมาได้รับแจ้งจากคุณณิชาว่า ได้ส่งอีเมล์ไปถึงบริษัท ทรู เพื่อดำเนินการตามที่ทางศูนย์ฯ แนะนำ ปัจจุบันทางบริษัทฯ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แล้ว โดยปรับลดค่าบริการส่วนเกินจากบริการข้อความสั้น(SMS) รวม 1341.78 เหลือเฉพาะค่าบริการจริง โดยจะเปิดสัญญาณให้ 3 วันเพื่อให้ทางผู้ร้องได้ชำระค่าบริการที่ค้างอยู่ พร้อมระงับบริการ SMS ทั้งหมด คุณณิชาขอบคุณที่ทางศูนย์พิทักษ์ฯ ได้ช่วยเหลือให้คำแนะนำในครั้งนี้ และยินดีจะช่วยเหลือสนับสนุนทางมูลนิธิฯ หากมีประเด็นที่ต้องการพลังจากผู้บริโภคคนเล็กคนน้อย //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 155 ร้องเรียนกรณี ถูกฉ้อโกงค่าใช้บริการ

30 หมู่ที่ 8 ตำบล บางแก้วอำเภอ เมือง จังหวัดสมุทรสงคราม วันที่   28   พฤศจิกายน  2556 เรื่อง  ร้องเรียนกรณี ถูกฉ้อโกงค่าใช้บริการ เรียน   กสทชด้วยดิฉัน  นางสาวบุญยืน  ศิริธรรม  หมายเลขบัตรประชาชน 37501-00253-723    เป็นผู้ใช้โทรศัพท์ หมายเลข 081- 3089020   ใช้แบบชำระค่าบริการรายเดือนของบริษัท DTAC  ได้รับความเสียหาย ถูกฉ้อโกงค่าใช้บริการ หลายเดือนโดยที่ไม่ได้ใช้บริการวันที่ 28 พฤศจิกายน  2556  ดิฉันได้ไปจ่ายค่าบริการโทรศัพท์ ที่ศูนย์ DTAC จังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยตัวเอง(ซึ่งเดือนก่อนๆ ให้ลูกน้องไปจ่ายแทน) ซึ่งมียอดต้องชำระ 2 เดือน มียอดรวม 1,622  บาท  จึงได้ถามว่าดิฉัน ใช้บริการโปรฯ 599 ต่อเดือน(รวมอินเตอร์เน็ต) ทำไมค่าบริการจึงสูงกว่า 599  บาท  ได้คำตอบว่า  ส่วนที่เกินมาจากค่าใช้บริการบันเทิงดารา  และการสมัครข่าวฮอตนิวส์  ซึ่งดิฉันไม่เคยสมัครใช้บริการดังกล่าว และไม่เคยได้รับบริการใดๆ (นอกจากสมัครรับข่าวของสำนักข่าวอิศรา) มีเพียงได้รับข้อความทาง SMS เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน  2556  ว่า “ระบบจะต่ออายุบริการHotNews-FT 15D&Normal 29.00 บาท 30 วัน ในวันที่ 2013 -11-14 สอบถามโทร 02-9412815”  ซึ่งดิฉันไม่สนใจและไม่คิดจะรับบริการ  จากนั้นวันที่  14 พฤศจิกายน  2556  ดิฉันก็ได้รับข้อความว่า ระบบได้ต่ออายุบริการแล้ว(ดิฉันได้นำข้อมูลนี้ให้คุณฐากร  ตันฑสิทธิ  เลขา กสทช ดูแล้ว) ส่วนค่าบริการบันเทิงดาราดิฉันมาทราบภายหลังว่า มีการให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2556  ทั้งที่ดิฉันไม่เคยสมัครและไม่เคยรับบริการข่าวบันเทิงใดๆ พฤติกรรมการให้บริการของ  DTAC   เข้าข่ายฉ้อโกงผู้บริโภค อย่างชัดเจน  จึงขอร้องเรียน ให้ DTAC ชดเชยค่าเสียหายดังนี้ เรียกร้องค่าบริการที่เรียกเก็บเกิน  ตามที่เก็บเกินไปจริง เรียกร้องค่าเสียหายกรณีเสียเวลา เสียค่าโทรศัพท์ เสียค่าเดินทางและอื่นๆในกระบวนการร้องเรียน   กรณีถูกฉ้อโกง  จำนวน 5,000  บาท (เพราะผู้บริโภคไม่ได้มีหน้าที่ร้องเรียน  แต่ผู้ให้บริการมีหน้าที่ให้บริการอย่างตรงไปตรงมา มิใช่ช่อโกงผู้บริโภคได้ตามที่ต้องการ) ห้ามมิให้ DTAC ส่งบริการเสริมใดๆโดยไม่ได้มีการส่งคำร้องขอ   ลงชื่อ  นางสาวบุญยืน  ศิริธรรม ผู้ร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 155 กลุ่มคนใช้รถเชฟโรเลต ครูซ รวมพลังสู้

ร้องบริษัทรับผิดชอบ รถเสียซ่อมไม่หาย เป็นอีกครั้งที่การรวมพลังกันของผู้บริโภคไทยสร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งสำคัญต่อมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ เชฟโรเลต รุ่นครูซ และ แคปติวา หลาย 10 คัน ทนไม่ไหวกับปัญหาสภาพรถที่เสี่ยงต่อความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น เกียร์ค้าง เปลี่ยนเกียร์ไม่ได้ ขับๆ ไป เครื่องดับโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งแต่ละปัญหาล้วนแล้วแต่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุรุนแรง เพราะเห็นว่าชีวิตยังมีค่าไม่น่านำไปเสี่ยงกับรถที่ไม่มีคุณภาพ ผู้ใช้รถยนต์ เชฟโรเลต ที่เจอปัญหาตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน จึงนัดรวมตัวเพื่อแสดงพลังปกป้องสิทธิของผู้บริโภค เรียกร้องให้ผู้ผลิตรถยนต์ออกมาแสดงความรับผิดชอบ เริ่มต้นจากการไปร้องเรียนผ่านสื่อ จนผู้ผลิตอยู่เฉยไม่ไหวต้องออกมาดูแลผู้เสียหายแต่ใช่ว่าทุกอย่างจะง่ายเหมือนฝัน เพราะยังมีผู้เสียหายอีกหลายคัน ที่ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างที่ควรจะเป็น แม้ว่าทางบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด จะนำรถกลับไปตรวจสอบแก้ไข แต่พอผู้เสียหายนำรถกลับมาใช้ปัญหาก็ยังคงอยู่ และปัญหาที่เกิดส่วนใหญ่ล้วนเสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิต ทางออกที่ดีที่สุดที่ผู้ผลิตควรทำเพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ปัญหา คือรับซื้อคืนรถที่เสี่ยงต่ออันตรายทั้งหมดคืนไป เพื่อความปลอดภัยและความสบายใจของผู้บริโภคแต่เมื่อข้อเรียกร้องนี้ไม่ได้รับการตอบรับ กลุ่มผู้ใช้รถยนต์ เชฟโรเลต ครูซ ที่พบปัญหา จึงต้องเพิ่งพากฎหมาย เดินหน้าร้องเรียนต่อ สคบ. โดยมีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคช่วยดำเนินการ จนในที่สุดบริษัทผู้ผลิตก็ยินยอมที่จะนำรถยนต์ เชฟโรเลต ครูซ ที่พบปัญหาจำนวน 12 คัน เข้ารับการทดสอบเพื่อตรวจดูคุณภาพรถยนต์ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพดำเนินการทดสอบ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการทดสอบทั้งหมดทางบริษัท เชฟโรเลต ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งถ้าผลออกมาพบว่ารถยนต์ที่ทดสอบมีปัญหา บริษัทควรต้องซื้อคืนรถยนต์และจ่ายชดเชยค่าเสียหายให้กับเจ้าของรถ สถานการณ์ล่าสุด สคบ. แถลงผลการทดสอบรถยนต์เชฟโรเลต พบปัญหาทุกคัน13 ม.ค. 57  นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จัดประชุมเพื่อแจ้งผลการทดสอบรถยนต์เชฟโรเลต ครูซ 12 คัน เมื่อวันที่ 14-18 ต.ค. 56 ณ สนามแก่งกระจานเซอร์กิต จ.เพชรบุรี ซึ่งมีผู้ร้องเรียน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และตัวแทนบริษัท เชฟโรเลตฯ เข้าร่วมรับฟัง โดยมีนายศิริบูรณ์ เนาว์ถิ่นสุข ประธานคณะทำงานสืบค้นข้อเท็จจริง เป็นผู้ชี้แจงผลการทดสอบพบ  ปัญหาในรถทุกคันที่ทดสอบ จากการรายงานของทีมนักขับและผลจากเครื่องมือที่ใช้ติดตั้งเพื่อตรวจสอบ พบปัญหาระบบส่งกำลัง ได้แก่ เกียร์เปลี่ยนขึ้น-ลงกระตุก เกียร์ไม่ Kick-down เกียร์กระตุกในช่วงเครื่องเย็น และในสภาวะรถติดเคลื่อนตัวช้า เบรก RF ค้าง รถยนต์คันที่เกิดปัญหาดังกล่าวมีการรายงานอาการซ้ำๆ มากที่สุดถึง 38 ครั้งภายหลังทราบผล นายอำพล เลขาฯ สคบ. ยืนยันว่า สคบ.ผลการทดสอบของคณะทำงานสืบค้นฯ ถือเป็นที่สุด และขอให้บริษัทฯ เยียวยาความเสียหาย โดยคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของ สคบ. จะนัดทั้งสองฝ่ายมาเจรจาในสัปดาห์หน้า และขอให้บริษัทฯ ส่งผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเป็นผู้มาเจรจา ซึ่งตัวแทนบริษัทฯ ขอนำผลการทดสอบในครั้งนี้ไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบที่เก็บข้อมูลมา และหารือเรื่องการเยียวยาความเสียหายกับผู้บริหารต่อไป ปัญหารถยนต์ใหม่เกิดปัญหาจากสถิติการร้องเรียนของ ผู้บริโภคทั่วประเทศ ที่ส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามายังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) พบว่า ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมานั้น การร้องเรียนด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ ขยับขึ้นมาครองแชมป์อันดับหนึ่ง แซงการร้องเรียนด้านอสังหาริมทรัพย์ เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมา ผู้ใช้รถยนต์เชฟโรเลตครูซและแคปติวา จำนวน 26 ราย เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ สคบ. เรียกร้องให้เชิญบริษัทรถยนต์เข้า มาไกล่เกลี่ยภายใน 7 วัน เนื่องจากคันเร่งค้าง เครื่องเร่งเองโดยไม่เหยียบคันเร่ง ระบบเกียร์อัตโนมัติมีอาการกระตุกรุนแรง และระบบเกียร์ล็อคขณะเปลี่ยนเกียร์ โดยขอให้ สคบ.จัดทดสอบเพื่อพิสูจน์ปัญหา ซึ่งหากพิสูจน์ได้ว่ารถยนต์มีความชำรุดบกพร่องตามที่ร้องเรียนจริง ขอให้ทางบริษัทรับซื้อรถยนต์คืนในปี 2555 มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาที่ สคบ. กว่า 2,000 กรณี โดยเป็นการร้องเรียนด้านรถยนต์ 877 กรณี ซึ่งปัญหาที่ร้องเรียนมากที่สุดเกิดจากรถยนต์ชำรุด บกพร่อง รองลงมาคือของแถมไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ และสัญญาเช่าซื้อที่ไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ซื้อรถส่วนใหญ่เข้าใจผิดเรื่องการผิดนัดชำระเงิน ขณะที่สถิติร้องเรียนด้านรถยนต์ล่าสุด ตั้งวันที่ 1 ต.ค. 2555 ถึง วันที่ 31 ก.ค. 2556 รวมทั้งหมด 682 กรณี แบ่งเป็น รถยนต์ชำรุด 208 ขอเงินจองคืนกรณีไม่ได้รถ 96 ค้างค่างวด/คืนรถ/ส่วนต่างสูง 23 ไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญา 65 ยกเลิกสัญญาและขอเงินคืน 83 ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย 32 ขอคำปรึกษา 36 ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง 67 ค่าปรับสูง 32 กรณี และขอให้ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ 40นายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เปิดเผยว่า ในแต่ละปีผู้บริโภคที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ จะร้องเรียนเข้ามา ประมาณ 2,000 ราย ซึ่ง สคบ.จะจำแนกประเภทการร้องเรียนออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการ โดยการร้องเรียนเกี่ยวกับรถยนต์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ 1.ปัญหารถยนต์ป้ายแดง 2.ปัญหารถยนต์มือสอง 3.ปัญหาการเช่าซื้อ และ 4.ปัญหาการซ่อมแซม ซึ่งแม้ว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การร้องเรียนด้านรถยนต์จะ ขยับสูงขึ้นเป็นอันดับ 1 แต่ประมาณ ร้อยละ 80-90 เกี่ยวกับความรู้สึกของผู้ใช้งาน เช่น ไม่พอใจในเสียงดัง ไม่พอใจในกลิ่น ขณะที่เรื่องของคุณภาพและมาตรฐานของรถยนต์นั้น หากช่วงใดเกิดกระแสและมีการรวมตัวกันของผู้ประสบปัญหา ก็จะมีการร้องเรียนเข้ามายัง สคบ.ค่อนข้างมาก รับเรื่องร้องเรียน 2 ลักษณะนายจิรชัย กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการหลังจากได้รับเรื่องร้องเรียน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.บริษัทรถยนต์เป็น ผู้ดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการปรับเปลี่ยนซ่อนแซมอุปกรณ์ที่มีปัญหา โดยจะต้องยืดระยะเวลาในการประกันออกไปด้วย และ 2.ประสานไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ เข้ามาดำเนินการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นว่าตรงตามข้อร้องเรียนหรือไม่ รวมถึงหาสาเหตุว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านั้นเกิดจากกระบวนการผลิตหรือไม่ ซึ่งการดำเนินการในส่วนที่ 2 นี้ จะเกิดขึ้นหลังจาก การเจรจาระหว่างบริษัทรถยนต์กับผู้บริโภค ไม่สามารถตกลงร่วมกันได้ส่วนขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพรถยนต์นั้น ทาง สคบ.จะประสานไปยังสถาบันยานยนต์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการด้านยานยนต์ของ สคบ.อยู่แล้ว ให้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบปัญหาว่าเกิดจากอะไร เช่น เหยียบคันเร่งให้รถเดินหน้าแต่รถไม่ขยับ เข้าเกียร์ถอยหลังแต่ไม่ถอยหลัง หรือเกิดเสียงดังเวลาเปลี่ยนเกียร์ ตรงนี้ต้องตรวจสอบดูว่าตามสภาพจริงของรถยนต์เป็น แบบนี้หรือไม่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจสอบได้ไม่อยาก และหากว่าปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากความผิดพลาดในการผลิต ทางบริษัทรถยนต์ก็จะต้องดำเนินการแก้ไขตามขั้นตอน เช่น ซ่อมแซม เปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชำรุด เปลี่ยนรถคันใหม่ หรือรับซื้อคืน ตามลำดับ เคลียร์เชฟโรเรตในเดือนนี้"ที่ผ่านมาการร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของรถยนต์ มีทั้งแบบผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามารายเดียว และผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเดียวกันหรือคล้ายกันรวมกลุ่มเข้ามาร้องเรียน ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ส.ค. ที่ผ่านมา สคบ.ได้ประชุมพิจารณากรณีของผู้ใช้รถยนต์เชฟ โลเรต พบว่าก่อนหน้านี้ได้ร้องเรียนมายัง สคบ.แล้ว 13 ราย ซึ่งทางบริษัทกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่ ส่วนที่เหลือได้ยืนความจำนงไปยังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้เข้ามาช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามข้อสรุปจากการประชุม สคบ.สั่งให้ทางบริษัทเร่งดำเนินการเคลียร์ปัญหาที่เกิดขึ้น ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้"นายจิรชัย กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตามเมื่อผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามายัง สคบ. ส่วนใหญ่ปัญหาจะจบอยู่ในขั้นตอนเจรจาไกลเกลี่ย ดังนั้นที่ผ่านมาการร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพมาตรฐาน และปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ จึงไม่ไปถึงขั้นฟ้องร้องในชั้นศาลด้านนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.) กล่าวว่า การร้องเรียนปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานรถยนต์ ถือเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคที่ประสบปัญหาให้ความสำคัญ เนื่องจากมูลค่าค่อนข้างสูง แต่กว่าที่ผู้บริโภคจะร้องเรียนเข้ามายัง มพบ. ส่วนใหญ่จะมีการติดต่อไปยังบริษัทรถยนต์ เพื่อเจรจาพูดคุย รวมถึงส่งรถยนต์เข้า ไปตรวจเช็คและซ่อมแซมมาแล้วในระดับหนึ่ง ในขณะที่บางรายก็ได้ร้องเรียนไปยัง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) แล้ว แต่สุดท้ายอาจจะทนรอขั้นตอนการดำเนินการ ของทางบริษัทรถยนต์หรือหน่วยงานราชการไม่ไหว จึงตัดสินใจร้องเรียนมายัง มพบ. ให้เป็นหน่วยงานกลางเร่งรัดการดำเนินการ และเป็นไปตามกฎหมายผู้บริโภค ปัญหาเครื่องยนต์กลไก 'ต้องฟ้องร้อง'ส่วนความเสียหายเป็นไปตามมาตรฐานของรถยนต์หรือ ไม่นั้น ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.ปัญหาจุกจิกลำคาญใจ เช่น มีเสียงเข้าไปในห้องโดยสาร เสียงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งไม่สนิท เบรกหรือโชคแข็ง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่วนใหญ่จะสามารถแก้ไขได้ เพราะตามกฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบ และ 2.ปัญหาเรื่องเครื่องยนต์กลไก เช่น ระบบเกียร์ คันเร่ง หรือสมองของรถยนต์ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงเทคนิคต้องมีการพิสูจน์ ส่วนใหญ่จึงนำไปสู่การฟ้องร้อง เนื่องจากบริษัทรถยนต์ไม่มีนโยบายเปลี่ยนรถคันใหม่ เมื่อลูกค้ามีปัญหาเกี่ยวกับรถยนต์ ก็จะให้นำเข้ามาซ่อมแซม ซึ่งแม้ว่าหลังจากซ่อมแล้วยังเกิดอาการเดิม ทางผู้ประกอบการก็จะยืนยันว่าสามารถซ่อมได้ แต่ตามหลักจิตวิทยาของคนซื้อรถใหม่ หากรถที่ซื้อมาใหม่ถูกชำแหละราคาจะตกทันที ส่วนใหญ่ผู้บริโภคจึงต้องการให้ทางบริษัทเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่"หลังจากผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามายัง มพบ. จะมีการตรวจข้อร้องเรียนและปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นจึงติดต่อไปยังบริษัทรถยนต์ เพื่อให้เข้ามาเจรรจาพูดคุย ส่วนใหญ่จะเป็นการชี้แจงและยืนยันว่าสามารถซ่อมได้ ตรงนี้ผมมองว่าเป็นการประวิงเวลา รับผิดชอบตามระยะประกันและอายุกฎหมาย ที่กำหนดไว้ 1 ปี หลังจากรับสินค้า หากผู้บริโภคฟ้องร้องหลังจากหมดอายุความก็จะแพ้ทางเทคนิค แต่หากเรื่องเข้าสู่กระบวนการเจรจาไกลเกลี่ยผู้บริโภค ตามกฎหมายอายุความจะหยุดทันที แต่ประชนส่วนใหญ่จะไม่รู้"จากการดำเนินการฟ้องร้องที่ผ่านมา แม้ว่าศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายชนะ เช่น กรณีประกอบรถไม่ดีแล้วเขม่าควันเข้ามาในห้องผู้โดยสาร แต่ทางบริษัทรถยนต์ก็ ยื่นอุทธรณ์ กระบวนหลังจากฟ้องร้องจึงยาวนานมาก ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าคนไทยมีกลไลศาลเท่านั้นที่คอยช่วยเหลือ แต่ความรู้เรื่องกลไลการทำงานของรถยนต์ จำเป็นต้องอาศัยผู้เชียวชาญโดยตรง เข้ามาเป็นตัวกลางในการตรวจสอบซ้ำ เพราะหากทางบริษัทนำรถไปตรวจสอบ และออกมาแถลงว่าไม่พบปัญหา ตรงนี้ไม่มีใครสามารถเชื่อถือได้ จี้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้านายอิฐบูรณ์ กล่าวต่อว่า การที่ประเทศไทยไม่มีหน่วยงานที่มีอำนาจโดยตรง ในการตรวจสอบหรือเรียกคืนยานยนต์ ที่ถูกตรวจพบปัญหาหรือถูกร้องเรียนเข้ามา ทำให้ผู้บริโภคในบ้านเราเสียเปรียบ เพราะความรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับเทคนิคเครื่องยนต์กลไก เป็นข้อมูลที่มาจากผู้ประกอบการทั้งหมด ตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่าในขณะที่ประเทศไทยรถยนต์เป็น สินค้าส่งออก 5 อันดับแรก แต่การกำกับดูและมาตรฐานสินค้ายังไม่เข้มข้นมากพอ แม้ว่าล่าสุดทาง สคบ.ได้แก้ไขข้อกฎหมายให้มีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจไปตรวจสอบสินค้า แต่ก็ยังคงมีการคำถามในเรื่องการดำเนินการอยู่ดีสำหรับสถิติร้องเรียนด้านมาตรฐานรถยนต์ส่วน บุคคล ที่ร้องเรียนเข้ามายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตั้งแต่ปี 2553-2556 รวมทั้งหมด 93 กรณี โดย 10 อันดับ บริษัทที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด คือ 1.เชฟโลเรต 38 กรณี 2.โฟตอน 29 กรณี 3.โตโยต้า 18 กรณี 4.มิซูบิชิ 12 กรณี 5.ฮอนด้า 8 กรณี 6.ฟอร์ด ประเทศไทย 7 กรณี 7.นิสสัน 4 กรณี 8.เมอร์เซเดสเบนซ์ ประเทศไทย 2 กรณี 9.มิลเลนเนียม ออโต้ จำกัด 2 กรณี และ 10.คูโบต้า 2 กรณี ซึ่งปัญหาด้านมาตรฐที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ร้องเรียน เช่น เกียร์กระชาก สมองเกียร์พัง เกียร์กระตุกเวลาเร่งเครื่องรอบขึ้นแต่ความเร็วไม่ขึ้น เครื่องยนต์ร้อนและมีเสียงดังผิดปกติ คันเร่งค้าง เครื่องเร่งเอง เครื่องพุ่ง มีกลิ่นและเขม่าควันเข้ามาในห้องโดยสาร และถุงลมนิรภัยไม่ทำงานที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สถิติร้องเรียนปัญหารถยนต์'ป้ายแดง'7เดือนพุ่ง วันที่ 3 กันยายน 2556   สถิติรับร้องทุกข์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มกราคม – พฤศจิกายน 2556                                                             กลุ่มปัญหา ปี 2556 ร้อยละ มค. กพ. มีค. เมย. พค. มิย. กค. สค. กย ตค. พย. ธค. รวม   ธุรกิจศูนย์ออกกำลังกาย 8 3 2 1 3 1 1 0 1 0 0   20   เครื่องใช้ไฟฟ้า 1 0 0 1 0 0 0 0 0 0 0   2 1.79 ธุรกิจซื้อขายสัตว์เลี้ยง 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0   0 0.00 บริการท่องเที่ยว 0 1 0 0 1 0 0 0 0 0 0   2 1.79 บริการห้างร้าน 2 0 2 4 1 0 2 3 0 2 0   16 14.29 บริการให้เช่า 0 0 0 0 0 0 1 0 1 0 0   2 1.79 วัสดุก่อสร้าง 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0   0 0.00 อุปกรณ์อิเล็คทรอนิค 1 1 1 1 0 0 0 2 0 1 0   7 6.25 ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ 1 0 0 0 0 0 0 0 0 1 0   2 1.79 อุปกรณ์ในครัวเรือน 0 0 0 0 0 0 0 1 0 2 1   4 3.57 ยานพาหนะ 0 1 0 0 3 5 30 7 5 4 1   56 50.00 สินค้าเกษตร 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0   0 0.00 เครื่องแต่งกาย 0 0 0 0 0 0 0

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 154 ซิมระบบ 1800 เรื่องยุ่งระดับชาติ

14  พฤศจิกายน  2556  ที่ผ่านมา คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน  ได้จัดเวที เสวนา  : 60 วัน ประกาศเยียวยา 1800  MHz  ประชาชน ได้อะไร? :  เพื่อติดตาม  “ประกาศมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ของกสทช.  หลังบริษัทดิจิตอลโฟน  จำกัด(มหาชน) สิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800  MHz   ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2556ผลการเสวนาทำให้ได้ข้อมูลที่ชวนกลุ้มใจ  โดยประกาศฯ ข้อ 5 ที่เขียนเรื่องสาระที่ต้องคุ้มครองผู้บริโภค  มีประเด็นสรุปได้คือ    1. ห้ามทำให้เกิดซิมดับ 2. ห้ามขายเลขหมายทรูมูฟ(คลื่น1800 เดิม) และ 3. เร่งส่งเสริมและพัฒนาช่องทางให้ผู้บริโภคโอนย้ายเลขหมายไประบบอื่น ให้เร็วขึ้น  โดยห้ามบังคับโอนย้าย  นั้นปรากฏว่ายังคงมีการขายหมายเลขระบบคลื่น 1800  MHz   อยู่  ตัวแทน ทรูฯ รีบปฏิเสธว่าไม่ได้ขายแล้ว  งานนี้มีเฮ.. เพราะมีการทดลองซื้อซิมมาใส่ต่อหน้านักข่าวกันเลย  ใส่ปุ๊บก็ทดลองโทรเข้าปรากฏว่าใช้ได้เป็นปกติ    ห้ามซิมดับ ยังมีคนมาร้องเรียนเรื่อยๆ ว่าเติมเงินไว้ตั้งหลายเยอะ แต่สัญญาณโทรศัพท์กลับหายไปดื้อๆ  ติดต่อไปกลับได้คำตอบว่า หากไม่มาโอนย้ายไปทรูมูฟ  เลขหมายนั้นก็จะใช้ไม่ได้อีกต่อไปอ้าว..ข้อห้ามที่อ้างว่าออกประกาศนี้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคก็ไม่มีการบังคับใช้จริงนะสิ  เพราะห้ามขาย  ยังขายอยู่ ห้ามซิมดับ  ก็ดับซะงั้น ห้ามบังคับโอนย้าย ยังบังคับโอนไปบริษัทตัวเองหน้าตาเฉย โดยมีหลักฐานยืนยันชัดเจน แล้วลองฟังคำตอบของนายฐากร   ตันฑสิทธิ์ เลขา กสทช. ซึ่งมีหน้าที่บังคับใช้ประกาศนี้ ท่านตอบสรุปพอได้ดังนี้  1.  เห็นปัญหาแล้วจะรีบไปหาทางแก้ไข  2. โอ้ย...มีคนใช้โทรศัพท์เยอะแยะ  มีคนร้องเรียนแค่ 7-8  พัน คน  น้อยมาก...อยากให้มาร้องกันเยอะๆ  3. ประกาศฯ นี้มีผลบังคับใช้แล้ว  ไม่ใช่ใช้แค่ทรูฯ  แต่จะมีผลให้ดีแทค และ AIS ที่จะหมดสัมปทานใน 2 ปี  ข้างหน้าด้วย (งงมาก ณ จุดๆ นี้)กรณีทรูฯ อาจจะเตรียมการไม่ทันจึงต้องขยายระยะเวลา(ประเทศเสียหายหลายล้านบาท)  แต่อีก 2 บริษัท มีเวลาอีกตั้ง 2 ปี  ทำไมต้องใช้ประกาศนี้ด้วย  คำตอบคือ  ขยายเวลาให้ทรูแล้วก็ต้องขยายให้ทุกเจ้าไม่งั้น จะถูกฟ้องว่าเลือกปฏิบัติ อ้าว....ตกลงที่ขยายให้ทรูฯ นี่เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค หรือเตรียมการไว้รองรับการหมดสัญญาฯ ของผู้ให้บริการโทรคมรายใหญ่กันแน่ผู้บริโภคหลายคนลุกขึ้นโวยว่าประกาศที่ไม่บังคับใช้ ประกาศทำไม?  ท่านเลขาฯ ก็ตอบแบบอ้อมๆ แอ้มๆ  ว่าจะดูให้ๆ  นี่มันผ่านมาแล้วเกือบ 70  วันผู้บริโภคยังคงถูกเอาเปรียบ  โดยที่ (กสทช.) ที่เป็นกรรมการทำเป็นมองไม่เห็น  นายกำชัย  น้อยบรรจง  ผู้จัดการสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสระบุรี  เลยลุกขึ้นมาประกาศกลางวงว่าจะเป็นโจทย์ฟ้อง กสทช. ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ก็ต้องคอยดูกันต่อไปนะงานนี้สนุกแน่  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 154 โอนเงินแล้ว บอกไม่ได้รับ แล้วใครจะรับผิดชอบระหว่างธนาคารหรือคนรับโอน

ธุรกรรมทางการเงินที่สะดวกและหลากหลายช่องทางในปัจจุบัน ช่วยสร้างความคล่องตัวให้กับผู้บริโภคและภาคธุรกิจอย่างมากมาย แม้แต่ธุรกรรมอย่างการโอนเงิน ไม่ต้องไปหน้าเคาน์เตอร์หรือตู้เอทีเอ็มเราก็สามารถทำผ่านอินเตอร์เน็ตได้เช่นเดียวกันคุณเขมวิภากับน้องสาวสนใจจะเข้าอบรมเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะจัดอบรมกันที่จังหวัดพัทลุงโดยบริษัทโซล่า เซล แห่งหนึ่ง ซึ่งจะจัดในวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา เธอจึงโอนเงินจำนวน 5,500 บาทผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง จากบัญชีธนาคารทหารไทยของเธอไปที่ธนาคารกรุงไทยของผู้รับโอน ซึ่งก็คือตัวแทนบริษัทโซล่า เซล ดังกล่าว ในตอนเย็นของวันที่ 24 ตุลาคมวันที่ 25 ตุลาคม ระบบเอสเอ็มเอสได้แจ้งเข้ามาที่มือถือยืนยันว่า การโอนเงินสำเร็จ โดยแจ้งทั้งทางมือถือผู้โอนและผู้รับโอนพอวันที่ 26 ไปถึงหน้าห้องอบรม ปรากฏว่า ทางผู้จัดบอกว่า “ยังไม่ได้รับเงิน” (ไม่มีเงินในบัญชี) จึงไม่อนุญาตให้เข้าอบรม “ดิฉันร้อนใจโทรไปสอบถามทางคอลเซนเตอร์ 1558 พนักงานยืนยันว่ารายการสำเร็จเรียบร้อย แต่ถ้าอยากให้เช็ครายละเอียดขอเวลาสักหน่อย” คุณเขมวิภาเห็นว่าไหนๆ ก็มาถึงที่แล้ว ไม่เข้าอบรมไม่ได้ จึงให้น้องสาวกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มมาจ่ายให้กับทางผู้จัดการอบรม และขอให้ทำหนังสือว่าได้รับเงินจำนวนนี้ไว้แล้วระหว่างที่อบรมน้องสาวของคุณเขมวิภาได้ไปติดต่อกับธนาคารทหารไทยสาขาพัทลุงให้ช่วยตรวจสอบ แต่ถูกปฏิเสธบอกไม่มีอำนาจต้องรอคอลเซนเตอร์ ซึ่งต้องใช้เวลาสำหรับการตรวจสอบถึง 7 วันวันที่ 1 พฤศจิกายน ครบ 7 วันคอลเซนเตอร์ไม่โทรมา คุณเขมวิภาต้องโทรไปเอง คำตอบเดิมคือยืนยันว่า การโอนเงินสำเร็จ เงินไปอยู่ในบัญชีผู้รับแล้วดึงกลับมาไม่ได้ “ดิฉันโทรกลับไปทางผู้จัดการอบรม ทางนี้ก็ยืนยันว่า ไม่มียอดเงินเข้า แต่ไม่ยอมแสดงหลักฐานบัญชี บอกแต่ว่าเป็นเอกสารของบริษัท แต่ส่งจดหมายเพื่อเป็นเอกสารยืนยันกับดิฉันว่า ไม่ได้รับเงินจริงๆ” คุณวิภาจึงต้องย้อนไปธนาคารอีกครั้งเพื่อยื่นเรื่องให้ตรวจสอบและคืนเงิน ทางธนาคารแนะนำให้ไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการตรวจสอบ เมื่อรอผลการตรวจสอบทางสำนักงานใหญ่ธนาคารยืนยันเหมือนเดิมว่า รายการโอนสำเร็จ “ตอนนี้ดิฉันเริ่มหงุดหงิดแล้วค่ะ จึงโทรไปหาบริษัทฯ บริษัทฯ ก็ปฏิเสธเช่นเดิม และขอให้เอาหลักฐานมาแสดงว่าเงินเข้ายังบัญชีปลายทางจริงๆ ทั้งสองฝ่ายต่างปฏิเสธแล้วคนที่เสียหายอย่างดิฉัน จะไปเอาเงิน 5,500 บาทนี้ คืนจากใครค่ะ” การแก้ไขปัญหาเมื่อพิจารณาจากความเป็นไปได้แล้ว ทางฝ่ายธนาคารน่าจะมีหลักฐานที่ชัดเจนกว่าทางบริษัทฯ ที่ไม่ยอมแสดงหน้าบัญชีให้เห็นว่า มีรายการโอนเงินเข้าในเวลาและจำนวนดังกล่าวตามที่ทางธนาคารทหารไทยยืนยัน ทางศูนย์พิทักษ์ฯ จึงแนะนำให้คุณเขมวิภา ทำหนังสือถึงบริษัทอย่างเป็นทางการเพื่อขอคืนเงิน โดยระบุเนื้อหาและเอกสารที่ยืนยันว่าการโอนเงินนั้นสำเร็จ โดยทางศูนย์ฯ ได้ช่วยประสานกับทางบริษัทฯ ด้วย เพราะถ้าหากบริษัทยืนยันว่า ทางตนเองไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวควรแสดงหลักฐานยืนยัน หากไม่มีหลักฐานก็ควรคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้กับผู้บริโภคเพราะทางบริษัทฯ ได้รับเงินสดสำหรับเป็นค่าอบรมไปแล้วสุดท้ายบริษัทก็คืนเงินจำนวน 5,500 บาทให้กับคุณเขมวิภาเรียบร้อย แต่เงินจำนวนนี้ไปค้างอยู่กับบริษัทถึง 13 วัน (25 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน) แหม มันน่าเอาเรื่องต่อจริงๆ   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 154 เครื่องปั๊มวันที่ ต้องการสองแถว แต่ได้มาแถวเดียว

ผู้ร้องรายนี้ปรึกษามาทางออนไลน์เช่นกัน ปัญหาของผู้ร้องคือ อยากได้เครื่องปั๊มวันที่บนซองบรรจุอาหาร ตอนแรกเห็นผ่านเฟซบุ้คหนึ่งแต่เขาไม่มีของให้ แต่แนะนำเว็บไซด์หนึ่งให้ จึงตามไปที่เว็บดังกล่าวเมื่อคุยไปตามเบอร์โทรบนหน้าเว็บ พร้อมทั้งส่งภาพวิดีโอลักษณะของเครื่องปั๊มที่อยากได้ไปให้ทางผู้ขายดู ทางนั้นก็บอกให้มารับของได้เลยจึงให้หลานไปรับสินค้าและจ่ายเงินไป 2,900 บาท แต่เมื่อหลานนำกลับมาปรากฏว่าเป็นเครื่องปั๊มคนละแบบกับที่อยากได้ เพราะเป็นแถวเดียว แถมเป็นภาษาจีน ไม่ใช่แบบสองแถวที่ส่งภาพวิดีโอไปให้ดู “รีบโทรกลับไปเพื่อขอเปลี่ยนเพราะไม่ใช่ของที่เราต้องการ นอกจากไม่ยอมเปลี่ยนให้แล้ว อ้างว่าหลานเห็นของแล้ว คนขายยังด่าว่าอย่างหยาบคายกลับมาและท้าให้ไปแจ้งความอีกด้วย” การแก้ไขปัญหาเมื่อได้ติดต่อกลับไป พบว่าผู้ร้องไม่อยากเอาความต่อแล้ว เพราะรับไม่ได้ที่โดนว่าอย่างหยาบคายและยังมามาราวีต่อให้หน้าเฟซบุ้คของบริษัทด้วย “จริงๆ ก็ตั้งใจจะเปลี่ยนเป็นสินค้าอื่น แต่พอเจอคนขายแบบนี้ก็ไม่อยากค้าขายด้วยแล้ว ของมูลค่าไม่มาก ช่างมันเถอะ” เจอคนขายแบบนี้เข้าไป เล่นเอาขยาดกันไปทีเดียว ดังนั้นหากว่าสั่งซื้อสินค้าใดไปแล้ว เกิดได้สินค้าที่ไม่ตรงกับรายการที่ทางผู้ขายแสดง หรือผู้ขายทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสินค้า เราสามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ แต่ว่าการใช้สิทธิในบ้านเรายังติดๆ ขัดๆ เพราะผู้ประกอบการไม่ค่อยรับผิดชอบ ผู้บริโภคเองก็ถูกคุกคาม บางทีก็เสียเวลา เสียเงินทองจนเลยมูลค่าของสินค้าไปมาก ผู้ร้องที่จะฝ่าด่านเหล่านี้ไปได้จึงมีอยู่ไม่มาก ดังนั้นผู้ประกอบการที่แย่ๆ จึงยังคงแย่อยู่ได้ตลอดโดยไม่มีการปรับปรุง //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 154 ซื้อของบนโลกออนไลน์

เพื่อต้อนรับเทศกาลปีใหม่ สำหรับคนที่ชอบซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตทั้งจากหน้าเว็บและผ่านทางเฟซบุ้ค เรามีเรื่องมาฝากเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับการตัดสินใจซื้อของทุกท่านธรรมดาเวลาจะซื้อหาสินค้าอะไรสักชิ้น หลายท่านยังนิยมไปดูสินค้าที่ร้านเพื่อจะได้พิจารณาแบบเห็นหน้าตาก่อน ได้ลองใช้รวมทั้งต่อรองราคา แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป บางร้านค้าก็เปิดขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้กับผู้บริโภค ที่จะได้เห็นสินค้าของตนได้สะดวกขึ้น รายละเอียดก็ดูจากภาพที่ลง รวมทั้งโทรสอบถามต่อรองราคากันก็ได้แน่นอนว่าการระบุคุณสมบัติและรายละเอียดตลอดจนราคาขาย ถือเป็นการโฆษณาหรือสัญญาแบบหนึ่งที่ทางผู้ประกอบการได้ให้กับผู้บริโภค ถ้าหากสั่งซื้อมาแล้วได้ไม่ตรงกับคุณสมบัติที่ระบุ ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิเต็มในการคืนสินค้า แต่เรื่องมันก็ไม่ได้ง่ายและตรงไปตรงมาเสมอไปเรามีสองเรื่องมานำเสนอในกรณีซื้อสินค้าผ่านทางโลกออนไลน์ซื้อเตาขนมเครปทางเน็ต มันหนักจนรับไม่ไหวเรื่องนี้ร้องทุกข์ผ่านมาทางกระทู้ร้องทุกข์ เนื่องจากผู้ร้องกำลังศึกษาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา วันหนึ่งคุณปาริชาติผู้ร้อง เกิดสนใจเตาทำขนมเครปใช้แก๊สแบบ 2 หัว ที่โฆษณาอยู่บนหน้าเว็บของร้านขายเตาขนมเครปเข้า สมมติว่า ชื่อร้าน GAS ล่ะกัน โดยติดต่อเข้าไปที่ร้านโดยตรงเรียกว่า ลงทุนโทรศัพท์ข้ามประเทศเพื่อให้มั่นใจ ความที่อยู่อเมริกา ถ้าจะเอาเตานี้ไปใช้ได้คงต้องฝากเพื่อนหิ้วมาให้ ช่วงนั้นก็พอดีมีเพื่อนกำลังจะมาอเมริกา และเตาดังกล่าวก็ระบุคุณสมบัติบนหน้าเว็บชัดเจนว่า 12,000 กรัม ซึ่งก็คือ 12 กิโลกรัม น้ำหนักถือว่าผ่านหิ้วเข้าไปไม่ผิดกฎสายการบินที่ต้องไม่เกิน 23 กิโลกรัมต่อกระเป๋า 1 ใบ“ถามทางโทรศัพท์หลายครั้งว่า 12 กิโลแน่ๆ นะ เพราะไม่อยากพลาดจุดนี้ ทางร้านก็ยืนยันหนักแน่นว่า 12 กิโลแน่นอน” คุณปาริชาติจึงสั่งซื้อสินค้าดังกล่าวเป็นเงินจำนวน  13,150 บาท (สินค้า 12,900+250 ค่าขนส่ง) โดยต้องทำเรื่องโอนเงินสองต่อคือให้ญาติก่อนแล้วให้ญาติโอนให้ทางร้านอีกทีคุณปาริชาติขอให้ร้านไปส่งที่บ้านเพื่อนคนที่จะหิ้วมาอเมริกาให้ บ้านเพื่อนอยู่ราชบุรี การส่งของไม่มีปัญหา มามีปัญหาเมื่อเพื่อนสงสัยว่า มันคงไม่ใช่สิบสองกิโลกรัมแล้วล่ะ เพราะมันหนักมาก เมื่อลองชั่งน้ำหนักดู โอ้แม่เจ้า เตาเครปสองหัวนี้หนัก 36.3 กิโลกรัม หนักขนาดนี้หิ้วไปไม่ไหวแน่และไม่ผ่านด่านด้วย“ลองแจ้งไปทางร้านนะคะ คิดว่าเขาอาจจะส่งสินค้าผิด เขาบอกไม่ผิด อ้าว งั้นที่ผิดก็คือน้ำหนักที่ทางร้านเขาแจ้งไว้บนหน้าเว็บนะสิ” พอท้วงกับทางร้านว่าเราไม่เอามาใช้ไม่ได้นะ น้ำหนักมันเกินไปมาก ทางร้านจึงเสนอทางเลือกให้เอาแบบเตาเครปหัวเดียวแทนไหม แล้วจะคืนเงินส่วนต่างให้“กลัวจะซ้ำรอยเดิมค่ะ เลยย้ำว่าหัวเดียวมันหนักเท่าไหร่ เขาแจ้งว่ามันหนัก 7 กิโลกรัม พอถามว่า 7 จริงหรือเปล่า เขาก็บอกว่าข้อมูลมาจากคู่มือไม่ผิดแน่ เราเลยขอให้เขาชั่งน้ำหนักใหม่ ปรากฏว่า เตาหัวเดียวมันก็หนักถึง 28 กิโลกรัมค่ะ” เรียกว่าแจ้งน้ำหนักผิดทุกอย่าง ทุกรายการ คุณปาริชาติจึงขอคืนสินค้าและให้ทางร้านโอนเงินคืนให้ โดยยอมจ่ายค่าเสียเวลาให้ทางร้านจำนวน 1,000 บาท แต่ทางร้านไม่ยอมขอหักเงิน 20% (ประมาณ 2,630 บาท) และต้องเอาเตาหนักๆ นั้นมาส่งคืนเรื่องเองด้วย จึงจะคืนเงินให้“รู้สึกว่าทางร้านเขาเอาเปรียบมากเกินไป มันเป็นความผิดพลาดของทางร้าน แต่เขาไม่ยอมรับผิดชอบอะไรเลย เราต่างหากเป็นฝ่ายเสียหาย เสียทั้งเงิน ทั้งเวลา ค่าโทรศัพท์ระหว่างประเทศอีกเป็นร้อยครั้ง เราก็ไม่ได้จะเอาเงินคืนเต็มจำนวนด้วยซ้ำจะยอมให้หัก 1,000 บาทด้วยซ้ำ แต่ 20% ไม่ไหว ไหนจะต้องส่งของคืนร้านอีกจะทำได้ยังไง เพื่อนก็ไม่สะดวกทำให้เพราะของมันหนักมาก”การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้เป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดของทางร้านเต็มๆ เพราะโฆษณาอันเป็นเท็จทำให้ผู้ซื้อเกิดความเข้าใจผิดในสินค้า การขอเงินคืนรวมทั้งเรียกร้องสิทธิเพิ่มในเรื่องของค่าเสียเวลา ค่าใช้จ่ายต่างๆ สามารถทำได้ แต่ผู้ร้องคงไม่อาจดำเนินการได้สะดวก จึงต้องใช้การเจรจาต่อรองการพูดคุยแน่นอนว่า ทางผู้ประกอบการคงอึดอัดและไม่อยากยอมลงให้กับผู้บริโภคง่าย โดยดำเนินการคืนเงินให้ผู้ร้องแต่หักไว้ 20% ในการเจรจาจำเป็นต้องพูดกับคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งทางศูนย์พิทักษ์สิทธิได้คุยกับเจ้าของร้านโดยตรง  ทางร้านแจ้งว่า ตนเองก็เสียหายเพราะต้องรับค่าขนส่งพันกว่าบาท ทางศูนย์ฯ พยายามไกล่เกลี่ยขอให้ทางร้านเข้าใจผู้ร้องบ้าง เพราะก็ไม่ได้ทำผิดอะไรเช่นกัน และทางผู้ร้องไม่ได้เรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม(ซึ่งทำได้) เพียงแต่ขอเงินคืนส่วนที่หักไป 20% ถ้าทางร้านสั่งซื้อสินค้าจากที่อื่นแล้วได้ของที่ไม่ต้องการก็คงไม่อยากรับเหมือนกัน เรื่องนี้ขอให้ทางร้านช่วยพิจารณาเพื่อหาข้อยุติให้กับปัญหานี้จะได้ไม่ยืดเยื้อต้องฟ้องร้องกัน และทางร้านเองก็มีชื่อเสียงน่าจะรักษาลูกค้าไว้สุดท้ายทางร้านก็คืนเงิน 20% ให้กับคุณปาริชาติ ซึ่งเธอดีใจมากและขอบคุณมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่ช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยให้ “ขอชื่นชมที่แม้เป็นองค์กรไม่แสวงกำไร แต่ทำงานเร็วมากค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้ และขออนุญาตบริจาคเงินสนับสนุนกิจกรรมมูลนิธิฯ นะคะ จะได้ช่วยคนอื่นต่อไป” //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 ทำบัตร ATM แต่ถูกยัดเยียดให้ซื้อประกันพ่วงด้วย

พอดีผู้เขียนได้รับคำปรึกษาของผู้บริโภคท่านหนึ่งจากจังหวัดอยุธยา  กรณีการถูกยัดเยียดขายประกัน  ก็เลยได้พูดคุยรายละเอียดกัน  จึงได้ทราบว่าเหตุเกิดจากคุณ อ๋อ(นามสมมุติ)มีความประสงค์จะทำบัตร ATM เพื่อความสะดวกด้านการเงิน   ก็เลยตัดสินใจเดินเข้าไปที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาอยุธยา   และแจ้งความประสงค์ต่อพนักงานธนาคารพนักงานแจ้งข้อมูลว่า หากคุณอ๋อต้องการทำบัตรATM ในวันนี้  คุณอ๋อ ต้องซื้อประกันอุบัติเหตุพ่วงไปด้วย   คุณอ๋อบอกว่า “อ๋อ งง..มาก” เพราะความตั้งใจคือต้องการแค่บัตรเพื่อความสะดวก ทำไม! ต้องถูกบังคับให้ซื้อประกันด้วย  คุณอ๋อ จึงปฏิเสธพร้อมยืนยันว่าต้องการทำแค่บัตรATM อย่างเดียว   พนักงานจึงแจ้งว่าหากจะทำบัตร ATM   อย่างเดียว วันนี้ทำไม่ได้เพราะบัตรหมด เหลือแต่บัตรที่บวกประกันด้วย  หากยืนยันจะทำแค่ ATM  คุณอ๋อต้องมาใหม่วันหลัง   ตกลงวันนั้นคุณอ๋อต้องกลับบ้านมือเปล่า   แต่คุณอ๋อก็ยังไม่ละความพยายามที่จะทำ    เดินทางไปที่ธนาคารอีกหลายครั้ง  แต่ก็ได้คำตอบเดิม  คือบัตรหมด  ยังไม่มา  มีแต่บัตรที่พ่วงประกัน   สุดท้ายคุณอ๋อก็ไม่ได้ทำบัตรATMคำถามที่ตามมาก็คือ “เกิดอะไรขึ้นที่ธนาคาร” ที่เกิดเหตุนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากปัจจุบันธนาคารหันมาทำธุรกิจประกันภัย  และการทำธุรกิจนี้ทำให้เกิดตัวชี้วัดกับพนักงาน  ว่าแต่ละคนต้องขายประกันได้กี่ราย   หรือไม่?  ที่เป็นสาเหตุของปัญหาที่เขียนไว้เบื้องต้น   หากเป็นจริง  คนที่เดือดร้อนคือผู้บริโภค ที่ถูกละเมิดสิทธิตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค  ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ   การที่ผู้บริโภคถูกผู้ให้บริการใช้เทคนิคยัดเยียดบริการผู้บริโภคโดยมิได้สมัครใจเยี่ยงนี้    คำถามที่ตามมาคือ ปัญหานี้ ใครมีหน้าที่ดูแลและควบคุม  เพราะปรากฏการณ์เช่นนี้   น่าจะไม่ได้เกิดที่ธนาคารใดธนาคารหนึ่ง  แต่เกิดขึ้นเกือบทุกธนาคารในประเทศไทย  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงหนีไม่พ้นธนาคารแห่งประเทศไทย  ที่ต้องออกกฎ ระเบียบมาควบคุมการให้บริการของธนาคาร  ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยให้ผู้บริโภคมาเผชิญชะตากรรมอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ขณะนี้คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน  ได้เดินหน้าเรื่องนี้ อย่างเต็มกำลังโดยสรุปสถานการณ์ปัญหาพร้อมเสนอแนะวิธีแก้ไข ต่อธนาคารแห่งประเทศไทยไปเมื่อวันที่ 7  ตุลาคม 2556  ผู้บริโภคอย่างเราๆ คงต้องคอยเฝ้าระวังว่าปัญหาเหล่านี้จะถูกคลี่คลายหรือเพิ่ม  คนที่ให้ข้อมูลที่ดีที่สุดคือผู้บริโภคที่ประสบปัญหานั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 ซื้อคอนโดมาใหม่ 1 ปี ร้าวทุกเดือนทำยังไงดี

เรื่องมาทางกระทู้ร้องเรียนในเว็บ consumerthai.org ผู้บริโภคคงเหลืออดจริง จึงโพสต์ร้องทุกข์และระบายความคับข้องใจมาได้แสบๆ คันๆ แท้คุณบุญโพสต์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 55 ว่า ซื้อคอนโดของ AP มา 1 ปี ร้าวทุกเดือนทำยังไงดี เป็นคอนโดใหม่เพิ่งสร้างเสร็จชื่อ Life 18 หลังจากโอนเข้าอยู่มีร้าวแทบทุกเดือนไม่หยุด รอยล่าสุดเพิ่งเกิดเดือนนี้ตรงขอบประตูทางเข้าห้อง โครงการฯ แจ้งหมดประกันเมื่อไหร่ลูกบ้านก็ไปซ่อมเอง น่ากลัวจังตอนที่ซื้อ sale บอกเป็นแบรนด์เดียวกับแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ดูโครงการก็น่าเชื่อถือ แต่พอเข้าอยู่ ปัญหาร้าวไม่เว้นแต่ละเดือน ซ่อมก็ช้าชอบรอให้ร้าวหลายรอบแล้วซ่อม แต่ก็มีรอยใหม่ตามมาอีก กังวลว่าปีแรกเป็นขนาดนี้ ถ้าตึกเก่าไปจะขนาดไหน17 กรกฎาคม 55 เดือนนี้ฝนตก ท่อน้ำดันขยะไปถึงเพดาน กระเบื้องในห้องน้ำร้าวอีกแล้ว ผนังฝั่งครัวก็ไม่รอด เมื่อเช้าไปตากผ้า ร้าวเพิ่มตรงระเบียง...จะบ้าตาย...27 กรกฎาคม 55 พื้น laminate ปูขอบเกยกันทั้งห้องและมีขอบบวม แจ้งซ่อมไปตั้งแต่เช้า โครงการฯ ผัดวันประกันพรุ่งมาปีกว่าแล้ว ก็สรุปว่า ไม่แก้ ผนังห้องน้ำคนละสีและปูไม่ได้ระดับ ส่วนนอกห้องก็ไม่รอด โครงการเนียนเอาหินโรยถนนมาโรยแทนหินแม่น้ำได้ใจจริงๆผนังเตียงนอนมีหรือจะรอด โครงการฯ อะไรทำไมมันร้าวได้ทุกส่วน...ดูแล้วมันต้องเป็นผู้รับเหมาเดียวกันกับสนามบินสุวรรณภูมิแน่นอน การแก้ไขปัญหาครั้งแรกที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ติดต่อกลับไปยังไม่สามารถคุยรายละเอียดกับทางผู้ร้องคุณบุญได้ แต่เมื่อติดต่อได้ภายหลังและเริ่มประสานกับทางโครงการ AP ก็ทราบว่าทางคุณบุญได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทางโครงการฯ จัดการซ่อมแซมรายการร้าวๆ และปัญหาต่างๆ ที่พบ รวม 7 รายการ ซึ่งทางโครงการฯ ได้เข้ามาจัดการและขอให้ทางคุณบุญลงลายมือรับรอง ซึ่งบางรายการคุณบุญไม่ได้ลงลายมือรับรอง ทราบต่อมาภายหลังว่า “รับไม่ไหว รายการซ่อมบางรายการไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงว่ามีการปรับปรุงแก้ไขแต่อย่างใด”   คุณบุญอธิบายกับทางศูนย์พิทักษ์สิทธิฯต่อมามีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งมีท่าทีรับผิดชอบกับปัญหาน่าอึดอัดใจของคุณบุญ สุดท้ายก็สามารถจัดการปัญหาในจุดต่างๆ จนเป็นที่พอใจของผู้บริโภคได้ แต่ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดการปัญหานี้เกือบ 1 ปีทีเดียวหวังว่ารอยร้าวจะไม่มาสร้างปัญหาให้กับคุณบุญอีกต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 ความอึดอัดของผู้บริโภค กรณี เครื่องทำน้ำอุ่นได้น้ำร้อนเกินไป

เรียน บรรณาธิการ นิตยสารฉลาดซื้อผมเป็นสมาชิกฉลาดซื้อครับ ได้ซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นยี่ห้อฮิตาชิ รุ่น HES-35R(BL) จากพาวเวอร์บาย สาขา โรบินสันแฟชั่นไอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2556 ราคา 3,676 บาท โดยชำระเป็นเงินสดหลังจากใช้เครื่องได้พบความผิดปกติ คือ แม้จะปรับระดับวอลุ่มที่ต่ำสุด แต่น้ำมีความร้อนสูง จึงได้แจ้งไปยังศูนย์ซ่อมฮิตาชิ คือ หจก. เค.เอ็นวี.เอ็นจิเนียริ่ง ในวันที่ 8 ตุลาคมทางศูนย์ฯ ได้ส่งช่างมาตรวสอบและดำเนินการเปลี่ยนแผงวงจรให้ใหม่ แต่อาการดังกล่าวยังไม่หายช่างแจ้งว่าต้องเปลี่ยนตัวปรับวอลุ่มด้วยจึงจะหาย ในวันที่ 18 ตุลาคม ศูนย์ฯ ได้เข้ามาเปลี่ยนให้ แต่ช่างแจ้งว่าอาการยังเป็นเหมือนเดิมในที่สุดช่างของ บ.ฮิตาชิ สำนักงานใหญ่ก็มาเอง ปรากฏว่า เรียกผมเข้าไปทดสอบดูว่าใช้ได้แล้ว ซึ่งก็จริงเพราะเปิดปุ๊บไม่ร้อนปั๊บ แล้วช่างก็พากันกลับไปโดยแจ้งว่าจะต้องเข้ามาเปลี่ยนอะไหล่ให้อีกตัวหนึ่ง แต่พอตกตอนค่ำผมเข้าไปอาบน้ำ ปรากฏว่าใช้ไปสักพัก น้ำก็มีความร้อนสูงทั้งที่ปรับวอลุ่มอยู่ต่ำสุดแล้วผมจึงแจ้งไปยัง บริษัท ฮิตาชิเซลส์(ประเทศไทย)จำกัด ให้ดำเนินการเปลี่ยนเครื่องตัวใหม่ เนื่องจากลูกค้าไม่สบายใจต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องเดิม เพราะซ่อมหลายครั้งไม่หาย ไม่นานทางฮิตาชิก็อนุมัติให้พาวเวอร์บาย สาขาแฟชั่นฯ เข้ามาเปลี่ยนสินค้าตัวใหม่ให้ ในวันที่ 30 ตุลาคม แต่พอติดตั้งเสร็จช่างไม่ได้ให้ใบรับประกันตัวใหม่ เมื่อผมทวงและดูเลขเครื่องจากใบรับประกันกลับไม่ตรงกัน เพราะยังเป็นฝาครอบอันเก่า ฝักบัวอันเก่า(เข้ามาเปลี่ยนฝาครอบให้ แต่ไม่รู้ว่าเครื่องข้างในอันเก่าด้วยหรือเปล่า) ผมจึงถามช่างว่าตกลงได้เปลี่ยนเครื่องให้ผมจริงหรือเปล่า ผมยังโทรไปแจ้งทั้งทางบริษัทฮิตาชิกับพาวเวอร์บาย ซึ่งก็เพียงแค่รับฟังจึงเรียนมายังผู้บริโภคว่าก่อนซื้อสินค้าอะไรพิจารณาให้จงดีก่อนว่าบริษัทฯ เขาเก่งเรื่องอะไร บทเรียนนี้ได้รับรู้เรื่องการปัดความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ(ทั้งพาวเวอร์บายและฮิตาชิ) บรรยากาศจะผิดกันมากระหว่างก่อนซื้อและหลังซื้อครับ เพราะเขาทำงานกันเป็นทีมจริงๆจึงเรียนมาเพื่อพิจารณาเผยแพร่เป็นอุทาหรณ์ให้กับผู้บริโภคสมาชิก 5464ปล. ผมไม่เรียกร้องอะไรแล้วครับ เพราะเสียทั้งเงิน 320+เวลา+ค่าโทรศัพท์ เลยไปซื้อเครื่องใหม่มาติดแทนไม่พบว่าคุณสมาชิก 5464 จะทำผิดขั้นตอนตรงไหนในการใช้สิทธิ แต่นั่นแหละสุดท้ายซื้อใหม่อาจเป็นคำตอบที่ดีที่สุด? ขอบคุณที่เขียนมาเล่าประสบการณ์ให้ทราบนะคะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 มะเร็ง บัตรทองและการส่งต่อผู้ป่วย

มะเร็งเป็นโรคร้ายที่มีคนไทยป่วยเป็นจำนวนมากและคาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คุณวิภาก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ต้องเผชิญหน้ากับโรคร้ายแรงนี้และคาดหวังถึงการรักษาที่จะช่วยให้เธอผ่านพ้นความเจ็บป่วยนี้ไปได้คุณวิภามีสิทธิในบัตรทองหรือสิทธิการรักษาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ยามเจ็บไข้เธอมักจะไปใช้บริการการแพทย์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเสมอ โดยจ่ายเงินเองไม่พึ่งระบบหลักประกัน แต่ในการตรวจรักษาครั้งล่าสุดจากอาการเลือดออกทางช่องคลอด แพทย์วินิจฉัยว่าเธอเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 3 ซึ่งการรักษาพยาบาลต้องทำอย่างต่อเนื่องและมีค่าใช้จ่ายสูง แพทย์จึงแนะนำให้เธอติดต่อกับสถานพยาบาลต้นสังกัดที่เธอมีสิทธิในระบบหลักประกันเพื่อลดภาระในเรื่องค่ารักษาพยาบาลปัญหาแรกคือ เธอไม่แน่ใจว่าเธอมีสิทธิบัตรทองที่สถานพยาบาลไหน ปัญหานี้แก้ไม่ยากเพราะเพียงตรวจสอบจากฐานข้อมูล ก็พบว่าเป็นสถานพยาบาลใดปัญหาที่สองคือ เมื่อสามีพาเธอไปติดต่อเพื่อขอรับการรักษาสถานพยาบาลดังกล่าว ทั้งสองพบว่าสถานพยาบาลแห่งนี้ไม่มีศักยภาพพอในการรักษาโรคร้ายของเธอ จึงร้องขอให้ทางสถานพยาบาลทำเรื่องส่งต่อ โดยประสงค์ให้ส่งต่อไปรักษาตัวที่ รพ.รามาธิบดี ซึ่งคุณวิภาคุ้นเคยและมีประวัติการตรวจวินิจฉัยโรคพร้อมอยู่แล้ว แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยบอกเพียงว่าจะทำเรื่องส่งตัวผู้ป่วยให้ไปรักษาที่สถาบันมะเร็งเท่านั้น ถ้าจะรักษาที่รามาธิบดีผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเอง สามีของคุณวิภาจึงโทรศัพท์มาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และขอให้ช่วยเหลือให้ทางสถานพยาบาลต้นสังกัดทำเรื่องให้ภรรยาได้เข้ารับการรักษาที่ รพ.รามาธิบดี การแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคได้ประสานไปยังสถานพยาบาลที่คุณวิภามีสิทธิบัตรทองอยู่ ทราบข้อมูลตรงกับที่สามีคุณวิภาร้องเรียนมา แต่ทางสถานพยาบาลแห่งนี้แจ้งว่า ไม่สามารถทำตามประสงค์ของผู้ร้องได้เนื่องจาก รพ.รามาธิบดีไม่ได้เป็นโรงพยาบาลในเครือข่าย หากเกินกว่าความสามารถในการรักษาทั้งระดับสถานพยาบาลปฐมภูมิและทุติยภูมิ จะส่งต่อไปที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งเป็นสถานพยาบาลในเครือข่ายเท่านั้น   หากผู้ป่วยยังยืนยันจะรักษาพยาบาลที่ รพ.รามาธิบดี ก็ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง โดยไปทำเรื่องตามขั้นตอนการย้ายสิทธิกับทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)เรื่องการส่งตัวนี้เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทาง สปสช.ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดปัญหาหนึ่ง ซึ่งยังคงต้องมีการสื่อสารให้ผู้มีสิทธิในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้าใจในระบบของบัตรทองหรือระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะมีลำดับขั้นของการดูแลรักษา คือถ้าสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิหรือคลินิกใกล้บ้านใกล้ใจ ไม่สามารถรักษาได้ จะส่งต่อการรักษาไปที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ ซึ่งมีอุปกรณ์ที่รักษาผู้ป่วยได้ หากยังรักษาไม่ได้อีกจึงจะส่งต่อไปรักษาในสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงสุด ซึ่งอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน โดย สปสช.จะติดตามดูแลค่ารักษาของผู้ป่วยไปตามสถานพยาบาลที่ผู้ป่วยถูกส่งตัวไปรักษาเมื่ออธิบายให้ทั้งคุณวิภาและสามีเข้าใจ ทั้งสองก็ยินดีให้ทางสถานพยาบาลทำเรื่องส่งตัวคุณวิภาไปรักษาที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ แต่สามีคุณวิภาก็แอบกังวลว่า ภรรยาอาจต้องรอคิวการรักษานานแล้วจะทำให้อาการของภรรยาทรุดหนักลง ซึ่งปัญหานี้ทางสถานพยาบาลตามสิทธิของคุณวิภาได้ช่วยประสานกับทางสถาบันมะเร็งฯ เป็นที่เรียบร้อย และเร่งทำใบส่งตัวให้อย่างเร็วที่สุด ปัจจุบันคุณวิภาได้เข้ารับการรักษา ณ สถาบันมะเร็งแห่งชาติแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 152 จัดฉากไปทำไม??

1  กันยายน  2556   วันที่ผู้บริโภคไทยต้องจดจำเป็นพิเศษ   เพราะเป็นวันของแพงแห่งชาติ  บรรดาสินค้าที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันตั้งแต่  แก๊ส   ค่าไฟฟ้า  ค่าทางด่วน  นัดกันขึ้นราคาพร้อมๆ กัน จนผู้บริโภคอย่างเรามึนไปตามๆ กัน  และยิ่งมึนไปกว่านั้นคือ ประโยคเด็ด ของท่านปลักกระทรวงพาณิชย์ ที่ว่า  “ของไม่ได้แพงจริง  ที่คิดว่าของแพง มันเป็นแค่ความรู้สึก”  เล่นเอาผู้ฟังอย่างเราๆ สะอึกจนพูดไม่ออกเอ้า..กลับมาเข้าเรื่องกันหน่อย  เรื่องนี้ยังผูกติดอยู่กับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ที่เขียนย้ำบ่อยๆ เกี่ยวกับกกพ. เพียงต้องการให้ผู้บริโภคทราบว่า  กกพ.นี่แหละ เป็นคนชี้เป็นชี้ตาย  เรื่องการขึ้นราคาไฟฟ้าในประเทศเรา  คราวที่แล้วเขียนเรื่องไฟดับ 14  จังหวัด  ส่งข้อเสนอไป  เงียบ...ไม่มีคำตอบ  (อยู่ระหว่างทวงถาม) คราวนี้มาใหม่ วันที่ 23  สิงหาคม 2556  มีข้อมูลผ่านสื่อว่า กกพ. มีมติขึ้นค่าไฟฟ้า อัตโนมัติ(FT)  สำหรับเดือนกันยายน – ธันวาคม 2556 อีก 7.2  สต.ต่อหน่วย  ผู้เขียนในฐานะคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต  ได้ท้วงติงการตัดสินใจของกกพ. ที่ไม่ผ่านการรับฟังความคิดเห็น  จากนั้นก็ได้รับข้อมูลจากฝ่ายคุ้มครองสิทธิฯ(กกพ) ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกับการขึ้นราคาค่า FTโดยเปิดให้แสดงความคิดเห็นจนถึงวันที่ 30  สิงหาคม  2556   ผู้เขียนจึงนำเรื่องนี้เข้า ที่ประชุมเพื่อให้คณะกรรมการร่วมกันที่ประชุมได้พิจารณาข้อมูลที่ กกพ. เสนอมา และมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง  และได้มีมติเป็นเอกฉันท์  “ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าFT ” ที่กกพ. มีมติ เห็นชอบตามข้อเสนอของ กฟผ. ฝ่ายเดียว      ผลสรุปมีข้อเสนอส่งไปถึงกกพ. ดังนี้1. กกพ.  เป็นองค์กรกำกับ  ไม่ควรที่จะด่วนตัดสินใจขึ้นค่า FT   โดยพิจารณาเพียงข้อมูลที่ กฟผ. เสนอมาเพียงฝ่ายเดียว  เพราะขาดความรอบคอบ เกี่ยวกับการตัดสินใจที่ ส่งผลต่อผู้ใช้พลังงานทั้งประเทศ      2. กกพ.    ควรจัดให้มีมีกระบวนการ ศึกษาข้อมูล ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า  เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลจาก กฟผ.  เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้านในการตัดสินใจ ให้เกิดความเป็นธรรม  ทั้งกับผู้ประกอบการ และผู้ใช้พลังงาน3. กกพ.ควรดำเนินการพัฒนาสูตรคำควณการขึ้นค่าไฟฟ้า อัตโนมัติ(ค่าFT)ขึ้นใหม่      โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย  เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำสูตรคำนวณการขึ้นค่าไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (FT) ให้เป็นที่ยอมรับ และมีความเป็นธรรมมากขึ้นเมื่อได้ข้อเสนอแล้วก็ส่งไปให้กกพ. ภายในวันที่กำหนดคือ 30 สิงหาคม 2556  ซึ่งเป็นวันศุกร์  เจ้าหน้าที่ตอบรับเรียบร้อย  วันที่ 31 เป็นวันเสาร์  วันที่ 1 กันยายน 2556 วันอาทิตย์  ค่า FT ขึ้นทันที  คำถามคือ เขารับฟังความคิดเห็นทำไม?  รับฟังแล้วนำข้อเสนอไปพิจารณาตอนไหน?  คำถามนี้คงยังไม่มีคำตอบ  แต่คงเป็นภาระที่พวกเราต้องค้นหาคำตอบร่วมกัน  ว่าองค์กรกำกับที่ปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้พวกเราจะจัดการกับพวกเขาอย่างไร ?  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 152 สมาร์ทโฟนแค่เดือนเดียวเจ๊งต้องขอเปลี่ยนคืน

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2555 เวลาประมาณ 6 โมงเย็นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ภูษิตเข้าไปซื้อสมาร์ทโฟน Sony Xperia SZ(LT26i) ในราคา 15,990 บาทจากบริษัท ทีจี เซลลูล่าร์เวิลด์ จำกัด สาขาที่ 108หลังจากใช้งานได้ประมาณ 1 เดือน มือถือเริ่มมีอาการค้างบูทเอง และเปิดเครื่องไม่ได้ในท้ายที่สุด“วันที่ 15 ตุลาคม 2555 ผมเอาเครื่องไปส่งซ่อมที่ศูนย์โซนี สาขามาบุญครอง ช่างบอกว่าต้องลงโปรแกรมใหม่ ใช้เวลา 2 ชั่วโมงมารับเครื่องได้ หลังจากรับเครื่องไปใช้ได้เพียงหนึ่งวัน เครื่องก็มีอาการเดิมครับ”“วันที่ 17 ตุลาคม 2555 ผมนำเครื่องกลับไปที่ศูนย์มาบุญครองอีก ช่างแจ้งว่าต้องนำไปที่ศูนย์ทองหล่อ ซอย 9 เพื่อตรวจสอบ เพราะอาจเสียที่ฮาร์ดแวร์และเป็นศูนย์ใหญ่แน่นอนกว่า”“ในวันเดียวกันผมจึงเดินทางไปที่ศูนย์ทองหล่อซอย 9 ช่างยืนยันจะลงโปรแกรมให้เหมือนเดิม อ้างว่าศูนย์มาบุญครองอาจลงไม่ครบ”“หลังจากที่ผมรอ 2 ชั่วโมงกลับมารับเครื่อง ระหว่างตรวจสอบก่อนรับเครื่องคืน เครื่องก็มีอาการดับเอง บูทเครื่องเองอีก ต้องใช้เวลานานมากเพื่อให้ช่างรับเครื่องไว้ เพื่อให้ตรวจสอบฮาร์ดแวร์”“ช่างพยายามบอกให้ผมนำเครื่องกลับไปใช้ก่อน แต่ผมไม่มีความมั่นใจอีกแล้ว สุดท้ายเจ้าหน้าที่จึงรับปากจะตรวจสอบฮาร์ดแวร์ให้อย่างละเอียด บอกว่าใช้เวลา 3 วัน” วันที่ 19 ตุลาคม 2555 ครบกำหนดสามวันภูษิตกลับไปรับเครื่อง เมื่อเปิดเครื่องตรวจสอบเครื่องก็ดับต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของศูนย์โซนีเลย“ผมไปรับเครื่องตั้งแต่บ่ายสามโมงเย็น คุยจนศูนย์ปิดห้าโมงเย็น ถามเจ้าหน้าที่ว่าเครื่องมีปัญหาชัดเจนแบบนี้ทำไมไม่ทำอะไรให้ ช่างจึงรับปากว่าจะเปลี่ยนเมนบอร์ดให้ แต่ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 อาทิตย์”“ผมไม่มีความมั่นใจในบริการอีกแล้ว เครื่องไม่สามารถใช้ได้ต้องรอนาน ศูนย์ไม่ใส่ใจในการแก้ปัญหา ผมเขียนอีเมล์ถึงบริษัทโซนี เพื่อขอให้รับซื้อสินค้าคืน และขอร้องเรียนต่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้ช่วยติดตามเรื่องด้วยครับ” แนวทางแก้ไขปัญหาโดยทั่วไป ผู้ประกอบธุรกิจมักจะมีระยะเวลารับประกันสินค้าหากเกิดความชำรุดบกพร่องอันเนื่องจากสภาพตัวเครื่องหรือการใช้งานตามปกติ และมักจะใช้วิธีการซ่อมแล้วซ่อมอีกซ่อมไปเรื่อยๆ จนหมดระยะเวลารับประกัน หลังจากนั้นก็โบกมือบ๊ายบายแต่เดี๋ยวนี้มือถือนี่เหมือนรถยนต์ ราคาไม่ใช่ถูก จึงเป็นสินค้าที่เอามาขายต่อได้ ซื้อมาใช้ อยากเปลี่ยนใหม่ก็ขายต่อได้ แต่ถ้าต้องเจอแบบซื้อมาแป๊บเครื่องซ่อมแล้วซ่อมอีก ซ่อมก็ไม่หายจะเอาไปขายต่อใครก็ไม่ได้ เพราะเครื่องยังเจ๊งอยู่ซ่อมไม่หาย ใช้งานไม่ได้ ขายไม่ได้ ดังนั้นผู้ขายผู้ผลิตจึงต้องรับผิดชอบที่เกิดขึ้นซ่อมได้ หายก็จบ ซ่อมไม่ได้ก็ต้องคืนสินค้าและเรียกร้องค่าใช้จ่ายทั้งหมดคืนหลังจากที่ภูษิตส่งอีเมล์ถึงโซนี และได้แสดงอาการเสียและความล้มเหลวในการซ่อมให้เห็นอย่างแจ่มแจ้ง และได้แสดงความประสงค์อย่างชัดเจนว่าไม่ต้องการเปลี่ยนสินค้าตัวใหม่เพราะขาดความมั่นใจในคุณภาพของสินค้า ท้ายที่สุดโซนีจึงให้บริษัททีจี เซลลูล่าร์เวิลด์ จำกัด ผู้จำหน่ายสินค้า ชำระเงินคืนทั้งหมดจำนวน 15,990 บาทคืนแก่ภูษิตจนเป็นที่เรียบร้อย

อ่านเพิ่มเติม >